ฆ่าสัตว์ผิดศีล ทำไมพุทธบัญญัติไม่ห้ามไว้ว่าชาวพุทธทั้งหลายห้ามถวายเนื้อสัตว์..

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย gnosis alpha 9, 5 สิงหาคม 2012.

  1. gnosis alpha 9

    gnosis alpha 9 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    40
    ค่าพลัง:
    +43
    ผมเข้าใจว่าการฆ่าสัตว์เป็นสิ่งไม่ดีแน่ๆ ทำให้สัตว์ต้องเจ็บปวด ไม่ว่าเราจะนำซากสัตว์นั้นไปทำอะไรก็ตาม แบบนี้ก็เหมือนกับเป็นแรงกระตุ้นส่วนหนึ่งให้คนฆ่าสัตว์เพื่อมาทำบุญถวายอาหารแก่สงฆ์ ทำให้พวกเขาผิดศีล 5 เสียเอง ทำไมพุทธบัญญัติไม่มีห้ามไว้ครับว่าห้ามถวายเนื้อสัตว์ ถ้าพระฉันแต่ผักมันก็ดีไม่ใช่เหรอครับ สัตว์ก็ไม่ต้องถูกฆ่าด้วย

    ท่านคิดว่าอย่างไรครับ
     
  2. ปุณบพิธ

    ปุณบพิธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มกราคม 2012
    โพสต์:
    1,102
    ค่าพลัง:
    +2,134
    กรณีสัตว์ตายเอง ไปเจอซาก ก็มีนะครับ...
     
  3. Fabreguz

    Fabreguz เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    645
    ค่าพลัง:
    +1,911
    ไม่รู้ไม่เห็นต่อการฆ่า,ไม่ได้สั่งให้ฆ่า,ไม่มีเจตนาให้ฆ่า,ไม่คิดว่าเขาฆ่าเพื่อถวายตน = ไม่บาปครับ .. แต่ถ้าจู่ๆ เห็นเนื้อนั้นแล้วกลับนึกไปว่า เขาต้องฆ่ามาเพื่อถวายตนแน่ อย่างนี้บาปเลย... อยู่ที่เจตนาครับ.... เพราะไม่ได้ไปสั่งให้ไปฆ่าเอามาถวายจึงไม่ผิดศีลครับ.. พระพุทธเจ้าบัญญัติศีลข้อที่ 1 คือ ห้ามฆ่าสัตว์ไว้แล้ว เพราะฉะนั้นถ้าผู้ที่จะนำอาหารมาถวายศึกษามีปัญญา ก็จะไม่ฆ่าสัตว์ เพื่อนำมาถวาย.. เช่นกัน ถ้าเราไปซื้อเนื้อไก่ ปลา ที่ตลาดที่มันเป็นซาก แล้วนำไปปรุง เพื่อนำไปถวายก็ไม่ผิด แต่ถ้าเราไปชี้ บอกให้ฆ่าตัวนี้ เพื่อเอาไปทำอาหาร อย่างนี้บาปเลย.... สรุปแล้วคือ เพื่อไม่ให้เป็นการยุ่งยากต่อการทำอาหาร , และศีลก็ระบุไว้อยู่แล้วว่าห้ามฆ่าสัตว์ เพราะฉะนั้นผู้จะถวายอาหารก็ต้องมีปัญญา ไม่ฆ่า ไม่สั่งให้ฆ่าเพื่อนำไปถวาย.. และไม่นึกถึงเนื้อนั้นว่าถูกฆ่าเพื่อนำไปถวาย.. และพระที่เคยขอพระพุทธเจ้าว่า ห้ามกินเนื้อสัตว์ คือ พระเทวทัต แต่พระพุทธเจ้าไม่ทรงอนุญาติเพราะจะเป็นการลำบาก - แต่เนื้อสัตว์ที่พระพุทธเจ้าห้าม ก็มี 10 อย่างครับ ลองไปศึกษาดู ส่วนใหญ่เป็นเนื้อสัตว์ดุร้าย เพราะจะทำให้มีกลิ่น เป็นอันตรายเวลาเดินป่า เช่น เนื้องู, เสือ, ม้า, สุนัข,รวมถึงเนื้อมนุษย์ด้วย พวกนี้เป็นเนื้อสัตว์ต้องห้าม
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 สิงหาคม 2012
  4. Komodo

    Komodo หัวหน้าศูนย์ประชาสัมพันธ์ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    11,610
    กระทู้เรื่องเด่น:
    145
    ค่าพลัง:
    +104,605
    ทำตามที่พระพุทธเจ้าสอนก็จะปลอดภัยครับ

    ลองศึกษาเพิ่มเติมดูนะครับ คิดว่าน่าจะมีคำตอบครับ
     
  5. naroksong

    naroksong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    412
    ค่าพลัง:
    +1,135
    ผู้ฆ่าสัตว์ย่อมไม่นิยมการให้ทาน

    ผู้ยินดีในทานก็ไม่นิยมการฆ่าสัตว์

    เพราะฉะนั้นไม่ต้องไปกังวลแทนผู้บำเพ็ญทานว่าจะฆ่าสัตว์ ผิดศีล เพื่อมาบูชาพระพุทธเจ้าหรือพระสาวก

    ส่วนสาเหตุที่พระพุทธเจ้าทรงไม่ได้บัญญัติห้ามการกินเนื้อสัตว์

    ตามความคิดผมนะ มันจะเป็นการสร้างความแตกแยกระหว่างผู้นับถือกับผู้ไม่นับถือแบบต่อไม่ติด

    เช่น ที่อินเดีย ก่อนแยกปากีสถานออกไป สาเหตุที่ทะเลาะกันจนต้องแยกประเทศส่วนหนึ่งเพราะเรื่องวัวควายนี้แหล่ะ พวกหนึ่งกินแต่วัว หมูไม่กิน พวกหนึ่งกินมังสวิรัต+บูชาวัว ตอนนั้นสถานการณ์หนักกว่า 3 จังหวัดของเราอีก

    ตอนนั้นพวกกินมังสวิรัตก็ว่าพวกกินเนื้อว่าเป็นคนเลว ส่วนพวกที่กินเนื้อก็ว่าอีกพวกหนึ่งว่าเป็นคนโง่

    ขอให้เจริญในธรรมครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 5 สิงหาคม 2012
  6. ปุณบพิธ

    ปุณบพิธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มกราคม 2012
    โพสต์:
    1,102
    ค่าพลัง:
    +2,134
    พระพุทธเจ้า ท่านเป็นพระสัพพัญญู
    ท่านเห็นแล้วด้วยญาณของท่าน ว่าการอนุญาตให้ภิกษุรับเนื้อสัตว์ได้ จะเป็นการเอื้อต่อการเผยแพร่พระพุทธศาสนา ทำให้คนเข้าถึงหลักธรรมได้กว้างกว่า ช่วยเหลือเหล่าสัตว์โลกได้มากกว่าครับ
     
  7. จันทโค

    จันทโค เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    1,866
    ค่าพลัง:
    +35,603
    พระพุทธเจ้าทรงให้ เราๆๆทั้งหลาย(ฆราวาส)รักษาศีล 5 นะครับ
    และเราๆๆๆ สามารถเลือกได้นะครับ ว่าจะเอาอะไรไปถวายท่านนะ
    ที่ไม่ห้ามถวายเนื้อสัตว์นั้น เพราะพระองค์ต้องการให้พระสงฆ์(ผู้เป็นสาวก)เป็นผู้เลี้ยงง่าย เวลาบิณฑบาต(กิจของสงฆ์ต้องทำทุกเช้า)ต้องรับหมด เลือกไม่ได้ แต่...
    ก่อนฉันอาหารของพระสงฆ์ พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติว่า ต้องพิจารณาอาหารนั้นไม่ว่าจะเป็น เนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ ฯลฯ ให้เป็นธาตุทั้ง 4 ก่อน ถ้าไม่พิจารณาอาหารก่อนฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ
    นะครับ
    ส่วนเรื่องสัตว์ถูกฆ่านั้น เป็นการกระทำของมนุษย์เองนะครับ
     
  8. นพณัฐ

    นพณัฐ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    587
    ค่าพลัง:
    +4,500
    ถามว่า ฆ่าสัตว์ เป็นสิ่งไม่ดี
    ใช่ครับ ผิดศีลข้อ 1 เบียดเบียน
    เพราะอะไร เพราะว่า สัตว์เป็นสิ่งมีชีวิต มีจิตใจ
    แต่ถ้าถามว่า บาปไหม ผมดูเจตนาเป็นหลัก
    อุปมาว่า สัตว์นั้นตายที่ไหน เมื่อไหร่ เพราะอะไร
    เจตนาเรามีส่วนเกี่ยวข้องไหม
    เช่น ผู้ที่ค้าเนื้อเพราะอาชีพ แต่กลับบริโภคแต่มังฯ เสมอ
    หรือ เวลาจ่ายตลาดเพื่อทำกับข้าว
    มีเจตนาเลือกไหม ว่าดูปลาสดเป็น ๆ หรือ เลือกปลาที่ตายแล้ว
    หากว่าคิดขนาดนี้ ถ้ามองให้ลึกซึ้ง แล้วพิจารณาเรื่องต่อไปนี้
    ถามว่า แล้วพวกพืช ผัก ล่ะครับ
    ทำไมถึงบอกว่ากินได้ แล้วไม่ก่อบาป ไม่เบียดเบียน
    ในเมื่อ มันก็มีชีวิตเหมือนกันกับสัตว์ ยังมีการเจริญเติบโต
    เพียงแค่ มันไม่มีจิตใจ ไม่มีแม้แต่ สภาวะความทุกข์ก็เท่านั้นเอง
    จึงกินได้ไม่บาป อย่างนั้นหรือเปล่าครับ

    นั่นน่ะผมว่า ความอยากจะกิน หรือ อยากจะลดละ
    ก็อยู่ที่เจตนาสำคัญกว่าครับ

     
  9. ิิbetarird

    ิิbetarird เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    112
    ค่าพลัง:
    +161
    เป็นเรื่องอจินไตย
     
  10. artwhan

    artwhan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    394
    ค่าพลัง:
    +1,282
    เชื่อพระพุทธเจ้าดีที่สุด สงสัยอะไรพยายามศึกษาจากพระสูตร ในพระไตรปิฎกจะอ่านเข้าใจง่าย
    ขออนุญาตนำคำถาม-ตอบจากเว็บด้านล่างนี้ ลงไว้ให้อ่านศึกษาเกี่ยวกับประเด็นนี้นะครับ

    http://84000.org/tipitaka/book/nana.php?q=22
    นานาปัญหา
    โดย คณะสหายธรรม

    ๒๒. พระพุทธเจ้าห้ามสาวกกินเนื้อสัตว์หรือไม่
    ถาม พระพุทธเจ้าของเราห้ามภิกษุ พุทธสาวก พุทธบริษัท ฉันหรือกินเนื้อสัตว์หรือไม่ หรือว่าห้ามกินเนื้อบางชนิดเท่านั้น

    ตอบ พระพุทธเจ้ามิได้ทรงห้ามภิกษุฉันเนื้อสัตว์เลย แม้พระองค์เองก็เสวยเนื้อสัตว์ที่มีผู้ปรุงถวาย แต่จะไม่เสวยและฉันเนื้อที่ไม่บริสุทธิ์โดยส่วน ๓ คือที่ได้เห็น ได้ยิน และที่รังเกียจกับเนื้อต้องห้าม ๑๐ อย่าง มีเนื้อมนุษย์เป็นต้น ตามที่ได้กล่าวแล้วในปัญหาข้อต้นๆ เพราะถ้าทรงห้ามแล้ว พระองค์ก็คงจะไม่ทรงอนุญาตให้ภิกษุฉันปลาและเนื้อตามที่พระเทวทัตทูลขอวัตถุ ๕ ประการแล้ว
    นั่นคือ พระเทวทัตขอมิให้ภิกษุฉันปลาและเนื้อจนตลอดชีวิต แต่พระพุทธองค์มิได้ทรงอนุญาตตามที่ท่านพระเทวทัตขอ เพราะฉะนั้นจึงเป็นอันว่าภิกษุฉันปลาและเนื้อได้ หรือท่านใดไม่ฉันก็ได้ ใครพอใจอย่างใดก็ทำอย่างนั้น แม้พุทธบริษัท หรือใครก็ตาม พระองค์ก็มิได้ทรงห้ามการกินปลากินเนื้อ ทรงสอนแต่มิให้ฆ่าสัตว์เองหรือสั่งให้ผู้อื่นฆ่าเท่านั้น แต่มิได้ทรงห้ามไปถึงการกินปลากินเนื้อที่มิได้ฆ่าเอง หรือสั่งเขาฆ่าเพื่อตน เพราะการฆ่าหรือการสั่งให้เขาฆ่า ไม่ว่าจะเพื่อกินเองหรือเพื่อเอาไปทำบุญถวายพระ ก็เป็นบาปกรรมล่วงศีลข้อปาณาติบาตทั้งสิ้น
    ใน อามคันธสูตร อรรถกถาก็ได้เล่าถึงดาบสพวกหนึ่งที่ถือว่า ปลาและเนื้อเป็นกลิ่นดิบ ไม่ควรบริโภค แต่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ปลาและเนื้อไม่ใช่กลิ่นดิบ แต่กิเลสทั้งปวงที่เป็นบาปเป็นอกุศลต่างหาก ชื่อว่าเป็นกลิ่นดิบ
    สรุปว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรงห้ามการฉันปลาและเนื้อ ทั้งพระองค์และภิกษุก็ฉันปลาและเนื้อที่เป็นกัปปิยะ คือไม่ผิดวินัยบัญญัติ เป็นของสมควรบริโภค อันได้แก่ปลาและเนื้อที่บริสุทธิ์โดยส่วนสาม อันได้กล่าวมาแล้ว กับไม่ฉันเนื้อที่ต้องห้าม ๑๐ ชนิด เว้นจากนี้แล้วก็ฉันได้ ไม่มีข้อขัดข้องประการใด
     
  11. artwhan

    artwhan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    394
    ค่าพลัง:
    +1,282
    ลิงค์นี้ก็น่าศึกษามีรายละเอียดเกี่ยวกับประเด็นนี้หลายอย่าง
    วิทยาลัยศาสนศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล - นานาสาระ ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเถรวาท
    ตัวอย่าง
    พระพุทธศาสนาเถรวาทและการบริโภคเนื้อสัตว์
    ทำไมพระพุทธศาสนาเถรวาทจึงไม่มีบทบัญญัติห้ามพระฉันเนื้อสัตว์


    สมัยหนึ่ง ขณะที่พระพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเวฬุวันวิหาร กรุงราชคฤห์ พระเทวทัตพร้อมด้วยพระโกกาลิกะ พระกฏโมรกติสสกะ พระขัณฑเทวีบุตร และพระสมุทททัตต์ เข้าไปเฝ้าพระพุทธองค์ กราบทูลขอวัตถุ ๕ ประการ ดังนี้ (๑) ภิกษุควรอยู่ป่าตลอดชีวิต (๒) ภิกษุควรเที่ยวบิณฑบาตตลอดชีวิต (๓) ภิกษุควรถือผ้าบังสุกุลตลอดชีวิต (๔) ภิกษุควรอยู่โคนไม้ตลอดชีวิต (๕) ภิกษุไม่ควรฉันปลาและเนื้อ

    พระพุทธตรัสห้ามว่า

    อย่าเลยเทวทัตต์ ภิกษุใดปรารถนาก็จงอยู่ป่า ภิกษุใดปรารถนาก็จงอยู่ บ้าน ภิกษุใดปรารถนาก็จงเที่ยวบิณฑบาต ภิกษุใดปรารถนาก็จงยินดีการ นิมนต์ ภิกษุใดปรารถนาก็จงถือผ้าบังสุกุล ภิกษุใดปรารถนาก็จงยินดีผ้า คฤหบดี เราอนุญาตรุกขมูล(การอยู่โคนไม้)ตลอด ๘ เดือน(นอกฤดูฝน) เราอนุญาตปลาและเนื้อที่บริสุทธิ์ด้วยอาการ ๓ อย่าง คือ (๑)ไม่ได้เห็น (๒)ไม่ได้ยิน (๓)ไม่ได้รังเกียจ

    เรื่องนี้ปรากฏในคัมภีร์พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ และมีกรณีตัวอย่างอีกเรื่องหนึ่งคือ สีหเสนาบดี เดิมนับถือศาสนาเชน เมื่อมีโอกาสได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า ฟังธรรม บรรลุธรรมเป็นโสดาบัน นิมนต์พระพุทธองค์พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ฉันภัตตาหารในเรือนพวกนิครนถ์(เชน)เที่ยวกล่าวหาว่า สีหเสนาบดีฆ่าสัตว์มาทำเป็นอาหารถวายพระสงฆ์ พระสมณโคดมก็ฉันเนื้อสัตว์นั้น ครั้นสีหเสนาบดีทราบคำกล่าวหาก็ชี้แจงว่าไม่เป็นความจริง

    พระพุทธเจ้าทรงทราบข้อกล่าวหาของพวกนิครนถ์ จึงทรงบัญญัติพระวินัย ห้ามฉันเนื้อสัตว์ที่เขาฆ่าทำถวาย เจาะจงภิกษุ ทรงปรับอาบัติทุกกฏแก่ภิกษุที่ฉันเนื้อสัตว์ที่เขาเจาะจงฆ่าทำถวาย ในขณะเดียวกันก็ทรงอนุญาตให้ฉันปลาและเนื้อที่บริสุทธิ์ โดยเงื่อนไข ๓ ประการ คือ (๑) ไม่ได้เห็น (๒)ไม่ได้ยิน (๓)ไม่ได้นึกรังเกียจว่าเขาฆ่าเพื่อให้ตนบริโภค เรื่องนี้ปรากฏในคัมภีร์พระวินัยปิฎก มหาวรรค ภาค ๒ เล่ม ๕


    คัดมาจาก
    Mahachulalongkornrajavidyalaya University



    พระภิกษุฉันเนื้อสัตว์ผิดวินัยหรือไม่

    จากกรณีตัวอย่าง ๒ เรื่องนี้ สรุปได้ในว่า พระพุทธเจ้าไม่ได้ทรงห้ามภิกษุฉันปลาและเนื้อ ถามว่า พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้ภิกษุฉันเนื้อสัตว์หรือไม่ ? มีเนื้อความแห่งสิกขาบทที่ ๙ ในโภชนวรรค พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ภาค ๒ ว่า สมัยหนึ่ง พระฉัพพัคคีย์(กลุ่มภิกษุ ๖ รูป)ออกปากขอโภชนะอันประณีตมาเพื่อตนแล้วฉัน ความทราบถึงพระพุทธเจ้า พระองค์ทรงตำหนิแล้วทรงบัญญัติสิกขาบทไว้ว่า

    ก็ภิกษุใดออกปากขอโภชนะอันประณีตเช่นนี้ คือ เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย ปลา เนื้อ นมสด นมส้ม มาเพื่อตนแล้วฉัน ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์

    ต่อมามีกรณีภิกษุเป็นไข้ ไม่กล้าออกปากขอโภชนะอันประณีตมาเพื่อตนแล้วฉัน จึงไม่หายจากอาการไข้ ความทราบถึงพระพุทธเจ้า จึงทรงอนุญาตให้ออกปากขอโภชนะอันประณีตมาเพื่อตนแล้วฉันได้ ทรงบัญญัติสิกขาบทไว้เป็นอนุบัญญัติว่า

    อนึ่ง ภิกษุไม่เป็นไข้ ออกปากขอโภชนะอันประณีตเช่นนี้ คือ เนยใส เนย ข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย ปลา เนื้อ นมสด นมส้ม มาเพื่อตนแล้วฉัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์

    คำว่า ปลา ในสิกขาบทนี้ ได้แก่ สัตว์ที่เที่ยวไปในน้ำ คำว่า เนื้อ ในสิกขาบทนี้ ได้แก่ เนื้อของสัตว์บกที่มีเนื้อเป็นกัปปิยะ นั่นคือเป็นเนื้อที่เหมาะสม ภิกษุที่ไม่เป็นไข้ ออกปากขอมาเพื่อตน ต้องอาบัติทุกฏทุก ๆ ครั้งที่ขอ ภิกษุรับไว้ด้วยตั้งใจว่า จะฉันของที่ได้มา ต้องอาบัติทุกฏ ภิกษุฉัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ คำกลืน ถามว่า ภิกษุออกปากขอโภชนะอันประณีต(โดยเฉพาะกรณีปลาและเนื้อ)มาเพื่อตนแล้วฉัน ในกรณีไหนที่ไม่ต้องอาบัติ มี ๙ (ไม่ผิดพระวินัย) คือ (๑) ภิกษุเป็นไข้ (๒) ภิกษุเป็นไข้ออกปากขอมาแล้วหายเป็นไข้จึงฉัน (๓) ภิกษุฉันโภชนะที่เหลือของภิกษุไข้ (๔) ภิกษุออกปากขอจากญาติ (๕) ภิกษุออกปากขอจากคนปวารณา (๖) ภิกษุออกปากขอเพื่อภิกษุอื่น (๗) ภิกษุจ่ายมาด้วยทรัพย์ของตน (๘) ภิกษุวิกลจริต (๙) ภิกษุต้นบัญญัติ

    กรณีของภิกษุณีก็มีลักษณะเหมือนกับภิกษุ แต่ต้องอาบัติต่างกัน กล่าวคือ ภิกษุณีไม่เป็นไข้ ออกปากขอเนื้อมาฉัน ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ แต่ทรงอนุญาตให้ภิกษุณีที่เป็นไข้ออกปากขอเนื้อมาฉันได้

    คัดมาจาก
    Mahachulalongkornrajavidyalaya University
     
  12. ดินหอม

    ดินหอม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    195
    ค่าพลัง:
    +188
    การฆ่าเป็นขั้นบันไดแห่งวัฎฎะสงสาร เป็นการผูกกรรม เป็นพลังหมุนวัฎจักร
    เป็นภาระผกพันระหว่างจิตวิญญาณต่อจิตวิญญาณ เป็นใยแมงมุม
    บางชีวิตใช้แรงงานเป็นทาน บางชีวิตใช้เนื้อหนังเป็นทาน เพื่อขึ้นชั้นที่สูงกว่า

    บางชีวิต ติดตามบั่นทอนอายุขัยกันมา กลับมาเอาคืนกัน กลับมาชดใช้กัน
    กลับมาติด กลับมาเสพ กลับมาหลง กลับมาให้ กลับมาเอา
    ตกขั้นบ้าง ขึ้นขั้นบ้าง หลายชาติหลายภพ จนกว่าจะทิ้งโลก ทิ้งกลิ่นรสรูป สู่สูญยตา

    การช่วยสัตว์ให้พ้นทุกข์ มีสุข ทำทานเป็นเมตตาบารมี
    แต่ความตั้งใจที่มากเกินไป อาจไปขวางเกิด ขวางตาย ชี้เกิด ชี้ตาย
    บางครั้งก็เป็นตัวถ่วง วัฏสงสารให้เกิดการบิดเบี่ยว ย่อมเป็นอกุศลกรรม1
    ทางที่ประเสริฐ ออกมาข้างนอก ยื่นมือเข้าช่วยทันที ไปตามโอกาสที่เป็นบุพกรรม

    พุทธธรรมคือการหมุนตามโลก และอาศัยการปล่อยวาง สละน้ำหนักเพื่อหลุดจากโลก
    แบบค่อยๆสูงขึ้น และหมุนตามโลกแล้วค่อยๆหลุดออก เยื่อใยขาดหลุดไปตามธรรมชาติ
    ไม่ใช้วิธีขวางโลก ห้ามตายห้ามเกิด ชี้ตายชี้เกิด หรือพยามยามควบคุมโลก ..
     
  13. อินทรบุตร

    อินทรบุตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    2,511
    ค่าพลัง:
    +7,320
    "โลกสมมุติจากดิน ที่เหล่าวิญญาณ พากันลงมาเสพกิน.."

    สาธุๆๆ ผู้ใดเห็นแล้วซึ่งสิ่งนี้ ผู้นั้นย่อมเห็นถึงธรรมอันแท้จริง
     
  14. นพณัฐ

    นพณัฐ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    587
    ค่าพลัง:
    +4,500
    อนุโมทนา สาธุ ครับ อ่านแล้ว ขนลุกแฮ่ะ
     

แชร์หน้านี้

Loading...