ถามเกียวกับสติปัฏฐาน4ครับ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย tokyoo2, 2 พฤศจิกายน 2012.

  1. tokyoo2

    tokyoo2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กันยายน 2012
    โพสต์:
    561
    ค่าพลัง:
    +419
    การเจริญภาวนา สติปัฏฐาน4 ทางอันเอก เราควรดูอย่างไรกันเเน่ครับ ที่เรียกว่าการพิจรณา กาย เวทนา จิต ธรรม
    ไหนก็มาเเนะนำทีนะครับ
     
  2. อินทรบุตร

    อินทรบุตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    2,511
    ค่าพลัง:
    +7,320
    เคยมีประสบการณ์ฝึกมาอย่างไรบ้าง ปัจจุบันอยู่ที่สภาวะระดับใด บอกกล่าวกันก่อน จะได้เกื้อหนุนกันได้ถูกจุด

    สำหรับสติปัฎฐาน 4 นั้น เมื่อเวลาอินทรีต่างๆ เริ่มแข็งแรงขึ้นเรื่อยๆ กำลังสูงขึ้นเรื่อยๆ นั้น การปฏิบัติจะไม่จำเป็นต้องอยู่ในกรอบเดียวตลอด อาจจะกระโดดไปกระโดดมา ใน 4 ฐานได้หมดเลย ตามแต่ว่าจิตเราไปยึดอยู่กับสิ่งไหน เราก็มีหน้าที่ระลึกรู้ตาม ตามความเป็นจริง อย่างไม่ต้องบังคับมันก็พอ ไม่ต้องไปใส่ใจในบัญญัติว่า เป็นฐานไหน กาย เวทนา จิต หรือ ธรรม แต่ให้รู้ในปรมัตถ์ของสิ่งที่ถูกรู้ก็พอ
     
  3. firstini

    firstini เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    1,213
    ค่าพลัง:
    +3,770
    คำถามสั้นๆแต่ต้องตอบยาวมาก
    เพราะถ้าจะเอาให้ครบ ก็ต้องอธิบายตามพระสูตรไปเรื่อยๆในแต่ละบรรพ

    เลยต้องขออนุญาตอธิบายเพียงบรรพเดียว
    โดยตามหลักการแล้ว ถ้าเข้าใจเพียงบรรพเดียว บรรพอื่นๆก็มีการพิจารณาเหมือนกัน

    พระสูตรอ่านได้ที่
    http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=10&A=6257&Z=6764

    โดยเบื้องต้นแล้วพึงศึกษาอานาปานบรรพ หรือตามรู้ลมหายใจ
    รู้ว่ามันเข้า รู้ว่ามันออก รู้ว่ามันยาว รู้ว่ามันสั้น
    ตามรู้ด้วยสติ
    จนจิตจับเป็นสมาธิ
    คือทุกๆบรรพจะมีจุดให้มีสติและสมาธิเข้าไปจับเข้าไปพิจารณา
    บรรพนี้คือพิจารณาลมหายใจ ซึ่งเป็นบรรพที่สำคัญมาก
    เพราะการเจริญกรรมฐานนั้น ศัตรูสำคัญก็คืออารมณ์ฟุ้งซ่าน
    ซึ่งเป็นหนึ่งในนิวรณ์ห้า เป็นกิเลสขัดขวางปัญญา
    การเจริญอานาปานสติ จะสามารถระงับอารมณ์ฟุ้งซ่านได้ดีมาก
    เมื่อมีสติและสมาธิดีแล้ว
    พระพุทธเจ้าแนะนำให้พิจารณากายทั้งตัวเราและบุคคลอื่น
    ให้เห็นถึงความเสื่อม ความไม่เที่ยง
    ให้พิจารณาว่ามีกายเป็นเพียงเครื่องระลึกเท่านั้น
    ไม่พึงยึดมั่นถือมั่น ในกายของเราและบุคคลอื่น
    และไม่ยึดมั่นถือมั่นในสิ่งใดๆทั้งโลก

    บรรพอื่นๆ ในกายานุสสติปัฏฐานก็มีสภาวะคล้ายๆกัน
    ส่วนเวทนา จิต และธรรม ก็คล้ายๆกัน แต่ความละเอียดจะมากกว่า
    ตรงนี้ต้องมีสติและสมาธิที่ฝึกมาดีแล้ว มาช่วยในการพิจารณา

    โดยเบื้องต้นจึงแนะนำว่าควรเจริญอานาปานสติรู้ตลอดลมหายใจเข้าออกตลอดเวลาที่จะพึงทำได้
    ดังที่พระพุทธเจ้าเคยตรัสไว้ว่า อานาปานสติสมบูรณ์จะทำให้มหาสติปัฏฐานสมบูรณ์
     
  4. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,941
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    <CENTER><CENTER>พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒
    ทีฆนิกาย มหาวรรค</CENTER><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="90%" background="" align=center><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD><TR><TD bgColor=darkblue width="100%" vspace="0" hspace="0">[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>



    <CENTER></CENTER><CENTER>๙. มหาสติปัฏฐานสูตร </CENTER><CENTER></CENTER>




    </PRE>



    </CENTER><CENTER></CENTER><CENTER>จบนวสีวถิกาบรรพ



    </CENTER><CENTER>จบกายานุปัสสนา



    </CENTER><CENTER class=l>-----------------------------------------------------
    </CENTER>[๒๘๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่อย่างไร
    เล่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เสวยสุขเวทนาอยู่ ก็รู้ชัดว่า เราเสวยสุขเวทนา หรือ
    เสวยทุกขเวทนา ก็รู้ชัดว่า เราเสวยทุกขเวทนา หรือ เสวยอทุกขมสุขเวทนา
    ก็รู้ชัดว่า เราเสวยอทุกขมสุขเวทนา หรือ เสวยสุขเวทนามีอามิส ก็รู้ชัดว่า เรา
    เสวยสุขเวทนามีอามิส หรือ เสวยสุขเวทนาไม่มีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยสุข
    เวทนาไม่มีอามิส หรือเสวยทุกขเวทนามีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยทุกขเวทนามี
    อามิส หรือ เสวยทุกขเวทนาไม่มีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยทุกขเวทนาไม่มีอามิส
    หรือ เสวยอทุกขมสุขเวทนามีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยอทุกขมสุขเวทนามีอามิส
    หรือ เสวยอทุกขมสุขเวทนาไม่มีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยอทุกขมสุขเวทนาไม่มี
    อามิส ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาภายในบ้าง
    พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งภายใน
    ทั้งภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในเวทนาบ้าง พิจารณาเห็น
    ธรรมคือความเสื่อมในเวทนาบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความ
    เสื่อมในเวทนาบ้าง อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า เวทนามีอยู่ ก็เพียง
    สักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยอยู่
    แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่า
    พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ฯ




    <CENTER>จบเวทนานุปัสสนา



    </CENTER><CENTER class=l>-----------------------------------------------------
    </CENTER>

    <CENTER>พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒
    ทีฆนิกาย มหาวรรค
    </CENTER><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="90%" background="" align=center><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD><TR><TD bgColor=darkblue width="100%" hspace="0" vspace="0">[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>


    <CENTER></CENTER><CENTER>๙. มหาสติปัฏฐานสูตร (๒๒)</CENTER>

    ........................................................................

    [๓๐๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ผู้ใดผู้หนึ่ง พึงเจริญสติปัฏฐานทั้ง ๔ นี้
    อย่างนี้ ตลอด ๗ ปี เขาพึงหวังผล ๒ ประการอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ
    พระอรหัตผลในปัจจุบัน ๑ หรือเมื่อยังมีอุปาทิเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี ๑ ๗ ปี
    ยกไว้ ผู้ใดผู้หนึ่งพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้ อย่างนี้ตลอด ๖ ปี ... ๕ ปี ... ๔ ปี ... ๓ ปี ...
    ๒ ปี ... ๑ ปี เขาพึงหวังผล ๒ ประการอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ พระอรหัตผลใน
    ปัจจุบัน ๑ หรือเมื่อยังมีอุปาทิเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี ๑ ๑ ปียกไว้ ผู้ใดผู้
    หนึ่ง พึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้ อย่างนี้ตลอด ๗ เดือน เขาพึงหวังผล ๒ ประการ
    อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ พระอรหัตผลในปัจจุบัน ๑ หรือเมื่อยังมีอุปาทิเหลืออยู่
    เป็นพระอนาคามี ๑ ๗ เดือนยกไว้ ผู้ใดผู้หนึ่งเจริญสติปัฏฐานทั้ง ๔ นี้ อย่างนี้
    ตลอด ๖ เดือน ... ๕ เดือน ... ๔ เดือน ... ๓ เดือน ... ๒ เดือน ... ๑ เดือน ... กึ่ง
    เดือน เขาพึงหวังผล ๒ ประการอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ พระอรหัตผลในปัจจุบัน
    ๑ หรือเมื่อยังมีอุปาทิเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี ๑ กึ่งเดือนยกไว้ ผู้ใดผู้หนึ่ง
    พึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้ อย่างนี้ตลอด ๗ วัน เขาพึงหวังผล ๒ ประการอย่างใด
    อย่างหนึ่ง คือ พระอรหัตผลในปัจจุบัน ๑ หรือเมื่อยังมีอุปาทิเหลืออยู่ เป็น
    พระอนาคามี ๑ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย หนทางนี้เป็นที่ไปอันเอก เพื่อความบริสุทธิ์ของเหล่า
    สัตว์ เพื่อล่วงความโศกและปริเทวะ เพื่อความดับสูญแห่งทุกข์โทมนัส เพื่อ
    บรรลุธรรมที่ถูกต้อง เพื่อทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน หนทางนี้ คือ สติปัฏฐาน ๔
    ประการ ฉะนี้แล คำที่เรากล่าว ดังพรรณนามาฉะนี้ เราอาศัยเอกายนมรรคกล่าว
    แล้ว พระผู้มีพระภาคตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้น ยินดี ชื่นชมภาษิต
    ของพระผู้มีพระภาคแล้ว ฉะนี้แล ฯ

    <CENTER>จบมหาสติปัฏฐานสูตร ที่ ๙
    </CENTER>
     
  5. Enjjoy

    Enjjoy เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    72
    ค่าพลัง:
    +184
    <font color="#FF0000">พระพุทธเจ้าใช้ <font size="3" style="font-size: 19px;">อานาปานสติ </font>สอน สติปัฏฐาน ๔</font></div><div style="font-size: 19px;"><div><b style="font-size: medium;"><font color="#8B0000" size="3">อานาปานสติเป็นได้ทั้ง กาย เวทนา จิต ธรรม แล้วแต่ว่าแต่ละคนจะมองมุมไหน </font></b></div></div><div><br></div><font color="DarkRed"><b>กายานุปัสสนา</b></font><br><font color="DarkGreen">ภิกษุ ท.! เราย่อมกล่าวลมหายใจเข้าและลมหายใจออก ว่าเป็น<font size="5"><b>กาย</b></font>อันหนึ่ง ๆ ใน<b><font size="5">กาย</font></b>ทั้งหลาย</font><font color="#FF0000">....</font><br><br><b><font color="DarkRed">เวทนานุปัสสนา</font><br></b><font color="DarkGreen">ภิกษุ ท.! เราย่อมกล่าว<font size="4"><b>การทำในใจ</b></font>เป็นอย่างดีต่อลมหายใจเข้า และลมหายใจออกทั้งหลาย ว่าเป็น<b><font size="5">เวทนา</font></b>อันหนึ่ง ๆ ใน<b><font size="5">เวทนา</font></b>ทั้งหลาย</font><span style="color: rgb(255, 0, 0);">....</span><font color="DarkGreen"><br></font><b><br><font color="DarkRed">จิตตานุปัสสนา</font></b><br><font color="DarkGreen">ภิกษุ ท.! เราไม่กล่าวอานาปานสติ ว่าเป็นสิ่งที่มีได้แก่บุคคลผู้มี สติอันลืมหลงแล้ว ไม่มีสัมปชัญ ญ ะ. ภิกษุ ท.! เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ ภิกษุนั้นย่อมชื่อว่าเป็นผู้ตามเห็น<b><font size="5">จิต</font></b>อยู่เป็นประจำ</font><span style="color: rgb(255, 0, 0);">....</span><font color="DarkGreen"><br></font><br><font color="DarkRed"><b>ธัมมานุปัสนา</b></font><br><font color="DarkGreen">ภิกษุ ท.! ภิกษุนั้น เป็นผู้เข้าไปเพ่งเฉพาะเป็นอย่างดีแล้ว เพราะ เธอเห็นการละอภิชฌาและโทมนัสทั้งหลายของเธอนั้นด้วยปัญญา. ภิกษุ ท.! เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ ภิกษุนั้นย่อมชื่อว่าเป็นผู้ตามเห็น<b><font size="5">ธรรม</font></b>ใน<b><font size="5">ธรรม</font></b>ทั้งหลาย อยู่เป็นประจำ</font><span style="color: rgb(255, 0, 0);">....</span></div><div><font color="#006400"><br></font></div><div><b><font color="#FF0000"></font></b>

    <div><font color="DarkRed"><b>กายานุปัสสนา</b></font><br><font color="#006400">รู้ลมหายใจเข้า-ออก<br></font><br><b><font color="DarkRed">เวทนานุปัสสนา</font><br></b><font color="DarkGreen">ทำในใจกับลมหายใจเข้า-ออก<br></font><b><br><font color="DarkRed">จิตตานุปัสสนา</font></b><br><font color="DarkGreen">รู้ว่าจิตของเราเป็นผู้รู้ลม<br></font><br><font color="DarkRed"><b>ธัมมานุปัสนา</b></font></div><div><font color="#006400">รู้ว่าจิตที่รู้ลมหายใจนั้นไม่เที่ยง รู้อยู่ก็ไปคิดพอใจบ้าง ไม่พอใจบ้าง คิดอดีตบ้าง อนาคตบ้าง</font></div></div>
    </div>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 พฤศจิกายน 2012
  6. wisarn

    wisarn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    741
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +2,505
    สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า กายมีอยู่ ก็เพียง สักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัย อยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก

    สติของเธอตั้งมั่นอยู่ว่า เวทนามีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหา และทิฏฐิไม่อาศัยอยู่แล้วและไม่ถือมั่นอะไรๆในโลก

    สติของเธอตั้งมั่นอยู่ว่า จิตมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก

    สติของเธอตั้งมั่นอยู่ว่า ธรรมมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก.
     

แชร์หน้านี้

Loading...