เกจิอาจารย์จังหวัดอุบลฯ และบูรพาจารย์สายสมเด็จลุน+สายกรรมฐาน

ในห้อง 'ประสบการณ์ เรื่องเล่า' ตั้งกระทู้โดย คนชอบพระ, 24 ตุลาคม 2012.

  1. อั๋นวัดสาม

    อั๋นวัดสาม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    4,259
    ค่าพลัง:
    +9,022
    ญาท่านบุญ วัดแสงน้อย จริงๆแล้วท่านอยู่ในสายนี้หรือป่าวครับ:cool:เพราะได้ยินมาเริ่มสับสนแล้ว
     
  2. คนชอบพระ

    คนชอบพระ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มกราคม 2011
    โพสต์:
    2,017
    ค่าพลัง:
    +924
    [​IMG]
    สำหรับภาพสมเด็จลุน ภาพนี้ ที่แพร่หลายอยู่ทั่วไป ทางเว็บ ubonpraยังถกกันอยู่ว่าเป็นรูปสมเด็จลุนจริงหรือเปล่า ใครมีข้อมูลจะร่วมแจมหรือถกกันได้ในเว็บubonpra นะครับ
    ตามรอยภาพหลวงปู่ใหญ่สำเร็จลุน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 ตุลาคม 2012
  3. คนชอบพระ

    คนชอบพระ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มกราคม 2011
    โพสต์:
    2,017
    ค่าพลัง:
    +924
    ใครรู้ช่วยตอบด่วนครับ เสี่ยตงรู้ไหม? ตอบท่านอั๋นหน่อยครับ
     
  4. อั๋นวัดสาม

    อั๋นวัดสาม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    4,259
    ค่าพลัง:
    +9,022
    รูปนี้ตามความเห็นส่วนตัวน่าจะเป็นพระทางฝังไทยนะครับ:cool:
     
  5. อั๋นวัดสาม

    อั๋นวัดสาม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    4,259
    ค่าพลัง:
    +9,022
    [​IMG]

    พัดยศ และพัดรองงานพระราชพิธีต่าง ๆ
    ที่พระธรรมดิลก (อิ่น จนฺนสิริ) เจ้าอาวาสวัดราชบุรณราชวรวิหาร



    เห็นได้ว่ามีพัดรองรูปช้างเหมือนกัน:cool:


     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • _1_~1.GIF
      _1_~1.GIF
      ขนาดไฟล์:
      386.2 KB
      เปิดดู:
      1,519
  6. คนชอบพระ

    คนชอบพระ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มกราคม 2011
    โพสต์:
    2,017
    ค่าพลัง:
    +924
    ครับ รูปถ่ายสมเด็จลุนที่แพร่หลายทั่วไป ยังมีคนแย้งอยู่ เพราะพัดยศที่ถ่ายคู่กันเป็นพัดยศทางฝั่งไทย ซึ่งพระสงฆ์ที่อยู่ในรูป ที่เข้าใจกันทั่วไปว่าเป็นรูปสมเด็จลุนนั้น มีคนแย้งว่าน่าจะเป็นพระสงฆ์ไทย(ซึ่งปัจจุบัน ยังไม่สามารถยืนยันชื่อได้)
     
  7. คนชอบพระ

    คนชอบพระ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มกราคม 2011
    โพสต์:
    2,017
    ค่าพลัง:
    +924
    ต้นเรื่องที่นำรูปสมเด็จลุนมาเผยแพร่ทางหนังสือ คือคุณภักดีภูริครับ ลงครั้งแรกในหนังสือเล่มนี้
    [​IMG]

    [​IMG]
    [​IMG]

    ซึ่งคุณภักดีภูริ บอกว่า ได้รูปมาจากหลวงปู่จันทร์หอม วัดบุ่งขี้เหล็ก อ.เขมราฐ
     
  8. คนชอบพระ

    คนชอบพระ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มกราคม 2011
    โพสต์:
    2,017
    ค่าพลัง:
    +924
    หลวงปู่สีทา วัดบูรพา จ.อุบลฯ อาจารย์ของหลวงปู่เสาร์ วัดเลียบ
    [​IMG]

    ขอบคุณรูปภาพ จากเว็บ - - < Phra Ajaan Mun Bhuridatta Mahathera > - <
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 ตุลาคม 2012
  9. บ่หัวซา

    บ่หัวซา Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ตุลาคม 2012
    โพสต์:
    32
    ค่าพลัง:
    +58
    รูปสมเด็จพุฒาจารย์เข้ม วัดโพธิ์ ท่าเตียน ครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_0036.JPG
      IMG_0036.JPG
      ขนาดไฟล์:
      141.6 KB
      เปิดดู:
      1,784
  10. คนชอบพระ

    คนชอบพระ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มกราคม 2011
    โพสต์:
    2,017
    ค่าพลัง:
    +924
    มาแล้วครับ กูรูสายอุบลฯ เชิญท่านบ่หัวซา ต่อเลยครับ
     
  11. บ่หัวซา

    บ่หัวซา Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ตุลาคม 2012
    โพสต์:
    32
    ค่าพลัง:
    +58
    ลองเปรียบเทียบรูปที่ว่าเป็นสำเร็จลุน กับรูป สมเด็จพุฒาจารย์เข้ม วัดโพธิ์ ท่าเตียน ดูครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • dsc03933.jpg
      dsc03933.jpg
      ขนาดไฟล์:
      62 KB
      เปิดดู:
      1,769
  12. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,785
    ค่าพลัง:
    +21,343
    ผมว่าที่วิเคราะห์มาถูกทาง เรื่องพัดยศใ้ช้เลยครับ ..............ตามอ่านเอาข้อมูลครับน่าจะมี

    ข้อมูลให้วิเคราะห์กันใหม่ มีท่านใดเคยไปขอเมตตาถามหลวงปู่สุภาไหมครับ ท่านอาวุโสสูง

    และน่าจะสืบสายมาทางนั้นบ้าง
     
  13. บ่หัวซา

    บ่หัวซา Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ตุลาคม 2012
    โพสต์:
    32
    ค่าพลัง:
    +58
    [FONT=Cordia New,Bold][FONT=Cordia New,Bold]ประวัติหลวงปู่สาเร็จลุน (ลุน) (ราว พ.ศ. ๒๓๗๙ [/FONT][/FONT][FONT=Cordia New,Bold][FONT=Cordia New,Bold][/FONT][/FONT][FONT=Cordia New,Bold][FONT=Cordia New,Bold]๒๔๖๓) รวบรวมโดย ม.อุบล[/FONT][/FONT]

    [FONT=Cordia New,Bold]
    [FONT=Cordia New,Bold]ชาติภูมิ[/FONT]
    [/FONT]​
    สาเร็จลุน นามเดิม ลุน เกิดวัน เดือน ปีใดไม่ปรากฏหลักฐานชัดเจน แต่ถ้าเทียบเคียงกับประวัติหลวงปู่โทนกนฺตสีโล พอเชื่อได้ว่าคงอยู่ราว พ.ศ. ๒๓๗๙ ที่บ้านจิก ปัจจุบันเป็นหมู่บ้านร้าง ภายหลังได้ก่อตั้งเป็นหมู่บ้านทรายมูล ตาบลขามป้อม อาเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี ต่อมาบิดา มารดาได้อพยพครอบครัวไปตั้งถิ่นฐานอยู่บ้านสะพือ ตาบลสะพือ อาเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี นามบิดา มารดาและมีพี่น้องกี่คนไม่ปรากฏหลักฐานในประวัติเช่นกัน (ปรีชา พิณทอง, ๒๕๓๘


    : ๒๙๑ ๒๙๒)

    [FONT=Cordia New,Bold][FONT=Cordia New,Bold]การศึกษา บรรพชาและอุปสมบท[/FONT][/FONT]
    สาเร็จลุน หรือบรรดาศิษยานุศิษย์ผู้เคารพศรัทธานิยมเรียกนามว่า “หลวงปู่สาเร็จลุน” หรือ หลวงปู่ลุน ไม่มีหลักฐานว่าได้รับการศึกษาเบื้องต้นระดับใดมาก่อน ส่วนการบรรพชาอุปสมบทจากการบอกเล่าของพระครูพิศาลสังฆกิจ (โทน กนฺตสีโล) หรือ “หลวงปู่โทน” แห่งวัดบูรพา บ้านสะพือ อาเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี ในคราวจัดงานอายุครบ ๙๑ ปี หลวงปู่โทน (๑๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๑) โดยสรุปว่า “หลวงปู่ลุน” อุปสมบทเป็นพระรุ่นราวคราวเดียวกันกับ “หลวงปู่สีดา” ซึ่งเป็นพระอุปัชฌาย์ของหลวงปู่โทน โดยมี “พระอาจารย์อุตมะ” แห่งวัดสิงหาญ บ้านสะพือ ตาบลสะพือ อาเภอตระการพืชผล ซึ่งมีศักดิ์เป็นอาของหลวงปู่ลุน ได้นาหลานชายชื่อลุนมาอุปสมบทและให้ศึกษาเล่าเรียนอักษรสมัย ทั้งอักษรขอมและอักษรธรรม พระธรรมวินัยการปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานควบคู่กันไป รวมทั้งหลวงปู่สีดาและลูกศิษย์อื่น ๆ ด้วย
    พระอาจารย์อุตมะ ถือว่าเป็นพระปรมาจารย์ใหญ่รุ่นแรกในสมัยนั้น เชื่อถือกันว่าเป็นผู้เรืองฤทธิ์ มีตารายาตาราเวทมนต์คาถาอาคมมีวัตรปฏิบัติที่น่าเคารพเลื่อมใสมาก ซึ่ง “หลวงปู่โทน” ก็ได้สืบทอดสรรพวิชาเหล่านี้มาส่วนหนึ่ง พระอาจารย์อุตมะสังเกตลูกศิษย์คนสาคัญทั้งสองว่ามีวัตรปฏิบัติแตกต่างกันโดยที่หลวงปู่สีดามีความขยันขันแข็ง ช่วยกิจการงานวัดทุกอย่างมิได้ขาด ส่วนหลวงปู่ลุน หลังจากฉันอาหารแล้ว ก็ไม่ช่วยกิจการงานวัดอะไร เอาแต่นั่งสมาธิภาวนาอย่างเดียว พระอาจารย์อุตมะจึงบอกว่า “ถ้าชอบภาวนาอย่างเดียว เจ้าก็ออกไปอยู่ป่าเสีย” จะด้วยไม่พอใจคาพูดของ “หลวงอา” หรือมีจุดประสงค์อะไรก็ไม่มีใครทราบ หลวงปู่ลุนก็เลยออกไปอยู่ป่า หายตัวไปโดยไม่มีใครทราบว่าไปอยู่วัดใด หรือสานักของใคร เป็นเวลากว่า ๒๐ ปี จึงได้หวนกลับมาที่วัดสิงหาญอีกครั้งหนึ่ง
    หลวงปู่ลุนกลับมาพร้อมชื่อเสียงหลายด้าน ทั้งการปฏิบัติธรรม คาถาอาคม เวทมนต์ ตารายาและอิทธิฤทธิ์เหาะเหินเดินอากาศได้ มีคนเคารพนับถือจานวนมากขึ้นจนเป็นที่เลื่องลือกันมากในขณะนั้น ปฏิปทาบางอย่างที่หลวงปู่โทนกล่าวถึงหลวงปู่ลุน ส่วนหนึ่งว่า


    [FONT=Cordia New,Italic][FONT=Cordia New,Italic]“มีฝรั่งมาทดสอบท่านโดยมาท้าบุญแล้วเอาสุราใส่กาน้้าถวายให้พระเณรฉัน พระเณรก็ฉันกันหมด ฝรั่งเห็นก็ว่า พระท้าไมดื่มสุรา ศาสนาพุทธพระท้าไมจึงดื่มสุรา ฝรั่งพูดหาเรื่อง หลวงปู่ลุนจึงกล่าวว่า นี่แหละความอยากของคน เขาเอาอะไรมาให้ ก็กิน ให้กินอะไรก็กิน ให้ฉันอะไรก็ฉัน ท้าให้เขามาดูถูกได้ แล้วหันไปพ[/FONT][/FONT][FONT=Angsana New,Italic][FONT=Angsana New,Italic]ููดกับฝรั่งว่าูเจ้าดูถูกศาสนาพุทธูเจ้าเป็นคนไม่ดีูฝรั่งก็เลยหนีไปลงเรือกาปั่นูติดเครื่องยนต์ูเครื่องติดปุด[/FONT][/FONT][FONT=Arial,Italic][FONT=Arial,Italic]...[/FONT][/FONT][FONT=Angsana New,Italic][FONT=Angsana New,Italic]ปุด[/FONT][/FONT][FONT=Arial,Italic][FONT=Arial,Italic]...[/FONT][/FONT][FONT=Angsana New,Italic][FONT=Angsana New,Italic]ปุดูแต่เรือไม่เดินไป[/FONT][/FONT]

    [FONT=Angsana New,Italic][FONT=Angsana New,Italic]ไหนเป็นเวลาู๓ูวันูฝรั่งเลยกลับมาหาหลวงปู่ลุนูพร้อมกับเอาน้ามันก๊าดมาถวายใหู้๒๐ูปี๊ปูและเทียนไขอีกู๒๐ูปี๊ปูและขอขมาโทษูหลวงปู่ลุนจึงพูดว่า [/FONT][/FONT]
    [FONT=Angsana New,Italic]

    [/FONT][FONT=Cordia New,Italic][FONT=Cordia New,Italic]มึงไม่รู้จักกูแล้วเอาเท้าแตะน้้า ๒ ครั้ง เรือก้าปั่นจึงออกเดินไปได้...”[/FONT][/FONT]

    เรื่องอาหารการกิน หลวงปู่ลุนก็ไม่ฉันอะไรมาก แต่ชอบฉันมะพร้าวขูดคลุกน้าตาล เขาถวายมาเท่าไรก็ฉันหมดและชอบทาอะไรแปลก ๆ เป็นคนดื้อแต่ถือดี ชอบลองของ (ขลัง) บางครั้งไม่ฉันข้าวเป็นเดือนก็อยู่ได้ นั่งอาบน้าถังเดียวตั้งแต่เช้ามืดจนถึงกลางคืน ๒ ทุ่มก็ยังไม่เสร็จ ขณะอาบน้าเอามือจุ่มน้าพร้อมสาธยายมนต์ไปด้วย ผู้ไม่เข้าใจคิดว่าเป็น “พระบ้า” ก็มี
    หลวงปู่โทนบอกว่ารไม่เคยไปร่วมปฏิบัติกับหลวงปู่ลุนเพราะเป็นพระผู้น้อยต้องยาเกรงพระผู้ใหญ่ ถ้าหลวงปู่ลุนสอนอะไรก็ตั้งใจฟังและปฏิบัติตามเสมอ จนเป็นที่รักใคร่ชอบพอของหลวงปู่ลุนมาก อาจเป็นสาเหตุสาคัญถึงกับมองไม้เท้า (ศักดิ์สิทธิ์) ให้ก่อนที่หลวงปู่ลุนจะมรณภาพ ซึ่งได้เก็บรักษาเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์สักการบูชาไว้ที่วัดบูรพา บ้านสะพือ ตลอดมา (หลวงปู่โทน กนฺตสีโล, ๒๕๓๑


    : ๗๗ ๘๑)

    [FONT=Cordia New,Bold][FONT=Cordia New,Bold]หน้าที่การงาน[/FONT][/FONT]
    ดร. ปรีชา พิณทอง ได้กล่าวถึงพระวิปัสสนาจารย์ที่สอนทางวิปัสสนากัมมัฏฐานเป็นพระเถระเมืองอุบลราชธานีในยุคแรกที่สาคัญมีหลายองค์ แต่ที่โดดเด่นมากองค์หนึ่งคือ “สาเร็จลุน” หรือหลวงปู่ลุน ซึ่งมีลูกศิษย์ที่สาคัญมากองค์หนึ่งคือพระครูพิศาลสังฆกิจ (โทน กนฺตสีโล) และเป็นศิษย์รุ่นสุดท้ายได้กล่าวถึงหลวงปู่ลุนว่า มีความในใจในการเจริญวิปัสสนากัมมัฏฐานฐานมาก ออกธุดงค์ไปตามป่าเขา เมื่ออายุพรรษาสมควรที่จะรับภารธุระการคณะสงฆ์ เช่น เป็นเจ้าอาวาสก็ไม่รับ สนใจปฏิบัติธรรมอย่างเดียว เป็นพระผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ มีศิษยานุศิษย์ ญาติโยมเคารพนับถือมากจนมีคาเล่าลือว่า หลวงปู่ลุน มีฤทธาศักดาเดชจนเหาะเหินเดินอากาศได้ ไปบิณฑบาตที่กรุงเทพฯ กลับมาฉันที่อุบลฯ ก็เคยมี บางครั้งมีคนเห็นท่านเดินข้ามแม่น้าโขง ฯลฯ
    ลูกศิษย์หลวงปู่ลุนอีกคนหนึ่งที่ ดร.ปรีชา พิณทอง ได้กล่าวถึงคือ นายบุญศรี แก้วเนตร ชาวบ้านดอนไร่ ตาบลเหล่าเสือโก้ก อาเภอเมืองอุบลราชธานี (ปัจจุบันอาเภอเหล่าเสือโก้ก) เมื่อครั้งบรรพชาเป็นสามเณร ได้ติดตามรับใช้หลวงปู่ลุนไปหลายแห่งนาน ๒


    ๓ ปี ภายหลังหันมาศึกษาพระปริยัติธรรมจนสอบได้เปรียญธรรม ๖ ประโยค และสอบวิชาชุดครูพิเศษมัธยม (พ.ม.) ได้แล้วลาสิกขาบทเข้ารับราชการหลายตาแหน่ง จนเกษียณอายุและได้เปลี่ยนชื่อเป็นธนิต นามสกุลตาแก้ว อายุ ๘๓ ปี (พ.ศ. ๒๕๓๑) อยู่บ้านเลขที่ ๔ / ๒๑๔ ถนนรักศักดิ์ชะมูล อาเภอเมืองจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี ได้บอกกับดร. ปรีชา พิณทอง ว่า หลวงปู่ลุนเป็นผู้มีอิทธิฤทธิ์ตามคาเล่าลือจริงทุกอย่าง แต่ที่ยึดถือมากที่สุดคือ “มนต์” หรือ “คาถา” สาหรับสวดภาวนาเป็นประจาจนทาให้ประสบผลสาเร็จในชีวิต โดยเฉพาะการศึกษาเล่าเรียนมนต์ที่หลวงปู่ลุนให้ไว้ ความว่า

    “พระพุทธังยอดแก้ว พระธัมมังยอดแก้ว
    พระสังฆังยอดแก้ว พระพุทธเจ้าเกิดมาแล้ว
    ปฏิเสวามิ ปุริโส โลละ
    อัคโคหมัสสมิ โลกัสสะ

    เสฏโฐหมัสสมิ โลกัสสะ
    เชฏโฐหมัสสมิ โลกัสสะ
    ชโยหมัสสมิ โลกัสสะ
    อนุตตะโรหมัสสมิ โลกัสสะ
    อะยันติมา ชาติ
    นัตถิทานิ ปุพภะโลติ
    อมนุษย์ทั้งหลายอย่าสู้พ่อ...”
    ดร.ปรีชา พิณทอง กล่าวว่า “มนต์” นี้บทที่เป็นภาษาบาลีคือ คาเปล่งวาจาของเจ้าชายสิทธัตถะขณะประสูติจากพระครรภ์พระมารดา ที่สวนลุมพินีวัน ระหว่างเมืองกบิลพัสดุ์และเมืองเทวทหะ ประเทศอินเดียโบราณ (ปรีชา พิณทอง, ๒๕๓๘


    : ๑๘๒ ๑๘๔)

    ผู้วิเศษสองฝั่งโขง
    หลงวงปู่ลุนได้จาริกธุดงควัตรปฏิบัติสมณธรรมแสวงหาความรู้ด้านต่าง ๆ ดังกล่าว ตามป่าเขา แนวฝั่งแม่น้าโขงทั้งสองด้านจากจังหวัดอุบลราชธานีตลอดถึงนครจาปาศักดิ์ ซึ่งเดิมอยู่ในเขตการปกครองของไทย จนเป็นที่เคารพเลื่อมใสศรัทธาของผู้คนสองฝั่งโขงแถบนี้เป็นอย่างมากจนบางครั้งลือว่า หลวงปู่ลุนเป็น “ผู้วิเศษ” มีฤทธาศักดาเดชเหาะเหินเดินอากาศได้ ทั้งนี้อาจเป็นเพราะท่านเป็น “ผู้รู้” หลายด้าน โดยเฉพาเป็นผู้รักสันโดษ มักน้อย ฉันมื้อเดียวตลอดไม่รับเงินรับทอง ไม่สะสมทรัพย์สมบัติ และปฏิบัติกัมมัฏฐานเป็นอาจิณ ที่สาคัญคือเป็นผู้มี “มนต์” หรือ “คาถา” ที่เชื่อว่ามีความศักดิ์สิทธิ์หลายด้าน รวมทั้งตารายาและเวทมนต์คาถาอื่น ๆ อีกมาก สิ่งเหล่านี้ถือว่าเป็น “ความเชื่อ” ของคนในยุคสมัยนั้นว่า สามารถช่วยขจัดปัดเป่าโรคภัย ไข้เจ็บ ตลอดจนเสริมสร้างขวัญกาลังใจให้หายจากความทุกข์ต่าง ๆ ได้
    กิติรัตน์ สีหบัณฑ์ อาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี กล่าวไว้ในบทความเรื่อง “การรวมคณะสงฆ์อีสานเข้ากับคณะสงฆ์ไทย พ.ศ. ๒๔๓๔


    ๒๔๕๐” เกี่ยวกับสาเร็จลุนหรือหลวงปู่ลุน ตอนหนึ่งว่า [FONT=Cordia New,Italic][FONT=Cordia New,Italic]“...ที่เมืองนครจ้าปาศักดิ์มีพระสงฆ์ท่านส้าคัญคือ ส้าเร็จลุนเป็นชาวบ้านเวินไซตาแสง เวินไซ เมืองโพนทอง จังหวัดนครจ้าปาศักดิ์ด้วยปฏิปทาของส้าเร็จลุน ที่เป็นผู้รักสันโดษ มักน้อย ไม่รับเงินรับทอง ไม่สะสมทรัพย์สมบัติ ฉันอาหารมื้อเดียว และมีปฏิบัติกัมมัฏฐานเป็นอาจิณ จึงเป็นที่เคารพนับถือของเจ้าเมือง กรมการ ตลอดจนชาวบ้านราษฎรทั่วเขตแขวงเมืองนครจ้าปาศักดิ์ หรืออีกนัยหนึ่งที่มีผู้คนเคารพนับถือมากเพราะเชื่อกันว่าส้าเร็จลุนเป็นผู้วิเศษ...” [/FONT][/FONT](กิติรัตน์ สีหบัณฑ์, ๒๕๓๘ : ๑๓๓)

    ในคราวที่พระครูวิจิตรธรรมภาณี (จันทร์ สิริจนฺโท) ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะใหญ่เมืองนครจาปาศักดิ์ ระหว่าง พ.ศ. ๒๔๓๔


    ๒๔๓๗ ได้กล่าวถึงปัญหาอุปสรรคในการปกครองคณะสงฆ์ ในเขตนครจาปาศักดิ์ และได้กล่าวพาดพิงถึงสาเร็จลุนในลักษณะการเข้าใจผิดในวัตรปฏิบัติส่วนตนและคณะสงฆ์ความว่า

    [FONT=Cordia New,Italic][FONT=Cordia New,Italic]“...การพระศาสนาในท้องที่แขวงเมืองนครจ้าปาศักดิ์ทุกวันนี้ดูหยาบคายมากควรจะนับ[/FONT][/FONT]
    [FONT=Cordia New,Italic][FONT=Cordia New,Italic]ว่าสิ้นได้แล้ว ด้วยให้แขวงหนึ่งบ้าน ด้วยจะหาพระทรงปาติโมกข์แต่รูปก็ไม่ได้ บวชแล้วก็ไปอยู่[/FONT][/FONT][FONT=Cordia New,Italic]
    [FONT=Cordia New,Italic]ตามไร่นา การศึกษเล่าเรียนไม่ธุระเป็นอย่างนี้โดยมาก ที่ปฏิบัติมีแต่น้อย มีหมายประกาศไป [/FONT][/FONT]

    [FONT=Cordia New,Italic][FONT=Cordia New,Italic]อ่านหนังสือไม่ออก...”[/FONT][/FONT]
    จากข้อความดังกล่าว กิติรัตน์ สีหบัณฑ์ ตั้งข้อสังเกตว่า ลักษณะของพระสงฆ์แถบเมืองนครจาปาศักดิ์ ขณะนั้นอาจจะนิยมออกไปอยู่ตามป่าเขา ไร่นา คล้ายคลึงกับพระธุดงค์ที่เน้นการศึกษา ฝ่ายวิปัสสนาธุระเป็นส่วนใหญ่ จึงไม่สนใจศึกษาด้านคันถธุระ อันเป็นอุปสรรคในการปกครองสงฆ์ของพระครูวิจิตรธรรมภาณี ที่เน้นการพัฒนาการศึกษาสงฆ์ด้านคันถธุระเป็นสาคัญ ถ้าเป็นจริงตามข้อสังเกตจะเห็นว่า “สาเร็จลุน” เป็นพระเถระผู้นาด้านวิปัสสนาธุระที่มีลูกศิษย์ผู้เคารพเลื่อมใสจานวนมาก (กิติรัตน์ สีหบัณฑ์, ๒๕๓๘


    : ๑๓๔)

    ปฏิปทาแห่งผู้รู้
    วันหนึ่งมีผู้รู้จากสานักต่าง ๆ มาทดสอบความเป็นผู้รู้หรือปราชญ์ของคนนครจาปาศักดิ์ วิธีการคือแก้ผูกหนังสือใบลานหลายคัมภีร์ แล้วคละรวมกันในห้องขนาดใหญ่ มีความหนาของใบลานที่กองรวมกันประมาณหนึ่งคืบ แล้วให้ผู้เข้าทดสอบจัดใบลานเหล่านั้นรวมเป็นคัมภีร์ (เป็นผูก) เหมือนเดิมโดยให้เวลาครึ่งวัน ปรากฏว่าไม่มีใครทาได้นอกจากสาเร็จลุนองค์เดียว เป็นที่เลื่องลือในความเป็นปราชญ์ ไหวพริบมาก จึงมีผู้มาศึกษาเรียนรู้กับท่านมากขึ้น
    พระมหาคาภา ชาวเมืองนครจาปาศักดิ์ได้เดินทางไปศึกษาเล่าเรียนวิชาพระพุทธศาสนาที่ประเทศศรีลังกาแล้วกลับมาบ้านเกิด เห็นว่าเมืองนครจาปาศักดิ์และเมืองอื่น ๆ มีพระพุทธรูปมากเกินไป จึงมีหนังสือถึงเจ้าเมืองนครจาปาศักดิ์ให้หลอมรวมเป็นพระพุทธรูปองค์เดียว แต่เจ้าเมือง คณะสงฆ์และชาวบ้านไม่เห็นด้วย แต่ไม่มีใครกล้าคัดค้าน อาจจะเพราะเห็นว่าพระมหาคาภาเป็นผู้มีความรู้ทางพระพุทธศาสนามาจากเมืองลังกา ที่ได้ชื่อว่าพระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองมากในยุคนั้น จึงคิดว่ามีพระสงฆ์เป็นที่เคารพศรัทธาของชาวบ้านและทางการมากองค์เดียวคือ สาเร็จลุนที่จะทัดทานพระมหาคาภาได้จึงไปนิมนต์ให้ช่วยเหลือ ครั้งแรกได้รับการปฏิเสธภายหลังทนการอ้อนวอนไม่ได้ท่านจึงรับปากช่วย แล้วจัดให้มีการถามปัญหาลักษณะ ปุจฉา


    วิสัชนา ๒ ธรรมาสน์ โดยให้นิมนต์ พระมหาคาภามาเป็นคู่ถกปัญหาซึ่งสาเร็จลุนจะเป็นผู้ถาม (ปุจฉา) พระมหาคาภาเป็นผู้ตอบ (วิสัชชนา) ซึ่งมีการซักถามกัน ดังนี้

    ถาม
    : ในภัทรกัปป์นี้มีพระพุทธเจ้าทั้งหมดกี่พระองค์

    ตอบ
    : มีทั้งหมด ๕ พระองค์

    ถาม
    : มีทั้งหมด ๖ พระองค์ไม่ใช่หรือ

    ตอบ
    : มี ๕ พระองค์แน่นอน กล่าวคือ กกุสันโธ โกนาคมโน กัสสโป โคตโม และศรีอริยเมตไตยโย

    ถาม
    : ขาดอีกองค์หนึ่งใช่หรือไม่

    ตอบ
    : หมดแค่นั้นไม่มีอีกแล้ว

    ถาม
    : อีกองค์หนึ่งคือ พระมหาคาภาใช่ไหม

    ตอบ
    : เอ้า ทาไมพูดเช่นนั้น ไม่ใช่ข้าน้อย (ผม) แน่

    ถาม
    : เจ้าเรียนมาจากไหน

    ตอบ : ประเทศลังกา
    ถาม : ที่ประเทศลังกา เขาสอนให้ทาลายแล้วหลอมรวมพระพุทธรูปอย่างนั้นหรือ ที่นี้ประเทศเราใครๆ ก็เคารพบูชาต่างก็กราบไหว ไม่กล้าแม้เข้าใกล้และแตะต้องถ้าไม่จาเป็นจะไม่ขนย้ายถึงจะปรักหักพังก็ไม่มีใครทุบทาลายทิ้ง มีแต่จะบูรณะซ่อมแซมไว้หรือไม่ก็ปล่อยไปตามธรรมชาติให้เสื่อมสลายไปเองถ้าจะทาจริง ๆ ขอให้ไปทาที่ประเทศลังกาเถิด

    พระมหาคาภาไม่มีคาตอบได้แต่นิ่งเงียบ สาเร็จลุนหันไปถามพระสงฆ์และชาวบ้านที่มาชุมนุมฟังการถกปัญหากันอยู่ว่า จะเอาอย่างพระมหาคาภาหรือจะเอาแบบของท่าน ทุกคนต่างก็ยกมือคัดค้านพระมหาคาภาพูดเป็นเสียงเดียวกันว่าไม่อยากเป็นเช่นพระเทวทัตต์เพราะกลัวบาปกรณีนี้ จึงยกเลิกไป (สวิง บุญเจิม, ๒๕๔๕)
    คาคมคาสอน
    “หกสองหก ยกออกสองตัว แก้วอยู่หัว
    ตัวเดียวอย่าละ นะอยู่ไส ใส่ใจบ่อนฮั่น”
    หมายความว่า ใครอยากมีอิทธิฤทธิ์มีความสาเร็จอย่างไร ต้องให้ความสาคัญกับอายตนะภายใน ๖ อายตนะ ภายนอก ๖ ถอดออกมาโดยสรุปคือ ๒ ได้แก่ นามและรูป (จิตกับกาย) แก้วอยู่หัว หมายถึง ความมีสติอย่าประมาท นะอยู่ไส ใส่ใจบ่อนฮั่น คือของที่ควรเคารพบูชาอยู่ไหนให้ยาเกรงกราบไหว้บูชา นี่คือคาคมคาสอนของท่านส่วนหนึ่งควรนาไปศึกษาและปฏิบัติอย่างยิ่ง
    สมณศักดิ์
    หลวงปู่ลุนไม่ปรากฏว่ามีตาแหน่งทางคณะสงฆ์ตาแหน่งใด นอกจากเรียกว่า “สาเร็จ” ตาแหน่ง “สาเร็จ” หรือ “ญาสาเร็จ” เป็นสมณศักดิ์ที่ชาวบ้านหรือชาวเมืองมอบถวายพระสงฆ์ หลังจากผ่านการบวชเรียนมานานพอสมควรได้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบตามฮีตคองสงฆ์ รวมทั้งที่เล่าเรียนจบหลักสูตรมนต์น้อย มนต์กลางแล้ว ชาวบ้านพร้อมใจกันประกอบพิธี “หดสรง” ให้พระสงฆ์องค์นั้นแล้ว จึงเรียก “สาเร็จ” ส่วนสาเร็จลุนก็คงจะผ่านพิธี “หดสรง” จากญาติโยมมาแล้วเช่นกัน
    หลวงปู่โทนได้กล่าวถึง “สาเร็จลุน” ตามที่ชาวบ้านเรียก “สาเร็จ” นั้น เพราะมีความเชื่อว่าท่าน ได้ปฏิบัติภารกิจสาเร็จหลุดพ้นเป็นพระอรหันต์แล้ว เช่นเดียวกับหลวงปู่สีดาซึ่งเป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงปู่โทนก็เรียกว่า “สาเร็จสีดา” เช่นกัน แต่ไม่เป็นที่รู้จักมากเท่าสาเร็จลุน ซึ่งถือกันว่าเป็น ผู้เรืองสรรพเวทย์จนเลื่องลือกันว่า เหาะเหินเดินอากาศได้ หรือที่เรียกว่า “วิชาย่อแผ่นดิน”
    มรณภาพ
    หลวงปู่ลุนขณะจาพรรษาที่วัดเวินไซ บ้านเวินไซ เมืองโพนทอง แขวงนครจาปาศักดิ์ ประเทศลาว ขณะอาพาธก่อนมรณภาพ หลวงปู่โทนกล่าวว่าหลวงปู่ลุนได้ส่งคนให้มาตามไปพบที่นครจาปาศักดิ์ แต่ไม่ได้ไปเพราะติดภาระสอนพระภิกษุสามเณร จึงมอบให้คนอื่นไปแทนและจะตามไปทีหลัง แต่ยังไม่ได้เดินทางก็ทราบจากญาติโยมที่ไปเยี่ยมหลวงปู่ลุนว่าท่านได้นิพพาน (มรณภาพ) แล้ว พร้อมทั้งสั่งว่าให้เอา “ไม้เท้า” ที่ฝากไว้กับหลวงปู่สีดามอบให้พระโทน (หลวงปู่โทน) เก็บรักษาไว้ อย่าให้คนอื่น ซึ่งหลวงปู่โทนก็ได้เก็บรักษาไว้ตลอดมาจนถึงมรณภาพ (พ.ศ. ๒๕๓๔) ไม้เท้าสาเร็จลุนจึงเป็นหลักฐานชิ้นสาคัญในการศึกษาประวัติหลวงปู่ลุน

    หลวงปู่ลุนมรณภาพ หลังจากหลวงปู่โทนอุปสมบทได้ ๓ พรรษา ตรงกับ พ.ศ. ๒๔๖๓ ที่วัดเวินไซ เมืองโพนทอง แขวงนครจาปาศักดิ์ ประเทศลาว สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวปัจจุบัน รวมอายุ ๘๔ ปี พรรษา ๖๔
    สาเร็จลุน หรือหลวงปู่ลุน นับเป็นพระเถระฝ่ายวิปัสสนาธุระรุ่นแรก ๆ ที่ชาวอุบลราชธานีให้ความเคารพนับถือเลื่อมใสเป็นอย่างมาก แม้ว่าวัตรปฏิบัติ ปฏิปทาส่วนหนึ่งของท่านเป็นไปในแนวทาง พระเกจิอาจารย์คือ มีความรู้ความสามารถในเรื่องคาถาอาคม เวทมนต์ต่าง ๆ จนเชื่อกันว่ามีอิทธิฤทธิ์ เหาะเหินเดินอากาศได้ นับเป็นความเชื่อดั้งเดิมของคนยุคสมัยนั้น ซึ่งมีความผูกพันอยู่กับความเชื่อดั้งเดิมในเรื่อง “เทวนิยม” เช่น สิ่งศักดิ์สิทธิ์ เทพเจ้า เจ้าป่า เจ้าเขา ภูตผีต่าง ๆ เป็นต้น ผสมผสานกับความเชื่อในหลักศาสนา คือพราหมณ์และพุทธที่เคารพนับถืออีกส่วนหนึ่ง ดังนั้นพระสงฆ์เถระซึ่งชื่อว่าเป็นผู้นาทางจิตวิญญาณของผู้คนในแต่ละยุคสมัย ก็ย่อมจะใช้หลักความรู้ต่าง ๆ ที่ได้ฝึกฝนอบรมเล่าเรียนมาในแต่ละด้าน หรือผสมผสานกันหลาย ๆ ด้าน เพื่อเป็นกลวิธีหรือุบายในการอบรม สั่งสอน ฝึกฝนประชาชนให้ประพฤติปฏิบัติ ตามจริตความสามารถแต่ละคน โดยมีจุดมุ่งหมายหลักคือให้ทุกคนมีสุขกาย สบายใจ ถือเป็นความสุขของชีวิต ดังนั้น หลวงปู่ลุนจึงเป็นทั้ง พระวิปัสสนาจารย์ พระเกจิอาจารย์ ที่มีภูมิรู้ ภูมิธรรม ที่สมควรได้รับยกย่องเป็น “ปราชญ์” ชาวอุบลโดยแท้จริงอีกองค์หนึ่ง
    หนังสืออ้างอิง
    กิ่งธรรม. โดยเสด็จพระราชกุศลในการออกเมรุพระราชทานเพลิงศพพระธรรมเสนานี (กิ่ง มหปฺผลเถร) ณ เมรุวัดมณีวนาราม ในเมืองอุบลราชธานี ๑๕ ธันวาคม ๒๕๓๘.
    คณะศิษยานุศิษย์. หลวงปู่โทน กนฺตสีโล (พระครูพิศาลสังฆกิจ) ประวัติธรรมะและคติธรรม. ตารายาสมุนไพร พระคาถาต่าง ๆ เนื่องในโอกาสครบอายุ ๙๑ ปี ๑๔ ธ.ค. ๓๑. อุบลราชธานี, ๒๕๓๑.
    สวิง บุญเจิม. ประวัติและของดีสาเร็จลุน. อุบลราชธานี, สานักพิมพ์มรดกอีสาน, ๒๕๔๕.

    [FONT=2547_Banjong][FONT=2547_Banjong]ที่มา : http://www.lib.ubu.ac.th/monkubon/file/MO45.pdf[/FONT][/FONT][FONT=2547_Banjong]​


    [/FONT]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 ตุลาคม 2012
  14. คนชอบพระ

    คนชอบพระ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มกราคม 2011
    โพสต์:
    2,017
    ค่าพลัง:
    +924
    ท่านใดมีประสบการณ์ ลูกศิษย์ สมเด็จลุน ที่อยู่ที่จังหวัดอื่นๆ มาร่วมแจมประวัติได้นะครับ อย่างเช่น
    หลวงปู่เครื่อง วัดเทพสิงหาร
    หลวงพ่อมุม วัดปราสาทเยอร์เหนือ
    หลวงปู่คำมี วัดถ้ำคูหาสวรรค์
    พระมหาอาคม วัดดาวนิมิตร ศิษย์กรรมฐานแพง
    หลวงพ่อด่อน วัดถ้ำเจีย
    หลวงปู่สา วัดป่าบ้านเหล่า มหาสารคาม
    หลวงปู่นาค วัดหนองโป่ง(ศิษย์หลวงปู่คำมี)
    หลวงปู่หมุน วัดบ้านจาน
    ฯลฯ
     
  15. คนชอบพระ

    คนชอบพระ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มกราคม 2011
    โพสต์:
    2,017
    ค่าพลัง:
    +924
    :cool::cool::cool::cool:
    ตอนนี้หลวงปู่สุภา ได้ข่าวว่าอยู่ทางสกลนคร ท่านใดมีโอกาสไปทางโน้น ช่วยสอบถามให้หน่อยนะครับ
     
  16. คนชอบพระ

    คนชอบพระ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มกราคม 2011
    โพสต์:
    2,017
    ค่าพลัง:
    +924
    ท่านพระธรรมบาล(ผุย) แห่งวัดป่าน้อยหรือวัดมณีวนาราม สหธรรมิก ของสมเด็จลุน

    [​IMG]
     
  17. คนชอบพระ

    คนชอบพระ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มกราคม 2011
    โพสต์:
    2,017
    ค่าพลัง:
    +924
    ท่านพระ ธรรมบาล(ผุย) แห่งวัดป่าน้อยหรือวัดมณีวนาราม มีสัณฐานสูงใหญ่ สีผิวเนื้อขาวละเอียด ลักษณะท่าทางทุกส่วนสง่างาม ฟันทนไม่โยกคลอนสักซี่จนถึงวันมรณภาพ เป็นสัทธิวิหาริกของท่าน พฺรหมฺสโร (พรหมมา) วันหนองยาง
    ภูมิลำเนา เกิดที่บ้านขุนปูน ตำบลคำไฺฮใหญ่ จังหวัดอุบลราชธานี ท่านเชี่ยวชาญทางคันถธุระปฏิบัติเคร่งในธรรมวินัย เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ศิษย์และประชาชนที่อยู่ในชุมชนข้างวัด ท่านมีไหวพริบเฉียบแหลมในทางแปลงปริยัติ ตัดใจความให้สละสลวยเข้่าใจความง่าย ชอบใช้จีวรย้อมแก่นขนุนสีกรัก พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ ข้าหลวงต่างพระองค์ทรงอารธนาไปรับบิณบาตที่วัง ทำพิธิทดลองในการปฏิบัติพระธรรมวินัย ถึงกับได้เปล่งวาจาชมเชยว่า "ในเมืองอุบลมีแก้ววิเศษ" จึงเป็นเหตุให้นำมาซึ่งความเลื่อมใส จะเป็นปีเดือนอะไรไม่ทราบได้ ท่านเชิญชวนอันโตชนและบริวารชน เสด็จมาทำพิธีสรงน้ำที่วัดและประทานอัฐบริิขารพร้อมทั้งสัญญาบัตรพัดยอดอัน ท่านเจ้าเคยใช้ ซึ่งมีอยู่ประจำวัด ให้ใช้ในงานหลวงเมืองอุบลเสมอมา ครั้นพระเจ้าบรมเธอกรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ เสด็จกลับกรุงเทพฯ แล้ว ท่านก็ไปอยู่วัดบ้านคำไฺฮบ้าง มาอยู่วัดมณีวนารามบ้าง เป็นครั้งคราว ในระหว่างนี้ท่านมีอายุเข้าขั้นชรามากการไปมาเดินไม่สะดวก พวกอุบาสกชอบให้ขึ้นแคร่หามไปมาเสมอ ขณะที่หามไปที่ไหนๆ ก็ตามมักพูดปลอบโยนเอาอกเอาใจผู้หามเสมอว่า "อย่าบ่นว่าหนักเลย อุตส่าห์หามตู้หนังสือไปเถิด" ดังนี้ ครั้นมาภายหลังท่านไปบ้านคำไฺฮโดยขึ้นแคร่หามไปเวลากลับได้กลับทางเรือตาม ลำเซบก ระหว่างทางท่านได้หยุดพักฉันเพล พอฉันเพลเสร็จท่านจะเดินทางต่อ แต่เผอิญท่านมีอาการปวดหัวมาก ท่านเองก็ทราบว่า "อาการเก่ากำเริบขึ้นอีก" จึงขึ้นจากเรือ พวกลูกศิษย์ได้ไปตามราษฎรบ้านดงบังมาจัดเตียงสำหรับหามเสร็จแล้ว ท่านก็ให้เขาหามรีบลัดมาทางตรงถึงวัดมณีวนาราม ในวันนั้นอาการปวดศรีษะนั้น กำเริบขึ้นมากกลายเป็นไข้สันนิบาตแพทย์แผนโบราณได้เยียวยาสุดความสามารถ เมื่ออาการไข้ค่อยทุเลาลง สายตาก็ค่อยมืดลงตามกันเมื่อไข้หายแล้วเส้นประสาททางตาก็หมดอำนาจ จึงทำให้ตาบอด ครั้นตาบอดแล้วการไปมาก็ต้องขึ้นแคร่หามอยู่ตามเดิม ถึงเวลาขบฉันลูกศิษย์ก็ผลัดกันเปลี่ยนกันป้อน ท่านจะนึกอย่างไรไม่ทราบท่านจึงกลับไปอยู่วัดบ้านคำใฮอีกหลายปี ก็ระยะที่ท่านไปอยู่วัดบ้านคำใฺฮนี้ประชาชนทั้งคฤหัสถ์และบรรพชิตก็ไปมานอบ น้อมถวายปัจจัย ๔ ไม่ได้ขาด
    ครั้นกาลล่วงมาท่านชรามากเข้าศิษยานุศิษย์มาประชุมพร้อมกัน มีความเห็นตรงกันว่าท่านเป็นผู้ที่ประชาชนให้การสักการะและเคารพนับถือเป็น อย่างยิ่งจึงไม่ควรที่จะมรณภาพที่วัดบ้านคำใฺฮ จึงได้เชิญชวนกันไปรับท่านมาอยู่วัดมณีวนารามตามเดิม ท่านครองวัดอยู่ประมาณ ๓๐ ปี มรณภาพด้วยโรคชราที่กุฏิแดง อันตั้งอยู่ทิศตะวันตกศาลาการเปรียญคำณวนอายุได้ ๘๘ ปี ทำพิธีสรงน้ำศพเสร็จแล้วเชิญศพบรรจุหีบกำปั่นสำรองก่อน เมื่อบำเพ็ญกุศลสัตตมวารเสร็จแล้ว ก็เก็บศพไว้ ๖ เดือน เมื่อกำหนดวันจะทำฉาปนกิจศพ มีท่านเจ้าคุณ-พระพรหมมุนี เจ้าคณะมณฑลอุบลฯ สมันนั้น เป็นประธานจัดการปลงศพ จึงทำรูปนกหัสดีลิงค์ประกอบหอแก้วบนหลังนกและทำหีบนพสูญ แล้วบำเพ็ญกุศลอยู่ ๓ วันแล้วเชิญหีบศพไปประดิษฐานหอแก้วบนหลังคานก ชักลากไปทำฌาปนกิจศพที่สุสานป่าช้าวัดแจ้งแล้วเก็บอัฏฐิมาบำเพ็ญกุศลตาม ประเพณี เสร็จแล้วก็นำอัฐิเข้าบรรจุในเจดีย์ท่านเจ้า(พระอริยวงศาจารย์) ซึ่งเป็นเจดีย์เก็บอัฐิของท่านสุวณฺโณ และท่านจันทรังสี

    ขอบคุณท่าน ramin ที่มา--->
    ญาท่านธรรมบาลผุย แห่งวัดป่าน้อย สหธรรมมิกหลวงปู่สำเร็จลุน
     
  18. motana2008

    motana2008 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    4,929
    ค่าพลัง:
    +10,336
    แอบมาเก็บข้อมูลก่อนครับ
     
  19. คนชอบพระ

    คนชอบพระ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มกราคม 2011
    โพสต์:
    2,017
    ค่าพลัง:
    +924
    ขอบคุณครับ ที่มาเยี่ยมกระทู้ มีข้อมูลอะไรมาแชร์กันครับ:cool::cool::cool:
     
  20. charoen.b

    charoen.b เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    5,726
    ค่าพลัง:
    +15,488
    หลวงปู่นาค วัดหนองโป่ง เคยดุผมว่า"ยุ่ง" เพราะไปกวนใจท่านในเวลาไม่สมควรแล้วชีวิตผมก็ยุ่งจริงๆ อย่างท่านว่าอยู่หลายปี จนต้องไปกราบขอขมาสรีระท่านที่วัดจึงดีขึ้นมาบ้าง.....

    อยากอ่านเรื่องราวของหลวงปู่จันทร์หอม วัดบุ่งขี้เหล็ก ครับผม
     

แชร์หน้านี้

Loading...