ไม่รู้ความหมาย เกิด-ดับ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย somchai_eee, 24 มิถุนายน 2012.

  1. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ๑. ปสาทสูตร

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังขตธรรมก็ดี อสังขตธรรมก็ดี มีประมาณเท่าใด

    วิราคะ คือ ธรรมเป็นที่บรรเทาความเมา นำเสียซึ่งความระหาย ถอนขึ้นด้วยดี
    ซึ่งอาลัย ตัดซึ่งวัฏฏะ สิ้นไปแห่งตัณหา สิ้นกำหนัด ดับ นิพพาน


    บัณฑิตกล่าวว่าเลิศกว่าสังขตธรรมและอสังขตธรรมเหล่านั้น

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ชนเหล่าใดเลื่อมใสในวิราคธรร

    ชนเหล่านั้นชื่อว่าเลื่อมใสในธรรมอันเลิศ

    ก็ผลอันเลิศย่อมมีแก่บุคคลผู้เลื่อมใสในธรรมอันเลิศ ฯ

    เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ บรรทัดที่ ๖๒๖๗ - ๖๓๐๘. หน้าที่ ๒๗๗ - ๒๗๘.
    http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=25&A=6267&Z=6308&pagebreak=0
    ^
    ^
    ว่ายังไงคน เดาสวด อวดเ่ก่ง โชว์ภูมิ และรูปแมวน่ารักที่สาวๆชอบ

    แทนที่จะไปตามที่ยกมาให้ดู เพื่อค้นหาความจริง

    กลับรีบร้อนสวนกลับโดยไม่ดูตาม้าตาเรือเลย

    เพราะทนต่อความเร้าร้อนของภูมิรู้ภูมิธรรมไม่ได้

    พระพุทธพจน์ชัดๆว่า"วิราคะธรรม"คืออะไรท55+

    บอกแล้วว่าอย่าร้น ยิ่งดิ้นร้นก็ยิ่งเจ็บ

    ยังๆมีของท่านพระศาสนโสภน

    ท่านก็แปลคำว่า"วิราคะธธรรม" คือธรรมที่แยกแล้วจากราคะ โทสะ โหมะ เช่นกัน

    สนทนาธรรมสมควรแก่ธรรม
     
  2. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ู^
    ^
    ถามตรงๆเถอะ เคยสัมผัสถึงสภาวะ"ตทังควิมุตติ"หรือยัง

    พูดมาได้ว่า พระนิพพานไม่มีจิต คือไม่มีรู้

    ถ้าพระนิพพานไม่มีรู้ แบบนี้ก็เท่ากับกล่าวหาว่าร้ายพระบรมครูอยู่นะสิ

    "จิตของเราสิ้นการปรุงแต่ง บรรลุพระนิพพานเพราะสิ้นตัณหา"

    ที่พระพุทะองค์ตรัสไว้นั้น พระพุทธองค์ยังมีรู้อยู่มิใช่หรือ?

    ถ้าปฏิบัีติเพื่อไม่มี ก็ไม่ต้องอะไรก็ได้เพราะในโลกนี้ มีแต่ของไม่มีทั้งนั้น

    ปฏิบัติก็เพื่อมีทั้งนั้น มีภูมิรู้ มีภูมิธรรม มีการปล่อยวาง มีพระโสดาฯลฯ

    มีที่ว่า คือมีที่เกิดจากการไม่ยึดมั่นในสิ่งทั้งหลายที่ไม่ใช่เรา ของเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา

    ก็ทุกวันนี้สอนกันจนเป็นพวกนัตถิกทิฐิไปหมดแล้ว

    อะไรๆก็ไม่มี อะไรๆก็ไม่ใช่ ที่ใช่ก็ไม่มี ที่มีก็ไม่ใช่

    จะมีแต่พระนิพพานอย่างเดียวเท่านั้น ที่มีที่ใช่

    แล้วถามว่าพระนิพพานผุดโผล่มาจากไหนหละ แบ๊ะ แบ๊ะ เอวัง...

    เจริญในธรรม
     
  3. chottana

    chottana เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    176
    ค่าพลัง:
    +337
    .. ถ้าจะถามถึงเหตุผล ก็ดูที่ตัวคุณนะ ขนาดภาพเเมว เเค่นี้คุณยังคิดได้ไปไกลถึงขั้นผู้หญิงจะมาตาม จะชอบ เเล้วคุณมีเทคนิคอะไรบ้างละครับ ผู้หญิงถึงจะตามมาชอบคุณมั่งล่ะ เห้ออ เอาเหอๆจะคิดไงก็ตามใจ ภาษาอะไรกับรูปผู้หญิงเนอะ ... คิดดูนะ ขนาดเเมวนี้ยังจิตนาการถึงขั้นนั่น เป็นชอตๆ
    กุโลบายของคุณอาจจะเยอะ อยู่เเล้ว อาจจะเเต่งว่าเป็น ธรรมภูต ภูตเเห่งการเรียนรู้ เด็กต้องใฝ่เรียน สนใจเรียนรู้ตาม..คิดเเล้วสงสาร.. ก็เห็นมาเยอะละ เเบบนี้

    มาเข้าเรื่องดีกว่า ที่กล่าวหาผม
    ผมขอบอกว่า ผมไม่เก่ง อะไรขนาดนั่น ไม่เก่งเกินคุณหรอก.. เรื่องที่คุณบอกต้องนำพระสูตรมาเทียบเคียง เเต่คุณดันไปหยิบคำจากที่อื่นไม่ใช่พระสูตร เเบบนี้ คุณนั่นเเละจะเก่งเกินเเล้วละมั่ง นำมาโยงกันไปมา เเล้วเเบบนี้จะสอดรับกับพระสูตรได้รึ เเบบนี้เค้าเรียกว่าเกินใช่มั้ย?
    วิราคะธรรม ในความหมายของคุณคือ เดี่ยวๆเป็นนิพพาน ไม่มีที่ตั้งอาศัยวิมุตติ อะไร ไม่มีชื่อเรียกต่อ ผู้รู้ในความว่างก็ไม่มี ไหนครับขอดูพระสูตรบทนั่นหน่อยนะ ไม่ใช่คำจากสาวกอีกนะ ส่วน ธาตุ6 อะไรของคุณ.. วิญญาณธาตุ คุณรู้ไหมคืออะไร? ผู้รู้คือ ที่ชอบ ไปเป็น จิตบ้าง มโนบ้าง สลับกันไปมาตลอดวันตลอดคืน นั่นละคือผู้รู้ อะไรๆก็ให้เครียๆหน่อยนะ ไม่ใช่นำคำที่อื่นมาเเล้วชิงหนีไป ทิ้งภาระให้ผมมาเเก้อีก
    ส่วนทางจิตใจนั้น จิตใจที่เป็นวิญญาณธาตุ ธาตุรู้ ตัวรู้ที่ประกอบด้วยอวิชชา ตัณหา อุปาทาน กรรมทั้งหลาย นั่นก็ยังเป็นสังขารส่วนประสมปรุงแต่ง แต่ว่าตัวรู้ที่สิ้นอวิชชาตัณหาอุปาทานทั้งหมด เป็นตัวรู้ที่รู้พ้น ไม่มีสิ่งผสมปรุงแต่ง ไม่มีการผสมปรุงแต่งทั้งสิ้น เป็นรู้ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และพระอรหันต์สาวกทั้งหลาย สิ้นอาสวะกิเลสทั้งหมด
    จิตใจที่เป็นวิญญาณธาตุ ธาตุรู้ เมื่อสิ้นอวิชชา ตัณหา อุปทาน ทั่งหมด
    ''เป็นตัวรู้ ที่รู้พ้น ไม่มีสิ่งผสมปรุงแต่ง ''
    เพราะตัวรู้ ใช่หรือไม่ที่มีธาตุต่างๆประกอบเข้าด้วยกัน จึงเป็นบุรุษสตรีเป็นบุคคล
    เเล้วคิดว่าตัวรู้ผู้สร้างร่างกาย สร้าง รูปนามนี้ ผู้สร้างบุคคลนี้ ยังเป็นตัวเราอีกหรือ ที่ต้องไปชำระให้สะอาด ยังเป็นของเราอีกหรือที่ต้องดูเเล รักษา มันอาจจะยากที่จะมองว่าตัวรู้ของเรา ตั้งเเต่เด็กจนโต มันเป็นของเรา เพราะมันยังรู้สึกเหมือนเดิม เเต่ว่า มันไม่เที่ยงใช่หรือไม่? ถ้าเที่ยงมาคุยกับผมใหม่ให้ไปคิดก่อน เดียวเป็น จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง เอาเเค่นี้พอ..

    ส่วนวิญญาณธาตุ ธาตุรู้ ที่ยังประกอบด้วยอาสวะกิเลสก็ยังเป็นสังขารคือยังผสมปรุงแต่ง
    มันเป็นธรรมชาติของวิญญาณธาตุ ที่รู้ได้เฉพาะ 4 ธรรมชาติเท่านั่นคือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร /รูป-นาม เป็นวิญญาณฐิติ ตัวผู้รู้มันรู้ได้เท่านี้ 100% เเล้วมันจะไปรู้ นิพพาน ได้ยังไง? นี้คือสิ่งที่ผมจะถาม...

    อานนท์ ! ก็คำนี้ว่า “นามรูปมี เพราะปัจจัย
    คือ วิญญาณ” ดังนี้, เช่นนี้แล เป็นคำที่เรากล่าวแล้ว.
    อานนท์ ! ความข้อนี้ เธอต้องทราบอธิบาย
    โดยปริยายดังต่อไปนี้ ที่ตรงกับหัวข้อที่เรากล่าวไว้แล้วว่า
    นามรูปมี เพราะปัจจัย คือ วิญญาณ” :
    อานนท์ ! ถ้าหากว่าวิญญาณจักไม่ก้าวลง
    ในท้องแห่งมารดาแล้วไซร้; นามรูปจักปรุงตัวขึ้นมา
    ในท้องแห่งมารดาได้ไหม ?
    “ข้อนั้น หามิได้พระเจ้าข้า !”
    อานนท์ ! ถ้าหากว่าวิญญาณก้าวลงในท้อง
    แห่งมารดาแล้ว จักสลายลงเสียแล้วไซร้; นามรูปจักบังเกิดขึ้น
    เพื่อความเป็นอย่างนี้ได้ไหม ?
    “ข้อนั้น หามิได้พระเจ้าข้า !”
    อานนท์ ! ถ้าหากว่าวิญญาณของเด็กอ่อน ที่เป็นชาย
    ก็ตาม เป็นหญิงก็ตาม จักขาดลงเสียแล้วไซร้; นามรูป
    จักถึงซึ่งความเจริญ ความงอกงาม ความไพบูลย์บ้างหรือ ?
    “ข้อนั้น หามิได้พระเจ้าข้า !”
    อานนท์ ! เพราะเหตุนั้น ในเรื่องนี้, นั่นแหละ
    คือเหตุ, นั่นแหละคือนิทาน, นั่นแหละคือสมุทัย, นั่นแหละ
    คือปัจจัย ของนามรูป; นั้นคือ วิญญาณ.
    อานนท์ ! ก็คำนี้ว่า “วิญญาณมี เพราะปัจจัยคือ
    นามรูป” ดังนี้, เช่นนี้แล เป็นคำที่เรากล่าวแล้ว.
    อานนท์ ! ความข้อนี้ เธอต้องทราบอธิบาย
    โดยปริยายดังต่อไปนี้ที่ตรงกับหัวข้อที่เรากล่าวไว้แล้วว่า
    “วิญญาณมี เพราะปัจจัยคือนามรูป”
    อานนท์ ! ถ้าหากว่าวิญญาณ จักไม่ได้มีที่ตั้ง
    ที่อาศัยในนามรูป แล้วไซร้; ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งทุกข์
    คือ ชาติ ชรา มรณะ ต่อไป จะมีขึ้นมาให้เห็นได้ไหม ?
    “ข้อนั้น หามิได้พระเจ้าข้า !”
    อานนท์ ! เพราะเหตุนั้นแหละ ในเรื่องนี้, นั่นแหละ
    คือเหตุ, นั่นแหละ คือนิทาน, นั่นแหละคือสมุทัย, นั่นแหละ
    คือปัจจัยของวิญญาณ; นั่นคือ นามรูป.
    อานนท์ !
    ด้วยเหตุเพียงเท่านี้
    สัตว์โลก จึงเกิดบ้าง จึงแก่บ้าง
    จึงตายบ้าง จึงจุติบ้าง จึงอุบัติบ้าง :
    คลองแห่งการเรียก (อธิวจน) ก็มีเพียงเท่านี้,
    คลองแห่งการพูดจา (นิรุตฺติ) ก็มีเพียงเท่านี้,
    คลองแห่งการบัญญัติ (ปญฺญตฺติ) ก็มีเพียงเท่านี้,
    เรื่องที่จะต้องรู้ด้วยปัญญา (ปญฺญาวจร) ก็มีเพียงเท่านี้,
    ความเวียนว่ายในวัฏฏะ ก็มีเพียงเท่านี้:
    นามรูปพร้อมทั้งวิญญาณตั้งอยู่
    เพื่อการบัญญัติซึ่งความเป็นอย่างนี้
    (ของนามรูปกับวิญญาณ นั่นเอง).

    การเรียก การพูดจา การบัญญัติ เรื่องที่ต้องร้ด้วยปัญญา เพราะมี วิญญาณกับนามรูป

    -------------
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ถ้าบุคคลย่อมคิด (เจเตติ) ถึงสิ่งใดอยู่, ย่อมดำริ(ปกปฺเปติ) ถึงสิ่งใดอยู่, และย่อมมีใจฝังลงไป (อนุเสติ) ในสิ่งใดอยู่,
    สิ่งนั้น ย่อมเป็นอารมณ์ เพื่อการตั้งอยู่แห่งวิญญาณ. เมื่ออารมณ์มีอยู่. ความตั้งขึ้นเฉพาะแห่งวิญญาณย่อมมี,
    เมื่อวิญญาณนั้นตั้งขึ้นเฉพาะ เจริญงอกงามแล้ว, เครื่องนำไปสู่ภพใหม่ (นติ = ตัณหา) ย่อมมี; เมื่อเครื่องนำไปสู่ภพใหม่ มี,
    การมาการไป (อาคติคติ)ย่อมมี, เมื่อการมาการไปมี, การเคลื่อนและการบังเกิด (จุติ+อุปะปาตะ) ย่อมมี;
    เมื่อการเคลื่อนและการบังเกิด มี, ชาติชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาส
    ทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วนต่อไป : ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่าง
    -------------







     
  4. chottana

    chottana เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    176
    ค่าพลัง:
    +337
    ๑. อุปายสูตร
    ว่าด้วยสิ่งที่เป็นความหลุดพ้นและไม่หลุดพ้น
    [๑๐๕] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:
    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิก
    เศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเข้า
    ถึง (ด้วยอำนาจตัณหา มานะ ทิฏฐิ) เป็นความไม่หลุดพ้น ความไม่เข้าถึง เป็นความหลุดพ้น.
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย วิญญาณเข้าถึงรูปก็ดี เมื่อตั้งอยู่ พึงตั้งอยู่ วิญญาณที่มีรูปเป็นอารมณ์ มีรูป
    เป็นที่ตั้ง มีความยินดีเป็นที่เข้าไปซ่องเสพ ถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ ฯลฯ วิญญาณที่มี
    สังขารเป็นอารมณ์ มีสังขารเป็นที่ตั้ง มีความยินดีเป็นที่เข้าไปซ่องเสพ พึงถึงความเจริญงอกงาม
    ไพบูลย์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า เราจักบัญญัติการมา การไป จุติ อุปบัติ
    หรือความเจริญงอกงามไพบูลย์แห่งวิญญาณ เว้นจากรูป เวทนา สัญญา สังขาร ข้อนี้ไม่เป็น
    ฐานะที่จะมีได้. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าความกำหนัดในรูปธาตุในเวทนาธาตุ ในสัญญาธาตุ ใน
    สังขารธาตุ ในวิญญาณธาตุ เป็นอันภิกษุละได้แล้วไซร้ เพราะละความกำหนัดเสียได้ อารมณ์
    ย่อมขาดสูญ ที่ตั้งแห่งวิญญาณย่อมไม่มี วิญญาณอันไม่มีที่ตั้ง ไม่งอกงาม ไม่แต่งปฏิสนธิ หลุด
    พ้นไป เพราะหลุดพ้นไป จึงดำรงอยู่ เพราะดำรงอยู่ จึงยินดีพร้อม เพราะยินดีพร้อม จึงไม่
    สะดุ้ง เมื่อไม่สะดุ้ง ย่อมดับรอบเฉพาะตนเท่านั้น ภิกษุนั้น ย่อมทราบชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว
    พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.
    จบ สูตรที่ ๑.
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 มิถุนายน 2012
  5. ฟางว่าน

    ฟางว่าน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    1,080
    ค่าพลัง:
    +968
    พี่ธรรมภูติครับ การมีความคิดหรือความเชื่ออย่างสุดโต่งไปข้างหนึ่งและอีกข้างหนึ่ง ที่เป็นคำในสมัยพุทธกาลน่ะครับ เรียกว่าอะไร และอย่างอุจเฉททิฏฐิหมายความว่าอย่างไรครับ พี่คงเก่งพระอภิธรรม..........
     
  6. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ^
    ^
    เฮ้อ!!!
    ทำตัวเป็นวัวสันหลังหวะ แค่บอกว่ารูปแมวน่ารัก สาวๆชอบ แค่นี้อะนะ
    คิดไปไกลขนาด สาวจะตามจะชอบ อย่าหลงตัวเองอยู่เลย

    วันหลังจะมั่วอะไร เทียบเคียงให้ดีๆก่อน
    ขันธ์กับธาตุหนะคนละเรื่อง
    ส่วนบางพระสูตรที่มีแปลไว้ให้เป็นธาตุนั้นเป็นธาตุผสม
    ไม่ใช่แม่ธาตุ ที่เป็นอสังขตธรรมธาตุ
    แต่เป็นสังขตธรรมธาตุ ธาตุที่ผสมแล้ว

    จะยกอะไรมา ถ้ายังเข้าใจไม่ได้ ก็ทำความเข้าใจให้ดีก่อน
    เมื่อนึกสิ่งใด จิตปักลงไปคือยึดสิ่งนั้น ย่อมเป็นอารมณ์
    เพื่อการตั้งอยู่แห่ง(วิญญาณ)แจ้งในอารมณ์นั้น. เมื่ออารมณ์มีอยู่.
    ความตั้งขึ้นเฉพาะแห่งวิญญาณย่อมมี,

    อย่าพยายามมั่วเอาวิญญาณขันธ์ มาผสมปนเปกับวิญญาณธาตุ
    ในส่วนนี้ ทั้งพระพุทธพจน์และพระสังฆราชตรัสไว้ชัดเจน จำไว้นะ

    เจริญในธรรมทุกท่าน
     
  7. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    เอาพระสูตรมาฝาก
    *
    พระนครสาวัตถี ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    รูปไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา
    สิ่งใดเป็นอนัตตา เธอทั้งหลาย พึงเห็นสิ่งนั้น
    ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า
    นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา.
    เวทนาไม่เที่ยง ...
    สัญญาไม่เที่ยง ...
    สังขารไม่เที่ยง ...
    วิญญาณไม่เที่ยง...
    สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา
    สิ่งใดเป็นอนัตตา เธอทั้งหลาย พึงเห็นสิ่งนั้น
    ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า
    นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา.

    เมื่อเห็นด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริงอย่างนี้
    ทิฏฐิเป็นไปตามส่วนเบื้องต้น (อดีต) ย่อมไม่มี
    เมื่อทิฏฐิเป็นไปตามส่วนเบื้องต้นไม่มี ทิฏฐิเป็นไปตามส่วนเบื้องปลาย (อนาคต) ย่อมไม่มี
    เมื่อทิฏฐิเป็นไปตามส่วนเบื้องปลายไม่มี ความยึดมั่นอย่างแรงกล้า ย่อมไม่มี.

    เมื่อความยึดมั่นอย่างแรงกล้าไม่มี จิตย่อมคลายกำหนัดในรูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ
    ย่อมหลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น. เพราะหลุดพ้น
    จิตจึงดำรงอยู่ เพราะดำรงอยู่

    จึงยินดีพร้อมเพราะยินดีพร้อม จึงไม่สะดุ้ง เมื่อไม่สะดุ้ง ย่อมดับรอบเฉพาะตนเท่านั้น
    ภิกษุนั้น ย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว
    กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มี.
    http://84000.org/tipitaka/read/v.php...41&pagebreak=0

    ^
    ^
    พระพุทธพจน์ชัดๆไม่ต้องตีความตามมติสาวกภาษิต
    เมื่อไม่มีความยึดมั่นถือมั่นอย่างแรกกล้าในจิตนั้น
    จิตย่อมเบื่อหน่ายในรูปนามขันธ์๕ เมื่อเบื่อหน่ายจิตก็คลายกำหนัดในรูปนามขันธ์๕
    จิตย่อมหลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย จิตจึงดำรงอยู่ ไม่ได้ดับตายหายสูญใช่หรือไม่?

    เมื่อจิตสามารถปล่อยวางความยึดมั่นในรูป-นามขันธ์ได้แลัว
    จิตจะกลับมาเขลายึดมั่นในไปตนเองอีกทำไม?
    การปฏบัติอริยมรรคมีองค์๘ เป็นการปฏิบัติทางจิต
    เพื่อให้จิตรู้จักการสลัดคืน การปล่อยวางความยึดมั่นในรูปนามขันธ์

    ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า
    นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา.
    เวทนาไม่เที่ยง ...
    สัญญาไม่เที่ยง ...
    สังขารไม่เที่ยง ...
    วิญญาณไม่เที่ยง...
    สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา
    สิ่งใดเป็นอนัตตา เธอทั้งหลาย พึงเห็นสิ่งนั้น
    ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า
    นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา.

    พระพุทธชัดๆขนาดนี้ยังจะเอา จิต เจตสิก มายำจะเละเทะไปหมดเลยนะ
    มีตรงไหนในพระสูตรที่ยกมา พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้ว่า
    จิต เจตสิก ไม่ใช่เรา ไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตนของ เล่นสอนกันเกินพระบรมครู ก็แย่สิ ธรรมะเสียหายหมด
    กลับทิฐิเสียใหม่ก็ยังไม่สาย หัดยืนอยู่บนหลักเหตุผลตามความเป็นจริงบ้างก็ดีนะ
    เจริญในธรรมทุกท่าน
     
  8. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    สยฺยถาปิ ภิกฺขเว มกฺกโฏ อรญฺเญ จ พฺรหาวเน จ จรมาโน ฯเปฯ
    เอวเมว ภิกฺขเว ยมิทํ วุจฺจติ จิตฺตํ อิติปิ มโน อิติปิ วิญฺญาณํ.
    อิติปิ ตํ รตฺติยา จ ทิวสสฺส จ อญฺญเทว อุปฺปชฺชติ อญฺญํ นิรุชฺฌติ.


    มีผู้รู้พระบาลีพอสมควรบางท่านที่พยายามยกเอาพระบาลีอัสสุตวตาสูตร
    มาเพื่อกล่าวแย้งเรื่องจิตเกิดดับอย่างแน่นอน ตามคำแปลพระบาลี
    โดยเอาคำว่า "อุปปชฺติ" แปลว่า เกิด
    และคำว่า "นิรุชฺฌติ." แปลว่า ดับ


    โดยการนำมาชี้แจงเพียงเท่านี้ พร้อมกับคำแปลที่เป็นภาษาไทยถูกรจนาขึ้นในภายหลัง
    เราเองก็มีความรู้พระบาลีเพียงเล็กๆน้อย จากการจำมาจากพระสูตรต่างๆ
    ซึ่งในพระบาลีที่นำมานั้น มีนัยยะ เรื่องเกิดดับดังนี้
    มีพระบาลีที่ยกมาบอกไว้ว่า "อัญญะเทว" แปลว่า
    อัญญา=รู้ต่าง เทว อ่านว่าทะเว= รู้ต่างทั้งสองฝ่าย คือรู้ต่างทั้งเกิดขึ้นและดับไป


    ฉะนั้นคำว่า "อญฺญเทว อุปฺปชฺชติ" แปลได้ว่า เกิดขึ้นก็รู้
    คำว่า "อญฺญํ นิรุชฺฌติ" แปลได้ว่า ดับไปก็รู้ เพราะรู้ต่างทั้งสองฝ่าย


    เป็นที่ชัดเจนแล้วว่า พระบาลีบอกไว้ชัดๆว่า เกิดขึ้นก็รู้ ดับไปก็รู้
    แสดงว่าที่เกิดดับไปนั้นเป็นเพียงอาการของจิต(จิตเป็นต้นนั้น)เท่านั้น
    แต่ก็ยังมีคนพวกหนึ่ง เมื่ออ้างถึงจิตเกิดดับมักต้องยกเอาพระสูตรนี้มาเป็นประจำ

    โดยไม่ศึกษาถึงเนื้อหาที่ถูกต้องแท้จริงๆเลย
    เพราะเชื่อตามที่สอนว่าเป็นแบบนั้น โดยไม่เอาหลักเหตุผลใดๆทั้งสิ้นเลย

    พระอริยสาวก ย่อมรู้ชัดว่าคือรู้เห็นตามความเป็นจริง
    ทุกข์เท่านั้นที่เกิดขึ้น ทุกข์เท่านั้นที่ดับไป
    ทุกข์เกิดขึ้นที่ไหนครับ? ที่จิตใช่มั้ยครับ?
    สุข ทุกข์ที่เกิดขึ้นดับไปล้วนใช่อาการของจิตมั้ย?

    ส่วนปุถุชนนั้น เห็นอาการของจิต(จิตตสังขาร) ที่เรียกว่า
    จิตบ้าง มโนบ้าง วิญาณบ้างฯลฯ จิตเป็นต้นนั้น
    เกิดดับไปตามอารมณ์เหล่านั้น(เครื่องเศร้าหมองจิต)เป็นธรรมดาเพราะไม่รู้จักจิต
    ส่วนพระอริยสาวกรู้เห็นตามความเป็นจริง เห็นอารมณ์เกิดขึ้นที่จิตและดับไปจากจิตครับ

    พระสูตรก็ชัดเจนอยู่แล้ว ท่านเปรียบวานรเหมือนจิต วานรกี่ตัว?
    แต่อาการที่วานร ไปจับกิ่งโน้น ปล่อยกิ่งนี้ ปล่อยกิ่งนั้น ยึดกิ่งนี้ ใช่วานรเป็นต้นนั้นมั้ยครับ?

    ถ้าวานรเปรียบเหมือนจิตที่เกิดๆดับๆ วานรมิต้องตกตายเกลื่อนป่าหรือ?
    ดวงเดียวเที่ยวไป ก็เหมือนวานรตัวเดียวเที่ยวไป
    ส่วนอาการของจิตที่แสดงในการจับสิ่งนั้น(อารมณ์) ปล่อยสิ่งนี้ ปล่อยสิ่งนั้น ยึดสิ่งนี้
    ล้วนเป็นจิตสังขารหรือจิตเป็นต้นนั้นทั้งสิ้นใช่หรือไม่?
    เจริญในธรรมทุกท่าน
     
  9. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ^
    ^
    น้องรัก
    พี่เองไม่ใช่เก่งเรื่องตำราอภิธรรม
    ยังเป็นผู้ที่ต้องสดับ ยังเป็นผู้ที่ต้องกระทำให้ตื้น

    เพียงแค่สนใจและอ่านผ่านตาก็มาว่ากัน
    โดยเอาเหตุผลที่ตริตรองตามความเป็นจริงได้มาพิจารณา
    แทนความเชื่อ ที่เชื่อตามๆกันมา ต้องพิสูจน์ให้เห็นจริง จึงค่อยเชื่อ

    การอ่านพระสูตรนั้น ควรต้องนำมาสอบสวน เทียบเคียงให้รอบคอบเสียก่อน
    เพราะธรรมะของพระพุทธองค์นั้น ย่อมต้องเชื่อมโยงกันหมด

    แต่เพราะกาลเวลาที่ผ่านมาอย่างยาวนานมาก
    พร้อมทั้งมีการรจนาเพิ่มเติมเสริมแต่งในภายหลัง
    จากมติของพวกตนเอง
    แต่ละคณะที่รับผิดชอบ ก็มีมติความเชื่อของตนเอง
    บ้างครั้งที่รจนาออกมา ยังมีขัดแย้งกันเองเลย ไม่ยอมลงให้กัน

    ยิ่งเกี่ยวกับเรื่องทิฐิด้วแล้ว ยิ่งควรพิจารณาให้รอบคอบ
    อุจเฉททิฐิ มีความเชื่อว่าตายแล้วขาดสูญจากกิเลส กรรม วิบาก
    ที่ตนเคยกระทำไว้ คือตายแล้วๆกันไม่ต้องพูดถึง
    ต่างจากนัตถิกทิฐิ ที่เชื่อว่า อะไรๆก็ไม่มี อะไรๆก็ไม่ใช่ทั้งนั้น
    ปฏิเสธเรื่องบุญ บาป ทานที่ให้แล้วไม่มีผล ไม่มีทั้งนั้น

    สนทนาธรรมสมควรแก่ธรรม
     
  10. chottana

    chottana เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    176
    ค่าพลัง:
    +337
    ลื่นเหลือไหล สันหลังเหลือล้น !
    หาคำเปรียบเทียบไม่ได้เเละ คนๆนี้ อะไรๆ... ก็จะดันไปอย่างเดียวไม่ดูความจริง

    กลับใจ มาเจริญในธรรมใหม่ ..

    ซึ่งถือเป็นระบบสมมุติ เรียกว่า สังขตธรรม คือ ธรรมที่ถูกปรุงแต่งได้ ประกอบด้วย
    1. อุปปาโท ปัญญายติ มีการเกิดปรากฏ
    2. วะโย ปัญญายติ มีการเสื่อมปรากฏ
    3. ฐิตัสสะ อัญญะฐัตตัง ปัญญายติ เมื่อตั้งอยู่ มีภาวะอย่างอื่นปรากฏ
    ส่วนระบบวิมุตติ หรือ นิพพาน เรียกว่า อสังขตธรรม คือ ธรรมที่ถูกปรุงแต่งไม่ได้ ประกอบด้วย
    1. นะ อปุปาโท ปัญญายติ ไม่ปรากฏการเกิด
    2. นะ วะโย ปัญญายติ ไม่ปรากฏการเสื่อม
    3. นะ ฐิตัสสะ อัญญะฐัตตัง ปัญญายติ เมื่อตั้งอยู่ ไม่มีภาวะอย่างอื่นปรากฏ

    พระพุทธเจ้าท่านไม่ได้อธิบาย อสังขตธรรม อะไรมาก เพราะเป็นสภาวะไม่มี เกิด เสื่อม ไม่มีภาวะอย่างอื่นปรากฏ เเล้วจะอธิบายได้ยังไง พระองค์เลยใสคำว่า 'นะ' คือ'' ไม่'' ลงไป สิ่งที่ต้องเข้าใจคือ สังขตธรรม เป็นการใช้สมมุติเรียนรู้สมมุติ
    เพื่อให้ถึงวิมุตติ คุณมาบอกเเม่ธาตุอะไรฟุ้งไป สภาวะธรรมที่ถูกปรุงเเต่งไม่ได้จะมีธาตุมาอยู่ได้ยังไงละ?


     
  11. chottana

    chottana เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    176
    ค่าพลัง:
    +337
    คุณก็ต้องกลับไปดู อสังขตธรรม นิพพาน ว่าเป็น สภาวะอะไร สภาวะไหน
    เป็นระบบวิมุตติ ไช่มั้ย วิมุตติเนี่ยมีจิต เป็นผู้เข้าไปอยู่อาศัยรึ ไปหาพระสูตรอื่นมาเทียบสิครับ จะดู

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! สิ่งที่เรียกกันว่า "จิต" ก็ดี ว่า "มโน" ก็ดี
    ว่า "วิญญาณ" ก็ดี นั้น ดวงอื่นเกิดขึ้น ดวงอื่นดับ ไป ตลอดวัน .

    เป็น ผู้รู้เหมือนกัน เเต่ต่างกันตรง อาจจะรู้คนละอย่าง ไม่ได้ให้ ไปยึด จิตนั่นไว้นะ
    เพราะอะไร จิตเป็นตัวตนชั่วคราว เมื่อตั้งอยู่ หรือ เป็นสมาธิ มีสภาวะอย่างอื่นปรากฏ
    อย่างที่พระองค์ตรัส ''ไม่ให้วิญญาณฟุ้งไปภายนอก ไม่ให้ตั้งสงบในภายใน''
     
  12. chottana

    chottana เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    176
    ค่าพลัง:
    +337
    พระพุทธพจน์ชัดๆไม่ต้องตีความตามมติสาวกภาษิต
    เมื่อไม่มีความยึดมั่นถือมั่นอย่างแรกกล้าในจิตนั้น
    จิตย่อมเบื่อหน่ายในรูปนามขันธ์๕ เมื่อเบื่อหน่ายจิตก็คลายกำหนัดในรูปนามขันธ์๕
    จิตย่อมหลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย จิตจึงดำรงอยู่ ไม่ได้ดับตายหายสูญใช่หรือไม่?

    ก็ต้องนำไปเทียบเคียงกับพระสูตรอื่นๆด้วยนะ ไม่ใช่ว่าบทเดียวสรุปได้เลย
    ระบบ สมมุติ วิมุตติก็มี
    เเล้วพระสูตรอื่นก็ต้องมีด้วย ว่าใครเป็นผู้อยู่ในความว่างอย่างเเท้จริง เป็นลำดับๆ


    เมื่อจิตสามารถปล่อยวางความยึดมั่นในรูป-นามขันธ์ได้แลัว
    จิตจะกลับมาเขลายึดมั่นในไปตนเองอีกทำไม?
    การปฏบัติอริยมรรคมีองค์๘ เป็นการปฏิบัติทางจิต
    เพื่อให้จิตรู้จักการสลัดคืน การปล่อยวางความยึดมั่นในรูปนามขันธ์


    คุณจะตีความหมายไปถึงจิตเป็นดวงๆ ดำรงอยู่ เเล้วนิพพานเลยรึ ต้องเอาไปเทียบเคียงดูบ้าง
    ก็มีพระสูตรว่า เมื่อ วิญญาณมี- นามรูปมี เมื่อ นามรูปมี - วิญญาณมี
    เป็น จิต บ้าง มโน บ้าง วิญญาณ บ้าง เมื่อเกิดเเล้ว นาม-รูป ย่อมมีเป็นธรรมดา

    อานนท์ ! ก็คำนี้ว่า “นามรูปมี เพราะปัจจัย
    คือ วิญญาณ” ดังนี้, เช่นนี้แล เป็นคำที่เรากล่าวแล้ว.
    อานนท์ ! ความข้อนี้ เธอต้องทราบอธิบาย
    โดยปริยายดังต่อไปนี้ ที่ตรงกับหัวข้อที่เรากล่าวไว้แล้วว่า
    นามรูปมี เพราะปัจจัย คือ วิญญาณ” :
    ---------------------------------
    อานนท์ ! เพราะเหตุนั้น ในเรื่องนี้, นั่นแหละ
    คือเหตุ, นั่นแหละคือนิทาน, นั่นแหละคือสมุทัย, นั่นแหละ
    คือปัจจัย ของนามรูป; นั้นคือ วิญญาณ.
    อานนท์ ! ก็คำนี้ว่า “วิญญาณมี เพราะปัจจัยคือ
    นามรูป” ดังนี้, เช่นนี้แล เป็นคำที่เรากล่าวแล้ว.
    อานนท์ ! ความข้อนี้ เธอต้องทราบอธิบาย
    โดยปริยายดังต่อไปนี้ที่ตรงกับหัวข้อที่เรากล่าวไว้แล้วว่า
    “วิญญาณมี เพราะปัจจัยคือนามรูป”
    อานนท์ ! ถ้าหากว่าวิญญาณ จักไม่ได้มีที่ตั้ง
    ที่อาศัยในนามรูป แล้วไซร้; ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งทุกข์
    คือ ชาติ ชรา มรณะ ต่อไป จะมีขึ้นมาให้เห็นได้ไหม ?
    “ข้อนั้น หามิได้พระเจ้าข้า !”
    อานนท์ ! เพราะเหตุนั้นแหละ ในเรื่องนี้, นั่นแหละ
    คือเหตุ, นั่นแหละ คือนิทาน, นั่นแหละคือสมุทัย, นั่นแหละ
    คือปัจจัยของวิญญาณ; นั่นคือ นามรูป.
    ---------------------------------------
    ..................
    ภิกษุทั้งหลาย ! วิญญาณ ซึ่งเข้าถือเอารูป ตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ได้
    เป็นวิญญาณที่มีรูปเป็นอารมณ์ มีรูปเป็นที่ตั้งอาศัย
    มีนันทิเป็นที่เข้าไปส้องเสพ ก็ถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ได้
    ภิกษุทั้งหลาย ! วิญญาณ ซึ่งเข้าถือเอาเวทนา ตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ได้
    เป็นวิญญาณที่มีเวทนาเป็นอารมณ์ มีเวทนาเป็นที่ตั้งอาศัย
    มีนันทิเป็นที่เข้าไปส้องเสพ ก็ถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ ได้
    ภิกษุทั้งหลาย ! วิญญาณ ซึ่งเข้าถือเอาสัญญา ตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ได้
    เป็นวิญญาณที่มีสัญญาเป็นอารมณ์ มีสัญญาเป็นที่ตั้งอาศัย
    มีนันทิเป็นที่เข้าไปส้องเสพ ก็ถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ ได้
    ภิกษุทั้งหลาย ! วิญญาณ ซึ่งเข้าถือเอาสังขาร ตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ได้
    เป็นวิญญาณที่มีสังขารเป็นอารมณ์ มีสังขารเป็นที่ตั้งอาศัย
    มีนันทิเป็นที่เข้าไปส้องเสพ ก็ถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ ได้
    .......................
    ภิกษุทั้งหลาย ! ผู้ใดจะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า
    เราจักบัญญัติ ซึ่งการมา การไป การจุติ การอุบัติ
    ความเจริญ ความงอกงาม และความไพบูลย์
    ของวิญญาณ
    โดยเว้นจากรูป เว้นจากเวทนา เว้นจากสัญญา และเว้นจากสังขาร
    ดังนี้นั้น.
    นี่ ไม่ใช่ฐานะที่จักมีได้เลย.
    .....................
    ภิกษุทั้งหลาย ! ถ้าราคะในรูปธาตุ ในเวทนาธาตุ ในสัญญาธาตุ
    ในสังขารธาตุ ในวิญญาณธาตุ
    เป็นสิ่งที่ภิกษุละได้แล้ว

    เพราะละราคะได้ อารมณ์สำหรับวิญญาณก็ขาดลง ที่ตั้งของวิญญาณก็ไม่มี
    วิญญาณอันไม่มีที่ตั้งนั้น ก็ไม่งอกงาม หลุดพ้นไปเพราะไม่ถูกปรุงแต่ง
    เพราะหลุดพ้นไป ก็ตั้งมั่น
    เพราะตั้งมั่น ก็ยินดีในตนเอง
    เพราะยินดีในตนเอง ก็ไม่หวั่นไหว
    เมื่อไม่หวั่นไหว
    ก็ปรินิพพานเฉพาะตน

    ย่อมรู้ชัดว่า “ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว
    กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มีอีก” ดังนี้.
     
  13. chottana

    chottana เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    176
    ค่าพลัง:
    +337

    ฟุ้งเข้าไปเรื่อย ลื่นเข้าไป
    นิคุณ เข้าใจ เกิด-ดับ มั้ยนิถามจริงๆ ทำไมเค้าถึงต้องให้เรามาดู เกิด-ดับหล่ะ
    เพราะมันไม่เที่ยงใช่มั้ย... มันเป็นทุกข์ใช่มั้ย มันเป็นอนัตตาใช่มั้ย ควรหรือ หนอที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา
    คุณก็ต้องดูระบบสมมุติดีๆนะ
    3.ฐิตัสสะ อัญญะฐัตตัง ปัญญายติ เมื่อตั้งอยู่ มีภาวะอย่างอื่นปรากฏ

    ผมคิดว่าคุณยังไม่เข้าใจนะ ที่คุณคิดว่ามันดับนั่น มันคือการเปลี่ยนกิ่งของวานร คือการ เกิด-ดับ
    ถ้าเมื่อมีสติระลึกรู้ มันก็จะรู้ที่ฐานสติ เป็นจิตสมาธิ ไม่ได้ไปหลงกับที่ถูกรู้
    เเต่ว่า! นี้คือการเกิด คือ อทุกขมทุกข์เวทนา เป็นอุเบกขาทางโลก มันไม่ได้ดับอะไร เพราะเเบบนี้ไง เข้าใจละ คุณจะข้าม คำว่า อวิชชานุสัย เหรอ!
    สภาวะที่ดีที่สุดคือความสงบ ก็จริง อทุกขมทุกข์เวทนา มีคนถามพระพุทธเจ้าว่าควรอยู่ เวทนาไหน พระองค์ก็บอก อทุกขมทุกข์เวทนา เป็นความสงบของจิตที่เป็นสมาธิ พระองค์ตรัสไม่เห็นโทษของความสงบเลยนอกจากมันดับไปได้.. เห็นมั้ย จิตมันยังฟุ้งไปได้เเล้ว คุณก็ยังจะเถียงอีก เหรอ เห้ออ นำไปใคร่ควร นำไปศึกษา นำไปพิจรณา ว่าถูกมั้ย
     
  14. chottana

    chottana เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    176
    ค่าพลัง:
    +337
    อย่างพระสารีบุตรอธิบาย
    อันที่จริง เมื่อวางฟ่อนต้นอ้อ ๒ มัดพิงกันไว้ ฟ่อนต้นอ้อ
    มัดหนึ่ง ก็ค้ำฟ่อนต้นอ้ออีกมัดหนึ่งไว้ เมื่อฟ่อนต้นอ้อมัดหนึ่ง
    ล้มลง ฟ่อนต้นอ้ออีกมัดหนึ่งก็ล้มลงด้วย ฉันใด นามและรูป
    ในปัญจโวการภพ (ภพมีขันธ์ ๕) ก็ฉันนั้นเช่นกัน ต่างอาศัย
    กันและกันเป็นไป สิ่งหนึ่งเป็นผู้ค้ำจุนอีกสิ่งหนึ่งไว้ เมื่อ
    สิ่งหนึ่งล้มลงไปด้วยการตาย อีกสิ่งหนึ่งก็ล้มลงด้วย
    เพราะฉะนั้น ท่านผู้รู้แต่โบราณทั้งหลาย จึงกล่าวไว้ว่า
    ยมกัง นามรูปัญจ อุโภ อัญโญญัญนิสสิตา
    เอกัสมึ ภิชชมานัสมึ อุโภ ภิชชันติ ปัจจยา.
     
  15. chottana

    chottana เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    176
    ค่าพลัง:
    +337
    คุณจะให้ผมยกพระสูตรมาจนเน้น เลยรึไงนิ

    ธรรมภูต
    --พระอริยสาวก ย่อมรู้ชัดว่าคือรู้เห็นตามความเป็นจริง
    ทุกข์เท่านั้นที่เกิดขึ้น ทุกข์เท่านั้นที่ดับไป
    ทุกข์เกิดขึ้นที่ไหนครับ? ที่จิตใช่มั้ยครับ?
    สุข ทุกข์ที่เกิดขึ้นดับไปล้วนใช่อาการของจิตมั้ย?---
    -----------------------
    มาดูนี้
    "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! เมื่อข้าพระองค์หลีกออกเร้น อยู่ได้เกิดการใคร่ครวญ
    ขึ้นในใจว่า 'พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเวทนาไว้ ๓ อย่าง คือสุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขม-
    สุขเวทนา. ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสคำนี้ไว้ว่า
    'เวทนาใด ๆ ก็ตาม เวทนานั้น ๆ
    ประมวลลงในความทุกข์' ดังนี้' ข้อที่พระองค์ตรัสว่า 'เวทนาใด ๆ ก็ตาม เวทนา
    นั้น ๆ ประมวลลงในความทุกข์' ดังนี้ ทรงหมายถึงอะไรหนอ ?"

    ภิกษุ ! ดีแล้ว ดีแล้ว. เรากล่าวเวทนาไว้ ๓ อย่าง เหล่านี้คือ
    สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา จริง; และยังได้กล่าว่า "เวทนา
    ใด ๆ ก็ตาม เวทนานั้น ๆ ประมวลลงในความทุกข์". ข้อนี้เรากล่าวหมายถึง
    ความเป็นของไม่เที่ยงแห่งสังขารทั้งหลายนั่นเอง, และเรายังกล่าวหมายถึงความ
    เป็นของสิ้นไปเป็นธรรมดา ความเป็นของเสื่อมไปเป็นธรรมดา ความเป็นของ
    จางคลายไปเป็นธรรมดา ความเป็นของดับไม่เหลือเป็นธรรมดา ความเป็นของ
    แปรปรวนเป็นธรรมดา ของสังขารทั้งหลายนั่นแหละ ที่ได้กล่าวว่า "เวทนา
    ใด ๆ ก็ตาม เวทนานั้น ๆ ประมวลลงในความทุกข์" ดังนี้.
     
  16. chottana

    chottana เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    176
    ค่าพลัง:
    +337
    <CENTER>กลับใจมาศึกษา ปฏจฯลฯ ยังทัน ผมเข้าใจว่าคุณยังไม่เข้าใจหรอกนะ เพราะมันเป็นปัจจัตตัง ผมอธิบายให้ไม่หมดหรอก เมื่อไม่นำไปศึกษาก็ไม่เข้าถึง เเน่นอน</CENTER><CENTER>(ไม่ค่อยจะมีใครสนใจหรอก เพราะธรรมของพระพุทธเจ้า เป็นธรรมชั้นลึก</CENTER><CENTER>จักมีภิกษุทั้งหลาย, สุตตันตะ (ตัวสูตรส่วนที่ลึกซึ้ง)
    เหล่าใด ที่เป็นคำของตถาคต เป็นข้อความลึก มีความหมายซึ้ง
    เป็นชั้นโลกุตตระ ว่าเฉพาะด้วยเรื่องสุญญตา,)</CENTER><CENTER></CENTER><CENTER></CENTER><CENTER></CENTER><CENTER></CENTER><CENTER> </CENTER><CENTER>๙. อริยสาวกสูตรที่ ๑
    </CENTER>[๑๗๘] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่าน
    อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล ... พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับมิได้มีความสงสัยอย่างนี้ว่า เมื่ออะไรมี
    อะไรจึงมีหรือหนอแล เพราะอะไรเกิดขึ้น อะไรจึงเกิดขึ้น เมื่ออะไรมี นามรูป
    จึงมี เมื่ออะไรมี สฬายตนะจึงมี เมื่ออะไรมี ผัสสะจึงมี เมื่ออะไรมี เวทนา
    จึงมี เมื่ออะไรมี ตัณหาจึงมี เมื่ออะไรมี อุปาทานจึงมี เมื่ออะไรมี ภพจึงมี
    เมื่ออะไรมี ชาติจึงมี เมื่ออะไรมี ชราและมรณะจึงมี ฯ
    [๑๗๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย โดยที่แท้ อริยสาวกผู้ได้สดับย่อมมีญาณ
    หยั่งรู้ในเรื่องนี้ โดยไม่ต้องเชื่อผู้อื่นว่า เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี เพราะสิ่งนี้เกิดขึ้น
    สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น เมื่อวิญญาณมีนามรูปจึงมี เมื่อนามรูปมี สฬายตนะจึงมี เมื่อ
    สฬายตนะมี ผัสสะจึงมี เมื่อผัสสะมี เวทนาจึงมี เมื่อเวทนามี ตัณหาจึงมี
    เมื่อตัณหามี อุปาทานจึงมี เมื่ออุปาทานมี ภพจึงมี เมื่อภพมี ชาติจึงมี เมื่อ
    ชาติมี ชราและมรณะจึงมี อริยสาวกนั้นย่อมรู้ประจักษ์อย่างนี้ว่า โลกนี้ย่อมเกิด
    ขึ้นอย่างนี้ ฯ
    [๑๘๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับ ย่อมไม่มีความสงสัย
    อย่างนี้ว่า เมื่ออะไรไม่มี อะไรจึงไม่มีหรือหนอแล เพราะอะไรดับ อะไรจึงดับ
    เมื่ออะไรไม่มี นามรูปจึงไม่มี เมื่ออะไรไม่มี สฬายตนะจึงไม่มี เมื่ออะไรไม่มี
    ผัสสะจึงไม่มี เมื่ออะไรไม่มี เวทนาจึงไม่มี เมื่ออะไรไม่มี ตัณหาจึงไม่มี เมื่อ
    อะไรไม่มี อุปาทานจึงไม่มี เมื่ออะไรไม่มี ภพจึงไม่มี เมื่ออะไรไม่มี ชาติจึง
    ไม่มี เมื่ออะไรไม่มี ชราและมรณะจึงไม่มี ฯ
    [๑๘๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย โดยที่แท้ อริยสาวกผู้ได้สดับย่อมมีญาณ
    หยั่งรู้ในเรื่องนี้โดยไม่ต้องเชื่อผู้อื่นว่า เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้จึงไม่มี เพราะสิ่งนี้ดับ
    สิ่งนี้จึงดับ เมื่อวิญญาณไม่มี นามรูปจึงไม่มี เมื่อนามรูปไม่มี สฬายตนะจึง
    ไม่มี ฯลฯ อุปาทานจึงไม่มี ... ภพจึงไม่มี ... ชาติจึงไม่มี เมื่อชาติไม่มี ชราและ
    มรณะจึงไม่มี อริยสาวกนั้นย่อมรู้ประจักษ์อย่างนี้ว่า โลกนี้ย่อมดับอย่างนี้ ฯ
    [๑๘๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในกาลใดแล อริยสาวกรู้ทั่วถึงเหตุเกิดและ
    ความดับไปแห่งโลกตามเป็นจริงอย่างนี้ ในกาลนั้น อริยสาวกนี้ เราเรียกว่าเป็น
    ผู้สมบูรณ์ด้วยทิฐิบ้าง เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยทัศนะบ้าง เป็นผู้มาถึงสัทธรรมนี้บ้าง
    เห็นสัทธรรมนี้บ้าง เป็นผู้ประกอบด้วยญาณอันเป็นเสขะบ้าง เป็นผู้ประกอบด้วย
    วิชชาอันเป็นเสขะบ้าง เป็นผู้บรรลุกระแสแห่งธรรมบ้าง เป็นพระอริยะมีปัญญา
    เครื่องชำแรกกิเลสบ้าง ว่าอยู่ชิดประตูอมตนิพพานบ้าง ฯ




    <CENTER>จบสูตรที่ ๙
    </CENTER>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 มิถุนายน 2012
  17. chottana

    chottana เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    176
    ค่าพลัง:
    +337
    ภิกษุทั้งหลาย ! บริษัทชื่อ ปฏิปุจฉาวินีตาปริสาโน-
    อุกกาจิตวินีตา เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุทั้งหลาย ! ในกรณีนี้
    คือ ภิกษุทั้งหลายในบริษัทใด, เมื่อสุตตันตะทั้งหลาย ที่กวี
    แต่งขึ้นใหม่ เป็นคำร้อยกรองเป็นเภทกาพย์กลอน มีอักษร
    สละสลวย มีพยัญชนะอันวิจิตร เป็นเรื่องนอกแนว เป็นคำ
    ของสาวก อันบุคคลนำมากล่าวอยู่, ก็ไม่ฟังด้วยดี ไม่เงี่ยหูฟัง
    ไม่เข้าไปตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง และไม่สำคัญว่าเป็นสิ่งที่ตนควร
    ศึกษาเล่าเรียน.
    ส่วนสุตตันตะเหล่าใด อันเป็นตถาคตภาษิต อันลึกซึ้ง
    มีอรรถอันลึกซึ้ง เป็นโลกุตตระ ประกอบด้วยเรื่องสุญญตา,
    เมื่อมีผู้นำสุตตันตะเหล่านั้นมากล่าวอยู่ พวกเธอย่อมฟัง
    ด้วยดี ย่อมเงี่ยหูฟัง ย่อมเข้าไปตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง และ
    ย่อมสำคัญว่า เป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียน. พวกเธอเล่า
    เรียนธรรมที่เป็นตถาคตภาษิตนั้นแล้ว ก็สอบถามซึ่งกันและ
    กัน ทำให้เปิดเผยแจ่งแจ้งออกมาว่า ข้อนี้พยัญชนะเป็น
    อย่างไร อรรถะเป็นอย่างไร ดังนี้. เธอเหล่านั้น เปิดเผยสิ่งที่
    ยังไม่เปิดเผยได้ หงายของที่คว่ำอยู่ให้หงายขึ้นได้ บรรเทา
    ความสงสัยในธรรมทั้งหลาย อันเป็นที่ตั้งแห่งความสงสัย มี
    อย่างต่างๆ ได้. ภิกษุทั้งหลาย! นี้เราเรียกว่า ปฏิปุจฉาวินีตา-
    ปริสาโนอุกกาจิตวินีตา.
    ภิกษุทั้งหลาย ! เหล่านี้แล บริษัท ๒ จำพวกนั้น.
    ภิกษุทั้งหลาย บริษัทที่เลิศในบรรดาบริษัททั้งสองพวกนั้น
    คือ บริษัทปฏิปุจฉาวินีตาปริสาโนอุกกาจิตวินีตา (บริษัทที่
    อาศัยการสอบสวนทบทวนกันเอาเองเป็นเครื่องนำไป ไม่
    อาศัยความเชื่อจากบุคคลภายนอกเป็นเครื่องนำไป) แล.
    (อริยสัจจากพระโอษฐ์ หน้า ๕๐๕-๕๐๗,
    พระไตรปิฎกบาลี สยามรัฐ๒๐/๙๑/๒๙๒)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 มิถุนายน 2012
  18. chottana

    chottana เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    176
    ค่าพลัง:
    +337
    *ฉะนั้นพระบรมศาสดาจึงได้ทรงแสดงว่าบุรุษบุคคลเรานี้มีธาตุ ๖ คือธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม ธาตุอากาส และวิญญาณธาตุคือธาตุรู้ดั่งนี้ มาประชุมปรุงแต่งกันขึ้นเป็นบุรุษสตรี เป็นบุคคลดังที่ปรากฏอยู่ เพราะฉะนั้น ธาตุเมื่อเป็นธาตุแท้ก็ย่อมเป็นวิสังขาร แต่ว่าธาตุในทางพิจารณานั้นก็อาจจะยังไม่ใช่เป็นธาตุแท้
    ------------------------------------------------------------
    วันหลังจะมั่วอะไร เทียบเคียงให้ดีๆก่อน
    ขันธ์กับธาตุหนะคนละเรื่อง
    ส่วนบางพระสูตรที่มีแปลไว้ให้เป็นธาตุนั้นเป็นธาตุผสม
    ไม่ใช่แม่ธาตุ ที่เป็นอสังขตธรรมธาตุ
    แต่เป็นสังขตธรรมธาตุ ธาตุที่ผสมแล้ว
    -----------------------------------------
    ผมจะสรุปให้เเล้วละ คุณนำไปตรอง ต้องรับฟังดู ด้วย
    ศึกษาเอง นำคำสาวกมา เเล้วก็งงไปเอง ไม่เข้าใจสิ้งที่ตนเองเข้าใจ ว่านั่นคืออะไร!
    ก็เห็นๆ ระบบสมมุติ กับ วิมุตติ มันคนละเรื่องกันเลย
    เหมือนน้ำ กับ น้ำมัน ยังไงก็ต้องดูให้ออกสิ ยังไงมันก็เข้ากันไม่ได้อยู่เเล้ว จะนำมาผสมกันได้ยังไง เป็นเเม่ธาตุ อะไร ยังไงมันก็ ผสมกันไม่ได้ มัน ฟ้าสูง กับ ดินต่ำ // ดอกฟ้ากับหมาวัด..
    เเล้วจะบอกว่า วิญญาณธาตุ หรือ จิตตั้งมั่น หรือ มโนเนี่ย ต้องยึดมั่น ถือมั่น ว่านั่นเป็นเราของเรา นั่นตัวจนของเรา อีกหรือ ที่มัน เป็น จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณ บ้างเนี่ย
    ลองดูระบบสมมุติ
    3.ฐิตัสสะ อัญญะฐัตตัง ปัญญายติ เมื่อตั้งอยู่ มีภาวะอย่างอื่นปรากฏ
    มาบอกอีกเป็นสิ่งที่ต้องชำระให้สอาด พอสอาดเเล้วจิตถึงจะหลุดพ้นอย่างนั่นหรือ?
    เห้ออ ก็เห็นๆอยู่ว่า ''มันเป็นวิญญาณฐิติ ไปตรวจสอบในพระสูตรได้คืออะไร ''ความหมายของคุณคือ วิญญาณธาตุ มันเวียนหานิพพานได้ เเบบนี้เหาะไปกันเลยมั้ย กลับมาดูใหม่ เข้าเรื่อง ที่จิตมันสงบคืออะไร? สุขคืออะไร ทุกข์คืออะไร? เรามองไม่เห็นเเต่เรารู้สึกได้ ใช่หรือไม่ เเล้ว ยังจะรั้น ไม่เข้าท่า คุณธรรมภูต ต้องไปศึกษา อัสสาทะ อาทีนวะ นิสารณะของเวทนา ร่วมด้วยถึงจะเข้าใจจริงๆ

    ภิกษุทั้งหลาย ! ผู้ใดจะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า
    เราจักบัญญัติ ซึ่งการมา การไป การจุติ การอุบัติ
    ความเจริญ ความงอกงาม และความไพบูลย์
    ของ วิญญาณ
    โดยเว้นจากรูป เว้นจากเวทนา เว้นจากสัญญา และเว้นจากสังขาร
    ดังนี้นั้น. นี่ ไม่ใช่ฐานะที่จักมีได้เลย.

    มันเป็นเลยกลายเป็น จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณ บ้าง ใช่มั้ย? ตลอดวันตลอดคืน
     
  19. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ^
    ^
    เฮ้อ!!!
    คุยกลับคนกระล่อนปลิ้นปล้อน เหนื่อยจริงๆ
    ถามไปตั้งมากมาย ไม่คิดจะตอบ
    คิดแต่จะพูดในสิ่งที่ตนเองยากพูดเท่านั้น
    แค่ภาษาไทย ยังต้องแปลไทยเป็นไทยเลย

    เอ๊!!! หรือกำลังคุยกับคนบ้าเมาน้ำตาลอยู่หรือเปล่า
    ภาษาไทยชัดเจน ตัววานรเปลี่ยจากเกาะกิ่งหนึ่ง ปล่อยไปเกาะอีกกิ่งหนึ่ง

    วานรก็ตัวเดิมชัดๆ ใช่หรือไม่?
    ที่เกิด-ดับไปต่อหน้าต่อตาไปนั้น
    ใช่อาการที่วานรจับกิ่งไม้ ปล่อยกิ่งไม้ ใช่หรือไม่?

    พระสูตรก็ชัดเจนอยู่แล้ว ท่านเปรียบวานรเหมือนจิต วานรกี่ตัว?
    แต่อาการที่วานร ไปจับกิ่งโน้น ปล่อยกิ่งนี้ ปล่อยกิ่งนั้น ยึดกิ่งนี้ ใช่วานรเป็นต้นนั้นมั้ยครับ?

    หัดตอบแบบชัดๆบ้าง อย่ากระล่อนจนพระพุทธพจน์เสียหายหมด
    ชอบแอบอ้างพระพุทธพจน์จนเสียหาย
    ยังจะกล้าอวดดีอีกหรือด้านจริงๆคนอะไร(หลักฐานมีนะ)

    สนทนาธรรมสมควรแก่ธรรม

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 มิถุนายน 2012
  20. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ู^
    ^
    มีพระพุทธพจน์ตรัสกับพระวักกลิชัดเจนไม่ต้องตีความใดๆ
    "ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา" เราคืออะไร?
    พระวรกายของพระพุทธองค์ที่ตายเน่าเข้าโลงได้?
    หรือจิตที่บริสุทธฺ์ขั้น"พุทธะ"?

    ก็เพราะสิ่งนั้น ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตนของเรา
    มีแต่พวกดักดานเท่านั้น ที่จะยึดนั่น ยึดนี้มาเป็นเรา

    พระพุทธองค์ทรงตรัสสอนชัดๆว่า นั่นไม่ใช่เรา ไม่เป็นเรา ไม่ใช่ตนของเรา
    ไม่ได้ทรงตรัสตรงไหนเลยว่า ไม่มีเรา ไม่มีตน ในที่ทั้งปวง
    แต่ไม่ให้ยึดสิ่งที่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตนของเรา ไม่ใช่ไม่มีคนละเรื่อง

    ถ้าพระพุทธองค์ทรงสอนว่า ไม่มีเรา ไม่มีตน ในที่ทั้งปวง
    ที่พระพุทธองค์ทรงตรัสสั่งสอนไว้กับพระวักกลิ
    ก็เป็นการมุสาดีๆนี่เองสิ ทำไปได้ไอ้พวกแอบอ้างว่า "ไม่มีเราในที่ทั้งปวง"

    หัดอ่านของคนอื่นบ้าง อย่าทำตัวเก่งเกินพระบรมครูเลย
    ถ้าไม่เชื่อเรื่องเวรกรรมอย่างที่เคยพูดไว้ ก็อย่าแอบอ้างพระพุทธองค์อีกเลย

    เวรกรรม เวรกรรม ตามผู้กระทำไปเหมือนลอยเกวียนตามเท้าโคไปฉะนั้น
    เจริญในธรรมทุกท่าน
     

แชร์หน้านี้

Loading...