อัลบั้มพระ ประวัติ และวัตถุมงคล

ในห้อง 'ประสบการณ์ เรื่องเล่า' ตั้งกระทู้โดย ปู ท่าพระ, 26 ธันวาคม 2013.

  1. nitikoon kongkhaw

    nitikoon kongkhaw เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,314
    ค่าพลัง:
    +53,508
    [​IMG]

    [​IMG]
     
  2. kravity

    kravity เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    1,472
    ค่าพลัง:
    +34,745
    สวัสดีครับเสี่ย เมื่อคืนขออภัยไม่ได้ทักกลับครับ ช่วงนี้งานเยอะม๊วกกกก ><
     
  3. Kenny17

    Kenny17 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มกราคม 2011
    โพสต์:
    2,979
    ค่าพลัง:
    +10,866
    สวัสดีครับสมาชิกทุกท่าน ผมยุ่งนิดนึงช่วงนี้ เข้ามาตามอ่านแต่ไม่มีเวลาร่วมด้วยเลย วันนี้พอไหวขอร่วมนิดนึงนะครับ
     
  4. Kenny17

    Kenny17 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มกราคม 2011
    โพสต์:
    2,979
    ค่าพลัง:
    +10,866
    [​IMG]
    [​IMG]

    เหรียญหลวงพ่อเกษมเขมโก สุสานไตรลักษณ์ จังหวัด ลำปาง สุดยอดพระอริยสงฆ์ของไทย ที่องค์ท่านปฏิบัติได้อย่างเคร่งครัดเหรียญที่มีพระปรมาภิไธย “ภปร” ถึงสองรุ่นด้วยกัน คือออกในปี พ.ศ.2523 และ ปี พ.ศ.2529 ด้วยรูปแบบที่งดงามมาก

    รุ่นปี พ.ศ.2523จัดสร้างโดยวัดคะตึกเชียงมั่นลำปาง มีการสร้างประชาสัมพันธ์ทางสื่อมากมาย ปี 2523 สร้างทุกเนื้อ ราคาให้บูชาก็สูงมากกว่าเหรียญที่ออกในเวลานั้น คือเนื้อทองคำ ใหญ่ 7,000 บาท ทองคำ เล็ก 3,500 บาท เนื้อเงิน ใหญ่-เล็กก็เช่นกัน 700-300 บาท เนื้อทองแดงใหญ่-เล็กก็ 50-30 บาทตามลำดับ
    เหรียญหลวงพ่อเกษม ภปร 2523
    เหรียญหลวงพ่อเกษมเขมโกรุ่น ภปร ปี ๒๕๒๓ รุ่นนี้มีทั้งเหรียญพิมพ์ใหญ่ และพิมพ์เล็ก รวมทั้งรูปเหมือนยืนและรูปเหมือนนั่งล้วนได้รับความนิยมทุกพิมพ์ หลวงพ่อเกษม ปลุกเสกในวันเสาร์ห้า ณ สุสานไตรลักษณ์ วันที่ ๕ เมษายน ๒๕๒๓ แรม ๕ ค่ำ เดือน ๕ ถือว่าเป็น “วันแรง” ของที่ปลุกเสกจะเข้มขลังและศักดิ์สิทธิ์เป็นพิเศษและที่น่าสนใจคือออกแบบโดย ช่างเกษม มงคลเจริญ ผู้มีผลงานยอดเยี่ยมตลอดมา

    เครดิต สาระกับพระเครื่อง: เหรียญหลวงพ่อเกษม รุ่นภปร ปี 2523
     
  5. Kenny17

    Kenny17 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มกราคม 2011
    โพสต์:
    2,979
    ค่าพลัง:
    +10,866
    [​IMG]
    [​IMG]

    เห็นพี่ๆลงกันหลายทีแล้ว ผมเพิ่งจะเก็บได้ครับ
     
  6. Kenny17

    Kenny17 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มกราคม 2011
    โพสต์:
    2,979
    ค่าพลัง:
    +10,866
    [​IMG]
    [​IMG]

    พระชัยหลังช้าง “ภ.ป.ร.-ส.ก.” พิธีเข้มขลัง-คู่กันสิริมงคลยิ่ง

    “พระชัยหลังช้าง ภ.ป.ร. และ ส.ก.” ด้วยเป็นวัตถุมงคลที่จัดสร้างขึ้นในปีแห่งมหามงคล แต่ต่างวาระกัน โดยพระชัยหลังช้าง ภ.ป.ร. สร้างเมื่อปี 2530 ส่วนพระชัยหลังช้าง ส.ก. สร้างเมื่อปี 2535

    แม้จะต่างวาระกัน แต่ทั้ง ภ.ป.ร. และ ส.ก. ต่างก็เป็นที่นิยมของปวงชนชาวไทยยิ่งนัก โดยจะเช่าเก็บคู่กันเป็นที่ระลึก เป็นสิริมงคลแก่ตนเอง และครอบครัว

    กล่าวถึงประวัติการสร้างคร่าวๆ ย้อนไปเมื่อปี 2530 ซึ่งเป็นปีครบรอบ 60 ปี 5 รอบ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ปวงชนชาวไทยต่างพร้อมใจกันถวายความจงรักภักดีแด่พระองค์โดยประกอบกิจกรรมต่างๆ ขึ้นอย่างมากมาย

    แม้ทางคณะสงฆ์ก็เตรียมถวายความจงรักภักดีแด่พระองค์เช่นกัน โดยครานั้นสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ วัดสามพระยา ได้จัดสร้างเหรียญ “พระชัยหลังช้าง ภ.ป.ร.” ขึ้นเพื่อให้ประชาชนนำไปบูชา โดยรายได้นำขึ้นถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ

    พิธีมหาพุทธาภิเษกอย่างยิ่งใหญ่!!! เมื่อ 5 ธ.ค. 2530 เกจิดังทั่วฟ้าเมืองไทยร่วมอธิษฐานจิต...

    ส่วนพระชัยหลังช้าง ส.ก. นั้น จัดสร้างขึ้นโดยคณะสงฆ์ไทยเมื่อปี 2535 พิธีพุทธาภิเษกยิ่งใหญ่เช่นกัน

    “เหรียญพระชัยหลังช้าง” ขนาดว่าครั้งหนึ่ง “หลวงพ่อฤาษีลิงดำ” ท่านเคยปรารภแก่ลูกศิษย์ลูกหาไว้ว่า... เหรียญพระชัยหลังช้างนี้เป็นหนึ่งในพระดีที่น่าบูชาไว้ติดตัว เพราะมีอานุภาพความศักดิ์สิทธิ์แท้จริง

    กล่าวสำหรับประวัติ “พระชัยหลังช้าง” แต่ก่อนเรียกดังนี้ พระนามเดิมคือ “พระชัย” หรือ “พระไชย” ต่อมาสมัยรัชกาลที่ 4 ได้ออกพระนามเพิ่มว่า “พระไชยวัฒน์” ก่อนเปลี่ยนพระนามเป็น “พระชัยวัฒน์” ในสมัยรัชกาลที่ 7 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ทรงมีพระชัยวัฒน์ประจำรัชกาลทุกพระองค์ เพียงรัชกาลที่ 8 ที่ไม่มี

    ปัจจุบันพระชัยวัฒน์ประจำรัชกาลทุกพระองค์ ประดิษฐาน ณ หอพระสุราลัยพิมาน พระบรมมหาราชวัง

    พระชัยเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย มีลักษณะพิเศษคือเป็นแบบนั่งขัดสมาธิเพชร พระหัตถ์ซ้ายอยู่ในลักษณะถือด้ามพัด

    เป็นพระพุทธรูปขนาดย่อมหรือค่อนข้างเล็ก เพื่อสะดวกเคลื่อนย้ายไปในการพระราชพิธีสำคัญต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการพระราชสงคราม ถ้าเป็นทางสถลมารคจะเชิญขึ้นช้างนำหน้าช้างพระที่นั่ง จึงเรียกว่า “พระชัยหลังช้าง” ทางชลมารคก็เชิญลงเรือพระที่นั่งหน้าเรือพระเจ้าอยู่หัวเช่นกัน

    สันนิษฐานว่าการหล่อพระพุทธปฏิมาชัยวัฒน์ประจำรัชกาลเป็นราชประเพณีที่ปฏิบัติสืบเนื่องยาวนาน คือเมื่อพระมหากษัตริย์ทรงรับบรมราชาภิเษก ที่ปรากฏในพงศาวดารรัชกาลสมเด็จพระนเรศวร มีการเชิญพระพุทธปฏิมาชัยวัฒน์ไปในงานพระราชสงครามด้วย บ่งชี้ว่ามีพระชัยมาตั้งแต่รัชกาลนั้นแล้ว จากหลักฐานที่พบน่าจะเกิดมีขึ้นตั้งแต่กรุงศรีอยุธยา

    พระชัยหลังช้าง นับเป็นเหรียญยอดนิยม-เหรียญดีที่น่าสะสม เป็นเนื้อกะไหล่ทอง ขนาด 2.2 X 3.7 c.m.พุทธคุณดีทางเมตตาคุ้มครอง โชคลาภก็เป็นเยี่ยม เพราะพระชัยเป็นเครื่องหมายแห่งชัยชนะที่ในสมัยโบราณเวลาออกศึกจะอาราธนาท่านขึ้นบนหลังช้างเป็นเคล็ด และได้ชัยชนะทุกครั้ง...

    เครดิต oknation.net
     
  7. Kenny17

    Kenny17 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มกราคม 2011
    โพสต์:
    2,979
    ค่าพลัง:
    +10,866
    [​IMG]
    [​IMG]

    เพิ่งได้มาครับเหรียญพระแก้วมรกตหลังพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่1 เนื้อเงิน ในโอกาสเทิดพระเกียรติกาญจนาภิเษก รัชกาลที่ 9 ปี2539 ไม่รู้เป็นอะไรผมหาเจอประวัติเหรียญแล้วทีนึงแต่วันนี้พอจะลงหาไม่เจอ งงเหมือนกันครับ
     
  8. Kenny17

    Kenny17 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มกราคม 2011
    โพสต์:
    2,979
    ค่าพลัง:
    +10,866
    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]

    พระแก้วมรกตมูลนิธิปริยัติศึกษา ญสส ในพระสังฆราชูปถัมภ์ ปี 2536 เนื้อเงินกับเนื้อทองแดงครับ
     
  9. Kenny17

    Kenny17 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มกราคม 2011
    โพสต์:
    2,979
    ค่าพลัง:
    +10,866
    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]

    พระไพรีพินาศ ญสส ปี34 ครับ
     
  10. Kenny17

    Kenny17 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มกราคม 2011
    โพสต์:
    2,979
    ค่าพลัง:
    +10,866
    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]
    องค์สุดท้ายก่อนนอนครับ พระกริ่งนิรันตราย ญสส ปี34 ครับ [​IMG][​IMG]
     
  11. Kenny17

    Kenny17 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มกราคม 2011
    โพสต์:
    2,979
    ค่าพลัง:
    +10,866
    ก่อนนอนทักพี่ปูก่อน สวัสดีครับ
     
  12. ปู ท่าพระ

    ปู ท่าพระ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    5,822
    ค่าพลัง:
    +60,326
    สวัสดีคร๊าบบคุณกันต์ แต่ละองค์งามๆทั้งนั้นเลย
     
  13. ปู ท่าพระ

    ปู ท่าพระ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    5,822
    ค่าพลัง:
    +60,326
    หลับฝันดีคร๊าบบ

    ขอบคุณภาพพระสวยๆด้วยคร๊าบบ
     
  14. Kenny17

    Kenny17 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มกราคม 2011
    โพสต์:
    2,979
    ค่าพลัง:
    +10,866
    ชุดใหม่ครับพี่ เพิ่งได้มาครับ ผมก็ชอบขอท่านซะด้วย เก็บหมดเลยครับ เกือบเที่ยงคืนครึ่งแล้วครับราตรีสวัสดิ์ครับ
     
  15. ปู ท่าพระ

    ปู ท่าพระ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    5,822
    ค่าพลัง:
    +60,326
    [​IMG]

    ตำนานพระพุทธบาทสี่รอย (ฉบับล้านนา) ตอนที่๙
    พระครูพุทธบทเจติยารักษ์ (พระครูบาพรชัย ปิยะวัณโณ)
    วัดพระพุทธบาทสี่รอย อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่


    ยังมีพระผู้รอบรู้พระไตรปิฎกองค์หนึ่ง ถามว่า

    “พระบาท ๔ รอยนี้จะเจริญรุ่งเรืองเมื่อใด”

    ผู้ที่จะกล่าวแก้ปัญหาควรกล่าวว่า

    “ดูกรท่านทั้งหลาย อันบาลีแห่งพระพุทธเจ้า กล่าวไว้ว่า
    ปฐมเบื้องต้น มัชฌิมะเบื้องกลาง ปัจฉิมะเบื้องปลาย
    เหตุบาลีว่า อาทิ กัลยาณัง งามในเบื้องต้น
    มัชเฌกัลยาณัง งามในท่ามกลาง ปริโยสานกัลยาณัง งามในที่สุด
    งามในที่แล้ว (ที่สุด) แห่งศาสนาพระพุทธเจ้า
    พระพุทธบาท ๔ รอย จะเจริญรุ่งเรืองงามในท่ามกลางศาสนาจริงแลฯ”


    ดังนั้น ก็นับว่า
    พระพุทธบาทสี่รอยนี้ เป็นปูชนียสถานที่สำคัญ
    เป็นที่สักการบูชามาช้านาน
    ถ้าหากว่าผู้ใดมีจิตศรัทธาที่จะขึ้นไปกราบนมัสการพระพุทธบาทสี่รอย
    ก็ควรมีจิตศรัทธาเลื่อมใสศรัทธาในองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า

    เมื่อไปถึงแล้วก็ควรที่จะสำรวม กาย วาจา ใจ ให้เป็นปกติ
    ก็ชื่อว่า รักษาศีล ก็ทำให้เกิดสมาธิ มีจิตใจที่ตั้งมั่น ทำให้เกิดปัญญา
    และจักได้ชื่อว่าเจริญตามรอยพระพุทธบาทของพระพุทธองค์อย่างแท้จริ


    การที่มีคนศรัทธาเดินทางขึ้นไปกราบรอยพระพุทธบาท
    ก็เหมือนกับว่ามีดวงจิตดวงใจอยู่ในสมาธิภาวนา
    มีพุทธานุสติเกิดขึ้นในจิตใจ

    และประกอบไปด้วย ความศรัทธา และความเพียร ขันติ ความอดทน
    การที่ขึ้นไปกราบนมัสการรอยพระพุทธบาท
    ถนนหนทางไม่สู้จะสะดวกเท่าไร
    เป็นทางขึ้นเขาทางเดินแคบ
    ขึ้นได้สะดวกก็ช่วงฤดูแล้ง ช่วงฤดูฝนก็ลำบาก

    จึงเป็นการวัดถึงจิตใจของพุทธศาสนิกชนว่า
    จะมีคนที่ศรัทธาและวิริยะที่จะขึ้นไปกราบไหว้ และสักการะเพียงใด
    ถ้าหากว่าใครได้ไปกราบนมัสการรอยพระพุทธบาทแล้ว
    ก็นับว่าเป็นสิริมงคล และจะได้รับผลานิสงส์เป็นอย่างมาก


    ดังนั้นขอให้พุทธบริษัททั้งหลาย
    ที่ได้มากราบนมัสการพระพุทธบาทสี่รอย
    หรือผู้ที่อ่านหนังสือเกี่ยวกับ
    ประวัติความเป็นมา ของพระพุทธบาทสี่รอยแล้ว

    ก็ใคร่จะกล่าวกับท่านทั้งหลายว่า
    การที่พระพุทธเจ้าทั้งสี่พระองค์
    เสด็จมาประทับรอยพระบาทในที่นี้
    เพื่อโปรดเวไนยสัตว์ทั้งหลายให้หลุดพ้นจากกองทุกข์ทั้งหลาย
    เพื่อเป็นหนทางไปสู่พระนิพพาน

    ดังนั้นการที่เราได้กราบนมัสการรอยพระพุทธบาท
    ด้วยเครื่องสักการะบูชา มีดอกไม้ ธูปเทียน
    ก็ยังไม่ได้เจริญตามรอยพระบาทของพระพุทธองค์
    เพราะพระพุทธองค์ทรงมุ่งหวังให้เราทั้งหลาย
    เจริญรอยตามพระพุทธองค์ด้วยการให้ทาน ถือศีล เจริญสมาธิภาวนา
    ก็ได้ชื่อว่าเป็นคนหนึ่งที่พระพุทธองค์ทรงโปรดให้พ้นจากกองทุกข์ทั้งหลาย


    โดยเฉพาะการเจริญสมาธินั้น
    พระพุทธองค์เคยตรัสว่ามีอานิสงส์กว่าการให้ทาน
    ซึ่งเป็นหนทางสู่มรรคผลนิพพานโดยแท้จริง

    วาระสุดท้ายนี้
    ท่านผู้ใดได้อ่านประวัติความเป็นมาของพระพุทธบาทสี่รอยนี้แล้ว
    กรุณาใช้ปัญญาพิจารณาให้ถ่องแท้
    และให้ถึงศรัทธาในดวงจิตดวงใจ
    ให้ระลึกถึงองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

    ก็หวังว่าคงจะเป็นประโยชน์แก่ท่านพุทธศาสนิกชนทั้งหลาย
    ที่เดินทางขึ้นมากราบพระพุทธบาทสี่รอย
    อาตมาขอให้ท่านทั้งหลายที่ได้เดินทางขึ้นมากราบพระพุทธบาทสี่รอยนี้
    หรือได้อ่านประวัติพระพุทธบาทสี่รอย

    จงประสบแต่ความสุขความเจริญ
    ก้าวหน้าใน ทาน ศีล ภาวนา
    มีปัญญารู้แจ้งใน อริยสัจสี่
    พ้นจากกิเลสกองทุกข์ทั้งหลาย
    จงมีแด่ทุกท่านด้วยเทอญ....สาธุ

    เจริญกุศลด้วยความนับถือ
    ธรรมะ พร และ เมตตา

    พระครูพุทธบทเจติยารักษ์
    (พระครูบาพรชัย ปิยะวัณโณ)

    เจ้าอาวาสวัดพระพุทธบาทสี่รอย



    ที่มา: ธรรมจักร
     
  16. ปู ท่าพระ

    ปู ท่าพระ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    5,822
    ค่าพลัง:
    +60,326
    งดงามมากจริงๆคร๊าบบ
     
  17. ปู ท่าพระ

    ปู ท่าพระ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    5,822
    ค่าพลัง:
    +60,326
    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]
     
  18. ปู ท่าพระ

    ปู ท่าพระ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    5,822
    ค่าพลัง:
    +60,326
    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]
     
  19. วุฒิ สิงห์

    วุฒิ สิงห์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    1,428
    ค่าพลัง:
    +13,055
    สวัสดีครับพี่ปู พี่เอ๊ะ พี่กูน พี่ตี๋ พี่อ้วน พี่วรรณ อ.โญ คุณกันตฯ คุณเอ็ม คุณเหน่ง คุณพีพี2 พี่รุ่ง พี่ช้าง คุณเอ๋ คุณโอ๊ต และพี่ๆเพื่อนๆทุกๆท่านครับ....ฝากพี่ตี๋ครับรูปนี้ต้นก้ามปู ที่นาครับมาทำรังกันเยอะเลยต่ำๆด้วยเอื้อมมือถึงต้องคอยไปดูเรื่อยๆกลัวพวกมือบอนเก็บรังเอาไป[​IMG][​IMG]
     
  20. oatlovetong

    oatlovetong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2012
    โพสต์:
    472
    ค่าพลัง:
    +17,296
    "เนาว์สถิตย์" (NAOSATITT) [webmaster]

    IP : 27.130.37.xxx | เมื่อ: 6 สิงหาคม 2555 เวลา: 15:09:59 น.

    พระพุทธ 3 สมัย วัดสุวรรณดาราราม อยุธยา (พ.ศ. 2517)+พิธีวัตถุมงคลชุดจตุรพิธพรชัย วัดรัตนชัย(จีน) พ.ศ. 2518
    หากจะว่ากันตามจริงแล้ว "พุทธวงศ์"เป็นผู้เอาพระชุดนี้มาเผยแผ่อย่างเป็นทางการเป็นครั้งแรกในนิตยสาน"มหาโภคทรัพย์"เมื่อเกือบ 10 ปีที่แล้ว หลังจากไปพบพระชุดนี้ตกค้างอยู่ที่วัดสุวรรณาดาราราม อยุธยา โดยตอนแรก พระพุทธ 3 สมัยนี้ คนทั่วไปคิดว่าสร้างพร้อมกับพระชุดจตุรพิธพรชัย วัดรัตนชัย(จีน)เมื่อปีพ.ศ. 2518 แต่จริงๆแล้ว สร้างและเสกที่วัดสุวรรณดาราราม อยุธยา(เยื้องๆกับวัดรัตนชัย)เป็นครั้งแรกเมื่อปีพ.ศ. 2517 โดยผู้สร้างและผู้เสกคณะเดียวกันทุกประการ(นายเรียน นุ่มดี สร้าง หลวงปู่ดู่ เป็นที่ปรึกษา,มอบผง,กำหนดรายละเอียดพิธีกรรม) โดยพระพุทธ 3 สมัยส่วนที่เหลือจากการจำหน่ายจ่ายแจกเมื่อปีพ.ศ. 2517 ก็ได้นำมาเข้าพิธีวัดจีนรัตนชัยในปีพ.ศ. 2518 อีกครั้งด้วย โดยหลวงปู่ดู่มอบผงและเสกผงวิเศษให้ก่อน ต่อเมื่อประกอบพิธีพุทธาภิเษก หลวงปู่ดู่ก็ได้เดินญาณมาเสกให้อีกด้วยทั้ง 2 คราว
    ประวัติการสร้างวัตถุมงคลชุดนี้น่าสนใจมากเพียงแต่คนจะทราบ รายละเอียดค่อนข้างน้อยทำให้หลายคนมองข้ามของดีในพิธีนี้ไปอย่างน่าเสียดาย ครับ ประวัติมีอยู่ว่าเนื่องจากนายเรียน นุ่มดี ผู้บัญชาการเรือนจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา (ศิษย์ผู้ใกล้ชิดหลวงปู่ดู่ วัดสะแก) ในสมัยนั้นท่านกำลังใกล้จะเกษียณอายุราชการและจะกลับไปใช้ชีวิตบั้นปลายที่ บ้านเกิดที่อ.เดิมบางนางบวช จ.สุพรรณบุรี แต่เนื่องด้วยวัดเขาใหญ่ซึ่งเป็นวัดเก่าแก่และเป็นวัดใกล้บ้านเกิดนั้นมี สภาพทรุดโทรม เสนาสนะก็ไม่ได้รับการบูรณะมานานมาก ดังนั้นนายเรียนจึงมีความตั้งใจที่จะหารายได้จำนวนหนึ่งไปปฏิสังขรณ์วัดเขา ใหญ่ให้สวยงาม พร้อมทั้งสร้างวิหารจตุรพิธพรชัยขึ้นใหม่ จึงได้นำความมาปรึกษากับหลวงปู่ดู่ท่านว่าจะทำอย่างไรดี หลวงปู่ดู่ท่านจึงได้เมตตาแนะนำและให้คำปรึกษาในการจัดสร้างวัตถุมงคลตลอดจน การนิมนต์ครูบาอาจารย์มาร่วมปลุกเสกวัตถุมงคลในพิธีนี้อย่างละเอียด โดยพิธีพุทธาภิเษกถูกหนดขึ้นที่วัดรัตนชัย (วัดจีน) อ.เมือง จ.อยุธยา เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2518 ส่วนพระเกจิอาจารย์ที่รับนิมนต์มาร่วมพิธีมีทั้งหมด 16 รูปคือ
    1. พระครูสังวรวิมล (หลวงปู่โต๊ะ) วัดประดู่ฉิมพลี อ.บางกอกใหญ่ จ.กรุงเทพฯ
    2. พระครูประสาทวิทยาคม (หลวงพ่อนอ) วัดกลาง อ.ท่าเรือ จ.พระนครศรีอยุธยา
    3. พระรักขิตวันมุนี (หลวงพ่อถิร) วัดป่าเรไรย์ อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี
    4. พระโบราณคณิสสร (หลวงพ่อใหญ่) วัดสะแก อ.อุทัย จ.พระนครศรีอยุธยา
    5. พระครูประสาทวรคุณ (หลวงพ่อพริ้ง) วัดโบสถ์โก่งธนู อ.เมือง จ.ลพบุรี
    6. พระครูสันทัดธรรมคุณ (หลวงพ่อออด) วัดบ้านช้าง อ.วังน้อย จ.อยุธยา
    7. พระครูกัลยานุกูล (หลวงพ่อเส่ง) วัดกัลยาณมิตร อ.ธนบุรี จ.กรุงเทพฯ
    8. หลวงพ่อกวย วัดโฆษิตาราม อ.สรรคบุรี จ.ชัยนาท
    9. พระครูอดุลวรวิทย์ (หลวงพ่อไวทย์) วัดบางซ้าย อ.บางซ้าย จ.พระนครศรีอยุธยา
    10. หลวงพ่อหน่าย วัดบ้านแจ้ง อ.บางปะหัน จ.พระนครศรีอยุธยา
    11. พระราชสุวรรณโสภณ วัดพนัญเชิง อ.เมือง จ.พระนครศรีอยุธยา
    12. พระครูศรีพรหมโสภิต (หลวงพ่อแพ) วัดพิกุลทอง อ.ท่าช้าง จ.สิงห์บุรี
    13. พระครูสังฆรักษ์ (หลวงพ่อเฉลิม) วัดพระญาติการาม อ.เมือง จ.พระนครศรีอยุธยา
    14. พระครูภัทรกิจโกศล (หลวงพ่อหวล) วัดพุทไธสวรรค์ อ.เมือง จ.พระนครศรีอยุธยา
    15. หลวงพ่อโปร่ง วัดขุนทิพย์ อ.อุทัย จ.พระนครศรีอยุธยา
    16. หลวงพ่อสมบูรณ์ วัดเขาถ้ำบุญนาค อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์ (ศิษย์ก้นกุฎิของหลวงปู่สี วัดเขาถ้ำบุญนาค มาในนามของท่าน)
    ส่วนวัตถุมงคลที่ปลุกเสกในพิธีนี้มีอยู่ 4 ประเภท (ไม่นับรวมของฝากในพิธีนี้) คือ

    1. เหรียญ 9 พระอาจารย์ - จัดสร้าง 5,599 เหรียญ แบ่งออกเป็นอีกสองเนื้อคือ เนื้อเงิน (มีเพียงบางพระอาจารย์เท่านั้น) และเนื้อทองแดง มีทั้งแบบที่บรรจุในกล่องกำมะหยี่และที่ออกให้บูชาแบบเดี่ยว ๆ ที่นิยมเรียกว่า "เหรียญ 9 พระอาจารย์" นั้นเพราะว่าทางคณะกรรมการจัดทำเป็นเหรียญรูปเหมือนพระเกจิอาจารย์ที่ด้าน หน้า และประทับยันต์ครูของท่านที่ด้านหลัง รวม 9 แบบ คือ หลวงพ่อนอ วัดกลาง หลวงพ่อถิร วัดป่าเรไรย์ หลวงปู่สี วัดเขาถ้ำบุญนาค หลวงพ่อพริ้ง วัดโบสถ์โก่งธนู หลวงพ่อออด วัดบ้านช้าง หลวงพ่อไวทย์ วัดบางซ้าย หลวงพ่อหน่าย วัดบ้านแจ้ง หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง หลวงพ่อกวย วัดโฆษิตาราม โดยเมื่อปั๊มเหรียญเสร็จจากโรงงาน คณะกรรมการได้นำเหรียญของแต่ละพระอาจารย์ไปมอบให้ที่วัดเพื่อให้ท่านปลุกเสก เหรียญของท่านล่วงหน้า 1 เดือนก่อนพิธีพุทธาภิเษกใหญ่
    2. พระสมเด็จ 9 ชั้น - จัดสร้างเป็นเนื้อผงแก่น้ำมัน จำนวนการสร้างไม่ได้ระบุ ตามประวัติกล่าวว่าพระชุดนี้หลวงปู่ดู่ท่านตั้งใจออกแบบพิมพ์และมวลสาร เพื่อถวายให้หลวงปู่สี วัดเขาถ้ำบุญนาคเป็นกรณีพิเศษ โดยด้านหน้าจะล้อพิมพ์พระสมเด็จวัดไชโย ด้านหลังเป็นยันต์ครูของหลวงปู่สี วัดเขาถ้ำบุญนาค และมีคำว่า "วัดเขาถ้ำบุญนาค อ.ตาคลี" ประทับอยู่ใต้ยันต์ครู โดยหลวงปู่ดู่ท่านได้มอบผงมหาจักรพรรดิ์จำนวนหนึ่งไปผสมเป็นมวลสาร จากนั้นนายเรียนจึงนำเรื่องนี้ได้กราบเรียนหลวงปู่สีทราบ ซึ่งท่านก็อนุโมทนาและอนุญาตตามนั้นและได้มอบผงวิเศษของท่านมาอีกจำนวนหนึ่ง สุดท้ายหลังจากได้มวลสารและกดพิมพ์เป็นองค์พระเสร็จเรียบร้อยแล้ว หลวงปู่ดู่ท่านได้บอกให้นายเรียนนำพระสมเด็จชุดนี้กลับไปให้หลวงปุ่สีท่าน ปลุกเสกเป็นปฐม ซึ่งหลวงปู่ท่านก็เมตตาปลุกเสกให้เป็นกรณีพิเศษ 1 เดือน (เป็นพระอีกชุดหนึ่งของสายนี้ที่ปลุกเสกนานมาก) เสร็จแล้วจึงให้นายเรียนมารับกลับไปเพื่อรอเข้าพิธีพุทธาภิเษกใหญ่
    3. พระแก้ว 3 ฤดู - จัดสร้างเป็นเนื้อผงและมีการลงสีเขียวที่พระวรกาย ปิดทองที่เครื่องทรง เฉกเช่นเดียวกับพระแก้วมรกตที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม จ.กรุงเทพฯ จำนวนการสร้างไม่ได้ระบุไว้ มีทั้งแบบบรรจุกล่อง (ครบ 3 ฤดู) และที่ออกให้บูชาแบบเดี่ยว ๆ ด้านหน้าเป็นรูปพระแก้วมรกตทรงเครื่องตามฤดู (ร้อน / ฝน / หนาว) ด้านหลังประทับยันต์พระเจ้าห้าพระองค์ (นะโมพุทธายะ) และมีคำว่า "วัดรัตนชัย (จีน) อยุธยา"
    4. พระสามสมัย - จัดสร้างเป็นเนื้อผงโดยแบ่งออกเป็น 3 พิมพ์ คือ เชียงแสน สุโขทัย อู่ท่อง ขนาดจะเล็กประมาณพระของขวัญ วัดปากน้ำ จำนวนการสร้างไม่ได้ระบุไว้ ด้านหน้าเป็นรูปพระพุทธรูปและที่ใต้พระพุทธรูปจะมีคำอธิบายศิลปะของพระพุทธ รูปไว้ด้วย คือ เชียงแสน หรือ สุโขทัย หรือ อู่ทอง ด้านหลังประทับยันต์พระเจ้าห้าพระองค์ (นะโมพุทธายะ) และมีคำว่า "วัดเขาใหญ่ สุพรรณบุรี"
    เกล็ดเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่เล่าขานมาสืบมาเกี่ยวกับพิธีจตุรพิธพรชัย ว่ากันเป็นประเด็นเล็ก ๆ น้อย ๆ ดังนี้

    ครูบาอาจารย์หลายรูปรวมถึงหลวงพ่อกวยกล่าวกับศิษย์ของท่านว่า "พิธีนี้ศักดิ์สิทธิ์มาก"

    พิธีนี้หลวงปู่ดู่ท่านให้นายเรียนนิมนต์หลวงปู่สี วัดเขาถ้ำบุญนาคมาร่วมพิธีพุทธาภิเษก แต่ขณะนั้นท่านอายุ 126 ปีเข้าไปแล้ว ท่านจึงมอบหมายให้พระอาจารย์สมบูรณ์ ศิษย์ก้นกุฎิและดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสในขณะนั้นไปร่วมพิธีในนามของท่าน แต่จะว่าไปแล้วเรื่องที่คนคิดไม่ถึงก็คือ หลวงปู่สีท่านก็ได้เดินญาณมาร่วมพิธีพุทธาภิเษกเช่นเดียวกัน เพราะท่านถือว่าท่านได้รับรับนิมนต์หลวงปู่ดู่ไว้แล้ว

    พิธีนี้ว่ากันว่า นอกจากหลวงปู่สี วัดเขาถ้ำบุญนาค เดินญาณมาร่วมพิธีพุทธาภิเษกแล้ว ยังมีอีกรูปหนึ่งที่เดินญาณมาร่วมพิธีเหมือนกัน ซึ่งก็คือ หลวงปู่ดู่ วัดสะแก เพราะท่านรับปากนายเรียนว่าจะช่วยปลุกเสกอย่างเต็มที่

    ลูกศิษย์ท่านหนึ่งของหลวงพ่อกวยเคยถามว่า "หลวงปู่สี วัดเขาถ้ำบุญนาค เป็นใคร ทำไมถึงมีเหรียญของท่านในชุดเหรียญ" หลวงพ่อกวยท่านตอบว่า "ท่านเป็นพระอรหันต์.."

    หลังจากพุทธาภิเษกเสร็จ มีนักเลงพื้นที่พูดคุยกันว่า "จะขลังแค่ไหน.." ปรากฎว่าคำพูดนี้ได้ยินไปถึงนายเรียน ทำให้นายเรียนนำความนี้เข้าปรึกษาครูบาอาจารย์ในพระอุโบสถว่า "จะทำอย่างไรดี.." เพราะเป็นที่ทราบกันว่าสมัยนั้นการลองของประเภทจะ ๆ นิยมกันมาก เช่น เอาปืนยิง เพราะต้องการทดสอบพุทธคุณในวัตถุมงคลนั้น ๆ ว่าดีจริงเพียงใด ถ้าสมมติว่า "ยิงออกหรือเหรียญโดนยิงทะลุ" ทุกอย่างที่ทำมาเป็นอันจบกัน ซึ่งในเวลานั้นครูบาอาจารย์ที่พรรษาน้อยไม่กล้าออกความเห็นจึงสงบนิ่งเพื่อ ให้ท่านที่พรรษาสูงกว่าปรึกษาและตัดสินใจกัน ระหว่างนั้นหลวงพ่อกวย ท่านได้ขออนุญาตครูบาอาจารย์ทุกรูปว่า "กระผมอาสา.." หลังจากนั้นท่านจึงนำเหรียญรูปเหมือนของท่านติดตัวไปด้วยหนึ่งเหรียญออกไป นอกพระอุโบสถ แล้วพูดขึ้นว่า "ใครจะเอาไปลองบ้าง" ปรากฎว่านักเลงคนหนึ่งขออาสาเป็นผู้ทดสอบ และได้นำเหรียญดังกล่าวไปยิงที่หลังพระอุโบสถ ปรากฎว่า "แชะ ๆ ๆ.." และได้นำเหรียญมาคืนหลวงพ่อกวยท่านพร้อมขอขมาท่าน พอชาวบ้านที่เห็นเหตุการณ์ดังกล่าวก็ประจักษ์ในพุทธคุณและเริ่มบอกปากต่อปาก ไปในวงกว้าง ส่วนหลวงพ่อกวยท่านจึงกลับเข้าไปในพระอุโบสถพร้อมกับกล่าวว่า "เรียบร้อย.."

    ก่อนพระเกจิอาจารย์ทั้งหมดจะเดินทางกลับวัด ทางคณะกรรมการได้มอบวัตถุมงคลในพิธีนี้จำนวนหนึ่งให้แก่พระเกจิอาจารย์ทุก รูป เพื่อให้ท่านนำกลับไปแจกลูกศิษย์ลูกหาที่วัด ทำให้วัตถุมงคลในพิธีนี้กระจายในหลายพื้นที่
    มหาพิธีพุทธาภิเษก วัตถุมงคลจตุรพิธพรชัย ที่วัดรัตนชัย เมื่อปี พ.ศ. 2518 นั้น หลวงพ่อกวยท่านพบอภินิหารของพระคณาจารย์ผู้ร่วมพิธีปลุกเสกหลายรูปด้วยกัน เมื่อท่านเดินทางกลับมาถึงวัดโฆสิตาราม ได้เล่าให้คณะศิษย์ฟังว่า พระวัดกลาง อ.ท่าเรือฯ (หมายถึงหลวงพ่อนอ) มีคุณวิเศษในทาง มหาอุดเป็นเลิศ พระวัดบ้านช้าง อ.วังน้อยฯ (หมายถึงหลวงพ่อออด) มีความเข้มขลังทางคงกระพันชาตรี เวลาปลุกเสก ตัวเฑาะว์จะหลุดลอยออกมาจากในปาก พระวัดโบสถ์ ลพบุรี (หมายถึงหลวงพ่อพริ้ง) มีดีทางแคล้วคลาด กำบังภัยอย่างยอดเยี่ยม


    _1_~2.JPG

    "เนาว์สถิตย์" (NAOSATITT) [webmaster]

    IP : 27.130.37.xxx | เมื่อ: 6 สิงหาคม 2555 เวลา: 15:22:12 น.

    พระผง พระพุทธศรีมณฑป จ.อ่างทอง (สร้างพร้อมกับพระพุทธ 3 สมัย) วัดสุวรรณดาราราม อยุธยา
    พระผงที่นำฝากพิธีจตุรพิธพรชัย ซึ่งเป็นพิธีดีพิธีหนึ่ง พระผงชุดนี้เนื่องจากพระผงชุดสามสมัยของวัดเขาใหญ่นั้น ได้มีการนำเข้าพิธีที่วัดเขาใหญ่เองใน วันที่ ๖ เมษายน ๒๕๑๗ และนำเข้าพิธีจตุรพิธพรชัย อีกครั้ง ๑ มิถุนายน ๒๕๑๗ ที่วัดรัตนชัย(วัดจีน)….ในพิธีแรกนั้นมีพระผงชุดหนึ่งที่เข้าร่วม เป็นพระผงพิมพ์พระพุทธมณฑป วัดสุวรรณดาราราม อยุธยา
    พระทั้งสองชุดนี้คือ พระศรีมณฑป และพระชุดเขาใหญ่กดพิมพ์โดยผู้สร้างท่านเดียวกันคือท่านเจ้าอาวาสวัดสุวรรณดารราม และทำพิธีพุทธาภิเษกอาราธนาคุณพระครั้งแรกที่มณฑลพิธีวัดสุวรรณดาราราม จากนั้นท่านพัสดีเรียนจึงขอแบ่งพระพิมพ์ต่าง ๆ มาเก็บรักษาไว้ครึ่งหนึ่ง และดำเนินการสร้างเหรียญคณาจารย์ชุดที่มาประกอบพิธีพุทธาภิเษกเพิ่มขึ้น ระยะเวลาประมาณ ๑ ปี จากนั้นจึงขอความเมตตาพระคณาจารย์ผู้ทรงคุณมาทำพิธีที่วัดหอรัตนชัยอีกครั้ง โดยเป็นพระคณาจารย์ชุดเดียวกันทั้งสองครั้ง แล้วจึงนำไปถวายให้หลวงปู่ดู่อาราธนาคุณพระบรรจุคุณอีกครั้งจึงนำไปออกให้บูชาที่วัดเขาใหญ่
    รายนามพระเถราจารย์ผู้มาพุทธาภิเษก
    1. พระครูสังวรวิมล (หลวงปู่โต๊ะ) วัดประดู่ฉิมพลี อ.บางกอกใหญ่ จ.กรุงเทพฯ
    2. พระครูประสาทวิทยาคม (หลวงพ่อนอ) วัดกลาง อ.ท่าเรือ จ.พระนครศรีอยุธยา
    3. พระรักขิตวันมุนี (หลวงพ่อถิร) วัดป่าเรไรย์ อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี
    4. พระโบราณคณิสสร (หลวงพ่อใหญ่) วัดสะแก อ.อุทัย จ.พระนครศรีอยุธยา
    5. พระครูประสาทวรคุณ (หลวงพ่อพริ้ง) วัดโบสถ์โก่งธนู อ.เมือง จ.ลพบุรี
    6. พระครูสันทัดธรรมคุณ (หลวงพ่อออด) วัดบ้านช้าง อ.วังน้อย จ.อยุธยา
    7. พระครูกัลยานุกูล (หลวงพ่อเส่ง) วัดกัลยาณมิตร อ.ธนบุรี จ.กรุงเทพฯ
    8. หลวงพ่อกวย วัดโฆษิตาราม อ.สรรคบุรี จ.ชัยนาท
    9. พระครูอดุลวรวิทย์ (หลวงพ่อไวทย์) วัดบางซ้าย อ.บางซ้าย จ.พระนครศรีอยุธยา
    10. หลวงพ่อหน่าย วัดบ้านแจ้ง อ.บางปะหัน จ.พระนครศรีอยุธยา
    11. พระราชสุวรรณโสภณ วัดพนัญเชิง อ.เมือง จ.พระนครศรีอยุธยา
    12. พระครูศรีพรหมโสภิต (หลวงพ่อแพ) วัดพิกุลทอง อ.ท่าช้าง จ.สิงห์บุรี
    13. พระครูสังฆรักษ์ (หลวงพ่อเฉลิม) วัดพระญาติการาม อ.เมือง จ.พระนครศรีอยุธยา
    14. พระครูภัทรกิจโกศล (หลวงพ่อหวล) วัดพุทไธสวรรค์ อ.เมือง จ.พระนครศรีอยุธยา
    15. หลวงพ่อโปร่ง วัดขุนทิพย์ อ.อุทัย จ.พระนครศรีอยุธยา
    16. หลวงพ่อสมบูรณ์ วัดเขาถ้ำบุญนาค อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์ (ศิษย์ก้นกุฎิของหลวงปู่สี วัดเขาถ้ำบุญนาค มาในนามของท่าน)

    สรุปคือพระที่วัดเขาใหญ่เสก ๒ รอบ โดยพระเถราจารย์ชุดเดียวกัน ขอให้ท่านที่ได้ไว้เก็บรักษาให้ดีเถิดครับเป็นมงคลวัตถุเครื่องคุณพระที่มีคุณค่ามากจริง ๆ


    wbp_20051006223254.jpg

    "เนาว์สถิตย์" (NAOSATITT) [webmaster]

    ได้อ่านแล้วทำให้ทราบว่าเหรียญจตุรพิธพรชัย 9 คณาจารย์ปลุกเสกครั้งเดียวในวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2518
    แต่พระผง 3 สมัยปลุกเสกถึง 2 พิธี
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 พฤษภาคม 2014

แชร์หน้านี้

Loading...