พุทธศาสนาแบบไทยๆ : แท้ที่จริงแล้วเรากำลังรุ่งเรืองหรือพังทลายตัวเอง

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย สุมิตราจ๋า, 2 ธันวาคม 2012.

  1. สุมิตราจ๋า

    สุมิตราจ๋า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มกราคม 2012
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +1,529
    ผู้เขียน : วิจักขณ์ พานิช / กลุ่มพุทธศาสน์ของราษฎร

    [​IMG]

    ๑. พุทธศาสนาเถรวาทจากมุมมองประวัติศาสตร์ศาสนา
    เมื่อมองมายังพุทธศาสนาเถรวาทที่เจริญงอกงามอยู่ตามประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นักวิชาการชาวตะวันตกได้ให้คำนิยามต่อพุทธศาสนาเถรวาท ในฐานะสายปฏิบัติที่เน้นไปที่การรักษาคำสอน วิถีการดำเนินชีวิต ให้มีความใกล้เคียงกับที่ปฏิบัติกันในสมัยพุทธกาลมากที่สุด


    นักประวัติศาสตร์ศาสนาพยายามมองไปให้พ้นกรอบสังคมและวัฒนธรรมที่กำหนดรูปแบบพุทธศาสนาเถรวาทในแต่ละประเทศ สิ่งใดที่ช่วยรักษาจิตวิญญาณดั้งเดิมของธรรมวินัยที่พระพุทธะสมณโคดมสั่งสอนเหล่าอริยสาวก? นักประวัติศาสตร์ศาสนาคำนึงถึงส่วนสำคัญของการสืบทอดพุทธศาสนาเถรวาทตั้งแต่สมัยพุทธกาล โดยจำแนกการสืบทอดเป็นสองกระแสหลัก ได้แก่ วิถีผู้สละสู่ป่า (Forest Renunciants) กับวิถีวัดวาอาราม (Settled Monasticism)

    วิถีผู้สละสู่ป่า (Forest Renunciants)

    แทนที่จะมอง "ความดั้งเดิม" ด้วยการยึดในหลักธรรมวินัยที่ถูกแสดงและสอนสั่งโดยพุทธะสมณโคดม นักประวัติศาสตร์ศาสนากลับเข้าไปค้นหาสิ่งที่อยู่ลึกกว่านั้น ด้วยการให้ความสนใจกับบริบทที่ "ธรรมวินัย" ถูกถ่ายทอด

    หลังจากพระพุทธะสมณโคดมปรินิพพาน ได้ฝาก "ธรรมวินัย" ไว้เป็นแนวทางให้สาวกประพฤติปฏิบัติ ธรรมวินัยในที่นี้ คือ หลักคำสอนและแนวทางการประพฤติตน ที่ได้ถูกวางไว้อย่างมีหลักเกณฑ์ ทว่าในอีกด้านหนึ่งก็เปิดกว้างให้มีการปรับเปลี่ยนได้ “ตามความเหมาะสม” อย่างที่มีการปรับเปลี่ยนเสมอมา ในช่วงที่พุทธะสมณโคดมมีชีวิตอยู่

    นักประวัติศาสตร์ศาสนาไม่สนใจที่จะถกเถียงความถูกต้องของหลักธรรมวินัยว่าประกอบด้วยอะไรบ้าง แต่กลับสนใจไปที่บริบทและบรรยากาศของการดำรงอยู่ของธรรมวินัย และสิ่งที่ธรรมวินัยต้องการจะสื่อสาร อันสะท้อนถึงโลกทัศน์ การตีความ และจิตวิญญาณเดิมแท้ของธรรมวินัย อันได้แก่เส้นทางของการสละละวาง และการเดินท่องไปเพื่อประโยชน์ของมนุษย์และสรรพสัตว์

    สำหรับนักประวัติศาสตร์ศาสนา ธรรมวินัย ไม่ได้สะท้อนกฏเกณฑ์ความประพฤติและหลักพุทธปรัชญา ในตัวมันเอง ทว่าสะท้อนถึงความสำคัญในบริบทของวิถีผู้สละสู่ป่า ( Forest Renunciants ) อันเป็นเส้นทางการดำเนินชีวิตที่พระพุทธะสมณโคดมแสดงไว้เป็นแบบอย่างตลอดทั้งชีวิต หากธรรมวินัยตัดขาดจากบริบทดังกล่าว ย่อมไม่สามารถสะท้อนถึงคุณค่าทางจิตวิญญาณที่พระพุทธะสมณโคดมสื่อสารไว้ อย่างแท้จริงได้

    "ป่า" [บ้างก็อ้างถึง “ป่าช้า”] ในที่นี้ เป็นสัญลักษณ์แสดงถึง พื้นที่ที่ไม่มีใครเข้าไป พื้นที่ที่ไม่ถูกปรุงแต่งด้วยความคิด ความคาดหวัง และกฏเกณฑ์ทางสังคมใดๆ หากเป้าหมายของพุทธศาสนาคือจิตใจอันหลุดพ้นจากการยึดมั่นทางความคิดทั้งปวง ป่าก็เป็นสัญลักษณ์อันแสดงถึงพื้นที่อันเป็นอุดมคติในเชิงกายภาพ ซึ่งเอื้อต่อการฝึกฝนจิตใจให้คลี่คลายและหลุดพ้นจากบ่วงรัดรึงทางโลกย์ ป่าคือสถานที่ที่ปราศจากอำนาจครอบงำ ปราศจากความรู้ ปราศจากหลักเกณฑ์ ปราศจากความคาดหวังของสังคม สรุปด้วยถ้อยคำสั้นๆ ป่าคือ พื้นที่แห่งเสรีภาพอันไร้ขีดจำกัด นั่นเอง

    วิถีของการเป็นผู้สละสู่ป่า คือ วิถีของผู้รักในเสรีภาพ พระพุทธะสมณโคดมดำเนินชีวิตในฐานะผู้สละสู่ป่าตลอดชีวิต แม้จะมีคำร้องขอให้ท่านลงหลักปักฐาน สร้างสำนักสั่งสอนผู้คน อยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่งไปโดยตลอด ทว่าการเลือกที่จะเป็นผู้เดินท่องไป ตามชายขอบของสังคม จากวัฒนธรรมหนึ่งสู่อีกวัฒนธรรมหนึ่งอย่างไร้หลักยืนอันมั่นคงจนลมหายใจสุดท้าย ได้สะท้อนถึงคุณค่าทางจิตวิญญาณดั้งเดิม อันไปพ้นหลักความเชื่อ หรือความเป็นศาสนา ซึ่งในมุมมองของนักประวัติศาสตร์ศาสนา นั่นคือจิตวิญญาณของพุทธศาสนาเถรวาท

    [​IMG]

    วิถีวัดวาอาราม (Settle Monasticism)

    วิถีการสืบทอดแบบที่สอง คือ วิถีวัดวาอาราม จากมุมมองนักสังคมวิทยาและนักประวัติศาสตร์ศาสนา นี่คือ แนวโน้มของการ “ประนีประนอม” จิตวิญญาณเดิมแท้เข้าหาความเป็นจริงทางโลกย์มากขึ้น (อย่างไรก็ดี นักสังคมวิทยาอย่าง Max Weber มองไปถึงขั้นที่ว่าวิถีวัดวาอารามและความเป็นสถาบันศาสนาเป็นการทรยศต่อจิตวิญญาณดั้งเดิมอันสะท้อนอยู่ในชีวิตของศาสดาแห่งศาสนานั้นๆ เลยทีเดียว) เริ่มต้นด้วยข้อตกลงให้สมณะหยุดการออกเดินท่องไปในช่วงหน้าฝน เพราะเป็นอันตรายต่อต้นกล้าพืชผลของชาวบ้าน เกิดเป็นวิถีปฏิบัติที่สมณะต้องพักอยู่กับที่ตลอด ๓ เดือนในช่วงเข้าพรรษา จากนั้นจึงเกิดเป็นประเพณีในการมอบที่ดินและปัจจัยให้สร้างวัดวาอารามเพิ่มขึ้น นำมาซึ่งการอนุญาตให้สมณะสามารถใช้ชีวิตเป็นหลักแหล่งอาศัยอยู่ในวัดวาอารามได้ ตามลำดับ

    ข้อสังเกตของกระบวนการประนีประนอม จาก Asceticism สู่ Monasticism ของพุทธศาสนา คือ การมองไปที่เป้าหมายของ การสัมพันธ์กับชุมชน การเผยแผ่คำสอน และการยังประโยชน์ต่อผู้ปรารถนาพ้นทุกข์ ซึ่งเป้าหมายดังกล่าวยังนำมาเป็นเหตุผลต่อการปรับธรรมวินัยให้สอดคล้องกับรูปแบบ Settled Monasticism ในภายหลังอีกด้วย

    ทว่าการเกิดขึ้นของวิถีวัดวาอารามในยุคแรกนั้น เป็นการดำรงอยู่อย่างไม่แยกขาดจากวิถีผู้สละสู่ป่า ทั้งสองเอื้ออิงอาศัยกัน วัดวาอารามให้อาหาร ให้ที่พักพิง ให้กับสมณะร่อนเร่ และเป็นสถานที่เพิ่มพูนความรู้และการศึกษา ส่วนสมณะร่อนเร่ก็นำพาเอาประสบการณ์จากต้นธารเดิมแท้ที่ได้จากการฝึกฝนจิตใจตนเองอย่างเข้มข้น อาจกล่าวได้ว่า วิถีผู้สละสู่ป่าสะท้อนถึงการรักษาต้นธารและจิตวิญญาณเดิมแท้ของพระพุทธะ ส่วนวิถีวัดวาอารามสะท้อนถึงกระแสของการปรับตัว และเปิดกว้างต่อโลกย์และความเป็นจริงมากขึ้น [ซึ่งอาจมองเป็นการอยู่เอื้ออิงอาศัยกันของความเป็นอนุรักษ์นิยมและความเป็นเสรีนิยม/มนุษย์นิยมของพุทธศาสนาในยุคแรกเริ่ม]

    แน่นอนว่า เมื่อเวลาผ่านไป วิถีวัดวาอารามนั้น ย่อมเกิดการปรับตัวต่อไปเรื่อยๆ ตามสภาพสังคม วัฒนธรรม การแทรกแทรงโดยรัฐ ผู้อุปถัมภ์ เจ้าเมือง กษัตริย์ และการพัฒนากฏเกณฑ์ และการตีความธรรมวินัยที่สัมพันธ์กับบริบทของวัดวาอารามที่มีโครงสร้างซับซ้อนขึ้นตามลำดับ ทว่าตราบใดที่วัดวาอารามยังมีรากที่สัมพันธ์อยู่กับวิถีผู้สละสู่ป่า สมณะที่จำวัดอยู่เป็นระยะเวลาหนึ่ง มีช่วงเวลาของการ "Retreat" ก็ทำให้วิถีวัดอารามยังมีรากอยู่ในความเรียบง่าย ไม่ถูกครอบงำด้วยบ่วงรัดรึงในทางโลกย์ และยังคงสัมพันธ์อยู่กับจิตวิญญาณแห่งธรรมวินัยที่แสดงไว้โดยสมณะโคดม อันมีเป้าหมาย อยู่ที่การฝึกตนเพื่อหลุดพ้นและเข้าสู่ "เสรีภาพ" ทางจิตใจ สะท้อนอยู่ในสัญลักษณ์ทางกายภาพ คือ ผืนป่าอันกว้างใหญ่นั่นเอง

    [​IMG]


    ๒. กำเนิดพุทธศาสนาของรัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์

    แม้พุทธศาสนาจะถูกผนวกรวมเป็นความเชื่อหลักของสังคมแบบชนชั้นศักดินา ระบบอุปถัมภ์ และถูกนำไปใช้สร้างความชอบธรรมให้แก่อำนาจแบบราชาธิปไตยอยู่ตลอดมา แต่ด้วยความที่รัฐสมัยก่อนไม่ได้มีพลานุภาพในการควบคุมพลเมืองในรัฐเหมือนในปัจจุบัน พุทธศาสนาแบบดั้งเดิมที่ต่อมาถูกเรียกว่าพุทธศาสนาเถรวาทนั้น จึงยังคงสืบสายคุณค่าทางจิตวิญญาณผ่านวิถีชีวิตที่เรียบง่ายและความสัมพันธ์ะหว่างครู-ศิษย์ (สายอุปัชฌาย์) วัดวาอารามไม่ตัดขาดจากวิถีผู้สละสู่ป่าซึ่งเปรียบเสมือนเส้นเลือดใหญ่ของพุทธศาสนาเถรวาท สายปฏิบัติของสมณะร่อนเร่ยังคงสืบสายกันในพื้นที่ที่ห่างไกล และอยู่นอกขอบเขตอำนาจการควบคุมของรัฐ

    อาจสรุปง่ายๆ ว่า พุทธศาสนาเถรวาทงอกงามได้ในอดีต ก็เพราะอำนาจการควบคุมของรัฐราชาธิปไตยยังไม่ดีนักนั่นเอง

    ความเรียบง่ายและยังสัมพันธ์อยู่กับบรรยากาศแบบวัดวาอารามบ้านๆ สลับกับความเป็นป่าๆ เช่นนี้ ทำให้พุทธศาสนาเถรวาทรักษาความเดิมแท้และเผยแผ่จากหมู่บ้านหนึ่งไปสู่อีกหมู่บ้านหนึ่ง จากวัฒนธรรมหนึ่งไปสู่อีกวัฒนธรรมหนึ่ง อย่างไม่ขาดสาย อีกทั้งยังแตกออกเป็นสายปฏิบัติย่อยๆ มากมาย แต่ละสายมีเอกลักษณ์ เทคนิคปฏิบัติเฉพาะของตนเอง รวมถึงการตีความและปรับใช้ธรรมวินัยที่ไม่เหมือนกันเสียทีเดียว นอกจากนั้นยังมีการผสมผสานการเรียนรู้เข้ากับแขนงคำสอนอื่นๆ เช่นโพธิสัตวยาน และตันตรยาน ทว่ายังคงวิถีชีวิตของสมณะที่ติดดิน เรียบง่าย ยึดหลักธรรมวินัยอย่างเคร่งครัดในการปฏิบัติตนตามรอยครูบาอาจารย์ และวิถีของการเป็นผู้สละสู่ป่า ตามวิถีปฏิบัติดั้งเดิม

    ความหลากหลาย ความเรียบง่าย และและความยึดหยุ่นเช่นนี้ ทำให้พุทธศาสนาเถรวาทสามารถผสมผสานเข้ากับความเชื่อ และขนมธรรมเนียมประเพณีพื้นบ้านได้ดี มีความเป็นมิตร และเปิดกว้างโดยธรรมชาติ แม้จะมีหลักธรรมวินัยที่ตนยึดถืออย่างเคร่งครัด ก็เป็นเพียงข้อประพฤติปฏิบัติเพื่อความเรียบง่ายและเป็นปกติสุขของตนเท่านั้น ความเป็นพุทธศาสนาแบบป่าๆ เช่นนี้ ทำให้พุทธมีความสัมพันธ์ที่ดีกับผีและวิญญาณพื้นบ้านทุกชนิด รวมถึงลัทธิความเชื่อพื้นเมือง และศาสนาอื่นๆ จนบางครั้งก็ผสมผสานปนเปกันจนแยกไม่ออก

    [​IMG]

    ย้อนกลับไปในอดีตวชิรญาณภิกขุ(ภิกขุผู้นี้ก็คือรัชกาลที่4 นั้นแล :ลุงเทพอภิบาล) ผู้มีความสนใจในหลักเหตุผลและวิทยาศาสตร์แบบประจักษวาท เห็นสภาพของพุทธศาสนาแบบเถรวาทเช่นนั้น จึงเกิดความห่วงใย และมีความคิดที่จะปฏิรูปหลักคำสอนพุทธศาสนาให้เหลือแต่เฉพาะที่เป็นเหตุเป็นผลและเป็นวิทยาศาสตร์ที่พิสูจน์ได้ ตามมุมมองแบบ Elitist ของวชิรญาณภิกขุ เขารู้สึกว่าพุทธผีนั้นไม่ใช่ "พุทธแท้" และพิธีกรรมต่างๆ นั้นเป็นเรื่องเหลวไหลที่พิสูจน์ไม่ได้ และเป็นส่วนพอกที่ทำให้พุทธศาสนาเกิดความเสื่อมถอย เขามุ่งเน้นไปที่คันถธุระ ผ่านการศึกษาหลักปริยัติ พุทธปรัชญา และตีความหลักธรรมวินัยในเชิงเหตุผลมากกว่าการคำนึงถึงวิถีการดำเนินชีวิตที่หลากหลาย เขาไม่ให้ความสำคัญกับคำสอนที่พิสูจน์ไม่ได้อย่าง นรก สวรรค์ หรือแม้แต่พระนิพพาน อีกทั้งการศึกษาด้านวิปัสสนาธุระก็ไม่ได้ถูกให้ความสำคัญแต่อย่างใด ในความคิดของเขา พุทธศาสนาที่เขาอยากเห็นจะต้องเป็นรูปแบบศาสนาที่น่าเชื่อถือ เป็นเหตุเป็นผล เป็นวิทยาศาสตร์ ซึ่งนั่นน่าจะสามารถต่อกรกับความเชื่อทางศาสนาแบบตะวันตกที่กำลังเข้ามามีอิทธิพลในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ณ ขณะนั้นได้ การปฏิรูปพุทธศาสนาในแบบของเขาจะช่วยให้ชาวสยามไม่ถูกมองว่าเป็นพวกบาบาเรี่ยนที่เอาแต่กราบไหว้ภูตผีและบูชาต้นตะเคียน

    วชิรญาณภิกขุเป็นพระภิกษุอยู่นานหลายปีก่อนจะขึ้นครองราชย์เป็นรัชกาลที่ ๔ เขาเป็นผู้ก่อตั้งคณะธรรมยุติ และเริ่มต้นแนวคิดการปฏิรูปพุทธศาสนาอย่างเป็นระบบ การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง และมีอิทธิพลสูงสุดในสมัยรัชกาลที่ ๕ พร้อมๆ กับการรวมศูนย์อำนาจและแนวคิดของรัฐชาติสมัยใหม่ พุทธศาสนาเถรวาทแบบเป็นทางการ ในนามพุทธศาสนาของรัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์ได้ถูกสถาปนาขึ้น และมีอิทธิพลต่อความเชื่อและโลกทัศน์ของชาวพุทธไทยส่วนใหญ่ไม่ทางใดก็ทางหนึ่งตราบจนปัจจุบัน การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวได้ขุดรากถอนโคน และทำลายจิตวิญญาณดั้งเดิมของพุทธศาสนาเถรวาทลงแทบหมดสิ้น ด้วยความที่โครงสร้างแบบรัฐสมัยใหม่ ไม่เปิดพื้นที่ให้กับการดำรงอยู่นอกขอบเขตการควบคุมของรัฐเกิดขึ้นได้อีกต่อไป โครงสร้างการปกครองคณะสงฆ์ของรัฐเข้ามาแทนที่ ปริมณฑลของ "่ป่า" ได้ถูกทำลายทั้งในเชิงกายภาพและเชิงสัญลักษณ์ สมณะไม่มีเสรีภาพที่จะร่อนเร่ไปไหนมาไหนได้ตามใจชอบ ทว่าต้องขึ้นตรงอยู่กับรัฐ อยู่ภายใต้พรบ.คณะสงฆ์ และองค์กรสงฆ์ของรัฐ อาจกล่าวได้ว่าสมณะได้ถูกแปรเปลี่ยนให้กลายเป็นพนักงานของรัฐ รับใช้พระพุทธศาสนาของรัฐ แทนที่ความสัมพันธ์กับชุมชนในแนวราบ

    จิตวิญญาณอันเสรีของพุทธศาสนาเถรวาทในแง่ Forest Renunciants จึงถูกทำลายลง เหลือเพียงความเป็น Settled Monasticism ที่สัมพันธ์อยู่กับอำนาจรัฐแบบรวมศูนย์ ชุมชนหมู่บ้านถูกทำลายลงไปพร้อมๆ กับพุทธและพระแบบบ้านๆ ป่าถูกทำลายลง พร้อมๆ กับชุมชนรอบๆ ป่า และพระป่าๆ พุทธศาสนาเถรวาทถูกรัฐให้นิยามใหม่ รวมถึงเขียนประวัติศาสตร์ให้ใหม่ โดยให้ภาพพระศาสดา อริยสาวก และหลักธรรมวินัย อย่างผูกยึดสัมพันธ์อย่างไม่อาจแยกขาดจากบารมี อำนาจ คุณธรรม ความดี และความศักดิ์สิทธิ์ของธรรมราชาในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ และภาพความเป็นพระแท้และพุทธแท้ ที่ยึดมั่นในพระคัมภีร์

    [​IMG]


    ๓. Buddhism Fundamentalism กับภาวะความเป็นอื่น

    แม้จะก้าวเข้าสู่ความเป็นเสรีนิยมประชาธิปไตยในยุคศตวรรษที่ ๒๑ ทว่ามรดกตกทอดจากการปลูกฝังความเชื่อของพุทธศาสนาศักดินาแห่งรัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์ก็ยังคงถูกสืบทอดเรื่อยมาจวบจนปัจจุบัน เสรีภาพที่ดูเหมือนจะเปิดกว้างมากขึ้นจากอิทธิพลของโลกทุนนิยมและโครงสร้างรัฐหลังสมัยใหม่ ทำให้องค์กรสงฆ์อย่างมหาเถรสมาคม สำนักพุทธศาสนา (รวมถึงกระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงศึกษาธิการ หรือองค์กรอิสระอย่าง สสส.) มีอิทธิพลต่อการกำหนดนโยบาย ไม่ว่าจะเป็นด้านการศึกษา ด้านวัฒนธรรม ด้านศีลธรรมจริยธรรม ด้านสังคมสงเคราะห์ ฯลฯ โดยยึดหลักความเชื่อแบบพุทธทางการเป็นที่ตั้ง พุทธศาสนาคือส่วนหนึ่งของอำนาจรัฐ ที่ต้องการปลูกฝังให้ประชาชนของรัฐเป็นคนดี มีศีลธรรม ทำความดีละเว้นความชั่ว ทำจิตให้ผ่องใส เข้าวัดปฏิบัติธรรม มีความกตัญญูรู้คุณพ่อแม่ ครูบาอาจารย์ และชนชั้นปกครอง มีลักษณะนิสัยที่เรียบร้อย มีสัมมาคารวะ ว่านอนสอนง่าย เคารพเชื่อฟังผู้ใหญ่ ไม่กระด้างกระเดื่องต่อชนชั้นปกครอง และอยู่เคียงข้างอำนาจรัฐ พระสงฆ์เป็นข้าราชการ ขึ้นตรงกับคณะสงฆ์ของรัฐ วัดได้รับเงินสนับสนุน พระได้รับสมณศักดิ์ พัดยศ เบี้ยเลี้ยง และเงินเดือน โดยมีกฎเกณฑ์การควบคุมดูแลและบริหารงานแบบราชการ ผนวกกับการตีความธรรมวินัยในลักษณะของหลักเกณฑ์หรือกฏอันตายตัว ที่ตัดขาดจากวิถีชีวิตของสมณะอันเรียบง่าย

    โครงสร้างของสถาบันศาสนาดังกล่าว ยึดโยงอยู่อย่างแนบแน่นกับสถาบันทหารและสถาบันพระมหากษัตริย์ (ชาติ ศาสน์ กษัตริย์) โดยศรัทธา สถานะ และความเชื่อที่ไม่ได้มีความเป็นประชาธิปไตยอยู่โดยรากฐาน การเน้นความดั้งเดิมของคำสอนในพระศาสนา และอำนาจการสื่อสารทางเดียว ดูจะเอื้อกันได้ดีกับสถานะที่อยู่เหนือประชาชนและประชาธิปไตย หลักธรรมวินัยของพุทธศาสนาได้ถูกตีความเพื่อปกป้องสถานะของศาสนาเอง มากกว่าจิตวิญญาณของการปฏิบัติตนตามแบบอย่างของพระพุทธะในความเป็นผู้สละสู่ป่า ส่วนวิถีวัดวาอารามนับวันก็จะกลายเป็นวังหรือซุ้มนักเลงเข้าไปทุกที พุทธศาสนาเถรวาทแบบทางการอันเป็นมรดกตกทอดของรัฐอำนาจนิยมเป็นอุปสรรคขัดขวางการเติบโตของรัฐประชาธิปไตยและสังคมแบบโลกวิสัยเสียเอง เมื่อธรรมวินัยไม่ได้สะท้อนแนวทางของการดำเนินชีวิต ธรรมวินัยจึงถูกตีความไปอย่างตื้นเขินในแง่ “กฏเกณฑ์ระดับชาติ” (ซึ่งในทางปฏิบัติก็ไม่ต่างกับกฎหมาย) ที่มีไว้เอาผิดกันในแง่ความประพฤติ เช่น พระกินเหล้า พระอวดอุตริ พระมีเซ็กซ์ หรือไม่ก็อวดโอ่ความศักดิ์สิทธิ์ของตนผ่านภาพลักษณ์ของผู้ทรงศีลอันเต็มไปด้วยการเสแสร้ง

    องค์กรพุทธศาสนาของรัฐทำหน้าที่ผลิตซ้ำวาทกรรมทางศีลธรรมอันเอื้อประโยชน์ต่อการดำรงอยู่ของโครงสร้างสังคมแบบศักดินา วาทกรรมในคราบคำสอนทางศาสนาได้แทรกซึมเข้าไปในทุกวงการ ราวกับการป้อนอาหารทางใจที่ไม่อาจปฏิเสธได้ หากคิดถึงคุณธรรม ความดี ความสุข ก็ต้องคิดถึงธรรมะและพุทธศาสนามาเป็นแพ็คเกจคู่กัน หากคิดจะทำให้สังคมดีขึ้น ก็ต้องใช้กรอบคิดแบบพุทธ เมื่อคนเป็นคนดี สังคมก็จะดีเอง (คนพุทธ และสังคมพุทธเท่านั้น) แก้ปัญหาที่ใจ ไม่ใช่แก้ที่ภายนอก (สังคมจะเหลื่อมล้ำยังไงก็ช่าง) อำนาจที่ยึดโยงอยู่กับพุทธศาสนาของรัฐ ได้เลือกเอาหลักธรรม และการตีความห้วนๆ ทื่อๆ เหมารวม และตัดขาดจากบริบทในแบบหนึ่ง เพื่อให้ศาสนาเป็นกลไกในการสร้างพลเมืองแบบหนึ่งที่รัฐเผด็จการต้องการ นั่นคือเป็นคนดี เรียบร้อย และเชื่อง จึงไม่น่าแปลกใจที่เราจะไม่เคยได้ยินคำสอนพุทธศาสนาแบบไทยๆ สอนให้คนรักในสิทธิ เสรีภาพ มีจินตนาการ กล้าตั้งคำถาม และฝึกใจเพื่อให้มีความกล้าหาญ และเป็นตัวของตัวเอง

    พุทธศาสนาเถรวาทที่เคยงอกงามเป็นเนื้อเดียวกับสังคมไทยในอดีตนั้นเป็นพุทธศาสนาที่มีศักยภาพในการปรับตัวสูงมาก ทว่าพุทธศาสนาของรัฐไทยกลับเป็นตรงกันข้าม คือเป็นพุทธศาสนาเถรวาทในแบบที่มีศักยภาพในการปรับตัวต่ำมาก จนแทบไม่มีเลย นั่นคือมีกฏเกณฑ์และความถูกต้องในแบบของตัวเอง มีเอกลักษณ์ที่ไม่เหมือนใครในโลก เปิดกว้างให้ทุกคนเข้ามาศึกษาเรียนรู้ได้ แต่ไม่จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนหรือเรียนรู้จากใคร การอ้างหลักคำสอนและหลักธรรมวินัยขึ้นตรงกับอำนาจสูงสุด นั่นคือพระบรมศาสดา ที่ไม่มีใครสามารถแก้ไขหรือตีความเป็นอย่างอื่น การเขียนประวัติศาสตร์พุทธศาสนา และการสอนข้อธรรมแบบไทยๆ ผูกโยงอยู่กับโลกทัศน์แบบการเอาตนเองเป็นศูนย์กลางและความถูกต้องสูงสุดเพียงหนึ่งเดียว การตั้งคำถามและจินตนาการของการตีความอย่างสัมพันธ์กับบริบทถูกมองเป็นการบิดเบือน หรือไม่ก็ถูกผลักให้ "เป็นอื่น" เช่น เป็นพวกลัทธินิกาย เป็นพุทธแบบฝรั่ง เป็นพวกถูกครอบงำโดยตะวันตก เป็นนักเสรีนิยม เป็นนักปรัชญา หรือในกรณีความขัดแย้งทางการเมือง "เป็นพวกเสื้อแดง" เป็นต้น

    สำหรับคนรุ่นใหม่ที่ไม่ได้เกิดมาท่ามกลางชุมชนที่มีรากของพุทธศาสนาอันผูกพันใกล้ชิดกับวิถีชีวิตอย่างในอดีต และต้องทนเสพและบริโภคพุทธศาสนาเถรวาทของรัฐที่เต็มไปด้วยกรอบครอบงำทางศีลธรรม จริยธรรม และมาตรฐานความดีงามแบบที่ไม่เคยถูกตั้งคำถาม ไม่ใช่เป็นเรื่องแปลกที่พวกเขาจะรู้สึกต่อต้านโดยธรรมชาติ ยิ่งเสพพุทธศาสนาแบบดังกล่าวมากเท่าไร ก็ยิ่งเกิดอาการคลื่นเหียน เอียน เบื่อ และเหวี่ยงอย่างรุนแรง ทุกวันนี้คนรุ่นใหม่จำนวนไม่น้อย จึงพอใจที่จะนิยามตัวเองว่า "คนไม่มีศาสนา" มากกว่าคำว่า "พุทธ" ที่ถูกยัดเยียดให้พวกเขาโดยกำเนิด

    ประกอบกับทุกวันนี้ การทำบุญ ตักบาตร เข้าวัด ฟังธรรม ถือศีล ก็ไม่ได้เป็นกิจกรรมที่คนในชุมชนจะทำร่วมกันเหมือนสมัยก่อน กิจกรรมทางศาสนาได้กลายเป็นรสนิยมส่วนตัว ทั้งคำถามที่ว่าจะทำมันหรือไม่? ทำมันอย่างไร? ทำเท่าไหร่? ทำที่ไหน? หรือทำกับใคร? เมื่อการมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางศาสนาได้กลายมาเป็นเรื่องเสรีภาพส่วนบุคคล จึงไม่น่าแปลกใจที่จะมีคนรุ่นใหม่จำนวนไม่น้อย เลือกที่จะ “ไม่ทำ” พวกเขาเริ่มเรียกตนเองว่า "คนไม่มีศาสนา" พวกเขาท้าทายการเทศนา สั่งสอน และการครอบงำทางความเชื่อผ่านรูปแบบทางวัฒนธรรม และความเป็นไทยทุกชนิด

    ทว่าการจะเลือกระบุคำว่า "ไม่มีศาสนา" กลับไม่ใช่สิ่งที่สามารถกระทำได้โดยง่ายดายและสง่าผ่าเผยนัก เพราะพุทธศาสนายึดโยงอยู่กับอำนาจรัฐอื่นๆ อย่างแยกแยะแกะไม่ออก หากเราเดินไปทำบัตรประชาชน แล้วขอเติมตรงช่องศาสนาว่า “ไม่มี” เจ้าหน้าที่รัฐมักสรุปความท้าทายนั้นอย่างมักง่ายว่า "เอ๊อะ แปลก" "เรื่องมาก" "ไม่มีศาสนาได้ยังไง" "อย่ามาทำเป็นแนว" และโดยส่วนใหญ่เมื่อเห็นว่าเราไม่มีศาสนา ก็มักคิดแก้ปัญหาแทนให้ ด้วยการเลือกศาสนาที่ดีที่สุด กรอกคำว่า "พุทธ" ลงไปในช่องนั้นให้เสร็จสรรพ

    สังคมที่เคยมีคนนับถือพุทธอยู่กว่า ๙๐% ในทะเบียนราษฎร์ จะหลงเหลืออยู่จริงสักเท่าไหร่ในปัจจุบัน เป็นคำถามที่อาจไม่มีใครตอบได้ หากสังคมไทยไม่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างถึงราก ด้วยการแยกเอาอำนาจรัฐกับอำนาจศาสนาออกจากกันให้ได้เสียก่อน กี่เปอร์เซนต์ในจำนวนนั้นที่เป็นการเหมารวมอย่างมักง่าย และกี่เปอร์เซนต์ยังไม่มีความเข้าใจในการเคารพเสรีภาพในการนับถือศาสนาอย่างแท้จริง "ความไม่มีศาสนา" "ความเป็นศาสนานิกายอื่น" หรือ "คนต่างศาสนา" แม้จะเป็นได้ ไม่โดนจับ แต่ก็อยู่ในสถานะของ “ความเป็นอื่น” ที่ไม่ได้รับการยอมรับในประเทศพุทธเผด็จการอย่างที่เป็นอยู่ ประเทศไทยไม่ได้เป็นประเทศที่เคารพเสรีภาพในการนับถือศาสนาอย่างจริงจัง ด้วยการยังปล่อยให้พุทธศาสนาผูกพันอยู่กับรัฐ และศาสนาถูกใช้เป็นกลไกการปลูกฝังจริยธรรมของพลเมืองในรัฐอย่างเปิดเผย และคงจะไม่ผิดนักหากจะบอกว่า ปัญหาความขัดแย้งในภาคใต้ที่ยืดเยื้อยาวนาน จะมีสาเหตุสำคัญประการหนึ่งอยู่ที่ ความเชื่อพุทธศาสนาแบบทางการนั่นเอง

    การเหมารวมแก้ปัญหาความทุกข์อย่างเลอะเทอะ ตามกรอบคิดแบบเอาศาสนาเป็นศูนย์กลางตามอย่างอำนาจรัฐ ยิ่งทำให้ศาสนาห่างไกลความทุกข์ที่แท้จริง ผู้คนที่มีความทุกข์จำนวนมาก กำลังอยู่ในภาวะกลืนไม่เข้าคายไม่ออก ถูกบีบให้ปราศจากทางเลือกอื่นนอกจากพุทธศาสนาในฐานะยารักษาทุกโรค ความทุกข์ที่มีความซับซ้อนและบริบทเฉพาะถูกวินิจฉัยและให้ยาแก้อย่างง่ายๆ ด้วยหลักธรรมจำพวกบาป บุญ คุณ โทษ และ “กรรม” บ่อยครั้งคำตอบและทางแก้ลอยมา ทั้งๆ ที่ยังเล่าไม่ทันจบ พ่อแม่และคนใกล้ตัวเต็มไปด้วยคำสอน ทางออก ทางแก้ และคำแนะนำนานาชนิด ทว่าไม่มีศักยภาพในการรับฟังและทำความเข้าใจคนที่กำลังมีความทุกข์ ความเป็นตัวของตัวเอง อิสรภาพทางความคิด และการเผชิญความทุกข์ในแบบใหม่ถูกสรุปลงง่ายๆ ว่าเป็นความคิดที่ผิด ความคิดที่ถูกเป็นสัมมาทิฏฐิมีอยู่หนึ่งเดียว และนั่นคือความคิดที่เป็นไปตามครรลองตามหลักพุทธศาสนา ภาวะกลืนไม่เข้าคืนไม่ออกนี้สะท้อน “ความเป็นอื่น” ในลักษณะที่สอง ซึ่งก็คือ ความทุกข์ของปัจเจกบุคคลที่สัมพันธ์อยู่กับบริบททางสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป ความทุกข์ที่พุทธศาสนาของรัฐเผด็จการไม่ให้ความสนใจ และมักเหมารวมง่ายๆ ว่ามาจากกิเลสตัณหา อวิชชาและมิจฉาทิฏฐิ ความทุกข์ที่เป็นอื่นเช่นนี้กำลังรอคนธรรมดาในโลกสมัยใหม่ที่กล้าออกจากกรอบพุทธศาสนาและลงไปร่วมทุกข์กับผู้คนร่วมสมัย สะท้อนวิถีสมณะผู้เดินท่องไปสัมพันธ์กับความเป็นอื่นตามวิถีดั้งเดิมของพุทธศาสนาเถรวาท

    ดังนั้นภาระหน้าที่ทางจิตวิญญาณจำเป็นต้องอยู่เปลี่ยนมือไปสู่ความรับผิดชอบของสมณะผู้ไม่ติดยึดในสถานะและภาพลักษณ์ คนติดดินธรรมดาๆ ที่พร้อมจะรับฟังและร่วมทุกข์ร่วมสุขไปกับเพื่อนมนุษย์ ซึ่งจะทำให้คนที่มีความทุกข์มีทางออกที่หลากหลาย ศาสนาที่เคยรวมอำนาจตามอย่างรัฐเผด็จการมีการกระจายภาระหน้าที่และความรับผิดชอบไปสู่ผู้ที่มีความเข้าใจ ฝึกฝนตนเอง และห่วงใยผู้คนในสถานการณ์ความทุกข์เฉพาะ ไม่ว่าจะเป็นทางเลือกของการเข้าพบนักจิตบำบัด (Therapist) ผู้มีทักษะในการรับฟัง ซักถาม และให้ความเข้าใจโดยไม่ตัดสิน ผู้ส่งวิญญาณ (Chaplain) ที่มีหน้าที่ช่วยเหลือคนใกล้ตาย และสามารถสื่อสารและให้ความเข้าใจกับญาติพี่น้องของคนใกล้ตายอย่างมีทักษะ พัสดีหรือบุคลากรในเรือนจำหรือสถานพินิจ ผู้มีทักษะในการเผชิญความรุนแรง ความโกรธความเกลียด และสามารถแปรเปลี่ยนความรุนแรงนั้นไปสู่การให้โอกาสแก่ผู้ต้องขัง ผู้ทำงานกับคนพิการหรือนักสังคมสงเคราะห์ ที่ไม่ได้ช่วยเหลือเพียงเพราะความสงสาร ความรู้สึกดี หรืออยากให้ความช่วยเหลือ ทว่ายังมีความเข้าใจความทุกข์ในเชิงโครงสร้างและวัฒนธรรม และช่วยผลักดันนโยบายอันจะนำไปสู่การปรับเปลี่ยนสังคมให้เอื้อต่อการหลุดพ้นจากความทุกข์นั้นอย่างเป็นระบบ เป็นต้น

    นี่คือยุคสมัยที่เสรีภาพทางโลกย์เปิดกว้างกว่าเสรีภาพทางศาสนาอย่างไม่น่าเป็นไปได้ ผืนป่ากลายเป็นสัญลักษณ์ให้กับความเป็นจริงแบบโลกย์ๆ โลกสมัยใหม่อันวุ่นวายโกลาหล เต็มไปด้วยภูตผี วิญญาณ สัตว์ป่า คนบ้า และโจรห้าร้อย ด้วยสถานะที่หลับใหลอยู่ในอำนาจ พุทธศาสนากลับกลายมาเป็นอุปสรรคที่กำลังทำลายผืนป่าแห่งเสรีภาพนั้นเสียเอง …และกลับกักขังตัวเองโดยไม่รู้ตัว

    ในทางตรงกันข้าม… "คนนอกรีต" "คนไม่มีศาสนา" "นักโทษการเมือง" “มารศาสนา” "พระบ้า" "LGBT" "เด็กแนว" "เด็กแว๊น" "ฟรีแล๊นซ์” …ในนามของความ “เป็นอื่น” กลับกลายสมณะท่ามกลางผืนป่าอันโกลาหลแห่งโลกสมัยใหม่ และจิตวิญญาณของพุทธศาสนาเถรวาทในตัวของพวกเขาคงกำลังแสวงหาพื้นที่งอกงามแบบใหม่ บนเส้นทางแห่งการหลุดพ้นจากคำว่า "พุทธศาสนาแบบไทยๆ" อย่างที่เป็นอยู่

    ๔.ธรรมะก็คือธรรมะ แล้ววิกฤติที่ตรงไหน?

    เรามาดูกันว่า คำว่าวิกฤติที่เรากำลังพูดถึงอยู่นี้หมายถึงอะไร คุณอาจจะสงสัยว่าแกกล้าดียังไงที่จู่ๆก็จะมาพูดถึงวิกฤติของธรรมะ ธรรมะไม่ได้วิกฤตินะ เอ้าครับ ตรงนี้ ผมเห็นด้วยเลยนะ เพราะธรรมะก็คือธรรมะ ไม่ว่ามันจะดีจะชั่วในสายตาคนในยุคสมัยอย่างไร ธรรมะก็ยังคงเป็นธรรมะ สถานการณ์บ้านเมืองจะวิกฤติอย่างไรก็ยังเป็นธรรมะ จะกุศลหรือจะอกุศล ก็เป็นธรรมะ มันเป็นอย่างนั้นของมัน ถามว่ามันมีอะไรเดือดร้อนไหม มันก็ไม่เดือดร้อน อะไรจะเกิดก็ต้องเกิด ต้องเป็นไป จริงมั๊ย

    ธรรมะไม่ได้เป็นปัญหา ไม่ว่ามันจะผันผวนขนาดไหน จะไม่คาดฝันขนาดไหน มันก็ยังจะเผยแสดงอะไรบางอย่าง สำหรับคนปฏิบัติธรรม ถ้าเราสามารถอยู่กับสภาวะตรงนั้นได้ เหตุการณ์ตรงนั้นกำลังจะสื่อสารอะไรบางอย่าง ซึ่งนั่นคือธรรมะ แม้จะเป็นสงคราม การเข่นฆ่าฆ่าฟันกัน โรคระบาด ภัยธรรมชาติ โลกจะแตก นั่นก็คือธรรมะ ถามว่าเป็นวิกฤติของธรรมะไหม ก็ไม่ใช่วิกฤติของธรรมะ เพราะธรรมะก็คือธรรมะ

    แต่ในบริบทของคนปฏิบัติธรรมมันมีวิกฤติอยู่ วิกฤติเกิดขึ้นเมื่อตัวบรรยากาศ หรือตัวสถานที่ของธรรมะมันไม่มีพื้นที่ให้กับการยอมรับความจริง เมื่อตัวบริบทของธรรมะเป็นบริบทที่ปรุงแต่งตัวธรรมะอีกทีหนึ่ง สมัยนี้น่ากลัวนะครับ คนที่ปฏิบัติธรรมมีภาวะของความซับซ้อนอยู่เยอะ มีภาวะของความกะล่อน ความดัดจริตอยู่เยอะ เราไม่กล้าที่จะเผยตัวเอง การปฏิบัติธรรมไม่ได้เป็นไปเพื่อการเผยตัวเอง ไม่ได้เป็นไปเพื่อการยอมรับความจริง หรือยอมรับความทุกข์อย่างที่เป็น มันมีการปรุงแต่งในตัวธรรมะอีกทีหนึ่ง ว่าธรรมะต้องเป็นแบบนี้แบบนั้น คนมีธรรมะต้องเป็นแบบนี้แบบนั้น ซึ่งตรงนี้เป็นวิกฤติ คือ ภาวะของการปรุงแต่งในบริบทของธรรมะ ของผู้ถ่ายทอดธรรมะ หรือในสถาบันของธรรมะ

    เมื่อภาวะปรุงแต่งตรงนี้เกิดขึ้นแล้ว ผลก็คือมันจะมีสถานการณ์อย่างหนึ่งเกิดขึ้น คือ มีบางสิ่งบางอย่างที่ “ไม่ใช่ธรรมะ” เกิดขึ้น หรือมีบางสิ่งบางอย่างที่ผู้ปฏิบัติธรรมรับไม่ได้ หรือสถานที่ที่ผู้ปฏิบัติธรรมไม่ควรจะเข้าไปยุ่ง หรือผู้ปฏิบัติธรรมไม่ควรจะเข้าไปข้องแวะ จะมีกลุ่มบุคคลบางอย่าง สิ่งของบางประเภทที่เราไม่ควรจะเข้าไปสัมพันธ์ มีกิจกรรมบางอย่างที่เราไม่ควรเข้าไปทำ มีประสบการณ์บางประเภทที่เรารับไม่ได้ เราคิดว่ามันไม่โอเค หรือหากเจอคนที่มีธรรมะในแบบนั้น เราอาจจะพูดกับเขาได้ยาก เราอาจจะเผยบางสิ่งบางอย่างให้เขาฟังไม่ได้ เพราะมีกำแพงคำตัดสินของผู้ปฏิบัติธรรมที่ดี-ไม่ดี ถูก-ไม่ถูก โลกของการปรุงแต่งธรรมะเป็นโลกที่อันตราย มันทำให้เกิดการคับแคบของประสบการณ์ยิ่งขึ้น กลายเป็นว่ายิ่งปฏิบัติธรรม ยิ่งมีธรรมะ กลับยิ่งมีความคับแคบลง แทนที่คนที่ปฏิบัติธรรมจะมีความเปิดกว้าง และยอมรับอะไรได้มากขึ้น ทั้งในตัวเราเองและในตัวคนอื่น กลับยิ่งพิพากษาและตัดสินคนอื่นมากขึ้น ซึ่งตรงนี้ผมมองว่าเป็นวิกฤติ

    ทุกวันนี้ ศาสนาหรือสายปฏิบัติธรรมที่เริ่มจะมีการปรุงแต่งของธรรมะ และเริ่มตัดขาดจากความเปิดกว้างและหลากหลายของประสบการณ์หรือความจริง ก็จะเริ่มปรุงแต่งในแง่ของการบริหารจัดการ เรื่องของพิธีกรรม เรื่องของความถูกต้อง อะไรโอเค อะไรไม่โอเค เป็นเรื่องของศีลธรรมเอย ข้อวัตรปฏิบัติต่างๆเอย คำสอนเอย สิ่งเหล่านี้ก็จะปรุงแต่งพัฒนาตัวมันไปเรื่อยๆ เมื่อถึงจุดนึงการปรุงแต่งของธรรมะก็จะค่อยๆพัฒนารูปแบบการสื่อสารให้เป็นแบบเดียว ทางก็จะแคบลง แคบลง แคบลง ทางศาสนาจะเรียกว่า ลักษณะของแม่พิมพ์แบบเดียว หรือ fundamentalism คือการบีบให้ตัวทางเดินมันมีทางเดียวเท่านั้น ถ้าทางอื่นที่ผิดไปจากแบบของฉัน ก็เป็นทางที่ผิด อันนี้คือความเป็นไปได้ของการปรุงแต่งทางศาสนา ซึ่งเป็นสิ่งที่น่ากลัวมาก สามารถนำไปสู่การฆ่ากันได้ ความเชื่อทางศาสนาว่าอะไรถูก อะไรผิด อะไรเป็นธรรมะ อะไรเป็นอธรรม อะไรเป็นดำ อะไรเป็นขาว ตรงนี้เป็นลักษณะของพัฒนาการในการปรุงแต่งทางศาสนา ซึ่งมักถูกใช้นำไปตัดสินคน ตัดสินถูกผิด ตัดสินความเป็นความตายของคนอื่นได้ ซึ่งตรงนี้แหละคือวิกฤติธรรมะ ถ้าเราไม่ระมัดระวัง สิ่งเหล่านี้ก็จะเกิดขึ้น อย่างที่มันกำลังจะเกิดขึ้นในสังคมไทย ในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ ตัวศาสนาถูกใช้เป็นเครื่องมือที่ใช้ในทางการเมืองเสมอ ศาสนาเป็นเครื่องมือหนึ่งในการทำสงครามเสมอ เพราะศาสนาเป็นอำนาจอย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นอำนาจที่มีพลัง คืออำนาจของจิตใจ ศาสนาสามารถพัฒนาตัวมันเองเป็นเครื่องมือในการแบ่งแยกและฆ่าฟัน เป็นเครื่องมือในการตัดสินตีตราคนได้ คำสอนของศาสนามีผลมากหากเราไม่ระมัดระวังในท่าที นัยที่ละเอียดอ่อนของการใช้ และบริบทที่คำสอนถูกนำไปใช้
    ซึ่งนั่นก็เชื่อมโยงกลับมาที่คำถามแรกที่เราต้องถามตัวเองเสมอว่าเวลาเราประพฤติธรรมว่า ธรรมะที่เราปฏิบัติ มันเป็นธรรมะของใคร? และที่เราปฏิบัติธรรมนั้น จริงๆเรากำลังทำอะไรอยู่ ...........
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 2 ธันวาคม 2012
  2. สุมิตราจ๋า

    สุมิตราจ๋า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มกราคม 2012
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +1,529
    อันกระทู้นี้ ตัวลุงนี้ไม่ได้เขียนเองนะจ๊ะ นะจ๊ะ แลคนเขียนเป็นคนรุ่นใหม่ ที่หันมาศึกษาคำสอนในพระพุทธศาสนา แบบจริงจัง แลนายวิจักขณ์ พานิช คนนี้ก็เป็นคนรุ่นใหม่ ซึ่งเติบโตมาในสมัยของโลกาภิวัตน์ อย่างที่ไทยเราถูกครอบด้วยวัฒนธรรมตะวันตก อย่างโงหัวแทบไม่ขึ้น ทั้งทางการศึกษา และทางสื่อสารมวลชน แต่เขาเป็นวัยรุ่นที่กล้าที่จะเป็นตัวของตัวเอง กล้าท้าทายการศึกษากระแสหลัก และสิ่งซึ่งโลกาภิวัตน์ถือว่าเป็นความสำเร็จในชีวิต ไม่ว่าจะยศศักดิ์ อัครฐาน ทรัยพ์ศฤงคาร หรือมายาการอื่นๆ แม้ในนามแห่งความเป็นเลิศในทางวิชาการ และออกไปค้นหาคุณค่าที่แท้ของความเป็นมนุษย์(ดั่งเขาละทิ้งการเป็นวิศวกรไปเรียนต่อทางด้านสมาธิภาวนาแลประวัติศาสตร์ศาสนาที่มหาวิทยาลัยนาโรปะ ซึ่งก่อตั้งโดยท่านตรุงป้า) อย่างน่าชื่นชม แลเขาได้วิพากษ์ บอกเล่าบางสิ่งบางอย่างที่มีคุณค่า เอาไว้ในบทความนี้ เป็นบางสิ่งบางอย่างที่คนส่วนใหญ่ในสังคมนี้ที่ปากอ้างว่าเป็นชาวพุทธหลงลืมไปเสียแล้วเพลานี้
    แลกล่าวโดยสรุปก็คือ อันตัวลุงนี้เห็นว่า คลื่นลูกใหม่ผู้นี้ เขียนได้ถูกใจดีแลเลยเอามาลงให้ได้อ่านกันนะจ๊ะ นะจ๊ะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 2 ธันวาคม 2012
  3. โปเย

    โปเย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    1,231
    ค่าพลัง:
    +964
    มีข้อมูลบางอย่าง รู้สึกจะผิดพลาดไปเล็กน้อย ขอแสดงความคิดเห็นดังนี้
    ...............



    หลัง พม่าถล่มไทย เผาวัด ทำลายทุกอย่าง จนอยุธยาสิ้นแล้ว ทำให้แทบ
    จะไม่เหลืออะไรเลยครับ พระเจ้าตากสิน เคยบวชมา ท่านก็พบปัญหานี้ จึง
    หาวิธีแก้ไข (เพราะเป็นปณิธานของท่านที่จะมาทำนุบำรุงศาสนา) ทว่า ท่าน
    ก็โดนเล่นงานกลับ ถูกใส่ร้ายว่าเป็นบ้า เป็นต้น จึงเห็นได้ชัดว่า แม้แต่ยุคสมัย
    "พระเ้จ้ากรุงธน" ศาสนาัจักร ก็มีอำนาจเหนือ พระราชานะครับ (จุดนี้ มันต่าง
    ไปจากยุคก่อนพม่าเผาเมืองอโยธยาครับ)


    ต่อมา ร.๑ บ้านเมืองยังไม่เรียบร้อย ท่านจึงต้องเน้นเรื่อง "อำนาจและความ
    มั่นคง" รวบอำนาจไว้ก่อน จึงดุมากครับ เรื่องอื่น แทบไม่มีเวลาจะทำแล้ว

    ต่อมา ร.๒ ท่านก็มาสานต่อเรื่อง "วัฒนธรรมประเพณี" เพราะตอนนั้นไทยเรา
    "แทบไม่เหลืออะไรเลย" ครับ ต้องเขียนใหม่ ทำใหม่หมด พระไตรปิฎกอะไร
    ก็แต่งเติมเสริมต่อ รจนากันไป ให้มันมีขึ้นมาจากที่ "แทบไม่เหลืออะไรเลย"

    ต่อมา ร.๓ ยุคนี้ เริ่มสร้างความมั่งคั่งให้บ้านเมืองไว้เป็นรากฐานให้ลูกหลานก็
    เลยได้ชื่อว่า "เจ้าสัว" ไงครับ ท่านยังไม่อาจเรียกประเทศของท่านว่าอย่างอื่น
    เลยด้วยซ้ำ เพราะตอนได้อำนาจมา โฆษณากับเหล่าทหารไว้ว่า "จะกอบกู้
    อโยธยา" ดังนั้น ประเทศยังถูกเีรียกว่า "อยุธยา" อยู่เลย มาเปลี่ยนชื่อได้ ก็
    เข้าสมัย ร.๔ ทำให้คนยอมรับ ๑. ราชวงศ์ใหม่ ๒. อาณาจักรใหม่ ได้แท้จริง

    ยุค ร.๔ จึงเริ่มเข้ามาจัดการ "ศาสนจักร" ที่เคยมีอำนาจเหนือพระราชา แม้แ่ต่
    พระเจ้าตากฯ ก็เสร็จเพราะเหตุนี้ เรียกว่า ทำไปเพื่อความมั่นคง ๑ และทำไป
    เพื่อศาสนา ๑ ถามว่าอย่างไร? ธรรมยุติ ได้ชื่อว่า "สายพระป่า" นะครับ ไม่่ใช่
    พระบ้าน ปฏิบัติเคร่งครัด ดังนั้น "เจตนาเริ่มต้น" ไม่ใช่การทำลาย แต่เพื่อให้มี
    การปฏิบัติที่ถูกต้องครับ บังเอิญ มันหาคนที่ทำได้ผลจริง ไม่ได้ มันก็เลยยังไม่
    เห็นผล มาได้เห็นผลจริงมากๆ ก็ยุค "หลวงปู่มั่น" นี่เองละครับ ดังนั้น ช่วงแรก
    จึงเป็นไปเพื่อ "สนองตอบโจทย์ความมั่นคงของชาติ" กำจัดอำนาจศาสนจักร
    ที่มีมากกว่าพระราชาไปก่อนครับ (พระตอนนั้น ไม่ใช่ย่อยๆ นะคุณ ขนาดพระ
    เจ้าตาก ก็โดนหาว่าบ้า จนโดนโค่นอำนาจสิ้นลงไปได้ คุณต้องเข้าใจบริบทนี้)


    กล่าวผิดพลาดอะไรไป ก็ขออภัยไว้ ณ ที่นี้ พูดมากไม่ได้ครับ ...
     
  4. สุมิตราจ๋า

    สุมิตราจ๋า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มกราคม 2012
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +1,529
    ไม่ได้ผิดพลาดดอก เพียงแต่คนเขียนต้องการที่จะเน้นไปที่ประเด็นว่า รัฐเข้ามามีอำนาจเหนือศาสนาจักรตั้งแต่เมื่อไร ที่อณาจักรต้องการมีอำนาจเหนือศาสนจักร จึงเน้นไปที่ช่วงสมัยรัชกาลที่สี่ เป็นต้นมา

    แต่ที่จริงแล้วความเสื่อมนั้นมันมีมาแต่ปลายสมัยอยุธยานั้นแล้วอย่างที่พ่อหนุ่มพูดมา ทีนี้เรามาดูร่วมกันก่อน แรกเริ่มเดิมที่ ศาสนาและอณาจักร สองอย่างนี้ย่อมคานอำนาจกันอยู่ เพราะต่างก็กุมความเชื่อ ความศรัทธา ที่นี้บ้านเราฝ่ายศาสนจักรไม่เคยมีอำนาจเหนือรัฐ นี่คือข้อดีเราใช้ธรรมนำหน้ามาตลอด ดั่งนั้นถ้าพระราชาของเราทำผิดก็จะถูกฝ่ายศาสนาตักเตือนสั่งสอนได้ เพราะดำรงตำแหน่งเป็นครู ถ้าเรามองดูการเมืองในแง่ความสัมพันธ์ระหว่างสงฆ์ กับชนชั้นปกครองซึ่งมีเจ้านายและขุนนาง นี่ในสมัยโบราณนะ จะพบว่าความรุ่งเรืองขึ้นอยู่กับชนชั้นปกครองสูง ยุคไหนชนชั้นปกครองให้การสนับสนุน ยุคนั้นศาสนามักจะรุ่งเรือง บ้านเราอาจจะเห็นภาพไม่ชัด ก็ต้องยกอินเดียมาเป็นตัวอย่าง คือยุคไหนชนชั้นปกครองนับถือพุทธ พุทธก็จะรุ่งเรืองมากเช่นยุคพระเจ้าอโศก ยุคไหน? เขานับถือฮินดูเช่นยุคพระเจ้าปุษยมิตร ต้นราชวงค์ศุงคะพุทธศาสนาก็จะตกต่ำมาก ในจีนก็ช่วงราชวงค์สุ่ง ซึ่งลัทธิขงจื่อใหม่มีชัยเหนือศาสนาพุทธและลัทธิเต๋า

    อำนาจรัฐ และ พระศาสนาจึ่งโยงใยกันมาโดยตลอด ในลักษณะการแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ซึ่งกันและกัน รัฐ อาศัยศาสนาในการครอบงำความคิด บงการ จะใช้คำว่าอะไรดีล่ะ ประมาณนี้ล่ะ ตลอดจนขับเคลื่อนทิศทางมวลชน เหมือนที่พวกเสื้อสีทั้งหลายยังองค์กรพิทักษ์สยาม แกนนำเขาจะชูรัฐ ศาสนา ราชาในการเป็นข้ออ้างเคลื่อนมวลชน ในขณะที่ศาสนาก็อาศัยรัฐในการขยายฐานอำนาจของศาสนาออกไปรวมทั้งคอยควบคุมขัดเกลาผู้ใช้อำนาจรัฐให้ใช้อำนาจในทางชอบธรรม ถ้าสมดุลตรงนี้เสียไป ก็จะเกิดปัญหาที่เห็นได้ชัดคือ สมมติศาสนจักร หรือ สังฆะมีอำนาจมากกว่า ก็จะกลายเป็นสิ่งที่บงการรัฐ เช่นวาติกันในยุคกลางของยุโรป ที่สังฆราชมีอำนาจมากถึงขนาดสามารถแต่งตั้งพระมหากษัตริย์ ได้ ในขณะที่ถ้ากลับกันคือศาสนจักร หรือ สังฆะมีอำนาจน้อยกว่าก็จะกลายมาเป็นเครื่องมือเบ็ดเสร็จของรัฐซึ่งรัฐกำหนดทิศทางได้ตามชอบใจ เช่นสั่งสังฆราชออกกฏโดยอ้างอำนาจสวรรค์ อ้างพระเจ้า อ้างพระพุทธเจ้าได้ เช่นในกรุงจีน ฮ่องเต้ ก็อาศัยอำนาจทางศาสนาในการโฆษณาเป็นโอรสสวรรค์ ดั่งจะเห็นได้ว่ามีฮ่องเต้ ยุคโบราณหรือกระทั่งขุนนางที่ต่อมาแม้ตายจากไปแล้ว ก็ยังกลายมาเป็นเทพเจ้า

    ที่นี้อยากให้ดูทางทิเบตจะเห็นว่า เป็นที่เดียวที่รวมขุมอำนาจทั้งสองนี้ได้ ตรงนี้สำคัญมากเพราะยังไม่เคยมีรัฐใดทำได้มาก่อน แต่ทิเบตทำได้ ทะไลลามะเป็นทั้งอวตารพระโพธิสัตว์และมหาราชาในตัวคนๆๆเดียวเบ็ดเสร็จมาก (แม้ระบบนี้จะมีจุดอ่อนที่การสืบอำนาจแบบอวตารก็ตามที) ทีนี้ที่อื่นเขาก็พยายามทำอย่างนี้ แต่ไม่สำเร็จมาโดยตลอดมามีทิเบตนี่แหละสำเร็จ เช่น พวกขอมโบราณ ดั่งที่นครวัดหรือหลักฐานทางประวัติศาสตร์อื่นๆๆก็ยังยืนยันอยู่ กล่าวคือพระมหากษัตริย์ คืออวตารของพระโพธิสัตว์ลงมาบนโลกมีอำนาจสิทธิขาดทุกประการ และเมื่อพระองค์สวรรคต พระองค์ก็จะกลับไปบำเพ็ญต่อเพื่อตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า พระองค์ลงมาเกิดเป็นพระมหากษัตริย์ เพื่อสั่งสมบารมี

    แต่ปัญหาอยู่ที่กษัตริย์ขอมไม่ได้เอา ธรรมนำหน้าในการปกครอง แต่ใช้ไสย์เวทย์ในการมอมเมาทางความคิด จึ่งดำรงอยู่ไม่ได้และล่มสลายไป ทีนี้ไทยเราเอาอย่างบ้างแต่เดิมเราถือว่ากษัตริย์เป็นพ่อขุนของไพร่ฟ้า ต่อมาเราไปเอาความคิดแบบนี้เข้ามากษัตริย์จึ่งเป็นสมบูรณาญาสิทธิราชย์แบบเทวราช เรานำมาพร้อมศาสนา หรือพูดให้ถูกก็คือเราไม่ได้รับเอามาแต่ศาสนาพุทธเท่านั้น แต่เอาตัวไสย์เวทย์ของฮินดูเข้ามาด้วย เพื่อจุดประสงค์ในการครอบงำทางความคิดของชนชั้นปกครอง เหมือน ขอมโบราณ

    ดั่งที่พวกพราหณ์เคยทำมาก่อนทั้ง ๆๆที่พวกนี้ไม่อำนาจทางการเมืองทางเศรษฐกิจ แต่ก็ยังดำรงตำแหน่งผู้มีอำนาจสุงสุดของรัฐได้ ก็เพราะความเชื่อว่าพวกนี้เกิดจากปากพระพรหม วรรณะสูงสุด ซึ่งพระพุทธเจ้าโจมตีเรื่องนี้มาก พระองค์บอกพราหณ์แท้วัดที่ความประพฤติไม่ใช่ที่ชาติกำเนิด ทุกคนเกิดจากหีแม่(ท่านใช้คำนี้เลย ขออภัย ท่านตรงมาก)เหมือนกันทั้งนั้น ดั่งนั้นคราวที่แล้วลุงถึงพยายามพูดเรื่องสตรีว่า พระพุทธเจ้าไม่ได้มองความเสื่อมที่สตรีมาบวชทำนองนั้นแต่เป็นเพราะการต่อต้านจากพวกหัวเก่าของสังคม มหาวีระก็โดนนี่ร่วมสมัยกันมหาวีระก็ยืนยันว่าสตรีบรรลุธรรมได้ ศาสนาไชนะ นิกายของเขาจึ่งแตกหลังศาสดาตาย คือพวกบ้าตบะนุ่มลมห่มฟ้าพวกนี้ถือว่าสตรีไม่อาจจะบรรลุธรรมได้ กับ พวกไม่บำเพ็ญตบะใส่ผ้าขวาอยู่ง่ายๆๆพวกนี้เปิดโอกาสให้สตรี

    ที่นี้ เกิดอะไรขึ้นเราฉลาดกว่า ขอม คือ เรารู้ว่าทำไมขอมไปไม่รอด เพราะเราเคยอยู่ใต้ขอมมาก่อน เราก็เลยแทนที่จะเน้นที่ตัวเทวราชอย่างเดียว เราก็เน้นที่ตัวธรรมราชาควบคู่ไปด้วย เช่นมีทศพิธราชธรรม นี้แลคือเหตุผลของความรุ่งเรืองในอดีตจนปัจจุบันก็ยังมีอิทธิผลอยู่แม้เราจะเปลี่ยนระบบการปกครองแล้ว คือเวลาพระพุทธเจ้าอยู่หัวท่านจะครองแผ่นดินท่านก็จะประกาศว่า ท่านจะครองแผ่นดินโดยธรรมนั้นแล ดั้งนั้นศาสนาจึ่งเป็นเครื่องมือหรือกลไกของรัฐ ในการคานอำนาจพระมหากษัตริย์ และสร้างความมั่นคงในพระราชอำนาจให้ด้วย ขอให้ดูสมเด็จพระนเรศวรจะประหารเหล่าแม่ทัพนายกองที่ตามพระองค์ไม่ ทันตอนรบกับพระมหาอุปราชของหงสา แต่ทว่าก็มีพระอ.ของท่านมาทูล ขออภัยโทษให้ เห็นไหมว่ารัฐ และ ศาสนจักรมันคานอำนาจกันอยู่ ตราบใดที่ต่างฝ่ายต่างไม่อำนาจเหนือกันมาก และต่างฝ่ายต่างมีธรรมนำหน้า

    ที่นี้ปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา ที่นี้ก็เกิดความเสื่อมของอำนาจรัฐของศาสนาขึ้นในปลายกรุงศรี ผลก็คือสังฆราชตั้งตัวเป็นพระพุทธเจ้า เป็นเทวราช มีกองทหาร โดยไม่ใช้ธรรมนำ ฝ่ายราชาก็หลงอยู่กับโลกียะมัวเมาสตรี เมื่อศาสนจักรไม่เตือนราชาแต่หันมาแข่งอำนาจ และ ราชาไม่จัดการสังฆราช บ้านเมืองก็ไปไม่รอดระบบมันก็เสีย มันก็ตั้งอยู่ไม่ได้ คนมันก็อดอยาก แตกความสามัคคี นั้นแลคือมูลเหตุบางประการแห่งความเสื่อม ไม่ใช่แค่พม่ามาตีเมืองอย่างเดียว และบางทีไอ้ที่เผาวัดวาอารามเรานี่ อาจจะไม่ใช่พม่า แต่เป็นคนไทยเรานั้นแหละ นี่บางทีนะ เรานั้นแหละ เผาเอาเองลอกทองไปเก็บไว้ไปแลกเงินตรา อาหาร เสียด้วยซ้ำ บ้านเมืองมันวุ่นวายนี่ใครๆๆมันก็ต้องเอาตัวรอดคนมันก็ทำอะไรได้ทั้งนั้น ต้องไม่ลืมว่าพม่านั้นศรัทธาในพระพุทธศาสนามาก ถ้าไปบ้านเมือนเขาจะเห็นเลยว่า เขาสร้างวัตถุทางศาสนาเจริญมาก และ พุทธศาสนาเป็นหนึ่งเดียวกันวัฒนธรรมเขา แนบแน่มากจนอยากจะเชื่อนะ แต่เอาเถอะเราก็ปล่อยให้คนศึกษาเขาหาข้อสรุปไป เราต้องไม่เชื่ออะไรง่ายๆๆ ต้องไม่ลืมว่าเราเรียนประวัติศาสตร์ชาติเราที่เขียนโดยคนไทย แน่นอนว่าอคตินะมีแน่มากมายมหาศาล ดั้งนั้นอย่าวางใจ

    ที่นี้เมื่อกู้เมืองได้สำเร็จ สังเกตว่ารัฐทำสิ่งแรกคือพยายามเอาระบบเก่ากลับมา คือเอาพระศาสนากลับมา สังเกตว่าในยุคนั้นพระมหากษัตริย์ท่านก็สังคายนาพระไตรปิฏกก่อนหน้าที่อื่นเลย มีการรวบรวมสังคายนาพระไตรปิฏก มีการบวชพระกันเป็นว่าเล่นก็เพราะการนี้ คือยุคพระเจ้าตากนี่ ร.หนึ่งท่านก็ทำนะ แต่ก็ยังไม่มีอะไรที่ดีขึ้น อย่างที่พ่อหนุ่มพูดไปแล้ว

    จวบจน ร.4ลี้ภัยการเมือง เข้าไปในร่มพระศาสนา พระองค์พยายามที่จะนำเอาระบบนี้กลับมาจึ่ง ตั้งคณะธรรมยุตขึ้น เพื่อกระตุ้นคณะมหานิกายเดิมซึ่งอ่อนแอยิ่ง ผลก็คือพระศาสนากลับมามีบทบาทจริงๆๆอีกครั้งหรือดีขึ้น(แม้ว่าปัจจุบันจะกลับมาอ่อนแออีกครั้ง สังเกตการเกิดขึ้นของธรรมกาย สันติอโศก และ อื่นๆๆ) แต่ทว่าในครั้งนี้พระศาสนาได้สูญเสียอำนาจในตัวเองไปเสียแล้วโดยเริ่มขึ้นตรงต่อราชอณาจักร แต่ที่อันตรายที่สุดก็คือ ท่านมีความคิดที่จะปฏิรูปหลักคำสอนพุทธศาสนาให้เหลือแต่เฉพาะที่เป็นเหตุเป็นผลและเป็นวิทยาศาสตร์ที่พิสูจน์ได้ ตีความหลักธรรมวินัยในเชิงเหตุผลมากกว่าการคำนึงถึงวิถีการดำเนินชีวิตที่หลากหลาย ไม่ให้ความสำคัญกับคำสอนที่พิสูจน์ไม่ได้อย่าง นรก สวรรค์ หรือแม้แต่พระนิพพาน นี่แหละ จนสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรสเอามาสืบต่อและวางรากฐานมหาลัยสงฆ์ไปตามนั้น คือเน้นสอบพระปริยัติธรรม ประกอบกับวิชาการอื่นอย่างลึกแบบฝรั่ง แต่ก็แยกเป็นส่วนๆๆและมุ่งไปที่สมอง จนทิ้งพระรุ่นหลังท่านทิ้งวิปัสสนาธุระไปเลย(ในที่นี้หมายถึงพวกที่ในมหาลัยสงฆ์ในทุกวันนี้) ผลก็คือสงฆ์รู้แต่ข้อมูล มีสมองที่เฉียบคม แต่ละเลยหัวใจของความเป็นคน และ ไม่เคยปฏิบัติจริงๆๆจังแล้วจะรู้เท่าทันโลภะโทสะโมหะจริตได้อย่างไร? นี้แลคือรากฐานปัญหามาจนถึงปัจจุบัน

    ประจวบกับเมื่อสิ้นร.4 ร.5พยายามจะรวมอำนาจขึ้นมาอีกคราที่ตัวกษัตริย์ เพื่อสู้กับสกุลบุญนาคกลุ่มขุนนางเก่าที่มีอำนาจมากกว่าพระองค์เสียอีก จนมาชนะเอาช่วงกลางๆๆรัชกาล ความพยายามจะลดทอนอำนาจของสกุลบุญนาค หัวเมืองต่างๆๆ(นี่แลคือบ่อเกิดของไฟใต้ในยุคนี้่มันไม่ใช่พึ่งเกิดมันสั่งสมความขัดแย้งมาหลายร้อยปี) รวมทั้งต่อสู้กับชาติตะวันตกที่เข้ามาล่าอณานิคม ทำให้พระองค์ต้องสร้างศูนย์กลางทางจิตใจของมวลชนที่พระองค์ให้ได้ ไม่เช่นนั้นก็อย่าหวังที่จะปฏิรูปรัฐ นั้นแลนี่สำคัญมากไม่งั้นพระองค์เองนั้นแหละจะไม่รอด ประเทศไทยคงจะเป็นเมืองขึ้นเขา สิ่งหนึ่งที่ต้องทำก็เลยต้องเป็นการดึงเอาศาสนจักรให้สยบต่ออำนาจรัฐและแนบแน่นอย่างเต็มที่ เพราะจำแต่เดิมพระสงฆ์ไทยย่อมจาริกกระจายอยู่ตามภูมิภาคต่างๆของประเทศ และถือว่ามีความหลากหลายสูงมาก ทางความคิด วัฒนธรรมสงฆ์ จึ่งยากที่จะควบคุม ผลก็คือต้องมีการรวมศูนย์อำนาจทางศาสนจักรให้ขึ้นตรงต่อรัฐ และ สร้างรูปแบบมาตรฐานขึ้นมาสักอย่างในการมอมเมาเพื่อที่จะควบคุมให้เชื่อง แลใช้เป็นเครื่องมือให้ได้ นี่ความฉลาดของท่าน ท่านเป็นอัจฉริยะทางด้านการเมืองเลยทีเดียว

    เห็นความเบ็ดเสร็จไหม ในยุคนั้นพระพุทธเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ห้าทรงเป็นทั้งประมุขของแผ่นดินและสังฆะเลยละ เห็นอะไรไหม? มีการเน้นสมณศักดิ์หรือตรากุ๊ดซี่พระ(ทั้งๆๆที่มันไร้สาระเพราะพระสมณศักดิ์ต่ำกว่าหรือไม่มีสมณศักดิ์ อาจบรรลุธรรมสูงกว่าก็ได้) ตลอดจนมหาวิทยาลัยสงฆ์จึ่งกลายมาเป็นเรื่องสำคัญยิ่งควบคู่ไปกับการกำหนดรูปแบบการสร้างวัด อุโบสถเป็นแบบมาตรฐาน จนกระทั้งมันกลายมาเป็นพิมพ์เดียวกันได้ขนาดนี้ในยุคปัจจุบัน

    ทีนี้เห็นหนุ่มพูดถึงหลวงตามั่นมา อันมที่จริงพระคุณเจ้ารูปนี้มีคุณวิเศษมากทีเดียวคงรู้กันอยู่แล้ว แต่ปัญหาก็คือ เราพูดแต่คุณวิเศษท่านแต่ไม่พูดถึงจุดอ่อนท่านเลย อันที่จริงหลวงตามั่นนี่ตัวแปรสำคัญเลยทีเดียวในการเป็นเครื่อมมือของรัฐในการครอบงำสงฆ์ทางภาคอีสาน นี่ไม่พูดต่อละ คนที่มันไม่เข้าใจมันก็จะด่าเอา.....ว่าปรามาส ทั้งๆๆที่มันคนละเรื่องกันเลยนี่มันเป็นเรื่องของระบบและโยงใยที่ซ่อนเร้นของสังคมและการเมืองยุคนั้น ไอ้ลุงก็เบื่อที่จะอธิบาย......คนที่เรียนมาทางรัฐศาสตร์มันจะรู้ของมันเองเลยเรื่องนี้ หรือคนที่มันสนใจมีสติปัญญา เราไม่ได้วิพากษ์พระแต่พูดถึงระบบการเมืองสังคม

    เห็นเรื่องสมณศักดิ์ไหม? นี่คือความต้องการมอมเมาสงฆ์ให้มุ่งอยู่แต่การแสวงหายศ หาลาภ ประจบเอาใจรัฐเดินตามอย่างเชื่องๆๆ เลยแม้ว่าในบางแง่จะดูสวยหรูว่าเป็นการสร้างขวัญกำลังใจให้พระก็ตามที นี่ก็ไม่ได้พูดว่าสมณศักดิ์เลวร้ายนะของทุกอย่างย่อมมีสองแง่เสมอๆๆ มันขึ้นกลับว่าเราจะมองไหม? นี่มันเป็นกันทุกประเทศ อย่างญี่ปุ่น พระญี่ปุ่นถูกโชกุนถูกพระจักรพรรดิ์บังคับให้แต่งงานเพราะ พระพอมีลูกเมียแล้วก็ไม่กล้าแข่งอำนาจกับรัฐ เพราะอาจจะมีผลต่อลูกเมียได้ รวมถึงเพื่อจะได้ตั้งครอบครัวอยู่นิ่งๆๆไม่เดินทางไปนั้นนี่อีก ก็ง่ายที่จะควบคุม จนทุกวันนี้พระญี่ปุ่นมีเมียมีครอบครัวได้อย่างเป็นเรื่องธรรมดา ดั่งเมื่อญี่ปุ่นมีอำนาจเหนือเกาหลีในยุคหนึ่งก็มีการนำเอาวิธีนี้ไปใช้คือออกกฏหมายให้พระเกาหลีแต่งงานได้ ดั่งทุกวันนี้พระเกาหลีก็ยังมีปัญหาระหว่างฝ่ายที่มีครอบครัวกับฝ่ายที่ไม่มีอยู่เลย


    ทีนี้การกำหนดรูปแบบการสร้างวัด อุโบสถเป็นแบบมาตรฐานเป็นครั้งแรก เห็นไหม?ว่ามีอำนาจรัฐมาควบคุมแม้การแสดงออกทางพุทธศิลป์ มีการจัดการศึกษาแบบใหม่ให้กับคณะสงฆ์ซึ่งเป็นตัวการสำคัญในการใส่ความคิดบางอย่างลงในหัวสงฆ์ให้เห็นดีเห็นงามไปด้วย ให้เคารพอำนาจรัฐราวกับว่าเป็นสิ่งถูกต้องดีงามแล้ว เพื่อปีนป่ายทางสมณศักดิ์ ทางลาภ เพราะวัดใดหาเงินถวายได้มากสร้างวัตถุได้มากก็ย่อมได้ดีในทางสมณศักดิ์ไป ทั้งๆๆที่มันมาจากมิจฉาทิฏฐิ ดั่งทุกวันนี้มีการซื้อขายกันอย่างไม่อายสายตาใคร การกีดกันทางด้านสมณศักดิ์ ไม่ให้ได้บริหารงานในระดับสูงแม้ว่าท่านรูปนั้นจะปฏิบัติดีปฏิบัติชอบและคู่ควรเพียงใดแต่ถ้ามาขวางทางเจ้ากูก็ต้องถูกกำจัด นั้นแหละ นี่แหละคือนรากฐานที่ทำกันไปทำกันมา จนกระทั้งศาสนามีความใกล้ชิดและยึดโยงอยู่กับอำนาจรัฐอย่างแนบแน่น ทั้งๆๆที่เดิมที สังคมสงฆ์ถือเป็นสังคมอุดมคติซึ่งไม่เกี่ยวกับการเมือง กล่าวคือไม่มีอำนาจครอบงำใคร แต่เน้นที่การเปิดโอกาสให้มีความเสมอภาค เสรีภาพ จากความโลภ โกรธ หลง จึงเป็นสังคมที่ประเสริฐที่สุด พระศรีอาริย์ แปลว่า พระพุทธเจ้าแห่งความรักความเมตตา แต่อันที่จริงแล้วพระองค์ไม่ใช่บุคคลที่จะเกิดขึ้นมาในอนาคตดอก แต่พระองค์คือสังฆะ หรือสังคมที่ประเสริฐซึ่งจะอุบัติขึ้นในอนาคตต่างหาก และเราทุกคนจำเป็นต้องสร้างสังคมนี้ขึ้นมาให้ได้ ณ ตอนนี้เลย

    ทุกวันนี้ที่สังฆะหรือศาสนจักรกลายมาเป็นเครื่องมือของรัฐ ดั้งนั้นพวกเราจึงกำลังเป็นสังคมพุทธที่ไม่มีรากฐานทางปัญญา ล้าสมัย และพร้อมแต่จะศรัทธาและเชื่อคนที่มีสถานะสูง ซึ่งรวมถึงสถานะทางศาสนา ว่าเป็นคนดีมีศีลธรรม เป็นที่ยอมรับทางสังคม ซึ่งอาจจะจริงไม่จริงตามโฆษณาชวนเชื่อเหล่านั้นก็ได้ ซึ่งผนวกกับเรื่องความเชื่อและชนชั้นทางสังคม(สมณศักดิ์) แม้เราจะอ้างว่าเรายังนับถือพุทธศาสนาอยู่ แต่พุทธศาสนากลายมาเป็นเพียงจารีต ประเพณีและพิธีกรรม ซึ่งแทบไม่สัมพันธ์กับตัวบทของชีวิตเอาเลย กล่วก็คือศาสนาได้แยกขาดจากตัวบทของชีวิตและกลายเป็นเพียงรูปแบบภายนอก ซึ่งส่อถึงความลุ่มลึกภายในไม่ได้ และเมื่อภายในปราศจากคุณงามความดีที่เป็นสันติสุขเสียแล้ว จะสร้างสรรปั้นแต่งสังคมภายนอกให้มีความงามและความดีถึงเนื้อหาสาระได้อย่างไร? คิดเอาเองเถิด...........
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 2 ธันวาคม 2012
  5. โปเย

    โปเย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    1,231
    ค่าพลัง:
    +964
    อืม เพิ่งได้เห็นอะไรดีๆ เอ้า งั้นก็ขอคุยต่อละครับ


    ๑. ยุคสุโขทัย


    หลังยึดอำนาจขอมได้แล้ว ความที่ราชวงศ์สุโขทัย มาจากขุนนาง
    คนจึงเรียกกัีนว่า "พ่อขุน" ไม่มีใครเรียกว่าพระราชาจริงๆ แบบ
    พระราชาที่ล้านนาเลย (ยุคนั้น ล้านนา จริงๆ ไม่เรียกกษัตริย์ตัว
    เองว่าพ่อขุนนะครับ พ่อขุนเม็งราย นี่ เป็นคำเรียกที่เราเข้าใจผิด)
    คำว่า "กษัตริย์" มา่เรียกได้เต็มปากเต็มคำ ยุค "พระยาลิไท" ครับ
    ตอนนั้น ก็เริ่มใช้คำว่า "พระยา" นำหน้ากษัตริย์ แทนคำว่า "พ่อขุน"
    แล้ว ซึ่งก็มาได้ด้วย "บารมีของศาสนจักร" คือ เอาเรื่องทศพิธราช
    ธรรม มาทำให้คนยอมรับในราชวงศ์ของตน (ที่ไม่ได้มีเชื่อกษัตริย์
    มาก่อน เป็นเชื้อสายขุนนาง ที่ยึดอำนาจขอมแล้วตั้งตนเป็นกษัตริย์)
     
  6. โปเย

    โปเย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    1,231
    ค่าพลัง:
    +964
    ๒. สมณศักดิ์ในยุค ร.๔


    มันก็คือ "เกมการเมือง" ที่ ร.๔ ใ้ช้เล่นงานกับพวกศาสนจักร ท่านรู้
    อยู่ว่าพวกนี้ ไม่ได้อรหันต์อะไรเลย อยากจะได้ยศฐาบรรดาศักดิ์
    ก็เลย เอ้า "ตั้งให้ซะเลย" จะให้เงียบซะ


    เพราะที่จริง ท่านไม่ได้นับถือพระที่มีสมณศักดิ์เลย ผู้ที่ท่านนับถือจริงๆ
    ก็คือ "หลวงพ่อโต" ครับ ซึ่งท่านไม่ได้ต้องการสมณศักดิ์อะไรเลย แต่
    มันเกิดเรื่องขึ้นก็ตรงวันที่ หลวงพ่อโตไปเทศน์ บางอย่างเข้า แล้วมันก็
    กระทบกระเทือนถึงเรื่อง "อำนาจและความมั่นคงเข้า" บวกกับอารมณ์
    ชั่ววูบ ก็เลยกลายเป็น "ไล่หลวงพ่อโต" และทำให้ สิ่งดีงามที่ท่านทำ
    มาทั้งหมด "กลายเป็นลบ" ไปเลย คิดดูสิครับ สมัย ร.๔ เราทันสมัยไป
    มากกว่า "ญี่ปุ่น" เสียอีก ยคนั้นเริ่มวางแผนให้คนไปเรียนนอกแล้ว จะ
    ได้ทันฝรั่งเขา ที่ญี่ปุ่นยัง "ปิดประเทศอยู่เลย" พอมายุค ร.๕ พวกเราก็
    เป็น "กบในกะลาครอบ" ถูกสอนว่า ร.๕ ประเสริฐมาก ทว่า เรากำลังแย่
    ครับ แย่อย่างยิ่งในยุึคนี้ ๑. ญี่ปุ่นที่ล้าหลังกว่าเรา แซงหน้าเราในยุคนี้ครับ
    ๒. เราเสียแผ่นดิน ที่ไม่เคยเสียมาก่อนเลยทุกรัชกาล ก็มาเสียในยุค ร.๕
    นี้ครับ ๓. ผลงานด้านการพัฒนา ใช่ว่าประเทศเราจะดีที่สุด เทียบกันแล้ว
    ก็อย่างที่บอก ยุค ร.๔ เราเหนือกว่าญี่ปุ่น พอเข้ายุค ร.๕ เราแย่ญี่ปุ่นครับ


    แต่ว่าคงเพราะผลบุญที่ท่าน ทำดีกับหลวงพ่อโต นั่นแหละ ท่านเลยได้รับ
    การยอมรับ และได้รับคำสรรเสริญมากมาย ยิ่งกว่า ร.๔ อีกครับ
     
  7. สุมิตราจ๋า

    สุมิตราจ๋า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มกราคม 2012
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +1,529
    ใช่ๆๆๆ จริงๆๆเรื่องเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยลุงก็ไม่ค่อยรู้ดอกนะ เพราะไม่ได้ศึกษามาทางประวัติศาสตร์ แต่จะเสริมให้กว้างขึ้นก็ได้เลย แต่ขอให้ดว่าเราไม่ได้ใช้แค่ธรรมะนำหน้าสร้างความชอบธรรมให้คนชนชั้นปกครองยุคโบราณเท่านั้น แต่เราเอาไสย์แบบเขมรเข้ามาด้วย ยิ่งสมัยอยุธยานี่จะชัดมากทีเดียว ว่าเราเอาความคิดเรื่องเทวราช บุญบารมี เข้ามากมายมหาศาล
    แต่ตรงนี้จะเห็นว่า คนยุคโบราณท่านฉลาดมากทีเดียว ที่เลือกพุทธศาสนามากกว่าฮินดู ที่นี้เข้าใจว่าเดิมทีก็คงเป็นฮินดูในสมัยเป็นคนที่อยู่ใต้อำนาจขอมนั้นแหละ แต่ต่อมาก็ไปรับเอาพุทธเถรวาทเข้ามาด้วย และกระจายไปอย่างรวดเร็วในหมู่คนไทยที่เป็นทาสขอม เพราะพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาของชาวบ้าน ฮินดูเป็นศาสนาของผู้ปกครอง ขอให้สังเกตว่าเน้นที่ความยิ่งใหญ่หน้าที่ของผู้ปกครองและชนชั้น แต่พุทธศาสนาต่อต้านเรื่องพวกนี้ มันก็คงไปกระทบใจอะไรบางอย่างทาสชาวไทย หรือ เผ่าอื่นๆๆที่อยุ่ใต้ขอมมั้ง จนนับถือกันลับๆๆ และคนบางกลุ่มในพวกขอมเองก็ได้เชื้อนี้ก็เลยเริ่มตั้งคำถามต่อ ความชอบธรรมในฐานะของชนชั้นบนในสังคมขอม มันก็น่าจะมีการปฏิวัติมากๆๆครั้งมั้ง ขอมก็เลยอ่อนแอลง คนกลุ่มต่างๆๆอย่างเผ่าของคนไทยเราก็เลย แยกตัวเป็นอิสระได้

    ใช่ๆๆ หลวงพ่อโตท่านหนีนะ ท่านหนีไปเลย ท่านคงรู้ทันมั้ง แต่สุดท้ายท่านหนีรอดซะทีไหนล่ะ ท่านก็ต้องยอมตามระบบมันไป จริงๆๆหลวงพ่อโตท่านมีเรื่องที่น่าเอามาเน้นเยอะมากนะเรื่องคำสอนคำเทศน์แบบแหวกแนว เรื่องพฤติกรรมแบบแปลกๆๆที่ใครๆๆเห็นท่านว่าท่านเป็นพระบ้า แต่คนยุคนี้มันไปเน้นที่ความเป็นบุคคลศักดิ์สิทธิ์นี่สิ คุณค่าท่านก็เลยดูหายไปเยอะทีเดียวคนเลยไม่เห็นคุณวิเศษที่แท้ของท่านกัน ส่วนเรื่องร.ห้านี่ลำบากใจจะพูดมาก เพราะ มันกระทบความเชื่อคนบางคน มันจะด่าให้ เพราะมันถูกใส่ข้อมูลความดีงามของพระองค์ท่านมาเยอะ ลุงเกรงว่าถ้าเราพูดแง่ลบออกมาบ้าง เราคงจะโดนด่านี่สิ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 2 ธันวาคม 2012
  8. โปเย

    โปเย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    1,231
    ค่าพลัง:
    +964
    ระับบของทิเบต


    จริงๆ มีสองส่วนหนุนกันนะครับ คือ


    ๑. ดาไลลามะ นี่จะอยู่ "เบื้องหน้า" เหมือนพระราชา เป็นศูนย์รวมใจคน
    เป็นอะไรที่เหมือนดารา ไม่ต้องรู้มาก หรือเก่งมากหรอก เอาแค่ คนทั้ง
    หลาย เอื้อมถึง เข้าใจถึงได้ ก็เป็นได้ ดังนั้น ท่านจึงเสมือน องค์แทนของ
    พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ ซึ่งมีศักดิ์ทางธรรม ต่ำกว่า พระยูไล (ปันเชนลามะ)


    ๒. ปันเชนลามะ จะอยู่เบื้องหลัง หนุนหลังดาไลลามะอีกที แบบเงียบๆ และ
    ทำบางอย่างที่คนอื่นเขาไม่รู้ และใครก็ทำไม่ได้ เพื่อสร้างความมั่นคงให้ดาไล
    ลามะ ทั้งสองต้องหนุนกัน คู่กันไป ไม่งั้น ล่มครับ โดยปันเชนลามะนี้ จะมีธรรม
    เหนือกว่าดาไลลามะมาก แต่เพราะเหนือกว่า จึงสูงเกินเอื้อม คนทั่วไป ไม่เข้า
    ใจ เข้าไม่ถึง เลยทำตัวเหมือนดาราไม่ได้ ลึกซึ้งเิกินไป และมีฐานะดั่ง "พระยูไล
    หรือพระไภษัชยคุรุพุทธะ" ครับ และต้องได้ธรรมเช่นนั้นจริงๆ มั่วไม่ได้ครับ เดี๋ยว
    ไม่มีบารมีของจริงหนุนหลัง ก็จะร่วง อย่างที่ิทิเบตเป็นอยู่ในปัจจุบันนี้ครับ


    ระบบการทำงาน "เบื้องหลัง" ของปันเชนลามะ เป็นอะไรที่ ไม่มีใครรู้ได้ในโลกนี้
    แต่ได้ผลเกินคาดครับ เีรียกว่าเพราะบารมีของจริง จีน, อเมริกา ก็พยายามพัฒนา
    ระบบ "เบื้องหลัง" นี้ขึ้นมาครับ (หลังธิเบตมั้ง) เช่น องค์กรลับต่างๆ แต่แปลกนะ
    ครับ ปันเชนลามะ มีบริวารน้อยมาก เหมือนไม่มีอำนาจเลย ทว่า นี่แหละ คือ กล
    ไกลสำคัญที่สุด ในการค้ำยัน "ดาไลลามะ" ครับ ดาไลลามะ ต้องนิ่งๆ อย่าไปทำ
    อะไรมาก เคลื่อนไหวทางการเมืองมากไม่ได้ คนจะไม่นับถือเอาครับ ต้องทำตัวให้
    เป็นพระที่ดูดี น่าศรัทธาเข้าไว้ แล้วปันเชนลามะ จะจัดการเรื่องเบื้องหลังให้เองครับ
     
  9. โปเย

    โปเย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    1,231
    ค่าพลัง:
    +964

    ไสยศาสตร์เราใช้เรื่อยๆ ครับ


    ตอนได้เมืองสุโขทัย เห็นว่า พ่อขุนบางกลางท่าว ใ้ช้ไสยศาสตร์
    ทำให้ ลูกสาวขอม หลงรัก พ่อขุนผาเมืองๆ เลยหลอกเอาตรารวม
    พลทหารมาได้มังครับ (ต่อมา มะกะโท รู้เข้า เลยเอาอย่างบ้าง ไป
    เอาลูกสาวพ่อขุนรามเป็นเมีย)


    ตอนได้เมืองธนบุรี ก็ใช้ไสยศาสตร์เยอะแยะครับ ก่อนไปทำสงคราม
    ทั้ง ร.๑ และพระเจ้าตากฯ นี่เรียนไสยศาสตร์มาเพื่อการรบเลยครับ


    แต่เราก็รู้ว่า มันไม่ใ่่ช่ทางหลุดพ้น เราใช้เพื่อทำอะไร ตามความจำเป็น
    ไม่ได้หลงนะครับ เราศรัทธาจริงคือ "พุทธแท้" ดังนั้น "ไสยศาสตร์" ก็
    ถูกใช้ในทางลับๆ เพื่อการเมืองไทยเหมือนกัน ไม่ได้เปิดเผยนักครับ


    (อะไรที่พูดไม่ได้ ก็แค่ นิดๆ พอ ที่เหลือ ผมพอเดาเองได้ละครับ ^_^)
     
  10. สุมิตราจ๋า

    สุมิตราจ๋า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มกราคม 2012
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +1,529
    ไม่ดอกทะไลลามะนี่มีบทบาททางการเมืองและทางธรรมด้วย ทีนี้ปันเชนลามะ มีบทบาทแค่ทางพระศาสนา แต่ประเด็นก็คือ ทะไลลามะนี้ ท่านเป็นอวตารพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ไปแล้ว แล้วปันเชนลามะละ จะเป็นอะไรดี อันที่จริงตำแหน่งของทะไลลามะนี้มีมาก่อน เพราะกษัตริย์มองโกล ท่านไปนับถือทะไลลามะองค์ที่ห้าลอบซัง เกียตโซ ท่านก็เลยแต่ตั้งให้เป็นทะไลลามะเสียเลย ยุคนั้นมองโกลมีอิทธิผลมาก

    ทีนี้ปัญเชนลามะเป็นอ.ท่าน ท่านก็เลยขอให้กษัตริย์มองโกล ให้ตำแห่งอ.ท่าน โลซัง โชคยี เกียลเซนด้วย อัลตาข่านก็เลยให้ตำแหน่งปัญเชนลามะมา ทิเบตก็เลยมีทะไลลามะและปัญเชนลามะ ทีนี้ก็คงเพื่อความน่าเชื่อถือท่านก็เลยให้เป็นอวตาร พระอามิตาภะเสียเลยนั้นแล

    แต่ปัญเชนลามะไม่มีอำนาจทางการเมือง ยกเว้นเมื่อยุคที่จีนแดงครอบงำทิเบตก็เลยจะไปยุให้ทะไลลามะกับปัญเชนลามะยุคนั้นแตกคอกัน(เริ่มตั้งแต่ยุคทะไลลามะองค์ที่สิบสามแล้ว) โดยจีนสนับสนุนปัญเชนลามะ แลต่อมาปัญเชนลามะองค์ที่แล้วก็รู้ทันว่าถูกจีนหลอกใช้ แกก็ขัดคำสั่งไปยุคนทิเบตให้สนับสนุนทะไลลามะ จึงถูกวางยาพิษตาย ตอนนั้นทะไลลามะที่สิบสี่นี้หนีไปอินเดียแล้ว ต่อมาจีนก็ตั้งคนของเขาให้เป็นร่างกลับชาติมาเกิดใหม่ของปัญเชนลามะ ซึ่งก็คือปัญเชนลามะ องค์ทุกวันนี้

    โดยจับเองเด็กที่ทะไลลามะและรัฐบาลทิเบตยืนยันว่าเป็นปัญเชนลามะ องค์ที่ถูกวางยาพิษนั้นไปฆ่าทิ้งเสีย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 2 ธันวาคม 2012
  11. โปเย

    โปเย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    1,231
    ค่าพลัง:
    +964
    พระมีเมีย ในญี่ปุ่น


    จริงๆ ไม่ได้ผิดธรรมวินัยอะไรนี่ครับ ไม่มีศีลข้อใดห้่ามไม่ให้
    พระแต่งงานนี่ครับ การแต่งงานมันก็แค่ "พิธีกรรม" อะไรสัก
    อย่างหนึ่ง อย่างเช่น "ท่านอิกคิวซัง" ก็แต่งงานก่อนจะตาย
    ได้ไม่นานครับ แต่ท่านไม่เคยผิดศีล ไม่มีกามอะไรกับเมียนะ
    ครับ ดังนั้น ถ้าพระภิกษุ แต่งงานแล้ว สักแต่ว่าเห็นเป็นแค่พิธี
    กรรมอย่างหนึ่งเท่านั้น ก็ทำตัวตามแบบท่านอิกคิวซังได้ ไม่มี
    ผิดศีลข้อใด ศาสนาก็มั่นคงอยู่ได้ ภายใต้อำนาจการเมืองครับ


    (ที่ล่มกันนี่ ก็คงเป็นเพราะ แต่งงานแล้ว เลยเถิดลืมธรรมวินัย)
     
  12. สุมิตราจ๋า

    สุมิตราจ๋า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มกราคม 2012
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +1,529
    จริงๆๆ ไสย์เวทย์นี่ก็มีทั้งคุณและโทษนั้นแหละ ถ้ารู้จักใช้ให้เป็นอุบายดึงคนเข้าหาธรรมะมันก็ดีนะ แต่ถ้าเพื่อมอมเมานี่มันก็เป็นภัย ทุกวันนี้มันเป็นไปในทางมองเมา ทางหาลาภสักการะ จนคนมันแยกไม่ออกอันไหนพุทธอันไหนไสย์ มันก็เป็นภัยไป อย่างเรื่องสมาธิ บางคนคิดว่านั้นสมาธิเพื่อให้ได้ญาณได้นั้นนี่ เป็นผู้วิเศษ นี่มันผิดวัตถุประสงค์เขา แล้วมันไปผิดทาง วิปัสสนามันปฏิบัติเพื่อลดตัวกู ไม่ใช่ไปทำให้ความเป็นกูนี่มันแน่หนาขึ้น
    แลคนมันเลยเข้าใจแบบบ้าๆๆ ว่าพระดีคือพระวิเศษ ถ้าถอดหัว ถอดจิต ปลุกเสกไม่ได้นี่ไม่ใช่พระดี นี่มันบ้า พระแท้อาจจะทำเรื่องพวกนี้ไม่ได้เลยด้วยซ้ำก็ได้ พุทธศาสนาสอนเรื่องการดับทุกข์ นี่สำคัญที่สุด

    พระญี่ปุ่นนี่แกถูกบังคับนะ เพราะพระญี่ปุ่นนี่บางท่านมีอำนาจมาก สู้กับโชกุนได้เลยละ ทางฝ่ายการเมืองแกก็ต้องทำให้อ่อนแอลงแกก็จับแต่งงานเสีย มีกฏหมายบังคับเลย พระจะได้มีครอบครัวและยุ่งอยู่กับครอบครัว ไม่มาคิดมีอำนาจทางการเมืองคือ คนมันมีห่วงนี่มันก็ยากนะที่จะกล้าเสี่ยง อีกอย่างก็คือ ต้องการให้ อยู่ติดวัด ไม่ไปนั้นนี่ เพราะป้องกันซามูไรยุคนั้นปลอมตัวเป็นพระเพื่อเคลื่อนย้ายกำลังก่อการ เพราะพระญี่ปุ่นแกจะไปทั่วประเทศเพื่ิอฝึกฝน ถามปัญหาธรรมะ ทีนี้พระมีเมียก็อยู่ติดวัน ดูแลวัดเพราะเขาให้วัดเป็นกรรมสิทธิ์ของพระ โอนให้ลูกหลานได้ และพ่อเป็นพระลูกก็เป็นพระ

    พระเลยออกมาทางโลกมากๆๆ มันก็เลยเสียมาก จนมันเอาคืนมาไม่ได้แล้วความรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนาในญี่ปุ่น พระมันกลายเป็นหมอพิธีไปแล้ว เป็นนักธุรกิจไปแล้ว ยิ่งบริโภคนิยมเข้ามาอีก ยิ่งญี่ปุ่นพยายามจะเป็นมะกันสองอีก จริงๆๆพระจะมีเมียมันก็ไม่ใช่เรื่องเสียหายอะไรดอก บางคนไม่เข้าใจมันจะด่าเอาอีกว่า ไปสนับสนุนให้พระมีเมียหรืออย่างไร? เปล่าเลยในแง่นี้ไม่ได้มองพระว่าเป็นพระ แต่มองพระในฐานะมนุษย์คนหนึ่ง และธรรมะแท้ๆๆไม่ได้วัดที่ใครมีเมียไม่มี ไม่ได้วัดที่ใครอยู่จารีตไหน? แต่วัดที่การธำรงรักษาคุณค่าแลศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์เอาไว้ได้หรือไม่ต่างหาก
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 4 ธันวาคม 2012
  13. โปเย

    โปเย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    1,231
    ค่าพลัง:
    +964

    อ่ะ ข้อมูลดีมากเลยครับ


    ปันเชนลามะที่ถูกจีนวางยาพิษตาย ก็อาจเพราะทำงาน
    เบื้องหลังไม่เก่งไง งานเบื้องหลังนี่นะ มันไม่เหมือนใคร
    เขาหรอก ทำก็เหมือนไม่ทำ ไม่รู้ไม่ชี้อะไร แต่มันก็มีผล
    ละ โอ้ย เรื่องอะไรต้องไปทำให้เขารู้ละ เบื้องหลังซะอย่าง
    มันก็ต้องลับๆ กันหน่อย ไปทำเปิดเผยยังงั้น ก็โดนวางยาอ่ะดิ


    ถอดกายทิพย์ไปทำงานก็ได้ ไอ้ที่มันร้ายๆ มันมีฤทธิ์มากๆ
    ก็จัดการซะในมิติทิพย์นั่นแหละ ไม่นานหรอก มันร่วงเองเลย
     
  14. สุมิตราจ๋า

    สุมิตราจ๋า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มกราคม 2012
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +1,529
    จริงๆๆ ท่านองค์ที่สิบ ลอบซัง ทรินเลย์ ลุนดรุปโชยี เกียลเซน ท่านก็คงจะพยายามจะทำให้มันลับๆๆนั้นแหละพ่อหนุ่ม ลุงเดาว่างี้นะ แต่คงถูกจับได้ ท่านก็เลยถูกวางยาพิษ แต่ทางจีนประกาศว่าท่านป่วยกระทันหันตาย ซึ่งเมื่อวานก่อนที่จะตายท่านยังไปพูดต่อหน้าสาธารณะชนอยู่เลย และอาจจะเพราะความมันส์ปาก หรือตั้งใจ หรือรู้ตัวแล้วว่า จีนจับได้แล้ว และไม่เอาท่านไว้แน่ๆๆ ท่านก็ไปประกาศสรรเสริญทะไลลามะ ว่าเป็นผู้นำที่แท้จริง และจีนคือผู้รุกราน ผลก็คือวันรุ่งขึ้นท่านก็จากไปนั้นแล
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 4 ธันวาคม 2012
  15. โปเย

    โปเย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    1,231
    ค่าพลัง:
    +964
    ตอนนี้ จีนก็เลยเม้คเรื่อง "ชัมบาลา" ขึ้นมาให้อยู่ในเขตแดนจีนละมั้ง
    อีกหน่อยก็คงเปิดเป็นแหล่งท่องเที่ยวละ เงินเข้าเยอะแยะเลยละ คน
    ไทยบ้ายอ บ้ายุ ก็คง "แห่" ตามกันไป เ่ช่นเคย ...
     
  16. โปเย

    โปเย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    1,231
    ค่าพลัง:
    +964

    วิทยาการและำพลังจิตลึกลับในทิเบตมีไม่น้อย
    ขอเพียงทำได้กันจริง ไม่ต้องกลัวใครเลยหละ


    ที่ล่มสลายเพราะอะไร? ท่านตรุงปะ ก็ได้บอก
    ไว้แล้ว บางครั้ง "พิธีกรรม" ที่มีมากมาย มันทำ
    ให้ กลบธรรมแท้ ท่านตรุงปะเอง ยามที่ยังอยู่ดี
    มีฐานะ (ตุลกูใช่มั้ย?) ท่านก็ไม่ได้บรรลุธรรม ก็
    มาได้อีตอนที่ธิเบตแตก แล้วท่านต้องเดินทางไป
    อพยพหนีไปนั่นแหละ


    ถ้ายังได้ธรรมกันจริงๆ อยู่ ไม่ติดพิธีกรรม จีนก็ตี
    ทิเบตไม่ลง ของจริง มันให้ผลจริง ไม่ใช่เล่นๆ ละ
     
  17. สุมิตราจ๋า

    สุมิตราจ๋า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มกราคม 2012
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +1,529
    ชัมบาลา นี่มันไม่มีใครรู้ว่าอยู่ที่ไหนนะสิ เขาก็เดาว่าคงอยู่ที่ไหนสักแห่งในเทือกเขาหิมาลัยมั้ง บางทีก็อาจจะเป็นอณาจักรเก่าแก่ในอดีตที่ล่มสลายไปแล้วก็ได้ เหมือนอณาจักรชางชุบลาในทิเบตที่เขาไปพบกันมา ใน "มหาอรรถกถาแห่งกาลจักร" ซึ่งเขียน มิฟัม คุรุ ในสมัยศตวรรษที่สิบเก้า ท่านเขียนว่า ดินแดนชัมบาลานี้ตั้งอยู่ทางเหนือของแม่น้ำสิตะ ดินแดนแห่งนี้ถูกแบ่งออกโดยแนวเทือกเขาทั้งแปด พระราชวังของริกเดนหรือราชันผู้ปกครองชัมบาลานั้น สร้างอยู่บนยอดเขาทรงกลมซึ่งตั้งอยู่กึ่งกลางดินแดน มิฟัม บอกต่อไปว่า ขุนเขาลูกนี้ชื่อว่า ไกรลาส พระราชวังซึ่งมีชื่อว่า กัลปะ กว้างยาวหลายร้อยเส้น เบื้องหน้าพระราชวังทางทิศใต้มีสวนรุกขชาติอันงดงามที่ชื่อว่า มาลัย ตรงกึ่งกลางสวนรุกขชาตินี้มีวิหารซึ่งสร้างอุทิศถวายแด่กาลจักรโดยดาวะ สังโป
    ทำนองนี้แหละ แต่บางคนก็เชื่อว่ามันอยู่ในอีกมิติหนึ่ง แต่บางทีมันก็อาจจะอยู่ไม่ใกล้ไม่ไกลดอกนะ ในใจเรานี่เอง ทีนี้จีนเขาถือว่าทิเบตเป็นของเขาอยู่แล้ว ดังนั้นเขาจะถือว่าซัมบาลาอยู่ในดินแดนของเขามันก็ไม่แปลกดอกนะ

    จริงๆๆทิเบตก็ยังไม่ถึงกับล่มสลายดอกนะ แค่ถูกกลืนไปครึ่งประเทศแล้ว ก็ต้องดูกันต่อไปว่าระหว่างธรรมะกับอธรรมใครจักชนะ ในครานี้ ที่ทิเบตอ่อนแอลงก็เพราะพระพุทธศาสนานั้นแหละ เมื่อก่อนประเทศนี้แกก็เถื่อนมากรบเก่งมากจนจีนยังขยาด แต่ ต่อมาแกก็รับพระพุทธศาสนาเข้าไปกลายเป็นคนน่ารักเกือบทั้งประเทศ เป็นพระเป็นโยคีกันหมด แล้วจะเอาเวลาที่ไหนไปฝึกทหาร ประจวบชาวทิเบตเชื่อว่าขุนเขาในทิเบตและภูมิอากาศสุดโหดนั้นเพียงพอแล้วที่จะเป็นป้อมโดยธรรมชาติ แกก็ไม่กลัวใครจะรุกราน จนเทคโนโลยีในช่วยสองสามร้อยปีมันเจริญมาก กว่าทิเบตจะตามเขาทันมันก็ไม่ทันการเสียแล้วนั้นแล
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 2 ธันวาคม 2012
  18. โปเย

    โปเย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    1,231
    ค่าพลัง:
    +964
    ตอนนี้ จีน "ตั้งหอฟ้าเทียนถาน" แสดงว่าไม่ใช่ว่าเขาไม่เชื่อไสยศาสตร์
    แต่เขาใช้ไสยศาสตร์เต๋า เช่น ทำลายฮวงจุ้ยของไทยหลายจุด ที่สุพรรณบุรี
    ลองไปดูสิ มังกรตัวเบ่อเร่อ แทบจะล้อมศาลเสาหลักเมือง, สถานธรรมบาง
    แห่งผมไปเจอ มังกรกำอักษร "ตี่" อยู่ แปลว่า พระราชาครับ นั่นคือ พระราชา
    อยู่ในกำมือมังกร นั่นแหละ ไสยศาสตร์เต๋า เต็มบ้านเมืองเราหมดแหละครับ


    ตอนนี้ ญี่ปุ่นเขาก็มี "หอบูชาฟ้า" ครับ สร้างโดยนักบวชลัทธิชินโต ตั้งอยู่บน
    โน่น ตึกสูงโคตรๆๆๆๆ เอาสิ แข่งกันเข้าไป ใครว่า ระดับนั้นเขาไม่ใช่ไสยฯ ละ?


    สมัยยุคที่ "ราชวงศ์ชิง" ล่มสลาย ทัพญี่ปุ่นบุกเข้าจีน รู้ไหมครับ ก่อนเปิดศึก
    พวกญีุ่ปุ่นทำอะไร? เขาทำลาย "ฮวงจุ้ย" ของจีนก่อนเลย เขามาสืบก่อนเลย
    ว่าฮวงจุ้ยอะไรบ้าง ที่จีนทำไว้ พวกสุสานฮ่องเต้อยู่ตรงไหน อะไรแบบนั้นอ่ะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 2 ธันวาคม 2012
  19. โปเย

    โปเย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    1,231
    ค่าพลัง:
    +964
    [​IMG]


    แบบนี้ ก็ไอเดียคนไทยครับ เลิศมั้ยละ ทันสมัยกะเขาด้วย
     
  20. สุมิตราจ๋า

    สุมิตราจ๋า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มกราคม 2012
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +1,529
    ใช่ๆๆในหมู่ปัญญาชน คนจีนจะไม่เชื่อเลย เพราะลัทธิขงจื่อนั้นเอง อย่างจอฮุยเหม่ง ซึ่งเป็นตัวแทนปัญญาชนในทัศนะแบบสำนักหยู่ ที่คนจีนถือเป็นเทพเจ้ามีตอนหนึ่ง ความว่า ลูกชายท่านไปอ่านพระสูตรในพระพุทธศาสนา จอฮุยเหม่งมาเห็นแกก็ด่าว่าลูกอ่านเรื่องเหลวไหล ก็เพราะแกไม่เชื่อเรื่องที่พิสูตรไม่ได้ โดยเหตุผลอย่างนิพพาน นี่วิธีคิดแบบขงจื่อเลย ขงจื่อจะไม่เชื่อในสิ่งที่เหตุผลอธิบายไม่ได้ ยิ่งในยุคราชวงค์สุ่ยเป็นต้นมาลัทธิขงจื่อใหม่มีชัยเหนือพุทธและเต๋า ยิ่งทำให้จีนเป็นวัตถุนิยมมากขึ้น สังเกตว่าจีนเป็นประเทศแรกในเอเซียที่รับเอาคอมมิวนิสต์เข้าไปปฏิบัตินั้นแล

    อย่างไรก็ตามความเชื่อในไสย์ก็ยังอยู่แต่อยู่ในหมู่ชนชั้นล่างในจีนที่ไม่ค่อยมีบทบาททางการเมืองนั้นแล จริงๆๆไสย์นี่เป็นของลัทธิเต๋า แต่ต้องแยกว่าลัทธิเต๋าเป็นคนละส่วนกับเล่าจื่อ จางจื่อ เลี่ยจื่อ พวกนี้ที่เป็นต้นตอของสำนักเต๋าเป็นปัญญาชนที่แหลมคมมากคำสอนเป็นโลกุตระล้วนๆๆ แต่น่าเสียดายที่ต่อมาถูกเอาไปแอบอ้างเป็นเจ้าลัทธิเต๋าที่เน้นไสย์ เน้นหายาอมตะ บำเพ็ญเซียนไปเสีย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 2 ธันวาคม 2012

แชร์หน้านี้

Loading...