เห็นรูปภาพนี้แล้ว สมช. พลังจิต ว่าเป็นธรรมะมั้ย เป็น ไม่เป็น ถ้าเป็น เป็นธรรมะหรือใกล้เคียงกับธรรมะข้อใดที่สุด http://g-picture2.wunjun.com/5/full/dc1ac31dc1f46fd8cd87dd19879fc009.jpg?s=640x960
มารอบนี้จะมาเรียนธรรม หรือมาสอนธรรม หรือมา ลองธรรม จะมามุขไหนมันก็เป็นธรรม ทั้งหมด .....เพียงแต่คนไม่รู้ธรรมก็จะไม่เข้าใจ คิดว่าเป็นสัพเพเหระเพราะขาดโยนิโส.... ฮะ
เป็นการเริ่มต้นที่ถูกทาง เป็นปัจจัยแห่งสัมมาทิฏฐิ เทียบหลัก ............ บุพนิมิตแห่งมัชฌิมาปฏิปทา สัมมาทิฏฐิ เป็นองค์ประกอบสำคัญของมรรค ในฐานะที่เป็นจุดเริ่มต้นของการปฏิบัติธรรม หรือเป็นขั้นเริ่มต้นในระบบการศึกษาตามหลักการของพระพุทธศาสนา และเป็นธรรมที่ต้องพัฒนาให้บริบูรณ์ ชัดเจน เป็นอิสระมากขึ้นตามลำดับ จนกลายเป็นการตรัสรู้ในที่สุด ดังนั้น การสร้างเสริมสัมมาทิฏฐิจึงเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง มีข้อความในพระไตรปิฎก แสดงหลักการสร้างเสริมสัมมาทิฏฐิไว้ ดังนี้ "ภิกษุทั้งหลาย ปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่งสัมมาทิฏฐิ มี ๒ ประการ ดังนี้ คือ ปรโตโฆสะ และโยนิโสมนสิการ ปัจจัยแห่งสัมมาทิฏฐิ ๒ อย่าง ตามพุทธพจน์ที่ตรัสไว้นี้ คือ ๑. ปรโตโฆสะ = เสียงจากผู้อื่น การกระตุ้นหรือชักจูงจากภายนอก เช่น การสั่งสอน แนะนำ การถ่ายทอด การโฆษณา คำบอกเล่า ข่าวสาร ข้อเขียน คำชี้แจง อธิบาย การเรียนรู้จากผู้อื่น ในที่นี้ หมายเอาเฉพาะส่วนที่ดีงามถูกต้อง เฉพาะอย่างยิ่งการรับฟังธรรม ความรู้ หรือคำแนะนำจากบุคคลที่เป็นกัลยาณมิตร (hearing or learning from others; inducement by others) ข้อแรกนี้ เป็นองค์ประกอบฝ่ายภายนอก ได้แก่ ปัจจัยทางสังคม อาจเรียกง่ายว่า วิธีการแห่งศรัทธา
เขายังเป็นเด็กเล็ก ผู้ใหญ่ควรปลูกฝังให้เขามีศรัทธา ควรเริ่มต้นง่ายๆเช่นนั้น เช่นนี้ เมื่อเขาเติบโตขึ้น และรู้จักคิด คิดเป็น (โยนิโสมนสิการ) นำไปสู่คุณธรรมภายในที่ยิ่งๆขึ้นไป http://g-picture2.wunjun.com/5/full/a4e4c8f42cf8b4c3d4cc55a5598ef0da.jpg?s=900x600
๒. โยนิโสมนสิการ = การทำในใจโดยแยบคาย = การใช้ความคิดถูกวิธี ความรู้จักคิด คิดเป็น หรือคิดอย่างมีระเบียบ หมายถึง การรู้จักมอง รู้จักพิจารณาสิ่งทั้งหลาย โดยมองตรงตามที่สิ่งนั้นๆ มันเป็นของมัน และโดยวิธีคิดหาเหตุผล สืบค้นถึงต้นเค้า สืบสาวให้ตลอดสาย แยกแยะสิ่งนั้นๆ หรือปัญหานั้นๆ ออก ให้เห็นตามสภาวะ และตามความสัมพันธ์สืบทอดแห่งเหตุปัจจัย โดยไม่เอาความรู้สึกด้วยตัณหาอุปาทานของตนเข้าจับ (analytical reflection; reasoned or systematic attention) ข้อสองนี้ เป็นองค์ประกอบฝ่ายภายใน ได้แก่ ปัจจัยในตัวบุคคล อาจเรียกง่ายๆว่า วิธีการแห่งปัญญา