การสวด ภาวนา ชินบัญชร ถือเป็นการทำสมาธิได้หรือไม่

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย Thumma117, 18 กุมภาพันธ์ 2013.

  1. Thumma117

    Thumma117 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มกราคม 2013
    โพสต์:
    58
    ค่าพลัง:
    +89
    ตามหัวข้อเลย ครับ ...
    เรื่องมันมีอยู่ว่า ผมได้รับการแนะนำว่าให้ท่องบทสวดชินบัญชร เค้าบอกว่าจะดี
    ผมก็เลย วางแผนว่าจะจำวันละ บท น่าจะ 15วันถึงจำได้ เพราะมันยาวเหลือเกิน..
    พอวันแรกที่เริ่มจำ ก็เอาบทมาอ่าน ปรากฏว่า อ่านไปอ่านมา ดันจำได้ ทั้ง 15บทภายใน 2-3 ชม. (ทั้งๆที่ไม่เคยสนใจ บทสวดนี้มาก่อนเลย)
    หลังจากวันแรกผม ก้อสวดได้ โดยไม่ต้องดูบทสวดอีกแล้ว ซึ่งมันแปลกคือผมไม่เคยสนใจที่จะสวดบทสวดนี้เลย เพราะแค่เปิดดูมันก้อยาวเหลือเกิน และดูท่าจะจำยาก เลยไม่สนใจ

    คราวนี้ที่จำได้ก็เพราะว่าเราตั้งใจจะจำ .. แต่ละบรรทัด แต่ละบท ผมอ่านแล้วมีความรู้สึกเหมือนมันมีความสัมพันธ์กัน พยายามจะสื่อความหมายอะไรบางอย่าง (แต่ผมแปลไม่ออกหรอกนะ .. ต้องไปหาคำแปลในอินเตอร์เนท) ก็เลยดีใจ ที่จู่ๆดันจำบทสวดนี้ได้

    และ ผมเห็นในหนังสือสวดมนต์ เค้าบรรยาย สรรพคุณว่า ถ้าสวดชินบัญชร วันละ 108จบ ได้เป็นเวลา 7ปี จะทำให้จิตใจ น้อมนำเข้าสู่นิพพาน (ผมสงสัยว่า ดีขนาดนั้นเลยหรอ)
    ผมสงสัยว่า
    1) มีใครได้ฝึกจนได้ ฌาน จากการสวดภาวนา บ้างไหม
    2) มีใคร บรรลุธรรม จากการสวดชินบัญชร วันละ ร้อยกว่าจบไหม
    3) การสวดมนต์ นอกจากจะได้ความสงบ เราจะได้บุญยังไง
    4) การสวดชินบัญชร ตลอดเวลาทั้งวัน ถือเป็นการลบหลู่บทสวดไหมครับ เพราะมีบางครั้งก้อเข้าห้องน้ำ

    ขอบคุณล่วงหน้า ทุกความคิดเห็นครับ
     
  2. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,941
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819

    เคยได้ยินไหมครับ อ่านหนังสือ จน จิตเป็น สมาธิ เป็น ฌาน

    เคยได้ยินไหมครับ สวดมนต์ จน เป็น สมาธิ เป็น ฌาน

    และเคยได้ยินไหมครับ ไปวัด ได้ บาป แทน บุญ

    ลองหาอ่าน ตาม google


    จะทำอะไรก็แล้วแต่ อยู่ที่ จิต ครับ

    สวดมนต์ แต่ จิตไม่สงบ ฟุ้งซ้าน สวดไปอีก 100 ชาติ ก็ไม่บรรลุใดๆ

    จะทำอะไร อยู่ที่ จิต ลงที่ จิต ครับ

    1. มีครับ

    2.บรรลุ ธรรม ธรรมอะไรละ ถ้า สมาธิ ฌาน มีครับ จะบทไหนก็แล้วแต่

    3.ได้ บุญ อย่างไร ก็ต้องถามกลับว่า บาป อกุศลกรรม ได้อย่างไร

    สวดมนต์ไป แต่ จิต คิดเรื่อง อกุศลกรรม มันก็ ได้ บาป ไปแทน

    ฉนั้น จะบาป หรือ จะได้ บุญ อยู่ที่ จิต

    ลองหาอ่าน เรื่อง ประเภทของ บุญ ดูนะครับ ว่าอะไรบ้าง ที่เรียกว่า บุญ

    4.ทำความดี ไม่เลือก สถานที่ หรอกครับ จะ เข้า ส่วม เข้าอะไรก็แล้วแต่ นะ


    ทำความดี ได้บุญ กุศลกรรม อยู่แล้วครับ


    บุญกิริยาวัตถุ ๑๐ ประการ คือ สิ่งอันเป็นที่ตั้งแห่งการทำบุญ หรือกล่าวอย่างง่ายๆว่า การกระทำที่เกิดเป็นบุญ เป็นกุศล แก่ผู้กระทำดังต่อไปนี้

    ๑. บุญสำเร็จได้ด้วยการบริจาคทาน (ทานมัย) คือการเสียสละนับแต่ทรัพย์ สิ่งของ เงินทอง ตลอดจนกำลังกาย สติปัญญา ความรู้ความสามารถ เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ผู้อื่นโดยส่วนรวม รวมถึงการละกิเลส โลภะ โทสะ โมหะ ออกจากจิตใจ จนถึงการสละชีวิตอันเป็นสิ่งมีค่าที่สุดเพื่อการปฏิบัติธรรม

    ๒. บุญสำเร็จได้ด้วยการรักษาศีล (สีลมัย) คือการตั้งใจรักษาศีล และการปฏิบัติตนไม่ให้ละเมิดศีล ไม่ว่าจะเป็นศีล ๕ หรือศีล ๘ ของอุบาสกอุบาสิกา ศีล ๑๐ ของสามเณร หรือ ๒๒๗ ข้อของพระภิกษุ เพื่อรักษากาย วาจา และใจ ให้บริสุทธิ์สะอาด พ้นจากกายทุจริต ๔ ประการ คือ ละเว้นจากการฆ่าสัตว์ ละเว้นจากการลักทรัพย์ ละเว้นจากการประพฤติผิดในกาม และเสพสิ่งเสพติดมึนเมา อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท วจีทุจริต ๔ ประการ คือไม่พูดส่อเสียด ไม่พูดปด ไม่พูดเพ้อเจ้อ และไม่พูดคำหยาบ มโนทุจริต ๓ ประการ คือ ไม่หลงงมงาย ไม่พยาบาท ไม่หลงผิดจากทำนองคลองธรรม

    ๓. บุญสำเร็จได้ด้วยการภาวนา (ภาวนามัย ) คือการอบรมจิตใจในการละกิเลส ตั้งแต่ขั้นหยาบไป จนถึงกิเลสอย่างละเอียด ยกระดับจิตใจให้สูงขึ้นโดยใช้สมาธิปัญญา รู้ทางเจริญและทางเสื่อม จนเข้าใจอริยสัจ ๔ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรค เป็นทางไปสู่ความพ้นทุกข์ บรรลุมรรค ผล นิพพานได้ในที่สุด

    ๔. บุญสำเร็จได้ด้วยการประพฤติอ่อนน้อมถ่อมตนต่อผู้ใหญ่ (อปจายนมัย) คือการให้ความเคารพ ผู้ใหญ่และผู้มีพระคุณ ๓ ประเภท คือ ผู้มี วัยวุฒิ ได้แก่พ่อแม่ ญาติพี่น้องและผู้สูงอายุ ผู้มี คุณวุฒิ หรือคุณสมบัติ ได้แก่ ครูบาอาจารย์ พระภิกษุสงฆ์ และผู้มี ชาติวุฒิ ได้แก่พระมหากษัตริย์ และเชื้อพระวงศ์

    ๕. บุญสำเร็จได้ด้วยการขวนขวายในกิจการที่ชอบ (เวยยาวัจจมัย) คือ การกระทำสิ่งที่เป็นคุณงามความดี ที่เกิดประโยชน์ต่อคนส่วนรวม โดยเฉพาะทางพระพุทธศาสนา เช่น การชักนำบุคคลให้มาประพฤติปฏิบัติธรรม มีทาน ศีล ภาวนา เป็นต้น ในฝ่ายสัมมาทิฎฐิ

    ๖. บุญสำเร็จได้ด้วยการให้ส่วนบุญ (ปัตติทานมัย) คือ การอุทิศส่วนบุญกุศลที่ได้กระทำไว้ ให้แก่สรรพสัตว์ทั้งปวง การบอกให้ผู้อื่นได้ร่วมอนุโมทนาด้วย ทั้งมนุษย์และอมนุษย์ ได้ทราบข่าวการบุญการกุศลที่เราได้กระทำไป

    ๗. บุญสำเร็จได้ด้วยการอนุโมทนา (ปัตตานุโมทนามัย) คือ การได้ร่วมอนุโมทนา เช่น กล่าวว่า “สาธุ” เพื่อเป็นการยินดี ยอมรับความดี และขอมีส่วนร่วมในความดีของบุคคลอื่น ถึงแม้ว่าเราไม่มีโอกาสได้กระทำ ก็ขอให้ได้มีโอกาสได้แสดงการรับรู้ด้วยใจปีติยินดีในบุญกุศลนั้น ผลบุญก็จะเกิดแก่บุคคลที่ได้อนุโมทนาบุญนั้นเองด้วย

    ๘. บุญสำเร็จได้ด้วยการฟังธรรม (ธัมมัสสวนมัย) คือ การตั้งใจฟังธรรมที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อน หรือที่เคยฟังแล้วก็รับฟังเพื่อได้รับความกระจ่างมากขึ้น บรรเทาความสงสัยและทำความเห็นให้ถูกต้องยิ่งขึ้น จนเกิดปัญญาหรือความรู้ก็พยายามนำเอาความรู้และธรรมะนั้นนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ สู่หนทางเจริญต่อไป

    ๙. บุญสำเร็จด้วยการแสดงธรรม (ธัมมเทสนามัย) คือ การแสดงธรรมไม่ว่าจะเป็นรูปของการกระทำ หรือการประพฤติปฏิบัติด้วยกาย วาจา ใจ ในทางที่ชอบ ตามรอยบาทองค์พระศาสดา ให้เป็นตัวอย่างที่ดีแก่บุคคลอื่น หรือการนำธรรมไปขัดเกลากิเลสอุปนิสัยเพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ผู้อื่น ให้เกิดความเลื่อมใสศรัทธา มาประพฤติปฏิบัติธรรมต่อไป

    ๑๐. บุญสำเร็จได้ด้วยการทำความเห็นให้ตรง (ทิฏฐชุกัมม์) คือ ความเข้าใจในเรื่อง บาป บุญ คุณ โทษ สิ่งที่เป็นแก่นสารสาระหรือที่ไม่ใช่แก่นสารสาระ ทางเจริญทางเสื่อม สิ่งอันควรประพฤติสิ่งอันควรละเว้น ตลอดจนการกระทำความคิดความเห็นให้เป็นสัมมาทิฏฐิอยู่เสมอ

    บุญกิริยาวัตถุทั้ง ๑๐ ประการนี้ ผู้ใดได้ปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่งหรือยิ่งมากจนครบ ๑๐ ประการแล้ว ผลบุญย่อมเกิดแก่ผู้ได้กระทำมากตามบุญที่ได้กระทำ ยิ่งได้มีการเตรียมกาย วาจา ใจ ให้สะอาดบริสุทธิ์ ตั้งใจจรดเข้าสู่ศูนย์กลางกาย หยุดในหยุด เข้าไปแล้วก็ยิ่งได้รับบุญมหาศาลตามความละเอียดประณีตที่เข้าถึงยิ่งๆ ขึ้นไป

    ที่มา
    http://www.dhammakaya.org/dhamma/boon01.php
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 กุมภาพันธ์ 2013
  3. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,647
    สวดมนต์ก็ถือเป็นการภาวนาอย่างหนึ่งนั้นหละครับ เมื่อภาวนาจิตสงบ ควรแก่การงาน ว่างจากนิวรณ์ก็สามารถนำมาพิจารณาธรรมได้ ...

    แต่ถ้าจะหมายเอาสวดมนต์อย่างเดียวร้อยจบให้บรรลุธรรม แล้วท่องแบบนกแก้วนกขุนทองไม่รู้ความหมายอย่างนี้ ถ้าจะเอานิพพานชาตินี้ก็ยากอยู่ แต่ถ้าจะเอาเป็นอนุสัยนำส่งให้เข้าถึงนิพพานได้ในอนาคต อันนี้ก็ได้อยู่ครับ.....เพราะการสวดมนต์ มีกุศลจิต กุศลเจตนา เป็นพื้น...
     
  4. เล่าปัง

    เล่าปัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    4,787
    ค่าพลัง:
    +7,918
    โห เป็นถึงว่าที่ ดร.

    เจ้าของกระทู้นี่ หน่วยก้านทางสมองนี่ อันดับหนึ่งอยู่แล้ว มิต้องสงสัยเลย
    ตัวอักขระวิธี ขีดเขียน อ่านเป็น verbal เพื่อให้เกิดแรงสั่นสะเทือน จะที่
    ฐานจิต(เสียงในมโนทวาร) หรือจะเป็น ลูกคอ(เสียงจากกล่องเสียง) ย่อม
    ไม่ใช่เรื่องยากสำหรับ จขกท ที่จะท่อง และ จำได้ภายในวันเดียว

    ทีนี้ มาที่ ประเด็น ท่อง108จบ นิพพาน ได้ไหม ....อันนี้ มีคนเขาให้
    "กุศโลบาย" เหนี่ยวนำกระแสไว้แบบนั้น แล้วมันจะทำได้ไหม

    ก็ต้องเปรียบเทียบให้ฟังว่า การท่องคาถาม 108 จบ ก็เหมือน เอาขด
    ทองแดงมาพันรอบแกนไว้ร้อยแปดรอบ ถ้าเช้า กลาง วัน เย็น สามคาบ
    สามเวลา สามแกน พันไว้สามแกน มันก็เหมือนเราเตรียมอุปกรณ์เอาไว้

    การมานั่งใกล้สัปบุรุษ การสนใจฟังธรรมะ ก็เหมือน เอา อุปกรณ์ที่เรา
    พันลวดทองแดงเอาไว้ไปวางใกล้ๆ สนามแม่เหล็กถาวร ที่เขามีพลังใน
    ตัวของเรา ที่พอจะส่งมาเหนี่ยวนำเราให้เคลื่อนได้ แต่.........

    มันจะยังไม่เคลื่อน ในกรณีที่ ไม่มีแรงสั่นสะเทือน เข้ากระทำ ช่วยหนุน
    ช่วยส่ง

    มันอยู่ตรงแรงกระทำ ที่เข้าหนุน เข้าส่ง นี่แหละ ที่จะเป็น จุดตั้งต้นของ
    การหมุนได้ด้วยตัวเอง

    ดังนั้น ก็อยากนำเรียนท่านว่า หากคุณสวดมนต์แล้วสังเกตเห็น จิตมีปิติ
    จิตมีความสงบ จิตมีความเย็น เป็นแรงช่วยผลักดัน เป็น อินดิเคเตอร์ ที่
    ช่วยชี้ ถึงสิ่งที่เราประกอบ คือ สวดมนต์108พันรอบ แล้ว ใจเรามี ปิติ มีสุข
    มีอุเบกขา และ เยี่ยมที่สุดคือ มีความเสถียร มีปัสสัทธิ ก็มีความ
    เป็นไปได้ที่จะโน้มไปสู่ สิ่งที่เขานิยามว่า นิพพาน

    เพราะ หากขดทองแดงพันรอบแกน 108 พันรอบ บวกกับการ นั่งใกล้แม่
    เหล็กถาวรอันเสมือนการฟังธรรม การนั่งใกล้สัปปบุรุษ และ มีแรงกระทำ
    คือ ผลักดันให้จิตมี ปิติ แล้ว มีสุข หรือ มีปัสสัทธิ อย่างใดอย่างหนึ่ง การ
    ประกอบนั้นย่อมให้ "พลังงาน"

    พลังงานที่ได้ เราจะต้อง เอามาบริหาร จัดการ

    ถ้าเอาไปส่งออก เพ่งวัตถุ รูป หรือ นาม ก็จะเป็น จิตส่งออก ทำให้สูญเสีย
    พลังงานไปกับ ประโยชน์นอกๆ มีเท่าไหร่ก็ใช้ไป มีเท่าไหร่ ก็ส่งออกหมด

    แต่ถ้า พลังงาน นั้น เราบริหารจัดการ ส่งออกแต่ พอดี พอยังประโยชน์
    เล็กๆน้อยๆ ตามอัตภาพ เท่าที่จำเป็น เท่าที่ต้องการพักผ่อน แล้วสงวน
    พลังงานนั้นไว้อีกส่วนหนึ่ง

    ตรงรู้จัก สงวนพลังงานนั้นไว้(ไม่ใช่สะสม) จนถึงระดับ จนยิ่งยวดด้วยสมดุลย์
    เชิงผลวัติ(ใช้ไป กับ การสร้าง เสถียร ) เราจะสามารถปลอดปล่อยพลังงานได้
    ชนิด จังหวะเดียว แต่ มหาศาล !!!

    การปลดปล่อยพลังงานจังหวะเดียว แต่ มหาศาลนั้น หากมันชัดว่า นี้ก็
    คือการส่งออกที่หลอกจิตหลอกใจมากที่สุด อันนักวิทยศาตร์ที่ไม่เข้า
    ใจความบริสุทธิจะพึงหลงว่า ตนกำลังรู้พลังอันเลิศ เมื่อนั้น จะเกิด
    สติเห็น จิตส่งออกแบบชัดๆ แล้ว การโน้มไปสู่ สิ่งที่บริสุทธิ และ
    เหนือกว่า การหลงติดในพลังงาน จะปรากฏให้เรา โน้มไปเห็น

    เห็นแล้ว จะยอมรับว่า เป็นอริยสัจจ ที่เหนือโลก เหนือสมมติใดๆ หรือไม่

    ก็แล้วแต่ ความอิ่มตัว ในการเห็นแจ้ง และ คลายความยึดติด ในการ
    เห็นแจ้งนั้นๆ ด้วยไปพร้อมๆ กัน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 กุมภาพันธ์ 2013
  5. เล่าปัง

    เล่าปัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    4,787
    ค่าพลัง:
    +7,918
    ตอบอีกที :

    1) มีใครได้ฝึกจนได้ ฌาน จากการสวดภาวนา บ้างไหม

    ก็ต้อง หัดสังเกต สภาพธรรม ที่เรียกว่า "ปิติ สุข" คนที่ สวดมนต์
    แล้วแบ่งจิตใจมาสังเกตเห็น สภาพธรรม ปิติ สุข ที่เกิดขึ้น ก็จะรู้ด้วย
    ตัวเองว่า จิตมี ฌาณ กี่ขณะ แล้วถ้า สังเกตเป็นเมื่อไหร่ ก็ สามารถ
    สังเกต ปิติ สุข ได้ทั้งวัน เหมือนเรา สวดมนต์ทั้งวัน จิตไม่ห่างจาก ฌาณ
    ได้เกือบทั้งวัน จะต้องให้ใครมาหลอกเราไหมว่า เราไม่ได้ประกอบ ฌาณ


    2) มีใคร บรรลุธรรม จากการสวดชินบัญชร วันละ ร้อยกว่าจบไหม

    ไม่มีใครบรรลุธรรมด้วยการ สวดชินบัญชร หรือ การสวดมนต์ใดๆ แต่คนที่
    สวดมนต์เพื่อ กุศโลบายในการ อาศัยระลึกเห็น จิตมีปิติ มีสุข แต่วิเวกอยู่
    ไม่กระดี้กระด้า ไม่เอาไปอวดใครว่า จิตข้าทรงฌาณ จิตข้าแล่นไปเห็น
    สิ่งที่เห็นได้ยากบรรดามี มาเล่าอวด "มโนจิตยุกยิ๊ก" แต่ ตามเห็นความ
    ไม่เที่ยงของ จิตที่มีฌาณ สลับกับ จิตที่ไม่มีฌาณ เจริญและเสื่อมๆ ก็จะ
    อาศัย ระลึกเห็นธรรมคู่ เพื่อ รู้ธรรมหนึ่ง ....อาศัย การเห็นการรั่วไหล
    ของพลังงานไปข้างที่เสียสมดุลย์ ไว้เนืองๆ ตามเห็นความไม่เที่ยงเนืองๆ
    เพื่อการเห็นความระงับ(ปัสสัทธิ) ที่ยิ่งกว่า เมื่อนั้น จะถือว่า จิตดำเนิน
    "ธรรมวิจัยโพฌงค์" อันถือเป็น องค์ธรรมใน "โพธิปักขยิธรรม" ( องค์
    ธรรมที่เป็นส่วนประกอบให้เกิดการ บรรลุธรรม) อีกทอดหนึ่ง


    *** จะเห็นว่า คนที่ฉลาดในอารมณ์สมาธิ คือ ฉลาดในการโน้มให้จิตตนเกิด ปิติ สุข จะได้เปรียบ
    เพราะ จะมีโอกาสเห็นจิตที่ ประกอบฌาณ กับ จิตที่ปราศจากฌาณ ได้เนืองๆ


    3) การสวดมนต์ นอกจากจะได้ความสงบ เราจะได้บุญยังไง

    ได้บุญทั่วๆไป เหมือน เราร้องเพลงชาติ ให้ อานาประชาราษฏร์ ได้ยิน
    เหมือน ทหารในสนามรบกู่เสียงร้อง สู้ ให้ ชนในแนวหลังได้ อุ่นใจ แล้ว
    ส่งกำลังบำรุงมาให้ ทหารที่ส่งเสียงกู่ร้องนั้นๆ



    4) การสวดชินบัญชร ตลอดเวลาทั้งวัน ถือเป็นการลบหลู่บทสวดไหมครับ
    เพราะมีบางครั้งก้อเข้าห้องน้ำ

    การ กู่ร้อง "สู้" ของทหาร ไม่มีแบ่ง ไม่มีเว้นมรรค ร้องได้ทุกเมื่อที่อยาก
    ร้อง เมื่อไหร่ หยุดร้อง หรือ ขี้เกียจร้อง หรือ หน่ายการร้อง นั่นแปลว่า
    ชาติกำลังเพลี้ยงพร้ำให้แก่ อริราชศัตรู ชาติกำลังมลาย ศาสนาที่รัก
    ปากเสิดไส้กำลังดับสูญ

    ดังนั้น อย่าว่าแต่ ยามที่กายกำลัง ถ่ายปฏิกูลออกจากตัวเลย ต่อให้ ขณะนัั้น
    กายกำลังถ่ายเลือด หรือ เนื้อ ออกจากกาย ก็ สวดได้เสมอ แต่ ต้องสวดเพื่อ
    อาศัย ระลึกสภาพธรรม เท่านั้น อย่า สวดแล้ววางจิตหวังแค่ บุญทั่วๆไป

    คนที่ ฉลาดในอารมณ์สมาธิ ท่านจะ น้อมจิตสู่ ปิติ และ ปัสสัทธิ

    คนที่ น้อมจิตเข้าสู่ ปิติ และ ปัสสัทธิ ด้วยเวลาเพียง นาโนมิลลิเซค
    ท่านผู้นั้นจะถือว่า ตนได้สวด 108จบไปชั่วเวลา นาโนมิลลิเซค
    ด้วยความมั่นใจ ว่า ได้กระทำเสร็จ และ มีการประกอบเรียบร้อยแล้ว

    คนที่น้อมจิต เข้าออก ปิติ ปัสัทธิได้เนืองๆ แล้ว ยังตามเห็น ไม่มี
    ความลังเลสงสัยเหลือ ว่าเรา ไม่ได้ประกอบอีก จะเรียก จิตของ
    ผู้นั้นว่า มีความ ตื่น เบิก บาน สามารถน้อมไปสู่ อมตธรรมได้ทุกเมื่อ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 กุมภาพันธ์ 2013
  6. newamazing

    newamazing เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    1,704
    ค่าพลัง:
    +1,381
    ธรรมข้อหนึ่งคืออะไร คือ กายคตาสติ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อธรรมข้อหนึ่งนี้แล
    บุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีการแทงตลอดธาตุมากหลาย ย่อมมีการแทงตลอดธาตุ
    ต่างๆ ย่อมมีความแตกฉานในธาตุมากหลาย ฯ
    [๒๓๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อธรรมข้อหนึ่งบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อม
    เป็นไปเพื่อทำโสดาปัตติผลให้แจ้ง ย่อมเป็นไปเพื่อทำสกทาคามิผลให้แจ้ง ย่อมเป็นไปเพื่อทำ
    อนาคามิผลให้แจ้ง ย่อมเป็นไปเพื่อทำอรหัตผลให้แจ้งธรรมข้อหนึ่งคืออะไร คือ กายคตาสติ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมข้อหนึ่งนี้แลบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อ
    ทำโสดาปัตติผลให้แจ้ง ย่อมเป็นไปเพื่อทำสกทาคามิผลให้แจ้ง ย่อมเป็นไปเพื่อทำอนาคามิผล
    ให้แจ้ง ย่อมเป็นไปเพื่อทำอรหัตผลให้แจ้ง ฯ
    [๒๓๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อธรรมข้อหนึ่งบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อม
    เป็นไปเพื่อได้ปัญญา ย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญแห่งปัญญา ย่อมเป็นไปเพื่อความไพบูลย์แห่ง
    ปัญญา ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาใหญ่ ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญามาก ย่อม
    เป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาไพบูลย์ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาลึกซึ้ง ย่อมเป็นไป
    เพื่อความเป็นผู้มีปัญญาสามารถยิ่ง ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญากว้างขวาง ย่อมเป็นไปเพื่อ
    ความเป็นผู้มากด้วยปัญญา ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาว่องไว ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็น
    ผู้มีปัญญาเร็ว ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาร่าเริง ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาแล่น
    ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาคม ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาชำแรกกิเลส ธรรมข้อ
    หนึ่งคืออะไร คือ กายคตาสติ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมข้อหนึ่งนี้แล บุคคลเจริญแล้ว กระทำ
    ให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อได้ปัญญา ... ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาชำแรกกิเลส ฯ
    [๒๓๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ชนเหล่าใดไม่บริโภคกายคตาสติ ชนเหล่านั้นชื่อว่าย่อม
    ไม่บริโภคอมตะ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ชนเหล่าใดบริโภคกายคตาสติชนเหล่านั้นชื่อว่าย่อม
    บริโภคอมตะ

    [๒๓๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายคตาสติอันชนเหล่าใดไม่บริโภคแล้ว อมตะชื่อว่าอัน
    ชนเหล่านั้นไม่บริโภคแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายคตาสติอันชนเหล่าใดบริโภคแล้ว อมตะชื่อ
    ว่าอันชนเหล่านั้นบริโภคแล้ว ฯ
    [๒๓๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายคตาสติของชนเหล่าใดเสื่อมแล้ว อมตะของชนเหล่า
    นั้นชื่อว่าเสื่อมแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายคตาสติของชนเหล่าใดไม่เสื่อมแล้ว อมตะของ
    ชนเหล่านั้นชื่อว่าไม่เสื่อมแล้ว ฯ
     
  7. newamazing

    newamazing เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    1,704
    ค่าพลัง:
    +1,381
    อานาปานสติคือกายหนึ่ง เจริญอานาปานสติดั่งพระพุทธองค์กล่าวดีกว่า ตรงและถูกต้องตามพุทธวจน

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ที่เป็นผู้ประกอบความเพียรใน
    อันเจริญอานาปานสติอยู่ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อม มีผลมาก
    มีอานิสงส์มาก ภิกษุที่เจริญอานาปานสติแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมบำเพ็ญสติปัฏฐาน ๔ ให้
    บริบูรณ์ได้ ภิกษุที่เจริญสติปัฏฐาน ๔ แล้ว ทำให้มากแล้วย่อมบำเพ็ญโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์
    ได้ ภิกษุที่เจริญโพชฌงค์ ๗ แล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมบำเพ็ญวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์ได้ ฯ
     
  8. tjs

    tjs ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2012
    โพสต์:
    3,654
    ค่าพลัง:
    +20,365
    16-08-2012, 09:58 AM #35
    TPC
    สมาชิก

    วันที่สมัคร: Jun 2012
    ข้อความ: 501
    Groans: 24
    Groaned at 8 Times in 3 Posts
    ได้ให้อนุโมทนา: 2,283
    ได้รับอนุโมทนา 2,293 ครั้ง ใน 422 โพส
    พลังการให้คะแนน: 175
    TPC has a reputation beyond reputeTPC has a reputation beyond reputeTPC has a reputation beyond reputeTPC has a reputation beyond reputeTPC has a reputation beyond reputeTPC has a reputation beyond reputeTPC has a reputation beyond reputeTPC has a reputation beyond reputeTPC has a reputation beyond reputeTPC has a reputation beyond reputeTPC has a reputation beyond repute

    ขอSHARE ความเห็นด้วยคนครับว่า

    การสวดมนต์ จัดอยู่ในการ ภาวนา ที่เรียกว่า บริกรรมภาวนา ซึ่งจะสวดแบบออกเสียงหรือไม่ออกเสียงก็ได้ บทสวดมนต์ทุกบท เมื่อสวดภาวนาบริกรรมพระคาถาแล้ว ย่อมได้บุญเป็นกุศล เป็นเช่นนี้เสมอ เนื่องด้วยเพราะ เรา กระทำกาย วาจา ใจในขณะที่สวดภาวนานั้นอยู่ใน ศีล ในสมาธิ ไม่มีอกุศลกรรมใดๆ เกิดขึ้น

    ส่วนประเด็นที่ว่า บทชินบัญชร เป็นบทขอ อันนี้เป็นการเข้าใจที่ไม่ถูกต้อง บทชินบัญชร มิได้เป็นบทขออย่างที่ท่านเข้าใจ บทชินบัญชรเป็นบทที่แสดงเจตนาของท่านสมเด็จโตดังนี้คือ

    1เป็นการกล่าวสรรเสริญและทำให้เรารู้จักพระพุทธเจ้าตลอดจนพระอริยะเจ้าผู้มีคุณงามความดี เป็นผู้ที่เราควรระลึกถึง และเป็นแบบอย่าง

    2เป็นการกล่าวอาราธนาพระพุทธเจ้า พระธรรม พระปริตร พระอริยะ หรือสิ่งดีงามต่างๆอัญเชิญประทับประสิทธิ์ประสาทพรชัยแก่เราผู้สวดมนต์ภาวนา ไม่ใช่ขอนะ เหมือนที่ท่านบางคนเข้าใจผิด

    3เป็นการน้อมจิตอาราธนาและอัญเชิญ เป็นการสร้างพลังกำลังทางจิตเราให้มีกำลังเข้มแข็ง น้อมไปสู่การปฏิบัติอันเป็นการเจริญกรรมฐานวิปัสสนาได้ดียิ่งขึ้น

    4 การกล่าวสรรเสริญและอัญเชิญ ย่อมเป็นที่เจริญแก่และอนุเคราะห์แก่สรรพวิญญาณังที่มาประชุมณสถานที่ที่เราสวดมนต์ภาวนา จัดเป็นการเกื้อกูลแก่จิตวิญญาณเหล่านั้นด้วย จิตวิญญาณหลายดวงไม่เคยพบเห็น ครั้นเมื่อได้พบเห็น จิตแห่งพระพุทธเจ้าก็ดี พระอริยะเจ้าก็ดี เหมือนได้มาโปรดแก่สรรพสัตว์ในสถานที่นั้นด้วย ย่อมมีปิติสุขทำให้เขาได้บุญทันทีในเบื้องต้น

    5 พระคาถาชินบัญชร มีอักขระที่ยากในการจดจำ ต้องใช้สมาธิอย่างมาก ผู้ที่สวดได้ จึงจัดได้ว่าทรงสมาธิได้ในระดับอุปปนาสมาธิเป็นอย่างน้อย ย่อมก็ให้เกิดการพัตนาทางจิตของผู้สวดมนต์ให้มีกำลังที่สูงยิ่งๆขึ้นไป

    6อานิสงค์ของการสวดมนต์มีมากมายกว่้างใหญ่ไพศาลยิ่งนัก ยังความ ดีงาม ความสุขสมบูรณ์บริบูรณ์ให้เกิดขึ้น อีกทั้งแคล้วคลาดปลอดภัย จากภัยนานาประการ

    7 เหล่าเทวดาเทพพรหม สาธุการณ์ อนุโมทนาประทานพร แก่ผู้สวดมนต์ บังเกิดแต่สิ่งดีๆมั่งมีลาภยศเงินทอง

    8 เจ้ากรรมนายเวรอนุโมทนา ในบารมีแห่งพระพุทธเจ้าและพระอริยะเจ้าที่เรากล่าวอารธนาอัญเชิญ ท่านเจ้ากรรมและนายเวรจะได้รับบุญและยกเว้นการเบียดเบียน เราเป็นเวลา1ทิวาและราตรีกาล

    9 หากเป็นการรบกวนจิตวิญญาณที่เป็นจิตชั้นต่ำทำให้เกิดการเบียดเบียน ก่อนสวดมนต์ให้อธิฐานขอบารมีพระคาถาและบารมีพระพุทธพระธรรมพระสงฆ์ให้ดลบันดาลให้เสียงสวดมนต์ภาวนาของเรานี้จงเป็นทิพย์ ยังความสุขแก่สรรพสัตว์ และขออัญเชิญให้มาร่วมชุมนุม แม้นหากท่านใดมาไม่ได้ก็ขอให้อนุโมทนาในบุญนี้

    10 ผู้สวดพระคาถานี้ จะมีกำลังใจไม่ทำบาบกรรมเพราะด้วยความเคารพนอบน้อมต่อพระพุทธเจ้าและพระอริยะที่เรากล่าวอารธนามาแล้วนั้นครับ

    สุดท้ายนี้ ผมอยากให้เราพิจารณาให้ดีว่า อานิสงค์ของการสวดมนต์ทุกบท มีอานิสงค์มากอยู่ที่เราตั้งใจปฏิบัติ และใช้ปัญญา ซึ่งผลที่ได้รับผู้ที่ปฏิบัติเท่านั้นย่อมรู้ได้เฉพาะตนครับ กระผมขออนุโมทนาบุญ จากการสวดมนต์ทุกๆบทสวด ครับ สาธุ
    แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย TPC : 16-08-2012 เมื่อ 10:06 AM

    =======
    เราเคยอธิบายไว้แล้ว ตามข้อความด้านบนครับ การสวดมนต์เป็นการภาวนา และมีอานิสงค์มากครับ จิตที่เป็นสมาธิจะด้วยวิธีการใดๆ ย่อมมีกำลังบุญมากครับ มีผลมากครับ สาธุ
     
  9. Thumma117

    Thumma117 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มกราคม 2013
    โพสต์:
    58
    ค่าพลัง:
    +89
    ไม่ว่างเข้ามาอ่าน เวบบอรด มาสองวันน

    ขอบพระคุณสําหรับทุกความคิดเห็นครับบ
     
  10. เชษฐ์ดนัย

    เชษฐ์ดนัย สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2013
    โพสต์:
    8
    ค่าพลัง:
    +10
    ความเห็นส่วนตัวนะครับ..ผิดถูกยังไงต้องขออภัยครับ
    1.ผมว่าไม่ครับ แต่อาจจะได้ถึง อุปจารสมาธิ
    2.ไม่น่ามีครับ เพราะ จิตไม่ได้พิจารณาหลักธรรมครับ
    3.ได้บุญครับ เพราะเป็นการต่ออายุของพุทธศาสนาครับ
    4.หากจิตเป็นกุศล ไม่เป็นการลบหลู่ครับ
     
  11. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,941
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    หาจนเหนื่อย


    จริงๆ มีอีกหลายเรื่อง แต่หาไม่เจอ เอาเรื่องนี้อ่านเปิดหูเปิดตา ดูครับ


    อย่าว่าแต่ อ่าน หรือ ท่อง สวดมนต์ เลย ขับรถ ขับมอตอไซร์ ทรงฌาน 2 3 ก็มีครับ ไว้หาเจอ จะเอามาลงให้อ่าน



    เวลา อ่าน หรือ ท่อง สวดมนต์ ได้ฌาน นะ คือ ได้ ฌาน ของจริง ไม่ใช้ แบบ คิดเอาเอง เออเอง อารมณ์ นั้น อารม ปิติ สุข นี้ เป็น ฌาน นะครับ

    แต่ตอนที่อ่าน ท่อง สวด อยู่ จิตมันเป็น สมาธิ หรือเป็น ฌาน ด้วย จิต ของมันเองครับ เรียกได้ว่า ฌาน ของ จริง ไม่ใช่ คิดเองเออเอง ว่า อารมณ์ นั้น นี้ เป็น ฌาน

    .
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 กุมภาพันธ์ 2013
  12. tjs

    tjs ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2012
    โพสต์:
    3,654
    ค่าพลัง:
    +20,365
    ========
    จริงครับ อนุโมทนาครับ บุคคลผู้ยังไปไม่ถึงด้วยจิต ย่อมไม่สามารถรู้หรือกล่าวในรายละเอียดแห่งธรรมนั้นได้ครับ สาธุ
     

แชร์หน้านี้

Loading...