คำเตือนน้ำท่วมปี 55 จากผู้รู้จริง ลงหน้างาน ทุ่มเท (เหมือนติดทองหลังพระ)

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย natatik, 23 มิถุนายน 2012.

  1. natatik

    natatik เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 มกราคม 2012
    โพสต์:
    873
    ค่าพลัง:
    +3,607
    "กทม.-ปริมณฑล"ระทึก! "เสรี"เตือนเสี่ยง" น้ำท่วม" ชี้มาเร็ว-แรง! เผยแนวฟลัดเวย์3เส้นทาง(ชมคลิป)

    วันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2555 เวลา 18:55:22 น.
    <!-- Start share twitter --><IFRAME style="WIDTH: 110px; HEIGHT: 20px" class="twitter-share-button twitter-count-horizontal" title="Twitter Tweet Button" src="http://platform.twitter.com/widgets/tweet_button.1340179658.html#_=1340377297296&count=horizontal&id=twitter-widget-0&lang=en&original_referer=http%3A%2F%2Fwww.matichon.co.th%2Fnews_detail.php%3Fnewsid%3D1339923597%26grpid%3D00%26catid%3D%26subcatid%3D&size=m&text=%22%E0%B8%81%E0%B8%97%E0%B8%A1.-%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%93%E0%B8%91%E0%B8%A5%22%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%97%E0%B8%B6%E0%B8%81!%20%22%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B8%B5%22%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%87%22%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%97%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%A1%22%20%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B9%89%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B9%87%E0%B8%A7-%E0%B9%81%E0%B8%A3%E0%B8%87!%20%E0%B9%80%E0%B8%9C%E0%B8%A2%E0%B9%81%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%9F%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B9%8C3%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87(%E0%B8%8A%E0%B8%A1%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%9B)%20%3A%20%E0%B8%A1%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%A5%E0%B8%99%E0%B9%8C&url=http%3A%2F%2Fwww.matichon.co.th%2Fnews_detail.php%3Fnewsid%3D1339923597%26grpid%3D00%26catid%3D%26subcatid%3D&via=MatichonOnline" frameBorder=0 allowTransparency scrolling=no></IFRAME>
    <!-- End share twitter --><!-- Start share facebook -->Share5135
    <!-- End share facebook -->

    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=650><TBODY><TR><TD vAlign=top width=90 align=left>[​IMG]


    <INS style="BORDER-BOTTOM: medium none; POSITION: relative; BORDER-LEFT: medium none; PADDING-BOTTOM: 0px; MARGIN: 0px; PADDING-LEFT: 0px; WIDTH: 100px; PADDING-RIGHT: 0px; DISPLAY: inline-table; HEIGHT: 125px; VISIBILITY: visible; BORDER-TOP: medium none; BORDER-RIGHT: medium none; PADDING-TOP: 0px"><INS style="BORDER-BOTTOM: medium none; POSITION: relative; BORDER-LEFT: medium none; PADDING-BOTTOM: 0px; MARGIN: 0px; PADDING-LEFT: 0px; WIDTH: 100px; PADDING-RIGHT: 0px; DISPLAY: block; HEIGHT: 125px; VISIBILITY: visible; BORDER-TOP: medium none; BORDER-RIGHT: medium none; PADDING-TOP: 0px" id=aswift_0_anchor><IFRAME style="POSITION: absolute; TOP: 0px; LEFT: 0px" id=aswift_0 height=125 marginHeight=0 frameBorder=0 width=100 allowTransparency name=aswift_0 marginWidth=0 scrolling=no></IFRAME></INS></INS>
    </TD><TD vAlign=top width=560 align=left><STYLE> P { margin: 0px; } </STYLE>สถานการณ์ฝนตกน้ำท่วมในหลายจังหวัด ตอนนี้ทำให้ชาวกรุงเทพมหานครและปริมณ ฑลเริ่มหวั่นไหว ใจคอไม่ค่อยดี ลุ้นกันว่าปีนี้น้ำจะมาอีกหรือไม่


    ทาง"มติชนออนไลน์"จึงตามไปสอบถามกูรูผู้เชี่ยวชาญมาไขความกระจ่างในเรื่องนี้กับรองศาสตราจารย์ ดร.เสรี ศุภราทิตย์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยภัยธรรมชาติ มหาวิทยาลัยรังสิต


    ทำให้ได้ทราบข้อมูล และมีเรื่องน่าตกใจ และกังวลใจไม่น้อย ในหลักการบริหารจัดการภัยพิบัติ ไม่มีคำว่า"เอาอยู่" ไม่มี"พิมพ์เขียว"สำหรับการบริหารจัดการภัยพิบัติ


    เพราะเป็นการบริหารความเสี่ยง เพราะฉะนั้นพิมพ์เขียวที่ได้วันนี้ พรุ่งนี้อาจใช้ไม่ได้ มันเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
    ในหลายพื้นที่ที่ถูกกำหนดเป็นพื้นที่รับน้ำนอง และแนวทางระบายน้ำ(ฟลัดเวย์ )แต่ชาวบ้านหลายพื้นที่ยังงง !!


    <IFRAME height=304 src="http://www.youtube.com/embed/nCTHtlSpLBs" frameBorder=0 width=540 allowfullscreen></IFRAME>


    Q ปีนี้น้ำจะท่วมกรุงเทพมหานครและปริมณหรือไม่

    โอกาสกรุงเทพมหานคร และปริมาณมณฑลมีความเสี่ยงที่จะถูกน้ำท่วมไม่เกิน 20% หากถามว่า เมื่อไหร่จะชัดเจนว่า น้ำจะท่วมกทม.และปริมฑลหรือไม่ ต้องรอปลายเดือนกรกฎาคม 2555 ข้อมูลถึงจะชัดเจน เพราะจะมีข้อมูลเรื่องฝนได้แม่นย้ำขึ้น ดูพายุเข้า และความรุนแรงของร่องมรสุม


    Qปริมาณน้ำจะมามาก หรือมาน้อย

    มาในระดับปี 2549 อาจจะน้อยกว่าปีที่แล้ว แต่ความรุนแรงอาจจะถึงปี 2554 น้ำอาจจะมาเร็วขึ้น และปริมาณน้ำไม่จำเป็นต้องมาเท่าเดิม ปริมาณน้ำอาจน้อยกว่าเดิม แต่ความรุนแรงมากขึ้นก็ได้ เพราะพอเรากั้นน้ำก็สูงขึ้นเป็นเรื่องธรรมดา ความเสี่ยงจะอยู่ในเขตกรุงเทพ และปริมณฑลมาก เพราะเมื่อพื้นที่จังหวัดด้านบนไม่เอาน้ำ นิคอุตสาหกรรม 30,000 ไร่ไม่เอาน้ำ ชุมชนเทศบาลต่าง ๆ ป้องกันหมด ยกคันขึ้นสูง 50 เซนติเมตรเกือบหมด นั่นหมายถึง น้ำต้องลงมาด้านล่าง อยุธยาจะรุนแรงขึ้น เพราะเป็นพื้นที่ต่ำ


    Qโครงการทำแนวป้องกันน้ำถึงวันนี้จะช่วยได้เพียงใด

    ปีนี้ได้งบประมาณในการดำเนินโครงการ 120,000 ล้านบาท และได้มีการแจ้งว่า ใช้ไปไม่ถึง 20,000 ล้านบาทหรือประมาณ 18% ขณะที่เหลือเวลาอีก 5 เดือน ทำให้เรากังวล โดยแบ่งได้ 3 ประการ 1) บางแห่งทำสำเร็จแล้ว 2)บางแห่งกำลังทำอยู่ 3)บางแห่งทำไม่ได้ เมื่อไหร่จะทำได้ ก็ไม่รู้ การประเมินยากมากตอนนี้ เช่น
    พื้นที่รับน้ำนอง 2 ล้านไร่ไปถามชาวบ้าน หลายพื้นที่ประชาชนยังไม่ทราบว่า ที่ดินของตัวเองอยู่ในพื้นที่รับน้ำนอง ข้อมูลไปไม่ถึงชาวบ้าน นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีจริงใจมากมีการประกาศชัดเจน แต่พอลงไปข้างล่าง ไม่มีการสานต่อหลายที่ ข้าราชการในพื้นที่ไม่อยากไปเผชิญปัญหา



    Qคณะกรรมการแก้ปัญหาน้ำท่วมเอง ก็ไม่ได้เห็นสอดคล้องกันหลายเรื่อง

    แน่นอน เพราะเวลาจะตัดสินไม่ได้มีการประเมินแนวทางที่เข้าใจ เข้าถึง และค่อยพัฒนา ยกตัวอย่างการทำคันป้องกันพื้นที่เศรษฐกิจ 300 กิโลเมตรไม่มีใครเห็นด้วย เพราะไม่ได้ประเมิน แต่เมื่อตัดสินใจไปอย่างนั้น เราก็อยากให้เกิด แต่ทำไม่ได้ ขณะนี้มีความขัดแย้งสูงในพื้นที่ ประเด็นตรงนี้ รัฐบาลควรจะแจ้งประชาชนให้เตรียมตัว ถ้าทำไม่ได้ แล้วไม่บอกประชาชน ปัญหาจะหนักขึ้น เพราะประชาชนไม่ได้เตรียมอะไรเลย คิดว่า โครงการของภาครัฐทำได้ จะเห็นว่า ทำไมนครปฐมถึงไม่เอาฟัดเวย์ เป็นเรื่องที่ท้องถิ่นกับผู้ว่าราชการจังหวัด หน่วยงานในท้องที่ต้องทำความเข้าใจกับประชาชนว่า รัฐบาลมีนโยบายอย่างนี้แล้ว


    Qการเตรียมการเรื่องฟลัดเวย์ไปถึงไหน

    ฟลัดเวย์เป็นแผนระยะยาว ที่รัฐบาลออกพระราชกำหนด 350,000 ล้าน เป็นฟลัดเวย์ถาวรทางฝั่งขวา และฝั่งซ้าย 2 เส้นทาง หากถามว่า เส้นทางอยู่ทางไหน เขา
    ยังเก็บอยู่เป็นความลับกลัวว่า จะมีปัญหาการเก็งกำไร แต่ไม่ต้องห่วงการเก็งกำไร เพราะนักการเมืองซื้อหมดแล้ว


    Qฟลัดเวย์ 350 กิโลเมตรที่ว่าเป็นแผนอย่างไร ตรงจุดไหน

    ปีนี้เองก็มีฟลัดเวย์น้ำ ทำเป็นคันชั่วคราวยาวประมาณ 350 กม.พื้นที่จะป้อง คือ พื้นที่ในเมืองตั้งแต่แม่น้ำป่าสัก ลงมาคลองพระยาบันลือ จะผ่าน 3 เส้นทาง จุดแรกจะลงมาแม่น้ำเจ้าพระยา จะทำคันกั้นริมน้ำทั้งหมด ตั้งแต่อยุธยาลงมาถึงปทุมธานี ถ้าใครอยู่ริมน้ำเจ้าพระยาต้องสังเกตว่า ทางราชการได้ไปเสริมถมถนนหรือยัง จุดที่ 2 จะทำคันดินริมฝั่งซ้ายของแม่น้ำท่าจีน จะลงทุนป้องพื้นที่อุตสาหกรรม ส่วนปล่อยฝั่งขวาเป็นไปตามธรรมชาติ
    และจุดที่ 3 ทางด้านฝั่งตะวันออก จะมีการทำคันจากคลองระพีพัฒน์ลงไปคลอง 13 และลงไปคลองด่าน เพราะฉะนั้นคนฝั่งซ้ายของคลองแปดริ้วน้ำจะท่วมสำหรับปีนี้



    วันนั้นผมเดินทางลงพื้นที่ คนนครปฐมไม่ต้องการฟลัดเวย์ ขึ้นป้ายเต็มเลย ไม่ใช่แนวคิดเรา เป็นแนวคิดที่ออกมาแล้ว เราก็รู้ว่า ทำไม่ได้ เพราะผมบอกแต่แรกว่า จะได้รับการต่อต้านจากประชาชนสูงมาก ก็เรื่องจริง เงิน 120,000 ล้านบาท เบิกไปใช้เพียง 20,000 ล้านบาท เพราะไปตรงจุดไหน ไม่มีใครอยากให้ทำคันกั้น


    สมมุติเราบ้านอยู่ฝั่งนี้ แล้วไปทำคันดินกั้น เห็นชัดเจนว่า ฝั่งนี้น้ำจะท่วม อีกฝั่งน้ำไม่ท่วม มันเป็นไปได้อย่างไร อันนี้หลักคิด การบริหารจัดการมันผิดหลักคิดแล้ว อันนี้เป็นส่วนหนึ่ง ปัญหาคือ ทำไม่เสร็จทำไม่ได้ เพราะความขัดแย้งสูง โหว่วเป็นจุด ๆ น้ำก็ทะลักอีก ในที่สุดถ้าน้ำมาเหมือนเดิม ผมคิดว่าก็ท่วมเหมือนเดิม แต่อาจจะหนักด้านท้ายน้ำ เพราะคันป้องไม่มีทางเสร็จทัน เหลือเวลาอีกเพียง 3-4 เดือน ถ้าคิดในแง่หลักความจริง เพราะฉะนั้นก็ไม่รู้จะทำอย่างไร สุดท้ายคงตัวใครตัวมัน


    Qสิ่งที่อาจารย์กังวล และพยายามเตือนรัฐบาลมาตลอด แต่รัฐบาลไม่ฟัง

    จริง ๆ ฟัง แต่ปัญหาในท้องถิ่นมีอะไรบ้าง ผู้บริหารข้างบนไม่ค่อยรู้ นี่คือปัญหาหลักในการบริหารจัดการ เวลานางสาวยิ่งลักษณ์ นายกรัฐมนตรีลงไปดูในพื้นที่ มันคนละเรื่องกับผมลงไปดูในพื้นที่ หลายพื้นที่ยังไม่สามารถทำคันกันน้ำได้ และมีปัญหามาก พอนายกรัฐมนตรีลงไป คนข้าง ๆ กับพูดแต่ว่า "ดีครับนาย ได้ครับผม" บ้านเราก็เป็นอย่างนี้ ทั้งที่ปัญหามันต้องแก้ไข ต้องให้ข้อเท็จจริง


    ณ ขณะนี้ "ข้อมูลเป็นเรื่องสำคัญ" การตัดสินที่จะสู้กับมัน ด้วยวิธีการอย่างนี้ แต่ไม่ศึกษา "อันตราย" ความจริงผมประชุมกับนายกรัฐมนตรีตั้งแต่เดือนมกราคมและบอกว่า ก่อนที่จะออกมาเป็นแผนแม่บท ขอให้นายกประเมินขั้นต้นก่อน แต่ไม่มีการประเมินมา จนกระทั่งปัจจุบันผ่านมา 6 เดือน บางอันถึงลงไปปฏิบัติไม่ได้
    พอปฏิบัติไม่ได้ก็เกิดคำถามขึ้นมา


    ผมเพิ่งกลับจากพิษณุโลก สุโขทัย ข้อมูลก็เพี่ยนอีก บางระกำโมเดล ทุกคนบอกป้องกันน้ำท่วมได้ พอมีบางระกำแล้ว สบายใจ แต่ตอนนี้น้ำท่วมบางระกำเต็มไปหมดเลย นี่คือ สิ่งที่เกิดขึ้น บางระกำโมเดล พื้นที่บ่อน้ำมี 30 ล้านลูกบาศก์เมตร น้ำอยู่ในพื้นที่บางระกำ 600 ล้านลูกบาศก์เมตร มันไม่ใช่ ความเข้าใจ มันต้องเข้าใจ เพราะฉะนั้นรอบ ๆ ด้านนายกรัฐมนตรีอันตรายมาก น่ากลัว เราเลยต้องพึ่งวิทยาศาสตร์ เราจะทำอย่างไรให้เกิดข้อเท็จจริง เกิดข้อมูลส่งให้นายกรัฐมนตรีกลั่นกรอง อย่างนี้ดีที่สุดจึง "ทุบโต๊ะ"


    ข้อมูลที่ให้ผู้บริหารตัดสินใจจะต้องได้รับการกลั่นกรองว่า ทิศทางเป็นเช่นนี้แล้ว ต้องทุบโต๊ะ สังเกตปีที่แล้วจะเห็นว่า บางอย่างมันซื้อเวลา ปีที่แล้วจะขอเปิดประตูน้ำแห่งนี่ 1.20 เมตร บอกขอเวลาดู 2 วัน นั่นคือ ซื้อเวลาแล้ว "หายนะไม่สามารถจะขอได้" "ขอหายนะดู 2 วันได้หรือไม่"


    นอกจากนี้ "แผนเผชิญเหตุ" เวลาออกมาบอกรัฐบาลได้ทำแผนเผชิญเหตุเสร็จแล้ว เวลาเราประชุมก็ถาม แผนเผชิญเหตุเป็นอย่างไร สมมุติมีชาวบ้านออกมาขัดค้าน 1,000 คน มีตำรวจมา 10 คน ข้ราชการบอก"หนี" นี่คือ แผนเผชิญเหตุหรือเปล่า ผมบอกหนี ผิดคำสั่งผู้บังคับบัญชา คำสั่งคือ ให้ปิดประตูน้ำตัวนี้ แต่พอชาวบ้านที่อยู่เหนือประตูน้ำมาอีก 1,000 คน บอกให้เปิดประตูน้ำ ข้าราชการบอกผิดก็ผิด ดีจะได้ย้ายไปอยู่ที่อื่น เขาบอกอย่างนั้น


    Qโครงการป้องกันน้ำท่วม1.2 แสนล้านบาทต้องมาทบทวนความเป็นไปได้

    ถูกต้อง ขณะนี้ต้องรีบประเมิน และนายกรัฐมนตรีกำลังจะทำการประเมิน ผมเรียนท่านนายกรัฐมนตรีตั้งแต่เดือนมกราคมแล้วว่าต้องรีบประเมิน ปัญหามันจะเกิด ก็เกิดจริง ๆ ปัญหามันไม่ไปถึงท้องถิ่น ตอนนี้ประเด็นปัญหาเริ่มสะท้อนกลับมาว่า ตกลงปีนี้ น้ำจะมาเหมือนเดิม จะท่วมหรือไม่ท่วม ขณะนี้ยังไม่มีใครตอบได้ ถ้าน้ำ
    มาเหมือนเดิม จะท่วมหรือไม่ท่วม เพราะว่า มาตรการที่ลงไป ยังไม่สามารถสร้างเป็นรูปธรรมได้


    Qต้องทำประชาพิจารณ์ก่อนลงมือทำโครงการในพื้นที่ด้วยหรือไม่

    ขึ้นกับขนาดโครงการ ถ้าเป็นโครงการขนาดใหญ่ต้องทำประชาพิจารณ์ เพราะรัฐธรรมนูญเขียนไว้ แต่ถ้าเป็นโครงการธรรมดา ก็เพียงแต่ทำความเข้าใจกับประชาชนในพื้นที่ทั้ง 2 ฝั่งว่า แผนเป็นแบบนี้เอาหรือไม่


    Qการที่นิคมสร้างเขื่อนป้องกันถือว่าเป็นเรื่องถูกต้องหรือไม่ ทางวิทยาศาสตร์

    ผมว่า ถูกต้อง นิคมอุตสาหกรรมเป็นพื้นที่ที่สำคัญ ความเสียหายปีที่แล้วในพื้นที่อุตสาหกรรมทั้งหมด 1 ล้านล้านบาท การทำถูกต้อง เพียงแต่ทำแล้วไม่บอกกับประชาชนว่า น้ำจะไปหาประชาชนหรือเปล่า คือ การประเมิน เพราฉะนั้นก็เกิดความขัดแย้ง และใครก็ไม่กล้าไปเผชิญความขัดแย้ง ท้องที่เกิดความขัดแย้งเกิดขึ้น พื้นที่รอบ ๆ นิคมอุตสาหกรรมมีความขัดแย้งเกิดขึ้น


    Qรัฐบาลควรต้องมีเงินชดเชยค่าตอบแทนให้กับประชาชนที่ต้องแบกรับน้ำแทนนิคมอุตสาหกรรม

    ถูกต้อง ถ้าประเมินแล้วชาวบ้านไม่มีปัญหาเลย น้ำเพิ่มขึ้นมา 2 เซนติเมตรก็บอกประชาชนไป แต่ปัญหาคือ ไม่มีใครบอก ต้องใช้หลักวิทยาศาสตร์ ต้องใช้หลักวิชาการบอก ถ้ารัฐบาลทำตั้งแต่เดือนมกราคมอยากที่ผมบอก ตอนนี้ทุกอย่างออกมาจบไปแล้ว

    Qตอนนี้ข้าราชการมีปัญหาเรื่องการประสานงานเหมือนปีที่แล้ว

    ใช่ครับ หน่วยราชการเองยังประสานงานกันเองไม่ลงตัว ยังไม่ดี ขณะที่การประสานงานกับประชาชนยังไม่ทำให้ประชาชนเข้าใจอย่างถูกต้อง หลายเรื่องซึ่งอันตราย ยกตัวอย่างปีที่แล้ว ตรงประตูน้ำพระยาสุเรนทร์ปีที่แล้วมีปัญหา ตอนนี้ผู้ที่เกี่ยวข้องควรจะมาตกลงกัน เรียกว่า การบริหารจัดการ ก่อนเกิดเหตุ จะเปิดเท่าไหร่ หากน้ำมาเท่านี้ อีก


    อีกกรณีหนึ่งสุพรรณบุรีกับชัยนาท ปีที่แล้วในสุพรรณบุรีมีข้อตกลงกันว่า หลัง 15 กันยายนให้รีบเก็บเกี่ยว น้ำเข้าทุ่งแน่นอน แต่คนชัยนาทไม่รู้ข้อตกลงตัวนี้ น้ำเข้าท่วมตลาดวัดสิงห์หนัก ขณะที่สุพรรณบุรีน้ำในทุ่งยังไม่มี มีการไปพังประตูน้ำ เพื่อให้น้ำเข้าเร็ว ๆ แต่ในที่สุดจังหวัดสุพรรณบุรีก็ถูกน้ำท่วมหนัก สิ่งที่เกิดขึ้นความขัดแย้งจะบานปลายถ้าเราไม่แก้ปัญหาตัวนี้ เพราะฉะนั้นผู้ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการภัยพิบัติในทุกภาคส่วนต้องมาคุยกัน


    Qพื้นที่รับน้ำนองประชาชนยังไม่ทราบว่า อยู่ตรงไหน

    พื้นที่ 2 ล้านไร่ ผมรู้ว่า ตรงนี้เมื่อผมลงไปในพื้นที่ประชาชนยังไม่ทราบ รัฐบาลไม่ประกาศ เพราะมาตรฐานการจ่ายเงินมันต่างกัน ถ้าประกาศความขัดแยังจะเพิ่มขึ้นมาอีก คนนี้ได้ 2,200 บาท พอเป็นพื้นที่รับน้ำนองได้ 7,000 บาท ประชาชนอีกแห่งบอก เขาอยู่ในพื้นที่น้ำท่วมซ้ำซากทำไม ไม่ได้บรรจุอยู่ในพื้นที่รับน้ำนอง มันไม่ชัดเจน ไปถึงมีแต่ความขัดแย้ง

    Qเรามีการเตรียมตัวรับกับอุทกภัยเหล่านั้นสักกี่เปอร์เซ็นต์แล้ว

    ถ้าวัดในเชิงโครงสร้างต่าง ๆ ที่ไปทำ ยอมรับว่า วัดได้ยากจริง ๆ เพราะตอนนี้เกิดในลักษณะต่างคนต่างทำ ต่างคนต่างเอาตัวรอด เพราะฉะนั้นเราไม่รู้ว่า ชุมชนนี้จะป้องสูงระดับไหน ประชาชนในพื้นที่จะบอกว่า ปีที่แล้วน้ำท่วมหนัก เขาจะทำเขื่อนขึ้นมาสูงเท่านั้นเท่านี้ จะทำได้หรือไม่ งบประมาณอยู่ที่ไหน เราก็ไม่รู้อีก จะมีกรณีอย่างนี้เต็มไปหมด


    และแน่นอนปริมาณน้ำเหล่านี้จะไหลลงข้างล่าง คนกรุงเทพ และปริมณฑลมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นแน่นอน เพราะฉะนั้นคนที่ถูกน้ำท่วมปีที่แล้วจะเข็มแข็งขึ้น เพราะจะปกป้อง แต่คนที่ไม่โดนปีที่แล้ว จะไม่ทำอะไร เพราะถือว่า ผ่าเหตุการณ์ เพราะฉะนั้นคนที่ไม่ถูกท่วมปีที่แล้วก็จะท่วมปีนี้ ธรรมชาติเป็นอย่างนี้อยู่แล้ว


    อยากน้อยฟังข้อมูลแล้ว...จะสู้หรือจะหนี คงต้องตัดสินใจเตรียมตัวกันเอง !!


    เรื่องโดย : กฤษณา ไพฑูรย์


    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  2. gun2555

    gun2555 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    701
    ค่าพลัง:
    +1,205
    ตกใจกันจริงๆ ความจริงวันนี้คือประเทศไทยแห้งแล้ง ถ้านักวิชาการสังเกตุธรรมชาติแบบชาวนาเขาจะบอกว่าแล้ง ถ้าฝนมาตรงสกล นครพนม บึงกาฬ หนองคาย อุดร เลย พิษณุโลก อุตรดิตถ์ สุโขทัย ตาก กาญจณบุรี และภาคตะวันออก พร้อมช่วงกลางของภาคใต้ ฝนจะตกอยู่แค่นี้ นอกนั้นจะแห้งแล้งเกือบทุกจังหวัด บางจังหวัดชาวบ้านหว่านข้าวไว้ตายหมดแล้วก็ยังมี ถ้าไม่มีพายุพัดผ่านประเทศไทยจากด้านทะเลจีนใต้ประเทศไทยจะถึงขั้นขาดแคลนน้ำและแห้งแล้งหนัก แต่ส่วนมากถ้าปีใดก็ตามถ้าฝนมาแถบนี้ประเทศไทยจะมีพายุจากทะเลจีนใต้พัดเข้าตรงภาคิสานน่าจะไม่เกิน 1 ลูก นอกนั้นพายุจะเลาะตามน้ำโขงไปเข้าน่านและอุตรดิตถ์ ไปตาก ออกพม่าไปโน้น ปีที่ผ่านมาที่มันท่วมหนักๆก็เพราะคนมือบอนไม่ยอมสั่งการณ์ปล่อยน้ำออกจากเขื่อน เพราะช่วงนั้นรัฐบาล(ปชป.)และพรรคฝ่ายค้าน(พท.)กำลังหาเสียง พรรคที่คุมกรมน้ำเลยไม่มีคนสนใจทุกข์สุขของประชาชน กักน้ำไว้ในเขื่อนมหาศาล พอพายุเข้ามา 2-3 ลูกน้ำเลยไม่มีที่ไป จำเป็นต้องปล่อยออกมาท่วม นี้แหละเอาทุกข์สุขของประชาชนมาเป็นเกมส์การเมือง ถ้าจะให้เกิดความเป็นธรรม ก็ไม่ควรด่าแต่นักการเมืองควรประนามพวกข้าราชการบางกระทรวงบางกรมด้วยที่คิดช้ารอให้แต่นักการเมืองสั่งไม่คิดแก้ปัญหา
     
  3. เวียงละกอน

    เวียงละกอน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2010
    โพสต์:
    285
    ค่าพลัง:
    +391
     
  4. ZZ

    ZZ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 เมษายน 2005
    โพสต์:
    5,374
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,649








    ภัยแล้ง...จากนั้นต่อด้วยน้ำท่วม...ครับ

    ปี 2554 ช่วงนี้ก็เกิดปัญหาภัยแล้งเช่นกัน (ปริมารน้ำในอ่าง 60% เท่ากัน)...จากนั้นปลายปีจึงเกิดน้ำ่ท่วม (มหาอุทกภัย)...ครับ









    08/02 สถานการณ์ภัยแล้งในปี 2554 มีพื้นที่เสี่ยงภัยถึง 27 จังหวัด

    นายจตุพร บุรุษพัฒน์ อธิบดีกรมทรัพยากรน้ำ คาดว่า สถานการณ์ภัยแล้งในปี 2554 มีพื้นที่เฝ้าระวังภัยแล้ง จำนวน 27 จังหวัด (ช่วงวันที่ 1-7 กุมภาพันธ์ 2554) ภาคเหนือ 7 จังหวัดได้แก่ แม่ฮ่องสอน เชียงราย พะเยา สุโขทัย อุทัยธานีนครสวรรค์ เพชรบูรณ์


    ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 10 จังหวัดได้แก่ นครพนม ศรีสะเกษ สุรินทร์ เลย หนองคาย หนองบัวลำภู มุกดาหาร อำนาจเจริญ ยโสธร อุบลราชธานี

    ภาคกลาง 1 จังหวัดได้แก่ ประจวบคีรีขันธ์

    ภาคตะวันออก 5 จังหวัดได้แก่ สระแก้ว ระยอง จันทบุรี ตราด ปราจีนบุรี

    ภาคใต้ 4 จังหวัดได้แก่ ชุมพร ระนอง พังงา สตูล

    ข้อมูลพื้นที่ภัยแล้งมาจากการวิเคราะห์ 6 ปัจจัยหลัก ได้แก่ ปริมาณฝนสะสม , ฝนทิ้งช่วง , ระดับน้ำในลำน้ำสายหลัก แม้มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น แต่ส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์น้อย , ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ ซึ่ง มีปริมาณน้ำกักเก็บ 70 เปอร์เซ็นต์ แต่น้อยกว่าปีที่แล้ว 3 เปอร์เซ็นต์ รวมถึงปัจจัยพื้นที่ขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภคและพื้นที่ประสบภัยแล้งซ้ำซาก

    กระทรวงทรัพยากรฯ ได้ส่งทีมสำรวจแหล่งน้ำและแม่น้ำสายต่างๆว่าแม่น้ำสายใดและช่วงใดของแม่น้ำสามารถเก็บกักไว้ได้รวมถึง การเจาะบ่อบาดาลในพื้นที่ภัยแล้ง , เตรียมรถบรรทุกน้ำ , รถผลิตน้ำดื่ม , เครื่องสูบน้ำและรถประปาสนาม

    ปีที่แล้ว มีพื้นที่ประสบภัยแล้ง 60 จังหวัด มูลค่าความเสียหายกว่า 672 ล้านบาท

    :: มูลนิธิสภาเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ



    ข่าวเพิ่มเติม


    <!--[if !mso]> <style> v\:* {behavior:url(#default#VML);} o\:* {behavior:url(#default#VML);} w\:* {behavior:url(#default#VML);} .shape {behavior:url(#default#VML);} </style> <![endif][if gte mso 9]><xml> <w:WordDocument> <w:View>Normal</w:View> <w:Zoom>0</w:Zoom> <w:punctuationKerning/> <w:ValidateAgainstSchemas/> <w:SaveIfXMLInvalid>false</w:SaveIfXMLInvalid> <w:IgnoreMixedContent>false</w:IgnoreMixedContent> <w:AlwaysShowPlaceholderText>false</w:AlwaysShowPlaceholderText> <w:Compatibility> <w:BreakWrappedTables/> <w:SnapToGridInCell/> <w:ApplyBreakingRules/> <w:WrapTextWithPunct/> <w:UseAsianBreakRules/> <w:DontGrowAutofit/> </w:Compatibility> <w:BrowserLevel>MicrosoftInternetExplorer4</w:BrowserLevel> </w:WordDocument> </xml><![endif][if gte mso 9]><xml> <w:LatentStyles DefLockedState="false" LatentStyleCount="156"> </w:LatentStyles> </xml><![endif][if gte mso 10]> <style> /* Style Definitions */ table.MsoNormalTable {mso-style-name:"Table Normal"; mso-tstyle-rowband-size:0; mso-tstyle-colband-size:0; mso-style-noshow:yes; mso-style-parent:""; mso-padding-alt:0cm 5.4pt 0cm 5.4pt; mso-para-margin:0cm; mso-para-margin-bottom:.0001pt; mso-pagination:widow-orphan; font-size:10.0pt; font-family:"Times New Roman"; mso-bidi-font-family:"Times New Roman"; mso-ansi-language:#0400; mso-fareast-language:#0400; mso-bidi-language:#0400;} </style> <![endif]-->
    <table class="MsoNormalTable" style="width:581.25pt; mso-cellspacing:1.5pt;background:white;mso-padding-alt:1.5pt 1.5pt 1.5pt 1.5pt" border="0" cellpadding="0" width="775"> <tbody><tr style="mso-yfti-irow:0;mso-yfti-firstrow:yes"> <td style="padding:1.5pt 1.5pt 1.5pt 1.5pt"> สรุปสถานการณ์ภัยพิบัติด้านการเกษตรปี 2554 ครั้งที่ 5
    คณะรัฐมนตรี รับทราบข้อมูลสรุปสถานการณ์ภัยพิบัติด้านการเกษตรปี 2554 ครั้งที่ 5 ณ วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2554 ประกอบด้วย สถานการณ์ภัยพิบัติด้านการเกษตร สถานการณ์น้ำ การจัดสรรน้ำและการปลูกพืชฤดูแล้งปี2553/2554 การช่วยเหลือด้านการเกษตร ความก้าวหน้าการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบอุทกภัยปี 2553 กรณีพิเศษ ของกระทรวงเกษตรและ สหกรณ์ สรุปได้ดังนี้
    สาระสำคัญของเรื่อง

    <!--[if !mso]> <style> v\:* {behavior:url(#default#VML);} o\:* {behavior:url(#default#VML);} w\:* {behavior:url(#default#VML);} .shape {behavior:url(#default#VML);} </style> <![endif][if gte mso 9]><xml> <w:WordDocument> <w:View>Normal</w:View> <w:Zoom>0</w:Zoom> <w:punctuationKerning/> <w:ValidateAgainstSchemas/> <w:SaveIfXMLInvalid>false</w:SaveIfXMLInvalid> <w:IgnoreMixedContent>false</w:IgnoreMixedContent> <w:AlwaysShowPlaceholderText>false</w:AlwaysShowPlaceholderText> <w:Compatibility> <w:BreakWrappedTables/> <w:SnapToGridInCell/> <w:ApplyBreakingRules/> <w:WrapTextWithPunct/> <w:UseAsianBreakRules/> <w:DontGrowAutofit/> </w:Compatibility> <w:BrowserLevel>MicrosoftInternetExplorer4</w:BrowserLevel> </w:WordDocument> </xml><![endif][if gte mso 9]><xml> <w:LatentStyles DefLockedState="false" LatentStyleCount="156"> </w:LatentStyles> </xml><![endif][if gte mso 10]> <style> /* Style Definitions */ table.MsoNormalTable {mso-style-name:"Table Normal"; mso-tstyle-rowband-size:0; mso-tstyle-colband-size:0; mso-style-noshow:yes; mso-style-parent:""; mso-padding-alt:0cm 5.4pt 0cm 5.4pt; mso-para-margin:0cm; mso-para-margin-bottom:.0001pt; mso-pagination:widow-orphan; font-size:10.0pt; font-family:"Times New Roman"; mso-bidi-font-family:"Times New Roman"; mso-ansi-language:#0400; mso-fareast-language:#0400; mso-bidi-language:#0400;} </style> <![endif]-->
    <hr size="2" width="100%" align="center">

    </td> </tr> <tr style="mso-yfti-irow:1"> <td style="padding:1.5pt 1.5pt 1.5pt 1.5pt">
    </td> </tr> <tr style="mso-yfti-irow:2;mso-yfti-lastrow:yes"> <td style="padding:1.5pt 1.5pt 1.5pt 1.5pt" valign="top"> สถานการณ์ภัยพิบัติด้านการเกษตร ภัยแล้ง จังหวัดประกาศเป็นพื้นที่ภัยพิบัติฉุกเฉิน ภัยแล้ง จำนวน 11 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดกำแพงเพชร เชียงราย พะเยา ลำพูน เลย อุดรธานี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ จันทบุรี ตราด และฉะเชิงเทรา เป็นพื้นที่ประสบภัยด้านการเกษตร 1 จังหวัด คือ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ คาดว่าจะเสียหาย 1,681 ไร่ (เป็นพื้นที่ปลูกข้าว)

    ** สภาพอากาศ ประจำวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2554 ประเทศไทยตอนบนมีหมอกหนาหลายพื้นที่และมีฝนบางแห่งในภาคกลางกับภาคตะวันออก

    สถานการณ์น้ำ :

    1. สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำ สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลางทั้งประเทศ 400 แห่ง มีปริมาณน้ำทั้งหมด ร้อยละ 66 ของความจุอ่าง เป็นปริมาณน้ำใช้การได้ ร้อยละ 34 ของความจุอ่าง น้อยกว่าปี 2553 ร้อยละ 69 สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ มีปริมาณน้ำทั้งหมด 33 แห่ง มีปริมาณน้ำทั้งหมดร้อยละ 66 ของความจุอ่าง เป็นปริมาณน้ำใช้การได้ ร้อยละ 32 ของความจุอ่าง น้อยกว่าปี 2553 ร้อยละ 69

    สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำเขื่อนภูมิพล สิริกิติ์ แควน้อยฯ และป่าสักชลสิทธิ์ มีปริมาณน้ำทั้งหมด ร้อยละ 60 ของความจุอ่าง เป็นปริมาณน้ำใช้การได้ ร้อยละ 33 ของความจุอ่าง

    อ่างเก็บน้ำที่อยู่ในเกณฑ์น้ำน้อยกว่า ร้อยละ 30 ของความจุอ่างฯ จำนวน 1 อ่าง คือ อ่างเก็บน้ำปราณบุรี

    2. สภาพน้ำท่า

    ปริมาณน้ำในแม่น้ำปิง เจ้าพระยา และแม่น้ำมูล มีปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์ปกติ แม่น้ำ วัง ยม น่าน ป่าสัก และแม่น้ำโขง ปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์น้ำน้อย

    3. คุณภาพน้ำ

    จุดเฝ้าระวังคุณภาพน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา 21 จุด พบว่า ค่าออกซิเจนละลายในน้ำ(Do) และค่าความเค็ม (Sal) อยู่ในเกณฑ์ปกติ 10 จุด(ตั้งแต่จังหวัดชัยนาทถึงปทุมธานี) ค่าDo ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 6 จุด(สะพานนทบุรีถึงสะพานกรุงเทพฯ) ค่า Do ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน และค่า Sal สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 5 จุด(หน้าประตูระบายน้ำคลองลัดโพธิ์ถึงศาลากลางจังหวัดสมุทรปราการ) การจัดสรรน้ำและการปลูกพืชฤดูแล้ง ปี 2553/2554 จัดสรรน้ำไปแล้ว 9,531 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 47 ของแผน (20,144 ล้าน ลบ.ม.)

    พื้นที่ปลูกแล้ว 11.81 ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ 77 ของแผน(15.29 ล้านไร่) แบ่งเป็น ข้าว 10.26 ล้านไร่ พืชไร่-พืชผัก 1.55 ล้านไร่

    การช่วยเหลือด้านการเกษตร สนับสนุนเครื่องสูบน้ำเคลื่อนที่ ในพื้นที่ 49 จังหวัด จำนวน 689 เครื่อง รถยนต์บรรทุกน้ำ ในพื้นที่ 3 จังหวัด จำนวน 4 คัน การปฏิบัติการฝนหลวง จัดตั้งหน่วยปฏิบัติ 1 หน่วย คือ หน่วยฯอำเภอเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ตั้งแต่วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2554 ความก้าวหน้าการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบอุทกภัยปี 2553 กรณีพิเศษ เป็นเงินความเสียหาย

    ด้านพืชพื้นที่เสียหายสิ้นเชิง จำนวน 7.65 ล้านไร่ แบ่งเป็น ข้าว 6.19 ล้านไร่ พืชไร่ 0.97 ล้านไร่ พืชสวนและอื่นๆ 0.49 ล้านไร่ เกษตรกร 734,622 ราย

    ด้านประมง พื้นที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเสียหาย จำนวน 158,334 ไร่ แบ่งเป็น บ่อปลา 132,345 ไร่ บ่อกุ้ง ปู หอย 25,989 ไร่ กระชัง/บ่อซีเมนต์ 459,147 ตารางเมตร เกษตรกร 123,200 ราย

    ด้านปศุสัตว์ สัตว์ตาย/ สูญหาย รวมทั้งสิ้น 2,415,336 ตัว แปลงหญ้า 9,576.75 ไร่ เกษตรกร 25,603 ราย

    การช่วยเหลือ :

    1. เงินทดรองราชการ เกษตรกร 82,416 ราย วงเงิน 207.19 ล้านบาท

    2. ขอเงินงบกลางส่งเอกสารให้ ธกส. เพื่อขออนุมัติเงินงวดแล้วทั้งสิ้น จำนวน 67 จังหวัด วงเงิน 16,730.15 ล้านบาท และ ธกส. โอนเงินให้ ธกส. สาขา เพื่อโอนเข้าบัญชีเกษตรกรแล้ว จำนวน 58 จังหวัด วงเงิน 12,499.30 ล้านบาท โอนเข้าบัญชีเกษตรกรแล้ว 400,598 ราย วงเงิน 10,315.25 ล้านบาท

    ความก้าวหน้าการช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนยางพาราที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัย วาตภัย และดินถล่ม

    สวนยางเสียสภาพสวน 34,608 ไร่ เกษตรกร 27,922 ราย เป็นเงิน 207.89 ล้านบาท ปลูกแทน 26,621 ไร่ เกษตรกร 6,327 ราย เป็นเงิน 292.83 ล้านบาท ปลูกซ่อม ค้ำยัน 866,770 ต้น เป็นเงิน 91.71 ล้านบาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 592.43 ล้านบาท (งบกลาง 287.92 ล้านบาท และงบสกย. 304.51 ล้านบาท)


    --ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2554--

    (แหล่งข่าว : สำนักข่าวอินโฟเควสท์สิทธิเกษตรกรและชุมชน 12-2-2011)

    ที่มา :
    FTA WATCH กลุ่มศึกษาข้อตกลงเขตการค้าเสรีภาคประชาชน

    FTA WATCH click here





    .

    </td> </tr> </tbody></table> ​
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 มิถุนายน 2012
  5. natatik

    natatik เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 มกราคม 2012
    โพสต์:
    873
    ค่าพลัง:
    +3,607
    ต่างฝ่ายต่างทำคันกั้นน้ำสูง ๆ กันทั้งนั้น หากปริมาณน้ำมามาก ระดับน้ำก็สูงขึ้น ความเร็วก็คงจะเร็วขึ้น จะต้านแรงธรรมชาติกันได้เท่าไรกัน...
    คนที่มีประสบการณ์ปีที่แล้วคงไม่น่าเป็นห่วง.... เพราะได้บทเรียนไปแล้วว่าจะต้องเตรียมตัวอย่างไร
    แต่.. คนที่ยังไม่เคยโดนนี่ซิ ควรจะศึกษาไว้บ้างก็ดีนะค่ะ
     
  6. อธิฎฐาน

    อธิฎฐาน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    430
    ค่าพลัง:
    +1,610
    เรื่องนี้ไม่โทษ ปชป.ค่ะ

    โซเชียลมีเดียสืบค้นจนเจอไอ้โม่ง สั่งลดระบายน้ำเขื่อนภูมิพลพร้อมเหตุผลรอให้ชาวนาเกี่ยวข้าว ! ขณะที่กรมชลประทานเตือนไปแล้ว!

    [​IMG]

    กักน้ำไว้จนได้เรื่อง

    โซเชียลมีเดียสืบค้นจนเจอไอ้โม่ง สั่งลดระบายน้ำเขื่อนภูมิพลพร้อมเหตุผลรอให้ชาวนาเกี่ยวข้าว ! ขณะที่กรมชลประทานเตือนไปแล้ว!
     
  7. natatik

    natatik เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 มกราคม 2012
    โพสต์:
    873
    ค่าพลัง:
    +3,607
    ปีนี้ถ้านิคมอุตสาหกรรมยังโดนท่วมอีก รัฐบาลคงไม่มีโอกาสได้แก้ตัว
    คงจะไม่มีใครกล้าที่จะลงทุนอีก หนีกันหมด
    สุดท้ายปัญหาก็ตกอยู่กับลูกจ้าง... ตกงาน
     

แชร์หน้านี้

Loading...