บรรลุธรรมตอนไหน? อธิบายเชิงจิตวิทยาได้ไหม?

ในห้อง 'Black Hole' ตั้งกระทู้โดย คนขายธูป, 18 สิงหาคม 2007.

  1. คนขายธูป

    คนขายธูป เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 กรกฎาคม 2007
    โพสต์:
    252
    ค่าพลัง:
    +2,964
    อ้าว มาดูกัน
     
  2. คนขายธูป

    คนขายธูป เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 กรกฎาคม 2007
    โพสต์:
    252
    ค่าพลัง:
    +2,964
    หากเข้าสมถกรรมฐานล้วนๆ เช่น พราหมณ์สมัยพุทธกาล
    เขาจะไร้สติ ไร้ปัญญา

    พระพุทธเจ้าเคยเล่าไว้ในไตรปิฏกว่า


    พราหมณ์บางตน เข้าฌานกำหนดจะออกตอนเช้าวันรุ่งขึ้น
    แต่ระหว่างทางได้ "กสิณแสงสว่าง" ก็ตรึกนึกว่าเป็นรุ่งเช้าแล้ว
    พอตื่นขึ้นมาก็กลายเป็นกลางคืน

    พระพุทธเจ้าจะไม่เป็นเช่นนี้ เพราะทรงมีญาณที่เรียกว่า "ปเทสญาณ"
    คือ กำหนดจิตรู้เวลาเข้าออกฌานได้ดังใจ


    ทว่า ไม่ใช่ทุกคนที่จะมีญาณตัวนี้ ตั้งแต่โพธิสัตว์ขึ้นไปจะได้ปเทสญาณ
    แต่สำหรับพราหมณ์สมัยพุทธกาลมากมาย ไม่ได้ญาณตัวนี้


    จึงมักเข้าฌานตายบ้าง เพราะขาดสติ

    เรื่องนี้ไม่เกิดขึ้นกับคนที่ฝึกมาดี มีของเก่ามาดี
    แต่เกิดขึ้นกับคนที่เขาเคยพลาดมาก่อน เขาจึงรู้ว่ามีเกิดได้จริง

    เคยเจอไหมครับ?
     
  3. คนขายธูป

    คนขายธูป เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 กรกฎาคม 2007
    โพสต์:
    252
    ค่าพลัง:
    +2,964
    พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้แล้ว พบว่า "สมาธิมากไปไม่ใช่สิ่งดี"
    สมาธิต้องมีพอดีๆ สติมีมากๆ ดี ศรัทธามากไปไม่ดี อินทรีย์ห้า
    นี้ สติเท่านั้นที่ยิ่งมากยิ่งดี


    ดังนี้ จึงสอนเรื่องสติปัฏฐานและการใช้สติ
    ก่อนพระพุทธเจ้าจะบรรลุ ไม่มีใครพบธรรม
    จึงไม่มีการพิจารณาธรรมในขณะเข้าฌาน
    เรียกได้ว่า "มีแต่สมถกรรมฐาน" ไม่มีวิปัสสนา

    เมื่อพระพุทธเจ้าแสดงธรรมแล้ว พระสาวกจึง
    ใคร่ครวญธรรม หรือพิจารณาสภาวะธรรม
    ที่พระพุทธองค์ทรงตรัสนั้น ในขณะเข้าฌาน
    นี่คือ "วิปัสสนากรรมฐาน"

    ถึงได้บรรลุธรรม

    การบรรลุธรรมในขณะเข้าฌานนั้นทำได้ แต่ไม่ใช่เพราะสมาธิเป็นเหตุใกล้
    สมาธิเป็นเพียงฐานรองรับทรงจิตให้นิ่ง แต่สิ่งที่เป็นเหตุใกล้ ก็มี "สติสัมโพฌชงค์"

    เมื่อได้สติในขณะเข้าสมาธิแล้ว พิจารณาธรรมแล้ว วิปัสสนาญาณเกิด
    จึงบรรลุได้ ปราศจากวิปัสนาญาณแล้ว ไม่อาจบรรลุ ได้เพียงสมถะ
    บรรลุได้เพียงเจโตวิมุติ สูงสุดเพียงอนาคามี ไม่อาจบรรลุอรหันต์
    จะบรรลุอรหันต์จำต้องเข้าทางสติปัญญาเท่านั้น ขาดไม่ได้


    เป็นเช่นนี้แล..
    เข้าใจบ่...
     
  4. คนขายธูป

    คนขายธูป เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 กรกฎาคม 2007
    โพสต์:
    252
    ค่าพลัง:
    +2,964
    อ้าววว เพ่ ลองดูเด้ จับความดับไปของอะไรก็ได้ ก่อนเข้าสู่ฌานสี่
    ถ้าจิตมีมีสติตื่นเต็มที่ไวมาก แล้วเห็นการดับไปคืออนิจจังของสรรพสิ่ง


    ไม่งั้น งมในสมาธิเป็น ๑๐ ปี ๑๐ ชาติ ได้อภิญญา แต่ไม่รู้ปัญญาอรหันต์เปงไง


    พี่ก็ได้เลย แค่นี้ละ "วินาทีทอง"
     
  5. คนขายธูป

    คนขายธูป เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 กรกฎาคม 2007
    โพสต์:
    252
    ค่าพลัง:
    +2,964
    ไม่รู้จะอธิบายยังไงแย้วง่ะ
     
  6. คนขายธูป

    คนขายธูป เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 กรกฎาคม 2007
    โพสต์:
    252
    ค่าพลัง:
    +2,964
    สมาธิแค่ไหนพอแก่การบรรลุธรรม

    สมาธิมากไป คือ ฌานสี่ เพราะลึกเกิน ไม่มีสติ ไม่เกิดปัญญา
    สมาธิที่พอดี คือ ฌานสาม เกิดปัญญาง่าย แต่ไม่เอาอภิญญา


    หากจะเอาอภิญญา เอาตบะ เอานิโรธสมาธิบัติ ก็เข้าสมาธิลึกตามนั้น
    แต่หากจะเอา "ปัญญาอรหันต์" ไม่ต้องลึกเกินไป แค่สมาธิที่พ้นนิวรณ์ก็พอ
     
  7. คนขายธูป

    คนขายธูป เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 กรกฎาคม 2007
    โพสต์:
    252
    ค่าพลัง:
    +2,964
    สติ

    ไวเท่าทันเห็นการดับไปของสรรพสิ่ง เช่น ก่อนจะเข้าสู่ฌานสี่
    เห็นกายวูบ ความคิดดับ ลมหายใจดับขาดหาย หายไปหมดเลย
    แล้ว "สติ" ตื่นตัวสูงสุดเต็มที่


    ระลึกได้ว่า "โอว มันแค่อนิจจัง แค่นี้เอง"


    จิตจะคลายทิ้ง "อุปทาน" ทั้งหมด เรียกว่า "สำรอกกิเลสหมดถ้วน"

    หากเข้าฌาน อาศัยจังหวะจากการดับไป ของอารมณ์กรรมฐาน
    ที่พิจารณาอยู่ (เอาอะไรเป็นที่ตั้งจิตแล้วมันหายไปก็ใช้สิ่งนั้นละ)
    ช่วงฌานสามเข้าสี่ จะเห็นมันดับวูบไปหมด


    ช่วงนี้ หากสติไวมาก ตื่นเต็มที่ ปัญญามองทะลุสรรพสิ่งได้
    จิตวางคลายหมด บรรลุตอนนี้เลย แค่นี้เอง


    ไม่ต้องไปนั่งสมาธิเป็นสิบปีสิบชาติอะไร
    เข้าๆ ออกๆ จากฌานไปสี่ ฌานสี่มาสาม อยู่แค่นี้
    วิปัสสนาไตรลักษณ์ ช่วงสามกะสี่แค่นี่เอง
     
  8. คนขายธูป

    คนขายธูป เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 กรกฎาคม 2007
    โพสต์:
    252
    ค่าพลัง:
    +2,964
    นึกแล้วเชียว พวกชอบกั๊ก พอจะได้นิพพาน หนีเลย

    (ตรูยังไม่อยากเข้านิพพาน หนีก่อนดีกว่า ฮ่าๆๆ)
     
  9. จันทร์เจ้า

    จันทร์เจ้า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    830
    ค่าพลัง:
    +1,948
    เคยได้ยินมาว่าอาการ "สมาธิมากเกินไป" เรียกว่า "ตายในสมาธิ"
    การตายในที่นี้ ไม่ได้หมายถึงตายแบบจิตหลุดออกจากร่างไปจริงๆ
    แต่หมายถึงการเข้าสมาธิแล้วหยุดนิ่งอยู่แค่อารมณ์ญาณเท่านั้น
    ไม่ได้นำปัญญามาใช้พิจารณาให้เห็นถึงความเกิดดับของสิ่งต่างๆ
    พอออกจากสภาวะสมาธิเพื่อดำเนินชีวิตประจำวันตามปกติมนุษย์
    จิตก็ยังสามารถรับผลกระทบแปรเปลี่ยนไปตามสิ่งเร้าได้อยู่เช่นเดิม
    เป็นตัดขาดจากทางโลกเพียงชั่วคราวได้ในสมาธิเท่านั้น หาใช่ถาวรไม่
     
  10. คนขายธูป

    คนขายธูป เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 กรกฎาคม 2007
    โพสต์:
    252
    ค่าพลัง:
    +2,964
    อ่า คำนี้น่าสนครับ "ตายในสมาธิ" มีหลายมุมมองที่เดียว


    ๑. ตายจริงๆ ตายคาฌาน เข้าฌานตาย เพราะหมดอายุขัยพอดีแล้วไม่ออก
    จากฌาน ก็ไปเกิดเป็นพรหมอย่างที่เรารู้ๆ กัน

    ๒. ตายในลักษณะภาวนามยปัญญา คือ พิจารณาเห็นความตาย เรียกว่า
    ตายก่อนตาย แบบนี้ เข้าสู่วิธี "อรหันตผล"

    ๓. ตายแบบระลึกชาติว่าตายในขณะเข้าสมาธิ คือ ระลึกชาติได้ในขณะเข้า
    สมาธิว่าเราเคยตายอย่างนั้นอย่างนี้มาก่อน


    และอย่างที่คุณแนะนำก็ใช่อีกอย่างหนึ่งด้วย
     
  11. AJ_Purngkan

    AJ_Purngkan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ตุลาคม 2004
    โพสต์:
    395
    ค่าพลัง:
    +3,789
    ภูมิธรรมของ พี่คนขายธูป นี่ก็มีเยอะดีนะครับ
    แต่พี่ก็ชอบแหย่คนอื่น เหมือนกันนะนี่
    เหมือน ภิกษุบ้า จี้กง อารมณ์ขัน ฮา ๆ น่ารักดี
     
  12. yutkanlaya

    yutkanlaya เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 ธันวาคม 2006
    โพสต์:
    865
    ค่าพลัง:
    +4,403
    ตายคาฌาณเนี่ย...มันจะคือกันไหมหนอกับ...ใหลตาย?????
    (555) (555) ;) ;) (^) (^)
    คนขายธูป..ธรรมดา..ที่ไม่ธรรมดา..ปัญญาญาณสูงยิ่งนัก
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 สิงหาคม 2007
  13. wisarn

    wisarn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    741
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +2,505
    <TABLE id=AutoNumber2 style="BORDER-TOP-WIDTH: 0px; BORDER-LEFT-WIDTH: 0px; BORDER-BOTTOM-WIDTH: 0px; BORDER-COLLAPSE: collapse; BORDER-RIGHT-WIDTH: 0px" borderColor=#111111 cellSpacing=0 cellPadding=0 border=1><TBODY><TR><TD style="BORDER-RIGHT: medium none; BORDER-TOP: medium none; BORDER-LEFT: medium none; BORDER-BOTTOM: medium none" width="100%">
    สันตินันท์ <!-- InstanceEndEditable -->​





    </TD></TR><TR><TD style="BORDER-RIGHT: medium none; BORDER-TOP: medium none; BORDER-LEFT: medium none; BORDER-BOTTOM: medium none" width="100%">จิตถูกห่อหุ้มด้วยอาสวะกิเลส

    <DD>เวลาวิมุติอริยมรรคเกิดแต่ละขั้นๆ ก็มีความสุขเป็นลำดับๆ ไป ถึงจุดสุดท้ายก็มีความสุขล้วนๆ มีความสุขเพราะว่ามันไม่มีอะไรเข้ามาเคลือบจิตได้อีก หมอณัฐดูออกมั้ยจิตเราถูกห่อหุ้มไว้ มีเปลือกหุ้ม จิตเค้าถูกห่อหุ้มด้วยอาสวะ ยังปนเปื้อน เยิ้มๆ จิตยังปนเปื้อน ความปนเปื้อนนี้แหละ เป็นช่องทางให้กิเลสไหลเข้ามาสู่จิต (หมอณัฐถาม...ได้ยินไม่ชัด) .. อือ ดูอย่างนี้ก็ได้ แล้วจะเห็นเอง จิตใจนี้เป็นอิสระ รู้สึกมั้ยจิตใจไม่เป็นอิสระ ตอนนี้รู้สึกมั้ย อาจจะไม่เห็นตัวอาสวะตรงๆ แต่เห็นผลของจิตที่มีอาสวะ ไม่อิสระ จริงๆ จิตถูกอาสวะห่อหุ้มไว้ อาสวะนี่ เทียบแล้วคล้ายๆ กับ เรามี สมมติอยู่บ้านไม้ ใครเคยอยู่บ้านไม้ เวลาเราทำน้ำหกน้ำไหลไปเนี่ย เราจะเห็นเส้นทางที่เราเช็ดให้แห้ง เทน้ำลงไปที่เก่า มันไหลไปทางเดิมอย่างรวดเร็ว มันนำร่อง ความชื้นเดิมมันนำร่อง เพราะน้ำนี้ไหลไปตามความชื้นเดิม อาสวะกิเลสนี่มันนำร่องกิเลสเข้าไปย้อมจิต จิตของเราไม่มีอิสระ เหมือนลูกไก่ที่อยู่ในเปลือกไข่ พระพุทธเจ้าท่านบอกว่า ท่านเป็นลูกไก่ที่เจาะเปลือกไข่ออกมาเป็นตัวแรก ท่านใช้คำเปรียบเทียบได้ดี เคยมีพราหมณ์คนนึงไปว่าพระพุทธเจ้า บอกอายุก็ยังน้อยพราหมณ์ผู้แก่ผู้เฒ่ามาก็ไม่ไหว้ไม่ต้อนรับ เฉยเมย ท่านบอกว่าท่านอาวุโสที่สุด ท่านเป็นลูกไก่ที่เจาะเปลือกออกมาได้ พวกที่เหลือยังอยู่ในไข่อยู่เลย ท่านจะไปไหว้ทำไม คำพูดของท่านนะ น่าฟัง จริงๆ แล้วเรามีเปลือกที่ห่อหุ้มอยู่ จิตถูกอาสวะกิเลสห่อหุ้ม ทำยังไงก็ไม่ขาด ไม่ขาด ทำยังไง ยังไง้ ยังไงก็ไม่ขาด พระไตรปิฎกก็เลยใช้คำบอกว่า เวลาบรรลุพระอรหันต์นะ จิตหลุดพ้นจากอาสวะเพราะความไม่ถือมั่น เห็นมั้ย หลุดพ้นจากอาสวะ อาสวะมันห่อหุ้มไว้ จิตหลุดพ้นจากอาสวะเพราะความไม่ถือมั่น ไม่ถือมั่นในอะไร ในรูปนาม ในกายในใจ เนี่ยกุญแจของการปฏิบัติอยู่ที่กายกับใจนี่เอง เมื่อไรไม่ถือมั่นในกายในใจ โดยเฉพาะเมื่อไหร่ไม่ถือมั่นในใจในจิต อาสวะจะขาดโดยอัตโนมัติ ถ้าเราเห็นอาสวะแล้วพยายามตัด ทำยังไงก็ไม่ขาด กำหนดจิตให้แหลมคมแค่ไหนก็ไม่ขาดนะ แทงก็ไม่ทะลุนะ พอมันขาดเราจะรู้สึกว่าเรามีอิสระ <DD>23 ก.ค. 2549 <DD><DD>



    <DD>สภาวะทุกอย่างเสมอภาคกัน



    <DD>การเห็นสภาวะที่หยาบหรือละเอียด ธรรมะภายใน ธรรมะภายนอก ธรรมะที่เป็นกุศล อกุศล ธรรมะที่เป็นสุข เป็นทุกข์ ก็เสมอภาคกัน คือทั้งหมดเกิดและดับ ไม่ใช่ว่าต้องทำให้ละเอียดขึ้นๆ จึงจะบรรลุธรรม บางวันมันก็หยาบ บางวันมันก็ละเอียด เพราะว่าทั้งหมดนี้ เป็นเรื่องของอนัตตา ทั้งหมดเลย สติก็เป็นอนัตตา บางวันก็หยาบ บางวันก็ละเอียด บางวันก็ไม่มีเลย เขาเกิดขึ้นมาจะเป็นยังไงก็ได้ เราเรียนไม่ใช่เพื่อว่าจะเอาดี ไม่ใช่ว่าเราอยากได้สติเยอะๆ เราไม่ได้เรียนเอาตรงนั้นหรอก แต่เราเรียนจนกระทั่งจิตมันเกิดความเข้าใจ ว่าทุกอย่างบังคับไม่ได้ สติจะเกิดหรือไม่เกิด จะหยาบหรือละเอียด เราก็เลือกไม่ได้ ไม่ได้เรียนเอาดีนะ แต่เรียนเพื่อที่จะเห็นว่า ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นมาล้วนแต่ดับไปทั้งสิ้น ธรรมะที่หยาบเกิดขึ้นแล้วก็ดับ ธรรมะที่ละเอียดเกิดแล้วก็ดับ เสมอภาคกัน เรียนเพื่อให้เข้าใจตรงนี้เอง ในที่สุดก็เข้าใจว่า ทุกสิ่งที่เกิดล้วนแต่ดับไปทั้งสิ้น พระโสดาบันรู้แค่นี้เอง <DD>22 ต.ค. 2548 <DD><DD><DD>
    <DD>
    การจำสภาวะธรรมได้เป็นเหตุใกล้ให้เกิดสติ


    <DD>สติเกิดขึ้นได้เพราะมีเหตุให้สติเกิด มันเกิดขึ้นเอง เราไปสั่งให้มันเกิดมันไม่เกิดหรอก สติมีการจำสภาวะได้ เป็นเหตุใกล้ให้เกิด เพราะเรารู้จักโกรธเป็นอย่างไร พอโกรธสติก็เกิด พอรู้จักเผลอเป็นยังไง พอเผลอสติก็เกิด <DD>พอหัดรู้กาย รู้ใจเนืองๆ สติปัญญาเริ่มแก่กล้าเพียงพอ จิตจะรวมเข้าอัปปนาสมาธิเอง พอรวมแล้วก็จะเห็นสภาวธรรมเกิดดับ 2 หรือ 3 ขณะ จะเห็นตัวสภาวะเกิดดับ ถัดจากนั้นโคตรภูญาณจะเกิดขึ้น มันจะเกิดการปล่อยวางตัวสภาวะ พอเห็นสภาวะเกิดดับ ปัญญาแก่รอบแล้ว มันวาง มันทิ้งโดยไม่ได้เจตนา ตรงนี้ไม่มีความจงใจเหลืออยู่เลยตั้งแต่จิตรวมแล้วเห็นสภาวะเกิดดับ 2 หรือ 3 ขณะนั้น จิต จะวางการรู้สภาวะแล้วทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ ตรงเนี้ยตรงที่มันปล่อยสภาวะก็ไม่ใช่ปุถุชน ตรงที่ทวนเข้าหาธาตุรู้ยังไม่เข้าถึงธรรมธาตุตัวนี้ก็ไม่ใช่พระอริยะ เพราะงั้นเป็นรอยต่อ เกิดขึ้นแว๊บเดียวทวนเข้าถึงธาตุรู้แท้ๆ ตัวรู้จะมีปัญญาสุดขีดเกิดขึ้น ธาตุรู้นี้ก็เกิดแล้วก็ดับได้อีก จะเห็นเลยว่าความเป็นราไม่มีสักนิดเดียว ถัดจากนั้นจิตจะไปเห็นนิพพาน 2 หรือ 3 ขณะแล้วแต่คน จะเห็นสภาวธรรมเกิดดับ 2 หรือ 3 ขณะจากนั้นจิตจะถอยออกมาจากอัปปนาสมาธิ พอออกมาข้างนอกมันจะทวนกระแสเข้าไปพิจาณาสิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อกี๊แล้วมันจะเข้าใจ กิเลสยังเหลือ หรือไม่เหลือสักเท่าไร รู้ พอเราปฏิบัติได้อย่างนี้ พอเราต้องการเช็คตัวเอง เราสังเกตที่ใจของเรากิเลสของเราเหลือสักเท่าไร จะไปแล้วเท่าไร หลวงปู่ดูลย์ไปเรียนกรรมฐานกับหลวงปู่มั่นเสร็จแล้วไปเดินนะ เดินมาเดือนกว่าๆ กลับมารายงาน กิเลส 4 ส่วน ผมละเด็ดขาดไปแล้ว 1 ส่วน ส่วนที่ 2 ละได้ครึ่งเดียวยังไม่สมุจเฉจ (การตัดขาด) หลวงปู่มั่นบอกไปทำต่อถูกแล้ว จากนี้ดู สัพเพ สังขารา สัพพสัญญา อนัตตา <DD>4 พ.ค. 2548



    <DD>ทางลัด


    <DD>จิตที่พ้นความปรุงแต่ง จะรู้ธรรมชาติที่พ้นความปรุงแต่ง (นิพพาน) ทางลัดที่สุดสำหรับการปฏิบัติธรรม จึงไม่ใช่การกระทำ (ปรุงแต่ง) ใดๆ แต่เป็นการหยุดกระทำ โดยไม่กระทำ (ปรุงแต่ง) ความหยุดให้เกิดขึ้น มีเพียง การรู้อย่างเงียบสนิทจริงๆ เท่านั้น (โดยไม่มีมายาของการคิดนึกปรุงแต่ง และมายาของการหยุดคิดนึกปรุงแต่ง) ที่เป็นสิ่งสุดท้ายซึ่งผู้ปฏิบัติจะทำได้ ก่อนที่จิตเขาจะ "ก้าวกระโดด" ไปเอง <DD>หากพระพุทธเจ้าจะทรงแสดงธรรมอย่างถึงที่สุด ย่อมต้องปิดพระโอษฐ์เงียบ แต่นั่นเป็นสิ่งยากเกินกว่าเวไนยชนจะเข้าใจได้ และหากจะทรงกล่าวธรรมอย่างย่นย่อที่สุดว่า สิ่งทั้งปวงไม่ควรยึดมั่น ก็ยังยากที่จะมีผู้รู้ตามได้ เพราะสัตว์ทั้งหลายถ้าไม่ยึดรูปธรรม ก็ต้องยึดนามธรรมไว้ก่อน พระองค์จึงทรงบอก ทาง ของการปฏิบัติขึ้นมามากมาย โดยอิงกับรูปธรรมและนามธรรม เช่น ทาน ศีล ภาวนา กุศลกรรมบถ ตลอดจนการทำสมถะและวิปัสสนา ทั้งนี้ ก็เพื่อให้พวกเราเดินเข้าใกล้ การหยุดพฤติกรรมทางจิต จนเหลือเพียงรู้อย่างเงียบสนิทจริงๆ นั่นเอง <DD>เช่นทรงสอนให้ทำทาน เพื่อลดความกระวนกระวายเพราะความโลภ ทรงสอนให้รักษาศีล เพื่อเป็นพื้นฐานสำหรับความสงบระงับ ทรงสอนสัมมาสมาธิ เพื่อให้จิตตั้งมั่นและรู้ตัว และทรงสอนวิปัสสนา เพื่อทำลายแรงดึงดูดของอารมณ์ ที่จะพาจิตให้ทะยานไปก่อภพก่อชาติตลอดนิรันดร ผู้ปฏิบัติที่ยังขาดความเข้าใจ ย่อมปฏิบัติสิ่งเหล่านี้ เพื่อที่จะปฏิบัติต่อไป ส่วนผู้ที่เข้าใจแล้ว ก็จะ หยุด การปฏิบัติ ได้ด้วยปัญญาญาณอันแหลมคม <DD>หากต้องการทางลัด ก็จำเป็นต้อง รู้ และเลิกคิดเรื่อง ทาง ไปเลย แต่ถ้ายังไม่รู้จัก รู้ ก็ยังจำเป็นต้องอาศัยทางเหล่านั้นต่อไปก่อน <DD>4 ธ.ค. 2544<DD>



    <DD>ของฝากจากสวนโพธิ์



    <DD>1. เผลอก็ให้รู้ว่าเผลอ เมื่อรู้ว่าเผลอแล้วก็พอแล้ว อย่าเผลอต่อไปอีก ด้วยการคิดว่า ทำอย่างไรจึงจะรู้ตัวได้ต่อเนื่อง <DD>2. เพ่งก็ให้รู้ว่าเพ่ง เมื่อรู้ว่าเพ่งแล้วก็พอแล้ว อย่าเผลอหรือเพ่งต่อไปอีก เพื่อจะทำลายการเพ่งนั้น <DD>3. หงุดหงิดก็รู้ว่าหงุดหงิด กลัวก็รู้ว่ากลัว มีราคะก็รู้ว่ามีราคะ มีความฟุ้งซ่านก็รู้ว่ามีความฟุ้งซ่าน ให้รู้ด้วยจิตที่เป็นกลางๆ คือไม่คล้อยตาม และไม่ต่อต้าน เพราะถ้าคล้อยตามก็จะถูกกิเลสครอบงำ ถ้าต่อต้านก็จะเกิดความอึดอัดใจ <DD>4. สรุปแล้ว ให้รู้ทุกอย่างที่จิตไปรู้เข้า โดยไม่เติมความคิดนึกปรุงแต่งใดๆ ลงไปอีก เพราะ "รู้" นั่นแหละคือประตูของมรรคผลนิพพาน <DD>29 พ.ย. 2544 <DD><DD>



    <DD>แก่นสารของการปฏิบัติธรรม



    <DD>การเจริญสติจริงๆ จะไปยากอะไร เพียงแต่ให้มีจิตที่รู้ตัวสบายๆ เป็นธรรมชาติธรรมดานี้เอง แล้วไปรู้อารมณ์ (ที่เป็นปรมัตถ์)ที่กำลังปรากฏ โดยไม่เผลอ ไม่เพ่ง ด้วยความเป็นกลางจริงๆ คลองแห่งความคิดจะขาดไป และจิตจะรู้ โดยปราศจากความปรุงแต่ง ไม่นานผู้ปฏิบัติก็จะสามารถเข้าในวิสังขารธรรม หรือธรรมที่พ้นความปรุงแต่งได้ <DD>จุดแรกที่พวกเราควรทำความรู้จักก็คือ จิตที่มีสติ ไม่เผลอ ไม่หลง ไม่ถูกครอบงำด้วยความปรุงแต่งมันเป็นอย่างไร เมื่อรู้ตัวเป็นแล้ว ก็รู้ปรมัตถธรรมที่กำลังปรากฏไปตามธรรมดาๆ นี่เอง เช่นรู้ลงในความไหวของกาย ด้วยจิตที่ไม่หลง ก็จะเห็นปรมัตถ์ของ "กาย" อย่างชัดเจน คลองแห่งความคิดจะขาดไป เหลือแต่รู้สักว่ารู้ รู้ตามความเป็นจริง รู้ด้วยจิตที่เป็นกลาง แล้วจะเห็นธรรมฝ่ายสังขารคือ "กาย" หากจิตมีความพร้อม ก็จะเห็นธรรมฝ่ายวิสังขาร คือฝ่ายเหนือความปรุงแต่งได้ในวับเดียว <DD>29 พ.ค. 2544 <DD><DD>



    <DD>รู้อย่างไรจึงจะบั่นทอนทุกข์ลงได้



    <DD>"รู้ตัว" เป็น ก็คือมีจิตที่ตั้งมั่น เป็นกลาง เป็นธรรมเอก ถัดจากนั้นก็ต้องหัด "รู้" ทุกสิ่งที่กำลังปรากฏ ด้วยความ "รู้ตัว" ก็จะเห็นว่าทุกอย่างที่ถูกรู้ล้วนแต่เกิดขึ้นแล้วดับไป และถ้าเมื่อใดจิตขาดความรู้ตัว หลงเข้ายึดถือสิ่งที่ถูกรู้ ความทุกข์ก็เกิดขึ้น ถ้ารู้ โดยรู้ตัวอยู่ ก็เป็น รู้สักว่ารู้ จิตจะเป็นเพียง "ผู้สังเกตการณ์" ปรากฏการณ์ทั้งปวง โดยไม่โดดเข้าไปร่วมแสดงเอง <DD>ที่คุณสุรวัฒน์เล่าถึงการปฏิบัติว่า "ผมก็เลยต้องคอยทำตัวให้ รู้ เข้าไว้ อาบน้ำก็ฝึกรู้ ดูโทรทัศน์ก็ฝึกรู้ กินข้าวก็ฝึกรู้ ...นึกขึ้นได้ตอนไหนก็ฝึกรู้ วันๆก็ฝึกรู้ไปเรื่อยๆ" <DD>หัดต่อไปอย่างที่หัดนี่แหละครับ ยืน เดิน นั่ง นอน กิน ดื่ม ขับถ่าย ทำ พูด คิด ฯลฯ รู้อยู่ให้ตลอด ให้ต่อเนื่องไปเรื่อยๆ โดยมีผู้รู้ กับสิ่งที่ถูกรู้ ซึ่งถึงจุดนี้ จะเห็นมันแยกกันเองได้แล้วครับ ไม่ต้องไปพยายามทำอะไรเพื่อให้มันแยกกันมากกว่านี้จนผิดธรรมชาติ จะกลายเป็นปฏิบัติด้วยความจงใจและความอยากมากไปครับ <DD>30 มิ.ย. 2543 <DD><DD>



    <DD>ปัจจัยแห่งความเจริญงอกงามในธรรม



    <DD>(1) ให้พยายามมีสติสัมปชัญญะ รู้ อยู่ในชีวิตประจำวันให้ได้ จะยืน เดิน นั่ง นอน กิน ดื่ม ทำ พูด คิด ฯลฯ ก็ให้มีสติรู้กายรู้ใจอยู่เสมอ <DD>(2) ให้ปฏิบัติธรรมไปอย่างซื่อๆ ตรงๆ อย่าเอาแต่วุ่นวายกับการคิด การหาอุบายทางลัด และนิมิตต่างๆ เพราะนั่นล้วนเป็นทางแห่งความเนิ่นช้า <DD>(3) อย่าเอาแต่รวมกลุ่มสัญจรไปตามสำนักโน้นสำนักนี้ เที่ยวสนุกกับการไปฟังธรรมที่โน้นที่นี้ ละเลยการฟังธรรมในจิตใจตนเอง <DD>(4) มีผลการปฏิบัติใดๆ เกิดขึ้นในระหว่างทาง ก็อย่าเอาแต่ไปเขียนเล่าในกระทู้ให้กิเลสกระเพื่อม จนปฏิบัติต่อไปไม่ได้อีก <DD>(5) ขอให้ตั้งใจจริงจังเพื่อเอาตัวให้รอด ลองเอาจริงสัก ปี สองปีก็ยังดี โดยยอมเสียสละเรื่องรกรุงรังในจิตใจเสียสักช่วงหนึ่ง แล้วตั้งใจปฏิบัติให้สม่ำเสมอ <DD>9 พ.ย. 2543 <DD><DD>


    <DD><DD>วันวานที่ผ่านมา


    <DD>วิปัสสนาที่แท้จริงนั้น มีแต่รู้ ไม่ต้องจงใจเติมสิ่งใดลงไปในรู้ ไม่ว่าจะเป็นศีล สมาธิ หรือปัญญา ไม่ต้องเอาสมมุติบัญญัติ หรือความคิดนึกปรุงแต่งใดๆ มาช่วยทำวิปัสสนา ไม่ต้องคิด ไม่ต้องพิจารณาโดยสิ้นเชิง เพราะความจงใจเคลื่อนไหวใดๆ จะทำให้จิตก่อภพก่อชาติ ก่อวัฏฏะหมุนวนขึ้นมาอีก <DD>ผมไม่แนะนำให้พยายามทรงความรู้ตัวให้นานๆ เพราะความพยายามนั้นเอง จะทำให้เกิดการ จงใจ เสแสร้ง ดัดจริต รู้ นักปฏิบัตินั้น อย่าไปนึกถึงเรื่องที่จะให้จิตรู้ตัวต่อเนื่อง ได้เป็นชั่วโมง เป็นวัน เป็นเดือน เลยครับ เพราะการปฏิบัติ เราจะดูกันเป็นขณะๆ ไปเท่านั้นเอง ว่าขณะนี้รู้ตัวหรือเผลอ ขณะนี้มีสติ หรือขาดสติ ขณะใดมีสติ ขณะนั้นกำลังปฏิบัติอยู่ ขณะใดขาดสติ ขณะนั้นไม่ได้ปฏิบัติ หรือปฏิบัติผิด ไม่ใช่พูดว่า ชั่วโมงนี้รู้ตัว หรือวันนี้รู้ตัว ชั่วโมงต่อมา หรือวันต่อมา ไม่รู้ตัว <DD>ดังนั้นเมื่อเผลอไป แล้วเกิดรู้ตัวว่าเผลอ ขณะนั้น จิต รู้ ถูกต้องแล้ว เมื่อเพ่ง แล้วเกิดรู้ตัวว่าเพ่ง ขณะนั้น จิต รู้ ถูกต้องแล้ว เมื่อมีราคะ แล้วเกิดรู้ตัวว่ามีราคะ ขณะนั้น จิต รู้ ถูกต้องแล้ว เมื่อโทสะ แล้วเกิดรู้ตัวว่ามีโทสะ ขณะนั้น จิต รู้ ถูกต้องแล้ว เมื่อมีโมหะ แล้วเกิดรู้ตัวว่าโมหะ ขณะนั้น จิต รู้ ถูกต้องแล้ว <DD>18 ธ.ค. 2543





    </DD></TD></TR></TBODY></TABLE>
    ____________________________________________
    http://se-ed.net/yogavacara/index.html
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 18 สิงหาคม 2007
  14. กังขา ณ ปลาย

    กังขา ณ ปลาย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    226
    ค่าพลัง:
    +1,763
    อนุโมทนากับจขกท. กระทู้นี้น่าสนุก


    เคยคิดเรื่องนี้อยู่เหมือนกัน

    ไม่ว่าจะใช้อุปจารสมาธิ
    หรืออัปนาสมาธิหรือความเป็นณาน (1-4 ในอริยะขั้นสูงก็ดี)

    จนเกิดพละห้าสมังคี จนเห็นดับ (นามขันธ์ดับเหลือจิตเดิม)

    ภาวะที่เข้าไปเห็นอยู่ แม้จะชั่ววูบก็ตาม ควรจะเป็นเอกัคตา (อัตโนมัติ)
    เพราะกายกับจิต แยกกันโดยเด็ดขาด (ทั้งจิตเดิมก็แยกจากสังขารจิตด้วย)
    จะเป็นโลกุตระฌานได้หรือเปล่า หรือเป็นสภาวะเหนือฌาน 8


    ส่วนที่ยังไม่ดับหรือดับไม่ได้ แต่ได้ฌานแล้วก็ตาม
    จะยังเป็นเอกัคตาแบบโลกียฌาน (เพราะพละห้าอาจไม่เสมอ สมาธิอาจล้ำหน้าไป แต่ไม่สามารถดับได้)
    จึงต้องถอนกลับมาที่ฌาน 3 เฉียดเอกัคตา เพื่อพิจารณาธรรมไปๆ มาๆ
    จนกว่าจะเข้าเอกัคตา แบบโลกกุตระให้ได้


    โลกียฌาน ต่างจากโลกุตระฌานมาก
    ฌานโลกียเกิดขึ้นแล้ว ยังหลงได้
    ฌานโลกุตระ เกิดเมื่อไหร่ ทำลายความหลงลงได้


    ข้างบนเป็นความเห็นส่วนตัวนะ


    เพราะจะว่าฌานสี่ กายแยกจิตสิ้นเชิง ก็น่าสังเกตว่า
    พวกมีฌานสี่ เหาะเหินเดินอากาศ ทำไมกายจิตยังประสานกันได้

    หรือมีแต่ โลกกุตระฌานเท่านั้น ที่กายจิตจะแยกกันสิ้นเชิง


    แค่เดาๆ อยู่

    ...
     
  15. คนขายธูป

    คนขายธูป เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 กรกฎาคม 2007
    โพสต์:
    252
    ค่าพลัง:
    +2,964

    Ohhh ลึกซึ้งครับ นี่ละ เข้าสมาธิ เข้าฌาน บวกสติปัฏฐาน ดูรูปนามดับตัวจริง
     
  16. กังขา ณ ปลาย

    กังขา ณ ปลาย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    226
    ค่าพลัง:
    +1,763
    อ้างอิง คนขายธูป..
    อันนี้ยังงง ต้องบรรลุอรหันต์ก่อน เมื่อเข้าฌาน จึงเรียก "โลกุตระฌาน"
    หรือว่า "ได้โลกุตระฌาน" แล้วนำไปสู่การบรรลุอรหันต์ละ? เอาไงดี?

    ..

    พร้อมกันทันที หากยังไม่บรรลุมาก่อน
    นับแต่โสดาบันขึ้นไป

    ต่อให้บรรลุแล้ว มาเข้าฌานใหม่ ถ้าเข้าแบบไม่ใช่นิโรธิ
    ก็เป็นฌานโลกีย์อีก
    นอกจากเข้าไปเห็นดับอีก เสวยผลเก่าก็มี สูงกว่าเก่าก็มี

    ..


    เรามักจะนึกในแง่พระอริยะเข้าฌาน เป็นโลกุตระฌาน
    ปุถุชนเข้าฌาน เป็นโลกียฌาน
    ใช่ไหม

    แต่ดิฉันกำลังนึกว่า ฌานที่เข้าไปได้
    ถ้าเป็นโลกียฌาน พระอรหันต์ก็น่าจะทำได้ คือเข้าฌานทั่วไป

    ส่วนโลกกุตระฌาน ปุถุชนเข้าไปก็เป็นพระอริยะแล้ว

    แค่สงสัย ว่าภาวะนั้น ใช่เป็นเอกัคตา แบบโลกุตระหรือเปล่า
    แล้วเขาเรียกโลกุตระฌานไหม

    หรือที่คิดมานี่ ไม่ถูก..

    เพราะบางคนเข้าไป เป็นโลกียฌาน แล้วคิดว่าตนบรรลุก็มี

    คนที่เข้าโลกุตระฌาน แบบวูบเดียว ไม่ทันรู้ตัวนี่
    ก็สงสัยว่ามันเป็นฌานหรือเปล่า

    ..
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 สิงหาคม 2007
  17. คนขายธูป

    คนขายธูป เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 กรกฎาคม 2007
    โพสต์:
    252
    ค่าพลัง:
    +2,964
    อ่า ขอบคุณครับ

    ผมยังแยกแยะจิตตอนเข้าฌาน ระหว่าง "โลกุตระ" และ "โลกียะ"
    ไม่ได้นี่สิ เรื่องจำแนกจิต นี่มันไม่ใช่เรื่องง่ายๆ เล้ย คุณ ณ ปลาย

    (evil2)
     
  18. กังขา ณ ปลาย

    กังขา ณ ปลาย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    226
    ค่าพลัง:
    +1,763
    ยากนะเรื่องพวกนี้
    แค่ความเห็นส่วนตัวนะคะ ฟังเพลินๆ ไปก่อน ไม่รู้จริงไม่จริง
    เพราะแค่พยายามจะหาเหตุผลอยู่

    เขาพูดทำนองว่า

    โลกียฌาน สว่างเหมือนดวงจันทร์
    โลกุตระฌาน สว่างดั่งดวงอาทิตย์

    คูณคนขายธูป มีประสบการณ์มาก
    แถมค้นหาข้อมูลก็เก่ง
    น่าจะเจอความจริงในรายละเอียดที่บันทึกแจ่มแจ้งได้ในสักวัน
     
  19. นโมโพธิสัตโต

    นโมโพธิสัตโต ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ผู้ดูแลเว็บบอร์ด สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    1,166
    กระทู้เรื่องเด่น:
    22
    ค่าพลัง:
    +29,753
    TTTTTTTTTTTTTTTTTTTTTTOOOOOOOOOOOONNNNNNYYYY

    ขออนุญาตินะครับ ไม่ใช่มีเจตนาประจาน หรือ จับผิด
    แต่อ่านแล้วสะดุด เพื่อการเผยแผ่ธรรมอันดี อย่างสมบูรณ์ขึ้นเท่านั้นเท่านั้น

    1. ตัวสี่แดง

    มีครับ แต่จิตยังไม่ข้ามพ้นความเป็นปุถุชน จึงต้องอาศัยพระพทธองค์มาตรัสรู้ การข้ามโคตรปุถุชนจึงเกิดขึ้นได้




    2.ตัวสีชมพู

    พิจารณาแล้วเข้าสภาวะฌาณ และ ญาณ สลับกันไปก็มี
    ( ในตำราหายาก ความรู้จากประสพการณ์ของครู และผู้รู้จริงหลายท่าน )


    3. ตัวสีม่วง
    ท่านบรรยายขัดกันเองในตัว

    ยังไม่บอก พิจารณาดีๆ
     
  20. คนขายธูป

    คนขายธูป เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 กรกฎาคม 2007
    โพสต์:
    252
    ค่าพลัง:
    +2,964
    การบรรลุอรหันต์แบบ "เจโตวิมุติ" นั้น คือ การใช้สมถะเป็นฐานแล้ว
    ใช้ "ปัญญา" ในขั้นสุดท้าย

    ส่วนการบรรลุอรหันต์แบบ "ปัญญาวิมุติ" นั้น คือ การใช้ปัญญาเป็นหลัก
    ใช้ "สมาธิ" เป็นเครื่องรอง


    การบรรลุ "เจโตวิมุติ" ในความหมายของผม ไม่ใช่บรรลุอรหันต์
    แต่เป็นการบรรลุสมถะขั้นสูง จนสามารถข่มกำราบกิเลสได้ด้วย
    กำลังสมถะนั้นๆ เรียกได้ว่า "บรรลุกรรมฐานขั้นสูงแต่ยังไม่อรหันต์"


    ผมใช้คำแยกกัน แต่คนทั่วไป "ใช้เจโตวิมุติ" หมายถึงบรรลุอรหันต์


    อนึ่ง ผมใช้หลักเดียวกับท่าน ป. ปยุติโต ท่านกล่าวว่า พระอรหันต์
    จะบรรลุได้ ล้วนต้องเป็น "ปัญญาวิมุติ" อย่างเดียวเท่านั้น ส่วน
    พระอรหันต์ประเภท "เจโตวิมุติ" นั้น แม้นจะเข้าอรหันต์ทาง
    สมถะ แต่จะบรรลุได้ก็ต้องเป็นด้วย "ปัญญา" ดังนั้น ท่าน ป. ปยุติโต
    จึงกล่าวว่า พระอรหันต์ล้วนเป็นการวิมุติแบบ "ปัญญาวิมุติ" ทั้งสิ้น


    ตาดีมากครับ อิๆๆ เยี่ยมๆ
     

แชร์หน้านี้

Loading...