ขอเชิญร่วมทำบุญสงเคราะห์พระภิกษุสงฆ์อาพาธ

ในห้อง 'ตลาด พระเครื่องเพื่อการกุศล' ตั้งกระทู้โดย พันวฤทธิ์, 29 พฤศจิกายน 2007.

  1. นายสติ

    นายสติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    911
    ค่าพลัง:
    +4,285
    สิ่งน่าถวาย แต่คนไม่ค่อยจะถวาย

    สิ่งของที่จำเป็นสำหรับถวายพระ(โดยเฉพาะสาย"กรรมฐาน") ที่บางครั้งหรือหลายๆครั้ง คนไม่ค่อยจะถวาย............
    1. สีย้อมผ้า(ตรากิเลน จะย้อมติดดี) บางวัดใช้อัตราส่วน
    สีเหลืองทอง 2 กระป๋อง ต่อสีกรัก(สีอัลโกโซน) 1 กระป๋อง ถ้าพระมีหลายรูปก็ใช้หลายกระป๋อง<O:p</O:p
    2. เทียน (ตราแสงจันทร์ น้ำตาเทียนจะไหลช้า) ท่านจะใช้จุดเดินจงกรม<O:p</O:p
    3. ถ่านไฟฉาย ทั้งขนาดใหญ่ กลาง เล็ก แล้วแต่ขนาดไฟฉาย<O:p</O:p
    4. มีดโกน ( ถวายใบมีดเผื่อไว้ด้วย)<O:p</O:p
    5. ไฟแช็คหรือไม้ขีด<O:p</O:p
    6. ร่ม กันฝน ถ้าเป็นขนาดใหญ่ (เกือบเท่ากลด) คันละประมาณ 230 -280 บาท<O:p</O:p
    ถ้าเป็นขนาดธรรมดา สีดำ คันละประมาณ 100 บาท <O:p</O:p
    สีเหลือง คันละประมาณ 150 บาท<O:p</O:p
    พระที่อยู่ในป่าในเขาเวลาไปบิณฑบาต เดินไกลประมาณ 4กิโลเมตรก็มี จำเป็นต้องใช้ร่ม (เคยเห็นพระบางรูปใช้กลดกางแทนร่ม อาจเป็นเพราะท่านไม่มีหรืออย่างไรก็ไม่ทราบ)<O:p</O:p
    การซื้อร่มควรเลือกปลายร่มหรือยอดร่มที่เป็นพลาสติก ไม่ควรเป็นโลหะ เพราะอาจล่อฟ้า ในกรณีที่พระอยู่กลางแจ้งหรือที่โล่ง
    (บอกเล่าให้กันฟังตามประสาโยมอุปัฏฐากพระ)
    <O:p</O:p
    ที่มา www.luangta.com <O:p</O:p
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=100 border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE borderColor=#ffffff cellSpacing=1 cellPadding=5 width=250 align=center bgColor=#f4f4f4 border=0><TBODY><TR><TD align=middle bgColor=#ffffff><!-- [​IMG] -->[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=bot2 bgColor=#f9f9f9 height=30></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 มกราคม 2008
  2. นายสติ

    นายสติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    911
    ค่าพลัง:
    +4,285
    พระโพธิสัตว์ 3 ประเภท

    พระโพธิสัตว์ ๓ ประเภท ที่บำเพ็ญพระบารมีเพื่อต้องการตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ได้แก่

    ๑. อุคฆติตัญญูโพธิสัตว์ : คือพระโพธิสัตว์ประเภทที่มี "ปัญญา" แก่กล้ากว่า "ศรัทธา" สามารถตรัสรู้ได้ "เร็วที่สุด" และใช้ระยะเวลาในการบำเพ็ญพระบารมี "น้อยกว่า" ประเภทอื่น มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "ปัญญาธิกะโพธิสัตว์"

    ๒. วิปจิตัญญูโพธิสัตว์ : คือ พระโพธิสัตว์ประเภทที่มี "ศรัทธา" แก่กล้ากว่า "ปัญญา" สามารถตรัสรู้ได้เร็ว "ปานกลาง" ใช้ระยะเวลาในการบำเพ็ญพระบารมีมากกว่าพระโพธิสัตว์ประเภทที่ ๑ มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "ศรัทธาธิกะโพธิสัตว์"

    ๓. เนยยโพธิสัตว์ : คือ พระโพธิสัตว์ประเภทที่มี "วิริยะ" แก่กล้ากว่า "ปัญญา" สามารถตรัสรู้ได้ "ช้าที่สุด" และใช้ระยะเวลาในการบำเพ็ญพระบารมีมากกว่าพระโพธิสัตว์ทุกประเภท มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่ว่า "วิริยาธิกะโพธิสัตว์"



    ระยะเวลาในการบำเพ็ญพระบารมี :

    พระโพธิสัตว์ที่บำเพ็ญพระบารมีเพื่อตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ประเภท "สัมมาสัมพุทธเจ้า" จะต้องใช้ระยะเวลาในการบำเพ็ญดังนี้ คือ

    ๑) พระปัญญาธิกะสัมมาสัมพุทธเจ้า

    ระยะเวลาที่ใช้บำเพ็ญพระบารมีทั้งสิ้น : ๒๐ อสงไขย + ๑๐๐,๐๐๐ กัป แยกตามปณิธานได้ ดังนี้

    ๗ อสงไขย : ระยะเวลาที่ใช้บำเพ็ญพระบารมีใน มโนปณิธาน

    ๙ อสงไขย : ระยะเวลาที่ใช้บำพ็ญพระบารมีใน วิจีปณิธาน

    ๔ อสสงไขย : ระยะเวลาที่ใช้บำเพ็ญพระบารมีใน กายวีจปณิธาน (รับพุทธพยากรณ์, เข้าเขตบารมีขั้นต้น, เป็นนิยตโพธิสัตว์, ธรรมสโมธานบริบูรณ์)

    ๑๐๐,๐๐๐ กัป : ระยะเวลาที่ใช้บำเพ็ญพระบารมีใน กายวจีปณิธาน

    ๒) พระศรัทธาธิกะสัมมาสัมพุทธเจ้า

    ระยะเวลาที่ใช้บำเพ็ญพระบารมีทั้งสิ้น : ๔๐ อสงไขย + ๑๐๐,๐๐๐ กัป แยกตามปณิธานได้ ดังนี้

    ๑๔ อสงไขย : ระยะเวลาที่ใช้บำเพ็ญพระบารมีใน มโนปณิธาน

    ๑๘ อสงไขย : ระยะเวลาที่ใช้บำเพ็ญพระบารมีใน วจีปณิธาน

    ๘ อสงไขย : ระยะเวลาที่ใช้บำเพ็ญพระบารมีใน กายวจีปณิธาน (รับพุทธพยากรณ์, เข้าเขตบารมีขั้นต้น, เป็นนิยตโพธิสัตว์, ธรรมสโมธานบริบูรณ์)

    ๑๐๐,๐๐๐ กัป : ระยะเวลาที่ใช้บำเพ็ญพระบารมีใน กายวจีปณิธาน

    ๓) พระวิริยาธิกะสัมมาสัมพุทธเจ้า

    ระยะเวลาที่ใช้บำเพ็ญพระบารมี : ๘๐ อสงไขย + ๑๐๐,๐๐๐ กัป แยกตามปณิธานได้ ดังนี้


    ๒๘ อสงไขย :
    ระยะเวลาที่ใช้บำเพ็ญพระบารมีใน มโนปณิธาน

    ๓๖ อสงไขย : ระยะเวลาที่ใช้บำเพ็ญพระบารมีใน วจีปณิธาน

    ๑๖ อสงไขย : ระยะเวลาที่ใช้บำเพ็ญพระบารมีใน กายวจี ปณิธาน (รับพุทธพยากรณ์, เข้าเขตบารมีขั้นต้น, เป็นนิยตโพธิสัตว์, ธรรมสโมธานบริบูรณ์)

    ๑๐๐,๐๐๐ กัป : ระยะเวลาที่ใช้บำเพ็ญพระบารมีใน กายวจี ปณิธาน



    (เรียบเรียงจาก ปุจฉา - วิสัชนา ปฐมภาค ของ พระสัทธัมมโชติกะ ธัมมจริยะ หน้า ๑๐๒, คัมภีร์อนาคตวงศ์ ของ ประภาส สุระเสน หน้า ๑๗๘ - ๑๗๙ และคู่มือคลังปริยัติเล่ม ๑ ของ นายแพทย์เกิด ธนชาติ หน้า ๑๐๕)

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=100 border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE borderColor=#ffffff cellSpacing=1 cellPadding=5 width=250 align=center bgColor=#f4f4f4 border=0><TBODY><TR><TD align=middle bgColor=#ffffff><!-- [​IMG] -->[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>

    ขอขอบพระคุณเว็บไซท์พุทธวงศ์
    http://palungjit.org
     
  3. นายสติ

    นายสติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    911
    ค่าพลัง:
    +4,285
    บาปซ้ำบุญซ้อน อยู่ที่จิตเรานี่เอง

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="94%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=postbody vAlign=top>บางคน ทำอกุศลมากๆ
    เมื่อได้ศึกษาเข้าใจในสภาวธรรมแล้ว
    ก็มักมีความเสียใจในอกุศลที่ตนทำแล้วๆ นั้น
    มักจะเป็นกังวลว่าตัวจะได้รับโทษภัยในขณะจะตาย
    หรือชาติหน้า

    การครุ่นคิดถึงเรื่องเช่นนั้นก็คือ
    เป็นการที่กำลังสร้างอกุศลขึ้นนั่นเอง
    เป็นการชักชวนอกุศล
    หรืออารมณ์อะไรที่ไม่เป็นที่พอใจ หรือเจ็บใจ
    ที่เกิดแล้วดับแล้วให้เกิดขึ้นซ้ำเติมอยู่เรื่อยๆ

    บางคนชอบเอาเรื่องเสียใจครั้งเก่าๆ มาสร้างรูปใหม่
    แล้วคิดเสียใจอยู่ทุกๆ วัน เป็นการสร้างอกุศล
    ไม่สร้างทางเดินสะดวกให้แก่จิตใจ
    จึงไม่ควรกระทำอกุศลที่แล้ว
    ควรจะคิดขึ้นเพียงครั้งหนึ่งคราวเดียว
    เพื่อเป็นบทเรียนเท่านั้น
    จะต้องหักใจทำลายลงได้เด็ดขาด

    ถ้าผู้ใดชอบคิดนึกอยู่จนชำนาญเสียแล้วจะเลิกได้ยาก
    ก็สร้างอารมณ์ที่เป็นกุศลทับถมให้บ่อยๆ ด้วย
    วิธีการต่างๆ ก็จะช่วยได้มาก

    ยิ่งกว่านั้นเหตุการณ์ข้างหน้าที่ยังมาไม่ถึง
    บางคนก็ชอบคิดวาดภาพไม่ดีอยู่เรื่อยๆ
    เช่น กลัวจะต้องออกจากงาน
    กลัวอดอยาก กลัวครอบครัวจะเดือดร้อน
    กลัวเจ้านายจะดุ กลัวเพื่อนฝูงจะโกรธ
    กลัวจะอับอายขายหน้า
    กลัวคนรักจะทอดทิ้ง
    กลัวจะเจ็บป่วย
    ตลอดจนกลัวความตาย
    ทั้งๆ ที่เหตุการณ์เหล่านั้นยังมาไม่ถึง
    และส่วนมากบางทียังไม่เกิดขึ้นเลย
    แต่เป็นเพราะตัวชอบสร้างภาพขึ้นเองจนชำนาญเป็นเหตุ

    จริงอยู่ แม้ว่ามนุษย์จะฝังมั่นอยู่ในความกลัว
    ทุกรูปทุกนามก็ตาม
    แต่ผู้ใดเข้าใจสภาวธรรม
    ผู้ใดมีศิลปะในการแก้ปัญหาของชีวิตอยู่บ้าง
    เรื่องเล็กน้อยที่จะทำให้อารมณ์ขุ่นมัวก็ย่อมจะเกิดน้อย
    ยิ่งน้อยเท่าไรยิ่งดี เพราะการฝึกใจให้เกิดทางเดินสะดวก

    คัดลอกจากหนังสือ : กรรมกับอดีตแห่งกาลมรณะ
    โดย หลวงพ่อจรัญ ฐิตธฺมโม

    คณะกัลยาณมิตรธรรม และญาติธรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น
    จัดพิมพ์เป็นธรรมทาน
    ถวายพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
    เนื่องในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ
    ๕ ธันวาคม ๒๕๔๒

    ที่มา :: ธรรมจักร
    </TD></TR><TR><TD></TD></TR></TBODY></TABLE>
    http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=6309 <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=100 border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE borderColor=#ffffff cellSpacing=1 cellPadding=5 width=250 align=center bgColor=#f4f4f4 border=0><TBODY><TR><TD align=middle bgColor=#ffffff><!-- [​IMG] -->[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>

    ขอขอบพระคุณเว็บไซท์พุทธวงศ์
    http://palungjit.org
     
  4. pon98

    pon98 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    632
    ค่าพลัง:
    +3,886
    บำเพ็ญเพียรเพื่อการบรรลุธรรม

    เมื่อพระองค์ถือเพศบรรพชิตแล้ว ก็ทรงศึกษาในลัทธิคณาจารย์ต่างๆ ซึ่งสมัยนั้นนิยมกัน ส่วนเจ้าชายสิทธํตถะเมื่อครองเพศบรรพชิตแล้ว ทรงถือวัตรปฏิบัติของสมณะ คือปลงผมนุ่งผ้า ย้อมน้ำฝาด(สีเหลืองแก่นขนุน) เลี้ยงชีพด้วย อาหารบิณฑบาต ที่ผู้ต้องการบุญถวายให้ ทรงมีมีนามเรียกขานว่า พระสมณโคดม (คำว่าโคดม มาจากคำว่าโคตมะ ซึ่งเป็นชื่อโคตรของราช วงศ์ศากยะ) ในเบื้องต้น พระสมณโคดม ได้ไปฝากตนเป็นศิษย์ ในสำนักอาฬารดาบส ได้ฝึกจิตบำเพ็ญธรรมจนบรรลุความรู้ขั้นสูงสุดของอาจารย์ คือบรรลุฌานขั้นที่ 7

    เมื่อหมดความรู้ของอาจารย์อาฬารดาบสจึงอำลาไป เป็นศิษย์ในสำนักอุทกดาบส ซึ่งมีความรู้สูงกว่าอาฬารดาบสหนึ่งขั้น คือเป็นผู้บรรลุฌานขั้นที่ 8 ซึ่งพระสมณโคดม ใช้เวลาศึกษาไม่นานก็สิ้นภูมิรู้ของอาจารย์ ในที่สุด จึงอำลาไปค้นหาวิมุตติธรรม ตามแนวทางของพระองค์ ด้วยทรงประจักษ์ว่า นี่ไม่ใช่หนทางแห่งการตรัสรู้

    พระองค์จึงได้ละทิ้งสำนักอาจารย์เหล่านั้นเสีย พระองค์ได้มุ่งหน้าสู่ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลาเสนานิคมแคว้นมคธ โดยทรงเริ่มการบำเพ็ญเพียรขั้นอุกฤต ที่เรียกว่าทุกกรกิริยา ซึ่งนักบวชสมัยนั้นนิยมปฏิบัติกัน อาทิการกลั้นลมหายใจเข้าออก จนเหงื่อโทรมกายหูอื้อตาลาย การนั่งตากแดดจนผิวเกรียมไหม้ ครั้นฤดูหนาว ก็ลงไปแช่น้ำจนตัวแข็งพระองค์ได้ทดลองปฏิบัติตามความเชื่อดั้งเดิมทุกวิถีทาง ก็ยังไม่สามารถบรรลุแนวทางค้นพบสัจจธรรมได้
    ขณะนั้นมีฤๅษี 5 รูป ชื่อว่า โกณฑัญญะ วัปปะ ภัททิยะ มหานามะ และ อัสชิตามมาปฏิบัติตนเป็น ศิษย์ ด้วยคาดหวังว่า เมื่อพระสมณโคดม ค้นพบ วิโมกขธรรม จะได้สอนพวกตนให้บรรลุด้วย

    พระสมณโคดม เริ่มบำเพ็ญทุกกรกิริยาขั้นสุดท้าย คือเริ่มลดอาหารที่ละน้อย ๆ จนถึงขั้นอด อาหาร จนร่างกายซูบซีดผอมแห้ง เหลือแต่หนังและเอ็นหุ้มกระดูก ทรงอาตมาบำเพ็ญเพียรถึงขั้นอุกฤตขนาดนี้ นับเป็นเวลาถึง 6 พรรษา ก็ยังไม่สามารถบรรลุวิมุตติธรรม

    ความนี้ทราบถึงท้าวสักกเทวราช ผู้เป็นจอมเทพแห่งดาวดึงส์สวรรค์ จึงทรงเสด็จมาเฝ้า และดีดพิณสามสายให้ทรงสดับ วาระแรกทรงดีดพิณสายที่ 1 ซึ่งขึ้นสายไว้ตึง พอลงมือดีดสายพิณก็ขาดผึงลง วาระที่ 2 ทรงดีดพิณสายที่สอง ซึ่งขึ้นสายไว้หย่อน ปรากฏเป็นเสียงที่ยืดยาดขาดความไพเราะ วาระที่ 3 ทรงดีดพิณสายสุดท้ายที่ขึ้นสายไว้พอดี เป็นบทเพลงที่ไพเราะกังวาน พร้อมกับถวายบังคมลากลับไป

    พระสมณโคดม ทรงสดับแล้วก็ทรงทราบถึงเหตุแห่งการมาของท้าวสักกเทวราช จึงได้แนวพระดำริว่า การบำเพ็ญทุกขกิริยานั้น เป็นการทรมานตนให้ลำบากเปล่า เป็นข้อปฏิบัติที่ตึงเกินไปไม่ใช่หนทางแห่งการตรัสรู้ การบำเพ็ญเพียรทางสมาธิจิตนั้น ไม่ตึงหรือหย่อนเกินไป น่าจะเป็นทางแห่งการตรัสรู้ได้ จึงเริ่มเสวยพระกระยาหารดังเดิมเพื่อให้ร่างกายคลายเวทนา มีสมาธิที่จะบำเพ็ญเพียรต่อไป

    ฤาษีทั้ง5รูปเห็นพระสมณโคดมทรงกลับมาเสวยกระยาหารอีกพากันคิดไปว่าท่านมากด้วยกิเลสไม่สามารถบรรลุธรรมได้พากันหนีไปจนหมดสิ้น

    [​IMG]

    ภาพบริเวณเขา ดงคสิริ สถานที่บำเพ็ญทุกรกิริยา อย่างแสนสาหัส ปัจจุบันเป็นบริเวณที่แห้งแล้ง และยากจนของประเทศอินเดีย

    [​IMG]

    ที่เห็นในภาพเกือบทั้งหมดคือเหล่าลูกหลานชูชก หรือ ขอทานที่อยู่ตั้งแต่เชิงเขาตลอดทางจนเกือบถึงถ้ำที่บำเพ็ญทุกรกิริยา ที่มองเห็นเป็นอาคารสีขาวไกลๆ

    [​IMG]

    ถ้ำที่บำเพ็ญทุกรกิริยาของ สมณโคดม ปัจจุบันเป็นวัดของชาวธิเบตดูแลอยู่ บริเวณปากทางเข้าถ้ำคือประตูสีขาวที่เห็นในรูป

    [​IMG]

    รูปสมณโคดม ขณะทรงบำเพ็ญทุกรกิริยา ตั้งอยู่ภายในถ้ำที่เป็นโพรงตื้นๆมีขนาดเพียง กว้าง 3 เมตร ยาว 4 เมตร
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • DSCN0815.jpg
      DSCN0815.jpg
      ขนาดไฟล์:
      98 KB
      เปิดดู:
      1,539
    • DSCN0810.jpg
      DSCN0810.jpg
      ขนาดไฟล์:
      108.4 KB
      เปิดดู:
      1,460
    • DSCN0814.jpg
      DSCN0814.jpg
      ขนาดไฟล์:
      122.1 KB
      เปิดดู:
      1,518
    • DSCN0813.jpg
      DSCN0813.jpg
      ขนาดไฟล์:
      111.6 KB
      เปิดดู:
      1,463
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 25 มกราคม 2008
  5. พุทธันดร

    พุทธันดร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    565
    ค่าพลัง:
    +3,969
    คุณนายสติคะ
    โอนเงินร่วมบุญ 1000 บาทแล้วนะคะ
    วันอาทิตย์คงไปช่วยไม่ได้แล้ว ไม่สบายงอมมากๆเลยค่ะ
    ต้องขอโทษด้วยนะคะ
    ขออนุโมทนาบุญกับทุกท่านด้วยค่ะ
    สลิปค่ะ
    http://i61.photobucket.com/albums/h59/anyama2/pratomF-1000.jpg
     
  6. นายสติ

    นายสติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    911
    ค่าพลัง:
    +4,285
    กราบขอบพระคุณและโมทนาบุญกับน้องโอ๊ตและคุณพุทธันดรด้วยครับ
    สาธุ สาธุ สาธุ

    ไม่เป็นไรครับเพราะเราต้องไปทำบุญกันทุกเดือนอยู่แล้วเดือนนี้ไปไม่ได้ก็หาเดือนที่สามารถไปได้ก็แล้วกันครับ งานบุญเป็นเรื่องของความสบายของทั้งร่างกายและจิต ยังไงคุณพุทธันดรก็รักษาสุขภาพด้วยนะครับขอให้หายเจ็บป่วยไข้ไวๆนะครับ คิดเสียว่าการเจ็บป่วยไข้เป็นการทดสอบให้เราระลึกและพิจารณาให้เห็นความจริงของสังขารและทางทุกขเวทนา

    สำหรับท่านที่จะไปร่วมกันสร้างบุญกุศลด้วยตัวท่านเองในวันพรุ่งนี้
    (27 ม.ค.)ก็เจอกันที่โรงพยาบาลสงฆ์ เวลา ประมาณ 7.30 น.ตรงอาคารที่จอดรถที่ใช้เป็นที่รับบริจาคทำบุญกับพระสงฆ์เยื้องๆกับ
    ศาลพ่อปู่ชีวกโกมารภัทรนะครับ โมทนาในบุญด้วยกันนะครับ
    สาธุ สาธุ สาธุ
     
  7. pon98

    pon98 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    632
    ค่าพลัง:
    +3,886
    วันนี้ได้โอนเงินจำนวน 5000 บาทเข้าบัญชี ศ.ทุนนิธิฯ โดยมีรายนามผู้ร่วมทำบุญดังนี้ครับ
    คุณกนกพร นิตย์ธีรานนท์ 1098 บาท
    คุณอณาธร ศรีสกุลพาณิชย์ 500 บาท
    คุณสุนารี ตั้งธาราวิวัฒน์ 1000 บาท
    คุณชัชวาล คูสมิทธิ์ 100 บาท
    คุณชาญ คูสมิทธิ์ 100 บาท
    คุณสวาท คูสมิทธิ์ 100 บาท
    คุณพิชญ์ธนัน อนันธรสิริ 102 บาท
    คุณนาลดา อมรพัชระ 100 บาท
    คุณพลภัทร ตั้งธาราวิวัฒน์ 1200 บาท
    ด.ช วิภูช์ ตั้งธาราวิวัฒน์ 100 บาท
    คุณย่าเซี้ยม แซ่จัง 400 บาท
    คุณชมพู ดิษฐประเสริฐ 200 บาท

    ขอโมทนาบุญกับทุกๆท่านมา ณ ที่นี้ด้วยครับ สาธุ สาธุ สาธุ อนุโมทามิ

    พรุ่งนี้นัดเจอกันที่จุดบริจาคของโรงพยาบาลสงฆ์7โมงเช้าและประมาณ8โมงเช้าทางคณะจะทำการถวายอาหารเช้าพระสงฆ์ที่อาพาธที่โรงพยาบาลสงฆ์ประมาณ 120 รูปรวมทั้งบริจาคเงินซื้อเลือดและบริจาคช่วยค่าเวชภัณฑ์ ค่าใช้จ่ายต่างๆของโรงพยาบาลสงฆ์ โดยจะทำการกล่าวคำถวายเป็นสังฆทานเพื่อให้ได้บุญมากๆยิ่งขึ้น ท่านที่ได้ทำบุญร่วมกันมาแล้วหรือได้รับรู้ข่าวบุญนี้แล้วขอให้โมทนาบุญกันตามกำลังใจกำลังศัทธาของท่านเถิด
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 26 มกราคม 2008
  8. kittipongc

    kittipongc เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กันยายน 2006
    โพสต์:
    354
    ค่าพลัง:
    +3,648
    ขอโมทนาบุญด้วยครับ สาธุ สาธุ สาธุ อนุโมทามิ
     
  9. pon98

    pon98 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    632
    ค่าพลัง:
    +3,886
    เช้าวันอาทิตย์ที่27 มกราคมที่ผ่านมาทาง ศ.ทุนนิธิฯได้ถวายอาหารเช้าพระสงฆ์จำนวน120รูปและถวายปัจจัยช่วยซื้อเลือดและค่าใช้จ่ายต่างๆในโรงพยาบาลสงฆ์ รายละเอียดจำนวนเงินไว้เย็นนี้รอพี่นายสติมาแจงครับ ส่วนรูปกิจกรรมที่ทำในวันอาทิตย์ ไว้ค่ำๆจะเรียบเรียงให้ชมกันครับ
     
  10. นายสติ

    นายสติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    911
    ค่าพลัง:
    +4,285
    ต้องขออภัยในความล่าช้าเพราะติดภาระกิจช่วงกลางวันครับเลยมารายงานเรื่องไปทำบุญช้าไปหน่อย

    ขอรายงานเรื่องที่ไปทำบุญที่โรงพยาบาลสงฆ์เมื่อวันที่ 27 ม.ค. 2551
    กันเลยนะครับ

    ก่อนอื่นก็ต้องกราบขอบพระคุณและโมทนาบุญกับทุกๆท่านที่ได้ไปช่วยกันถวายอาหารพระสงฆ์ที่ท่านกำลังอาพาธอยู่ที่โรงพยาบาลสงฆ์เมื่อ
    เช้าวันอาทิตย์ที่ผ่านมาซึ่งมีจำนวน 125 รูป(120)
    ส่วนท่านที่ไม่ได้ไปก็ขอให้ร่วมกันตั้งจิตโมทนาในบุญที่ทางทุนนิธิฯได้ไปทำมาด้วยกันนะครับ
    สาธุ สาธุ สาธุ

    ขอชี้แจงรายละเอียดที่ได้ทำบุญเมื่อวันที่อาทิตย์ที่
    27 ม.ค. 2551 ดังนี้นะครับ

    ยอดเงินที่เบิกออกมา 14,000 บาท มีรายการค่าใช้จ่ายดังนี้


    1.ใบเสร็จรับเงิน 1 ใบที่บริจาคให้โรงพยาบาล สงฆ์มีรายละเอียดดังนี้
    1.1 เป็นค่าบำรุงทั่วไป 5,100 บาท (5,000)
    1.2 เป็นค่าบำรุงโลหิต 4,100 บาท (4,000)
    หมายเหตุ : มีผู้บริจาคเพิ่มอีก 200 บาท
    ค่าบำรุงทั่วไป เป็นเงินที่ทางโรงพบาบาลสงฆ์จะนำไปใช้ซื้อยารักษาโรคและเวชภัณฑ์ในการรักษาพระสงฆ์ที่อาพาธ

    [​IMG]

    2. ค่าอาหารถวายพระ 120 รูป กล่องละ 25 บาทจำนวน 120 กล่องเป็นเงิน 3,000 บาท

    หมายเหตุ : ค่าอาหารถวายพระ 120 รูปนั้นไม่มีใบเสร็จให้เพราะสั่งที่ร้านค้าสวัสดิการของโรงพยาบาลสงฆ์ แต่ได้ถ่ายรูปไว้เป็นหลักฐานซึ่งคุณโสระคงนำมาให้ดูกัน อีกถวายอาหารอีก 5 รูปนั้นแยกต่างหากไม่ได้ใช้เงินจากเงินทุนนิธิฯ


    3. บริจาคเงินจากทุนนิธิ ศ. ทุนนิธิสงเคราะห์ สงฆ์อาพาธ อ.ประถม อาจสาคร เข้าไปที่ บัญชีของพระธงชาติที่อาพาธด้วยโรคมะเร็งกระดูก ตามที่ลงในกระทู้ของคุณเพชรจำนวน 2,000 บาท


    [​IMG]


    รวมเงินทั้งสิ้น 14,200 บาท ที่เกินเพราะมีผู้บริจาคเพิ่ม
    อีก 200 บาทเพื่อร่วมทำบุญในวันที่ 27 ม.ค. 2551


    ก็ขอชี้แจงรายละเอียดที่ได้ไปทำบุญมาให้ทุกๆท่านได้รับทราบโดยทั่วกันเพื่อร่วมกันโมทนาบุญในครั้งนี้ด้วยกันครับ สาธุ สาธุ สาธุ


    การทำบุญครั้งต่อไปคงจะเป็นวันอาทิตย์ที่สองของเดือนกุมภาพันธ์ (10 ก.พ. 2551) กราบเรียนเชิญทุกๆท่านไปร่วมกันทำบุญด้วยกันนะครับ ส่วนบรรยากาศในวันทำบุญในวันอาทิตย์ที่ผ่านมาคุณโสระคงจะได้นำเสนอต่อไปครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 มกราคม 2008
  11. narongwate

    narongwate เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    885
    ค่าพลัง:
    +3,840
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=content style="PADDING-BOTTOM: 10px; PADDING-TOP: 10px" align=middle></TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" align=center border=0><TBODY><TR><TD>หลวงพ่อดิ่ง คงฺคสุวณฺโณ วัดบางวัว


    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=left border=0><TBODY><TR bgColor=#400040><TD>[​IMG]



    </TD></TR></TBODY></TABLE>จังหวัดฉะเชิงเทรา หรือที่เรียกกันว่า "เมืองแปดริ้ว" เป็นจังหวัดที่เก่าแก่มีความร่มเย็นภายใต้บารมีหลวงพ่อโสธร พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองมาแต่ครั้งโบราณกาล

    ชื่อเมืองฉะเชิงเทราปรากฏครั้งแรกในสมัยกรุงศรีอยุธยา ครั้งแผ่นดินสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ เป็นเมืองในวงราชธานีชั้นจัตวา เมื่อปีจอ พุทธศักราช 1998 ตรงกับจุลศักราช 816 ผู้รักษาเมืองเป็นที่ออกพระวิเศษฤๅชัย เมืองฉะเชิงเทรา นา 800 ขั้น พระแดงเสนาฎขวา

    อย่างไรก็ตามหนังสือ "สภาพจังหวัดฉะเชิงเทรา" ที่หลวงประจันทเขตร ได้รวบรวมพิมพ์ขึ้นเมื่อพ.ศ. 2477 ได้กล่าวถึงความเป็นมาของเมืองฉะเชิงเทราว่า <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=right border=0><TBODY><TR bgColor=#400040><TD>[​IMG]



    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    "ได้ตั้งขึ้นในรัชกาลสมเด็จพระมหาจักรพรรดิสมัยกรุงศรีอยุธยา สำหรับเป็นที่ระดมพลในเวลาสงคราม" กระนั้นหนังสือพงศาวดารก็ไม่มีความตอนใดกล่าวไว้อย่างชัดแจ้งเช่นนั้น เป็นแต่เพียงมีข้อความพอเป็นเค้าว่า

    "ในแผ่นดินสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ หลังจากการเตรียมการป้องกันประเทศครั้งใหม่ในพ.ศ. 2104 โปรดฯ ให้ข้าหลวงออกเที่ยวสำรวจบัญชีสำมะโนครัว และคัดคนเข้าทะเบียนเพิ่มเติมกำลังทหารทุกหัวเมืองชั้นใน และปรากฏว่าผู้คนตามหัวเมืองชั้นในเที่ยวตั้งภูมิลำเนาทำมาหากินแยกย้ายกันอยู่ เวลาเกิดสงครามมูลนายจะเรียกระดมพลเข้าหมวดกองไม่ทันท่วงที จึงได้จัดตั้งเมืองชั้นในขึ้นในครั้งนั้นอีก 3 เมือง คือ นนทบุรี นครชัยศรี และสมุทรสาคร เพื่อให้มีผู้ว่าราชการกรมการอยู่ประจำในท้องที่สำหรับเรียกระดมคนเวลามีสงคราม หัวเมืองชั้นใน เมืองอื่นก็คงจะได้จัดการตรวจเรียกจำนวนคนขึ้นใหม่หมดในครั้งนั้น" <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=left border=0><TBODY><TR bgColor=#400040><TD>[​IMG]



    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    เมืองฉะเชิงเทราในเวลานั้นเป็นเมืองชั้นในอยู่แล้ว คงจะใช้เป็นที่เรียกระดมพลตามประกาศในครั้งนั้นด้วย

    นอกจากนั้น เมืองฉะเชิงเทรายังปรากฏเมื่อคราวพม่ายกทัพมาล้อมกรุงศรีอยุธยา เมื่อพ.ศ. 2309 กรมหมื่นเทพพิพิธซึ่งถูกส่งไปอยู่เมืองจันทบุรี บรรดาชาวเมืองทางตะวันออกมีความเคารพนับถือมาก และพากันมาสวามิภักดิ์ด้วยเป็นอันมาก เมื่อมีข่าวลือว่ากรมหมื่นเทพพิพิธจะยกทัพไปรบกับพม่าที่ยกมาล้อมกรุงไว้ ชาวเมืองฉะเชิงเทราก็ได้อาสาสมัครเข้าเป็นทหารในกองทัพกรมหมื่นเทพพิพิธ และไปตั้งค่ายอยู่เมืองปราจีนบุรี และโปรดเกล้าฯ ให้หมื่นเกล้าและหมื่นศรีนาวาชาวเมืองปราจีนบุรี กับนายทองอยู่น้อย (มีเรียกอีกอย่างหนึ่งว่านายทองอยู่นกเล็ก) ชาวเมืองชลบุรีเป็นแม่ทัพยกพลไปตั้งที่ปากน้ำโยธะกา




    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=left border=0><TBODY><TR bgColor=#400040><TD>[​IMG]



    </TD></TR></TBODY></TABLE>ครั้น ข่าวลือเรื่องกรมหมื่นพิพิธยกกองทัพมาช่วยกรุงศรีอยุธยาได้แพร่สะพัดไปถึง พม่า จัดกองทัพไปตีค่ายไทยที่ปากน้ำโยธะกา รบกันไม่ทันข้ามวันกองทัพหน้าของกรมหมื่นเทพพิพิธ แตก หมื่นเก้าและหมื่นศรีนาวาตายในที่รบ ส่วนนายทองอยู่น้อยนั้นหนีเอาตัวรอดไปได้ เมื่อกรมหมื่นเทพพิพิธทรงทราบก็ไม่คิดสู้รบกับพม่าอีกต่อไป ได้พาสมัครพรรคพวกหลบหลีกไปทางช่องเรือแตกขึ้นไป ณ เมืองนครราชสีมา

    ต่อมามีเรื่องราวเกี่ยวกับเมืองฉะเชิงเทราอีกตอนหนึ่ง คือ เมื่อศักราช 1128 ปี ตรงกับพุทธศักราช 2308 ก่อนจะเสียกรุงศรีอยุธยาให้กับพม่าข้าศึก พระยากำแพงเพชร (สมเด็จพระเจ้ากรุงธน) ซึ่งตั้งอยู่ค่ายวัดพิชัย ได้คุมสมัครพรรคพวกตีฝ่าไปทางตะวันออกผ่านเมืองนครนายก ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา เมื่อแม่ทัพพม่าได้ทราบข่าว ได้ส่งกองทัพออกติดตามพระยากำแพงเพชร แต่พม่าก็เสียทีกลับมาทุกครั้ง พม่าจึงเกณฑ์ทัพเรือให้หนุนเนื่องมาอีก และทัพบกพม่าซึ่งพ่ายแพ้มาก่อนนั้นได้ยกมาตั้งอยู่ปากน้ำโจ้โล้เมืองฉะเชิง เทรา ทัพเรือพม่าเมื่อไปถึง ณ ที่นั้น ได้สมทบกันแล้วยกพลขึ้นที่ท่าข้ามติดตามไป พระยากำแพงเพชรจึงให้พลทหารตั้งเป็นหน้ากระดาน แล้วให้ขุดสนามเพลาะและให้กองลำเลียงหาบคอนล่วงหน้าไปก่อน ตัวพระยากำแพงเพชรกับพระยาเชียงเงิน ขุนชำนาญไพรสนฑ์ นายบุญมี นายทองดี นายแสง นำหน้าพลทหารร้อยหนึ่งออกไปคอยรับทัพพม่า ครั้นทัพพม่ามาใกล้ จึงยิงปืนใหญ่น้อยระดมพร้อมกัน ต้องพลพม่าล้มตายเป็นอันมาก พม่าหนุนเนื่องเข้ามาอีกก็ต้องปืนคำรบสอง ต้องพลพม่าล้มตายเป็นอันมาก พม่าหนุนเนื่องเข้ามาอีกก็ต้องปืนคำรบสอง จนคำรบสามพม่าแตกหนีกระจัดกระจาย แล้วจึงเดินทัพต่อไปทางบ้านหัวทองหลาง สะพานทอง ล่วงแดนเมืองชลบุรีต่อไป <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=right border=0><TBODY><TR bgColor=#400040><TD>[​IMG]



    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    เมืองฉะเชิงเทรามีฐานะเป็นเมืองชั้นจัตวา และขึ้นอยู่ในสังกัดกระทรวงกลาโหม ต่อมาได้ให้สังกัดกรมมหาดไทย และคงอยู่เช่นนี้เรื่อยมาตั้งแต่รัชกาลที่ 1 กรุงรัตนโกสินทร์ จนกระทั่งถึงรัชกาลที่ 5 เมื่อทรงเปลี่ยนแปลงระเบียบการปกครองแผ่นดินใหม่เมืองฉะเชิงเทรามีฐานะเป็น เมืองๆ หนึ่งในมณฑลปราจีนบุรี ต่อมาใน พ.ศ.2459 ได้เปลี่ยนชื่อเมืองเป็นจังหวัด เรียกว่า จังหวัดฉะเชิงเทรา และได้ใช้ชื่อนี้ต่อมาจนกระทั่งบัดนี้

    ทว่าเมืองฉะเชิงเทรามีชื่อเรียกว่า "แปดริ้ว" มาแต่โบราณ ซึ่งความนี้ปรากฏในหนังสือ "ประชุมพระราชนิพนธ์ภาคปกิณกะภาค 1" พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงกล่าวถึงเมืองฉะเชิงเทราว่า "ชื่อบ้านเมืองเหล่านี้เป็นชื่อไทยบ้าง ชื่อเขมรบ้าง เป็นสองชื่อทั้งไทยทั้งเขมรบ้าง อย่างเมืองฉะเชิงเทราเป็นชื่อเขมร เมืองแปดริ้วเป็นชื่อไทย" มีนักประวัติศาสตร์และนักโบราณคดีบางท่านมีความเห็นว่า "ฉะเชิงเทรา" น่าจะเพี้ยนมาจากคำเขมรว่า "สตรึงเตรง" หรือ "ฉทรึงเทรา" ซึ่งแปลว่า คลองลึก ความเห็นนี้คงอาศัยเหตุผลทางภูมิศาสตร์ด้วย เพราะเมืองฉะเชิงเทราตั้งอยู่สองฝั่งแม่น้ำบางปะกง


    </TD></TR></TBODY></TABLE>​

    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=left border=0><TBODY><TR bgColor=#400040><TD>[​IMG]



    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    เมื่อ ครั้งที่ขอมมีอำนาจปกครองแผ่นดินไทยอยู่นั้น เมืองนี้เป็นเมืองที่อยู่ในอำนาจการปกครองของขอมมาก่อน เป็นไปได้ว่าชาวเมืองในสมัยโบราณอาจจะเรียกแม่น้ำบางปะกงว่า "คลองลึก" หรือ "คลองใหญ่" ตามลักษณะที่มองเห็นและด้วยอิทธิพลเขมรจึงได้เรียกชื่อแม่น้ำเป็นภาษาเขมร ว่า "สตรึงเตรง" หรือ "ฉ"ทรึงเทรา" ครั้นเรียกกันไปนานๆ เสียงก็เพี้ยนกลายเป็น "ฉะเชิงเทรา" เมืองที่อยู่บนฝั่งแม่น้ำก็พลอยได้ชื่อว่า "ฉะเชิงเทรา" ไปด้วย

    ส่วนความ เป็นมาของชื่อ "แปดริ้ว" นั้น หนังสือ "คนเด่นเมืองแปดริ้ว" ที่ระลึกงานฉลองอายุวัฒนมงคลครบ 7 รอบ พระราชมงคลวุฒาจารย์ (สุธีร์ สุนฺทโร ป.ธ.4) มีกล่าวถึงไว้ว่า

    "เนื่องจากเมืองนี้เป็นเมืองอู่ ข้าวอู่น้ำ ในลำน้ำอุดมสมบูรณ์ไปด้วยสัตว์น้ำนานาชนิด โดยเฉพาะปลาช่อนซึ่งเป็นปลาน้ำจืดรสดีมีชุกชุมและมีขนาดใหญ่กว่าปลาช่อนใน ท้องถิ่นอื่นๆ จนเมื่อนำมาแล่เนื้อเพื่อตากทำปลาแห้งจะแล่เพียงสี่ริ้วหรือห้าริ้วตามปกติ ไม่ได้ ต้องแล่ออกถึง "แปดริ้ว" เมืองนี้จึงได้ชื่อว่า "แปดริ้ว" ตามขนาดอันใหญ่โตของปลาช่อนซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของเมือง นอกจากนี้ชื่อ "แปดริ้ว" ยังได้รับอิทธิพลมาจากนิทานพื้นบ้าน คนในท้องถิ่นพนมสารคามเล่าถึงเรื่อง "พระรถ-เมรี" ซึ่งเป็นนิทานเรื่องหนึ่งในปัญญาสชาดกว่า ยักษ์ได้ฆ่านางสิบสองแล้วลากศพไปยังท่าน้ำในบริเวณที่เป็นคลอง "ท่าลาด" แล้วชำแหละศพออกเป็นริ้วๆ รวมแปดริ้ว แล้วทิ้งลอยไปตามลำน้ำท่าลาด ริ้วเนื้อ ริ้วหนังของนางสิบสองลอยมาออกยังแม่น้ำบางปะกงไปจนถึงฉะเชิงเทรา เมืองนี้จึงได้ชื่อว่า แปดริ้ว"
    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=right border=0><TBODY><TR bgColor=#400040><TD>[​IMG]



    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=left border=0><TBODY><TR bgColor=#400040><TD>[​IMG]



    </TD></TR></TBODY></TABLE>


    ฉะเชิงเทรามีพระเกจิอาจารย์เรืองนามมากรูปด้วยกัน หนึ่งในนั้นที่จะกล่าวถึงคือ พระครูพิบูลย์คณารักษ์ (ดิ่ง คงฺคสุวณฺโณ) แห่งวัดบางวัว หรือที่มีชื่อวัดอย่างเป็นทางการว่า "วัดอุสภาราม" เป็นพระเกจิอาจารย์อีกรูปหนึ่งที่มีชื่อเสียงโด่งดัง วัตถุมงคลของหลวงพ่อดิ่งที่โดดเด่นเป็นพิเศษ คือ ลิงแกะจากรากไม้ เป็นรากของต้นพุดซ้อน ทั้งยังต้องเป็นรากที่ชอนไปทางทิศตะวันออก ระหว่างการขุดรากต้นพุดซ้อนเพื่อนำมาแกะเป็น "ลิง" ยังต้องระมัดระวังมิให้เงาของคนขุดไปทอดตกทับรากต้นพุดซ้อนด้วย

    ทั้งยังพระปิดตา ทั้งแบบเม็ดบัวหลังยันต์สวัสดิกะ เนื้อเมฆพัด พระปิดตาพิมพ์กลีบบัวหลังยันต์อุ และพระปิดตาเนื้อผง

    และ ที่สร้างเป็นเหรียญพระเครื่องก็มีถึง 3 รุ่นด้วยกัน กล่าวคือ ในปี พ.ศ.2463 ได้สร้างเหรียญพระเครื่องขึ้นเป็นครั้งแรก ทว่าสร้างเป็นเหรียญปั๊มพระพุทธ จำลองพระประธานในอุโบสถวัดบางวัวขึ้นมาแจกจ่ายเป็นที่ระลึกแก่ผู้ร่วม บริจาคทุนทรัพย์ในการสร้างอุโบสถ

    ในปี พ.ศ.2481 จึงได้สร้างเหรียญปั๊มรูปเหมือนขึ้นเป็นครั้งแรก และในปี พ.ศ.2492 ครั้งหลวงพ่อดิ่งมีอายุได้ 72 ปี พรรษาที่ 52 แต่เหรียญรุ่นที่ 3 ก็มีบล็อกเสริมด้วย คือ ได้นำบล็อกหน้าเดิมของรุ่น 3 มาปั๊มใหม่อีกครั้ง เปลี่ยนแต่เฉพาะบล็อกด้านหลังเท่านั้น ซึ่งจะพึงสังเกตได้จากรอยขีดยาวใต้อักขระขอม

    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=left border=0><TBODY><TR bgColor=#400040><TD>[​IMG]



    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    กล่าวสำหรับเหรียญปั๊มรูปเหมือนหลวงพ่อดิ่ง พ.ศ. 2481 เป็นเหรียญปั๊มรูปไข่ หูเชื่อม เนื้อทองแดง

    ด้าน หน้า ตรงกลางเป็นรูปเหมือนหลวงพ่อดิ่งครึ่งรูป และอักษรนูนรอบขอบเหรียญว่า "พระครูพิบูลย์คณารักษ์ เจ้าคณะแขวงอำเภอบางปะกง วัดอสุภาราม ฉะเชิงเทรา"

    ด้านหลัง เป็นยันต์ ภายในบรรจุอักขระขอมว่า "มิ มะ นะ อะ อุ" และอักษรนูนว่า "พ.ศ.๒๔๘๑" อันเป็นปีที่สร้างเหรียญขึ้นมา

    นอกจากเหรียญเนื้อทองแดงแล้ว ยังมีแบบพิเศษ คือ เนื้อเงินลงยา ซึ่งกล่าวว่าเป็นเหรียญที่สร้างแจกกรรมการ เป็นเหรียญปั๊ม หูเชื่อม

    ด้าน หน้า ตรงกลางเป็นรูปเหมือนหลวงพ่อดิ่งอยู่ภายในกรอบรูปไข่ บนศีรษะเป็นอักษรตัวเลขปีสร้าง "๒๔๘๑" ขอบข้างเหรียญด้านนอกกรอบรูปไข่ เป็นอักษรว่า "ทำบุญที่ระลึก อายุ ๖๑ ปี พระครูพิบูลย์คณารักษ์"

    ด้านหลัง พื้นเหรียญเรียบ

    นอกเหนือจากลิงแกะ เหรียญพระเครื่อง หลวงพ่อดิ่งยังได้สร้างเครื่องรางของขลังประเภท ตะกรุด ผ้าประเจียด ลูกอมเนื้อผง และพระปิดตา
    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=right border=0><TBODY><TR bgColor=#400040><TD>[​IMG]



    </TD></TR></TBODY></TABLE>


    กล่าวถึงพระปิดตาของหลวงพ่อดิ่งมีทั้งที่เป็นเนื้อผง และเนื้อเมฆ พัด พระปิดตาของหลวงพ่อดิ่ง มีด้วยกัน 3 แบบ คือ

    1. พระปิดตาพิมพ์ลอยองค์หลังยันต์สวัสติกะ หรือยันต์นะแผ่นดิน เป็นพระปิดตาแบบมหาอุด องค์พระมี 4 พระกร โดยพระกรคู่แรกนั้นยกขึ้นปิดพระพักตร์ ส่วนอีกคู่หนึ่งนั้นล้วงลงปิดทวารเบาและทวารหนัก ในส่วนของด้านหลังเป็นยันต์นะแผ่นดิน หรือสวัสติกะ มีรูปร่างเป็นขีดคล้ายกากบาท

    ว่ากันว่า "สวัสติกะ" มาจากภาษาสันสกฤตว่า "สุอัสดิ" แปลว่า "ที่ดี" สันนิษฐานกันว่า เป็นเครื่องหมายถึง การบูชาไฟ (ดวงอาทิตย์)

    เป็นพระปิดตาซึ่งสร้างขึ้นด้วยเนื้อเมฆพัด

    "อุทัย สินธุสาร" กล่าวไว้ในหนังสือ "สารานุกรม" เล่มที่ 4 หน้า 3505 ถึงโลหะเนื้อเมฆพัดนี้ไว้ว่า

    "เป็น แร่ผสมชนิดหนึ่ง ซึ่งคณาจารย์ผู้สร้างประติมากรรมพระเครื่อง ได้คิดค้นตำรับขึ้น ผิดแผกแปลกไปจากตำรับผสมโลหะสัมฤทธิ์ และชิน คือ ใช้เนื้อเงินชัดเข้ากับตัวยาชนิดหนึ่ง เมื่อนำมาหลอมเป็นองค์พระแล้ว เนื้อโลหะนั้นมีสีน้ำเงินเคลือบดำเป็นมันวาว ไม่มีสนิมจับ มีคุณทางอยู่ยงคงกระพัน"

    กล่าวว่า การหลอมโลหะเนื้อพิเศษอย่างเมฆพัดนั้น นอกจากจะใช้โลหะหลายชนิดแล้ว ยังต้องอาศัยสมุนไพรบางชนิด และที่สำคัญคือ ปรอท

    ปรอท เป็นของกายสิทธิ์ ซึ่งคนโบราณกล่าวกันว่า มีอาถรรพ์อยู่ในตัว และนิยมนำมาสร้างเป็นวัตถุมงคล และเครื่องรางของขลัง การจะทำให้ปรอทแข็งตัวนั้นต้องหุงปรอทเพื่อฆ่าปรอทให้แข็งตัว จึงจะนำมาสร้างได้ เรียกว่า "สำเร็จปรอท"

    2. พระปิดตาพิมพ์กลีบบัวหลังยันต์อุ เป็นพระปิดตาแบบมหาอุด คือ ด้านหน้าทำเป็นรูปพระปิดตาทรงชะลูดเรียว พระหัตถ์คู่ที่หนึ่งยกขึ้นปิดพระพักตร์ พระหัตถ์คู่ที่สองยกขึ้นปิดพระกรรณ และพระหัตถ์คู่ที่สามล้วงลงปิดทวาร ส่วนด้านหลังพื้นเรียบ ปรากฏอักขระขอมตัว "อุ" และด้านบนตัวอุยังทำเป็นเส้นขีดสามเหลี่ยม

    กล่าวสำหรับตัว "อุ" มีความหมายถึงพระธรรม ดังที่พระอริยกวี วัดจักรวรรดิราชาวาส ได้ประพันธ์ถึงความหมายของ "มะ อะ อุ" ไว้ว่า

    มะ - อรหันตะเจ้า

    อุ - อุตตมะขัมโม แม่นแล้ว

    สามรัตน์เป็นฉัตรแก้ว ก่องหล้าธาตรีฯ

    3. พระปิดตาเนื้อผง ซึ่งมีอยู่หลายเนื้อด้วยกัน ทั้งเนื้อขาวเหลืองอย่างเนื้อพระสมเด็จ สีออกไปทางเหลืองทอง และเนื้อน้ำตาลดำ ด้านหน้าเป็นรูปองค์พระปิดตา ด้านหลังเป็นยันต์ "มิ"

    นอก จากพระปิดตาแล้ว หลวงพ่อดิ่งยังสร้างพระพิมพ์กลีบบัวพิมพ์พระพุทธ หลังยันต์ "ติ" เป็นพระเครื่องขนาดเล็ก ด้านหน้ายกขอบเป็น กรอบ 2 ชั้น ตรงกลางเป็นรูปองค์พระพุทธปฏิมากรปางสมาธิประทับนั่งบนอาสนะฐานบัว 3 กลีบ อันหมายถึง พระรัตนตรัย คือ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ รอบองค์พระทำเป็นรัศมีล้อมรอบ มองดูคล้ายเป็นลายกระหนก หรือเศียรพญานาค ส่วนด้านหลัง พื้นเรียบปรากฏอักขระขอมตัว "ติ" อันเป็นอักขระตัวสุดท้ายในบทสรรเสริญพระพุทธคุณที่โบราณาจารย์นิยมนำมาใช้ 2 ตัว คือ "อิ" เป็นตัวต้น และ "ติ" เป็นตัวสุดท้าย รวมเป็น "อิติ"

    [FONT=Tahoma,]<TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=left border=0><TBODY><TR bgColor=#400040><TD>[​IMG][/FONT]



    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    [FONT=Tahoma,]ใน ส่วนของ "ลิง" แกะจากรากไม้ บางท่านกล่าวว่าเป็นรากจากต้นรัก และบางท่านก็ว่าเป็นรากจากต้นพุดซ้อน แต่มิว่าจะเป็นของต้นอะไร ลิงของหลวงพ่อดิ่งล้วนแกะขึ้นจากฝีมือช่างชาวบ้านที่แกะขึ้นถวาย[/FONT]

    [FONT=Tahoma,]ใน การขุดรากไม้เพื่อนำมาแกะลิงนั้น มีเคล็ดประการหนึ่ง รากไม้ต้องชอนไปทางทิศตะวันออก และในขณะขุดต้องภาวนาคาถาตลอดเวลา ข้อห้ามประการสำคัญยิ่งของการขุดนั้น คือ ระวังอย่าให้เงาทอดไปทับรากไม้เป็นอันขาด[/FONT]

    [FONT=Tahoma,]อย่างไรก็ตาม สำหรับลิงแกะจากรากไม้ของหลวงพ่อดิ่ง ไม่อาจยึดแบบฉบับของการแกะได้ ด้วยมีหลายฝีมือ การพิจารณาจึงต้องจดจำฝีมือการแกะตามเค้าแบบแต่ละแบบ ลักษณะความเก่าของเนื้อรากไม้ ความแห้งและสภาพการผ่านการใช้งาน คือ ผ่านการคล้องถูกเหงื่อไคลสัมผัส มีความฉ่ำของเนื้ออย่างไร[/FONT]

    [FONT=Tahoma,]ลิงของหลวงพ่อดิ่ง มีทั้งแบบถือตรี และแบบถือกระบอง ซึ่งที่ถือกระบองมักเรียกกันว่า "ลิงจับหลัก"[/FONT]

    [FONT=Tahoma,]มีเรื่องเล่าขานกันว่า ครั้งหนึ่งเมื่อเกณฑ์ทหารรับใช้ชาติแถบบางปะกง ชลบุรี สัตหีบ ระยอง ชายฉกรรจ์เหล่านี้ได้ไปเป็นทหารเรือ ซึ่งอยู่ในความดูแลของ พลเรือเอกสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ผู้ทรงเป็นแม่ทัพเรือ[/FONT]
    [FONT=Tahoma,]<TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=right border=0><TBODY><TR bgColor=#400040><TD>[​IMG][/FONT]



    </TD></TR></TBODY></TABLE>


    [FONT=Tahoma,]วันที่เข้าประชุมต้อนรับทหารเกณฑ์ใหม่ หลังจากกล่าวอบรมแล้ว เสด็จในกรมฯ ทรงประพรมน้ำพระพุทธมนต์ที่พระองค์ท่านปลุกเสกเองให้กับเหล่าทหารใหม่ ทหารใหม่แต่ละคนเมื่อถูกซัดด้วยน้ำพระพุทธมนต์บางก็เฉย แต่บางคนก็มีอาการต่างๆ ประมาณ 20-30 คน ถึงกับมีอาการของขึ้น ลุกขึ้นเต้นเหมือนลิง วิ่งออกจากแถวทหารไปทันที เสด็จในกรมฯ ทรงมีรับสั่งให้ทหารช่วยกันจับทหารเกณฑ์ใหม่เหล่านั้นนำตัวมาทอดพระเนตร และทรงตรัสถามว่าเป็นศิษย์อาจารย์ท่านใด มีวัตถุมงคลอะไรติดตัวมา[/FONT]

    [FONT=Tahoma,]ทหารเกณฑ์ใหม่เหล่านั้นกราบทูลว่า เป็นศิษย์ของหลวงพ่อดิ่ง มีรากไม้แกะเป็นรูปลิงติดตัวมา พร้อมทั้งนำลิงแกะจากรากไม้ถวายเสด็จในกรมฯ ทอดพระเนตร เสด็จในกรมฯ ทอดพระเนตรลิงแกะจากรากไม้แล้ว ได้ตรัสขึ้นว่า อาจารย์องค์นี้เก่ง[/FONT]

    [FONT=Tahoma,]สำหรับในการปลุกเสกลิงของหลวงพ่อดิ่ง นับว่ามีความแปลกประหลาดพอสมควร เริ่มจากนำเอาหนุมานที่แกะขึ้นเสร็จเรียบร้อยแล้ว ไปวางบนพานหน้าองค์พระประธานในอุโบสถ จากนั้นให้คนไปจัดหาอาวุธชนิดต่างๆ ทั้ง ดาบ หอก มีด ง้าว จนกระทั่งปืน มากองรวมไว้ จากนั้นหลวงพ่อดิ่งก็ขึ้นไปนั่งพร้อมกับเริ่มพิธีปลุกเสกลิงแกะตามฤกษ์ที่ กำหนดเอาไว้[/FONT]

    [FONT=Tahoma,]บางครั้งพบว่าหลวงพ่อดิ่งปลุกเสกลิงแกะหลังจากฉันเช้าไปจนถึงเย็นโดยมิได้ฉันเพล ทำเช่นนี้อยู่หลายวันจนพิธีกรรมเสร็จสิ้นลง[/FONT]

    [FONT=Tahoma,]ปูมหลังของหลวงพ่อดิ่ง ท่านเกิดเมื่อวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ.2420 ตรงกับวันพฤหัสบดี ขึ้น 11 ค่ำ เดือน 4 ปีฉลู จุลศักราช 1239 ที่ตำบลบางวัว อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา[/FONT]

    [FONT=Tahoma,]โยมบิดาชื่อ นายเหม โยมมารดาชื่อ นางล้วน เมื่อมีการตั้งนามสกุลกัน ตระกูลของท่านได้ใช้สกุลว่า "เหมล้วน"[/FONT]

    [FONT=Tahoma,]ในวัยเด็กได้ศึกษาร่ำเรียนจนอ่านออกเขียนได้จากสำนักวัดบางวัว[/FONT]

    [FONT=Tahoma,]ต่อ เมื่อวันที่ 10 เมษายน พ.ศ.2440 ได้อุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดบางวัว ตำบลบางวัว อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา โดยมีพระอธิการดิษฐ์ พฺรหฺมสโร วัดบางสมัคร ตำบลบางสมัคร อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์จ่าง วัดบางสมัคร เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอาจารย์ปลอด วัดบางวัว เป็นพระอนุสาวนาจารย์ หลวงพ่อดิ่งได้ศึกษาวิชาความรู้ทางวิทยาคมจากพระอธิการดิษฐ์ วัดบางสมัคร จากหลวงพ่อเปิ้น วัดบ้านเก่า อำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี จากหลวงพ่อเป้อะ วัดจวนเขื่อนขันธ์ อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ[/FONT]

    [FONT=Tahoma,]ในด้านหน้าที่ทางด้านสงฆ์ ได้รับหน้าที่เป็นผู้รักษาดูแลวัดและพระภิกษุ สามเณร วัดบางดิ่ง เมื่อปี พ.ศ.2443 ในปี พ.ศ.2445 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ปีรุ่งขึ้น พ.ศ.2446 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสวัดบางวัว ถึงปี พ.ศ.2452 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าคณะตำบลบางวัว ในปี พ.ศ.2463 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นพระอุปัชฌาย์ ปี พ.ศ.2476 เป็นผู้ช่วยเจ้าคณะแขวงบางปะกง และในปี พ.ศ.2479 เป็นเจ้าคณะอำเภอบางปะกง[/FONT]

    [FONT=Tahoma,]ในปี พ.ศ.2480 หลวงพ่อดิ่งได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็น "พระครูพิบูลย์คณารักษ์"[/FONT]

    [FONT=Tahoma,]หลวงพ่อดิ่ง มรณภาพลงเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ.2495 สิริรวมอายุได้ 79 ปี [/FONT]

    [FONT=Tahoma,]ที่มา [​IMG][/FONT]
     
  12. teerins

    teerins เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    300
    ค่าพลัง:
    +1,796
    อนุโมทนาบุญกับทุกๆ ท่านที่มีส่วนร่วมในงานบุญใหญ่อีกครั้ง สาธุครับ

    วันนี้เวลา 20.48 ผมได้โอนเงินผ่าน atm ร่วมทำบุญ ศ.ทุนนิธิ
    สงเคราะห์สงฆ์อาพาธปู่ประถม เป็นจำนวนเงิน 509 บาทนะครับ



     
  13. nalada

    nalada เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    22
    ค่าพลัง:
    +127
    ก่อนจะมาดูภาพกิจกรรมที่ทางทุนนิธิฯได้ทำในวันอาทิตย์ที่ผ่านมา ผมขอแจ้งให้ทราบว่า ข่าวสารเกี่ยวกับทางทุนนิธิฯผมจะแจ้งให้ทุกท่านทราบโดยใช้ username ว่า โสระ1 ครับเนื่องมาจากว่าชื่อโสระ ผมได้ลงรูปเกี่ยวกับพุทธประวัติมากทำให้ข้อมูลใน Attachments เต็ม ไม่สามารถลงรูปเกี่ยวกับกิจกรรมของทางทุนนิธิได้ครบ

    กิจกรรมของ ศ.ทุนนิธิสงเคราะห์ สงฆ์อาพาธ อ.ประถม อาจสาคร ประจำเดือนมกราคม ๒๕๕๑
    [​IMG]

    เริ่มต้นโดยการนัดเจอกันที่โรงพยาบาลสงฆ์บริเวณจุดรับบริจาคชั้นหนึ่งอาคารจอดรถ

    [​IMG]

    เมื่อมาพร้อมเพรียงกันแล้วก็เคลื่อนพลไปที่ร้านอาหารของทางโรงพยาบาลสงฆ์เพื่อจัดเตรียมอาหาร น้ำ และของหวานเป็นชุดเพื่อถวายสงฆ์อาพาธต่อไป
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  14. nalada

    nalada เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    22
    ค่าพลัง:
    +127
    [​IMG]

    จากนั้นนำอาหารที่จัดเสร็จลงรถเข็นเพื่อมุ่งหน้าสู่ตึกที่พระสงฆ์อาพาธอยู่
    [​IMG]
    ตึกนี้ครับที่ทางทุนนิธิฯเลือกทำ เป็นตึกชื่อของพระพี่นางฯ ถือว่าเป็นมหามงคลและเป็นการบำเพ็ญกุศลถวายท่านอีกทางหนึ่งครับ
    [​IMG]

    ก่อนทำการถวายอาหารพระสงฆ์ทางทุนนิธิฯได้อาราธนาพระผู้เหมาะสม เป็นประธานรับอาหารและเครื่องบริวาร เพื่อถวายเป็น มหาสังฆทาน เพราะเป็นการถวายแด่พระสงฆ์ถึงจำนวน 125 รูป โดยไม่ระบุ เพื่อท่านทั้งหลายที่ได้ทำบุญร่วมกันมาจะได้อานิสงค์มากมายประมาณไม่ได้ครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  15. nalada

    nalada เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    22
    ค่าพลัง:
    +127
    ขอบคุณมากครับ น้องโอ๊ต แต่ขอพี่ใช้วิธีแบบเดิมก่อนไว้พื้นที่เต็มอีก จะขอรบกวนให้สอนวิธีฝากรูปในเวป มาดูภาพกิจกรรมของทุนนิธิกันต่อครับ
    [​IMG]
    เมื่อกล่าวคำถวายเสร็จก็รับพรจากพระสงฆ์และเริ่มประเคนอาหารให้พระสงฆ์ตามเตียงจนครบ

    [​IMG]

    พระท่านจะสวดให้พร ตลอดทุกๆประมาณ4-8เตียงต่อหนึ่งครั้งครับ

    [​IMG]

    ชั้นนี้เป็นพระสงฆ์ที่ป่วย ประเภทที่ต้องดูแลพิเศษทางคณะก็เข้าไปถวายอาหารแต่ช่างกล้องไม่ได้เข้าไปเลยถ่ายแต่ด้านหน้ามาให้ชมเพราะเราอาจนำเชื้อโรคไปติดต่อกับพระท่านได้ครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 29 มกราคม 2008
  16. nalada

    nalada เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    22
    ค่าพลัง:
    +127
    [​IMG]

    นายสติกำลังอาราธนาพระอีกท่านเพื่อเป็นประธานรับถวายอาหารและเครื่องบริวารต่างๆเพื่อเป็น มหาสังฆทาน ที่ต้องมีการถวายสองที เพราะของจำนวนมากต้องถวายพระสงฆ์อาพาธ ถึงจำนวนสองชั้นของตึกนี้ครับ
    [​IMG]

    พระสงฆ์อาพาธผู้เป็นเนื้อนาบุญอันประเสริฐที่พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้ ผู้รอเราท่านผู้มีจิตศัทธาบริจาคช่วยสงเคราะห์
    [​IMG]

    เมื่อถวายอาหารแล้วก็มาบริจาคช่วยซื้อเลือด และบำรุงโรงพยาบาลสงฆ์
    [​IMG]

    ในภาพคือนายสติหนึ่งในคณะกรรมการทุนนิธิฯ และศรีภรรยาของพี่พันวฤทธิ์ กำลังบริจาคเงินช่วยสงฆ์อาพาธครับ


     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  17. nalada

    nalada เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    22
    ค่าพลัง:
    +127
    [​IMG]

    จากนั้นก็นำเงินไปจ่ายค่าอาหาร กับแม่ค้าเจ้าของร้านในโรงพยาบาลสงฆ์ สังเกตุใบหน้ามีความสุขทั้งผู้ให้ และผู้รับ นี่แหละจิตของผู้มีใจเป็นบุญย่อมผ่องแผ้ว ทั้งก่อนทำ ระหว่างทำ และหลังทำบุญ เมื่อทำได้เช่นนี้ย่อมมีสุขคติเป็นที่ไปครับ

    [​IMG]

    ถ่ายรูปร่วมกันก่อนกลับหน้าตึกสมเด็จพระพี่นางฯ ใครเป็นใครเชิญทัศนากันครับ ที่ทำรูปซะเล็กจนแทบมองไม่เห็นว่าใครเป็นใคร เพราะมีหลายท่านประสงค์ทำบุญแต่ไม่ประสงค์ออกนามหรือนำรูปท่านมาลงเน็ตครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 29 มกราคม 2008
  18. narongwate

    narongwate เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    885
    ค่าพลัง:
    +3,840
    ถ่ายรูปเก็บมาฝากขณะรอขึ้นรถครับ ด้านหน้าศูนย์รับบริจาคของโรงพยาบาลสงฆ์

    [​IMG]

    [​IMG]
     
  19. narongwate

    narongwate เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    885
    ค่าพลัง:
    +3,840
    สักการะพระบรมสารีริกธาตุครบองค์ เสริมสิริมงคล
    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]

    [​IMG]

    รูปนี้ถ่ายตอนไปสักการะพระบรมสารีริกธาตุ แต่น่าเสียดายทางเมืองโบราณไม่อนุญาตให้ถ่ายรูปพระบรมสารีริกธาตุ

    [​IMG]

    ที่มา
    http://wwwdailynews.co.th
    http://www.ancientcity.com/
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 มกราคม 2008
  20. narongwate

    narongwate เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    885
    ค่าพลัง:
    +3,840
    รูปภาพสิ่งก่อสร้างจำลอง บางส่วนของเมืองโบราณครับ

    [​IMG]


    [​IMG]


    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG][​IMG]
     

แชร์หน้านี้

Loading...