จำเป็นไหมที่ต้องเข้าฌานก่อนแล้วค่อยพิจารณาขันธ์ห้า

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย คุณตุ๊ก, 29 ตุลาคม 2012.

  1. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,941
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    <CENTER><CENTER>พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒
    ทีฆนิกาย มหาวรรค</CENTER><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="90%" background="" align=center><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD><TR><TD bgColor=darkblue width="100%" vspace="0" hspace="0">[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>



    <CENTER></CENTER><CENTER>๙. มหาสติปัฏฐานสูตร </CENTER><CENTER></CENTER>




    </PRE>



    </CENTER><CENTER></CENTER><CENTER>จบนวสีวถิกาบรรพ



    </CENTER><CENTER>จบกายานุปัสสนา



    </CENTER><CENTER class=l>-----------------------------------------------------
    </CENTER>[๒๘๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่อย่างไร
    เล่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เสวยสุขเวทนาอยู่ ก็รู้ชัดว่า เราเสวยสุขเวทนา หรือ
    เสวยทุกขเวทนา ก็รู้ชัดว่า เราเสวยทุกขเวทนา หรือ เสวยอทุกขมสุขเวทนา
    ก็รู้ชัดว่า เราเสวยอทุกขมสุขเวทนา หรือ เสวยสุขเวทนามีอามิส ก็รู้ชัดว่า เรา
    เสวยสุขเวทนามีอามิส หรือ เสวยสุขเวทนาไม่มีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยสุข
    เวทนาไม่มีอามิส หรือเสวยทุกขเวทนามีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยทุกขเวทนามี
    อามิส หรือ เสวยทุกขเวทนาไม่มีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยทุกขเวทนาไม่มีอามิส
    หรือ เสวยอทุกขมสุขเวทนามีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยอทุกขมสุขเวทนามีอามิส
    หรือ เสวยอทุกขมสุขเวทนาไม่มีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยอทุกขมสุขเวทนาไม่มี
    อามิส ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาภายในบ้าง
    พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งภายใน
    ทั้งภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในเวทนาบ้าง พิจารณาเห็น
    ธรรมคือความเสื่อมในเวทนาบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความ
    เสื่อมในเวทนาบ้าง อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า เวทนามีอยู่ ก็เพียง
    สักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยอยู่
    แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่า
    พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ฯ




    <CENTER>จบเวทนานุปัสสนา



    </CENTER><CENTER class=l>-----------------------------------------------------
    </CENTER>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 ตุลาคม 2012
  2. ยอดคะน้า

    ยอดคะน้า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 มกราคม 2010
    โพสต์:
    947
    ค่าพลัง:
    +710

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่อย่างไร



    หากมีคำถามว่า

    พระสูตรนี้ พระพุทธเจ้า สอนวิธีทำ หรือ อธิบายผล
     
  3. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,941
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819

    <CENTER>พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒
    ทีฆนิกาย มหาวรรค
    </CENTER><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="90%" background="" align=center><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD><TR><TD bgColor=darkblue width="100%" hspace="0" vspace="0">[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>

    <CENTER></CENTER><CENTER>๙. มหาสติปัฏฐานสูตร (๒๒)</CENTER> [๒๗๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้- สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ในกุรุชนบท มีนิคมของชาวกุรุ ชื่อว่ากัมมาสทัมมะ ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคว่า พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธภาษิตนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย หนทางนี้เป็นที่ไปอันเอก เพื่อความบริสุทธิ์ของเหล่าสัตว์ เพื่อล่วงความโศกและปริเทวะ เพื่อความดับสูญแห่งทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุธรรมที่ถูกต้อง เพื่อทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพานหนทางนี้ คือ สติปัฏฐาน ๔ ประการ ๔ ประการ เป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลายภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะมีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ๑ พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ๑พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ๑ พิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะมีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ๑ ฯ<CENTER>จบอุทเทสวารกถา</CENTER><CENTER> </CENTER><CENTER> </CENTER><CENTER> </CENTER><CENTER> </CENTER><CENTER> </CENTER></PRE>
     
  4. ยอดคะน้า

    ยอดคะน้า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 มกราคม 2010
    โพสต์:
    947
    ค่าพลัง:
    +710
    แสดงว่า
    มหาสติปัฏฐาน ๔
    หากจะกล่าวว่า
    เป็นวิธีทำเพื่อไปถึงผล นิพพาน ถูกต้องมั๊ย
     
  5. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,941
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    ถ้ายังไม่เข้าใจ อ่าน พระไตรปิฏก บทนี้ต่อนะครับ





    <CENTER>พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒
    ทีฆนิกาย มหาวรรค
    </CENTER><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="90%" background="" align=center><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD><TR><TD bgColor=darkblue width="100%" hspace="0" vspace="0">[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>


    <CENTER></CENTER><CENTER>๙. มหาสติปัฏฐานสูตร (๒๒)</CENTER>

    ........................................................................

    [๓๐๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ผู้ใดผู้หนึ่ง พึงเจริญสติปัฏฐานทั้ง ๔ นี้
    อย่างนี้ ตลอด ๗ ปี เขาพึงหวังผล ๒ ประการอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ
    พระอรหัตผลในปัจจุบัน ๑ หรือเมื่อยังมีอุปาทิเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี ๑ ๗ ปี
    ยกไว้ ผู้ใดผู้หนึ่งพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้ อย่างนี้ตลอด ๖ ปี ... ๕ ปี ... ๔ ปี ... ๓ ปี ...
    ๒ ปี ... ๑ ปี เขาพึงหวังผล ๒ ประการอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ พระอรหัตผลใน
    ปัจจุบัน ๑ หรือเมื่อยังมีอุปาทิเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี ๑ ๑ ปียกไว้ ผู้ใดผู้
    หนึ่ง พึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้ อย่างนี้ตลอด ๗ เดือน เขาพึงหวังผล ๒ ประการ
    อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ พระอรหัตผลในปัจจุบัน ๑ หรือเมื่อยังมีอุปาทิเหลืออยู่
    เป็นพระอนาคามี ๑ ๗ เดือนยกไว้ ผู้ใดผู้หนึ่งเจริญสติปัฏฐานทั้ง ๔ นี้ อย่างนี้
    ตลอด ๖ เดือน ... ๕ เดือน ... ๔ เดือน ... ๓ เดือน ... ๒ เดือน ... ๑ เดือน ... กึ่ง
    เดือน เขาพึงหวังผล ๒ ประการอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ พระอรหัตผลในปัจจุบัน
    ๑ หรือเมื่อยังมีอุปาทิเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี ๑ กึ่งเดือนยกไว้ ผู้ใดผู้หนึ่ง
    พึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้ อย่างนี้ตลอด ๗ วัน เขาพึงหวังผล ๒ ประการอย่างใด
    อย่างหนึ่ง คือ พระอรหัตผลในปัจจุบัน ๑ หรือเมื่อยังมีอุปาทิเหลืออยู่ เป็น
    พระอนาคามี ๑ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย หนทางนี้เป็นที่ไปอันเอก เพื่อความบริสุทธิ์ของเหล่า
    สัตว์ เพื่อล่วงความโศกและปริเทวะ เพื่อความดับสูญแห่งทุกข์โทมนัส เพื่อ
    บรรลุธรรมที่ถูกต้อง เพื่อทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน หนทางนี้ คือ สติปัฏฐาน ๔
    ประการ ฉะนี้แล คำที่เรากล่าว ดังพรรณนามาฉะนี้ เราอาศัยเอกายนมรรคกล่าว
    แล้ว พระผู้มีพระภาคตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้น ยินดี ชื่นชมภาษิต
    ของพระผู้มีพระภาคแล้ว ฉะนี้แล ฯ

    <CENTER>จบมหาสติปัฏฐานสูตร ที่ ๙
    </CENTER>
     
  6. ยอดคะน้า

    ยอดคะน้า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 มกราคม 2010
    โพสต์:
    947
    ค่าพลัง:
    +710
    ถามเพียงแค่ ว่า มหาสติปัฏฐาน๔
    เป็น วิธีทำ ใช่ไหมล่ะ
     
  7. คุณตุ๊ก

    คุณตุ๊ก เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    127
    ค่าพลัง:
    +131
    ขอบพระคุณทุกท่านที่แนะนำครับ

    และขอบคุณ แอดมิน ที่แก้ไขกระทู้ให้ครับ

    ด้วยความเคารพอย่างสูง
     
  8. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,941
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    บางคนก็รู้สึกว่าตัวแข็ง แข็งเหมือนกับกลายเป็นหิน บางคนก็รู้สึกเหมือนว่าชา เหมือนกับกลายเป็นหินไปทั้งตัวแล้ว บางคนก็รู้สึกว่าเหมือนกับโดนมัดติดกับเสาจนแน่น ตั้งแต่หัวถึงเท้ากระดิกไม่ได้เลย อาการแรกเริ่มก็อาจจะเริ่มจากจุดใดจุดหนึ่ง อย่างเช่นปลายจมูกหรือปาก บางคนนั่งๆ อยู่เหมือนกับเม้มปากแน่นขึ้นเรื่อยๆ แต่ความจริงไม่ใช่ นั่นเป็นอาการที่สมาธิเริ่มทรงตัวมากขึ้น


    บางคนก็รู้สึกเหมือนว่าชา
     
  9. Allymcbe222

    Allymcbe222 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    547
    ค่าพลัง:
    +1,445
    จำเป็นครับ ถ้าอยากบรรุมรรคผลจริง
     
  10. นภัสดล

    นภัสดล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    236
    ค่าพลัง:
    +433
    คำสอน สมเด็จองค์ปฐม

    ธรรมของตถาคต ไม่มีอะไรขัดแย้งกัน ผู้ที่ยังปฏิบัติไม่ถึงจึงต้องมีการขัดแย้งกันเป็นธรรมดา เพราะรู้ - เห็นไม่เหมือนกัน ตามบารมีธรรมของแต่ละคน ให้จับหลักข้อนี้ไว้ ก็จะเข้าถึงตัวธรรมดาได้ไม่ยาก

    ธรรมที่นำไปสู่ความหลุดพ้น เล่ม ๗
    รวบรวมโดย พล.ต.ท. นพ. สมศักดิ์ สืบสงวน
     
  11. นภัสดล

    นภัสดล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    236
    ค่าพลัง:
    +433
    ถ้าต้องการพระนิพพานต้องวางขันธ์ ๕
    ธรรมโอวาทหลวงพ่อฤๅษี วัดท่าซุง

    ให้พิจารณาว่า ขันธ์ ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เราไม่มีในขันธ์ ๕ ขันธ์ ๕ ไม่มีในเรา โดยให้พิจารณาเป็นปกติ เมื่อเห็นว่าขันธ์ ๕ ป่วย ก็รักษา
    เพื่อให้ทรงอยู่ แต่เมื่อมันจะพังก็ไม่ตกใจ หรือมันเริ่มป่วยไข้ ก็คิดว่าธรรมดามันต้องเป็นอย่างนี้ เราจะรักษาเพื่อให้ทรงอยู่ ถ้าทรงอยู่ได้ ก็จะอาศัยเพื่องานกุศลต่อไป ถ้าเอาไว้ไม่ได้มันจะผุพัง ก็ไม่มีอะไรหนักใจ ความทุกข์จะเกิดแก่ตัวเองหรือใครอะไรก็ตาม ไม่ผูกจิตติดใจอย่างนี้ จนกระทั่งบรรลุอรหัตผล

    ถ้าเราต้องการนิพพาน เราก็วางขันธ์ ๕ คือร่างกาย เห็นว่าร่างกายนี้มันไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เราไม่มีในร่างกาย ร่างกายไม่มีในเรา จนกระทั่งเราไม่ยึดถือในร่างกาย และทรัพย์สมบัติภายนอกว่ามันเป็นเรา เป็นของเรา ทุกสิ่งทุกอย่างถือว่าเป็นกฎธรรมดา โลกทั้งโลกเราเห็นว่าเป็นความทุกข์ เราไม่ปรารถนาความเกิดอีก มีใจชุ่มชื่น มีอารมณ์เบิกบาน มีจิตจับเฉพาะพระนิพพานเป็นอารมณ์ อย่างนี้เราก็ถึงพระนิพพาน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 31 ตุลาคม 2012
  12. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,941
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819

    เเค่ทำจิตใจให้นึกถึงพระพุทธเจ้าเเล้วขอไปพระนิพพานโดยไม่ปฏิบัติเลย เเค่คิดอย่างเดียวนั้นไปไม่ได้ เพราะการคิดอยากของจิตนั้นเป็นกิเลส

    ไม่ปฏิบัติเลย เเค่คิดอย่างเดียวนั้นไปไม่ได้

    ไม่ปฏิบัติเลย เเค่คิดอย่างเดียวนั้นไปไม่ได้

    ไม่ปฏิบัติเลย เเค่คิดอย่างเดียวนั้นไปไม่ได้


    การจะไปถึงพระนิพพานได้นั้นเราต้องปฏิบัติเอง
     
  13. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,941
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    หลวงพ่อตอบปัญหา​


    [​IMG]


    ปัญหาพระนิพพานและอานิสงส์ต่าง ๆ

    "จะไปนิพพานก็ต้องได้ “สังขารุเปกขาญาณ” เป็นวิปัสสนาญาณตัวสุดท้าย เอาอย่างนี้ก็แล้วกัน จะไปนิพพานต้องเป็นพระอรหันต์ ถ้าไม่เป็นพระอรหันต์ไปนิพพานไม่ได้ พระอรหันต์เขาเป็นตอนไหน ตอนที่ตัดสักกายทิฎฐิ ได้เด็ดขาด..."




    ********************************************************************************


    จะไปนิพพานต้องเป็นพระอรหันต์ ถ้าไม่เป็นพระอรหันต์ไปนิพพานไม่ได้





    .

    http://www.larnbuddhism.com/grammathan/toppanha3.html

    .
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 31 ตุลาคม 2012
  14. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    เอาพระวจนะเรื่อง ปฎิปทาเพื่อความสิ้นอาสวะ สี่แบบ...พระวจนะ"ภิกษุทั้งหลายปฎิปทาสี่ประการเหล่านี้มีอยู่ คือปฎิบัติลำบากรู้ได้ช้า1 ปฎิบัติลำบากรู้ได้เร็ว1ปฎิบัติสบายรู้ได้ช้า1ปฎิบัติสบายรู้ได้เร็ว1.................1แบบปฎิบัติลำบากประสพผลช้า...ภิกษุทั้งหลายภิกษุในกรณีนี้ ภิกษุเป็นผู้มีปรกติตามเห็นความไม่งามในกาย มีสัญญาว่าปฎิกูลในอาหาร มีสัญญาในโลกทั้งปวงโดยความเป็นของไม่น่ายินดี เป็นผู้มีปรกติตามเห็นความไม่เที่ยงในสังขารทั้งปวง มรณะสัญญาก็เป็นสิ่งที่เขาตั้งไว้ดีแล้วในภายใน ภิกษุนั้นเข้าไปอาศัยธรรมเป็นกำลังของพระเสขะ5ประการเหล่านี้อยู่ คือ สัทธาพละ หิริพละ โอตตัปปะพละ วิริยะพละ ปัญญาพละ แต่อินทรีย์5ประการเหล่านี้ของเธอนั้นปรากฎว่าอ่อน คือ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ เพราะเหตุที่อินทรีย์ทั้งห้าเหล่านี้ยังอ่อน ภิกษุนั้นจึงบรรลุอนันตริยกิจ เพื่อ ความสิ้นอาสวะได้ช้าภิกษุทั้งหลายนี้เรียกว่าปฎิบัติลำบาก รู้ได้ช้า...........
     
  15. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    แบบปฎิบัติลำบากประสพผลเร็ว..พระวจนะ"ภิกษุทั้งหลาย ในกรณีนี้ ภิกษุเป็นผู้ตามเห้นความไม่งามในกาย มีสัญญาว่าปฎิกูลในอาหาร มีสัญญาในโลกทั้งปวงโดยความเป็นของไม่น่ายินดี เป็นผู้มีปรกติตามเห็นความไม่เที่ยงของสังขารทั้งปวง มรณะสัญญาเป็นสิ่งที่เขาตั้งไว้ดีแล้วในภายใน ภิกษุนั้นเข้าไปอาสัยธรรมเป็นกำลังของพระเสขะ5ประการเหล่านี้อยู่คือ สัทธาพละ หิริพละ โอตตัปปะพละ วิริยะพละ ปัญญาพละแต่อินทรีย์ห้าประการเหล่านี้ของเธอนั้นปรากฎว่ามีประมาณยิ่ง คือ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ เพราะเหตุที่อินทรีย์ทั้งห้าเหล่านี้ มีประมาณยิ่ง ภิกษุนั้นจึงบรรลุอนันตริยกิจ เพื่อความสิ้นอาสวะได้เร็ว ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าปฎิบัติลำบากรู้ได้เร็ว....................
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 31 ตุลาคม 2012
  16. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    พระวจนะ แบบปฎิบัติสบายประสพผลช้า...พระวจนะ"ภิกษุทั้งหลาย ในกรณีนี้ ภิกษุเพราะสงัดจากกาม และสงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย จึงบรรลุ ปฐมฌาน...ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน(มีรายละเอียดดังแสดงไว้)แล้วแลอยู่ ภิกษุนั้นเข้าไปอาศัยธรรมเป็นกำลังของพระเสขะ 5ประการเหล่านี้อยู่ คือ สัทธาพละ หิริพละ โอตตัปปะพละ วิริยะพละ ปัญญาพละแต่อินทรีย์5ประการเหล่านี้ของเธอนั้นปรากฎว่าอ่อน คือ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินนทรีย์ ปัญญินทรีย์ เพราะเหตุที่อินทรีย์ทั้งห้าเหล่านี้ยังอ่อน ภิกษุนั้นจึงบรรลุอนันตริยะกิจ เพื่อความสิ้นอาสวะได้ช้า ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าปฎิบัติสบาย รู้ได้ช้า............
     
  17. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,941
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    ภิกษุนั้นจึงบรรลุอนันตริยะกิจ เพื่อความสิ้นอาสวะ
     
  18. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    พระวจนะ แบบปฎิบัติสบาย ประสพผลเร็ว พระวจนะภิกษุทั้งหลายในกรณีนี้ ภิกษุ เพราะสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายจึงบรรลุ ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน แล้วแลอยู่ ภิกษุนั้นเข้าไปอาศัย ธรรมที่เป็นกำลังของพระเสขะ5ประการเหล่านี้อยู่ คือ สัทธาพละ หิริพละ โอตตัปปะพละ วิริยพละ ปัญญาพละ แต่อินทรีย์ห้าประการเหล่านี้ของเธอนั้นปรากฎว่ามีประมาณยิ่ง คือ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรียื ปัญญินทรีย์ เพราะเหตุที่อินทรีย์ทั้งห้าเหล่านี้มีประมาณยิ่ง ภิกษุนั้นจึงบรรลุอนันตริยะกิจ เพื่อความสิ้นอาสวะได้เร็ว ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ปฎิบัติสบาย รู้ได้เร็ว ภิกษุทั้งหลายเหล่านี้แล ปฎิปทา 4ประการ-----จตุกก.อํ.21/202/163.......(อริยสัจจากพระโอษฐ์ท่านพุทธทาส):cool:
     
  19. jamesnuke

    jamesnuke เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กันยายน 2012
    โพสต์:
    34
    ค่าพลัง:
    +224
    อนุโมทนาและเห็น
    ด้วยอย่างยิ่ง อาการที่จิตรู้เเจ้งชัดตามความเป็นจริงอันเป็นผลจากการเจริญวิปัสสนานั้น ถ้าพิจารณาจนญาณแก่รอบแล้ว มันก็จะละถอนกิเลสได้ตามภูมิ
    ธรรมนั้นๆ ฉนั้นการปฏิบัติตามแนวทางของหลวงพ่อพุธนั้น ถือว่า เป็นการเลือก
    สรร ปฏิบัติให้ต้องกับจริตของตน ผู้ปฏิบัติธรรมนั้น ต้องมองจริตของตน
    ให้เห็นชัดก่อน แล้วหากัมมัฏฐานมาแก้จริตของตน เช่น ผู้หนักในราคะจริต ต้องเจริญกายคตาสติหรืออสุภะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 31 ตุลาคม 2012
  20. นภัสดล

    นภัสดล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    236
    ค่าพลัง:
    +433
    พระอาจารย์ กล่าวว่า แต่ละคนมีความชอบในการปฏิบัติไม่เหมือนกัน พระพุทธเจ้า แยกแยะเป็นแนวใหญ่ๆ ไว้ ๔ แนว สุกขวิปัสสโก เป็นแนวที่ยากที่สุด ต้องอาศัยศรัทธาเป็นอย่างมาก ความเพียรเป็นอย่างมาก ความอดทนเป็นอย่างมาก เหมือนกับเป็นสายที่ปิดตาเดิน ไม่รู้ไม่เห็นอะไรเลย พากเพียรปฏิบัติไปอย่างเดียว จนเข้าถึงธรรมส่วนใดส่วนหนึ่ง ถึงจะสามารถพิสูจน์ได้ว่าตัวเองทำมาถูกและมั่นใจในคุณพระรัตนตรัย...
    สายที่ ๒ เป็น เตวิชโช มีความรู้ ๓ ประการ ...
    สายที่ ๓ ฉฬภิญโญ หรือเรียกง่ายๆ ว่า อภิญญา ๖ สายนี้ค่อนข้างที่จะโลดโผนหน่อย มีทิพโสต ทิพจักษุ และอาสวักขยญาณ...
    สายสุดท้ายที่พระพุทธเจ้าท่านแบ่งไว้ คือ ปฏิสัมภิทาญาณ หรือ ปฏิสัมภิทัปปัตโต นอกจากมีความสามารถครอบคลุม ๓ สายที่กล่าวไปข้างต้นแล้ว ยังมีความสามารถพิเศษอีก ๔ อย่าง คือ ...
    สนทนากับพระครูวิลาศกาญจนธรรม (พระอาจารย์เล็ก สุธมฺมปญฺโญ)
    เก็บตกจากบ้านวิริยบารมี ต้นเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๕๕
     

แชร์หน้านี้

Loading...