ไม่ใช้คำบริกรรมได้หรือไม่

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย pupreecha, 21 เมษายน 2013.

  1. pupreecha

    pupreecha Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    60
    ค่าพลัง:
    +86
    เราไม่ต้องใช้คำบริกรรมใดๆ ได้หรือไม่ค่ะ โดยใช้การดูลมหายใจเข้าออกเพียงอย่างเดียว จะนั่งสมาธิครั้งละ 1 ชั่วโมง จิตก้อมีแว้ปไปบ้างแต่ก้อไม่มากนัก เพราะเห็นการฝึกแบบมโนมยิทธิหรือการฝึกกสินต่างๆล้วนมีคำบริกรรมทั้งนั้น แสดงว่าคนที่ฝึกแต่ดูลมหายใจก้อจะไม่ได้อย่างคนที่ฝึกแบบมโนฯและแบบกสินใช่มั้ยค่ะ..
     
  2. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,941
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    ถ้าถนัดแบบไหนก็ลองดูครับ

    มีทั้งได้ แล้วก็ คนที่ทำไม่ได้ ครับ

    แล้วแต่ตัวบุคคล สร้างสะสมมาไม่เหมือนกัน


    ขึ้นอยู่กับ กรรมฐานที่ฝึก กองนั้นๆ ครับ

    เช่น ถ้าฝึก กสิณ นี่ ห้ามทิ้งคำบริกรรม เด็ดขาด เป็นต้น ครับ

    .
     
  3. ballbeamboy2

    ballbeamboy2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2011
    โพสต์:
    1,622
    ค่าพลัง:
    +1,618
    ได้ครับได้ อานาปานุสติไง รู้ลมหายใจเข้าออกสั้นและยาว
     
  4. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,647
    คำบริกรรม เป็นตัวจูงให้จิตไม่ส่าย คือเป็นเหตุให้จูงจิตให้เกิดสมาธิอย่างหนึ่งเท่านั้น.....

    คำถามที่คุณถามว่าถ้าฝึกอานาฯ จะไม่กำหนดคำบริกรรม จะดูลมล้วนๆได้หรือไม่ ก็ต้องตอบว่าได้ครับ.....พระพุทธเจ้าท่านก็ฝึกแบบนั้น มีหลักฐานในสติปัฏฐานสูตร แต่เหตุที่มีคำบริกรรมนั้น เนื่องจากกรรมฐานอานาฯ เป็นกรรมฐานที่เบามาก จิตส่ายได้ง่าย ครูบาอาจารย์ท่านเลยกำหนดคำบริกรรมขึ้นมา...ถ้าคุณเห็นว่าจิตสงบได้โดยไม่ต้องใช้คำบริกรรม คุณจะไม่ใช้ก็ได้ครับ......

    ส่วนเรื่องกสิณและมโนฯ เป็นรูปแบบการฝึก แบบนั้นครับ.....เรื่องจะได้หรือไม่ได้เท่ากันหรือไม่ ของอย่างนี้ขึ้นอยู่กับบุญวาสนา และ อุปนิสัย ของเก่า ในอดีตชาติด้วยครับ.....
     
  5. ธรรมพิศดาร

    ธรรมพิศดาร สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 เมษายน 2013
    โพสต์:
    17
    ค่าพลัง:
    +10
    ได้ครับ ผมก็เป็นอาการเดียวกัน บางทีภาวนา พุทโธ แล้วจิตมันสั่น แต่พอนั่งดูลมหายใจเข้าออกอย่างเดียวจิตนิ่งกริ้บ ลางเนื้อชอบลางยาครับ :cool:
     
  6. ชัยวัฒนา

    ชัยวัฒนา สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2013
    โพสต์:
    11
    ค่าพลัง:
    +24
    ได้ครับ. ไม่มีก็ได้ แต่ผู้เริ่มฝึกใหม่ๆ ไม่มีคำบริกรรมในใจจะมีโอกาสฟุ้งซ่านง่ายครับ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าต้องมีถึงจะดี

    จากประสบการณ์ แรกเริ่มของผมก็ไม่ได้มีคำบริกรรมเหมือนกัน ผมไม่ชอบ ไม่ว่าจะพุทโธ หรือนะมะพะธะ หรืออื่นๆ ผมกำหนดสติที่ลมหายใจแล้วรู้อยู่ว่าลมเข้าอยู่ ลมออกอยู่ก็รู้อยู่ ถ้าฟุ้งซ่านก็พยายามกำหนดที่ลมใหม่ตามเดิม ได้ผลครับ อย่างไรก็ตามการมีสติ การกำหนดจิตตามลมเข้าออกจะอาศัยความเพียรอย่างเนื่องมากๆ ครับ กำลังของเราอ่อนก็ง่วงเอนไปเอนมาได้ง่ายครับ หรือไม่ก็เครียดไปเลยถ้าเราเคร่งเกิน

    แนะนำให้ศึกษาการปฏิบัติอานาปานสติ 16 ขั้น หาอ่านจากท่านพุทธทาสท่านแปลเรียบเรียง พระพุทธเจ้าท่านสอนตามลำดับจากการกำหนดสติที่กาย เวทนา จิตและธรรม ท่านพุทธทาสเรียบเรียงไว้หลายเล่ม อ่านและฝึกตาม ท่านก็ไม่ให้กำหนดคำบริกรรมอะไร หรือปัจจุบันมีท่านอื่นทำหนังสือไว้มากครับ หาง่าย

    สำคัญที่การวางใจ กำหนดตามลมหายใจเข้าออก ให้เป็นไปตามธรรมชาติของลมเข้าออก ไม่ต้องเข้าไปบังคับให้ยาวหรือสั้น เว้นแต่มีวัตถุประสงค์ ก็สามารถกำหนดได้ โดยกำหนดภายในใจ ทำตามที่พระพุทธเจ้าท่านสอนครับ ได้อานิสงค์มากครับ. วัตถุประสงค์สำคัญของอานาปานสติคือเพื่อสติ เป็นไปเพื่อการเจริญสติ ให้ผลสูงสุดคือผู้ปฏิบัติวิมุติหลุดพ้นจากกิเลส ตัณหา

    ส่วนคำบริกรรมที่กำหนดต่างๆ ก็จะให้ผลต่างกันไป ลองศึกษาดูครับ ท่านกำหนดพร้อมกับลมหายใจเข้าออกจนเกิดสมาธิ เกิดผลอันเนื่องมาจากการบริกรรม การบริกรรมจะเป็นการฝึกที่รัดกุม เพิ่มงานให้จิตคิดในกรอบที่กำหนดไว้เพียงอย่างเดียว บริกรรมซ้ำๆ ในใจจนเกิดสมาธิ

    การตามดูลมคุณกำหนดในใจเข้าหนอ ออกหนอก็ได้ จิตจะเกิดกำลัง หรือนับตัวเลขในใจตามที่วิสุทธิมรรคเขียนไว้ก็ดีครับ จิตจะตามการนับอยู่ถ้าพลาดหรือหลงไปก็เริ่มใหม่ ใจจดจ่อกับการนับหรือการบริกรรมใดๆ นานๆ เข้าก็เกิดกำลัง เกิดสมาธิขึ้นในเบื้องต้น จิตละเอียดขึ้นคำบริกรรมก็ปล่อยไป มากำหนดลมเข้าออกอยู่

    ผมเป็นคนขี้เกียจบริกรรมครับ ไม่เอาเลย พอมานับตัวเลขก็ได้ผลเร็วก็กำหนดในใจเรื่อยมาจนปัจจุบัน เมื่อคล่องแล้วได้ผลแล้วไม่นับก็ได้ แต่จากประสบการณ์กำหนดนับได้ผลเร็วครับ (ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับจริตนิสัยความชอบด้วยครับ) นั่นคือกรณีเราต้องการสมาธิก่อน บางครั้งนับลมหายใจที่สามก็เข้าสมาธิเลย ก็ดีไปอย่างคือ เรามีเกณฑ์ชี้วัดของเราไป เมื่อคุณได้ผลจากการฝึกโดยไม่บริกรรมหรือบริกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว จะเปลี่ยนคำบริกรรมอื่นจากที่เคยฝึกก็จะได้ผลตามมาเช่นกันครับ จะช้าหรือเร็วเท่านั้นตามเหตุและปัจจัยของคุณเอง

    ขอให้การปฏิบัติของคุณก้าวหน้ายิ่งๆ ขึ้นไปครับ
     
  7. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    การบริกรรมนั้นเป็นเรื่องสมถกัมมฐาน คือต้องมีองค์บริกรรมด้วย
    แต่ถ้าไม่ต้องบริกรรมคือดูเฉยๆ อันนี้เป็นวิปัสสนากัมมฐานครับ
    การดูลมหายใจเป็นได้ทั้งสมถะและวิปัสสนา
    การดูลมหายใจมีการบริกรรม เช่นว่า พุทโธ เป็นต้น อันนี้เป็นสมถกัมมฐาน
    การดูลมหายใจไม่มีคำบริกรรม เช่น รู้ว่า เย็น ร้อน ลึก ยาว สั้น อันนี้เป็นวิปัสสนากัมมฐาน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 22 เมษายน 2013
  8. firstini

    firstini เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    1,213
    ค่าพลัง:
    +3,770
    การดูลมหายใจเข้าออก ถ้าไม่มีคำบริกรรมก็ใช้ได้
    มีคำบริกรรมก็ใช้ได้
    แล้วแต่ถนัด

    คำบริกรรมเป็นตัวช่วยให้เกิดสมาธิได้ง่าย ถ้าคุณมีกำลังใจเข้มแข็งสมาธิดีก็ไม่จำเป็นครับ

    กรรมฐานแต่ละกอง ถ้าทำกองไหนก็ได้กองนั้น
    เช่น เจริญอานาปานสติ ก็จะได้อานาปานสติ ไม่ได้กสิณ
    ถ้าฝึกกสิณก็จะได้กสิณ ไม่ได้อานาปานสติ
    ถ้าอยากได้กรรมฐานกองไหนให้ฝึกกองนั้นโดยตรง

    มโนมยิทธิ... ถ้าตามแบบวัดท่าซุง ต้องใช้คำบริกรรมและมีรายละเอียดปลีกย่อย
    แต่ถ้าจะไปแบบอภิญญาจริงๆ ก็ไม่จำเป็นต้องมีคำบริกรรมก็ได้ แต่ต้องได้อภิญญาหรือเคยได้มาก่อนในอดีตชาติ
    ถ้าแนะนำโดยทั่วไปให้ฝึกตามแบบ
     
  9. บุคคลทั่วไป 3 คน

    บุคคลทั่วไป 3 คน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,938
    ค่าพลัง:
    +1,253
    ฝึกอานาปานสตินั้น หากฝึกอย่างถูกต้อง ตั้งใจ ตั้งจิตไว้ถูก จะต้อง
    ได้ทุกรรมฐานที่มีอยู่ในโลก ทั้งหมด !!

    หากตั้งจิตไม่ถูก ดูถูกกรรมฐาน ด้วย การเปรียบเทียบ เอาคุณธรรมแบบ
    " นายว่าขี้ข้าพลอย " เพียงนิดเดียว ก็จะเกิดการ ปิดกั้น ชักสะพานออก
    แล้วได้เพียง สิ่้งที่เอามาบดบังธรรม ได้ของกระจอกตาม นาย
    หรือ บุคคลธิษฐาน นั้นๆ เท่านั้น แต่โดยมาก จะไม่ได้ แล้ว ยังแล่นไป
    นรกไปโน้นเลย

    ดังนั้น เวลาเทียบกรรมฐาน ต้องระวังการกล่าว ที่ออกแนว " ใครดีกว่า
    ใครเจ๋งกว่า สำนักข้าแน่ ของกูมีแต่อรหันต์เท่านั้นสำเร็จมาแล้ว " อะไร
    เหล่านี้ ล้วนเป็น ภัย ทั้งนั้น

    หาก เราเปรียบเทียบ เพียงแค่จิตมันกระเดิด สงสัย อันนี้ ไม่มีปัญหา

    มาดูกัน

    ********************

    ตอนที่คุณกล่าวว่า ฝึกอานาปานสติ 1 ชม แล้ว จิตมันฉลบออกบ้าง

    ไอ้ตรงจิต แฉลบออกบ้าง ตรงนี้ แฉลบออกด้วยอาการไหน แค่แฉลบ
    ออกจากกรรมฐาน ไปสู่การ ทำกรรมฐานไม่เป็น( จมกิเลส นิวรณ์ อุปกิเลส10)
    หรือเปล่า

    หรือคำว่า แฉลบคือ ออกไปเห็นเกลียวแสงบ้าง เห็นแสงสว่างบ้าง เห็น
    "ภาพคมชัดยิ่งกว่า Full HD ภาพเดียวบ้าง " "ภาพไหลมายังกะภาพยนต์
    บ้าง " " ความดิดฝุ้ง ฝุ้ง ฝุ้ง เห็นแล้ว แลอยู่ บ้าง" ฯลฯ ( อจิณไตย )

    กรณี แฉลบออกไปทางกิเลส นิวรณ์ อุปกิเลส10 ยกไว้ ถือว่า ยังฝึกอานาปาน
    สติไม่สำเร็จดี ไม่เข้าที่ดี

    แต่ถ้า เป็นแฉลบแบบที่สอง คือ " แฉลบไปทางปิติ5 ขึ้น อุคหนิมิต " ตรง
    นี้ต้องดูความราบเรียบของจิต ดู ปัสสัทธิให้เป็น

    ถ้า ปิติเกิด อุคหนิมิตเกิดตามมาเป็นวิบาก แล้วหลังจากนั้น พลัดตกลงไป
    แล้วจิตเกิด "สุข" ฮานาก้า หรือว่า เกิด "ปัสสัทธิ" รู้สึกว่า เห็นธรรมของบ้านๆ
    ของชาวบ้าน เห็นของเก่า ให้คุณ เฝ้นเฉพาะ สภาพธรรมที่ทำให้เกิด
    ปัสสัทธิ เท่านั้น เป็น นิมิตหมาย

    เมื่อ ตั้งการเห็นเฉพาะมีปัสสัทธิ รำงับดีอยู่เป็น นิมิตหมาย ก็ สมาทานคำว่า
    " อย่าดูเบาในสมาธิ " ชนิดนั้นๆ แทนอาการ " ทยานอยากมี อยากเป็น "

    เมื่อตั้งจิตไว้แค่ว่า " อย่าดูเบาในสมาธิ " เวลาเจอ อุคหนิมิต มีรสปราณีต
    คุณจะเห็น "อิทธิบาท4" เข้า "สัมปยุต" ด้วยอาการ "จิตรำพึง" ขึ้นมาเอง

    จะเกิดการอยู่ การเข้า การออก การผลิกอุคหนิมิตให้เป็น ปฏิภาคนิมิต ขึ้น
    มาเอง หากยังไม่ชำนาญ มันจะขึ้นแป๊ปเดียว แล้วอาจจะตกหายไป ตรงนี้
    คุณจะเกิด ธรรมวิจัยยโพฌงค์ เข้าสัมปยุต ต่อ เป็นลำดับ ค่อยๆ เห็นสภาพ
    ธรรม เกิดตามเหตุปัจจัยที่บริสุทธิ กับ สภาพธรรมที่เกิดจากตัณหาทยาน
    อยาก มันมีรสชาติต่างกันแบบ ฟ้ากับเหว เข้ามาเรื่อยๆ

    คำว่า " ของเก่า " ก็คือ อาการเห็นสภาพธรรมบางประการ แล้วจิต
    ไม่กระเดิด ฝุ้ง เฝ้อ เห่อ เหิม มัน จืดๆที่ได้เห็น

    แต่ถ้ามี " ฝุ้ง เฝ้อ" อันนี้แปลว่า ยังต้องอบรมต่อ อย่าดูเบา

    แต่ถ้า " เห่อ เหิม " อันนี้จะผลิก กลายเป็นเห็น ของชั่วหยาบ โดน
    หลอกให้ ปิดธรรม ชักสะพาน ออกจากธรรม มันจะพา ลงเหว
     
  10. tokyoo2

    tokyoo2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กันยายน 2012
    โพสต์:
    561
    ค่าพลัง:
    +419
    คงยังไม่รู้จักผลเสียของการบริกรรม
    เวลาที่เราฝึกรู้ลมหายใจเข้า หายใจออก หายใจเข้ายาว หรือ สั่น ก็รู้ชัด โดยที่ไม่ต้องไปบังคับ ปล่อยตามธรรมชาติ ให้รู้อยู่เฉยๆเราจะรู้สึกว่า มีบางอย่างที่รู้ลมอยู่ ซึ่ง ลมหายใจมันไม่ใช่ชีวิตอะไร. เป็นธาตุธรรมดาๆ เเล้วอะไรเป็นผู้รู้อยู่ เมื่อเราตามเห็น กายในกาย หรือที่เรียกว่า กายคตาสติ ให้ตั้งไว้ที่กาย เราจะเห็นสิ่งนี้ได้ หรือว่า เรามีสัมปชัญญะในการรู้สึกตัวทั่วพร้อม ไม่ว่าจะก้าวไปหรือถ้อยกลับ. เราจะเห็นมันได้ ถ้าได้รับการฝึกอยู่เนื่องๆอย่างนี้ มีความเพียรเผากิิสอยู่เนืองนิส
    ทีนี้ ถ้าหากเรา บริกรรม เราจะไม่เข้าใจเลยว่า การมีสติ สัมปชัญญะ เป็นอย่างไร ซึ่งพระองค์ก็สอนว่า ภิกษุเป็นผู้มีสติเป็นอย่างไรเล่า (คือตามเห็นกายในกาย เวทนา. จิต ธรรม).
    เวลาคนจะตาย คงไม่รู้หรอกว่าตายอิริยาบทไหน จิตสุดท้ายคือ อรรถภาพ ถ้าเพลินๆ เเล้วรถยนต์กำหลังวิ้งเข้ามาหา ไม่ได้กลับมาที่. กาย เป็นต้น

    นี้เรียกว่า คนมีสติหลงลืมเมื่อทำกาละทันที. ฉนั้นพระองค์สอนไว้เธอให้เธอมีสติ. สัมปะชัญญะ เวลาจะตาย เเต่ถ้าไม่มีสติ ไปวิตก. วิจาร กับคำบริกรรม ทั่งที่ไม่ได้มีองค์ฌานประกอบ ในเวลานั้น เรียกว่าจิตฟุ้งซ่านทันที
     
  11. newamazing

    newamazing เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    1,704
    ค่าพลัง:
    +1,381
    การบริกรรมทำให้เข้าไม่ถึงธรรมแท้เป็นเพียงมิจฉาสมาธิ เมื่อใครได้แล้วก็ยากที่จะแก้ไขเพราะนึกว่าสำเร้จธรรมแท้แล้วเพราะสิ่งนั้นทำใหได้รับความสุขเกิดฤทธิ์ ยากที่จะแก้ไข แต่ก็จะพอจะแก้ไขได้ คือกลับมาศึกษาอริยสัจและพิจารณากายคตาสติ
     
  12. ได้คับ

    ได้คับ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    110
    ค่าพลัง:
    +106
    ถามคุณลุงหมานครับ การดูลมหายใจไม่มีคำบริกรรม เช่น รู้ว่า เย็น ร้อน ลึก ยาว สั้น อันนี้เป็นวิปัสสนากัมมฐาน
    อันนี้ผมเคยอ่านพุทธวัจนะมา ว่าให้มีสติรู้ลมเข้าก็รู้ ออกก็รู้ ยาว สั้น ก็รู้ รู้ตลอดกองลมหายใจ แต่ เย็น ร้อน ผมยังไม่เคยเจอะจากที่ได้อ่านพุทธวัจนะมาครับ ไม่ทราบว่ามีด้วยหรือไม่ ถ้ามีช่วยแนะนำเพิ่มด้วยครับ ขอบคุณครับ
     
  13. tokyoo2

    tokyoo2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กันยายน 2012
    โพสต์:
    561
    ค่าพลัง:
    +419
    คนที่เริ่มฝึก ไม่ควรบริกรรม อะไรต่างๆ ทุกๆบรรพ
    เช่นอานาปานสติ ให้รู้ลมหายใจเข้าออก การรู้ลมหายใจ ชื่อว่า กายอันหนึ่งในกายทั้งหลาย "รู้ลมก็ชื่อว่ารู้กาย"
    หรือการมีสัมปชัญญะ ก็ให้รู้สึกตัวทั่วพร้อม ของกาย ไม่ว่าจะก้าวไปถ้อยกลับแลดูเหลียวดูคู้เเขนเหยียดเเขน! ถ้าฝึกมีสัมปชัญญะเเบบนี้ อย่างอื่นไม่ต้องพูดถึง เข้าใจได้หมด ในส่วนของ กายคตาสติ ทั้งหมด
    เเต่ถ้าบริกรรมขึ้นมา. ส่วนนี้ก็ไม่รู้ ส่วนอื่นก็ไม่รู้ด้วย
    เช่น เมื่อก้าวไปข้างหน้า เเต่ บริกรรมในใจว่า ก้าวหนอ
    มันจะไม่ได้รู้ที่กาย เเต่มันจะไปรู้คำบริกรรมขึ้นมาเเทน
    มันไม่ใช่การรู้สึกตัวทั่วพร้อมที่กายอย่างเเท้จริง. คนที่เค้านั้งสมาธิเกิดภาพนิมิตขึ้นมา. ไปบริกรรมเห็นหนอๆ
    ตรงนี้เป็นส่วนทำสมาธิเคลื่อนภาพนิมิตถึงหายไป. เช่นเดียวกับการบริกรรมต่างๆที่ทำกันปัจจุบัน ยาอมทำสมาธิเคลือนไปไม่ได้อยู่กับที่
     
  14. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,941
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    สร้างกรรมหนัก ปรามาส ลงนรก

    บริกรรม บรรลุอริยเจ้า

    กลับพูดเองคิดเอง เออเองว่าบริกรรม เป็น มิจฉา บ้าง เป็นผลเสียบ้าง

    ครูบาอาจารย์ที่ไหนสั่งสอน ถึงได้มีความเห็นแบบนี้


    35-พระจูฬปันถกเถระ
    เอตทัคคะในทางผู้ชำนาญในมโนมยิทธิ

    พระจูฬปันถก เป็นน้องชายร่วมมารดาบิดาเดียวกันกับท่านพระมหาปันถก เมื่อ
    พระมหาปันถก สำเร็จเป็นพระอรหันต์แล้วได้รับความสุขจากการหลุดพ้นสิ้นกิเลสาสวะทั้งปวง
    แล้ว มีความปรารถนาจะให้จูฬปันถก น้องชายมีความสุขเช่นนั้นบ้างจึงไปขออนุญาตจาก
    ธนเศรษฐีผู้เป็นคุณตา ซึ่งก็ได้รับอนุญาตและให้ความร่วมมือด้วยดี เพราะคุณตาก็เป็นผู้มีศรัทธา
    ในพระพุทธศาสนาอยู่แล้ว เมื่อจูฬปันถกได้รับการอุปสมบทเรียบร้อยแล้ว ท่านพระมหาปันถก
    ผู้เป็นพี่ชายได้สอนคาถาพรรณนาพุทธคุณหนึ่งคาถา ความว่า...
    ปทุมํ ยถา โกกนุทํ สุคนฺธํ
    ปาโต สิยา ผุลฺลมวีตคนฺธํ
    องฺคีรสํ ปสฺส วิโรจมานํ
    ตปนุตมาทิจฺจมิวนฺตลฺเข ฯ
    “ดอกปทุมชาติที่ชื่อว่าโกกนุท ขยายกลีบแย้มบานตั้งแต่เวลารุ่งอรุณยามเช้า กลิ่นเกษร
    หอมระเหยไม่รู้จบเธอจงพินิจดูพระสักยมุนีอังคีรส ผู้มีพระรัศมีแผ่ไพโรจน์อยู่ ดุจดวงทิวากร
    ส่องสว่างอยู่กลางนภากาศ ฉะนั้น”
    •ปัญญาทึบพี่ชายไล่สึก
    ด้วยคาถาเพียงคาถาเดียวเท่านั้น ปรากฏว่าพระจูฬปันถก เรียนอยู่นานถึง ๔ เดือนก็ยังจำ
    ไม่ได้ ท่านพระมหาปันถกพี่ชาย พยายามเคี่ยวเข็ญอย่างไรก็ไม่สำเร็จ ในที่สุดก็เห็นว่าท่านเป็น
    คนโง่เขล่าปัญญาทึบ เป็นคนอาภัพในพระพุทธศาสนา ไม่สามารถจะบรรลุคุณพิเศษเจริญรุ่ง
    เรืองในพระศาสนาได้ จึงตำหนิประณามท่านแล้วขับไล่ออกจากสำนักไป ด้วยคำว่า
    “จูฬปันถก เธอใช้เวลาถึง ๔ เดือน ยังไม่อาจเรียนคาถาแม้เพียงบาทเดียวได้ นับว่าเธอ
    เป็นคนอาภัพ ไม่สมควรอยู่ในพระศาสนานี้ เพียงคาถาเดียวยังเรียนไม่ได้แล้วจะทำกิจแห่ง
    บรรพชิตให้ถึงที่สุดได้อย่างไร เมื่อเป็นเช่นนี้ เธอจงออกไปเสียจากที่นี้เถิด”
    ในวันนั้น หมอชีวกโกมารภัจ ได้กราบอาราธนาพระผู้มีพระภาคพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์
    ๕๐๐ รูป ไปเสวยและฉันภัตตาหารที่บ้านของตนในวันรุ่งขึ้นในฐานะที่พระมหาปันถก ผู้มีหน้าที่
    เป็นภัตตุทเทศก์ ได้จัดนิมนต์พระภิกษุสงฆ์ ทั้งหมดในพระอาราม ในฉันภัตราหารที่บ้านของ
    หมอชีวกโกมารภัจ นั้น เว้นเฉพาะพระจูฬปันถก เพียงรูปเดียวเหลือไว้ในพระอารา,
    พระจูฬปันถก เกิดความน้อยเนื้อต่ำใจในชีวิตและวาสนาของตนเอง คิดว่าตนเองเป็น
    อาภัพบุคคลในพระพุทธศาสนา ไม่สามารถที่จะบรรลุโลกุตรธรรมได้ จึงตัดสินใจที่จะสึกออก
    ไห้เป็นฆราวาสแล้วทำบุญสร้างกุศลต่างๆ ตามควรแก่ฐานะ จึงได้หลบออกจากวัดตั้งแต่เช้าตรู่
    ขณะนั้นพระผู้มีพระภาคเสด็จจงกรมอยู่ ได้ทอดพระเนตรเห็นเธอเดินมาจึงตรัสถามว่า:-
    “จูฬปันถก นั้นเธอจะไปไหนแต่เช้าตรู่เช่นนี้ ?”
    “ข้าแต่พระผู้มีพระภาค พระมหาปันถกได้ขับไล่ข้าพระพุทธเจ้าออกจากอาราม ดังนั้น
    ข้าพระพุทธเจ้าจะไปลาสิกขา พระเจ้าข้า”
    “จูฬปัถก เธอมิได้บวชเพื่อที่ชาย เธอบวชเพื่อตถาคตต่างหาก เมื่อพี่ชายขับไล่เธอ เหตุ
    ไฉนเธอจึงไม่มาหาตถาคต การกลับไปอยู่ครองเรือนจะมีประโยชน์อะไร มาอยู่กับตถาคตจะ
    ประเสริฐกว่า”
    พระบรมศาสดา พาเธอไปที่พระคันธกุฏี ประทานผ้าขาวบริสุทธิ์ผืนเล็ก ๆ ให้เธอผืน
    หนึ่ง แล้วทรงแนะนำให้เธอบริกรรมด้วยคาถาว่า รโชหรณํ รโชหรณํ พร้อมกับใช้มือลูบคลำผ้า
    ผืนนั้นไปด้วย เธอรับผ้ามาด้วยความเอิบอิ่มใจ แสวงหาที่สงบสงัดแล้วเริ่มปฏิบัติบริกรรมคาถา
    ลูบคลำผ้าที่พระพุทธองค์ประทานให้เธอบริกรรมได้ไม่นาน ผ้าขาวที่สะอาดบริสุทธิ์ผืนนั้น ก็
    เริ่มมีสีคล้ำเศร้าหมองเหมือนผ้าเช็ดมือ จึงคิดขึ้นว่า “ผ้าผืนนี้เดิมทีมีสีขาวบริสุทธิ์ แต่อาศัยการ
    ถูกต้องสัมผัสกับอัตภาพของเรา จึงกลายเป็นผ้าสกปรก เศร้าหมอง สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง
    หนอ” แล้วเจริญวิปัสสนากรรมฐานยกผ้าผืนนั้นขึ้นเปรียบเทียบกับอัตตภาพร่างกายเป็นอารมณ์
    ก็ได้บรรลุพระอรหัตผลพร้อมด้วยปฏิสัมภิทาญาณ คือปัญญาอันแตกฉานมี ๔ ประการคือ
    ๑. อัตถปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในอรรถ
    ๒. ธัมมปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในธรรม
    ๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในนิรุตติคือภาษา
    ๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในปฏิภาณ
    ครั้งรุ่งเช้า พระผู้มีพระภาคเจ้าพร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์ เสด็จไปยังเรือนของ
    หมอชีวกโกมารภัจ เพื่อเสวยภัตตาหารตามที่หมอชีวกกราบอาราธนาไว้ เมื่อหมอชีวกน้อมนำ
    ภัตตาหารเข้าไปถวายพระบรมศาสดา พระองค์ทรงปิดบาตรแล้วตรัสว่า “ยังมีพระภิกษุอีกรูป
    หนึ่ง อยู่ที่วัด” หมอชีวกจึงส่งคนไปนิมนต์ให้ท่านมาฉันภัตตาหาร


    •ประกาศความเป็นอรหันต์
    ขณะนั้น พระจูฬปันถก เพื่อจะประกาศความเป็นพระอรหันต์ของตน ให้ปรากฏ จึงได้
    เนรมิตพระภิกษุขึ้นถึงจำนวน ๑,๐๐๐ รูป ในพระอารามอยู่ในอิริยาบถต่าง ๆ กัน บ้างก็สาธยาย
    พุทธคุณ บ้างก็ซักจีวร บ้างก็ย้อมจีวร เป็นต้น เมื่อคนรับใช้มาถึงวัดได้เห็นพระภิกษุจำนวนมาก
    มายอย่างนั้น จึงรีบกลับไปแจ้งแก่หมอชีวก พระพุทธองค์ทรงสดับอยู่ด้วย จึงรับสั่งให้คนใช้นั้น
    ไปนิมนต์ท่านที่ชื่อจูฬปันถก
    คนรับใช้ไปกราบนิมนต์ตามพระดำรัสนั้น ด้วยคำว่า “ข้าแต่พระคุณเจ้า พระบรมศาสดา
    รับสั่งให้มานิมนต์พระจูฬปันถก ขอรับ” ปรากฏว่าพระภิกษุทุกรูปต่างก็พูดเหมือนกันว่า
    “อาตมา ชื่อพระจูฬปันถก” คนรับใช้ไม่รู้จะทำอย่างไรจึงต้องกลับไปกราบทูลพระบรมศาสดา
    ตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอีก พระพุทธองค์ ตรัสแนะว่า:-
    “ถ้าพระภิกษุรูปใดพูดขึ้นก่อน เธอจงจับมือภิกษุรูปนั้นไว้แล้วนำท่านมา ส่วนพระภิกษุ
    ที่เหลือก็จะหายไปเอง”
    คนรับใช้ ปฏิบัติตามที่พระผู้มีพระภาคทรงแนะนำนั้นแล้ว ได้นำพระจูฬปันถก สู่ที่
    นิมนต์ เมื่อเสร็จภัตกิจแล้ว พระบรมศาสดาทรงมอบให้ท่านเป็นผู้กล่าวภัตตานุโมทนา อันเป็น
    การเสริมศรัทธาแก่ทายกทายิกา


    •บุพกรรมของพระจูฬปันถก
    ในอดีตกาล ครั้งพระพุทธเจ้าพระนามว่ากัสสปะ พระจูฬปันถก ได้บวชเป็นพระภิกษุ
    ในครั้งนั้นด้วย ท่านเป็นผู้มีปัญญาดี จำทรงหลักธรรมคำสอนได้เร็วแม่นยำ ท่านเห็นเพื่อนภิกษุ
    รูปหนึ่ง ซึ่งปัญญาทึบท่องสาธยายหัวข้อธรรมเพียงบทเดียวก็จำไม่ได้ จึงหัวเราะเยาะท่าน ทำให้
    ภิกษุรูปนั้นเกิดความอับอายเลิกเรียนสาธยายหัวข้อธรรมนั้น เพราะกรรมเก่าในครั้งนั้นจึงเป็นผล
    ติดตามให้ท่านมีปัญญาทึบโง่เขลาในอัตภาพนี้
    พระจูฬปันถก สำเร็จเป็นพระอรหันต์แล้ว ได้เป็นกำลังช่วยกิจการพระศาสนาตามความ
    สามารถของท่านและโดยที่ท่านเป็นผู้มีความเชี่ยวชาญในมโนมยิทธิ พระบรมศาสดาจึงทรงยก
    ยองท่านในตำแหน่งเอตทัคคะ เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายในทางผู้ชำนาญในมโนมยิทธิ
    ท่านดำรงอายุสังขาร สมควรแก่กาลเวลาแล้วก็ดับขันธปรินิพพาน


    84000.org...::http://www.84000.org/one/1/35.html
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 เมษายน 2013
  15. newamazing

    newamazing เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    1,704
    ค่าพลัง:
    +1,381
    ศึกษาพุทธศานามาถึงขนาดนี้แล้วยังไม่รูว่าท่านพระจูฬปันถก สำเร็จเพราะอะไรอีกหรอครับ ท่านสำเร็จเพราะการพิจารณาผ้าที่มีการเปลี่ยนแปลงพิจารณาจนเกิดความจริงไตรลักษณ์จนเกิดการเบื่อหน่าย ไม่ได้บรรลุด้วยการบริกรรมคำใดคำหนึ่งโดยปราศจากการเข้าใจในเนื้อแท้เลยครับท่าน

    ถ้าท่านคิดว่าการบริกรรมคำใดคำหนึ่งแล้วทำให้ท่านเองบรรลุได้ขอให้ท่านบริกรรมตามสบายนะครับเอาคำนี้ดีไหม โดราเอมอนๆๆๆๆๆๆๆ ok ป่าว
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 เมษายน 2013
  16. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    เราต้องเข้าใจอย่างนี้นะว่า ลมหายใจที่เราหายใจอยู่นั้นประกอบด้วยธาตุ ๔
    คือ ดิน น้ำ ไฟ ลม เมื่อพิจารณาหายใจมีความรู้ สึกร้อน หรือเย็น เราจะตามระลึกรู้ว่านี่คือธาตุไฟ
    เป็นหมวดที่อยู่ในกายานุปัสสนา มี ๑๔ บรรพ มี ธาตุมนสิการบรรพะ
    พิจารณาเรื่อง ธาตุ 4 คือ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม
    ที่เมื่อคิดตามให้มากแล้วจะสามารถละคลายอนุสัยกิเลสได้
     
  17. tokyoo2

    tokyoo2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กันยายน 2012
    โพสต์:
    561
    ค่าพลัง:
    +419
    การบริกรรม ทำต่อไปได้ สำหรับคนที่เค้าฝึกมานานเเล้ว เพื่อทำให้จิตตั้งมั่นต่อไป
    เเต่สำหรับคนทึ่พึ้งฝึก การที่ไม่ตั้งไว้ที่ กายคตาสติ เเต่ไปตั้งไว้ที่ วิตก วิจาร จากสัญญา
    ตรงนี้ถ้าไม่เเน่จริง ๆ เวลาใกล้ตาย เมื่อไม่มีสติอยู่ที่กาย
    เเละยังไม่มีองค์ฌานประกอบ คือ ปิติ เป็นต้น เเต่เวลานั้น บริกรรมอะไรสักอย่างอยู่ ไม่ใช่การตั้งไว้ที่กาย ตามคำสอนศาสดา ว่าให้ตายอย่างมีสติ.(ตรงนี้อย่าเข้าใจว่า เอฺเราจะตายท่าไหนดี หรือกำลังจะตายท่าไหน ตรงนี้คือพวกไม่ควบคุมทวารในอินทรีย์ การมีสติเมื่อทำกาละ คือ ให้จิตตั้งไว้ที่กาย. เช่นลมหายใจ) ถ้าไม่อยู่เรียกว่า. สติหลงลืม คือ ฟุ้งซ่านไปภายนอก
    ทีนี้ ถ้าคิดว่า การบริกรรม พุทโธ เป็นกุศลอย่าง1 มันก็น่าสนใจว่า ถ้าอีกพวกนับเลข 1234
    เค้าจะไปไหน เเบบนี้มันเหมือน2มาตรฐานทั่งที่ทำเหมือนกัน ผิดกันเเค่คำบริกรรม เเต่อาจไปคนละที่ได้ ฉนั้นผมถึงบอกว่าต้องเเน่จริงๆสำหรับผู้ฝึกใหม่ ใช้การบริกรรม. เเละพระองค์ก็ไม่ได้รับรองด้วยว่าถ้า ท่อง พุทโธ จะได้ไปจริงๆหรือเปล่า ตรัสเเต่ให้มีสติ อยู่ที่กาย
     
  18. tokyoo2

    tokyoo2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กันยายน 2012
    โพสต์:
    561
    ค่าพลัง:
    +419
    ภิกษุ .! วาโยธาตุ เป็นอย่างไรเล่า? วาโยธาตุ ที่เป็นไปในภายใน
    ก็มี, ที่เป็นภายนอก ก็มี.

    ภิกษุ .! วาโยธาตุ ที่เป็นไปในภายใน เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ !
    ส่วนใดเป็นลม ไหวตัวได้ อันวิญญาณธาตุอาศัยแล้ว ซึ่งมีอยู่ในตน เฉพาะ
    ตน กล่าวคือ ลมพัดขึ้นเบื้องสูงอย่างหนึ่ง, ลมพัดลงเบื้องต่ำอย่างหนึ่ง, ลม
    นอนอยู่ในท้องอย่างหนึ่ง, ลมนอนอยู่ในลำไส้อย่างหนึ่ง, ลมแล่นไปทั่วทั้ง-
    ตัวอย่างหนึ่ง, และลมหายใจเข้าออกอย่างหนึ่ง; หรือแม้ส่วนอื่นอีกไร ๆ
    (ซึ่งมีลักษณะอย่างเดียวกัน). ภิกษุ ท.! นี้ เรียกว่า วาโยธาตุ ที่เป็นไปใน
    ภายใน. ภิกษุ ! วาโยธาตุ ที่เป็นไปในภายใน ก็ตาม ที่เป็นภายนอก ก็ตาม;
    นี้แหละ เรียกว่า วาโยธาตุ.

    ===
    เรื่องธาตุถ้าไม่ เเยกดีๆ ว่าอะไร คือ ธาตุ ดินน้ำลมไฟ
    เราจะมนสิการธาตุ4ตามนัยสติปัฏฐาน ไม่เป็นเลย
    เหมือนกับการพิจารณาอสุภะ ไม่รู้อะไรคือ ตับ อะไรคือ ไต
    เราจะไม่เข้าใจว่าต้องทำอย่างไรกันเเน่ ทั้งๆ ตับ ไต ไส้ พุง มันก็มีกันทุกคน เพียงเเค่ให้จิตไปรับรู้ถึงสิ่งนั้น
    เมื่อไม่เข้าใจอย่างนี้ มันก็กลายเป็นเรื่องนอกตัว ไปทำการ บริกรรม ไปนึกอะไรต่างๆขึ้นมาเเทน ทั้งที่มันมีอยู่ทุกๆคน ฉนั้น ก่อนพิจรานา พระองค์ให้เห็นกายนี้(ตัวเอง)จากพื้นเท้าขึ้นสู่เบื้องบน. จากปลายผมลงมาเบื้องต่ำ ให้เข้าใจว่ามีหนังหุ้มโดยรอบมีเเต่ของไม่สะอาด. คือให้ทำความเข้าใจ ในภายใน ไม่ใช่รู้เเต่ภายนอก
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 เมษายน 2013
  19. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    .............โตเกียวสอน...ก็ อย่าไปคิดว่า เป็นคำสอน ของ พระ ล่ะ อิอิ...:cool:โยนิโสแค่นี้ก่อน...อิอิ
     
  20. ได้คับ

    ได้คับ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    110
    ค่าพลัง:
    +106
    ขอบคุณคุณลุงหมานครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...