ความมหัศจรรย์ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย Samarnl, 20 เมษายน 2013.

  1. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    ความมหัศจรรย์ของทุกข์

    ใดใดในโลกล้วนตกอยู่ในกองทุกข์ทั้งมวล
    สัตว์โลก ที่เป็นมนุษย์ หรือเทวดา
    ต่างก็แสวงหาความพ้นทุกข์ เช่นเดียวกัน

    แต่การแสวงหาความพ้นทุกข์นั้นแตกต่างกันออกไป
    โดยการ ให้ทาน รักษาศีล ปฏิบัติธรรม เจริญภาวนา และอีกมากมาย

    ทุกข์ เป็นความจริงข้อหนึ่งที่อยู่ในอริยสัจจ์
    ที่เป็นข้อแรกที่ต้องควรกำหนดรู้ แต่เราไปกำหนดละ
    เมื่อไม่รู้จักทุกข์ ก็ย่อมออกจากทุกข์ไม่ได้เช่นกัน

    เมื่อทุกข์เกิดขึ้นต่างคนก็จะหนีทุกข์ เช่นว่า เมื่อเรายืนอยู่นานๆ
    อาการปวดเมื่อยก็เกิดขึ้นนั่นแสดงว่าอาการของทุกข์
    กำลังจะปรากฏขึ้นให้เรารู้อยู่ว่าสัจจ์หนึ่งได้เกิดขึ้นแล้ว

    แต่เรากลับไปหาที่นั่งเสียเพื่อให้ทุกข์นั้นหายไป
    โดยที่เรามิได้เอาทุกข์นั้นมากำหนดดู โอกาสที่ดีจึงหมดไป
    ทุกข์มีอยู่ในทุกกิริยาบท ทุกข์เป็นเพื่อนที่แสนดีอยู่กับเราตลอดเวลา

    ทุกข์นั่นแหละที่พยายามจะสอนเราเพื่อให้ออกจากทุกข์
    แต่เรากลับไม่สนใจกลับไปแสวงหาสุข โดยการเปลี่ยนกิริยบทเสีย
    หรือ ปวดอุจจาระ ปัสสาวะ ก็รีบไปทำกิจเสียเพื่อให้ทุกข์หายไปเพื่อจะได้สุขมา

    เรากินกับทุกข์ นอนอยู่กับทุกข์ ไปไหนก็ไปกับทุกข์ แต่ไม่เห็นคุณของทุกข์
    ผมจึงกล่าวว่าทุกข์นี่แหละเป็นสิ่งอัศจรรย์อย่างยิ่ง ไม่ควรมองข้ามไปเสีย
    หันมาเอาทุกข์นี่แหละมากำหนดเสีย เพื่อจะข้ามให้พ้นทุกข์ให้ได้จริง
     
  2. บุคคลทั่วไป 3 คน

    บุคคลทั่วไป 3 คน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,938
    ค่าพลัง:
    +1,253
    ปัญหามันอยู่ที่ว่า อะไร ช่วยให้เห็น ทุกข์ได้แจ่มๆ ดั่ง เห็นฟ้าแล๊บ
    ตามความเป็นจริง คือ มันไม่ได้ลงมาเป็นเส้น เป็นสาย แต่มันลงมา
    อย่าง อนุภาคต่ออนุภาค

    เลือกคำตอบ

    1. เห็นด้วยตา
    2. เห็นด้วยลิ้น
    3. ยินด้วยหู
    4. เอาตะมูกสูดกลิ่น
    5. เอากายสัมผัส อะจ๊ากส !!
    6. ใช้ใจนึกๆคิดๆให้ถูกวิธี
    7. ใช้ใจหนึ่งไม่ห่างจาก ฌาณ
    8. ใช้ใจร้องเพลงหินเหล็กไฟ ...."ไม่มี.....ก็คงต้องมีสักวัน..."

    *****

    ปล. ทำไมต้องถาม ก็ ฉมมุดว่า มีโจรยิงปืนเปรี้ยงเข้ากลางหน้าผาก
    จะรู้ได้อย่างไรว่า " รู้ทุกข์ได้อยู่ตามสิกขา "
     
  3. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    ถ้าผู้ใดเห็นทุกข์ได้ ชื่อว่าเห็นความมหัศจรรย์
    เพราะญาณได้เกิดขึ้นแล้ว ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้ว
     
  4. DuchessFidgette

    DuchessFidgette เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 ตุลาคม 2012
    โพสต์:
    2,607
    ค่าพลัง:
    +9,302
    เห็นทุกข์ได้ รู้ว่าทุกข์ แต่ทำใจให้วางทุกข์ไม่ได้นี้สิ ถือว่าทุกข์ยิ่งกว่าอะไรทั้งปวง
     
  5. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    เห็นทุกข์ได้ รู้ว่าทุกข์ .... ย่อมเข้าใจในทุกข์ เป็นการวางทุกข์
     
  6. บุคคลทั่วไป 3 คน

    บุคคลทั่วไป 3 คน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,938
    ค่าพลัง:
    +1,253
    คุณ เห็นมาแบบไหน

    คุณ เห็นทุกข์ได้ตามความเป็นจริง แน่นอน มั่นคง ไม่เห็นผิด ใช่ไหม

    ถ้า คุณเห็นทุกข์ รู้ว่านั่นทุกข์ ได้ตามความเป็นจริง คุณ จะเห็นว่า
    ทุกข์นั่นคือตน หรือ ทุกข์นั้นเป็นของๆตน หรือเปล่า !?

    เมื่อเห็นทุกข์ว่าไม่ใช่ตน ไม่ใช่ของๆตน รู้เท่าเอาทัน คุณยังต้อง
    ดำริจะวางทุกข์นั้นลงอีกหรือ ยังต้องเสียเวลาสร้างสัมมาทิฏฐิมา
    ตามประกบอีกหรือ

    แต่ถ้า ขณะเห็นทุกข์ สัมมาทิฏฐิ ก็รู้พร้อม ถึงพร้อมทิฏฐิทันทีที่เห็นทุกข์
    ลองพิจารณาสิว่า ยังต้องเสียเวลาดำริ เพื่อจะวางอีกหรือเปล่า !?

    สมมติว่า เห็นทุกข์แล้ว สัมมาทิฏฐิไม่ถึงพร้อมกัน ต้องทำ มโนยุกยิก
    เข้าไปเมืองแก้ว รอให้เขายิ้ม แล้วค่อยถามว่า เกล้ากระหม่อมเห็นทุกข์
    มาจริงปานนี้ เกล้ากระหม่อมควรวางอย่างไรดี แล้ว รอคำตอบ แบบนี้
    เขาเรียกว่า รอให้ มารเข้าแทรก หรือเปล่า เพราะ ช่องว่าง ระหว่าง
    ทันทีที่เห็นทุกข์ กับ การได้คำตอบในการวางทุกข์ ต้องเคลื่อนจิตไม่
    รู้เท่าไหร่ต่อเท่าไหร่ ความยากในการวางทุกข์ เกิดขึ้นเพราะอะไรกัน
    แน่ เพราะ ปราศจาก สัมมาทิฏฐิ ที่ถึงพร้อมกับการ เห็นทุกข์ หรือไม่ !?
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 เมษายน 2013
  7. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    หากจะแปลว่า การเห็นทุกข์คือรู้เท่าทันทุกข์

    หากรู้เท่าทันทุกข์ ไม่ต้องกลัวหรอก
    รู้เท่าทันทุกข์เมื่อไร ทุกข์มันหนีเอง

    เราฝึกปฏิบัติก็เพียง รู้เท่าทันทุกข์

    ทุกข์ควรกำหนดรู้ มีเท่านี้


    ทีนี้หากจะบอกว่า
    "เห็นทุกข์ได้ รู้ว่าทุกข์ แต่ทำใจให้วางทุกข์ไม่ได้นี้สิ"

    อันนี้เรียกว่า ยังไม่เห็นจริง ยังไม่รู้เท่าทันทุกข์จริง
    มันเลยเป็นแบบ " ทำใจให้วางทุกข์ไม่ได้ "
     
  8. chuchart_11

    chuchart_11 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    764
    ค่าพลัง:
    +2,932
    ขออนุโมทนาสาธุ ธรรมใดที่ท่านสำเร็จแล้ว ขอข้าพเจ้าสำเร็จด้วยเทอญ สาธุๆๆ
     
  9. ยศวดี

    ยศวดี ยายแก่แล้ว*_*

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 เมษายน 2010
    โพสต์:
    4,255
    กระทู้เรื่องเด่น:
    11
    ค่าพลัง:
    +5,796
    เห็นคับ ตัวเท่าบ้านเลยคับ สูงส่งมากเลยคับ
    ขอบคุณคับ
     
  10. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    ข้อปฏิบัติที่เป็นหนทางดับทุกข์ได้นั้น
    ก็คือเจริญองค์มรรค ๘ ที่เกี่ยวกับสติปัฏฐาน ๔ เท่านั้น
    การปฏิบัตินอกจากนี้แล้วไม่ว่าการปฏิบัตินั้นจะกระทำไปอย่างพิสดารลำบากยากเข็ญอย่างไร
    หรือละเอียดปราณีตอย่างไรก็ตาม หรือจะใช้เวลาปฏิบัตินานสักเพียงไรก็ตาม
    ก็ไม่ใช่เป็นหนทางที่จะชำระกิเลสให้หมดไปสิ้นไป แล้วเข้าถึงความทุกข์ทั้งปวงได้
    หมายความว่า ขึ้นชื่อว่ามีการปฏิบัติและมีความภาคเพียรต่อการปฏิบัติแล้ว
    ก็อย่าพึงเชื่อว่าการปฏิบัตินั้นจะถูกต้องเสมอไป
    ด้วยเหตุนี้ท่านพระพุทธโฆษาจารย์จึงแสดงไว้ในวิสุทธิมรรคอรรถกถาว่า
    ยถาภูตํ อชานนฺตา สุทฺธิกามาปิ เย อิธ
    วิสุทฺธึ นาธิคจฺฉนฺติ วายมนฺตาปิ โยคิโนฯ

    พระโยคี คือ ผู้ประกอบด้วยความพยายามในการเจริญภาวนาทั้งหลายเหล่าใด
    แม้มีความประสงค์บริสุทธิ์ในพระศาสนาแห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและมีความพยายามปฏิบัติ
    แต่ไม่เข้าใจที่ถูกต้องตามความเป็นจริง พระโยคีเหล่านั้นย่อมไม่อาจสำเร็จเข้าถึงความบริสุทธิ์ได้
    แต่อย่างไรก็ตาม บุคคลทั้งหลายที่พากันปฏิบัติตามลัทธิของตนๆ
    ต่างก็มีจุดประสงค์เช่นเดียวกันทั้งสิ้น แต่ความทุกข์ต่างๆ นั้นก็หาได้หมดสิ้นลงไปไม่ กลับยิ่งหนักขึ้น
    หรือมิฉะนั้น ก็มีการ เกิด แก่ เจ็บ ตาย อยู่ในสังสารวัฏฏ์ ยืดยาวไม่มีสิ้นสุด

    ทั้งนี้บุคคลบางพวกในลัทธิพุทธศาสนา ที่มิได้มีความปรารถนาสัมมาสัมโพธิญาณ ปัจเจกโพธิญาน
    อัครสาวกโพธิญาณ มหาสาวกโพธิญาณ แต่อย่างใด ปรารถนาให้พ้นทุกข์ให้เข้าถึงพระนิพพานโดยตรงรวดเดียว
    ดังกล่าวที่ว่าคำปรารถนาว่า "อิทํ เม ปุญญํ อาสวกฺขยํ วหํ โหตุ"แต่ผู้นั้นก็ยังมีความพอใจปฏิบัติเพียงแค่ ทาน ศีล สมถภาวนา
    ไม่ได้ปฏิบัติให้เข้าถึงองค์มรรคในแนวของสติปัฏฐาน ๔ ฉะนั้น
    การปฏิบัติเช่นนี้ก็นับว่ายังเป็นไปด้วยอำนาจของโลภะอยู่
    ด้วยเหตุนี่ผู้ปฏิบัติจึงยังต้อง เกิด แก่ เจ็บ ตาย อยู่ในวัฏฏสงสารอีกยาวนาน ตรงข้ามกับความประสงค์ของตน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 21 เมษายน 2013

แชร์หน้านี้

Loading...