การเห็น นิพพาน ของพระโสดาบัน

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย วิษณุ12, 25 มกราคม 2012.

  1. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846

    ไอซี....ไอซี ... ....
     
  2. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    ถูกแล้ว ถูกแล้ว <!-- google_ad_section_end --> [​IMG]


    ต่อๆ ทีนี้
    อย่างเจ้ ก็ตีความว่า จะประหาณสังโยชน์3 ลงได้ ต้องถึงภาวะของนิพพาน
    แบบว่า สัมผัสนิพพานไป1ครั้ง กิเลสสังโยชน์หายไป 3
    สัมผัสครั้งที่ 2 สกิทาคามี ก็หายไปอีก หลายส่วน
    สัมผัสครั้งที่ 3 อนาคา ก็หายไปอีกหลายส่วน
    สัมผัสครั้งที่ 4 ตัดกิเลสสังโยชน์สิ้นหมดในส่วนที่เหลือ

    อย่าง สีนี้ มุมผมก็บอกว่า นิพพานเข้าๆออกๆ
    มันเลยขัดกับ กิเลสตัณหาดับสิ้นไปในที่ใด นิพพานปรากฎที่นั่น

    แต่ถ้าจะเพิ่มอีกมุม ก็จะแก้ว่า
    ที่ว่ากิเลสตัณหาดับสิ้นไปก็จริง แต่ สิ้นขาดไป ที่โสดาปฏิผล ที่ 3ส่วน
    3 ส่วนที่โดนประหารขาดไป จึง
    เรียกว่า กิเลสตัณหาดับสิ้นไป แต่สิ้นไป 3ส่วน ก็พอ อ๋อย อ๋อย แล้วกัน

    [​IMG]<!-- google_ad_section_end -->
     
  3. jinny95

    jinny95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    6,074
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +9,666
    ขออนุญาติออกความเห็นส่วนตัวนะครับ อย่างไรให้เอาพระไตรเป็นเกณฑ์

    วิปัสสนาญาณ มันไม่ได้มุ่งไปโจมตีสังโยชน์ทีละตัวสองตัวซะหน่อย มันก็ไล่ตามกิเลสไปจากหยาบไปหาละเอียด ท้ายสุดมันมุ่งไปดับที่ตัวอวิชชา ท่านที่มรรคแข็งแรง ทะลุทีเดียวก็มีเยอะไป ท่านที่มรรคอ่อน ก็ทะลุทีละช่วง สองช่วง ก็มี สังโยชน์ย่อมไ่ล่ดับจากหยาบหยั่งได้ง่าย ไปหาละเอียดหยั่งได้ยาก

    แต่เพราะกิเลสมันมีกำลังมาก บางท่าน จึงไม่สามารถที่จะดับอวิชชาถาวรได้โดยกำลังมรรคครั้งเดียว ก็ต้องเก็บแต้มกันไป เพราะเป็นมรรค เป็นผล ตรงนี้ อาจจะคนละเรื่องกับนิพพานมีเข้ามีออกแล้ว อาจจะคนละสภาวะกัน

    ส่วนโคตรภู ถ้าจำแนกจริง ๆ ตัวโคตรภู จะยังเหมือนเป็นแต่สภาวะจะเหนือโลก จะไม่เหนือโลก กึ่ง ๆ อยู่ ยังต้องมีญาณทบทวนอีก จึงจะรู้ตัวว่า นิพพานเป็นที่สุด จึงจะรู้ตัวว่า สังโยชน์ใดยังเหลือ สังโยชน์ใดสิ้นไป จึงจะรู้ตัวว่า หนทางใดที่พาไปสู่นิพพาน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 มกราคม 2012
  4. 2ชาติตรัสรู้

    2ชาติตรัสรู้ គ្រប់គ្រាន់ รักษาดวงใจ.គ្រប់គ្រាន់

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,696
    ค่าพลัง:
    +1,558
    ขอเดา

    ที่ว่ากิเลสตัณหาดับไป ขณะดับไปนั้นดับไปทั้งหมดนั้นละ จึงเห็น..
    แต่ที่สิ้นขาดไปจริงๆมีแค่3ส่วน จึงได้แค่เห็น..
     
  5. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    วิซั่น วิซั่น [​IMG]
     
  6. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,197
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    [​IMG]

    ส่วนบรรดาเจตสิกทิฏฐิ วิจิกิจฉา อิสสามัจฉริยะและกุกกุจจะเป็นธรรมอันโสดาปัตติมรรคพึงประหาณเทียว. เป็นไฉนหนอ
     
  7. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846

    เจ้หลงฯ รู้จัก ความอิจฉาและหมั่นไส้ไหมล่ะ

    ถ้าเรายังเป็นคน ขี้อิจฉาและยังหมั่นไส้คนอื่นอยู่
    นั่นเรียกว่า ยังไม่ประหาณ

    เรียกว่า ความอิจฉาและหมั่นไส้ มันยังไม่ถูกดับสิ้น

    หากยังลังเลสงสัยในพระรัตนะตรัย ว่าจริงหรือไม่จริง
    นั่นก็แสดงว่ายังไม่ขาดสิ้น


    หากเจ้หลงไปรู้เห็นสิ่งที่ไม่เกิดไม่ดับแล้ว
    คิดว่าจะยังมีความอิจฉาและหมั่นไส้อยู่ป่าว ถ้ายังมีอยู่
    ก็เป็นอันว่า ตกลงของจริงหรือของปลอม

    เจ้หลงยังหวนแหน ซีดี รถ บ้าน ในความอาลัยพวกนี้
    ยังรักษาหน้าตา เห็นถูกเป็นผิดเพราะเห็นแก่หน้า

    หรือจะหล่อแบบไม่แคร์สื่อ ก็ดูซิว่าจะเป็นยังไง

    [​IMG]
     
  8. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,760
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    โทสะ อิสสา มัจฉริยะ กุกกุจจะ

    ๘. โทสเจตสิก เป็นเจตสิกที่หยาบกระด้าง เป็นสภาพธรรม
    ที่ประทุษ-ร้ายเดือดร้อน ขุ่นเคือง
    เกิดร่วมกับโทสมูลจิต ๒ ดวง
    โทสเจตสิกดับเป็นสมุจเฉทเมื่อรู้แจ้งอริยสัจจธรรมขั้นพระ
    อนาคามีบุคคล ฉะนั้นพระโสดาบันบุคคลจึงยังมีความ
    เศร้าโศกเสียใจ เพราะยังมีโทสมูลจิตทั้ง ๒ ดวง


    ๙. อิสสาเจตสิก เป็นเจตสิกที่ริษยาสมบัติของผู้อื่น
    ทั้งรูปสมบัติ ทรัพย์สมบัติ คุณสมบัติ
    อิสสาเจตสิกเกิดร่วมกับโทสมูลจิต โทสมูลจิต ๒ ดวงนั้น
    บางวาระก็มีอิสสาเจตสิกเกิดร่วมด้วย บางวาระก็ไม่มี
    อิสสาเจตสิกเกิดร่วมด้วย อิสสาเจตสิกดับเป็นสมุจเฉท
    เมื่อโสตาปัตติมัคคจิตเกิดขึ้น รู้แจ้งอริยสัจจธรรม ฉะนั้น

    พระอริยบุคคลจึงไม่มีอิสสาเจตสิกอีกเลย

    ๑๐. มัจฉริยเจตสิก เป็นเจตสิกที่ตระหนี่สมบัติของตน
    ไม่ต้องการให้บุคคลอื่น มีส่วนร่วมใช้สอยได้รับประโยชน์
    ใดๆ จากสมบัติของตน
    มัจฉริยเจตสิกเกิดได้กับโทสมูลจิต ๒ ดวง แต่ไม่เกิดกับ
    โลภมูลจิตเลย เพราะขณะใดที่มัจฉริยเจตสิกเกิด ขณะนั้น
    จิตเดือดร้อนไม่สบายใจ มัจฉริยเจตสิกจึงเกิดร่วมกับโลภ-
    มูลจิตไม่ได้ เพราะโลภมูลจิตเกิดร่วมกับอุเบกขาเวทนา
    และโสมนัสเวทนาเท่านั้น แต่มัจฉริยเจตสิกต้องเกิดร่วม
    กับโทมนัสเวทนาทุกครั้ง โทสมูลจิต ๒ ดวงนั้น บางวาระ
    ก็มีมัจฉริยเจตสิกเกิดร่วมด้วย บางวาระก็ไม่มีมัจฉริย-
    เจตสิกเกิดร่วมด้วย มัจฉริยเจตสิกดับเป็นสมุจเฉทเมื่อ
    โสตาปัตติมัคคจิตเกิดขึ้นรู้แจ้งอริยสัจจธรรม ผู้ที่เป็นพระ
    อริยบุคคลไม่มีมัจฉริยเจตสิกเกิดอีกเลย แต่ที่พระเสกขบุคคล
    (ผู้ยังต้องศึกษาและปฏิบัติเพื่อดับกิเลส ได้แก่ พระอริยบุคคล
    ที่ไม่ใช่พระอรหันต์) ผู้เป็นคฤหัสถ์ยังไม่สละ
    สมบัติทั้งหลายก็เพราะยังมีโลภเจตสิก แต่เมื่อเป็นไปใน
    ทางที่ชอบที่ควรแล้ว พระเสกขบุคคลคฤหัสถ์ผู้ปราศจาก
    มัจฉริยะแล้วย่อมสละวัตถุนั้นเป็นทานได้ เพราะโสตาปัต-
    ติมัคคจิตดับมัจฉริยะเป็นสมุจเฉท


    ๑๑. กุกกุจจเจตสิก เป็นเจตสิกที่เดือดร้อนรำคาญใจ
    ในอกุศลที่ได้กระทำแล้ว และในกุศลที่ไม่ได้กระทำ
    กุกกุจจเจตสิกเกิดได้กับโทสมูลจิต ๒ ดวง บางวาระโทส-
    มูลจิตก็มีกุกกุจจเจตสิกเกิดร่วมด้วย บางวาระโทสมูลจิตก็
    ไม่มีกุกกุจจเจตสิกเกิดร่วมด้วย กุกกุจจเจตสิกดับเป็นสมุจเฉท
    ด้วย อนาคามิมัคคจิต

    โทสะ อิสสา มัจฉริยะ กุกกุจจะ
     
  9. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,760
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    คนที่มีสัมมาทิฏฐิมี ๓ ประเภท คือ ปุถุชน ๑ เสกขบุคคล (ผู้ต้องศึกษา) ๑ อเสกขบุคคล (ผู้ไม่ต้องศึกษา) ๑.

    ในจำนวน ๓ ประเภทนั้น ปุถุชนมี ๒ ประเภท คือ พาหิรกชน (คนนอกศาสนา) ๑ ศาสนิกชน (คนในศาสนา) ๑.
    ในจำนวน ๒ ประเภทนั้น พาหิรกปุถุชนผู้เป็นกรรมวาที (เชื่อถือกรรม) ชื่อว่าเป็นผู้มีความเห็นถูกต้อง (เป็นสัมมาทิฏฐิกบุคคล) โดยความเห็นว่าสัตว์มีกรรมเป็นของตน ไม่ใช่โดยความเห็นขั้นสัจจานุโลมญาณ.
    ส่วนศาสนิกปุถุชน ชื่อว่ามีความเห็นถูกต้อง (เป็นสัมมาทิฏฐิกบุคคล) โดยความเห็นทั้ง ๒ อย่าง (คือกัมมัสสกตาและอนุโลมญาณ เพราะยังลูบคลำความเห็นเรื่องอัตตาอยู่ ยังละสักกายทิฏฐิไม่ได้).

    เสกขบุคคล ชื่อว่ามีความเห็นชอบ เพราะมีความเห็นชอบที่แน่นอน. ส่วนอเสกขบุคคล ชื่อว่ามีความเห็นชอบ เพราะไม่ต้องศึกษา.
    แต่ในที่นี้ประสงค์เอาผู้ประกอบด้วยสัมมาทิฏฐิที่เป็นโลกุตตรกุศลที่แน่นอน คือเป็นเครื่องนำสัตว์ออกจากทุกข์ว่า ผู้มีความเห็นชอบ.

    เพราะเหตุนั้นเอง ท่านพระสารีบุตรจึงได้กล่าวไว้ว่า เป็นผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสในธรรมไม่คลอนแคลน ได้มาสู่พระสัทธรรมนี้แล้ว.
    อธิบายว่า สัมมาทิฏฐิที่เป็นโลกุตตรกุศลเท่านั้นเป็นความเห็นที่ตรง เพราะไปตามความตรง ไม่ข้องแวะกับที่สุดทั้ง ๒ อย่าง หรือตัดขาดความคดงอทุกอย่างมีความคดงอทางกายเป็นต้นแล้วไปตรง และผู้ประกอบด้วยทิฏฐินั้นเอง ชื่อว่าเป็นผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสไม่คลอนแคลน คือด้วยความเลื่อมใสไม่หวั่นไหวในโลกุตตรธรรมทั้ง ๙ ประการ.

    อริยสาวกเมื่อคลายความยึดมั่นด้วยทิฏฐิทุกอย่าง ละกิเลสทั้งสิ้นได้ ออกไปจากสงสารคือชาติ เสร็จสิ้นการปฏิบัติ ท่านเรียกว่าผู้ได้มาสู่พระสัทธรรม กล่าวคือพระนิพพานที่<WBR>หยั่ง<WBR>ลง<WBR>สู่<WBR>อมต<WBR>ธรรม<WBR>ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงประกาศแล้วด้วยอริยมรรค.


    สิ่งที่ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ (พระโสดาบัน)ทำไม่ได้โดยธรรมชาติ

    ภิกษุ ท. ! ฐานะที่ไม่อาจเป็นไปได้ (โดยธรรมชาติ)
    ๖ ประการเหล่านี้ มีอยู่.
    หกประการ เหล่าไหนเล่า ?
    หกประการ คือ :-
    ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ไม่อาจเข้าถึงสังขารไร ๆ โดยความ
    เป็นของเที่ยง;
    ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ไม่อาจเข้าถึงสังขารไร ๆ โดยความ
    เป็นของสุข;
    ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ไม่อาจเข้าถึงธรรมะไร ๆ โดยความ
    เป็นตัวตน;

    ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ไม่อาจกระทำอนันตริยกรรม;
    ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ไม่อาจหวังการถึงความบริสุทธิ์
    โดยโกตุหลมงคล;
    ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ไม่อาจแสวงหาทักขิเณยยบุคคล
    ภายนอกจากศาสนานี้.
    ภิกษุ ท. ! เหล่านี้แล ฐานะที่ไม่อาจเป็นไปได้
    ๖ ประการ.

    ฉกฺก. อํ. ๒๒/๔๘๘/๓๖๔.


    พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 272

    ๒. โอคธสูตร องค์คุณของพระโสดาบัน

    [๑๔๑๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ประกอบด้วยธรรม ๔

    ประการ ย่อมเป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะ

    ตรัสรู้ในเบื้องหน้า ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน อริยสาวกในธรรมวินัยนี้

    ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า ฯลฯ ในพระธรรม

    ฯลฯ ในพระสงฆ์ ฯลฯ ประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว ฯลฯ อริยสาวกผู้

    ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการเหล่านี้แล เป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำ

    เป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้

    สุคตศาสดา ได้ตรัสไวยากรณภาษิตนี้จบลงแล้ว จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อ

    ไปอีกว่า

    [๑๔๑๕] ศรัทธา ศีล ความเลื่อมใสและการ

    เห็นธรรมมีอยู่แก่ผู้ใด ผู้นั้นแล ย่อมบรรลุ

    ความสุข อันหยั่งลงในพรหมจรรย์ตาม

    กาล.


    พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 279

    ๕. ทุติยสาริปุตตสูตร

    ว่าด้วยองค์ธรรมเครื่องบรรลุโสดา

    [๑๔๒๗] ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า

    ถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

    ครั้นแล้วพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสถามท่านพระสารีบุตรว่า ดูก่อนสารีบุตร

    ที่เรียกว่า โสตาปัตติยังคะ ๆ ดังนี้ โสตาปัตติยังคะเป็นไฉน.

    [๑๔๒๘] ท่านพระสารีบุตรกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

    โสตาปัตติยังคะ คือ สัปปุริสสังเสวะ การคบสัตบุรุษ ๑ สัทธรรมสวนะ

    ฟังคำสั่งสอนของท่าน ๑ โยนิโสมนสิการ กระทำไว้ในใจโดยอุบายที่ชอบ ๑

    ธัมมานุธัมมปฏิปัตติ ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ๑.

    [๑๔๒๙] พ. ถูกละ ๆ สารีบุตร โสตาปัตติยังคะ คือ สัปปุริส-

    สังเสวะ ๑ สัทธรรมสวนะ ๑ โยนิโสมนสิการ ๑ ธัมมานุธัมมปฏิปัตติ ๑.

    ฯลฯ



    http://www.kammatan.com/board/index.php?topic=387.0
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 มกราคม 2012
  10. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    ยินดีในธรรมครับเจ้

    มีข้อเสนอว่า ด้วยประโยคนี้ ที่มีเส้น

    ถามว่า เหตุใด จึงมีคำกล่าวว่า พระอรหันต์ พ้นบุญพ้นบาปเสียได้

    เช่นนั้น หากโลกุตระเป็นกุศลแล้วจะเรียกว่าพ้นบุญพ้นบาปเช่นไร

    อีกอย่างหนึ่ง ในขณะแห่งมรรค เจตนางดเว้นกุศลแต่ถ่ายเดียวเท่านั้น
    หากกล่าวว่า โลกุตระเป็นกุศล มันขัดกันไหม
     
  11. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,760
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
  12. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 มกราคม 2012
  13. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,760
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    อรรถกถา มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ มูลปริยายวรรค
    สัมมาทิฏฐิสูตร ว่าด้วยความเห็นชอบ

    ......
    เพราะเหตุนั้นเอง ท่านพระสารีบุตรจึงได้กล่าวไว้ว่า เป็นผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสในธรรมไม่คลอนแคลน ได้มาสู่พระสัทธรรมนี้แล้ว.
    อธิบายว่า สัมมาทิฏฐิที่เป็นโลกุตตรกุศลเท่านั้นเป็นความเห็นที่ตรง เพราะไปตามความตรง ไม่ข้องแวะกับที่สุดทั้ง ๒ อย่าง หรือตัดขาดความคดงอทุกอย่างมีความคดงอทางกายเป็นต้นแล้วไปตรง และผู้ประกอบด้วยทิฏฐินั้นเอง

    นี่ก็อรรถกถาฯ แล้วนะจ๊ะ ให้เราต้องมาอธิบายอีกทีก็ดูกระไร
    เน็ตช้า .. คุยกันนานหน่อยนะ
    เจ๊เดาว่าดังนี้ ..กุศลอีกนัย ความหมายคือเหนือบุญ ไม่ใช่บุญแต่เหนือทั้งบุญและบาป
    ส่วนอีกนัย ..ถ้าตีความข้องกับ กุศลและอกุศล ...โลกุตตรกุศลนี้ อาจเป็นกุศลในสัมมาทิฏฐิ ไม่ใช่(ไม่ได้หมายถึง)โลกุตตระ(นิพพาน)

    ส่วนตรงนี้ ยกมาให้ดูแบบครบๆ เลยดิ.. จะได้ลองดูอีกที(เน็ตข้าพเจ้าช้า)
    ขณะแห่งมรรค เจตนางดเว้นกุศลแต่ถ่ายเดียวเท่านั้น

     
  14. 2ชาติตรัสรู้

    2ชาติตรัสรู้ គ្រប់គ្រាន់ รักษาดวงใจ.គ្រប់គ្រាន់

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,696
    ค่าพลัง:
    +1,558
    ว้าาา ยังรู้สึกอิจฉาอยู่เลย อิจฉาคนที่ละทางโลกออกบวชได้...แต่ไม่ริษยานะ:'(
     
  15. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846



    วิซั่น วิซั่น [​IMG]


    เน็ตข้าพเจ้าก็ช้าเหมือนกันจร้า
     
  16. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,760
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    ลิงค์ให้คนอื่น
    ตัวเองฟังไม่ได้หรอก เน็ตช้า อยากฟังเหมือนกัน
    อนุโมทนาทุกท่านค่ะ
     
  17. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    หล่อแบบไม่แคร์สื่อ :cool:

    [​IMG]<!-- google_ad_section_end -->
     
  18. ต้นปลาย

    ต้นปลาย Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    629
    ค่าพลัง:
    +69
    ปฏิบัติ แล้ว ทำดีไปแล้ว แล้วอยากวัดระดับธรรมของตัวเองว่าเป็นพระอริยะหรือยัง
    มันก็แปลกดีนะ ความอยากรู้ มีค่าเท่ากับอะไรนะ
     
  19. deemonster

    deemonster เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มกราคม 2007
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +805
    สนทนา เพื่อ V-สั้น
    V-ย้าววว ยาว ก็จับมะหมด ยาว ไปเลยยยย
     
  20. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,182
    ความอยากมันจะหมดไปเองเมื่อถึงธรรม

    แต่ยังไม่ถึงธรรมจะต้องอยาก ต้องมีเป้าหมายก่อน

    อยากเป็นพระโสดาบัน ดีกว่าอยากเป็นโจร
     

แชร์หน้านี้

Loading...