ปริยัติเป็นผลมาจากปฏิเวธ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย Samarnl, 22 มีนาคม 2015.

  1. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    เราอาจกล่าวได้ว่าปริยัติก็เป็นผลมาจากปฏิเวธ
    และยังทำให้เป็นพื้นฐานของการปฏิบัติอีกด้วย เมื่อพระพุทธเจ้าทรงบรรลุผลของการปฏิบัติ
    ของพระองค์แล้ว จึงทรงแนะนำประสบการณ์ที่เป็นผลของการปฏิบัติของพระองค์นั้น
    มาเรียบเรียงร้อยกรอง นำมาสั่งสอนพวกเรา คือสั่งสอนพระธรรมวินัยไว้

    คำสั่งสอนของพระองค์นั้นก็มาเป็นปริยัติของพวกเรา คือสิ่งที่พวกเราจะต้องเรียนรู้
    แต่ปริยัติที่เป็นผลมาจากปฏิเวธนั้นก็หมายถึงปฏิเวธของพระพุทธองค์โดยเฉพาะ
    คือการปฏิบัติของพระพุทธเจ้าทรงยอมรับเท่านั้น ไม่เอาผลการปฏิบัติของโยคี ฤาษี ดาบส
    นักพรต ชีไพร อาจารย์ เจ้าลัทธิ หรือ ศาสดาใดๆ

    ถ้าไม่เล่าเรียนปริยัติ ก็ไม่รู้หลักคำสอนของพระพุทธเจ้า การปฏิบัติของเราก็ไขว่เขว ก็ผิด
    ก็เฉไฉออกนอกศาสนา ถ้าปฏิบัติผิดผลที่ได้รับก็ผิด หลอกตัวเองด้วยสิ่งที่พบซึ่งตัวเองเข้าใจผิด
    ปฏิเวธก็เกิดขึ้นไม่ได้ ถ้าไม่มีปริยัติเป็นฐาน ปฏิบัติและปฏิเวธก็พลาดหมด
    เป็นอันว่าล้มเหลวไปด้วยกันพูดง่ายๆ ว่าจากปฏิเวธของพระพุทธเจ้าก็มาเป็นปริยัติของเรา
    แล้วเราก็ปฏิบัติตามปริยัตินั้น เมื่อปฏิบัติถูกต้องการบรรลุปฏิเวธก็เป็นดังพระพุทธองค์
    ถ้าวงจรนี้ดำเนินไป พระศาสนาของพระพุทธเจ้าก็คงอยู่

    ปริยัติที่มาจากปฏิเวธของพระพุทธเจ้าและเป็นฐานแห่งการปฏิบัติของพวกเราเหล่าพุทธบริษัททั้งหลาย
    ก็อยู่ในพระไตรปิฎกนี้แหละ ฉะนั้นมองในแง่นี้ก็ได้ความว่า ถ้าเราจะรักษาปริยัติ ปฏิบัติและปฏิเวธไว้
    ก็ต้องรักษาพระไตรปิฎกนั้นเอง ถ้าใครปฏิบัติตามหลักศีล สมาธิ ปัญญา ที่แสดงไว้ตามพระไตรปิฎก
    ชีวิตของผู้นั้นจะกลายเป็นเหมือนตัวพระพุทธศาสนาเอง เหมือนเรารักษาพระพุทธศาสนาด้วยชีวิตของ
    เราตราบเท่าชีวิตของเรายังอยู่ที่นั้น ก้าวไปถึงนั้น

    อย่างนี้เรียกว่าพระพุทธศาสนาอยู่ด้วยวิธีการรักษาอย่างสูงสุด พูดได้ว่าพระไตรปิฎกมาอยู่ในตัวเรา
    ไม่ใช่อยู่แค่ตัวหนังสือ

    สรุปว่าเราชาวพุทธอิงอาศัยพระไตรปิฎกโดยตรงด้วยการนำเอาคำสอนมาปฏิบัติให้เกิดผลในชีวิตจริง
     
  2. สับสน!

    สับสน! เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 เมษายน 2010
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +3,984
    ..งั้นเอาข้อแรกเลยลุงหมานน..(ปริยัติเมืองไทยมีปัญหา)

    สมถะ-วิปัสสนา นี่ใครมาแยกสอนเป็น สมาธิ-วิปัสสนา ใครมาแยกสอนสมาธิก่อนแล้วค่อยวิปัสสนา..มีบางวัดสอนวิปัสสนาเลยที่อยุทธยา เมหยงค์ นั่นคืออะไรแล้วสมาธิล่ะไม่สอนควบไปมันก็เป็นสัญญาหมดไหม..
    :cool: สมัยพระพุทธองค์ ท่านแยกสอนรึ สมาธิ กับ วิปัสสนา หรือสอนควบกันไป หาหลักฐานมาหน่อยมาหน่อยซิครับ สาธุ

    เรากล่าวธรรมตามที่เห็นแล้วในปัจจุบัน..ในปัจจุบัน..ไม่บาป ไม่กรรม ไม่ตกนรก ไม่ขึ้นสวรรค์..เหตุใดมิมี ผู้ฝึกสำเร็จสักคน ไม่มีสักคน ..เราต้องการปัญญาที่ถูกต้อง ไม่ใช่ถูกหลอกให้ไปทำบุญ..หลอกเศรษฐีไปทำบุญ ทำกันเป็นทีมแก๊งค์ แล้วมาดัดแปลงคำสอนของพระไตรปิฏกให้ผิดเพี้ยนไป..เราเอง เราเอง จักเป็นผู้พิจราณา ไตร่ตรอง แทงตลอดธรรมเอง สาธุ
     
  3. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    พูดยังไง งง

    ๑. ปริยัติ (เรียกเต็ม ปริยัติสัทธรรม) การศึกษาเล่าเรียน ซึ่งก็ได้แก่ พุทธธรรม คำสอนของพระพุทธเจ้า
    ๒. ปฏิบัติ (เรียกเต็ม ปฏิบัติสัทธรรม) คือ การนำพุทธธรรม (ไตรสิกขา) ที่ตนได้ศึกษามาปฏิบัติ คือมาทำให้มีให้เป็นขึ้นมา
    ๓. ปฏิเวธ (เรียกเต็ม ปฏิเวธสัทธรรม) คือเมื่อตนปฏิบัติถูกต้อง ผล คือ มรรค ผล นิพพาน ก็เกิด เพราะการปฏิบัติถูกต้องนั้น
     
  4. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    สัทธรรม ธรรมที่ดี, ธรรมที่แท้, ธรรมของคนดี, ธรรมของสัตบุรุษ สัทธรรมมี ๓ คือ

    ๑. ปริยัติสัทธรรม สัทธรรมคือสิ่งที่พึงเล่าเรียน ได้แก่ พุทธพจน์
    ๒. ปฏิบัติสัทธรรม สัทธรรมคือสิ่งพึงปฏิบัติ ได้แก่ ไตรสิกขา
    ๓. ปฏิเวธสัทธรรม สัทธรรมคือผลที่พึงบรรลุ ได้แก่ มรรค ผล และนิพพาน

    สัทธรรมทั้งสามประเภทนี้ เรียกง่ายๆสั้นๆว่า ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ ซึ่ง มีความสำคัญที่ปรากฏอยู่ในคัมภีร์พระไตรปิฎกที่ประมวลพุทธพจน์หรือหลักคำ สอนของพระพุทธเจ้าไว้ทั้งหมด โดยต้องศึกษาเรียนรู้ให้เข้าใจก่อนจะน้อมนำหลักธรรมอันเป็นพุทธพจน์นั้นไป ปฏิบัติตาม ดังนั้น ปริยัติ จึงเปรียบเหมือนแผนที่ลายแทงแสวงหาขุมทรัพย์ ที่จำเป็นต้องศึกษาให้รู้ให้เข้าใจเสียก่อนเป็นเบื้องต้น

    ปฏิบัติ เป็นกระบวนการฝึกควบคุมกาย วาจา และพัฒนาจิตใจเพื่อให้สงบระงับกิเลสและเกิดปัญญาเห็นสภาวธรรมตามความเป็นจริง ซึ่งเกิดขึ้นและดับไปตามเหตุปัจจัยที่ตัวของเราเอง เป็นการดำเนินงานเพื่อความสิ้นทุกข์ตามความมุ่งหมายของ ปริยัติ กล่าวง่ายๆได้แก่ การนำหลักไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ และปัญญามาบูรณาการเป็นกระบวนการปฏิบัติอย่างเป็นระบบ ดังนั้น ปฏิบัติ จึงเปรียบเหมือนการเดินทางแสวงหาขุมทรัพย์ตามแผนที่ลายแทง

    ปฏิเวธ เป็นผลทีได้จากการปฏิบัติ คือการบรรลุ รู้แจ้งธรรมตามสมควรแก่การปฏิบัตินั้นๆ ซึ่งสามารถบรรลุได้ตั้งแต่ผลขั้นต้นไปจนถึงผลขั้นสูงสุดคือภาวะสิ้นสุดแห่ง ทุกข์โดยสิ้นเชิง เป็นความสำเร็จที่เกิดขึ้นโดยอาศัยการปฏิบัติที่ถูกต้องเป็นเหตุ ดังนั้น ปฏิเวธ จึงเปรียบเหมือนการพบขุมทรัพย์

    สัทธรรมทั้ง ๓ คือ ปริยัติ ปฏิบัติ และปฏิเวธ นี้ เป็นเหตุเป็นผลที่ผู้ปรารถนาจะสำเร็จประโยชน์จากการนับถือพระพุทธศาสนาต้องทำให้เกิดเป็นระบบที่บูรณาการกันทั้งปริยัติและปฏิบัติ เพื่อให้เกิดปฏิเวธ เพราะเมื่อปริยัติไม่มี ปฏิบัติก็ไม่ถูก เมื่อปฏิบัติไม่ถูก จึงไม่เกิดปฏิเวธ

    ปัญหาสำคัญสำหรับพุทธบริษัทในปัจจุบัน ก็คือการไม่นำพระสัทธรรมทั้ง ๓ ประการนี้มาบูรณาการกันในการศึกษาปฏิบัติตนตามหลักพระพุทธศาสนา โดยส่วนใหญ่มีแต่ผู้นิยมศึกษาเล่าเรียนปริยัติ สามารถกำหนดจดจำพุทธพจน์ได้เป็นสูตรๆ แต่ไม่นิยมนำมาปฏิบัติอย่างเข้มแข็งจริงจัง เมื่อไม่มีการปฏิบัติ ปฏิเวธ คือผลที่เกิดจากการปฏิบัติจึงไม่เกิด หรือไม่ก็มีแต่ผู้ปฏิบัติ โดยไม่ยอมศึกษาให้เกิดความรู้ความเข้าใจตามหลักพระพุทธศาสนาที่แท้จริง จึงปฏิบัติผิดๆ จนเกิดความลุ่มหลงงมงายเชื่อดายในสิ่งที่เป็นไสยศาสตร์ว่าเป็นพุทธศาสตร์ แล้วนำมาอวดอ้างแสวงหาประโยชน์ในเชิงพุทธพาณิชย์ ซึ่งนับเป็นปัญหาที่ผู้เกี่ยวข้องกับการพัฒนากิจการพระพุทธศาสนาควรรีบหาทางแก้ไข เพราะเป็นบ่อเกิดแห่งความเสื่อมของพระพุทธศาสนา ซึ่งเป็นภัยของพระพุทธศาสนาที่จะเกิดจากคนภายใน คือ พุทธบริษัทด้วยกันเองที่ศึกษาปริยัติธรรมแล้วไม่ปฏิบัติธรรม จึงไม่เกิดปฏิเวธ คือ การบรรลุธรรม ซึ่งเป็นเหตุให้เกิดความอันตรธานเสื่อมสูญแห่งพระสัทธรรมไปโดยลำดับ
     
  5. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    ถ้าเราเข้าใจในเรื่องทำกรรมฐานแล้ว มันมีด้วยกัน ๒ อย่าง
    สมถกรรมฐาน ๑ วิปัสสนากรรมฐาน ๑
    ทั้งสองอย่างนี้ก็จะต้องใช้สมาธิด้วยกันทั้งนั้น ต่างกันอยู่ที่ว่า
    สมถกรรมฐานนั้นจะต้องใช้สมาธิถึงขั้นอัปปนาสมาธิ เพื่อให้เกิดฌาน อภิญญา
    ส่วนวิปัสสนากรรมฐานใช้สมาธิขั้นพื้นฐานคือแค่ขณิกสมาธิ ก็เพื่อให้ได้เกิดปัญญา พิจารณาเห็นจริงของ ไตรลักษณ์

    ดังนั้นผู้ใดจะฝึกสมถกรรมฐาน เพื่อให้ได้ฌานอภิญญา ก็ต้องรู้อารมณ์ของสมถกรรมฐานนั้น คงได้แก่ กรรมฐาน ๔๐ คือ
    กสิณ ๑๐ อสุภะ ๑๐ อนุสติ ๑๐ พรหมวิหาร ๔ อรูปฌาน ๔ อาหาเรปฏิกูล ๑ จตุววัฏฐาน ๑

    ผู้ใดจะฝึกวิปัสสนากรรมฐาน เพื่อให้เห็นไตรลักษณ์ เพื่อ มรรค ผล นิพพาน ก็ต้องใช้อารมณ์ ซึ่งได้แก่
    ขันธ์ ๕, อายตนะ ๑๒, ธาตุ ๑๘, อินทรีย์ ๒๒, ปฏิจจสมุปบาท ๑๒, และอริยสัจ ๔ เพื่อเป็นฐานหรือที่ตั้ง
    ในการเจริญวิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔ (กายานุปัสสนา, เวทนานุปัสสนา, จิตตานุปัสสนา, ธรรมานุปัสสนา)

    สมถกรรมฐานจะมีได้ทั้งในพระพุทธศาสนาและนอกพระพุทธศาสนา
    และในส่วนวิปัสสนากรรมฐานนั้น จะมีได้ในพระพุทธศาสนาเท่านั้น ในศาสนาอื่นๆจะไม่มีเลย
    ฉะนั้นจึงต้องอธิบายแยกกันให้เห็นชัดเจน พระองค์ก็แบ่งไว้แล้วอย่างชัดเจน ลองสังเกตุดูตรงที่อารมณ์ของกรรมฐาน
     
  6. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    ต้องอ่านหัวข้อกระทู้ที่ตั้งขึ้นใหม่อีกครั้งหนึ่ง แล้วทำความเข้าใจจะไม่งง
     
  7. สับสน!

    สับสน! เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 เมษายน 2010
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +3,984
    มานี่เลย ลุงหมานน..

    :'(..ส่วนวิปัสสนากรรมฐานใช้สมาธิขั้นพื้นฐานคือแค่ขณิกสมาธิ ก็เพื่อให้ได้เกิดปัญญา พิจารณาเห็นจริงของ ไตรลักษณ์..:'(

    ..มาพูดใหม่ ขณิกสมาธิ..นี่เห็นแจ้ง-เกิดปัญญา ตัดไตรลักษณ์ได้รึ มานี่เลยมาจับตัวได้แล้วอย่าหนีมาพูดใหม่เลย:boo:
     
  8. บุรุษไร้เงา

    บุรุษไร้เงา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2007
    โพสต์:
    8,427
    ค่าพลัง:
    +35,050
    ตีความเข้าข้างตัวเอง..ความคิดวนเหมือนน้ำในกะละมัง
    แก่แล้วก็ยังขี้โม้ นิสัยเหมือนเด็กมัธยม...
    ประกันได้ว่าชาตินี้..ต่อให้เดินไปถูกทางยังไงๆก็หลง..
    พูดง่ายๆว่ามั่วแล้วก็ยังมั่วอีกเหมือนเดิม...
    เพราะที่พูดๆมาตนเองทำไม่ได้จริงซักอย่าง..
    เพราะไม่มีความเข้าใจจริง เนื่องจากปฏิบัติไม่ได้

    สมัยก่อนถ้าเอตทัคคะด้านทิพย์จักขุท่านไม่ใช้
    ความสามารถตอนที่ท่านผู้เป็นเลิศทั้ง ๓ ภพ
    ท่านกำลังเสร็จปรินิพพานรับประกันว่าโลกนี้
    ไม่มีทางรู้จักคำว่าฌานอะไรหรอกครับท่านไม่ได้สอน..

    และตำราที่เขียนขึ้นมา ก็มีสาวกหลายสาย มีแต่ระดับ
    ปฏิสัมภิทาญาน มีความสามารถทางจิตเป็นพื้นฐาน...
    ไม่ใช่แบบพวกที่เกิดมาไม่เคยเห็น
    ไม่เคยสัมผัสนามธรรมทั้งหลาย แต่คิดว่าตัวเองมีปัญญามาก
    หลงตัวเองไปวันๆ แสดงความไม่ฉลาดออกมาให้เห็นเรื่อยๆ..
    แถมไม่เคยเห็นไม่เคยสัมผัสนามธรรมทั้งหลาย
    ชอบอวดฉลาดตีความคำสอนกันจังเลยยยยย
    แถมตีความเข้าข้างความคิดตัวเองอีก.

    .ในคำสอนมีทั้งสายมหายานก็มี
    สายชีประขาว นักพรตก็มี ฯลฯ มันแยกแยะกันที่ไหน...
    แสดงว่าที่เคยๆอ่านมาแล้วดูไม่ออกว่าที่เขียนในตำราเป็น
    คำสอนที่มาจากทางสายไหน..แต่ถ้าไม่เหมือนที่ตนเองคิด
    ก็บอกปฏิเสธไป..เพราะมันดูไม่เทห์ ไม่โก้ ไม่หรู
    ดูแล้วไม่เหมือนผู้มากปัญญา เลยปฏิเสธไปหมด..
    ..
    ตำรากว่าจะขึ้นเรือมาถึงบ้านเรา และมาถึงปัจจุบันนี้
    มันมีแปลมาแล้วกี่รอบ มันแน่ใจได้อย่างไร
    ว่าไอ้ที่แปลๆมา มันคือคำสอนของท่านจริงๆ...
    พวกที่แปลต่อมาขยันตีความต่อมาทั้งหลาย..
    ถามหน่อยเถอะว่ามันมีใครเกิดท่านยุคนั้นหรือไม่...
    ยึดถือตำรากันจริง..ถ้าตรงกับความคิดตนเอง ก็บอก
    ว่าเป็นคำสอนของผู้เป็นเลิศทั้ง ๓ ภพ มันถึงได้เกิดเป็น
    สำนักโน้น สำนักนี่ สายโน้นสายนี่ เถียงกัน ยกกันเอง ว่าตัว
    ว่าตนอยู่นั่นหละ..

    ..ตำราเค้าเอามีเอาไว้ให้เป็นแนวทาง แต่สิ่งที่สำคัญ
    คือลงมือปฏิบัติให้รู้ ให้เข้าใจ ให้เข้าถึง...
    ..ไม่ใช่ไปยึดเอาตำราเป็นที่ตั้ง แล้วไปอ้างถึงตัวผู้เป็นเลิศท่าน..
    แล้วบอกว่ามันใช่มันถูก ที่ใช่ที่ถูกเพราะมันเหมือนกับที่ตัวเองคิดทั้งนั้น...
    แล้วดันบอกว่าเหมือนมีตำราอยู่ในตัวเอง.
    .หมายความว่า แก่แล้วนอกจากจะไม่รู้เรื่องอะไรเลยจริงๆ.
    ยังทั้งอุบาทว์และช่างน่าสมเพชจริงๆนะครับ....
    .
     
  9. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    งงตรงที่ว่า ว่า "ปริยัติ" เป็นผลมาจาก "ปฏิเวธ" มันเป็นไปได้ยังไง ปฏิเวธ เป็นผลจากการปฏิบัติจากการลงไม้ลงมือลงเท้าลงศอกทำมิใช่รึ

    เหมือนกับว่า "อิ่ม" เป็นผลมาจากการ "กิน"
     
  10. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704

    ต้องเข้าใจตรงนี้นะว่าสมาธินั้นมี ๓ ระดับ ขณิกสมาธิ ๑ อุปจารสมาธิ ๑ อัปปณาสมาธิ ๑
    ที่นี้เรามาเอาอุปจารสมาธิซึ่งแปลว่าสมาธิที่เฉียดฌานหรือใกล้ฌานเข้าไปแล้วหมายถึงว่าต้องได้ฌานแน่ เหมือนต้นไม้ที่เอนไปแล้วจะไม่กลับมาตั้งต้นใหม่อีก อัปปนาสมาธิก็เป็นสมาธิที่เกิดฌานแล้ว เมื่อทั้งสองสมาธินั้นมีคุณสมบัติอย่างนั้นมีหน้าที่อย่างนั้น มีสมาธิที่เป็นหนึ่งอย่างมั่นคงเป็นอันเดียวอารมณ์เดียว จะพิจารณาไตรลักษณได้ยังไง เพราะฉะนั้นวิปัสสนากรรมฐานจึงมีเพียงขณิกสมาธิเท่านั้น ที่จะพิจารณาไตรลักษณ์ได้
    และที่ว่าขณิกสมาธิเป็นพื้นฐานนั้นเพราะขณิกสมาธิยังเป็นทั้งกุศลและอกุศลด้วย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 22 มีนาคม 2015
  11. มังคละมุนี

    มังคละมุนี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    246
    ค่าพลัง:
    +608
    ศีล ปริยัติ กังวล๑๐ และ สมถะ วิปัสสนา


    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๓ อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต

    [๑๗๐] สมัยหนึ่ง ท่านพระอานนท์อยู่ ณ โฆสิตาราม ใกล้เมืองโกสัมพี ณ ที่นั้นแล
    ท่านพระอานนท์เรียกภิกษุทั้งหลายว่า อาวุโสภิกษุทั้งหลาย
    ภิกษุเหล่านั้นรับคำท่านพระอานนท์แล้ว ท่านพระอานนท์ได้กล่าวว่า

    ดูกรอาวุโสทั้งหลาย
    บุคคลผู้ใดผู้หนึ่งเป็นภิกษุหรือภิกษุณีก็ตาม
    ย่อมพยากรณ์การบรรลุ อรหัตในสำนักของเราด้วยมรรค ๔ โดยประการทั้งปวง
    หรืออย่างใดอย่างหนึ่ง ในบรรดามรรค ๔ ประการนี้ มรรค ๔ เป็นไฉน

    ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องหน้า
    เมื่อเธอเจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องหน้า
    มรรคย่อมเกิด เธอย่อมเสพ ย่อมเจริญ ย่อมกระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น
    เมื่อเธอเสพ เจริญ กระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น ย่อมละสังโยชน์ทั้งหลายได้ อนุสัยย่อมสิ้นสุด ฯ

    อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมเจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องหน้า
    เมื่อเธอเจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องหน้า
    มรรคย่อมเกิด เธอย่อมเสพ ย่อมเจริญ ย่อมกระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น
    เมื่อเธอเสพ เจริญ กระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น ย่อมละสังโยชน์ทั้งหลายได้ อนุสัยย่อมสิ้นสุด ฯ

    อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมเจริญสมถะและวิปัสสนาควบคู่กันไป
    เมื่อเธอเจริญสมถะและวิปัสสนาควบคู่กันไป
    มรรคย่อมเกิด เธอย่อมเสพ เจริญ กระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น
    เมื่อเธอเสพ เจริญ กระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น ย่อมละสังโยชน์ทั้งหลายได้ อนุสัยย่อมสิ้นสุด ฯ

    อีกประการหนึ่ง ใจของภิกษุปราศจากอุทธัจจะในธรรม
    สมัยนั้น จิตนั้นย่อมตั้งมั่น สงบ ณ ภายใน เป็นจิตเกิดดวงเดียว ตั้งมั่นอยู่
    มรรคย่อมเกิดขึ้นแก่เธอ
    เธอย่อมเสพ เจริญ กระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น
    เมื่อเธอเสพ เจริญ กระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น ย่อมละสังโยชน์ทั้งหลายได้ อนุสัยย่อมสิ้นสุด

    ดูกรอาวุโสทั้งหลาย
    บุคคลผู้ใดผู้หนึ่ง เป็นภิกษุหรือภิกษุณีก็ตาม ย่อมพยากรณ์การบรรลุอรหัตในสำนักของเรา
    ด้วยมรรค ๔ ประการนี้ โดยประการทั้งปวง หรืออย่างใด อย่างหนึ่ง บรรดามรรค ๔ ประการนี้ ฯ <center>
    จบปฏิปทาวรรคที่
    ____________________________________________________________________________

    ต้องมีศีลบริสุทธิ์ จนถึงขั้น ศีลบริบูรณ์ และ เรียนปริยัติมามากพอ พิจารณาตัดเรื่องกังวล๑๐ได้แล้ว
    "อุทธัจจะในธรรม" จึงพอสงบลง "นิวรณ์"ก็สงบลง

    สมถะ และ วิปัสสนา จึงเริ่มออกตัวได้อย่างจริงจังตอนนี้ ครับ


    เอวัง..
    </center>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 ตุลาคม 2021
  12. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    พระพุทธเจ้าบำเพ็ญเพียรจนบรรลุธรรม (ปฏิบัติ)
    จนได้ชื่อว่าเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า (ปฏิเวธ) จริงไหม
    เมื่อพระพุทธเจ้าก็นำเอา(ปฏิเวธ) ที่พระองค์ตรัสรู้มาทรงสอน แก่สาวกของพระองค์เพื่อให้ตรัสรู้ตาม
    "ปฏิเวธ" ของพระองค์นั้นดังที่มีไว้เป็นตำราอยู่ที่ในพระไตรปิฎกนั่นเอง ซึ่งใครได้ศึกษาในพระไตรปิฎก
    ก็เรียกว่าศึกษา "ปริยัติ" จริงไหม? เพื่อนำมาปฏิบัติ จริงไหม? (พระไตรปฺิฏกคือปฏิเวธของพระองค์ แต่ก็มาเป็นปริยัติของพวกเรา) จริงไหม?
     
  13. สับสน!

    สับสน! เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 เมษายน 2010
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +3,984
    แล้วปัจจุบัน ที่เอาปริยัติมานี่ ฉบับของใครแต่ง ใครแปล ใครพิมพ์ เชื่อถือได้ไหม ..มันแก้ไขกันไปกี่รอบ ของจริงอยู่ไหน เปิดกะลาออกมามั่งลุงหมานนนน:':)boo:
     
  14. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    ก็ลองไปเปิดอ่านเอาเอง เขาจะอ้างอิงที่มาไว้ให้ศึกษากันอย่างเปิดเผย
     
  15. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    ยังกลับหัวกลับหางอยู่นะ :)

    พระพุทธเจ้าปฏิบัติจนบรรลุธรรม (= ปฏิเวธ) จริงไหม ? ครั้นบรรลุธรรมเองแล้ว จึงได้ชื่อสัมมาสัมพุทธะ จริงไหม ?

    พระธรรมที่พระองค์ตรัสรู้ ซึ่งพุทธศาสนิกชนพึงเล่าเรียนให้รู้แล้ว แล้วนำมาปฏิบัติ จนปฏิเวธ (= บรรลุธรรม) จริงไหม ?
     
  16. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241
    เมา แล้วฮับ ตายเปล่าแน่นอน !!

    พระพุทธองค์ สำเร็จด้วยวิชา3 ดังนั้น ปฏิบัติ กับ ปฏิเวธ ที่จะเป็น
    ปริยัติส่วนพระองค์ ก็ต้องเนื่องกันกับ วิชา3

    ทีนี้ พระพุทธองค์สำเร็จพร้อม สัพพัญญูตาญาณ พร้อมด้วยทศพลญาณ

    ญาณสองตัวนี้ทำให้ สามารถยก ปฏิบัติ เพือให้เกิด ปฏิเวธของ
    ผู้สมควรจะบรรลุธรรมได้ [ พระสูตรส่วนใหญ่ พอเทศนาจบ จะมีคนบรรลุธรรม.....
    .... พูดอีกแง่ ขณะเทศนา ก็มีคน ปฏิบัติไปพร้อมๆกันเป็น....ไม่ใช่
    การเรียนแบบปัจจุบัน เรียนแบบ จดลูกชิ้นลงสมุด ไปท่อง ไปอ่านอาขยาน ทำท่า
    ทำทางอธิบายได้คล่อง สำคัญว่าเรียนธรรม ]

    ส่วนผู้ที่ฟังแล้วไม่อาจบรรลุ คือ ใช้เป็นปริยัติ เพื่อความสุข ไม่สามารถนำไปปฏิบัติได้
    เอาแต่ สุขใจจากการได้ยิน ได้ฟัง เพื่อสวรรคิ์ เพื่อ ประโยชน์ในภายภาค
    หน้าโน้นนนนนนนนนนนนนนนนนนน... ซึ่งเป็นประโยชน์แน่แต่ไม่อาจะ
    ระบุได้ว่า เวลาไหน หรือ ที่อนุโลมเรียกไปก่อนว่า ตายเปล่า(จากมรรคผล)
    ก็ว่ากันไป โดยอาจจะพอผลิกได้ในขณะลมหายใจสุดท้าย ถ้า เอะใจ เป็น...(ไม่มีมรรคผลของตน ก็กำหนดรู้)


    ดังนั้น ปริยัติที่เหมาะกับการปฏิบัติ เพื่อปฏิเวธ จริงๆแล้ว จะมีไม่มาก หาก
    เจอก็ใช้พระสูตรเดียว ไม่ต้องไปเรียนทั้งหมด หากสำคัญว่า ต้องเรียนทั้ง
    หมด ก็มีอยู่สองอย่างคือ เป็นพวกตายเปล่า อ่านเอาสุขไปวันๆ เอาความ
    ละเมอสำคัญว่าได้มรรคผลแล้ว( จัดเป็นสัตว์สัญญาเสีย คือ กำหนดรู้ไม่ได้
    ว่า สัญญาไม่เที่ยง) กับ พวกที่สำเร็จแล้วท่านมาย้อนอ่านเพื่อรักษาสมบัติ
    ให้ผู้ที่ยังไม่ได้รับ สดับ ทำ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 มีนาคม 2015
  17. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    เอาเห็นๆนี่ล่ะ ถามเอกวีร์กับลุงหมานนะ นี่เป็นธรรมะไหม ?

     
  18. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241
    ก็เคย บอกไปหลายหนแล้ว

    ธรรมของพระพุทธองค์ ทุก ธรรมบท ล้วนส่งถึง พระนิพพาน ได้หมด
    เป็นสุญญตา เป็นโลกุตระ แต่ส่วนเดียว

    แต่ พระพุทธองค์ก็ตรัสบอกด้วยว่า พวกเดียรถีย จะเอา สัทธรรม
    ของพระองค์ไปปฏิรูป พูดชักให้กลายเป็นเรื่อง กิน กาม เกรียติ โลกธรรม

    ยกตัวอย่าง

    ธรรมที่ฟังเพื่อนิพพาน อย่างเช่นที่ยกมา หน้าที บุตรต่อบิดา มารดา
    ลองเน้นไปที่ข้อ 4 กับ 5

    ๔) ประพฤติตนให้เหมาะสมกับความเป็นทายาท
    ๕) เมื่อท่านล่วงลับไปแล้ว ทำบุญอุทิศให้ท่าน

    สองข้อนี้ หากฟังธรรมเป็นสักนิดเดียว จะเห็นเลยว่า " ต้องบรรลุธรรม "
    ต้องปฏิบัติให้ถึงนิพพาน ต้อม นมสิการนิพพาน มาสู่จิต โน้มไป ถึงจะ
    ทำให้ สองข้อนี้เกิดประโยชน์แบบ "สัจจ" ไม่กำเริบกลับ

    แต่ถ้าเป็น เดียรถีย์ หรือ เป็นพวกที่ไม่สามารถบรรลุธรรม ก็จะรับได้
    แค่ประโยชน์สุขโลกๆ

    กรณี มารดาบิดา... ก็เอาข้อ

    " ๕) มอบทรัพย์สมบัติให้เมื่อถึงโอกาส "

    ตรงนี้ก็มอบ นิพพาน ให้ได้ เช่น พระพุทธองค์ ลูก คือ พระราหุล
    เดินมาหา มาขอ ให้พระองค์ยกสมบัติให้ พระพุทธองค์ก็ให้ พระสารีบุตร
    บวชพระราหุล .....เป็นการ มอบสมบัติที่แท้จริง ไม่ไก่กา เป็นต้น
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 มีนาคม 2015
  19. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    พูดคล้ายๆว่า นิพพานเท่านั้นคือธรรม เอ๊ะอะๆ ก็ไปนิพพาน :)
     
  20. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241
    ก็บอกไปแล้ว ในโพสก่อนหน้า ประโยชน์ของการฟังธรรม มีสองอย่าง

    1. สำหรับพวกที่บรรลุธรรมได้ ก็ฟังเพื่อนิพพาน

    2. สำหรับพวกที่ไม่อาจบรรลุธรรมได้ ตายเปล่า ก็ฟังเพื่อ อยู่สุข

    ทีนี้ การปรากฏของพระพุทธศาสนา ไม่ใช่ ปรากฏเพื่อมาเป็น นักปรัชญา
    นักปกครอง นักอภิปรชญา นักการวิชา กระจอกๆ

    การปรากฏของพระพุทธศาสนา เพื่อชี้ทางไป นิพพาน นั่นคือ การเป็นธรรมทายาท

    " จงอย่าเป็น อามิสทายาทเลย "


    ไม่นับ พวกมาปล้นศาสนา เอาสัทธรรม ไปประดับหน้าตา ปัญญาตน เยี่ยงมหาโจร
     

แชร์หน้านี้

Loading...