<<<<<<<______คนส่องพระ ______>>>>>>>

ในห้อง 'ประสบการณ์ เรื่องเล่า' ตั้งกระทู้โดย อั๋นวัดสาม, 22 ตุลาคม 2012.

  1. Norragate

    Norragate เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    19,518
    ค่าพลัง:
    +37,735
    " ธรรมะโอสถ "

    " เมื่อว่าถึงทางโลกก็ย่อมมียินดียินร้าย
    แต่ถ้ารู้จักใช้อุเบกขาบ้าง...
    ก็จะควบคุมใจไม่ให้ตื่นเต้น ฟุบแฟบเกินไป
    จะทำให้ใจมั่นคง ไม่สะดุ้งสะเทือนมากนัก
    บางทีก็ถูกยั่วให้โลภ บางทีก็ถูกยั่วให้หลง
    ถ้าเสียอุเบกขาไปแล้ว ก็เรียกว่า เสียที่มั่นทางใจ "


    สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชฯ


    [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 พฤศจิกายน 2012
  2. oatlovetong

    oatlovetong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2012
    โพสต์:
    472
    ค่าพลัง:
    +17,292
    เรียกที่รักอยู่ดีๆ ไม่น่าเรียกชื่อเลยครัาคุงซัน ^^
     
  3. Norragate

    Norragate เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    19,518
    ค่าพลัง:
    +37,735
    ขอบคุณคุณทอมที่นำข้อมูลดีๆมาให้อ่านและศึกษากันนะครับ ^^
    อนุโมทนาด้วยครับ ^^
     
  4. Norragate

    Norragate เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    19,518
    ค่าพลัง:
    +37,735
    55555 เมื่อก่อนสมัยเป็นนักศึกษาก็เป็นประจำครับ..หลุดบ่อยๆ อิอิ ^^
     
  5. Norragate

    Norragate เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    19,518
    ค่าพลัง:
    +37,735
    [​IMG]

    อมตะมหาเถราจารย์แห่งเมืองนครพิงค์ ผู้สูงยิ่งด้วยศีล จริยาวัตร

    เชี่ยวชาญสรรพวิชาพุทธาคมตามตำราโบราณล้านนา จนเป็นที่ประจักษ์ทั่วไป

    ดังคำกล่าวของบรรดาพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบที่ว่า



    “ขอเธอจงไปกราบครูบาอินที่เชียงใหม่และขอศึกษาวิชาจากท่านให้ดีๆ เถิด

    ท่านเป็นพระผู้เก่งกล้าสามารถมากจริงๆ”

    เป็นคำกล่าวของหลวงพ่อกวย ชุตินธโร วัดโฆสิตาราม จังหวัดชัยนาท



    “ดีอยู่แล้ว ดีอยู่แล้ว พระของครูบาอิน ไม่ต้องเสกอะไรอีกแล้ว”

    หลวงพ่อเกษม เขมโก สุสานไตรลักษณ์ จังหวัดลำปาง



    “จิตของครูบาอิน ประภัสสรยิ่งแล้ว”

    หลวงพ่อชม วัดโป่ง จังหวัดชลบุรี



    “ครูบาอิน ท่านมีจิตมีจิตบริสุทธิ์ผุดผ่องยิ่งเลยทีเดียว”

    ครูบาเจ้าชัยวงศาพัฒนา วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม จังหวัดลำพูน



    “หลวงปู่ครูบาอิน วัดฟ้าหลั่งนั้น ดีที่หนึ่งเลย”

    หลวงปู่สิม พุทธาจาโร สำนักสงฆ์ผาปล่อง จังหวัดเชียงใหม่



    “ครูบาอินท่านเป็นพระสุปฏิปันโน ผู้ประพฤติดี ปฏิบัติชอบนะ”

    หลวงพ่อดาบส สุมโน อาศรมไผ่มรกต จังหวัดเชียงราย

    ฯลฯ

    หลวงปู่ครูบาอิน อินฺโท ถือเป็นพระเถระสำคัญผู้เจริญด้วยพรรษาสูงแห่งเชียงใหม่

    อีกทั้งยังเพียบพร้อมด้วยคุณธรรมและเมตตาธรรม

    ที่มีให้แก่ผู้เคารพนับถือตราบวาระสุดท้ายของชีวิต

    อันเป็นเหตุให้สมควรนำเถรประวัติและคำสอนของท่าน

    มาเผยแพร่เป็นสังฆบูชาสืบต่อไป
     
  6. MrCHAN

    MrCHAN เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2012
    โพสต์:
    5,812
    ค่าพลัง:
    +97,448

    ท่านมหาพลส่งวัตถุมงคลมาให้ เป็นพระที่มาจากวัดที่เคยพักอยู่ใกล้ ๆ อีกแล้ว

    มีพระของวัดสัวฉิม ซึ่งแปลกมากเพราะประมาณปี 2525-2530

    ผมก็พักอาศัยอยู่บ้านพักรถไฟบางกอกน้อย ในซอยที่ติดกับวัดสัวฉิมเลยครับ

    แต่เมื่อก่อนไม่เคยสนใจเรื่องวัตถุมงคล หรือเรื่องวัดวาอารามเลย อิ อิ


    ขอบพระคุณครับท่านมหาพลฯ


    [​IMG]

    :z5
    วัดฉิมทายกาวาส ตั้งอยู่เลขที่ 268 แขวงบ้านช่างหล่อ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ สร้างขึ้นในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว

    ปรากฏตามหนังสือจารึกที่ฐานพระประธานในอุโบสถ ว่า "สร้างปี 2340" ศิลปะและรูปทรงอุโบสถก็เป็นศิลปะในสมัยนั้น วัดฉิมทาย กาวาส เป็นวัดที่สร้างคู่กันกับวัดวิเศษการ โดยคนที่สร้างวัดทั้ง 2 แห่ง มีศักดิ์เป็นเขยพี่เขยน้อง เขยผู้พี่ชื่อ หมื่นรักษ์สันนิเวศน์ (พิมพ์) สร้างวัดวิเศษการ เขยผู้น้องชื่อ เจ้าสัวฉิม สร้างวัดอีกวัดหนึ่งในบริเวณใกล้เคียงกัน แล้วตั้งชื่อตามนามของตนว่า วัดสัวฉิม ซึ่งเป็นที่นิยมของคนสมัยนั้น



    กาลต่อมาประมาณปี พ.ศ.2982 สมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี วัดได้เปลี่ยนนามใหม่ ตามหมายรับสั่งของฝ่ายราชการและคณะสงฆ์ ซึ่งมีประกาศไปทั่วประเทศ ให้เปลี่ยนชื่อป้ายวัดเสียใหม่ เพื่อความเหมาะสมทางภาษาไทยด้วย

    วัดสัวฉิม จึงได้เปลี่ยนนามใหม่เป็น วัดฉิมทายกาวาส ตามที่ใช้เรียกจนถึงปัจจุบัน

    วัดฉิมทายกาวาส มีปูชนียวัตถุมากมาย

    บริเวณโดยรอบวัด เป็นชุมชนที่มีชาวบ้านอาศัยอยู่หลายพันหลังคาเรือน

    บรรยากาศจึงมีความคึกคักจอแจไปบ้าง

    สำหรับความร่มรื่นของต้นไม้ใหญ่ภายในวัด มีไม่ค่อยเห็นมากนัก ด้วยพื้นที่วัดมีค่อนข้างจำกัด บริเวณพุทธาวาส และตามกุฏิพระภิกษุสงฆ์ มีความสะอาดสะอ้านร่มรื่น เยื้องมาด้านหน้าติดกับสำนักงานกลางวัดฉิมทายกาวาสและวิหาร มีการดูแลปัดกวาดเป็นอย่างดี บริเวณด้านในวัด เป็นที่ตั้งของอุโบสถ มีความสวยงามและสะอาดสะอ้าน แสดงให้เห็นถึงการจัดระบบการทำความสะอาดเป็นอย่างดี

    แต่ด้วยความที่วัดฉิมทายกาวาส ตั้งในชุมชน จึงมีคนนิยมนำรถมาจอดไว้เป็นจำนวนมาก ทำให้ตามซอกมุมของวัดบางแห่ง มีเศษกระ ดาษและถุงพลาสติกตกกองอยู่

    แม้จะมีจำนวนไม่มาก แต่ถ้าปล่อยไว้นานวัน คงดูไม่จืดแน่

    ข้อมูลจาก นสพ.ข่าวสดออน์ไลน์
    http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROaWRXUXdPREUyTURRMU5BPT0=&sectionid=TURNd053PT0=&day=TWpBeE1TMHdOQzB4Tmc9PQ==

    :z7
     
  7. Norragate

    Norragate เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    19,518
    ค่าพลัง:
    +37,735
    แสดงว่าเพลียมากๆเลยใช่มะครับพี่โญ... ^^

    สดชื่นกับเช้าวันใหม่ครับ
     
  8. Norragate

    Norragate เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    19,518
    ค่าพลัง:
    +37,735
    [​IMG]

    พระครูวรวุฒิคุณ หรือ หลวงปู่ครูบาอิน อินโท (ครูบาฟ้าหลั่ง) มีชื่อเดิมว่า อิน วุฒิเจริญ เป็นบุตรของพ่อหนุ่ม แม่คำป้อ เขียวคำสุข ท่านเกิดเมื่อวันที่ ๖ กุมภาพันธ์ ๒๔๔๖ (ตรงกับวันเสาร์ แรม ๕ ค่ำ เดือน ๓ เหนือ ปีเถาะ) ณ บ้านทุ่งปุย ตำบลยางคาม อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ (ปีที่ครองราชย์ พ.ศ. ๒๔๑๑-๒๔๕๓) โดยเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ในขณะนั้นคือ เจ้าอินทรวโรรสสุริยวงษ์ (ครองเมืองเชียงใหม่ พ.ศ.๒๔๔๔-๒๔๕๒)

    พระครูวรวุฒิคุณ หรือ หลวงปู่ครูบาอินได้เล่าชีวประวัติของท่านว่า ท่านมีพี่น้องร่วมบิดามารดา ๕ คนด้วยกัน คือ

    ๑. นายแก้ว เขียวคำสุข (ถึงแก่กรรม)

    ๒. พระครูวรวุฒิคุณ (อิน วุฒิเจริญ)

    ๓. นางกาบ ใจสิทธิ์ (ถึงแก่กรรม)

    ๔. พ่อหนานตัน เขียวคำสุข (ถึงแก่กรรม)

    ๕. นางหนิ้ว ธัญญาชัย (ถึงแก่กรรม)

    พระครูวรวุฒิคุณอธิบายถึงเรื่องที่ท่านใช้นามสกุลต่างไปจากบิดามารดาและพี่น้องว่า เนื่องจากสมัยก่อนไม่มีการใช้นามสกุล เมื่อมาเริ่มใช้ในสมัยหลัง (รัชกาลที่ ๖) ต่างคนต่างก็ตั้งนามสกุลกันเอง ตัวท่านบวชอยู่ ท่านก็แต่งนามสกุลเองว่า “วุฒิเจริญ” เพื่อให้เป็นความหมายมงคลในความเจริญในพระพุทธศาสนา

    ท่านเล่าว่า ท่านเติบโตมาในครอบครัวชาวนา ชีวิตในวัยเด็กก็เรียบง่ายไม่ต่างไปจากเด็กสมัยนั้นโดยทั่วไป คือช่วยเหลือครอบครัวทำงาน พออายุได้ ๑๑-๑๒ ปี ก็ไปอยู่วัดเพื่อเรียนหนังสือ ท่านว่าสมัยก่อนเด็กอายุเท่านี้ก็ยังดูเป็นเด็กอยู่ ตัวไม่ใหญ่โต เนื่องจากสมัยก่อนเด็กกินนมแม่ ไม่ได้บำรุงด้วยนมวัวเช่นในปัจจุบัน เมื่อมีลูกศิษย์ถามถึงอุปนิสัยในวัยเด็กของท่านว่ามีแววอย่างไรบ้าง ถึงทำให้ท่านบวชอยู่ในพระพุทธศาสนานานจนถึงทุกวันนี้ ท่านตอบแต่เพียงว่าท่านก็มีความเมตตาเอ็นดูสัตว์ ไม่เคยทรมานสัตว์
     
  9. Norragate

    Norragate เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    19,518
    ค่าพลัง:
    +37,735
    [​IMG]

    เป็นเด็กวัดทุ่งปุย

    ท่านกำพร้าพ่อก่อนที่จะเข้าไปอยู่ในวัดทุ่งปุย พ่อของท่านเสียชีวิตตั้งแต่ยังหนุ่มอยู่ ท่านว่าอายุประมาณ ๕๐ ปี โดยมแม่จึงต้องรับพาระในการเลี้ยงดูบุตรธิดา โดยมีพี่ชายคนโตของท่านเป็นหลักช่วยครอบครัว ส่วนท่านเอง หลังจากเข้ามาเป็น “เด็กวัด” ที่วัดทุ่งปุย (วัดคันธาวาส) ตำบลยางคาม ซึ่งเป็นวัดเก่าแก่ประจำหมู่บ้าน แล้วท่านก็อยู่ในบวรพุทธศาสนามาโดยตลอด

    ชีวิตการเป็นเด็กวัดสมัยก่อน คือการอยู่วัด นอนวัด ช่วยทำงานในวัด อุปัฏฐากครูบาอาจารย์ไปพร้อมๆ กับการศึกษาเท่าเรียน การเรียนเบื้องต้นจะเรียนตัวเมือง (ภาษาล้านนา) และเรียนสวดมนต์บทต่างๆ โดยมีพระภิกษุเป็นผู้สอน

    กิจวัตรประจำวันของเด็กวัดอย่างท่าน ตามที่ท่านได้เล่าให้ฟังก็คือ เช้าไหว้พระสวดมนต์ เสร็จแล้วก็ไปทวนหนังสือที่ศาลา สมัยก่อนเรียนด้วยกระดานดำ ครูเขียนให้ท่อง เมื่อจำได้แล้วก็ลบเพื่อต่อเรื่องใหม่ ทุกครั้งที่ต่อเรื่องใหม่ ครูผู้สอนจะให้ท่องของเก่าก่อน ถ้าท่องได้ถึงจะต่ออันใหม่ให้

    ที่จริงแล้วการเรียนภาษาล้านนาและบทสวดมนต์ต่างๆ ของเด็กวัด ก็คือพื้นฐานของการบวชเณร ธรรมเนียมปฏิบัติของคนล้านนาในอดีตนิยมบวชเณรมากกว่าอุปสมบทเป็นพระภิกษุ คนที่จะบวชเณรได้จะต้องเป็นเด็กวัดก่อนสักหนึ่งหรือสองปี เพื่อศึกษาเตรียมตัว หลวงปู่ครูบาอินท่านได้บรรพชาเป็นสามเณรเมื่ออายุได้ ๑๔ ปี เมื่อวันที่ ๑ มกราคม ๒๔๖๐ โดยมีเจ้าอธิการยศ (ครูบามหายศ) เป็นพระอุปัชฌาย์ ที่วัดทุ่งปุยและอยู่ร่วมกับพระเณรรูปอื่นๆ ซึ่งในสมัยนั้น เณรจะมีมากกว่าพระ ซึ่งที่วัดทุ่งปุยมีเณรประมาณ ๑๐-๒๐ รูป

    ตอนที่เป็นเณร นอกจากเรียนภาษาล้านนาต่อแล้ว ท่านก็หัดสวดมนต์ ๑๕ วาร สวดแผ่เมตตาและอีกหลายๆ อย่าง ครูจะเขียนใส่กระดานให้ท่อง พอท่องได้ก็ลบต่อใหม่ การเรียนที่วัดช่วงค่ำค่อนข้างลำบากเพราะยังไม่มีไฟฟ้าใช้ ต้องใช้น้ำมันจุดตะเกียงดูหนังสือ เด็กวัดและพระเณรแต่ละคนแต่ละรูปต้องหมั่นท่องจำบทสวดมนต์ต่างๆ ให้ขึ้นใจ ซึ่งวิธีการที่ครูบาอาจารย์จะตรวจสอบดูว่าเณรองค์ใดขยันหมั่นเพียรในการเรียนก็คือ อาจารย์จะจัดเวรให้เณรผลัดเปลี่ยนกันนำสวดมนต์ องค์ใดสวดช้า ติดขัด ครูอาจารย์จะฟาดหลังด้วยไม้เรียว เณรน้อยยังเป็นเด็ก ก็อดที่จะกลัวฤทธิ์ไม้เรียวไม่ได้ ฉะนั้นเวลาครองผ้า เณรบางองค์จะแอบเอาอาสนะรองนั่งซุกไว้ทางด้านหลัง เอาจีวรครองทับแล้วรัดอกแน่นๆ เผื่อโดนฟาดจะได้ไม่เจ็บนัก แต่ครูบาอินท่านไม่เคยทำ ท่านเล่าว่าเวลาฟาดจะมีเสียงดัง ครูบาอาจารย์ท่านก็ทราบแต่ก็ยิ้มเสีย ไม่ว่าอะไร ครูบาอินเองท่านก็เคยโดยฟาดอยู่ครั้งหนึ่งเหมือนกัน
     
  10. oatlovetong

    oatlovetong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2012
    โพสต์:
    472
    ค่าพลัง:
    +17,292
    สวัสดีครับพ่อแม่พี่น้องทุกท่าน ^^
     
  11. Norragate

    Norragate เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    19,518
    ค่าพลัง:
    +37,735
    [​IMG]

    การเรียนสมถะกรรมฐาน

    การเรียนสมถะกรรมฐานมีอยู่ทั่วไปทุกวัดในสมัยนั้น เมื่อท่านเป็นเณรอายุได้ ๑๕ ปี ท่านก็เริ่มปฏิบัติสมถะกรรมฐาน แบอานาปานสติ โดยใช้คำภาวนาว่า “พุทโธ” โดยมีท่านครูบามหายศ อุปัชฌาย์ของท่านเป็นผู้สอน หลังจากท่านปฏิบัติกรรมฐานแล้วก็เกิดความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนามากขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งวันหนึ่ง หลังจากดูหนังสือแล้วท่านก็ลุกมาอาบน้ำล้างหน้า และเอาข้าวมาถวายพระพุทธเจ้า กล่าวคำถวายว่า จะถวายชีวิตเป็นทาน วันนั้นไม่ฉันข้าวฉันแต่น้ำ และปฏิบัติตลอดหนึ่งวันกับหนึ่งคืน จนได้ความปิติเป็นพิเศษเกิดขึ้น

    ตามธรรมเนียมเมื่อเณรเรียนจบแล้วก็จะมีการปรึกษาหารือกันระหว่างเณรกับครูบาอาจารย์เจ้าอาวาสว่าเห็นสมควรจะอุปสมบทเป็นพระต่อหรือไม่ ถ้าอุปสมบทพ่อแม่ก็จะดีใจ ถ้าไม่ไม่อุปสมบทก็จะลาสิกขาออกไปใช้ชีวิตฆาราวาส ผู้ที่ลาสิกขาจากการเป็นเณรไปเป็นฆาราวาสจะมีคำเรียกนำหน้าชื่อว่า “น้อย” ต่างกับผู้ที่ลาสิกขาหลังจากอุปสมบทเป็นพระภิกษุแล้ว จะเรียกว่า “หนาน” หรือคำว่าทิดในภาษากลาง ครูบาอินท่านได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุอยู่ที่วัดทุ่งปุย โดยอุปสมบท ณ พันธสีมาวัดป่าลาม ตำบลยางคราม เมื่อวันที่ ๑๕ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๖๖ เวลา ๑๐.๐๐ น. อายุได้ ๒๐ ปี บริบูรณ์ ฉายาในตอนนั้นคือ พระอิน อินโท โดยเจ้าอธิการยศ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอธิการกว้าง วัดสองแคว เป็นพระกรรมวาจารย์ พระอธิการอ้าย วัดทุ่งปุย เป็นพระอนุสาวนาจารย์

    ในระหว่างที่เป็นพระภิกษุ ท่านเริ่มเรียนภาษาไทย จาก ก ข เรื่อยมาจนจบชั้นประถม ๔ โดยการเทียบเนื่องจากยังไม่มีโรงเรียนจริงๆ เมื่อเรียนภาษาไทยกลางจบแล้ว ท่านก็ตั้งใจศึกษานักธรรมตรีต่อ การเรียนนักธรรมตรีต้องเดินไปเรียนที่วัดศรีแดนเมือง ซึ่งเป็นวัดเจ้าคณะตำบลยางคาม อำเภอจอมทอง วัดนี้อยู่ห่างจากวัดทุ่งปุยประมาณ ๕ กิโลเมตร ต้องเดินไปตามคันนา การเรียนในสมัยนั้นถึงแม้จะมีการกำหนดให้ใช้หลักสูตรนักธรรมตรีของสมเด็จพรมพระยาวชิรญาณวโรรส สมเด็จพระสังฆราสเจ้าในสมัยนั้น แต่สภาพที่เป็นจริง ทางวัดขาดแคลนครูที่สอน ขาดแคลนตำราอย่างเช่น ภูมิศาสตร์ สังคมศาสตร์ ท่านว่าไม่มีครูสอน ต้องศึกษาเองซึ่งไม่ค่อยจะมีตำราและไม่ค่อยเข้าใจ ครูผู้สอนก็เป็นพระภิกษุเข้าใจว่าจบนักธรรมโท พระครูวรวุฒิคุณเรียนจนจบนักธรรมตรี ท่านว่าด้วยการเทียบอีกเช่นกัน ไม่ได้ไปสอบ เพราะสมัยนั้นที่อำเภอจอมทองของท่านยังไม่มีสนามสอบ ต้องไปสอบที่กรุงเทพฯ ซึ่งการเดินทางก็ไม่สะดวก ไม่มีรถ การคมนาคมก็ลำบาก อีกประการหนึ่ง ท่านบอกว่าพระในสมัยก่อนไม่ใคร่ได้ให้ความสำคัญกับการได้เป็นนักธรรมเปรียญ ซึ่งจะช่วยให้ก้าวหน้าในสมณะศักดิ์ การเรียนบาลี คือ “การเรียนเข้า” มาอยู่ในพระพุทธศาสนา ต่างจากในปัจจุบันที่ “เรียนออก” พอเรียนจบหางานทำได้ก็สึกออกไป

    ในด้านการปฏิบัติ ท่านยังคงปฏิบัติ พุทโธ ต่อไป โดยเรียนกับครูบามหายศ อุปัชฌาย์ของท่าน การปฏิบัติเมื่อตอนเป็นพระภิกษุนั้น ท่านว่ายิ่งต้องระวังในศีลมากขึ้นกว่าตอนเป็นเณร เนื่องจากศีลของพระภิกษุมีถึง ๒๒๗ ข้อ ส่วนเณรมีศีลเพียง ๑๐ ข้อเท่านั้น

    นอกจากการเรียนปริยัติและปฏิบัติแล้ว พระครูวรวุฒิคุณยังสนใจศึกษาหาความรู้จากตำราโบราณที่ครูบาอาจารย์จดไว้อยู่เสมอ เช่นเรื่องการทำตะกรุดชนิดต่างๆ ท่านมักกว่าวว่าท่านเรียนจากครูบาอาจารย์ ซึ่งหมายถึงตำรา กล่าวถึงเรื่องการทำตะกรุด ท่านเริ่มทำในสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจแก่ญาติโยม ตะกรุดของท่านมีหลายแบบ ลักษณะแตกต่างกันตามแต่ท่านจะประสิทธิ์ประสาทพุทธาคม
     
  12. Norragate

    Norragate เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    19,518
    ค่าพลัง:
    +37,735
    ยังอยู่เชียงรายป่าวครับเพื่อนโอ๊ต ^___^

    อยากไปเห็นยอดน้ำค้างที่เกาะจนแข็งตัวบนยอดหญ้าจังครับ...
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 พฤศจิกายน 2012
  13. Norragate

    Norragate เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    19,518
    ค่าพลัง:
    +37,735
    [​IMG]

    ปฏิบัติสมถะกรรมฐานรุกขมูล

    หลังจากออกพรรษาแล้ว ท่านมักจะไปออกรุกมูลที่ป่าช้า ท่านเล่าว่าสมัยก่อนนั้นการออกธุดงค์ไม่เป็นที่นิยมของพระทางเหนือนัก ต่างจากพระทางอีสานที่เดินธุดงค์กันเก่งตามแนวทางครูบาอาจารย์สายอีสาน สำหรับครูบาอาจารย์สายของท่านไม่ได้ออกเดินธุดงค์ ท่านจึงไม้ได้ออกธุดงค์ ถือวัตรปฏิบัติกรรมฐานและการเข้ารุกขมูลเพื่อแสวงหาวิเวกและโปรดเวไนยสัตว์ ซึ่งถือปฏิบัติกันมาเป็นแนวทางธรรมเนียมของพระภิกษุในแถบถิ่นล้านนา แต่กระนั้นก็มีพระทางเหนือที่ธุดงค์กันอยู่บ้าง องค์ที่สำคัญก็คือ ครูบาวัดป่าเหียง (พระอธิการแก้ว ขัตติโย) องค์อุปัชฌาย์ของครูบาพรหมจักร พรหมจกโก (พระสุพรหมยานเถระ) วัดพระพุทธบาทตากผ้า รวมทั้งองค์ครูบาพรหมจักรเองก็นิยมการธุดงค์ เช่นกัน พ่อหนานตันน้องชายของครูบาอินก็ชอบธุดงค์เช่นกันโดยสมัยเมื่อบรรพชาเป็นสามเณรที่วัดทุ่งปุยแล้ว พออายุได้ ๑๘ ปี พ่อหนานตันก็ออกเดินธุดงค์ไปพม่าเพียงองค์เดียว เมื่อถึงพม่าแล้ว ได้ข่าวจากพวกยาง (กะเหรี่ยง) ว่ามีพระภิกษุสายครูบาพรหมจักรจำพรรษาอยู่ที่วัดป่าแห่งหนึ่งในพม่า สามเณรตันจึงได้ไปพักด้วย เมื่อเห็นการปฏิบัติก็เกิดความเลื่อมใส ดังนั้นเมื่ออายุครบอุปสมบท จึงได้อุปสมบทที่พม่า โดยมีพระภิกษุรูปนั้นเป็นอุปัชฌาย์ (หมายเหตุ: หลวงปู่ครูบาอินจำชื่อไม่ได้) พระภิกษุตันอยู่พม่าได้ ๒ พรรษาก็กลับมาเยี่มโยมแม่ที่เมืองไทย จากนั้นก็ได้ถือปฏิบัติธุดงควัตรตามแนวทางของครูบาวัดป่าเหียงและครูบาพรหมจักร ต่อมาภายหลังพระภิกษุตันได้ลาสิกขาไปเป็นทหารและมีครอบครัว
     
  14. oatlovetong

    oatlovetong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2012
    โพสต์:
    472
    ค่าพลัง:
    +17,292
    ตอนนี้อยู่พะเยาครับ เสร็จงานเย็นๆวันนี้
    ก็เข้าลำปางโลด ^^
     
  15. Norragate

    Norragate เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    19,518
    ค่าพลัง:
    +37,735
    [​IMG]

    บุญผ้าเหลือง

    ในภาคเหนือสมัยก่อน ความนิยมในการบวชเป็นพระภิกษุมีน้อย และในจำนวนน้อยนั้น องค์ที่จะมีบุญอยู่ในผ้าเหลืองนานๆ ก็มีน้อย เพราะมักจะสึกออกไปเมื่อหมดครบพรรษา เพื่อนพระภิกษุรุ่นเดียวกับท่านก็ได้สึกออกไปหมดในพรรษาแรก เหลือท่านอยู่องค์เดียวเท่านั้น ถึงแม้ว่าตัวท่านเองจะมีความปิติสุขใจในเพศบรรพชิต แต่อีกใจหนึ่งก็อดเป็นห่วงโยมแม่ไม่ได้ เมื่อท่านบวชได้ ๕ พรรษา ท่านได้เล็งเห็นสังขารของโยมแม่ที่ร่วงโรยแก่เฒ่า เรี่ยวแรงที่จะทำไร่ไถนาก็อ่อนล้าลงไป ท่านจึงได้ปรารภกับโยมแม่ว่า “อยากลาสิกขา” แต่โยมแม่ของท่านก็ได้ทัดทานไว้ว่า “ตุ๊เหย อย่าไปลาสิกขาเลย อยู่กับวัดกับวาเต๊อะ ถ้าสิก (ลาสิกขา) ออกมาต้องตุ๊ก (ทุกข์) มายาก” นับตั้งแต่นั้นท่านก็ไม่เคยคิดเรื่องลาสิกขาอีกเลย

    ความที่ท่านครูบาอินเมื่อครั้งยังเป็นพระหนุ่ม เป็นผู้มีรูปร่างหน้าตาดี จึงได้มีลูกศิษย์ได้เรียนถามว่า เมื่อท่านยังหนุ่มได้มี “สีกา” มาแสดงทีท่าสนใจท่านบ้างหรือไม่ ท่านตอบตามความคิดของท่านว่า มันอยู่ที่การวางตัวของตุ๊เจ้า ท่านเองอยู่กับครูบาอาจารย์ สนใจแต่การปฏิบัติตนให้เจริญในธรรมตามครูอาจารย์ของท่าน ไม่ได้ให้ความสนใจในเรื่องเหล่านี้เลย ท่านว่าคงเป็นเพราะท่านวางตัวเช่นนี้ก็เลยไม่มีใครมายุ่งกับท่าน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 พฤศจิกายน 2012
  16. Norragate

    Norragate เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    19,518
    ค่าพลัง:
    +37,735
    เดินทางปลอดภัยนะครับ...เพราะเส้นทางจากพะเยาว์เข้าสู่ลำปางโค้งเยอะๆมากครับ...น่าจะผ่านเถินใช่มะครับ..แถบนั้นเวลาผมขับกลางดึกจะระลึกถึงครูบาอาจารย์ไว้ที่ใจเสมอเลยอ่ะครับ ^^

    สิ่งศักดิ์สิทธิ์คุ้มครองนะครับเพื่อนโอ๊ต ^^
    ปล. หากไว้แวะไปกราบหลวงพ่อเกษม...อย่าลืมถ่ายรูป ณ ปัจจุบันมาให้พี่ๆน้องๆได้ชมกันบ้างนะครับ
     
  17. Norragate

    Norragate เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    19,518
    ค่าพลัง:
    +37,735
    [​IMG]

    วิปัสนาธุระ
    หลวงปู่ครูบาอิน อินโท เมื่อครั้งอายุได้ ๕๑ ปี ได้เดินทางไปศึกษาวิปัสสนาที่วัดมหาธาตุ กรุงเทพฯ ซึ่งท่านได้เล่าถึงความแตกต่างระหว่างสมถะกรรมฐาน กับวิปัสสนาว่า สมถะกรรมฐาน คือการทำใจให้สงบ เป็นเรื่องของสมาธิ ส่วนวิปัสสนาเป็นเรื่องการฝึกสติ การฝึกแนวสติปัฏฐานสี่ ท่านได้ฝึกกับพระเทพสิทธิมุณี โดยมีสมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสภ) ซึ่งขณะนั้นเป็นพระพิมลธรรมเป็นประธาน ครูบาอาจารย์จากทางเหนือที่ไปปฏิบัติวิปัสสนาในครั้งนั้นก็มี ครูบาพรหมจักร วัดพระพุทธบาทตากผ้า ครูบาอินทจักร วัดน้ำบ่อหลวง พระอาจารย์ทอง สิริมังคโล วัดร่ำเปิง (ปัจจุบันเป็นพระราชพรหมาจารย์ วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร )

    เมื่อศึกษาสำเร็จกลับมาแล้วก็มาฝึกสอนพระภิกษุ สามเณร ญาติโยม ตามวิธีนี้ ท่านว่าลูกศิษย์ของท่านปฏิบัติกันได้ผล บางองคืได้ผลดีมาก แต่น่าเสียดายที่ลาสิกขากันไปหมด ปัจจุบันท่านไม่ได้สอนในลักษณะเป็น “สำนัก” แต่ถ้าใครไปถามธรรมะหรือเรื่องการปฏิบัติจากท่าน ท่านก็มักจะเมตตาให้ความกระจ่างอยู่เสมอและอย่างไม่เห็นแก่เหน็ดเหนื่อย
     
  18. Norragate

    Norragate เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    19,518
    ค่าพลัง:
    +37,735

    ขออนุโมทนากับมหาพลด้วยครับ......
    ยินดีกับพี่โญด้วยเช่นกัน ^^
     
  19. Norragate

    Norragate เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    19,518
    ค่าพลัง:
    +37,735
    [​IMG]

    กิจการพระศาสนา

    ด้านกิจการพระศาสนา พระครูวรวุฒิคุณได้กระทำกิจของศาสนาอเนกประการ จนท่านได้ตำแหน่งบริหาร คือ

    พ.ศ. ๒๔๘๕ ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดทุ่งปุย

    พ.ศ. ๒๔๙๔ ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะตำบลยางคราม

    พ.ศ. ๒๔๙๖ ได้รับแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌายะ

    พ.ศ. ๒๕๐๒ ได้รับแต่งตั้งเป็นพระครูอิน (พระครูประทวน)

    พ.ศ. ๒๕๐๖ ได้รับแต่งตั้งเป็นพระครูวรวุฒิคุณ (สัญญาบัตร ๑)

    พ.ศ. ๒๕๑๙ ได้รับแต่งตั้งเป็นพระครูสัญญาบัตร ชั้นโท ใช้ราชทินนามเดิม



    หลวงปู่ครูบาอิน มีความผูกพันกับวัดทุ่งปุยนับตั้งแต่บวชครั้งแรก จนได้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส ท่านได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๘๕ และได้พัฒนาวัดให้เหมาะแก่กาลสมัย ทั้งการสร้างอาสนะสงฆ์ต่างๆ ขึ้น ภายในวัด เมื่อวัดทุ่งปุยเจริญรุ่งเรืองแล้ว ทางการจึงได้ให้เปลี่ยนชื่อว่า “วัดคันธาวาส” ตามชื่อ ครูบาคันธา ผู้มาบูรณะวัดร้างทุ่งปุยเป็นองค์แรกเมื่อ พ.ศ. ๒๓๙๕

    ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๐๐ นายประหยัด ศรีนุ ครูใหญ่โรงเรียนแม่ขาน ได้มาอาราธนานิมนต์หลวงปู่ ไปเป็นประธานสร้างอาคารเรียนโรงเรียนแม่ขาน แบบตึกชั้นเดียว โดยท่านได้มอบเงินให้เป็นทุนก่อสร้างอีกเป็นจำนวนถึง ๙,๐๐๐ บาท และเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๓ ท่านได้ไปปฏิสังขรณ์พระพุทธรูปเศียรขาดที่เป็นรูปหินแกะของเดิม ซึ่งประดิษฐานอยู่วัดร้างโรงเรียนแม่ขานในปัจจุบัน เมื่อเสร็จแล้วจึงได้ตั้งชื่อใหม่ว่า “หลวงพ่อโต” แล้วอัญเชิญมาประดิษฐานในหอประชุมโรงเรียนแม่ขานจนถึงปัจจุบัน
     
  20. jaguarnusing

    jaguarnusing เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 มกราคม 2011
    โพสต์:
    4,901
    ค่าพลัง:
    +15,583
    สวัสดียามเช้าจร้าาาาาาา
     

แชร์หน้านี้

Loading...