สมถะหรือวิปัสสนาก่อน

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย Prophecy, 20 ตุลาคม 2012.

  1. หลบภัย

    หลบภัย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    2,207
    ค่าพลัง:
    +3,123
    พี่หม้อมีความเห็นว่าไง ก็ทำไปเถอะ ขี้เกียจอธิบายแล้ว

    "บัวถึงมันจะมี 4 เหล่า แต่มันก็ยังเป็นบัว"
     
  2. Ndantchor

    Ndantchor เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    273
    ค่าพลัง:
    +1,123
    ธิดาน้อยๆ ลองกลับไปอ่านข้อความที่เน้น นั้นดู
     
  3. หลบภัย

    หลบภัย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    2,207
    ค่าพลัง:
    +3,123
    ไม่ล่ะ เราอ่านแล้ว ความเข้าใจ เพราะสิ่งนี้ เคยมาผ่านมาแล้ว เคยสงสัยตัวเองมาก่อน
    พอปล่อย ได้ ก็กลายเป็นการสะสาง หากทุกเวยไนยสัตว์(สัตว์ที่สามารถฟังธรรมได้)
    ก็มีโอกาสบรรลุธรรมได้เท่ากัน และใครทำเพื่อจะสะสม แต่ไม่เป็นการสะสาง
    ทำเพื่อจะกดข่ม และเหนือกว่าผู้อื่น หรือด้อยกว่าผู้อื่น ทำไปวัดผลตัวเองไปก็ผิดทาง
    ถึงบอกว่า ไม่ทำ แม้ใครจะกล่าวยังไง ก็ไม่เข้าใจอยู่ดี ก็จะติดอยู่แค่ชาดก
    ติดอยู่กับว่ากี่ชาติ กี่ภพ หรือวัดนี้กำหนดตัวเองไป อันนี้สะสม แน่นอน
    ถึงได้บอกว่า ความเข้าใจ ในการทำดีให้ถึงพร้อมต่างกัน
     
  4. หลบภัย

    หลบภัย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    2,207
    ค่าพลัง:
    +3,123
    หรือทุกวันนี้ทำสะสม เพื่อจะ เลื่อนขั้นดอกบัวให้ได้ นั้นสะสม โลภะเต็ม
    ลองทำแบบใจง่ายๆ ดู
     
  5. Ndantchor

    Ndantchor เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    273
    ค่าพลัง:
    +1,123
    ก็อย่าไปคิดแทนผู้อื่นสิ ว่าผู้นั้นไม่ได้เป็นไปเพื่อการสะสางกิเลส

    เราเห็นเพียงภายนอกก็ว่าผู้นั้นมีสติปัญญาไม่เท่าตน แต่ภายในใครจะรู้

    ใครๆ เค้าก็สั่งสมบุญกุศลบารมีกันทั้งนั้น

    แม้แต่นกแขกเต้า ในเมืองกุรุ ยังบริกรรม อัฏฐิๆ
    ก็เป็นปัจจัยสั่งสมอินทรีย์อินทรีย์ภาวนาของเค้าเนาะ
     
  6. Ndantchor

    Ndantchor เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    273
    ค่าพลัง:
    +1,123
    ไม่น่าเชื่อเนาะ หลบภัย จะกลายเป็นคนละคน คงต้องอบรมตนเองไปเรื่อยๆ สักวันคงจะหลุด
     
  7. หลบภัย

    หลบภัย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    2,207
    ค่าพลัง:
    +3,123
    หากยังไม่เห็นตัวเอง เราก็จะคิดแทนคนอื่นเสมอ ยอมรับตัวเอง ก็จะเห็นคนอื่นเสมอ
     
  8. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    ยังมีกลุ่มของ อริยมรรค ต่อนะครับ...กลุ่มของสัมมาอาชีวะ...พระวจนะ"ภิกษุทั้งหลาย ในบรรดาองค์เจ็ดแห่งอริยะสัมมาสมาธิ นั้น สัมมาทิฎฐิ เป็นธรรมนำหน้า นำหน้าอย่างไร คือเขารู้ มิจฉาอาชีวะ ว่าเป็นมิจฉาอาชีวะ รู้สัมมาอาชีวะว่าเป็นสัมมาอาชีวะ ความรู้ของเขาเป็นสัมมาทิฎฐิ.....ภิกษุทั้งหลาย มิจฉาอาชีวะเป็นอย่างไรเล่า การพูดโกหก(กุหนา) การพูดหลอกลวง(ลปนา)การพูดหว่านล้อม(เนมิตตกตา) การพูดให้เจ็บใจจนยอมตกลง(นิปเปสิกตา) การล่อลาภด้วยลาภ(ลาเภนลาภํชิคึสนตา) ภิกษุทั้งหลาย นี้คือ มิจฉาอาชีวะ....ภิกษุทั้งหลาย สัมมาอาชีวะ นั้นเป็นอย่างไรเล่า ภิกษุ ทั้งหลาย เรากล่าวว่า แม้สัมมาอาชีวะว่ามีอยู่ สองชนิด คือ สัมมาอาชีวะที่ยังเป็นไปด้วย อาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ มีผลเนื่องอยู่กับของหนักก็มีอยู่ สัมมาอาชีวะอันเป็นอริยะ ไม่เป็นไปด้วยอาสวะ นำขึ้นสู่ระดับเหนือโลก เป็นองค์ประกอบแห่งหนทางเพื่อนิพพาน ก็มีอยู่...................ภิกษุทั้งหลายิสัมมาอาชีวะ ที่ยังเป็นไปด้วยอาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ มีผลเนื่องอยู่กับของหนัก นั้นเป็นอย่างไรเล่า ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในกรณีนี้ ละ มิจฉาอาชีวะแล้ว สำเร็จการเป้นอยู่ด้วยสัมมาอาชีวะ ภิกษุทั้งหลาย นี้คือ สัมาอาชีวะที่ยังเป็นไปด้วยอาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ มีผลเนื่องอยู่กับของหนัก......................ภิกษุทั้งหลาย นี้คือ สัมมาอาชีวะ ที่ยังเป็นไปด้วยอาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ มีผลเนื่องอยู่กับของหนัก..............ภิกษุทั้งหลาย สัมมาอาชีวะอันเป้นอริยะ ไม่เป็นไปด้วยอาสวะ นำขึ้นสู่ระดับเหนือโลก เป็นองค์ประกอบเพื่อเพื่อนิพพาน นั้นเป็น อย่างไรเล่า ภิกษุทั้งหลาย ธรรมคือการงด การเว้น การเว้นขาด และเจตนาเป็นเครื่องเว้น จากมิจฉาอาชีวะ ของผู้มีอริยจิต ของผู้มีอนาสวะจิต ของผู้เป็นอริยมรรคสมังคีผู้เจริญอยู่ซึ่งอริยมรรค ใดแล ภิกษุทั้งหลาย นี้คือสัมมาอาชีวะ อันเป็นอริยะ ไม่เป็นไปด้วยอาสวะ นำขึ้นสู่ระดับเหนือโลก เป็นองค์ประกอบแห่งหนทาง เพื่อนิพพาน....เขานั้นเพียรพยายามเพื่อละเสียซึ่งมิจฉาอาชีวะ เพื่อทำสัมมาอาชีวะให้ถึงพร้อม ความเพียรพยายามของเขานั้น เป็นสัมมาวายามะ เขามีสติละเสีย มิจฉาอาชีวะ มีสติทำสัมมาอาชีวะให้ถึงพร้อม แล้วแลอยู่ สติของเขานั้น เป็นสัมมาสติ...ด้วยอาการอย่างนี้ เป็นอันว่า ธรรม3อย่างนั้น ย่อมติดตาม แวดล้อมสัมมาอาชีวะ สามอย่างนั้นได้แก่ สัมมาทิฎฐิ สัมมาวายามะ สัมมาสติ..........:cool:
     
  9. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    ต่อเนื่องอีกนิดครับ...พระวจนะ"ภิกษุทั้งหลาย ในบรรดาองคืแห่งมรรคเหล่านั้น สัมมาทิฎฐิเป็นองค์นำหน้า นำหน้าอย่างไร ภิกษุทั้งหลาย...............................สัมมาสังกัปปะ ย่อมมีเพียงพอ แก่ผู้มีสัมมาทิฎฐิ-----สัมมาวาจา ย่อมมีเพียงพอ แก่ผู้มี สัมมาสังกัปปะ----------สัมมากัมมันตะ ย่อมมีเพียงพอ แก่ผู้มีสัมมาวาจา------------สัมมาอาชีวะ ย่อมมีเพียงพอแก่ ผู้มีสัมมากัมมันตะ-------------สัมมาวายามะ ย่อมมีเพียงพอแก่ผู้มี สัมมาอาชีวะ-----------สัมมาสติ ย่อมมีเพียงพอแก่ผู้มี สัมมาวายามะ------------สัมมาสมาธิ ย่อมมีเพียงพอแก่ผู้มี สัมมาสติ--------------สัมมาญานะ ย่อมมีเพียงพอแก่ ผู้มีสัมมาสมาธิ------สัมมาวิมุติ ย่อมมีเพียงพอ แก่ผู้มีสัมมาญานะ...........................ภิกษุทั้งหลาย ด้วยอาการอย่างนี้แล พระเสขะ ผู้ประกอบด้วยองค์แปด ย่อมเป็นพระอรหันต์ผู้ประกอบด้วยองค์ สิบ.............ภิกษุทั้งหลาย ในบรรดาองคืแห่งมรรคเหล่านั้น สัมมาทิฎฐิ เป็นองค์นำหน้า นำหน้าอย่างไร?...........ภิกษุทั้งหลาย มิจฉาทิฎฐิ ของผู้มีสัมมาทิฎฐิ ย่อมสลายไปไม่มีเหลือ และบาปอกุศลธรรมทั้งหลายเป้นเอนกที่เกิดมีขึ้น เพราะมิจฉาทิฎฐิเป็นปัจจัยของผู้นั้น ก็พลอยสลายไปไม่มีเหลือด้วย และกุศลธรรม ทั้งหลายเป็นเอนก ที่มีสัมมาทิฎฐิเป็นปัจจัย ก็จะถึงซึ่งความเต็มรอบแห่งการงอกงมขึ้นมาด้วย(ในกรณีที่เกี่ยวกับ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ ก็ตรัสไว้ทำนองเดียวกัน จนกระทั่ง ถึง--)......มิจฉาญานะ ของผู้มีสัมมาญานะ ย่อมสลายไปไม่มีเหลือ และ บาปอกุศลธรรมทั้งหลายเป็นเอนกที่เกิดมีขึ้นเพราะมิจฉาญานะ ก็พลอยสลายไปไม่มีเหลือด้วย และกุศลธรรมทั้งหลาย เป็นเอนก ที่มีสัมมาญานะเป็นปัจจัย ก็จะถึงซึ่งความเต็มรอบแห่งการงอกงามขึ้นมาด้วย..................ภิกษุทั้งหลาย มิจฉาวิมุติ ของผู้มีสัมมาวิมุติ ย่อมสลายไปไม่มีเหลือ และบาปอกุศลธรรมทั้งหลายเป็นเอนก ที่เกิดมีขึ้นเพราะมิจฉาวิมุติเป็นปัจจัยของผู้นั้น ก็พลอยสลายไปไม่มีเหลือด้วย และกุศลธรรมทั้งหลายเป็นเอนกที่มีสัมมาวิมุติเป็นปัจจัยก็จะถึงซึ่งความเต็มรอบแห่งการงอกงามขึ้นมาด้วย....................ภิกษุทั้งหลาย ด้วยอาการอย่างนี้แล ธรรมเป็นฝักฝ่ายแห่งกุศล มีปริมาณ ยี่สิบ ธรรมเป็นฝักฝ่ายแห่งอกุศล มีประมาร ยี่สิบ ธรรมปริยายมีประมาณ สี่สิบ อันกว้างขวาง เป็นธรรมปริยายอันเราให้หมุนไปแล้ว อันสมณะหรือพราห์ม หรือเทพ หรือ มาร หรือพรหม หรือใครใครในโลก ให้หมุนกลับไม่ได้---อุปริ.ม.14/187/279-280-----(อริยสัจจากพระโอษฐืท่านพุทธทาส):cool:
     
  10. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    มีการบรรยายเรื่อง สัมมาสมาธิที่มีบริขาร ข้างต้นจากท่านพุทธทาส เพิ่มเติม-----(ท่านพุทธทาส---ผู้ศึกษา พึงสังเกตุเห็นความสัมพันธิ์กันอย่างสลับซับซ้อน ว่าองค์มรรคเจ็ดข้างต้น ถุกจัดให้เป็นบริวารขององค์สุดท้ายคือ สัมมาสมาธิ แล้วทำให้สัมมาสมาธินั้นได้นามสูงขึ้นไปว่า อริยะสัมมาสมาธิ..องค์ห้าข้างต้นคือ สัมมาทิฎฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ ถูกจัดให้แวดล้อมด้วย สัมมาทิฎฐิ สัมมาวายามะ สัมมาสติ โดยเหตุที่สัมมาวายามะและสัมมาสติไปทำหน้าที่แวดล้อมองค์ห้าองค์ ข้างต้นเสีย จึงไม่ถูกยกขึ้นมาจัดเป็นกลุ่มเฉพาะของตน จึงไม่มีกลุ่มที่หก ที่เจ็ด ส่วนสัมมาทิฎฐินั้น มีความสำคัญจนจัดเป็นกลุ่มกลุ่มหนึ่งของตัวเอง แล้วยังไปทำหน้าที่แวดล้อมองค์ทั้งห้าทุกกลุ่ม ส่วนสัมมาวายามะ และ สัมมาสติ ซึ่งไม่มีกลุ่มของตน เพราะเข้าไปแทรกทำหน้าที่อยู่ในกลุ่มนั้นนั้นทุกกลุ่ม เพื่อให้หน้าที่ในกลุ่มนั้นนั้นสมบูรร์ ราวกับว่าซ่อนตัวอยู่อย่างลึกลับ แต่ก็มิได้หายไปใหน สัมมาทิฎฐิ ชื่อว่าเป็นผู้นำหน้าของทุกกลุ่ม เพราะเข้าไปรู้ลักษณะขององค์ธรรมอันมีชื่อ ของกลุ่มนั้นนั้น ซึ่งได้ทรงจำแนก เป็นสองประเภท คิือประเภทที่เป็นไปด้วย อาสวะ และประเภทที่ไม่เป็นไปด้วยอาสวะ และยังรู้ฝ่ายตรงข้าม ที่เรียกว่า มิจฉา หรือฝ่ายผิดอย่างครบถ้วนอีกด้วย จึงทำให้สัมมาวายามะ และ สัมมาสติแห่งกลุ่มนั้นนั้น ดำเนินไปถูกทาง ดังนั้น จึงได้ชื่อว่าเป็นผู้นำหน้า....ผู้ศึกษษพึงสังเกตุ จนเข้าใจความสัมพันธิ์ดังกล่าวนี้อย่างแจ่มแจ้งแล้ว จะเป็นเหตุให้ท่านทราบว่า กิจแห่งองค์มรรคทั้งหลาย สัมพันธิ์กันด้วยดีอย่างไร มรรคจึงจะเป็นไปถึงขนาดดับทุกข์ได้โดยไม่เหลือ)---ท่านพุทธทาส:cool:
     
  11. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002

    [๑๗๐] สมัยหนึ่ง ท่านพระอานนท์อยู่ ณ โฆสิตาราม ใกล้เมืองโกสัมพี ณ ที่นั้นแล
    ท่านพระอานนท์เรียกภิกษุทั้งหลายว่า อาวุโสภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นรับคำท่านพระอานนท์แล้ว
    ท่านพระอานนท์ได้กล่าวว่า ดูกรอาวุโสทั้งหลาย บุคคลผู้ใดผู้หนึ่งเป็นภิกษุหรือภิกษุณีก็ตาม ย่อมพยากรณ์
    การบรรลุอรหัตในสำนักของเราด้วยมรรค ๔ โดยประการทั้งปวง หรืออย่างใดอย่างหนึ่ง
    ในบรรดามรรค ๔ ประการนี้ มรรค ๔ เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญวิปัสสนามีสมถะเป็น
    เบื้องหน้า เมื่อเธอเจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องหน้า มรรคย่อมเกิด เธอย่อมเสพ ย่อมเจริญ
    ย่อมกระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อเธอเสพ เจริญ กระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น ย่อมละสังโยชน์
    ทั้งหลายได้ อนุสัยย่อมสิ้นสุด ฯ
    อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมเจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องหน้า เมื่อเธอเจริญสมถะมี
    วิปัสสนาเป็นเบื้องหน้า มรรคย่อมเกิด เธอย่อมเสพ ย่อมเจริญย่อมกระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น
    เมื่อเธอเสพ เจริญ กระทำให้มากซึ่งมรรคนั้นย่อมละสังโยชน์ทั้งหลายได้ อนุสัยย่อมสิ้นสุด ฯ
    อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมเจริญสมถะและวิปัสสนาควบคู่กันไป เมื่อเธอเจริญสมถะ
    และวิปัสสนาควบคู่กันไป มรรคย่อมเกิด เธอย่อมเสพ เจริญกระทำ ให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อ
    เธอเสพ เจริญ กระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น ย่อมละ สังโยชน์ทั้งหลายได้ อนุสัยย่อมสิ้นสุด ฯ

    อีกประการหนึ่ง ใจของภิกษุปราศจากอุทธัจจะในธรรม สมัยนั้น จิตนั้นย่อมตั้งมั่น
    สงบ ณ ภายใน เป็นจิตเกิดดวงเดียว ตั้งมั่นอยู่ มรรคย่อมเกิดขึ้นแก่เธอ เธอย่อมเสพ เจริญ
    กระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อเธอเสพเจริญ กระทำ ให้มากซึ่งมรรคนั้น ย่อมละสังโยชน์ทั้งหลาย
    ได้ อนุสัยย่อมสิ้นสุด ดูกรอาวุโส ทั้งหลาย บุคคลผู้ใดผู้หนึ่ง เป็นภิกษุหรือภิกษุณีก็ตาม ย่อม
    พยากรณ์การบรรลุอรหัต ในสำนักของเรา ด้วยมรรค ๔ ประการนี้ โดยประการทั้งปวง หรืออย่างใด
    อย่างหนึ่ง บรรดามรรค ๔ ประการนี้ ฯ

    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๒๑ หน้าที่ ๑๕๒/๒๔๐
     
  12. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    [๙๘๖] คำว่า ตามกาล ในคำว่า ภิกษุนั้น เมื่อกำหนดพิจารณาธรรมโดยชอบตามกาล
    ความว่า เมื่อจิตไม่ฟุ้งซ่านเป็นกาลของสมถะ เมื่อจิตตั้งมั่นเป็นกาลของวิปัสสนา.
    สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า
    โยคีผู้ใด ย่อมประคองจิตในกาล ย่อมข่มจิตในกาลอื่น ย่อมให้จิต
    รื่นเริงโดยกาล ย่อมตั้งจิตไว้ในกาล ย่อมวางเฉยในกาล โยคีผู้นั้น
    ชื่อว่าเป็นผู้ฉลาดในกาล ความประคองจิตควรมีในกาลไหน? ความข่ม
    จิตควรมีในกาลไหน? กาลเป็นที่ให้จิตรื่นเริงควรมีในกาลไหน? และ
    กาลของสมถะเป็นกาลเช่นไร? บัณฑิตย่อมแสดงกาลเป็นที่วางเฉย
    แห่งจิตของโยคีบุคคลอย่างไร? เมื่อจิตของโยคีบุคคลย่อหย่อน เป็นกาล
    ที่ควรประคองไว้ เมื่อจิตของโยคีบุคคลฟุ้งซ่านเป็นกาลที่ควรข่มไว้ โยคี
    บุคคลพึงยังจิตที่ถึงความไม่แช่มชื่นให้รื่นเริงในกาลนั้น จิตเป็น
    ธรรมชาติรื่นเริงไม่ย่อหย่อน ไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมมีในกาลใด กาลนั้นเป็น
    กาลของสมถะ ใจพึงยินดีในภายใน โดยอุบายนั้นนั่นแหละ จิตเป็น
    ธรรมชาติตั้งมั่น ย่อมมีในกาลใด ในกาลนั้น โยคีบุคคลพึงวางเฉย
    ไว้ซึ่งจิตที่ตั้งมั่นแล้วด้วยปัญญา ธีรชนผู้รู้แจ้งกาล ทราบกาล ฉลาด
    ในกาลพึงกำหนดอารมณ์อันเป็นนิมิตของจิต ตลอดกาล ตามกาล อย่างนี้.
    เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภิกษุนั้น ... ตามกาล. คำว่า เมื่อกำหนดพิจารณาธรรมโดยชอบ ความว่า
    เมื่อกำหนดพิจารณาธรรมโดยชอบว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ธรรมทั้งปวง
    เป็นอนัตตา ฯลฯ สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลมีความดับไปเป็น
    ธรรมดา เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เมื่อกำหนดพิจารณาธรรมโดยชอบ.

    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๒๙ หน้าที่ ๔๙๒/๔๙๔ ว่าด้วยจิตที่เป็นกาลของสมถะและวิปัสสนา
     
  13. Prophecy

    Prophecy เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 เมษายน 2012
    โพสต์:
    1,221
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +7,605

    สาธุๆๆ ขอให้คุณอุรุเวลาเจริญในธรรม นำมาให้อ่านพิจรณาเพิ่มเติม ขออนุโมทนาบุญ ธรรมใดพระพุทธองค์ตรัสไว้ดีแล้ว ตรงที่ทำ bold เป็นประโยชน์อย่างมาก
     
  14. TPC

    TPC เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    474
    ค่าพลัง:
    +2,435
    ขอเสริมเรื่องสัมมาทิฐฏิ ต่ออีกส่วนหนึ่ง นอกเหนื่อจากที่พระพุทธองค์ได้ตรัสไว้และเป็นจริงเช่นนั้นเสมอ ดังนี้ว่า ด้วยการปฏิบัติธรรมของกระผม ยังให้เกิดปัญญารู้เห็นว่า อัน สัมมาทิฏฐิ นั้นพึงมีด้วยกัน2ประการคือ

    1โลกิยะสัมมาทิฏฐิ อันเป็นสัมมาทิฏฐิที่เกี่ยวเนื่องด้วยความเป็นโลกียะ หรือข้องแวะด้วยโลกธรรม สัมมาทิฏฐิส่วนนี้ เป็นความเห็นชอบแล้ว เพื่อยังประโยชน์ในขันธ์ ในธาตุ ในวัตถุธาตุ ในรูปนามทั้งหลายก็ดี อันเป็นทิฏฐิที่ดีที่ยังประโยชน์แก่การดำรงชีวิต ของตนและการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขสงบสุข มิใช่ดำริชอบหรือคิดชอบเพื่อการหลุดพ้นทุกข์เป็นผู้ห่างไกลกิเลสโดยสิ้นเชิง

    2โลกุตระสัมมาทิฏฐิ อันเป็นสัมมาทิฏฐิที่เกี่ยวเนื่องด้วยความเป็นโลกุตระธรรมคือ เป็นดำริชอบคิดชอบด้วยอาศัยเหตุคือการเข้าถึงกฏไตรลักษณ์ และถึงพร้อมด้วยอาศัยมรรคมีองค์8เป็นเครื่องหนุนให้สัมมาทิฏฐิเกิดขึ้นได้ สัมมาทิฏฐินี้จะยังผลให้ผู้มีดำริชอบคิดชอบสามารถ หลุดพ้นจากกองทุกทั้งปวงเป็นผู้ห่างไกลกิเลสเป็นผู้อยู่เหนือโลกธรรม เป็นผู้อาศัยอยู่แดนนิพพานที่เดียว ไม่มีเป็นอื่น

    สุดท้ายนี้ ก็เราทั้งหลายยังเป็นมนุษย์ผู้มีชิวิตอยู่ ดำรงอยู่ อาศัยอยู่ในโลกนี้ เราทั้งหลายจึงควรมีพร้อมทั้งโลกียะสัมมาทิฏฐิและโลกุตระสัมมาทิฏฐิ ด้วยเถอดครับ เพื่อความไม่ประมาทในชีวิตนี้ด้วยเถอดครับ สาธุ สาธุ สาธุ
     
  15. ฟางว่าน

    ฟางว่าน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    1,080
    ค่าพลัง:
    +968
    สมถะแล้วค่อยวิปัสสนา.........
     

แชร์หน้านี้

Loading...