เส้นทางสายเดียวที่พระอรหันต์ได้เดินผ่าน...

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย Samarnl, 24 เมษายน 2015.

  1. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    สุกขวิปัสสโกเจริญวิปัสสนากรรมฐาน โดยใช้สติปัฏฐาน ๔ เป็นอารมณ์ อารมณ์เหล่านี้จะไม่ทำให้เกิดฌานได้ กำลังของการเจริญวิปัสสนาก็มีสมาธิแต่ไม่ใช่ฌาน การเจริญวิปัสสนาเจริญสมถะด้วยไปพร้อมๆกันไม่ได้ เพราะวิปัสสนากับสมถะอารมณ์ทั้งสองมันต่างกัน ต้องไปทีละอย่างจึงจะสำเร็จ
     
  2. chura

    chura เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 มีนาคม 2005
    โพสต์:
    688
    ค่าพลัง:
    +1,971
    พระพุทธเจ้า สอนวิธีการปฎิบัติตามลำดับ (กระทั่งได้ ฌาน)



    ทรงมีหลักเกณฑ์การฝึกตามลำดับ (อย่างย่อ)

    ดูก่อนพราหมณ์ ! ในธรรมวินัยนี้ เราสามารถบัญญัติกฎเกณฑ์แห่งการศึกษาตามลำดับ การกระทำตามลำดับ และการปฏิบัติตามลำดับ ได้เหมือนกัน (กับที่ท่านวิธีฝึกสอนศิษย์ของท่านให้นับตามลำดับ)

    ดูก่อนพราหมณ์ ! เปรียบเหมือนผู้ชำนาญการฝึกม้า ได้ม้าชนิดที่อาจฝึกได้มาแล้ว ในขั้นแรกย่อมฝึกให้รู้จักการรับสวมบังเหียนก่อน แล้วจึงฝึกอย่างอื่น ๆ ให้ยิ่งขึ้นไป ฉันใด; พราหมณ์เอย! ตถาคตครั้นได้บุรุษที่พอฝึกได้มาแล้ว ในขั้นแรกย่อมแนะนำอย่างนี้ก่อนว่า “มาเถิดภิกษุ ! ท่านจงเป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยดีในปาติโมกข์ ถึงพร้อมด้วยมรรยาทและโคจร มีปรกติเห็นเป็นภัยแม้ในโทษที่เล็กน้อย จงสมาทานศึกษาในสิกขาบททั้งหลายเถิด” ดังนี้.

    พราหมณ์ ! ในกาลใด ภิกษุนั้นเป็นผู้มีศีล (เช่นที่กล่าวแล้ว) ดีแล้วตถาคตย่อมแนะนำให้ยิ่งขึ้นไปว่า “มาเถิดภิกษุ! ท่านจงเป็นผู้สำรวมในอินทรีย์ทั้งหลาย : ได้เห็นรูปด้วยตาแล้ว จักไม่ถือเอาโดยนิมิต (คือรวบถือทั้งหมดว่างามหรือไม่งามแล้วแต่กรณี), จักไม่ถือเอาโดยอนุพยัญชนะ (คือแยกถือเอาแต่บางส่วนว่าส่วนใดงามหรือไม่งามแล้วแต่กรณี), บาปอกุศลกล่าวคืออภิชฌาและโทมนัส มักไหลไปตามอารมณ์เพราะการไม่สำรวมจักขุอินทรีย์ใดเป็นเหตุเราจักสำรวมอินทรีย์นั้นไว้เป็นผู้รักษาสำรวมจักขุอินทรีย์. (ในโสตินทรีย์คือหู ฆานินทรีย์คือจมูก ชิวหาอินทรีย์คือลิ้น กายินทรีย์คือกาย และมนินทรีย์คือใจ ก็มีข้อความนัยเดียวกัน).

    พราหมณ์ ! ในกาลใด ภิกษุนั้นเป็นผู้สำรวมอินทรีย์ (เช่นที่กล่าวนั้น) ดีแล้ว ตถาคตย่อมแนะนำให้ยิ่งขึ้นไปอีกว่า “มาเถิดภิกษุ! ท่านจงเป็นผู้รู้ประมาณในโภชนะอยู่เสมอ จงพิจารณาโดยแยบคายแล้วจึงฉัน ไม่ฉันเพื่อเล่นเพื่อมัวเมา เพื่อประดับตกแต่ง, แต่ฉันเพียงเพื่อให้กายนี้ตั้งอยู่ได้เพื่อให้ชีวิตเป็นไปเพื่อป้องกันความลำบาก เพื่ออนุเคราะห์พรหมจรรย์, เราจักกำจัดเวทนาเก่า (คือหิว) เสียแล้วไม่ทำเวทนาใหม่ (อิ่มจนอึดอัด) ให้เกิดขึ้น. ความที่อายุดำเนินไปได้ ความไม่มีโทษเพราะอาหารและความอยู่ผาสุกสำราญ จักมีแก่เรา” ดังนี้.

    พราหมณ์ ! ในกาลใด ภิกษุนั้นเป็นผู้รู้ประมาณในโภชนะ (เช่นที่กล่าวนั้น) ดีแล้ว ตถาคตย่อมแนะนำให้ยิ่งขึ้นไปอีกว่า “มาเถิดภิกษุ! ท่านจงประกอบความเพียรในธรรมเป็นเครื่องตื่น (ไม่หลับ ไม่ง่วง ไม่มึนชา). จงชำระจิตให้หมดจดสิ้นเชิงจากอาวรณิยธรรมทั้งหลาย ด้วยการเดิน การนั่งตลอดวันยังค่ำไปจนสิ้นยามแรกแห่งราตรี. ครั้นยามกลางแห่งราตรี สำเร็จการนอนอย่างราชสีห์ (คือ) ตะแคงขวา เท้าเหลื่อมเท้า มีสติสัมปชัญญะในการลุกขึ้น. ครั้นถึงยามท้ายแห่งราตรี ลุกขึ้นแล้ว ชำระจิตให้หมดจดจากอาวรณิยธรรมด้วยการเดินการนั่ง อีกต่อไป” ดังนี้.

    พราหมณ์ ! ในกาลใด ภิกษุนั้นเป็นผู้ประกอบความเพียรในธรรมเป็นเครื่องตื่น (เช่นที่กล่าวนั้น) ดีแล้ว ตถาคตย่อมแนะนำให้ยิ่งขึ้นไปอีกว่า “มาเถิดภิกษุ ! ท่านจงเป็นผู้ประกอบพร้อมด้วยสติสัมปชัญญะ รู้ตัวรอบคอบในการก้าวไปข้างหน้า การถอยกลับไปข้างหลัง, การแลดู การเหลียวดู,การคู้การเหยียด, การทรงสังฆาฏิบาตรจีวร, การฉัน การดื่ม การเคี้ยว การลิ้ม การถ่ายอุจจาระปัสสาวะ, การไป การหยุด, การนั่ง การนอน, การหลับ การตื่น, การพูด การนิ่ง” ดังนี้.

    พราหมณ์ ! ในกาลใด ภิกษุนั้นเป็นผู้ประกอบพร้อมด้วยสติสัมปชัญญะ (เช่นที่กล่าวนั้น) ดีแล้ว ตถาคตย่อมแนะนำให้ยิ่งขึ้นไปอีกว่า “มาเถิดภิกษุ ! ท่านจงเสพเสนาสนะอันสงัด คือป่าละเมาะ โคนไม้ ภูเขา ลำธาร ท้องถ้ำ ป่าช้าป่าชัฏ ที่แจ้ง ลอมฟาง (อย่างใดอย่างหนึ่ง). ในกาลเป็นปัจฉาภัตต์ กลับจากบิณฑบาตแล้ว นั่งคู้บัลลังก์ตั้งกายตรงดำรงสติเฉพาะหน้า, ละอภิชฌาในโลก มีจิตปราศจากอภิชฌาคอยชำระจิต จากอภิชฌา ; ละพยาบาท มีจิตปราศจากพยาบาท เป็นผู้กรุณามีจิตหวังความเกื้อกูลในสัตว์ทั้งหลาย คอยชำระจิตจากพยาบาท; ละถีนะมิทธะมุ่งอยู่แต่ความสว่างในใจ มีจิตปราศจากถีนะมิทธะ มีสติสัมปชัญญะรู้สึกตัว คอยชำระจิตจากถีนะมิทธะ; ละอุทธัจจะกุกกุจจะ ไม่ฟุ้งซ่านมีจิตสงบอยู่ในภายในคอยชำระจิตจากอุทธัจจะกุกกุจจะ ;ละวิจิกิจฉา ข้ามล่วงวิจิกิจฉาเสียได้ ไม่ต้องกล่าวว่า ‘นี่อะไร นี่อย่างไร’ ในกุศลธรรมทั้งหลาย (เพราะความสงสัย) คอยชำระจิตจากวิจิกิจฉา” ดังนี้.

    ภิกษุนั้น ครั้นละนิวรณ์ห้าประการ อันเป็นเครื่องเศร้าหมองจิต ทำปัญญาให้ถอยกำลังเหล่านี้ ได้แล้ว, เพราะสงัดจากกามและสงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย จึงบรรลุฌานที่ ๑ มีวิตกวิจารมีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกแล้วแลอยู่. เพราะสงบวิตกวิจารเสียได้ จึงบรรลุฌานที่ ๒ เป็นเครื่องผ่องใสในภายใน เป็นที่เกิดสมาธิแห่งใจ ไม่มีวิตกวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิอยู่. เพราะความจางแห่งปีติ ย่อมอยู่อุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุฌานที่ ๓ อันเป็นฌานที่พระอริยเจ้ากล่าวว่าผู้ได้ฌานนี้ เป็นอยู่อุเบกขามีสติอยู่เป็นสุข. และเพราะละสุข และทุกข์เสียได้ เพราะความดับหายไปแห่งโสมนัสและโทมนัสในกาลก่อน จึงได้บรรลุฌานที่ ๔ อันไม่ทุกข์ไม่สุข มีแต่ความที่มีสติเป็นธรรมชาติบริสุทธิ์ เพราะอุเบกขา แล้วแลอยู่.

    พราหมณ์เอย! ภิกษุเหล่าใดที่ยังเป็นเสขะ (คือยังต้องทำต่อไป) ยังไม่บรรลุอรหัตตมรรค ยังปรารถนานิพพานอันเป็นที่เกษมจากโยคะ ไม่มีอื่นยิ่งไปกว่าอยู่, คำสอน ที่กล่าวมานี้แหละ เป็นคำสอนสำหรับภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น. ส่วนภิกษุเหล่าใด เป็นอรหันต์สิ้นอาสวะแล้ว จบพรหมจรรย์แล้วทำกิจที่ต้องทำสำเร็จแล้ว มีภาระอันปลงได้แล้ว มีประโยชน์ตนอันได้บรรลุถึงแล้ว มีสัญโญชน์ในภพสิ้นไปรอบแล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบแล้ว, ธรรมทั้งหลาย (ในคำสอน) เหล่านี้ เป็นไปเพื่อความอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรม และเพื่อสติสัมปชัญญะ แก่ภิกษุทั้งหลายเหล่านี้ด้วย.
     
  3. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    แสดงไปตามลำดับ คือ อนุปุพพิกถา หมายถึง เทศนาที่แสดงไปโดยลำดับ เพื่อฟอกอัธยาศัยของสัตว์ให้หมดจดเป็นๆ จากง่ายไปหายาก เพื่อเตรียมจิตของผู้ฟังให้พร้อมที่จะรับฟังธรรมชั้นสูง คือ อริยสัจ มี ๕ ประการ คือ

    ๑. ทานกถา กล่าวคือทาน หมายถึง การพรรณนาคุณเรื่องการให้ทานและอานิสงส์ของการให้ทาน ว่าเป็นเหตุให้ได้รับความสุข เพราะผู้รู้จักให้เป็นที่รักใคร่ของคนหมู่มาก เป็นบ่อเกิดแห่งโภคทรัพย์ทั้งปวง เป็นหลักประกันของชีวิตในเวลาจะสิ้นใจเป็นต้น

    ๒. สีลกถา กล่าวคือศีล หมายถึง การพรรณนาคุณเรื่องการรักษาศีลและอานิสงส์ของการรักษาศีลว่า ผู้มีศีล ย่อมไม่ประสบความเดือดร้อนเนื้อร้อนใจจากที่ไหนๆ เพราะมีศีลเป็นเหมือนอาภรณ์อย่างประเสริฐ เป็นหลักประกันในการได้สมบัติทั้งในโลกนี้และโลกหน้า เป็นต้น

    ๓. สัคคกถา กล่าวคือสวรรค์ หมายถึง การพรรณนาคุณเรื่องสวรรค์ว่า เป็นที่อันเพรียบพร้อมด้วยกามสุขอันเป็นทิพย์มีแต่สิ่งที่น่ารื่นเริงบันเทิงเริงใจ เป็นผลที่ได้รับจากการให้ทาน รักษาศีล เป้นต้น

    ๔. กามาทีนวกถา กล่าวถึงโทษแห่งกาม หมายถึง การพรรณนาโทษเรื่องของกามว่า แม้จะเป็นความสุข แต่ก็มีความทุกข์เจือปน ไม่มีความจีรังยังยืน มีโทษมากแต่คุณน้อย เพราะเป็นเหตุให้เวียนวายอยู่ในสังสารวัฏ เป็นต้น

    ๕. เนกขัมมานิสังสกถา กล่าวถึงอานิสงส์แห่งการออกจากกาม หมายถึง การพรรณนาถึงการออกจากกามและอานิสงส์ว่าเป็นความปลอดโปร่งจากสิ่งล่อเร้าเย้ายวน เพื่อให้เกิดความพอใจที่จะคิดค้นหาวิธีการทำใจไม่ให้หมกมุ่นในกามนั้น วิธีการออกจากกามให้ได้ผลดีก็คือการออกบวชบำเพ็ญเพียร
     
  4. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ^
    ^
    ลุงครับ ลุงว่า
    ลุงหมานกล่าวธรรมไปตามที่ได้ศึกษามามีหลักฐานและองค์ธรรมที่อ้างอิงได้
    ไม่กล่าวธรรมเพื่อให้ต้องเชื่อตาม หรือบังคับให้ต้องเชื่อ


    หลักฐานตรงไหนครับ ที่พระพุทธองค์ได้ตรัสไว้ว่า
    พระอรหันต์สุกขวิปัสสโก ไม่ต้องผ่านฌาน จะดันทุรังไปให้ได้จริงๆหรือครับ

    มีพระพุทธพจน์ชัดๆว่า บุคคลที่จะเป็นพระอรหันต์ได้นั้น
    "อริยมรรคมีองค์๘ ต้องเป็นมรรคสมังคี" ถ้ามรรคไม่สมังคีก็อย่าได้หวังเป็นพระอรหันต์เลย

    แล้วในอริยมรรคมีองค์๘ มีสัมมาสมาธิเป็นหลักด้วย สมาธิคือฌาน ฌานคือสมาธิ
    อย่าพยายามมั่วสิครับ ตำรา(ปิฎก)เสียหายหมด
    ก็ไม่แปลกใจเลยจริงๆว่า ทำไมปัจจุบันจึงมีอริยตราตั้งกันมากมายถึงขนาดนี้
    อ๋อ!!! เพราะเป็นอริยได้โดยไม่ต้องผ่านฌานนั่นเอง

    ขนาดท่านพระพุทธโฆษาจารย์ ท่านยังเป็นห่วงพวก"อริยตราตั้ง"

    “นตฺถิ ฌานํ อปญฺญสฺส นตฺถิ ปญฺญา อฌายิโน, ยมฺหิ ฌานญฺจ ปญฺญาจ นิพฺพานสฺเสว สนฺติเก” แปลว่า
    “ฌานย่อมไม่มีในผู้ที่ไม่มีปัญญา ปัญญาย่อมไม่มีในผู้ที่ไม่มีฌาน ผู้ที่มีทั้งฌานและปัญญา จึงจะอยู่ใกล้นิพพาน”

    เจริญในธรรมทุกๆท่าน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 พฤษภาคม 2015
  5. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ท่านธรรมภูติถามได้ดี น่าสนใจมาก เราก็อยากรู้?
    อริยบุคคล 8 แยกเป็น มรรคสมังคี (ผู้พร้อมด้วยมรรค) 4 ผลสมังคี (ผู้พร้อมด้วยผล)

    เป็นไปได้ไหม? ที่ผู้เป็นพระอรหันต์อย่างที่ท่านลุงหมานปราถนา เป็นพระอรหันต์บรรลุธรรมด่านสุกขวิปัสสโก

    ซ่อนเมฆนะท่าน(รางวัลของคนดี) แต่เราอยากรู้คำตอบท่านลุงหมาน
    ฌานสมาบัติ กับ ปฐมฌาน จะผ่านไปได้ยังไงกันนะ
    ขออภัยที่ละลาบละล้วง
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 พฤษภาคม 2015
  6. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    ธรรมภูตช่วยกรุณาไปตรวจตนเองก่อนว่าเข้าใจอะไรผิดหรือเปล่า
    ช่วยวานไปถามอาจารย์ของธรนมภูตที่นับถือและไว้ใจได้มากที่สุดนะอย่างนี้น่ะมันถูกต้องไหม
    อย่าเอาแต่ส่ายหัวส่ายหัวมา จับต้นชนปลายไม่ถูกพูดอย่างนี้กระโดดมาอย่างนี้
    เวียนหัวจะอาเจียน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 5 พฤษภาคม 2015
  7. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    ตอบจ่ายักษ์
    อริยะบุคคล ๘ แยกได้ มรรค ๔ ผล ๔ คำว่ามัคสมังคีย์นั้นหมายถึงมรรคเกิดพร้อมกันเพื่อประหารกิเลสที่ตนได้ เพื่อให้เกิดผลตามที่ตนประหานได้

    ทำไมจะเป็นไม่ได้เมื่อมรรคทั้ง ๔ ประหารกิเลสหมดสิ้นเขาผู้นั้นก็ย่อมได้รับอรหันตผลทันที

    ฌานสมาบัติก็ฌานสมาบัติ ปฐมฌานก็ปฐมฌาน อารมณ์มันก็คนละอารมณ์กัน ฌานกับมรรคมันก็คนละเรื่ิองกัน อย่าสับสนกัน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 4 พฤษภาคม 2015
  8. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ๑. ออ.. อย่างนั้นเองหรอกรึ! ??

    นึกว่าระดับ Amazing Special Full Power พลวปัจจัยสั่งสมมาดีพร้อมบรรลุกระทันหัน

    ------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
    ๒.รับทราบคำตอบ เห็นแล้วตรองตามแล้ว
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 พฤษภาคม 2015
  9. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ที่เป็นกันอย่างนี้ เพราะขาด พระทศพลญาณ ๑๐ เฮ้อ! ชะตากรรม ชะตากรรม
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • icmy26.jpg
      icmy26.jpg
      ขนาดไฟล์:
      370.2 KB
      เปิดดู:
      31
  10. arjhansiri

    arjhansiri เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 สิงหาคม 2013
    โพสต์:
    186
    ค่าพลัง:
    +148
    พระพุทธองค์ผ่านทางนี้. อาตาปี สัมปะชาโน สติมา วิเนยยะโลเก อภิชฌา โทมนัสสัง
     
  11. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    นตฺถิ ฌานํ อปญฺญสฺส
    นตฺถิ ปญฺญา อฌายิโน ฯเปฯ


    ฌานย่อมไม่มีแก่ผู้ไม่มีปัญญา
    ปัญญาก็ย่อมไม่มีแก่ผู้ไม่มีฌาน
    ผู้ใดมีทั้งฌานและปัญญานั่นแล
    จึงนับว่าอยู่ใกล้นิพพาน


    กระนั้นแล้วก็ตาม ที่ทรงกรุณาจำแนกขึ้นไปอีก

    พอพิจารณาแล้ว ที่ท่านลุงหมานกล่าวมา นั้นปราฎกอยู่ใน
    มหาปัฏฐานสูตร ตามเหตุและปัจจัย ตามจริตธรรม ที่เอื้อเฟื้อแก่การเข้าใจของแต่ละบุคคล

    มหาปัฏฐานสูตร

    เหตุปัจจะโย = ธรรมที่มีเหตุเป็นปัจจัย
    อารัมมะณะปัจจะโย = ธรรมที่มีอารมณ์เป็นปัจจัย
    อธิปะติปัจจะโย = ธรรมที่มีอธิบดีเป็นปัจจัย
    อนันตะระปัจจะโย = ธรรมที่มีปัจจัยหาที่สุดมิได้


    สะมะนันตะระปัจจะโย = ธรรมที่มีปัจจัยมีที่สุดเสมอกัน
    สะหะชาตะปัจจะโย = ธรรมที่เกิดพร้อมเป็นปัจจัย
    อัญญะมัญญะปัจจะโย = ธรรมแต่ละอย่างต่างต้องอาศัยกันและกันเป็นปัจจัย
    นิสสะยะปัจจะโย = ธรรมเป็นปัจจัยโดยเป็นนิสัยที่อาศัย


    อุปะนิสสะยะปัจจะโย = ธรรมเป็นปัจจัยโดยเป็นอุปนิสัยที่อาศัยอย่างแรงกล้า
    ปุเรชาตะปัจจะโย = ธรรมที่เกิดก่อนเป็นปัจจัย
    ปัจฉาชาตะปัจจะโย = ธรรมที่มีธรรมเกิดภายหลังเป็นปัจจัย
    อาเสวะนะปัจจะโย = ธรรมที่มีการเสพเป็นปัจจัย


    กัมมะปัจจะโย = ธรรมที่มีกรรมเป็นปัจจัย
    วิปากาปัจจะโย = ธรรมที่มีวิบากเป็นปัจจัย
    อาหาระปัจจะโย = ธรรมที่มีอาหารเป็นปัจจัย
    อินทริยะปัจจะโย = ธรรมที่มีอินทรีย์เป็นปัจจัย


    ฌานะปัจจะโย = ธรรมที่มีฌานเป็นปัจจัย
    มัคคะปัจจะโย = ธรรมที่มีมรรคเป็นปัจจัย
    สัมปะยุตตะปัจจะโย = ธรรมที่มีการประกอบเป็นปัจจัย
    วิปปะยุตตะปัจจะโย = ธรรมที่มีการอยู่ไม่ปราศจากเป็นปัจจัย


    อัตถิปัจจะโย = ธรรมที่มีเป็นปัจจัย
    นัตถิปัจจะโย = ธรรมที่ไม่มีเป็นปัจจัย
    วิคะตะปัจจะโย = ธรรมที่มีการอยู่ปราศจากเป็นปัจจัย
    อะวิคะตะปัจจะโย = ธรรมที่ไม่มีการอยู่ปราศจากเป็นปัจจัย

    ธรรมเหล่านี้ ณ บั้นปลายที่สุดแห่งธรรม ย่อมทำให้แจ้งซึ่งการเข้าสู่พระนิพพาน

    ทำไมถึงต้องหายไปก่อนได้นะ!
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 พฤษภาคม 2015
  12. chura

    chura เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 มีนาคม 2005
    โพสต์:
    688
    ค่าพลัง:
    +1,971


    ผมขออธิบายเรื่อง สติ และ สัมปชัญญะ เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ชัดเจนเพิ่มขึ้นน๊ะครับ...

    สติ คือ ความระลึกได้(เมื่อ ไม่มี สัมปชัญญะหรือความรู้ตัวทั่วพร้อม) เมื่อขาดความรู้ตัวต่อเนื่อง สติจะสั้นมากๆ รู้ตัวทีก็เกิดสติที
    ระลึกขึ้นมาได้ที นี้เป็นอาการของสติ ที่ระลึกได้...


    สติ คือ ผู้เห็น หรือผู้สังเกตุ หรือเครื่องตรวจจับ(เมื่อ มี สัมปชัญญะหรือความรู้ตัวทั่วพร้อมต่อเนื่อง) เมื่อสติตามเห็นกายทั้งกายได้
    ชัดเจน เมื่อนั้นสติก็ตามเห็นใจได้ แต่ต้องให้มีความต่อเนื่องด้วยทั้งทางกายและทางใจ โดยรู้ความเคลื่อนไหวของกายและใจที่ต่อเนื่อง
    แล้วผู้สังเกตุจึงจะทำงานได้ ตรวจจับได้ หรือเห็น สิ่งปรุงแต่งต่างๆได้ทั้งทางกายและทางใจ...

    สติ ที่มาพร้อม กับสัมปชัญญะ(ความรู้ตัวต่อเนื่อง) ความรู้ตัวที่ต่อเนื่องนี่แหละ ทำให้สติเป็นผู้เห็น ผู้สังเกตุ มีความต่อเนื่องด้วย คุณจะสังเกตุ
    เห็นความเปลี่ยนแปลงของ กาย ใจ ได้ก็ต้องมีความต่อเนื่อง(สัมปชัญญะ) จึงจะเห็นความเปลี่ยนแปลง(ไตรลักษณ์)ได้...

    สัมปชัญญะ หรือความรู้ตัวทั่วพร้อม ควรเริ่มที่ฐานกายเป็นหลัก ความรู้อาการเคลื่อนไหวต่างๆของกายต่อเนื่อง หรือความรู้สึกทั้งตัวได้ต่อเนื่อง
    นี่แหละสัมปชัญญะ เช่นการฝึกยกมือแล้วรู้สึกตัว ตามแนวทางหลวงพ่อเทียน หรือการเคลื่อนไหวในอิริยาบทต่างๆให้รู้ต่อเนื่องกันไป หรือการใช้
    ลมหายใจเข้า ลมหายใจออก แล้วกระจายความรู้สึกให้ได้ทั้งกายต่อเนื่อง...
     
  13. hastin

    hastin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    1,116
    ค่าพลัง:
    +3,085
    สติ และ สัมปชัญญะ สำคัญมาก ตัวผมก็ละเลยไป ต้องย้อนกลับมาฝึกเพิ่มหลายครั้ง

    ควรนำมาฝึกกับชีวิตประจำวันเลย แรกๆอาจจะเคลื่อนไหวช้าลงนิดเพื่อให้ตามทัน

    ต่อไปก็จะดีขึ้น

    ควรทำแต่พอเหมาะไม่เคร่งเครียด มีสติ รู้จิตตัว ไหว ไม่ไหว พัก ไม่พัก

    ควรทำความรู้สึกให้ เบา สบาย อันนี้สำคัญมาก
     
  14. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ^
    ^
    ลุงครับ

    บอกลุงไปตั้งหลายครั้งแล้วว่า

    เมื่อได้ยิน ได้ฟังมาจากที่ไหนก็ตามอย่าเพิ่งเชื่อ

    ต้องทำยังไง ก็ต้องตรวจสอบ สอบสวน เทียบเคียงกับอะไร

    พระพุทธพจน์ชัดเจนว่า ต้องลงกันได้กับพระสูตรและพระวินัยใช่หรือไม่?

    แม้อรรถกถาจารย์ท่านเองยังกลัวบาป จึงรจนาไว้ว่า

    ในปกิณณกะเหล่านั้น สุตตะ ใครๆ คัดค้านไม่ได้
    เมื่อคัดค้านสุตตะนั้น ก็เท่ากับคัดค้านพระพุทธเจ้าด้วย.
    ส่วนข้อที่เข้ากับได้กับกัปปิยะ ควรถือเอาเฉพาะข้อที่สมกับสุตตะเท่านั้น
    นอกนั้นไม่ควรถือเอา.
    แม้อาจริยวาทเล่า ก็ควรถือเอาแต่ที่สมกับสุตตะเท่านั้น
    นอกนั้นไม่ควรถือเอา.
    ส่วนอัตตโนมัติเพลากว่าเขาทั้งหมด.
    แม้อัตตโนมัตินั้นก็ควรถือเอาแต่ที่สมกับสุตตะเท่านั้น
    นอกนั้นไม่ควรถือเอา.

    เมื่อเป็นเช่นนี้ใครกันแน่ ที่พยายามส่ายหัวส่ายหางอยู่ครับ

    เจริญในธรรมทุกๆท่าน
     
  15. Prasit5000

    Prasit5000 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    301
    ค่าพลัง:
    +228
    - ขอเห็นต่างนะคงไม่ว่ากัน

    "สติ คือ ความระลึกได้(เมื่อ ไม่มี สัมปชัญญะหรือความรู้ตัวทั่วพร้อม) เมื่อขาดความรู้ตัวต่อเนื่อง สติจะสั้นมากๆ รู้ตัวทีก็เกิดสติที
    ระลึกขึ้นมาได้ที นี้เป็นอาการของสติ ที่ระลึกได้..."

    - ผมกลับเห็นว่า สติ ต้องมาก่อน แล้วตามด้วยสัมปชัญญะ ส่วนท่าน Chura บอกว่า สัมปชัญญะมาเกิดก่อน แล้วจึงมีสติ แล้วท่าน chura บอกว่า ตัวสติเป็นตัวเห็น อันนี้กลับกันกับผมนะครับ ผมจะอธิบายอย่างนี้นะครับ

    - สติ คือจิต ที่ระลึกได้กับ ผัสสะที่เคยเกิดขึ้น เช่น การเกิดผัสสะ โดยลมกระทบจมูก ขณะการดูลมหายใจ หรือการเคลื่อนใหวกายอิริยาบทต่างๆ การเดินจงกรม ล้วนแต่มีการเกิดผัสสะ เท้ากระทบพื้น เกิดกายวิญญาณรู้สึกตรงนั้น การระลึกถึง สภาวะธรรม ที่มาจากผัสสะ แล้ว ระลึกว่าสิ่งนี้เคยเกิดขึ้น จำได้ นี้เรียกว่าสติ ถ้าให้เห็นชัดๆ การเพ่งกสิณ เวลาเราจ้องภาพวงกลม หลับตา นึกถึงภาพที่เราจำอยู่ ก็จะเห็นวงกลมๆ นี้ก็คือการระลึกได้จากตัวสัญญาที่มากระทบจิต นั้นเอง เรียกว่า มีสติ การเพ่งกสิณจึงเป็น การสร้างสติที่ต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดจิตที่เป็นสมาธิ ไม่เกี่ยวกับสัมปชัญญะแต่อย่างได

    - สัมปชัญญะ ไม่ใช่จิต ตัวสัมปชัญญะ เป็นการรู้สึกตัวของสัตว์โลก อะไรคือสัตว์โลก ก็คือตัว นามธาตุอันหนึ่ง ที่ไม่ใช่จิต มันอยู่ในตัวเรานี้แหละ เหมือนจิต มันก็อยู่ในตัวเรานี้แหละ

    - มีสติ เพื่อให้เกิดสัมปชัญญะ มีสติ แล้วไม่เกิดสัมปชัญญะก็ได้ การทำวิปัสสนาต้องทำ สติ ควบคู่ กับสัมปชัญญะเสมอ

    - การสร้างสัมปชัญญะ คือ ต้องสร้างหลังจากเกิดสติเท่านั้น เพราะสัมปชัญญะจะเกิดเองโดดๆไม่ได้ ดังนั้นจึงต้องพัฒนาควบคู่กันไปกับการสร้างสติ สติที่สร้างให้บริสุทธิ์ ระลึกรู้ในสิ่งไดสิ่งหนึ่ง จนมีสติแน่วแน่ กับสิ่งนั้นเช่นลมหายใจเข้าออก ขณะที่สร้างสติก็ต้องมีสัมปชัญญะ รู้ตัวทั่วพร้อม รู้ลมสั้นลมยาว รู้กองลมทั้งปวงนี้เป็นการสร้างสัมปชัญญะ การยกมือของหลวงพ่อเทียนก็เช่นกันการยกมือคือการเกิดผัสสะ เกิดสติระลึกได้ว่านี้คือการยกเช่นนี้ แล้วตามด้วยสัมปชัญญะนั้นเอง หลักการเดียวกัน ใน กายานุปัสนาสติปัฏฐาน แล้วแต่เราชอบจะเลือกเอา ไม่ว่าจะเลือก อานาปานสติ สร้างสติด้วยการดูลม หรือผสมกับเดินจงกรมก็ได้

    - สติที่บริสุทธิ์ ก็คือจิตที่มีสมาธิ สัมปชัญญะที่เกิดอย่างต่อเนื่องก็คือ ธรรมเอกผุดขึ้น ภาวนาเอาแต่จิตก็ไม่ถูก ต้องภาวนาเอาทั้ง จิตและสัมปชัญญะ เพื่อเป็นบาทฐานก้าวสู่ การตรัสรู้เห็นแจ้ง หรือเรียกว่า วิปัสสนานั้นเอง

    - การดูการเปลี่ยนแปลงไตรลักษณ์ มิได้เอาสติดู แต่เอาสัมปชัญญะดู ถ้าเอาสติดู จะดูอย่างไร เอาจิตดูจิตก็ไม่ถูก ต้องเอาสัมปชัญญะ เป็นตัวดูจิต เอาตัวสัมปชัญญะ ดูความเป็นไตรลักษณ์ ของขันธ์ห้า ตัวจิต เป็นตัวป้อนข้อมูลที่ได้ศึกษาพิจารณาธรรม เพื่อให้ตัวสัมปชัญญะเป็นตัวรับข้อมุลนั้น เพื่อให้เกิด วิปัสสนาญาณ มันไม่ได้เกิดง่ายๆ มันเป็นจังหวะ เหมือนการเกิดอุบัติเหตุ เพียงแต่เราเป็นผู้สร้างเงื่อนไข ให้มันเกิด ถ้าสร้างเงื่อนไขไม่ถูกต้องก็เกิดยาก ถ้าเคยต้องโทษอนันตริยกรรม ละก็ หมดสิทธิ์เลย ถ้ามีความเห็นที่ถูกต้องเป็นสัมมาทิฏฐิ ถ้าสามารถทำ ฌานได้ ประตูนิพพานก็เปิด ครับ

    - เราสนทนาธรรม กันเบาแรงไม่ว่ากันนะครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 พฤษภาคม 2015
  16. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    สาธุครับ...มีความเห็นตรงกันครับ

    เพื่อให้กระชับ...สติ ก็อย่างหนึ่ง สัมปชัญญะ ก็อย่างหนึ่ง
    สติ..มีความระลึกได้...สัมปชัญญะ...มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม
    เมือ่รวมกันก็เป็น "สติสัมปชัญญะ" องค์ธรรมก็ได้แก่ "สติ"กับ"ปัญญา"
    ตามความเป็นจริงแล้วสติจะต้องเกิดก่อนปัญญาเสมอ ในบางครั้งมีแต่สติไม่เกิดปัญญาก็มี
    มีในบทว่า "ญาณวิปฺปยุตตํ" จิตที่เป็นกุศลแต่ไม่ประกอบด้วยปัญญา
    หมายความว่าทำบุญก็สักแต่ว่าทำไปตามๆเขา หรือทำบุญเพื่อหวังสิ่งตอบแทน เป็นต้น

    คำว่า "ปัญญา" นั้นมีคำที่เป็นไวพจน์กับปัญญานั้นมีหลายคำด้วยกันตามที่พอจะจำได้ก็มีดังนี้
    สัมมาทิฏฐิ, อโมหะ, ปัญญินทรีย์, อัญญตัญญัสสามิตินทรีย์, อัญญินทรีย์, อัญญาตาอินทรีย์, ทิฏฐุชุกรรม,
    โยนิโสมนสิการ, สัมปชัญญะ, ญาณสัมปยุต, วิมังสา, ฉลาด, ดังนี้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 6 พฤษภาคม 2015
  17. chura

    chura เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 มีนาคม 2005
    โพสต์:
    688
    ค่าพลัง:
    +1,971

    สติ นั้นพระพุทธเจ้าท่านเปรียบดัง " เครื่องดักจับ " ตรงนี้มีในคำสอนน๊ะครับ ลองหาดูอากการที่เข้าไปสังเกตุ เห็น ดักจับ ก็คือลักษณะบัญญัติ
    ที่ใกล้เคียงกัน ตรงนี้ถ้าเราไม่สังเกตุ เราจะดับจับอะไรได้มั๊ย อยู่ๆไประลึกถึงสิ่งที่ผ่านมาแล้วจะมีประโยนช์อะไร อาการระลึกมันก็มาจากการ
    เผลอสตินั้่นแหละคนธรรมดาทั่วไปที่ไม่ได้ฝึกสติก็ล้วนเผลอกันแล้วนานๆก็รู้ตัวทีมีสติที และถ้าสติฝึกให้ต่อเนื่องไม่ได้แล้วเราจะฝึกสติได้ยังงัย
    และจะไปเห็นอะไร จะไปดับจับอะไรได้จริงมั๊ยครับ...

    สติ ที่สังเกตุนิมิตแนวเพ่งกสิน ตรงนี้ยังเป็นสติอยู่น๊ะครับ แต่ถ้าเพ่งแล้วเกิดฌาณแล้วจมแช่เข้าไปในฌาณ แบบนี้เรียกว่าขาดสติครับ
    ประเภทหูดับ ประมาณนี้แต่ว่าถ้าท่านฝึกเพ่งกสิณไปด้วย เดินวิปัสสนาไปด้วย แต่ยังไม่ได้ฌาณก็พอกล้อมแกล้มได้ครับ ครูบาอาจารย์
    ท่านก็มีสอนเอาไว้ครับ แต่ถ้าติดฌาณเข้าไปแล้ว ก็ต้องให้สติผู้รู้ ออกมาจากฌาณให้ได้ หรือที่ท่านเรียกยกจิต หรือให้จิตออกมาอยู่นอกๆ
    อย่าหลบอยู่ขางในนั่นแหละ แต่ให้ผมแนะนำก็ต้องบอกว่าถ้าท่านฝึกเจริญสติ สัมปชัญญะ เป็นก็ไม่จำเป็นต้องไปเพ่งครับ เราฝึกสติควบ
    ไปพร้อมกับสัมปชัญญะเลยจะดีกว่าครับ...

    สัมปชัญญะคือความรู้สึกตัว(ตรงนี้หาอ่านเรื่องสัมปชัญญะได้น้อยมากๆ ฟังท่านพุทธทาสก็บอกว่าสัมปชัญญะ คือความรู้สึกตัว) เราก็ต้องมา
    วิเคราะห็ว่า รู้สึกตัวก็คืออะไร ตรงนี้ต้องทำความเข้าใจพอสมควร อาการอิริยาทบที่เคลื่อนไหวแล้วเกิดความรู้สึกตัว หรือการขยับมือแล้วเกิด
    ความรู้สึกตัว หรือกระทั่งพูดให้ละเอียดมากขึ้น กายเรานี่ทำให้เกิดความรู้สึกตัวได้ ไม่ว่าจะผัสสะที่กระทบกาย ความเย็น ร้อน อ่อน แข็ง ก็ทำ
    ให้เกิดความรู้สึกตัวได้ เช่นถ้าเรานั่งสมาธิก็ทำให้เกิดความรู้สึกตัวได้โดยใช้การกระทบที่ก้น หรือผัสสะกายที่ลมกระทบผิว ร้อน เย็น อันนี้ก็
    สร้างความรู้สึกตัวได้ แล้วค่อยใช้สติตามสังเกตุกาย....แต่ต้องแยกส่วนกระทบแล้วเกิดเวทนา ยินดี ยินร้าย และเฉยๆ อันเป็นผลกระทบจาก
    ผัสสะ ตรงนี้เป็นส่วนที่สติ หรือผู้สังเกตุจะตามเห็นหรือดักจับ ความยินดี ยินร้าย และเฉยๆ เช่นกายสัมผัสความร้อน แล้วรู้สึกตัวแต่ถ้าเกิด
    ความไม่ยินดี ตรงนี้เป็นหน้าที่ของสติที่เข้าไปดักจับ ถ้าเราแยกได้ชัดเจนจะไม่สับสนน๊ะครับ แต่ตรงนี้ถ้าไม่เข้าใจก็จะแยกลำบากอีกน๊ะมัน
    ก็จะปนเปกันไป แต่ก็ปฎิบัติไปได้เช่นกัน เพราะมันก็รู้ลงที่กายใจทั้งหมดเหมือนกัน...

    การบัญญัติคำหรือความหมาย บางทีไม่เหมือนกันแต่เข้าใจตรงกันหรือไม่ตรงก็มี ผมว่าบางอย่างก็ต้องฟังให้เย๊อะๆ และปฎิบัติเอง รู้เอง
    ผมก็พยายามบัญญัติคำให้ตรงสภาวะให้มากที่สุด อย่างสติแปลว่า"ระลึก"อันนี้ครูบาอาจารย์ท่านก็สอนกันมา แต่ผมฟังแล้วก็รู้สึกว่า ทำไม
    สติมันถึงไม่ต่อเนื่อง พอฟังเยอะแล้วปฎิบัติไปเรื่อยๆมันถึงเข้าใจขึ้นมาได้ว่าสติมันต่อเนื่องได้ อ่านพบพระพุทธเจ้าสอน สติ เปรียบดัง
    เครื่องดักจับ(ตรวจลูกศรที่ยิงในตัวคน)อย่างหลวงปู่ดูลย์บอกให้รู้สึกตัวเอาไว้ และใช้จิตดูจิต(ตรงนี้ผมคิดว่า จิต ก็คือสติผู้รู้ ผู้เห็น ผู้สังเกตุ
    หรือเครื่องตรวจจับ นั่นแหละ) แต่คุณบอกใช้สัมปชัญญะดู ใครฟังแล้วก็สับสนใช่มั๊ยครับ แตยังงัยถ้าคุณปฎิบัติแล้วดีก็ทำต่อไปน๊ะครับ ^^
     
  18. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    เขาได้อธิบายมาดีแล้วพอตรงทางบ้างได้แล้ว
    ก็พยายามอีลู่ถูกังลากลงข้างทางซะงั้นแหละ
     
  19. hastin

    hastin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    1,116
    ค่าพลัง:
    +3,085
    ผมคิดเอาเองว่า สติ เกิด พร้อม สัมปชัญญะ หรือปล่าว

    เวลาฝึก จิตต่อกับสัมปชัญญะ จะเป็นผู้ดู การเคลื่อนของกาย หรือปล่าว

    เวลาวิปัสสนา จิตต่อกับสัมปชัญญะ จะเป็นผู้ดู การเคลื่อนของปัญญาญาน หรือปล่าว

    ใช่แบบนี้ไหมนะ
     
  20. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    สติสัมปชัญญะ จะทำงานคู่กันไป เหมือนชาวนาที่กำลังเกี่ยวข้าว มือหนึ่งกำต้นข้าว อีกมือหนึ่งถือเคียวเกี่ยวข้าว
     

แชร์หน้านี้

Loading...