ธรรมทั้งหลาย มิใช่ อัตตา

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย Samarnl, 3 มิถุนายน 2013.

  1. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ^
    ^
    ก็แสดงว่าคุณลีลาฯ ไม่ใช่แฟนพันธ์แท้

    พูดอยู่เสมอว่า "ยังต้องสดับ ยังต้องก็ทำให้ตื้น"

    คือยังโง่อยู่ ก็ยอมรับว่าโง่อยู่ สักวันคงเป็นจริง สงบนิ่งเที่ยงตรงคงที่

    เจริญในธรรมทุกๆท่าน
     
  2. tokyoo2

    tokyoo2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กันยายน 2012
    โพสต์:
    561
    ค่าพลัง:
    +419
    ผู้รู้ไล่จนมุม เเต่ไม่ยอมจำนนด้วยหลักธรรม มันต้องมีอะไรผิดพลาดเเน่ๆ จนผมสังเกตุเห็นทิฏฐิอีก1ส่วนที่เเอบอยู่. ค่อยๆเผยออกมา ซ้อนกันอยู่เป็นชั้นๆลึกซึ่งและปราณีต ซึ่งมีผมคนนึงที่ เเก้ไข หง่ายจากคว่ำให้ได้
    ด้วยบัญญัติคำสอนที่ว่า
    "ผู้ใดเข้าใจว่า ขันธ์เป็นอัตตา คำพูดของคนผู้นั้นไม่ควรเป็นเท็จ เพราะ ขันธ์เป็นอนัตตา "
    ขยายความเเก้ที่ละชั้น
    ครั้งที่1 บัญญัติสอนชัดเจนว่า ขันธ์เป็นอนัตตา. ไม่ให้ยึดขันธ์เป็นอัตตา ด้วยการชี้(ย้ำ)ให้เข้าใจว่ามันเป็นอนัตตา. ไม่ใช่อัตตาของเรา
    ครั้งที2 บัญญัติสอนว่า ขันธ์เป็นอนัตตา สอนเพื่อให้เห็นอะไรก็ตามที่เรียกว่าอนัตตา ที่มีอยู่ในขันธ์ทั้งหลาย ว่าเป็นสิ่งที่ไม่ใช่เเก่นสาร บังคับบัญชาไม่ได้ ไม่ใช่ของตน เพื่อให้ถอนอัตตา เเต่ไม่ได้สอนว่า อะไรคืออนัตตา ต้องนำมาเป็นของตน
    ครั้งที่3 บัญญัติสอนให้รู้ว่า. ขันธ์เป็นอนัตตา เพื่อให้รู้ว่ามันเป็นสิ่งแปรปรวน ไม่ได้ให้คุณ!สวมความเป็นอนัตตา และไม่ได้สอนให้ คุณ! ไปเป็น อนัตตาด้วย
    สอนเพื่อให้รู้ว่า "อนัตตาคือโทษ" เป็นของเท็จของปลอม เป็นหัวฝี ไม่ใช่อัตตา . ที่ได้ชื่อว่าอนัตตา ก็เพราะมันเป็นของไม่ใช่อัตตา
    สรุป เมื่อสอนไม่ให้ยึดว่าขันธ์เป็นอัตตาเล้ว ก็อย่าหมายความ ว่าเราคืออนัตตา (ไม่ให้เอาขันธ์(สัตว์)เป็นอัตตา แต่อย่าผลิกกลับขันธ์(สัตว์)เป็นอนัตตา). คือ(ย้ำ) ไม่ให้เอาขันธ์เป็นอัตตา ก็อย่าผลิกวิกิตเป็นโอกาส เปลี่ยนจากยึดอัตตา กลายมาเป็นยึดอนัตาเเทน.

    หากเราคิดว่าอนัตตาคือเรา มันก็เเค่เนื่องจากขันธ์ของเรามาก่อน โดยมี สักายะ เป็นเหตุ มีสักกายะ เป็นต้นเหตุนั้นเอง
    ผลคือ. นิพพานก็ต้องเป็นอนัตตา เพราะ ขันธ์(อนัตตา)เป็นของเรา!นั้นเอง ฉนั้นถ้าไม่มีอะไรที่ซอนอยู่จริงๆ คำว่า "ฉันเป็นอนัตตา" ก็จะไม่มี
    อย่างนี้เเลคือมิจฉาที่ดื้อรั้น(สากยะ) ซึ่งอาจจะมองข้ามไป. เปรียบเหมือนเส้นผมบังภูเขาไว้
    ด้วยอาการที่ว่ามาทั้งหมดในกระทู้นี้แล อนุโลม ปฏิโลม. จะเเก้ไขทิฏฐิเนื่องอนัตตาได้ครบวงจร(108) ตั้งเเต่เบื้องต้นถึงปลายได้
     
  3. tokyoo2

    tokyoo2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กันยายน 2012
    โพสต์:
    561
    ค่าพลัง:
    +419
    [๓๘๓] พระนครสาวัตถี. ท่านพระราธะได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์
    ผู้เจริญ ที่เรียกว่า อนัตตา อนัตตา ดังนี้ อะไรหนอเป็นอนัตตา?
    พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่าดูกรราธะ รูปเป็นอนัตตา เวทนาเป็นอนัตตา สัญญาเป็นอนัตตา สังขารเป็นอนัตตา วิญญาณเป็นอนัตตา ดูกรราธะ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี
     
  4. tokyoo2

    tokyoo2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กันยายน 2012
    โพสต์:
    561
    ค่าพลัง:
    +419
    [๓๓๙] พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงละฉันทะในสิ่งที่เป็น
    อนัตตาเสีย ก็อะไรเป็นสิ่งที่เป็นอนัตตา รูปเป็นสิ่งที่เป็นอนัตตา เธอทั้งหลายพึงละฉันทะใน
    รูปนั้นเสีย. เวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณเป็นสิ่งที่เป็นอนัตตา เธอทั้งหลายพึงละฉันทะในวิญญานนั้นเสีย
     
  5. tokyoo2

    tokyoo2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กันยายน 2012
    โพสต์:
    561
    ค่าพลัง:
    +419
    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ สิ่งใดแล เป็นอนัตตา เธอควรละความพอใจใน
    สิ่งนั้นเสีย.
    ภิ. ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้าพระองค์ทราบแล้ว ข้าแต่พระสุคต ข้าพระองค์ทราบแล้ว.
    พ. ดูกรภิกษุ ก็เธอรู้ซึ้งถึงอรรถแห่งคำที่เรากล่าวแล้วอย่างย่อ โดยพิสดารได้อย่างไรเล่า?
    ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ เป็นอนัตตา
    ข้าพระองค์ควรละความพอใจในสิ่งนั้นๆ เสีย. ข้าพระองค์รู้ซึ้งถึงอรรถแห่งพระดำรัสที่พระผู้มี
    พระภาคตรัสแล้วอย่างย่อ โดยพิสดารอย่างนี้แล.
    พ. ดีแล้วๆ ภิกษุ เธอรู้ซึ้งถึงอรรถแห่งคำที่เรากล่าวอย่างย่อ โดยพิสดารอย่างดีแล้ว.
    ดูกรภิกษุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ เป็นอนัตตา ควรละความพอใจในสิ่งนั้นๆ
    เสีย. เธอพึงทราบอรรถแห่งคำที่เรากล่าวแล้วอย่างย่อ โดยพิสดารอย่างนี้เถิด ฯลฯ ภิกษุรูปนั้น
    ได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่ง ในจำนวนพระอรหันต์ทั้งหลาย.
    จบ สูตรที่ ๖.




    ^

    คำที่ว่าพิสดาร. แปลว่า สมบูรณ์ ไม่ยิ่งไปกว่านี้ เต็มๆ
     
  6. Ndantchor

    Ndantchor เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    273
    ค่าพลัง:
    +1,123
    ว่าแล้วเชียว ต้องออกมาในเลกนี้ #300

    ล่ำลึกจริงๆ

    v
    v

    [​IMG]
     
  7. Ndantchor

    Ndantchor เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    273
    ค่าพลัง:
    +1,123
  8. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    นิพพานไม่ใช่อัตตา ไม่ใช่อนัตตา - YouTube

    หลวงพ่อพุธ ฐานิโย เทศน์ ในยูทรูป

    พระพุทธเจ้าจนปัญญาไม่รู้จะหาอะไรมาใช้แทนคำพระนิพพานได้
    เลยใช้คำว่า ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิ อันวิญญู คือผู้รู้พึงรู้เฉพาะตน ดั่งนี้

    ฟังดูมันแปลก ๆ
     
  9. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    ใจคนฟังแปลกๆ เลยออกมาแปลกๆ น่ะครับ
     
  10. จิตสิงห์

    จิตสิงห์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    619
    ค่าพลัง:
    +687
    สมุทยสฺส สมุทยฏฺโฐ อนตฺตฏฺโฐ

    สภาพดับแห่งนิโรธ เป็นสภาพมิใช่ตัวตน
     
  11. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    ในหลักพระพุทธศาสนาจะปฏิเสธตัวตน ไม่มีตนเข้ามาเกี่ยวข้อง
    ถ้าหากมีตนเข้าเกี่ยวข้องก็จะมีอุปาทานเข้ายึดว่ามีตัวตนทันที่
    พระองค์สอนให้ละตัวตนซึ่งเป็นที่ยึดของตัณหาอุปาทาน

    ฉะนั้นคำว่า "อัตตาหิ อัตตาโนนาโถ" แปลว่า ตนเป็นที่พึ่งแห่งตนนั้น
    ตนในที่นี้มีตนอยู่ ๒ ตน ตนแรกนั้นท่านหมายถึง ศีล สมาธิ ปัญญา
    เป็นเกาะเป็นที่พึ่งมีให้ตกล่วงไปในอบายภูมิ ส่วนตนหลังนั้นท่านหมายถึง ขันธ์ ๕ ที่ปรากฎอยู่ในโลกนี้

    แต่ในทางโลกทั่วๆ ไปมักใช้ไปในทางที่ว่า ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน นั้นหมายถึงว่าเราต้องพึ่งตัวเราเอง ฉะนั้นแล
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 15 มิถุนายน 2013
  12. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    ถ้าใช้ศรัทธาฟังเชื่อตามๆกันมา ก็คงไม่แปลกๆ คือฟังแบบไม่ต้องคิดอะไร
    ฟังหูซ้าย ทะลุหูขวา ศรัทธามันเกิน
     
  13. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    ความดับของนิโรธ เป็นการ ดับของจิต กับ เจตสิก กับ จิตตชรูป ลมหายใจดับ
    แต่ รูปมิได้ดับ กรรมชรูปไม่ดับ อุตุชรูปไม่ดับ อาหารชรูปจะไปดับเอาภายใน ๗ วัน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 16 มิถุนายน 2013
  14. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    ลุงหมานฮับ

    ก่อน พระพุทธศาสนาจะอุบัติ ขึ้นบนโลก

    คำว่า " นิพพาน " มีใช้อยู่กลาดเกลื่อนทั่วอินเดียอยู่แล้ว ป่าวฮับ
     
  15. telwada

    telwada เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2004
    โพสต์:
    1,509
    ค่าพลัง:
    +1,817
    ขออภัยต่อท่านทั้งหลายผู้ศรัทธาในพุทธศาสนา ข้าพเจ้าเองก็ไม่ค่อยจะรู้เรื่องภาษาบาลี อะไรนักดอกขอรับ เพราะเป็นคนไทย รู้อยุ่บ้างบางคำบางตัว แต่คนที่ไม่รู้แต่ดันอวดรู้ โดยความที่รู้เท่าไม่ถึงกาล ก็มีอยู่มาก ข้าพเจ้าก็ไม่อยากจะขัดคอหรือขัดขวางความคิดของพวกท่านทั้งหลายดอกขอรับ เพียงแต่บางครั้ง มันเกินไป ไม่รู้แต่ยังดันทุรังบิดเบือนตามที่แปลมานะขอรับ เพราะข้าพเจ้าไม่รู้ภาษาบาลี และก็ไม่รู้ว่า ที่เจ้าของกระทู้นำมากล่าวไว้ เขียนไว้ มีอยู่ในพระไตรปิฏกจริงหรือไม่ เพราะเขาไม่ได้เขียนที่มาที่ไปให้ชัดเจน
    เอาเป็นว่า ที่เขาแปลมา คงจะถูกนะขอรับ แต่การให้ความหมายหรือความเข้าใจของเขา ไม่ถูกขอรับ จะว่าผิดก็คงได้ เพราะความหมายของคำแปลที่ว่า"ในรูปนามขันธ์ ๕ นั้น ไม่มีอัตตา"
    ไม่ได้มีความหมายว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
    แห่งรูปนาม ขันธ์ ๕ นั้น ไม่มีอัตตา
    หรือ รูปนาม ขันธ์ ๕ ทั้งหมดเป็น อนัตตา
    ตัวเรา ก็คือ ตัวเรา แต่ รูปนามขันธ์ ที่ไม่ใช่ตัวเรา ก็ย่อมอยู่นอกเหนือตัวเรา สิ่งที่อยู่รอบข้าง ไม่ใช่ตัวเรา
    ตัวเราเมื่อสิ้นชีวิตแล้ว ก็ไม่ใช่ตัวเรา เพราะไม่มี รูปนามขันธ์ ๕ เหลืออยุ่อีก
    ตราบใดที่ยังมี ขันธ์ ๕ อยู่ครบ หรืออาจจะขาดสิ่งที่ไม่เกี่ยวข้องกับการดับไปของขันธ์ทั้ง ๕ คือยังไม่ตาย ตราบนั้น ขันธ์ ๕ ก็คือ ตัวเรา (อัตตา)
    ท่านทั้งหลายต้องใช้สมองคิดพิจารณาให้ดี หลักธรรมทางศาสนา จะมาแปลความหมาย ให้ความหมาย หรือเข้าใจความหมายในทางที่ขัดกันไปหมด
    มรรค มีองค์ ๘ ให้ดำรงชีวิต ชอบทั้งมวล แต่พวกอวดรู้อวดฉลาดกับบิดเบือนว่า ไม่ใช่อัตตาไม่ใช่ตัวเรา จงทำความเข้าใจซะไม่ ถ้าไม่ใช่ตัวเรา แล้วพวกคุณมานั่งศร้ทธาศาสนา มาค้นหาทางหลุดพ้นเพื่ออะไรกัน ใช้สมองคิดดูเถิดขอรับ
     
  16. จิตสิงห์

    จิตสิงห์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    619
    ค่าพลัง:
    +687
    นิพพานนอกพุทธศาสนา

    เห็นว่ามีตน เห็นว่าเป็นตน เห็นจิตเป็นนิพพาน เห็นนิพพานเป็นจิต

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 มิถุนายน 2013
  17. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    ................ไม่ได้มาขัด ท่านเทลวดา นะครับ...ผมเข้าใจท่าน ฉันทราคะในรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาน นั้นแหละอุปาทาน.....................................พระวจนะ" ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงความสดุ้งหวาดเสียวเพราะอุปาทาน แก่พวกเธอ เธอทั้งหลายจงฟังความข้อนั้น จงทำในใจให้สำเร็จประโยชน์ เราจักกล่าวบัดนี้ ภิกษุทั้งหลาย ความสดุ้งหวาดเสียวเพราะอุปาทานเป็นอย่างไรเล่า ภิกษุทั้งหลายในกรณีนี้ ปุถุชนผู้ไม่มีการสดับ ย่อมตามเห้นนประจำซึ่งรูป ว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นอัตตาของเรา ดังนี้ แต่รูปนั้น ย่อมแปรปรวนเป็นโดยประการอื่นแห่งรูป โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย ย่อมเกิดขึ้นแก่ปุถุชนนั้น(ในกรณีแห่ง เวทนา สัญญา สังขาร และ วิญญาน ก็มีข้อความตรัสเหมือนกับในกรรีแห่งรูป) ภิกษุทั้งหลาย ความสดุ้งหวาดเสียวเพราะอุปาทาน ย่อมมีได้ ด้วยอาการอย่างนี้แล----ขนธ.สํ.17/24/34....[/SIZE]
    :cool:
     
  18. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    [๙๒] พ. ดูกรอานนท์ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้
    ฯลฯ

    ซึ่งอมตะ คือความหลุดพ้นแห่งจิตเพราะไม่ถือมั่น

    ดูกรอานนท์ ด้วยประการนี้แล
    ฯลฯ

    เป็นอันเราแสดงปฏิปทาเครื่องข้ามพ้นโอฆะ คือวิโมกข์ของพระอริยะแล้ว

    ดูกรอานนท์ นั่นโคนไม้ นั่นเรือนว่าง เธอทั้งหลายจงเพ่งฌาน อย่าประมาท
    อย่าได้เป็นผู้เดือดร้อนในภายหลัง นี้เป็นคำพร่ำสอนของเราแก่พวกเธอ ฯ


    อ้างพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔ พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๖
    มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เทวทหวรรค อาเนญชสัปปายสูตร

    .................................................
    ^
    ^

    จิตของเราสิ้นการปรุงแต่ง บรรลุพระนิพพานเพราะสิ้นตัณหาแล้ว(พระพุทธพจน์)

    ความสิ้นตัณหา คือ ความสิ้นราคะ สิ้นโทสะ สิ้นโมหะ(พระนิพพาน)

    ความสิ้นราคะ ความสิ้นโทสะ ความสิ้นโมหะ นี้เรียกว่าอมตะ

    อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ
    นี้แลเรียกว่าทางที่จะให้ถึงอมตะ.

    ซึ่งอมตะ คือความหลุดพ้นแห่งจิตเพราะไม่ถือมั่น

    เจริญในธรรมที่เป็นสัจธรรมจากพระโอษฐ์ทุกๆท่าน


    ปล.ใครก็ไม่รู้ที่ชอบว่า คนอื่นเอาอัตโนมัติอาจารย์มาอ้าง แต่ตนเองทำเป็นประจำ
    คนโบณาณพูดไว้ไม่เคย"ผิด" ที่"ผิด" คือพวกที่ไม่รู้จักคำว่า"ละอายแก่ใจ" เรียกว่า"ไม่มียางอาย"
    คนที่ไม่มีความซื่อสัตย์ต่อตนเอง อย่าไปหาสัจธรรมความจริงในคนเหล่านั้น
     
  19. จิตสิงห์

    จิตสิงห์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    619
    ค่าพลัง:
    +687
    สาธุ

    ความสิ้นราคะ ความสิ้นโทสะ ความสิ้นโมหะ นี้เรียกว่าอมตะ

    สาธุ

    ซึ่งอมตะ คือความหลุดพ้นแห่งจิต เพราะไม่ถือมั่น


    เพราะไม่ถือมั่นแม้ตัวจิตเอง จึงไม่ยึดความมีผู้พ้น

    ต่างจาก นิพพานพรหมคือยังมีความยึดมั่นตัวผู้พ้น คือ จิต


     
  20. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    เทวธาวิตักกสูตร....2

    เรานั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจาก
    อุปกิเลส อ่อน ควร แก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ จึงโน้มน้อมจิตไปเพื่ออาสวักขยญาณ
    ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา
    เหล่านี้อาสวะ นี้อาสวสมุทัย นี้อาสวนิโรธ นี้อาสวนิโรธคามินีปฏิปทา

    เมื่อเรานั้นรู้เห็นอย่างนี้ จิตจึงหลุดพ้นแล้ว แม้จากกามาสวะ แม้จากภวาสวะ แม้จากอวิชชาสวะ
    เมื่อจิตหลุดพ้นแล้วก็มีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว
    กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ดังนี้

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย วิชชาที่สามนี้แล เราบรรลุแล้วในปัจฉิมยามแห่งราตรี
    เรากำจัดอวิชชาเสียแล้ว วิชชาจึงบังเกิดขึ้น กำจัดความมืดเสียแล้ว ความสว่างจึงบังเกิดขึ้น
    ก็เพราะเราไม่ประมาท มีความเพียรเครื่องเผากิเลส ส่งตนไปอยู่ฉะนั้น.

    http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=12&A=3953&Z=4098

    ^
    ^
    พระพุทธพจน์ชัดๆนะ

    "เรานั้น" เมื่อ"จิต"เป็นสมาธิ
    เมื่อ"เรานั้น"รู้เห็นอย่างนี้ "จิต"จึงหลุดพ้นแล้ว[/b]

    จิตคือเรานั้น เรานั้นคือจิตใช่หรือไม่?
    จิตจึงหลุดพ้นแล้ว แม้จากกามาสวะ แม้จากภวาสวะ แม้จากอวิชชาสวะ
    เมื่อจิตหลุดพ้นแล้วก็มีญาณหยั่งรู้ว่า จิตหลุดพ้นแล้ว
    รู้ชัดว่า จิตไม่ต้องกลับมาเกิดอีกแล้ว(ชาติสิ้นแล้ว) พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว

    ต้องยอมใจจริงๆ "เด็กว่าดื้อ ใครก็ไม่รู้ดื้อจน...ยิ่งกว่าเด็กเสียอีก"

    เจริญในธรรมที่เป็น(พระธรรม)พระพุทธพจน์ทุกๆท่าน
     

แชร์หน้านี้

Loading...