บุคคล 2 จำพวก ที่พระพุทธเจ้าบัญยัติไว้

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ต้นปลาย, 24 กุมภาพันธ์ 2012.

  1. ต้นปลาย

    ต้นปลาย Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    629
    ค่าพลัง:
    +69
    <CENTER>พระไตรปิฏก เล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒
    อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต
    </CENTER><CENTER> </CENTER>
    ทุติยปัณณาสก์

    [๒๙๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๒ จำพวกนี้ เมื่อเกิดขึ้นในโลก
    ย่อมเกิดขึ้นเพื่อประโยชน์เกื้อกูลของชนมาก เพื่อสุขของชนมาก เพื่อประโยชน์
    เพื่อเกื้อกูลแก่ชนเป็นอันมาก เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ๒ จำ
    พวกเป็นไฉน คือ พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ๑ พระเจ้าจักรพรรดิ ๑
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๒ จำพวกนี้แล เมื่อเกิดขึ้นในโลก ย่อมเกิดขึ้นเพื่อ
    ประโยชน์เกื้อกูลของชนมาก เพื่อสุขของชนมาก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูลแก่
    ชนเป็นอันมาก เพื่อความสุข แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ฯ
    [๒๙๘]
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๒ จำพวกนี้ เมื่อเกิดขึ้นในโลก
    ย่อมเกิดขึ้นเป็นอัจฉริยมนุษย์ ๒ จำพวกเป็นไฉน คือ พระตถาคตอรหันตสัมมา-
    *สัมพุทธเจ้า ๑ พระเจ้าจักรพรรดิ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๒ จำพวกนี้แล
    เมื่อเกิดขึ้นในโลก ย่อมเกิดขึ้นเป็นอัจฉริยมนุษย์ ฯ
    [๒๙๙]
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย กาลกิริยาของบุคคล ๒ จำพวกนี้ เป็นความ
    เดือดร้อนแก่ชนเป็นอันมาก กาลกิริยาของบุคคล ๒ จำพวกเป็นไฉน คือ ของ
    พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ๑ ของพระเจ้าจักรพรรดิ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    กาลกิริยาของบุคคล ๒ จำพวกนี้แล เป็นความเดือดร้อนแก่ชนเป็นอันมาก ฯ
    [๓๐๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถูปารหบุคคล ๒ จำพวกนี้ ๒ จำพวกเป็น
    ไฉน คือ พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ๑ พระเจ้าจักรพรรดิ ๑ ดูกร
    ภิกษุทั้งหลาย ถูปารหบุคคล ๒ จำพวกนี้แล ฯ
    [๓๐๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระพุทธเจ้า ๒ จำพวกนี้ ๒ จำพวกเป็น
    ไฉน คือ พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ๑ พระปัจเจกพุทธเจ้า ๑ ดูกร
    ภิกษุทั้งหลาย พระพุทธเจ้า ๒ จำพวกนี้แล ฯ
    [๓๐๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ๒ จำพวกนี้ เมื่อฟ้าผ่าย่อมไม่สะดุ้ง ๒ จำ
    พวกเป็นไฉน คือ พระภิกษุขีณาสพ ๑ ช้างอาชาไนย ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    ๒ จำพวกนี้แล เมื่อฟ้าผ่าย่อมไม่สะดุ้ง ฯ
    [๓๐๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ๒ จำพวกนี้ เมื่อฟ้าผ่าย่อมไม่สะดุ้ง ๒ จำ
    พวกเป็นไฉน คือ พระภิกษุขีณาสพ ๑ ม้าอาชาไนย ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    ๒ จำพวกนี้แล เมื่อฟ้าผ่าย่อมไม่สะดุ้ง ฯ
    [๓๐๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ๒ จำพวกนี้ เมื่อฟ้าผ่าย่อมไม่สะดุ้ง ๒ จำ
    พวกเป็นไฉน คือ พระภิกษุขีณาสพ ๑ สีหมฤคราช ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    ๒ จำพวกนี้แล เมื่อฟ้าผ่าย่อมไม่สะดุ้ง ฯ
    [๓๐๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย กินนรเห็นอำนาจประโยชน์ ๒ ประการนี้
    จึงไม่พูดภาษามนุษย์ อำนาจประโยชน์ ๒ ประการเป็นไฉน คือ เราอย่าพูดเท็จ ๑
    เราอย่าพูดตู่ผู้อื่นด้วยคำไม่จริง ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย กินนรเห็นอำนาจประโยชน์
    ๒ ประการนี้แล จึงไม่พูดภาษามนุษย์ ฯ
    [๓๐๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย มาตุคามไม่อิ่ม ไม่ระอาต่อธรรม ๒ ประการ
    ทำกาลกิริยา ธรรม ๒ ประการเป็นไฉน คือ การเสพเมถุนธรรม ๑ การคลอด
    บุตร ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย มาตุคามไม่อิ่ม ไม่ระอาต่อธรรม ๒ ประการนี้แล
    ทำกาลกิริยา ฯ
    [๓๐๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงการอยู่ร่วมของอสัตบุรุษ ๑
    การอยู่ร่วมของสัตบุรุษ ๑ แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เรา
    จักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกร
    ภิกษุทั้งหลาย ก็การอยู่ร่วมของอสัตบุรุษเป็นอย่างไร และอสัตบุรุษย่อมอยู่ร่วม
    อย่างไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุที่เป็นเถระในธรรมวินัยนี้ ย่อมคิดเช่นนี้ว่า ถึง
    ภิกษุที่เป็นเถระก็ไม่ควรว่ากล่าวเรา ถึงภิกษุที่เป็นมัชฌิมะก็ไม่ควรว่ากล่าวเรา ถึง
    ภิกษุที่เป็นนวกะก็ไม่ควรว่ากล่าวเรา แม้เราก็ไม่พึงว่ากล่าวภิกษุที่เป็นเถระ ภิกษุ
    ที่เป็นมัชฌิมะ ภิกษุที่เป็นนวกะ ถ้าแม้ภิกษุที่เป็นเถระจะพึงว่ากล่าวเราไซร้ ก็พึง
    ปรารถนาสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ไม่ใช่ปรารถนาสิ่งที่เป็นประโยชน์ว่ากล่าวเรา เรา
    พึงพูดกะเขาว่า จักไม่ทำละ ดังนี้ แม้เราก็พึงเบียดเบียนเขาบ้าง เราแม้เห็นอยู่
    ก็ไม่พึงทำตามถ้อยคำของเขา แม้หากภิกษุที่เป็นมัชฌิมะจะพึงว่ากล่าวเราไซร้ ก็
    พึงปรารถนาแต่สิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ไม่ใช่ปรารถนาสิ่งที่เป็นประโยชน์ว่ากล่าว
    เรา เราพึงพูดกะเขาว่า จักไม่ทำละ ดังนี้ แม้เราก็พึงเบียดเบียนเขาบ้าง แม้เรา
    เห็นอยู่ ก็ไม่พึงทำตามถ้อยคำของเขา ถ้าแม้ภิกษุที่เป็นนวกะ จะพึงว่ากล่าวเรา
    ไซร้ ก็พึงปรารถนาแต่สิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ไม่ใช่ปรารถนาสิ่งที่เป็นประโยชน์ว่า
    กล่าวเรา เราพึงพูดกะเขาว่า จักไม่ทำละ ดังนี้ แม้เราก็พึงเบียดเบียนเขาบ้าง เราแม้จะ
    เห็นอยู่ ก็ไม่พึงทำตามถ้อยคำของเขา แม้ภิกษุที่มัชฌิมะก็คิดอย่างนี้ ฯลฯ แม้ภิกษุที่
    นวกะก็คิดเช่นนี้ว่า ถึงภิกษุที่เป็นเถระก็ไม่ควรว่ากล่าวเรา ถึงภิกษุที่เป็นมัชฌิมะก็ไม่
    ควรว่ากล่าวเรา ถึงภิกษุที่เป็นนวกะก็ไม่ควรว่ากล่าวเรา แม้เราก็ไม่พึงว่ากล่าวภิกษุที่
    เป็นเถระ ภิกษุที่เป็นมัชฌิมะ ภิกษุที่เป็นนวกะ ถ้าแม้ภิกษุที่เป็นเถระจะพึงว่ากล่าวเรา
    ไซร้ ก็พึงปรารถนาสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ไม่ปรารถนาสิ่งที่เป็นประโยชน์ว่ากล่าวเรา
    เราพึงพูดกะเขาว่า จักไม่ทำละ ดังนี้ แม้เราก็พึงเบียดเบียนเขาบ้าง เราแม้จะเห็นอยู่ก็
    ไม่พึงทำตามถ้อยคำของเขา ถ้าแม้ภิกษุที่เป็นมัชฌิมะจะพึงว่ากล่าวเราไซร้ ... ถ้าแม้
    ภิกษุที่เป็นนวกะจะพึงว่ากล่าวเราไซร้ ก็พึงปรารถนาแต่สิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ไม่
    ปรารถนาสิ่งที่เป็นประโยชน์ว่ากล่าวเรา เราพึงพูดกะเขาว่า จักไม่ทำละ ดังนี้ แม้เราก็
    พึงเบียดเบียนเขาบ้าง เราแม้จะเห็นอยู่ ก็ไม่พึงทำตามถ้อยคำของเขา ดูกรภิกษุทั้ง-
    *หลาย การอยู่ร่วมของอสัตบุรุษเป็นเช่นนี้แล และอสัตบุรุษย่อมอยู่ร่วมเช่นนี้แล
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย การอยู่ร่วมของสัตบุรุษเป็นอย่างไร และสัตบุรุษย่อมอยู่ร่วม
    อย่างไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุที่เป็นเถระในธรรมวินัยนี้ ย่อมคิดเช่นนี้ว่า ถึงภิกษุ
    ที่เป็นเถระก็พึงว่ากล่าวเรา ถึงภิกษุที่เป็นมัชฌิมะก็พึงว่ากล่าวเรา ถึงภิกษุที่เป็น
    นวกะก็พึงว่ากล่าวเรา แม้เราก็พึงว่ากล่าวภิกษุที่เป็นเถระ ภิกษุที่เป็นมัชฌิมะ
    ภิกษุที่เป็นนวกะ ถ้าภิกษุที่เป็นเถระจะพึงว่ากล่าวเราไซร้ ก็พึงปรารถนาสิ่งที่
    เป็นประโยชน์ ไม่ใช่ปรารถนาสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ว่ากล่าวเรา เราพึงพูดกะ
    เขาว่า ดีละ ดังนี้ แม้เราก็ไม่พึงเบียดเบียนเขา เราแม้เห็นอยู่ ก็ควรทำตาม
    ถ้อยคำของเขา ถ้าแม้ภิกษุที่เป็นมัชฌิมะจะพึงว่ากล่าวเราไซร้ ... ถ้าแม้ภิกษุที่เป็น
    นวกะจะพึงว่ากล่าวเราไซร้ ก็พึงปรารถนาแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์ ไม่ปรารถนา
    สิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ว่ากล่าวเรา เราพึงพูดกะเขาว่า ดีละ ดังนี้ แม้เราก็ไม่พึง
    เบียดเบียนเขา เราแม้เห็นอยู่ ก็ควรทำตามถ้อยคำของเขา แม้ภิกษุที่เป็นมัชฌิมะ
    ก็คิดเช่นนี้ ฯลฯ แม้ภิกษุที่เป็นนวกะก็คิดเช่นนี้ว่า ถึงภิกษุที่เป็นเถระก็พึงว่า
    กล่าวเรา ถึงภิกษุที่เป็นมัชฌิมะก็พึงว่ากล่าวเรา ถึงภิกษุที่เป็นนวกะก็พึงว่า
    กล่าวเรา เราก็พึงว่ากล่าวภิกษุที่เป็นเถระ ที่เป็นมัชฌิมะ ภิกษุที่เป็นนวกะ ถ้าแม้
    ภิกษุที่เป็นเถระจะพึงว่ากล่าวเรา ก็พึงปรารถนาแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์ ไม่ปรารถนา
    สิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ว่ากล่าวเรา เราพึงพูดกะเขาว่า ดีละ ดังนี้ แม้เราก็
    ไม่พึงเบียดเบียนเขา เราแม้เห็นอยู่ก็ควรทำตามถ้อยคำของเขา ถ้าแม้ภิกษุที่
    เป็นมัชฌิมะจะพึงว่ากล่าวเราไซร้ ... ถ้าแม้ภิกษุที่เป็นนวกะจะพึงว่ากล่าวเราไซร้ ก็
    พึงปรารถนาแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์ ไม่ใช่ปรารถนาสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ว่ากล่าว
    เรา เราพึงพูดกะเขาว่า ดีละ ดังนี้ แม้เราไม่พึงเบียดเบียนเขา เราแม้
    เห็นอยู่ ก็ควรทำตามถ้อยคำของเขา ดูกรภิกษุทั้งหลาย การอยู่ร่วมของ
    สัตบุรุษเป็นเช่นนี้แล และสัตบุรุษย่อมอยู่ร่วมเช่นนี้ ฯ
    [๓๐๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในอธิกรณ์ใด การด่าโต้ตอบกัน ความ
    แข่งดีกันเพราะทิฐิ ความอาฆาตแห่งใจ ความไม่พอใจ ความขึ้งเคียด ยังไม่สงบ
    ระงับไป ณ ภายใน ความมุ่งหมายนี้ในอธิกรณ์นั้น จักเป็นไปเพื่อความเป็น
    อธิกรณ์ยืดเยื้อ กล้าแข็งร้ายแรง และภิกษุทั้งหลายจักอยู่ไม่ผาสุก ดูกรภิกษุ
    ทั้งหลาย ส่วนในอธิกรณ์ใดแล การด่าโต้ตอบกัน ความแข่งดีกันเพราะทิฐิ
    ความอาฆาตแห่งใจ ความไม่พอใจ ความขึ้งเคียด สงบระงับดีแล้ว ณ ภายใน
    ความมุ่งหมายนี้ในอธิกรณ์นั้น จักไม่เป็นไปเพื่อความเป็นอธิกรณ์ยืดเยื้อ กล้าแข็ง
    ร้ายแรง และภิกษุทั้งหลายจักอยู่เป็นผาสุก ฯ

    จบปุคคลวรรคที่ ๑


     
  2. ต้นปลาย

    ต้นปลาย Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    629
    ค่าพลัง:
    +69
    หนู K ป๋าอยากรู้เสพ เมถุนธรรม นี่คืออะไร ครับ ไม่รู้จริงๆ
     
  3. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,941
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819

    เสพกาม



    [๒๒๕] คำว่า ของบุคคลผู้ประกอบเนืองๆ ในเมถุนธรรม ความว่า ชื่อว่าเมถุนธรรมได้แก่ ธรรมของอสัตบุรุษ ธรรมของชาวบ้าน
    ธรรมของคนเลว ธรรมชั่วหยาบ ธรรมมีน้ำเป็นที่สุดธรรมอันพึงทำในที่ลับ ธรรมคือความถึงพร้อมแห่งคนคู่ๆ กัน.
    เพราะเหตุไร
    จึงเรียกว่า เมถุนธรรม.
    เพราะเป็นธรรมของคนทั้งสองผู้กำหนัด กำหนัดกล้า ผู้ชุ่มด้วยราคะ มีราคะกำเริบขึ้นมีจิตอันราคะครอบงำ
    เป็นธรรมของคนเช่นเดียวกันทั้งสองคน เพราะเหตุดังนี้นั้น จึงเรียกว่าเมถุนธรรม
    .คนสองคนทำความทะเลาะกัน เรียกว่าคนคู่
    คนสองคนทำความมุ่งร้ายกัน เรียกว่าคนคู่คนสองคนทำความอื้อฉาวกัน เรียกว่าคนคู่ คนสองคนทำความวิวาทกัน เรียกว่าคนคู่
    คนสองคนก่ออธิกรณ์กัน เรียกว่าคนคู่ คนสองคนพูดกัน เรียกว่าคนคู่ คนสองคนปราศรัยกัน เรียกว่าคนคู่ฉันใด ธรรมนั้นเป็นธรรมของ
    คนทั้งสองผู้กำหนัด กำหนัดกล้า ผู้ชุ่มด้วยราคะ มีราคะกำเริบขึ้นมีจิตอันราคะครอบงำ เป็นคนเช่นเดียวกันทั้งสองคน ฉันนั้นเหมือนกัน
    เพราะเหตุดังนี้นั้นจึงเรียกว่า เมถุนธรรม. คำว่า ของบุคคลผู้ประกอบเนืองๆ ในเมถุนธรรม คือ ของบุคคลผู้ประกอบประกอบทั่ว
    ประกอบเอื้อเฟื้อ ประกอบพร้อมในเมถุนธรรม คือ ประพฤติในเมถุนธรรม มักมากในเมถุนธรรม หนักอยู่ในเมถุนธรรม น้อมไปในเมถุนธรรม
    โน้มไปในเมถุนธรรม โอนไปในเมถุนธรรม น้อมใจไปในเมถุนธรรม มีเมถุนธรรมนั้นเป็นใหญ่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ของบุคคลผู้ประกอบเนืองๆ ในเมถุนธรรม.
    ที่มา : เล่ม 29 พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส
     
  4. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,941
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    <CENTER>พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๙ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๑
    ขุททกนิกาย มหานิทเทส</CENTER><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="90%" background="" align=center><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD><TR><TD bgColor=darkblue width="100%" hspace="0" vspace="0">[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>


    <CENTER></CENTER><CENTER>ติสสเมตเตยยสุตตนิทเทสที่ ๗</CENTER>[๒๒๔] (ท่านพระติสสเมตเตยยะ กราบทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า) ข้าแต่พระองค์ผู้หาทุกข์มิได้ ขอพระองค์จงตรัสบอกซึ่งความคับแค้น ของบุคคลผู้ประกอบเนืองๆ ในเมถุนธรรม พวกข้าพระองค์ได้ฟัง คำสอนของพระองค์แล้ว จะศึกษาในวิเวก.<CENTER>ว่าด้วยเมถุนธรรม</CENTER>[๒๒๕] คำว่า ของบุคคลผู้ประกอบเนืองๆ ในเมถุนธรรม ความว่า ชื่อว่าเมถุนธรรมได้แก่ ธรรมของอสัตบุรุษ ธรรมของชาวบ้าน ธรรมของคนเลว ธรรมชั่วหยาบ ธรรมมีน้ำเป็นที่สุดธรรมอันพึงทำในที่ลับ ธรรมคือความถึงพร้อมแห่งคนคู่ๆ กัน. เพราะเหตุไร จึงเรียกว่า เมถุน-*ธรรม. เพราะเป็นธรรมของคนทั้งสองผู้กำหนัด กำหนัดกล้า ผู้ชุ่มด้วยราคะ มีราคะกำเริบขึ้นมีจิตอันราคะครอบงำ เป็นธรรมของคนเช่นเดียวกันทั้งสองคน เพราะเหตุดังนี้นั้น จึงเรียกว่าเมถุนธรรม. คนสองคนทำความทะเลาะกัน เรียกว่าคนคู่ คนสองคนทำความมุ่งร้ายกัน เรียกว่าคนคู่คนสองคนทำความอื้อฉาวกัน เรียกว่าคนคู่ คนสองคนทำความวิวาทกัน เรียกว่าคนคู่ คนสองคนก่ออธิกรณ์กัน เรียกว่าคนคู่ คนสองคนพูดกัน เรียกว่าคนคู่ คนสองคนปราศรัยกัน เรียกว่าคนคู่ฉันใด ธรรมนั้นเป็นธรรมของคนทั้งสองผู้กำหนัด กำหนัดกล้า ผู้ชุ่มด้วยราคะ มีราคะกำเริบขึ้นมีจิตอันราคะครอบงำ เป็นคนเช่นเดียวกันทั้งสองคน ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะเหตุดังนี้นั้นจึงเรียกว่า เมถุนธรรม. คำว่า ของบุคคลผู้ประกอบเนืองๆ ในเมถุนธรรม คือ ของบุคคลผู้ประกอบประกอบทั่ว ประกอบเอื้อเฟื้อ ประกอบพร้อมในเมถุนธรรม คือ ประพฤติในเมถุนธรรม มักมากในเมถุนธรรม หนักอยู่ในเมถุนธรรม น้อมไปในเมถุนธรรม โน้มไปในเมถุนธรรม โอนไปในเมถุนธรรม น้อมใจไปในเมถุนธรรม มีเมถุนธรรมนั้นเป็นใหญ่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ของบุคคลผู้ประกอบเนืองๆ ในเมถุนธรรม. [๒๒๖] คำว่า ท่านพระติสสเมตเตยยะกราบทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า มีความว่า ศัพท์ว่าอิติ เป็นบทสนธิ เป็นบทอุปสัคคะ เป็นบทปูรณะ เป็นศัพท์ประชุมอักขระ เป็นศัพท์สละสลวยด้วยพยัญชนะ เป็นลำดับบท. คำว่า อายสฺมา เป็นเครื่องกล่าวด้วยความรัก เป็นเครื่องกล่าวด้วยความเคารพ เป็นเครื่องกล่าวเป็นไปกับด้วยความเคารพ เป็นเครื่องกล่าวด้วยความยำเกรงคำว่า ติสฺส เป็นนาม เป็นเครื่องนับ เป็นเครื่องหมายรู้ เป็นบัญญัติ เป็นโวหาร เป็นชื่อเป็นความตั้งชื่อ เป็นความทรงชื่อ เป็นเครื่องกล่าวถึง เป็นเครื่องแสดงความหมาย เป็นเครื่องกล่าวเฉพาะ แห่งพระเถระนั้น. คำว่า เมตเตยยะ เป็นโคตร เป็นเครื่องนับ เป็นเครื่องหมายรู้ เป็นบัญญัติ เป็นโวหาร แห่งพระเถระนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ท่านพระติสสเมตเตยยะกราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า. [๒๒๗] คำว่า ข้าแต่พระองค์ผู้หาทุกข์มิได้ ขอพระองค์จงตรัสบอกความคับแค้น(ของบุคคลผู้ประกอบเนืองๆ ในเมถุนธรรม) มีความว่า ขอพระองค์จงตรัสบอก คือ โปรดบอกทรงแสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก ทำให้ตื้น ประกาศซึ่งความคับแค้น คือ ความเข้าไปประกอบ ความเบียดเบียน ความกระทบกระทั่ง ความทรมาน ความขัดข้อง. คำว่ามาริสะ เป็นเครื่องกล่าวด้วยความรัก เป็นเครื่องกล่าวด้วยความเคารพ เป็นเครื่องกล่าวด้วยยำเกรงเพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ข้าแต่พระองค์ผู้หาทุกข์มิได้ ขอพระองค์จงตรัสบอกความคับแค้น. [๒๒๘] คำว่า ได้ฟังคำสอนของพระองค์แล้ว มีความว่า ได้ฟัง ได้สดับ ศึกษาเข้าไปทรง เข้าไปกำหนดแล้ว ซึ่งคำเป็นทาง เทศนา คำพร่ำสอนของพระองค์ เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า ได้ฟังคำสั่งสอนของพระองค์แล้ว.

    http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=29&A=3084&Z=3567

    </PRE>
     
  5. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,941
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    เมถุนธรรม มีอธิบายว่า


     
  6. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    สรุปว่า การคบกันแบบสัตบุรุษเนี่ยะ คือ คนที่ปรวนาตนเข้าสู่ พุทธมามะกะ

    หากจะ ต่อว่าต่อขานกัน ไม่ว่าจะอย่างไร ให้ ต่างคนต่างคิดไปในทำนองที่
    ว่า ทั้งหมดนั้นเป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่ง ก็จะไม่มีปัญหาอะไร จะ
    เป็นการอยู่กัน คบกันของสัตบุรุษ

    แต่ถ้า คนไหนมีคิดเล็กคิดน้อย อ้างว่า คนดีเขาไม่ต่อว่าต่อขานกัน นั่นก็แปล
    ว่า คนที่อ้างจุดนั้นกำลังทำอาการ คบกันแบบอสัตบุรุษ

    สรุปง่ายๆคือ ไม่ว่าจะโดนต่อว่าว่าอย่างไร หน้าที่คนรับฟัง ต้องไปเฝ้นหาเอา
    เองว่า ประโยชน์คืออะไร ซึ่ง ต้องมีแน่ๆ หาความสงบให้เจอ

    หากปรารภว่าไม่มี ก็ไปตายเปล่าซะ
     
  7. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    เมถุนธรรม ผมจะยกตัวอย่างให้ฟัง

    สมมติว่า เราเสวนากับผู้ปราวนาตนที่จะปฏิบัตธรรมะ พอเราถามถึงว่า เธอประกอบ
    สมาธิบ้างไหม

    เขาคนนั้น แทนที่จะตอบว่า เปล่า แต่กลับไป พรรณนาถึงการปฏิบัติของ สามี ตน
    ว่าดีอย่างนั้น เลิศอย่างนี้ อันเป็น ข้อธรรมที่เขาสองคนพึงปรารภแก่กัน เป็นเรื่อง
    ของคนสองคน ที่จะปรึกษากันระหว่าง คนคู่(ผัว เมีย) เหล่านี้คืออาการของคน

    เอา เมถุนธรรมมาประเจิดประเจ้อต่อหน้า สาธารณะ

    ซึ่งก็แน่นอนว่า มากไปด้วย เมถุนธรรม ถามกี่ครั้งก็ตอบอย่างเดิม
    มีแต่ความชุ่มใจของเขา ในการมีคู่ ในการครองเรือน ในการเสพ
    กาม จึงเรียกว่า มีธรรมชั่วหยาบ

    ก็จะไม่แปลก ที่คนๆนั้น นอกจากจะไม่ปรารภการทำสมาธิ ความสงบ
    ของใจ ยังอาจชักชวนให้ออกจากสมาธิ อ้างว่า หลงนิมิต

    ทั้งๆที่ นิมิต มันไม่ได้แปลว่า ภาพ image ที่เห็นเพียงอย่างเดียว

    กริยาที่จิตคิด หรือ ตัดสิน หรือ วิพากษ์ หรือ ตีความ เหล่า
    นี้จัดถือว่าเป็น นิมิต เหมือนกัน

    ดังนั้น ไม่นั่งสมาธิ เอาแต่คิด นั่นก็เรียกว่า หลงนิมิต เหมือนกัน

    และพอปฏิเสธ ทั้งสมาธิก็ไม่ทำ นิมิตการตีความตนก็คิดว่าถูกแล้ว
    ชีวิตของคนๆนั้น ก็เรียกว่า พร้อมอยู่ในการตายเปล่า หรือ ย่อม
    ทำกริยาดุจผู้ตายเปล่า ดังพุทธวัจนะตรัชชี้ให้พิจารณา

     
  8. ต้นปลาย

    ต้นปลาย Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    629
    ค่าพลัง:
    +69
    อย่างนั้น ก็ต้องรวมหมายถึง ผู้ที่ต้องการจะรู้ธรรม ธรรมที่ตัวเองยินดีพอใจ
    โดยไม่ยอมมองหลักอย่างอื่น ก็ต้องเมถุน ธรรม ผมเข้าใจถูกไหม นิวรณ์
     
  9. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    คำว่า หลักอย่างอื่น หากเป็น เรื่อง หลักธรรมนอกธรรมวินัย

    ไม่ใช่ผมไม่มองนะ

    ผมมอง

    แต่มองในฐานะ ขี้ และ ปรารภถึงในฐานะ ขี้

    คนที่เอาเรื่องเหล่านั้นมาปรารภ ผมก็ถือว่า พวก อมขี้

    ดังนั้น อย่ามากล่าวหาว่า ผมไม่มอง

    ผมมองเขาเหล่านั้นในฐานะ พวกปากอมขี้ ไง
     
  10. ต้นปลาย

    ต้นปลาย Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    629
    ค่าพลัง:
    +69
    ผมหมายถึง หลักธรรมในวินัย นั้นล่ะ

    แต่ผู้ปฏิบัติ จะยึดแต่เฉพาะที่ตนพอใจ ผมเลยถามว่า ถือว่าเป็น เมถุนธรรมไหม
     
  11. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    ถ้าเป็น ธรรมวินัยนี้

    ก็ถ้า บุคคลนั้นๆ เล็งเห็นอย่างแท้จริงว่า ตน!!! เสพแต่ ธรรมเฉพาะที่ตนพอใจ

    แล้ว เล็งเห็นอีกด้วยว่า การกระทำแบบนี้ คือ ตน!!! เสพเมถุนธรรมอยู่

    ก็เขา ผู้เห็น กริยาอันทรามของตัวเอง จะปรารภอย่างไร

    จะปรารภว่าตน ยังเลวทรามอยู่

    หรือ จะไปเที่ยวสะกิดบอกคนอื่นว่า เห้ย ไอ้น้อง เอ็งทำเหมือนกู กริยา
    อย่างเอ็ง ข้าเรียกว่า เสพเมถุนธรรม เว้ยเห้ย เนี่ยะ กูก็ทำอยู่ ชุ่มเชียว

    หรือ.......

    หรือว่า เขาจะสำรวมตน!! แล้ว หาอุบายนำออกไปเรื่อยๆ ไม่โทษแม้จะ
    เป็นข้อวัตรที่เรายึดถือปฏิบัติ แต่ข้อวัตรปฏิบัตินั้นก็ทำให้เราเห็นได้นี่ว่า
    เราเสพเมถุนธรรม การตามเห็นได้ว่า อกุศลเกิดอยู่ เพราะยึดติด เขา
    คนนั้นย่อมดำริออกจาทุกข์ได้แน่ แล้วจะไป โทษ หนทาง หรือ รอย
    เท้า อย่างวัวลืมตีนไปทำไม
     
  12. ต้นปลาย

    ต้นปลาย Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    629
    ค่าพลัง:
    +69
    การเห็นแบบนั้น อาการยินดีที่พอใจจะทำ

    กับ การทำสัจจะ

    คุณแยกออกได้ไหม สอง บรรทัดนี้
    ผมมีความพอใจที่จะรู้มาก เยอะด้วย
     
  13. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    ป๋าอย่าไปคิดมาก เมถุนธรรม ก็คือธรรมของปุถุชนคนมีคู่เสพกามกำหนัด นั่นแหละ

    คู่เนี่ย มีทั้งเพศเดียวกัน และต่างเพศ หรือพวกที่สำเร็จความใคร่ด้วยตัวเองก็ใช่
    เรียกว่าเสพเมถุนธรรม ภาษาพระเขาเรียกว่าประทุษร้าย ก็มี
    เรียกว่าทำร้ายตัวเองด้วยการเสพกามกำหนัด คนละอย่างกับกามคุณ5 นะ

    กามคุณ (อ่านว่า กา-มะ-คุน, กาม-มะ-คุน) ในพระพุทธศาสนาหมายถึง สิ่งที่น่าปรารถนา ชวนให้รักชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัดยินดี มี 5 ชนิด คือ รูป (สิ่งที่ตามองเห็น) เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ (สิ่งที่กายสัมผัส) กามคุณ 5 นี้เป็นอารมณ์ คือสิ่งที่ยึดดึงใจให้ปรารถนา ให้รักใคร่ เป็นต้น จึงเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "กามารมณ์" แปลว่า อารมณ์คือกามคุณ ไม่ได้หมายถึงอารมณ์ทางเพศเพียงอย่างเดียว<SUP class=reference id=cite_ref-0>[1]</SUP>


    กามคุณ ๕ อย่างเหล่านี้ คือ รูป ทั้งหลาย อันจะพึงรู้แจ้งได้ด้วยจักษุ.... เสียงทั้งหลายอันจะถึงรู้แจ้งได้ด้วยโสตะ.... กลิ่นทั้งหลาย อันจะพึงรู้แจ้งได้ด้วยฆานะ.... รสทั้งหลาย อันจะพึงรู้แจ้งได้ด้วยชิวหา.... โผฏฐัพพะทั้งหลาย อันจะพึงรู้แจ้งได้ด้วยกาย อันเป็นสิ่งที่น่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ มีลักษณะอันน่ารัก เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัยแห่งความใคร่ เป็นที่ตั้งแห่งความกำ หนัด มีอยู่, ภิกษุ ท.! อารมณ์ ๕ อย่างเหล่านี้ หาใช่กามไม่; ห้าอย่างเหล่านี้ เรียกกันในอริยวินัย ว่า กามคุณ.

    ที่มา วิกิพีเดีย

    มีบทความเรื่องเมถุนธรรม ที่ละเอียดก็อันนี้ค่ะ ป๋า

    [SIZE=+2]ทรงยืนยันพรหมจรรย์ของพระองค์ว่าบริสุทธิ์เต็มที่[/SIZE]​
    พราหมณ์! เมื่อผู้ใดจะกล่าวให้ถูกต้อง ว่าใครประพฤติพรหมจรรย์บริสุทธิ์ บริบูรณ์ ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อยแล้ว เขาควรกล่าวเจาะจงเอาเราตถาคต. พราหมณ์! เรานี่แหละ ย่อมประพฤติพรหมจรรย์บริสุทธิ์บริบูรณ์ ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อยแล้ว.
    "ข้าแต่พระโคดม! ความขาด ความทะลุ ความด่าง ความพร้อย ของพรหมจรรย์ นั้นเป็นอย่างไรเล่า?"
    พราหมณ์! มีสมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ ปฏิญาณตัวว่าเป็นพรหมจารีโดยชอบ เขาไม่เสพเมถุนธรรมกับด้วยมาตุคามก็จริงแล แต่ว่า เขายินดีการลูบคลำ การประคบ การอาบ การนวดฟั้น ที่ได้รับจากมาตุคาม. เขาปลาบปลื้มยินดีด้วยการบำเรอเช่นนั้นจากมาตุคาม. ดูก่อนพราหมณ์! นี่แล คือความขาด ความทะลุ ความด่าง ความพร้อยของพรหมจรรย์ เรากล่าวว่าผู้นี้ประพฤติพรหมจรรย์ไม่บริสุทธิ์ ยังประกอบด้วยการเกี่ยวพันด้วยเมถุน, ไม่พ้นจากชาติ ชรา มรณะ โสกะปริเทวะ ทุกขโทมนัส และอุปายาส ไปได้, ยังไม่พ้นจากทุกข์.
    พราหมณ์! สมณะหรือพราหมณ์บางพวกในโลกนี้ ปฏิญาณตัวว่า เป็นพรหมจารีโดยชอบ ไม่เสพเมถุนธรรมกับมาตุคาม และไม่ยินดีการลูบคลำ การประคบ การอาบ การนวดฟั้น จากมาตุคามก็จริง แต่เขายังพูดจาซิกซี้เล่นหัวสัพยอกกับมาตุคาม, เขาปลาบปลื้มยินดีด้วยการบำเรอเช่นนั้นจากมาตุคาม. ดูก่อนพราหมณ์! นี่แลคือความขาด ความทะลุ ความด่าง ความพร้อย ของพรหมจรรย์. เรากล่าวว่าผู้นี้ ประพฤติพรหมจรรย์ไม่บริสุทธิ์ ยังประกอบด้วยการเกี่ยวพันด้วยเมถุน, ไม่พ้นจากชาติ ชรา มรณะ โสกะปริเทวะ ทุกขโทมนัสและอุปายาส ไปได้, ยังไม่พ้นจากทุกข์.
    พราหมณ์! สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ ปฏิญาณตัวว่าเป็นพรหมจารีโดยชอบ ไม่เสพเมถุนธรรมกับด้วยมาตุคาม ไม่ยินดีการลูบคลำ การประคบ การอาบ การนวดฟั้น จากมาตุคาม ทั้งไม่ยินดีในการพูดจาซิกซี้เล่นหัวสัพยอกกับมาตุคามก็จริง แต่เขายังชอบสบตาด้วยตาของมาตุคาม, แล้วปลาบปลื้มยินดีด้วยการทำเช่นนั้น. ดูก่อนพราหมณ์! นี่ก็คือความขาด ความทะลุ ความด่าง ความพร้อยของพรหมจรรย์. เรากล่าวว่าผู้นี้ประพฤติพรหมจรรย์ไม่บริสุทธิ์ ยังประกอบการเกี่ยวพันด้วยเมถุน, ยังไม่พ้นจากชาติ ชรา มรณะโสกะปริเทวะ ทุกขโทมนัส และอุปายาส ไปได้, ยังไม่พ้นจากทุกข์.
    พราหมณ์! สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ ปฏิญาณตัวว่าเป็นพรหมจารีโดยชอบ แล้วไม่เสพเมถุนธรรมกับด้วยมาตุคาม ไม่ยินดีการลูบคลำการประคบ การอาบ การนวดฟั้น จากมาตุคาม ไม่ยินดีในการพูดจาซิกซี้เล่นหัวสัพยอกกับมาตุคาม ทั้งไม่ยินดีในการสบตาต่อตากับมาตุคามก็จริง แต่เขายังชอบฟังเสียงของมาตุคาม ที่หัวเราะอยู่ก็ดี พูดจาอยู่ก็ดี ขับร้องอยู่ก็ดีร้องไห้อยู่ก็ดี ข้างนอกฝาก็ตาม นอกกำแพงก็ตาม, แล้วปลาบปลื้มยินดีด้วยการได้ฟังเสียงนั้น. ดูก่อนพราหมณ์! นี่คือความขาด ความทะลุ ความด่าง ความพร้อยของพรหมจรรย์. เรากล่าวว่าผู้นี้ประพฤติพรหมจรรย์ไม่บริสุทธิ์ ยังประกอบการเกี่ยวพันด้วยเมถุน, เขายังไม่พ้นจากชาติ ชรา มรณะ โสกะปริเทวะ ทุกขโทมนัส และอุปายาส ไปได้, ยังไม่พ้นจากทุกข์.
    พราหมณ์! สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ ปฏิญาณตัวว่าเป็นพรหมจารีโดยชอบ แล้วไม่เสพเมถุนธรรมกับด้วยมาตุคาม ไม่ยินดีการลูบคลำ การประคบ การอาบ การนวดฟั้น จากมาตุคาม ไม่ยินดีในการพูดจาซิกซี้เล่นหัวสัพยอกกับมาตุคาม ไม่ยินดีในการสบตาต่อตากับมาตุคาม ทั้งไม่ยินดีในการฟังเสียงมาตุคามก็จริง แต่เขาชอบตามระลึกถึงเรื่องเก่า ที่เคยหัวเราะเล้าโลมเล่นหัวกันกับมาตุคาม แล้วก็ปลาบปลื้มยินดีด้วยการเฝ้าระลึกเช่นนั้น. ดูก่อนพราหมณ์! นี่แล คือความขาด ความทะลุ ความด่าง ความพร้อย ของพรหมจรรย์. เรากล่าวว่าผู้นี้ประพฤติพรหมจรรย์ไม่บริสุทธิ์ ยังประกอบด้วยการเกี่ยวพันด้วยเมถุน, ยังไม่พ้นจากชาติ ชรา มรณะ โสกะปริเทวะ ทุกขโทมนัส และอุปายาส ไปได้, ยังไม่พ้นจากทุกข์.
    พราหมณ์! สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ ปฏิญาณตัวว่าเป็นพรหมจารี โดยชอบ แล้วไม่เสพเมถุนธรรมกับด้วยมาตุคาม ไม่ยินดีการลูบคลำ การประคบ การอาบ การนวดฟั้น จากมาตุคาม ไม่ยินดีการพูดจาซิกซี้เล่นหัวสัพยอกกับมาตุคาม ไม่ยินดีการสบตาต่อตากับมาตุคาม ไม่ยินดีการฟังเสียงมาตุคาม และทั้งไม่ชอบตามระลึกถึงเรื่องเก่าที่เคยหัวเราะเล้าโลมเล่นหัวกับมาตุคามก็จริง แต่เขาเพียงแต่เห็นพวกคฤหบดี หรือลูกคฤหบดีอิ่มเอิบด้วยกามคุณได้รับการบำเรออยู่ด้วยกามคุณ ก็ปลาบปลื้มยินดีด้วยการได้เห็นการกระทำเช่นนั้น. ดูก่อนพราหมณ์! นี่แลคือความขาด ความทะลุ ความด่าง ความพร้อย ของพรหมจรรย์. เรากล่าวว่าผู้นี้ประพฤติพรหมจรรย์ไม่บริสุทธิ์ ยังประกอบด้วยการเกี่ยวพันด้วยเมถุน, ยังไม่พ้นจากชาติ ชรา มรณะ โสกะปริเทวะ ทุกขโทมนัสและอุปายาส ไปได้, ยังไม่พ้นจากทุกข์.
    พราหมณ์! สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ ปฏิญาณตัวว่าเป็นพรหมจารี โดยชอบ แล้วไม่เสพเมถุนธรรมกับด้วยมาตุคาม ไม่ยินดีการลูบคลำการประคบ การอาบ การนวดฟั้น จากมาตุคาม ไม่ยินดีการพูดจาซิกซี้เล่นหัวสัพยอกกับมาตุคาม ไม่ยินดีการสบตาต่อตากับมาตุคาม ไม่ยินดีการฟังเสียงมาตุคามไม่ยินดีตามระลึกถึงเรื่องเก่าที่ตนเคยหัวเราะเล้าโลมเล่นหัวกับมาตุคาม และทั้งไม่ยินดีที่จะเห็นพวกคฤหบดีหรือบุตรคฤหบดี อิ่มเอิบด้วยกามคุณ แล้วตนพลอยนึกปลื้มใจด้วยก็ตาม แต่เขาประพฤติพรหมจรรย์โดยตั้งความปราถนาเพื่อไปเป็นเทพยาดาพวกใดพวกหนึ่ง. ดูก่อนพราหมณ์! นี่แล คือความขาด ความทะลุ ความด่าง ความพร้อย ของพรหมจรรย์. เรากล่าวว่าผู้นี้ประพฤติพรหมจรรย์ไม่บริสุทธิ์ ยังประกอบด้วยการเกี่ยวพันด้วยเมถุน, ยังไม่พ้นจากชาติ ชรา มรณะ โสกะปริเทวะ ทุกขโทมนัส และอุปายาส ไปได้, ยังไม่พ้นจากทุกข์.
    พราหมณ์เอย! ตลอดกาลเพียงใด ที่เรายังเห็นการเกี่ยวพันด้วยเมถุนอย่างใดอย่างหนึ่งใน ๗ อย่างนั้น ที่เรายังละมันไม่ได้, ตลอดกาลเพียงนั้นเรายังไม่ปฏิญญาตัวเอง ว่าเป็นผู้ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ในโลกพร้อมทั้งเทวดา มาร พรหม หมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณะและพราหมณ์ เทวดาแลมนุษย์
    พราหมณ์เอย! เมื่อใด เราไม่มองเห็นการเกี่ยวพันด้วยเมถุนอย่างใดอย่างหนึ่ง ใน ๗ อย่างนั้น ที่เรายังละมันไม่ได้, เมื่อนั้น เราย่อมปฏิญญาตัวเองว่าเป็นผู้ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ในโลกพร้อมทั้งเทวดา มาร พรหม หมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณะและพราหมณ์ เทวดาแลมนุษย์, ญาณและทัสสนะได้เกิดขึ้นแก่เราแล้ว. ความหลุดพ้นของเรา ไม่กลับกำเริบ. ชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย. บัดนี้การเกิดใหม่ไม่มีอีก.
    [SIZE=-1]บาลี สัตตัพพิธเมถุนสํโยคสูตร สตฺตก. อํ. ๒๓/๕๕/๔๗.
    ตรัสแก่ชานุสโสณีพราหมณ์. [/SIZE]​
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=5 width=100 align=center border=0><TBODY><TR><TD width="49%">[​IMG]</TD><TD align=middle width="2%">[​IMG]</TD><TD align=right width="49%"><IMG alt="->" src="http://buddhadasa.org/images/ico_ar_o_right.gif" border=0></TD></TR></TBODY></TABLE><!-- #EndEditable -->
     
  14. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    หากถามอย่างนี้ ก็ต้องรบกวน พิจารณาธรรมไปตาม "รากฐาน" ที่กล่าว
    กลับกันแล้วจะได้คำว่า "ฐานราก" คือ บารมี10

    บุคคลที่ใช้ ฉันทะ น้อมไปสู่การลงมือปฏิบัติ จะถือว่า กำลังเพียรสะสมบารมี
    อยู่ตรงช่วงข้อ 1 ถึง 3

    และส่วนใหญ่จะติดขัดอยู่ที่ เนขขัมบารมี ซึ่งมันคือ การลงมือปฏิบัติให้เห็น
    "ฌาณ" ให้มากๆ ให้เนืองๆ เนขขัมมะตัวที่เยี่ยมที่สุด คือ เนขขัมมะที่เป็น
    รสทาง "ละอุปทาน" "ละศาสดาอื่น" เพราะ ถ้ามีเนขขัมมะตัวนี้แล้ว จะ
    เรียกว่า อวิชชาเนขขัมมะ ( คือ พ้นอำนาจอวิชชา สภาวะเสมือนที่สุดคือ
    ฌาณ4 แต่ถ้ามีจริตทาง ธรรมานุสารี(ละศาสดาอื่นได้อย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด)
    ก็ใช้แค่ ปฐมฌาณพอ )

    ส่วน สัจจบารมีนั้น จะยังมีไม่ได้ หากยังไม่เคย เจริญแล้วเสื่อม

    กล่าวคือ

    มีฌาณ ฌาณก็เสื่อม
    มีญาณ ญาณก็เสื่อม
    มีวิริยะความเพียรมีสติสัมปชัญยะสมบูรณ์ ก็เสื่อมอีก
    มีขันติทดทนอดกลั้นรอวันผลไม้ออกรวงเอง ก็หมด เสื่อมอีก รอไม่ไหว

    เมื่อถึงตรงนี้ จะถึงเวลา ดำริ สัจจบารมี

    สัจจบารมี ที่เป็นเรื่องก่อนการเห็น เจริญแล้วเสื่อม เป็น สิ่งที่พระเรียกว่า

    โกหกพกลม คือ มันมีไม่บารมีรองรับ(ปัจจัตตังของตนรองรับ ก็เรียก) ปากได้แต่พุด
    อ้างเอาหน้า เอาตาไปอย่างนั้น อาจจะเกรงเพราะว่า เกิดมานานแล้ว จะตายอยู่มะรอม
    มะร่อแล้ว หากคนอื่นเขารู้ว่า ตัวเองยังไม่ได้เนื้อได้หนังอะไร ก็เลยต้อง หาอะไรที่
    โลกเขาว่าดูดี ขนมาปะผุ เช่น

    ตกเย็นทุกวัน ก็เที่ยวบอกผู้อื่นว่า ข้าฟังธรรมนะ เป็นต้น

    เหล่านี้ คือ อาการ ปะผุ

    เพราะถ้า มีจริง แล้วซึ้งใน บารมี กำลังใจมันเต็มจริงๆ จะเห็นเลยว่า

    การปรารภให้โลกทราบว่าตนมีฐานะอย่างนั้นอย่างนี้ จิตตนเปิดอย่างนั้นอย่างนี้ จิต
    ตนเสพฌาณอย่างนั้นอย่างนี้ จิตตนมีญาณแล่นไป สำคัญและตีความได้อย่างนั้นอย่าง
    นี้ จะเป็นเรื่อง โกหกพกลมทั้งหมด ไม่ได้เกี่ยวอะไรกับ การภาวนา เลยแม้แต่นิดเดียว
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 กุมภาพันธ์ 2012
  15. ต้นปลาย

    ต้นปลาย Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    629
    ค่าพลัง:
    +69
    คำจำกัด ความ การอวด อวดแบบไหน ถึงว่าอวดดี
    อวดแบบไหน ถึงว่าอวดไม่ดี

    การชี้แนะ ในเรื่องที่ชำนาญ เป็นเรื่องอวดดี หรือ
    ป่าอยากรู้
     
  16. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    อวดดี มันก็คือ กริยาอาการอย่างหนึ่ง หาก ฟังแบบปุถุชน ปุถุชนก็มัก
    จะตัดสินใจได้อย่างรวดเร็วว่า เป็นเรื่อง น่าเกลียด เพียงแค่เพราะ พวกเขา
    อยากจะแสดงตนว่า ไม่ใช่คนอวดดี

    คนอวดดี หาก เขามี ดีที่จะอวด มันก็ต้องอวด

    แต่ คนไม่อวดดี เพราะ ไม่มีดีจะอวด อ้างว่า ตนไม่อวดดี มันก็คือ
    พวกโกหกพกลม ธรรมดาๆ เป็น กริยาชาวบ้าน ไม่ใช่เรื่องของ บัณฑิต
     
  17. ต้นปลาย

    ต้นปลาย Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    629
    ค่าพลัง:
    +69
    กิริยาของบัณทิต เป็นไฉน?
     
  18. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    การจะเข้าใจ สภาพการ อวดดี อย่างไรจึงจะถูก

    ตรงนี้ต้องอาศัย กำลังปัญญาความเข้าใจเรื่อง อธิษฐาน

    ถ้าไม่เข้าใจ อธิษฐาน ก็จะ งง งวย กับการอวดดี

    เช่น

    พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ครั้นเป็น นิยตะโพธิสัตว์ เที่ยงแล้วต่อการตรัสรู้ธรรม
    ภายหน้า ได้รับพยากรณ์แน่ชัดแล้ว ได้ ปรารภกับ ชาวบ้านว่า จะรับอาสา
    ไปฆ่ายักษ์ให้

    เมื่อไปเจอ ยักษ์แล้ว กำลังยก เท้าขึ้นกระทืบยักษ์ให้คอหักตายคาตีน ยักษ์
    เห็นรอยกงจักร์ที่เท้า ก็เตือนว่า ท่านเป็น นิยตโพธิสัตว์แล้ว ไฉนจึงทำการฆ่า
    สัตว์ตัดชีวิตเล่า

    พระโพธิสัตว์ก็ตอบว่า เราได้ กระทำการนี้เพื่อสัจจบารมี และการฆ่าให้สำเร็จ
    ก็เป็นอธิษฐานบารมี คือ ทำให้สำเร็จเสีย พูดเสร็จก็กระทืบเลย
     
  19. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    ก็อาการ ที่ท่าน ถูกผมกระทืบปาก อยู่นี่ไง ท่านผู้มีศาสดาอื่น
     
  20. deemonster

    deemonster เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มกราคม 2007
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +805
    โมทนา ธรรม ครับ :cool:
     

แชร์หน้านี้

Loading...