ขอสอบถามเรื่องการเห็นนิมิตรนะครับ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย 2oTh_century, 10 กันยายน 2012.

  1. 2oTh_century

    2oTh_century สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กันยายน 2012
    โพสต์:
    2
    ค่าพลัง:
    +7
    ผมได้มีโอกาศ ไปนั่งสมาธิที่บ่อน้ำมนต์ ที่วันอิน นะครับ แล้วระหว่างผมนั่งอยู่ผมได้เห็นนิมิตรเป็นสมเด็นท่าน แต่เป็นองค์สีทองนะครับค่อยๆๆลอยลงมาองค์ท่านใหญ่เหมือนองค์จริงนะครับ แล้วค่อยๆเล็กลง เล็กลงแล้วมาอยู่ที่คอผมอะครับเหมือนเป็นพระห้อยคอ อะครับ ผมก็พยายามไม่สนใจแล้วนั่งดูการเกิดดับของลมหายใจอย่างเดียวสักพักพอผมออกจากสมาธิ ผมก็จำไม่ได้ในสิ่งที่เห็นนิมิตรมาครับ จนมาลองนั่งสมาธิรอบ2 อีกทีถึงได้นึกออกว่ารอบแรกเราเห็นนิมิตรอะไรมา

    อยากถามว่านิมิตรแบบนี้คืออะไรเหรอครับ
     
  2. 2oTh_century

    2oTh_century สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กันยายน 2012
    โพสต์:
    2
    ค่าพลัง:
    +7
    เมื่อก่อนผมมักหลงกับการเห็นนิมิตร จนวันนี้ผมได้พยายามมีสติ มากขึ้นมองดูการเกิดขึ้นตั้งอยู่แล้วดับไป นั่งสมาธิจนเราไม่รู้สึกตัว กเราก็จะติดอยู่ในช่วงความสุข ก็ไม่ได้ใช่ไหมครับ เราต้องมีความรู้สึกระลึกถึงตัวว่าทำอะไรเลย และเฝ้าดูการเกิดขึ้นตั้งอยู่และดับไปของลมหายใจใช่ไหมครับ แบบนี้มาถูกทางแล้วไหมครับ
     
  3. อินทรบุตร

    อินทรบุตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    2,511
    ค่าพลัง:
    +7,320
    จุดหมายปลางทางของเราคือ การไม่ยึดในทุกสิ่งทุกอย่าง
    การติดในความสุขของฌาน ก็เป็นการยึดติดอย่างหนึ่งครับ
    ลองหาอ่านเกี่ยวกับเรื่องการ เจริญสติให้เยอะๆ ครับ

    ลองดูตามนี้ก็ได้
    ตัวอย่างการเจริญสติในชีวิตประจำวัน - ธรรมะทั่วไป - www.indraphong.com - Powered by Discuz!
     
  4. Workgroup

    Workgroup เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    693
    ค่าพลัง:
    +1,947
    การใช่สติ ของ เจ้าของกระทู้ ดีเลยครับ ฝึก สติ ทุกครั้ง ที่มัน เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป

    ใช่ สติ ตรอง ดู ทุก ทุก อย่าง ที่ เห็น พอเห็น แล้ว รู้แล้ว ก็ ปล่อยวาง
     
  5. นายกสิณ

    นายกสิณ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 เมษายน 2011
    โพสต์:
    245
    ค่าพลัง:
    +251
    คำว่า นิมิตร นั้นเชื่อถือได้ไหม เป็นจริงหรือไม่หรือแค่การนึกคิดของจิตใต้สำนึกที่อยากให้เป็นไป อย่าหลงกับคำว่านิมิตรมากเลยครับ เดี๋ยวจะปฎิบัติไม่ไปไหนอย่างพระบางรูปที่หลงกับนิมิตรคิดว่าต้องเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ตามที่ตนเองอยากให้เป็น แล้วมาบอกคนอื่นๆแบบนี้ ผิดหรือไม่
     
  6. อินทรบุตร

    อินทรบุตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    2,511
    ค่าพลัง:
    +7,320
    นายกสิณ เมื่อก่อนคิดว่าตัวเองเรียกพระพุทธเจ้ามาพบได้ไม่ใช่หรือครับ?
    เดี๋ยวนี้หายแล้วใช่ไหมครับ? ยินดีด้วยครับ
     
  7. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    น่าจะเป็นอย่างนี้ครับ..นิมิต อันเป็นรูปนาม หนึ่ง ทำให้เกิด รูปนามต่างต่าง(สภาวะธรรม..สภาพธรรม) เช่น เวทนา ปิติ สุข อุเบกขา..ศรัทธา...นมสิการ..ทีนี้ พอมองเห็นรูปนามที่เกิด...ก็พอทราบเหตุที่เกิด เหตุดับ ปัจจัย.......ก็เหมือน เวทนาที่เกิด จาก กามคุณห้า(มีอามิส)...นิมิต จะยังเกิดดับ ตามเหตุปัจจัยต่อไป จนกว่าจะเห็นความไม่เที่ยง เป้นทุกข์ อันนี้ ความเห้นส่วนตัวครับ:cool:
     
  8. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,941
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    ผิดทาง

    เฝ้าดู การเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป

    แก้กิเลสได้ที่ไหนครับ

    มาผิดทางแล้วครับ จขกท

    ไม่ใช่ทางแก้กิเลส ครับ
     
  9. firstini

    firstini เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    1,213
    ค่าพลัง:
    +3,770
    นิมิตก็คือนิมิต นิมิตก็ไม่มีอะไร
    ถ้าแปลโดยทั่วไป นิมิตแปลว่าเครื่องหมาย
    อย่างนิมิตของอานาปานสติก็คือลมหายใจ
    ถ้าเจริญอานาปานสติอยู่ก็มีหลายทางเลือกเมื่อเจอนิมิต
    (อานาปานสติเป็นกรรมฐานที่ต้องเจอนิมิตอยู่เรื่อยๆนะครับ)

    อย่างแรก ถ้ายังไม่คล่องชำนาญในอานาปานสติ
    ก็ควรจะจับลมหายใจต่อไป นิมิตมาก็มาไป

    หรือถ้าสบายๆในอานาปานสติแล้ว เมื่อนิมิตมา เห็นภาพอะไรก็ตาม
    แล้วเราคล่องในกรรมฐาน๔๐ ก็ใช้นิมิตนั้นต่อกรรมฐานเลยก็ได้
    เช่น หลายคนเห็นภาพศพ กระดูก ก็ต่อด้วยอสุภะไปเลย
    อันนี้เรียกว่าได้กำไร
    อย่างถ้าเห็นพระพุทธเจ้า ถือว่าได้กำไรมาก
    เพราะพุทธานุสสติเป็นกรรมฐานใหญ่ ไปพระนิพพานได้ง่าย
     
  10. เตชพโล

    เตชพโล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    267
    ค่าพลัง:
    +1,431
    เป็นนิมิตที่

    เป็นมงคลแล้วครับ
     
  11. อินทรบุตร

    อินทรบุตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    2,511
    ค่าพลัง:
    +7,320
    ตัวเองทำไม่ได้ ไม่เห็น เห็นไม่จริง ไม่ได้แปลว่าคนอื่นทำไม่ได้ คนอื่นไม่เห็น คนอื่นเห็นไม่จริง...
     
  12. วิหคอิสระ

    วิหคอิสระ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    758
    ค่าพลัง:
    +1,318

    ยังมีเหตุปัจจัยอื่นที่ทำให้เห็นนิมิตได้อีกเยอะแยะ ยกตัวอย่างเช่นอิทธิฤิทธิ์บารมีของสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และอื่นๆอีกเยอะนะ แต่ไม่บอกหรอกแบร่ๆๆๆ
     
  13. telwada

    telwada เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2004
    โพสต์:
    1,509
    ค่าพลัง:
    +1,817
    อย่าหาว่าข้าพเจ้าส่อเสียด หรือกล่าวเสียดสีเลยนะ ข้าพเจ้าไม่อยากเถียงกับพวกที่ไม่ได้มีความรู้จริงรู้แจ้ง แค่ มรรคผล ยังไม่รู้ด้วยซ้ำไป แต่พวกเขาก็อยากที่จะทำในสิ่งที่พวกเขาไม่รู้ ดังนั้นข้าพเจ้าจึงนำเอา ความใน พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฯ มาให้คุณได้คิดได้พิจารณาเอาเองว่า สิ่งที่คุณถามมา เป็นแบบไหน
    1.เครื่องหมาย ได้แก่วัตถุอันเป็นเครื่องหมายแห่งสีมา, วัตถุที่ควรใช้เป็นนิมิตมี ๘ อย่าง ภูเข ศิลา ป่าไม้ ต้นไม้ จอมปลวก หนทาง แม่น้ำ น้ำ

    2.(ในคำว่าทำนิมิต) ทำอาการเป็นเชิงชวนให้เขาถวาย, ขอเขาโดยวิธีให้รู้โดยนัย ไม่ขอตรงๆ 3.เครื่องหมายสำหรับให้จิตกำหนดในการเจริญกรรมฐาน, ภาพที่เห็นในใจของผู้เจริญกรรมฐาน, ภาพที่เป็นอารมณ์กรรมฐาน มี ๓ คือ ๑.บริกรรมนิมิต นิมิตแห่งบริกรรม หรือนิมิตตระเตรียม ได้แก่สิ่งที่เพ่ง หรือกำหนดนึกเป็นอารมณ์กรรมฐาน ๒.อุคคหนิมิต นิมิตที่ใจเรียน หรือนิมิตติดตาติดใจ ได้แก่ สิ่งที่เพ่งหรือนึกนั้นเอง ที่แม่นในใจ จนหลับตามองเห็น

    ๓.ปฏิภาคนิมิต นิมิตเสมือน หรือนิมิตเทียบเคียง ได้แก่ อุคคหนิมิตนั้น เจนใจจนกลายเป็นภาพที่เกิดจากสัญญา เป็นของบริสุทธิ์ จะนึกขยาย หรือย่อส่วนก็ได้ตามปรารถนา

    4.สิ่งที่พระโพธิสัตว์ทอดพระเนตรเห็นก่อนเสด็จออกบรรพชา ๔ อย่าง ดู เทวทูต

    ถึงอย่างไรก็ตาม ก็ยังมี นิมิต อีกอย่างหนึ่ง ที่ไม่มีนอกเหนือจากที่แสดงไปข้างต้น เป็นนิมิต ที่บุคคลนั้นๆจะต้อง สำเร็จ มรรคผล กล่าวคือ เพียงสำเร็จมรรคผลในชั้นที่ ๑ ประมาณ ๑ ส่วน ใน ๑๐ ส่วน ก็จะเกิดนิมิต ในสิ่งที่ตัวเองไม่แน่ใจ หรือในสิ่งที่ตัวเองกำลังค้นหา ฯลฯ
     

แชร์หน้านี้

Loading...