สำนักวัดนาป่าพงคึกฤทธิ์และสาวกพลาด! สร้าง" พุทธวจน " ปลอม

ในห้อง 'Black Hole' ตั้งกระทู้โดย เสขะปฎิสัมภิทา, 7 กรกฎาคม 2015.

  1. jityim

    jityim เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 ตุลาคม 2014
    โพสต์:
    3,427
    ค่าพลัง:
    +3,207
    อนุโมทนาค่ะ เลิศลึกล้ำมากเลยค่ะ ธรรมแห่งอนุบุพภิคาถาใช่ไหมค่ะ
    กุศโลบายสอนธรรม ลาดลุ่มลึกลงไปตามลำดับ ตามจริตนิสสัยวาสนาของตนว่าสั่งสมสิ่งใดมา แล้วค่อย ๆ ขัดเกลาออกไป ถ้ามองอีกมุมหนึ่งนะค่ะ
     
  2. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201

    ผู้อาศัยแพ


    นี่ไม่ใช่เรา น้องหญิง และในสมองเขาเราก็ไม่มีสิ่งนั้น ทุกๆสิ่งทุกๆอย่าง ล้วนเป็นไปตามจิตที่น้อมนำพระธรรมมาพิจารณา ตามกำลังสติปัญญาที่ได้สั่งสมมา เรื่องราวในพระสัทธรรมทั้งหลายนี้ฯ ไม่ใช่ตัวตนเรา ไม่ใช่ของของเรา ไม่มีในตัวตนของเรา ไม่ใช่ความรู้ของเรา นี่ไม่ใช่เรา
     
  3. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    พักผ่อนในกาล ตามอัชฌาสัยเถิด

    เมตตาธรรม ค้ำจุนโลก
    https://youtu.be/nCM1TJd5TSQ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  4. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,224
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,048
    Please forgive me. I can not erase these one.(don't know how):'(
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 พฤษภาคม 2016
  5. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,224
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,048
    [​IMG]
    เวลาเราและท่านต่างกัน 12 ชมพอดีค่ะ ท่านหลับเราตื่น ธรรมะสวัสดีทุกๆท่านค่ะ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  6. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    จากตำนานรุ่นพี่เกษมตุ๋ยผู้อยากเป็นพระยาธรรมิกราช ตบหน้าพระพุทธรูป สอนลูกศิษย์ทุบทำลายพระเครื่องและพระพุทธรูป มากับสโลแกน พุทธรูปไม่ใช่ที่พึ่ง "ฯลฯ

    พระเกษม-พุทธรูปไม่ใช่ที่พึ่ง
    https://youtu.be/CJODesdt91Q

    จนมาถึงคึกฤทธิ์น้องใหม่ไฟแรง ซึ่งก็มาสไตล์โก้ สโลแกนไม่แพ้ใคร พระเครื่องเป็นเดรัจฉานวิชา

    ไม่ว่าจะองค์เล็กหรือองค์ใหญ่ จะประดิษฐานอยู่กับที่ หรือ เคลื่อนที่อาราธนาติดตัวไป ก็ได้ชื่อว่า พระพุทธรูป หรือ พระเครื่อง

    คึกฤทธิ์-พระเครื่องเป็นเดรัจฉานวิชา
    https://youtu.be/S92kTSs18lI

    คึกฤทธิ์ - ระบุการสร้างพระพุทธรูปเป็นคำแต่งใหม่ เป็นเดรัจฉานวิชา )-สร้างโบสถ์วิหารพระพุทธรูป ได้อานิสงส์หรือไม่อย่างไร
    https://youtu.be/lACxtEiMSAs

    คึกฤทธิ์ -การถวายข้าวน้ำพระพุทธรูป เป็นเดรัจฉานวิชาหรือไม่?
    https://youtu.be/E0bk3ro98NQ

    ตอนแรกบอกพระเครื่องฯลฯ ว่าเดรัจฉานวิชา สุดท้ายมาแก้ลำเอาใจลูกศิษย์ บอกว่าในการถวาย ข้าวน้ำและอาหาร เป็นสัมมาทิฐิเบื้องต้น แต่ยังไม่ได้เป็น อริยะ ถ้าอยากเป็นพระอริยะ หรือสัมมาทิฐิเบื้องปลาย ต้องทิ้งต้องวางสิ่งเหล่านี้ไป

    ยิ่งพูดยิ่งเลอะเลือน แต่ก็สมแล้วล่ะที่่ลูกศิษย์ตาบอดหูหนวก มันยังเคารพศรัทธา สมกันดีแล้ว

    เมื่อคึกฤทธิ์ได้วิสัชนา การสร้างพระพุทธรูป ว่าเป็นคำแต่งใหม่ และทุกๆอย่างในสำนักพุทธวจนสรุปว่าเป็นคำแต่งใหม่ จึงให้เป็นเดรัจฉานวิชาทั้งหมด ไม่มีมรรคผลใดๆ นั่นก็หมายความว่า ย่อมไม่มีอานิสงส์ใดๆนั้นด้วย


    คึกฤทธิ์-เรื่องพระพุทธรูปที่มีอยู่เดิม จะพูดอย่างไรให้คนเข้าใจว่าพระพุทธเจ้าไม่ได้บัญญัติ
    https://youtu.be/cd5AYWYhwkA


    แต่ก็เพราะต้องมิตฉัตตะ ๑๐ จนมุมทนแรงกระแสเสียดทานไม่ไหว ต้องกล้ำกลืนกินน้ำลาย พยายามหาทางลงจากที่สูง โดยที่ตนเองจะไม่เจ็บปวดและเพลี้ยงพล้ำมาก ในที่สุดก็บอกก็สอนว่าสามารถกราบไหว้ได้ แต่ต้องกราบระลึกให้ถึงพระพุทธเจ้า

    สุดท้ายก็ให้กราบในสิ่งที่ตนเองได้กล่าวตู่ให้เป็นเดรัจฉานวิชา ที่มีอยู่แล้วมีไป แถมยังบอกไม่ต้องขยันสร้างเพิ่ม สรุปคือให้เลิกขยัน ก็คือไม่ต้องสร้าง ห้ามสร้าง

    แต่สินค้านานาชนิดเครื่องอุปโภคบริโภค สำนักของตนที่กล่าวตู่พระพุทธเจ้าว่าพระองค์ทรงให้สร้าง และเป็นสิ่งของตามพระสูตร ขนออกมาค้า ขนออกมาขาย ให้คนไปเคารพระลึกและก็บูชา


    นี่หมายความว่า อะไร? ลูกศิษย์ลูกหาสำนักนี้ทำไมถึงหูบอดตาบอดจัง


    คำว่า เจดีย์  หมายถึง  ควรบูชา ควรสักการะด้วยจิตที่อ่อนโยนนอบน้อม    ในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา แสดงเจดีย์ไว้ ๓ อย่าง คือ    ปริโภคเจดีย์(สิ่งที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงใช้สอย     มี บาตร จีวร เป็นต้น      รวมถึงต้นโพธิ์  ซึ่งเป็นต้นไม้เป็นที่พระองค์ทรงตรัสรู้ ด้วย)  อุทเทสิกเจดีย์ หรือ อุทิสสิกเจดีย์ (พระพุทธรูป   ที่ผู้มีศรัทธาสร้างขึ้นเพื่อคารพสักการะบูชาน้อมระลึกถึงพระสัมมาสัมพุทธเจ้า)  และ   ธาตุกเจดีย์ (พระสถูปที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า)       ดังข้อความจากอรรถกถา นิธิกัณฑสูตร ดังนี้      พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑- หน้าที่ ๓๑๓

      ในคาถานั้น    ชื่อว่า เจติยะ   เพราะควรก่อ  ท่านอธิบายว่า ควรบูชา  ชื่อว่า   เจติยะ  เพราะวิจิตรแล้ว.    เจดีย์นั้นมี  ๓  อย่าง   คือ   บริโภคเจดีย์   อุทิสสกเจดีย์   ธาตุกเจดีย์.
    บรรดาเจดีย์ทั้ง  ๓ นั้น  โพธิพฤกษ์ ชื่อว่า  บริโภคเจดีย์     พระพุทธปฎิมา   ชื่อว่า อุทิสสกเจดีย์   พระสถูปที่มีห้องบรรลุพระธาตุ  ชื่อว่า   ธาตุกเจดีย์.์     
           


    อุปมาทุกๆอย่างแม้แต่เศษดินก้อนหินผ้าขี้ริ้วตลอดจนไปถึงก้อนเงินก้อนเพชรก้อนทอง ก็ล้วนสามารถ พิจารณาให้ถึงเหตุถึงผลรู้จบพ้นวิเศษอันเป็นวิสัยตนได้ ตลอดพระวัสสาในพุทธสมัยนี้ เมื่อข้ามพุทธสมัยไปสู่ ห้วงเว้นว่างจากพุทธันดร สิ่งต่างๆที่สร้างมายังศาสนาวัตถุก็จะอันตรธานหายไป จนไปถึงฉนั้นปล่อยให้เป็นไปตามมรรคตามผลของผู้ที่ได้นิสสัยมาเถิด

    บางคนเขามีศรัทธา บางท่านก็ให้สิ่งนั้นเป็นนิมิตศรัทธาอันน้อมนำไปสู่เขา และเป็นไปไม่ได้เลยที่พระเถระบูรพาจารย์ทั้งหลายฯ ท่านจะไม่ระลึกถึงว่าท่านสร้างพระไว้นี้ ท่านก็เพื่อเป็นเจดีย์อันประดิษฐาน ตามกาลวิสัยแก่บุคคลชั่วลูกชั่วหลาน ศาสนาพุทธเรานี้ประกอบด้วยการใช้สติปัญญาและเหตุผล และสามารถครอบงำทุกอย่างได้ ด้วยฤทธิ์และด้วยปัญญา

    ดูอย่างลัทธิและศาสนาอื่นเถิดเขามีแต่ศาสนาวัตถุและวัตถุหลงเหลือตั้งไว้ให้แลดู และบางเรื่องก็เหลือแต่เรื่องเล่าเพียงเท่านั้น ไม่มีใครทราบตำนานที่ไปที่มา นั่นก็เพราะไม่ประกอบด้วยฤทธิ์และปัญญา ทำไมจึงไม่ถูกทุบถูกทำลายไปตามกาลทั้งหมดฯ ก็เพราะด้วยฤทธิ์ ด้วยเดชด้วยปัญญา ทั้งนั้น ไม่อย่างนั้นก็อย่าคิดว่าจะมีอะไรหลงเหลืออยู่เลย ไปดูซากปรักหักพังที่ นาลันทาเถิด หลงเหลืออะไรอยู่บ้าง


    ศัตรูที่มองไม่เห็นและยังไม่ปรากฎตัวให้รู้ นั้นมีอยู่ ภัยทั้งภายในและภายนอกมีอยู่ เรามีเวลาหลงเหลือกันเพียงน้อยนิด จงสละภาชนะดินเพื่อให้ได้ภาชนะทองเถิด เราไม่ชื่นชอบไม่ยินดีในวิสัยเช่นนั้น แต่บุคคลที่เขาชื่นชอบมี ก็ไม่ต้องไปทำลายของรักของเขา ถ้าเขามีบุญที่สั่งสมเป็นพลวปัจจัย เขาจะเดินทางออกตามหาเอง ไม่ต้องไปบีบบังคับหรือยัดเยียดให้เขาจนถ้าเขาไม่ได้เป็นคนพาลแล้ว ยกไว้ซึ่งได้ต้องบุพกรรมด้วยกันมาว่า เป็นบุคคลที่สมควรโปรดด้วยกำลังพระทศพลญาน ๑๐ อันหยั่งรู้เป็นเอนกเป็นต้น
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 พฤษภาคม 2016
  7. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    คึกฤทธิ์ดูหมิ่น พระที่เรียน นักธรรม-บาลี-เปรียญธรรม ที่เรียน อรรถกถา

    "พวกเปรียญ ๑-๙ ไม่รู้จักพุทธวจน"


    https://youtu.be/PDAXItCQD5o
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  8. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ธมฺโม หเว รกฺขติ ธมฺมจารี

    ธัมโม หะเว รักขะติ ธัมมะจารี


    ธรรมะย่อมคุ้มครองผู้ประพฤติธรรม

    สำหรับเราแล้ว วันๆหนึ่ง นับตั้งแต่เกิดโดยอริยะชาติต่อเนื่องสืบมา จนบัดนี้ ถ้าหากไม่ได้พิจารณาธรรมหรือทำสมาธิแม้เพียงข้อใดข้อหนึ่ง เพราะความวุ่นวายในภาระทางโลกที่แบกเอาไว้ แม้เราเอง ธาตุขันธุ์ที่เราอาศัยอยู่นี้ ก็จักย่อยสลายไปตามกาลทุกๆวัน แม้โรคภัยไข้เจ็บก็ดี แต่ถ้าได้พิจารณาแม้สักเพียงนิด โรคภัยก็จักหายไป อาการดีขึ้นจนหายคลายเหนื่อย นี่เป็นเพราะผลจากการ พิจารณาธรรม

    เราเชื่อว่าหากมีผู้ใดที่ได้เสวยรสอันเป็นทิพย์อย่างเรา จะเข้าใจอรรถที่เราแสดงไว้นี้

    ว่ามีความเหนือกว่าโลกียสุขอันมีโผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ทั้งมวล (รูป เสียง กลิ่น รส)

    เพราะว่าความสุขอันเหนือโลกียสุขนี้ เหนือรูป เหนือรส เหนือเสียง เหนือกลิ่น ทั้งมวล



    เมื่อได้ท่องเที่ยวไปทั่ว ประเมินการรับรู้ที่สั่งสมมาแล้ว เรื่องนี้เป็นเรื่องที่อยู่เหนือจินตนาการของมนุษย์ปุถุชนธรรมดาถ้วนทั่วไป จะใช้สติสัมปัชชัญญะมารับรู้ได้ ถ้าไม่อาศัยฤทธานุภาพของพระธรรมเป็นที่ตั้ง ขันธ์๕ อินทรียธาตุที่มาประชุมกันเหล่านี้หรือจะสามารถรองรับได้

    เหนือกว่าทุกข์ในรูปแห่งความสุขของการกินอยู่พักผ่อนหลับนอนหลับไหลนิมิตฝันจะมีสติก็ดีไม่มีสติก็ดีทั้งปวงใน๓ภพ(สติในที่นี้เป็นสติที่ระลึกอื่นเช่นเจตสิกการรับรู้ร้อนหนาวหรือความคิดง่วงหลับสบายฯ วิตกวิจารณ์ฯแต่ไม่ใช่)

    "สติในธรรม"๐)เป็นสติที่ระลึกรู้ตัวในสภาวะที่เสวยทิพย์อันเกิดสุขจากการพิจารณาในหัวข้อธรรมต่างๆในยามหลับสนิท ที่ข้าพเจ้าเสวยวิมุตติรสอยู่เสมอ(๐)

    เหนือกว่าทุกข์ในรูปแห่งความสุขที่ได้จากรสสัมผัสที่เพลิดเพลินในกามคุณอันมี สตรีมนุษย์,นางสวรรค์,ธิดามารใน๓ภพเป็นต้น

    เหนือกว่าทุกข์ในรูปแห่งความสุขที่ได้จากการครอบครองทรัพย์ภายนอกทั้ง๓ภพเป็นต้นอันได้แก่เงินทองแก้วมณีศาสตราของมีค่าทั้งมวลฯ

    เหนือกว่าทุกข์ในรูปแห่งความสุขในการรับรู้รับฟังคลื่นเสียง การขับร้องลำนำใดๆแม้จะเอาส่วนที่ดีที่สุดของเครื่องกำเนิดเสียงที่ไฟเราะที่สุดใน๓ภพเป็นต้นมารวมกันเป็น๑เสียงเดียวก็มิอาจเทียบเท่าได้แม้สักเศษส่วนเดียว

    เหนือกว่าทุกข์ในรูปแห่งความสุขจากการดื่มกินลิ้มรสธาตุอาหารที่ว่าเป็นเลิศแล้วทั้งมวลที่มีอยู่ใน๓ภพเป็นต้น

    เหนือกว่าทุกข์ในรูปแห่งความสุขของสุราเครื่องดองของเมาอันมีโทษทุกชนิดที่เสพแล้วต้องติดด้วยรสแห่งการครอบงำประสาททั้งมวล จนถึงขนาดไม่ได้เสพต่อในทันทีทันใดต้องหมดสิ้นลมหายใจตายจบภพชาติไป ก็มิอาจเทียบได้แม้สักเพียงเศษเชื้อธุลีเดียวกับการเสวยทิพย์อันเป็นกระแสสุขของโลกุตระ อันเหนือโลกียสุขทั้ง๓โลกนั้นอยู่

    "อันเป็นที่สุดจะพรรณนาออกมาได้ ต้องสัมผัสเอง"

    เราเชื่อว่าหากผู้ใดได้สัมผัสเช่นเรา ในกาลตลอดชีวิตที่มีจะไม่มีการพรรณาเชิดชูถึงความสุขทางโลกียสุข๓ภพนั้นอีกอย่างแน่นอน แม้ยังจะต้องดำรงชีวิตอย่างมนุษย์ปุถุชนอยู่ก็จะมีความเบื่อหน่ายระคายใจในการเสวยทุกข์นั้นอยู่ในทุกลำดับการ เสมือนผู้เดินทางในทะเลทรายหมดน้ำร้อนลนระเหิดระเหย คอแห้งแสบพล่าตาลาย พบแหล่งน้ำน้อยที่ไม่สะอาดต้องทนฝืนดื่มกินอย่างไม่ตั้งใจด้วย อำนาจการกระหายบังคับของอินทรียธาตุทั้งปวงฯ ชีวิตจะมีคุณค่าความหมายมากขึ้นจนถึงที่สุดเมื่อเข้าใจแล้วรับรู้เข้าใจถึง


    ของยากกว่าจะได้แต่ละทีต้องมีเวลาใส่ใจ
    วิมุตติ และ นิรุตติ เกิดขึ้นเฉพาะการพิจารณาธรรมจะทำให้รู้แจ้งในธรรมนั้น ยิ่งกว่าปกติสามัญธรรมดา รู้จนทราบเลยว่า แค่ภาษิตเดียวก็ไม่มีผู้ใดแสดงเช่นนั้นได้ อธิบายให้ผู้ฟังเข้าใจได้ จนเข้าถึงวิมุตติ เช่น อัตตาหิ อัตตาโน นาโถ ในแผ่นดินนี้ ไม่มีผู้ใดแสดงอรรถถาธิบาย ได้เทียมเท่ากับพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า พระอรหันต์ผู้ทรงปฎิสัมภิทาฯ ให้เข้าถึงวิมุตตินั้น ได้เลยแม้แต่เพียงผู้เดียว นั่นแหละดวงตาแห่งธรรม จะมีวิมุตติสุขปรากฎด้วย แก่ผู้สั่งสมมาดีแล้ว
    https://youtu.be/TPYoPvo8Bj8

    สิ่งที่เป็นอจินไตย๑ ใน๔ อย่างที่ไม่ควรคิด คือ ฌานวิสัย วิสัยของผู้ได้ฌาน

    ปัญญา ที่ทำให้เกิดได้ฌาน 3 อย่าง

    โดยการสดับตรับฟัง การศึกษาเล่าเรียน (สุตมยปัญญา)
    โดยการคิดค้น การตรึกตรอง (จินตามยปัญญา)
    โดยการอบรมจิต การเจริญภาวนา (ภาวนามยปัญญา)

    ฌานก็สุขเหนือโลกียะสุขแล้ว ไม่กล่าวถึง วิมุตติสุขโลกียะเลย ยอดที่สุด ที่นี้ วิมุตติสุขของโลกุตระ จะขนาดไหน? สุดจะพรรณนาได้
    จะกล่าวไยเลย ถึงพระนิพพาน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 พฤษภาคม 2016
  9. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,224
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,048
    [​IMG]
    . .
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  10. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ขนาดพระอรหันต์ อัชฌาสัย สุขวิปัสโก ยังไม่ใช่ฐานะที่จะเกี่ยวข้องกับการสังคายนาพระไตรปิฏก แล้วคึกฤทธิ์ผู้เป็น อธรรมวาที และ อวินัยวาที จักมีสิทธิ์และฐานะอะไร? ที่มาข้องเกี่ยวเพิกถอน ตัดทอน ในการสร้างและทำลายพระไตรปิฎก

    พระอรหันต์แบบ สุขวิปัสสโก คืออะไร..
    อัชฌาสัยสุขวิปัสสโก.คือ.ท่านไม่เอาดีทางฌาณสมาบัติพอมีสมาธิเล็กน้อยก็เจริญวิปัสสนาญาณควบกันไปเลยคุมสมาธิบ้างเจริญวิปัสสนาบ้างเมื่อสมาธิเข้าถึงปฐมฌาณวิปัสสนาก็จะมีกำลังตัดกิเลสได้สามารถจะได้มรรคผลแล้วเมื่อตอนที่สมาธิเข้าถึงปฐมฌาณท่านก็เริ่มวิปัสสนาเลย(หากสมาธิยังไม่ถึงปฐมฌาณจะบรรลุมรรคผมไม่ได้)
    อัชฌาสัยสุขวิปัสสโกท่านไม่ใส่ใจที่จะทำสมาธิให้สูงหรือทำสมถะให้สูงเพื่อให้ได้คุณวิเศษที่จะได้ฤทธิ์ของฌานซึ่งต้องได้ฌาน4ขึ้นไปด้วยเหตุนี้พอท่านมีกำลังจิตในปฐมฌาณท่านสามารถเริ่มต้นขบวนการวิปัสสนาตัดหรือละกิเลสได้แล้วท่านก็เริ่มวิปัสสนาเลย
    ดังนั้นพระอรหันต์แบบสุขวิปัสสโกท่านจึงไม่มีความรู้ในเรื่องนรกสวรรค์และไม่รู้ไม่เห็นเรื่องผีโอปาติกะเทพพรหมเปรตรฯลฯจึงไม่สามารถถอดจิตออกไปตรวจสอบสิ่งที่พระพุทธเจาตรัสสอนได้ในทางโลกและจักรวาล((โลกียะ)
    ท่านสุกขวิปัสสโกมีกฏปฏิบัติเพียงเท่านี้ท่านจึงเรียกว่า"สุขวิปัสสโก"แปลว่าบรรลุแบบง่ายๆท่านไม่มีฌานสูงท่านไม่มีฌานพิเศษอย่างวิชชาสามท่านไม่มีฤทธิ์ท่านไม่มีความรู้พิเศษอะไรทั้งสิ้นเป็นพระอรหันต์ประเภทรู้รักษาตัวรอดเป็นยอดดีไม่มีคุณพิเศษอื่นนอกจากบรรลุมรรคผล
    เหตุที่ห้ามพระอรหันต์สุขวิปัสสโกเข้าร่วมในปฐมสังคายนาพระไตรปิฏกก็เป็นที่แน่ชัดว่าเพราะพระอรหันต์แบบสุขวิปัสสโกเป็นพระอรหันต์แห้งแล้งจากโลกีย์อภิญญาใดๆทั้งสิ้นเพราะท่านได้แค่ปฐมฌาณในขณะที่ผู้จะได้โลกีย์อภิญญ5จะต้องเข้าถึงอย่างน้อยจตุตถฌานหรือฌานที่4จิตจะมีองค์ฌานเดียวคือเอกัคคตาจึงมีพลังจิตรู้เห็นสิ่งที่พระพุทธเจาตรัสสอนในพระไตรปิฏกว่าเป็นความจริง...นำมาพิมพ์ลงกลุ่มประวัติพ่อแม่ครูอาจารย์สายกรรมฐานที่ยังครองธาตุขันอยู่ในปัจจุบันโดย
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 พฤษภาคม 2016
  11. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    อรรถกถา ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค
    พรหมชาลสูตร
                   สุมังคลวิลาสินี               
                   อรรถกถาทีฆนิกาย สีลขันธวรรค               
                   แปล               
                   --------------------------               

                   คนฺถารมฺภกถา               
                                       ข้าพเจ้าขอนมัสการด้วยเศียรเกล้า ซึ่งพระสุคตผู้พ้น
                             คติ (๕ คือนิรยคติ เปตคติ ติรัจฉานคติ มนุสสคติ เทวคติ)
                             มีพระทัยเยือกเย็นด้วยพระกรุณา มีมืดคือโมหะ อันดวง
                             ประทีปคือปัญญาขจัดแล้ว ทรงเป็นครูของโลก พร้อมทั้ง
                             มนุษย์และเทวดา.
                                       ก็พระพุทธเจ้าทรงอบรม และทรงทำให้แจ้งซึ่งความ
                             เป็นพระพุทธเจ้า ทรงบรรลุพระธรรมใดที่ปราศจากมลทิน
                             ข้าพเจ้าขอนมัสการด้วยเศียรเกล้าซึ่งพระธรรมนั้นอันยอด
                             เยี่ยม. ข้าพเจ้าขอนมัสการด้วยเศียรเกล้าซึ่งพระอริยสงฆ์
                             หมู่โอรสของพระสุคตเจ้า ผู้ย่ำยีกองทัพมาร.
                                       บุญอันใด ซึ่งสำเร็จด้วยการไหว้พระรัตนตรัย มีอยู่
                             แก่ข้าพเจ้าผู้มีใจเลื่อมใส ขอข้าพเจ้าจงเป็นผู้มีอันตรายอัน
                             อานุภาพแห่งบุญนั้น ขจัดราบคาบแล้วด้วยประการดังนี้.
                                       อรรถกถาใดอันพระอรหันต์ ๕๐๐ องค์สังคายนา
                             แล้วแต่ต้น และสังคายนาต่อมา เพื่อประกาศเนื้อความ
                             ของทีฆนิกาย ซึ่งกำหนดหมายไว้ด้วยสูตรขนาดยาว
                             ละเอียดลออ ประเสริฐกว่านิกายอื่น ที่พระพุทธเจ้า และ
                             พระสาวกสังวรรณนาไว้ มีคุณค่าในการปลูกฝังศรัทธา
                             แต่ภายหลัง พระมหินทเถระนำมาเกาะสีหล ต่อมาได้
                             เรียบเรียงด้วยภาษาสีหล เพื่อประโยชน์แก่ชาวสีหล
                             ทั้งหลาย.
                                       ต่อจากนั้น ข้าพเจ้าจึงแปลภาษาสีหลเป็นภาษา
                             มคธ ถูกต้องตามหลักภาษา ไม่ผิดเพี้ยนอักขรสมัยของ
                             พระเถระคณะมหาวิหาร ผู้เป็นประทีปแห่งเถรวงศ์ที่
                             วินิจฉัยไว้ละเอียดลออ จะตัดข้อความที่ซ้ำซากออกแล้ว
                             ประกาศข้อความ เพื่อความชื่นชมยินดีของสาธุชนและ
                             เพื่อความยั่งยืนของพระธรรม.
                                       ศีลกถา ธุดงคธรรม กรรมฐานทั้งปวง ฌานสมาบัติ
                             พิสดาร ซึ่งประกอบด้วยวิธีปฏิบัติตามจริต อภิญญาทั้งปวง
                             ข้อวินิจฉัยทั้งปวงด้วยปัญญา ขันธ์ ธาตุ อายตนะ อินทรีย์
                             อริยสัจ ๔ ปัจจยาการ เทศนาและวิปัสสนาภาวนา มีนัย
                             บริสุทธิ์ดีและละเอียดลออ ที่ไม่นอกทางพระบาลี ข้อธรรม
                             ดังกล่าวทั้งหมดนี้ ข้าพเจ้ากล่าวไว้ในคัมภีร์วิสุทธิมรรค
                             แล้ว อย่างบริสุทธิ์ดี เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าจักไม่วิจารข้อ
                             ธรรมทั้งหมดนั้นในที่นี้ให้ยิ่งขึ้น. คัมภีร์วิสุทธิมรรคนี้ตั้ง
                             อยู่ท่ามกลางนิกายทั้ง ๔ จักประกาศเนื้อความตามที่กล่าว
                             ไว้ในนิกายทั้ง ๔ เหล่านั้น ข้าพเจ้าแต่งไว้ด้วยความ
                             ประสงค์อย่างนี้ เพราะฉะนั้น ขอท่านทั้งหลายจงถือเอา
                             คัมภีร์วิสุทธิมรรคนั้นกับอรรถกถานี้ แล้วเข้าใจเนื้อความ
                             ที่อาศัยทีฆนิกายเถิด.

                   นิทานกถา               
                   ในคำว่า ทีฆาคมนิสฺสิตํ นั้น พึงทราบรายละเอียดดังนี้
                   คัมภีร์ทีฆนิกาย กล่าวโดยวรรคมี ๓ วรรค คือ สีลขันธวรรค มหาวรรค ปาฏิกวรรค. กล่าวโดยสูตรมี ๓๔ สูตร. ในวรรคทั้งหลายเหล่านั้น สีลขันธวรรคเป็นวรรคต้น. บรรดาสูตรทั้งหลาย พรหมชาลสูตรเป็นสูตรต้น.
                   คำนิทานมีคำว่า เอวมฺเม สุตํ ดังนี้เป็นต้น ที่ท่านพระอานนท์กล่าวในคราวทำปฐมมหาสังคายนา เป็นคำเริ่มต้นของพรหมชาลสูตร

                   เรื่องสังคายนาใหญ่ครั้งแรก               
                   ชื่อว่าปฐมมหาสังคายนานี้ แม้ได้จัดขึ้นพระบาลีไว้ในวินัยปิฎกแล้ว ก็จริง ถึงอย่างนั้นก็ควรทราบปฐมมหาสังคายนาแม้ในอรรถกถานี้ เพื่อความเป็นผู้ฉลาดในเหตุที่เป็นมา ดังต่อไปนี้
                   เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นที่พึ่งของสัตวโลก ทรงบำเพ็ญพุทธกิจ เริ่มต้นแต่ทรงแสดงพระธรรมจักรจนถึงโปรดสุภัททปริพาชก แล้วเสด็จปรินิพพาน ด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ เวลาใกล้รุ่งวันวิสาขปูรณมี ระหว่างต้นสาละคู่ในสาลวันอุทยานของมัลลกษัตริย์ ตรงที่เป็นทางโค้ง ใกล้กรุงกุสินารา ท่านพระมหากัสสปะผู้เป็นสังฆเถระของภิกษุประมาณเจ็ดแสนรูปที่ประชุมกันในวันแบ่งพระบรมสารีริกธาตุของพระผู้มีพระภาคเจ้า มาระลึกถึงคำที่หลวงตาสุภัททะกล่าวเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จปรินิพพานได้ ๗ วันว่า พอกันทีอาวุโสทั้งหลาย ท่านทั้งหลายอย่าเศร้าโศกไปเลย อย่าร่ำไรไปเลย เราทั้งหลายพ้นดีแล้วจากพระมหาสมณะนั้น ด้วยว่าพวกเราถูกท่านจู้จี้บังคับว่า สิ่งนี้ควรแก่เธอทั้งหลาย สิ่งนี้ไม่ควรแก่เธอทั้งหลาย ดังนี้ แต่บัดนี้พวกเราปรารถนาสิ่งใดจักกระทำสิ่งนั้น ไม่ปรารถนาสิ่งใดจักไม่กระทำสิ่งนั้น ดังนี้.๑-
    ____________________________
    ๑- วิ. จุล. เล่ม ๗/ข้อ ๖๑๔

                   ท่านพิจารณาเห็นว่าการประชุมสงฆ์จำนวนมากเช่นนี้ ต่อไปจะหาได้ยาก จึงดำริต่อไปว่า พวกภิกษุชั่วจะเข้าใจว่าปาพจน์มีศาสดาล่วงแล้ว ได้พวกฝ่ายอลัชชี จะพากันย่ำยีพระสัทธรรมให้อันตรธานต่อกาลไม่นานเลย นั้นเป็นฐานะที่จะมีได้แน่นอน.
                   จริงอยู่ พระธรรมวินัยยังดำรงอยู่ตราบใด ปาพจน์ก็หาชื่อว่ามีศาสดาล่วงแล้วไม่อยู่ตราบนั้น
                   สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า๒-
                   ดูก่อนอานนท์ ธรรมและวินัยใดอันเราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่เธอทั้งหลาย ธรรมและวินัยนั้นจักเป็นศาสดาของเธอทั้งหลาย เมื่อเราล่วงลับไปแล้ว ดังนี้.

    ____________________________
    ๒- ที. มหา. เล่ม ๑๐/ข้อ ๑๔๑

                   อย่ากระนั้นเลย เราพึงสังคายนาพระธรรมและพระวินัยโดยวิธีที่พระศาสนานี้จะมั่นคงดำรงอยู่ชั่วกาลนาน.
                   อนึ่ง ตัวเราอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า๓-
                   ดูก่อนกัสสปะ เธอจักห่มได้หรือไม่ซึ่งผ้าป่านบังสุกุลที่ใช้เก่าแล้วของเรา ดังนี้
                   ทรงอนุเคราะห์ด้วยสาธารณบริโภคในจีวร และด้วยการสถาปนาไว้เสมอกับพระองค์ในธรรมอันยิ่งของมนุษย์ ต่างโดยอนุปุพพวิหาร ๙ และอภิญญา ๖ เป็นต้น โดยนัยเป็นต้นอย่างนี้ว่า
                   ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราต้องการสงัดจากกามทั้งหลาย สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย เข้าถึงปฐมฌานอยู่เพียงใด
                   ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้กัสสปะต้องการสงัดจากกามทั้งหลาย สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย เข้าถึงปฐมฌานอยู่เพียงนั้น๔- ดังนี้.
    ____________________________
    ๓- สํ. นิ. เล่ม ๑๖/ข้อ ๕๒๔   ๔- สํ. นิ. เล่ม ๑๖/ข้อ ๔๙๗

                   ยิ่งกว่านั้น ยังสรรเสริญด้วยความเป็นผู้มีจิตไม่ติดอยู่ในตระกูล เหมือนสั่นมือในอากาศ และด้วยปฏิปทาเปรียบด้วยพระจันทร์ การทรงอนุเคราะห์และการทรงสรรเสริญ เป็นประหนึ่งหนี้ของเรา กิจอื่นนอกจากการสังคายนาที่จะให้เราพ้นสภาพหนี้ จักมีอะไรบ้าง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบซึ่งเรามิใช่หรือว่า กัสสปะนี้จักเป็นผู้ประดิษฐานวงศ์พระสัทธรรมของเราดังนี้ แล้วทรงอนุเคราะห์ด้วยความอนุเคราะห์อันไม่ทั่วไปนี้
                   และทรงสรรเสริญด้วยการสรรเสริญอันยอดเยี่ยมนี้ เหมือนพระราชาทรงทราบพระราชโอรสผู้จะประดิษฐานวงศ์ตระกูลของพระองค์ แล้วทรงอนุเคราะห์ด้วยการมอบเกราะและพระอิสริยยศของพระองค์ฉะนั้นดังนี้ ยังความอุตสาหะให้เกิดแก่ภิกษุทั้งหลายเพื่อสังคายนาพระธรรมวินัย.
                   สมดังคำที่พระสังคีติกาจารย์กล่าวไว้ในสุภัททกัณฑ์ว่า๕-
                   ครั้งนั้นแล ท่านพระมหากัสสปะแจ้งให้ภิกษุทั้งหลายทราบว่า ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย สมัยหนึ่ง เราเดินทางไกลจากเมืองปาวามาสู่เมืองกุสินารา พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ประมาณ ๕๐๐ รูปดังนี้เป็นต้น.
                   สุภัททกัณฑ์ทั้งหมด บัณฑิตควรทราบโดยพิสดาร. แต่ข้าพเจ้าจักกล่าวเนื้อความของสุภัททกัณฑ์นั้นในอาคตสถานตอนจบมหาปรินิพพานสูตรเท่านั้น.
                   ต่อจากนั้น ท่านพระมหากัสสปะกล่าวว่า๕-
                   เอาเถิดท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เราทั้งหลายจะสังคายนาพระธรรมและพระวินัย ต่อไปเบื้องหน้า อธรรมรุ่งเรือง ธรรมจะร่วงโรย ต่อไปเบื้องหน้า อวินัยรุ่งเรือง วินัยจะร่วงโรย ต่อไปเบื้องหน้า อธรรมวาทีมีกำลัง ธรรมวาทีจะอ่อนกำลัง ต่อไปเบื้องหน้า อวินัยวาทีมีกำลัง วินัยวาทีจะอ่อนกำลัง.

    ____________________________
    ๕- วิ. จุล. เล่ม ๗/ข้อ ๖๑๔

                   ภิกษุเหล่านั้นกล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ถ้าเช่นนั้น ขอพระเถระโปรดเลือกภิกษุทั้งหลายเถิด. ฝ่ายพระเถระเว้นภิกษุปุถุชน พระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามีและพระอรหันตสุกขวิปัสสกผู้ทรงพระปริยัติ คือนวังคสัตถุศาสน์ทั้งสิ้น เป็นจำนวนหลายร้อยหลายพันรูป เลือกเอาเฉพาะภิกษุผู้เป็นพระอรหันต์ประเภทเตวิชชาเป็นต้น ซึ่งทรงพระปริยัติ คือพระไตรปิฎกทั้งหมด บรรลุปฏิสัมภิทามีอานุภาพยิ่งใหญ่ โดยมาก พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยกย่องเป็นเอตทัคคะที่พระสังคีติกาจารย์หมายกล่าวคำนี้ไว้ว่า ครั้งนั้นแล ท่านพระมหากัสสปะเลือกพระอรหันต์ไว้ ๕๐๐ หย่อนหนึ่งองค์ ดังนี้.
                   ถามว่า ก็เพราะเหตุไร พระมหากัสสปเถระจึงทำให้หย่อนไว้องค์หนึ่ง.
                   ตอบว่า เพื่อไว้โอกาสแก่ท่านพระอานนท์เถระ เพราะทั้งร่วมกับท่านพระอานนท์ ทั้งเว้นท่านพระอานนท์เสีย ไม่อาจทำการสังคายนาธรรมได้. ด้วยว่า ท่านพระอานนท์นั้นเป็นพระเสขะยังมีกิจที่ต้องทำอยู่ฉะนั้น จึงไม่อาจร่วมได้. แต่เพราะนวังคสัตถุศาสน์มีสุตตะและเคยยะเป็นต้นข้อใดข้อหนึ่ง ซึ่งพระทศพลทรงแสดงแล้ว ที่ชื่อว่าไม่ประจักษ์ชัดแก่พระอานนท์นั้น ไม่มี.
                   ดังคาถาประพันธ์ที่ท่านกล่าวไว้ว่า
                   ธรรมเหล่าใดเป็นไปแก่ข้าพเจ้า ธรรมเหล่านั้น ข้าพเจ้ารับมาจากพระพุทธเจ้าแปดหมื่นสองพัน รับมาจากภิกษุสองพัน รวมเป็นแปดหมื่นสี่พันพระธรรมขันธ์ เพราะฉะนั้น ถ้าเว้นท่านพระอานนท์เสีย ก็ไม่อาจทำได้.
                   ถามว่า ถ้าเมื่อเป็นอย่างนั้น แม้ท่านพระอานนท์จะยังเป็นพระเสขะอยู่ พระเถระก็ควรเลือก เพราะเป็นผู้มีอุปการะในการสังคายนาธรรมมาก แต่เหตุไฉนจึงไม่เลือก.
                   ตอบว่า เพราะจะหลีกเลี่ยงคำติเตียนของผู้อื่น.
                   ความจริง พระเถระเป็นผู้คุ้นเคยกับท่านพระอานนท์อย่างยิ่ง. จริงอย่างนั้น ถึงพระอานนท์จะศีรษะหงอกแล้ว พระมหากัสสปะยังเรียกด้วยคำว่า เด็ก ในประโยคว่า เด็กคนนี้ไม่รู้จักประมาณเลย ดังนี้.
                   อนึ่ง ท่านพระอานนท์เกิดในตระกูลศากยะ เป็นพระอนุชาของพระตถาคต เป็นพระโอรสของพระเจ้าอา. ในการคัดเลือกพระอานนท์นั้น ภิกษุบางพวกจะเข้าใจว่า ดูเหมือนจะลำเอียงเพราะรักใคร่กัน จะพากันติเตียนว่า พระมหากัสสปเถระมองข้ามภิกษุผู้ได้บรรลุปฏิสัมภิทาชั้นอเสขะไปเป็นจำนวนมาก แล้วเลือกพระอานนท์ผู้บรรลุปฏิสัมภิทาชั้นเสขะ เมื่อจะหลีกเลี่ยงคำติเตียนนั้น พระมหากัสสปเถระจึงไม่เลือกพระอานนท์ ด้วยพิจารณาเห็นว่า เว้นท่านพระอานนท์เสีย ไม่อาจทำการสังคายนาธรรมได้ เราจักรับท่านพระอานนท์นั้นโดยอนุมัติของภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น.
                   ลำดับนั้น ภิกษุทั้งหลายพากันขอร้องพระมหากัสสปเถระเพื่อเลือกพระอานนท์เสียเอง.
                   สมดังคำที่พระสังคีติกาจารย์กล่าวไว้ว่า๖-
                   ภิกษุทั้งหลายได้กล่าวกะท่านพระมหากัสสปะดังนี้ว่า
                   ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ท่านพระอานนท์นี้แม้จะยังเป็นพระเสขะอยู่ก็จริง แต่ก็ไม่ถึงอคติเพราะรัก เพราะชัง เพราะกลัว เพราะหลง ด้วยว่าท่านพระอานนท์นี้ได้เล่าเรียนพระธรรมและพระวินัยในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นอันมาก
                   ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอพระเถระได้โปรดเลือกท่านพระอานนท์ด้วยเถิด.
                   ครั้นแล้วท่านพระมหากัสสปจึงได้เลือกท่านพระอานนท์ด้วย. โดยนัยดังกล่าวแล้วอย่างนี้ จึงเป็นพระเถระ ๕๐๐ องค์รวมทั้งท่านพระอานนท์ ที่พระมหากัสสปะเลือกโดยอนุมัติของภิกษุทั้งหลาย.
                   ลำดับนั้นแล พวกภิกษุชั้นพระเถระได้ดำริกันว่า เราควรสังคายนาพระธรรมและพระวินัยกันที่ไหน. ลำดับนั้น พวกภิกษุชั้นพระเถระได้ดำริกันว่า กรุงราชคฤห์ มีอาหารบิณฑบาตมาก มีเสนาสนะเพียงพอ อย่ากระนั้นเลย เราพึงอยู่จำพรรษาสังคายนาพระธรรมและพระวินัยในกรุงราชคฤห์เถิด ภิกษุเหล่าอื่นไม่พึงเข้าจำพรรษาในกรุงราชคฤห์.๖-
    ____________________________
    ๖- วิ. จุล. เล่ม ๗/ข้อ ๖๑๕

                   ก็เพราะเหตุไร พระเถระเหล่านั้นจึงมีความดำริดังนี้?
                   เพราะพระเถระเหล่านั้นมีความดำริตรงกันว่า การสังคายนาพระธรรมวินัยนี้เป็นถาวรกรรมของเรา บุคคลฝ่ายตรงข้ามบางคนจะพึงเข้าไปยังท่ามกลางสงฆ์แล้วรื้อฟื้นขึ้นได้.
                   ลำดับนั้น ท่านพระมหากัสสปะได้ประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจาว่า
                   ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงสมมติภิกษุ ๕๐๐ รูปเหล่านี้เป็นผู้อยู่จำพรรษาในกรุงราชคฤห์ เพื่อสังคายนาพระธรรมและพระวินัย ภิกษุอื่นๆ ไม่พึงจำพรรษาในกรุงราชคฤห์ ดังนี้ นี้เป็นญัตติ.
                   ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์สมมติภิกษุ ๕๐๐ รูปเหล่านี้ว่า ภิกษุ ๕๐๐ รูปเหล่านี้เป็นผู้อยู่จำพรรษาในกรุงราชคฤห์ เพื่อสังคายนาพระธรรมและพระวินัย ภิกษุอื่นๆ ไม่พึงจำพรรษาในกรุงราชคฤห์ ดังนี้
                   การสมมติภิกษุ ๕๐๐ รูปเหล่านี้ว่า ภิกษุ ๕๐๐ รูปเหล่านี้เป็นผู้อยู่จำพรรษาในกรุงราชคฤห์ เพื่อสังคายนาพระธรรมและพระวินัย ภิกษุอื่นๆ ไม่พึงอยู่จำพรรษาในกรุงราชคฤห์ ดังนี้ ชอบแก่ท่านผู้ใด ขอท่านผู้นั้นพึงนิ่งอยู่ ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ขอท่านผู้นั้นพึงพูด.
                   ภิกษุ ๕๐๐ รูปเหล่านี้ สงฆ์สมมติแล้วว่าเป็นผู้อยู่จำพรรษาในกรุงราชคฤห์ เพื่อสังคายนาพระธรรมและพระวินัย ภิกษุอื่นๆ ไม่พึงอยู่จำพรรษาในกรุงราชคฤห์ดังนี้ การสมมตินี้สมควรแก่สงฆ์ ฉะนั้น สงฆ์จึงนิ่งอยู่ ข้าพเจ้าทรงความไว้ด้วยอย่างนี้.๗-
    ____________________________
    ๗- วิ. จุล. เล่ม ๗/ข้อ ๖๑๕

                   กรรมวาจานี้ พระมหากัสสปะกระทำในวันที่ ๒๑ หลังจากพระตถาคตปรินิพพาน เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าปรินิพพานเวลาใกล้รุ่งวันวิสาขปูรณมี.
                   ครั้งนั้น พุทธบริษัทได้บูชาพระพุทธสรีระซึ่งมีสีเหมือนทอง ด้วยของหอมและดอกไม้เป็นต้นตลอด ๗ วัน. วันสาธุกีฬาได้มีเป็นเวลา ๗ วันเหมือนกัน. ต่อจากนั้น ไฟที่จิตกาธานยังไม่ดับตลอด ๗ วัน. พวกมัลลกษัตริย์ได้ทำลูกกรงหอกแล้วบูชาพระบรมสารีริกธาตุ ในสันถาคารศาลาตลอด ๗ วัน ดังนั้นจึงรวมวันได้ ๒๑ วัน. พุทธบริษัทซึ่งมีโทณพราหมณ์เป็นเจ้าหน้าที่ ได้จัดแบ่งพระบรมสารีริกธาตุทั้งหลาย ในวันขึ้น ๕ ค่ำเดือน ๗ นั้นเอง.
                   พระมหากัสสปะเลือกภิกษุทั้งหลาย เสร็จแล้วจึงสวดกรรมวาจา โดยนัยที่ท่านแจ้งความประพฤติอันไม่สมควรที่หลวงตาสุภัททะทำแล้วแก่ภิกษุสงฆ์จำนวนมาก ซึ่งมาประชุมกันในวันแบ่งพระบรมสารีริกธาตุนั้น.
                   ก็และครั้นสวดกรรมวาจานี้แล้ว พระเถระจึงเตือนภิกษุทั้งหลายให้ทราบ ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย บัดนี้ ข้าพเจ้าให้เวลาแก่ท่านทั้งหลายเป็นเวลา ๔๐ วัน ต่อจากนั้นไป ท่านจะกล่าวว่า ข้าพเจ้ายังมีกังวลเช่นนี้อยู่ไม่ได้ เพราะฉะนั้น ภายใน ๔๐ วันนี้ ท่านผู้ใดมีกังวลเกี่ยวกับโรคภัยไข้เจ็บก็ดี มีกังวลเกี่ยวกับอาจารย์และพระอุปัชฌาย์ก็ดี มีกังวลเกี่ยวกับมารดาบิดาก็ดี หรือต้องสุมบาตรต้องทำจีวรก็ดี ขอท่านผู้นั้นจงตัดกังวลนั้น ทำกิจที่ควรทำนั้นเสีย.
                   ก็แลกล่าวอย่างนี้แล้ว พระเถระแวดล้อมไปด้วยบริษัทของตนประมาณ ๕๐๐ รูป ไปยังกรุงราชคฤห์ แม้พระเถระผู้ใหญ่องค์อื่นๆ ก็พาบริวารของตนๆ ไป ต่างก็ประสงค์จะปลอบโยนมหาชนผู้เปี่ยมไปด้วยเศร้าโศก จึงไปยังทิศทางนั้นๆ
                   ฝ่ายพระปุณณเถระมีภิกษุเป็นบริวารประมาณ ๗๐๐ รูป ได้อยู่ในเมืองกุสินารานั่นเอง ด้วยประสงค์ว่าจะปลอบโยนมหาชนที่พากันมายังที่ปรินิพพานของพระตถาคต.
                   ฝ่ายท่านพระอานนท์เอง ท่านก็ถือบาตรและจีวรของพระผู้มีพระภาคเจ้า แม้เสด็จปรินิพพานแล้ว เหมือนเมื่อยังไม่เสด็จปรินิพพาน เดินทางไปยังกรุงสาวัตถีพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ ๕๐๐ รูป. แลเมื่อท่านพระอานนท์นั้นกำลังเดินทางก็มีภิกษุผู้เป็นบริวารมากขึ้นๆ จนนับไม่ได้. ในสถานที่ที่พระอานนท์เดินทางไปได้มีเสียงร่ำไห้กันอึงมี่.
                   เมื่อพระเถระถึงกรุงสาวัตถีแล้ว ผู้คนชาวกรุงสาวัตถีได้ทราบว่า พระอานนท์มาแล้วก็พากันถือของหอมและดอกไม้เป็นต้นไปต้อนรับ แล้วร้องไห้รำพันว่า ข้าแต่พระอานนท์ผู้เจริญ เมื่อก่อนท่านมากับพระผู้มีพระภาคเจ้า วันนี้ท่านทิ้งพระผู้มีพระภาคเจ้าไว้เสียที่ไหน จึงมาแต่ผู้เดียว ดังนี้เป็นต้น. ได้มีการร้องไห้อย่างมากเหมือนในวันเสด็จปรินิพพานของพระผู้มีพระภาคเจ้าฉะนั้น.
                   ได้ยินว่า ณ กรุงสาวัตถีนั้น ท่านพระอานนท์สั่งสอนมหาชนให้เข้าใจด้วยธรรมีกถาประกอบด้วยความไม่เที่ยงเป็นต้น แล้วเข้าสู่พระวิหารเชตวันไหว้พระคันธกุฎีที่พระทศพลประทับ เปิดประตูนำเตียงตั่งออกปัด กวาดพระคันธกุฎีทิ้งขยะดอกไม้แห้ง และนำเตียงตั่งเข้าไปตั้งไว้ในที่เดิมอีก ได้ทำหน้าที่ทุกอย่างซึ่งเป็นวัตรที่ต้องปฏิบัติในเวลาที่พระผู้มีพระเจ้าดำรงพระชนม์อยู่ และเมื่อทำหน้าที่ก็ไหว้พระคันธกุฎี ในเวลาทำกิจมีกวาดห้องน้ำและตั้งน้ำเป็นต้น ได้ทำหน้าที่ไปพลางรำพันไปพลาง โดยนัยเป็นต้นว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า เวลานี้เป็นเวลาสรงน้ำของพระองค์ มิใช่หรือ? เวลานี้เป็นเวลาแสดงธรรมเวลาประทานโอวาทแก่ภิกษุทั้งหลาย เวลานี้เป็นเวลาสำเร็จสีหไสยา เวลานี้เป็นเวลาชำระพระพักตร์ มิไช่หรือ? เหตุทั้งนี้ เพราะพระอานนท์นั้นเป็นผู้มีความรักตั้งมั่นในพระผู้มีพระภาคเจ้า เพราะความเป็นผู้รู้อมตรสซึ่งเป็นที่รวมพระพุทธคุณ และยังมิได้เป็นพระอรหันต์ ทั้งเป็นผู้มีจิตอ่อนโยนที่เกิดด้วยเคยอุปการะกันและกันมาหลายแสนชาติ.
                   เทวดาองค์หนึ่งได้ทำให้พระอานนท์นั้นสลดใจด้วยคำพูดว่า ข้าแต่พระอานนท์ผู้เจริญ ท่านมัวมารำพันอยู่อย่างนี้ จักปลอบโยนคนอื่นๆ ได้อย่างไร.
                   พระอานนท์สลดใจด้วยคำพูดของเทวดานั้น แข็งใจดื่มยาถ่ายเจือน้ำนมในวันที่ ๒ เพื่อทำกายซึ่งมีธาตุหนักให้เบา เพราะตั้งแต่พระตถาคตเสด็จปรินิพพาน ท่านต้องยืนมากและนั่งมาก จึงนั่งอยู่แต่ในพระวิหารเชตวันเท่านั้น พระอานนท์ดื่มยาถ่ายเจือน้ำนมชนิดใด ท่านหมายเอายาถ่ายเจือน้ำนมชนิดนั้นได้กล่าวกะเด็กหนุ่มที่สุภมาณพใช้ไปว่าดูก่อนพ่อหนุ่ม วันนี้ยังไม่เหมาะเพราะวันนี้เราดื่มยาถ่าย ต่อพรุ่งนี้เราจึงจะเข้าไป ดังนี้.๘-
    ____________________________
    ๘- ที. สี. เล่ม ๙/ข้อ ๓๑๖

                   ในวันที่ ๒ พระอานนท์มีพระเจตกเถระติดตามไป ถูกสุภมาณพถามปัญหา ได้กล่าวสูตรที่ ๑๐ ชื่อสุภสูตร ในคัมภีร์ทีฆนิกายนี้.
                   พระอานนท์เถระขอให้ทำการปริสังขรณ์สิ่งที่ชำรุดทรุดโทรมในพระเชตวันมหาวิหาร เมื่อใกล้วันเข้าพรรษา ท่านอำลาภิกษุสงฆ์ไปกรุงราชคฤห์. แม้ภิกษุผู้ทำสังคายนาเหล่าอื่นก็ไปเหมือนกัน ความจริงท่านหมายเอาภิกษุเหล่านั้นที่ไปกรุงราชคฤห์อย่างนี้ กล่าวคำนี้ไว้ว่า ครั้งนั้นแล ภิกษุชั้นพระเถระได้ไปกรุงราชคฤห์ เพื่อสังคายนาพระธรรมและพระวินัย. พระเถระเหล่านั้นทำอุโบสถในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ ประชุมเข้าพรรษาในวันแรม ๑ ค่ำ.

                   ปฐมสังคายนาเริ่มวันแรม ๕ ค่ำ เดือน ๙               
                   ก็โดยสมัยนั้นแล มีวัดใหญ่ ๑๘ วัดล้อมรอบกรุงราชคฤห์ วัดเหล่านั้นมีหยากเยื่อถูกทิ้งเรี่ยราดไปทั้งนั้น เพราะในเวลาเสด็จปรินิพพานของพระผู้มีพระภาคเจ้า ภิกษุทั้งหมดต่างก็ถือบาตรจีวรของตนๆ ทิ้งวัดและบริเวณไป.
                   ครั้งนั้น พระเถระทั้งหลาย เมื่อจะทำข้อตกลงเกี่ยวกับการปฏิสังขรณ์วัดเหล่านั้น ได้คิดกันว่า พวกเราต้องทำการปฏิสังขรณ์สิ่งชำรุดทรุดโทรมตลอดเดือนต้นของพรรษา เพื่อบูชาคำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้า และเพื่อเปลื้องคำติเตียนของเดียรถีย์ เพราะพวกเดียรถีย์จะพึงกล่าวติอย่างนี้ว่า สาวกของพระสมณโคดมบำรุงวัดวาอารามแต่เมื่อพระศาสดายังมีพระชนม์อยู่เท่านั้น เมื่อพระองค์ปรินิพพานแล้ว ก็พากันทอดทิ้งเสีย การบริจาคทรัพย์เป็นจำนวนมากของตระกูลทั้งหลายย่อมเสียหายไปโดยทำนองนี้.
                   มีคำอธิบายว่า ที่พระเถระทั้งหลายคิดกันก็เพื่อจะเปลื้องคำติเตียนของเดียรถีย์เหล่านั้น. ครั้นคิดอย่างนี้แล้วจึงได้ทำข้อตกลงกัน ซึ่งท่านหมายเอาข้อตกลงนั้น กล่าวว่า ครั้งนั้นแล ภิกษุชั้นพระเถระทั้งหลายได้ปรึกษากันว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสรรเสริญการปฏิสังขรณ์เสนาสนะที่ชำรุดทรุดโทรม บัดนี้ เราทั้งหลายจงทำการปฏิสังขรณ์สิ่งที่ชำรุดทรุดโทรมตลอดเดือนต้นพรรษา จักประชุมสังคายนาพระธรรมและพระวินัยในเดือนกลางพรรษา.
                   ในวันที่ ๒ พระเถระเหล่านั้นได้ไปยืนอยู่ที่ประตูพระราชวัง.
                   พระเจ้าอชาตศัตรูเสด็จมานมัสการแล้ว มีพระราชดำรัสถามถึงกิจที่พระองค์ทำว่า พระผู้เป็นเจ้าทั้งหลายมาธุระอะไร เจ้าข้า? พระเถระทั้งหลายถวายพระพรให้ทรงทราบถึงงานฝีมือ เพื่อประโยชน์แก่การปฏิสังขรณ์วัดใหญ่ ๑๘ วัด.
                   พระเจ้าอชาตศัตรูได้พระราชทานคนที่ทำงานฝีมือ.
                   พระเถระให้ปฏิสังขรณ์วัดทั้งหมดตลอดเดือนต้นฤดูฝนเสร็จแล้ว ถวายพระพรแด่พระเจ้าอชาตศัตรูว่า ขอถวายพระพรมหาบพิตร งานปฏิสังขรณ์วัดเสร็จแล้ว บัดนี้ อาตมภาพทั้งหลายจะทำการสังคายนาพระธรรมและพระวินัย.
                   พระเจ้าอชาตศัตรูมีพระราชดำรัสว่า ดีแล้ว เจ้าข้า พระคุณเจ้าทั้งหลายไม่ต้องหนักใจ นิมนต์ทำเถิด การฝ่ายอาณาจักรขอให้เป็นหน้าที่ของโยม ส่วนการฝ่ายธรรมจักรขอให้เป็นหน้าที่ของพระคุณเจ้าทั้งหลาย โยมจะต้องทำอะไรบ้าง โปรดสั่งมาเถิดเจ้าข้า.
                   พระเถระทั้งหลายถวายพระพรว่า ขอถวายพระพรมหาบพิตร ขอพระองค์ได้โปรดให้ทำที่นั่งประชุมสำหรับภิกษุทั้งหลายผู้ทำสังคายนา. จะทำที่ไหน เจ้าข้า? ขอถวายพระพรมหาบพิตร ควรทำใกล้ประตูถ้ำสัตตบรรณ ข้างภูเขาเวภาระ.
                   พระเจ้าอชาตศัตรูมีพระราชกระแสว่า เหมาะดี เจ้าข้า แล้วโปรดให้สร้างมณฑปมีเครื่องประดับวิเศษที่น่าชม มีทรวดทรงสัณฐานเช่นอาคารอันวิษณุกรรมเทพบุตรเนรมิตไว้ มีฝาเสาและบันไดจัดแบ่งไว้เป็นอย่างดี มีความงามวิจิตรไปด้วยมาลากรรมและลดากรรมนานาชนิด พิศแล้วประหนึ่งว่าจะครอบงำความงามแห่งพระตำหนักของพระราชา งามสง่าเหมือนจะเย้ยหยันความงามของเทพวิมาน ปานประหนึ่งว่าสถานเป็นที่รวมอยู่ของโชควาสนา ราวกะว่าท่าที่รวมลงของฝูงวิหค คือนัยนาแห่งเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เพียงดังภาพที่งามตาน่ารื่นรมย์ในโลก ซึ่งประมวลไว้ในที่เดียวกัน มีเพดานงามยวนตาเหมือนจะคายออกซึ่งพวงดอกไม้ชนิดต่างๆ และไข่มุกที่ห้อยอยู่ ดูประหนึ่งพื้นระดับซึ่งปรับด้วยทับทิม วิจิตรไปด้วยรัตนะต่างๆ มีแท่นที่สำเร็จเรียบร้อยดีด้วยดอกไม้บูชานานาชนิด ประดับให้วิจิตรละม้ายคล้ายพิมานพรหม.
                   โปรดให้ปูลาดอาสนะอันเป็นกัปปิยะ ๕๐๐ ที่มีค่านับมิได้ในมหามณฑปนั้น สำหรับภิกษุ ๕๐๐ รูป ให้ปูลาดที่นั่งพระเถระ หันหน้าทางทิศเหนือ หันหลังทางทิศใต้ ให้ปูลาดที่นั่งแสดงธรรมอันควรแก่การประทับนั่งของพระพุทธเจ้าผู้มีบุญ หันหน้าทางทิศตะวันออก ในท่ามกลางมณฑป วางพัดทำด้วยงาช้างไว้บนธรรมาสน์นั้น แล้วมีรับสั่งให้แจ้งแก่ภิกษุสงฆ์ว่า กิจของโยมเสร็จแล้ว เจ้าข้า.
                   ก็และในวันนั้น ภิกษุบางพวกได้พูดพาดพิงถึงท่านพระอานนท์อย่างนี้ว่า ในหมู่ภิกษุนี้ มีภิกษุรูปหนึ่งเที่ยวโชยกลิ่นคาวอยู่. พระอานนทเถระได้ยินคำนั้นแล้วถึงความสังเวชว่า ภิกษุรูปอื่นที่ชื่อว่าเที่ยวโชยกลิ่นคาว ไม่มีในหมู่ภิกษุนี้ ภิกษุเหล่านี้คงพูดหมายถึงเราเป็นแน่. ภิกษุบางพวกกล่าวกะพระอานนท์นั้นว่า ดูก่อนท่านอานนท์ การประชุมทำสังคายนาจักมีในวันพรุ่งนี้ แต่ท่านยังเป็นพระเสขะ ยังมีกิจที่จะต้องทำ ด้วยเหตุนั้น ท่านไม่ควรเข้าประชุม ท่านจงเป็นผู้ไม่ประมาทเถิด.

                   พระอานนท์บรรลุพระอรหัต               
                   ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์คิดว่า พรุ่งนี้เป็นวันประชุมทำสังคายนา การที่เรายังเป็นพระเสขะอยู่ จะเข้าประชุมด้วยนั้น ไม่สมควรแก่เราเลย แล้วให้เวลาล่วงไปด้วยกายคตาสติกรรมฐาน ตลอดราตรีเป็นส่วนมากทีเดียว ในเวลาใกล้รุ่งของราตรีก็ลงจากที่จงกรมเข้าวิหาร เอนกายลงหมายจะนอน เท้าทั้งสองพ้นจากพื้นแล้ว แต่ศีรษะยังไม่ทันถึงหมอน ในระหว่างนี้จิตพ้นจากอาสวะทั้งหลาย ไม่ถือมั่นด้วยอุปาทาน.
                   พระอานนทเถระนี้ให้เวลาล่วงไปในภายนอกด้วยการจงกรม เมื่อไม่อาจให้คุณวิเศษเกิดขึ้นได้ ก็คิดว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสกะเราไว้มิใช่หรือว่า๑- ดูก่อนอานนท์ เธอได้สร้างบุญไว้แล้ว จงหมั่นบำเพ็ญเพียรเถิด ไม่ช้าก็จะเป็นพระอรหันต์ดังนี้ ธรรมดาพระพุทธเจ้าทั้งหลายย่อมไม่ตรัสผิดพลาด แต่เราปรารภความเพียรมากเกินไป ฉะนั้น จิตของเราจึงฟุ้งซ่าน ทีนี้เราจะประกอบความเพียรพอดีๆ คิดดังนี้แล้วลงจากที่จงกรม ยืนในที่ล้างเท้า ล้างเท้าเข้าวิหาร นั่งบนเตียงคิดว่าจักพักผ่อนสักหน่อย แล้วเอนกายบนเตียง เท้าทั้งสองพ้นจากพื้น ศีรษะยังไม่ทันถึงหมอน ในระหว่างนี้จิตพ้นจากอาสวะทั้งหลาย ไม่ถือมั่นด้วยอุปาทาน.
    ____________________________
    ๑- ที. มหา. เล่ม ๑๐/ข้อ ๑๓๕

                   ความเป็นพระอรหันต์ของพระอานนทเถระ เว้นจากอิริยาบถ ๔ ฉะนั้น เมื่อมีการกล่าวถามกันขึ้นว่า ในศาสนานี้ ภิกษุที่ไม่นอน ไม่นั่ง ไม่ยืน ไม่เดินจงกรม แต่ได้บรรลุพระอรหัต คือภิกษุรูปไหน. ควรตอบว่า คือพระอานนทเถระ.
                   ครั้งนั้น ในวันที่ ๒ จากวันที่พระอานนท์บรรลุพระอรหัต คือวันแรม ๕ ค่ำ พวกภิกษุชั้นพระเถระฉันเสร็จแล้ว เก็บบาตรและจีวรแล้วประชุมกันในธรรมสภา. สมัยนั้นแล ท่านพระอานนท์ได้เป็นพระอรหันต์ได้ไปสู่ที่ประชุม.
                   ท่านไปอย่างไร.
                   ท่านพระอานนท์มีความยินดีว่า บัดนี้ เราเป็นผู้สมควรเข้าท่ามกลางที่ประชุมแล้ว ห่มจีวรเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง มีลักษณะเหมือนลูกตาลสุกที่หล่นจากขั้ว มีลักษณะเหมือนทับทิมที่วางไว้บนผ้ากัมพลสีเหลือง มีลักษณะเหมือนดวงจันทร์เพ็ญที่ลอยเด่นในท้องนภากาศอันปราศจากเมฆ และมีลักษณะเหมือนดอกปทุมมีเกสรและกลีบแดงเรื่อกำลังแย้มด้วยต้องแสงอาทิตย์อ่อนๆ คล้ายจะบอกเรื่องที่ตนบรรลุพระอรหัตด้วยปากอันประเสริฐบริสุทธิ์ผุดผ่องมีรัศมีและมีสิริ ได้ไปสู่ที่ประชุมสงฆ์.
                   ครั้งนั้น ท่านพระมหากัสสปะพอเห็นพระอานนท์ ดังนั้นได้มีความรู้สึกว่า ท่านผู้เจริญ พระอานนท์บรรลุพระอรหัตแล้ว งามจริงๆ ถ้าพระศาสดายังดำรงพระชนม์อยู่ พระองค์ก็จะพึงประทานสาธุการแก่พระอานนท์ในวันนี้แน่แท้ บัดนี้ เราจะให้สาธุการซึ่งพระศาสดาควรประทานแก่พระอานนท์ดังนี้แล้ว ได้ให้สาธุการ ๓ ครั้ง.
                   ส่วนพระมัชฌิมภาณกาจารย์กล่าวว่า พระอานนทเถระประสงค์จะให้สงฆ์ทราบเรื่องที่ตนบรรลุพระอรหัต จึงมิได้ไปพร้อมกับภิกษุทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลายเมื่อนั่งบนอาสนะที่ถึงแก่ตนๆ ตามลำดับอาวุโส ก็นั่งเว้นอาสนะของพระอานนทเถระไว้. บรรดาภิกษุเหล่านั้น ภิกษุบางพวกถามว่า นั่นอาสนะของใคร? ได้รับตอบว่า ของพระอานนท์. ภิกษุเหล่านั้นถามอีกว่า พระอานนท์ไปไหนเสียเล่า?
                   สมัยนั้น พระอานนทเถระคิดว่า บัดนี้เป็นเวลาที่เราควรจะไป ต่อจากนั้น เมื่อจะแสดงอานุภาพของตน ท่านจึงดำดินแล้วแสดงตนบนอาสนะของตนทีเดียว. อาจารย์อีกพวกหนึ่งกล่าวว่า พระอานนท์ไปทางอากาศแล้ว นั่งบนอาสนะของตน ดังนี้ก็มี. อย่างไรก็ตาม การที่ท่านพระมหากัสสปะเห็นพระอานนท์แล้ว ให้สาธุการ เป็นการเหมาะสมโดยประการทั้งปวงทีเดียว.
                   เมื่อท่านพระอานนท์มาอย่างนี้แล้ว พระมหากัสสปเถระจึงปรึกษาหารือภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เราทั้งหลายจะสังคายนาอะไรก่อน พระธรรมหรือพระวินัย?
                   ภิกษุทั้งหลายกล่าวว่า ข้าแต่พระมหากัสสปะผู้เจริญ พระวินัยเป็นอายุของพระพุทธศาสนา เมื่อพระวินัยตั้งอยู่ พระศาสนาก็ชื่อว่ายังดำรงอยู่ เพราะฉะนั้น เราทั้งหลายจงสังคายนาพระวินัยก่อน
                   พระมหากัสสปะถามว่า เราจะจัดให้ใครรับเป็นธุระ?
                   ที่ประชุมตอบว่าให้ท่านพระอุบาลีรับเป็นธุระ? ท่านถามแย้งว่า พระอานนท์ไม่สามารถหรือ? ที่ประชุมชี้แจงว่า ไม่ใช่พระอานนท์ไม่สามารถ ก็แต่ว่าเมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าครั้งดำรงพระชนม์อยู่ ได้สถาปนาท่านพระอุบาลีไว้ในเอตทัคคะ เพราะอาศัยการเล่าเรียนวินัยว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุบาลีเป็นยอดแห่งภิกษุสาวกของเราผู้ทรงวินัย๒- ดังนี้ เพราะฉะนั้น เราทั้งหลายจึงต้องถามพระอุบาลีเถระ สังคายนาพระวินัย.
    ____________________________

    ๒- องฺ. เอก. เล่ม ๒๐/ข้อ ๑๔๙

                   ลำดับนั้น พระมหากัสสปเถระได้สมมติตนเองเพื่อถามพระวินัย แม้พระอุบาลีเถระก็สมมติตนเองเพื่อตอบพระวินัย.
                   ในการสมมตินั้น มีบาลีดังต่อไปนี้
                   ครั้งนั้นแล ท่านพระมหากัสสปะได้เผดียงว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว ข้าพเจ้าจะขอถามวินัยกะพระอุบาลี. แม้ท่านพระอุบาลีก็ได้เผดียงว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว ข้าพเจ้าอันท่านพระมหากัสสปะถามวินัยแล้ว จะตอบ. ครั้งท่านพระอุบาลีสมมติตนอย่างนี้แล้วลุกจากอาสนะ ห่มจีวรเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง นมัสการภิกษุชั้นพระเถระแล้วนั่งบนธรรมาสน์จับพัดงา.
                   ลำดับนั้น พระมหากัสสปเถระนั่งบนเถรอาสน์ ถามวินัยกะท่านพระอุบาลีว่า ดูก่อนอาวุโสอุบาลี ปฐมปาราชิก พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติที่ไหน? พระอุบาลีตอบว่า ทรงบัญญัติที่เมืองเวสาลี เจ้าข้า. พระมหากัสสปะถามว่า ทรงปรารภใคร? พระอุบาลีตอบว่า ทรงปรารภพระสุทิน บุตรกลันทเศรษฐี. พระมหากัสสปะถามว่า เรื่องอะไร? พระอุบาลีตอบว่า เรื่องเสพเมถุนธรรม.
                   ครั้งนั้นแล ท่านพระมหากัสสปะถามท่านพระอุบาลีทั้งวัตถุ ถามทั้งนิทาน ถามทั้งบุคคล ถามทั้งมูลบัญญัติ ถามทั้งอนุบัญญัติ ถามทั้งอาบัติ ถามทั้งอนาบัติแห่งปฐมปาราชิก.
                   ท่านพระอุบาลีอันพระมหากัสสปะถามแล้วๆ ก็ได้ตอบแล้ว.
                   ถามว่า ก็ในบาลีปฐมปาราชิก ในวินัยปิฎกนี้ บทอะไรๆ ที่ควรตัดออกหรือที่ควรเพิ่มเข้ามา จะมีบ้างหรือไม่มีเลย.
                   ตอบว่า บทที่ควรตัดออก ไม่มีเลย เพราะถือกันว่า บทที่ควรตัดออกในภาษิตของพระพุทธเจ้าผู้มีบุญ จะมีไม่ได้เลย ด้วยว่าพระตถาคตทั้งหลายย่อมไม่ตรัสอักษรที่ไม่มีประโยชน์แม้แต่ตัวเดียว แต่บทที่ควรตัดออกในภาษิตของพระสาวกทั้งหลายก็ดี ของเทวดาทั้งหลายก็ดี ย่อมมีบ้าง พระธรรมสังคาหกเถระทั้งหลายได้ตัดบทนั้นออกแล้ว. ส่วนบทที่ควรเพิ่มเข้ามา ย่อมมีได้แม้ในพุทธภาษิต สาวกภาษิตและเทวดาภาษิตทั่วไป เพราะฉะนั้น บทใดควรเพิ่มเข้าในเทศนาใด พระธรรมสังคาหกเถระทั้งหลายก็ได้เพิ่มบทนั้นเข้ามาแล้ว.
                   ถามว่า บทที่เพิ่มเข้ามานั้นได้แก่บทอะไรบ้าง?
                   ตอบว่า บทที่เพิ่มเข้ามานั้น ได้แก่บทที่เป็นแต่เพียงคำเชื่อมความท่อนต้นกับท่อนหลัง มีอาทิอย่างนี้ว่า เตน สมเยน บ้าง เตน โข ปน สมเยน บ้าง อถโข บ้าง เอวํ วุตฺเต บ้าง เอตทโวจ บ้าง
                   อนึ่ง พระธรรมสังคาหกเถระทั้งหลายได้เพิ่มบทที่ควรเพิ่มเข้ามาอย่างนี้แล้ว ตั้งไว้ว่า อิทํ ปฐมปาราชิกํ (สิกขาบทนี้ชื่อปฐมปาราชิก)
                   เมื่อปฐมปาราชิกขึ้นสู่สังคายนาแล้ว พระอรหันต์ ๕๐๐ องค์ก็ได้ทำคณสาธยาย (สวดเป็นหมู่) โดยนัยที่ยกขึ้นสู่สังคายนาว่า เตน สมเยน พุทฺโธ ภควา เวรญฺชายํ วิหรติ เป็นต้น.
                   ในเวลาที่พระอรหันต์ ๕๐๐ องค์เหล่านั้นเริ่มสวด แผ่นดินใหญ่ได้เป็นเหมือนให้สาธุการไหวจนถึงน้ำรองแผ่นดิน.
                   พระธรรมสังคาหกเถระทั้งหลายยกปาราชิกที่เหลืออยู่ ๓ สิกขาบทขึ้นสู่สังคายนาโดยนัยนี้เหมือนกัน แล้วตั้งไว้ว่า อิทํ ปาราชิกกณฺฑํ กัณฑ์นี้ชื่อปาราชิกกัณฑ์
                             ตั้งสังฆาทิเสส ๑๓ ไว้ว่า เตรสกณฺฑํ
                             ตั้งสิกขาบท ๒ ไว้ว่า อนิยต
                             ตั้งสิกขาบท ๓๐ ไว้ว่า นิสสัคคียปาจิตตีย์
                             ตั้งสิกขาบท ๙๒ ไว้ว่า ปาจิตตีย์
                             ตั้งสิกขาบท ๔ ไว้ว่า ปาฏิเทสนียะ
                             ตั้งสิกขาบท ๗๕ ไว้ว่า เสขิยะ
                             ตั้งธรรม ๗ ประการไว้ว่า อธิกรณสมถะ
                   ระบุสิกขาบท ๒๒๗ ว่า คัมภีร์มหาวิภังค์ ตั้งไว้ด้วยประการฉะนี้. แม้ในเวลาเสร็จการสังคายนาคัมภีร์มหาวิภังค์ แผ่นดินใหญ่ก็ได้ไหวโดยนัยก่อนเหมือนกัน.
                   ต่อจากนั้น พระธรรมสังคาหกเถระทั้งหลายได้ตั้งสิกขาบท ๘ ในภิกขุนีวิภังค์ไว้ว่า กัณฑ์นี้ชื่อปาราชิกกัณฑ์
                             ตั้งสังฆาทิเสส ๑๗ สิกขาบทไว้ว่า นี้สัตตรสกัณฑ์
                             ตั้งนิสสัคคียปาจิตตีย์ ๓๐ สิกขาบทนี้ไว้ว่า นี้นิสสัคคียปาจิตตีย์
                             ตั้งปาจิตตีย์ ๑๖๖ สิกขาบทไว้ว่า นี้ปาจิตตีย์
                             ตั้งปาฏิเทสนียะ ๘ สิกขาบทไว้ว่า นี้ปาฏิเทสนียะ
                             ตั้งเสขิยะ ๗๕ สิกขาบทไว้ว่า นี้เสขิยะ
                             ตั้งธรรม ๗ ประการไว้ว่า นี้อธิกรณสมถะ
                   ระบุสิกขาบท ๓๐๔ ว่า ภิกขุนีวิภังค์ อย่างนี้แล้วตั้งไว้ว่า วิภังค์นี้ชื่ออุภโตวิภังค์ มี ๖๔ ภาณวาร. แม้ในเวลาเสร็จการสังคายนาคัมภีร์อุภโตวิภังค์ แผ่นดินใหญ่ก็ได้ไหวโดยนัยที่กล่าวแล้วเหมือนกัน.
                   โดยอุบายวิธีแหละ พระธรรมสังคาหกเถระทั้งหลายยกคัมภีร์ขันธกะ (มหาวรรคและจุลวรรค) ซึ่งมีประมาณ ๘๐ ภาณวารและคัมภีร์บริวารซึ่งมีประมาณ ๒๕ ภาณวารขึ้นสู่สังคายนาแล้วตั้งไว้ว่า ปิฎกนี้ชื่อวินัยปิฎก.
                   แม้ในเวลาเสร็จการสังคายนาวินัยปิฎก แผ่นดินได้ไหวตามนัยที่กล่าวแล้วนั่นแล.
                   พระธรรมสังคาหกเถระทั้งหลายได้มอบท่านพระอุบาลีให้ไปสอนลูกศิษย์ของท่าน ในเวลาเสร็จการสังคายนาวินัยปิฎก พระอุบาลีเถระวางพัดงาลงจากธรรมมาสน์ นมัสการภิกษุชั้นเถระทั้งหลายแล้วนั่งบนอาสนะที่ถึงแก่ตน.
                   ครั้งสังคายนาพระวินัยเสร็จแล้ว ท่านพระมหากัสสปะประสงค์จะสังคายนาพระธรรมต่อไป จึงถามภิกษุทั้งหลายว่า เราทั้งหลายผู้จะสังคายนาพระธรรม (สุตตันตปิฎกและอภิธรรมปิฎก) จะจัดให้ใครรับเป็นธุระสังคายนาพระธรรม.
                   ภิกษุทั้งหลายกล่าวว่า ให้ท่านพระอานนทเถระรับเป็นธุระ.
                   ครั้งนั้นแล ท่านพระมหากัสสปะได้เผดียงว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว ข้าพเจ้าจะขอถามพระธรรมกะพระอานนท์.
                   ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์ได้เผดียงว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว ข้าพเจ้าอันท่านพระมหากัสสปะถามพระธรรมแล้ว จะตอบ.
                   ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์ลุกจากอาสนะ ห่มจีวรเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง นมัสการภิกษุชั้นพระเถระทั้งหลายแล้ว นั่งบนธรรมาสน์จับพัดงา.
                   ครั้งนั้นแล ท่านพระมหากัสสปะถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย เราทั้งหลายจะสังคายนาปิฎกไหนก่อน? ภิกษุทั้งหลายกล่าวว่า สังคายนาสุตตันตปิฎกก่อน.
                   พระมหากัสสปะถามว่า ในสุตตันตปิฎกมีสังคีติ ๔ ประการ (คือทีฆสังคีติ การสังคายนาทีฆนิกาย มัชฌิมสังคีติ การสังคายนามัชฌิมนิกาย สังยุตตสังคีติ การสังคายนาสังยุตตนิกาย อังคุตตรสังคีติ การสังคายนาอังคุตตรนิกาย ส่วนขุททกนิกาย มีวินัยปิฎกรวมอยู่ด้วย จึงไม่นับในที่นี้) ในสังคีติเหล่านั้น เราทั้งหลายจะสังคายนาสังคีติไหนก่อน? ภิกษุทั้งหลายกล่าวว่า สังคายนาทีฆสังคีติก่อน.
                   พระมหากัสสปะถามว่า ในทีฆสังคีติมีสูตร ๓๔ สูตรมีวรรค ๓ วรรค ในวรรคเหล่านั้น เราทั้งหลายจะสังคายนาวรรคไหนก่อน?
                   ภิกษุทั้งหลายกล่าวว่า สังคายนาสีลขันธวรรคก่อน.
                   พระมหากัสสปะถามว่า ในสีลขันธวรรคมีสูตร ๑๓ สูตร ในสูตรเหล่านั้น เราทั้งหลายจะสังคายนาสูตรไหนก่อน?
                   ภิกษุทั้งหลายกล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขึ้นชื่อว่าพรหมชาลสูตร ประดับด้วยศีล ๓ ประเภท เป็นสูตรกำจัดโทษมีการหลอกลวง และการพูดประจบประแจงซึ่งเป็นมิจฉาชีพหลายอย่างเป็นต้น เป็นสูตรปลดเปลื้องข่ายคือทิฏฐิ ๖๒ ทำหมื่นโลกธาตุให้ไหว เราทั้งหลายจงสังคายนาพรหมชาลสูตรนั้นก่อน.
                   ครั้งนั้นแล ท่านพระมหากัสสปะได้กล่าวถามคำนี้กะท่านพระอานนท์ว่า ดูก่อนอาวุโสอานนท์ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสพรหมชาลสูตรที่ไหน? พระอานนท์ตอบว่า ตรัส ณ พระตำหนักในพระราชอุทยานอัมพลัฏฐิกา ระหว่างกรุงราชคฤห์และเมืองนาลันทา.
                   พระมหากัสสปะถามว่า ทรงปรารภใคร? พระอานนท์ตอบว่า ทรงปรารภสุปปิยปริพาชกกับพรหมทัตมาณพ. พระมหากัสสปะถามว่า เรื่องอะไร? พระอานนท์ตอบว่า เรื่องชมและติ.
                   ครั้งนั้นแล ท่านพระมหากัสสปะถามทั้งนิทาน ถามทั้งบุคคลแห่งพรหมชาลสูตรกะท่านพระอานนท์ ท่านพระอานนท์ก็ได้ตอบแล้ว. เมื่อตอบเสร็จแล้ว พระอรหันต์ ๕๐๐ องค์ได้ทำคณสาธยาย. และแผ่นดินได้ไหวตามนัยที่กล่าวแล้วนั่นแล.
                   ครั้งสังคายนาพรหมชาลสูตรอย่างนี้แล้ว ต่อจากนั้น พระธรรมสังคาหกเถระทั้งหลายได้สังคายนาสูตร ๑๓ สูตรทั้งหมดรวมทั้งพรหมชาลสูตรตามลำดับแห่งปุจฉาและวิสัชนา โดยนัยเป็นต้นว่า ดูก่อนอาวุโสอานนท์ วรรคนี้ชื่อสีลขันธวรรค. พระธรรมสังคาหกเถระทั้งหลายสังคายนาบาลีประมาณ ๖๔ ภาณวารประดับด้วยสูตร ๖๔ สูตร จัดเป็น ๓ วรรคอย่างนี้ คือมหาวรรคต่อจากสีลขันธวรรคนั้น ปาฏิกวรรคต่อจากมหาวรรคนั้น แล้วกล่าวว่านิกายนี้ชื่อทีฆนิกาย แล้วมอบท่านพระอานนท์ให้ไปสอนลูกศิษย์ของท่าน.
                   ต่อจากการสังคายนาคัมภีร์ทีฆนิกายนั้น พระธรรมสังคาหกเถระทั้งหลายได้สังคายนามัชฌิมนิกายประมาณ ๘๐ ภาณวาร แล้วมอบกะนิสิตของพระธรรมเสนาบดีสารีบุตรเถระว่า ท่านทั้งหลายจงบริหารคัมภีร์มัชฌิมนิกายนี้.
                   ต่อจากการสังคายนาคัมภีร์มัชฌิมนิกายนั้น พระธรรรมสังคาหกเถระทั้งหลายได้สังคายนาสังยุตตนิกายประมาณ ๑๐๐ ภาณวาร แล้วมอบกะพระมหากัสสปเถระให้ไปสอนลูกศิษย์ของท่าน.
                   ต่อจากการสังคายนาคัมภีร์สังยุตตนิกายนั้น พระธรรมสังคาหกเถระทั้งหลายได้สังคายนาอังคุตตรนิกายประมาณ ๑๒๐ ภาณวาร แล้วมอบกะพระอนุรุทธเถระให้ไปสอนลูกศิษย์ของท่าน.
                   ต่อจากนั้น
                             คัมภีร์ธรรมสังคณี คัมภีร์วิภังค์ คัมภีร์กถาวัตถุ
                             คัมภีร์ปุคคลบัญญัติ คัมภีร์ธาตุกถา คัมภีร์ยมก
                             คัมภีร์ปัฏฐาน ท่านเรียกว่า พระอภิธรรม.
                   ต่อจากการสังคายนาคัมภีร์อังคุตตรนิกายนั้น พระธรรมสังคาหกเถระทั้งหลายได้สังคายนาบาลีพระอภิธรรม ซึ่งเป็นอารมณ์ของญาณอันสุขุม อันบัณฑิตทั้งหลายสรรเสริญแล้วอย่างนี้ แล้วกล่าวว่า ปิฎกนี้ชื่ออภิธรรมปิฎก. พระอรหันต์ ๕๐๐ องค์ได้ทำคณสาธยาย แผ่นดินได้ไหวตามนัยที่กล่าวแล้วนั่นแล.
                   ต่อจากการสังคายนาอภิธรรมปิฎกนั้น พระธรรมสังคาหกเถระทั้งหลายได้สังคายนาพระบาลี คือ ชาดก นิทเทส ปฏิสัมภิทามรรค อปทาน สุตตนิบาต ขุททกปาฐะ ธรรมบท อุทาน อิติวุตตกะ วิมานวัตถุ เปตวัตถุ เถรคาถา เถรีคาถา. พระทีฆภาณกาจารย์กล่าวว่าประชุมคัมภีร์นี้ชื่อว่า ขุททกคันถะ และกล่าวว่าพระธรรมสังคาหกเถระยกสังคายนาในอภิธรรมปิฎกเหมือนกัน.
                   ส่วนพระมัชฌิมภาณกาจารย์กล่าวว่า ขุททกคันถะทั้งหมดนี้กับจริยาปิฎกและพุทธวงศ์ นับเนื่องในสุตตันตปิฎก.
                   พระพุทธพจน์แม้ทั้งหมดนี้ พึงทราบว่า
                             มี ๑ คือรส
                             มี ๒ คือธรรมและวินัย.
                             มี ๓ คือปฐมพจน์ มัชฌิมพจน์และปัจฉิมพจน์
                             มี ๓ ด้วยอำนาจแห่งปิฎก
                             มี ๕ ด้วยอำนาจแห่งนิกาย
                             มี ๙ ด้วยอำนาจแห่งองค์
                             มี ๘๔,๐๐๐ ด้วยอำนาจธรรมขันธ์ ด้วยประการฉะนี้.
                   พระพุทธพจน์มี ๑ คือรส นับอย่างไร?
                   จริงอยู่ คำใดที่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสรู้พระสัมมาสัมโพธิญาณอันยอดเยี่ยมแล้ว ทรงสั่งสอนเทวดา มนุษย์ นาคและยักษ์เป็นต้นก็ดี ทรงพิจารณาอยู่ก็ดี ตลอดเวลา ๔๕ ปี ในระหว่างนี้จนตราบเท่าเสด็จปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ตรัสไว้ คำทั้งหมดนั้นมีรสเดียว คือวิมุตติรสนั่นแล. พระพุทธพจน์มี ๑ คือรส นับอย่างนี้.
                   พระพุทธพจน์มี ๒ คือธรรมและวินัย นับอย่างไร?
                   จริงอยู่ พระพุทธพจน์ทั้งหมดนี้ย่อมนับว่าธรรมและวินัย ในธรรมและวินัยนั้น วินัยปิฎกชื่อว่าวินัย พระพุทธพจน์ที่เหลือชื่อว่าธรรม. เพราะเหตุนั้นแล พระมหากัสสปะจึงกล่าวว่า อย่ากระนั้นเลย เราทั้งหลายพึงสังคายนาพระธรรมและพระวินัย และกล่าวว่า ข้าพเจ้าจะถามวินัยกะพระอุบาลี จะถามธรรมกะพระอานนท์. พระพุทธพจน์มี ๒ คือธรรมและวินัย นับอย่างนี้.
                   พระพุทธพจน์มี ๓ คือ ปฐมพจน์ มัชฌิมพจน์และปัจฉิมพจน์ นับอย่างไร?
                   จริงอยู่ พระพุทธพจน์ทั้งหมดนี้มี ๓ ประเภท คือปฐมพุทธพจน์ มัชฌิมพุทธพจน์ ปัจฉิมพุทธพจน์.
                   ใน ๓ ประเภทนี้ ปฐมพุทธพจน์ได้แก่พุทธพจน์นี้ คือ
                              อเนกชาติสํสารํ     สนฺธาวิสฺสํ อนิพฺพิสํ
                              คหการํ คเวสนฺโต     ทุกฺขา ชาติ ปุนปฺปุนํ
                              คหการก ทิฏฺโฐสิ     ปุน เคหํ น กาหสิ
                              สพฺพา เต ผาสุกา     ภคฺคา คหกูฏํ วิสงฺขตํ
                              วิสงฺขารคตํ จิตฺตํ     ตณฺหานํ ขยมชฺฌคา


                   เราแสวงหาช่างผู้ทำเรือนคืออัตภาพ เมื่อไม่พบ ได้ท่องเที่ยวไปแล้ว สิ้นสงสารนับด้วยชาติมิใช่น้อย ความเกิดบ่อยๆ เป็นทุกข์
                   ดูก่อนช่างผู้ทำเรือนคืออัตภาพ เราพบท่านแล้ว ท่านจักทำเรือนคืออัตภาพของเราอีกไม่ได้ โครงบ้านของท่านทั้งหมด เราทำลายแล้ว ยอดแห่งเรือนคืออวิชชา เรารื้อแล้ว จิตของเราถึงพระนิพพานแล้ว เราได้บรรลุธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหาทั้งหลายแล้ว.
    ____________________________
    ๑- ขุ. ธ. เล่ม ๒๕/ข้อ ๒๑

                   อาจารย์บางพวกกล่าวอุทานคาถาในคัมภีร์ขันธกะ มีคำว่า ยทา หเว ปาตุภวนฺติ ธมฺมา ในกาลใดแล ธรรมทั้งหลายย่อมปรากฏ๒- ดังนี้เป็นต้น ว่าเป็นปฐมพุทธพจน์ ก็อุทานคาถานี้ พึงทราบว่าเป็นอุทานคาถาที่บังเกิดแก่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้บรรลุพระสัพพัญญุตญาณแล้ว ทรงพิจารณาอยู่ซึ่งปัจจยาการด้วยพระญาณที่สำเร็จด้วยโสมนัสเวทนา ในวันแรม ๑ ค่ำเดือน ๖.
                   ก็คำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสในเวลาใกล้เสด็จปรินิพพานว่า๓-
                   ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้เราขอเตือนเธอทั้งหลาย สังขารทั้งหลายมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา เธอทั้งหลายจงยังสัมมาปฏิบัติให้ถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาท ดังนี้.
                   เป็นปัจฉิมพุทธพจน์.
    ____________________________
    ๒- วิ. มหา. เล่ม ๔/ข้อ ๑   ๓- ที. มหา. เล่ม ๑๐/ข้อ ๑๔๓

                   คำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสระหว่างปฐมพจน์และปัจฉิมพจน์ ชื่อมัชฌิมพจน์.
                   พุทธพจน์ ๓ ประเภท คือปฐมพุทธพจน์ มัชฌิมพุทธพจน์และปัจฉิมพุทธพจน์ นับอย่างนี้.
                   พุทธพจน์มี ๓ ด้วยอำนาจแห่งปิฎก นับอย่างไร?
                   จริงอยู่ พระพุทธพจน์ทั้งหมดนี้มี ๓ ประเภท คือ วินัยปิฎก สุตตันตปิฎก อภิธรรมปิฎก. ใน ๓ ปิฎกนั้นพระพุทธพจน์นี้ คือ ปาติโมกข์ทั้ง ๒ วิภังค์ขันธกะ ๘๒ ปริวาร ๑๖ ชื่อวินัยปิฎก เพราะรวมพระพุทธพจน์ทั้งหมดที่สังคายนาในครั้งปฐมสังคายนาและที่สังคายนาต่อมา.
                   พระพุทธพจน์ที่ชื่อว่าสุตตันตปิฎก ได้แก่พระพุทธพจน์ต่อไปนี้ คือ ทีฆนิกายมีจำนวน ๓๔ สูตร มีพรหมชาลสูตรเป็นต้น มัชฌิมนิกายมีจำนวน ๑๕๒ สูตร มีมูลปริยายสูตรเป็นต้น สังยุตตนิกายมีจำนวน ๗,๗๖๒ สูตร มีโอฆตรณสูตรเป็นต้น อังคุตตรนิกายมีจำนวน ๙,๕๕๐ สูตร มีจิตตปริยาทานสูตรเป็นต้น ขุททกนิกายมี ๑๕ ประเภท คือขุททกปาฐะ ธรรมบท อุทาน อิติวุตตก สุตตนิบาต วิมานวัตถุ เปตวัตถุ เถรคาถา เถรีคาถา ชาดก นิทเทส ปฏิสัมภิทา อปทาน พุทธวงศ์ และจริยาปิฎก.
                   พระพุทธพจน์ที่ชื่อว่าอภิธรรมปิฎก ได้แก่พระพุทธพจน์ต่อไปนี้ คือ ธรรมสังคณี วิภังค์ ธาตุกถา ปุคคลบัญญัติ กถาวัตถุ ยมก ปัฏฐาน.
                   ใน ๓ ปิฎกนี้

                   (อรรถาธิบายคำว่าวินัย)               
                             วินัยศัพท์นี้ บัณฑิตผู้รู้อรรถแห่งวินัยศัพท์
                             แปลความหมายว่า วินัย เพราะมีนัยต่างๆ
                             เพราะมีนัยพิเศษ และเพราะควบคุมกาย
                             และวาจา.
                   ก็ในวินัยปิฎกนี้ มีนัยต่างๆ คือมีปาติโมกขุทเทส ๕ อาบัติ ๗ กองมีปาราชิกเป็นต้น มาติกาและวิภังค์เป็นต้นเป็นประเภท ส่วนนัยอนุบัญญัติเป็นนัยพิเศษ มีผลทำให้พระพุทธบัญญัติเดิมตึงขึ้นและหย่อนลง และวินัยนี้ย่อมควบคุมกายและวาจา เพราะห้ามการประพฤติล่วงทางกายและทางวาจา เพราะฉะนั้น ท่านจึงแปลความหมายว่า วินัย เพราะมีนัยต่างๆ เพราะมีนัยพิเศษและเพราะควบคุมกายและวาจา เพราะเหตุนั้น เพื่อความเป็นผู้ฉลาดในเนื้อความของคำของวินัยนี้ ข้าพเจ้าจึงกล่าวว่า
                             วินัยศัพท์นี้ บัณฑิตผู้รู้อรรถแห่งวินัยศัพท์
                             แปลความหมายว่า วินัย เพราะมีนัยต่างๆ
                             เพราะมีนัยพิเศษ และเพราะควบคุมกาย
                             และวาจา.

                   (อรรถาธิบายคำว่าสูตร)               
                             ส่วนสุตตศัพท์นอกนี้ ท่านแปลความหมาย
                             ว่าสูตร เพราะเปิดเผยซึ่งประโยชน์ทั้งหลาย
                             เพราะกล่าวประโยชน์ไว้เหมาะสม เพราะ
                             เผล็ดประโยชน์ เพราะหลั่งประโยชน์
                             เพราะป้องกันอย่างดี และเพราะมีส่วนเสมอ
                             ด้วยสายบรรทัด.
                   ก็พระสูตรนั้นย่อมส่องถึงประโยชน์ทั้งหลาย อันต่างด้วยประโยชน์ตนและประโยชน์ผู้อื่นเป็นต้น. อนึ่ง ประโยชน์ทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดีแล้วในปิฎกนี้ เพราะตรัสอนุโลมตามอัธยาศัยของเวไนย.
                   อนึ่ง สุตตันตปิฎกนี้ย่อมเผล็ดประโยชน์ทั้งหลาย. อธิบายว่า เผล็ดผลเหมือนข้าวกล้าเผล็ดผลฉะนั้น. พระสูตรนี้ย่อมหลั่งประโยชน์ทั้งหลาย.
                   อธิบายว่า เหมือนโคนมหลั่งน้ำนมฉะนั้น.
                   อนึ่ง พระสูตรนี้ ย่อมป้องกัน. อธิบายว่า ย่อมรักษาประโยชน์เหล่านั้นอย่างดี.
                   อนึ่ง พระสูตรนี้มีส่วนเสมอด้วยสายบรรทัด เหมือนอย่างว่าสายบรรทัดเป็นเครื่องกำหนดของช่างไม้ทั้งหลายฉันใด แม้พระสูตรนี้ก็เป็นเครื่องกำหนดของวิญญูชนทั้งหลายฉันนั้น. เหมือนอย่างว่าดอกไม้ทั้งหลายที่คุมไว้ด้วยด้าย ย่อมไม่เรี่ยราย ย่อมไม่กระจัดกระจายด้วยลมฉันใด ประโยชน์ทั้งหลายที่รวบรวมไว้ด้วยพระสูตรนี้ก็ฉันนั้น.
                   เพราะฉะนั้น เพื่อความเป็นผู้ฉลาดในเนื้อความแห่งคำของสูตรนี้ ข้าพเจ้าจึงกล่าวว่า
                             สุตตศัพท์นี้ ท่านแปลความหมายว่าสูตร
                             เพราะส่องถึงประโยชน์ทั้งหลาย เพราะ
                             กล่าวประโยชน์ไว้เหมาะสม เพราะเผล็ด
                             ประโยชน์ เพราะหลั่งประโยชน์ เพราะ
                             ป้องกันอย่างดี เพราะมีส่วนเสมอด้วยสาย
                             บรรทัด.

                   (อรรถาธิบายคำว่าอภิธรรม)               
                             ก็ธรรมนอกนี้ ท่านเรียกอภิธรรม เพราะ
                             พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในอภิธรรมนี้ว่า
                             เป็นธรรมที่มีความเจริญ ที่กำหนดเป็น
                             มาตรฐาน ที่บุคคลบูชาแล้ว ที่ตัดขาด
                             และเป็นธรรมอันยิ่ง.
                   อภิศัพท์นี้ย่อมปรากฏในความว่าเจริญ. ความว่า อันบัณฑิตกำหนดเป็นมาตรฐาน. ความว่า อันบุคคลบูชาแล้ว. ความว่าตัดขาด และความว่าเป็นธรรมอันยิ่ง มีประโยคตัวอย่างดังต่อไปนี้
                   อภิศัพท์มาในอรรถว่า เจริญ ในประโยคมีอาทิว่า พาฬฺหา เม อาวุโส ทุกฺขา เวทนา อภิกฺกมนฺติ โน ปฏิกฺกมนฺตีติ ดูก่อนอาวุโส ทุกขเวทนาอย่างแรงกล้า ย่อมเจริญกำเริบแก่ข้าพเจ้า ย่อมไม่ถอยลงเลย.๑-
                   อภิศัพท์มาในอรรถว่า อันบัณฑิตกำหนดเป็นมาตรฐาน ในประโยคมีอาทิว่า ยา ตา รตฺติโย อภิญฺญาตา อภิลกฺขิตา ราตรีนั้นใด (วันจาตุททสี วันปัณณรสี วันอัฏฐมี) อันบัณฑิตกำหนดรู้แล้ว (ด้วยความเต็มดวงของดวงจันทร์ และด้วยความหมดดวงของดวงจันทร์) อันบัณฑิตกำหนดเป็นมาตรฐานไว้แล้ว (เพื่อสมาทานอุโบสถ เพื่อฟังธรรม และเพื่อทำสักการบูชาเป็นต้น).๒-
                   อภิศัพท์มาในอรรถว่า อันบุคคลบูชาแล้ว ในประโยคมีอาทิว่า ราชาภิราชา มนุชินฺโท ขอพระองค์จงทรงเป็นพระราชาอันพระราชาบูชาแล้ว จงเป็นจอมคน.๓-
    ____________________________
    ๑- ม. ม. เล่ม ๑๓/ข้อ ๖๙๙   ๒- ม. มู. เล่ม ๑๒/ข้อ ๔๕
    ๓- ขุ. สุ. เล่ม ๒๕/ข้อ ๓๗๖

                   อภิศัพท์มาในอรรถว่า ตัดขาด ในประโยคมีอาทิว่า ปฏิพโล วิเนตุ ํ อภิธมฺเม อภิวินเย เป็นผู้สามารถแนะนำในอภิธรรม ในอภิวินัย. อธิบายว่า อญฺญมญฺญสงฺกรวิรหิเต ธมฺเม จ วินเย จ ในพระธรรมและในพระวินัย ซึ่งเว้นจากการปะปนกันและกัน.
                   อภิศัพท์มาในอรรถว่า ยิ่ง ในประโยคมีอาทิว่า๔- อภิกฺกนฺเตน วณฺเณน มีผิวพรรณงามยิ่ง. อนึ่ง แม้ธรรมทั้งหลายที่มีความเจริญ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในพระอภิธรรมนี้ โดยนัยมีอาทิว่า รูปุปฺปตฺติยา มคฺคํ ภาเวติ เมตฺตาสหคเตน เจตสา เอกํ ทิสํ ผริตฺวา วิหรติ ภิกษุเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพนี้ มีใจประกอบด้วยเมตตาแผ่ไปสู่ทิศหนึ่งอยู่.
    ____________________________
    ๔- ขุ. วิมาน. เล่ม ๒๖/ข้อ ๙

                   แม้ธรรมทั้งหลายที่บัณฑิตกำหนดเป็นมาตรฐาน เพราะความเป็นสภาพที่ควรกำหนดด้วยอารมณ์เป็นต้น ท่านกล่าวไว้โดยนัยมีอาทิว่า รูปารมฺมณํ วา สทฺทารมฺมณํ วา มีรูปเป็นอารมณ์ มีเสียงเป็นอารมณ์.๕-
                   แม้ธรรมทั้งหลายอันท่านบูชาแล้ว ท่านกล่าวไว้โดยนัยมีอาทิว่า เสกฺขา ธมฺมา อเสกฺขา ธมฺมา โลกุตฺตรา ธมฺมา เสกขธรรม อเสกขธรรม โลกุตตรธรรม.
                   แม้ธรรมทั้งหลายที่ตัดขาดแล้ว เพราะความเป็นของที่ตัดขาดแล้วตามสภาวะ ท่านกล่าวไว้โดยนัยมีอาทิว่า ผสฺโส โหติ เวทนา โหติ ผัสสะมี เวทนามี.๕-
                   แม้ธรรมทั้งหลายอันยิ่ง ท่านกล่าวไว้โดยนัยมีอาทิว่า มหคฺคตา ธมฺมา อปฺปมาณา ธมฺมา อนุตฺตรา ธมฺมา มหัคคตธรรม อัปปมาณธรรม อนุตตรธรรม.
                   เพราะเหตุนั้น เพื่อความเป็นผู้ฉลาดในเนื้อความของคำของอภิธรรมนี้
                   ข้าพเจ้าจึงกล่าวว่า
                             ก็ธรรมนอกนี้ท่านเรียกว่าอภิธรรม เพราะ
                             พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในอภิธรรมนี้ว่า
                             เป็นธรรมที่มีความเจริญ ที่กำหนดเป็น
                             มาตรฐาน ที่บุคคลบูชาแล้ว ที่ตัดขาด และ
                             เป็นธรรมยิ่ง.
    ____________________________
    ๕- อภิ. สงฺ. เล่ม ๓๔/ข้อ ๑๖

                   ก็ในปิฎกทั้งหลายมีวินัยปิฎกเป็นต้นนี้ ปิฎกใดยังเหลืออยู่
                                       ผู้รู้เนื้อความของปิฎกเรียกปิฎกนั้นว่า ปิฎก
                             โดยเนื้อความว่าปริยัติและภาชนะ พึงทราบว่ามี ๓
                             มีวินัยเป็นต้น เพราะรวมเข้ากับปิฎกศัพท์นั้น.
                   จริงอยู่ แม้ปริยัติท่านก็เรียกว่า ปิฎก ในประโยคมีอาทิว่า อย่าถือโดยอ้างปิฎก.๖-
                   แม้ภาชนะอย่างใดอย่างหนึ่ง ท่านเรียกว่า ปิฎก ในประโยคมีอาทิว่า ครั้งนั้น บุรุษพึงถือจอบและตะกร้าเดินมา.๗-
                   เพราะเหตุนั้น บัณฑิตผู้รู้เนื้อความของปิฎกศัพท์ จึงเรียกปิฎกศัพท์ว่า ปิฎก โดยเนื้อความว่าปริยัติและภาชนะ.
    ____________________________
    ๖- องฺ. ติก. เล่ม ๒๐/ข้อ ๕๐๕   ๗- สํ. นิ. เล่ม ๑๖/ข้อ ๒๐๙

                   บัดนี้ พึงทราบว่ามี ๓ มีวินัยเป็นต้น เพราะรวมเข้ากับปิฎกศัพท์นั้น พึงทราบว่ามี ๓ มีวินัยเป็นต้นเหล่านี้อย่างนี้ว่า เพราะทำสมาสกับปิฎกศัพท์ ซึ่งมีเนื้อความ ๒ อย่างนั้น อย่างนี้คือวินัยด้วย วินัยนั้นเป็นปิฎกด้วย เพราะเป็นปริยัติ และเพราะเป็นภาชนะแห่งเนื้อความนั้นๆ เพราะฉะนั้น จึงชื่อวินัยปิฎก. โดยนัยตามที่กล่าวแล้ว พระสูตรด้วย พระสูตรนั้นเป็นปิฎกด้วย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าสุตตันตปิฎก. อภิธรรมด้วย อภิธรรมนั้นเป็นปิฎกด้วย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าอภิธรรมปิฎก.
                   ก็ครั้งทราบอย่างนี้แล้ว เพื่อความเป็นผู้ฉลาดในประการต่างๆ ในปิฎกทั้ง ๓ เหล่านั้นอีกครั้ง
                             พึงแสดงประเภทของเทศนา ประเภทของศาสนา
                             ประเภทของกถาและสิกขาปหานะ คัมภีรภาพตาม
                             สมควรในปิฎกเหล่านั้น ภิกษุย่อมถึงซึ่งประเภท
                             แห่งการเล่าเรียนใด ซึ่งสมบัติใด แม้ซึ่งวิบัติใด
                             ในปิฎกใด ด้วยอาการใด พึงแสดงซึ่งประเภทแห่ง
                             การเล่าเรียนทั้งหมดแม้นั้นด้วยอาการนั้น.
                   ในคาถาเหล่านั้นมีคำอธิบายอย่างแจ่มแจ้งและชัดเจน ดังต่อไปนี้
                   จริงอยู่ ปิฎก ๓ เหล่านั้น ท่านเรียกตามลำดับว่า อาณาเทศนา โวหารเทศนา ปรมัตถเทศนา ยถาปราธศาสนา ยถานุโลมศาสนา ยถาธรรมศาสนา และสังวราสังวรกถา ทิฏฐิวินิเวฐนกถา นามรูปปริจเฉทกถา.
                   ก็ในปิฎก ๓ นี้ วินัยปิฎก ท่านเรียกว่า อาณาเทศนา การเทศนาโดยอำนาจบังคับบัญชา เพราะเป็นปิฎกที่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ควรออกคำสั่ง ทรงแสดงแล้วโดยความเป็นเทศนาที่มากไปด้วยคำสั่ง. สุตตันตปิฎก ท่านเรียกว่า โวหารเทศนา การเทศนาโดยบัญญัติ เพราะเป็นปิฎกที่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงฉลาดในเชิงสอน ทรงแสดงแล้วโดยความเป็นเทศนาที่มากไปด้วยคำสอน. อภิธรรมปิฎก ท่านเรียกว่า ปรมัตถเทศนา การเทศนาโดยปรมัตถ์ เพราะเป็นปิฎกที่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ฉลาดในปรมัตถ์ ทรงแสดงแล้วโดยความเป็นเทศนาที่มากไปด้วยปรมัตถ์.
                   อนึ่ง ปิฎกที่ ๑ (วินัยปิฎก) ท่านเรียกว่า ยถาปราธศาสนา การสั่งสอนตามความผิด เพราะอรรถวิเคราะห์ว่า สัตว์ทั้งหลายผู้มีความผิดมากมายเหล่านั้นใด สัตว์เหล่านั้นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสั่งตามความผิดในปิฎกนี้. ปิฎกที่ ๒ (สุตตันตปิฎก) ที่ท่านเรียกว่า ยถานุโลมศาสนา การสั่งสอนอนุโลมตามอัธยาศัย เพราะอรรถวิเคราะห์ว่า สัตว์ทั้งหลายผู้มีอัธยาศัยอนุสัยและจริยาวิมุตติมิใช่น้อย อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสั่งสอนแล้วในปิฎกนี้ตามอนุโลม. ปิฎกที่ ๓ (อภิธรรมปิฎก) ท่านเรียกว่า ยถาธรรมศาสนา การสั่งสอนตามปรมัตถธรรม เพราะอรรถวิเคราะห์ว่า สัตว์ทั้งหลายผู้มีความสำคัญในสภาวะสักว่ากองแห่งปรมัตถธรรมว่า นี่เรา นั่นของเรา ดังนี้ อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสั่งสอนแล้ว ตามปรมัตถธรรมในปิฎกนี้.
                   อนึ่ง ปิฎกที่ ๑ ท่านเรียกว่า สังวราสังวรกถา ด้วยอรรถว่าสังวราสังวระอันเป็นปฏิปักษ์ต่อการฝ่าฝืน อันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วในปิฎกนี้.
                   บทว่า สํวราสํวโร ได้แก่ สังวรเล็กและสังวรใหญ่เหมือนกัมมากัมมะ การงานน้อยและการงานใหญ่ และเหมือนผลาผละ ผลไม้น้อยและผลไม้ใหญ่.
                   ปิฎกที่ ๒ ท่านเรียกว่า ทิฏฐิวินิเวฐนกถา คำบรรยายคลายทิฏฐิ ด้วยอรรถว่า การคลายทิฏฐิอันเป็นปฏิปักษ์ต่อทิฏฐิ ๖๒ อันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วในปิฎกนี้. ปิฎกที่ ๓ ท่านเรียกว่า นามรูปปริจเฉทกถา คำบรรยายการกำหนดนามและรูป ด้วยอรรถว่าการกำหนดนามและรูปอันเป็นปฏิปักษ์ต่อกิเลสมีราคะเป็นต้น อันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วในปิฎกนี้.
                   อนึ่ง พึงทราบสิกขา ๓ ปหานะ ๓ และคัมภีรภาวะ ๔ อย่างในปิฎกทั้ง ๓ เหล่านี้ ดังต่อไปนี้. จริงอย่างนั้น อธิสีลสิกขา พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้โดยเฉพาะในวินัยปิฎก อธิจิตตสิกขา ตรัสไว้โดยเฉพาะในสุตตันตปิฎก อธิปัญญาสิกขา ตรัสไว้โดยเฉพาะในอภิธรรมปิฎก.
                   อนึ่ง การละกิเลสอย่างหยาบ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในวินัยปิฎก เพราะศีลเป็นปฏิปักษ์ต่อกิเลสอย่างหยาบ. การละกิเลสอย่างกลางตรัสไว้ในสุตตันตปิฎก เพราะสมาธิเป็นปฏิปักษ์ต่อกิเลสอย่างกลาง. การละกิเลสอย่างละเอียด ตรัสไว้ในอภิธรรมปิฎก เพราะปัญญาเป็นปฏิปักษ์ต่อกิเลสอย่างละเอียด. อนึ่ง การละกิเลสชั่วคราว ตรัสไว้ในปิฎกที่ ๑ การละกิเลสด้วยข่มไว้ และการละกิเลสเด็ดขาด ตรัสไว้ในปิฎกทั้ง ๒ นอกนี้. การละสังกิเลสคือทุจริต ตรัสไว้ในปิฎกที่ ๑ การละสังกิเลสคือตัณหาและทิฏฐิ ตรัสไว้ในปิฎกทั้ง ๒ นอกนี้.
                   ในปิฎก ๓ นี้ พึงทราบว่าแต่ละปิฎกมีคัมภีรภาวะทั้ง ๔ คือความลึกซึ้งโดยธรรม โดยอรรถ โดยเทศนาและโดยปฏิเวธ.
                   ในคัมภีรภาวะทั้ง ๔ นั้น ธรรมได้แก่บาลี อรรถได้แก่เนื้อความของบาลีนั้นแหละ เทศนาได้แก่การแสดงซึ่งบาลีนั้นอันกำหนดไว้อย่างดีด้วยใจ ปฏิเวธได้แก่ความหยั่งรู้บาลี และเนื้อความของบาลีตามความเป็นจริง.
                   ก็เพราะธรรม อรรถ เทศนาและปฏิเวธเหล่านี้ ในปิฎกทั้ง ๓ นี้ ผู้มีปัญญาน้อยทั้งหลายหยั่งรู้ได้ยาก และเป็นที่พึ่งไม่ได้ เหมือนมหาสมุทร สัตว์เล็กทั้งหลายมีกระต่ายเป็นต้น พึ่งไม่ได้ฉะนั้น จึงเป็นของลึกซึ้ง.

                   ในปิฎก ๓ นี้ พึงทราบคัมภีรภาวะทั้ง ๔ อย่างในแต่ละปิฎกด้วยประการฉะนี้.
                   อีกนัยหนึ่ง ธรรมได้แก่เหตุ ข้อนี้สมด้วยพระพุทธพจน์ที่ตรัสไว้ว่า ญาณในเหตุ ชื่อธรรมปฏิสัมภิทา. อรรถได้แก่ผลแห่งเหตุ ข้อนี้สมด้วยพระพุทธพจน์ที่ตรัสไว้ว่า ญาณในผลแห่งเหตุ ชื่ออรรถปฏิสัมภิทา. เทศนาได้แก่บัญญัติ. อธิบายว่า การแสดงธรรมตามสภาวธรรม. อีกอย่างหนึ่ง การแสดงด้วยอำนาจอนุโลมและปฏิโลม สังเขปและพิสดารเป็นต้น เรียกว่าเทศนา. ปฏิเวธได้แก่การตรัสรู้ และปฏิเวธนั้นเป็นได้ทั้งโลกิยะทั้งโลกุตตระ ได้แก่ความรู้จริงไม่เปลี่ยนแปลงในเหตุทั้งหลายสมควรแก่ผล ในผลทั้งหลายสมควรแก่เหตุ ในบัญญัติทั้งหลายสมควรแก่ทางแห่งบัญญัติ โดยอารมณ์และโดยความไม่หลง สภาวะแห่งธรรมทั้งหลายนั้นๆ ที่กล่าวแล้วในปิฎกนั้นๆ ไม่วิปริต กล่าวคือบัณฑิตกำหนดเป็นมาตรฐาน ควรแทงตลอด.
                   สภาวธรรมที่มีเหตุใดๆ ก็ดี สภาวธรรมที่มีผลใดๆ ก็ดี เนื้อความที่ควรให้รู้ด้วยประการใดๆ ย่อมเป็นเป้าหมายสำคัญแห่งญาณของผู้ฟังทั้งหลาย เทศนานี้ใดที่ส่องเนื้อความนั้นให้กระจ่างด้วยประการนั้นๆ ก็ดี ปฏิเวธใด กล่าวคือความรู้จริงไม่วิปริตในปิฎก ๓ นี้อย่างหนึ่ง สภาวะแห่งธรรมทั้งหลายนั้นๆ ที่ไม่วิปริต กล่าวคือที่บัณฑิตกำหนดเป็นมาตรฐาน ควรแทงตลอด.
                   คุณชาตนี้ทั้งหมด ผู้มีปัญญาทรามทั้งหลายซึ่งมิได้สั่งสมกุศลสมภารไว้ หยั่งรู้ได้ยาก และพึ่งไม่ได้ เหมือนมหาสมุทร สัตว์เล็กทั้งหลายมีกระต่ายเป็นต้นพึ่งไม่ได้ เพราะเหตุนั้น สภาวธรรมที่มีเหตุหรือสภาวธรรมที่มีผลนั้นๆ จึงลึกซึ้ง คัมภีรภาวะทั้ง ๔ อย่างในปิฎก ๓ นี้แต่ละปิฎก ผู้ศึกษาพึงทราบในบัดนี้ แม้ด้วยประการฉะนี้.
                   ก็คาถานี้ว่า
                             พึงแสดงประเภทของเทศนา ประเภทของศาสนา
                             ประเภทของกถา และสิกขา ปหานะ คัมภีรภาพ
                             ตามสมควรในปิฎกเหล่านั้น ดังนี้
                   เป็นคาถามีเนื้อความอันข้าพเจ้ากล่าวแล้วด้วยคำมีประมาณเท่านี้.

                   ส่วนประเภทแห่งการเล่าเรียน ๓ อย่าง ในปิฎก ๓ ในคาถานี้ว่า
                             ภิกษุย่อมถึงซึ่งประเภทแห่งปริยัติใด ซึ่งสมบัติใด
                             แม้ซึ่งวิบัติใด ในปิฎกใด ด้วยอาการใด พึงแสดง
                             ซึ่งประเภทแห่งปริยัติทั้งหมดแม้นั้น ด้วยอาการ
                             นั้น ดังนี้ พึงทราบต่อไป.
                   จริงอยู่ การเล่าเรียนมี ๓ อย่าง คือ
                             อลคัททูปมาปริยัติ การเล่าเรียนเหมือนจับงูข้างหาง
                             นิสสรณัตถปริยัติ การเล่าเรียนมีวัตถุประสงค์เพื่อออกไป
                             ภัณฑาคาริกปริยัติ การเล่าเรียนของพระอรหันต์เปรียบด้วยขุนคลัง.
                   ในปริยัติ ๓ ประเภทนั้น ปริยัติใดที่บุคคลเรียนผิดทาง คือเรียนเพราะเหตุมีติเตียนผู้อื่นเป็นต้น ปริยัตินี้ ชื่ออลคัททูปมา ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมุ่งหมายตรัสไว้ว่า๘-
                   ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุรุษผู้ต้องการงู แสวงหางู เที่ยวค้นหางู เขาพึงพบงูใหญ่ พึงจับขนด หรือจับหางงูนั่นนั้น งูนั้นพึงเลี้ยวกลับมากัดมือหรือแขน หรืออวัยวะน้อยใหญ่ที่ใดที่หนึ่งของบุรุษนั้น บุรุษนั้นพึงถึงตายหรือทุกข์ปางตาย เพราะการถูกงูกัดนั้นเป็นเหตุ.
                   ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุไร?
                   ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อนั้นเป็นเพราะเขาจับงูผิดวิธี ฉันใด
                   ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โมฆบุรุษบางพวกในศาสนานี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเล่าเรียนธรรมคือ สุตตะ เคยยะ ฯ ล ฯ เวทัลละ โมฆบุรุษเหล่านั้นครั้นเล่าเรียนธรรมนั้นแล้ว ไม่พิจารณาเนื้อความของธรรมเหล่านั้นด้วยปัญญา เมื่อโมฆบุรุษเหล่านั้นไม่พิจารณาเนื้อความด้วยปัญญา ธรรมเหล่านั้นย่อมไม่ทนต่อการเพ่งพินิจ โมฆบุรุษเหล่านั้นมีวัตถุประสงค์เพื่อติเตียนผู้อื่น และมีวัตถุประสงค์เพื่อเปลื้องตนจากการกล่าวร้ายนั้นๆ จึงเล่าเรียนธรรม โมฆบุรุษเหล่านั้นเล่าเรียนธรรมเพื่อประโยชน์แห่งธรรมใด ย่อมไม่ได้ประโยชน์แห่งธรรมนั้น ธรรมเหล่านั้นที่โมฆบุรุษเหล่านั้นเรียนผิดทาง ย่อมเป็นไปเพื่ออันตรายอันไม่เกื้อกูล เพื่อความทุกข์ตลอดกาลนาน.
                   ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุไร?
                   ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อนั้นเป็นเพราะธรรมทั้งหลายอันโมฆบุรุษเหล่านั้นเรียนผิดทาง ดังนี้.
    ____________________________
    ๘- ม. มู. เล่ม ๑๒/ข้อ ๒๗๘

                   ส่วนปริยัติใด ที่บุคคลเรียนถูกทาง คือหวังความบริบูรณ์แห่งคุณมีสีลขันธ์เป็นต้นเท่านั้น เรียนแล้ว มิได้เรียนเพราะเหตุมีการติเตียนผู้อื่นเป็นต้น นี้ชื่อนิสสรณัตถปริยัติ ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมุ่งหมายตรัสไว้ว่า
                   ธรรมเหล่านั้นที่บุคคลเหล่านั้นเรียนถูกทาง ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขตลอดกาลนาน.
                   ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุไร ?
                   ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะธรรมทั้งหลายบุคคลเหล่านั้นเรียนถูกทาง.
                   ส่วนพระอรหันต์ผู้มีขันธ์อันกำหนดรู้แล้ว มีกิเลสอันละได้แล้ว มีมรรคอันอบรมแล้ว มีพระอรหัตตผลอันแทงตลอดแล้ว มีนิโรธอันทำให้แจ้งแล้ว ย่อมเรียนซึ่งปริยัติใด เพื่อต้องการรักษาประเพณี เพื่อต้องการอนุรักษ์พุทธวงศ์โดยเฉพาะ นี้ชื่อภัณฑาคาริกปริยัติ.
                   อนึ่ง ภิกษุปฏิบัติดีในพระวินัย อาศัยสีลสัมปทา ย่อมบรรลุวิชชา ๓ เพราะท่านกล่าวประเภทแห่งวิชชา ๓ เหล่านั้นไว้ในพระวินัยนั้น. ภิกษุปฏิบัติดีในพระสูตร อาศัยสมาธิสัมปทา ย่อมบรรลุอภิญญา ๖ เพราะท่านกล่าวประเภทแห่งอภิญญา ๖ เหล่านั้นไว้ในพระสูตรนั้น. ภิกษุปฏิบัติดีในพระอภิธรรม อาศัยปัญญาสัมปทา ย่อมบรรลุปฏิสัมภิทา ๔ เพราะท่านกล่าวประเภทแห่งปฏิสัมภิทา ๔ ไว้ในพระอภิธรรมนั้นเหมือนกัน. ภิกษุปฏิบัติดีในปิฎก ๓ เหล่านั้น ย่อมบรรลุสมบัติต่างด้วยวิชชา ๓ อภิญญา ๖ และปฏิสัมภิทา ๔ เป็นต้นนี้ตามลำดับ ด้วยประการฉะนี้.
                   ส่วนภิกษุปฏิบัติชั่วในพระวินัย ย่อมมีความสำคัญว่า ไม่มีโทษในผัสสะทั้งหลายมีการถูกต้องสิ่งที่มีวิญญาณครองเป็นต้นที่ต้องห้าม โดยมีลักษณะคล้ายคลึงกับการถูกต้องวัตถุมีเครื่องปูลาดและผ้าห่ม อันมีสัมผัสสบายที่ทรงอนุญาตไว้เป็นต้น. สมด้วยคำที่พระอริฏฐะกล่าวไว้ว่า เรารู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้วว่าเป็นธรรมทำอันตราย แต่ธรรมเหล่านั้นไม่อาจเพื่อเป็นอันตรายแก่ผู้ส้องเสพได้เลย ดังนี้.๙- แต่นั้น ภิกษุนั้นย่อมถึงความเป็นผู้ทุศีล.
    ____________________________
    ๙- วิ. มหาวิ. เล่ม ๒/ข้อ ๖๖๒

                   ภิกษุปฏิบัติชั่วในพระสูตร ไม่รู้ความมุ่งหมายในพระบาลีมีอาทิว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ พวกเหล่านี้มีอยู่ ปรากฏอยู่๑๐- ดังนี้ ย่อมถือเอาผิดๆ ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมุ่งหมายตรัสไว้ว่า บุคคลย่อมกล่าวตู่เราทั้งหลายด้วย ย่อมขุดซึ่งตนด้วย ย่อมประสบสิ่งที่มิใช่บุญเป็นอันมากด้วย ด้วยการที่ตนถือผิด ดังนี้.๑๑- แต่นั้น ภิกษุนั้นย่อมถึงความเป็นมิจฉาทิฏฐิ.
    ____________________________
    ๑๐- องฺ. จตุกฺก. เล่ม ๒๑/ข้อ ๕   ๑๑- ม. มู. เล่ม ๑๒/ข้อ ๒๗๗

                   ภิกษุปฏิบัติชั่วในพระอภิธรรม เมื่อคิดธรรมฟุ้งเกินไป ย่อมคิดแม้เรื่องที่ไม่ควรคิด แต่นั้นย่อมถึงจิตวิปลาส. สมด้วยพุทธภาษิตที่ตรัสไว้ว่า๑๒- ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลคิดอยู่ซึ่งเรื่องไม่ควรคิดทั้งหลายเหล่าใด พึงเป็นผู้มีส่วนแห่งความเป็นบ้า เสียจริต เรื่องไม่ควรคิดทั้งหลายเหล่านี้ ๔ ประการ บุคคลไม่ควรคิดเลย ดังนี้.
    ____________________________
    ๑๒- องฺ. จตุกฺก. เล่ม ๒๑/ข้อ ๗๗

                   ภิกษุปฏิบัติชั่วในปิฎก ๓ เหล่านี้ ย่อมถึงความวิบัติต่างด้วยความเป็นผู้ทุศีล ความเป็นมิจฉาทิฏฐิ และจิตวิปลาสนี้ตามลำดับ ด้วยประการฉะนี้.
                   คาถาแม้นี้ว่า
                             ภิกษุย่อมถึงซึ่งประเภทแห่งปริยัติใด ซึ่งสมบัติใด แม้ซึ่งวิบัติใด
                             ในปิฎกใด ด้วยอาการใด พึงแสดงซึ่งประเภทแห่งปริยัติทั้งหมด
                             แม้นั้น ด้วยอาการนั้น ดังนี้
                   เป็นคาถามีเนื้อความอันข้าพเจ้ากล่าวแล้วด้วยคำมีประมาณเท่านี้.
                   ครั้นทราบปิฎกทั้งหลายโดยประการต่างๆ แล้ว ผู้ศึกษาพึงทราบพระพุทธพจน์นี้ว่า มี ๓ อย่างด้วยอำนาจแห่งปิฎกเหล่านั้นด้วยประการฉะนี้.
                   พระพุทธพจน์มี ๕ ประเภท ด้วยอำนาจแห่งนิกาย นับอย่างไร?
                   ความจริง พระพุทธพจน์ทั้งหมดเลยนั้น มี ๕ ประเภท คือ ทีฆนิกาย มัชฌิมนิกาย สังยุตตนิกาย อังคุตตรนิกาย ขุททกนิกาย.
                   บรรดานิกาย ๕ นั้น ทีฆนิกาย คืออะไร? คือนิกายที่มีสูตร ๓๔ สูตร มีพรหมชาลสูตรเป็นต้น จัดเป็น ๓ วรรค.
                   นิกายใด มีสูตร ๓๔ สูตร จัดเป็น ๓ วรรค
                   นิกายที่ ๑ นี้ ชื่อทีฆนิกาย มีชื่อว่าอนุโลม
                   ก็เพราะเหตุไร นิกายที่ ๑ นี้ จึงเรียกว่า ทีฆนิกาย? เพราะเป็นที่ประชุมและเป็นที่อยู่ของสูตรทั้งหลายที่มีขนาดยาว.
                   จริงอยู่ หมู่และที่อยู่ ท่านเรียกว่านิกาย.
                   ก็ในข้อที่นิกายศัพท์หมายถึงหมู่ และที่อยู่นี้มีอุทาหรณ์เป็นเครื่องสาธกทั้งทางศาสนาและทางโลก มีอาทิอย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราไม่พิจารณาเห็นหมู่อื่นแม้หมู่หนึ่ง ซึ่งผิดแผกแตกต่างกันเหมือนหมู่สัตว์เดียรฉาน๑๓- และเหมือนที่อยู่ของกษัตริย์โปณิกะ ที่อยู่ของกษัตริย์จิกขัลลิกะเลย ดังนี้.
    ____________________________
    ๑๓- สํ. ข. เล่ม ๑๗/ข้อ ๒๕๙

                   เนื้อความของคำในความที่นิกายทั้ง ๔ ที่เหลือเรียกว่านิกาย บัณฑิตพึงทราบโดยนัยที่กล่าวแล้วอย่างนี้.
                   มัชฌิมนิกาย คืออะไร? คือนิกายที่มีสูตร ๑๕๒ สูตร มีมูลปริยายสูตรเป็นต้นมีขนาดปานกลาง จัดเป็น ๑๕ วรรค
                   ในนิกายใด มีสูตร ๑๕๒ สูตร จัดเป็น ๑๕ วรรค
                   นิกายนั้น ชื่อมัชฌิมนิกาย.
                   สังยุตตนิกาย คืออะไร? คือ นิกายที่มีสูตร ๗,๗๖๒ สูตร มีโอฆตรณสูตรเป็นต้น ที่ตรัสไว้ด้วยสามารถแห่งเทวตาสังยุต เป็นต้น
                   นิกายที่มีสูตร ๗,๗๖๒ สูตรนี้จัดเป็นสังยุตตนิกาย
                   อังคุตตรนิกาย คืออะไร? คือนิกายที่มีสูตร ๙,๕๕๗ สูตร มีจิตตปริยาทานสูตรเป็นต้น ที่ตรัสไว้ด้วยสามารถแห่งการเพิ่มขึ้นส่วนละหนึ่งๆ
                   จำนวนสูตรในอังคุตตรนิกายมีดังนี้ คือ ๙,๕๕๗ สูตร
                   ขุททกนิกาย คืออะไร? คือวินัยปิฎกทั้งสิ้น อภิธรรมปิฎกทั้งสิ้น คัมภีร์ ๑๕ ประเภทมีขุททกปาฐะเป็นต้น และพระพุทธพจน์ที่เหลือ เว้นนิกาย ๔.
                   ยกเว้นนิกายทั้ง ๔ มีทีฆนิกายเป็นต้นเหล่านี้เสีย พระพุทธพจน์อื่นจากนั้น ท่านเรียกว่า ขุททกนิกายแล. พระพุทธพจน์มี ๕ อย่าง ด้วยอำนาจแห่งนิกาย นับอย่างนี้แล.
                   พระพุทธพจน์มี ๙ อย่างด้วยอำนาจแห่งองค์ นับอย่างไร?
                   จริงอยู่ พระพุทธพจน์ทั้งหมดนี้ มี ๙ ประเภท คือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาดก อัพภูตธรรม เวทัลละ.
                   ในพระพุทธพจน์มีองค์ ๙ นั้น
                   อุภโตวิภังค์ นิทเทส ขันธกะ และบริวาร มงคลสูตร รตนสูตร นาลกสูตร ตุวัฏฏกสูตร ในสุตตนิบาต และคำสอนของพระตถาคตที่มีชื่อว่าสูตรแม้อื่น พึงทราบว่าสุตตะ.
                   สูตรที่มีคาถาทั้งหมด พึงทราบว่าเคยยะ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สคาถวรรคแม้ทั้งสิ้นในสังยุตตนิกาย พึงทราบว่า เคยยะ.
                   อภิธรรมปิฎกทั้งหมด พระสูตรที่ไม่มีคาถา และพระพุทธพจน์แม้อื่นใดที่ไม่ได้รวบรวมไว้ด้วยองค์ ๘ พระพุทธพจน์นั้น พึงทราบว่า เวยยากรณะ.
                   ธรรมบท เถรคาถา เถรีคาถา และคาถาล้วนที่ไม่มีชื่อว่าสูตรในสุตตนิบาต พึงทราบว่า คาถา.
                   สูตร ๘๒ สูตรที่ประกอบด้วยคาถาสำเร็จด้วยญาณ เกิดร่วมด้วยโสมนัสเวทนา พึงทราบว่า อุทาน.
                   สูตร ๑๑๐ สูตรที่เป็นไปโดยนัยมีอาทิว่า๑๔- วุตตํ เหตํ ภควตา พึงทราบว่า อิติวุตตกะ.
                   ชาดก ๕๕๐ เรื่อง มีอปัณณกชาดกเป็นต้น พึงทราบว่า ชาดก.
                   พระสูตรอันประกอบด้วยเรื่องที่ไม่เคยมีมามีขึ้น น่าอัศจรรย์ทั้งหมด ที่เป็นไปโดยนัยมีอาทิว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมอันไม่เคยมีมามีขึ้น น่าอัศจรรย์ ๔ อย่างเหล่านี้มีในพระอานนท์ ดังนี้๑๕- พึงทราบว่า อัพภูตธรรม.

    ____________________________
    ๑๔- ขุ. อิติ. เล่ม ๒๕/ข้อ ๑๗๙   ๑๕- ที. มหา. เล่ม ๑๐/ข้อ ๑๓๖

                   พระสูตรที่ถูกถาม ได้ญาณและปีติแม้ทั้งหมดมีจูฬเวทัลลสูตร มหาเวทัลลสูตร สัมมาทิฏฐิสูตร สักกปัญหสูตร สังขารภาชนียสูตร และมหาปุณณมสูตร เป็นต้น พึงทราบว่า เวทัลละ.
                   พระพุทธพจน์มี ๙ อย่าง ด้วยอำนาจแห่งองค์ นับอย่างนี้แล.
                   พระพุทธพจน์มี ๘๔,๐๐๐ ด้วยอำนาจแห่งธรรมขันธ์ นับอย่างไร?
                   จริงอยู่ พระพุทธพจน์ทั้งหมดนี้ มี ๘๔,๐๐๐ ประเภท ด้วยอำนาจแห่งธรรมขันธ์ที่ท่านพระอานนท์แสดงไว้แล้วอย่างนี้ว่า๑๖-
                             ธรรมเหล่าใดที่ขึ้นปากขึ้นใจข้าพเจ้า ข้าพเจ้าเรียนธรรมเหล่านั้น
                             จากพระพุทธเจ้า ๘๒,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ เรียนจากภิกษุ ๒,๐๐๐
                             พระธรรมขันธ์ รวม ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์.
    ____________________________
    ๑๖- ขุ. เถร. เล่ม ๒๖/ข้อ ๓๙๗

                   ในธรรมขันธ์ ๘๔,๐๐๐ นั้น พระสูตรที่มีหัวข้อเรื่องเดียวนับเป็นธรรมขันธ์ ๑. พระสูตรใดมีหัวข้อเรื่องหลายเรื่องรวมกัน ในพระสูตรนั้นนับธรรมขันธ์ตามจำนวนหัวข้อเรื่อง.
                   ในคาถาประพันธ์ คำถามปัญหาเรื่อง ๑ นับเป็นธรรมขันธ์ ๑. คำวิสัชนาปัญหาเรื่อง ๑ นับเป็นธรรมขันธ์ ๑. ในพระอภิธรรม การแจกติกะและทุกะแต่ละอย่างๆ และการแจกจิตตวาระแต่ละอย่างๆ นับเป็นธรรมขันธ์หนึ่งๆ. ในพระวินัยมีวัตถุ มีมาติกา มีบทภาชนีย์ มีอันตรายบัติ มีอาบัติ มีอนาบัติ มีติกเฉทะ (การกำหนดอาบัติเป็น ๓ ส่วน) ในวัตถุและมาติกาเป็นต้นเหล่านั้น ส่วนหนึ่งๆ พึงทราบว่า ธรรมขันธ์หนึ่งๆ.
                   พระพุทธพจน์มี ๘๔,๐๐๐ ด้วยอำนาจแห่งธรรมขันธ์ นับอย่างนี้แล.
                   พระพุทธพจน์นี้ โดยไม่แยกประเภทมีหนึ่ง คือรส. โดยแยกประเภทมีประเภท ๒ อย่างเป็นต้น คือเป็นพระธรรมอย่าง ๑ เป็นวินัยอย่าง ๑ เป็นต้น อันคณะผู้เชี่ยวชาญมีพระมหากัสสปเป็นประมุข เมื่อจะสังคายนาได้กำหนดประเภทนี้ก่อนแล้วจึงสังคายนาว่า นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นปฐมพุทธพจน์ นี้เป็นมัชฌิมพุทธพจน์ นี้เป็นปัจฉิมพุทธพจน์ นี้เป็นวินัยปิฎก นี้เป็นสุตตันตปิฎก นี้เป็นอภิธรรมปิฎก นี้เป็นทีฆนิกาย นี้เป็นมัชฌิมนิกาย นี้เป็นสังยุตตนิกาย นี้เป็นอังคุตตรนิกาย นี้เป็นขุททกนิกาย นี้เป็นองค์ ๙ มีสุตตะเป็นต้น นี้เป็นพระธรรมขันธ์ ๘๔,๐๐๐ ด้วยประการฉะนี้.
                   และใช่ว่า ท่านจะกำหนดประเภทนี้เท่านั้นอย่างเดียวสังคายนาแล้วหาก็ไม่ แต่ท่านยังกำหนดประเภทแห่งสังคหะแม้อื่นๆ ซึ่งมีประการมิใช่น้อย เป็นต้นว่า อุทานสังคหะ วัคคสังคหะ เปยยาลสังคหะ และนิปาตสังคหะ มีเอกนิบาตและทุกนิบาตเป็นต้น สังยุตตสังคหะและปัญญาสสังคหะเป็นต้นที่ปรากฏอยู่ในปิฎก ๓ สังคายนาแล้ว ใช้เวลา ๗ เดือนด้วยประการฉะนี้.
                   ก็ในอวสานแห่งการสังคายนาพระพุทธพจน์นั้น แผ่นดินใหญ่นี้ได้สั่นสะเทือนเลื่อนลั่นหวั่นไหว เป็นอเนกประการทั่วไปจนถึงน้ำรองแผ่นดิน เป็นประหนึ่งว่าเกิดความปราโมทย์ให้สาธุการว่า ศาสนาของพระทศพลนี้ พระมหากัสสปเถระได้ทำให้สามารถมีอายุยืนไปได้ตลอดกาลประมาณ ๕,๐๐๐ ปี และได้ปรากฏมหัศจรรย์ทั้งหลายมิใช่น้อยด้วยประการฉะนี้.
                   สังคายนาใดในโลกเรียกกันว่า ปัญจสตา เพราะพระอรหันต์ ๕๐๐ องค์ได้ทำไว้ และเรียกกันว่า เถริกา เพราะพระสงฆ์ชั้นพระเถระทั้งนั้นได้ทำไว้ สังคายนานี้ชื่อปฐมมหาสังคายนาด้วยประการฉะนี้.
                   จบนิทานกถา               
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 พฤษภาคม 2016
  12. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    อรรถกถา ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค
    พรหมชาลสูตร

                   สุมังคลวิลาสินี               
                   อรรถกถาทีฆนิกาย สีลขันธวรรค 
     
                 
                                
    http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=9&i=1&p=1
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  13. jityim

    jityim เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 ตุลาคม 2014
    โพสต์:
    3,427
    ค่าพลัง:
    +3,207
    ศีล 43 ข้อ จุลศีล มัฌศีล และ มหาศีล

    มหาศีล ภิกษุเว้นขาดจากการเลี้ยงชีพโดยทางผิดว่าด้วย ติรัจฉานวิชชา ค่ะ

    <iframe width="640" height="360" src="https://www.youtube.com/embed/4EfhaD2UFvg" frameborder="0" allowfullscreen></iframe>
     
  14. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    เหตุที่เกิดอันสำคัญที่สุดอันจะชี้นำศรัทธาเหล่า พุทธบริษัท ๔ หรือ ลัทธิเดียร์ถีย์อื่น คือกำลังศรัทธาจากเหล่าเวไนยสัตว์ทั้งหลายฯนั้นตังหาก เราได้อะไรจากการปฎิบัติ เราเป็นอามิสทายาทหรือธรรมทายาท เราสอนเขาได้ไหม?ว่าสิ่งนี้ควรแก่ภิกษุ สิ่งนี้ไม่ควรแก่ภิกษุ สิ่งนี้ภิกษุควรปฎิบัติ สิ่งนี้ไม่ควรปฎิบัติ อาการอันเนื่องด้วยกิจอันใดที่ไม่ใช่สมณะผู้อยู่ในสารคุณ ก็ไม่ควรปฎิบัติเพื่อลาภ สักการะ สรรเสริญเลย ไม่ควรเป็นผู้มักมาก มีบริขาร มีพระธรรมคำสั่งสอน มีเสนาสนะแล้วจะเอาอะไรอีก จะบวชไปทำไม ให้เสียศรัทธา เขาศรัทธาเขาจึงเลี้ยง ฉนั้นก็ควรมีสัมมาอาชีวะ คือเลี้ยงชีพชอบให้เหมาะกับธรรมทายาท ทำอย่างนี้คิดอย่างนี้ได้ การเลี้ยงชีพด้วย มิจฉาอาชีวะ การงานที่ผิด ก็ไม่เกิด อะไรที่ไม่ใช่กิจสงฆ์ ก็ไม่ต้องไปวุ่นวาย ไปชักชวนกันไปพรรณนาสนใจ

    เขาศรัทธาเขาจึงเลี้ยง เขาไม่ศรัทธาเขาไม่เลี้ยง ฉนั้นจงนำศรัทธาแก่เขาไปในทางที่ชอบ อย่านำไปในทางที่ผิด อย่างนี้ดีกว่าอุบาสก - อุบาสิกา อย่างนั้นยังไม่ดี อย่างนี้ยังดีไม่พอ อย่างนี้ไม่มีโทษ อย่างนี้มีคุณ อย่างนี้ประเสริฐ จงทำ จงคิด จงได้อย่างนี้ ผิดแล้วแก้ไข คือ อริยะวินัย

    ว่าด้วยประโยชน์และการเอื้อเฟื้อ อนุเคราะห์แก่เหล่าเวไนยสัตว์ เป็นพลวปัจจัยในชาติต่อๆไป

    และ

    ว่าด้วยสัจธรรมความเป็นจริงขององค์พระสัพพัญญู ที่วิสัชนาไว้ก่อนนี้ ยังครอบคลุมไปถึง ติรัจฉานกถา และติรัจฉานวิชา


    ราชกุมาร ! ตถาคตรู้ชัดซึ่งวาจาใด อันไม่จริงไม่แท้ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์และไม่เป็นที่รักที่พึงใจของผู้อื่นตถาคตย่อม ไม่กล่าววาจานั้น.

    ตถาคตรู้ชัดซึ่งวาจาใด อันจริง อันแท้ แต่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์และไม่เป็นที่รักที่พึงใจของผู้อื่น ตถาคตย่อมไม่กล่าววาจานั้น.

    ตถาคตรู้ชัดซึ่งวาจาใด อันจริง อันแท้ ประกอบด้วยประโยชน์ แต่ไม่เป็นที่รักที่พึงใจของผู้อื่นตถาคตย่อมเลือกให้เหมาะกาล เพื่อกล่าววาจานั้น.

    ตถาคตรู้ชัดซึ่งวาจาใด อันไม่จริง ไม่แท้ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ แต่เป็นที่รักที่พึงใจของผู้อื่นตถาคตย่อมไม่กล่าววาจานั้น.

    ตถาคตรู้ชัดซึ่งวาจาใด อันจริง อันแท้ แต่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ แต่ก็เป็นที่รักที่พึงใจของผู้อื่นตถาคตย่อมไม่กล่าววาจานั้น.

    ตถาคตรู้ชัดซึ่งวาจาใด อันจริง อันแท้ ประกอบด้วยประโยชน์และเป็นที่รักที่พึงใจของผู้อื่นตถาคตย่อมเป็นผู้ รู้จักกาละที่เหมาะเพื่อกล่าววาจานั้น.


    " ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกอย่างหนึ่ง เมื่อปุถุชนกล่าวชมตถาคต พึงกล่าวเช่นนี้ว่า..."

    นี่คือการประกาศพระศาสนาด้วย ญานของพระสัพพัญญูรู้จริงรู้ยิ่งประเสริฐกว่าผู้ใด หากปรารถนาก็จงมาศึกษามากราบทูลถามพระองค์ ให้ออกจากติรัจฉานวิชา และติรัจฉานกถาทั้งหลายฯ จงมาสู่ศาสนาของพระสมณะโคดมผู้เลี้ยงชีพชอบเถิด

    องค์สมเด็จพระบรมมหาศาสดารู้ชัด ทรงรู้การทาย ทรงรู้การทำ ทรงรู้การเป็น ทรงรู้การดู ทรงรู้การพยากรณ์ ทรงรู้การให้ ทรงรู้การร่ายบริกรรม แต่ต้องเป็นความจริง เป็นสิ่งแท้ เป็นกิจอันประกอบด้วยประโยชน์อันยิ่ง แม้จะเป็นที่ชอบใจหรือไม่เป็นที่ชอบใจก็ตาม พระองค์ทรงรู้กิจ รู้กาลที่จะทรงปฎิบัติยังกิจทั้งหลายเหล่านั้น

    ในทิศทางตรงกันข้าม

    องค์สมเด็จพระบรมมหาศาสดารู้ชัด ทรงรู้การทาย ทรงรู้การทำ ทรงรู้การเป็น ทรงรู้การดู ทรงรู้การพยากรณ์ ทรงรู้การให้ ทรงรู้การร่ายบริกรรม สิ่งใดไม่เป็นความจริง ไม่เป็นสิ่งแท้ ไม่เป็นกิจอันประกอบด้วยประโยชน์อันยิ่ง แม้จะเป็นที่ชอบใจหรือไม่เป็นที่ชอบใจก็ตาม พระองค์ไม่ทรงปฎิบัติยังกิจทั้งหลายเหล่านั้น

    จึงนำมาเปรียบเทียบกันมิได้ เพราะพระองค์ทรงประเสริฐกว่า ในการเลี้ยงชีพชอบโดย สัมมาอาชีวะ

    พระสมณโคดม เว้นขาดจากการเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา เช่นอย่างที่ สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวกฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา

    **บางจำพวกที่ไม่จริง ไม่แท้ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์เป็นอันมาก**

    -ทายอวัยวะ
    -ทายนิมิต
    -ทายอุปบาต
    -ทำนายฝัน
    -ทำนายลักษณะ
    -ทำนายหนูกัดผ้า
    -ทำพิธีบูชาไฟ
    -ทำพิธีเบิกแว่นเวียนเทียน
    -ทำพิธีซัดแกลบบูชาไฟ
    -ทำพิธีซัดรำ บูชาไฟ
    -ทำพิธีซัดข้าวสารบูชาไฟ
    -ทำพิธีเติมเนยบูชาไฟ
    -ทำพิธีเติมน้ำมันบูชาไฟ
    -ทำพิธีเสกเป่า บูชาไฟ
    -ทำพลีกรรมด้วยโลหิต
    -เป็นหมอดูอวัยวะ
    -ดูลักษณะที่บ้าน
    -ดูลักษณะที่นา
    -เป็นหมอ ปลุกเสก
    -เป็นหมอผี
    -เป็นหมอลงเลขยันต์คุ้มกันบ้านเรือน
    -เป็นหมองู
    -เป็นหมอยาพิษ
    -เป็นหมอแมลงป่อง
    -เป็นหมอรักษาแผลหนูกัด
    -เป็นหมอทายเสียงนก
    -เป็นหมอทางเสียงกา
    -เป็นหมอทายอายุ
    -เป็นหมอเสกกันลูกศร
    -เป็นหมอทายเสียงสัตว์

    2. พระสมณโคดม เว้นขาดจากการเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา เช่น อย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวกฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังเลี้ยงชีพโดยทางผิด ด้วยติรัจฉานวิชา

    -ทายลักษณะแก้วมณี
    -ทายลักษณะไม้พลอง
    -ทายลักษณะผ้า
    -ทายลักษณะศาตรา
    -ทายลักษณะดาบ
    -ทายลักษณะศร
    -ทายลักษณะธนู
    -ทายลักษณะอาวุธ
    -ทายลักษณะสตรี
    -ทายลักษณะบุรุษ
    -ทายลักษณะกุมาร
    -ทายลักษณะกุมารี
    -ทายลักษณะทาส
    -ทายลักษณะทาสี
    -ทายลักษณะช้าง
    -ทายลักษณะม้า
    -ทายลักษณะกระบือ
    -ทายลักษณะโคอุสภะ
    -ทายลักษณะโค
    -ทายลักษณะแพะ
    -ทายลักษณะแกะ
    -ทายลักษณะไก่
    -ทายลักษณะนกกระทา
    -ทายลักษณะเหี้ย
    -ทายลักษณะตุ่น
    -ทายลักษณะเต่า
    -ทายลักษณะมฤค.

    3. พระสมณโคดม เว้นขาดจากการเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา เช่น อย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวกฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังเลี้ยงชีพโดยทางผิด ด้วยติรัจฉานวิชา

    -ดูฤกษ์ยาตราทัพว่า พระราชาจักยกออก
    -ดูฤกษ์ยาตราทัพว่า พระราชาจักไม่ยกออก
    -ดูฤกษ์ยาตราทัพว่า พระราชาภายในจักยกเข้าประชิด
    -ดูฤกษ์ยาตราทัพว่า พระราชาภายนอกจักถอย
    -ดูฤกษ์ยาตราทัพว่า พระราชาภายนอกจักยกเข้าประชิด
    -ดูฤกษ์ยาตราทัพว่า พระราชาภายในจักถอย
    -ดูฤกษ์ยาตราทัพว่า พระราชาภายในจักมีชัย
    -ดูฤกษ์ยาตราทัพว่า พระราชาภายนอกจักปราชัย
    -ดูฤกษ์ยาตราทัพว่า พระราชาภายนอกจักมีชัย
    -ดูฤกษ์ยาตราทัพว่า พระราชาภายในจักปราชัย
    -ดูฤกษ์ยาตราทัพว่า พระราชาพระองค์นี้จักมีชัย
    -ดูฤกษ์ยาตราทัพว่า พระราชาพระองค์นี้จักปราชัย

    4. พระสมณโคดม เว้นขาดจากการเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา เช่น อย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวกฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังเลี้ยงชีพโดยทางผิด ด้วยติรัจฉานวิชา

    -พยากรณ์ว่า จักมีจันทรคราส
    -พยากรณ์ว่า จักมีสุริยคราส
    -พยากรณ์ว่า จักมีนักษัตรคราส
    -พยากรณ์ว่า ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์จักเดินถูกทาง
    -พยากรณ์ว่า ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์จักเดินผิดทาง
    -พยากรณ์ว่า ดาวนักษัตรจักเดินถูกทาง
    -พยากรณ์ว่า ดาวนักษัตรจักเดินผิดทาง
    -พยากรณ์ว่า จักมีอุกกาบาต
    -พยากรณ์ว่า จักมีดาวหาง
    -พยากรณ์ว่า จักมีแผ่นดินไหว
    -พยากรณ์ว่า จักมีฟ้าร้อง
    -พยากรณ์ว่า ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์และดาวนักษัตรจักขึ้น
    -พยากรณ์ว่า ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์และดาวนักษัตรจักตก
    -พยากรณ์ว่า ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์และดาวนักษัตรจักมัวหมอง
    -พยากรณ์ว่า ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์และดาวนักษัตรจักกระจ่าง
    -พยากรณ์ว่า จันทรคราสจักมีผลเป็นอย่างนี้
    -พยากรณ์ว่า สุริยคราสจักมีผลเป็นอย่างนี้
    -พยากรณ์ว่า นักษัตรคราสจักมีผลเป็นอย่างนี้
    -พยากรณ์ว่า ดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์เดินถูกทางจักมีผลเป็นอย่างนี้
    -พยากรณ์ว่า ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์เดินผิดทางจักมีผลเป็นอย่างนี้
    -พยากรณ์ว่า ดาวนักษัตรเดินถูกทางจักมีผลเป็นอย่างนี้
    -พยากรณ์ว่า ดาวนักษัตรเดินผิดทางจักมีผลเป็นอย่างนี้
    -พยากรณ์ว่า มีอุกกาบาต จักมีผลเป็นอย่างนี้
    -พยากรณ์ว่า มีดาวหางจักมีผลเป็นอย่างนี้
    -พยากรณ์ว่า แผ่นดินไหวจักมีผลเป็นอย่างนี้
    -พยากรณ์ว่า ฟ้าร้องจักมีผลเป็นอย่างนี้
    -พยากรณ์ว่า ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์และดาวนักษัตรขึ้นจักมีผลเป็นอย่างนี้
    -พยากรณ์ว่า ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ และดาวนักษัตรตกจักมีผลเป็นอย่างนี้
    -พยากรณ์ว่า ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์และดาวนักษัตรมัวหมองจักมีผลเป็นอย่างนี้
    -พยากรณ์ว่า ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์และดาวนักษัตรกระจ่างจักมีผลเป็นอย่างนี้

    5. พระสมณโคดม เว้นขาดจากการเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา เช่น อย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวกฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังเลี้ยงชีพโดยทางผิด ด้วยติรัจฉานวิชา

    -พยากรณ์ว่า จักมีฝนดี
    -พยากรณ์ว่า จักมีฝนแล้ง
    -พยากรณ์ว่า จักมีภิกษาหาได้ง่าย
    -พยากรณ์ว่า จักมีภิกษาหาได้ยาก
    -พยากรณ์ว่า จักมีความเกษม
    -พยากรณ์ว่า จักมีภัย จักเกิดโรค
    -พยากรณ์ว่า จักมีความสำราญหาโรคมิได้
    -หรือนับคะแนนคำนวณ นับประมวล แต่งกาพย์ โลกายตศาสตร์

    6. พระสมณโคดม เว้นขาดจากการเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา เช่น อย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวกฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังเลี้ยงชีพโดยทางผิด ด้วยติรัจฉานวิชา

    -ให้ฤกษ์อาวาหมงคล
    -ให้ฤกษ์วิวาหมงคล
    -ดูฤกษ์เรียงหมอน
    -ดูฤกษ์หย่าร้าง
    -ดูฤกษ์เก็บทรัพย์
    -ดูฤกษ์จ่ายทรัพย์
    -ดูโชคดี
    -ดูเคราะห์ร้าย
    -ให้ยาผดุงครรภ์
    -ร่ายมนต์ให้ลิ้นกระด้าง
    -ร่ายมนต์ให้คางแข็ง
    -ร่ายมนต์ให้มือสั่น
    -ร่ายมนต์ไม่ให้หูได้ยินเสียง
    -เป็นหมอทรงกระจก
    -เป็นหมอทรงหญิงสาว
    -เป็นหมอทรงเจ้า
    -บวงสรวงพระอาทิตย์
    -บวงสรวงท้าวมหาพรหม
    -ร่ายมนต์พ่นไฟ
    -ทำพิธีเชิญขวัญ

    7. พระสมณโคดม เว้นขาดจากการเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา เช่น อย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวกฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังเลี้ยงชีพโดยทางผิด ด้วยติรัจฉานวิชา

    -ทำพิธีบนบาน
    -ทำพิธีแก้บน
    -ร่ายมนต์ขับผี
    -สอนมนต์ป้องกันบ้านเรือน
    -ทำกะเทยให้กลับเป็นชาย
    -ทำชายให้กลายเป็นกะเทย
    -ทำพิธีปลูกเรือน
    -ทำพิธีบวงสรวงพื้นที่
    -พ่นน้ำมนต์
    -รดน้ำมนต์
    -ทำพิธีบูชาไฟ
    -ปรุงยาสำรอก
    -ปรุงยาถ่าย
    -ปรุงยาถ่ายโทษเบื้องบน
    -ปรุงยาถ่ายโทษเบื้องล่าง
    -ปรุงยาแก้ปวดศีรษะ
    -หุงน้ำมันหยอดหู
    -ปรุงยาตา
    -ปรุงยานัดถุ์
    -ปรุงยาทากัด
    -ปรุงยาทาสมาน
    -ป้ายยาตา
    -ทำการผ่าตัดรักษาเด็ก
    -ใส่ยา ชะแผล

    ในพระพุทธศาสนา

    สัจธรรมคือความเป็นจริงที่พระองค์รอบรู้ทรงเห็นทรงสามารถ ทรงเว้นขาดจากการเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา และยังทรงตรัสสั่งสอนให้ภิกษุเว้นขาดด้วยเพราะ ภิกษุสมบูรณ์ด้วยศีลอย่างนี้ ย่อมไม่ประสบภัยแต่ไหนๆ เลย เพราะศีลสังวรนั้น เปรียบเหมือนกษัตริย์ผู้ได้มุรธาภิเษก กำจัดราชศัตรูได้แล้ว ย่อมไม่ประสบภัยแต่ไหนๆ เพราะราชศัตรูนั้น ดูกรผู้มีอายุ ภิกษุก็ฉันนั้น สมบูรณ์ด้วยศีลอย่างนี้แล้ว ย่อมไม่ประสบภัยแต่ไหนๆ เพราะศีลสังวรนั้นภิกษุสมบูรณ์ด้วยอริยศีลขันธ์นี้ ย่อมได้เสวยสุขอันปราศจากโทษในภายใน ดูกรผู้มีอายุ ด้วยประการดังกล่าวมานี้แล ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล.


    อสิตดาบสไม่ใช่นักบวชในพระพุทธศาสนา แต่มีศรัทธาต่อพระพุทธศาสนา และญานหยั่งรู้ทั้งเรื่องนอกแนวและในแนวของพระพุทธในพระศาสนา ไปไกลถึงอดีตสมัยพระพุทธเจ้าองค์อื่นๆอีกด้วย การปรากฎเช่นนี้ ย่อมหวังได้ซึ่ง พุทธภูมิ ของ อสิตดาบส

    อสิตฤๅษีผู้มีสมาบัติ ๘ และอภิญญา ๕ ทำนายลักษณะพระกุมารสิทธัตถะ

    อสิตฤษี รู้ด้วยกำลังปัญญาของตนว่าตนมีอายุน้อย จึงพิจารณาว่า ในวงญาติของเรามีใครบ้างจักได้เห็นความเป็นพระพุทธเจ้านั้น ได้มองเห็นนาลกทารกผู้เป็นหลาน เป็นผู้ได้สะสมบุญไว้ตั้งแต่ ศาสนาพระปทุมุตรสัมมาสัมพุทธเจ้า และคิดว่านาลกมาณพถ้าเติบใหญ่ขึ้นพอมีปัญญาแล้วจะตั้งอยู่ในความประมาท ท่านนั้นเพื่อจะอนุเคราะห์นาลกมาณพนั้น จึงไปยังเรือนของน้องสาว แล้วถามว่า นาลกะ บุตรของเจ้าอยู่ไหน นางผู้เป็นน้องสาวตอบว่า ข้าแต่พระคุณเจ้า เขาอยู่ในเรือน ท่านดาบสจึงสั่งให้เรียกเขามา เมื่อนาลกมาณพมาแล้ว ท่านดาบสก็พูดกับเขาว่า นี่แน่ะพ่อ บัดนี้พระราชโอรสอุบัติแล้วในตระกูลของพระเจ้าสุทโธทนมหาราชเป็นหน่อพุทธางกูร พระองค์จักได้เป็นพระพุทธเจ้าเมื่อล่วงได้ ๓๕ ปี เจ้าจักได้เห็นพระองค์ เจ้าจงบวชในวันนี้ทีเดียว


    การทำนายลักษณะในที่นี้ของอสิตดาบส ไม่ได้กระทำให้ญานสมาบัติของตนนั้นเสื่อม อันตรายที่จักเกิดกับอสิตดาบส ก็ไม่มี นี่จึงแสดงให้เห็นว่า ระบุเจาะจงแก่ภิกษุสาวก

    ผู้ปรารถนาทิศที่ยังไม่เคยไป พึงรักษาจิตของตนไว้ เหมือนคนประคองไปซึ่งโถน้ำมันอันเต็มเปียมเสมอขอบ มิได้มีส่วนพร่องเลย

    กว่าเขาจะได้นิสสัยอันชี้นำทางสว่างในการปฎิบัติและศึกษาธรรม นั่นก็สั่งสมมาหลายภพหลายชาติแล้ว สติปัญญาจึงมีความเจริญสนใจในพระธรรมคำสั่งสอน ก็ล้วนแต่เป็นพลวปัจจัยที่บุคคลเหล่านั้นได้มี จริตสติปัญญา นำกาย วาจา ใจของเขาเข้าสู่การพิจารณาและใส่ใจ ในพระธรรมคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าที่ทรงมีพระมหากรุณาตรัสสั่งสอนโปรดเวไนยสัตว์ไว้

    ผู้ริเริ่มต้น ไม่ว่าจะด้วย ศรัทธา ๔  

           ๑. กัมมสัทธา เชื่อว่า กรรมมีจริง 

           ๒. วิปากสัทธา เชื่อว่า ผลของกรรมมีจริง 

           ๓. กัมมัสสกตาสัทธา เชื่อว่า เชื่อว่าสัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของของตนจริง 

           ๔. ตถาคตโพธิสัทธา เชื่อ การตรัสรู้ของพระตถาคตเจ้า 


    หรือ บุคคลผู้อยู่นอกพระพุทธศาสนา หรือเป็นผู้ที่ยังไม่มีศรัทธาก็ตาม แม้ว่าเขาจะมีโอกาสได้หยิบ ได้อ่านผ่านตา ได้ยินได้มองเห็น พระธรรมคำสั่งสอนแม้เพียงแต่พุทธภาษิตเดียว ณ ที่แห่งหนตำบลใด แล้วเกิดจิตเลื่อมใส เกิดจิตยินดี นั่นก็จักเป็นประโยชน์ในภายภาคหน้าแก่เขา เพราะเขาเพ่งไปที่ธรรมนั้น พิจารณาธรรมนั้น ด้วยตนเอง มิใช่อาศัยบุคคลอื่นที่กล่าวผิด หรืออาศัยโดยบุคคลอื่นก็ตาม แต่ว่าข้อนั้นจะต้องถูกต้องอย่างกว้างขวาง และเขาต้องมีความพยายามที่จะต้องรู้ให้จริงให้ลึกซึ้ง ในการสั่งสมสุตตะโดยมาก

    แต่ไม่ใช่ไปหวังพึ่งติดตาม ผู้ที่วิสัชนาธรรมสั่งสอนออกมาอย่างผิดๆ หรือคิดผิดเอง ซึ่งนั่นก็ต้องอาศัยการปฎิบัติเพื่อเทียบเคียงผล ต้องอาศัยการเจริญในมรรคผลขั้นต่อไป

    ถ้าเริ่มต้นผิด ดูผิด อ่านผิด ฟังผิด เขียนผิดและยึดติด ไม่ปล่อยวาง ไม่แก้ไข เขาก็ได้นำตนเองเข้าสู่ทางตัน


    "ภิกษุทั้งหลาย ! พวกภิกษุบริษัทในกรณีนี้, สุตตันตะเหล่าใด ที่กวีแต่งขึ้นใหม่เป็นคำร้อยกรองประเภทกาพย์กลอน มีอักษรสละสลวย

    มีพยัญชนะอันวิจิตร เป็นเรื่องนอกแนว เป็นคำกล่าวของสาวก เมื่อมีผู้นำสุตตันตะเหล่านั้นมากล่าวอยู่ เธอจักไม่ฟังด้วยดี ไม่เงี่ยหูฟัง

    ไม่ตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง และจักไม่สำคัญว่าเป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียน"


            "ภิกษุทั้งหลาย ! ส่วนสุตตันตะเหล่าใดที่เป็นคำของตถาคต เป็นข้อความลึก มีความหมายซึ้ง เป็นชั้นโลกุตตระ ว่าเฉพาะด้วยเรื่อง

    สุญญาตา, เมื่อมีผู้นำสุตตันตะเหล่านั้นมากล่าวอยู่; เธอย่อมฟังด้วยดี ย่อมเงี่ยหูฟัง ย่อมตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง และย่อมสำคัญว่าเป็นสิ่งที่

    ตน ควรศึกษาเล่าเรียน จึงพากันเล่าเรียนไต่ถาม ทวนถามแก่กันและกันอยู่ว่า "ข้อนี้เป็นอย่างไร? มีความหมายกี่นัย?" ดังนี้. ด้วยการทำดังนี้

    เธอย่อมเปิดธรรมที่ถูกปิดไว้ได้. ธรรมที่ยังไม่ปรากฎเธอก็ทำให้ปรากฎได้, ความสงสัยในธรรมหลายประการที่น่าสงสัยเธอก็บรรเทาลงได้"




    โดย พละ ๕

    http://www.dhammathai.org/milin/milin05.php


    บุคคลมีศรัทธาต่อสิ่งใด เมื่อระลึกถึงสิ่งนั้น หรือบุคคลนั้น จิตใจย่อมผ่องใส และจิตใจของเขาย่อมแล่นไปยังสิ่งนั้น หรือบุคคลนั้นเสมอ ๆ

    ผู้ศรัทธาในพระนิพพาน หรือผู้ถึงนิพพานแล้ว จิตย่อมแล่นไปในนิพพานเนืองๆ มีนิพพานเป็นอารมณ์อยู่เสมอ ย่อมทำความเพียรเพื่อบรรลุพระนิพพานนั้น



    แล้วจึงจักเจริญยิ่งขึ้นไป เรื่อยๆ ใครตั้งใจ ใครมีความเพียรมากกว่า ผู้นั้นย่อมได้ผลก่อน และผู้ที่ได้ไตร่ตรองว่ามีผลดีอย่างแน่นอนแล้ว เขาย่อมเห็นเป็นสิ่งที่มีประโยชน์และมีคุณค่ากว่าทรัพย์สมบัติใดๆในโลก จะไม่ยอมหยุดที่จะพอใจในสมบัติอันวิหารธรรมต่างๆที่มีนี้จนกว่าจะพ้นวิเศษแล้ว



    เราบอกแล้ว ว่าต้องเป็นเรื่องนอกแนว เท่านั้น สำหรับผู้หวังความเจริญและยังเป็นในฐานะผู้ร่ำเรียนอยู่ ยังไม่ผ่องใสและกระจ่างในพระสัทธรรม ตามลำดับสติปัญญาที่สั่งสมมา แต่จะเป็นสาวกภาษิตหรือใครภาษิตก็ตาม ถ้าไตร่ตรองพิจารณาโดยหลักสัมมาทิฎฐิแล้วว่าถูกต้อง เข้ากันได้ กับหลักธรรมทั้งหลายฯ ก็สามารถยกเข้าสู่พระสัทธรรมที่แท้จริงได้

    เรียนให้ผ่านแล้วจะข้ามไประดับสูงขึ้นไปอีก ถ้าเรียนไม่ผ่านก็จะได้เท่าที่รู้ที่เห็นโดยใส่กรอบกรงขังเอาไว้


    อุปมาอย่างเช่น ศาสนาลัทธิอื่น มีการยกย่องชื่นชมส่งเสริมคำสอนให้บุตรมีความกตัญญูต่อพ่อและแม่ของตนเอง เลี้ยงดูพ่อแม่ ตอบแทนคุณพ่อแม่ ศาสนาพุทธก็มิได้ขัดข้องกับคำสั่งสอนแบบนั้นอย่างนั้น กับจะสาธุการเสียด้วยซ้ำ ว่า

    นิมิตฺตํ สาธุรูปานํ, กตญฺญูกตเวทิตา,
    ความกตัญญูกตเวที เป็นเครื่องหมายของคนดี

    เมื่อเขามีสติปัญญาเขาก็จักได้เงี่ยหูฟังเกิดความเลื่อมใส โอว่าหนอ ทำไมบุคคลผู้นี้จึงสรรเสริญคุณงามความดีอย่างแจ่มใสนัก เขาก็จะเพียรพยามยามต่อไปที่จะศึกษาถ้อยคำและคุณความหมายนั้นๆอย่างใช้สติปัญญาโดยไม่งมงาย

    ทุกๆอย่างก็ล้วนแต่เป็นพลวปัจจัยทั้งนั้น ยกเว้นไว้แต่เพียง ปริยัติงูพิษ อันเหล่าโมฆะบุรุษและอามิสทายาทแสดงแล้วด้วยความประสงค์อื่นอันไม่บริสุทธิ์ ก็ย่อมนำภัยมาให้ มากกว่าจะเกิดผลดี

    ถือวิสัชนาให้พอเข้าใจ แต่เพียงนี้ในกาล


    สำหรับผู้มีปัญญาธรรมระดับสูง เป็นครูเป็นอาจารย์ ย่อมวิสัชนาให้ลุ่มลึกขึ้นไปอีกถึงความเป็นจริง ได้ตามนี้ ฟังได้ คิดได้ พิจารณาได้ ไม่ว่าแนวนอก หรือแนวใน จึงจะชี้แจงบอกและสอนเขาออกมาได้ นี่คือปัญญาระดับสูง จึงรู้คติที่ไปของเรื่องแนวนอก และแนวใน เพราะนี่ไม่ใช่โลกที่มีแต่พระพุทธศาสนา ไม่ใช่โลกที่มีบัวเพียงสามเหล่า

    พระสัพพัญญูทรงรู้รอบทั้งแนวนอกและแนวใน สามารถสั่งสอนเหล่าเวไนยสัตว์จากเดียรถีย์วัตรแม้เจ้าลัทธิอื่นแม้จะมีคำสั่งสอนแบบใดก็ตาม มีคติที่ไปอย่างไรก็ตาม มีและได้ผลไปในทิศทางใด พระองค์ก็ทรงรู้ทรงทราบอย่างละเอียด ถึงคำสั่งสอนของลัทธินั้นๆ จนบุคคลเหล่านั้น ศิโรราบและออกจากความเห็นผิดได้

    มีแต่โมฆะบุรุษนี่แหละที่ทำให้พระธรรมคำสั่งสอนของสมเด็จพระบรมมหาศาสดาที่พระองค์ทรงแสดงแล้วนี้เศร้าหมอง



    ญานของพระสัพพัญญูกว้างขวางอย่างนี้ กลับไม่มีสติปัญญาที่จะมองเห็น กลับทำให้คับแคบและตีบตันจนอับสิ้นหนทาง


    " ผู้ที่มีจิตไม่มั่นคง ไม่ทราบพระสัทธรรม
    มีความเลื่อมใสรวนเร ย่อมมีปัญญาบริบูรณ์
    ไม่ได้"




    ปฐมวัตถุกถาสูตร
    ว่าด้วยกถาวัตถุ ๑๐ ประการ
    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหาร
    เชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ก็สมัย
    นั้นแล ภิกษุเป็นอันมากกลับจากบิณฑบาตภายหลังภัต นั่งประชุมกันที่
    หอฉัน สนทนาดิรัจฉานกถาเป็นอันมาก คือ สนทนาเรื่องพระราชา เรื่อง
    โจร เรื่องมหาอำมาตย์ เรื่องกองทัพ เรื่องภัย เรื่องการรบ เรื่องข้าว เรื่อง
    น้ำ เรื่องผ้า เรื่องที่นอน เรื่องดอกไม้ เรื่องของหอม เรื่องญาติ เรื่องยาน
    เรื่องบ้าน เรื่องนิคม เรื่องนคร เรื่องชนบท เรื่องสตรี เรื่องคนกล้าหาญ
    เรื่องตรอก เรื่องทำนา เรื่องคนล่วงลับไปแล้ว เบ็ดเตล็ด เรื่องโลก
    เรื่องทะเล เรื่องความเจริญและความเสื่อมด้วยประการนั้น.
    ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จออกจากที่เร้นในเวลาเย็น เสด็จ
    เข้าไปยังหอฉัน ประทับนั่งบนอาสนะอันเขาตบแต่งไว้ ครั้นแล้ว จึงตรัส
    ถามภิกษุทั้งหลายว่า

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้เธอทั้งหลายนั่งประชุม
    สนทนากันด้วยเรื่องอะไรหนอ ก็แหละกถาอะไรที่เธอทั้งหลายสนทนาค้าง
    ไว้ ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระ-
    วโรกาส ข้าพระองค์ทั้งหลายกลับบิณฑบาตภายหลังภัต นั่งประชุม
    กันที่หอฉัน สนทนาซึ่งดิรัจฉานกถาเป็นอันมาก คือ สนทนาเรื่องพระราชา
    เรื่องโจร ฯลฯ เรื่องความเจริญและความเสื่อม พระเจ้าข้า พระผู้มี
    พระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การที่เธอทั้งหลายสนทนากันถึง
    ดิรัจฉานกถาเป็นอันมาก คือ สนทนาเรื่องพระราชา เรื่องโจร ฯลฯ
    เรื่องความเจริญและความเสื่อมนี้ ไม่สมควรแก่เธอทั้งหลายผู้เป็นกุลบุตร
    ออกบวชเป็นบรรพชิตด้วยศรัทธาเลย.

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กถาวัตถุ ๑๐ ประการนี้ ๑๐ ประการเป็นไฉน
    คือ อัปปิจฉกถา ๑ สันตุฏฐิกถา ๑ ปวิเวกกถา ๑ อสังสัคคกถา ๑ วิริยา
    รัมภกถา ๑ สีลกถา ๑ สมาธิกถา ๑ ปัญญากถา ๑ วิมุตติกถา ๑ วิมุตติญาณทัสสนกถา ๑

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กถาวัตถุ ๑๐ ประการนี้แล ดูก่อน
    ภิกษุทั้งหลาย หากว่าเธอทั้งหลายยึดถือเอากถาวัตถุทั้ง ๑๐ ประการนี้
    แล้ว กล่าวเป็นกถาไซร้ เธอทั้งหลายพึงครอบงำเดชแม้ของพระจันทร์
    และพระอาทิตย์ผู้มีฤทธิ์มีอานุภาพมากอย่างนี้ด้วยเดชได้ จะป่วยกล่าวไปไย
    ถึงปริพาชกอัญญเดียรถีย์ทั้งหลายเล่า.
    จบสูตรที่ ๙




    ญาตัตถจริยา โลกัตถจริยา ประพฤติประโยชน์แก่โลก ญาตัตถะจริยา ประพฤติประโยชน์แก่ญาติ

    การประพฤติใดๆก็ตาม หากเป็นการประกอบด้วยปัญญา อุดมด้วยคำสอนที่เป็นประโยชน์ มีผลเป็นสัจธรรมคือความเป็นจริง สิ่งนั้นก็ไม่ใช่ติรัจฉานวิชา หรือ ติรัจฉานกถา


    ความเชื่อที่ประกอบด้วยปัญญา

    ส่วนสัทธรรม ๗ นั้น สัทธรรมก็แปลว่าธรรมะของสัตตบุรุษ คือผู้สงบรำงับ หรือธรรมะของคนดี ธรรมะที่ดี อันได้แก่ศรัทธาคือความเชื่อ และความเชื่อในพุทธศาสนานี้ ต้องการความเชื่อที่ประกอบด้วยปัญญา ที่เป็นญาณสัมปยุต ประกอบด้วยญาณคือความหยั่งรู้ ซึ่งเรียกว่าเป็นความเชื่อในสิ่งที่ควรเชื่อ คือว่าเลือกเชื่อเฉพาะสิ่งที่ควรเชื่อ และจะมีศรัทธาดั่งนี้ได้ก็ต้องใช้ปัญญา ต้องใช้ญาณพิจารณา ให้รู้ว่าอะไรควรเชื่อ อะไรไม่ควรเชื่อ

    และสำหรับพุทธศาสนิกชน ศรัทธาที่ต้องการเป็นข้อสำคัญในฐานะเป็นพุทธสาวก ก็คือตถาคตะโพธิสัทธา ความเชื่อความตรัสรู้ของพระตถาคตพุทธเจ้า ซึ่งความเชื่อดั่งนี้จะเกิดขึ้นได้ก็ต้องอาศัย การที่มาเจริญพุทธานุสสติ ระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า และให้รู้จักพระพุทธคุณดังที่สวดกันอยู่ว่า อิติปิโส ภควา อะระหัง สัมมา สัมพุทโธ เป็นต้น ดั่งที่กำลังแสดงอยู่นี้ ระลึกถึงพระพุทธคุณให้มีความเข้าใจซาบซึ้งในพระพุทธคุณ แม้บทใดบทหนึ่ง เมื่อเป็นดั่งนี้ก็จะทำให้ได้ตถาคตะโพธิสัทธามากขึ้นๆ และก็จะทำให้ได้ศรัทธาในธรรมะที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอน

    ในการพิจารณาพระสัทธรรมทั้งมวลฯ ทุกๆพระสูตรที่กล่าวเป็นสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ไม่เป็นเรื่องนอกแนวห่างไกลจากพระพุทธศาสนา คือ ได้ยินแล้วว่าข้อนี้ ประโยคนี้ ยังไงก็อยู่ในพระพุทธศาสนาเป็นส่วนหนึ่งของพระพุทธศาสนาแน่ๆ ไม่ออกเป็นเดียร์ถีย์ปริพาชกอื่นๆ เป็นเรื่องของปัญญาวิสุทธิ ตามลำดับสติปัญญา ที่ผู้ไตร่ตรองศึกษาในรสของพระธรรม จะเจริญงอกงาม และลดละเพิ่มเติมได้ซึ่งสภาวะการปฎิบัติที่สมควรแก่ธรรม สมควรแก่นิสสัยที่สั่งสมไว้ตามกาลบุญบารมีที่ได้สร้างมา การที่พระเถระนุเถระเจ้าทั้งหลายฯ ได้พิจารณาส่งเสริมทอดทิ้งไว้ให้ชนหมู่หลังที่เดินตามมา นั่นท่านก็หมายให้ใช้สติปัญญา นี่คือศาสนาพุทธ ว่าด้วย "มหาปัญญา"และ"บุญบารมี" ไม่ใช่ "ใช้ปัญญาแบบโง่ๆอย่างสำนักวัดนาป่าพง" สิ่งที่ท่านจรรโลงเอาไว้นั่นเป็นการให้พุทธานุสติ ธรรมมานุสติ สังฆานุสติ แก่ผู้ได้ยินได้ฟังได้เห็น จะได้พึงระลึกรู้ เรื่องนี้ว่ากันด้วยปัญญา อุปมาอุปไมย เป็นโลกัตถะจริยา การประพฤติที่เป็นประโยชน์แก่ชาวโลก สติปัญญาของผู้รู้ธรรมแตกต่างกัน เป็นธรรมดา ที่ฉงนพลคนพาลอย่างกลุ่มสิ่งมีชีวิต สติปัญญาน้อย อย่าง หัวโจกคึกฤทธิ์และลูกศิษย์ลูกหาตาบอด สำนักวัดนาป่าพงจะไม่เข้าใจ เป็นธรรมดา เป็นธรรมดา

    โลกัตถจริยา (การประพฤติเป็นประโยชน์ต่อชาวโลก)

    ถ้าไม่มีญานหยั่งรู้ ในพระวินัยที่ทรงตรัสถึงการทำเดรัจฉานวิชาเพื่อเลี้ยงชีพ ไม่ใช่วัตถุประสงค์อื่นเช่นการแสดงธรรมต่อพุทธะเวไนย เป็นต้น อย่าพึ่งสรุปว่าสิ่งนี้เคยทรงปฎิบัติหรือไม่ปฎิบัติ ดังที่ทรงห้ามโดยพระวินัยและบัญญัติมาในจุลศีล-มหาศีล

    เตลปัตตชาดก

    พระปัจเจกพุทธเจ้าในอดีตมากมาย ได้สงเคราะห์พระโพธิสัตว์หลายครั้งหลายหนด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็น การแสดงธรรม หรือแม้กระทั่งทำ ทรายเสก และ ด้ายเสก นอกจากนั้นยังทรงพยากรณ์ พระโพธิสัตว์ว่าจะได้เป็นพระพุทธเจ้าอีกด้วย


    จุลศีล
                 ดูกรผู้มีอายุ อย่างไร ภิกษุจึงชื่อว่าเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล.
                 ๑. ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ละการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ วางทัณฑะวางศาตรา มีความละอาย มีความเอ็นดู มีความกรุณา หวังประโยชน์แก่สัตว์ทั้งปวงอยู่ข้อนี้เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.
                 ๒. เธอละการลักทรัพย์ เว้นขาดจากการลักทรัพย์ รับแต่ของที่เขาให้ ต้องการแต่ของที่เขาให้ ไม่ประพฤติตนเป็นขโมย เป็นผู้สะอาดอยู่ แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.
                 ๓. เธอละกรรมเป็นข้าศึกแก่พรหมจรรย์ ประพฤติพรหมจรรย์ ประพฤติห่างไกลเว้นขาดจากเมถุนอันเป็นกิจของชาวบ้าน แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.
                 ๔. เธอละการพูดเท็จ เว้นขาดจากการพูดเท็จ พูดแต่คำจริง ดำรงคำสัตย์ มีถ้อยคำเป็นหลักฐาน ควรเชื่อได้ ไม่พูดลวงโลก แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.
                 ๕. เธอละคำส่อเสียด เว้นขาดจากคำส่อเสียด ฟังจากข้างนี้แล้วไม่ไปบอกข้างโน้นเพื่อให้คนหมู่นี้แตกร้าวกัน หรือฟังจากข้างโน้นแล้วไม่มาบอกข้างนี้ เพื่อให้คนในหมู่โน้นแตกร้าวกัน สมานคนที่แตกร้าวกันแล้วบ้าง ส่งเสริมคนที่พร้อมเพรียงกันแล้วบ้าง ชอบคนผู้พร้อมเพรียงกัน ยินดีในคนผู้พร้อมเพรียงกัน เพลิดเพลินในคนผู้พร้อมเพรียงกัน กล่าวแต่คำ
    ที่ทำให้คนพร้อมเพรียงกัน แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.
                 ๖. เธอละคำหยาบ เว้นขาดจากคำหยาบ กล่าวแต่คำที่ไม่มีโทษ เพราะหู ชวนให้รักจับใจ เป็นของชาวเมือง คนส่วนมาก รักใคร่ พอใจ แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.
                 ๗. เธอละคำเพ้อเจ้อ เว้นขาดจากคำเพ้อเจ้อ พูดถูกกาล พูดแต่คำที่เป็นจริง พูดอิงอรรถพูดอิงธรรม พูดอิงวินัย พูดแต่คำมีหลักฐาน มีที่อ้าง มีที่กำหนด ประกอบด้วยประโยชน์โดยกาลอันควร แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.
                 ๘. เธอเว้นขาดจากการพรากพืชคามและภูตคาม.
                 ๙. เธอฉันหนเดียว เว้นการฉันในราตรี งดจากการฉันในเวลาวิกาล.
                 ๑๐. เธอเว้นขาดจากการฟ้อนรำ ขับร้อง ประโคมดนตรี และดูการเล่นอันเป็นข้าศึกแก่กุศล.
                 ๑๑. เธอเว้นขาดจากการทัดทรงประดับ และตบแต่งร่างกายด้วยดอกไม้ ของหอม และเครื่องประเทืองผิวอันเป็นฐานแห่งการแต่งตัว.
                 ๑๒. เธอเว้นขาดจากการนั่งนอนบนที่นั่งที่นอนอันสูงใหญ่.
                 ๑๓. เธอเว้นขาดจากการรับทองและเงิน.
                 ๑๔. เธอเว้นขาดจากการรับธัญญาหารดิบ.
                 ๑๕. เธอเว้นขาดจากการรับเนื้อดิบ.
                 ๑๖. เธอเว้นขาดจากการรับสตรีและกุมารี.
                 ๑๗. เธอเว้นขาดจากการรับทาสีและทาส.
                 ๑๘. เธอเว้นขาดจากการรับแพะและแกะ.
                 ๑๙. เธอเว้นขาดจากการรับไก่และสุกร.
                 ๒๐. เธอเว้นขาดจากการรับช้าง โค ม้า และลา.
                 ๒๑. เธอเว้นขาดจากการรับไร่นาและที่ดิน.
                 ๒๒. เธอเว้นขาดจากการประกอบทูตกรรมและการรับใช้.
                 ๒๓. เธอเว้นขาดจากการซื้อการขาย.
                 ๒๔. เธอเว้นขาดจากการโกงด้วยตราชั่ง การโกงด้วยของปลอม และการโกงด้วยเครื่องตวงวัด.
                 ๒๕. เธอเว้นขาดจากการรับสินบน การล่อลวง และการตลบตะแลง.
                 ๒๖. เธอเว้นขาดจากการตัด การฆ่า การจองจำ การตีชิง การปล้น และกรรโชกแม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.
    จบจุลศีล.

    มัชฌิมศีล
                 ๑. ภิกษุเว้นขาดจากการพรากพืชคามและภูตคาม เช่น อย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวก ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังประกอบการพรากพืชคามและภูตคาม เห็นปานนี้คือ พืชเกิดแต่เหง้า พืชเกิดแต่ลำต้น พืชเกิดแต่ผล พืชเกิดแต่ยอด พืชเกิดแต่เมล็ดเป็นที่ครบห้าแม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.

                 ๒. ภิกษุเว้นขาดจากการบริโภคของที่ทำการสะสมไว้ เช่น อย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวก ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังประกอบการบริโภคของที่ทำการสะสมไว้เห็นปานนี้ คือสะสมข้าว สะสมน้ำ สะสมผ้า สะสมยาน สะสมที่นอน สะสมของหอมสะสมเครื่องประเทืองผิว สะสมอามิส แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.

                 ๓. ภิกษุเว้นขาดจากการดูการเล่นอันเป็นข้าศึกแก่กุศล เช่น อย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวกฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธา แล้วยังขวนขวายดูการเล่นอันเป็นข้าศึกแก่กุศลเห็นปานนี้ คือการฟ้อน การขับร้อง การประโคม มหรสพ มีการรำเป็นต้น การเล่านิยายการเล่นปรบมือ การเล่นปลุกผี การเล่นตีกลอง ฉากภาพบ้านเมืองที่สวยงาม การเล่นของคน
    จัณฑาล การเล่นไม้สูง การเล่นหน้าศพ ชนช้าง ชนม้า ชนกระบือ ชนโค ชนแพะชนแกะ ชนไก่ รบนกกระทา รำกระบี่กระบอง มวยชก มวยปล้ำ การรบ การตรวจพลการจัดกระบวนทัพ กองทัพ แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.
                 ๔. ภิกษุเว้นขาดจากการขวนขวายเล่นการพนันอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวกฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธา แล้วยังขวนขวายเล่นการพนันอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาทเห็นปานนี้ คือ เล่นหมากรุกแถวละแปดตา แถวละสิบตาเล่นหมากเก็บ เล่นดวด เล่นหมากไหว เล่นโยนบ่วง เล่นไม้หึ่ง เล่นกำทาย เล่นสะกาเล่นเป่าใบไม้ เล่นไถน้อยๆ เล่นหกคะเมน เล่นกังหัน เล่นตวงทราย เล่นรถน้อยๆเล่นธนูน้อยๆ เล่นเขียนทายใจ เล่นทายใจ เล่นเลียนคนพิการ แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.

                 ๕. ภิกษุเว้นขาดจากการนั่งนอนบนที่นั่งที่นอนอันสูงใหญ่ เช่น อย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวกฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธา แล้วยังนั่งนอนบนที่นั่งที่นอนอันสูงใหญ่เห็นปานนี้ คือเตียงมีเท้าเกินประมาณ เตียงมีเท้าทำเป็นรูปสัตว์ร้าย ผ้าโกเชาว์ขนยาว เครื่องลาดที่ทำด้วยขนแกะวิจิตรลวดลาย เครื่องลาดที่ทำด้วยขนแกะสีขาว เครื่องลาดที่มีสันฐานเป็นช่อดอกไม้ เครื่องลาดที่ยัดนุ่น เครื่องลาดขนแกะวิจิตรด้วยรูปสัตว์ร้ายมีสีหะและเสือเป็นต้นเครื่องลาดขนแกะมีขนตั้ง เครื่องลาดขนแกะมีขนข้างเดียว เครื่องลาดทองและเงินแกมไหมเครื่องลาดไหมขลิบทองและเงิน เครื่องลาดขนแกะจุนางฟ้อน ๑๖ คน เครื่องลาดหลังช้างเครื่องลาดหลังม้า เครื่องลาดในรถ เครื่องลาดที่ทำด้วยหนังสัตว์ชื่ออชินะอันมีขนอ่อนนุ่มเครื่องลาดอย่างดีทำด้วยหนังชะมด เครื่องลาดมีเพดาน เครื่องลาดมีหมอนข้าง แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.

                 ๖. ภิกษุเว้นขาดจากการประกอบการประดับตบแต่งร่างกาย อันเป็นฐานแห่งการแต่งตัวเช่น อย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวกฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธา แล้วยังขวนขวายประกอบการประดับตบแต่งร่างกาย อันเป็นฐานแห่งการแต่งตัวเห็นปานนี้ คืออบตัว ไคลอวัยวะ
    อาบน้ำหอม นวด ส่องกระจก แต้มตา ทัดดอกไม้ ประเทืองผิว ผัดหน้า ทาปาก ประดับข้อมือสวมเกี้ยว ใช้ไม้เท้า ใช้กลักยา ใช้ดาบ ใช้ขรรค์ ใช้ร่ม สวมรองเท้าประดับวิจิตร ติดกรอบหน้าปักปิ่น ใช้พัดวาลวิชนี นุ่งห่มผ้าขาว นุ่งห่มผ้ามีชาย แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.

                 ๗. ภิกษุเว้นขาดจากติรัจฉานกถา เช่น อย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวกฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธา แล้วยังประกอบติรัจฉานกถาเห็นปานนี้ คือ พูดเรื่องพระราชา เรื่องโจรเรื่องมหาอำมาตย์ เรื่องกองทัพ เรื่องภัย เรื่องรบ เรื่องข้าว เรื่องน้ำ เรื่องผ้า เรื่องที่นอนเรื่องดอกไม้ เรื่องของหอม เรื่องญาติ เรื่องยาน เรื่องบ้าน เรื่องนิคม เรื่องนคร เรื่องชนบท
    เรื่องสตรี เรื่องบุรุษ เรื่องคนกล้าหาญ เรื่องตรอก เรื่องท่าน้ำ เรื่องคนที่ล่วงลับไปแล้วเรื่องเบ็ดเตล็ด เรื่องโลก เรื่องทะเล เรื่องความเจริญและความเสื่อมด้วยประการนั้นๆ แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.

                 ๘. ภิกษุเว้นขาดจากการกล่าวถ้อยคำแก่งแย่งกัน เช่น อย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวกฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธา แล้วยังขวนขวายกล่าวถ้อยคำแก่งแย่งกันเห็นปานนี้เช่นว่าท่านไม่รู้ทั่วถึงธรรมวินัยนี้ ข้าพเจ้ารู้ทั่วถึง ท่านจักรู้ทั่วถึงธรรมวินัยนี้ได้อย่างไร ท่านปฏิบัติผิด ข้าพเจ้าปฏิบัติถูก ถ้อยคำของข้าพเจ้าเป็นประโยชน์ ของท่านไม่เป็นประโยชน์ คำที่ควรจะกล่าวก่อน ท่านกลับกล่าวภายหลัง คำที่ควรจะกล่าวภายหลัง ท่านกลับกล่าวก่อน ข้อที่ท่านเคยช่ำชองมาผันแปรไปแล้ว ข้าพเจ้าจับผิดวาทะของท่านได้แล้ว ข้าพเจ้าข่มท่านได้แล้ว ท่านจงถอนวาทะเสีย มิฉะนั้นจงแก้ไขเสีย ถ้าสามารถ แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.

                 ๙. ภิกษุเว้นขาดจากการประกอบทูตกรรมและการรับใช้ เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวกฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธา แล้วยังขวนขวายประกอบทูตกรรมและการรับใช้เห็นปานนี้ คือ รับเป็นทูตของพระราชา ราชมหาอำมาตย์ กษัตริย์ พราหมณ์ คหบดี และกุมารว่า ท่านจงไปในที่นี้ ท่านจงไปในที่โน้น ท่านจงนำเอาสิ่งนี้ไป ท่านจงนำเอาสิ่งนี้ในที่โน้นมา
    ดังนี้ แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.
                 ๑๐. ภิกษุเว้นขาดจากการพูดหลอกลวงและการพูดเลียบเคียง เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวกฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธา แล้วยังพูดหลอกลวง พูดเลียบเคียง พูดหว่านล้อม พูดและเล็ม แสวงหาลาภด้วยลาภ แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.
    จบมัชฌิมศีล.

    มหาศีล
                 ๑. ภิกษุเว้นขาดจากการเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวกฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธา แล้วยังเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชาเห็นปานนี้ คือ ทายอวัยวะ ทายนิมิต ทายอุปบาต ทำนายฝัน ทำนายลักษณะ ทำนายหนูกัดผ้า ทำพิธีบูชาไฟ ทำพิธีเบิกแว่นเวียนเทียน ทำพิธีซัดแกลบบูชาไฟ ทำพิธีซัดรำบูชาไฟ ทำพิธีซัดข้าวสารบูชาไฟ ทำพิธีเติมเนยบูชาไฟ ทำพิธีเติมน้ำมันบูชาไฟ ทำพิธีเสกเป่าบูชาไฟทำพลีกรรมด้วยโลหิต เป็นหมอดูอวัยวะ ดูลักษณะที่บ้าน ดูลักษณะที่นา เป็นหมอปลุกเสกเป็นหมอผี เป็นหมอลงเลขยันต์คุ้มครองบ้านเรือน เป็นหมองู เป็นหมอยาพิษ เป็นหมอแมลงป่อง เป็นหมอรักษาแผลหนูกัด เป็นหมอทายเสียงนก เป็นหมอทายเสียงกา เป็นหมอทายอายุ เป็นหมอเสกกันลูกศร เป็นหมอทายเสียงสัตว์ แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.

                 ๒. ภิกษุเว้นขาดจากการเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวกฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธา แล้วยังเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชาเห็นปานนี้ คือ ทายลักษณะแก้วมณี ทายลักษณะไม้พลอง ทายลักษณะผ้า ทายลักษณะศาสตราทายลักษณะศร ทายลักษณะดาบ ทายลักษณะธนู ทายลักษณะอาวุธ ทายลักษณะสตรีทายลักษณะบุรุษ ทายลักษณะกุมาร ทายลักษณะกุมารี ทายลักษณะทาส ทายลักษณะทาสีทายลักษณะช้าง ทายลักษณะม้า ทายลักษณะกระบือ ทายลักษณะโคอุสภะ ทายลักษณะโคทายลักษณะแพะ ทายลักษณะแกะ ทายลักษณะไก่ ทายลักษณะนกกระทา ทายลักษณะเหี้ย ทายลักษณะตุ่น ทายลักษณะเต่า ทายลักษณะมฤค แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.

                 ๓. ภิกษุเว้นขาดจากการเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวกฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธา แล้วยังเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชาเห็นปานนี้ คือ ดูฤกษ์ยาตราทัพว่า พระราชาจักยกออก พระราชาจักไม่ยกออก พระราชาภายในจักยกเข้าประชิด พระราชาภายนอกจักถอย พระราชาภายนอกจักยกเข้าประชิด พระราชาภายในจักถอย พระราชาภายในจักมีชัย พระราชาภายนอกจักปราชัย พระราชาภายนอกจักมีชัยพระราชาภายในจักปราชัย พระราชาองค์นี้จักมีชัย พระราชาองค์นี้จักปราชัย เพราะเหตุนี้ๆแม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.

                 ๔. ภิกษุเว้นขาดจากการเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวกฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธา แล้วยังเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชาเห็นปานนี้ คือ พยากรณ์ว่า จักมีจันทรคราส จักมีสุริยคราส จักมีนักษัตรคราส ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์จักเดินถูกทาง ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์จักเดินผิดทาง ดาวนักษัตรจักเดินถูกทางดาวนักษัตรจักเดินผิดทาง จักมีอุกกาบาต จักมีดาวหาง จักมีแผ่นดินไหว จักมีฟ้าร้องดวงจันทร์ดวงอาทิตย์และดาวนักษัตรจักขึ้น ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์และดาวนักษัตรจักตก ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์และดาวนักษัตรจักมัวหมอง ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์และดาวนักษัตรจักกระจ่าง จันทรคราสจักมีผลเป็นอย่างนี้ สุริยคราสจักมีผลเป็นอย่างนี้ นักษัตรคราสจักมีผลเป็นอย่างนี้ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์เดินถูกทางจักมีผลเป็นอย่างนี้ ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์เดินผิดทางจักมีผลเป็นอย่างนี้ ดาวนักษัตรเดินถูกทางจักมีผลเป็นอย่างนี้ ดาวนักษัตรเดินผิดทางจักมีผลเป็นอย่างนี้มีอุกกาบาตจักมีผลเป็นอย่างนี้ มีดาวหางจักมีผลเป็นอย่างนี้ แผ่นดินไหวจักมีผลเป็นอย่างนี้ ฟ้าร้องจักมีผลเป็นอย่างนี้ ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์และดาวนักษัตรขึ้นจักมีผลเป็นอย่างนี้ ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์และดาวนักษัตรตกจักมีผลเป็นอย่างนี้ ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์และดาวนักษัตรมัวหมองจักมีผลเป็นอย่างนี้ ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์และดาวนักษัตรกระจ่างจักมีผลเป็นอย่างนี้ แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.

                 ๕. ภิกษุเว้นขาดจากการเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวกฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธา แล้วยังเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชาเห็นปานนี้ คือ พยากรณ์ว่าจักมีฝนดี จักมีฝนแล้ง จักมีภิกษาหาได้ง่าย จักมีภิกษาหาได้ยาก
    จักมีความเกษม จักมีภัย จักเกิดโรค จักมีความสำราญหาโรคมิได้ หรือนับคะแนน คำนวณนับประมวล แต่งกาพย์โลกายตศาสตร์ แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.

                 ๖. ภิกษุเว้นขาดจากการเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวกฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธา แล้วยังเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชาเห็นปานนี้ คือ ให้ฤกษ์อาวาหมงคล ฤกษ์วิวาหมงคล ดูฤกษ์เรียงหมอน ดูฤกษ์หย่าร้างดูฤกษ์เก็บทรัพย์ ดูฤกษ์จ่ายทรัพย์ ดูโชคดี ดูเคราะห์ร้าย ให้ยาผดุงครรภ์ ร่ายมนต์ให้ลิ้นกระด้าง ร่ายมนต์ให้คางแข็ง ร่ายมนต์ให้มือสั่น ร่ายมนต์ไม่ให้หูได้ยินเสียง เป็นหมอทรงกระจกเป็นหมอทรงหญิงสาว เป็นหมอทรงเจ้า บวงสรวงพระอาทิตย์ บวงสรวงท้าวมหาพรหมร่ายมนต์พ่นไฟ ทำพิธีเชิญขวัญ แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.

                 ๗. ภิกษุเว้นขาดจากการเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวกฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธา แล้วยังเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชาเห็นปานนี้ คือ ทำพิธีบนบาน ทำพิธีแก้บน ร่ายมนต์ขับผี สอนมนต์ป้องกันบ้านเรือนทำกะเทยให้กลับเป็นชาย ทำชายให้กลายเป็นกะเทย ทำพิธีปลูกเรือน ทำพิธีบวงสรวงพื้นที่พ่นน้ำมนต์ รดน้ำมนต์ ทำพิธีบูชาไฟ ปรุงยาสำรอก ปรุงยาถ่าย ปรุงยาถ่ายโทษเบื้องบนปรุงยาถ่ายโทษเบื้องล่าง ปรุงยาแก้ปวดศีรษะ หุงน้ำมันหยอดหู ปรุงยาตา ปรุงยานัตถุ์ปรุงยาทากัด ปรุงยาทาสมาน ป้ายยาตา ทำการผ่าตัด รักษาเด็ก ใส่ยา ชะแผล แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.

                 ดูกรผู้มีอายุ ภิกษุสมบูรณ์ด้วยศีลอย่างนี้ ย่อมไม่ประสบภัยแต่ไหนๆ เลย เพราะศีลสังวรนั้น เปรียบเหมือนกษัตริย์ผู้ได้มุรธาภิเษก กำจัดราชศัตรูได้แล้ว ย่อมไม่ประสบภัยแต่ไหนๆ เพราะราชศัตรูนั้น ดูกรผู้มีอายุ ภิกษุก็ฉันนั้น สมบูรณ์ด้วยศีลอย่างนี้แล้ว ย่อมไม่ประสบภัยแต่ไหนๆ เพราะศีลสังวรนั้นภิกษุสมบูรณ์ด้วยอริยศีลขันธ์นี้ ย่อมได้เสวยสุขอันปราศจากโทษในภายใน ดูกรผู้มีอายุ ด้วยประการดังกล่าวมานี้แล ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ถึงพร้อม
    ด้วยศีล.จบมหาศีล.



    ข้อนี้เราขอฝากเตือนใจไว้

    สิ่งที่น่าเป็นห่วงที่สุด คือไปเอาอะไรเลี้ยงสภาวะจิตของตนเอง
    เอาขวากหนามตะปูเรือใบ สิ่งกีดขวางใดใดไปเลี้ยงตนเอง
    แล้วเอาไปวาง ไปโปรยขวางเส้นทางของตนเอง โดยที่ไม่รู้ตัว
    แม้จะเป็นผู้รู้เส้นทางรู้ผังรู้ส่วนประกอบของถนน
    รู้ระยะทาง
    แต่ไม่รู้วิธีเดินทางที่ปลอดภัย
    มันจะไปให้ถึงมรรค๘ อันเป็นทางสายกลางได้อย่างไร

    คงเห็นภัยในข้อนี้กันจนกลายเป็นเรื่องธรรมดาเคยชินไปแล้ว อย่างไม่รู้ตัวสินะ ที่นี้ก็จะรู้แล้วว่า เราจะสามารถแยกเพชรพลอย ออกกรวดหินดินทรายออกไหม?ในกรณีนี้หมายถึงสิ่งที่ต้องการจริงๆ ไม่ใช่หว่านแห่ลงอวนตาถี่กวาดเอาหมด ทั้งปลาเล็กปลาน้อย ท่อนไม้ สนิมกระป๋อง และขยะ

    ผลเสียก็คือถึงแม้จะมีข้อมูลที่อยากรู้ อยากเห็นเพราะธรรมารมณ์ บีบบังคับ ทางอายตนะ ภายนอกและภายใน ของมหาภูติเจตสิกวิญญาณธาตุทั้งหลายฯ แต่ไม่อยากจะจดจำรกจิตใจไปตลอด จะทิ้งก็แสนยาก เป็นภัยมหันต์เพราะจะไม่ส่งเสริมกันเอื้ออำนวยกัน
    เป็นการยากที่จะฝึกจริตธรรมสั่งสมอย่างนั้นมาด้วยกระแสบุญเป็นที่เฉพาะฯ แห่งอินทรียธาตุฯนั้น


    ด้วยเหตุนี้ยังสามารถดูเจตนาหลักของบุคคล หรือกลุ่มคณะใดได้ด้วยพุทธวิธี โดยการจำแนกได้เองอย่างแยบคาย

    อัชฌาสัยของภิกษุกล่าวโดยรวมไม่ละไม่ได้ จึงอยากขอฝากไว้นะที่นี้ พื้นฐานสำคัญที่สุด

    แต่ถ้ารูปใดแม้ไม่ละก็ได้ อย่าไปสงสัยในวิสัยที่ได้ฌานของท่าน เพราะเป็นเรื่องเป็นอจิณไตย


    อุปมา
    กระแสธรรม เมื่อว่างก็บบางเบาดุจปุยหนุ่นล่องลอยปลิวตามลม
    กระแสธรรม เมื่อหนักก็ยากสุดแสนกว่าที่ใครจะใช้กำลังเรี่ยวแรงฉุดดึงยกขึ้นมาได้
    กระแสธรรม จึงต้องใช้ปัญญา ๓ คือ เจริญด้วยปัญญา ๓ เจริญด้วย กาย วาจา ใจ ที่ใช้ปัญญาจึงจะเข้าถึงได้
    นั่นก็หมายถึงไม่ให้เสียสารูป ถ้าเสียสารูปแล้วไม่มีของเก่าเสริมจะเข้าถึงได้ยาก อาบัติแต่ละกองล้วนมีความหมายเป็นสิ่งกีดขวางในการประพฤติปฎิบัติธรรม เมื่อต้องอาบัติอยู่ จึงไม่สามารถเจริญในมรรคผลอันยิ่งขึ้นไปกว่านั้นได้

    นี่ยังไม่รวมถึงสิ่งที่จะต้องละ




    ที่สำคัญ การปฎิบัติอันไม่เกี่ยวข้องกับติรัจฉานวิชาและติรัจฉานกถานี้ นอกจากจะเอื้อเฟื้อให้แก่ ภิกษุสงฆ์สาวกในชาติแล้วยังเอื้อประโยชน์อันเป็นนิสสัยให้แก่เหล่า พระปัจเจกพุทธภูมิ ว่าด้วยการละการเกี่ยวข้อง

    พระปัจเจกพุทธเจ้า
    สร้างบุญในพระพุทธเจ้าทั้งปวง ยังไม่ได้โมกขธรรมในศาสนาของพระชิน
    เจ้า ด้วยมุข คือ ความสังเวชนั้นแล ท่านเหล่านั้นเป็นนักปราชญ์
    มีปัญญาแก่กล้า ถึงจะเว้นพระพุทธเจ้าก็ย่อมบรรลุปัจเจกโพธิญาณได้
    แม้ด้วยอารมณ์นิดหน่อย ในโลกทั้งปวง เว้นเราแล้ว ไม่มีใครเสมอ
    พระปัจเจกพุทธเจ้าเลย

    ความเสน่หาย่อมมีแก่บุคคล
    ผู้เกิดความเกี่ยวข้อง ทุกข์ที่อาศัยความเสน่หานี้มีมากมาย ท่านเล็งเห็น
    โทษอันเกิดแต่ความเสน่หา จึงเที่ยวไปผู้เดียว เช่นกับนอแรด ฉะนั้น
    ผู้มีจิตพัวพัน ช่วยอนุเคราะห์มิตรสหาย ย่อมทำตนให้เสื่อมประโยชน์
    ท่านมองเห็นภัยนี้
    ในความสนิทสนม จึงเที่ยวไปแต่ผู้เดียว เช่นกับนอแรด
    ฉะนั้น ความเสน่หาในบุตรและภรรยา เปรียบเหมือนไม้ไผ่กอใหญ่เกี่ยว
    กันอยู่ ท่านไม่ข้องในบุตรและภริยา ดังหน่อไม้ไผ่ เที่ยวไปผู้เดียว
    เช่นกับนอแรด ฉะนั้น ท่านเป็นวิญญูชนหวังความเสรี จึงเที่ยวไป
    ผู้เดียว เช่นกับนอแรด ฉะนั้น เหมือนเนื้อที่ไม่ถูกผูกมัด เที่ยวหาเหยื่อ
    ในป่าตามความปรารถนา ฉะนั้น


    ต้องมีการปรึกษากันในท่ามกลางสหาย
    ทั้งในที่อยู่ ที่บำรุง ที่ไป ที่เที่ยว ท่านเล็งเห็นความไม่โลภ ความเสรี
    จึงเที่ยวไปผู้เดียว เช่นกับนอแรด ฉะนั้น
    การเล่น (เป็น) ความยินดี
    มีอยู่ในท่ามกลางสหาย ส่วนความรักในบุตรเป็นกิเลสใหญ่ ท่านเกลียด
    ความวิปโยคเพราะของที่รัก จึงเที่ยวไปผู้เดียว เช่นกับนอแรด ฉะนั้น
    ท่านเป็นผู้แผ่เมตตาไปในสี่ทิศ และไม่โกรธเคือง ยินดีด้วยปัจจัยตามมี
    ตามได้ เป็นผู้อดทนต่อมวลอันตรายได้ ไม่หวาดเสียว เที่ยวไปผู้เดียว
    เช่นกับนอแรด ฉะนั้น แม้บรรพชิตบางพวก และพวกคฤหัสถ์ผู้ครองเรือนสงเคราะห์ได้ยาก ท่านเป็นผู้มีความขวนขวายน้อยในบุตรคนอื่น จึงเที่ยวไปผู้เดียว เช่นกับนอแรด ฉะนั้น


    ชนทั้งหลายมีเหตุ
    เป็นประโยชน์ จึงคบหาสมาคมกัน มิตรทั้งหลายไม่มีเหตุ หาได้ยากใน
    วันนี้ มนุษย์ทั้งหลายมีปัญญามองประโยชน์ตน ไม่สะอาด พึงเที่ยวไป
    ผู้เดียว เช่นกับนอแรด ฉะนั้น
    พึงมีศีลบริสุทธิ์ มีปัญญาหมดจดดี
    มีจิตตั้งมั่น ประกอบความเพียร เจริญวิปัสสนา มีปกติเห็นธรรม
    วิเศษ พึงรู้แจ้งธรรมอันสัมปยุตด้วยองค์มรรคและโพชฌงค์ (พึงรู้แจ้ง
    องค์มรรคและโพชฌงค์) นักปราชญ์เหล่าใดเจริญสุญญตวิโมกข์ อนิมิตต-
    วิโมกข์ และอัปปณิหิตวิโมกข์ ไม่บรรลุความเป็นพระสาวกในศาสนา
    พระชินเจ้า นักปราชญ์เหล่านั้นย่อมเป็นพระสยัมภูปัจเจกพุทธเจ้า มีธรรม
    ใหญ่ มีธรรมกายมาก มีจิตเป็นอิสระ ข้ามห้วงทุกข์ ทั้งมวลได้ มีจิต
    โสมนัส มีปกติเห็นประโยชน์อย่างยิ่ง เปรียบดังราชสีห์ เช่นกับนอแรด
    พระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านี้ มีอินทรีย์ระงับ มีใจสงบ มีจิตมั่นคง มีปกติ
    ประพฤติด้วยความกรุณาในสัตว์เหล่าอื่น เกื้อกูลแก่สัตว์ รุ่งเรืองในโลกนี้
    และโลกหน้า เช่นกับประทีป ปฏิบัติเป็นประโยชน์แก่สัตว์




    พระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านี้ ละกิเลสเครื่องกั้นทั้งปวงหมดแล้ว เป็นจอมแห่งชนเป็นประทีปส่องโลกให้สว่าง เช่นกับรัศมีแห่งทองชมพูนุท เป็นทักขิไณยบุคคลชั้นดีของโลก โดยไม่ต้องสงสัย บริบูรณ์อยู่เนืองนิตย์ คำสุภาษิตของพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย ย่อมเป็นไปในโลกทั้งเทวโลก ชน
    เหล่าใดผู้เป็นพาลได้ฟังแล้ว ไม่ทำเหมือนดังนั้น ชนเหล่านั้นต้องเที่ยวไปในสังขารทุกข์บ่อยๆ

    คำสุภาษิตของพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย เป็น
    คำไพเราะ ดังน้ำผึ้งรวงอันหลั่งออกอยู่ ชนเหล่าใดได้ฟังแล้ว ประกอบ
    การปฏิบัติตามนั้น ชนเหล่านั้น ย่อมเป็นผู้มีปัญญา เห็นสัจจะ คาถาอัน
    โอฬารอันพระปัจเจกพุทธชินเจ้าออกบวชกล่าวแล้ว คาถาเหล่านั้น
    พระตถาคตผู้สีหวงศ์ศากยราชผู้สูงสุดกว่านรชน ทรงประกาศแล้ว เพื่อให้
    รู้แจ้งธรรม คาถาเหล่านี้ พระปัจเจกเจ้าเหล่านั้นรจนาไว้อย่างวิเศษ เพื่อ
    ความอนุเคราะห์โลก อันพระสยัมภูผู้สีหะทรงประกาศแล้ว เพื่อยังความ
    สังเวช การไม่คลุกคลีและปัญญาให้เจริญ ฉะนี้แล.




    เราไม่ได้วิสัชนาเพื่อส่งเสริม ติรัจฉานวิชา ติรัจฉานกถา ที่ไม่ประกอบด้วยคำสอนอันเป็นประโยชน์ อันประกอบด้วยโทษ ที่ทำให้พระธรรมคำสั่งสอนในพระพุทธศาสนานั้นเศร้าหมอง อันจะเป็นโลกวัชชะ ที่โลกติเตียนได้ รวมไปถึงภพภูมิอื่นๆในสหโลกธาตุ อนันตริยะจักรวาลนั้นด้วย

    รู้จักไหม? แสดงการชี้การกระทำอันผู้อื่นกระทำแล้วประกอบคำสอน ชี้คุณชี้โทษ ในสิ่งๆนั้น ไม่ต้องถึงขั้นต้องแสดงผิดเอง บางเรื่อง บางอย่าง สอนคนที่สมควรสอน ถ่ายทอดให้ผู้ที่ควรได้รับถ่ายทอด


    ให้ทำไปตามกำลังศรัทธา ใครรักษาได้หมดก็ย่อมเป็นผลดีมาก ผู้เริ่มปฎิบัติรักษาก็ได้อานิสงส์ โทษภัยอันจะเกิดก็ย่อมจะลดน้อยลง ความเกี่ยวข้องวุ่นวายก็ย่อมลดน้อยลง

    สั่งสมกันไป
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 พฤษภาคม 2016
  15. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    เนื่องในวันพืชมงคล

    ในสมัยที่เจ้าชายสิทธัตถะราชกุมารยังทรงพระเยา  มีพระชนมายุได้ 8 พรรษา ครั้นเมื่อนักขัตฤกษ์วัปปะมงคลพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ อันเป็นขัตติยะประเพณีนิยมมาถึง พระเจ้าสุทโธทนะจึงโปรดให้เชิญพระราชโอรสเสด็จไปในพระราชพิธีนั้นด้วย เมื่อเสด็จถึง จึงตรัสสั่งให้ข้าราชบริพาร ประดิษฐ์พระราชอาสน์ เป็นที่ประทับสำหรับพระราชโอรส ณ บริเวณต้นหว้าใหญ่ ส่วนพระราชบิดาก็เสด็จไปทรงประกอบพระราชพิธีแรกนาขวัญ 

           พระกุมารประทับอยู่โดยลำพัง จึงทรงประทับนั่งขัดสมาธิบัลลังก์ ดำรงพระสติ กำหนดลมหายใจเข้าหายใจออก เจริญพระอานาปานสติกรรมฐานจนได้บรรลุปฐมญาณ เป็นสัมโพธินิมิตเป็นที่อัศจรรย์ แม้ดวงอาทิตย์จะบ่ายคล้อยลงไป แต่เงาของต้นหว้า ยังตั้งตรงดำรงอยู่ประดุจเวลาเที่ยง  มิได้เอนเอียงไปตามแสงอาทิตย์ ครั้นพระพี่เลี้ยงกลับมา เห็นความอัศจรรย์ดังกล่าว จึงรีบกลับไปกราบทูลพระเจ้าสุทโธทนะให้ทรงทราบ เมื่อพระองค์เสด็จมาทอดพระเนตรเห็นปรากฎการณ์นั้น จึงได้ถวายบังคมพระราชโอรส โดยนิยมกำหนดในบุญญาภินิหารบารมี



     พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระบรมราชาธิบายไว้ในพระราชนิพนธ์เรื่อง พระราชพิธีสิบสองเดือน ว่า

          “การแรกนาที่ต้องเป็นธุระของผู้ซึ่งเป็นใหญ่ในแผ่นดิน เป็นธรรมเนียมนิยมมีมาแต่โบราณ เช่น ในเมืองจีนสี่พันปีล่วงมาแล้ว พระเจ้าแผ่นดินก็ทรงลงไถนาเองเป็นคราวแรก พระมเหสีเลี้ยงตัวไหม ส่วนจดหมายเรื่องราวอันใดในประเทศสยามที่มีปรากฏอยู่ในการแรกนานี้ ก็มีอยู่เสมอเป็นนิจไม่มีเวลาว่างเว้น ด้วยการซึ่งเป็นใหญ่ในแผ่นดินลงมือทำเองเช่นนี้ ก็เพื่อจะให้เป็นตัวอย่างแก่ราษฎร ชักนำให้มีใจหมั่นในการที่จะทำนา เพราะเป็นสิ่งสำคัญที่จะได้อาศัยเลี้ยงชีวิตทั่วหน้า เป็นต้นเหตุของความตั้งมั่นและความเจริญไพบูลย์แห่งพระนครทั้งปวง แต่การซึ่งมีพิธีเจือปนต่างๆ ไม่เป็นแต่ลงมือไถนาเป็นตัวอย่างเหมือนอย่างชาวนาทั้งปวงลงมือไถนาของตนตามปกติก็ด้วยความหวาดหวั่นต่ออันตราย คือ น้ำฝนน้ำท่ามากไปน้อยไปด้วงเพลี้ยและสัตว์ต่างๆ จะบังเกิดเป็นอันตรายไม่ให้ได้ประโยชน์เต็มภาคภูมิ และมีความปรารถนาที่จะให้ได้ประโยชน์เต็มภาคภูมิเป็นกำลัง จึงต้องหาทางที่จะแก้ไขและหาทางที่จะอุดหนุนและที่จะเสี่ยงทายให้รู้ล่วงหน้า จะได้เป็นที่มั่นอกมั่นใจโดยอาศัยคำอธิษฐานเอาความสัตย์เป็นที่ตั้งบ้าง ทำการซึ่งไม่มีโทษนับว่าเป็นการสวัสดิมงคลตามซึ่งมาในพระพุทธศาสนาบ้าง บูชาเซ่นสรวงตามที่มาทาง ไสยศาสตร์บ้าง ให้เป็นการช่วยแรงและเป็นที่มั่นใจตามความปรารถนาของมนุษย์ซึ่งคิดไม่มีที่สิ้นสุด”

    พืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ..โบราณราชประเพณีที่พระมหากษัตริย์ทุกพระองค์ทรงให้ความสำคัญ

    http://welovethaiking.com/blog/โบราณราชประเพณีพืชมงคล/

    สรุป ก็หมิ่นพระบรมเดชานุภาพเช่นเคย แล้วเคสนี้หนักด้วย คงคิดออกนะ อย่างที่คึกฤทธิ์ว่า ตราบใดที่ยังมีพิธีกรรม แรกนาขวัญ เป็นต้น ผู้ที่ส่งเสริมพิธีกรรมนี้ อย่าฝันแม้แต่จะเป็นพระโสดาบัน

    พวกที่ไม่รู้จักกรรมไม่ดำไม่ขาว เป็นต้น อย่างสำนักวัดนาป่าพง มันก็พาคนโง่อย่างนี้ ไปคัดค้าน มหาจัตตารีสกสูตร

    ใครจะเอาด้วยก็เอาไป เราไม่ยินดีร่วมด้วยแน่ และถามจริงๆ ท่านผู้มีปัญญามีฐานะตำแหน่งหน้าที่ในสังฆมณฑล ท่านจึงปล่อยให้โมฆะบุรุษผู้นี้ อยู่รอดอาศัยผ้าธงชัยในแผ่นดินนี้ได้อย่างไร?

    ---------------------------------------------------------------------------------------------------------

    คึกฤทธิ์ -พิธีนักขัตฤกษ์วัปปะมงคลพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ไม่ใช่วิถีอริยะในศาสนาพุทธ ไม่ควรมี
    https://youtu.be/hABtR2QRyeY
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 11.jpg
      11.jpg
      ขนาดไฟล์:
      163.6 KB
      เปิดดู:
      146
  16. jityim

    jityim เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 ตุลาคม 2014
    โพสต์:
    3,427
    ค่าพลัง:
    +3,207
    จากที่ได้ดูยูทป

    <iframe width="640" height="360" src="https://www.youtube.com/embed/hABtR2QRyeY" frameborder="0" allowfullscreen></iframe>

    ที่กล่าวเรื่องพิธีแรกนาขวัญ....ที่มีความเห็นต่าง ๆ จึงได้นำรายละเอียดมาให้พิจารณาค่ะ ....ว่า

    คำว่ามิจฉาทิฐิ พระพุทธองค์ตรัสไว้ว่า ก็คือทิฐิ 62 เป็นมิจฉาทิฐิ

    แต่ถ้าพิธีการแรกนาขวัญ ธรรมชาติ การบูชาพระแม่โพสพ เป็นธรรมชาติหนึ่ง หรือ เป็นสัจธรรมสมมุติบัญญัติที่มีอยู่ ที่ต้องดำเนินชีวิตในสมมุติ เพื่อเป็นทางซึ่งไปให้ถึงวิมุติ ซึ่งเราต้องทำสมมุติให้บริบูรณ์ การกระทำมรรค 8 ก็ต้องทำในสมมุติ เพื่อให้ได้วิมุตติหลุดพ้น การประกอบอาชีพทำนา ก็เป็นหนึ่งในสัมมาอาชีโวค่ะ

    โดยได้กล่าวไว้ว่า......พิธีแรกนาขวัญ....

    เป็นพิธีที่มีความมุ่งหมายเพื่อบำรุงขวัญและเตือนให้เริ่มเพาะปลูกพืชผลโดยเฉพาะคือการทำนา ซึ่งเป็นธัญญาหารหลักสำคัญยิ่งของการดำรงชีวิต

    พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ได้ปฏิบัติเป็นราชประเพณีตลอดมาจนถึง พ.ศ. 2479 แล้วได้เว้นว่างไป ต่อมา พ.ศ. 2483 ทางรัฐบาลสั่งให้กำหนดมีการพระราชพิธีเฉพาะแต่พืชมงคล ที่พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ตามราชประเพณีที่เคยปฏิบัติมา

    พระราชพิธีพืชมงคลเป็นส่วนประกอบเพื่อสิริมงคลแก่พันธุ์พืชสำหรับนำไปใช้ในการพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ กำหนดงานก่อนวันพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ 1 วันมีอ่านประกาศถึงความสำคัญที่จะเริ่มพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ในประกาศนั้นอ้างหลักธรรมทางพุทธศาสนาสมัยพุทธกาลคราวเกิดฝนแล้ง ด้วยพุทธานุภาพทรงบันดาลให้ฝนตก ทำนา ทำไร่ หว่านพืชผลได้ตามปรกติ และกล่าวถึงตำนานการสร้างพระคันธาราษฎร์อันเกี่ยวด้วยพุทธานุภาพที่ทรงบันดาลให้มีฝนตกจึงได้สร้างขึ้น ณ เมืองคันธาราษฎร์ครั้งอดีตกาล

    ประกาศพระราชพิธีพืชมงคล

    ประกาศพระราชพิธีพืชมงคลนั้น เป็นคาถาภาษาบาลีพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๔ อ่านทำนองสรภัญญะจบแล้วดำเนินความภาษาไทยเป็นคำร้อยแก้ว เนื้อความเป็นคำอธิษฐาน ๔ ข้อดังนี้

    ข้อ ๑. เป็นคำนมัสการสรรเสริญพระคุณพระพุทธเจ้าว่าทรงดับทุกข์ได้ มีพระหฤทัยคงที่ ทรงปลูกธรรมให้งอกงามจำรูญแก่บรรดาสาวกพุทธเวไนยสืบๆ มา แม้ว่าโลกจะเร่าร้อนด้วยเพลิงกิเลสพระสัทธรรมอันมีผลเป็นอมตะก็ยังงอกงามได้ด้วยเดชะพระบารมีของพระองค์ บัดนี้เราทั้งหลายบูชาพระพุทธเจ้าพระองค์นั้นกับ พระธรรมและพระสงฆ์แล้วจะปลูกพืช คือ บุญในพระรัตนตรัยอันเป็นเนื้อนาบุญอย่างดี พืชคือบุญนี้เมล็ดผลเป็นญาณความรู้อันเป็นเครื่องถ่ายถอนทุกข์ในโลก สามารถส่งผลให้ได้ทั้งในปัจจุบันและในกาลภายหน้าสืบๆ ไป ตามกาลอันควรจะให้ผลเป็นอุปการะนานาประการ ขอให้พืชคือบุญที่เราหว่านแล้ว จงให้ผลตามความปรารถนา อนึ่งขอให้ข้าวกล้าและบรรดาพืชผลที่หว่านที่เพาะปลูกลงในที่นั้นๆ ทั่วราชอาณาเขต จงงอกงามจำรูญตามเวลา อย่าเสียหายโดยประการใดๆ

    ข้อ ๒. ยกพระคาถาที่พระพุทธเจ้าตรัสแสดงการทำนาของพระองค์แก่พราหมณ์ชาวนาผู้หนึ่ง ว่า "ศรัทธา-ความเชื่อเป็นพืชพันธุ์ข้าวปลูกของเรา ตบะ-ความเพียร เผาบาป เป็นเมล็ดฝน ปัญญา-ความรอบรู้เป็นแอกและไถ หิริ-ความละอายใจ เป็นงอนไถ ใจเป็นเชือกชัก สติ-ความระลึกได้ เป็นผาลและปฎักเราจะระวังกายระวังวาจาและสำรวมระวังในอาหาร ทำความซื่อสัตย์ให้เป็นท่อไขน้ำ มีโสรัจจะ-ความสงบเสงี่ยมเป็นที่ปลดไถ มีวิริยะ- ความเพียรเป็นแรงงานชักแอกไถ เป็นพาหนะนำไปสู่ที่อันเกษมจากเครื่องผูกพันที่ไปไม่กลับที่ไปแล้วไม่เศร้าโศก การไถของเราเช่นนี้มีผลเป็นอมตะ มิรู้ตาย บุคคลมาประกอบการไถเช่นว่านี้แล้วย่อมพ้นจากทุกข์สิ้นทุกประการ” ดังนี้มายกขึ้นเป็นคำอธิษฐานว่าที่พระพุทธเจ้าตรัสนี้เป็นความสัตย์จริงด้วยอำนาจแห่งความสัตย์นี้ ขอให้ข้าวกล้าและพืชผลที่หว่านที่เพาะปลูกจงงอกงามทั่วภูมิมณฑลอันเป็นราชอาณาเขต

    ข้อ ๓. ยกพระคาถาอันเป็นภาษิตของพระเตมีย์โพธิสัตว์ ความว่า "บุคคลผู้ไม่ประทุษร้ายมิตร โคย่อมจำรูญพูนเกิดแก่เขาพืชที่หว่านในนาของเขาย่อมงอกงามจำเริญ เขาย่อมได้รับบริโภคผลแห่งพืชพันธุ์ที่หว่านแล้ว” และว่า "บุคคลผู้ไม่ประทุษร้ายมิตรอันศัตรูหมู่อมิตรไม่อาจย่ำยีได้ดุจไม้ไทรมีรากและย่านอันงอกงามพายุ ไม่อาจพัดพานให้ล้มไปได้ฉันนั้น” มาตั้งเป็นสัตยาธิษฐานว่าด้วยอำนาจสัจวาจานี้ ขอให้ข้าวกล้าและพืชผลที่หว่านเพาะปลูกในภูมิมณฑลทั่วราชอาณาเขต จงงอกงามไพบูลย์

    ข้อ ๔. อ้างพระราชหฤทัยของพระเจ้าแผ่นดิน ซึ่งทรงพระเมตตากรุณาแก่ประชาราษฎร ตั้งพระราชหฤทัยจะบำรุงให้อยู่เย็นเป็นสุขทั่วหน้าเป็นความสัตย์จริง ด้วยอำนาจความสัตย์นี้ขอให้ข้าวกล้าและพืชผลงอกงามบริบูรณ์ทั่วราชอาณาเขต
    ต่อจากนั้น เป็นการกล่าวถึงพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ที่เรียกว่า "พระคัณธาราษฎร์” ที่มีพุทธานุภาพบันดาลให้ฝนตกอันเป็นพระพุทธรูปที่สำคัญในพระราชพิธีนี้ แสดงตำนานโดยลำดับจนรัชกาลที่ ๑ ได้ทอดพระเนตร และได้โปรดให้หล่อขึ้นใหม่สำหรับตั้งในพระราชพิธี และต่อนั้นไปว่าด้วยการพระราชกุศลที่ทรงบำเพ็ญในพระราชพิธีนั้น ทรงพระราชอุทิศแก่เทพยดาทั้งปวงแล้วอธิษฐานเพื่อให้ข้าวปลาอาหารอุดมสมบูรณ์ และฝนตกตามฤดูกาล พระสงฆ์จะสวดต่อท้ายการสวดมนต์ในพระราชพิธีพืชมงคล

    ประวัติความเป็นมา (จากเว็บไซต์คลังปัญญาไทย)
     
  17. jityim

    jityim เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 ตุลาคม 2014
    โพสต์:
    3,427
    ค่าพลัง:
    +3,207
    เอกบุรุษ เอกสตรี ทั้งหลาย หากเธอหาคนที่คู่ควรเหมาะสมกับเธอไม่ได้แล้วไซร้ เธอพึงเดินไปคนเดียว ดุจหน่อแรด ฉะนั้น อนุโมทนาค่ะ
     
  18. jityim

    jityim เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 ตุลาคม 2014
    โพสต์:
    3,427
    ค่าพลัง:
    +3,207
    พระสงฆ์ เป็นเนื้อนาบุญของโลก

    หว่านพืชเช่นไร ย่อมได้ผลเช่นนั้น

    เนื้อนาบุญที่ดี หว่านเมล็ดพันธ์ลงไป ย่อมถึงซึ่งความเจริญรุ่งเรือง


    พระพุทธองค์ก็ยังทรงตรัสเปรีบเทียบไว้...แสดงว่า..จะสำคัญมากค่ะ
     
  19. jityim

    jityim เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 ตุลาคม 2014
    โพสต์:
    3,427
    ค่าพลัง:
    +3,207
    คงเห็นภัยในข้อนี้กันจนกลายเป็นเรื่องธรรมดาเคยชินไปแล้ว อย่างไม่รู้ตัวสินะ ที่นี้ก็จะรู้แล้วว่า เราจะสามารถแยกเพชรพลอย ออกกรวดหินดินทรายออกไหม?ในกรณีนี้หมายถึงสิ่งที่ต้องการจริงๆ ไม่ใช่หว่านแห่ลงอวนตาถี่กวาดเอาหมด ทั้งปลาเล็กปลาน้อย ท่อนไม้ สนิมกระป๋อง และขยะ

    ลเสียก็คือถึงแม้จะมีข้อมูลที่อยากรู้ อยากเห็นเพราะธรรมารมณ์ บีบบังคับ ทางอายตนะ ภายนอกและภายใน ของมหาภูติเจตสิกวิญญาณธาตุทั้งหลายฯ แต่ไม่อยากจะจดจำรกจิตใจไปตลอด จะทิ้งก็แสนยาก เป็นภัยมหันต์เพราะจะไม่ส่งเสริมกันเอื้ออำนวยกัน เป็นการยากที่จะฝึกจริตธรรมสั่งสมอย่างนั้นมาด้วยกระแสบุญเป็นที่เฉพาะฯ แห่งอินทรียธาตุฯนั้น

    เยี่ยมค่ะ :cool:
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 พฤษภาคม 2016
  20. jityim

    jityim เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 ตุลาคม 2014
    โพสต์:
    3,427
    ค่าพลัง:
    +3,207
    มิตรมีใจดี

    [๒๖๐] คหบดีบุตร คน ๔ จำพวกนี้ เธอพึงทราบว่า เป็นมิตรมีใจดี(มิตรแท้)
    คือ
    ๑. มิตรมีอุปการะ พึงทราบว่า เป็นมิตรมีใจดี
    ๒. มิตรร่วมสุขร่วมทุกข์ พึงทราบว่า เป็นมิตรมีใจดี
    ๓. มิตรแนะนำประโยชน์ พึงทราบว่า เป็นมิตรมีใจดี
    ๔. มิตรมีความรักใคร่ พึงทราบว่า เป็นมิตรมีใจดี

    ๒๖๑] คหบดีบุตร มิตรมีอุปการะ เธอพึงทราบว่า เป็นมิตรมีใจดี โดย
    เหตุ ๔ ประการ คือ
    ๑. ป้องกันเพื่อนผู้ประมาทแล้ว
    ๒. ป้องกันทรัพย์สมบัติของเพื่อนผู้ประมาทแล้ว
    ๓. เมื่อมีภัยก็เป็นที่พึ่งพำนักได้
    ๔. เมื่อมีกิจที่จำเป็นเกิดขึ้น ก็ช่วยโภคทรัพย์ให้ ๒ เท่าของทรัพย์ที่
    ต้องการในกิจนั้น
    คหบดีบุตร มิตรมีอุปการะ เธอพึงทราบว่า เป็นมิตรมีใจดี โดยเหตุ ๔
    ประการนี้แล
    [๒๖๒] คหบดีบุตร มิตรร่วมสุขร่วมทุกข์ เธอพึงทราบว่า เป็นมิตรมีใจดี
    โดยเหตุ ๔ ประการ คือ
    ๑. บอกความลับแก่เพื่อน
    ๒. ปิดความลับของเพื่อน
    ๓. ไม่ละทิ้งในยามอันตราย
    ๔. แม้ชีวิตก็อาจจะสละเพื่อประโยชน์ของเพื่อนได้
    คหบดีบุตร มิตรร่วมสุขร่วมทุกข์ เธอพึงทราบว่า เป็นมิตรมีใจดี โดยเหตุ
    ๔ ประการนี้แล
    [๒๖๓] คหบดีบุตร มิตรแนะนำประโยชน์ เธอพึงทราบว่า เป็นมิตรมีใจดี
    โดยเหตุ ๔ ประการ คือ
    ๑. ห้ามมิให้ทำความชั่ว
    ๒. แนะนำให้ตั้งอยู่ในความดี
    ๓. ให้ฟังสิ่งที่ยังไม่เคยฟัง
    ๔. บอกทางสวรรค์ให้

    คหบดีบุตร มิตรแนะนำประโยชน์ เธอพึงทราบว่า เป็นมิตรมีใจดี โดยเหตุ ๔
    ประการนี้แล
    [๒๖๔] คหบดีบุตร มิตรมีความรักใคร่ เธอพึงทราบว่า เป็นมิตรมีใจดี โดย
    เหตุ ๔ ประการ คือ
    ๑. ไม่พอใจความเสื่อมของเพื่อน
    ๒. พอใจความเจริญของเพื่อน
    ๓. ห้ามปรามคนที่นินทาเพื่อน
    ๔. สนับสนุนคนที่สรรเสริญเพื่อน
    คหบดีบุตร มิตรมีความรักใคร่ เธอพึงทราบว่า เป็นมิตรมีใจดี โดยเหตุ ๔
    ประการนี้แล”
    [๒๖๕] พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสเวยยากรณภาษิตนี้แล้ว จึงได้
    ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า
    “บุคคลที่เป็นมิตรมีใจดี ๔ จำพวกนี้ คือ
    (๑) มิตรมีอุปการะ (๒) มิตรร่วมสุขร่วมทุกข์
    (๓) มิตรแนะนำประโยชน์ (๔) มิตรมีความรักใคร่
    บัณฑิตรู้อย่างนี้แล้ว
    พึงเข้าไปคบหาโดยความจริงใจ

    เหมือนมารดาคบหาบุตรผู้เกิดแต่อกฉะนั้น


    มิตรเทียม

    [๒๕๔] คหบดีบุตร คน ๔ จำพวกนี้ เธอพึงทราบว่า ไม่ใช่มิตรแท้ เป็น
    มิตรเทียม คือ
    ๑. คนที่ถือเอาแต่ประโยชน์จากผู้อื่นฝ่ายเดียว พึงทราบว่า ไม่ใช่
    มิตรแท้ เป็นมิตรเทียม
    ๒. คนดีแต่พูด พึงทราบว่า ไม่ใช่มิตรแท้ เป็นมิตรเทียม
    ๓. คนพูดประจบ พึงทราบว่า ไม่ใช่มิตรแท้ เป็นมิตรเทียม
    ๔. คนที่เป็นเพื่อนชักนำในทางเสื่อม พึงทราบว่า ไม่ใช่มิตรแท้ เป็น
    มิตรเทียม
    [๒๕๕] คหบดีบุตร คนที่ถือเอาแต่ประโยชน์จากผู้อื่นฝ่ายเดียว เธอพึงทราบว่า
    ไม่ใช่มิตรแท้ เป็นมิตรเทียม โดยเหตุ ๔ ประการ คือ
    (๑) เป็นผู้ถือเอาประโยชน์จากผู้อื่นฝ่ายเดียว
    (๒) เสียน้อย ปรารถนาจะได้มาก
    (๓) เมื่อตัวเองมีภัยจึงทำกิจของเพื่อน
    (๔) คบเพื่อนเพราะเห็นแก่ประโยชน์

    คหบดีบุตร คนที่ถือเอาแต่ประโยชน์จากผู้อ่านฝ่ายเดียว เธอพึงทราบว่า ไม่ใช่
    มิตรแท้ เป็นมิตรเทียม โดยเหตุ ๔ ประการนี้แล
    [๒๕๖] คหบดีบุตร คนดีแต่พูด เธอพึงทราบว่า ไม่ใช่มิตรแท้ เป็นมิตรเทียม
    โดยเหตุ ๔ ประการ คือ
    ๑. กล่าวต้อนรับด้วยเรื่องที่เป็นอดีตไปแล้ว
    ๒. กล่าวต้อนรับด้วยเรื่องที่ยังมาไม่ถึง
    ๓. สงเคราะห์ด้วยสิ่งที่หาประโยชน์มิได้
    ๔. เมื่อมีกิจเกิดขึ้นเฉพาะหน้าก็แสดงความขัดข้อง
    คหบดีบุตร คนดีแต่พูด เธอพึงทราบว่า ไม่ใช่มิตรแท้ เป็นมิตรเทียม โดย
    เหตุ ๔ ประการนี้แล
    [๒๕๗] คหบดีบุตร คนพูดประจบ เธอพึงทราบว่า ไม่ใช่มิตรแท้ เป็น
    มิตรเทียม โดยเหตุ ๔ ประการ คือ
    ๑. เพื่อนทำชั่ว ก็คล้อยตาม
    ๒. เพื่อนทำดี ก็คล้อยตาม
    ๓. สรรเสริญต่อหน้า
    ๔. นินทาลับหลัง
    คหบดีบุตร คนพูดประจบ เธอพึงทราบว่า ไม่ใช่มิตรแท้ เป็นมิตรเทียม
    โดยเหตุ ๔ ประการนี้แล

    [๒๕๘] คหบดีบุตร คนที่เป็นเพื่อนชักชวนไปในทางเสื่อม พึงทราบว่า ไม่ใช่
    มิตรแท้ เป็นมิตรเทียม โดยเหตุ ๔ ประการ คือ
    ๑. เป็นเพื่อนที่ชักชวนให้หมกมุ่นในการเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัย
    อันเป็นเหตุแห่งความประมาท

    ๒. เป็นเพื่อนที่ชักชวนให้หมกมุ่นในการเที่ยวไปตามตรอกซอกซอยในเวลา
    กลางคืน
    ๓. เป็นเพื่อนเที่ยวดูการเล่น
    ๔. เป็นเพื่อนที่ชักชวนให้หมกมุ่นในการเล่นการพนันอันเป็นเหตุแห่ง
    ความประมาท
    คหบดีบุตร คนที่เป็นเพื่อนชักชวนไปในทางเสื่อม พึงทราบว่า ไม่ใช่มิตรแท้ เป็น
    มิตรเทียม โดยเหตุ ๔ ประการนี้แล”
    [๒๕๙] พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสเวยยากรณภาษิตนี้แล้ว จึง
    ได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า
    “บุคคลที่ไม่ใช่มิตรแท้ ๔ จำพวกนี้ คือ
    (๑) มิตรที่ถือเอาแต่ประโยชน์จากผู้อื่นอย่างเดียว
    (๒) มิตรดีแต่พูด (๓) มิตรพูดประจบ
    (๔) มิตรชักนำในทางเสื่อม
    บัณฑิตรู้อย่างนี้แล้ว พึงเว้นเสียให้ห่างไกล
    เหมือนคนเว้นทางมีภัยเฉพาะหน้าเสียฉะนั้น”
     

แชร์หน้านี้

Loading...