ฝึก กรรม-ฐาน ด้วยภาษาที่เข้าใจง่าย

ในห้อง 'ประสบการณ์อภิญญา' ตั้งกระทู้โดย ธรรม-ชาติ, 16 ตุลาคม 2013.

  1. ธรรม-ชาติ

    ธรรม-ชาติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    2,566
    ค่าพลัง:
    +9,966
    พิจารณา นิวรณ์ 5 อิทธิบาท 4

    +++ กระบวนการทำงานของจิต ต่อคำว่า "พิจารณา" ในปัจจุบันนี้ คือ การนำเอา "ความจำ มาคิด" และในขณะที่ "คิด" ก็จะ "ดึงดูดเอา ธรรมารมณ์ เข้ามา" ตรงนี้เป็น "กระบวนการธรรมชาติของจิต" ส่วน ธรรมารมณ์ ที่ถูกดึงเข้ามานั้น ก็จะก่อให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า "พอใจ ไม่พอใจ และ เฉย ๆ" หาก "พอใจ ก็จะออกมาเป็น เย็น" หาก "ไม่พอใจ ก็จะเปลี่ยนเป็น ร้อน" หากเฉย ๆ ก็จะออกเป็น ซึม ๆ ไป" จากนั้นจึง "สื่อภาษาเป็นคำพูด" ออกมา ตามลักษณะของจิต ที่เสพธรรมารมณ์ ณ ขณะจิตนั้น ๆ ตรงนี้ สังคมในปัจจุบัน เรียกมันว่า "ผ่านการพิจารณามาแล้ว" ดังนั้น "นักศึกษาในกระทู้นี้" คงพอมองออกได้ง่าย ๆ ว่า "น่าอนาถ" หรือไม่ ต่ออาการ "พิจารณา" ที่อยู่ภายใต้การครอบงำของ นิวรณ์ 5 เต็มขั้น

    +++ โดยเฉพาะ "การเมือง" ในช่วงที่ผ่านมาแล้ว การกระทำทุกชนิด คือ "การปั่นนิวรณ์ 5" โดยการ "ทำให้จำ ด้วย คำพูดที่คม ๆ" จากนั้นนำมา "ให้คิด" เพื่อให้ "เกิดอารมณ์" โดยเฉพาะ "เมามัน" จากนั้นจึง "จูงจมูก ความเมามัน" เพื่อนำมาใช้ ทางการเมือง

    +++ คงเคยอ่านพบคำว่า "จิตรวมหมู่" ในกระทู้นี้มาบ้าง ไม่มากก็น้อย รวมทั้งคำว่า "วงจรของจิตรวมหมู่" และคำว่า "จิตรวมหมู่ กำหนดภูมิ" ประมาณนี้ มาบ้างในกระทู้นี้

    +++ ให้ดูตัวอย่างของ "จิตรวมหมู่ กำหนดภูมิ" จากวงจรของ "เสื้อแดง-เหลือง" เมื่อเทียบกับ วงจร "จิตรวมหมู่ ของ กปปส" ดูเอาว่า "ภูมิ" ในบริเวณที่ชุมนุม "ต่างกันขนาดไหน"

    +++ "ภูมิ" คือ "สถานะของ ธรรมารมณ์ ในจิตรวมหมู่ ระดับมหภาค" และยามใดที่ "ภูมิใดภูมิหนึ่ง เกิดจิตรวมหมู่ที่เข้มแข็ง และยาวนานเพียงพอ" สภาวะ ธรรมารมณ์ รวมหมู่ ก็จะก่อให้เกิด "มิติ" ที่เป็นเอกเทศ เมื่อสภาวะการณ์เหมาะสมเพียงพอ "มิติที่เป็นเอกเทศ" นั้นก็จะ "แยกตัวออกมาเป็น ภูมิ อิสระอีกภูมิหนึ่ง" นี่เป็น ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ ของคำว่า "ภพภูมิ"

    +++ แม้ว่าเรื่องนี้จะจัดเป็น "อจินไตย" ประการหนึ่งก็ตาม แต่ นักศึกษาในกระทู้นี้ ที่สามารถ "แยกเวทนา" ได้ ก็ให้ใช้ "วิถี ของการ แยกเวทนา" เพื่อเทียบเคียงดู ในจุดของ "กายเวทนา VS เวทนา" ความเป็น เอกัคตารมณ์ของกายเวทนา จนกระทั่ง มิติของตัวเวทนา ถูก แยกตัวออกไป ตรงนั้นคือ ลักษณะที่เป็น "มิติ และ ภูมิ" เช่นกัน เมื่อเข้าใจตรงนี้ได้ ก็จะเข้าใจในเรื่องของ มิติ ระหว่าง "มนุษย์ กับ ลับแล elf" ได้ไม่ยากเลย

    +++ แต่อย่าลืมว่า "ระบบการศึกษา" ในสังคมปัจจุบันนี้ "ลอกเลียนแบบมาจาก ฝรั่งชาติตะวันตก" แล้วเอาเข้ามา "ลบล้างทำลาย ระบบการศึกษาแบบ พุทธ" ทิ้งไป ดังนั้น ชาวพุทธ คงต้องรีบทำความเข้าใจ ให้ดีก่อนที่ ศาสนาพุทธ จะจางคลายหายไปเรื่อย ๆ

    +++ คำว่า "พิจารณา" ในสมัยของ ครูบาอาจารย์สายพระป่าในยุคต้น ๆ ให้สังเกตุให้ดี ๆ ว่า "การพิจารณา" ของท่าน "ไม่มีองค์ประกอบของ นิวรณ์ 5" เข้ามายุ่งเกี่ยวด้วยเลย ดังนั้น การพิจารณาของท่านจึงอยู่ในกระบวนการของ "สังเกตุ สู่ เข้าใจ"

    +++ กระบวนการ "สังเกตุในปัจจุบัน" จะมีลักษณะที่สำคัญ ๆ เป็นองค์ประกอบ ดังนี้ 1. หยุดคิด 2. เป็นเอกัคตารมณ์ 3. ปล่อยให้ปรากฏการณ์ เป็นไปด้วยตัวของมันเอง 4. ความเข้าใจปรากฏ

    +++ ตรงนี้ให้สังเกตุให้ดี ๆ ก็จะชัดเจนได้เองว่า มันเป็นองค์ประกอบของ "อิทธิบาท 4" ในอีกภาษาหนึ่ง แต่การทำงานของจิต เป็นอันเดียวกัน

    +++ ดังนั้น กระบวนการทำงานของจิตในการ สังเกตุการณ์ จึงมีความเด่นชัดในเรื่อง "สติครองฌาน" เป็นหลัก ไม่มีอาการ "ฟุ้งซ่าน เพ้อเจ้อ" ของนิวรณ์ 5 แม้แต่น้อย

    +++ ส่วน "ความเข้าใจ เกิดก่อนความคิดที่เป็นภาษา" นั้น อยู่ในความละเอียดของระดับ "เจโตปริยะญาณ" (ตัวจะ) ซึ่งคนที่ไม่ได้ฝึกมาทาง พระพุทธศาสนา จะไม่มีวันเข้าใจได้

    +++ ส่วน "อาการวูบลง เหมือนกับลดระดับลงมาเพื่อให้ เกิดเป็นภาษา" นั้น คือ "อาการ หยุดเจโต จากนั้นจึงทำการ ย้าย เข้าไปในเจโต" เพื่อทำการ "ผลิตภาษา" ตรงนี้เป็นความเร็วในระดับ "วาระจิตละเอียด" ซึ่งก็เช่นกัน ผู้ที่ไม่ได้ฝึกมาทาง พระพุทธศาสนา (มหาสติ) จะไม่มีวันเห็นอาการนี้ได้เลย

    +++ ถูกต้อง "เปลวเทียน" ชี้ไปทางไหน นั่นคือ เจตนา "ส่งออก" ไปทางนั้น (ภาษาของผู้ที่ฝึก มหาปัฏฐาน ในกระทู้นี้ เท่านั้น)
     
  2. เมิล

    เมิล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    421
    ค่าพลัง:
    +3,132
    Update : ฝึกรู้ในไม่รู้
    จะมี 2 อาการ คือ
    1. เป็นไม่รู้ แล้วรู้ว่าไม่รู้ จึงกลับมาเป็นรู้ จะมี moment รู้สึกตัว แล้วพลิกกลับมาเป็นรู้
    2. เป็นไม่รู้ ในไม่รู้มีรู้ แล้วจึงเพิ่มเป็นรู้ จนไม่รู้หายไป
    ช่วงที่เปลี่ยนกลับมาเป็นรู้ รู้จะค่อยเพิ่มๆ ขึ้นมา เป็นรู้อยู่กลางสรรพสิ่ง
     
  3. ธรรม-ชาติ

    ธรรม-ชาติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    2,566
    ค่าพลัง:
    +9,966
    ไตรลักษณ์แห่งตน นิโรธสมาบัติ อณู อวิชชา มหาปัฏฐานสูตร "เหตุปัจจัยโย"

    +++ ในข้อที่ 1 ณ ขณะที่ "รู้อยู่ว่า ไม่รู้" (ความตั้งอยู่ของ "ไม่รู้" ปรากฏมีอยู่) หากมี "ความชำนาญ และ คุ้นเคย" เพียงพอแล้ว "สภาวะไม่รู้ จะถูกจางคลายสลายไป" (ในส่วนของ ดับไป) แล้วสรรพสิ่ง จะเหลืออยู่แต่เพียง "รู้" สภาวะเดียว ที่เป็น "อสังขตะธรรม" (หาก "รู้อยู่ว่า ไม่รู้" แล้วพลิกมาเป็น "รู้" ได้แบบตรง ๆ ตรงนี้เป็น ธรรมานุปัสสนามหาสติปัฏฐาน) ณ ขณะนี้ ให้ "เป็นรู้" อยู่อย่างนั้น "เป็นอสังคตะธรรม" อยู่อย่างนั้น จนกว่าจะพบ "เหตุเกิดของสภาวะไม่รู้" (ในส่วนของ เกิดขึ้น) (หากทำตรงนี้ได้ชำนาญเมื่อไร จะ "เห็นอณู" แน่นอน) ตรงนี้เป็นส่วนของ "สังคตะธรรม"

    +++ จากข้อที่ 1 ให้ "เป็นรู้" ตลอดเวลา จนกว่าจะ "เห็นเหตุใน ไตรลักษณ์" ของ "สภาวะไม่รู้" เหตุที่มัน "เกิดขึ้น" ทำอย่างไรมันจึง "ตั้งอยู่" และ ทำอย่างไรมันจึง "ดับไป" เมื่อชำนาญและ ทำตรงนี้เป็นประจำแล้ว ก็จะ "แน่ใจชัดเจน" ได้เองว่า ทั้งสภาวะ "สังคตะธรรม + อสังขตะธรรม" นั้น มีอยู่แล้วทั้งคู่ และทั้งคู่ มีอยู้แล้ว เป็นอยู่ อย่างนี้มานานแล้ว "มีแต่ตน" เท่านั้นที่ "เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป" มีแต่ "ตน" เท่านั้น ที่เจ้ากี้เจ้าการ จนกลายเป็น "เวียนว่ายตายเกิด" แบบไม่รู้จบ

    +++ ในข้อที่ 2 ยังใช้ "ภาษา" ที่ไม่ตรงอาการ 100 % (อยู่แถว ๆ 70%)

    +++ โดยปกติ ในขณะที่ "มีไม่รู้" ในขณะนั้น "จะเป็น ไม่รู้" อยู่ในตัว ยกเว้นในกรณีที่ "มีรู้ เป็นใส้เทียน" ตรงนี้ ภาษาตรง ๆ คือ "เป็นรู้ และ เป็นมหาปัฏฐาน" และ สภาวะ "ไม่รู้นั้น ถูกรู้ แบบ ไข่ขาวหุ้มไข่แดง" ตรงนี้ การใช้ภาษาไม่ง่าย เพราะเป็น "มหาสติ ข้างในสภาวะของ อรูป" (อรูป คือ สภาวะที่ มีสภาพ แต่ ไร้รูปไร้ลักษณ์) ทั้งหมด

    +++ ทั้งในข้อที่ 1+2 เมื่อสภาวะ "ที่มีสภาพ" เกิดขึ้น ตรงนี้ทำให้ "สภาวะรู้ จางคลาย" กลายเป็น "อวิชชา และ กำเนิด ตน" หลังจาก "ทำให้กลับมาเป็นรู้" ได้แล้ว

    +++ ให้เป็น "รู้บริสุทธิ์" อยู่อย่างนั้น ณ ขณะนั้น สัญญา+เวทนา ยังไม่สามารถเกิดขึ้นได้ จะมีแค่เพียง สติบริสุทธิ์ เท่านั้น อาการของ "นิโรธสมาบัติ" ตัวจริง ย่อมเป็นเช่นนี้ เท่านั้น

    +++ หากมีแต่ "สภาวะสติบริสุทธิ์" (อสังคตะธรรม) เพียงประการเดียว "แน่นอนที่สุด" การถอนจิตกลับสู่ "สภาวะปกติ และความเป็นตน ในวาระจิตเดียว ณ ขณะที่ถอนจิตนั้น" ย่อมทำไม่ได้ เป็นธรรมดา

    +++ แต่ "เหตุ" ที่ผู้ที่เข้า "นิโรธสมาบัติ" (ตามคำโฆษณา) สามารถ "ถอน หรือ ออก" มาจาก นิโรธสมาบัติ นั้นล่ะ เคยมีผู้ใด "พูดหรือโพสท์" มาก่อนหรือไม่ ว่า "เพราะเหตุใด จึง ออกจากนิโรธ" ได้ โดยเฉพาะ สภาวะนิโรธนั้น "ไร้ธาตุ ไร้ธรรม" กล่าวได้ว่า พ้นไปแล้วจาก "ต้นธาตุ ต้นธรรม" ทั้งปวง

    +++ ตรงนี้แหละ จึงเป็น "บทฝึก" ของนักศึกษาในกระทู้นี้ (บทฝึก ของผู้ที่ "เป็นรู้" แล้วเท่านั้น)

    +++ 1. ให้ "เป็นรู้" เพียงสภาวะเดียว เท่านั้น ให้ เข้า-ออก ให้ "บ่อยและมาก" แล้วให้ สังเกตุอยู่เนือง ๆ ว่า "ในขณะที่เป็นรู้" นั้น "เจตนา" (ตัวจะ) เกิดขึ้น "ได้หรือไม่" รวมทั้ง "เจตนาที่จะออก" ด้วย

    +++ 2. ให้ทำใน ข้อ 1 จนแน่ใจแบบ "รู้แจ้ง" เลยว่า ณ ขณะที่เป็น "สภาวะรู้" นั้น สิ่งที่เรียกว่า "เจตนา รวมทั้ง การเดินจิต" จะมี หรือ จะเกิด ขึ้นมา "ได้หรือไม่"

    +++ 3. จนกว่าจะพบแล้วว่า "เจตนา รวมทั้งจิต และ สภาวะอื่น ๆ" ไม่สามารถ เกิด หรือ ปรากฏ ใด ๆ ขึ้นมาได้เลย

    +++ ให้ "ทำ" จน รู้แจ้งชัด ว่า ณ ขณะที่อยู่ใน นิโรธสมาบัติ นั้น "สภาวะอื่นใด ไม่สามารถปรากฏขึ้นมาได้เลย" จากนั้น "ในสภาวะ ปกติ" ให้ ถามตนเองว่า แล้วเรา "ออกจาก นิโรธสมาบัติ" ออกมาได้อย่างไร เพราะมันไม่มีอะไรให้ออก

    +++ จนกว่า "สำเหนียก" แบบนี้เกิดขึ้นมาเท่านั้น จึงจะเริ่มมีการ "ค้นคว้าอย่างแท้จริง" ในเรื่องของการ "ออกจากนิโรธ" ว่ามีความเป็นมาอย่างไร

    +++ จนกว่าจะ "เห็น" อย่างแจ้งชัดว่า "ในอสังคตะธรรม ยังมี สังคตะธรรม" ที่เป็น "อนุภาคแห่งอณู" เคลื่อนไหวไปมา ในนั้น

    +++ จนกว่าจะ "เห็น" อย่างแจ้งชัดว่า "คลื่นแห่ง ความเคลื่อนไหวของ อนุภาคแห่งอณู ที่แหวกฝ่าไปมาใน สภาวะรู้" ก่อให้เกิด สภาวะของ "สภาพชนิดหนึ่งขึ้นมา"

    +++ จนกว่าจะ "เห็น" อย่างแจ้งชัดว่า "สภาพชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นมานี้" เป็น ธรรมารมณ์ ชนิดหนึ่ง ซึ่งปิดบัง สภาวะรู้ และใน สภาวะธรรมารมณ์นี้เองที่เป็น "สภาวะไม่รู้"

    +++ จนกว่าจะ "เห็น" อย่างแจ้งชัดว่า "ตัวสภาวะไม่รู้นี้" เมื่อเกิดขึ้นมาแล้ว จึงรวมตัวก่อเกิด "เป็นพลังงาน" ขึ้น และ "ความเป็นตน" จึงเกิดขึ้นที่ ณ จุดนี้

    +++ เมื่อ "เห็น" อย่างแจ้งชัดในกระบวนการนี้เมื่อไร ก็ให้เริ่ม map กับ พระอภิธรรม บท "มหาปัฏฐานสูตร" ได้เลยว่า

    +++ "เหตุปัจจัยโย" นั้น ตรงกันเป๊ะ กับ "อนุภาคแห่งอณู" หรือไม่ ต่อจากนั้น

    +++ "อารัมมณะปัจจัยโย" นั้น ตรงกันเป๊ะ กับ "ธรรมารมณ์ แห่ง อวิชชา" หรือไม่ ต่อจากนั้น

    +++ "อธิปปะติปัจจัยโย" นั้น ตรงกันเป๊ะ กับ "กำเนิด ตน อัตตาจิต หรือ ตัวดู" หรือไม่

    +++ ตรงนี้เป็น "บทศึกษา 101" ของผู้ที่ "เป็นรู้" แล้วในกระทู้นี้ เท่านั้น นะครับ
     
  4. เมิล

    เมิล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    421
    ค่าพลัง:
    +3,132
    คำว่า "กรรม" กับ "วิบากรรม" เหมือนหรือต่างกันตรงไหนไหมคะ
    จุดเริ่มต้น และจุดสิ้นสุดของ "กรรม" กับ "วิบากรรม" นับกันที่ตรงไหนคะ
     
  5. ธรรม-ชาติ

    ธรรม-ชาติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    2,566
    ค่าพลัง:
    +9,966
    +++ "กรรม" = ACTION
    +++ "วิบากรรม" = REACTION

    +++ จุดเริ่มต้น เริ่มที่ "กรรม"
    +++ จุดสิ้นสุด สิ้นสุดที่ "วิบากรรม" จบลง

    +++ ข้างบนนี้เป็นคำตอบแบบ "สาธารณะ"
    ===================================================
    +++ ส่วนคำตอบสำหรับ "นักศึกษาในกระทู้นี้" จะมีความละเอียดแตกต่างกันไป สำหรับผู้ที่ "เป็นรู้" เรียบร้อบแล้ว

    +++ "กรรม" เริ่มที่ "ตัวจะ" และจะรู้ได้โดย "ตัวจะ ผลิต กิริยาจิต" มีการกระเพื่อมออกมา "1 วงจร"
    +++ หาก "ดับ หรือ หยุด" กิริยาจิต โดยไม่มีการสืบเนื่อง (ตั้งอยู่) ต่อติดกับ "ตัวจะ"
    +++ กิริยาจิต วงจรนั้น ก็จะกระจายหายไปใน "ความว่างแห่งสภาวะรู้" และไม่กระทบกับอะไรเลย
    +++ "กรรม" ตรงนี้ "มี" แต่ไม่มีผลกับอะไรเลย เรียกว่า "อโหสิกรรม" (เฉพาะในระดับนี้ อย่าเอาไปปนกับภาษาทางโลก)

    +++ 4 บันทัดข้างบนนี้ ให้รู้จักว่า เป็นวงจรของการ "เกิดขึ้น" (ในหมวดของ ไตรลักษณ์)
    ===================================================
    +++ ข้อความต่อลงไปข้างล่าง จะเกี่ยวข้องกับส่วนของ "ตั้งอยู่" ในส่วนของ "ไตรลักษณ์"

    +++ เมื่อ "ตัวจะ" เกิดขึ้น ก็ย่อมประกอบไปด้วย "1 เจตนา + 1 ความเข้าใจ + 1 ธรรมารมณ์" ตรงนี้คือ "1 วาระจิต"
    +++ จาก "1 วาระจิต" ตรงนี้ จะแจงการ "ทำงานของจิต" แบบ มหาปัฏฐานสูตร ดังนี้

    +++ ณ วงจรนี้ (วงจรของ "ตัวจะ" ที่เกี่ยวข้องกับ กฏแห่งกรรม อย่าเอาไปปนกับ "วงจรในระดับของอณู" เป็นอันขาด)

    +++ ให้นับ "ตัวจะ = เหตุปัจจะโย" คือจะเริ่มที่ "ตัวจะ" หรือตัว "1 วาระจิต" ก็ได้
    +++ จากนั้นจึงเกิดการ "เข้าไปสู่ ธรรมารมณ์ของตัวจะ" "อยู่-ย้าย-เข้าไป" และตรงนี้จะ ถือครอง ธรรมารมณ์ก่อน เรียกว่า "กำหนดภูมิ" ก็ได้
    +++ ตรงนี้ตามภาษาของ "มหาปัฏฐานสูตร" เรียกว่า "อารัมมะณะปัจจะโย"

    +++ เมื่อ "ย้าย เข้าไป อยู่แล้ว" ความเป็น "ตน" ตรงนี้ก็เกิดขึ้น เรียกว่า "อธิปะติปัจจะโย"

    +++ ตรงนี้ เมิล เคยทำมาแล้ว ในเรื่องของ "ขันธ์ประธาน แตกตัวออกเป็น ขันธ์บริวาร" ดังนั้น ก็จะเข้าใจได้

    +++ เมื่อเข้าไปใน "ขันธ์ประธาน" ตรงนี้ หาก "อยู่สืบต่อ" การแตกขันธ์ ก็จะต่อเนื่องแบบ ไม่สิ้นสุด เรียกว่า "เหตุปัจจัยที่ไม่สิ้นสุดได้"
    +++ ภาษาใน มหาปัฏฐานสูตร ตรงนี้คือ "อนันตะระปัจจะโย" ภาษาอังกฤษ คือ Infinite ionization

    +++ แต่ถ้าหากเข้าไปแล้ว "ดับมันลง ไม่เดินต่อ" ขันธ์บริวารทั้งหมด ก็จะ "ดับลงสิ้นสุด เสมอกันทุกตัว"
    +++ ภาษาใน มหาปัฏฐานสูตร ตรงนี้คือ "สะมะนันตะระปัจจะโย" ภาษาอังกฤษแบบง่าย ๆ คือ All end

    +++ ส่วนการเข้าไปอยู่ แล้วเกิดการ "แตกขันธ์บริวาร" ตรงนี้จะรู้ได้ว่า "นับไม่ถ้วน"
    +++ ภาษาใน มหาปัฏฐานสูตร ตรงนี้คือ "สะหะชาตะปัจจะโย"

    +++ หากเดินจิต "อยู่-ย้าย" ไปมาระหว่างขันธ์ "ให้สังเกตุว่า ขันธ์บริวารที่แตกตัวออกมานั้น มักจะมี ธรรมารมณ์ สืบเนื่องคล้ายคลึงกัน"
    +++ ทำให้การเดินจิต เป็นเอกภาพ ตัวอย่างเช่น "การถอดกายทิพย์" เป็นต้น
    +++ อาการที่เป็น เอกภาพ นี้ก่อให้เกิด "การอยู่แบบ สืบต่อเนื่อง" ไปเรื่อย ๆ
    +++ ภาษาใน มหาปัฏฐานสูตร ตรงนี้คือ "อัญญะมัญญะปัจจะโย"

    +++ การ "อยู่แบบสืบต่อเนื่อง" ตรงนี้ หากเป็นไปนาน ๆ หรือ บ่อย ๆ ก็จะเรียกว่า "นิสสะยะปัจจะโย"
    +++ หากยังไม่คุ้นกับการ "อยู่แบบสืบต่อเนื่อง" เช่น ประสพการณ์ใหม่ หรือ ยังไม่คุ้น ก็จะเรียกว่า "อุปนิสสะยะปัจจะโย"

    +++ การที่ "ขันธ์ประธาน" เกิดก่อน "ขันธ์บริวาร" ตรงนี้เรียกว่า "ปุเรชาตะปัจจะโย"
    +++ ส่วน "ขันธ์บริวาร" ย่อมเกิดทีหลัง ตรงนี้เรียกว่า "ปัจฉาชาตะปัจจะโย"

    +++ ส่วนอาการ "อยู่" ในขันธ์ใด ก็คือ "การเสพ" ในขันธ์นั้น ๆ เรียกว่า "อาเสวะนะปัจจะโย"

    +++ คำศัพท์ต่าง ๆ เหล่านี้ "เป็นการ เรียกอาการ ในภาษาบาลี ในแต่ละขณะการทำงานของจิต เท่านั้น"
    +++ ให้ เมิล ทำปัฏฐาน อยู่-ย้าย ไปมาในเรื่อง "ขันธ์ประธาน-ขันธ์บริวาร" ต่าง ๆ ในแต่ละขณะ ก็จะ รู้-เข้าใจ ได้ชัดเจน

    +++ ข้อความในส่วนข้างบนนี้ จัดอยู่ในส่วนของการ "ตั้งอยู่" ในไตรลักษณ์
    +++ ภาษาของ มหาปัฏฐานสูตร เอาไว้เพียงแค่เป็นกษัยแค่นี้ก่อน ขืนมากไปเดี๋ยว ท้องอืดท้องเฟ้อ ทางความจำอาจเกิดขึ้นได้
    ===================================================
    +++ เมื่อการ "ตั้งอยู่" ในวาระจิตใดมีการ "ต่อเนื่อง" ตรงนี้ทำให้เกิด "กรรม" ให้ดูลักษณะของการ "ตั้งอยู่-ดับไป-ย้ายจาก" จากการทำกรรม ข้างบน (กัมมะปัจจะโย)
    +++ จากนั้น จึงส่งผลตามมาจาก "กฏเกณท์การทำงานของกรรม" (วิปากาปัจจะโย)

    +++ เรื่องของ "กรรม" ให้ดูจาก ลักษณะของการ "อยู่ย้าย" จาก ขันธ์ประธานสู่ขันธ์บริวาร ต่าง ๆ รวมทั้ง "การตั้งอยู่" ในนั้นเพื่อ เฟ้นหา "ขันธ์บริวาร" ที่ถูกใจ
    +++ จุดตรงนี้คือ "ให้สังเกตุ ธรรมารมณ์ ที่ครอบงำขันธ์บริวาร ทั้งหลายด้วย"

    +++ ให้เมิล "ฝึก" ในบริเวณนี้ให้ "ช่ำชอง" และสังเกตุ "ธรรมารมณ์" ในขันธ์บริวาร "ก่อนทำการ อยู่-ย้าย" แล้วจึง ย้ายเข้าไป แล้วดูผลลัพธ์ ที่เกิดขึ้น
    +++ ตรงนี้เป็นการฝึกในภาคของ "อจินไตย" แบบเต็มตัว แล้วนะครับ
     
  6. tongrolass

    tongrolass เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 พฤษภาคม 2013
    โพสต์:
    103
    ค่าพลัง:
    +103
    ท่านธรรม-ชาติ ขออนุญาติ รบกวนเรียนถามเรื่อง อาการปวดศีรษะหลังออกจากสมาธิครับ
    ......เวลานอนสมาธิ ถอดกายออกไปเมื่อกลับเข้ามา,ออกจากสมาธิ แล้วจะรู้สึกหนักๆศรีษะ หนืดๆ เหมือนแม่เหล็กยึดตรึงเอาไว้ และมีอาการปวดศรีษะมากๆ จะปวดต่อเนื่องทั้งวันทั้งคืนไปอีก 2-5 วัน
    ......เวลานั่งสมาธิ กระผมกำหนดลมหายใจ ตามลมหายใจเข้า-ออก จับที่ปลายจมูก อาการปวดจะรวมกันที่หว่างคิ้วและแทงลึงลงไปในกระโหลก ผมควรทำอย่างไร หรือแก้อย่างไรครับ รู้สึกมีปัญหาเวลาทำสมาธิจนบางทีอยากจะนอนหลับไปเลยเพราะปวดศีรษะ (กระผมพอจะหาข้อมูลมาแล้วบ้าง แต่ยังไม่มั่นใจเพราะมีหลายคำแนะนำเหลือเกิน ปวดมาประมาณ 1 อาทิตย์แล้วครับหรือว่าควรไปเช็คสมอง!) ขอความอนุเคราะห์ด้วยครับ _/|\_
     
  7. ธรรม-ชาติ

    ธรรม-ชาติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    2,566
    ค่าพลัง:
    +9,966
    +++ ปกติแล้ว หากมีการถอดกายจริง อาการ "หนัก ๆ ศรีษะ หนืด ๆ ปวดศรีษะมาก ๆ ปวดต่อเนื่องทั้งวันทั้งคืนไปอีก 2-5 วัน" จะเกิดขึ้นไม่ได้เลย

    +++ การถอดกายที่แท้จริง จะต้องออกมาในลักษณะ "ตัวเองออกมาจากตัวเอง" เท่านั้น และจะต้องมีลักษณะ "ตัวเป็น ๆ ในเหตุการณ์" ไม่ใช่เพียงแค่ "เห็น" เฉย ๆ ที่เป็นอาการของ "ภวังค์จรณะ"

    +++ ให้ใช้หลักง่าย ๆ คือ "ดูที่ไหน รู้สึกที่นั่น" ค่อย ๆ เปลี่ยนจุดดูไปที่ หู ซ้าย-ขวา ตาม แขน-ขา ต่าง ๆ แล้วค่อย ๆ สังเกตุว่า สามารถเคลื่อน "ความรู้สึก" ให้เป็นไปตาม "การดู" ได้

    +++ เมื่อการดูเริ่มเป็น สมาธิ แล้ว จุดแห่งความรู้สึก ที่เคลื่อนไปตามการดู จะปรากฏคล้าย "เม็ดพลังงาน" ที่เคลื่อนไปมาตามการดูตลอดเวลา อาการปวดก็จะหายไป

    +++ หากอาการปวดมีอยู่อย่าง ต่อเนื่องหลายวัน ตรงนี้น่าจะเป็นอาการ "ทางกาย" มากกว่า อาการ "ทุกข์ข้างในศีรษะ" มักมาจาก "ระบบขับถ่าย มีของตกค้างมาก"

    +++ สำหรับผม ใช้ "ยาขมตราใบห่อ ชนิดเม็ด" ตอนนี้อยู่ในกล่องบรรจุ 75 เม็ด 25 บาท ราว ๆ นี้ ทานครั้งละ 4 เม็ด ก็จะบำบัดอาการได้

    +++ หากไม่เคยได้รับบาดเจ็บทางศรีษะอย่างหนักมาก่อน ก็ไม่จำเป็นที่จะต้องไป เช็คสมอง แต่อย่างไร

    +++ สำหรับผมแล้ว "ยาขมตราใบห่อ ชนิดเม็ด" เป็นยาชนิดเดียวที่ผม พกพาติดตัวไว้เสมอ นะครับ
     
  8. tongrolass

    tongrolass เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 พฤษภาคม 2013
    โพสต์:
    103
    ค่าพลัง:
    +103
    +++ ให้ใช้หลักง่าย ๆ คือ "ดูที่ไหน รู้สึกที่นั่น" ค่อย ๆ เปลี่ยนจุดดูไปที่ หู ซ้าย-ขวา ตาม แขน-ขา ต่าง ๆ แล้วค่อย ๆ สังเกตุว่า สามารถเคลื่อน "ความรู้สึก" ให้เป็นไปตาม "การดู" ได้

    +++ เมื่อการดูเริ่มเป็น สมาธิ แล้ว จุดแห่งความรู้สึก ที่เคลื่อนไปตามการดู จะปรากฏคล้าย "เม็ดพลังงาน" ที่เคลื่อนไปมาตามการดูตลอดเวลา อาการปวดก็จะหายไป


    ขอบคุณมากๆครับท่านธรรม-ชาติ จะลองเอาไปปฏิบัติแก้อาการปวดดูครับ ไม่อยากทานยาแก้ปวดบ่อยๆเ้หมือนกัน คงต้องหาเวลาไปออกกำลังกายบ้างแล้ว ส่วนยาขมตาใบห่อ!!! จะลองดูครับผม -0-


    [​IMG]
     
  9. nilakarn

    nilakarn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2011
    โพสต์:
    3,611
    ค่าพลัง:
    +3,015
    ผมฝึก ขั้นที่หนีึ่ง เน้นร่างกายคืออากาสธาตุ
    สอง เน้น ตัวรับรู้ คือวิญญาน
    สาม เน้น ไม่รับรู้ คือ เมื่อเกิดเวทนา จะภาวนาว่า ไม่รับรู้ๆๆๆ
    สี่เน้น ไม่มีอะไรเลย จนเหลื่อแต่จิตดวงเดียว

    ถูกต้องไหมครับ
     
  10. ธรรม-ชาติ

    ธรรม-ชาติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    2,566
    ค่าพลัง:
    +9,966
    +++ ถ้าเห็นตามความเป็นจริง ถูก แต่ถ้า นึกเอา ผิด

    +++ วิธีเน้น ต้องพูดมาด้วย การพูดลอย ๆ ไม่ใช่เรื่องดีของนักปฏิบัติ

    +++ ตรงนี้ถือว่า "ปฏิเสธสิ่งที่เกิดขึ้นจริง มีอยู่จริง"
    +++ พระพุทธเจ้าสอนว่า "ดำรงค์สติมั่น รู้ธรรมเฉพาะหน้า"
    +++ เมื่อเกิดเวทนา จะภาวนาว่า ไม่รับรู้ๆๆๆ ถือว่า "สวนทางกับที่พระพุทธเจ้าสอนหรือไม่"

    +++ อะไรมี ต้องยอมรับตามความเป็นจริงว่า มี
    +++ อะไรไม่มี ต้องยอมรับตามความเป็นจริงว่า ไม่มี

    +++ คุณ nilakarn อ่านทบทวนดูตั้งแต่ต้นสัก 5-6 รอบ ข้อ 1-2 ให้ตอบตนเอง ตามความเป็นจริงให้ได้ก่อนว่า "เป็นสัจจะ หรือ เป็น มโน" ส่วนข้อ 3-4 นั้นคุณตัดการ "รู้ธรรมเฉพาะหน้า" ที่เป็นหัวใจหลักในการปฏิบัติออกโดยสิ้นเชิง

    +++ สิ่งที่เรียกว่า "ฐานแห่งการปฏิบัติ" ของคุณ nilakarn ยังไม่มีเลย

    +++ การปฏิบัติใดก็ตาม หากไม่สามารถก่อให้เกิด "สัมปชัญญะ 4" ซึ่งเป็นอาการของ "ความรู้สึกตัวทั่วพร้อม" ผมถือว่า การปฏิบัตินั้น "ไม่มีฐาน" อันมั่นคง

    +++ "สัมปชัญญะ 4" คือ อาการที่เกิดขึ้นกับตน หรือ ตนจะต้องปรากฏอาการที่ "เป็นตน" ดังนี้

    1. สาตกสัมปชัญญะ = รู้การกำหนดของจิต (จะตรงกับโพสท์ที่ 5 ในหน้าแรก ตรงสติระดับ 4 คือ 4. "การกำหนดจิต ทั้งหมด ถูกรู้")
    2. โคจรสัมปชัญญะ = รู้ในปัจจุบันแห่งขณะจิต (จะตรงกับ "ดำรงค์สติมั่น รู้ธรรมเฉพาะหน้า")
    3. สัมปายสัมปชัญญะ = ไม่มีทุกข์สามารถอยู่เช่นนั้น ก็อยู่ได้ (ฐานเบื้องต้นของ อัปปนาสมาธิ)
    4. สัมโมหสัมปชัญญะ = รู้วาระจิตที่ผ่านมาแล้ว และสามารถดึงกลับมา (ระลึก-ตรึง-ปรากฏ หรือ "Map จิต") เพื่อ ธัมมะวิจัยยะ ได้)(โพชฌงค์)

    +++ หากการปฏิบัติของคุณ nilakarn ไม่สามารถเกิดปรากฏการณ์ของ "สัมปชัญญะ 4" ที่ผมกล่าวมาแล้ว
    +++ แม้ว่าคุณ nilakarn จะเห็นว่า "ถูก" อย่างไรก็ตาม ผมก็ถือว่า "ถูก" ของคุณ เป็นเรื่องส่วนบุคคลของตัวคุณเอง ไม่เกี่ยวกับผม นะครับ
     
  11. เมิล

    เมิล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    421
    ค่าพลัง:
    +3,132
    เล่าอาการ
    1. ช่วงนี้ลองฝึก "เป็นรู้" แบบปัฎฐาน แล้ว ฟังเพลง จะมีอยู่ช่วงหนึ่งที่จะวูบลงมาจะเป็นขันธ์ แต่ยังไม่เป็น ตนยังไม่เกิด เมิลตรึงวูบนั้นไว้แล้วเป็นรู้แบบข้างนอกแทน
    2. อาการช่วงนี้จะสลับเป็นรู้อยู่ในขันธ์ กับเป็นรู้อยู่นอกขันธ์ บางทีก็แผ่ออกจากที่อยู่ในขันธ์ออกมาด้วย
    3 ตอนที่ทำปัฎฐานแล้วทำงานงานทางโลก เมิลจะตรึงตัวดูไว้ บางทีจะรู้สึกหนักๆตรงหัวส่วนหลังนิดหนึ่ง
    - อาการที่เกิดขึ้นหลังจากที่ทำแบบนี้สลับไปมา สัก 1 อาทิตย์ ความสงบเงียบก็บังเกิด อาการเป็นรู้หนักแน่นขึ้น นิ่งขึ้นกว่าจากเดิมในเวลาที่รู้สึกถึงงูเลื้อยบบนผิวน้ำแล้วจะไหวตาม ก็ไม่ตามแล้ว
    - รู้สึกต่อไม่ติดกับอะไรทั้งนั้น มันเป็นอาการรู้เฉย ๆ
    - เวลาคุยงานกับใครจะดูตรง ๆ ที่เจตนา เข้าใจ concept ภาษาและวิธีการพูดไม่เกี่ยว
    - ไม่รู้เกี่ยวไหม เมื้อเช้าใกล้เวลาตื่นรอบ 2 มีพลังงานมาลูบหัวลงไปที่หลังด้วย มาจากข้างนอก ไม่ได้เป้นพลังงานที่เกิดจากกายเรา
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 มิถุนายน 2015
  12. ธรรม-ชาติ

    ธรรม-ชาติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    2,566
    ค่าพลัง:
    +9,966
    ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ

    +++ ดีแล้ว ละเอียดมากขึ้นไปเรื่อย ๆ ไอ้ตรงที่ "จะวูบลงมาจะเป็นขันธ์ แต่ ตนยังไม่เกิด" ตรงนี้ ความจริงแล้ว "ตน" เกิดมาก่อนแล้ว

    +++ ความละเอียดในบริเวณนี้ บุคคลที่ยังไม่ "เป็นมหาสติ" จะ "เห็นอาการ" ไม่ได้เลย

    +++ ตรงนี้จะใช้ "ภาษาในยุคปัจจุบันขณะ" ที่ "คนไทยทุกคน" สามารถเข้าใจได้ โดยไม่มีอาการของ สองมาตรฐานใด ๆ ทั้งสิ้น
    ===========================================================
    +++ จะแบ่งอาการตรงนี้ออกเป็น 3 วาระคือ

    1. ตัวดู หรือ อัตตาจิต เป็น "ต้นน้ำ" เป็น Subject
    2. กระแสส่งออก หรือ เปลวเทียน เป็น "กลางน้ำ" เป็น Action เป็น มโนกรรม
    3. จุด touch down หรือ จุดตกกระทบ เป็น "ปลายน้ำ" เป็น Object

    +++ ทั้ง "ต้นน้ำ กลางน้ำ และ ปลายน้ำ" นี้ สามารถ "เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และ ดับไป" ได้ตลอดทั้งสาย การสังเกตุ "ระดับการปฏิบัติธรรม" ของบุคคลใด หรือ หลักกรรมฐานของสายใด ก็ตาม สามารถสังเกตุได้ที่ การสอนหรือการมุ่งมั่นว่า อยู่ตรง "ต้นน้ำ กลางน้ำ หรือ ปลายน้ำ"

    +++ หากอยู่กับ "ปลายน้ำ" ที่เป็น Object ให้ถือได้เลยว่า ยังห่างจากที่พระพุทธเจ้ากล่าวไว้ ไกลมาก เพราะยังไม่มีปัญญาที่จะ สาวกลับ มายังที่ "ต้นเหตุ" ได้ ตรงปลายน้ำทั้งหมดนี้เป็น "รูปกรรมฐาน" ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น รูปกสิณ รูปอสุภะ มโนภาพ ต่าง ๆ รวมทั้ง "ลมหายใจ" ก็รวมอยู่ที่ตรงนี้ด้วย พระพุทธเจ้าสอนให้ "รู้ลมหายใจ ไม่ใช่ ดูลมหายใจ" ในยามใดที่ "รู้ลมหายใจแล้ว ลมหายใจกลายมาเป็น สิ่งถูกรู้" ตรงนี้เป็น "ต้นน้ำ" แต่ถ้าหากยามใดที่ "ดูลมหายใจแล้ว ลมหายใจเป็นกาย หรือ เป็นลมหายใจไปเลย" ตรงนี้เป็น "ปลายน้ำ" ให้ชี้ขาดที่ Subject หรือ Object เท่านั้น

    +++ อาการของ "กลางน้ำ" ตรงนี้เป็น Action ล้วน ๆ ในบริเวณนี้เป็น "กิริยาจิต" ทั้งหมด และ ตรงกลางน้ำทุกชนิด จัดเป็น "อเหตุกจิต" ทั้งหมดด้วยเช่นกัน ในโพสท์นี้ หากเกี่ยวข้องกับเรื่องของ "อายตนะ 6" ก็จะกล่าวแต่เพียงคร่าว ๆ เท่านั้น เพราะไม่งั้น จะยาวจนเกินเหตุ ตรง "กลางน้ำ" นี้ จะพูดแต่ "อาการของ กิริยา" โดยเฉพาะ เท่านั้น

    +++ "กิริยาจิต" ที่เป็นตรง "กลางน้ำ" นี้ เรียกได้หลายภาษาและเป็น "อเหตุกจิต" ทั้งหมด ภาษาตรงนี้คือ "อาการส่งออก ของจิต" ไม่ว่าจะเป็น "ปัญจทวาราวัชชนจิต" (ตาหูจมูกลิ้นกาย) รวมทั้ง "มโนทวาราวัชชนจิต" (มโน นึกคิด รูปกรรมฐาน ทั้งหมด) ที่สามารถ สรุปลงตัวออกมาเป็น "อายตนะ 6" นั่นเอง ตรงนี้จะตรงกับ "โพสท์ที่ 5 ในหน้าแรก" ตรงสติระดับ 4 "การกำหนดจิต ทั้งหมด ถูกรู้"

    +++ "ต้นน้ำ" เป็น Subject เป็นส่วนของ "เหตุ" ตรงนี้จะตรงกับ "โพสท์ที่ 5 ในหน้าแรก" ตรงสติระดับ 5 "อยู่กับตน" หรือ "เป็น ตัวดู" นั่นเอง

    +++ "กิริยาจิต" นั้นเป็น "อเหตุกจิต" ทั้งหมด แต่ "ตัวเหตุ ที่เป็น เหตุกจิต" อยู่ที่ "ตัวดู หรือ ผู้สร้างเหตุ" ตรงนี้ กรรมฐานสายใดก็ตาม ที่เน้นตรงนี้ นับว่าใกล้กับ มรรคผลนิพพาน ที่สุด

    +++ กรรมฐาน ที่เป็นส่วนของ "ต้นน้ำ" เช่น อานาปานสติ ที่ "รู้" ลมหายใจ ยามใดที่ "ลมหายใจถูกรู้" ตรงนั้นเป็นการ "เห็นขันธ์ แยกตัวออกไป" แล้วกลับมาเป็น "ตนที่ ครอง กายาทั้งแท่ง" จนเกิดอาการเต็มสูตรของ "กายานุปัสสนามหาสติปัฏฐาน" แบบเต็มใบ เข้าใจว่า หลวงพ่อเทียน เน้นตรงนี้ด้วยเช่นกัน

    +++ ยามใดที่ได้ "กายานุปัสสนามหาสติปัฏฐาน" แบบเต็มใบแล้ว "รู้" จะคลุมอยู่ข้างนอก เป็น มหาสติ แต่ยามใดที่ "เกิดกายเวทนา" แล้ว "รู้" อยู่ข้างใน ตรงนี้เป็น "มหาปัฏฐานสูตร" เบื้องต้น คือมี กายเวทนา เป็น ใส้เทียน หรือ เกิด กายในกาย นั่นเอง ตรงนี้จะเว้นไว้ เพราะกล่าวมามากแล้วในกระทู้นี้

    +++ เรื่องของ "ต้นน้ำ" หรือ ตัวดู นี้ ในยามใดที่ "รู้และควบคุมมันได้" ก็จะรู้ได้เองว่า "การฝึกกรรมฐานทั้งหมด" อยู่ที่ตรงนี้ ไม่ว่าจะเป็น "กสิณทั้ง 10" กองก็ตาม เกิดจาก "ตัวดูต้นน้ำ" ทำการส่งออกเป็น "กิริยาจิต กลางน้ำ" ไปยังจุด "touch down หรือ จุดตกกระทบ ปลายน้ำ" ที่เป็น "รูปกสิณ" ทั้งหมด โดยทำการ "ควบคุมที่ ต้นน้ำ" ไม่ให้กลายตัวมาเป็น "กสิณโทษ ที่ปลายน้ำ" และในยามใดที่ ควบคุมได้ "กระแสส่งออก" ก็จะเกิดเสถียรภาพ ทำให้ "ตัวดู" เป็น เอกัคตารมณ์ ตรงนี้คือ "พลังกสิณ"

    +++ ดังนั้นทั้งหมดอยู่ที่ "การควบคุมเหตุ" คือ ตัวดูที่เป็น Subject ตรงนี้เท่านั้น ยามใดที่ตัวดูหยุดการ "ส่ายแส่และเกิดเสถียรภาพ" ยามนั้น "ตัวดูเป็นฌาน" เท่านั้นเอง

    +++ ตรงนี้แบ่งเป็น 3 ระดับ คือ

    1. ยามใดที่ ตัวดู "หยุดแต่ไม่สนิท" ยังมีการ "ขยับตัวแต่ไม่ส่งออก" ตรงนี้แหละ คือ อาการของ เนวสัญญานาสัญญายตนะ การขยับตัวของตัวดูทุกครั้งในฌาน มาจากสัญญาทั้งสิ้น (เหตุ) เพียงแต่ "สัญญา ไม่สามารถกำเริบออกมาเป็นสัญญา ได้" เป็นอาการของ "ผลไม่ปรากฏ" ดังนั้น ผู้ที่ ระบุ ตรงฝ่ายเหตุ ย่อมกล่าวว่า "เป็นสัญญาได้" ส่วนผู้ที่ ระบุ ตรงฝ่ายผล ย่อมกล่าวว่า "เป็นสัญญาไม่ได้"

    2. ยามใดที่ ตัวดู "หยุดแบบสนิท" ไร้การ ขยับตัวทั้งหมด ตรงนี้ "ผู้ที่เป็นตัวดู จะไม่สำเหนียก" ถึงเวทนาที่เป็น Object อื่นใดเลย จึงสำคัญว่า "ไม่มีเวทนาและสัญญา ที่เป็นตน" ตรงนี้ แยกเป็น 2 ชนิดอีกเช่นกัน 1. หากเป็นการฝึกสมาธิที่มุ่งแต่เฉพาะปลายน้ำ ตรงนี้จะทำให้ "ไม่มีสติ" และจะทำให้ตกลงสู่ "อสัญญีภูมิ" 2. หากเป็นการฝึกสมาธิที่มุ่งตรงต้นน้ำ ตรงนี้จะทำให้ "มีสติเต็มใบ" และจะเป็น "สัญญาเวทยิตนิโรธ" แต่ยังมี "ความเป็นตน" เหลืออยู่ ครูบาอาจารย์บางท่างจึงกล่าวได้อย่างตรงไปตรงมาว่า "พระอนาคามี" ทำได้

    3. ยามใดที่ ตัวดู "หยุดสนิท" แล้ว "สติสามารถแยกตัว" ออกมาจาก ตัวดู ได้ ก็จะทำให้ ตัวดูสิ้นสภาพ จางคลายสลายไป ตรงนี้จึงเป็น "สัญญาเวทยิตนิโรธ" ชั้นสุดท้าย ที่ไม่มี "ตน" เหลืออยู่เลย
    ===========================================================
    +++ คราวนี้ มาดูอาการของ เมิล บ้าง ตรง ("เป็นรู้" แบบปัฎฐาน แล้ว ฟังเพลง มีอยู่ช่วงหนึ่งที่ "จะ" วูบลงมาจะเป็นขันธ์ แต่ยังไม่เป็น ตนยังไม่เกิด เมิล "ตรึง" วูบนั้นไว้แล้วเป็นรู้แบบข้างนอกแทน)

    +++ ขณะที่ "เป็นรู้แบบปัฎฐาน" นั้น ตัวดู (วิญญาณขันธ์) มีอยู่แล้ว แต่ "ไร้ความเป็นตน"

    +++ ในช่วงที่ "จะ" วูปมาเป็นขันธ์ ตรงนั้น "ตัวจะ" เกิดขึ้น โดยมี ตัวดู เป็นผู้ผลิต แล้วเกิด "การรู้เท่าทัน" ตัวดู จึงทำการ "เพิกถอน" ออก ดังนั้นจึงระงับ "การเป็นขันธ์" ลง

    +++ ตรงนี้เท่านั้นจึงเป็น "การเห็น" อาการ "เกิด-ดับ" ของจริง ซึ่งอยู่ในชั้นของ เนวสัญญานาสัญญายตนะ ในระดับ "สติปกติ" นอกนั้น ของปลอมทั้งหมด

    +++ ตรงนี้ เป็นวงจรในระดับ "1 วาระจิตหยาบ" ต่อไปให้ "รู้" ที่ 1. อาการ "เกร็ง" ของตัวดู (ขยับตัว) ก่อนอาการ 2. "บีบตัว" แล้วส่งออกก่อให้เกิด 3. กิริยาจิต ประดุจ หัวเรือแหวกน้ำไป 4. ตัวดู รู้ กิริยาจิต จากนั้น 5. ตัวดู หยุดการขยับตัว และสิ้นสุดการตาม

    +++ จากนั้น ตัวดู หยุด แล้วจึงเกิด "การเดินจิตครั้งสุดท้าย" ออกมาจาก ตัวดู ทั้งหมดนี้เป็น "วิมุติญาณทัศนะ" เพียงแต่ ทำบ่อย ๆ ก็จะละเอียดไปเรื่อย ๆ เอง

    +++ ตรงนี้ให้ซ้อมไว้เรื่อย ๆ เป็นเรื่อง "อจินไตย" ทั้งหมด รวมทั้ง โยกย้าย ไปตามขันธ์บริวารต่าง ๆ ที่เป็น "สะหะชาตะปัจจะโย"

    +++ นั่นแหละคือ "อาการที่ยืนยันว่า ตัวดู คือ ตัวทุกข์" นั่นเอง ดังนั้น หากต้องการที่จะ "ออกจากทุกข์" ก็ต้อง "ออกจากตัวดู" แล้วกลายมา "เป็นรู้" เท่านั้นแหละ

    +++ ให้อยู่อย่างนี้ไปเรื่อย ๆ ไม่นานก็จะเริ่ม "เห็นเหตุ" อันเป็น "เหตุปัจจะโย" ที่เป็น "อณู" Object ที่ทำให้เกิด "คลื่นผิวน้ำ" แล้วก่อให้เกิด "การรวมตัวเป็นสภาพ" อันเป็นสภาวะของ "อารัมมะณะปัจจะโย" ตรงนี้ "หากอยู่วงนอก" ไปเรื่อย ๆ ก็จะเป็น "มหาปัฏฐานสูตร" แต่ถ้าหากเข้ามา "อยู่วงใน" เมื่อไรก็จะเป็นวงจรของ "ปฏิจจะสมุปบาท"

    +++ ตรง "อารัมมะณะปัจจะโย" ในมหาปัฏฐานสูตร ตรงนี้เป็นจุดเริ่มต้นในวงจรของ ปฏิจจะสมุปบาท ที่ขึ้นต้นด้วย "อวิชชา ปัจจะยา (ปัจจะโย) สังขารา"

    +++ ทั้งหมดขึ้นกับว่า "สภาวะรู้" อยู่ วงนอก หรือ วงใน เท่านั้นเอง

    +++ ถูกแล้ว "เป็นรู้" อย่างเดียว "ไม่เป็นอย่างอื่น" ก็จะเป็นอาการที่ หลวงตามหาบัว กล่าวไว้ว่า "น้ำกลิ้งบนใบบัว" ไม่เกลือกกลั้วระคนกัน นั่นเอง

    +++ ยามใดที่ "ตัด" ภาษาอันเป็นเรื่อง "ร้อยลิ้นกะลาวน" ออกไปได้ ยามนั้นก็ย่อมเหลือแต่ "เจตนา" ที่ปรากฏออกมา ตรงนี้เป็น "สัจจธรรมตามธรรมชาติ" ด้วยตัวของมันเอง

    +++ สรรพสิ่ง ย่อม เกิดมาจาก "เหตุ" ทั้งสิ้น หาก เหตุไม่ได้มาจากจิตเรา ก็ย่อม มาจากจิตอื่น เพียงแต่ว่า เราทัน "ตัวจะ" ที่มาจาก จิตอื่น หรือไม่ เท่านั้น นะครับ
     
  13. เมิล

    เมิล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    421
    ค่าพลัง:
    +3,132
    เมื่อวานไปดู Jurassic World มา เลยได้ฝึกการบ้าน รู้อาการเกร็งตัว บีบตัวของตัวดู หนังเรื่องนี้เป็นอุปกรณ์ฝึกได้ดีทีเดียว
    ตัวดูเกร็งแล้วตรึงอาการเกร็งไว้ ปรากฎเกร็งทั้งกาย แต่ยังเป็นรู้อยู่ มองระดับ 3
    รู้ทั้งหนังพร้อมๆกับรู้อาการของกายรวมทั้งรู้อาการของตัวดู แต่จริงๆ รู้ก่อนว่ามันจะหดละ ก่อนแป๊ปหนึ่ง
    ช่วงที่ดูรู้สลับกันในขันธ์กับนอกขันธ์ เริ่มจากรู้ในขันธ์พอรู้ว่าตัวดูจะหดออกมาเป็นรู้นอกขันธ์แทน ตรึงไว้ กลับมาในขันธ์ใหม่
     
  14. ธรรม-ชาติ

    ธรรม-ชาติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    2,566
    ค่าพลัง:
    +9,966
    +++ ดีมากละเอียดขึ้นไปเรื่อย ๆ ต่อไปให้จับอาการ 3 จังหวะนี้ไว้ให้ดีคือ 1. เกร็ง 2. บีบ 3. ส่งออก

    +++ ให้เทียบ 3 จังหวะนี้ให้ดีว่า จะตรงกับคำพูดของพระพุทธเจ้าที่กล่าวไว้ว่า "เปรียบดัง บุรุษคู้แขนเข้า แล้ว เหยียดแขนออกด้วยกำลัง" หรือไม่

    +++ ให้ทำทบทวนไปมาดังนี้

    +++ 1. เมื่อเป็น "รู้" อาการ 1. เกร็ง = การรวมตัวของพลังงาน (ธรรมารมณ์) 2. บีบ = เป็นอาการเล็งศูนย์ 3. ส่งออก = ยิงเป้าหมาย
    +++ ทั้ง 3 ประการ ออกมาเป็นลักษณะแบบ "ไส้เทียน ลำเปลวเทียน และ ปลายเปลวเทียนที่ชี้เป้า" หรือไม่

    +++ 2. เมื่อเป็น "รู้" แบบ "มหาสติปัฏฐาน 4" "รู้" จะอยู่ข้างนอก เปรียบเหมือน เราอยู่ตรง "ปากกรวยขาเข้า" หรือไม่ ตรงนี้ ให้สังเกตุให้ละเอียด แล้ว ตรงอาการที่ 1 "เกร็ง" นั้น ก่อนอาการเกร็งจะเกิดขึ้น ตรงนี้จะมี "อาการก่อหวอด" ที่มีสภาพท่ามกลาง "ความว่าง" หรือไม่

    +++ อาการ "ก่อหวอดที่มีสภาพท่ามกลางความว่างแห่ง สภาวะรู้" นี้ใช่ "ธรรมารมณ์" ชนิดหนึ่งในชั้น "อรูปฌาน" หรือไม่
    +++ ยามใดที่ "อรูปที่มีสภาพ" ตรงนี้ก่อตัวขึ้น จะบดบัง "สภาวะรู้" ใช่หรือไม่
    +++ อาการ "อรูปที่มีสภาพ" นี้คือ "การก่อตัวของ อวิชชา" ใช่หรือไม่ ให้ตรวจสอบอาการเหล่านี้ "ให้ชัดเจน"

    +++ 3. เมื่อเป็น "รู้" แบบ "มหาปัฏฐานสูตร" ตรงอาการ 1 "เกร็ง" ให้ "รู้" ตรงนี้ให้ชัดเจนว่า "ความเป็นตน หรือ อัตตาจิต" ยังไม่สามารถเกิดขึ้นได้ ใช่หรือไม่ ต่อมา ตรงอาการ 2 "บีบ" ความเป็นตน รวมทั้ง "อาการดู หรือ ตัวดู" ปรากฏขึ้นมาแล้วความเป็น "ตัวตน" ปรากฏในขั้นตอนนี้ หรือไม่ จากนั้น 3 "ส่งออก" หากเรา "เป็นตัวดู" ตรงนี้เป็นการ teleport ตัวดู ใช่หรือไม่

    +++ และอาการ teleport ตัวดูนี้ "เปรียบดัง บุรุษคู้แขนเข้า แล้ว เหยียดแขนออกด้วยกำลัง" หรือไม่ ทั้ง 3 ข้อนี้ ให้ตรวจสอบใช้ชัดเจน
    +++ การ "teleport ตัวดู" เป็นภาษาในกระทู้นี้เท่านั้น ส่วนภาษาใน Line ก็คือ "การทำตัวลั้ลล้า" ที่เกิดจาก สมาชิกผู้หนึ่งทำ teleport ตัวดูออกไป ลั้ลล้า ในห้องอาหาร ในรอบการฝึกที่ระยองที่ผ่านมา ก็เลยเรียกมันว่า "ตัวลั้ลล้า" นั้นเอง

    +++ ตรงนี้ให้ ชัดเจน ไว้ประการหนึ่งว่า "การฝึกมหาสติปัฏฐาน 4" นั้นเป็นการฝึกภาค Static จนถึง "สภาวะรู้" ส่วนการ "ฝึกในภาคมหาปัฏฐานสูตร" นี้เป็นการนำ "สภาวะรู้ที่เป็น Static" มา "อยู่" ท่ามกลางของสภาวะ Dynamics ดังนั้น ผู้ที่ยังไม่ได้ "เป็นสภาวะรู้" จึงยังไม่สามารถ "เข้าใจและเห็นอาการได้" ภาคนี้จึงเป็นภาคแห่งการ "เห็นขันธ์ เรียนรู้ขันธ์" จนเกิด "อภิปัญญา ในการ ใช้ขันธ์"

    +++ ตรงนี้ สามารถระบุชี้ได้อย่าง ชัดเจนว่า "ตัวดู มีอิทธิพล ต่อกาย" ระดับใด หากสังเกตุและเรียนรู้ "ความสัมพันธ์ระหว่าง ตัวดู กายจิต กายเวทนา และ กายเนื้อ" ทั้งหมดได้ ต่อไปก็จะสามารถ "เข้าใจ และ ใช้งาน" ในเรื่องของ "ธรรมโอสถ" ได้ไม่ยาก

    +++ "ก่อนจะหด" จะเป็นอาการ 1. เกร็ง 2. บีบ (ตรงนี้แหละ หด) 3. ส่งออก

    +++ ให้ทำตรงนี้ต่อไปเรื่อย ๆ จนถึงระดับที่ สามารถทำ "รู้ในขันธ์" และ "ส่งออกไปกับขันธ์" โดย "เป็นรู้ข้างในขันธ์" ตลอดเวลาได้ ตรงนี้ก็จะเป็นการเรียนรู้แบบ Static ภายใน "อจินไตยแห่ง Dynamics" ได้ และจะเริ่มเข้าใจในส่วนที่เป็น "สังสารวัฏ" ไปเรื่อย ๆ แต่ให้ทำใจไว้ว่า "เข้าใจและรู้เรื่องได้เท่าไร ก็ได้เท่านั้นก็แล้วกัน" เพราะ สังสารวัฏ นั้นกว้างใหญ่ และ ความซับซ้อนของมิติ มีอยู่อย่าง "ไม่มีที่สิ้นสุด" ในแต่ละมิติหลัก ก็ยังมี มิติย่อย ทับซ้อนกันอยู่ ทั้งแบบ "บางส่วน และ เต็มส่วน" ทั้ง "ข้างใน และ ข้างนอก" ตลอดเวลา

    +++ ยามใดที่ปัก "ปัฏฐาน" ได้จนเป็น "อธิปะติปัจจะโย" ได้แล้ว ก็จะเห็นการ แตกขันธ์บริวารแบบนับไม่ถ้วน "อนันตะระปัจจะโย" เป็นการแตกตัวออกโดยพร้อมเพรียง "สะมะนันตะระปัจจะโย" ความหลากหลายในแต่ละตัวเป็นอเนกอนันต์ "สะหะชาตะปัจจะโย" อาการตรงนี้แหละที่จะปรากฏในยามที่ "เป็นรู้ในขันธ์ และ ส่งออกไปพร้อมกับขันธ์" จากนั้นก็จะ "เห็นอาการในย่อหน้าข้างบน ได้อย่างชัดเจน" นะครับ
     
  15. Apinya17

    Apinya17 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    775
    ค่าพลัง:
    +3,023
    เหตุเกิด ณ ห้องซาวน่า ถ้าใครเคยเข้าห้องซาวน่าก็จะรู้ว่า ต้องทำตัวเงียบ นั่งนิ่งๆ ในกรณีไม่มีเพื่อนคุย อารมณ์นี้เกิดเหมือนสายฟ้าแลบ นั่งมองไอน้ำแบบมองระดับสาม ณ เวลานั้น เสมือน ไม่มีตัวตนในห้องนั้น เบา สบาย โพดๆ แต่จริงๆมีชาวบ้านที่ไม่รู้จักนั่งอยู่ด้วยสองคน เดินเหมือนจะลอยออกมาจากห้องซาวน่า ^____^

    จากวันนั้นมาถึงวันนี้ เข้าใจแล้วว่าสติไม่เคยหลับไหลจริงๆ แม้แต่ยามหลับดึกดื่น จิตสังขารทำงาน แต่ตัวรู้ไวเท่ากัน

    ไม่รู้เกิดที่ไหน รู้ก็มีที่นั้นด้วย ไม่เหมือนสมัยก่อนเลย ติดกันหนึบหนับ ตอนนี้มันเหมือนปะกันได้ไม่สนิทแล้ว


    มาดันกะทู้ค่ะ อัพๆๆๆ
     
  16. ธรรม-ชาติ

    ธรรม-ชาติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    2,566
    ค่าพลัง:
    +9,966
    +++ ตรง "อารมณ์นี้เกิดเหมือนสายฟ้าแลบ" นั้น ให้ลอง map จิตกลับไปให้ดี ๆ แล้วดูว่า มันตรงกับอาการ "ดับจิตในสภาวะปกติ" หรือไม่

    +++ มันจะเป็นอาการ "ดับตัวดู" ที่นาม แต่ทำให้ รูป ดับไปด้วยกันทั้งหมด

    +++ เมื่อไร้ "ตัวดูทั้ง รูปและนาม" แล้ว สภาวะทั้งหมดก็จะ "เป็นรู้ หรือสภาวะรู้" แต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น

    +++ ตรงนี้ จะทำให้เหมือนกับ "การมองระดับ 3" แต่ละเอียดกว่ากันมาก คือ "ไม่มีทั้ง รูปและนาม รวมทั้ง อัตตา ด้วย"

    +++ อาการในขณะที่เป็นนั้น จะเหลือแค่ "ไม่มีตัวตน เบา สบาย โพดๆ เดินเหมือนจะลอย" แต่จะ "เป็นรู้ บริสุทธิ์ ชัดเจน"

    +++ ตอนนี้ "การฝึกที่บ้านลาดพร้าว" กำลังถึงตรงนี้ คือ "ฝึกการดับจิต" ทิ้งไปเลย แต่ยังอยู่ในขณะที่ยังต้อง "หลับตา" อยู่ อีกไม่กี่ยก ก็น่าจะฝึก "ดับจิตในสภาวะปกติลืมตา" ได้

    +++ "การฝึกดับจิต" ที่ฝึกให้ในขณะนี้ คือ "ดับจิตทิ้งไป ความรู้สึก นึก คิด รวมทั้ง การเดินจิตทั้งหมด ไม่สามารถปรากฏได้ ในขณะที่ดับสนิทนี้"

    +++ ทั้งหมดจะอยู่ที่ "การเฉลยปริศนาว่า แล้ว จิตมันจะถอนตัวออกมาได้อย่างไร" จากสภาวะของ นิโรธสมาบัติ ตรงนี้

    +++ เกือบทุกคน สามารถ "เห็นอณู" ได้แล้ว และสามารถ สรุปออกมาได้ชัดเจนว่า "สภาวะของ ทั้ง สังขตะธรรม และ อสังขตะธรรม ล้วนมีมาก่อน นานมาแล้ว ทั้งคู่" (Static VS Dynamic ในโพสท์แรกของกระทู้นี้)

    +++ และสาเหตุที่ "สามารถ ถอนจิต ออกมาจาก นิโรธสมาบัติ" ได้นั้น หากไม่มี "อณู หรือ อนุภาคอิสระ" ตรงนี้แล้ว "การถอนจิตจาก นิโรธ" จะทำไม่ได้เลยเป็นอันขาด

    +++ นิโรธ จะไม่เหลือความเป็น "อัตตาจิต" อยู่เลย ดังนั้น "การถอนจิต" จะบังเกิดขึ้น "ไม่ได้" รวมทั้ง "การเดินจิตทุกชนิด" จะไม่สามารถเกิดขึ้นได้เลย

    +++ นี่แหละสภาวะที่ "ไร้รูป ไร้นาม ไร้อัตตา ดับสนิท" หากไม่ถึงสภาวะนี้แล้ว ก็จะไม่สามารถ "เห็นเหตุเกิดของ อัตตาจิต" ได้เลย

    +++ นี่แหละ "เหตุปัจจัยโย คือ อณูหรืออนุภาคอิสระ นั่นเอง" และในยามใดที่ "เกิดหย่อมความกดเมื่อไร อารัมณะปัจจัยโย หรือ อวิชชา ก็เกิดเมื่อนั้น" ยามใดที่ทั้ง 2 สิ่งประกบตัวเข้าหากันเป็น "วังวนแบบ ตาพายุและตัวพายุ" แล้ว "อธิปปะติปัจจัยโย หรือ อัตตาจิต" ก็ย่อมเกิดขึ้น "เป็นธรรมดา" จากนั้นก็ฝึกต่อไปตามสาย ปฏิจจะสมุปบาท จนกว่าจะสิ้นสงสัยในสภาวะธรรม

    +++ การฝึกที่บ้านลาดพร้าวนั้น ไม่มีการจำกัดเวลาเหมือนกับ การฝึกที่คอนโด ดังนั้น การฝึกจึงเน้นที่ การเก็บรายละเอียดรวมทั้ง ความชำนาญไปเรื่อย ๆ เช่น การฝึก จิตเปล่งรังสี นั้น ผมทวนทุกยก หากจะนับจริง ๆ ก็เป็น สิบ ๆ ครั้งขึ้นไป แต่ในปัจจุบัณ ณ ขณะนี้ ผมเริ่มต้นที่การ "ดับจิต" ตรงนี้ถือเป็น "ต้นยก หรือ เริ่มยก" ที่ตรงนี้ ดังนั้น "การดับจิต" จึงเป็นเรื่อง "ปกติวิสัย" ของที่นี่ในขณะนี้ ต่อจากนั้น จึงเริมที่ "อนุภาคอิสระ หรือ อณู" จนกว่าจะ "เห็นอาการ ของการกำเนิดตน ให้ชัดเจน" ตอนนี้ ผู้เรียนก็ยังต้อง เรียนไปเรื่อย ๆ ก่อน

    +++ ให้สังเกตุไว้อย่างหนึ่งว่า คำศัพท์คำว่า "ตัวรู้ หรือ ผู้รู้" นั้น ผมจะ "ไม่" นำมาใช้เลย คำศัพท์พวกนี้ "ระบุถึง ความมี และ ความเป็น ตัวตน" อย่างชัดเจน ซึ่ง ตามความเป็นจริง ตามสัจจะธรรม แล้ว "ความมี และ ความเป็น ตัวตน" ของมันนั้น "ไม่สามารถปรากฏได้" ผมจะใช้เพียงคำว่า "สภาวะรู้ หรือ รู้" เฉย ๆ เท่านั้น

    +++ ดีแล้ว "ไม่รู้ เป็นนาม" ส่วน สภาวะรู้ พ้นแล้วจาก "ทั้งรูปและนาม" ดังนั้น จึงสามารถพ้นจากทั้ง "รูปและอรูป" ภพภูมิ ได้ทั้งหมด นี่แหละคือ "การล่วงพ้นจาก 3 โลก" (ตามภาษาแบบ ภพภูมิ)

    +++ และตรงนี้แหละ คือ "เหมือน น้ำกลิ้งบนใบบัว แต่ ไม่เกลือกกลั้วระคนกัน" แบบ หลวงตามหาบัว และที่สำคัญที่สุดคือให้ "รู้ว่า ไม่รู้ มีอยู่ แต่ ต่อกันไม่ติด" แค่นี้ก็เอาตัวรอดได้ สบายบรื๋อแล้ว

    +++ (good)
     
  17. สัมภิทา

    สัมภิทา Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    15
    ค่าพลัง:
    +77
    ผมมาอ่านช่วงหลังๆมึนมากเลยครับลูกศิษย์แต่ละท่านไปไกลมาก
    ...แต่มีความประทับใจตามรายทางที่ผ่านช่างตรงตามที่อาจารย์บอกไว้ทุกประการ เช่น ข้อ4.การกำหนดจิตทั้งหมดถูกรู้ ......รู้จักการทำงาน1วาระจิตเป็นอย่างดี..(เจอมากด้วย)
    5. "อยู่กับตน" สภาวะของผู้ฝึกในระดับนี้ จะมี "สติ" เป็นลักษณะเด่น มี
    "ความรู้สึกแห่งจิต" ชัดเจน...(พบแล้ว)
    ไม่มีความต้องการ เสพอารมณ์ภายนอก รวมทั้ง ไม่มีความต้องการ เสพอารมณ์จากความคิดตน ....(พบแล้ว)
    รู้อากับกิริยาอาการของจิตตน ชัดเจน...(พบแล้ว)
    มีความสามารถในการ "หยุดกิริยาจิต" ได้..(พบแล้ว)
    และผู้ฝึกในขั้นตอนนี้มักจะอยู่ในสถานะของ "ผู้ทรงฌาน"...(ไม่แน่ใจแต่รู้ว่าเรามาอยู่กับความรู้สึกแห่งจิตแทนที่จะอยู่ในกายเป็นพลังที่แผ่คลุมตัว)
    และถ้าหาก สามารถไล่เรียงสภาวะของ "อารมณ์เด่นอารมณ์เดียวได้" ก็จะสามารถเข้าถึงสภาวะของ "จิตเปล่งรังสี" ได้..(.อันนี้ยังไม่ถึง อารมณ์เด่นอารมณ์เดียว..ยังไม่เข้าใจ)
    ผู้ที่อยู่ในระดับนี้จะ รู้ตนอย่างชัดเจนว่า "การฝึกยังไม่จบ" แม้ว่าจะไปเทียบเคียงกับตำราใดก็ตาม ที่กล่าวว่าเป็น "บุคคลที่ฝึกจบแล้ว" แต่ ตนก็ยังรู้ตน ชัดเจนว่า เรื่องยังไม่จบตรงนี้ จากนั้นไม่นาน ก็จะเริ่มเข้าสู่ขั้นตอนของการ "ดูตน"
    สรุป..ตอนนี้เหมือนเรามาอยู่ความรู้สึกที่แผ่รอบตัว(แถวหน้าอกจะเข้มหน่อย)ไม่ได้ที่กาย(ความรู้สึกกายจะจางไป)ครับ
    เจอที่อาจารย์บอกแล้วครับ...+++ อาการ "แผ่ซ่าน" นี้ มีอยู่แล้วตามธรรมชาติ ในร่างกายมนุษย์ทุกคนที่ยังหายใจอยู่ เพียงแต่ไม่ค่อยจะมีใครสนใจและ "อยู่" กับมัน

    +++ อาการนี้คือ "พลังงาน" ที่แฝงอยู่กับร่างกายมนุษย์ หากอยู่กับมันได้ดี มันก็จะกลายมาเป็น "กายพลังงาน" ของเรา และตรงนี้ผมเรียกมันว่า "กายเวทนา" นั่นเอง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 กรกฎาคม 2015
  18. ธรรม-ชาติ

    ธรรม-ชาติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    2,566
    ค่าพลัง:
    +9,966
    +++ ส่วนใหญ่ ผู้ที่มีโอกาสได้มาฝึกต่อหน้า จะไปได้เร็วและไกล เพราะลักษณะการฝึก จะเป็นแบบที่เรียกกันว่า "การสอบจิตในปัจจุบันขณะ" โดยใช้สถานการณ์จริงที่มีอยู่ในปัจจุบันขณะ มาเป็นอุปกรณ์ในการฝึก และทุกอย่างจะเป็นแบบ "ธรรมะวิจัยยะ" ล้วน ๆ ใช้ "การเดินจิต" ในขณะนั้น ๆ เพื่อเรียนรู้สภาวะการณ์ในปัจจุบันทั้งสิ้น

    +++ ใน 9 ข้อ ของโพสท์ที่ 5 ในหน้าแรกนั้น เป็นการ "เรียงลำดับอย่างหยาบ ๆ เท่านั้น" แต่ก็ถือได้ว่าเป็น บันทัดฐาน ที่เพียงพอต่อการตรวจสอบตนในการฝึกได้

    +++ จริง ๆ แล้ว ผู้ที่ได้ "ความรู้สึกที่เต็มทั้งกาย" ก็เป็นผู้ที่ "อยู่ในฌาน 2" เรียบร้อยแล้ว เพราะมีองค์ประกอบของ "สัมปะชัญญะ 4 + ปิติ 5" ครบถ้วน

    +++ ส่วนการเดินจิตไปมาตามหลัก "วสี 5" นั้น ก็คือ ฌานที่ 1 อย่างเต็มตัว โดยมี "การกำหนดจิต คือ วิตก" และ "ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น คือ วิจารณ์" นั่นเอง

    +++ หากสังเกตุให้ดี จะเห็นได้ว่า "จิตเปล่งรังสี" นั้น จะตรงกับ "อาการของคำพูดที่ว่า ผู้เบิกบาน" นั่นเอง และ ก่อนจะถึงตรงนี้ ต้องผ่านอาการ "ตื่น หรือ ผู้ตื่น" มาก่อนทั้งสิ้น

    +++ ถึงตรงนี้แล้วก็คงจะเห็นได้ชัดเจนว่า "พุทโธ คือ อาการของ ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน" นั่นแหละ แต่ "ผู้รู้" ตรงนี้ยังเป็น "โลกียะ" อยู่ แต่ผมพยายาม "ใช้ภาษาที่ตรงกับอาการ" ดังนั้นจึงใช้คำว่า "จิตเปล่งรังสี" แทน และอาการของ "ประภัสสร" นั้น ก็จะตรงกับ "จิตเดิมแท้ เปล่งประกายประภัสสร" หรือ "อาภัสสระพรหม" นั่นแหละ

    +++ อาการตรงนี้ ต้องเข้าสู่ อาการ "เฉย อุเบกขา" ใน รูปฌาน 4 ให้ได้ก่อน จากนั้นจึงเข้าสู่อาการ "รู้" และ "ว่าง โล่ง" จากนั้นจึง "เหลือแต่ สภาพอาการ ทางจิตล้วน ๆ" สภาวะความ "เป็นรูป และ เป็นกาย" จะไม่สามารถเกิดขึ้นที่ตรงนี้ได้เลย

    +++ จากนั้นจึง กลับสู่ "อาการเฉย" อีกครั้ง แต่ในครั้งนี้ จะเป็น "อรูป" ล้วน ๆ จากนั้น ให้ทำการ "อยู่ย้าย" เข้าไปยัง "ใจกลางของสภาพเฉย" ก็จะเกิดอาการ อาการ "แหวกตัวออกของสภาพ" และในขณะที่ "กำลังแหวกตัวออกนั้น" อาการ "ตื่น" จะบังเกิดขึ้นมาเอง และให้ "อยู่" ในอาการ "แหวกออก" ไปเรื่อย ๆ อาการ "แผ่ซ่านกระจายตัวออก" ก็จะเกิดขึ้น จากนั้น อาการ "เปล่งรังสี" ก็จะสามารถปรากฏมาได้

    +++ ตรงนี้ อาจทำไม่ได้กันทุกคน แต่อาการ "ตื่น" มักจะได้กันเป็นส่วนใหญ่

    +++ ตรงนี้แหละสำคัญ "อาการแห่งความเป็นตน" นั้นยังมีอยู่เสมอ โดยเฉพาะ "ในระดับ อรูป ชั้นสุดท้าย" และที่สำคัญคือ "อาการที่เป็นตน หรือ ตัวดู หรือ อัตตาจิต" นี้ "ตัวมันเองเป็น อรูป" อีกด้วย ดังนั้น "ผู้ที่พ้นความเป็นตน โดยไม่ผ่านอรูป" จึงเป็นไปไม่ได้เลย

    +++ การ "ดับ หรือ หยุด" ความนึกคิดได้ ยังเป็นเพียงแค่ "รูป" เท่านั้น การหยุดหรือดับที่แท้จริงอยู่ที่ "การดับตน" ที่เป็น "นาม" ส่วนที่เรียกกันว่า "การดูจิตเกิดดับ" นั้น จริง ๆ แล้ว "ต้องดูที่ ความเป็น ตน เกิดดับ" จนชำนาญ และหากจะไปให้ถึง "การสิ้นสงสัยในธรรม" แล้ว ควร "รู้แจ้ง ในกระบวนการเกิดแห่ง ตน" ให้ถ่องแท้

    +++ ยินดีด้วยครับ ตอนนี้ให้คุณ PM ติดต่อกับคุณ อินทรบุตร เพราะ ผู้ฝึกใหม่อีกกลุ่มหนึ่ง กำลังจะเริ่มรวมตัวกันฝึกในรุ่นต่อไปเร็ว ๆ นี้แล้ว น่าจะเริ่มต้นได้ "ในพรรษานี้" นะครับ
     
  19. เมิล

    เมิล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    421
    ค่าพลัง:
    +3,132
    เมื่อคืนฝันเห็นงูเห่าตามอยู่ห่างๆ
    ในฝันรู้ว่าฝัน และรูปที่เห็นอยู่ไม่ใช่เรา แต่ก็ไม่ได้ดับหรือย้ายออกแค่รู้ว่ามันไม่ใช่เราเฉยๆ
    เหมือนมีรู้เป็น background

    เช้านี้ตื่นมาเห็นอะไรวิ่งไปมาในอากาศ คล้ายๆมิราจ บางอันมีประกาย บางอันไม่มี
    ไม่ใช่วุ้นในตานะ เพราะถ้าเป็นวุ้นในตาจะมีลักษณะเป็นเส้นด้ายและจะลอยลงมาเสมอ

    ยังเป็นเอเลี่ยนอยู่ เป็นเยอะขึ้นเรื่อยๆ
     
  20. ธรรม-ชาติ

    ธรรม-ชาติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    2,566
    ค่าพลัง:
    +9,966
    +++ อาการที่ "มีรู้เป็น background" นั้น เป็นอาการที่ ครูบาอาจารย์ ท่านไปมาตามภพภูมิต่าง ๆ อยู่เสมอ ในยามที่ท่านต้อง "ใช้ขันธ์" เมื่อเสร็จกิจแล้วก็ "วางขันธ์" ทิ้งไป เหลือแต่ "สภาวะรู้" แบบที่เป็น background อยู่เฉย ๆ นั่นแหละ

    +++ ต่อไปหากเกิดในลักษณะนี้อีก ให้ฝึก "ดับจิตและขันธ์ทั้งหมดทิ้งไป" แล้วเหลือแต่ "รู้" ในขณะ "ท่ามกลางการมีอยู่ของขันธ์ในฝัน" จากนั้น ให้รออาการ "ครองขันธ์" ที่จะพามาสู่การ "ตื่นหรือถอนจิต เข้าสู่สภาวะปกติ"

    +++ ทำตรงนี้ได้ จนเข้าใจเรื่อง "การสร้าง-ครอง รวมทั้ง การใช้ขันธ์" เมื่อไร ก็จะเริ่มเข้าใจใน "มหาปัฏฐานสูตร" เหตุปัจจัยโย มากขึ้นเท่านั้น

    +++ ในสภาวะปกติ ให้ฝึกซ้อม "ดับทั้งหมด และ เป็นรู้" ที่ไร้ตน ไร้ขันธ์ ทั้งหมด แล้ว "สำเหนียก" ในเวลาที่ "ตน" เริ่มสร้างขึ้นมา ใช้ตรงนี้เป็น "การฝึก" ก็ได้เช่นกัน

    +++ สำคัญที่สุด "ปัจจุบันขณะ ในขณะนั้น ๆ" ต้องไร้ "ความเป็นตน" อยู่ด้วยเสมอ

    +++ เมื่อ "ไร้ความเป็นตน" แล้วต้อง "อยู่กับโลกและสังคม" อาการ "เอเลี่ยน" ย่อมเป็นมาเองโดย ธรรม-ชาติ ของมัน ตรงนี้เป็นเรื่อง "ปกติ" ของผู้ที่ "เป็นรู้" เรียบร้อยแล้ว นะครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...