ความแตกต่างของสมาธิและสัมมาสมาธิ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย Samarnl, 19 เมษายน 2015.

  1. VERAJAK

    VERAJAK เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    998
    ค่าพลัง:
    +1,579
    กิเลส ตัณหา ความทะยานอยาก กามแบ่งได้2ชนิดคือกามวัตถุ กามตัณหา กามวัตถุ คือภายนอก ผัสสะ จึงเกิดความอยาก ชอบ อยากได้ ไม่ชอบอยากผลักออก. หรือเฉยๆ. นั้นคือวัตถุต่างๆ เช่น ทอง เพชร รถ ฯลฯ มนุษย์ที่มิได้ปฏิบัติสติปัตฐานมาจะเห็นว่าของเหล่านี้น่าชื่นชม สวยงาม ได้ครอบครองแล้วแสดงถึงบารมีตน คนนับหน้าถือตา มีแต่คนพร่ำสรรเสริญ แต่ถ้ามนุษย์ที่ปฏิบัติมาจะเห็นตามความเป็นจริง. ว่ารถม้นไม่มีมันประกอบ มาจากสิ่งต่างๆมารวมกันจึงเรียกว่ารถ ถ้าถอดออกทีละชิ้นๆมันก็คือกองเหล็ก กองพลาสติกฯ. มันไม่มีค่า ไม่มีราคา จริงใหม นั้นเรีนกว่าเห็นตามความเป็นจริง คนเห็นหม้อดิน สวยงามมีราคาอยากได้ แต่ถ้าเรารู้ เห็นตามความจริงว่ามันคือดิน มันจะมีราคาในจิตเราไหม คนเห็นนะเห็นจริง แต่สิ่งที่เห็นมันไม่จริง เข้าใจความหมายนี้รึยังครับ มองให้เห็นความจริงในสิ่งต่างๆแล้วจะรู้ว่านั้นคือมายา โลกนี้คือมายา จิตก็จะคลายออก เห็นทองก็รู้ว่าแร่ในธรรมชาติ ผ่านกรรมวิธีกลายเป็นทองเงางามมีราคา แต่ถ้าท่านเห็นว่ามันไม่มีค่าใดๆเพราะนั้นคือแร่ชนิดหนึ่งก็แค่นั้น จิตก็ไม่เอาจริงใหม. ผัสสะสิ่งใดให้เห็นถึงวัตถุดิบสิ่งนั้นว่ามันคืออะไร มันเป็นที่ประชุมกันของอะไร เมื่อแยกแยะได้จิตก็เห็นความจริง แล้วถามตนว่ามันมีประโยชน์อะไรกับเรา เราตายจะเอาไปได้ไหม. บางสิ่งมันไม่มีค่าอะไรเลย แค่คำพร่ำสรรเสริญ แค่ความเพลิดเพลิน ความเมาหมก. จงดับมันเถอะ เค้าเรียกนันทิ ดับไม่สนิทก็คุมมันให้อยู่อย่าให้มันมีอำนาจเกินจิต. ถ้าท่านจะทำได้ สมาธิต้องมั่นคง สติต้องดี ปัญญาต้องทำงาน ยอมรับความจริง จิตทำได้แค่ไหนค่อยๆขัดมัน ละมัน อย่าตามมัน แล้วมันจะดับได้เองโดยอัตโนมัติ เห็นจึงสักแต่เห็น. เหนื่อยแล้วขอพักก่อน เดียวค่อยมาต่อเรื่องกิเลสตัณหาครับ ไม่เข้าใจตรงไหนถามได้ครับ ยังมีที่ละเอียดอีกครับทำได้จะค่อยๆเข้าใจครับ นี่แค่เคล้าๆครับประมาณนี้ สาธุ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 เมษายน 2015
  2. หัวมัน

    หัวมัน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 มกราคม 2013
    โพสต์:
    2,191
    ค่าพลัง:
    +6,947
    สาธุค่ะ ทีท่านVERAJAK ตอบมา มีบางอย่างที่สงสัยอยากถาม
    แต่ไม่รู้จะเรียบเรียงยังไงดี
    คืนนี้ดึกแล้ว เก็บไว้ถามพรุ่งนี้ดีกว่า
     
  3. VERAJAK

    VERAJAK เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    998
    ค่าพลัง:
    +1,579
    อุปมากิเลสเปรียบด้งไฟ ท่านเป็นนักดับเพลิง จะด้บไฟท่านต้องดับเป็น คือคุมไฟก่อน ไม่ให้ไฟม้นลาม ศีลต้องมี เพราะศีลสามารถคุมไฟได้ คือโลภ คนมีศีลโลภแค่ไหนก็ไม่มีวันผิดศีลเด็ดขาด เมื่อคุมไฟได้แล้วท่านก็ค่อยๆดับไฟทีละกองๆตามจริตของท่าน จากที่ท่านเห็นว่าง่ายที่สุดไปหายาก นักปฏิบัติที่พร่ำเพ้อว่าตนปฏิบัติได้ถึงขั้นนั้น ขั้นนี้ รู้ยังงั้นยังงี้ ต้องทำยังงั้นงั้นงี้แต่ไม่มีศีล นั้นคือของปลอมครับ มโนเอง ไม่ได้ปฏิบัติธรรมหรอกครับ นักปฏิบ้ติที่แท้จริงต้องปฏิบัติศีล เหตุเพราะศีลก็คือธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัส ให้ปฏิบัติ เมื่อไม่มีศีลจะมีธรรมได้ยังไง เพราะศีลก็คือธรรม ปฏิบัติศีลก็คือปฏิบ้ติธรรมนั้นเองครับ ไม่ปฏิบัติศีลแต่บอกว่านักปฏิบัติธรรมท่านเชื่อรึครับว่าเค้าปฏิบัติจริง
    โดยเฉพาะข้อ4 มุสา คำส่อเสียด คำผรุสวาท คำปรามาสผู้อื่น. ฯลฯ ล้วนอยู่ในข้อนึ้ ผู้แสดงออกสิ่งต่างๆเราจึงสามารถรู้ได้ว่าคนนั้นปฏิบัติธรรมจริงรึไม่ สาธุ
    ป.ล. ท่านเห็นด้วยรึไม่ครับ ลุงหมาน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 เมษายน 2015
  4. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    เห็นด้วยอย่างยิ่ง
    ระดับต้นก็ไปตามลำดับ คือ ศีล สมาธิ ปัญญา เป็นอนุปุพิกถา
    แต่ก็ใช่ว่าจะต้องเป็นไปตามลำดับเสมอไป สำหรับผู้มีปัญญา ศีล สมาธิ จะมาอาศัยเกิดขึ้นเอง โดยไม่ต้องทำให้มีขึ้น
     
  5. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    จะอุปมาว่า พวกเจริญฌานโดยตรงก็เหมือนคนที่สร้างกรงไว้ขังสัตว์ (สัตว์ได้แก่กิเลส)ไม่ให้มาทำร้ายตน
    พวกเจริญวิปัสสนาก็เหมือนคนสร้างอาวุธไว้ฆ่าสัตว์เพื่อให้สิ้นซากจะไม่มาทำร้ายตนได้อีก
    ความประสงค์ของสมถะกับวิปัสสนาจึงแตกต่างกันไปตามที่ต้องการ ไม่มีใครผิดแต่มีความแตกต่าง แม้แต่มีความหิวเกิดขึ้นเหมือนกันแต่ก็ความแตกต่างกัน บางคนหิวข้าว บางคนหิวน้ำ บางคนหิวขนมจริงหรือไม่? หิวสิ่งใดก็บริโภคสิ่งนั้นเถิด
     
  6. VERAJAK

    VERAJAK เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    998
    ค่าพลัง:
    +1,579
    สาธุๆๆ ระวังนะจะมีคนไม่เห็นด้วยมาเป็นขบวนเลยนะครับ. จริงๆแล้วถ้ามีศีลทั้งสมถกรรมฐานก็สามารถมาวิปัสสนาได้อยู่แล้วครับ แต่โดยส่วนมาก(ไม่ทั้งหมด)จะติดฤทธิ์ และมานะถือตัวถือตนข้าเก่ง ข้าแน่ ผมเห็นเสร็จทุกราย เหมือนปลามาตายน้ำตื้น. คนนี้สวย คนนี้น่ารัก... แต่ถ้าวิปัสนานั้นส่วนมากจะผ่านฉลุยเหตุเพราะเห็นตามความเป็นจริง แต่ไม่มีใครชอบเพราะไม่มีฤทธิ์ ไม่เก่ง. ได้แต่เอาตัวรอดได้เท่านั้น. มนุษย์ชอบคนเก่ง คนจริงมักไม่ชอบกันเหตุเพราะมนุษย์ไม่ยอมรับความจริงด้วยจิต แต่กลับไม่ชอบคนโกหก แปลกไหมครับ นี่แหละมนุษย์ ถ้าไม่ใช่แบบนี้ก็ไม่ใช่มนุษย์จริงใหมครับท่าน. สาธุ
     
  7. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    สมถะเหมือนการผลักสิ่งหนึ่งให้ออกไปเพื่อเอาอีกสิ่งหนึ่งเข้ามา
    วิปัสสนาเหมือนการทำลายสิ่งที่มีอยู่แล้วให้หมดไปโดยไม่ให้เหลืออะไรอีก ให้เป็นของว่างเปล่า
     
  8. VERAJAK

    VERAJAK เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    998
    ค่าพลัง:
    +1,579
    สาธุๆๆๆขอให้ท่านเจริญในธรรมยิ่งๆขึ้นไปครับ
    อ้อท่านน่าจะลืมตอบคำถามผมนะครับแต่ไม่เป็นไรครับ คำตอบทั้งหมดอยู่ในโพสแล้วครับ. มีปัญญาจะเห็นนัยยะที่ซ่อนอยู่ ไม่มีปัญญาก็ เจริญนันทิต่อไปครับ. สาธุ
     
  9. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    แจ่มแจ้งนัก ภาษิตแรกนั้น
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 0 (2).jpg
      0 (2).jpg
      ขนาดไฟล์:
      17.2 KB
      เปิดดู:
      57
  10. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    จัดเป็นช่วงๆคำถาม
    สมาธิ คือ ความตั้งมั่นแห่งจิตและเจตสิก
    สมาธิ ใช้ไปในทางกุศล หรือทางอกุศล หรือทางอัพพยกตะก็ได้
    เพราะสมาธิมีกับจิตทุกดวงทุกประเภท ทำเพื่อให้บังเกิดผล ตามประสงค์ที่มุ่งหมาย
    สมาธิเกิดได้ทุกกิรียาบถมี ยืน เดิน นั่ง นอน เป็นต้น, แล้วลุกขึ้นมาล่ะก็จะไม่ขาดสมาธิเลย เพียงแต่ว่าเราขาดสติที่จะเข้าไปรู้เท่านั้น สมาธิเขาก็ทำกิจของเขาอยู่อย่างนั้นไม่ไปไหน. พอนั่งทำสมาธิ สติจะเป็นตัวกำหนดรู้ จึงรู้ว่าสมาธิตั้งมั่น พอลุกสมาธิก็ประคองให้ตั้งมั่นอาการที่จะลุกไม่ให้โงนเงนหกล้ม เดินก้าวอย่างมั่นคง

    สมาธิไม่มีการไปการมา คงทำหน้าของเขาตลอดเวลา เพียงแต่ว่าเราขาดสติไปกำหนดรู้เขาเอง เหมือนว่าไม่มีสมาธิ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 20 เมษายน 2015
  11. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    อย่าลืมสิ่งที่สำคัญที่สุด ที่บอกไปถึงการเตรียมการนะครับเฝ้าคอย
    http://palungjit.org/threads/ทั้งชีวิตขอเรื่องเดียว.548578/นี่คือของขวัญที่ผมให้ รางวัลของคนดี
    ดีชั่วอย่าคาดหวัง ความจริงเผยก็รู้เอง
    ๐สลึง-๑,๐๐๐,๐๐๐ตำลึงทอง ผมชนะสลึงเดียวก็ไม่เอา พยากรณ์เป็นทางเดียวเท่านั้น
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 เมษายน 2015
  12. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    สมาธิมี ๓ ระดับ ได้แก่

    ๑. ขณิกสมาธิ สมาธิชั่วขณะ
    ๒. อุปจารสมาธิ สมาธิจวนจะแน่วแน่
    ๓. อัปปนาสมาธิ สมาธิแน่วแน่ หมายเอาสมาธิในองค์ฌาน

    ๑. ขณิกสมาธิ เป็นสมาธิทั่วๆไปที่ใช้ในการงานต่างๆ หรือใช้ในชีวิตประจำวันทั่วไป
    ขณิกสมาธิ เป็นสมาธิที่ใช้ในการเจริญวิปัสสนากรรมฐาน

    ๒. อุปจารสมาธิ เป็นสมาธิที่เฉียดฌานใกล้ฌาน น้อมไปในฌานอย่างเดียวโดยไม่ย้อนกลับมาอีก
    เหมือนต้นไม้ถูกตัดโคนที่ขาดแล้ว อุปจารสมาธินี้จะเป็นสมาธิที่เจริญวิปัสสนาไม่ได้

    ๓. อัปปนาสมาธิ เป็นสมาธิที่แน่วแน่อยู่ในฌาน ตั้งแต่ปฐมฌานเป็นต้นไป จนกว่าจะออกจากฌาน
    ในข้อ ๒, ๓, จะไม่เกิดในการเจริญวิปัสสนา เพราะการจะเจริญวิปัสสนาจะเจริญสมถะไปพร้อมกันไม่ได้

    ถามว่า ! การเจริญวิปัสสนา สมถะจะเกิดพร้อมด้วยได้ไหม?
    ตอบว่า ! ได้ โดยอาศัยผู้ที่เจริญวิปัสสนา ก่อนหน้านี้เคยได้ฌานมาก่อน

    ถามว่า ! ผู้เจริญสมถะ วิปัสสนาจะเกิดพร้อมด้วยได้ไหม?
    ตอบว่า ! พร้อมไม่ได้ต้องออกจากฌานก่อน แล้วค่อยยกอารมณ์ที่เป็นวิปัสสนามาเป็นอารมณ์จึงจะเข้าสู่วิปัสสนาได้
    สำหรับผู้ได้ฌานมาแล้วมาเจริญวิปัสสนาต่อนั้นทำให้ได้ง่ายขึ้น เพราะนิวรณ์ ๕ ได้กำจัดไปเรียบร้อยแล้ว
    จึงสะดวกต่อการเจริญวิปัสสนา
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 20 เมษายน 2015
  13. VERAJAK

    VERAJAK เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    998
    ค่าพลัง:
    +1,579
    สาธุๆๆๆ ท่านที่ไม่รู้ รู้ได้แล้วนะครับว่าของจริงหรือของปลอมถ้ายังไม่รู้อีก ศึกษาใหม่ว่า. ใครเป็นยังไง ใครทำไม่ทำรู้ได้ยังไง. ทำไมศีลต้องปฏิบัติ ทำไมเค้ารู้ว่าใครไม่มีศีลเพราะอะไร ศีลข้อ4หมายรวมอะไรบ้างการหยอกเย้าต่างๆควรไม่ควร สนุกเพลิดเพลินเค้าเรียก นันทิควรเจริญหรือควรดับ. สาธุ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 เมษายน 2015
  14. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ^
    ^
    อ้าวลุง ไหนล่ะความแตกต่างของสมาธิกับสัมมาสมาธิ

    ที่ลุงพยายมเขียนอธิบายนั้น ยังไม่เห็นอธิบายถึงความแตกต่างเลย

    เป็นเพียงความหมายและเป้าหมายของ"จิตที่สงบ"(สมาธิ)เท่านั้น

    ลุงไหนลองทำให้ดูหรืออธิบายหน่อยสิว่า

    ทำอย่างไรจึงเอาอารมณ์อกุศลมาทำให้จิตสงบลงได้(สมาธิ)

    เจริญในธรรมทุกๆท่าน

     
  15. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ^
    ^
    ลุงกำลังเมาอะไรอยู่

    เปรียบเทียบตอนต้นแรกก็พอฟังได้ แต่ก็ยังงง

    ตรงที่ว่า ต้องสร้างกรงไปขังมันทำไม

    แถมยังเปรียบวิปัสสนาเหมือนอาวุธไว้ฆ่ามันซะอีก

    แบบนี้ ไม่บ้าก็เมาเต็มที่แล้ว

    วิปัสสนาปัญญา เปรียบเหมือนมีดที่ควกริบก็จริง

    แต่มีไว้เพื่ออะไรหละ?

    ก็เพื่อตัดขาดให้เป็นเป็นอิสระต่อกันเท่านั้น

    ลุงลองฆ่ากิเลสให้หมดไปจากโลกนี้ให้ดูหน่อยสิ

    ความเป็นอริยะนั้น คือความเป็นอิสระหรือตัดขาดจากกิเลส

    ไม่ใช่ต้องฆ่ากิเลสสักหน่อย เพราะกิเลสเป็นของประจำโลกใช่หรือไม่?

    เจริญในธรรมทุกๆท่าน
     
  16. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    ลองอ่านกระทู้ที่ 33 ของวีระจักรได้ขยายความไว้ให้ น่าจะเป็นคำตอบที่ดีสำหรับท่าน ส่วนจะให้ลุงตอบอีกถ้าไม่เข้าใจ
    คงเป็นวันพรุ่งนี้ มันเป็นมือถือไม่สะดวกการกดตัวอักษร
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 21 เมษายน 2015
  17. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    ก็บอกไว้ชัดเจนนะว่าความแตกต่างของสมาธิ กับสัมมาสมาธิไว้ตั้งแต่แรก
    อ่านให้เข้าใจก่อนไม่ต้องรีบออกมาห่ำหั่น จะทำให้เสียอรรถรสไปโดยไม่ได้ตั้งใจ
    จะอธิบายช้ำอีกที่ก็ได้เพื่อว่าอาจเป็นพวกเดียวกับปัจวัคคีย์องค์ที่ ๔ กับองค์ที่ ๕

    คำว่า สมาธิเฉยๆ หมายเอาสมาธิที่ใช้กันโดยรวมทั่วๆไป ที่ใช้ในการประกอบอาชีพ
    เช่น เล่นกิฬา เล่าเรียน ผลิตอุปกรณ์สิ่งของเครื่องใช้ ซ่อมเครื่องยนต์ ฯลฯ
    เป็นสมาธิที่ไม่ต้องแนบแน่นถึงกับสงบดี่งในอารมณ์เดียว ไม่เป็นไปเพื่อสมาธิชั้นสูง
    อยู่ในขั้น ขณิกสมาธิ

    แต่ถ้าหากว่าเป็นสัมมาสมาธิอารมณ์ของสมาธินั้นต้องเป็นกุศล
    ที่ยกจิตขึ้นสู่อารมณ์กรรมฐานใดกรรมฐานหนึ่งเพื่อมุ่งสู่สมาธิชั้นสูงมีฌาน เป็นต้น
    นัยตรงกันข้ามกับมิจฉาสมาธิ เป็นก็ต้องเป็นสัมมาสมาธิใช่หรือไม่?

    การทำอกุศลนั้นก็หมายเอาอารมณ์นั้นมา เช่นว่า การยิงนก ตกปลา เป็นต้น
    ไม่ต้องบอกนะว่าการยิงนกตกปลาว่ามันเป็นบาป เพราะจะต้องมีนกมีปลาเป็นอารมณ์แก่จิต
    การจะยิงก็ต้องใช้สมาธิในการเพ่งให้ตรงเป้าหมายจึงลั่นไกปืน
    ถ้าจะพูดให้ตรงโดยรวมการกระทำมาตั้งแต่ต้นมันก็เป็นมิจฉาสมาธิใช่หรือไม่?

    สาธุ...ขอให้เข้าใจอะไรง่ายๆทีเถอะ หูตาจะได้สว่างเห็นทางธรรมกับเขาบ้าง
    อยู่ในโลกมืดมานานแล้ว
     
  18. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    ต้องเข้าใจด้วยว่าเป็นการอุปมา
    สมถะนั้นเปรียบเหมือนการสร้างกรงขังสัตว์ นั่นหมายถึงว่าสมถะไม่ได้ตัดกิเลสฆ่ากิเลสได้แม้สักตัวเดียว
    เพียงแต่ฌานที่ได้นั้นเป็นระงับด้วยการข่มไว้ ที่เรียกว่าวิขัมภนปหาน คือข่มไว้ได้นาน ตราบเท่าที่ฌานจะเสื่อม

    จะสังเกตได้ว่าการเจริญสมถะกรรมฐานได้ฌานได้อภิญญานั้น ก็มีมาก่อนที่พระองค์จะมาอุบัติขึ้นเสียด้วยซ้ำไป
    แต่เหตุไฉนในก่อนหน้านั้นจึงไม่มีใครที่บรรลุธรรมเป็นพระอริยะได้เลย ก็การประหานกิเลสเป็นเพียงการข่มไว้เท่านั้น

    การเจริญวิปัสสนากรรมจะมีขึ้นก็แต่ในสมัยที่พระองค์อุบัติมาแล้วเท่านั้น สิ้นยุคสิ้นสมัยของพระองค์
    ก็จะดับไปด้วยที่ในมนุษย์ วิปัสสนาเท่านั้นที่ดับกิเลสที่เป็นสมุทเฉทปหาน คือประหานได้โดยเด็ดขาด
    โดยไม่กลับมาเกิดอีก ซึ่งจะไม่เหมือนกับวิขัมภนปหาน ที่เป็นการข่มไว้
    การประหานด้วยสมุทเฉทปหาน ก็เป็นปัญญาในมรรคจิต ประหานโดยสิ้นเชื้อ

    จะให้ลุงไปฆ่ากิเลสให้หมดทั้งโลกนั้นเป็นคำพูดแบบเด็กที่มีปัญญาน่วม
    ถ้ามันฆ่ากิเลสของผู้อื่นได้ พระองค์คงจะไม่ปล่อยให้สัตว์ทั้งหลายที่เป็นที่รักของพระองค์
    ต้องทนลำบากอย่างนี้หรอก พระองค์จัดการไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

    เจ้าคนปัญญาน่วม
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 21 เมษายน 2015
  19. bigtoo

    bigtoo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    2,345
    ค่าพลัง:
    +1,448
    องค์ประกอบของสัมมาสมาธินั้นก็คือองค์มรรคทั้งเจ็ดเกิดขึ้นจากการปฎิบัติที่ถูกต้องเริ่มต้นากมรรคข้อที่1....2....3.....4....5....6.....7......จนเกิดองค์มรรคข้อที่8คือสัมมาสมาธิ
     
  20. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241
    เนี่ยะ สมาธิของปุถุชน ไม่เคยสดับ

    สมาธิปุถุชนไม่เคยสดับ จะเห็นว่า สมาธิ คืออะไรที่ทำให้ เดินไม่ล้ม พูดไม่พันกัน กินแล้วไม่กัดลิ้น
    กระโถนตกไม่กระเด็น

    ซึ่ง ชัดเจนว่า ไม่รู้เรือง " จิตตั้งมั่น " ต่อ การพรากจาก รูป นาม สมมติ โดยที่ สมมติก็
    เคลื่อนไปตามกริยาจิต ตามอำนาจวิบาก ตามอำนาจวาสนาพูลผล

    ตายเปล่า แน่นอน หากยังประมาทใน "สมาธิ" เป็นเรื่อง ตื้นเขิน อยู่แบบนี้
     

แชร์หน้านี้

Loading...