เข้าไม่ได้ ...จุกอก หายใจไม่ออก เหมือนจะตาย ช่วยแนะนำกระผมทีครับ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ถิรวิริโย, 16 กุมภาพันธ์ 2013.

  1. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    อานิสงค์ของอานาปานสติ สมาธิ---พระวจนะ" ครั้งหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ทอดพระเนตรเห็นพระมหากัปปินะ ผู้มีกายไม่โยกโคลง แล้วได้ตรัสกับภิกษุทั้งหลายว่า)....ภิกษุทั้งหลาย พวกเะอเห็นความหวั่นใหว หรือความโยกโคลงแห่งกาย ของมหากัปปินะบ้างหรือไม่.....................ข้าแต่พระองค์ผู้เจริย เวลาใดที่ข้าพระองค์ทั้งหลาย เห็นท่านผู้มีอายุนั่งในท่ามกลางสงฆ์ก้ดี นั่งในที่ลับคนเดียวก็ดี ในเวลานั้นนั้น ข้าพระองค์ทั้งหลายไม่ได้เห็นความหวั่นใหว หรือความโยกโคลงแห่งกายของผู้มีอายุรูปนั้นเลยพระเจ้า ข้า.......................ภิกษุทั้งหลาย ความหวั่นใหวโยกโคลงแห่งกายก็ตาม ความวั่นใวโยกโคลงแห่งจิตก็ตาม มีขึ้นไม่ได้เพราะการเจริญทำให้มากซึ่งสมาธิใด ภิกษุทั้งหลาย มหากัปปินะนั้น เป้นผู้ได้ตามปรารถนา ได้ไม่ยาก ได้ไม่ลำบาก ซึ่งสมาธินั้น...........................ภิกษุทั้งหลาย ความหวั่นใหวโยกโคลงแห่งกายก็ตาม ความหวั่นใหวโยกโคลงแห่งจิตก็ตาม มีขึ้นไม่ได้เพราะการเจริญทำให้มากซึ่งสมาธิเหล่าใหนเล่า ภิกษุทั้งหลาย ความหวั่นใหวโยกโคลงแห่งกายก็ตาม ความหวั่นใหวโยกโคลงแห่งจิตก็ตาม ย่อมมีไม่ได้เพราะการเจริยทำให้มากซึ่งอานาปานสติสมาธิ................ภิกษุทั้งหลาย เมื่ออานาปานสติสมาธิ อันบุคคลเจริญทำให้มากแล้วอย่างไรเล่า ความหวั่นใหวโยกโคลงแห่งกายก็ตามความโยกโคลงแห่งจิตก็ตาม จึงไม่มี...........ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในกรณีนี้ ไปแล้วสู่ป่าก็ตาม ไปแล้วสู่โคนไม้ก้ตาม ไปแล้วสู่เรือนว่างก็ตาม นั่งคู้ขาเข้ามาโดยรอบ ตั้งกายตรงดำรงสติมั่น ภิกษุนั้นมีสติอยู่นั่นเทียว หายใจเข้ามีสติอยู่ หายใจออก เมื่อหายใจเข้ายยาว ก็รู้สึกตัวทั่วถึงว่าหายใจเข้ายาว(ต่อไปกล่าวถึงอานาปานสติตามพระสูตรทั่วไป ----จนกระทั่งถึง) เห็นความสลัดคืนอยู่เป็นประจำ จักหายใจออกดังนี้....ภิกษุทั้งหลาย เมื่ออานาปานสติสมาธิ อันบุคคลเจริญทำให้มากแล้วอย่างนี้แล ความหวั่นใหวโยกโคลงแห่งกายก็ตาม ความหวั่นใหวโยกโคลงแห่งจิตก็ตาม ย่อมมีไม่ได้ ดังนี้-----มหาวาร.สํ.19/399-400/1322-1326......(อริยสัจจากพระโอษฐ์ท่านพุทธทาส):cool:
     
  2. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    อานิสงค์แห่งอานาปานสติสมาธิ--พระวจนะ" อานนท์ เปรียบเหมือนกองฝุ่นใหญ่่มีอยู่ที่หนทางใหญ่ 4แพร่ง ถ้าเกวียนหรือรถมาจากทิศตะวันออก ก้บดขยี้กองฝุ่นนั้น ถ้าเกวียนหรือรถมาจากทิสตะวันตก ก็บดขยี้กองฝุ่นนั้น ถ้าเกวียนหรือรถมาจากทางทิศเหนือ ก็บดขยี้กองฝุ่นนั้นถ้าเกวียนหรือรถมาจากทิสใต้ ก็บดขยี้กองฝุ่นนั้น นี้ฉันใด...อานนท์ เมื่อบุคคลมีปรกติตามเห้นกายในกายอยู่เป็นประจำ ย่อมกำจัดบาปอกุศลธรรมทั้งหลายโดยแท้ เมื่อบุคคลมีปรกติตามเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่เป็นประจำ ย่อมกำจัดบาปอกุศลธรรมทั้งหลายโดยแท้ เมื่อบุคคลตามเห้นจิตในจิตอยู่เป็นประจำ ย่อมกำจัดบาปอกุศลธรรมทั้งหลายดดยแท้ เมื่อบุคคลมีปรกติตามเห้นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่เป็นประจำ ย่อมกำจัดบาปอกุศลธรรมทั้งหลายโดยแท้ ฉันนั้นเหมือนกัน---มหาวาร.สํ.19/411/1362....:cool:
     
  3. MindSoul1

    MindSoul1 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กันยายน 2012
    โพสต์:
    295
    ค่าพลัง:
    +496
    ลมหายใจจะละเอียดเบาบางจนเหมือนหายไป หรือหายไป ก็ให้แค่รู้ ไม่ต้องไปคิดไปให้ความหมายใดๆ

    อานาปานสติให้รู้ลม (แต่คุณใช้คำว่ามองลม ก็ไม่รู้ว่าจะเหมือนกันหรือเปล่า)

    เมื่อลมเบาบางหายไปก็ให้รู้ แค่รู้นะคะ (ไม่ต้องไปให้ความหมายใดๆกับสิ่งที่รู้ที่เห็น ไม่คิดปรุงแต่งเพิ่มเติม) ไม่ต้องเปลี่ยนฐาน ถ้าเปลี่ยนสมาธินั้นจะหลุดทันที คุณจะไม่สามารถก้าวไปสู่สมาธิขั้นสูงกว่าได้

    เมื่อลมหาย ให้สติ ตัวรู้ ตั้งลอยเด่นอยู่ตรงที่เดิมนั้นแหละค่ะ แล้วดูเวทนา แค่ดู-แค่รู้เฉยๆนะคะ เหมือนดูคนเจ็บในละคร ไม่ใช่เราเป็นคนเจ็บ

    ดูทำไม....นั่นแหละเป็นคำตอบที่หลวงพ่อท่านบอก

    หลวงพ่อท่านบอกว่า"ผมมีศรัทธาแต่ไม่มีปัญญา แค่ทนไปมันไม่ข้ามเวทนาตรงนั้นได้หรอก"
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 กุมภาพันธ์ 2013
  4. MindSoul1

    MindSoul1 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กันยายน 2012
    โพสต์:
    295
    ค่าพลัง:
    +496
    ดูทำไม...ดูเพื่อรู้...


    ภิกษุ ท ! เมื่ออานาปานสติสมาธิ อันภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มาก แล้วอยู่อย่างนี้ ;
    ถ้าภิกษุนั้นเสวย เวทนาอันเป็นสุข เธอย่อมรู้ตัวว่า เวทนานั้นไม่เที่ยง เธอย่อม
    รู้ตัวว่าเวทนานั้น อันเราไม่สยบมัวเมาแล้ว ย่อมรู้ตัวว่าเวทนานั้น อันเราไม่
    เพลิดเพลินเฉพาะแล้ว ดังนี้.

    ถ้าภิกษุนั้นเสวย เวทนาอันเป็นทุกข์ เธอย่อมรู้ตัวว่า เวทนานั้นไม่ เที่ยง เธอ
    ย่อมรู้ตัวว่าเวทนานั้น อันเราไม่สยบมัวเมาแล้ว ย่อมรู้ตัวว่าเวทนานั้น อันเราไม่
    เพลิดเพลินเฉพาะแล้ว ดังนี้.
    ถ้าภิกษุนั้นเสวย เวทนาอันเป็นอทุกขมสุข เธอย่อมรู้ตัวว่า เวทนานั้น ไม่เที่ยง
    เธอย่อมรู้ตัวว่าเวทนานั้น อันเราไม่สยบมัวเมาแล้ว ย่อมรู้ตัวว่าเวทนานั้น อันเราไม่
    เพลิดเพลินเฉพาะแล้ว ดังนี้.

    ภิกษุ นั้น ถ้าเสวยเวทนาอันเป็นสุข ก็เป็นผู้ไม่ติดใจพัวพันเสวย เวทนานั้น ;
    ถ้าเสวยเวทนาอันเป็นทุกข์ ก็เป็นผู้ไม่ติดใจพัวพันเสวยเวทนานั้น ; ถ้าเสวยเวทนา
    อันเป็นอทุกขมสุข ก็เป็นผู้ไม่ติดใจพัวพันเสวยเวทนานั้น.
    ภิกษุนั้น เมื่อเสวยเวทนาอันเป็นที่สุดรอบแห่งกาย เธอย่อมรู้ตัวว่าเรา เสวย
    เวทนาอันเป็นที่สุดรอบแห่งกาย ดังนี้. เมื่อเสวย เวทนาอันเป็นที่สุดรอบแห่งชีวิต เธอ
    ย่อมรู้ตัวว่าเราเสวยเวทนา อันป็นที่สุดรอบแห่งชีวิต ดังนี้ ;จนกระทั่งการทำลายแห่ง
    กาย ในที่สุดแห่งการถือเอารอบซึ่งชีวิต เธอย่อมรู้ตัวว่าเวทนาทั้งปวง อันเราไม่
    เพลิดเพลินเฉพาะแล้ว จักเป็นของดับเย็นในที่นี้นั่นเทียว ดังนี้.

    ภิกษุ ท ! ประทีปน้ำมันลุกอยู่ได้เพราะอาศัยน้ำมันด้วย เพราะ อาศัยไส้ด้วย
    เมื่อหมดน้ำมันหมดไส้ ก็เป็นประทีปที่หมดเชื้อดับไป, ข้อนี้ฉันใด ; ภิกษุนั้น ก็ฉัน
    นั้น กล่าวคือเมื่อเสวยเวทนาอันเป็นที่สุดรอบแห่งกายย่อมรู้ตัวว่าเราเสวยเวทนาอัน
    เป็นที่สุดรอบแห่งกาย ; เมื่อเสวยเวทนาอันเป็นที่สุดรอบแห่งชีวิต ย่อมรู้ตัวว่าเรา
    เสวยเวทนา อันเป็นที่สุดรอบแห่งชีวิต ; จนกระทั่งการทำลายแห่งกาย ในที่สุดแห่ง
    การถือเอารอบซึ่งชีวิต เธอย่อมรู้ตัวว่าเวทนาทั้งปวง อันเราไม่เพลิดเพลินเฉพาะแล้ว
    จักเป็นของดับเย็นในที่นี้เทียวดังนี้.


    -มหาวาร.สํ. ๑๙/๔๐๔/๑๓๔๖ - ๑๓๔๗
     
  5. MindSoul1

    MindSoul1 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กันยายน 2012
    โพสต์:
    295
    ค่าพลัง:
    +496
    อานาปานสติ

    ภิกษุทั้งหลาย !
    ก็อานาปานสติอันบุคคลเจริญแล้ว
    ทำให้มากแล้วอย่างไรเล่า
    จึงทำสติปัฏฐานทั้ง 4 ให้บริบูรณ์ได้ ?

    (เห็นกายในกาย)

    ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยใด ภิกษุ

    เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้ายาว,
    เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกยาว
    เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้าสั้น,
    เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกสั้น

    ย่อมทำการฝึกฝนศึกษา
    ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งกายทั้งปวง หายใจเข้า”
    ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งกายทั้งปวง หายใจออก”
    ย่อมทำการฝึกฝนศึกษา
    ว่า “เราเป็นผู้ทำกายสังขารให้รำงับอยู่ หายใจเข้า”
    ว่า “เราเป็นผู้ทำกายสังขารให้รำงับอยู่ หายใจออก”

    ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่า
    เป็นผู้ตามเห็นกายในกายอยู่เป็นประจำ
    เป็นผู้มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและ
    โทมนัสในโลกออกเสียได้.

    ภิกษุทั้งหลาย ! เราย่อมกล่าว
    ลมหายใจเข้า และลมหายใจออก
    ว่าเป็นกายอย่างหนึ่งๆ ในบรรดากายทั้งหลาย.

    ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุนั้น ในกรณีนี้ ภิกษุนั้นย่อมชื่อว่า
    เป็นผู้ตามเห็นกายในกาย อยู่เป็นประจำ
    มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัส
    ในโลกออกเสียได้.

    ...

    เห็นเวทนาในเวทนา

    ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยใด ภิกษุ

    ย่อมทำการฝึกฝนศึกษา
    ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งปีติ หายใจเข้า”
    ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งปีติ หายใจออก”
    ย่อมทำการฝึกฝนศึกษา
    ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งสุข หายใจเข้า”
    ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งสุข หายใจออก”
    ย่อมทำการฝึกฝนศึกษา
    ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิตตสังขาร หายใจเข้า”
    ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิตตสังขาร หายใจออก”
    ย่อมทำการฝึกฝนศึกษา
    ว่า “เราเป็นผู้ทำ จิตตสังขารให้รำงับอยู่ หายใจเข้า”
    ว่า “เราเป็นผู้ทำจิตตสังขารให้รำงับอยู่ หายใจออก”

    ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่า
    เป็นผู้ตามเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย อยู่เป็นประจำ
    เป็นผู้มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและ
    โทมนัสในโลกออกเสียได้.

    ภิกษุทั้งหลาย ! เราย่อมกล่าวว่า
    การทำในใจเป็นอย่างดี ถึงลมหายใจเข้า และลมหายใจออก
    ว่าเป็นเวทนาอย่างหนึ่งๆ ในบรรดาเวทนาทั้งหลาย.

    ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุนั้นในกรณีนี้ ภิกษุนั้นย่อมชื่อว่า
    เป็นผู้ตามเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย อยู่เป็นประจำ
    มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัส
    ในโลกออกเสียได้.

    ....

    เห็นจิตในจิต

    ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยใด ภิกษุ

    ย่อมทำการฝึกฝนศึกษา
    ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิต หายใจเข้า”
    ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิต หายใจออก”
    ย่อมทำการฝึกฝนศึกษา
    ว่า “เราเป็นผู้ทำจิตให้ปราโมทย์ยิ่งอยู่ หายใจเข้า”
    ว่า “เราเป็นผู้ทำจิตให้ปราโมทย์ยิ่งอยู่ หายใจออก”
    ย่อมทำการฝึกฝนศึกษา
    ว่า “เราเป็นผู้ทำจิตให้ตั้งมั่นอยู่ หายใจเข้า”
    ว่า “เราเป็นผู้ทำจิตให้ตั้งมั่นอยู่ หายใจออก”
    ย่อมทำการฝึกฝนศึกษา
    ว่า “เราเป็นผู้ทำจิตให้ปล่อยอยู่ หายใจเข้า”
    ว่า “เราเป็นผู้ทำจิตให้ปล่อยอยู่ หายใจออก”

    ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่า
    เป็นผู้ตามเห็นจิตในจิตอยู่เป็นประจำ
    เป็นผู้มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้.

    ภิกษุทั้งหลาย ! เราไม่กล่าวว่าอานาปานสติ เป็นสิ่งที่มีได้
    แก่บุคคลผู้มีสติอันลืมหลงแล้ว ผู้ไม่มีสัมปชัญญะ.

    ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุนั้นในกรณีนี้ ภิกษุนั้นย่อมชื่อว่า
    เป็นผู้ตามเห็นจิตในจิตอยู่เป็นประจำ
    มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้.

    ...

    เห็นธรรมในธรรม

    ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยใด ภิกษุ

    ย่อมทำการฝึกฝนศึกษา
    ว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่งความไม่เที่ยงอยู่เป็นประจำ หายใจเข้า”
    ว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่งความไม่เที่ยงอยู่เป็นประจำ หายใจออก”
    ย่อมทำการฝึกฝนศึกษา
    ว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่งความจางคลายอยู่เป็นประจำ หายใจเข้า”
    ว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่งความจางคลายอยู่เป็นประจำ หายใจออก”
    ย่อมทำการฝึกฝนศึกษา
    ว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่งความดับไม่เหลืออยู่เป็นประจำ หายใจเข้า”
    ว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่งความดับไม่เหลืออยู่เป็นประจำ” หายใจออก
    ย่อมทำการฝึกฝนศึกษา
    ว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่งความสลัดคืนอยู่เป็นประจำ หายใจเข้า”
    ว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่งความสลัดคืนอยู่เป็นประจำ หายใจออก”

    ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่า
    เป็นผู้ตามเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่เป็นประจำ
    มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลก
    ออกเสียได้.

    ภิกษุทั้งหลาย !
    ภิกษุนั้น เป็นผู้เข้าไปเพ่งเฉพาะเป็นอย่างดีแล้ว
    เพราะเธอเห็นการละอภิชฌาและโทมนัสทั้งหลายของเธอนั้นด้วยปัญญา.

    ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุนั้น ในกรณีนี้ ภิกษุนั้นย่อมชื่อว่า
    เป็นผู้ตามเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่เป็นประจำ
    มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลก
    ออกเสียได้.

    ----

    ภิกษุทั้งหลาย !
    อานาปานสติ อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้วอย่างนี้แล
    ย่อมทำสติปัฏฐาน ทั้ง 4 ให้บริบูรณ์ได้.

    ----

    ปฐมภิกขุสูตร มหาวาร. สํ. 19 / 424 / 1402-10
     
  6. MindSoul1

    MindSoul1 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กันยายน 2012
    โพสต์:
    295
    ค่าพลัง:
    +496
    การพิจารณาสภาวธรรม ตามวิธีปฎิจจสมุปบาทกระทั่งวาระสุดท้าย

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุผู้ฉลาดในฐานะ ๗ ประการ (สตฺตฏฐานกุสโล)
    ผู้พิจารณาใคร่ครวญธรรมโดยวิธี ๓ ประการ (ติวิธูปปริกฺขี) เราเรียกว่า ภิกษุผู้เกพลี๒
    อยู่จบกิจแห่งพรหมจรรย์ ในธรรมวินัยนี้.

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ก็ภิกษุผู้ฉลาดในฐานะ ๗ ประการ เป็นอย่างไรเล่า

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมรู้ชัดซึ่งรูป ;
    ...ซึ่งเหตุให้เกิดขึ้นแห่งรูป;
    ...ซึ่งความดับไม่เหลือแห่งรูป;
    ...ซึ่งข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งรูป;
    ...ซึ่งอัสสาทะ (รสอร่อย) แห่งรูป;
    ...ซึ่งอาทีนวะ (โทษอันต่ำทราม) แห่งรูป;
    ...ซึ่งนิสสรณะ (อุบายเป็นเครื่องออกไปพ้น) จากรูป (รวม๗ ประการ).

    (ในกรณีแห่งเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ก็ได้ตรัสด้วยข้อความอย่างเดียวกันทุกตัว
    อักษร กับข้อความที่กล่าวในกรณีแห่งรูป ผิดกันแต่ชื่อแห่งขันธ์ ทีละขันธ์ ๆ เท่านั้น.)

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ก็รูปเป็นอย่างไรเล่า ?
    มหาภูตรูปทั้งหลาย ๔ อย่างด้วย รูปที่อาศัยมหาภูตรรูปทั้งหลายอย่างด้วย:
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! นี้เราเรียกว่ารูป ;

    การเกิดขึ้นแห่งรูปย่อมมี เพราะการเกิดขึ้นแห่งอาหาร;
    ความดับไม่เหลือแห่งรูป ย่อมมี เพราะความดับไม่เหลือแห่งอาหาร;
    มรรคอันประกอบด้วยองค์แปดอันประเสริฐนั่นเอง เป็นปฏิปทาให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งรูป,
    ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ
    ความเห็นชอบ ความดำริชอบ การพูดจาชอบ การทำการงานชอบ การเลี้ยงชีวิตชอบ
    ความพยายามชอบ ความระลึกชอบ ความตั้งใจมั่นชอบ;
    สุข โสมนัสใดๆ อาศัยรูปเกิดขึ้น: นี้เป็น อัสสาทะแห่งรูป ;
    รูปใด ไม่เที่ยงเป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา: นี้เป็น อาทีนวะแห่งรูป ;
    การนำออกเสียได้ซึ่งความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจ กล่าวคือ
    การละเสียได้ซึ่งความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจ ในรูป, อันใด;
    นี้เป็น นิสสรณะเครื่องออกจากรูป (รวมเป็นสิ่งที่ต้องรู้ ๗ อย่าง).

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! สมณะหรือพราหมณ์ก็ตามเหล่าใดเหล่าหนึ่ง
    รู้ด้วยปัญญาอันยิ่งซึ่งรูป ว่า
    ...อย่างนี้คือ รูป;
    ...อย่างนี้คือ เหตุให้เกิดขึ้นแห่งรูป;.
    ...อย่างนี้คือ ความดับไม่เหลือแห่งรูป;
    ...อย่างนี้คือ ข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งรูป;
    ...อย่างนี้คือ อัสสาทะแห่งรูป;
    ...อย่างนี้คือ อาทีนวะแห่งรูป;
    ...อย่างนี้คือ นิสสรณะเครื่องออกจากรูป; ดังนี้แล้ว
    เป็นผู้ปฏิบัติแล้ว เพื่อความเบื่อหน่าย (นิพฺพิทา) เพื่อความ สำ รอก (วิราค)
    เพื่อความดับไม่เหลือ (นิโรธ) แห่งรูป; สมณพราหมณ์เหล่านั้น เป็นผู้ปฎิบัติแล้ว;
    บุคคลเหล่าใด ปฏิบัติดีแล้ว. บุคคลเหล่านั้นชื่อว่าหยั่งลงในธรรมวินัยนี้.

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! สมณะหรือพราหมณ์ก็ตามเหล่าใดเหล่าหนึ่ง
    รู้ด้วยปัญญาอันยิ่งซึ่งรูปว่า
    ...อย่างนี้คือ รูป;
    ...อย่างนี้คือ เหตุให้เกิดขึ้นแห่งรูป;
    ...อย่างนี้คือ ความดับไม่เหลือแห่งรูป;
    ...อย่างนี้คือ ข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งรูป;
    ...อย่างนี้คือ อัสสาทะแห่งรูป;
    ...อย่างนี้คือ อาทีนวะแห่งรูป;
    ...อย่างนี้คือ นิสสรณะเครื่องออกจากรูป; ดังนี้แล้ว เป็นผู้พ้นวิเศษแล้ว
    เพราะความเบื่อหน่าย เพราะความสำรอก เพราะความดับไม่เหลือ เพราะความไม่ยืดมั่นซึ่งรูป;
    สมณพราหมณ์เหล่านั้นเป็นผู้พ้นวิเศษแล้วด้วยดี (สุวิมุตฺตา); บุคคลเหล่าใดเป็นผู้พ้นวิเศษ
    แล้วด้วยดี บุคคลเหล่านั้นชื่อว่าเป็นเกพลี ผู้จบกิจอันบุคคลพึงกระทำ;
    บุคคลเหล่าใดจบกิจอันบุคคลพึงกระทำ วัฎฎะย่อมไม่มีเพื่อจะบัญญัติแก่บุคคลเหล่านั้น.

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ก็เวทนา เป็นอย่างไรเล่า ?
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! หมู่แห่งเวทนา (เวทนากายา) ทั้งหลาย ๖ หมู่เหล่านี้ คือ
    เวทนาอันเกิดแต่จักขุสัมผัส
    เวทนาอันเกิดแต่โสตสัมผัส
    เวทนาอันเกิดแต่ฆานสัมผัส
    เวทนาอันเกิดแต่ชีวหาสัมผัส
    เวทนาอันเกิดแต่กายสัมผัส
    เวทนาอันเกิดแต่มโนสัมผัส :
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! นี้เราเรียกว่า เวทนา;

    การเกิดขึ้นแห่งเวทนา ย่อมมี เพราะการเกิดขึ้นแห่งผัสสะ;
    ความดับไม่เหลือแห่งเวทนา ย่อมมี เพราะความดับไม่เหลือแห่งผัสสะ;
    มรรค อันประกอบด้วยสิ่งเหล่านี้คือ ความเห็นชอบ ความดำริชอบ การพูดจาชอบ
    การทำการงานชอบ การเลี้ยงชีวิตชอบ ความพยายามชอบ ความระลึกชอบ
    ความตั้งใจมั่นชอบ; สุขโสมนัสใด ๆ อาศัยเวทนาเกิดขึ้น :
    นี้เป็น อัสสาทะแห่งเวทนา; ...ฯลฯ...ฯลฯ...

    (ข้อความต่อไปนี้ มีการตรัสเหมือนกับที่ตรัสแล้วในกรณีแห่งรูปทุกตัวอักษร
    ต่างกันแต่เพียงชื่อว่าเวทนา แทนคำว่ารูป ดังนี้เรื่อยไปจนกระทั่งถึง)
    ...วัฎฎะ ย่อมไม่มีเพื่อการบัญญัติแก่บุคคลเหล่านั้น.

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ก็สัญญาเป็นอย่างไรเล่า?
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! หมู่แห่งสัญญา (สญฺญากายา) ทั้งหลาย ๖ หมู่เหล่านี้ คือ
    สัญญาในรูป
    สัญญาในเสียง
    สัญญาในกลิ่น
    สัญญาในรส
    สัญญาในโผฏฐัพพะ
    สัญญาในธัมมรมณ์;
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! นี้ เราเรียกว่าสัญญา ;
    การเกิดขึ้นแห่งสัญญา ย่อมมี เพราะการเกิดขึ้นแห่งผัสสะ;
    ความดับไม่เหลือแห่งสัญญา ย่อมมี เพราะความดับไม่เหลืองแห่งผัสสะ;
    มรรคอันประกอบด้วยองค์แปดอันประเสริฐนั่นเอง เป็นปฏิปทาให้ถึงความดับไม่เหลือแห่ง
    สัญญา, ได้แก่ สิ่งเหล่านี้คือ ความเห็นชอบ ความดำริชอบ การพูดจาชอบ
    การทำการงานชอบ การเลี้ยงชีวิตชอบ ความพยายามชอบ ความระลึกชอบ ความตั้งใจมั่นชอบ;
    สุข โสมนัสใด ๆ อาศัยสัญญาเกิดขึ้น : นี้เป็นอัสสาทะแห่งสัญญา;
    ...ฯลฯ...ฯลฯ...วัฏฏะ ย่อมไม่มีเพื่อการบัญญัติแก่บุคคลเหล่านั้น.

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ก็สังขารทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า?
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! หมู่แห่งเจตนา (เจตนากายา) ทั้งหลาย ๖ หมู่เหล่านี้ คือ
    ความคิดนึกในรูป
    ความคิดนึกในเสียง
    ความคิดนึกในกลิ่น
    ความคิดนึกในรส
    ความคิดนึกในโผฏฐัพพะ
    ความคิดนึกในธัมมารมณ์ :
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! เหล่านี้เราเรียกว่า สังขารทั้งหลาย
    การเกิดขึ้นแห่งสังขาร ย่อมมี เพราะการเกิดขึ้นแห่งผัสสะ;
    ความดับไม่เหลือแห่งสังขารย่อมมี เพราะความดับไม่เหลือแห่งผัสสะ;
    มรรคอันประกอบด้วยองค์แปดอันประเสริฐนั่นเอง เป็นปฏิปทาให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งสังขาร,
    ได้แก่สิ่งเหล่านี้ องค์แปดอันประเสริฐนั่นเอง เป็นปฏิปทาให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งเวทนา,
    ได้แก่สิ่งเหล่านี้ คือ ความเห็น ชอบ ความดำริชอบ การพูดจาชอบ การทำการงานชอบ
    การเลี้ยงชีวิตชอบ ความพยายามชอบ ความระลึกชอบ ความตั้งใจมั่นชอบ;
    สุข โสมนัสใด ๆ อาศัยสังขารทั้งหลายเกิดขึ้น : นี้เป็นอัสสาทะแห่งสังขารทั้งหลาย;
    ...ฯลฯ...ฯลฯ...วัฏฏะ ย่อมไม่มี เพื่อการบัญญัติ แก่บุคคลเหล่านั้น.

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ก็วิญญาณ เป็นอย่างไรเล่า?
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! หมู่แห่งวิญญาณ (วิญญาณกายา) ทั้งหลาย ๖ หมู่เหล่านี้ คือ
    วิญญาณทางตา
    วิญญาณทางหู
    วิญญาณทางจมูก
    วิญญาณทางลิ้น
    วิญญาณทางกาย
    วิญญาณทางใจ :
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! นี้ เราเรียกว่า วิญญาณ;
    การเกิดขึ้นแห่งวิญญาณ ย่อมมี เพราะการเกิดขึ้นแห่งนามรูป;
    ความดับไม่เหลือแห่งวิญญาณ ย่อมมี เพราะความดับไม่เหลือแห่งนามรูป;
    มรรคอันประกอบด้วยองค์แปดอันประเสริฐนั่นเอง เป็นปฏิปทาให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งวิญญาณ,
    ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ ความเห็นชอบ ความดำริชอบ การพูดจาชอบ การทำการงานชอบ
    การเลี้ยงชีวิตชอบ ความพยายามชอบ ความระลึกชอบ ความตั้งใจมั่นชอบ;
    สุข โสมนัสใดๆ อาศัยวิญญาณเกิดขึ้น : นี้เป็นอัสสาทะแห่งวิญญาณ;

    วิญญาณใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา : นี้เป็นอาทีนวะแห่งวิญญาณ;
    การนำออกเสียได้ซึ่งความกำหนัดด้วยอำนาจ ความพอใจ กล่าวคือ
    การละเสียได้ซึ่งความกำหนัดด้วยอำนาจแห่งความพอใจ ในวิญญาณ,
    อันใด; นี้เป็นนิสสรณะเครื่องออกจากวิญญาณ (รวมเป็นสิ่งที่ต้องรู้ ๗ อย่าง).

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! สมณะหรือพราหมณ์ก็ตามเหล่าใดเหล่าหนึ่ง
    รู้ด้วยปัญญาอันยิ่งซึ่งวิญญาณว่า.
    ...อย่างนี้คือวิญญาณ;
    ...อย่างนี้คือ เหตุให้เกิดขึ้นแห่งวิญญาณ;
    ...อย่างนี้คือ ความดับไม่เหลือแห่งวิญญาณ;
    ...อย่างนี้คือ ข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งวิญญาณ;
    ...อย่างนี้คือ อัสสาทะแห่งวิญญาณ;
    ...อย่างนี้คือ อาทีนวะแห่งวิญญาณ;
    ...อย่างนี้คือ นิสสรณะเครื่องออกจากวิญญาณ; ดังนี้ แล้วเป็นผู้ปฏิบัติแล้ว
    เพื่อความเบื่อหน่าย (นิพฺพิทา) เพื่อความสำรอก (วิราค)
    เพื่อความดับไม่เหลือ (นิโรธ)แห่งวิญญาณ;
    สมณพราหมณ์เหล่านั้นเป็นผู้ ปฏิบัติดีแล้ว, บุคคลเหล่าใดปฏิบัติดีแล้ว;
    บุคคลเหล่านั้น ชื่อว่า หยั่งลงในธรรมวินัยนี้.

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! สมณะหรือพราหมณ์ก็ตาม เหล่าใดเหล่าหนึ่ง
    รู้ด้วยปัญญาอันยิ่งซึ่งวิญญาณ ว่า
    ...อย่างนี้คือ วิญญาณ;
    ...อย่างนี้คือ เหตุให้เกิดขึ้นแห่งวิญญาณ; .
    ...อย่างนี้คือ ความดับไม่เหลือแห่งวิญญาณ;
    ...อย่างนี้คือ ข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งวิญญาณ;
    ...อย่างนี้คือ อัสสาทะแห่งวิญญาณ;
    ...อย่างนี้คือ อาทีนวะแห่งวิญญาณ;
    ...อย่างนี้คือ นิสสรณะเครื่องออกจากวิญญาณ; ดังนี้แล้วเป็นผู้พ้นวิเศษแล้ว
    เพราะความเบื่อหน่าย เพราะความสำรอก เพราะความดับไม่เหลือ
    เพราะความไม่ยึดมั่น ซึ่งวิญญาณ; สมณพราหมณ์เหล่านั้น เป็นผู้พ้นวิเศษแล้วด้วยดี(สุวิมุตฺตา);
    บุคคลเหล่าใด เป็นผู้พ้นวิเศษแล้วด้วยดี บุคคลเหล่านั้น ชื่อว่าเป็นเกพลี ผู้จบกิจอันบุคคลพึงกระทำ;
    บุคคลเหล่าใดจบกิจอันบุคคลพึงกระทำ วัฏฏะย่อมไม่มี เพื่อจะบัญญัติ แก่บุคคลเหล่านั้น.

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุเป็นผู้ฉลาดในฐานะ ๗ ประการ อย่างนี้แล.

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ก็ภิกษุเป็นผู้พิจารณาใคร่ครวญธรรมโดยวิธี ๓ ประการ
    เป็นอย่างไรเล่า?
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุในกรณีนี้
    ย่อมพิจารณาใคร่ครวญธรรมโดยความ เป็นธาตุ,
    ย่อมพิจารณาใคร่ครวญธรรมโดยความ เป็นอายตนะ,
    ย่อมพิจารณาใคร่ครวญธรรมโดยความเป็น ปฏิจจสมุปบาท.
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุเป็นผู้พิจารณาใคร่ครวญธรรมโดยวิธี ๓ ประการ อย่างนี้แล.

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุเป็นผู้ฉลาดในฐานะ ๗ ประการ
    เป็นผู้พิจารณาใคร่ครวญธรรมโดยวิธี ๓ ประการ เราเรียกว่า ภิกษุผู้เกพลี
    อยู่จบกิจแห่งพรหมจรรย์ในธรรมวินัยนี้, ดังนี้ แล.

    -------------------------------------------------------------

    สูตรที่ ๕ อุปายวรรค ขันธสังยุตต์ ขนฺธ. สํ. ๑๗/๗๖/๑๑๘, ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย ที่เชตวัน.

    ๒ เกพลี ในลักษณะอย่างนี้ หมายถึงพระอรหันต์ ผู้ถึงซึ่งนิพพาน ซึ่งเป็นความสิ้นเชิงแห่งสิ่งทั้งปวง
    ในแง่ของความดับสิ้นแห่งความทุกข์ กล่าวคือการถึงอมตภาวะ อันไม่มีการแบ่งแยก.- ผู้แปล.
     
  7. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    .........................................:cool:
     
  8. MindSoul1

    MindSoul1 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กันยายน 2012
    โพสต์:
    295
    ค่าพลัง:
    +496
    การพิจารณาสิ่งต่างๆ (วิปัสสนา) เพื่อให้เกิดปัญญานี้ ให้เราทำหลังจากถอยออกจากสมาธิ หรือเวลาอื่นๆ ไม่ใช่ไปแทรกแซงขณะอยู่ในสมาธิ

    ให้พิจารณาให้มากๆ จนให้เข้าไปถึงใจ ให้จิตยอมรับ
    เมื่อเข้าถึงใจแล้ว เวลาเราทำสมาธิ สิ่งใดปรากฏขึ้นในสมาธิ เราก็แค่ดู แค่รู้
    เราจะไม่หลง ไปภาวนาว่า "รู้ๆๆๆ" เพราะจิตเรารู้อยู่แล้ว ไม่หลงไปตามสิ่งเห็น
    หน้าที่ของเราก็แค่ดู แค่รู้ สิ่งที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วดับไป ในสมาธิ
    ทำให้มากๆๆๆๆ แล้วสักวันก็จะรู้เอง
     
  9. MindSoul1

    MindSoul1 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กันยายน 2012
    โพสต์:
    295
    ค่าพลัง:
    +496
    ......................................... :cool:
     
  10. MindSoul1

    MindSoul1 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กันยายน 2012
    โพสต์:
    295
    ค่าพลัง:
    +496
    :cool: หรืออาจจะไปรู้ตอนนี้ก็ได้ :cool: อิอิ


    รู้จักลมหายใจอันจักมีเป็นครั้งสุดท้ายแล้วดับจิต

    (เมื่อได้ตรัสการกระทำอานาปานสติตามลำดับครบ ๑๖ ขั้น ดังที่กล่าวไว้ที่หน้า ๑๑๘๑ ถึง ๑๑๘๔
    บรรทัดที่แปด แห่งหนังสือนี้ หัวข้อว่า "แบบการเจริญอานาปานสติที่มีผลมาก"ดังนี้แล้ว ได้ตรัสอานิสงส์
    แห่งอานาปานสตินี้ ว่า :- )

    ราหุล! เมื่อบุคคลเจริญกระทำให้มากซึ่งอานาปานสติอย่างนี้แล้ว ลมอัสสาสะ
    ปัสสาสะอันจะมีเป็นครั้งสุดท้ายเมื่อจะดับจิตนั้น จะเป็นสิ่งที่เขารู้แจ้งแล้วดับไป หา
    ใช่เป็นสิ่งที่เขาไม่รู้แจ้งไม่ ดังนี้.
    (รายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องนี้ ดูได้จากหนังสืออานาปานสติ(ชุดธรรม
    โฆษณ์ของพุทธทาส) หน้า ๕๑๕).

    -ม.ม. ๑๓/๑๔๐ - ๑๔๒/๑๔๖.
     
  11. MindSoul1

    MindSoul1 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กันยายน 2012
    โพสต์:
    295
    ค่าพลัง:
    +496
    แถมพระสูตรนี้ก่อนจะไปนอนค่ะ
    ไม่ค่อยมีเวลามาค่ะ โอกาสหน้าพบกันใหม่นะค่ะ

    .................:cool:..................

    [๘๑๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้-
    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน อารามของ-
    *อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียก
    ภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสแล้ว พระผู้มี-
    *พระภาคได้ตรัสดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมแก่เธอทั้งหลาย อัน
    ไพเราะในเบื้องต้น ในท่ามกลาง ในที่สุด พร้อมทั้งอรรถทั้งพยัญชนะ ประกาศ
    พรหมจรรย์อันบริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง คือ ธรรมหมวดหก ๖ หมวด พวกเธอจงฟัง
    ธรรมนั้น จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าวต่อไป ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคว่า
    ชอบแล้ว พระพุทธเจ้าข้า ฯ

    [๘๑๑] พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสดังนี้ว่า พวกเธอพึงทราบอายตนะภาย
    ใน ๖ อายตนะภายนอก ๖ หมวดวิญญาณ ๖ หมวดผัสสะ ๖ หมวดเวทนา ๖
    หมวดตัณหา ๖ ฯ

    [๘๑๒] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงทราบอายตนะภายใน ๖ นั่น เราอาศัย
    อะไรกล่าวแล้ว ได้แก่ อายตนะคือจักษุ อายตนะคือโสตะ อายตนะคือฆานะ
    อายตนะคือชิวหา อายตนะคือกาย อายตนะคือมโน ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึง
    ทราบอายตนะภายใน ๖ นั่น เราอาศัยอายตนะดังนี้ กล่าวแล้ว นี้ธรรมหมวดหก
    หมวดที่ ๑ ฯ

    [๘๑๓] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงทราบอายตนะภายนอก ๖ นั่น เรา
    อาศัยอะไรกล่าวแล้ว ได้แก่ อายตนะคือรูป อายตนะคือเสียง อายตนะคือกลิ่น
    อายตนะคือรส อายตนะคือโผฏฐัพพะ อายตนะคือธรรมารมณ์ ข้อที่เรากล่าว
    ดังนี้ว่า พึงทราบอายตนะภายนอก ๖ นั่น เราอาศัยอายตนะดังนี้ กล่าวแล้ว นี้
    ธรรมหมวดหก หมวดที่ ๒ ฯ

    [๘๑๔] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงทราบหมวดวิญญาณ ๖ นั่น เราอาศัย
    อะไรกล่าวแล้ว คือ บุคคลอาศัยจักษุและรูป จึงเกิดจักษุวิญญาณ อาศัยโสตะ
    และเสียง จึงเกิดโสตวิญญาณ อาศัยฆานะและกลิ่น จึงเกิดฆานวิญญาณ อาศัย
    ชิวหาและรส จึงเกิดชิวหาวิญญาณ อาศัยกายและโผฏฐัพพะ จึงเกิดกายวิญญาณ
    อาศัยมโนและธรรมารมณ์ จึงเกิดมโนวิญญาณ ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงทราบ
    หมวดวิญญาณ ๖ นั่น เราอาศัยวิญญาณดังนี้ กล่าวแล้ว นี้ธรรมหมวดหก หมวด
    ที่ ๓ ฯ

    [๘๑๕] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงทราบหมวดผัสสะ ๖ นั่น เราอาศัย
    อะไรกล่าวแล้ว คือ บุคคลอาศัยจักษุและรูปเกิดจักษุวิญญาณ ความประจวบของ
    ธรรมทั้ง ๓ เป็นผัสสะ อาศัยโสตะและเสียงเกิดโสตวิญญาณ ความประจวบของ
    ธรรมทั้ง ๓ เป็นผัสสะ อาศัยฆานะและกลิ่นเกิดฆานวิญญาณ ความประจวบของ
    ธรรมทั้ง ๓ เป็นผัสสะ อาศัยชิวหาและรสเกิดชิวหาวิญญาณ ความประจวบของ
    ธรรมทั้ง ๓ เป็นผัสสะ อาศัยกายและโผฏฐัพพะเกิดกายวิญญาณ ความประจวบ
    ของธรรมทั้ง ๓ เป็นผัสสะ อาศัยมโนและธรรมารมณ์เกิดมโนวิญญาณ ความ
    ประจวบของธรรมทั้ง ๓ เป็นผัสสะ ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงทราบหมวดผัสสะ ๖
    นั่น เราอาศัยผัสสะดังนี้ กล่าวแล้ว นี้ธรรมหมวดหก หมวดที่ ๔ ฯ

    [๘๑๖] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงทราบหมวดเวทนา ๖ นั่น เราอาศัย
    อะไรกล่าวแล้ว คือ บุคคลอาศัยจักษุและรูปเกิดจักษุวิญญาณ ความประจวบของ
    ธรรมทั้ง ๓ เป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา
    อาศัยโสตะและเสียงเกิดโสตวิญญาณ ...
    อาศัยฆานะและกลิ่นเกิดฆานวิญญาณ ...
    อาศัยชิวหาและรสเกิดชิวหาวิญญาณ ...
    อาศัยกายและโผฏฐัพพะเกิดกายวิญญาณ ...
    อาศัยมโนและธรรมารมณ์เกิดมโนวิญญาณ ความประจวบของธรรมทั้ง ๓
    เป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงทราบหมวด
    เวทนา ๖ นั่น เราอาศัยเวทนาดังนี้ กล่าวแล้ว นี้ธรรมหมวดหก หมวดที่ ๕ ฯ

    [๘๑๗] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงทราบหมวดตัณหา ๖ นั่น เราอาศัย
    อะไรกล่าวแล้ว คือ บุคคลอาศัยจักษุและรูปเกิดจักษุวิญญาณ ความประจวบของ
    ธรรมทั้ง ๓ เป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา เพราะเวทนาเป็น
    ปัจจัย จึงมีตัณหา

    อาศัยโสตะและเสียงเกิดโสตวิญญาณ ...
    อาศัยฆานะและกลิ่นเกิดฆานวิญญาณ ...
    อาศัยชิวหาและรสเกิดชิวหาวิญญาณ ...
    อาศัยกายและโผฏฐัพพะเกิดกายวิญญาณ ...
    อาศัยมโนและธรรมารมณ์เกิดมโนวิญญาณ ความประจวบของธรรมทั้ง ๓
    เป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา
    ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงทราบหมวดตัณหา ๖ นั่น เราอาศัยตัณหาดังนี้ กล่าวแล้ว
    นี้ธรรมหมวดหก หมวดที่ ๖ ฯ

    [๘๑๘] ผู้ใดกล่าวอย่างนี้ว่า จักษุเป็นอัตตา คำของผู้นั้นไม่ควร จักษุ
    ย่อมปรากฏแม้ความเกิด แม้ความเสื่อม ก็สิ่งใดแล ปรากฏแม้ความเกิด แม้
    ความเสื่อม สิ่งนั้นต้องกล่าวได้อย่างนี้ว่า อัตตาของเราเกิดขึ้นและเสื่อมไป เพราะ
    ฉะนั้น คำของผู้ที่กล่าวว่าจักษุเป็นอัตตานั้นจึงไม่ควร ด้วยประการฉะนี้ จักษุจึง
    เป็นอนัตตา

    ผู้ใดกล่าวว่า รูปเป็นอัตตา คำของผู้นั้นไม่ควร รูปย่อมปรากฏแม้ความ
    เกิด แม้ความเสื่อม ก็สิ่งใดแล ปรากฏแม้ความเกิด แม้ความเสื่อม สิ่งนั้น
    ต้องกล่าวได้อย่างนี้ว่า อัตตาของเราเกิดขึ้นและเสื่อมไป เพราะฉะนั้น คำของผู้ที่
    กล่าวว่า รูปเป็นอัตตานั้นจึงไม่ควร ด้วยประการฉะนี้ จักษุจึงเป็นอนัตตา รูปจึง
    เป็นอนัตตา

    ผู้ใดกล่าวว่า จักษุวิญญาณเป็นอัตตา คำของผู้นั้นไม่ควร จักษุวิญญาณ
    ย่อมปรากฏแม้ความเกิด แม้ความเสื่อม ก็สิ่งใดแลปรากฏแม้ความเกิด แม้ความ
    เสื่อม สิ่งนั้นต้องกล่าวได้อย่างนี้ว่า อัตตาของเราเกิดขึ้นและเสื่อมไป เพราะฉะนั้น
    คำของผู้ที่กล่าวว่าจักษุวิญญาณเป็นอัตตานั้น จึงไม่ควร ด้วยประการฉะนี้ จักษุจึง
    เป็นอนัตตา รูปจึงเป็นอนัตตา จักษุวิญญาณจึงเป็นอนัตตา

    ผู้ใดกล่าวว่า จักษุสัมผัสเป็นอัตตา คำของผู้นั้นไม่ควร จักษุสัมผัสย่อม
    ปรากฏแม้ความเกิด แม้ความเสื่อม ก็สิ่งใดแล ปรากฏแม้ความเกิด แม้ความ
    เสื่อม สิ่งนั้นต้องกล่าวได้อย่างนี้ว่า อัตตาของเราเกิดขึ้นแลเสื่อมไป เพราะฉะนั้น
    คำของผู้ที่กล่าวว่าจักษุสัมผัสเป็นอัตตานั้น จึงไม่ควร ด้วยประการฉะนี้ จักษุจึง
    เป็นอนัตตา รูปจึงเป็นอนัตตา จักษุวิญญาณจึงเป็นอนัตตา จักษุสัมผัสจึงเป็น
    อนัตตา

    ผู้ใดกล่าวว่า เวทนาเป็นอัตตา คำของผู้นั้นไม่ควร เวทนาย่อมปรากฏ
    แม้ความเกิด แม้ความเสื่อม ก็สิ่งใดแล ปรากฏแม้ความเกิด แม้ความเสื่อม
    สิ่งนั้นต้องกล่าวได้อย่างนี้ว่า อัตตาของเราเกิดขึ้นและเสื่อมไป เพราะฉะนั้น คำ
    ของผู้ที่กล่าวว่าเวทนาเป็นอัตตา นั้น จึงไม่ควร ด้วยประการฉะนี้ จักษุจึงเป็น
    อนัตตา รูปจึงเป็นอนัตตา จักษุวิญญาณจึงเป็นอนัตตา จักษุสัมผัสจึงเป็นอนัตตา
    เวทนาจึงเป็นอนัตตา

    ผู้ใดกล่าวว่า ตัณหาเป็นอัตตา คำของผู้นั้นไม่ควร ตัณหาย่อมปรากฏแม้
    ความเกิด แม้ความเสื่อม ก็สิ่งใดแล ปรากฏแม้ความเกิด แม้ความเสื่อม สิ่ง
    นั้นต้องกล่าวได้อย่างนี้ว่า อัตตาของเราเกิดขึ้นและเสื่อมไป เพราะฉะนั้น คำของ
    ผู้ที่กล่าวว่า ตัณหาเป็นอัตตานั้น จึงไม่ควร ด้วยประการฉะนี้ จักษุจึงเป็นอนัตตา
    รูปจึงเป็นอนัตตา จักษุวิญญาณจึงเป็นอนัตตา จักษุสัมผัสจึงเป็นอนัตตา เวทนาจึง
    เป็นอนัตตา ตัณหาจึงเป็นอนัตตา ฯ

    [๘๑๙] ผู้ใดกล่าวว่า โสตะเป็นอัตตา ...
    ผู้ใดกล่าวว่า ฆานะเป็นอัตตา ...
    ผู้ใดกล่าวว่า ชิวหาเป็นอัตตา ...
    ผู้ใดกล่าวว่า กายเป็นอัตตา ...
    ผู้ใดกล่าวว่า มโนเป็นอัตตา คำของผู้นั้นไม่ควร มโนย่อมปรากฏแม้
    ความเกิด แม้ความเสื่อม ก็สิ่งใดแล ปรากฏแม้ความเกิด แม้ความเสื่อม สิ่ง
    นั้นต้องกล่าวได้อย่างนี้ว่า อัตตาของเราเกิดขึ้นและเสื่อมไป เพราะฉะนั้น คำของ
    ผู้ที่กล่าวว่า มโนเป็นอัตตานั้น จึงไม่ควร ด้วยประการฉะนี้ มโนจึงเป็นอนัตตา

    ผู้ใดกล่าวว่า ธรรมารมณ์เป็นอัตตา คำของผู้นั้นไม่ควร ธรรมารมณ์ย่อม
    ปรากฏแม้ความเกิด แม้ความเสื่อม ก็สิ่งใดแลปรากฏแม้ความเกิด แม้ความเสื่อม
    สิ่งนั้นต้องกล่าวได้อย่างนี้ว่า อัตตาของเราเกิดขึ้นและเสื่อมไป เพราะฉะนั้น คำ
    ของผู้ที่กล่าวว่าธรรมารมณ์เป็นอัตตา นั้น จึงไม่ควร ด้วยประการฉะนี้ มโนจึง
    เป็นอนัตตา ธรรมารมณ์จึงเป็นอนัตตา ฯ

    ผู้ใดกล่าวว่า มโนวิญญาณเป็นอัตตา คำของผู้นั้นไม่ควร มโนวิญญาณ
    ย่อมปรากฏแม้ความเกิด แม้ความเสื่อม ก็สิ่งใดแลปรากฏแม้ความเกิด แม้ความ
    เสื่อม สิ่งนั้นต้องกล่าวได้อย่างนี้ว่า อัตตาของเราเกิดขึ้นและเสื่อมไป เพราะฉะนั้น
    คำของผู้ที่กล่าวว่า มโนวิญญาณเป็นอัตตา นั้น จึงไม่ควร ด้วยประการฉะนี้
    มโนจึงเป็นอนัตตา ธรรมารมณ์จึงเป็นอนัตตา มโนวิญญาณจึงเป็นอนัตตา

    ผู้ใดกล่าวว่า มโนสัมผัสเป็นอัตตา คำของผู้นั้นไม่ควร มโนสัมผัสย่อม
    ปรากฏแม้ความเกิด แม้ความเสื่อม ก็สิ่งใดแล ปรากฏแม้ความเกิด แม้ความ
    เสื่อม สิ่งนั้นต้องกล่าวได้อย่างนี้ว่า อัตตาของเราเกิดขึ้นและเสื่อมไป เพราะ
    ฉะนั้น คำของผู้ที่กล่าวว่า มโนสัมผัสเป็นอัตตา นั้น จึงไม่ควร ด้วยประการฉะนี้
    มโนจึงเป็นอนัตตา ธรรมารมณ์จึงเป็นอนัตตา มโนวิญญาณจึงเป็นอนัตตา มโน-
    *สัมผัสจึงเป็นอนัตตา

    ผู้ใดกล่าวว่า เวทนาเป็นอัตตา คำของผู้นั้นไม่ควร เวทนาย่อมปรากฏ
    แม้ความเกิด แม้ความเสื่อม ก็สิ่งใดแล ปรากฏแม้ความเกิด แม้ความเสื่อม
    สิ่งนั้นต้องกล่าวได้อย่างนี้ว่า อัตตาของเราเกิดขึ้นและเสื่อมไป เพราะฉะนั้น คำ
    ของผู้ที่กล่าวว่า เวทนาเป็นอัตตา นั้น จึงไม่ควร ด้วยประการฉะนี้ มโนจึงเป็น
    อนัตตา ธรรมารมณ์จึงเป็นอนัตตา มโนวิญญาณจึงเป็นอนัตตา มโนสัมผัสจึงเป็น
    อนัตตา เวทนาจึงเป็นอนัตตา

    ผู้ใดกล่าวว่า ตัณหาเป็นอัตตา คำของผู้นั้นไม่ควร ตัณหาย่อมปรากฏ
    แม้ความเกิด แม้ความเสื่อม ก็สิ่งใดแล ปรากฏแม้ความเกิด แม้ความเสื่อม
    สิ่งนั้นต้องกล่าวได้อย่างนี้ว่า อัตตาของเราเกิดขึ้นและเสื่อมไป เพราะฉะนั้น คำ
    ของผู้ที่กล่าวว่า ตัณหาเป็นอัตตา นั้น จึงไม่ควร ด้วยประการฉะนี้ มโนจึงเป็น
    อนัตตา ธรรมารมณ์จึงเป็นอนัตตา มโนวิญญาณจึงเป็นอนัตตา มโนสัมผัสจึงเป็น
    อนัตตา เวทนาจึงเป็นอนัตตา ตัณหาจึงเป็นอนัตตา ฯ

    [๘๒๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ปฏิปทาอันให้ถึงความตั้งขึ้นแห่งสักกายะ
    ดังต่อไปนี้แล บุคคลเล็งเห็นจักษุว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา เล็งเห็น
    รูปว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา เล็งเห็นจักษุวิญญาณว่า นั่นของเรา
    นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา เล็งเห็นจักษุสัมผัสว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตา
    ของเรา เล็งเห็นเวทนาว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา เล็งเห็นตัณหาว่า
    นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา เล็งเห็นโสตะว่า นั่นของเรา ... เล็งเห็น
    ฆานะว่า นั่นของเรา ... เล็งเห็นชิวหาว่า นั่นของเรา ... เล็งเห็นกายว่า นั่นของ
    เรา ... เล็งเห็นมโนว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา เล็งเห็นธรรมารมณ์
    ว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา เล็งเห็นมโนวิญญาณว่า นั่นของเรา
    นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา เล็งเห็นมโนสัมผัสว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตา
    ของเรา เล็งเห็นเวทนาว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา เล็งเห็นตัณหา
    ว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา ฯ

    [๘๒๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ปฏิปทาอันให้ถึงความดับสักกายะ ดังต่อ
    ไปนี้แล บุคคลเล็งเห็นจักษุว่า นั่นไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา
    เล็งเห็นรูปว่า นั่นไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา เล็งเห็นจักษุวิญญาณ
    ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา เล็งเห็นจักษุสัมผัสว่า นั่น
    ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา เล็งเห็นเวทนาว่า นั่นไม่ใช่ของเรา
    ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา เล็งเห็นตัณหาว่า นั่นไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่
    ใช่อัตตาของเรา เล็งเห็นโสตะว่า นั่นไม่ใช่ของเรา ... เล็งเห็นฆานะว่า นั่นไม่ใช่
    ของเรา ... เล็งเห็นชิวหาว่า นั่นไม่ใช่ของเรา ... เล็งเห็นกายว่า นั่นไม่ใช่ของเรา
    ... เล็งเห็นมโนว่า นั่นไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา เล็งเห็น
    ธรรมารมณ์ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา เล็งเห็นมโน-
    *วิญญาณว่า นั่นไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา เล็งเห็นมโนสัมผัส
    ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา เล็งเห็นเวทนาว่า นั่นไม่ใช่
    ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา เล็งเห็นตัณหาว่า นั่นไม่ใช่ของเรา ไม่
    ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา ฯ

    [๘๒๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลอาศัยจักษุและรูปเกิดจักษุวิญญาณ
    ความประจวบของธรรมทั้ง ๓ เป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย ย่อมเกิดความ
    เสวยอารมณ์ เป็นสุขบ้าง เป็นทุกข์บ้าง มิใช่ทุกข์มิใช่สุขบ้าง เขาอันสุขเวทนา
    ถูกต้องแล้ว ย่อมเพลิดเพลิน พูดถึง ดำรงอยู่ด้วยความติดใจ จึงมีราคานุสัยนอน
    เนื่องอยู่ อันทุกขเวทนาถูกต้องแล้ว ย่อมเศร้าโศก ลำบาก ร่ำไห้ คร่ำครวญ
    ทุ่มอก ถึงความหลงพร้อม จึงมีปฏิฆานุสัยนอนเนื่องอยู่ อันอทุกขมสุขเวทนา
    ถูกต้องแล้ว ย่อมไม่ทราบชัดความตั้งขึ้น ความดับไป คุณ โทษ และที่สลัด
    ออกแห่งเวทนานั้น ตามความเป็นจริง จึงมีอวิชชานุสัยนอนเนื่องอยู่ ดูกรภิกษุ
    ทั้งหลาย ข้อที่บุคคลนั้นยังไม่ละราคานุสัยเพราะสุขเวทนา ยังไม่บรรเทาปฏิฆานุ-
    *สัยเพราะทุกขเวทนา ยังไม่ถอนอวิชชานุสัยเพราะอทุกขมสุขเวทนา ยังไม่ทำวิช-
    *ชาให้เกิดเพราะไม่ละอวิชชาเสีย และจักเป็นผู้กระทำที่สุดแห่งทุกข์ในปัจจุบันได้
    นั่นไม่ใช่ฐานะที่มีได้ ฯ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลอาศัยโสตะและเสียง เกิดโสตวิญญาณ ...
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลอาศัยฆานะและกลิ่น เกิดฆานวิญญาณ ...
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลอาศัยชิวหาและรส เกิดชิวหาวิญญาณ ...
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลอาศัยกายและโผฏฐัพพะ เกิดกายวิญญาณ ...
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลอาศัยมโนและธรรมารมณ์ เกิดมโนวิญญาณ
    ความประจวบของธรรมทั้ง ๓ เป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย ย่อมเกิดความ
    เสวยอารมณ์ เป็นสุขบ้าง เป็นทุกข์บ้าง มิใช่ทุกข์มิใช่สุขบ้าง เขาอันสุขเวทนา
    ถูกต้องแล้ว ย่อมเพลิดเพลิน พูดถึง ดำรงอยู่ด้วยความติดใจ จึงมีราคานุสัย
    นอนเนื่องอยู่ อันทุกขเวทนาถูกต้องแล้ว ย่อมเศร้าโศก ลำบาก ร่ำไห้ คร่ำครวญ
    ทุ่มอก ถึงความหลงพร้อม จึงมีปฏิฆานุสัยนอนเนื่องอยู่ อันอทุกขมสุขเวทนา
    ถูกต้องแล้ว ย่อมไม่ทราบชัดความตั้งขึ้น ความดับไป คุณ โทษ และที่สลัดออก
    แห่งเวทนานั้น ตามความเป็นจริง จึงมีอวิชชานุสัยนอนเนื่องอยู่ ดูกรภิกษุ
    ทั้งหลาย ข้อที่บุคคลนั้นยังไม่ละราคานุสัยเพราะสุขเวทนา ยังไม่บรรเทาปฏิฆา-
    *นุสัยเพราะทุกขเวทนา ยังไม่ถอนอวิชชานุสัยเพราะอทุกขมสุขเวทนา ยังไม่ทำ
    วิชชาให้เกิดเพราะไม่ละอวิชชาเสีย แล้วจักเป็นผู้กระทำที่สุดแห่งทุกข์ในปัจจุบัน
    ได้ นั่นไม่ใช่ฐานะที่มีได้ ฯ

    [๘๒๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลอาศัยจักษุและรูปเกิดจักษุวิญญาณ
    ความประจวบของธรรมทั้ง ๓ เป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย ย่อมเกิดความ
    เสวยอารมณ์ เป็นสุขบ้าง เป็นทุกข์บ้าง มิใช่ทุกข์มิใช่สุขบ้าง เขาอันสุขเวทนา
    ถูกต้องแล้ว ย่อมไม่เพลิดเพลิน ไม่พูดถึง ไม่ดำรงอยู่ด้วยความติดใจ จึงไม่มี
    ราคานุสัยนอนเนื่องอยู่ อันทุกขเวทนาถูกต้องแล้ว ย่อมไม่เศร้าโศก ไม่ลำบาก
    ไม่ร่ำไห้ ไม่คร่ำครวญทุ่มอก ไม่ถึงความหลงพร้อม จึงไม่มีปฏิฆานุสัยนอนเนื่อง
    อยู่ อันอทุกขมสุขเวทนาถูกต้องแล้ว ย่อมทราบชัดความตั้งขึ้น ความดับไป
    คุณ โทษ และที่สลัดออกแห่งเวทนานั้น ตามความเป็นจริง จึงไม่มีอวิชชานุสัย
    นอนเนื่องอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลนั้นละราคานุสัยเพราะสุขเวทนา
    บรรเทาปฏิฆานุสัยเพราะทุกขเวทนา ถอนอวิชชานุสัยเพราะอทุกขมสุขเวทนา ยัง
    วิชชาให้เกิดขึ้นเพราะละอวิชชาเสียได้ แล้วจักเป็นผู้กระทำที่สุดแห่งทุกข์ใน
    ปัจจุบันได้ นั่นเป็นฐานะที่มีได้ ฯ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลอาศัยโสตะและเสียง เกิดโสตวิญญาณ ...
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลอาศัยฆานะและกลิ่น เกิดฆานวิญญาณ ...
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลอาศัยชิวหาและรส เกิดชิวหาวิญญาณ ...
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลอาศัยกายและโผฏฐัพพะ เกิดกายวิญญาณ ...


    ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลอาศัยมโนและธรรมารมณ์ เกิดมโนวิญญาณ
    ความประจวบของธรรมทั้ง ๓ เป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย ย่อมเกิดความ
    เสวยอารมณ์ เป็นสุขบ้าง เป็นทุกข์บ้าง มิใช่ทุกข์มิใช่สุขบ้าง เขาอันสุขเวทนา
    ถูกต้องแล้ว ย่อมไม่เพลิดเพลิน ไม่พูดถึง ไม่ดำรงอยู่ด้วยความติดใจ จึงไม่มี
    ราคานุสัยนอนเนื่องอยู่ อันทุกขเวทนาถูกต้องแล้ว ย่อมไม่เศร้าโศก ไม่ลำบาก
    ไม่ร่ำไห้ ไม่คร่ำครวญทุ่มอก ไม่ถึงความหลงพร้อม จึงไม่มีปฏิฆานุสัยนอนเนื่อง
    อยู่ อันอทุกขมสุขเวทนาถูกต้องแล้ว ย่อมทราบชัดความตั้งขึ้น ความดับไป
    คุณ โทษ และที่สลัดออกแห่งเวทนานั้น ตามความเป็นจริง จึงไม่มีอวิชชานุสัย
    นอนเนื่องอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลนั้นละราคานุสัยเพราะสุขเวทนา
    บรรเทาปฏิฆานุสัยเพราะทุกขเวทนา ถอนอวิชชานุสัยเพราะอทุกขมสุขเวทนา ยัง
    วิชชาให้เกิดขึ้นเพราะละอวิชชาเสียได้ แล้วจักเป็นผู้กระทำที่สุดแห่งทุกข์ในปัจจุ-
    *บันได้ นั่นเป็นฐานะที่มีได้ ฯ


    [๘๒๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อม
    เบื่อหน่ายแม้ในจักษุ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักษุวิญญาณ
    ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักษุสัมผัส ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเวทนา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ใน
    ตัณหา
    ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในโสตะ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเสียง ...
    ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในฆานะ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในกลิ่น ...
    ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในชิวหา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรส ...
    ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในกาย ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในโผฏฐัพพะ ...
    ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในมโน ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในธรรมารมณ์ย่อมเบื่อหน่าย
    แม้ในมโนวิญญาณ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในมโนสัมผัส ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเวทนา
    ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในตัณหา เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด
    จึงหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว และทราบชัดว่า
    ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้วกิจอื่นเพื่อความ
    เป็นอย่างนี้มิได้มี ฯ

    พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นต่างชื่นชมยินดี
    พระภาษิตของพระผู้มีพระภาค และเมื่อพระผู้มีพระภาคกำลังตรัสไวยากรณ์ภาษิตนี้
    อยู่ ภิกษุประมาณ ๖๐ รูป ได้มีจิตหลุดพ้นจากอาสวะ เพราะไม่ถือมั่นแล ฯ
    จบ ฉฉักกสูตร ที่ ๖

    http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=14&A=10324&Z=10554
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 กุมภาพันธ์ 2013
  12. เชษฐ์ดนัย

    เชษฐ์ดนัย สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2013
    โพสต์:
    8
    ค่าพลัง:
    +10
    ลองปล่อยลมหายใจดูครับ ให้เหลือแค่จิตอย่างเดียว
     
  13. MindSoul1

    MindSoul1 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กันยายน 2012
    โพสต์:
    295
    ค่าพลัง:
    +496
    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=Guu0A86gsWM]สติปัฏฐาน๔ อานาปานสติ - YouTube[/ame]

    สติปัฏฐาน๔ อานาปานสติ
     
  14. มะหน่อ

    มะหน่อ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    1,652
    ค่าพลัง:
    +1,210
    ดูแต่ตัวเองไม่ดูสัตว์อื่น
    ส่งจิตออกนอกไปดูเขามั่ง
    เราว่าเราลำ เราร่ำ ร้อง..............แล้ว

    สัตว์อื่นที่โหยหา.........ที่ไม่เกย ไม่เคยเจอยิ่งกว่าเราเจอ..........ยังมี
    เผื่อเขาแผ่เขาเพื่อเราจะได้ส่วนนั้นไปต่อ

    ส่วนไหน
    ส่วนบุญส่วนกุศล

    หรือท่านจะเผื่อสันมุย(ขวาน)แก่เขาขอรับ

    ขอท่านเจริญในธรรมยิ่งแล้วขอรับ
     
  15. มะหน่อ

    มะหน่อ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    1,652
    ค่าพลัง:
    +1,210
    กล่าวมาถึงวิญญานแล้วขอรับ
    มีพระธรรม
    นิทาน
    หรือวินัยใดบ้างที่กล่าวถึงทางด้านจิต
    บ้างหรือไม่อย่างไรขอรับ

    ขอท่านเจริญในธรรมยิ่งแล้วขอรับ

    หรือว่าวิญญานนี่ใหญ่กว่าเล็กกว่า
    สมมุติกว่าจิตหรือไม่อย่างไร
     
  16. มะหน่อ

    มะหน่อ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    1,652
    ค่าพลัง:
    +1,210
     

แชร์หน้านี้

Loading...