"ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๔ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความฟั่นเฟือน เพื่อความเสื่อมสูญแห่งพระสัทธรรม ๔ ประการเป็นไฉน ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ย่อมเล่าเรียนพระสูตรอัน เรียนกันมาผิดลำดับ ด้วยอรรถแห่งบทและพยัญชนะที่ตั้งไว้ผิด แม้อรรถแห่งบทและพยัญชนะที่ตั้งไว้ผิด ย่อมมีนัยผิดไปด้วย (เข้าใจคลาดเคลื่อน) ดูกรภิกษุทั้งหลายนี้เป็นธรรมข้อที่ ๑ ย่อมเป็นไปเพื่อความฟั่นเฟือน เพื่อความเสื่อมสูญแห่งพระ สัทธรรม ฯ อีกประการหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายเป็นผู้ว่ายาก ประกอบด้วยธรรมอันทำให้ เป็นผู้ว่ายาก เป็นผู้ไม่อดทน (มักง่าย) ไม่รับคำพร่ำสอนโดยเคารพ ดูกรภิกษุทั้งหลายนี้เป็นธรรมข้อที่ ๒ ย่อมเป็นไปเพื่อความฟั่นเฟือน เพื่อความเสื่อมสูญแห่งพระ สัทธรรม ฯ อีกประการหนึ่ง ภิกษุเหล่าใดเป็นพหูสูต เล่าเรียนนิกาย ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา ภิกษุนั้นไม่บอกพระสูตรแก่ผู้อื่นโดยเคารพ เมื่อภิกษุเหล่านั้นมรณภาพลง พระสูตรย่อมมีรากขาดสูญ ไม่มีที่พึ่งอาศัย ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นธรรมข้อที่ ๓ ย่อมเป็นไปเพื่อความฟั่นเฟือน เพื่อความเสื่อม สูญแห่งพระสัทธรรม ฯ อีกประการหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นพระเถระ เป็นผู้มักมาก มีความประพฤติย่อหย่อน เป็นหัวหน้าในการก้าวลง (เที่ยวชี้นำกลุ่มชน ให้เข้าใจคลาดเคลื่อนตามตน) ทอดธุระในวิเวก (ละเลยความสงบและสันโดษ) ไม่ปรารภความเพียร (ละเลยการปฏิบัติ) .... เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง .... เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ .... เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ยังไม่ทำให้แจ้ง หมู่ชนผู้เกิดมาภายหลังย่อมดำเนินตามอย่างภิกษุเหล่านั้น แม้ชนผู้เกิดมาภายหลังนั้น ก็เป็นผู้มักมาก มีความประพฤติย่อหย่อน เป็นหัวหน้าในการก้าวลง ทอดธุระในวิเวก ไม่ปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึงเพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ยังไม่ทำให้แจ้ง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๔ ประการนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความฟั่นเฟือน เพื่อความ เสื่อมสูญแห่งพระสัทธรรม ฯ"
"[๒๖๖] ๒๐. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความฟั่นเฟือนเลือนหายแห่งพระสัทธรรม ๒ อย่างเป็นไฉน คือ บทพยัญชนะที่ตั้งไว้ไม่ดี อรรถที่นำมาไม่ดี. แม้เนื้อความแห่งบทพยัญชนะที่ตั้งไว้ไม่ดี ก็ย่อมเป็นอันนำมาไม่ดี ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม๒ อย่างนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความฟั่นเฟือนเลือนหายแห่งพระสัทธรรม"
อนุโมทนาสาธุ น่าจะช่วยกันโพสเยอะๆให้ได้อ่านเผื่อจะไปกระตุ้นจิตใต้สำนึกได้บ้างนะครับ ทุกวันนี้จะหาผู้ที่สั่งสอนหัวใจธรรมมะคือพระอริยสัจสี่ไม่ค่อยเจอ เจอแต่อะไรก็ไม่รู้หรือแม้แต่คนสอนยังไม่แจ่มแจ้งในธรรมเลยอธิบายไม่ได้ก็ไม่รู้พระอริยสงฆ์เจ้ารุ่นก่อนๆหลายๆพระองค์จะสอนแต่พระอริยสัจสี่ การเฝ้าดูตนหาข้อบกพร่องแห่งตนเอาชนะจิตตนเช่นหลวงปู่มั่นเป็นต้น แต่สมัยนี้หาได้น้อยมากๆ ช่วยๆกันนะครับเพื่อศาสนาที่เราปราวนาตนเป็นลูกหลานสักยวงค์เป็นผู้ที่เคารพและขอถือพระรัตนตรัยเป็นที่พึงขอเจริญรอยตามองค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น เวลาใครถามจะได้ตอบได้เต็มที่ว่าเรานับถือศาสนาพุทธยึดพระรัตนตรัยเป็นที่ตั้งและสามารถพูดได้เต็มที่ว่าพระศาสดาสอนอะไรเราบ้าง แล้วทำไมเรานับถือพระพุทธเจ้าเชื่อพระองค์ด้วยสาเหตุอะไรมีคำอธิบายได้อย่างแช่มแจ้งให้คนอื่นๆได้รู้ว่าพระศาสดาของเราเป็นยิ่งกว่าสัทบุรุษผู้ไม่มีใครเทียบได้เป็นผู้ค้นพบความจริงแห่งพระสัทธรรมที่งดงามทั้งเบื้องต้น ท่ามกลาง และเบื้องปลายไม่มีใครเทียบได้อีกแล้ว เป็นครูของมนุษย์และเทวดาทั้งหลาย สามารถเป็นแสงสว่างในที่มืดเป็นผู้ที่หงายของที่คว่ำได้โดยง่ายดาย อย่าได้ให้ใครว่าได้ว่านับถือศาสนาพุทธแต่ไม่เข้าใจว่าอะไรคือคำสอนที่แท้จริงของพระศาสดาเลย สาธุ
ฝาก เจ้าของกระทู้ ทำการ เผยแผ่ พระสูตรนี้ อย่าปิดบัง อย่าอำพราง ด้วยขอรับ มหาตัณหาสังขยสูตร ว่าด้วยสาติภิกษุมีทิฏฐิลามก (ในเรื่องวิญญาณ) [๔๔๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :- สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวันอารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี สมัยนั้น ภิกษุชื่อสาติ ผู้เกวัฏฏบุตร(บุตรชาวประมง) มีทิฏฐิอันลามก เห็นปานนี้เกิดขึ้นว่า เราย่อมรู้ทั่วถึงธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงว่า วิญญาณนี้นั่นแหละ ย่อมท่องเที่ยว แล่นไป ไม่ใช่อื่น. ภิกษุมากด้วยกันได้ฟังว่า ภิกษุสาติ ผู้เกวัฏฏบุตร มีทิฏฐิอันลามกเห็นปานนี้เกิดขึ้นว่า เราย่อมรู้ทั่วถึงธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงว่า วิญญาณนี้นั่นแหละ ย่อมท่องเที่ยว แล่นไป ไม่ใช่อื่น จึงเข้าไปหาสาติภิกษุแล้ว ถามว่า ดูกรท่านสาติ ได้ยินว่า ท่านมีทิฏฐิอันลามกเห็นปานนี้ เกิดขึ้นว่า เราย่อมรู้ทั่วถึงธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงว่า วิญญาณนี้นั่นแหละ ย่อมท่องเที่ยว แล่นไป ไม่ใช่อื่น ดังนี้ จริงหรือ? (กล่าวคือ สาติภิกษุมีความคิดความเข้าใจผิดด้วยอวิชชาไปว่า พระพุทธเจ้าทรงสอนว่าวิญญาณ เป็นไปในลักษณะของเจตภูตที่สามารถท่องเที่ยวล่องลอย หรือในสภาพอัตตาหรืออาตมัน หรือในสภาพของปฏิสนธิวิญญาณนั่นเอง แล้วยึดมั่นถือมั่นในความเชื่อความเข้าใจอย่างนี้ของตัวของตนด้วยกิเลสอย่างเหนียวแน่นไม่ปล่อยวางหรืออุปาทานนั่นเอง จึงเป็นเหตุให้ไม่ฟังเหตุผลจากภิกษุอื่นที่พยายามช่วยเหลือแก้ไขทิฏฐิอันเห็นผิดนี้ หรือเมื่อฟังก็ฟังอย่างดื้อดึงคือไม่ยอมพิจารณาอย่างเป็นกลางมีเหตุมีผล เห็นเป็นไปตามความเชื่อของตัวตนแต่ฝ่ายเดียว ดังที่เธอได้ตอบยืนยัน) เธอตอบว่า ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ข้าพเจ้าย่อมรู้ทั่วถึงธรรมตามที่พระผู้มีพระภาค ทรงแสดงว่า วิญญาณนี้นั่นแหละ ย่อมท่องเที่ยว แล่นไป มิใช่อื่นดังนี้ จริง. ภิกษุเหล่านั้นปรารถนาจะปลดเปลื้องภิกษุสาติ ผู้เกวัฏฏบุตรจากทิฏฐินั้นจึงซักไซ้ ไล่เลียง สอบสวนว่า ดูกรท่านสาติ ท่านอย่ากล่าวอย่างนี้ ท่านอย่ากล่าวตู่พระผู้มีพระภาค การกล่าวตู่ พระผู้มีพระภาค ไม่ดีเลย เพราะพระผู้มีพระภาคมิได้ตรัสอย่างนี้เลย ดูกรท่านสาติ (ความจริงแล้วพระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้ว่า)วิญญาณอาศัย ปัจจัยประชุมกันเกิดขึ้น พระผู้มีพระภาคตรัสแล้วโดยปริยายเป็นอเนก ความเกิดแห่งวิญญาณ เว้นจากปัจจัยมิได้มี. (หรือกล่าวชัดๆก็คือ วิญญาณเป็นสังขาร จึงเกิดมาแต่มีเหตุปัจจัยปรุงแต่งขึ้น ดังจักได้สดับในลำดับต่อๆไปในพระสูตรนี้) ภิกษุสาติ ผู้เกวัฏฏบุตร อันภิกษุเหล่านั้น ซักไซ้ ไล่เลียง สอบสวนอยู่อย่างนี้ ก็ยังยึดมั่น ถือมั่นทิฏฐิอันลามกนั้นรุนแรง กล่าวอยู่(แต่อย่างเห็นผิด)ว่า ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ข้าพเจ้าย่อมรู้ทั่วถึงธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงว่า วิญญาณนี้นั่นแหละ ย่อมท่องเที่ยว แล่นไป ไม่ใช่อื่น ดังนี้. ภิกษุทั้งหลายไม่อาจเปลื้องสาติภิกษุจากทิฏฐิ [๔๔๑]เมื่อภิกษุเหล่านั้น ไม่อาจปลดเปลื้องสาติภิกษุ ผู้เกวัฏฏบุตรจากทิฏฐินั้นได้ จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถวายอภิวาทแล้วนั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วได้ทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สาติภิกษุมีทิฏฐิอันลามก เห็นปานนี้เกิดขึ้นว่า เราย่อมรู้ทั่วถึงธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงว่า วิญญาณนี้นั่นแหละ ย่อมท่องเที่ยว แล่นไป ไม่ใช่อื่น ครั้งนั้น พวกข้าพระองค์เข้าไปหาสาติภิกษุแล้วถามว่า ดูกรท่านสาติ ได้ยินว่า ท่านมีทิฏฐิอันลามกเห็นปานนี้ เกิดขึ้นว่า เราย่อมรู้ทั่วถึงธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงว่า วิญญาณนี้นั่นแหละ ย่อมท่องเที่ยว แล่นไป มิใช่อื่น ดังนี้ จริงหรือ? เมื่อพวกข้าพระองค์ถามอย่างนี้ สาติภิกษุได้บอกพวกข้าพระองค์ว่า ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ข้าพเจ้าย่อมรู้ทั่วถึงธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงว่า วิญญาณนี้นั่นแหละ ย่อมท่องเที่ยว แล่นไป มิใช่อื่น ดังนี้ จริง ในลำดับนั้น พวกข้าพระองค์ ปรารถนาจะปลดเปลื้องสาติภิกษุจากทิฏฐิอันลามกนั้น จึงซักไซ้ ไล่เลียง สอบสวนว่า ดูกรท่าน สาติ ท่านอย่าได้กล่าวอย่างนี้ ท่านอย่ากล่าวตู่พระผู้มีพระภาค การกล่าวตู่พระผู้มีพระภาค ไม่ดีเลย เพราะพระผู้มีพระภาคมิได้ตรัสอย่างนี้เลย ดูกรท่านสาติวิญญาณอาศัยปัจจัยประชุมกันเกิดขึ้น พระผู้มีพระภาคตรัสแล้วโดยปริยายเป็นอเนก ความเกิดแห่งวิญญาณ เว้นจากปัจจัยมิได้มี(หมายถึงไม่มีเหตุปัจจัยก็เกิดไม่ได้อย่างเด็ดขาด) ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สาติภิกษุอันพวกข้าพระองค์ซักไซ้ ไล่เลียง สอบสวนอยู่ แม้อย่างนี้ ก็ยังยึดมั่น ถือมั่นทิฏฐิอันลามกนั้นรุนแรง กล่าวอยู่(แต่)ว่า ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ข้าพเจ้าย่อมรู้ทั่วถึง ธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงว่า วิญญาณนี้นั่นแหละ ย่อมท่องเที่ยว แล่นไป มิใช่อื่น ดังนี้ จริง ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อพวกข้าพระองค์ไม่อาจปลดเปลื้องสาติภิกษุจากทิฏฐิอันลามก นั้น จึงมากราบทูลเรื่องนี้แด่พระผู้มีพระภาค. [๔๔๒]ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุรูปหนึ่งมาแล้วตรัสว่า ดูกรภิกษุ เธอจงมา เธอจงเรียกสาติภิกษุ ผู้เกวัฏฏบุตร ตามคำของเราว่า ดูกรท่านสาติ พระศาสดารับสั่งให้หา ท่านภิกษุนั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว จึงเข้าไปหาสาติภิกษุ แล้วบอกว่า ดูกรท่านสาติ พระศาสดารับสั่งให้หาท่าน. สาติภิกษุรับคำภิกษุนั้นแล้ว จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับถวายอภิวาทแล้ว จึงนั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง. พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรสาติ ได้ยินว่า เธอมีทิฏฐิอันลามกเห็นปานนี้เกิดขึ้นว่า เราย่อมรู้ทั่วถึงธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงว่า วิญญาณนี้นั่นแหละ ย่อมท่องเที่ยว แล่นไป ไม่ใช่อื่น ดังนี้ จริงหรือ? สาติภิกษุทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ย่อมรู้ทั่วถึงธรรมตามที่พระผู้มีพระภาค ทรงแสดงว่า วิญญาณนี้แหละ ย่อมท่องเที่ยว แล่นไป ไม่ใช่อื่น ดังนี้ จริง. พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรสาติ วิญญาณนั้นเป็นอย่างไร? สาติภิกษุทูลว่า สภาวะที่พูดได้ รับรู้ได้ ย่อมเสวยวิบากของกรรมทั้งหลาย ทั้งส่วนดี ทั้งส่วนชั่วในที่นั้นๆ นั่นเป็นวิญญาณ.(อันเป็นมิจฉาทิฏฐิ) (เป็นความเข้าใจในลักษณะของเจตภูตที่สามารถท่องเที่ยวล่องลอยไปแสวงหาที่เกิด หรืออัตตา(อาตมัน) หรือปฏิสนธิวิญญาณ อันเป็นมิจฉาทิฏฐิ) พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรโมฆบุรุษ เธอรู้ธรรมอย่างนี้ ที่เราแสดงแก่ใครเล่า(หมายถึงท่านไม่เคยแสดงธรรมเยี่ยงนี้เลย) ดูกรโมฆบุรุษ (ที่เราตถาคตกล่าวแสดงไว้มีดังนี้ คือ)วิญญาณอาศัยปัจจัยประชุมกันเกิดขึ้น เรากล่าวแล้วโดยปริยายเป็นอเนกมิใช่หรือ ความเกิดแห่งวิญญาณ เว้นจากปัจจัย มิได้มี ดูกรโมฆบุรุษ ก็เมื่อเป็นดังนั้น เธอกล่าวตู่เราด้วย ขุดตนเสียด้วย จะประสพบาปมิใช่บุญ มากด้วย เพราะทิฏฐิที่ตนถือชั่วแล้ว ดูกรโมฆบุรุษก็ความเห็นนั้นของเธอ จักเป็นไปเพื่อโทษ ไม่เป็นประโยชน์ (แต่เป็นไป)เพื่อทุกข์ตลอดกาลนาน. ตรัสสอบถามเรื่องสาติภิกษุผู้มีความเห็นผิดนั้น [๔๔๓]ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลายพวกเธอจะ สำคัญความนั้นเป็นไฉน สาติภิกษุผู้เกวัฏฏบุตรนี้ จะเป็นผู้ทำความเจริญในพระธรรมวินัยนี้บ้าง หรือไม่? ภิกษุเหล่านั้นทูลว่า ข้อนี้จะมีได้อย่างไร ข้อนี้มีไม่ได้เลย พระพุทธเจ้าข้า. เมื่อภิกษุทั้งหลายทูลอย่างนี้แล้ว สาติภิกษุ ผู้เกวัฏฏบุตร นั่งนิ่ง กระดาก คอตก ก้มหน้า ซบเซา หมดปฏิภาณ. ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบว่า สาติภิกษุ ผู้เกวัฏฏบุตร มีความเป็นดังนั้นแล้ว จึงตรัสกะเธอว่า ดูกรโมฆบุรุษ เธอจักปรากฏด้วยทิฏฐิอันลามกของตนนั้น เราจักสอบถามภิกษุ ทั้งหลายในที่นี้ ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอ ย่อมรู้ทั่วถึงธรรมที่เราแสดงแล้ว เหมือนสาติภิกษุ กล่าวตู่เราด้วย ขุดตนเสียด้วย จะประสพบาปมิใช่บุญ มากด้วย เพราะทิฏฐิที่ตนถือชั่วแล้ว ดังนี้หรือ? ภิกษุเหล่านั้นทูลว่า ข้อนี้ไม่มีเลย พระพุทธเจ้าข้า เพราะวิญญาณอาศัยปัจจัยประชุมกันเกิดขึ้น พระผู้มีพระภาคตรัสแล้วแก่พวกข้าพระองค์ โดยปริยายเป็นอเนก ความเกิดแห่งวิญญาณ เว้นจากปัจจัย มิได้มี. พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ดีละ พวกเธอรู้ทั่วถึงธรรมที่เราแสดงอย่างนี้ ถูกแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย วิญญาณอาศัยปัจจัยประชุมกันเกิดขึ้น เรากล่าวแล้วโดยปริยายเป็นอเนก ความเกิดแห่งวิญญาณ เว้นจากปัจจัย มิได้มี ก็แต่สาติภิกษุ ผู้เกวัฏฏบุตรนี้ กล่าวตู่เราด้วย ขุดตนเสียด้วย จะประสพบาปมิใช่บุญ มากด้วย เพราะทิฏฐิที่ตนถือชั่วแล้ว ความเห็นนั้นของโมฆบุรุษนั้น จักเป็นไปเพื่อโทษ ไม่เป็นประโยชน์ (แต่เป็นไป)เพื่อทุกข์ตลอดกาลนาน.
อ่านดีๆ นะขอรับ อ่านไม่ดี อ่านเอาแต่ วรรคแรก จะเข้าใจไปว่า วิญญาณ หรือ จิต คือ สิ่งล่องลอย เวียนว่าย หาที่เกิด เป็นเรื่องของ สัตว์แสวงหาที่เกิด อ่านไม่ดี อ่านเอาแต่ วรรคแรก จะเข้าใจไปว่า วิญญาณ หรือ จิต คือสัตว์ เป็นสิ่งที่พระ พุทธองค์แสดงธรรม ไว้หละยุ่งเลย เพราะเป็น การตู่พระศาสดา เพราะ วิญญาณ หรือ จิต ไม่ใช่สัตว์ เป็นเพียงธาตุ ที่เกิดจากเหตุปัจจัย หากเว้นจากเหตุปัจจัย แล้ว วิญญาณ หรือ จิต ก็เกิดขึ้นไม่ได้อีก
แยกแยะ เช่นนั้น แล ถึงเรียกว่า ฟั่นเฟือน หาศึกษาให้ครบก่อนนะ ค่อยมาว่ากันใหม่ ยังมีอีก ... ลำดับมาให้ครบก่อน จึงจะเข้าใจความทั้งหมด ว่า วิญญาน จิต สัตว์ นั้นสัมพันธ์กันในลักษณะใด ไม่ใช่เอาแต่จะแปล ท่าเดียว เก่งแต่แปล คำต่อคำ ที่พระพุทธเจ้ากล่าว "เรียนกันมาผิดลำดับ ด้วยอรรถแห่งบทและพยัญชนะที่ตั้งไว้ผิด แม้อรรถแห่งบทและพยัญชนะที่ตั้งไว้ผิด ย่อมมีนัยผิดไปด้วย (เข้าใจคลาดเคลื่อน)"
งง เหรอ ฮับ ก็ ยกมาให้ทั้งพระสูตร เรียงตามลำดับ วรรคตอน ถูกต้อง แล้ว จะร้อง หรือ ปรักปรำ การนำแสดง ผิดลำดับ อะไรอีก หละฮับ อย่าปิดบัง อย่า อำพราง พระสูตร จิฮับ เอานะ ผมจะ แสดง วิชา ปุณฑ์ปู้น ให้ดู..............
มหาตัณหาสังขยสูตร ว่าด้วยสาติภิกษุมีทิฏฐิลามก(ในเรื่องวิญญาณ) [๔๔๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :- สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวันอารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี สมัยนั้น ภิกษุชื่อสาติ ผู้เกวัฏฏบุตร(บุตรชาวประมง) มีทิฏฐิอันลามก เห็นปานนี้เกิดขึ้นว่า เราย่อมรู้ทั่วถึงธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงว่า วิญญาณนี้นั่นแหละ ย่อมท่องเที่ยว แล่นไป ไม่ใช่อื่น. ภิกษุมากด้วยกันได้ฟังว่า ภิกษุสาติ ผู้เกวัฏฏบุตร มีทิฏฐิอันลามกเห็นปานนี้เกิดขึ้นว่า เราย่อมรู้ทั่วถึงธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงว่า วิญญาณนี้นั่นแหละ ย่อมท่องเที่ยว แล่นไป ไม่ใช่อื่น จึงเข้าไปหาสาติภิกษุแล้ว ถามว่า ดูกรท่านสาติ ได้ยินว่า ท่านมีทิฏฐิอันลามกเห็นปานนี้ เกิดขึ้นว่า เราย่อมรู้ทั่วถึงธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงว่า วิญญาณนี้นั่นแหละ ย่อมท่องเที่ยว แล่นไป ไม่ใช่อื่น ดังนี้ จริงหรือ? (กล่าวคือ สาติภิกษุมีความคิดความเข้าใจผิดด้วยอวิชชาไปว่า พระพุทธเจ้าทรงสอนว่าวิญญาณ เป็นไปในลักษณะของเจตภูตที่สามารถท่องเที่ยวล่องลอย หรือในสภาพอัตตาหรืออาตมัน หรือในสภาพของปฏิสนธิวิญญาณนั่นเอง แล้วยึดมั่นถือมั่นในความเชื่อความเข้าใจอย่างนี้ของตัวของตนด้วยกิเลสอย่างเหนียวแน่นไม่ปล่อยวางหรืออุปาทานนั่นเอง จึงเป็นเหตุให้ไม่ฟังเหตุผลจากภิกษุอื่นที่พยายามช่วยเหลือแก้ไขทิฏฐิอันเห็นผิดนี้ หรือเมื่อฟังก็ฟังอย่างดื้อดึงคือไม่ยอมพิจารณาอย่างเป็นกลางมีเหตุมีผล เห็นเป็นไปตามความเชื่อของตัวตนแต่ฝ่ายเดียว ดังที่เธอได้ตอบยืนยัน) เธอตอบว่า ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ข้าพเจ้าย่อมรู้ทั่วถึงธรรมตามที่พระผู้มีพระภาค ทรงแสดงว่า วิญญาณนี้นั่นแหละ ย่อมท่องเที่ยว แล่นไป มิใช่อื่นดังนี้ จริง. ภิกษุเหล่านั้นปรารถนาจะปลดเปลื้องภิกษุสาติ ผู้เกวัฏฏบุตรจากทิฏฐินั้นจึงซักไซ้ ไล่เลียง สอบสวนว่า ดูกรท่านสาติ ท่านอย่ากล่าวอย่างนี้ ท่านอย่ากล่าวตู่พระผู้มีพระภาค การกล่าวตู่ พระผู้มีพระภาค ไม่ดีเลย เพราะพระผู้มีพระภาคมิได้ตรัสอย่างนี้เลย ดูกรท่านสาติ (ความจริงแล้วพระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้ว่า)วิญญาณอาศัย ปัจจัยประชุมกันเกิดขึ้น พระผู้มีพระภาคตรัสแล้วโดยปริยายเป็นอเนก ความเกิดแห่งวิญญาณ เว้นจากปัจจัยมิได้มี. (หรือกล่าวชัดๆก็คือ วิญญาณเป็นสังขาร จึงเกิดมาแต่มีเหตุปัจจัยปรุงแต่งขึ้น ดังจักได้สดับในลำดับต่อๆไปในพระสูตรนี้) ภิกษุสาติ ผู้เกวัฏฏบุตร อันภิกษุเหล่านั้น ซักไซ้ ไล่เลียง สอบสวนอยู่อย่างนี้ ก็ยังยึดมั่น ถือมั่นทิฏฐิอันลามกนั้นรุนแรง กล่าวอยู่(แต่อย่างเห็นผิด)ว่า ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ข้าพเจ้าย่อมรู้ทั่วถึงธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงว่า วิญญาณนี้นั่นแหละ ย่อมท่องเที่ยว แล่นไป ไม่ใช่อื่น ดังนี้. ภิกษุทั้งหลายไม่อาจเปลื้องสาติภิกษุจากทิฏฐิ [๔๔๑]เมื่อภิกษุเหล่านั้น ไม่อาจปลดเปลื้องสาติภิกษุ ผู้เกวัฏฏบุตรจากทิฏฐินั้นได้ จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถวายอภิวาทแล้วนั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วได้ทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สาติภิกษุมีทิฏฐิอันลามก เห็นปานนี้เกิดขึ้นว่า เราย่อมรู้ทั่วถึงธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงว่า วิญญาณนี้นั่นแหละ ย่อมท่องเที่ยว แล่นไป ไม่ใช่อื่น ครั้งนั้น พวกข้าพระองค์เข้าไปหาสาติภิกษุแล้วถามว่า ดูกรท่านสาติ ได้ยินว่า ท่านมีทิฏฐิอันลามกเห็นปานนี้ เกิดขึ้นว่า เราย่อมรู้ทั่วถึงธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงว่า วิญญาณนี้นั่นแหละ ย่อมท่องเที่ยว แล่นไป มิใช่อื่น ดังนี้ จริงหรือ? เมื่อพวกข้าพระองค์ถามอย่างนี้ สาติภิกษุได้บอกพวกข้าพระองค์ว่า ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ข้าพเจ้าย่อมรู้ทั่วถึงธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงว่า วิญญาณนี้นั่นแหละ ย่อมท่องเที่ยว แล่นไป มิใช่อื่น ดังนี้ จริง ในลำดับนั้น พวกข้าพระองค์ ปรารถนาจะปลดเปลื้องสาติภิกษุจากทิฏฐิอันลามกนั้น จึงซักไซ้ ไล่เลียง สอบสวนว่า ดูกรท่าน สาติ ท่านอย่าได้กล่าวอย่างนี้ ท่านอย่ากล่าวตู่พระผู้มีพระภาค การกล่าวตู่พระผู้มีพระภาค ไม่ดีเลย เพราะพระผู้มีพระภาคมิได้ตรัสอย่างนี้เลย ดูกรท่านสาติวิญญาณอาศัยปัจจัยประชุมกันเกิดขึ้น พระผู้มีพระภาคตรัสแล้วโดยปริยายเป็นอเนก ความเกิดแห่งวิญญาณ เว้นจากปัจจัยมิได้มี(หมายถึงไม่มีเหตุปัจจัยก็เกิดไม่ได้อย่างเด็ดขาด) ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สาติภิกษุอันพวกข้าพระองค์ซักไซ้ ไล่เลียง สอบสวนอยู่ แม้อย่างนี้ ก็ยังยึดมั่น ถือมั่นทิฏฐิอันลามกนั้นรุนแรง กล่าวอยู่(แต่)ว่า ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ข้าพเจ้าย่อมรู้ทั่วถึง ธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงว่า วิญญาณนี้นั่นแหละ ย่อมท่องเที่ยว แล่นไป มิใช่อื่น ดังนี้ จริง ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อพวกข้าพระองค์ไม่อาจปลดเปลื้องสาติภิกษุจากทิฏฐิอันลามก นั้น จึงมากราบทูลเรื่องนี้แด่พระผู้มีพระภาค. [๔๔๒]ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุรูปหนึ่งมาแล้วตรัสว่า ดูกรภิกษุ เธอจงมา เธอจงเรียกสาติภิกษุ ผู้เกวัฏฏบุตร ตามคำของเราว่า ดูกรท่านสาติ พระศาสดารับสั่งให้หา ท่านภิกษุนั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว จึงเข้าไปหาสาติภิกษุ แล้วบอกว่า ดูกรท่านสาติ พระศาสดารับสั่งให้หาท่าน. สาติภิกษุรับคำภิกษุนั้นแล้ว จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับถวายอภิวาทแล้ว จึงนั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง. พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรสาติ ได้ยินว่า เธอมีทิฏฐิอันลามกเห็นปานนี้เกิดขึ้นว่า เราย่อมรู้ทั่วถึงธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงว่า วิญญาณนี้นั่นแหละ ย่อมท่องเที่ยว แล่นไป ไม่ใช่อื่น ดังนี้ จริงหรือ? สาติภิกษุทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ย่อมรู้ทั่วถึงธรรมตามที่พระผู้มีพระภาค ทรงแสดงว่า วิญญาณนี้แหละ ย่อมท่องเที่ยว แล่นไป ไม่ใช่อื่น ดังนี้ จริง. พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรสาติ วิญญาณนั้นเป็นอย่างไร? สาติภิกษุทูลว่า สภาวะที่พูดได้ รับรู้ได้ ย่อมเสวยวิบากของกรรมทั้งหลาย ทั้งส่วนดี ทั้งส่วนชั่วในที่นั้นๆ นั่นเป็นวิญญาณ.(อันเป็นมิจฉาทิฏฐิ) (เป็นความเข้าใจในลักษณะของเจตภูตที่สามารถท่องเที่ยวล่องลอยไปแสวงหาที่เกิด หรืออัตตา(อาตมัน) หรือปฏิสนธิวิญญาณ อันเป็นมิจฉาทิฏฐิ) พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรโมฆบุรุษ เธอรู้ธรรมอย่างนี้ ที่เราแสดงแก่ใครเล่า(หมายถึงท่านไม่เคยแสดงธรรมเยี่ยงนี้เลย) ดูกรโมฆบุรุษ (ที่เราตถาคตกล่าวแสดงไว้มีดังนี้ คือ)วิญญาณอาศัยปัจจัยประชุมกันเกิดขึ้น เรากล่าวแล้วโดยปริยายเป็นอเนกมิใช่หรือ ความเกิดแห่งวิญญาณ เว้นจากปัจจัย มิได้มี ดูกรโมฆบุรุษ ก็เมื่อเป็นดังนั้น เธอกล่าวตู่เราด้วย ขุดตนเสียด้วย จะประสพบาปมิใช่บุญ มากด้วย เพราะทิฏฐิที่ตนถือชั่วแล้ว ดูกรโมฆบุรุษก็ความเห็นนั้นของเธอ จักเป็นไปเพื่อโทษ ไม่เป็นประโยชน์ (แต่เป็นไป)เพื่อทุกข์ตลอดกาลนาน. ตรัสสอบถามเรื่องสาติภิกษุผู้มีความเห็นผิดนั้น [๔๔๓]ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลายพวกเธอจะ สำคัญความนั้นเป็นไฉน สาติภิกษุผู้เกวัฏฏบุตรนี้ จะเป็นผู้ทำความเจริญในพระธรรมวินัยนี้บ้าง หรือไม่? ภิกษุเหล่านั้นทูลว่า ข้อนี้จะมีได้อย่างไร ข้อนี้มีไม่ได้เลย พระพุทธเจ้าข้า. เมื่อภิกษุทั้งหลายทูลอย่างนี้แล้ว สาติภิกษุ ผู้เกวัฏฏบุตร นั่งนิ่ง กระดาก คอตก ก้มหน้า ซบเซา หมดปฏิภาณ. ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบว่า สาติภิกษุ ผู้เกวัฏฏบุตร มีความเป็นดังนั้นแล้ว จึงตรัสกะเธอว่า ดูกรโมฆบุรุษ เธอจักปรากฏด้วยทิฏฐิอันลามกของตนนั้น เราจักสอบถามภิกษุ ทั้งหลายในที่นี้ ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอ ย่อมรู้ทั่วถึงธรรมที่เราแสดงแล้ว เหมือนสาติภิกษุ กล่าวตู่เราด้วย ขุดตนเสียด้วย จะประสพบาปมิใช่บุญ มากด้วย เพราะทิฏฐิที่ตนถือชั่วแล้ว ดังนี้หรือ? ภิกษุเหล่านั้นทูลว่า ข้อนี้ไม่มีเลย พระพุทธเจ้าข้า เพราะวิญญาณอาศัยปัจจัยประชุมกันเกิดขึ้น พระผู้มีพระภาคตรัสแล้วแก่พวกข้าพระองค์ โดยปริยายเป็นอเนก ความเกิดแห่งวิญญาณ เว้นจากปัจจัย มิได้มี. พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ดีละ พวกเธอรู้ทั่วถึงธรรมที่เราแสดงอย่างนี้ ถูกแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย วิญญาณอาศัยปัจจัยประชุมกันเกิดขึ้น เรากล่าวแล้วโดยปริยายเป็นอเนก ความเกิดแห่งวิญญาณ เว้นจากปัจจัย มิได้มี ก็แต่สาติภิกษุ ผู้เกวัฏฏบุตรนี้ กล่าวตู่เราด้วย ขุดตนเสียด้วย จะประสพบาปมิใช่บุญ มากด้วย เพราะทิฏฐิที่ตนถือชั่วแล้ว ความเห็นนั้นของโมฆบุรุษนั้น จักเป็นไปเพื่อโทษ ไม่เป็นประโยชน์ (แต่เป็นไป)เพื่อทุกข์ตลอดกาลนาน.
เป็นเรื่องที่ผมกำลังสนใจอยู่พอดีเลยครับ สิ่งที่คุณนิวรณ์ กับคุณตั้งฉากเข้าใจในพระสูตรนี้เหตุใดจึงแตกต่างกัน?ครับ
จะเห็นได้ว่า การนำคำบางคำ มาอ้างอิง โดดๆ แล้วมาตีความเอง นั้น จะทำให้ความหมายคลาดเคลื่อนออกไปมาก ควรจะยกวรรคทั้งวรรค มาอ่าน เพื่อลำดับความเข้าใจ ไปตามที่พระพุทธเจ้าแสดงธรรมและลำดับให้เรียบร้อยแล้ว มิใช่กระโดด ไปคำนั้นที คำนี้ที ตามอำเภอใจ <font style="font-size:12px;background:yellow">กระทำอย่างไม่เป็นธรรม สิ่งที่ได้รับกลับ ก็คือความไม่เป็นธรรม นั่นเอง</font>
ยิ่งกล่าวย้ำก้ยิ่งเผยไส้เผยพุงหน่าคราบ สัมมาทิฏฐิแยกสดับไว้ ทำไม่เปน สัมมาสังกัป คอนเซ็ป ก้แยกไม่เปน สัมมากัมมันตะ. คืออะไรตอนไหนแยกไม่เปน สามตัวนี้ แยกวาระออกไม่เปน ก้จะงง. จิตเปนธาตุเกิดตามปัจจัย. พอได้ยิน คิดว่าเอาตุดมาเปนหัว ถ้าแยก มรรคทั้งสามออก. แล้ว. เอาวิถีการปฏิบัิตเปนใหญ่ ก้จะรุ้เลยว่า. ทำไมสัมมาทิฏฐิ จึงอยุ่อันดับแรก แล้วการปฏิบัติ ตามหลังมาทีละข้อๆ. กว่าจะถึง สัมมาสติ โน้รต้องเพียรอย่างมากพอสมควรแก่ธรรม ถ้าคิดว่า การฟังธรรมอันดับแรกผิด. ต้องปฏิบัติก่อน ต้องเวียนว่ายตายเกิดมีมิจฉาทิฏฐิไปก่อน. ตายฮา
มิต้องเป็นกังวล แทนเรา หรอก ไส้พุงเรามีอยู่แค่นั้นแหละ ไม่ได้วิเศษวิโส เลิศเลอ อะไรมากมาย <font style="background:yellow">เรารุ้ว่า ธรรมพยัญชนะ ของเรา ต่ำต้อย นัก หาเทียบท่านได้ไม่</font> เราจะปรากฏที่นี่ อีกไม่นานสักเท่าไหร่ คนที่เราสมควรเจอ ก็ได้เจอแล้ว ได้พบปะแล้ว ตามภาระกิจที่ได้รับมอบหมายมา
ใครเขาให้ พกมานะ มากดตน ยกตน เสมอตน เวลา สนทนาธรรมะ ครับท่าน ท่านทำไมถึงมี กิจมากนัก กิจอันสมควรแก่ปัจจัยในการทำให้เกิด ธรรมฐิติ ก่อน แล้วปฏิบัติจนรับรู้อรรถ จึงชื่อว่ารู้ธรรม เพราะว่ารู้ธรรม ญาณการตรัสรู้โดยชอบเกิด ทีหลังท่านเอาไปทิ้งไว้ตรงไหนเนี่ยะ กิจอันสมควรแก่ปัจจัยในการทำให้เกิด ธรรมฐิติ ก่อน คือ การมีศรัทธาใน พระผู้มีพระภาค พระองค์นั้น เพียงแค่นี้ ธรรมฐิติ ก็เข้าไปตั้งได้แล้ว จิตคือธาตุอันเกิดจากปัจจัยประชุม กันทำให้เกิด หมดเหตุปัจจัยวิญญาณก็ดับสนิทได้ภายใน อึดใจเดียว ก็ ทำให้เกิด และเข้าไป สัมผัสเนืองๆ นั้นได้แล้ว นี่ท่านมี จลศรัทธา หรือไร ถึงได้ มีกิจอื่น ไม่ใช่ "กิจเพื่อการอย่างนี้(เข้าไปเห็นจิตเกิด จากปัจจัย)" คือ งานอันรีบเร่ง มีงานเดียว พระพุทธองค์ไม่ได้ใช้ ไหว้วาน ให้ทำกิจอื่นเลย หากท่านทำได้ สามารถปฏิบัติจน ปัญญาอันยิ่งเข้าไป สัมผัส กระทบรส ประจักษ์ว่า "จิตเกิด จากปัจจัย" ได้ ท่านก็เป็นเลิศกว่า พระเจ้าจักรพรรดิ์ ได้ แล้ว กิจในการตามหาคนในโลก จะมีอีกหรือ ในเมื่อ ท่านสามารถมีฐานะยิ่งใหญ่กว่า พระเจ้าจักรพรรดิ์ โดนหลอกต้ม ให้หาคน เพื่อทำให้เกิด "โมฆะเวลา" แทนการ ภาวนา แล้วเขาก็เอา เวลาว่าง(โมฆะจาก ธรรมฐิติอันเกิดจากศรัทธาในพระพุทธองค์แนบแน่น)ของท่าน ไปใช้ เพื่อโลกธรรม8ข้ามปี ข้ามศาลา ข้ามคอสการสอน ข้ามเวลาหาอาหารแด_ หรือเปล่า