ภาวนา..แยกขันธ์ออกจากจิต ?

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย เสขะ บุคคล, 15 พฤษภาคม 2015.

  1. เสขะ บุคคล

    เสขะ บุคคล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,240
    กระทู้เรื่องเด่น:
    54
    ค่าพลัง:
    +4,023
    ภาวนา..แยกขันธ์ออกจากจิต
    ทำยังไงครับ ?

    แนะนำได้เลยครับ ขอบคุณครับ
     
  2. ณฉัตร

    ณฉัตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 เมษายน 2015
    โพสต์:
    633
    ค่าพลัง:
    +790
    ไม่เคยทำ ไม่เคยรู้นะครับ ผมทราบแต่ว่าเมื่อทำสมถะถึงจุดหนึ่ง จิตมันทราบเองว่า นี่คือ ตัวรู้ นี่คือสิ่งถูกรู้ นี่คือเวทนา มันสุขเวทนาหรือทุกขเวทนา หรือเฉย นี่ตัวสัญญา นี่เป็นตัวปรุงแต่ง รู้อย่างนี้ครับ เวลาทำสมาธิพิจารณาก็เห็นเวทนา ทุกขเวทนา รู้ว่าจิตไปจับมาเป็นอารมณ์ หรือรู้ว่าจิตไม่จับมาเป็นอารมณ์ แต่โดยมากจิตจะจับเวทนาเป็นอารมณ์ แล้วทนไม่ได้กับเวทนานั้น บางครั้งจิตไปเสวยอารมณ์อย่างอื่นเพื่อดับเวทนาก็มี คือดันไปภาวนาให้ทุกขเวทนาหาย เอาแต่สุขเวทนาเสียนี่ นี่ก็เสียเรื่องไปครับ แทนที่จะเรียนรู้เวทนากับหนี สำหรับการแยกขันธ์จากจิตไม่เคยได้ยินครับ ได้ยินแต่ให้จิตพิจารณาแยกได้ว่าอันไหนรูปอันไหนนาม แต่ผมก็ไม่เคยพิจารณาถึงตรงนั้นได้ ได้แค่เห็นว่า นี่กาย นี่นิมิตร นี่เวทนา...แค่นี้ ส่วนที่ใกล้กับการแยกขันธ์จากจิต ที่สุดคือ การเข้าฌาณ ระดับสูงกว่าฌาณ 4 แยกรูปขันธ์ออก แต่ผมว่ามันแยกเฉพาะการรับรู้ของจิต คือไม่รับรู้ มันไม่ได้แยกกันจริง แถมพระสอนไม่ให้ทำนะครับ ผมลองทบทวนการวิปัสสนาก็ไม่พบว่าสอนครับ มีแต่เรื่องดับขันธ์เพื่อนิพพานเท่านั้น โลกุตรจิต จะไม่เกิดขันธ์อีก ท่านจะศึกษาต้องรอบคอบนะครับ ผมรู้แค่นี้ หาอ่านจากพุทธธรรมหรือถามพระดีกว่าครับ ปลอดภัยกว่า
     
  3. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    เป็นคำถามที่ไม่ควรตอบ เป็นคำถามที่ชักชวนให้ตอบไปในทางเห็นผิด นั่นมิใช่คำสอนของพระพุทธเจ้าเลย และเป็นคำถามที่ไม่ควรถาม มันไม่เชื่อมโยงไปในทางกุศลได้อีกด้วย
    พวกเธออย่าสงสัยในเรื่องนี้เลย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 15 พฤษภาคม 2015
  4. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,941
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
  5. เสขะ บุคคล

    เสขะ บุคคล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,240
    กระทู้เรื่องเด่น:
    54
    ค่าพลัง:
    +4,023
    ผมจะลองไปอ่านดูก่อนนะครับ เล่มหนาทีเดียว ขอบคุณที่แนะนำครับ
    ยังไงขออนุญาตเอามาไฟล์ลงไว้ด้วย เผื่อใครสนใจอ่านประกอบไปด้วยกัน ...:cool:


    [​IMG]


    ดาวน์โหลดไฟล์หนังสือพุทธรรม(ฉบับปรับขยาย)
    http://palungjit.org/attachments/a.3438450/
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  6. เสขะ บุคคล

    เสขะ บุคคล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,240
    กระทู้เรื่องเด่น:
    54
    ค่าพลัง:
    +4,023
    ด้วยความเคารพ ผมไม่ทราบว่าพี่ลุงหมาน ภาวนาอย่างไรนะครับ ถ้าพี่ลุงหมานเล็งเห็น ว่า ผมมีความเห็นผิดอย่างไรแนะนำได้ครับ
    หรือเมตตาบอกแนวทางที่พี่ลุงหมานภาวนาอยู่ และมั่นใจว่าถูกต้องจริงแท้ ได้เลยครับ

    ขอบคุณครับ


    ส่วนตัวผม พิจารนาแล้ว ว่า ถ้าผมไม่ภาวนาหาความจริงของขันธ์ พิสูจน์สัจจธรรมะ ไถ่ถอนอุปทานของจิต ไม่เรียกว่าทำให้เจริญเลย ผมจักต้องเป็นบุรุษผู้ตายเปล่าแน่แท้
     
  7. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    คำถามเดิมที่จะภาวนาอย่างไร แยกขันธ์ออกจากจิต
    ซึ่งมันเป็นคำที่แยกไม่ได้ เพราะจิตเป็นขันธ้ๆหนึ่งในขันธ์ ๕ คือวิญญาณขันธ์ ใช่หรือไม่? การภาวนาก็เพื่อให้รู้จักขันธ์ ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่เคยยึดถือว่าเราเป็นของเรา ก็เพื่อถ่ายถอนคำว่าเราออกเสียจากขันธ์ ๕ เพื่อนำพาเข้าสู่ขันธวิมุติอันได้แก่พ้นจากขันธ์ทั่ง ๕ คือพระนิพพาน เป็นอันตายที่มีประโยชน์สูงสุดในพระศาสนานี้ที่มีพระอริยะเจ้าสรรเสริญแล้วในชาตินี้อย่างแน่นอน
     
  8. เสขะ บุคคล

    เสขะ บุคคล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,240
    กระทู้เรื่องเด่น:
    54
    ค่าพลัง:
    +4,023
    จิตที่มีอุปาทานย่อมเป็นส่วนหนึ่งในขันธ์ห้า ตามตำรา คหสต.ผมก็ว่าใช่ (ส่วนวิมุติ นิพพาน ปรมัตถไม่ขอพูดถึงครับ เกินสติปัญญาผมไปมาก)
    แต่หากไม่แยกกองขันธ์ห้าออกจากกัน ความเป็นจริงของชาติของภพนี้ก็เหมายึดรวมเป็นส่วนเดียวกันทั้งหมด เราจะรู้จักขันธ์ห้าตามความเป็นจริง เริ่มจากส่วนไหนหรือครับ ลุงหมานแนะนำน้องได้เลยครับ
     
  9. ณฉัตร

    ณฉัตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 เมษายน 2015
    โพสต์:
    633
    ค่าพลัง:
    +790
    ขอแสดงความเห็นนะครับ ไม่ทราบว่าจะผิดหรือเปล่า วิญญาณขันธ์ไม่ใช่จิต จิตไม่ใช่วิญญาณขันธ์ เพราะว่าตอนหลุดพ้น โลกุตรจิตอยู่นิพพาน แต่ขันธ์ 5 คือ รวมหมายถึงวิญญาณขันธ์ดับไปครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 พฤษภาคม 2015
  10. Supop

    Supop เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    587
    ค่าพลัง:
    +3,153
    ข้าพเจ้าขออนุโมทนาในธรรมทุกท่านครับ

    ข้าพเจ้ายกมาให้ลองอ่านดูครับ


     “ความเข้าใจเรื่องพระอภิธรรม” พระนิพนธ์ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช
     
                   วิญญาณ มโน  และ จิต  ใน   ๒  ปิฎก
     
     
                   เมื่อจะจัดเข้าในขันธ์ ๕ หรือว่าจัดขันธ์ ๕ เข้าในหมวดเจตสิก,  
                   วิญญาณ  จัดเข้าในหมวดจิต ,
                   เวทนา, สัญญา, สังขาร   นี้เป็น เจตสิก
     
                   เจตสิกทั้งปวงนี้  เมื่อย่นย่อลงแล้วก็ย่นย่อลงในเวทนา  ในสัญญา  ในสังขารทั้งหมด  และตามนัยในอภิธรรมนี้   วิญญาณในขันธ์ ๕   มนะในอายตนะภายใน และ  จิตที่กล่าวถึงในที่ทั้งปวง  จัดเข้าในหมวดจิต หมด  เพราะฉะนั้น  หลักของการจัดหมวดจิตในอภิธรรม  จึงต่างจากหลักของการแสดงจิต  มโน และวิญญาณ  ในสุตตตันตะหรือในพระสูตร

                   ในพระสูตร นั้น  จิต มีความหมายอย่างหนึ่ง  วิญญาณ มีความหมายอย่างหนึ่ง  มโน มีความหมายอย่างหนึ่ง  ดั่งที่แสดงแล้วใน อนัตตลักขณสูตร  และใน อาทิตตปริยายสูตร

                    กล่าวโดยย่อ  ใน  อนัตตลักขณสูตร วิญญาณนั้นเป็นขันธ์ ๕ ข้อหนึ่ง  ซึ่งตกในลักษณะของไตรลักษณ์  คือไม่เที่ยง  เป็นทุกข์  เป็นอนัตตา  ดั่งที่ในพระสูตรนั้นสอนให้รู้ว่าวิญญาณเป็นอนัตตา

                   ใน  อาทิตตปริยายสูตร  มนะเป็นอายตนะภายในข้อหนึ่งที่ท่านสอนให้พิจารณาว่าเป็นของร้อน  ร้อนเพราะไฟคือ  ราคะ  โทสะ โมหะ เป็นต้น
     
                   คราวนี้  ใคร เป็นผู้พิจารณาวิญญาณว่าเป็นอนัตตา  พิจารณามนะว่าเป็นของร้อน  ต้องมีผู้พิจารณาอีกผู้หนึ่ง  ไม่ใช่วิญญาณพิจารณาวิญญาณเอง  หรือมนะพิจารณามนะเอง,  
    ในตอนท้ายของพระสูตรทั้งสองนี้ก็แสดงว่าจิต พ้นจากอาสวกิเลส   แต่ว่าไม่ได้แสดงว่า วิญญาณพ้น หรือมนะพ้น  จะแสดงอย่างนั้นก็ย่อมไม่ได้  เพราะเมื่อวิญญาณเป็นอนิจจัง  ทุกขัง อนัตตา  ก็ไม่อยู่ในฐานะที่จะเป็นผู้พ้นกิเลส, และมนะก็เป็นของร้อนเพราะไฟกิเลส  ก็ไม่อยู่ในฐานะที่จะเป็นผู้พ้น
     
                   นักอภิธรรมบางท่านได้กล่าวหาผู้ที่แสดงอย่างนี้ว่า  แสดงขันธ์ ๖  คือแสดง จิต เพิ่มขึ้นอีกหนึ่งขันธ์  เพราะว่าตามอภิธรรมนั้น  จิต  มนะ  วิญญาณ  อยู่ในหมวดจิตอันเดียวกัน
     
                   คราวนี้ถ้าพิจารณาดูให้รู้อธิบายของท่าน  และเมื่อต้องการจะพูดถึงธรรมะในปิฎกไหน  ก็เอาอธิบายของปิฎกนั้นมาอธิบาย ก็ไม่ยุ่ง
     
                   คือว่าเมื่อจะอธิบายอภิธรรม  ก็อธิบายว่าทั้งสามนี้เหมือนกัน  แต่ว่าเมื่อจะอธิบายพระสูตร ก็อธิบายตามหลักฐานในพระสูตรดั่งกล่าวมาแล้ว
     
                   แต่อภิธรรมนี้ได้เป็นที่นิยมนับถือมาเป็นเวลาช้านาน  พระอาจารย์ผู้อธิบายพระสูตร  เมื่อจะอธิบายถึงจิต ถึงมโน  ถึงวิญญาณ  ก็คัดเอาคำอธิบายในอภิธรรมมาใส่ไว้ในพระสูตรด้วย
                   เพราะฉะนั้น  จึงเกิดความสับสนขึ้น  ดั่งเช่นบาลีพระสูตรกล่าวถึงจิต  พระอาจารย์ผู้อธิบายก็คัดเอามาจากอภิธรรมว่า   “จิตฺตนฺติ วิญฺญาณํ (วิญญาณ ชื่อว่าจิต) ” เป็นอย่างนี้เป็นพื้นตั้งแต่ชั้นอรรถกถาลงมา  อันนี้แหละเป็นเหตุให้สับสนกัน  ถ้าหากว่าแยกเสียดั่งที่กล่าวมาแล้วก็จะไม่สับสน
     
                   พิจารณาดูในคัมภีร์อภิธรรมนั้น ท่านต้องการแสดงเพียงขันธ์ ๕ เท่านั้น  คือจำแนกขันธ์ ๕ ออกไปอย่างวิจิตรพิสดาร  วิญญาณก็จำแนกออกไปเป็นจิตต่าง ๆ อย่างวิจิตรพิสดาร  และเวทนา  สัญญา สังขาร  ก็จำแนกออกไปเป็นเจตสิกถึง ๕๒ 

                   จาก ๓   ไปเป็น ๕๒   แล้วรูปก็ยังจำแนกวิจิตรพิสดารออกไปอีกมากมาย  
     
                   เพราะฉะนั้นเมื่อจับได้ว่าท่านต้องการจะอธิบายธรรมะแค่ขันธ์ ๕ ให้พิสดาร  ท่านจะเรียกว่าจิต  ว่ามนะ หรืออะไร ๆ ก็ตาม  เราก็เข้าใจไปตามที่ท่านประสงค์  ก็เป็นการไม่ยุ่ง แต่ก็ไม่ควรจะไปอธิบายให้ปะปนกัน
     
                   และที่ท่านจำแนกจิตไว้ถึง ๘๙  ดวงนั้น ก็ด้วยยกเอาเจตสิกขึ้นมาเพียง ๓ ข้อเท่านั้น  คือ  
                                    เวทนา ๑
                                    ญาณะ (ความรู้)  ๑
                                    สังขาร (คือปรุงขึ้นเองหรือต้องกระตุ้นเตือน) ๑
                   เจตสิกมีถึง ๕๒  ยกขึ้นมาเพียง ๓ ข้อ  ยังแจกออกไปตั้ง ๘๙  คราวนี้ยกทั้ง ๕๒  ก็จะได้จิตนับหาถ้วนไม่  เพราะฉะนั้นจิตที่แจกไว้นั้น  ก็หมายความว่ายกขึ้นมาไว้เป็นตัวอย่างเท่านั้น  จิตของคนก็เป็นอย่างนั้น  เพียงในระยะครู่หนึ่ง ก็มีความคิดไปต่าง ๆ มากมาย
     
    ขอให้เจริญในธรรมครับ
     
  11. เสขะ บุคคล

    เสขะ บุคคล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,240
    กระทู้เรื่องเด่น:
    54
    ค่าพลัง:
    +4,023
    คหสต.ของผมคนเดียวนะครับ

    ถ้าว่าโดยสมมุติที่นิยมใช้ทั่วไป ถ้าหมายว่าจิต ก็จิตตอวิชชา ก็จิตที่มีอวิชชา ย่อมมีอุปาทานในขันธ์ห้า

    ถ้าว่าวิมุติโดยใช้สมมุติ ก็พ้นบัญญัติ ไม่เหลืออุปาทาน ก็ว่าว่านิพพาน ธรรมธาตุ วิมุติจิต แล้วแต่จะเรียกใช้กับใคร กาลและบุคคลให้เข้าใจร่วมกัน

    ทัศนะผมมีประมาณนี้ครับ ผิดไม่ตรงธรรมอย่างไรแนะนำน้องได้ครับพี่ ณฉัตร
     
  12. ณฉัตร

    ณฉัตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 เมษายน 2015
    โพสต์:
    633
    ค่าพลัง:
    +790
    จิต มโน วิญญาณ ทราบว่าวิญญาณจะเกิด ก็ต้องมีปัจจัยาการ หมายถึง ผัสสะ หรือเปล่าไม่แน่ใจ แต่มโนวิญญาณ ไม่ใช่จิต มันอธิบายลำบาก เอาว่านั่งสมาธิหรือทำสมาธิให้นิ่ง สงบ หากสามารถได้ยินเสียงหัวใจตัวเองเต้นได้ชัดเจน หรือเอาจิตไปจับที่ทรวงอกรับรู้การเต้นของหัวใจได้ชัด ลองเปลี่ยนเอาสมาธิจิตนั้น พิจารณาจิตเองโดยหลับตา เพื่อจะสังเกตุนามธาตุได้ชัด จะสังเกตุได้หรือไม่ จะเหมือนกันไหม ไม่ต้องสนใจบัญญัติ เอาแค่อาการรู้นามธรรมเป็นพอ ถ้าจะชัดเจนต้องเพิกถอนการที่จิตจะรับรู้รูปกายก่อน จากนั้น เอาจิตจับดูจิต ตัวรู้ ตัวตัดสินหรือตัวเจตนา ตัวระลึกรู้กำหนดหมายได้ ตัวปัญญา ตัวปรุงแต่ง มันจะปรากฏเอง ภาษาพระน่าจะเรียกว่า เห็นจิตในจิต หรือเห็นธรรมในธรรม แบบเริ่มต้นรู้รูปรู้นามรู้ประเภทของรูปของนาม
     
  13. เสขะ บุคคล

    เสขะ บุคคล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,240
    กระทู้เรื่องเด่น:
    54
    ค่าพลัง:
    +4,023
    ขอบคุณมากครับพี่ ณฉัตร
    ผมอ่านแล้ว แบบที่พี่ณฉัตรสอนนี้ ขันธ์จะเริ่มแยกออกจากจิตรึป่าวครับ ถ้าผมเข้าใจความหมายผิดแนะนำน้องเพิ่มเติมได้ครับ
     
  14. hastin

    hastin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    1,116
    ค่าพลัง:
    +3,085
    ปรับอินทรีย์ 5 ให้สมดุลครับ
     
  15. ณฉัตร

    ณฉัตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 เมษายน 2015
    โพสต์:
    633
    ค่าพลัง:
    +790
    ไม่แยกออกจากกันครับ ธรรมทั้งหลายมาประชุมพร้อมกัน เป็นเหตุปัจจัยแก่กัน ธรรมจะเลิกมาชุมนุมกันก็ต้องมีเหตุปัจจัยให้เลิก ธรรมมีปัจจัยเกิดดับ ต้องมีปัจจัยก่อน การนั่งสมาธิภาวนาให้แยกไม่มีทางครับ ถ้ายังมีชีวิตอยู่ตราบใด ขันธ์5ก็มีตราบนั้น แต่จิตไม่มีอุปาทานในขันธ์ได้ในขณะมีชีวิต แม้บรรลุอรหันต์ก็มีขันธ์5แต่ไม่มีอุปาทานในขันธ์แล้ว แต่กริยาและเจตจำนวค์ยังทำให้โลกุตรจิตยังต้องประกอบขันธ์เป็นชีวิตอยู่ ได้ทราบตามพระไตรปิฎกว่า พระอรหันต์หากไม่บวชในเจ็ดวัน ขันธ์ทั้ง5จะรับจิตพระอรหันต์ไม่ได้ แต่ด้วยเพศพรหมจรรย์จึงจะยังให้ขันํธ์รับได้ ถ้าประสงค์ให้จิตแยกออกจากขันธ์5 จึงมีแต่ต้องบรรลุอรหันต์แล้วดับขันธ์ไปเลย ถ้าจะให้ตอบว่าภาวนาใดแยกจิตออกจากขันธ์ห้า คำถามไม่ตรงครับ ต้องถามว่าภาวนาใดดับขันธ์5 ตอบว่า ทุกภาวนาที่ท่านบำเพ็ญแล้วบรรลุอรหันต์ครับ กรรมฐานอะไรก็ได้
     
  16. GipBall

    GipBall เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2012
    โพสต์:
    109
    ค่าพลัง:
    +182
    เอาง่ายๆๆแบบคนโง่ตอบนะ

    ขันธ์5เนี่ย ประกอบไปด้วย รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ นะ ปุถุชนคนธรรมดาที่หนาแน่นไปด้วยกิเลส จิตจาติดวิญญาณ ไม่ต้องถามนะว่ามันติดไง วิญญาณเป็นผู้ที่ไปเกิดใน รูป เวทนา สัญญา สังขาร /ต่อไปจาสรุปไอ้ขันธ์4 เนี่ยแค่ รูป กับ ความคิด อารมณ์นะง่ายดี เอาวิญญาณที่มันรวมกับจิตเนี่ยคือผู้คอยสังเกตุนะ

    ผู้คอยสังเกตุมาดูความรู้สึกที่กายนะ จาลมก็ได้ ท้องเขยื่อนก็ได้นะ แล้วคอยสังเกตุนะว่าผู้คอยสังเกตุเนี่ยมันจาแว๊ปไปทาง ความคิดมั่ง อารมณ์มั่ง ดูไปประมาณ 13ปีนะ แล้วจาเริ่มเห็นความว่างเพิ่มเข้ามาอีกตัว 13ปีเนี่ยเดาเอานะเพราะผม13ปีคุณอาจจาเร็วกว่าผม

    ทีนี้ก็จามี ว่าง ความคิด อารมณ์ นะ 3ตัว ให้ผู้คอยสังเกตุได้ดู มากไปกว่านี้ผมยังไม่ถึงนะแต่ผมจาอธิบายที่ผมเข้าใจากผู้ที่รู้มาก่อน

    พอดูไปอารมณ์จาหมดไปเหลือแต่ ว่างกับคิดนะ

    ว่างก็คือ วิญญาณ ไอ้ที่ดูวิญญาณอีกตัวคือจิต(ผู้คอยสังเกตุ) ความคิดคือ สังขาร และสัญญา

    นี่และที่เราเรียกว่าแยกขันธ์ออกจากจิต แล้วก็จิต(ผู้คอยสังเกตุ)ดู แต่ว่าง(วิญญาณ) กับคิด(สังขาร) ดูการแว๊บไปว๊ปมาระหว่างว่างกับคิด จนวิญญาณเนี่ยถูกทำลายไป 25%เป็นโสดาบัน ยังมีคิด(สังขาร)อยู่นะ ดูไปอีกจนวิญญาณถูกทำลายไปอีก50%เป็นสกทาคามี(ยังมีคอสังขารอยู่นะ)ดูไปอีกจนวิญญาณถูกทำลายไป75%เป็นอนาคามี คิด(สังขาร)หมดแล้วนะ แล้วก็ดูว่าง(วิญญาณ)จนวิญญาณหมดไป100%เป็นอรหันต์


    ทีนี้ก็เหลือขันธ์ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และจิต(ผู้คอยสังเกตุ) ทีนี้จิตมันคิดแต่ไม่มีอารมณ์ คิดเสร็จจบ จิตมันวิ่งไปทางตามันมอง เห็นก็สักแต่ว่าเห็น ทำอะไรได้ทุกอย่างเหมือนปุถุชนที่หนาแน่นไปด้วยกิเลส แต่ต่างกันที่ เลิกคิดแล้วจบ เห็นเสร็จจบ พูดเสร็จจบ
     
  17. เสขะ บุคคล

    เสขะ บุคคล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,240
    กระทู้เรื่องเด่น:
    54
    ค่าพลัง:
    +4,023


    ขอบคุณพี่ hastin ที่แนะนำ
    และขอบคุณพี่ ณฉัตร ที่แนะนำและแสดงทัศนะครับ

    รับไปพิจารนาครับ
     
  18. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241
    เมื่อวันที่ 26 ธ.ค. 2547



    เรียนคุณผู้ถาม
    หลวงตาเมตตาแสดงธรรมตอบให้คุณ
    เมื่อวันที่ ๒๖ ธันวาคม ๒๕๔๗ ณ สวนแสงธรรม กรุงเทพฯ ดังนี้

    ผู้กำกับ : นี่คนที่ ๒ ครับ ข้อ ๑. ขณะที่ผมนั่งภาวนาพุทโธ ลมหายใจเข้ากระทบปลายจมูก ภาวนาพุท ลมหายใจออก กระทบปลายจมูก ภาวนาโธ สติรู้อยู่ที่ปลายจมูก ซึ่งเป็นทางเข้าออกของลม ที่มากระทบครับ กระผมก็พิจารณาไปเรื่อยๆ พยายามให้มีสติ รู้ลมที่มากระทบที่ปลายจมูกและคำภาวนา จนกระทั่งผ่านไปสักพักหนึ่ง เกิดเวทนาที่ขาครับ กระผมรู้สึกเริ่มปวดแต่สามารถทนได้ ก็ภาวนาพุทโธต่อไป แต่พอไม่นานก็ปวดมากขึ้นครับ กระผมจึงเปลี่ยนจากการภาวนาพุทโธ มาเป็นการพิจารณาร่างกายแยกธาตุแยกขันธ์ โดยเฉพาะตรงที่ปวดครับ ซึ่งก็ทำให้ความปวดลดลงไป แต่ยังไม่หายขาดครับ ยังคงปวดอยู่ แต่กระผมทนได้ครับ กระผมก็เลยเปลี่ยนจากการพิจารณาร่างกาย มาเป็นการภาวนาพุทโธ เหมือนตอนแรกครับ ที่กระผมได้กระทำมาดังกล่าวนี้ ถูกต้องหรือไม่ครับ กระผมต้องพิจารณาแยกธาตุแยกขันธ์ จนให้ความปวดหายไป หมดหรือไม่ครับ แล้วค่อยกลับมาพิจารณาพุทโธต่อไปครับ จาก ไกรพล

    หลวงตา : ไม่ผิดล่ะ ถูกต้องตามนิสัยควรจะพิจารณาแง่ใดเวลาใด นี้ก็พิจารณาในวงแห่งธรรมที่ถูกต้องอยู่แล้ว

    แยกธาตุแยกขันธ์ Luangta.Com
     
  19. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241
    หลวงตา สอนแยกธาตแยกขันธ์
     
  20. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241
    สองโพสนั้น คือ ร่องรอยคำสอนในเรื่องแยกธาตุแยกขันธ์

    มีคนกล่าวอ้าวบ่อยๆ ด้วย โศลกธรรมว่า " หลวงตาฟันธงเลยนะ หากไม่เคย
    พิจารณาแยกธาตุ แยกขันธ์ อย่ามาพูดว่า เจริญปัญญา "

    ซึ่ง โพสที่เอามาแสดง ก็แสดงให้เห็นว่า พอจิตรวมแล้ว จิตบริกรรมมั่นคง
    แล้ว ก็ต้อง มาเจริญปัญญาต่อ มาขึ้นวิปัสสนา

    วิปัสสนาของหลวงตามหาบัว ฟัน ฉับเริ่มต้นด้วยคำว่า " แยกธาตุแยกขันธ์ "

    ทีนี้ ก็จะมี ประเด็นสำนวนธรรมว่า แยกขันธ์ แยกอะไร แยกออกจากอะไร

    ตรงนี้ หากเราไปไหลตามการตรึกด้วยตรรกศาสตร์ ก็จะไปเผลอพูดคำว่า
    " แยกขันธ์ออกจากจิต " ทำให้เกิดความสับสน

    จริงๆ เราพิจารณา แยกธาตุ แยกขันธ์ให้ให้มันกระจายออกจากกัน ออก
    จากขันธ์5ด้วยกันเองเป็น กองๆไป กองสัญญา กองรูป กองเวทนา กองวิญญาณ
    กองสังขาร ไม่ต้องไปมั่วซั่วว่า แยกขันธ์ออกจากอะไร

    ทำให้ ฆนะสัญญามันแตก ขันธ์มันก็จะกระจายออก รับรู้ได้ ถึงความแยก
    ออกจากกัน ห่างออกไป หากได้ไตรลักษณ์ญาณสัมปยุต จะเกิด กริยารู้ชัดว่าแยก
    เพราะ จะเกิด " ธรรมเอก "

    ทีนี้ ก็เป็นปัญหาอีก ธรรมเอก คืออะไร คือนิพพาน คือจิตข้ามพ้นขันธ์ ก็จะไป
    กันใหญ่ ธรรมเอก เป็นสภาพธรรม จิตตั้งมั่น แยกออกมาเป็น ผู้สังเกต ไม่
    เข้าไปฉวยขันธ์ ไม่ฉวยแม้นวิญญาณ มาเป็นตน ...ซึ่ง มีความไม่เที่ยง คือพอ
    เลิกภาวนา ธรรมเอกก็หายไป [ จึงไม่ควร เอา ธรรมที่เกิดจากปัจจัย และ ธรรม
    ที่หายไปได้ มาบัญญัติเป็น จิตพ้นขันธ์ หรือ เป็น นิพพาน ]

    ปักหมุดเลยนะ พี่เสขะ

    หากไม่แยกธาตุแยกขันธ์ อย่ามาพูดว่า เจริญปัญญา เป็น
     

แชร์หน้านี้

Loading...