จะเริ่มฝึก สติปัฏฐาน4 แต่ยังไม่รู้เริ่มยังไงดี

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย Sir-Pai, 2 กันยายน 2013.

  1. Sir-Pai

    Sir-Pai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 เมษายน 2010
    โพสต์:
    1,157
    ค่าพลัง:
    +3,358
    คือผมอยากฝึกมากๆครับ แต่ไม่รู้ต้องเริ่มยังไงดี เอาแบบนั่งสมาธิหรือใช้ชีวิตประจำวันแล้วรู้จิตหรือกายตัวเองต่างๆ ยังไงดี พี่ๆช่วยแนะนำหน่อยนะครับ

    ขอบคุณมากนะครับ
     
  2. บุรุษไร้เงา

    บุรุษไร้เงา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2007
    โพสต์:
    8,427
    ค่าพลัง:
    +35,049
    แวะมาเป็นแผนกให้กำลังใจครับ..
     
  3. ฐสิษฐ์929

    ฐสิษฐ์929 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    876
    ค่าพลัง:
    +1,844
     
  4. ตั้งฉาก

    ตั้งฉาก เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 เมษายน 2013
    โพสต์:
    495
    ค่าพลัง:
    +573
    กาย
    เวทนา
    จิตตา
    ธรรมา

    ก้อ นั่งสงบๆ บริกรรม ข้างบนไปเรือยๆ อะไร โผล่มาก้อ ดู แล้ว ละ ทำง่ายๆ แค่นี้แหละ ไม่ต้องซับซ้อนมาก
     
  5. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย หนทางนี้เป็นที่ไปอันเอก
    เพื่อความบริสุทธิ์ของเหล่าสัตว์ เพื่อล่วงความโศกและปริเทวะ
    เพื่อความดับสูญแห่งทุกข์และโทมนัส
    เพื่อบรรลุธรรมที่ถูกต้อง เพื่อทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน

    หนทางนี้ คือ สติปัฏฐาน ๔ ประการ ๔ ประการ เป็นไฉน
    ดูกรภิกษุทั้งหลายภิกษุในธรรมวินัยนี้
    พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะมีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ๑
    พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ๑
    พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ๑
    พิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะมีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ๑ ฯ
    จบอุทเทสวารกถา

    [๒๗๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกายอยู่อย่างไรเล่า
    ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไปสู่ป่าก็ดี ไปสู่โคนไม้ก็ดี ไปสู่เรือนว่างก็ดี
    นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า เธอมีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า
    เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า เราหายใจออกยาว เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่า เราหายใจเข้ายาว
    เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า เราหายใจออกสั้น เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า เราหายใจเข้าสั้น
    ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้ตลอดกองลมหายใจทั้งปวงหายใจออก
    ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้ตลอดกองลมหายใจทั้งปวงหายใจเข้า
    ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับกายสังขารหายใจออก
    ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับกายสังขารหายใจเข้า

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย นายช่างกลึงหรือลูกมือของนายช่างกลึงผู้ขยัน
    เมื่อชักเชือกกลึงยาว ก็รู้ชัดว่า เราชักยาว เมื่อชักเชือกกลึงสั้น ก็รู้ชัดว่า เราชักสั้น
    แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า เราหายใจออกยาว
    เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้ายาว เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า เราหายใจออกสั้น
    เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า เราหายใจเข้าสั้น
    ย่อมสำเนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวงหายใจออก
    ย่อมสำเนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดกองลมทั้งปวงหายใจเข้า
    ย่อมสำเนียกว่า เราจักระงับกายสังขารหายใจออก
    ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับกายสังขารหายใจเข้า
    ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายภายในบ้าง
    พิจารณาเห็นกายในกายภายนอกบ้าง
    พิจารณาเห็นกายในกายทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง
    ^
    ^
    เริ่มต้นตามพระสูตรที่พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้ดีแล้วครับ

    เมื่อ"รู้จักกายในกายเป็นภายใน"ดีแล้ว

    ก็จะรู้จัก เวทนา จิต และธรรมตามไปด้วยเช่นกัน

    มีพระบาลีรับรองไว้ชัดเจน

    "ดูก่อนกิกษุทั้งหลาย อานาปานสติ

    เมื่อพวกเธอกระทำให้มากเจริญในมาก ย่อมทำให้สติปัฏฐาน๔นี้บริบูรณ์"


    เจริญในธรรมทุกๆท่าน
     
  6. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    “อานาปานสติ ภิกฺขเว ภาวิตา พหุลีกตา จตฺตาโร สติปฏฺฐาเน ปริปุเรนฺติ,
    จตฺตาโร สติปฏฺฐานา ภาวิตา พหุลีกตา สตฺต โพชฺฌงฺเค ปริปุเรนฺติ,
    สตฺต โพชฺฌงคา ภาวิตา พหุลีกตา วิชฺชา วิมุตฺตึ ปริปุเรนฺติ.

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานาปานสตินี้ ถ้าทำให้เกิดขึ้น
    ทำให้บ่อยๆแล้ว ย่อมได้ชื่อว่า ทำสติปัฏฐานสี่ให้บริบูรณ์,

    สติปัฏฐานสี่นี้ ถ้าทำให้เกิดขึ้น ทำให้บ่อยๆแล้ว
    ย่อมได้ชื่อว่า ทำโพชฌงค์เจ็ดให้บริบูรณ์,

    โพชฌงค์เจ็ดนี้ ถ้าทำให้เกิดขึ้น ทำให้บ่อยๆแล้ว
    ย่อมได้ชื่อว่า ทำวิชชาจิตหลุดพ้นทุกข์ให้บริบูรณ์ ดังนี้”

    BlogGang.com : : ˹���硹Դ�����

    เจริญในธรรมทุกๆท่าน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 กันยายน 2013
  7. solardust

    solardust เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มีนาคม 2013
    โพสต์:
    250
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +1,773
    แชร์ประสบการณ์นะครับ เคยฝึกมาสมัยยังหนุ่มๆ

    ง่ายสุด เริ่มจากดูกายก่อนครับ
    ดูกาย ก็ให้มีสติตามระลึกรู้อยู่ ตามดูร่างกายเรา ในทุกๆ motion นะครับ
    หรือถ้าพื้นด้านสมาธิของคุณ อยู่ระดับเทพแล้ว ให้เริ่มจากเอาสติตามระลึกรู้ ตามดู ลมหายใจเข้า-ออก แทนก็ได้
    แต่พื้นสมาธิผมห่วยแตก ก็เลยไปเริ่มเอาที่ เอาสติตามดูกายแทน

    สติจากการตามดูจะต่างกับ สติตอนเข้าสมาธินิดนึง
    สติจากการทำสมาธิ ขอบเขตุ จะแคบลง แคบลง ตามความลึกของสมาธิที่เข้าได้ แต่กำลังจะยิ่งมากขึ้น
    สติจากการเจริญสติ ขอบเขตุจะกว้างขึ้น กว้างขึ้น จนรู้ไปทั้ง กาย เวทนา จิต ทีเดียวทั้งหมด
    แม้ว่าจะกำหนดจิตตามดูลมหายใจในชีวิตประจำวันอยู่ตลอดเวลาก็ตาม
    และสติที่ผ่านการฝึกแบบนี้ จะมีความรวดเร็ว เฉียบคม จนสามารถมองเห็นความเกิดดับ ของสิ่งต่างๆ ได้แบบสโลโมชั่น
    จนสามารถเข้าใจคำว่า สันตติรูป โดยการตามดูได้

    เมื่อเจริญสติด้วยการตามดูกายจนถึงที่สุดแล้ว -----> (สุดของผมนะครับ คือผมทำได้แค่นี้)
    จะมีความรู้สึกเหมือน มีเราสองคนซ้อนกันอยู่ คนหนึ่งใช้ชีวิตตามปรกติ อีกคนดูอยู่ไม่เลิก (24 ชั่วโมงต่อวัน)
    ความรู้สึกตัว จะรู้ตลอดทั่วตัวพร้อมกันทั้งหมด ตั้งแต่เส้นผมจรดฝ่าเท้า ตลอดเวลา

    ทั้งหมดนี้ผมเริ่มจาก ดูแค่การขยับมือกับแขนนะครับ
    แต่พอชินแล้วตรงไหนขยับ จิตมันก็ไปเฝ้าดูตรงนั้น
    ดูไปดูมา มันก็เห็นทั้งตัว ตลอดเวลาของมันเอง

    ------------------------------------------

    อันดับต่อไป ตามดูอารมณ์
    จริงๆแล้ว พอสติรู้ทั่วตัวแล้ว พออารมณ์ไหว ใจไม่นิ่ง มันก็เห็นด้วย โดยอัตโนมัติ
    แต่ของผม เวลารู้สึกตัวว่า มีอารมณ์อะไรโผล่มา ก็หยุดดูกาย แล้วไปนั่งมองการเกิดดับ กับรูปร่างลักษณะของมัน(อารมณ์)ด้วย
    ดูจนมันดับไป แล้วก็ไปดูกายต่อ

    ---------------------------------------------

    อันดับต่อไป ตามดูจิต
    ตอนดูจิตนี่ ผมหัดดูตอนนั่งสมาธิ นั่งตามปรกติ อยากเล่นกรรมฐานกองไหนก็เล่นไป
    ว่างๆก็สังเกตุไปด้วย ว่าอารมณ์ต่างๆในสมาธิมันผุดมาจากตรงไหน
    แรกๆก็ไม่เห็น ดูไปดูมา ก็สังเกตุได้ว่า กระแสอารมณ์ มันมาจากแถวลำตัว
    ยิ่งจิตสงบยิ่งเห็นชัด
    ดูไปดูมา เห็นเป็นดวง โผล่ขึ้นมา

    ---------------------------------------------------

    อันนี้สำคัญมากนะครับ
    จิตฟุบ มีอาการยังไง จิตฟู มีอาการยังไง จิตปรกติ มีอาการยังไง เราจะเริ่มเห็นที่ตอนนี้แหละ

    บางครั้งที่อารมณ์เรายังไม่ป่วนมาก แต่จิตมันฟุบเป็นดวงหม่นไปก่อนแล้ว
    เราก็สมาทานศีล 8 แล้วเก็บตัวนั่งสมาธิไปเลย
    รักษาจิตไว้ ไม่ให้ฟุบ ไม่ให้ฟู ให้มันผ่องใส ให้มันปรกติอยู่ตลอดเวลาได้
    ถ้าเรามองไม่เห็นตรงนี้ หลังจากจิตฟุบไปซักพัก มีอะไรมากระทบนิดหน่อยมันก็หม่น
    อารมณ์ต่างๆมันก็เข้าแทรก พออารมณ์มันเข้าแทรกได้ ทีนี้ก็กู่ไม่กลับละ

    แล้วซักพัก เมื่อสติมันดีขึ้น จะเห็นความสัมพันธุ์ ของจิตเรา อารมณ์เรา ร่างกายเรา สภาพแวดล้อมรอบๆเรา
    เห็นแบบเป็นภาพสโลว์ เลยครับ

    ----------------------------------------------------

    ส่วนผลข้างเคียงจากการฝึกสตินะครับ
    ถ้าฝัน จะบังคับตัวเองในฝันได้
    ถ้าเคยฝันว่ากำลังวิ่งหนีอะไรซักอย่างจนตื่นละก็
    ตอนนี้จะเริ่มคิดในความฝันได้ หยุดวิ่งแล้วหันกลับไปมองได้ เดินย้อนกลับไปดูได้ว่าเราหนีอะไรมา

    ถ้าฝันถึงสถานที่หนึ่งที่ใด ทีนี้สนุกเลยครับ ซ้าย ขวา หน้า หลัง บน(เหาะไป) ล่าง(ดำดิน ดำน้ำ) ไปได้ตามใจชอบทุกทิศ

    ถ้าไม่ฝัน จะรู้สึกตัวตลอดตั้งแต่หัวจรดเท้า เห็นภาพตัวเองชัดเจน นอนกรนอยู่ นอนน้ำลายไหลอยู่ เห็นตัวเองชัดเจนหมด

    ---------------------------------------------------

    อึกอันไม่รู้เกี่ยวหรือเปล่านะครับ คือ ผมฝึกสมาธิคู่ไปกับการฝึกสติ
    หลังจากช่วงนี้ จะเริ่มเห็นผี และถอดจิตออกมาได้
    คือถ้าคุณฝึกสติอย่างเดียว ผมไม่รับรองผลนะครับ
    ถ้าฝึกไปคู่กันเหมือนผม ก็น่าจะได้ผลเหมือนกัน
     
  8. telwada

    telwada เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2004
    โพสต์:
    1,509
    ค่าพลัง:
    +1,817
    หลายๆท่านได้แนะนำให้คุณเจ้าของกระทู้ไปแล้ว ข้าพเจ้าจะเสริมให้พอเข้าใจ เพราะการที่บุคคลจะทำสิ่งใด หากไม่รู้ไม่เข้าใจในการกระทำสิ่งนั้น ก็ย่อมยาก อาจมีข้อผิดพลาด เสียเวลา และอะไรอีกหลายๆอย่าง ซึ่ง อาจจะทำให้เกิดอาการที่ผิดปกติภายในจิตใจได้ นี้เรื่องจริงนะขอรับ

    ข้าพเจ้าเอง ถูกอบรมขัดเกลามาเพียงด้านเดียว อันเป็นด้านพื้นฐานของการมีสติ ก็คือ การปฏิบัติสมาธิ อย่างอื่นที่เกี่ยวกับ สติปัฏฐานสี่ ข้าพเจ้าไม่ได้รู้เรื่องอะไรเลย มารู้เรื่องเอาก็เมื่อตัวเอง ไปไกลเกินกว่าที่จะกลับหลังมาอีก
    แต่ด้วยความที่มีจิตใจรักในพุทธศาสนา ข้าพเจ้าจึงหันกลับมาศึกษาทางด้านพุทธศาสนาในบางอย่างบางตอนที่ลึกซึ้งลงไป เพื่อเอาไว้เปรียบเทียบ และเอาไว้อธิบายให้ผู้ศรัทธาในพุทธศาสนา ได้รู้ได้เข้าใจอย่างถ่องแท้


    สติปัฏฐาน สี่ เป็นหลักวิธีการในการปฏิบัติ ตั้งแต่ระดับพื้นฐาน เรื่อยไปจนเพื่อให้บุคคลถึง ระดับอริยบุคคล ดังนั้น ใครผู้ใด จะตอบอย่างไรอันเกี่ยวข้องกับการมีสติ ก็ย่อมถูกทั้งนั้น ขึ้นอยู่กับความรู้ความเข้าใจของแต่ละบุคคล
    เนื่องจาก สติปัฏฐานสี่ เป็นหลักวิธีหรือวิธีการในการที่จะปฏิบัติ เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจในหลักธรรมทั้งหลาย อันอาจนำไปสู่ความเป็นอริยบุคคล หลุดพ้นจากอาสวะ จนบรรลุธรรมตั้งแต่ชั้นโสดาบันเป็นต้นไป ในหลักวิธีหรือวิธีการเหล่านั้น จึงเป็นการบอกกล่าวแบบกว้างๆ แต่ถ้าท่านทั้งหลายได้อ่าน และคิดพิจารณาไปอย่างช้าๆ ก็จะพบความลับในหลักวิธีหรือวิธีการ สติปัฏฐานสี่

    การจะปฏิบัติตามหลัก สติปัฏฐานสี่ ต้องประกอบไปด้วยความรู้หลายด้าน คือ ความรู้ด้าน กาย,ความรู้ด้าน เวทนา,ความรู้ทางด้าน จิต,ความรู้ทางด้าน ธรรมะ

    ขอย้ำว่าต้องมีความรู้ตามที่ข้าพเจ้าแนะแนวทางไป จะขาดความรู้อย่างใดอย่างหนึ่งไม่ได้ ถ้าหากบุคคลมีความรู้มีความเข้าใจในทั้งสี่ด้านแล้ว ก็จะเกิดความเข้าใจในหลักวิธีหรือวิธีการแห่ง สติปัฏฐานสี่ อย่างแน่นอน
     
  9. รโชหรณัง

    รโชหรณัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มิถุนายน 2013
    โพสต์:
    547
    ค่าพลัง:
    +732
    ทำอะไรให้รู้ตัว คิดอะไรให้รู้ตัว ดีชั่วให้รู้ตัว จิตใจสงบสุข หรือ ทุกข์ ให้รู้ตัว

    คำถามคือ จะทำอะไรต่อเมื่อรู้ตัวแล้ว
    ตอบว่า ถ้าสติไปช้ากว่า การกระทำ ความคิด ให้คอยเอาสติตามให้ทัน กล่าวคือ เมื่อเผลอไป เรียกว่าสติตามไม่ทัน
    ถ้าสติพอดีกันกับการกระทำ ความคิด และ อารมณ์ ก็เรียกว่าอยู่กับปัจจุบันธรรม ให้ประคองเอาไว้จนจิตกับสติกลมกลืน รู้ก็เหมือนไม่รู้ ไม่ติดไม่ข้อง เบาสบาย เรียกว่า สมาธิเกิดเพราะจิตมีสติและสมาธิ เพราะรู้ทันจนจิตเป็นหนึ่ง

    จากข้างต้นที่อธิบายมานั้น จะเอาสติไปจับกับคำบริกรรม พุทโธก่อนก็ได้ กล่าวคือ เป้าหมายคือทำงานบริกรรมพุทโธแต่อย่างเดียว อย่าได้คิดไปอย่างอื่นให้ได้ระยะเวลานานที่สุดที่จิตไม่เผลอไป หรือจะเจริญสติรู้ตัวกับการกระทำของตน ก็ได้ เช่น เดิน ก้าว นั่ง ขยับ หรือจะดูที่ลมหายใจก็ได้ โดยใช้หลักอย่างเดียวกัน ซึ่งจะต้องมีสติคอยระลึกว่าเราทำไปตามเป้าหมายหรือออกนอกเส้นทางเป้าหมายไปคิดเรื่องอื่น
    หลักคือ รู้ตัวว่าทำอะไร คิดอะไร รู้สึกอย่างไร ดีหรือไม่ดี ให้ประคองให้การงานที่ต้องทำนั้นเป็นไปตามเป้าหมาย
     
  10. อินทรบุตร

    อินทรบุตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    2,511
    ค่าพลัง:
    +7,320
    ท่านเจ้าของกระทู้

    อะไรที่ telwada แนะนำมา ก็อย่าหวังเป็นสาระ และอย่านำไปเป็นหลักปฏิบัติ เพราะเขาเป็นสมาชิก"พิเศษ" ครับ
     
  11. hastin

    hastin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    1,116
    ค่าพลัง:
    +3,085
    อ่านข้อความท่าน solardust แล้ว คิดถึงคำที่รุ่นพี่ผมบอกเลย

    แกบอกผมว่า ถ้าฝันถึงผู้หญิงให้ต่อยเลยแล้ววิ่งหนี

    ผมยังงงอยู่เลย ทำได้ด้วยหรอ ผมเองไม่เคยทำได้ 555

    เล่นฝึกกันซะขนาดนี้เลย นับถือๆ
     
  12. mahamettayai

    mahamettayai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2012
    โพสต์:
    1,199
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +10,673
    ลองฝึกตามแนวทางที่ครูบาอาจารย์ท่านแนะแนวไว้ดีมั้ยคะ ??

    ถ้าสนใจลองเข้าไปศึกษาดูที่ สติปัฏฐานสี่ หลวงปู่คำดี ปภาโส วัดถ้ำผาปู่นิมิตร

    ʵԻѯ�ҹ��� ��ǧ����Ӵ� �����

    หรือครูบาอาจารย์อื่นๆ สายหลวงปู่มั่น อีกหลายท่าน หลายองค์ หรือ หลวงพ่อจรัญ หรือลองค้นในเว็บพลังจิตก็น่าจะมีสมาชิกท่านอื่นๆ มาโพสต์ไว้

    เจริญในธรรม และขออนุโมทนาสาธุในจิตที่เป็นกุศลค่ะ
     
  13. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    สติปัฏฐาน ก็คือหลักการฝึกสติ โดยใช้พฤติกรรมทางกาย กับเอา ความรู้สึกสึกคิด เป็นอุปกรณ์สำหรับฝึกสติหรือเจริญสตินั่นเอง


    http://group.wunjun.com/whatisnippana
     
  14. torelax9

    torelax9 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    167
    ค่าพลัง:
    +527
    สวัสดีครับทุกท่าน วันก่อนผมนอนภาวนาก็มีนิมิตมาแทรก ตอนแรกคิดว่าเราพอมีสติควบคุมนิมิตได้แล่ะ มันชัดคล้ายกับ หากคิดอย่างไรนิมิตจะเป็นไปตามนั้น เผลอแป๊ป(มันไว)สาวในนิมิตเอาก้นมาเบียด(xด้วยตรงสเปกเมื่อก่อนเลย) ก็คิดว่าแค่ก้นมาเบียดไม่เป็นไรหรอก จากนั้นแป๊ปเดียวกายทางกายภาพเปียกเลย โห. นอนภาวนาแต่ฝันเปียก ชาวบ้านเค้ารู้เข้า ... จะจำไว้เจอครา หน้าต่อยสาววิ่งหนีเลย
     
  15. naroksong

    naroksong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    412
    ค่าพลัง:
    +1,135
    ผมใช้วิธีเดินออกกำลังกาย + ดูลมหายใจ

    พยามหาที่ร่มรื่นย์ คนน้อยๆ ไม่อย่างนั้นเดี๋ยวจะกลายเป็นไปมองดูสาวๆ วิ่งแทนนะคร๊าบ

    ขอให้เจริญในธรรมครับ
     
  16. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    solardust
    สติจากการตามดูจะต่างกับ สติตอนเข้าสมาธินิดนึง
    สติจากการทำสมาธิ ขอบเขตุ จะแคบลง แคบลง ตามความลึกของสมาธิที่เข้าได้ แต่กำลังจะยิ่งมากขึ้น
    สติจากการเจริญสติ ขอบเขตุจะกว้างขึ้น กว้างขึ้น จนรู้ไปทั้ง กาย เวทนา จิต ทีเดียวทั้งหมด
    แม้ว่าจะกำหนดจิตตามดูลมหายใจในชีวิตประจำวันอยู่ตลอดเวลาก็ตาม
    และสติที่ผ่านการฝึกแบบนี้ จะมีความรวดเร็ว เฉียบคม จนสามารถมองเห็นความเกิดดับ ของสิ่งต่างๆ ได้แบบสโลโมชั่น
    จนสามารถเข้าใจคำว่า สันตติรูป โดยการตามดูได้

    ^
    ^
    เมื่อบอกมาเองว่าจากประสพการณ์ตอนหนุ่นๆ

    ตอนนี้ความหนุ่มเหลือน้อย คะแนว่าคงบอกได้ว่า

    "สติกว้าง สติแคบ"ต่างกันอย่างไร?

    เพราะไม่เชื่อว่ามี "สติ"ลักษณะนี้เกิดขึ้นมาได้

    ทำให้พระพุทธพจน์ที่พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้ดีแล้วต้องเสียหาย

    โดยเฉพาะ เรื่อง สัมมาสติ สัมมาสมาธิ

    ถ้าผ่านการปฏิบัติมา น่าจะเห็นได้ชัดเจนกว่านี้

    เจริญในธรรมทุกๆท่าน

     
  17. จิตสิงห์

    จิตสิงห์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    619
    ค่าพลัง:
    +687
    ใส่ใจ ๒ ประโยคนี้ให้ดี ปัจจุบันธรรม กับ ปัจจุบันอารมณ์

    ปัจจุบันธรรม คือ สภาวธรรม อาการ ของนามรูปที่เกิดอยู่

    ปัจจุบันอารมณ์ คือ สติระลึกได้ตรงกับสภาวะธรรมที่เกิดอยู่เฉพาะหน้า

    ดูกาย เห็น อนิจจัง เห็น ทุกขัง ชื่อว่าเข้าถึงสติปัฏฐานรู้นามรูป รู้วิปัสสนา ตรงต่อสภาวะธรรม

    กายมี ๒ คือ กายลม และ กายอิริยาบถ

    มีสติใส่ใจความเปลี่ยนแปลง ความมีแล้วไม่มี ความเกิด ความเสื่อม ความคลาย
     
  18. hastin

    hastin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    1,116
    ค่าพลัง:
    +3,085
    ถ้าทำได้มาเล่าเป็นธรรมทานหน่อยนะครับท่าน

    ผมคงอีกไกล เพราะเวลานอนนี่ ก็คือหมดกำลังสมาธิแล้ว

    แต่ถ้าท่านๆมากัน ก็จะตื่นเอง ให้โมทนาบุญเสร็จ หลับต่อ 555
     
  19. solardust

    solardust เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มีนาคม 2013
    โพสต์:
    250
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +1,773
    "สติกว้าง สติแคบ"ต่างกันอย่างไร?
    ขอโทษทีนะครับ เรื่องการใช้ภาษา
    เนื่องจากศึกษามาน้อย ปฏิบัติมาน้อย
    เวลาอธิบาย ก็เลยอาจจะมีการใช้คำพูดที่ไม่ถูกต้องอยู่บ้าง

    แต่ความต้องการจริงๆก็คิอ ต้องการที่จะอธิบายความรู้สึกที่เกิดขึ้นเท่านั้น

    -----------------------------------------------------------------------------------

    ที่ว่า ขอบเขตุของสติ กว้างขึ้น เรื่องมันเป็นแบบนี้ครับ

    ในตอนที่ผมเริ่มหัดเจริญสติด้วยการดูกายนั้น
    ผมเริ่มจาก ดูการขยับของมือและแขน
    เมื่อสติไปจดจ่ออยู่กับการเคลื่อนไหวของมือและแขน
    ส่วนอื่นๆผมก็ไม่ได้ไปสนใจว่ามันจะเคลือนไปมาอย่างไร
    มือและแขนเท่านั้น ที่พยายามใช้สติติดตามดูการเคลื่อนไหวอยู่ ไม่ให้คลาดสายตา
    ให้มีสติระลึกรู้อยู่เสมอว่ามือเรา แขนเรา กำลังเป็นอย่างนี้ อย่างนี้อยู่ ส่วนอื่นไม่สน
    เพราะถ้าสน สติมันจะเคลื่อนออกไปจาก มือและแขน ทำให้ไม่ต่อเนื่องในแบบที่ตัวเองตั้งใจไว้

    ต่อเมื่อฝึกไปเรื่อยๆ จากอาการแค่รู้ชัดตลอดเวลาว่า มือและแขนของเราอยู่ในอาการอย่างนี้ อย่างนี้
    มันก็ลามไปเรื่อย รู้ชัดตลอดเวลา จากมือถึงหัวไหล่
    รู้ชัดตลอดเวลา จากมือถึงลำตัว
    รู้ชัดตลอดเวลา จากมือถึงศรีษะ
    รู้ชัดตลอดเวลา จากมือถึงสะโพก
    รู้ชัดตลอดเวลา จากมือถึงหัวเข่า
    จนวันหนึ่ง ก็รู้ชัดตลอดเวลาตั้งแต่ศรีษะจรดปลายเท้า
    ทั้งๆที่ ในตอนเริ่มฝึกนั้น ให้ความสนใจอยู่แค่มือกับแขนเท่านั้น

    ผมเลยใช้คำว่า ขอบเขตุของสติ นั้นกว้างขึ้น จากการฝึก
    วัตถุประสงค์ของการใช้คำว่าสติกว้างขึ้น ก็เพื่ออธิบาย อาการแบบนี้เท่านั้น

    ถ้าท่านมีคำอื่นเหมาะสมกว่า ผมก็ขอคำแนะนำหน่อยแล้วกัน

    --------------------------------------------------------------------------------------

    ส่วนเรื่อง ขอบเขตุของสติ แคบลง เรื่องมันเป็นแบบนี้ครับ

    ในตอนที่ผมหัดนั่งสมาธินั้น
    แม้จะพยายาม เอาสติติดตามลมหายใจเข้าออก หรือรูปใดๆ อยู่ก็ตาม
    สตินั้นก็ยัง ระลึกรู้ว่า เราอยู่ในห้อง เรานั่งอยู่ มือเราประสานกันอยู่ ขาเราไขว้กันอยู่เป็นต้น
    แม้เมื่อเกิดปิติขึ้น แล้วรู้สึกว่า ร่างกายเราโยกโคลงไปมา เราก็ยังมีสติรู้อยู่ว่า เราโยกออกจากจุด C.G. ที่เรานั่งอยู่หรือไม่
    ฌาน 1 เรายังมีสติรับรู้อยู่ว่า เรายังมีคำภาวนา มีกายนั่ง ตั้งอยู่บนอาสนะ
    ฌาน 2 เราก็ยังมีสติรับรู้อยู่ว่า เรามีกายนั่ง ตั้งอยู่บนอาสนะ สติที่เรารับรู้ถึงคำภาวนา หดหายไปดื้อๆ
    ฌาน 3 เราก็ยังมีสติรับรู้อยู่ว่า เราอยู่ในท่านั่ง ตั้งอยู่ที่ไหน ไม่รับรู้อีกแล้ว
    ฌาน 4 เรามีสติรับรู้อยู่แค่ว่า นี่เรา ไม่รับรู้ถึงร่างกายอีกแล้ว
    ไม่ต้องไปพูดถึงเรื่องที่ว่า ยังนั่งอยู่หรือเปล่า ยังอยู่บนเบาะหรือเปล่า ยังภาวนาอยู่หรือเปล่า ยังหายใจอยู่หรือเปล่า เพราะไม่รับรู้เรื่องเหล่านั้นอีกแล้ว
    แถมยังมีความรู้สึกอีกว่า เรานั้น เป็นจุดเล็กๆ หรือเป็นดวงกลมเล็กๆเท่านั้น

    ทั้งๆที่ตอนเริ่มฝึก ยังรับรู้ได้เลย ว่าเรานั่งอยู่ในห้อง
    รู้แม้กระทั่งว่าเรานั่งบนเบาะ
    รู้แม้กระทั่งว่าเรานั่งท่าทางแบบไหน หายใจเข้าออกยังไง
    พอเข้าฌาน 4 ปั๊บ ไม่รับรู้อะไรเลย
    แม้มีสติตั้งมั่น รู้ตัวอยู่ตลอดเวลา ก็รู้อยู่แค่นั้น ว่ารู้อยู่

    เพื่อต้องการจะอธิบาย อาการที่รับรู้จากการนั่งสมาธิแบบนี้
    ผมเลยใช้คำว่า ขอบเขตุของสติ นั้นแคบลง จากการฝึก
    วัตถุประสงค์ของการใช้คำว่าสติแคบลง ก็เพื่ออธิบาย อาการแบบนี้เท่านั้น

    ถ้าท่านมีคำอื่นเหมาะสมกว่า ท่านก็ช่วยแนะนำ ตรงนี้อีกจุดด้วยครับ

    -------------------------------------------------------------------------------------

    ส่วนเรื่องที่ท่านบอกว่า พุทธพจน์จะเสียหายนั้น
    วานอธิบายเพิ่มเติมทีครับ ว่าพระพุทธองค์ท่านตรัสไว้อย่างไร
    และการอธิบายของผมนั้นทำให้เกิดความเสียหายตรงไหน
    หรือขัดกับพระพุทธองค์อย่างไร

    ขอบคุณครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 กันยายน 2013
  20. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ู^
    ^
    ครับก็แค่ต้องการให้ชี้แจ้งเป็นที่เข้าใจถูกต้อง

    เพื่อการปฏิบัติธรรมจะได้ไม่เกิดควา่มสับสนและเสยหายในภายหลังได้

    สติ=การระลึกรู้ เป็นที่รู้กันอยู่แล้วว่า ระลึกรู้ได้ที่ละขณะเท่านั้น

    ส่วน"ความกว้าง" ิหรือ "แคบ"นั้น เป็นกอบความรู้สึกนึกคิด ไม่ใช่ "สติ"

    ที่ว่า"เกิดความเสียหาย" ก็เพราะ เอาความรู้สึกนึกคิดมาเป็น"สติ"

    ทั้งที่เป็นเพียง"สัญญาอารมณ์" ในขณะที่คิดว่า"ตนเองมีสติ"

    การระลึกรู้นั้น มีเพียงอย่างเดียวคือ"ระลึกรู้อย่างต่อเนื่อง"

    ส่วนที่ไหนนั้น เป็นเรื่องที่ต้องมาพิจารณาจาก"สติปัฏฐาน๔"

    "สติปัฏฐาน" ฐานที่ตั้งของ"สติอย่างต่อเนื่อง" ชัดเจนนะว่า ไม่ใช่ "กว้างหรือแคบ"

    ส่วนขั้นตอนของ"สติ"นั้น ที่พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้ดีแล้ว

    ๑. ระลึกรู้(ที่ไหน) ๒.ระลึกเป็น(สติปัฏฐาน๔) ๓.ระลึกได้แล้ว(ระลึกชอบ)

    เมื่อครู่เพิ่งเห็น พูดเรื่องฌาน ลองไปเทียบเคียงกับ"สัมมาสมาธิ"ดู

    เป็นการลำดับที่ยังปนความสับสนอยู่นะครับ ฌาน๒ มี"ธรรมอันเอกผุดขึ้นมา"

    เจริญในธรรมที่สมควรแก่ธรรมทุกๆท่าน
     

แชร์หน้านี้

Loading...