ไม่ใช้คำบริกรรมได้หรือไม่

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย pupreecha, 21 เมษายน 2013.

  1. บุคคลทั่วไป 3 คน

    บุคคลทั่วไป 3 คน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,938
    ค่าพลัง:
    +1,253

    อ่านธรรมะ ให้มันครบๆ สิคร้าบท่าน

    ไม่ใช่ เป็นนกแก้ว นกขุนทอง เห็นคำ ปรากฏ ก็ มั่นใจ สาบส่ง ชาวบ้าน ลงนรก ไปทั่ว
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 เมษายน 2013
  2. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,941
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    พระพุทธเจ้า สอน บริกรรม

    อ้างว่า บริกรรม เป็น มิจฉา

    หรือถึงขนาดเป็น มารผู้ลามก กล่าวอ้างว่า พระพุทธเจ้าไม่ได้สอนบริกรรม

    ก็ปล่อยให้เป็นไปตาม กฏแห่งกรรม
     
  3. บุคคลทั่วไป 3 คน

    บุคคลทั่วไป 3 คน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,938
    ค่าพลัง:
    +1,253
    เอ้า ก็ คนเข้าตั้งคำถามว่า ลำพังบริกรรมทำให้ได้ มรรคผล หรือเปล่า !?

    เขาเน้น ตรงมรรคผลเกิด เขาไม่ได้เน้นว่า สอนบริกรรมบ้างไหม

    แต่ ถ้าอ่านเป็น ก็นั่น บริกรรมจนได้ ฌาณ4 ก็ยังอุตสาห์ นั่งสงสัยโน้น
    สงสัยนี่ เห็นดอกบัวด้วยพุทธนิมิต ก็ยังดำริว่า ดอกบัวนี้หมองเพราะ
    พระพุทธองค์เจตนาทำให้หมอง เลยสงสัยว่า จะมีสังขารที่พ้นเจตนา
    มาลวงให้เห็นแล้วมันหมองเองได้ไหม พอเห็น ดอกบัวที่เด็กเด็ดมา
    หมองได้เอง ก็สงสัยต่ออีก เอ จะตัดเข้าสู่ความสงบ ดีไหมหนอ

    เดชะบุญ พระพุทธองค์ทรงเล็งญาณมา ก็เลยมาสำทับอีกทีด้วย

    กรรมฐานจึงเริ่มต้น เอาตอนนี้ พึ่งเริ่มเอาตอนท้ายนี่ แต่พอจบ
    คาถาก็บรรลุมรรคผลไป
     
  4. บุคคลทั่วไป 3 คน

    บุคคลทั่วไป 3 คน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,938
    ค่าพลัง:
    +1,253
    ทีนี้ ก็ต้องดูพวก พุทธวัจนะ จ๋า เขาหน่อย เวลาเขาพูดว่า พระพุทธองค์
    ไม่เคยใช้คำว่า " บริกรรม " พวกนี้กล่าวอย่างนี้ แปลว่าอะไร

    แปลว่า พวกพุทธวัจนะบางจำพวก ใช้โปรแกรม ค้นคำ คำว่า "บริกรรม"
    คนไปแล้ว " ไม่เจอ " พอค้นไม่เจอ พวกนี้ก็บอกทันทีว่า ไม่ใช่ คำ
    ที่พระพุทธองค์เลือกใช้

    คำว่า บริกรรม ค้นไปค้นมา เจอแต่ ในพระวินัยปิฏก

    " ภิกษุบริกรรม หรือ ภิกษุใช้ให้ภิกษุอื่นบริกรรม " กลับมา บท ปรับอาบัติ !!

    อ่านแล้วก็งง คงต้องถามพระ เพราะ พอผลิกคำบาลี ไม่เห็นมีคำไหนจะแปล
    ออกมาได้ว่า "บริกรรม"

    แต่ค้นไปค้นมา ก็ไปเจอ "บริกมฺม" ใน อภิธรรมโน้น ใช้อยู่ตรงส่วนอรูปฌาณ
    บอกว่า อากาสาวิญญาตนะ ขึ้นไป บรรลุได้ด้วยการ บริกรรมคำว่า "อากาสไม่มี
    ที่สิ้นสุด " ....ซึ่ง พิจารณาแล้ว ก็ควรยั้งการใช้คำไว้ก่อน เพราะ สอบมาที่
    สุตตันปิฏก พระพุทธองค์กล่าวชัดเจนว่า อรูปฌาณทั้งหลาย ไม่สามารถเข้า
    ได้โดยเจตนาว่าจะเข้า แต่มันเกิดจาก ผัสสะ ที่เป็นปัจจัยมันพร้อม

    ค้นไปค้นมา บริกรรม เห็นจะเอาแทนคำว่า "อุปสมปชชา" ซึ่งมันแปลว่า
    " การเข้าถึง การอยู่ " ซึ่ง อ่านโดยบริบทแล้ว เขาก็หมายถึง หากเมื่อไหร่
    เอาลำดับ อรูปฌาณที่สูงกว่าอรูปฌาณขั้นปัจจัยได้ ก็ถือว่า อรูปฌาณขั้นสูง
    กว่าเป็นเครื่องหมายว่าก้าวล่วงอรูปฌาณต้นๆ ..... คำแปล กับไปใช้คำว่า
    "บริกรรม" ไปโน้น

    จาก พระวินัยปิฏก และ อื่นๆ สงสัยว่า คนโบราณ จะใช้คำว่า บริกรรม ใน
    ความหมายอื่น ไม่ใช่ อาการแบบ " หมีกินผึ้ง " ซึ่งก็ไม่รู้แล้วว่า คนโบราณ
    ใช้คำว่า บริกรรม หมายถึง กิจกรรมอันใด ทำไมทำแล้ว ผิดพระวินัย ปรับอาบัติ ได้ด้วย งง !!
     
  5. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,941
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    คิดเองเออเอง


    ไม่ไหวจะเครียร์
    .
     
  6. บุคคลทั่วไป 3 คน

    บุคคลทั่วไป 3 คน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,938
    ค่าพลัง:
    +1,253
    ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งมีความประสงค์จะให้อสุจิเคลื่อน ทำบริกรรมหลังให้พระ
    อุปัชฌายะอยู่ในเรือนไฟ อสุจิเคลื่อน เธอได้มีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสส
    แล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาค ตรัสถามว่า ดูกรภิกษุ
    เธอคิดอย่างไร?
    ภิ. ข้าพระพุทธเจ้ามีความประสงค์จะให้เคลื่อน พระพุทธเจ้าข้า
    ภ. ดูกรภิกษุ เธอต้องอาบัติสังฆาทิเสสแล้ว.
    ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งมีความประสงค์จะให้อสุจิเคลื่อน ทำบริกรรมหลังให้
    พระอุปัชฌายะอยู่ในเรือนไฟ แต่อสุจิไม่เคลื่อน เธอได้มีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติ
    สังฆาทิเสสแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาค ตรัสถามว่า
    ดูกรภิกษุ เธอคิดอย่างไร?
    ภิ. ข้าพระพุทธเจ้ามีความประสงค์จะให้เคลื่อน พระพุทธเจ้าข้า
    ภ. เธอไม่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส แต่ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
     
  7. บุคคลทั่วไป 3 คน

    บุคคลทั่วไป 3 คน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,938
    ค่าพลัง:
    +1,253
    พระบัญญัติ
    ๖๘. ๙. อนึ่ง ภิกษุผู้ให้ทำซึ่งวิหารใหญ่ จะวางเช็ดหน้าเพียงไรแต่กรอบ
    แห่งประตู จะบริกรรมช่องหน้าต่าง พึงยืนในที่ปราศจากของสดเขียว อำนวยให้
    พอกได้ ๒-๓ ชั้น ถ้าเธออำนวยยิ่งกว่านั้น แม้ยืนในที่ปราศจากของสดเขียว ก็เป็น
    ปาจิตตีย์.
    เรื่องพระฉันนะ จบ.
    _______________
    สิกขาบทวิภังค์
    [๓๙๘] วิหารที่ชื่อว่า ใหญ่ ท่านว่ามีเจ้าของ.
    ที่ชื่อว่า วิหาร ได้แก่ ตึกที่เขาโบกฉาบปูนไว้เฉพาะภายในก็ตาม ที่เขาโบกฉาบปูนไว้
    เฉพาะภายนอกก็ตาม หรือที่เขาโบกฉาบปูนไว้ทั้งภายในทั้งภายนอกก็ตาม.
    บทว่า ผู้ให้ทำ คือ สร้างเองก็ดี ให้ผู้อื่นสร้างก็ดี.
    บทว่า เพียงไรแต่กรอบแห่งประตู คือ ชั่วหัตถบาสโดยรอบแห่งบานประตู.
    บทว่า จะวางเช็ดหน้า คือ จะวางประตู.
    บทว่า จะบริกรรมช่องหน้าต่าง คือ จะบริกรรมหน้าต่างให้มีสีเขียว สีดำ สียางไม้
    ลายดอกไม้ เถาวัลย์ ฟันมังกร ดอกจอก.
    คำว่า พึงยืนในที่ปราศจากของสดเขียว อำนวยให้พอกได้ ๒-๓ ชั้น ความว่า
    ที่ชื่อว่า ของสดเขียว ได้แก่ บุพพัณณชาติ อปรัณณชาติ.
    ถ้าภิกษุยืนสั่งการอยู่ในที่มีของสดเขียว ต้องอาบัติทุกกฏ.
    ให้มุงตามทางแถว พึงมุงเอง ๒ แถวๆ ที่ ๓ สั่งให้มุงแล้วพึงหลีกไป.
    ให้มุงเป็นชั้น พึงมุงเอง ๒ ชั้นๆ ที่ ๓ สั่งให้มุงแล้วพึงหลีกไป.
     
  8. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,941
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    บริกรรม พิมพ์
    ๒๙ เมษายน ๒๕๔๗

    .....บริกรรม แปลว่า การกระทำรอบๆ การกระทำรอบด้าน

    .....บริกรรม หมายถึงการสำรวมใจกำหนดอารมณ์กรรมฐานอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่เป็นคำบ้างเป็นนิมิตคือมีรูปร่างเช่นกสิณบ้าง เช่น พุทโธ สัมมาอะระหัง ยุบหนอ พองหนอ พระพุทธรูป วงกลมสี มานึกภาวนาในใจซ้ำแล้วซ้ำเล่าจน กระทั่งจิตถูกดึงมาเกาะติดอยู่กับคำนั้นๆ หรือนิมิตนั้นๆ

    .....กิริยาที่ทำเช่นนั้นเรียกว่า บริกรรมภาวนา ซึ่งเป็นข้อปฏิบัติเบื้องต้นที่จะทำให้จิตสงบตามแบบการปฏิบัติสมถกรรมฐาน

    .....บริกรรม ในคำวัดยังหมายถึงการตระเตรียมการ การจัดแจง การจัดการ การบริการ การเอาใจใส่ เป็นต้นก็ได้

    [​IMG]
     
  9. newamazing

    newamazing เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    1,704
    ค่าพลัง:
    +1,381
    ]ถ้าท่านยังเข้าใจว่าการท่องจำคำอะไรแล้วเอามาท่องนั้นเป็นการเข้าถึงมรรคนั้น ท่านเข้าใจผิดแล้วล่ะครับ พระพุทธเจ้าไม่เคยสอนใครให้ท่องจำคำเพียงอย่างเดียวเลยครับ บริกรรมจะตองมีนิมิตที่เป็นเครื่องหมายของความจริงที่ปรากฎที่ทำให้เข้าใจอริยสัจครับ ไม่ใช่คำใดคำหนึ่งที่หมายความว่าคำนั้นจะพาเข้าสู่มรรคครับ
     
  10. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,941
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    คิดเองเออเองอีกละ

    ใครสอนสั่ง บอกว่าการท่องคำคำ แล้วได้มรรค
     
  11. อยู่ร่ำไป™

    อยู่ร่ำไป™ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +42
    บาปกรรมแท้

    สมจริง สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม
     
  12. newamazing

    newamazing เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    1,704
    ค่าพลัง:
    +1,381
    ฉะนั้นก็บอกเขาด้วยนะว่าต้องทำอย่างไรเมื่อเขาบริกรรม
     
  13. tjs

    tjs ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2012
    โพสต์:
    3,654
    ค่าพลัง:
    +20,364
    ขอช่วยตอบคำถามของท่าน ขจกท อีกหน่อยครับคือ

    การทำสมาธิ ทำได้หลายวิธี ว่าด้วยการจับดูลมหายใจ หรือบริกรรม หรือทำร่วมกันก็ได้
    ตอนกระผมฝึกใหม่ๆ ตอนแรกดูลมหายใจเข้าและออกไม่ได้บริกรรม พุทโธ ตอนแรกนั้นรู้สึกว่า ไม่ค่อยสงบนิ่งเท่าไหร่นัก จิตส่ายไปมา ลืมลมหายใจเข้าออก หรือบางทีก็สติยังไม่มั่นคง จำลับกันเช่นเข้าก็ลืมออกก็ลืม
    ตอนหลังมากจึงภาวนาพุทโธ กำกับไปด้วยพอทำได้อย่างนี้ รู้สึกว่า สติดีมากมันตามประกบลมหายใจทั้งเข้าและออก สามารถคุมจิตและสมาธิก็นิ่งดีมากๆครับ ก็เลยทำสมาธิแบบจับลมหายใจและบริกรรมร่วมด้วยตลอด

    พอมาปัจจุบันเราชำนาญมากแล้ว สมาธิเราละเอียดแล้ว พอเริ่มภาวนา จิตมันเข้าสู่สมาธิรวดเร็ว จนรู้เลยว่าพอจับลมภาวนาไปไม่ถึงนาที จิตมันตัดภาวนาใดๆออกหมด เหลือสงบนิ่งภายในอย่างเดียว ตัดทิ้งไปตอนเวทนากายมันดับ คือไม่รู้สึกใดๆทางกายอีกแล้ว มันก็สงบอยู่ภายในที่เหลือมีแต่สภาวะของ สัญญา สังขาร วิญญาณภายในที่เห็นเกิดดับอยู่ครับ

    ก็ลองทำไปดูก่อนตามจริตของเรานั่นแหละดีไม่ดีเราจะรู้เองและปรับเปลี่ยนพลิกแพลงเอาเองนะครับ ทำไปนานๆจะรู้เองครับ สาธุครับ
     
  14. newamazing

    newamazing เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    1,704
    ค่าพลัง:
    +1,381
    การบริกรรมนั้นจะนำเข้าสู่สมาธิได้แน่นอนท่านก็จะเป็นสมาธิแบบฤษีสมัยโบราณ สมาธิแบบนั้นสุ่มเสียงมากที่จะหลุดจากวงโครจรของอริยมรรค เพราะสมาธินั้นจะเบาสบายร่างกายมากจนนึกว่าตัวเองบรรลุแล้ว ก็เลยไม่หันกลับมาพิจารณาความจริง ท่านจะเป็นคนที่เข้าถึงธรรมเพียงชั้นเปลือกๆเท่านั้น เคยมีพระองค์หนึ่งหายใจเข้าเพียงครังเดียวก็เข้าสมาธิชั้นลึกๆไม่มีความรู้สึกนั่งได้เป็นวันๆ แต่ก็ไม่ได้เจ้าถึงอริสัจเลย แล้วไม่มีทางรู้ตัวเองเลย จนกระทังต้องมีผู้ที่มีภูมิมากกว่ามาบอก และท่านทั้งหลายจะอยากเป็นคนที่ได้สมาธิแบบนั้นเหรอครับ และถ้าท่านเสียชีวิตไปเป็นพรหมสิ้นฤทธิ็์สินเดช ก็กลับมาเป็นอย่างนี้อีก วิธีที่ทำสมาธิแบบถูกวิธีและถึงวิมุตเลย พระองค์แสดงอานาปานสติไว้ ได้ทั้งสัมมาสมาธิทางตรงไม่ต้องปรับเปลี่ยนอะไรเลย และพระองค์กทรงกล่าวไว้ว่าผู้ใดไม่บริโภคกายคตาสติผูนั้นไม่ได้บริโภคอมตะ คนที่ภาวนะแบบริกรรมคำใดคำหนึ่ง จิตที่มุ่งหวังความสงบนั้นก็มิจฉาแล้วได้เพียงความสงบสมใจก็รูสึกว่าใช่ แต่มันอาจจะอยู่คนล่ะฝากของนิพพานเลยก็อาจเป็นได้
     
  15. tjs

    tjs ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2012
    โพสต์:
    3,654
    ค่าพลัง:
    +20,364
    เราท่านทั้งหลายควรเดินตามทางที่พระพุทธองค์ตรัสสอนไว้ เริ่มจากทางเอกก่อน
    การเจริญสมาธิก็เช่นกัน แต่เมื่อทำไปแล้วติดขัด ให้ศึกษาเพิ่มพระพุทธองค์ทรงบอกทางแก้ไขไว้ให้แล้วหมดทุกอย่าง นะครับ เรื่องสมาธิและกรรมฐานมีตรัสสอนไว้มากมายครับเลือกใช้ได้ตามความเหมาะสมแก่จริตท่านนะครับ สาธุครับ
     
  16. pupreecha

    pupreecha Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    60
    ค่าพลัง:
    +86
    ขอบคุณเพื่อนสมาชิกที่ให้คำแนะนำนะค่ะ เจ้าของกระทู้เองนั้นถนัดดูลมหายใจและไม่บริกรรมใดๆ ถ้ามีแวปคิดฟุ้งซ่านบ้างก้อดึงจิตกลับมาที่ลมหายใจเหมือนเดิม ปฎิบัติมาได้สามปีไม่เคยเห็นนิมิตอะไรนอกจากความนิ่งและความสงบ ในขณะที่เพื่อนๆที่ปฎิบัติในกลุ่มด้วยกันเค้าเล่าสู่กันฟังว่าแต่ละคนเห็นนิมิตต่างๆ กันไป เราเองไม่มีอะไรไปเล่าเพราะเราไม่เคยเห็น จิตได้แต่ความสงบ.. เคยถามผู้ที่มีภูมิธรรมสูงกว่าว่าทำไมเราไม่ก้าวหน้าเหมือนเพื่อนๆ ท่านก็บอกว่าแต่ละคนได้ไม่เหมือนกันสั่งสมบุญบารมีมาไม่เหมือนกัน เราไม่เคยทำมาอาจทำชาตินี้เป็นชาติแรกก็เลยได้ช้ากว่าคนอื่น...ผู้ที่รู้จักอีกคนกลับบอกว่าเธอได้แล้วแต่เธอไม่รู้ตัว ถามท่านว่าเราได้อะไรหรือคะท่านยิ้มเฉยๆไม่ตอบ ก็เลยตั้งกระทู้ถามว่าเป็นที่คำภาวนาหรือเปล่า ...ขอขอบคุณทุกคำแนะนำนะคะ ถ้าใครมีข้อแนะนำเพิ่มเติมก็ยินดีนะคะเพราะเจ้าของกระทู้ภูมิธรรมน้อย :VO
     
  17. tokyoo2

    tokyoo2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กันยายน 2012
    โพสต์:
    561
    ค่าพลัง:
    +419

    พอคุณนั้งสมาธิได้1ชั่วโมง เเล้วออกจากสมาธิทำเเล้วอะไรต่อครับ?
    ปกติเกิน50%. คนส่วนมากพอออกจากที่วิเวกเเล้วก็กลับมาโดน กามวิตก เเละ กามสัญญา กลุ้มรุมจิตอยู่เหมือนเดิม ซึ่ง กามวิตก นี้ เป็นข้าศึกอย่างดีของ เนกขัมมะวิตก
    ถ้าคุณบอกทำสมาธิวันละ1ชั่วโมง อีก 23 ชั่วโมงคุณก็คลุกคลีอยู่กับ บาป อกุศลธรรมอันลามกต่างๆ ไม่ว่าจะ อภิชฌา กามระคะ พยาบาท สิ่งเหล่านี้มันเป็น เครื่องกั้นปัญญา ทำให้ปัญญาถ้อยกลับทั้งหมด(คือจะไม่ก้าวหน้าไปไหน)
    เพราะสาเหตุไม่ได้พิจราณาถึงโทษของกามทั้งหลายนั้นเอง จึงไม่มีตนส่งไป
    อารมณ์ในโลกนั้นไม่ใช่กาม ความกำหนัดไปตามอำนาจความตริตรึก(วิตก). นั้นเเหละคือกามของคนเรา
    กามนั้นเเบ่งให้เห็นง่ายๆ เป็น2ส่วน เมื่อเรา สยบอยู่กับอารมณ์ ที่พอใจ นี้ก็คือกาม เเละเครียดคัดอยู่กับอารมณ์ที่ไม่พอใจ 2 นี้ก็กาม อันเกิดจาก. ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ นั้นเอง
    ฉนั่นจะละกามได้ ต้องมีความเพียรระวัง(สังวรอินทรีย์). เพียรละ.(เพียรละอกุศลวิตก) เพียรภาวนา.(ภาวนาสติปัฏฐาน) เพียรรักษา
    เมื่อเรามีความเพียรเเบบนี้ก็ชื้อว่า รู้จักที่ๆให้จิตโคจรไป มีตนส่งไปในเเนวเผ่ากิเลิส. หรือ เนกขัมมะวิตก
     
  18. newamazing

    newamazing เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    1,704
    ค่าพลัง:
    +1,381
    สมัยหนึ่งพระพุทะองค์ทรงไปปฎิบัติกับอาจารย์ได้สมาธิชั้นสูงสุด เพราะเหตุใดเล่ายังไม่ได้สำเร็จ เพราะสมาธินั้นยังเป็นมิจฉาสมาธิอยู่ครับ แล้วเราจะมาสนใจสมาธิที่ปราศจากการพิจาณากาย เวทนา จิต ธรรมไปตามลำดับทำไม ซึ่งสมาธิที่เริ่มต้นด้วยการพิจารณาลมหายใจซึ่งเป็นกายหนึ่งในกาย ก้ได้สมธิที่เป็นสัมมาสมาธิสมบูรณ์ในตัวเองจึงถึงวิมุติได้เลย ส่วยสมาธิที่เกิดจากการบริกรรมนั้นไม่มีปัญญาเข้ามาเกี่ยวเลย และความเบาสบายนั้นแหละที่ท่านได้รับจะเป็นโทษกับท่านเองโดยไม่รู้ตัวจริงๆจนบางครั้งหลงว่าตนมีฤิทธิ์น้อมจิตเพื่อทำสิ่งนั้นยิ่งไปใหญ่พราะคนเรามีกิเลสเป็นพื้นฐานอยู่แล้วให้ระวังให้มาก ฉะนั้นท่านจะเลือกทางที่พระองค์แสดงไว้ไม่มีโทษเลยอย่างอานาปานสตินั้น ก็น่าจะเป็นทางสายเอกที่ถูกและตรงที่สุดครับ
     
  19. tokyoo2

    tokyoo2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กันยายน 2012
    โพสต์:
    561
    ค่าพลัง:
    +419
    ลองพิจารณา คาถานี้ดู new
    เป็นช่วงที่พระองค์ยังไม่ทรงเเสดงธรรม ถ้าพรามณ์เข้าใจธรรมตาม บรรลุทันที เเละจะมีอีกช่วงที่ สหัมบดีพรหมอาราธนาให้พระพุทธเจ้าทรงเเสดงธรรมเเก่หมู่สัตว์ พระองค์ก็ตรวจโลกด้วยพุทธจักษุ เห็นหมู่สัตว์มีอินทรีย์ต่างกัน เปรียบด้วยบัว3เหล่า ที่เเสดงธรรมเพราะกลุ่มที่3นี้เเหละ ถึงเเม้ว่าเหล่าที่3เกิดในน้ำ เจริญในน้ำ เเต่น้ำไม่โดนเเล้ว(คือเกิดในน้ำ ไม่เกียวข้องกับกาม พ้นกาม). เเต่ถ้ายังไม่ได้ยิน ไม่ได้ฟังธรรมตถาคต ไม่มีทางเข้าใจเเน่นอน

    “เมื่อใดเวย ธรรมทั้งหลาย เป็นของแจ่มแจ้ง
    แก่พราหมณ์ ผู้มีความเพียร เพ่งพินิจอยู่;
    เมื่อนั้น ความสงสัยทั้งปวงของพราหมณ์นั้น ย่อมหายไป
    เพราะพราหมณ์นั้น ได้รับแล้วซึ่งความสิ้นไปแห่งปัจจยธรรม ท.”, ดังนี้.

    “เมื่อใดเวย ธรรมทั้งหลาย เป็นของแจ่มแจ้ง
    แก่พราหมณ์ ผู้มีความเพียร เพ่งพินิจอยู่;
    เมื่อนั้นพราหมณ์นั้นย่อมแผดเผามารและเสนาให้สิ้นไปอยู่
    เหมือนพระอาทิตย์ (ขจัดมืด) ยังอากาศให้สว่างอยู่ ฉะนั้น”, ดังนี้.
     
  20. tokyoo2

    tokyoo2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กันยายน 2012
    โพสต์:
    561
    ค่าพลัง:
    +419
    ภิกษุ ท. ! ภิกษุที่ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ
    เป็นผู้ ไม่ควร เพื่อเข้าถึงสัมมาสมาธิ แล้วแลอยู่.
    ๕ ประการ อย่างไรเล่า ?
    ภิกษุ ท. ! ๕ ประการ คือ ภิกษุในกรณีนี้
    (๑) เป็นผู้ ไม่อดทนต่อรูปทั้งหลาย
    (๒) ไม่อดทนต่อเสียงทั้งหลาย
    (๓) ไม่อดทนต่อกลิ่นทั้งหลาย
    (๔) ไม่อดทนต่อรสทั้งหลาย
    (๕) ไม่อดทนต่อโผฎฐัพพะทั้งหลาย
    ภิกษุ ท. ! ภิกษุที่ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ
    เหล่านี้แล เป็นผู้ ไม่ควร เพื่อเข้าถึงสัมมาสมาธิ แล้วแลอยู่.
     

แชร์หน้านี้

Loading...