ภาวนา..แยกขันธ์ออกจากจิต ?

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย เสขะ บุคคล, 15 พฤษภาคม 2015.

  1. ธรรมแท้ว่าง

    ธรรมแท้ว่าง กายเบาใจเบา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    12,288
    ค่าพลัง:
    +12,620
  2. ณฉัตร

    ณฉัตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 เมษายน 2015
    โพสต์:
    633
    ค่าพลัง:
    +790
    ขอบคุณครับ ผมขออธิบายต่อแบบง่ายๆ ซึ่งอาจผิดนะครับ ช่วยกันท้วงด้วยครับ จิต เป็นอนัตตา แม้นิพพานแล้ว ก็จัดเป็น อนัตตา เวลาอธิบายปฏิจจสมุปบาท วิญญาณหมายถึงวิญญาณขันธ์ ถ้าดูตามสายปฏิจจสมุปบาท อวิชชา คือ ความไม่รู้อริยสัจ ๔ ทั้งอดีตและอนาคต สังขาร คือ กายสังขาร วจีสังขาร มโนสังขาร คือ เจตนา ๒๐ ทางกายทวาร เจตนา ๒๐ ทางวจีทวาร เจตนา ๒๙ ทางมโนทวาร และกามาวจรกุศล ๘ รูปาวจรกุศล ๕ อกุศลเจตนาฝ่ายกามาวจร ๑๒ กุศลเจตนาฝ่ายอรูปาวจร ๔ วิญญาณ คือ วิญญาณ ๖ นามรูป คือ เวทนา สัญญา เจตนา ผัสสะ มนสิการ(เวทนา สัญญา สังขาร ขันธ์) +รูป สฬายตนะ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ผัสสะ คือ สัมผัส ๖ เวทนา คือ เวทนา ๖ (ตามที่เกิดทั้ง ๖ ทาง) ตัณหา คือ ความอยาก อุปาทาน คือ ความยึดมั่น ภพ คือ กามภพ รูปภพ อรูปภพ หรืออีกนัย กรรมภพกับอุปปัตติภพ ชาติ คือ ความปรากฏแห่งขันธ์ ชรามรณะ คือ ความเสื่อมต่างๆ เมื่อทบทวนกระบวนการทั้งหมด ตามพุทธธรรมจะเห็นว่า เพราะไม่รู้อริยสัจ ๔ ทั้งอดีตและอนาคต ความจงใจจึงแล่นไป กระบวนการก่อทุกข์จึงเกิดขึ้น ตามลำดับ ไม่มีการกล่าวถึง จิต เป็นประธาน ในที่แสดงนี้ แลวิญญาณในที่นี้ไม่กล่าวว่าจิต กล่าวว่า มโน หรือใจ ถัดจากอวิชชา เป็นสังขารคือ เป็นความจงใจ หรือเจตนา ส่วนสังขารขันธ์ ในความหมายของนามรูป ก็อย่างหนึ่ง คือ เจตนา ผัสสะ มนสิการ เมื่อไปพิจารณาเรื่องขันธ์ ๕ ประกอบด้วย จึงเห็นว่า จิต นั้นไร้ตัวตน อุปมา รถยนต์ รถยนต์วิ่งไปวิ่งมา วิ่งส่งคน วิ่งชนคน แต่ล้อไม่ใช่รถยนต์ ตัวถังไม่ใช่รถยนต์ น้ำมันไม่ใช่รถยนต์ กระจกหน้าหลังไม่ใช่รถยนต์ แต่ประกอบเป็นรถยนต์ ขอบคุณครับ ก็ต้องศึกษาทำความเข้าใจต่อไปครับ
     
  3. VERAJAK

    VERAJAK เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    998
    ค่าพลัง:
    +1,579
    ถ้าต้องการศึกษาเรื่องจิตดูที่คำสอนหลวงปู่ดุลย์ได้ครับ. จิตจะว่ามีก็มีจะว่าไม่มีก็ไม่มี เปรียบเสมือนเงา จะว่าเงามีก็มีจะว่าไม่มีก็ไม่มีเพราะฉะนั้นอย่าไปหาเลยจะหลงเสียเปล่า.
     
  4. ณฉัตร

    ณฉัตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 เมษายน 2015
    โพสต์:
    633
    ค่าพลัง:
    +790
    ขอบคุณครับ เป็นอันว่าผมยุติประเด็นนี้ดีกว่า ผมก็ค่อยอ่านค่อยปฏิบัติไปครับ ว่างๆ ไปหาพระท่านก็น่าจะดีกว่าครับ
     
  5. GipBall

    GipBall เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2012
    โพสต์:
    109
    ค่าพลัง:
    +182
    จ้า......
     
  6. เตชพโล

    เตชพโล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    267
    ค่าพลัง:
    +1,431
    เห็นนิวรณ์
    ก็เห็นเหมือนเราฟังวิทยุแต่มีคลื่นรบกวนฟังได้แต่ไม่ชัด
    หรือเหมือนเรามองพระจันทร์แต่มีเมฆเคลื่อนมาบดบังทำให้เห็นพระจันทร์ไม่ชัด
     
  7. เตชพโล

    เตชพโล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    267
    ค่าพลัง:
    +1,431
    การพิจารณาขันธ์ต่าง ๆ
    เป็นปากทางเข้ามาหาตัวจิต
    แต่จะแยกขันธ์ออกจากจิต
    ต้องปล่อยวางที่จิต
     
  8. ณฉัตร

    ณฉัตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 เมษายน 2015
    โพสต์:
    633
    ค่าพลัง:
    +790
    โสฬสญาณ หรือญาณ ๑๖

    ญาณ ๑๖ ญาณที่เกิดแก่ผู้บำเพ็ญวิปัสสนาจนถึงจุดหมาย คือมรรคผลนิพพาน ๑๖ อย่าง คือ
    ๑. นามรูปปริจเฉทญาณ ญาณกำหนดแยกนามรูป คือปัญญากำหนดรู้เข้าใจในนามและรูป
    ๒. (นามรูป) ปัจจัยปริคคหญาณ ญาณกำหนดจับปัจจัยแห่งนามรูป คือปัญญากำหนดรู้ทั้งในนามและรูปว่าล้วนเกิดแต่เหตุปัจจัย
    ๓. สัมมสนญาณ ญาณพิจารณานามรูปโดยไตรลักษณ์
    ๔. - ๑๒. ตรงกับวิปัสสนาญาณ ๙
    ๑๓. โคตรภูญาณ ญาณครอบโคตรคือหัวต่อที่ข้ามพ้นภาวะปุถุชน
    ๑๔. มรรคญาณ(มัคคญาณ) ญาณในอริยมรรค เช่น โสดาปัตติมรรค
    ๑๕. ผลญาณ ญาณในอริยผล เช่น โสดาปัตติผล เป็นพระโสดาบัน
    ๑๖. ปัจจเวกขณญาณ ญาณที่พิจารณาทบทวน
    ญาณ ๑๖ นี้เรียกเลียนคำบาลีว่า โสฬสญาณ หรือ เรียกกึ่งไทยว่า ญาณโสฬส

    วิปัสสนาญาณ ญาณที่นับเข้าในวิปัสสนาหรือญาณที่จัดเป็นวิปัสสนามี ๙ อย่าง คือ
    ๑. อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ ญาณตามเห็นความเกิดและความดับแห่งนามรูป
    ๒. ภังคานุปัสสนาญาณ ญาณตามเห็นจำเพาะความดับเด่นขึ้นมา
    ๓. ภยตูปัฏฐานญาณ ญาณอันมองเห็นสังขารปรากฏเป็นของน่ากลัว
    ๔. อาทีนวานุปัสสนาญาณ ญาณคำนึงเห็นโทษ
    ๕. นิพพิทานุปัสสนาญาณ ญาณคำนึงเห็นด้วยความหน่าย
    ๖. มุจจิตุกัมยตาญาณ ญาณหยั่งรู้อันให้ใคร่จะพ้นไปเสีย
    ๗. ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ ญาณอันพิจารณาทบทวนเพื่อจะหาทาง
    ๘. สังขารุเปกขาญาณ ญาณอันเป็นไปโดยความเป็นกลางต่อสังขาร
    ๙. สัจจานุโลมิกญาณ ญาณเป็นไปโดยควรแก่การหยั่งรู้อริยสัจจ์
    ขันธ์ ๕ หมายถึงตัวตนหรือชีวิตของตน อันประกอบด้วยฝ่ายรูปและฝ่ายนาม ที่แยกออกเป็น ๕ ขันธ์หรือกอง อันประกอบด้วย รูป(กาย), เวทนา, สัญญา, สังขาร, วิญญาณ ท่านได้แยกให้เห็นตามความเป็นจริงอย่างปรมัตถ์ว่า ความเป็นตัวตนหรือชีวิตนั้นเป็นสังขารอย่างหนึ่งที่หมายถึงเป็นสิ่งที่ถูกเหตุปัจจัยปรุงแต่งขึ้นมา จึงย่อมมีความไม่เที่ยง เป็นทุกข์เพราะทนอยู่ไม่ได้ เป็นอนัตตา เป็นไปตามสามัญลักษณะของสังขารทั้งปวงตามพระไตรลักษณ์ เพื่อให้เกิดนิพพิทา คลายความอยาก,ความยึดมั่นถือมั่นในตัวตนหรือชีวิตตนลง เมื่อรู้เห็นตามความเป็นจริงของธรรมหรือสิ่งทั้งหลาย (ควรอ่าน ขันธ์ ๕ โดยลำดับ (๑) และขันธ์ ๕ โดยละเอียด (๒)เสียก่อน ขันธ์ ๕ โดยลำดับ)
    ชีวิตหรือตัวตน จึงเกิดมาแต่ขันธ์ทั้ง ๕ เป็นเหตุเป็นปัจจัยแก่กันและกัน กล่าวคือ ขันธ์ทั้ง ๕ มาประชุมรวมกันอย่างพึ่งพาอาศัยเป็นปัจจัยกันและกัน เป็นตัวตนหรือชีวิตขึ้น กล่าวคือยังต้องทํางานประสานกันเป็นเหตุปัจจัยแก่กันและกันไปในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ เป็นกระบวนการหรือกระบวนธรรมอันสำคัญยิ่งในการดําเนินชีวิต อันหมายถึงกระบวนการธรรมชาติของขันธ์ทั้ง ๕ ที่เนื่องสัมพันธ์กัน เป็นเหตุปัจจัยกัน ที่เกิดขึ้นเป็นปกติตามธรรมชาติของตัวตนในการดํารงชีวิต เป็นกระบวนธรรมอันเกิดแต่เหตุปัจจัยเฉกเช่นเดียวกันตามหลักปฎิจจสมุปบันธรรม เป็นกระบวนธรรมสื่อสารระหว่างกายกับจิตในขันธ์ ๕ ต่ออารมณ์หรืออายตนะภายนอก(สิ่งแวดล้อมคือ รูป รส กลิ่น เสียง โผฏฐัพพะ และธรรมารมณ์) อันเป็นธรรมชาติของผู้มีชีวิต ที่มันต้องเป็นเช่นนี้เองเป็นธรรมดา, ขันธ์ ๕ เองนั้นไม่ได้เป็นตัวก่อโทษก่อทุกข์ใดๆอีกทั้งยังเป็นสิ่งจําเป็นยิ่งในการดํารงชีวิต, แต่ถ้าประกอบด้วยอุปาทานร่วมด้วยแล้ว ก็จักทําให้ขันธ์ ๕ ที่เกิดขึ้นเพื่อการดํารงชีวิตนั้นถูกครอบงําด้วยอุปาทานที่มีตัณหาเป็นเหตุปัจจัยให้เกิด, ซึ่งก็คือขันธ์ ๕ นั้นจะได้ถูกครอบงําแปรปรวน แฝงหรือประกอบด้วยอุปาทานอันก่อให้เกิดทุกข์อุปาทานหรืออุปาทานขันธ์๕ ที่เกิดแล้วดับ เกิดแล้วดับๆๆๆ...อยู่ในชราในวงจรปฏิจจสมุปบาท ซึ่งมีอุปาทานความยึดมั่นถือมั่นในกิเลสหรือยึดมั่นในความพึงพอใจในตน,ของตนร่วมแฝงอยู่ในขันธ์ต่างๆ จึงล้วนแฝงด้วยกิเลสหรือความพึงพอใจในตัวของตนเป็นหลักใหญ่โดยไม่รู้ตัว จึงเป็นเหตุให้เกิดอุปาทานทุกข์ทั้งปวง อันคือทุกข์ที่ประกอบด้วยอุปาทานที่ธรรมของพระองค์ท่านสั่งสอนเพื่อให้ดับสนิทไป เพื่อความสุข อันสะอาด สงบ บริสุทธิ์ยิ่งเหนือสุขใดๆ
    พุทธพจน์
    "ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงขันธ์ ๕ และอุปาทานขันธ์ ๕ เธอทั้งหลายจงฟัง"
    "ขันธ์ ๕ เป็นไฉน ? รูป...เวทนา..สัญญา...สังขาร...วิญญาณ อันใดอันหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน เป็นภายในก็ตาม ภายนอกก็ตาม หยาบก็ตาม ละเอียดก็ตาม ทรามก็ตาม ประณีตก็ตาม ไกลหรือใกล้ก็ตาม...เหล่านี้ เรียกว่า ขันธ์ ๕"
    "อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นไฉน ? รูป...เวทนา..สัญญา...สังขาร...วิญญาณ อันใดอันหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน เป็นภายในก็ตาม ภายนอกก็ตาม หยาบก็ตาม ละเอียดก็ตาม ทรามก็ตาม ประณีตก็ตาม ไกลหรือใกล้ก็ตาม ที่ประกอบด้วยอาสวะ เป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน...เหล่านี้ เรียกว่า อุปาทานขันธ์ ๕"
    (สํ.ข. ๑๗ / ๙๕-๙๖ /๕๘-๖๐)
    "ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมทั้งหลายซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน และตัวอุปาทาน เธอทั้งหลายจงฟัง.
    "รูป...เวทนา..สัญญา...สังขาร...วิญญาณ คือธรรม(สิ่ง)อันเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน ฉันทราคะ(ความชอบใจจนติด หรืออยากอย่างแรงจนยึดติดยึดถือ หรือก็คือตัณหา)ในรูป...เวทนา..สัญญา...สังขาร...วิญญาณ นั้นคือ อุปาทานในสิ่งนั้นๆ"
    (สํ.ข. ๑๗ / ๓๐๙ / ๒๐๒)
    ดังนั้นพึงทำความเข้าใจให้ถูกต้องด้วยว่า ขันธ์ ๕ ไม่ใช่สิ่งที่ทำให้เกิดอุปาทานทุกข์ และยังจำเป็นอย่างยิ่งยวดในการดำรงขันธ์หรือชีวิตให้เป็นปกติสุขตามธรรมหรือธรรมชาติ ไม่มีเสียหรือขาดสมดุลย์ย่อมไม่สามารถอยู่ได้อย่างเป็นปกติสุข, แต่ขันธ์ ๕ ที่ประกอบด้วยอุปาทาน จึงทำให้เกิดอุปาทานทุกข์ที่เร่าร้อนเผาลนมวลสรรพสัตว์มาตลอดกาลนาน
    การทํางานประสานเนื่องสัมพันธ์กันของขันธ์ทั้ง ๕ ของชีวิต
    ขันธ์ทั้ง ๕ กองนั้น ประกอบเป็นเหตุปัจจัยเป็นตัวเป็นตนที่มีชีวิตแล้ว ยังต้องประสมประสานการทํางานต่างๆร่วมกัน เพื่อให้เกิดกระบวนการดําเนินชีวิตได้อย่างราบรื่น ดังนั้นฝ่าย รูปหรือกาย อันมี ตา หู จมูก ลิ้น กาย ทั้ง ๕ เป็นองค์ประกอบ จึงต้องทํางานประสานสัมพันธ์กับฝ่ายนามหรือจิตอันมี เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นองค์ประกอบ ประสานกันอย่างแนบแน่นเป็นระบบที่มีความสัมพันธ์กันตลอดไป จนกว่าชีวิตจะหาไม่
    โยนิโสมนสิการโดยแยบคายจะพบความจริงเป็นอย่างยิ่งว่า การกระทําต่างๆของเรานั้น ล้วนเกิดแต่ขันธ์ทั้ง ๕ ที่เป็นเหตุปัจจัยแก่กันและกันจนเกิดกระบวนธรรมต่างๆ รวมทั้งสังขารขันธ์อันคือการกระทำทั้งทางกาย วาจา ใจ(คิด) เช่น ความรู้สึก เดิน วิ่ง กิน คิด, ด้านอารมณ์ โกรธ เกลียด ขุ่นเคือง การพูดจา การกระทําต่างๆ กล่าวคือทุกๆสิ่งที่เรากระทํานั่นเอง จึงครอบคลุมเกี่ยวพันกับเราไปจนตลอดชีวิต จึงควรมีความเข้าใจในขันธ์ ๕ เพื่อความเข้าใจในธรรม เพราะตามความเป็นจริงแล้วความทุกข์ทั้งหลายก็ล้วนปรวนแปรมาจากขันธ์ ๕ นี้ แล้วดําเนินไปตามวงจรปฏิจจสมุปบาทกระบวนการเกิดขึ้นแห่งทุกข์ จนเกิดความทุกข์ชนิดอุปาทานทุกข์ขึ้นในที่สุด
    แสดงการทํางานประสานกันของขันธ์ ๕ อย่างคร่าวๆหรือย่อ เพื่อความเข้าใจในธรรม(ธรรมชาติ)ในกาลต่อไป
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 พฤษภาคม 2015
  9. ณฉัตร

    ณฉัตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 เมษายน 2015
    โพสต์:
    633
    ค่าพลัง:
    +790
    ต่อครับ
    ธรรมธาตุ 7 หมายถึง ระบบการทำงานของนามธาตุ คือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ มโน จิต และ ภวังค์



    จิต
    พระพุทธเจ้าตรัสว่าเป็นอัสนีธาตุ จิตเกิดจากกระบวนการทำงานอย่างเป็นระบบของนามธาตุ มีลักษณะเป็นตัวเชื่อมต่อกระบวนการทำงานต่างๆ เช่น เชื่อมรูปธาตุและนามธาตุให้สัมพันธ์กันได้ คำว่า "จิต" มาจากการที่เป็นสิ่งที่ถูกปรุงแต่งได้ เช่นคำว่าวิจิตร หมายเอาสภาวะของจิตที่แปรปรวนตามเจตสิกที่เข้ามาประกอบปรุงแต่งเป็นอารมณ์ 121 อาการ จิตในความหมายของธรรมธาตุหมายถึง กิจแห่งจิต 14 อย่าง คือ
    ปฏิสนธิกิจ ทำหน้าที่เกิดขึ้นแห่งจิตดวงใหม่
    ภวังคกิจ รักษาดำรงภพ
    อาวัชชนกิจ เริ่มพิจารณาในอารมณ์ทั้ง 5
    ทัสสนกิจ ทำหน้าที่เห็น
    สวนกิจ ทำหน้าที่ได้ยิน
    ฆายนกิจ ทำหน้าที่ได้กลิ่น
    สายนกิจ ทำหน้าที่ลิ้มรส
    ผุสสนกิจ ทำหน้าที่กระทบสัมผัส
    สัมปฏิจฉันนกิจ รับอารมณ์
    สันตีรณกิจ ไต่สวนอารมณ์
    โวฏฐัพพนกิจ ตัดสินอารมณ์
    ชวนกิจ เสพอารมณ์
    ตฑาลัมพนกิจ รับอารมณ์ต่อจากชวนะ
    จุติกิจ ทำหน้าที่เคลื่อนไปจากภพ
    จิตท่านจึงว่าเป็นสิ่งประภัสสร คือสะอาดบริสุทธิ เพราะจิตทำหน้าที่แค่รู้ในอารมณ์ทั้งหลายเท่านั้น ดีชั่วนั้นจึงขึ้นอยู่กับอารมณ์ที่จิตนั้นเข้าไปรู้

    มโน
    หมายถึง หมายถึงสิ่งที่ใจน้อมไป มาจากคำว่า นะมะ (ความนอบน้อม)มาเป็นมโนความน้อมรู้ หมายเอากิริยาที่จิตให้ความสนใจต่อสิ่งใด ใหรือมุ่งหวังส่ใจสิ่งใดเป็นสำคัญ เช่น มโนปุพฺพงฺคมา ธมฺมา มโนเสฏฺฐา มโนมยา ธรรมทั้งหลายมีใจเป็นหัวหน้า มีใจประเสริฐสุด สำเร็จได้ด้วยใจ เช่นเราเพ่งความสนใจไปที่ใดอาการที่ใจเราไปสนใจนั้นคือมโน มีลักษณะน้อมไป ยึดไว้ เคลื่อนย้าย เกิดจากการที่นามธาตุมีความสัมพันธ์ต่อรูปธาตุและเกิดจากกระบวนการภายในของนามธาตุเอง คือการให้ความสนใจไปในสิ่งใดสิ่งสิ่งหนึ่งที่จิตเหนี่ยวรั้งมาพิจารณา และจิตเกิดการสนใจหรือย้ายความสนใจในสิ่งที่พิจารณาอยู่
    ภวังค์
    จิตใต้สำนึก ภวังค์ มาจากคำว่าองค์แห่งการเกิดภพ หรือตัวเกิดหมายเอากระบวนการของจิต ที่มีการเกิดหรือปฏิสนธิจิต ชวนะจิตต่างๆ ก็จะมาจบที่ภวังคจิตอันเป็นข้อมูลทั้งปวงของจิตหรือจิตใต้สำนึก ที่จะส่งต่อข้อมูลไปยังจิตดวงใหม่ก่อนที่จิตดวงเก่าจะดับ จึงมักใช้ในความหมายของจิตใต้สำนึกของจิต เป็นสิ่งที่ไม่มีตัวตน มีแต่สภาวะเกิดขึ้นจากกฎแห่งเหตุและผลของธรรมชาติอย่างละเอียด (หรือเรียกว่ากฎแห่งกรรม) อธิบายเช่นต้นไม้แต่ก่อนมีเพียงเมล็ดกิ่ง ก้าน ราก ดอก ผล ใบย่อมมีมาแต่ไหน เพราะในเมล็ดย่อมมีเพียงข้อมูล แล้วอาศัยอาศัยปัจจัยเพิ่มปริมาณสสารขึ้น อาศัยข้อมูลในเมล็ดทำให้มีลักษณะต่างๆ ถ้าเป็นสัตว์ก็คือ DNA ภวังค์ก็มีลักษณะเช่นนั้น คือเป็นข้อมูลของจิต ทำให้สัตว์มีลักษณะนิสัย สันดานแตกต่างกัน เมื่อจิตออกจากร่างภวังคะจะจดจำข้อมูลสร้างร่างจากจิตตะอันเป็นอัสนีธาตุหรือธาตุพลังงานทำให้มีรูปร่างตามแต่ปัจจัยกำหนด ทำให้เกิดวัฏจักรการเวียนว่ายตายเกิดขึ้น
    เวทนา
    หมายถึงธรรมชาติรับรู้อารมณ์ ทางกายคือ 1.สุขํ สุข 2.ทุกขํ ทุกข์ 3.อทุกขมสุขํ ไม่สุขไม่ทุกข์ ทางใจ 3คือ 1. โสมนัส สุขใจ 2.โทมนัส ทุกข์ใจ 3. อุเบกขา วางเฉย
    สัญญา
    หมายถึง ความทรงจำมี6 คือ จักขุสัญญา สิ่งที่ทรงจำทางตา (ภาพ) โสตสัญญา (เสียง) สิ่งที่ทรงจำทางหู ฆานะสัญญา สิ่งที่ทรงจำทางจมูก (กลิ่น) ชิวหาสัญญา สิ่งที่ทรงจำทางลิ้น (รสชาติ) กายสัญญา สิ่งที่ทรงจำทางกาย (ประสาทสัมผัส) มนสัญญา สิ่งที่ทรงจำทางใจ
    สังขาร
    หมายถึงสิ่งที่ปรุงแต่ง มี 3 คือ กายสังขาร (การบังคับร่างกาย) วจีสังขาร (ความคิดตรึก ตรอง) จิตตะสังขาร (อารมณ์ที่จรเข้ามาในใจ)1. กายสังขาร (สิ่งที่ปรุงแต่งกายอัสสาสะ ลมหายใจเข้า ปัสสาสะ ลมหายใจออก)อัสนีธาตุของจิตตะ จะเชื่อมกับ อัสนีธาตุของกายสังขาร ที่เกิดขึ้นจากลมหายใจเข้าออกอันเป็นเหตุให้หทยวัตถุ (หัวใจ) เต้น เหมือนเขื่อนเปลี่ยนพลังงานกลเป็นพลังงานไฟฟ้า ทำให้จิตสามรถสั่งการให้ร่างกายเคลื่อนไหวได้ 2.วจีสังขาร (สิ่งที่ปรุงแต่งวาจาหรือภาษานั้นคือ วิตก (ตรึก) วิจาร (ตรอง ) อันเรียกว่าความคิด ) 3.จิตตสังขาร (สิ่งที่ปรุงแต่งจิต มี 2 คือเวทนา สัญญา)จิตตะเป็นปภัสสรคือบริสุทธิ์ว่างเปล่าราวกับอากาศไม่สว่างหรือมืด แต่เพราะ เวทนาและสัญญา ที่จรเข้ามาทำให้จิตมีอารมณ์เป็นไปตามเวทนาและสัญญานั้น เช่น เวลาหลับเราเมื่อย เวทนาก็เป็นอิริยาบถให้เราหายเมื่อย เราเดินเองโดยอัตตโนมัติเพราะร่างกายเราจดจำสัญญาในการเดินไว้ทำให้บางที่เดินไปในที่เคยชิน และสัญญาที่เกิดจากวิตก (ตรึก) วิจาร (ตรอง) การตรึก คือการน้อมไปในการใช้สัญญา เช่น สิ่งนี้คือต้นไม้ ต้นไม้นี้ชื่อต้นไผ่ วิจารทำให้เกิดการเปรียบเทียบ เช่น คนนี้สวยกว่าคนนี้ ชีวิตเราสำคัญน้อยกว่าความรัก เงินสำคัญที่สุดเป็นต้น ทำให้เกิดจิตสังชารที่ทำให้ยึดมั่นและเกิดอารมณ์ต่างๆตามมามากมาย เช่นรัก โลภ โกรธตระหนี่ ริษยา อิจฉา อันเป็นเจตสิกต่างๆ ที่เกิดขึ้นพร้อมกับจิต สังขารได้แก่นามธาตุชนิดต่างๆทั้ง50ชนิด(เจตสิก) ที่ทำมีหน้าที่ต่อกัน ทำงานเป็นกระบวนการ
    วิญญาณ
    วิญญาณ มาจากคำว่ารู้แจ้ง หมายเอา จิตที่ทำหน้ารับรู้ทางอายตนะทั้ง 6 คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ หมายถึงการรับรู้ หรือ วิญญาณทั้ง 6 คือ จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ มโนสิ่งที่รับรู้ทางใจ มี 3 คือ รับรู้เวทนา รับรู้สัญญา รับรู้สังขาร
     
  10. ณฉัตร

    ณฉัตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 เมษายน 2015
    โพสต์:
    633
    ค่าพลัง:
    +790
    น่าจะได้คำตอบกันแล้วนะครับ ว่า ภาวนาแยกขันธ์ออกจากจิต มีสอนกันหรือไม่ จิตกับขันธ์สัมพันธ์กันอย่างไร จิตก็ดี วิญญาณก็ดี และวิญญาณขันธ์ก็ดี คืออะไร มันทำหน้าที่กันอย่างไร
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 พฤษภาคม 2015
  11. ณฉัตร

    ณฉัตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 เมษายน 2015
    โพสต์:
    633
    ค่าพลัง:
    +790
    แก้ความเข้าใจผิดครับ ผมจำได้แต่ว่า เมื่อบรรลุอรหันต์ จิตของพระอรหันต์คือโลกุตตรจิต จิตท่านไม่ก่อให้เกิดอุปาทานขันธ์ เมื่อนิพพาน ขันธ์ ๕ จึงดับสนิทเลย แล้วตอนพุทธองค์ ปรนิพพาน อ่านมาว่า มีการถามพระอรหันต์ว่า เข้าสู่นิพพานยังไง พระองค์นั้นท่านว่า หลังจากที่พุทธองคฺ์เข้าฌาณต่างแล้ว สุดท้ายมานิพพานที่ฌาณระหว่าง รูปฌาณกับอรูปฌาณ เข้าสู่ปรินิพพาน ผมจึงหมายเข้าใจว่า โลกุตตรจิตนั้น เข้าไปนิพพาน แต่ ขันธ์ ๕ ดับ
    ที่นี้ เมื่อมาพิจารณาสภาวะนิพพานเป็นอย่างนี้ครับ
    พระอนุรุทธาจารย์ ผู้รจนาคัมภีร์อภิธัมมัตถสังคหะ ได้พรรณนาคุณของนิพพานว่า ปทมจฺจุตฺ มจฺจนฺตํ อสงฺขตมนุตฺตรํ นิพฺพานมีติ ภาสนฺติ วานมุตฺตามเหสโย "พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ ผู้พ้นแล้วจากตัณหาเครื่องร้อยรัด ตรัสถึงสภาวะธรรมชาติหนึ่งที่เข้าถึงได้ เป็นธรรมชาติที่ไม่จุติ พ้นจากขันธ์ 5 ไม่ถูกปรุงแต่งด้วยปัจจัยใดๆ เลย หาสภาวะอื่นเปรียบเทียบไม่ได้ ว่าสภาวธรรมนั้นคือพระนิพพาน"
    ความมีอยู่ของพระนิพพาน มิใช่สภาวะที่เกิดจากการสร้างสรรค์ของจิต แต่มีอยู่โดยตัวของตัวเอง คือเป็นความจริงขั้นปรมัตถสัจ ที่ตรงข้ามกับสมมติสัจในโลกแห่งปรากฏการณ์ มีสภาวะที่เที่ยง ไม่ใช่สิ่งที่เกิดดับสลับกันไปแบบสิ่งต่างๆ ในโลก นิพพานจึงเป็นอสังขตธรรมที่พ้นไปจากปัจจัยปรุงแต่ง ในสภาวะของนิพพานทั้งนาม (จิต) และรูป ย่อมดับไม่เหลือ ดังพุทธวจนะในเกวัฏฏสูตร ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค ได้กล่าวถึงนิพพานว่าเป็น "ธรรมชาติที่รู้แจ้ง ไม่มีใครชี้ได้ ไม่มีที่สุด แจ่มใสโดยประการทั้งปวง ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ และวาโยธาตุ ย่อมตั้งอยู่ไม่ได้ในธรรมนี้ อุปาทยรูปที่ยาวและสั้น ละเอียดและหยาบ ที่งามและไม่งาม ย่อมตั้งอยู่ไม่ได้ในธรรมนี้ นามและรูปย่อมดับไม่มีเหลือในธรรมชาตินี้ เพราะวิญญาณดับ นามและรูปย่อมดับ ไม่มีเหลือในธรรมชาติ ดังนี้ฯ" (ที.สี.14/350) เพราะฉะนั้น นิพพานจึงไม่ใช่จิต หรือสัมปชัญญะบริสุทธิ์ ซึ่งนั่นเป็นลักษณะของพรหมันหรืออาตมันของปรัชญาฮินดู ทั้งยังไม่ใช่เจตสิกที่อาศัยจิตเกิดขึ้น เพราะทั้งจิตและเจตสิกนั้นล้วนเป็นสังขตธรรม ซึ่งต้องอาศัยปัจจัยปรุงแต่ง มีธรรมชาติเกิดดับ มีการเปลี่ยนแปร เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป เช่นเดียวกับสิ่งอื่นๆ แต่นิพพานอยู่เหนือสภาพเช่นนี้ และว่างเปล่าจากสิ่งเหล่านี้ ขณะเดียวกัน นิพพานก็ไม่ใช่ความดับสูญอย่างสิ้นเชิง ซึ่งเป็นลักษณะของอุจเฉททิฏฐิการใช้ภาษาอธิบายนิพพานเป็นสิ่งที่ต้องกระทำอย่างรัดกุม เพื่อป้องกันการเข้าใจผิดว่าเป็นอัตตาเที่ยงแท้ (สัสสตทิฏฐิ) หรือว่าเป็นความขาดสูญ (อุจเฉททิฏฐิ) ซึ่งเป็นทัศนะที่คลาดเคลื่อนจากพระบาลีทั้งสิ้น

    พระพุทธเจ้าไม่เคยทรงอธิบายว่า พระอรหันต์ผู้บรรลุนิพพานเมื่อดับขันธ์แล้วจะอยู่ในสภาพเช่นใด การอธิบายทำได้ในลักษณะเพียงว่า นิพพานคือการดับทุกข์ สิ้นตัณหา เหมือนไฟที่ดับจนสิ้นเชื้อไม่สามารถที่จะลุกลามขึ้นมาได้อีก สำหรับพระอรหันต์ที่ปรินิพพานแล้วนั้น พระพุทธองค์ไม่ตรัสยืนยันถึงความมีอยู่หรือความดับสูญ พระองค์ตรัสแต่เพียงว่า เมื่อพระองค์ปรินิพพานแล้ว ทั้งเทวดาและมนุษย์จะไม่สามารถเห็นพระองค์อีกต่อไป "ดูกร ภิกษุทั้งหลาย กายของตถาคต มีตัณหาอันนำไปสู่ภพขาดแล้ว ยังดำรงอยู่ เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายจักเห็นตถาคตชั่วเวลาที่กายของตถาคตยังดำรงอยู่ เมื่อกายแตกสิ้นชีพแล้ว เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายจักไม่เห็นตถาคต" (ที.สี.14/90) ในคำสอนพระพุทธศาสนา ไม่มีอัตตาใดเข้าสู่นิพพาน และไม่มีอัตตาดับสูญในภาวะแห่งนิพพาน แม้ในโลกแห่งปรากฏการณ์ เบื้องหลังเบญจขันธ์อันไม่เที่ยงนั้น ก็มิได้มีอัตตาซึ่งเป็นผู้รับรู้หรือเป็นพื้นฐานแห่งตัวตนที่เที่ยงแท้อยู่ ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกอยู่ในรูปของกระบวนการที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ทั้งรูปธรรมและนามธรรม กระบวนการแห่งนามรูปที่สมมติว่าเป็น ตัวตน สัตว์ บุคคล เราเขา นี้ เมื่อวิวัฒนาการไปจนกระทั่งถึงที่สุด ความเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไปก็เป็นอันยุติลง สภาพความสิ้นสุดกระบวนการแห่งนามรูปที่ไม่เที่ยงแปรปรวนอยู่ทุกขณะนี้ เรียกว่านิพพาน เมื่อรูปและนามดับ นิพพานจึงไม่ใช่ทั้งจิตและสสารซึ่งต้องอาศัยเหตุปัจจัยในการดำรงอยู่ พระนิพพานตั้งอยู่โดยไม่ต้องอาศัยเหตุปัจจัย จึงเรียกว่าอสังขตธรรมในพระไตรปิฎกมักเปรียบนิพพานว่าเหมือนกับไฟที่ดับแล้ว ไม่สามารถบอกได้ว่าไฟที่ดับไปนั้นหายไปไหนหรืออยู่ในสภาพใด
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 พฤษภาคม 2015
  12. เทพบุตรลั้ลลาลั้ลลั้ลลาาา

    เทพบุตรลั้ลลาลั้ลลั้ลลาาา เพื่อมวลมนุษย์แลสรรพสัตว์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤศจิกายน 2014
    โพสต์:
    872
    ค่าพลัง:
    +1,936
    สงสัยนิสสนครับ เสขะบุคคลนี่คือพระอริยะขั้นใดขั้นหนึ่ง
    ตั้งแต่โสดาบันถึงอนาคามีใช่ปะครับ เพราะถ้าพระอรหันต์
    ท่านเรียกอเสขะหรือพระขีณาสพ ส่วนถุปุชุน ท่านเรียก
    ผู้มิได้สิกขา หรือมิไดสดับฯ ไม่ทราบถูกเปล่ากขา หรือม
     
  13. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    .................ไม่ทราบแน่ชัดครับ ....แต่ผมคิดว่า คงไม่มีปัญหาอะไร...บางคนก็บอกว่า กินความหมายกว้าง ถึงผู้ ที่ยังศีกษาทั้งหมด เว้น พระอรหันต์ บางคนว่า ตั้งแต่พระโสดาบันขึ้นไป เว้นพระอรหันต์:cool:
     
  14. ZIGOVILLE

    ZIGOVILLE เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    196
    ค่าพลัง:
    +792
    เราคือ "สติ" มีหน้าที่เป็นผู้ดู รู้ และเห็นฐานทั้ง ๔ คือ "กาย เวทนา จิต ธรรม" ตามความเป็นจริงว่า "เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป" อยู่ทุกขณะจิต
     
  15. ธรรมแท้ว่าง

    ธรรมแท้ว่าง กายเบาใจเบา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    12,288
    ค่าพลัง:
    +12,620
    ถูกจุดถูกเวลาโดนใจครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...