สติปัฏฐาน ๔ ทางสายเอก

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย poprock, 11 กุมภาพันธ์ 2008.

  1. poprock

    poprock เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    117
    ค่าพลัง:
    +812


    [​IMG]



    มักจะมีคำถามอยู่เสมอว่า เราจะปฏิบัติธรรมในแนวไหน หรือสำนักใด จึงจะเป็นการถูกต้องและได้ผล
    คำถามเช่นนี้เป็นคำถามที่ถูกต้องและไม่ควรถูกตำหนิว่าชอบเลือกนั่นเลือกนี่ ที่ถามก็เพื่อระวังไว้ไม่ให้เดินทางผิด ทางปฏิบัติที่ถูกต้อง คือ ปฏิบัติตามสติปัฏฐาน ๔

    สติปัฏฐาน แปลให้เข้าใจง่าย ๆ ก็คือ ฐานที่ตั้งของสติ หรือ เหตุปัจจัยสำหรับปลูกสติให้เกิดขึ้นในฐานทั้ง ๔ คือ

    ๑. กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือ การพิจารณากาย จำแนกโดยละเอียดมี ๑๔ อย่างคือ
          • อัสสาสะปัสสาสะ คือ ลมหายใจเข้าออก
          • อิริยาบถ ๔ คือ ยืน เดิน นั่ง นอน
          • อิริยาบถย่อย การก้าวไปข้างหน้า ถอยไปทางหลัง คู้ขาเหยียดขาออก งอแขนเข้า เหยียดแขนออก การถ่ายหนักถ่ายเบา การกิน การดื่ม การเคี้ยว ฯลฯ คือ การเคลื่อนไหวร่างกายต่าง ๆ
          • ความเป็นปฏิกูลของร่างกาย (อาการ ๓๒)
          • การกำหนดร่างกายเป็นธาตุ ๔
          • ป่าช้า ๙

    ๒. เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือ การเจริญสติ เอาเวทนาเป็นที่ตั้ง เวทนาแปลว่า การเสวยอารมณ์ มี ๓ อย่างคือ

          • สุขเวทนา
          • ทุกขเวทนา
          • อุเบกขาเวทนา
    เมื่อเวทนาเกิดขึ้น ก็ให้มีสติสัมปชัญญะกำหนดไปตามความเป็นจริงว่า เวทนานี้เมื่อเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ไม่เที่ยงแท้แน่นอน เวทนาก็สักแต่ว่าเวทนา ไม่ใช่สัตว์บุคคล ตัวตนเราเขา ไม่ยินดียินร้าย ตัณหาก็จะไม่เกิดขึ้น และปล่อยวางเสียได้ เวทนานี้เมื่อเจริญให้มาก ๆ เป็นไปอย่างสมบูรณ์แล้ว อาจทำให้ทุกขเวทนาลดน้อยลง หรือไม่มีอาการเลยก็เป็นได้ อย่างที่เรียกกันว่า สามารถแยก รูปนาม ออกจากกันได้ (เวทนาอย่างละเอียดมี ๙ อย่าง)

    ๓. จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐานได้แก่ การปลูกสติโดยเอา จิตเป็นอารมณ์ หรือเป็นฐานที่ตั้งจิตนี้มี ๑๖ คือ
          • จิตมีราคะ จิตปราศจากราคะ
          • จิตมีโทสะ จิตปราศจากโทสะ
          • จิตมีโมหะ จิตปราศจากโมหะ
          • จิตหดหู่ จิตฟุ้งซ่าน
          • จิตยิ่งใหญ่ (มหัคคตจิต) จิตไม่ยิ่งใหญ่ (อมหัคคตจิต)
          • จิตยิ่ง (สอุตตรจิต) จิตไม่ยิ่ง (อนุตตรจิต)
          • จิตตั้งมั่น จิตไม่ตั้งมั่น
          • จิตหลุดพ้น จิตไม่หลุดพ้น
    การทำวิปัสสนา ให้มีสติพิจารณากำหนดให้เห็นว่า จิตนี้เมื่อเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ไม่เที่ยงแท้แน่นอน ละความพอใจและความไม่พอใจออกเสียได้

    ๔. ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือ มีสติพิจารณาธรรมทั้งหลายทั้งปวง คือ
    ๔.๑ นิวรณ์ คือ รู้ชัดในขณะนั้นว่า นิวรณ์ ๕ แต่ละอย่างมีอยู่ในใจ หรือไม่ ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้นได้อย่างไร ที่เกิดขึ้นแล้วจะละเสียได้อย่างไร ที่ละได้แล้วไม่เกิดขึ้นอีกต่อไปอย่างไร ให้รู้ชัดตามความเป็นจริงที่เป็นอยู่ในขณะนั้น
    ๔.๒ ขันธ์ ๕ คือ กำหนดรู้ว่าขันธ์ ๕ แต่ละอย่างคืออะไร เกิดขึ้นได้อย่างไร ดับไปได้อย่างไร
    ๔.๓ อายตนะ คือ รู้ชัดในอายตนะภายในภายนอกแต่ละอย่าง รู้ชัดในสังโยชน์ที่เกิดขึ้น เพราะอาศัยอายตนะนั้น ๆ รู้ชัดว่าสังโยชน์ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้นได้อย่างไร ที่เกิดขึ้นแล้วละเสียได้อย่างไร
    ๔.๔ โพชฌงค์ คือ รู้ชัดในขณะนั้นว่า โพชฌงค์ ๗ แต่ละอย่างมีอยู่ในใจตนหรือไม่ ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้นได้อย่างไร ที่เกิดขึ้นแล้ว เจริญเต็มบริบูรณ์ได้อย่างไร


    สรุป
    ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน
    นี้ คือ จิต ที่คิดเป็น กุศล อกุศล และ อัพยากฤต เท่านั้น ผู้ปฏิบัติสติปัฏฐาน ๔ ต้องทำความเข้าใจอารมณ์ ๔ ประการให้ถูกต้อง คือ

    ๑. กาย ทั่วร่างกายนี้ไม่มีอะไรสวยงามแม้แต่ส่วนเดียว ควรละความพอใจและความไม่พอใจออกเสียได้
    ๒. เวทนา สุข ทุกข์ และไม่สุขไม่ทุกข์นั้นแท้จริงแล้วมีแต่ทุกข์ แม้เป็นสุขก็เพียงปิดบังความทุกข์ไว้
    ๓. จิต คือ ความนึกคิด เป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงแปรผัน ไม่เที่ยง ไม่คงทน
    ๔. ธรรม คือ อารมณ์ที่เกิดกับจิต อาศัยเหตุปัจจัยเกิดขึ้น เมื่อเหตุปัจจัยดับไป อารมณ์นั้นก็ดับไปด้วย ไม่มีสิ่งเป็นอัตตาใด ๆ เลย






     
  2. อิสวาร์ยาไรท์

    อิสวาร์ยาไรท์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    1,608
    ค่าพลัง:
    +1,955
    आपका बहुत बहुत धन्यवाद
     
  3. Mr.Kim

    Mr.Kim เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กันยายน 2007
    โพสต์:
    3,036
    ค่าพลัง:
    +7,028
    [​IMG]

    ธมฺมกาโม ภวํ โหติ</SPAN>
    ผู้ฝักใฝ่ในธรรมเป็นผู้เจริญ
    ธมฺมเทสฺสิ ปราภโว

    ผู้ชังธรรม เป็นผู้เสื่อม
    นตฺถิ สนฺติ ปรํ สุขํ

    สุขอื่นยิ่งกว่าความสงบไม่มี.
    ...............................................................
    อนุโมทนา สาธุ ๆ ๆ
     
  4. บัวใต้น้ำ

    บัวใต้น้ำ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กันยายน 2004
    โพสต์:
    888
    ค่าพลัง:
    +1,937
    แนะนำให้ไปลองอ่านเล่นนี้ครับ อธิบายด้วยภาษาง่ายๆ ครอบคลุมสติปัฏฐาน๔ ทุกหมวด

    http://dungtrin.com/sati/
     
  5. KomAon11

    KomAon11 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 ตุลาคม 2004
    โพสต์:
    4,802
    ค่าพลัง:
    +18,984
    ปฏิบัติยังไงก็ไม่พ้นคำที่พระพุทธองค์ทรงสอนครับ
     
  6. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,197
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    สายตรง ไม่อ้อม ไม่หลง
    มีทางเดียว คือ ทางสายเอก
     
  7. บัวใต้น้ำ

    บัวใต้น้ำ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กันยายน 2004
    โพสต์:
    888
    ค่าพลัง:
    +1,937
    ถ้าเจอครูบาอาจารย์ ที่สอนไม่ถูกทาง เราปฏิบัติตาม ก็พ้นไปจากคำสอนของพระองค์ โดยอัตโนมัติครับ

    พุทธพจน์ มีกล่าวไว้ว่า ทั้งหมดของพรหมจรรย์คือกัลยาณมิตร
    หมายความว่า ถ้าเรามีคนที่บอกทาง ชี้ทางที่ถูกต้อง ปฏิบัติตามก็มีสิทธ์บรรลุเป้าหมายของพรหมจรรย์ในพุทธศาสนาคือการดับกิเลส แต่ถ้าเรามีครูบาอาจารย์ที่ผิด เห็นผิด สอนผิด เราก็ไปผิดทางได้ ไม่บรรลุพรหมจรรย์ในศาสนาพุทธ

    ในสมัยนี้ ก็มืครับ เจอมาแล้ว เช่น มีคำสอนแนว สอนดับเวทนา เมื่อความเจ็บเกิดขึ้น ให้ดับความเจ็บนั่น เพราะเชื่อว่า เมื่อความเจ็บดับ ความทุรนทุรายดับ ความอยากดับ ภพชาติดับ พูดง่ายๆว่าย้อนสายปฏิจฯกลับไป ไม่ต้องเกิดกันอีก

    ทั้งที่จริงๆ พระพุทธองค์สอนไว้ว่า ขันธ์ทั้ง๕ เป็นกองทุกข์ และทรงสอนให้รู้ทุกข์( ทั้งทุกข์ในอริยสัจ และทุกข์ในสติปัฏฐานสี่ ) จนเกิดปัญญา จิตรู้ตามความจริง เห็นแจ้งแทงตลอดในกองทุกข์ ส่วนปลายทางผลที่ได้คือความทุกข์ไม่มี เพราะจิตพรากออกจากขันธ์ ( ไม่ใช่ให้ไปดับขันธ์ใดขันธ์หนึ่ง)
     
  8. สุรีย์บุตร

    สุรีย์บุตร https://youtu.be/8qf8khXqUjU

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    1,559
    ค่าพลัง:
    +2,122
    มันเป็นเช่นนั้นจริงๆหนอ
    แต่อย่าถามเรานะว่าสติปัฏฐาน ๔มีอะไรบ้าง ตอบไม่ได้ไม่ได้จำ
    แต่พิจารณาตลอด - -
    อนุโมทนาครับ
     
  9. KomAon11

    KomAon11 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 ตุลาคม 2004
    โพสต์:
    4,802
    ค่าพลัง:
    +18,984
    ผมหมายความว่า ท่านสอนดีทุกประการ

    คนที่ไม่ได้ผลดีเท่าที่ควร คือคนที่ไม่ทำตามท่านบอก หรือนอกลู่นอกทางไปเอง แต่คำสอนของท่านยังเป็นจริง แม่นยำ ถูกต้อง ไม่มีพลาดเสมอครับ

    ลองผิดลองถูก ลองจนค้นพบความจริงเป็นส่วนๆ .. จึงจะทราบได้ว่า ไม่พ้นคำที่พระพุทธเจ้าทรงสอนเลย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 18 กุมภาพันธ์ 2008
  10. บัวใต้น้ำ

    บัวใต้น้ำ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กันยายน 2004
    โพสต์:
    888
    ค่าพลัง:
    +1,937
    แบบนี้สำนวนของท่านพุทธทาส ท่านเรียกว่า

    "ไม่ทำตาม อย่ามาเรียกอาจารย์"
     
  11. เปลือกไม้

    เปลือกไม้ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2007
    โพสต์:
    6,719
    ค่าพลัง:
    +39,008
    กาย เวทนา จิต ธรรม พิจารณาอย่างไรก็ไม่เกินกายในกายนี้ครับ
    ขออนุโมทนา
     

แชร์หน้านี้

Loading...