พระพุทธเจ้าทุกองค์รูปร่างหน้าตาเหมือนกันหรือไม่

ในห้อง 'พุทธภูมิ - พระโพธิสัตว์' ตั้งกระทู้โดย Wisdom, 25 มกราคม 2012.

  1. Wisdom

    Wisdom ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    1,669
    กระทู้เรื่องเด่น:
    11
    ค่าพลัง:
    +26,542
    [​IMG]

    พระพุทธเจ้าทุกองค์รูปร่างหน้าตาเหมือนกันหรือไม่

    ศิษย์ : ถ้าอย่างนี้ ที่มาเกิดเป็นพระพุทธเจ้าทุกองค์ก็ต้องมีลักษณะ 32 ประการเหมือนๆกัน?

    หลวงตา : เหมือนกันหมด

    ศิษย์ : แต่หน้าตาอาจผิดแปลกไปตามเผ่าพันธุ์ หรือเปล่าครับ?

    หลวงตา : คล้าย ๆ กันนะ หน้าตานี่คล้าย ๆ กัน เพราะว่าท่านบุญเยอะนะ

    ศิษย์ : บุญมันสะสมทุกอย่างเลย?

    หลวงตา : ใช่ บุญมันเยอะ สามารถจะทำได้ ในการเกิด การอยู่ การนอน การอะไรนี่มัน ปรับไปหมดฮะ คือท่านอธิบายเรื่องพระโพธิสัตว์แต่ละพระองค์ ก่อนที่ท่านจะมา เขาก็ปรับอยู่แล้ว มันปรับ ปรับก่อนแล้ว คือพลังงานต้องปรับก่อน มันไปโดยบุญฮะ บารมีที่ท่านทิ้งไว้ อย่างหลวงพ่อดู่ท่านว่า ทุกที่ในส่วนทุกโลก โลกมนุษย์นี้แหล่ะ กลมๆเนี่ยะ สถานที่ที่ท่านไม่เคยเกิดไม่มีนะ

    ศิษย์ : แม้แต่ในทะเลทราย ในอะไร?

    หลวงตา : ใช่... เพราะในทะเลทรายเนี่ย เมื่อก่อนมันก็เป็นดิน น้ำมันเปลี่ยนไปเปลี่ยนมา ระหว่าง ภัยธรรมชาติ เวียนว่ายตายเกิดเนี่ย ก่อนนี้ก็เป็นน้ำ ตรงนี้เป็นถ้ำ คือปลาอยู่ตรงนี้

    [​IMG]

    ศิษย์ : ถ้ำใต้ทะเล?

    หลวงตา : ใช่ อย่างนั้น...ใต้ทะเลนี่ เวลาลมมันพัด เวลาสะเทือน เวลาแผ่นดินไหว น้ำท่วม ไฟไหม้อะไรพวกนี้ ลมพัดอะไรอย่างนี้ ไม่มีอะไรอยู่ได้ รับรอง ไฟก็ไม่มีอะไรอยู่ได้ ก็เหมือนพวกภูเขาไฟระเบิด ลาวามาเนี่ย ถ้าลอยมาเท่านี้นะ ไม่มีสภาพเหลือเลย หายเกลี้ยงเลย พระพุทธรูปนี่ยังหายไม่เหลือ เป็นผงไปเลยฮะ ไฟมันร้อน ลมก็เหมือนกัน ถ้ามาแล้วละก็ไปหมด ไม่เหลือ มันแรงเหมือนไฟ แผ่นดินสะเทือนเลยล่ะ จริงๆ ปุ๊บปั๊บ ๆไปแล้ว.. อย่างน้ำเวลามาก็ไม่มีอะไร ไม่มีอะไรต้านอยู่นะ ไปหมดฮะ เพราะฉะนั้นโลกถึงไม่แน่นอนไง ใช่มั้ย...
     
  2. Wisdom

    Wisdom ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    1,669
    กระทู้เรื่องเด่น:
    11
    ค่าพลัง:
    +26,542
    เสริมความรู้ กัป กัลป์ และอสงไขย คือ...

    [​IMG]

    กัป กัลป์ และอสงไขย

    การนับกาลเวลามี ๒ แบบ คือ แบบที่นับเป็นตัวเลข ๑ ๒ ๓ .... เพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ เรียกว่านับเป็นตัวเลขสังขยา คือ ตัวเลขที่นับได้
    ถ้ามากเกินจะนับไหวแล้ว ก็จะเปลี่ยนมานับโดยการอุปมา คือการเปรียบเทียบเอา

    แล้วตัวเลขแค่ไหนล่ะที่นับไม่ได้ เราจะนับกันสูงสุดแค่ไหน
    ตัวเลขที่กำหนดว่าไม่นับแล้ว เลิกนับแบบสังขยากันดีกว่า คือ ๑ ตามด้วย ๐ อีก ๑๔๐ ตัว ซึ่งถือเป็นตัวเลขสูงสุดที่นับกัน ถ้าเกินไปกว่านี้ พระพรหมก็เบือนหน้าหนีแล้ว
    จำนวนที่เกินจาก ๑ ตามด้วย ๐ อีก ๑๔๐ ตัว จึงเรียกว่าเป็นจำนวน อสังขยา หรือ อสงไขยนั่นเอง

    กาลเวลาทางพุทธศาสนาที่พบเจอกันบ่อยๆ ก็คือ
    ๑. กัป
    ๒. อสงไขยปี
    ๓. รอบอสงไขย
    ๔. อันตรกัป
    ๕. อสงไขยกัป
    ๖. มหากัป
    ๗. อสงไขย
    ๘. พุทธันดร

    กัป
    ในความหมายแรก หมายถึงอายุกัป คือระยะเวลาที่เท่ากับอายุเฉลี่ยของมนุษย์ยุคนั้น ซึ่งผันแปรตั้งแต่ ๑๐ - อสงไขยปี
    สมัยพุทธกาล อายุกัปเท่ากับ ๑๐๐ ปี ที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า ผู้บำเพ็ญอิทธิบาท ๔ สามารถมีอายุอยู่ได้ตลอดกัป ก็หมายถึงมีอายุอยู่ได้ ๑๐๐ ปี นั่นเอง
    และเนื่องจากตอนนี้อยู่ในช่วงอายุขาลง ทุก ๑๐๐ ปี อายุมนุษย์จะลดลง ๑ ปี ปัจจุปัน อายุกัปของเราจึงเหลืออยู่เพียง ๗๕ ปีเท่านั้น
    คำว่ากัป หรือกัปป์ หรือกัปปะ เป็นภาษาบาลี ส่วนภาษาสันสกฤติใช้คำว่า กัลป์ สรุปแล้ว กัป กับ กัลป์ ก็คือตัวเดียวกันนั่นเอง

    อสงไขยปี
    ก็คือ จำนวนปีที่ขึ้นต้นด้วย ๑ ตามด้วย ๐ อีก ๑๔๐ ปีนั่นเอง ตัวเลขนี้เป็นอายุของมนุษย์ยุคสร้างโลก เมื่อโลกเกิดขึ้นใหม่ พระพรหมที่หมดอายุก็จุติมาอุบัติเป็นสัตว์โลกผู้มีจิตประภัสสร ลอยไปลอยมาในอากาศได้ มีอาหารเป็นทิพย์ มีศีลธรรมดีดุจพระพรหม อายุจึงยืนยาวถึงอสงไขยหนึ่ง

    รอบอสงไขย
    ต่อมามนุษย์เริ่มไปกินง้วนดินเข้า จิตก็เริ่มหยาบ กายก็เริ่มหยาบ กิเลสก็พอกหนา เหาะไม่ได้ กลายเป็นมนุษย์เดินดิน อายุก็ค่อยๆ ลดลง ทุก ๑๐๐ ปี ลดลง ๑ ปี จนเหลือแค่ ๑๐ ปี ยุคนั้นก็เป็นยุคมิคสัญญี มนุษย์ฆ่าฟันกันเหมือนผักปลา ศีลธรรมก็ไม่มี พอฆ่ากันตายเกือบหมดโลก พวกที่เหลือสังเวชใจ เริ่มรักษาศีลกันอีกครั้ง อายุก็ค่อยๆ เพิ่มขึ้น ทุก ๑๐๐ ปี ก็เพิ่มขึ้น ๑ ปี จนกลับไปยืนยาวถึงอสงไขยปีอีกครั้ง
    เวลาทั้งหมดนี้ เรียกว่ารอบอสงไขย
    อันตรกัป
    ก็คือ ๑ รอบอสงไขยนั่นเอง

    อสงไขยกัป
    โลกนี้มีเกิดดับเป็นวัฏจักร รอบหนึ่งใช้เวลาทั้งสิ้น ๒๕๖ อันตรกัป คือ
    ๑ โลกกำลังถูกทำลาย อาจโดนไฟประลัยกัปเผา หรือน้ำประลัยกัปตกกระหน่ำ หรือลมประลัยกัปพัดทำลาย ทุกสรรพสิ่งจะถูกทำลายย่อยยับไม่มีเหลือเลย ทำลายตั้งแต่มหานรกขึ้นไปถึงพรหมอีกหลายชั้น ใช้เวลาทำลายทั้งสิ้น ๖๔ อันตรกัป หรือเรียกว่า ๑ อสงไขยกัป โดยมีชื่อเฉพาะว่า สังวัฏฏอสงไขยกัป
    ๒ จากนั้นทุกอย่างก็ว่างเปล่า มืดมิด ไม่มีอะไรเลย เป็นเวลาอีก ๖๔ อันตรกัป หรือเรียกว่า ๑ อสงไขยกัป โดยมีชื่อเรียกเฉพาะว่า สังวัฏฏฐายีอสงไขยกัป
    ๓ จากนั้นโลกก็จะเริ่มก่อตัวขึ้นมาใหม่ มีผืนน้ำ มีแผ่นดิน รวมเวลาอีก ๖๔ อันตรกัป หรือเรียกว่า ๑ อสงไขยกัป โดยมีชื่อเรียกเฉพาะว่า วิวัฏฏอสงไขยกัป
    ๔ จากนั้นโลกจึงมนุษย์และสัตว์อาศัยอยู่ได้ เป็นเวลาอีก ๖๔ อันตรกัป หรือเรียกว่า ๑ อสงไขยกัป โดยมีชื่อเรียกเฉพาะว่า วิวัฏฏฐายีอสงไขยกัป

    มหากัป
    คือเวลา 1 รอบวัฏจักรการแตกดับของโลก หรือเท่ากับ ๒๕๖ อันตรกัป
    ๑ มหากัป อุปมาว่ามีพื้นที่ขนาดกว้าง ๑ โยชน์ ยาว ๑ โยชน์ สูง ๑ โยชน์ บรรจุเมล็ดพันธุ์ผักกาดไว้เต็ม ทุก ๑๐๐ ปีก็มาหยิบเมล็ดผักกาดออกเมล็ดหนึ่ง แม้จะหยิบเมล็ดผักกาดออกหมดแล้วก็ยังไม่นานเท่า ๑ มหากัป
    คำว่ามหากัป มักเรียกสั้นๆ ว่า กัป

    อสงไขย
    คงเคยได้ยินคำว่า ๔ อสงไขยกำไรแสนกัป คำว่าอสงไขยในที่นี้หมายถึงระยะยาวนานมาก นับเป็นจำนวนกัปแล้วยังนับไม่ได้ คือจำนวนกัปมากกว่า ๑ ตามด้วย ๐ อีก ๑๔๐ ตัวเสียอีก
    ๔ อสงไขยกำไรแสนกัป ก็คือระยะเวลาที่พระโพธิสัตว์บำเพ็ญบารมีในช่วงปรมัตถ์ ก่อนจะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน

    พุทธันดร
    คือระยะเวลาตั้งแต่พระพุทธเจ้าองค์หนึ่งตรัสรู้ จนกระทั่งถึงพระพุทธเจ้าองค์ต่อปมาตรัสรู้ เรียกว่า ๑ พุทธันดร
    พุทธันดรของพระพุทธเจ้าแต่ละองค์ยาวไม่เท่ากัน ตัวอย่างเช่น ปัจจุบันเราอยู่ในอันตรกัปที่ ๑๒ และพระศรีอาริยเมตไตรยจะมาตรัสรู้ในอันตรกัปที่ ๑๓ จากนั้นไม่มีพระพุทธเจ้ามาตรัสรู้เลยนานถึงอสงไขยหนึ่ง
    ดังนั้น ๑ พุทธันดรของพระสมณโคดมพุทธเจ้าจึงยาวนานแค่ ๑ อันตรกัป ส่วน ๑ พุทธันดรของพระศรีอาริยเมตไตรยยาวนานถึงอสงไขยหนึ่ง
     
  3. Wisdom

    Wisdom ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    1,669
    กระทู้เรื่องเด่น:
    11
    ค่าพลัง:
    +26,542
    [​IMG]

    พระพุทธเจ้าที่พระโพธิสัตว์อดีตชาติของพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน
    ทรงได้พบและได้สร้างบารมี โดยละเอียดตั้งแต่ก่อนได้รับพุทธพยากรณ์
    และหลังได้รับพุทธพยากรณ์ เพื่อเข้าใจถึงความยาวนานของกัป กัลป์ และอสงไขย มากขึ้น

    สรุปจากหนังสือ สัมภาระบารมี ของท่าน นาคะประทีป และ ศาสตร์ว่าด้วยการเป็นพุทธเจ้า ของ พระเทพมุนี (วิลาศ ญาณวโร)

    อสงไขย พระพุทธเจ้าอุบัติ (ชื่อพระโพธิสัตว์ในอดิตของพุทธเจ้าปัจจุบัน)

    *** บารมีตอนต้น ตั้งความปารถนาเป็นพระพุทธเจ้าไว้ในใจ 7 อสงไขย
    องค์หญิงสุมิตตาเทวี(หรือ พระนางวิสุทธาเทวี ในหนังสือ พระพุทธเจ้าเคยเกิดเป็นผู้หญิง " ของ อ. บารมี) ชาติก่อนเริ่มต้นสร้างบารมีอย่างแท้จริง 100,000 มหากัป

    เริ่มต้น 0 พระปุราณทีปังกรพุทธเจ้า (องค์หญิงสุมิตตาเทวี)(หรือ พระนางวิสุทธาเทวี)

    เริ่ม พระพรหมเทวพุทธเจ้า (พระราชาอรตีเทวราช)
    นันทะอสงไขย 1 พระพุทธเจ้า 5,000 พระองค์
    สุนันทะอสงไขย 2 พระพุทธเจ้า 9,000 พระองค์
    ปัฐวีอสงไขย 3 พระพุทธเจ้า 10,000 พระองค์
    มัณทะอสงไขย 4 พระพุทธเจ้า 11,000 พระองค์
    ธรณีอสงไขย 5 พระพุทธเจ้า 20,000 พระองค์
    สาคระอสงไขย 6 พระพุทธเจ้า 30,000 พระองค์
    ปุณทริกะอสงไขย 7 พระพุทธเจ้า 40,000 พระองค์
    รวมได้พบกับพระพุทธเจ้าใน 7 อสงไขย 125,000 พระองค์

    *** บารมีตอนกลาง กล่าววาจาปารถนาเป็นพระพุทธเจ้า 9 อสงไขย
    เริ่มต้น พระปุราณศรีศากยมุนีชินสีห์พุทธเจ้า(พระเจ้าสาครจักรพรรดิ์)
    สัพพถัททะอสงไขย 8 พระพุทธเจ้า 50,000 พระองค์
    สัพพผุลละอสงไขย 9 พระพุทธเจ้า 60,000 พระองค์
    สัพพรตนะอสงไขย 10 พระพุทธเจ้า 70,000 พระองค์
    อสุภขันธะอสงไขย 11 พระพุทธเจ้า 80,000 พระองค์
    มานีภัททะอสงไขย 12 พระพุทธเจ้า 90,000 พระองค์
    ปทุมะอสงไขย 13 พระพุทธเจ้า 20,000 พระองค์
    อุสภะอสงไขย 14 พระพุทธเจ้า 10,000 พระองค์
    ขันธคมะอสงไขย 15 พระพุทธเจ้า 5,000 พระองค์
    สัพพผาละอสงไขย 16 พระพุทธเจ้า 2,000 พระองค์
    รวมได้พบพระพุทธเจ้าใน 9 อสงไขย 387,000 พระองค์

    *** บารมีตอนปลาย ได้รับพุทธพยากรณ์จากพระพุทธเจ้า 4 อสงไขย 100,000 มหากัปล์
    กัปแรก - พระตัณหังกรพุทธเจ้า ยังไม่ได้รับพุทธพยากรณ์
    สารมัณฑกัป - พระเมธังกรพุทธเจ้า ยังไม่ได้รับพุทธพยากรณ์
    พุทธเจ้า 4 องค์ - พระสรนังกรพุทธเจ้า ยังไม่ได้รับพุทธพยากรณ์

    ** ได้รับพยากรณ์ - พระทีปังกรพุทธเจ้า (สุเมธดาบส) พุทธพยากรณ์เป็นครั้งแรก
    อายุขัยสมัยนั้นประมาน 100,000 ปี ศาสนาอยู่ในโลก ได้นานปี
    รวมเวลาจาก พระนางสุมิตตาถึงสุเมธดาบส 16 อสงไขย 1 แสนกัป

    เสละอสงไขย - เป็นสูญกัปไม่มีพระพุทธเจ้าบังเกิดขึ้น 1 อสงไขย
    สารกัปมี 1องค์ - พระโกณฑัญญะพุทธเจ้า (วิชิตาวีจักรพรรดิ ออกบวชมีอภิญญา)
    อายุขัย 100,000 พรรษา
    ภาสะอสงไขย - ไม่มีพระพุทธเจ้าบังเกิดขึ้น 1 อสงไขย
    ครบ 2 อสงไขย - พระสุมังคละพุทธเจ้า ( เป็นสุรุจิพราหมณ์โพธิสัตว์บวชมีอภิญ)
    อายุขัย 90,000 พรรษา
    สารมัณฑกับ - พระสุมนะพุทธเจ้า (เป็นพญานาคอดุลยวาสุกรีโพธิสัตว์)
    อายุขัย 90,000 พรรษา
    พุทธเจ้า 4 องค์ - พระเรวตะพุทธเจ้า (เป็นพราหมณ์ อติเทวมาณพโพธิสัตว์)
    อายุขัย 60,000 พรรษา (อาจเป็นปัญญาพุทธเจ้า)
    - พระโสภิตะพุทธเจ้า (เป็นพราหมณ์ อชิตมาณพโพธิสัตว์)
    อายุขัย 90,000 พรรษา
    ชยอสงไขย - ไม่มีพระพุทธเจ้าบังเกิดขึ้น 1 อสงไขย
    วรกัป - พระอโนมทัสสีพุทธเจ้า (เป็นพญายักขเสนาบดีโพธิสัตว์)
    อายุไขย 100,000 พรรษา
    พุทธเจ้า 3 องค์ - พระปทุมะพุทธเจ้า (เป็นพญาไกรสรราชสี)
    อายุไขย 100,000 พรรษา
    - พระนารทะพุทธเจ้า (เป็นมหาฤาษีโพธิสัตว์)
    อายุไขย 90,000 รุจิรอสงไขย - ไม่มีพระพุทธเจ้าบังเกิดขึ้น 1 อสงไขย

    ** บารมีช่วง เศษแสนมหากัปที่เหลือ **
    มัณฑกัป แต่มี - พระปทุมมุตระพุทธเจ้า (เป็นนายบ้านชื่อ ชฏิลบวชเป็นดาบส)
    (พระพุทธเจ้า 1 พระองค์) พระอสิติสมัยพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน ได้รับพยากรณ์จากพระปทุม มุตระมากที่สุด ดังมีในพระไตรปิฏก อายุขัย
    100,000 พรรษา

    30000 มหากัป - เป็นสูญกัป ไม่มีพระพุทธเจ้าบังเกิดขึ้น
    มัณฑกัป - พระสุเมธพุทธเจ้า (เป็น อุตตรมานพ ได้ออกบวชเป็นภิกษุ)
    อายุขัย 90,000 พรรษา
    พุทธเจ้า 2 องค์ - พระสุชาตะพุทธเจ้า (เป็น บรมจักรพรรดิ ได้ออกบวช)
    อายุขัย 90,000 พรรษา
    60000 มหากัป - เป็นสูญกัป ไม่มีพระพุทธเจ้าบังเกิดขึ้น
    วรกัป - พระปิยทัสสีพุทธเจ้า ( เป็นกัสสปะมานพ)
    อายุขัย 90,000 พรรษา
    พุทธเจ้า 3 องต์ - พระอัตถทัสสีพุทธเจ้า (เป็นสุสิมะดาบส)
    อายุไขย 100,000 พรรษา
    - พระธรรมทัสสีพุทธเจ้า (เป็นพระอินทร์)
    อายุไขย 100,000 พรรษา
    9904 มหากัป - เป็นสูญกัป
    สารกัปมี 1องค์ - พระสิทธัตถะพุทธเจ้า (เป็นมังคะฤาษี)
    อายุไขย 100,000 พรรษา
    2 มหากัป - เป็นสูญกัป
    มัณฑกัป - พระดิสสะพุทธเจ้า (เป็นพระเจ้าสุชาตะมหาราชดาบส)
    อายุไขย 100,000 พรรษา
    พุทธเจ้า 2 องค์ - พระมหาปุสสะพุทธเจ้า (เป็นพระเจ้าวิชิตกษัตริย์ได้ออกบวช)
    อายุไขย 90,000 พรรษา
    สารกัปมี 1องค์ - พระวัปัสสีพุทธเจ้า (เป็นภุชงคนาคราช)
    อายุไขย 80,000 พรรษา
    60 มหากัป - เป็นสูญกัป
    มัณฑกัป - พระสิขีพุทธเจ้า (เป็นพระเจ้าอรินทมะราชาธิราช)
    อายุไขย 70,000 พรรษา
    พุทธเจ้า 2 องค์ - พระเวสสภูพุทธเจ้า (เป็นพระเจ้าสุทัสสนะมหาราชได้ออกบวช)
    อายุไขย 60,000 พรรษา (เป็นศรัทธาพุทธเจ้า)
    31 มาหากัป - เป็นสูญกัป ภัทรกัป(ปัจจุบัน) - พระกกุสันธะพุทธเจ้า(เป็นพระเจ้าเขมะนราธิราชได้ออกบวช)
    อายุไขยมนุษย์สมัยนั้น 40,000 ปี ศรัทธาพุทธเจ้า
    พุทธเจ้า 5 องค์ - พระโกนาคมมะพุทธเจ้า(เป็นพระเจ้าบรรพตบรมขัตติยาภิกษุ)
    อายุไขยมนุษย์สมัยนั้น 30,000 ปี ศรัทธาพุทธเจ้า
    - พระกัสสปะพุทธเจ้า (เป็นโซติปาลมาณพได้ออกบรรพชา)
    อายุไขยมนุษย์สมัยนั้น 20,000 ปี ศรัทธาพุทธเจ้า
    - พระศรีศากยมุนีโคดมพุทธเจ้า (เป็นพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน)
    อายุไขยมนุษย์ 100 ปี ศาสนาตั้งอยู่ในโลก 5,000 ปี
    - พระศรีอริยเมตไตรพุทธเจ้า(เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคตในกัปนี้)
    อายุไขยมนุษย์สมัยนั้น 80,000 ปี วิริยะพุทธเจ้า

    ถ้ากล่าวถึงบารมีตอนปลาย 4 อสงไขยกับเศษแสนมหากัปนั้นพระโพธิสัตว์พบพระพุทธเจ้าเพียง 27 พระองค์เท่านั้น น้อยกว่าบารมีตอนต้นและตอนกลางมาก ที่พระโพธิสัตว์พบพระพุทธเจ้าถึง ห้าแสนหนึ่งหมื่นสองพันพระองค์ (512,003) สามารถแยกบารมีตอนปลายได้ 2 ช่วงที่ได้พบพระพุทธเจ้า

    1 ในระยะเวลา 4 อสงไขย เมื่อได้รับพุทธพยากรณ์ ได้ทรงพบพระพุทธเจ้า 12 พระองค์
    2. ในระยะเวลาหนึ่งแสนมหากัปนั้น ได้ทรงพบพระพุทธเจ้า 15 พระองค์

    หมายเหตุ หลังสิ้นสมัยของพระศรีอริยเมตไตรพุทธเจ้าไปแล้ว อาจจะว่างจากพระพุทธเจ้าอีกนานเพราะเมื่อได้มีพระพุทธเจ้า บังเกิดขึ้น ติดต่อกัน หลังจากนั้นไปอีกก็จะว่างจากการบังเกิดพระพุทธเจ้าไปอีกนานแสนนาน อ้างอิงได้จากช่วง 4 อสงไขยกับ เศษแสนมหากับที่ผ่านมา เมื่อมีพระพุทธเจ้าเกิดขึ้นในกัปใดติดต่อกัน 3 หรือ 4 พระองค์ หลังจากนั้นจะเป็นสูญกัปไปอีกนานแสนนาน ซึ่งในกัปนี้มีพระพุทธเจ้าถึง 5 พระองค์ และในช่วง 100 มหากัปที่ผ่านมาถึงกัปปัจจุบัน มีพระพูทธเจ้า ถึง 11 พระองค์ ร่วมทั้งพระศรี อริยะเมตตรัยพุทธเจ้า ซึ่งกล่าวได้ว่าเป็นช่วงที่มีพระพุทธเจ้าบังเกิดขึ้นมากที่สุด ของระยะเวลา 4 อสงไขยกับเศษแสนมหากัปที่ผ่านมา และจากการวิเคราะห์ หลังจากสิ้นสมัยพระศรีศากยมุนีโคดมพุทธเจ้า(ปัจจุบัน)ไปแล้ว ซึ่งเป็นประเภทปัญญาพุทธเจ้า แล้วจะบังเกิดปัญญา พุทธะอีกสักพระองค์ในอนาคตเบื่องหน้า ต้องรอเวลาอย่างน้อยที่สุดหนึ่งอสงขัยกัป และต้องเป็นพระโพธิสัตว์ประเภทปัญญาที่ได้รับ พุทธพยากรณ์ครังแรก ในสมัยพระโกณฑัญญะพุทธเจ้าเท่านั้น ดังนั้นหลังจากปัจจุบันนี้จนถึงหนึ่งอสงขัยกัปเบื้องหน้า ก็จะมีแต่พระพุทธเจ้าประเภทศรัทธาและวิริยะพุทธเจ้าบังเกิดขึ้นเท่านั้น ในอสงขัยนี้เพิ่งเริ่มต้นแสนมหากัปก็บังเกิดมีพระพุทธเจ้า เกิดขึ้น 16 พระองค์แล้ว ดังนั้นในอสงขัยนี้อาจจะมีพระพุทธเจ้าบังเกิดขึ้นเป็นร้อยเป็นพันพระองค์ก็คงเป็นไปได้ เพราะช่วง 4 อสงขัยที่ผ่านมามีพระพุทธเจ้าเกิดขึ้นน้อยมากเพียง 15 (รวม พระ ตัณหังกร เมธังกร สรนังกร พุทธเจ้า) พระองค์เท่านั้น ซึ่งจะเห็นว่าเมื่อเทียบระยะเวลาแล้วหนึ่ง อสงขัยเท่ากับจำนวนกัป ที่มากมายจนนับไม่ได้ แต่บังเกิดมีพระพุทธเจ้าเพียงหนึ่งหรือเป็นหมื่นพระองค์เท่านั้น ดังนั้นการที่จะบังเกิดมีพระพุทธเจ้าสักพระองค์นั้น เป็นสิ่งที่ยากแสนยากเป็นหนักหนา แต่ไม่ใช่ว่าจะไม่มีพุทธเจ้าอีกเลย เพราะในเมื่อธรรมชาตินั้นมีวัฏฏสงสารอันเป็นทุกข์ ก็ย่อมมีผู้ที่เพียร ที่จะหลุดพ้นจากทุกข์นั้นจนได้ ก็คือพระอริยะเจ้าทั้งหลายมีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน
     
  4. CharnK

    CharnK เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    444
    ค่าพลัง:
    +1,453
    ขอนอบน้อมต่อสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกพระองค์ ซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงบำเพ็ญบารมีจนครบเพื่อโปรดสัตว์โลก ขอให้ในอนาคตกาลข้างหน้านี้มีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอุบัติขึ้นในทุก ๆ กัปป์
     
  5. LungKO

    LungKO เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    590
    ค่าพลัง:
    +925

    ข้าน้อยเกิดมา 45 ปี ก็เป็นทุกข์ทรมารมากเพียงพอแล้ว (ขนาดมีพระพุทธเจ้ามาทรงสั่งสอนนะเนี่ย ถ้าเกิดในช่วงที่ไม่มีพระองค์มาสอน จะทุกข์ขนาดไหน...โอ....ยอมแล้ว....ยอมแล้ว...รีบปฏิบัติตามที่พระองค์ทรงสอน รีบรรลุธรรม ไปดีกว่า....

    นี่เป็นข้อมูลเพื่อการศึกษา เรื่องการนับเป็นอสงไขย เท่านั้น ขอให้ท่านผู้รู้จริงทุกท่าน แก้ไขให้ถูกต้องด้วยเถิด ครับผม
    <!--[if gte mso 9]><xml> <o:OfficeDocumentSettings> <o:AllowPNG/> </o:OfficeDocumentSettings> </xml><![endif]--><!--[if gte mso 9]><xml> <w:WordDocument> <w:View>Normal</w:View> <w:Zoom>0</w:Zoom> <w:TrackMoves/> <w:TrackFormatting/> <w:punctuationKerning/> <w:ValidateAgainstSchemas/> <w:SaveIfXMLInvalid>false</w:SaveIfXMLInvalid> <w:IgnoreMixedContent>false</w:IgnoreMixedContent> <w:AlwaysShowPlaceholderText>false</w:AlwaysShowPlaceholderText> <w:DoNotPromoteQF/> <w:LidThemeOther>EN-US</w:LidThemeOther> <w:LidThemeAsian>X-NONE</w:LidThemeAsian> <w:LidThemeComplexScript>TH</w:LidThemeComplexScript> <w:Compatibility> <w:BreakWrappedTables/> <w:SnapToGridInCell/> <w:ApplyBreakingRules/> <w:WrapTextWithPunct/> <w:UseAsianBreakRules/> <w:DontGrowAutofit/> <w:SplitPgBreakAndParaMark/> <w:EnableOpenTypeKerning/> <w:DontFlipMirrorIndents/> <w:OverrideTableStyleHps/> </w:Compatibility> <m:mathPr> <m:mathFont m:val="Cambria Math"/> <m:brkBin m:val="before"/> <m:brkBinSub m:val="--"/> <m:smallFrac m:val="off"/> <m:dispDef/> <m:lMargin m:val="0"/> <m:rMargin m:val="0"/> <m:defJc m:val="centerGroup"/> <m:wrapIndent m:val="1440"/> <m:intLim m:val="subSup"/> <m:naryLim m:val="undOvr"/> </m:mathPr></w:WordDocument> </xml><![endif]--><!--[if gte mso 9]><xml> <w:LatentStyles DefLockedState="false" DefUnhideWhenUsed="true" DefSemiHidden="true" DefQFormat="false" DefPriority="99" LatentStyleCount="267"> <w:LsdException Locked="false" Priority="0" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Normal"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="9" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="heading 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="9" QFormat="true" Name="heading 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="9" QFormat="true" Name="heading 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="9" QFormat="true" Name="heading 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="9" QFormat="true" Name="heading 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="9" QFormat="true" Name="heading 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="9" QFormat="true" Name="heading 7"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="9" QFormat="true" Name="heading 8"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="9" QFormat="true" Name="heading 9"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="39" Name="toc 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="39" Name="toc 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="39" Name="toc 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="39" Name="toc 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="39" Name="toc 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="39" Name="toc 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="39" Name="toc 7"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="39" Name="toc 8"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="39" Name="toc 9"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="35" QFormat="true" Name="caption"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="10" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Title"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="1" Name="Default Paragraph Font"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="11" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Subtitle"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="22" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Strong"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="20" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Emphasis"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="59" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Table Grid"/> <w:LsdException Locked="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Placeholder Text"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="1" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="No Spacing"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="60" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Shading"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="61" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light List"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="62" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Grid"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="63" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="64" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="65" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="66" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="67" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="68" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="69" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="70" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Dark List"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="71" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Shading"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="72" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful List"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="73" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Grid"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="60" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Shading Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="61" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light List Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="62" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Grid Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="63" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 1 Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="64" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 2 Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="65" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 1 Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Revision"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="34" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="List Paragraph"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="29" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Quote"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="30" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Intense Quote"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="66" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 2 Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="67" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 1 Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="68" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 2 Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="69" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 3 Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="70" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Dark List Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="71" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Shading Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="72" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful List Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="73" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Grid Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="60" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Shading Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="61" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light List Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="62" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Grid Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="63" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 1 Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="64" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 2 Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="65" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 1 Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="66" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 2 Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="67" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 1 Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="68" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 2 Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="69" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 3 Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="70" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Dark List Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="71" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Shading Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="72" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful List Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="73" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Grid Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="60" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Shading Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="61" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light List Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="62" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Grid Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="63" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 1 Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="64" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 2 Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="65" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 1 Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="66" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 2 Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="67" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 1 Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="68" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 2 Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="69" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 3 Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="70" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Dark List Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="71" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Shading Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="72" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful List Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="73" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Grid Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="60" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Shading Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="61" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light List Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="62" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Grid Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="63" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 1 Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="64" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 2 Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="65" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 1 Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="66" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 2 Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="67" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 1 Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="68" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 2 Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="69" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 3 Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="70" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Dark List Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="71" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Shading Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="72" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful List Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="73" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Grid Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="60" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Shading Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="61" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light List Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="62" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Grid Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="63" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 1 Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="64" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 2 Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="65" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 1 Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="66" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 2 Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="67" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 1 Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="68" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 2 Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="69" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 3 Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="70" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Dark List Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="71" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Shading Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="72" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful List Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="73" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Grid Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="60" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Shading Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="61" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light List Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="62" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Grid Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="63" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 1 Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="64" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 2 Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="65" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 1 Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="66" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 2 Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="67" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 1 Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="68" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 2 Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="69" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 3 Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="70" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Dark List Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="71" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Shading Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="72" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful List Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="73" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Grid Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="19" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Subtle Emphasis"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="21" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Intense Emphasis"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="31" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Subtle Reference"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="32" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Intense Reference"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="33" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Book Title"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="37" Name="Bibliography"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="39" QFormat="true" Name="TOC Heading"/> </w:LatentStyles> </xml><![endif]--><!--[if gte mso 10]> <style> /* Style Definitions */ table.MsoNormalTable {mso-style-name:"Table Normal"; mso-tstyle-rowband-size:0; mso-tstyle-colband-size:0; mso-style-noshow:yes; mso-style-priority:99; mso-style-parent:""; mso-padding-alt:0in 5.4pt 0in 5.4pt; mso-para-margin-top:0in; mso-para-margin-right:0in; mso-para-margin-bottom:10.0pt; mso-para-margin-left:0in; line-height:115%; mso-pagination:widow-orphan; font-size:11.0pt; mso-bidi-font-size:14.0pt; font-family:"Calibri","sans-serif"; mso-ascii-font-family:Calibri; mso-ascii-theme-font:minor-latin; mso-hansi-font-family:Calibri; mso-hansi-theme-font:minor-latin; mso-bidi-font-family:"Cordia New"; mso-bidi-theme-font:minor-bidi;} </style> <![endif]--> [FONT=&quot]อสงไขย ค่า [/FONT][FONT=&quot]ชื่อภาษาอังกฤษ[/FONT]
    (Short scale)
    [FONT=&quot]สิบ [/FONT]10^1 =10x1=10 =Ten
    [FONT=&quot]ร้อย [/FONT]10^2 =10X10 =Hundred
    [FONT=&quot]พัน [/FONT]10^3 =10X100 =Thousand
    [FONT=&quot]หมื่น [/FONT]10^4 =10X1000=Ten thousands
    [FONT=&quot]แสน [/FONT]10^5 =10X10,000=Hundred thousands
    [FONT=&quot]โกฏิ [/FONT]10^7 =10X10,000,000=Ten millions
    [FONT=&quot]ปโกฏิ [/FONT]10^14 =10X100,000,000,000,000=Hundred trillion
    [FONT=&quot]โกฏิปโกฏิ [/FONT]10^21 =10X1,000,000,000,000,000,000,000=Sextillion
    [FONT=&quot]นหุต [/FONT]10^28 =10X10000000000000000000000000000=Ten octillion
    [FONT=&quot]นินนหุต [/FONT]10^35 =10X100,000,000,000,000,000,000,000,000,000,000,000=Hundred Decillion
    [FONT=&quot]อักโขเภนี [/FONT]10^42=10X1,000,000,000,000,000,000,000,000,000,000,000,000,000,000=Tredecillion
    [FONT=&quot]พินทุ [/FONT]10^49 Ten Quindecillion
    [FONT=&quot]อพุทะ [/FONT]10^56 Hundred Septendecillion
    [FONT=&quot]นิระพุทะ [/FONT]10^63Vigintillion
    [FONT=&quot]อหหะ [/FONT]10^70 How to say in English ภาษาอังกฤษเรียกว่าอย่างไร
    [FONT=&quot]อพพะ [/FONT]10^77 “ [FONT=&quot]อฏฏะ [/FONT]10^84 “[FONT=&quot]โสคันธิกะ [/FONT]10^91 “
    [FONT=&quot]อุปละ [/FONT]10^98 “[FONT=&quot]กมุทะ [/FONT]10^105 “[FONT=&quot]ปทุมะ [/FONT]10^112 “[FONT=&quot] ปุณฑริกะ [/FONT]10^119 “
    [FONT=&quot]อกถาน [/FONT]10^126 “[FONT=&quot]มหากถาน [/FONT]10^133 =10x1 and 0 number 133 times “
    [FONT=&quot]อสงไขย [/FONT]10^140=10X1 0000000000 0000000000 0000000000 0000000000 0000000000
    0000000000 0000000000 0000000000 0000000000 0000000000
    0000000000 0000000000 0000000000 0,000,000,000 =14[FONT=&quot]พันล้านปี[/FONT]/[FONT=&quot]อัน[/FONT][FONT=&quot] หรือ [/FONT]1 [FONT=&quot]หมื่น [/FONT]4[FONT=&quot] พันล้าน ครั้งหรือปี[/FONT]/[FONT=&quot]อัน[/FONT]
    4[FONT=&quot]อสงไขย [/FONT][FONT=&quot]10[/FONT]^560=10x1[FONT=&quot]เลข [/FONT]0 [FONT=&quot]อีกจำนวน[/FONT]560 [FONT=&quot]ตัว[/FONT] How to say in English
    = 14 [FONT=&quot]พันล้าน [/FONT]หรือพันล้าน14[FONT=&quot]ครั้ง [/FONT] [FONT=&quot]หรือ [/FONT]1[FONT=&quot] หมื่น [/FONT]4[FONT=&quot]พันล้าน [/FONT]x560 [FONT=&quot]ครั้ง [/FONT]=7,840,000 [FONT=&quot]ล้าน และอีก560ล้านครั้งหรือปี[/FONT]หรือ[FONT=&quot]อัน[/FONT][FONT=&quot] หรือมากกว่านั้น
    (อันนี้ต้องให้ผู้เก่งวิชาเลขคณิต คำนวนแล้วตอบดีกว่า
    เพราะข้าน้อยตกวิชาเลข เอกวิชาลอกครับผม)
    [/FONT]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 29 มกราคม 2012
  6. Wisdom

    Wisdom ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    1,669
    กระทู้เรื่องเด่น:
    11
    ค่าพลัง:
    +26,542
  7. AVATAAR

    AVATAAR เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    276
    ค่าพลัง:
    +603



    กระทู้นี้ผมมีความคิดเห็นใน2ประเด็น

    1.พระพุทธเจ้าทุกองค์รูปร่างหน้าตาเหมือนกันหรือไม่

    ในทัศนะของผม ผมว่าไม่เหมือนกัน เรื่องรูปร่างแตกต่างกันโดยสิ้นเชิงจากที่เรารู้จากพระไตรปิฎก
    พระพุทธเจ้าสมณะโคดมสูง 4 ศอก พระศรีอารยเมตตรัยพระพุทธเจ้าสูง 88 ศอก
    หน้าตาหรือพระพักตร์ก็ไม่เหมือนกันพอให้เห็นเปรียบเทียบได้บ้างตามโลกสมมุติปัจจุบัน
    ยกตัวอย่างเช่นพระพุทธชินราช,พระพุทธโสธร,พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรฯพระพักตร์ไม่เหมือนกันเป็นคนละแบบคนละสไตล์


    2. เรื่อง อสงไขยปี,รอบอสงไขย,อสงไขยกัป สามารถเปรียบเทียบได้ แต่พอพูดถึง อสงไขย กับเปรียบเทียบว่ามากนับจำนวนไม่ได้ ซึ่งขัดแย้งกันเองกับที่กล่าวมา

    ข้อสังเกตคืออสงไขยนั้นต้องเปรียบเทียบได้และมีจุดสิ้นสุด
    ถ้าไม่มีจุดสิ้นสุดหรือเป็นอนันต์ก็จะไม่มีการอุบัติของพระพุทธเจ้าแต่ละพระองค์ได้เลย

    ฝากไว้ให้พิจารณากันครับ


    .
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 มกราคม 2012
  8. Wisdom

    Wisdom ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    1,669
    กระทู้เรื่องเด่น:
    11
    ค่าพลัง:
    +26,542
    มหาปุริสลักษณะ 32 ประการ

    มหาปุริสลักษณะ 32 ประการ

    มหาปุริสลักษณะ คือลักษณะของผู้เป็นมหาบุรุษ 32 ประการ โดยลักษณะทั้ง 32 ประการนี้เกิดจากการสังสมบุญบารมีมาหลายภพหลายชาติ ซึ่งพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ท่านก็มีพระมหาปุริสลักษณะ ครบทั้ง 32 ประการนี้เช่นกัน โดยพระพุทธเจ้า ได้กล่าวไว้ว่า หากใครมีมหาปุริสลักษณะ ครบทั้ง 32 ประการย่อมมีคติเป็นสองอย่างคือ ถ้าเป็นฆราวาสย่อมเป็นจักรพรรดิ ผู้ทรงธรรม มีแว่นแคว้นจดมหาสมุทรทั้งสี่ สมบูรณ์ด้วยแก้ว 7 ประการคือ จักรแก้ว ช้างแก้ว ม้าแก้ว แก้วมณี นางแก้ว คหบดีแก้ว ปรินายกแก้ว แต่ถ้าหากออกบวชย่อมได้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า


    1. มหาบุรุษ มีพื้นเท้าสม่ำเสมอ
    2. มหาบุรุษ ที่ฝ่าเท้ามีจักรเกิดแล้ว, มีซี่ตั้งพัน พร้อมทั้งกงและดุม
    3. มหาบุรุษ มีส้นเท้ายาว
    4. มหาบุรุษ มีข้อนิ้วยาว
    5. มหาบุรุษ มีฝ้ามือฝ้าเท้าอ่อนละมุน
    6. มหาบุรุษ มีลายฝ้ามือฝ้าเท้าดุจตาข่าย
    7. มหาบุรุษ มีข้อเท้าอยู่สูง
    8. มหาบุรุษ มีแข้งดุจแข้งเนื้อทราย
    9. มหาบุรุษ ยืนไม่ย่อตัวลง แตะเข่าได้ด้วยมือทั้งสอง
    10. มหาบุรุษ มีองคชาตตั้งอยู่ในฝัก
    11. มหาบุรุษ มีสีกายดุจทอง คือมีผิวหนังดุจทอง
    12. มหาบุรุษ มีผิวละเอียด ละอองจับไม่ได้
    13. มหาบุรุษ มีขนขุมละเส้น เส้นหนึ่งๆ อยู่ขุมหนึ่งๆ
    14. มหาบุรุษ มีปลายขนช้อนขึ้น สีดุจดอกอัญชัน ขึ้นเวียนขวา
    15. มหาบุรุษ มีกายตรงดุจกายพรหม
    16. มหาบุรุษ มีเนื้อนูนหน้าในที่ 7 แห่ง (คือหลังมือหลังเท้าคอบ่า)
    17. มหาบุรุษ มีกายข้างหน้า ดุจราชสีห์
    18. มหาบุรุษ มีหลังเต็ม (ไม่มีร่องหลัง)
    19. มหาบุรุษ มีทรวจทรงดุจต้นไทร กายกับวาเท่ากัน
    20. มหาบุรุษ มีคอกลมเกลี้ยง
    21. มหาบุรุษ มีประสาทรับรสอันเลิศ
    22. มหาบุรุษ มีคางดุจราชสีห์
    23. มหาบุรุษ มีฟัน 40 ซี่บริบูรณ์
    24. มหาบุรุษ มีฟันเรียบเสมอ
    25. มหาบุรุษ มีฟันสนิท (ชิดกัน)
    26. มหาบุรุษ มีเขี้ยวสีขาวงาม
    27. มหาบุรุษ มีลิ้น (ใหญ่และยาว) เพียงพอ
    28. มหาบุรุษ มีเสียงดุจเสียงพรหม พูดเหมือนนกการวิก
    29. มหาบุรุษ มีตาเขียวนิท
    30. มหาบุรุษ มีตาดุจตาวัว
    31. มหาบุรุษ มีอุนาโลมหว่างคิ้ว ขาวอ่อนเหมือนสำลี
    32. มหาบุรุษ มีศรีษระรับกับกรอบหน้า

    พระมหาปุริสลักษณะ

    หมายถึง ลักษณะ ๓๒ ประการของมหาบุรุษผู้ยิ่งใหญ่ ซึ่งจะมีคติเป็น ๒ เท่านั้นคือ

    ๑. ถ้าครองเรือน จะได้เป็นพระมหาจักรพรรดิ์ผู้ทรงธรรม เป็นธรรมราชา มีอาณาจักรกว้างใหญ่ไพศาลจรดมหาสมุทรทั้ง ๔ มั่นคง ทรงชนะมาด้วยความชอบธรรม มิต้องใช้อาชญา
    มีรัตนะ ๗ ประการ คือ จักรแก้ว ช้างแก้ว ม้าแก้ว แก้วมณี นางแก้ว คฤหบดีแก้ว ปริณายกแก้ว มีราชบุตรกว่าหนึ่งพัน ล้วนกล้าหาญ รูปทรงสง่างามสมเป็นวีรกษัตริย์ มีความเกษมสำราญ มิมีเสี้ยนหนาม

    ๒. ถ้าออกบวชเป็นบรรพชิต จะได้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า มีหลังคาคือกิเลส เปิดแล้วในโลก (ตรัสรู้สัจธรรม รู้เท่าทันและละออกจากกิเลส ซึ่งปกปิดความจริงในสัตว์โลก ขันธโลก และสังขารโลก)

    เหตุแห่งการแสดงธรรมเรื่องพระมหาปุริสลักษณะ

    ในกรุงสาวัตถี พระอานนท์ออกบิณฑบาตในหมู่บ้าน ได้ยินการสนทนาของชาวบ้านว่า พระวรกายของพระผู้มีพระภาคเจ้าสมบูรณ์ด้วยอนุพยัญชนะ (ลักษณะรายละเอียด) ๘๐ ประการ มหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการ มีพระรัศมี ๖ สี แผ่ออกจากพระวรกายวาหนึ่ง

    ไม่ทราบว่า ลักษณะอย่างนี้เกิดขึ้นด้วยบุพพกรรมใด พระอานนท์ทำภัตตกิจเสร็จแล้วกลับสู่พระเชตวันวิหาร กระทำวัตรปฏิบัติแด่พระศาสดาแล้ว ได้กราบทูลเรื่องที่ได้ยินมา พระศาสดาตรัสเรียกภิกษุ ทั้งหลายที่นั่งแวดล้อมอยู่ และแสดงลักษณะทั้งหลาย พร้อมทั้งบุพพกรรมที่มีมา

    พระมหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการ

    ๑. พระบาทประดิษฐานเป็นอันดี – สุปะติฎฐิตะปาโท - เมื่อทรงเหยียบพระบาท ทรงจรดพื้นด้วยฝ่าพระบาททุกส่วนเสมอกัน เมื่อทรงยกพระบาทขึ้นก็เสมอกัน

    ผลในชาติปัจจุบัน พระพุทธองค์ทรงไม่มีข้าศึกศัตรูภายใน คือ ราคะ โทสะ โมหะ ข้าศึกศัตรูภายนอก คือ สมณพราหมณ์ เทวดา มาร พรหม ใครๆ ในโลกนี้จะข่มได้
    บุพพกรรมในภพชาติก่อน พระพุทธองค์ทรงยึดมั่นในกุศลอย่างมั่นคง ประพฤติกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต บำเพ็ญทาน สมาทานศีล เบญจศีล อุโบสถศีล ปฏิบัติดีต่อบิดา มารดา สมณพราหมณ์ เคารพผู้ใหญ่ในตระกูล เคารพในธรรมที่สูงขึ้นไป

    ๒. ใต้พระบาททั้งสองมีลายธรรมจักร มงคล ๑๐๘ ประการ - เหฎฐา ปาทะตะเลสุ จักกานิ

    ผลในชาตินี้ พระพุทธองค์ทรงมีบริวารมาก มีบริวารเป็นภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา เทวดา มนุษย์ อสูร นาค คนธรรพ์ นก สัตว์สี่เท้าที่มียศมาก แวดล้อมพระองค์ไม่มีใครยิ่งกว่า
    บุพพกรรมในภพชาติก่อน พระพุทธองค์ ได้นำความสุขมาให้แก่ชนเป็นอันมาก บรรเทาความหวาดกลัว จัดการรักษา คุ้มครอง ป้องกันอย่างเป็นธรรม ให้ทานด้วยสิ่งของต่าง ๆ

    ๓. ส้นพระบาทยาว – อายะตะปัณหิ – พระบาทแบ่งออกเป็นสี่ส่วน ปลายพระบาทสองส่วน ลำพระชงฆ์ (แข้ง) ตั้งในส่วนที่สาม เหลือส้นพระบาทอีกหนึ่งส่วน และส้นพระบาทนั้นสีแดงงาม
    ๔. นิ้วพระหัตถ์ นิ้วพระบาทยาวเรียว กลมงาม – ทีฆังคุลี
    ๕. พระวรกายตั้งตรงดังกายท้าวมหาพรหม – พรหมุชุ คัตโต – ไม่น้อมไปข้างหน้า หรือหงายไปข้างหลัง

    ผลในชาตินี้ พระพุทธองค์มีพระชนมายุยืน ไม่มีผู้ใดปลงพระชนมชีพได้
    บุพพกรรมในภพชาติก่อน พระพุทธองค์ทรงเว้นปาณาติบาต มิได้เหยียบสัตว์ให้ตายด้วยความประมาท มิได้ประหารสัตว์ให้ตายด้วยพระหัตถ์ มีความละอาย มีความกรุณา มีความปรารถนาดีแก่สัตว์ทั้งปวง

    ๖. พระมังสะ (เนื้อ) อูมในที่ ๗ แห่ง - สัตตุสสะโท – ได้แก่ หลังพระหัตถ์ทั้งสอง หลังพระบาททั้งสอง พระอังสา (บ่า) ทั้งสอง ลำพระศอ (คอ) มิได้เห็นเส้นปรากฏออกมาภายนอก

    ผลในชาตินี้ พระพุทธองค์ได้ของที่ควรเคี้ยว ควรบริโภค ควรลิ้ม น้ำที่ควรดื่ม อันประณีต มีรสอร่อย
    บุพพกรรม ในภพชาติก่อน พระพุทธองค์ทรงให้ของที่ควรเคี้ยว ของที่ควรบริโภค ของที่ควรลิ้ม น้ำที่ควรดื่ม อันประณีต มีรสอร่อย เป็นจำนวนมาก

    ๗. ฝ่าพระหัตถ์ ฝ่าพระบาทอ่อนนุ่ม – มุทุตะละนะหัตถะปาโท
    ๘. ฝ่าพระหัตถ์ ฝ่าพระบาทมีลายดังตาข่าย – ชาละหัตถะปาโท – นิ้วพระหัตถ์ทั้งสี่ เว้น พระอังคุฎฐะ (นิ้วหัวแม่มือ) นิ้วพระบาททั้งห้าเสมอกัน ชิดสนิทดี

    ผลในชาตินี้ พระพุทธองค์ทรงมีบริวารที่พระองค์สงเคาระห์เป็นอย่างดี ผูกใจบริวารได้เป็นอย่างดีโดยการสงเคราะห์ในบุพชาติ (กรรม) และในปัจจุบัน (อุปนิสัย) เป็นที่รักของบริวาร
    บุพพกรรมในภพชาติก่อน พระพุทธองค์ทรงสงเคราะห์ชนด้วยสังคหวัตถุ ๔ ได้แก่ ทาน (การให้) ปิยวาจา (วาจาไพเราะ) อัตถจริยา (บำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์) สมานัตตา (วางตนเหมาะสม)

    ๙. หลังพระบาทนูนดุจสังข์คว่ำ - อุสสังขะปาโท - และข้อพระบาทกลอกกลับผันแปรอย่างคล่องขณะย่างพระบาท
    ๑๐. พระโลมา (ขน) มีสีดำสนิท ขดเป็นทักษิณาวัฎ (เวียนขวา) ๓ รอบและมีปลายช้อนขึ้น

    ผลในชาตินี้ พระพุทธองค์ทรงเป็นผู้เลิศ ผู้ประเสริฐ เป็นประมุขสูงสุดกว่าสัตว์ ทั้งปวง
    บุพพกรรมในภพชาติก่อน พระพุทธองค์ทรงเป็นผู้กล่าววาจาประกอบด้วยอรรถด้วยธรรม แนะนำประชาชนเป็นอันมาก เป็นผู้นำประโยชน์และความสุขให้แก่สัตว์ทั้งหลาย เป็นผู้บูชาธรรมเป็นปกติ

    ๑๑. พระชงฆ์ (แข้ง) เรียวดังแข้งเนื้อทราย กลมกลึงงาม – เอณิชังโฆ

    ผลในชาตินี้ พระพุทธองค์ทรงได้ปัจจัยอันควรแก่สมณะและบริษัท เครื่องสมณูปโภคอันควรแต่สมณะ โดยพลัน
    บุพพกรรมในภพชาติก่อน พระพุทธองค์ทรงเป็นผู้ตั้งใจสอนศิลปะวิทยา จรณะ(ศีล สมาธิ) หรือกรรม (การงาน) ที่ไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนใคร ๆ โดยตั้งใจว่า ทำอย่างไรชนทั้งหลายจะเรียนรู้เร็ว สำเร็จเร็ว ไม่ลำบากนาน

    ๑๒. พระฉวีวรรณ (ผิว) ละเอียด – สุขุมมัจฉวี – ธุลีละอองมิติดต้องพระวรกายได้ มลทินใดมาสัมผัสก็เลื่อนหลุดไปดุจน้ำกลิ้งตกจากใบบัว

    ผลในชาตินี้ พระพุทธองค์ทรงมีพระปรีชามาก กว้างขวาง ว่องไว เฉียบแหลม ทำลายกิเลส ปัญญาเหนือกว่าสัตว์ทั้งหลาย บรรลุโพธิญาณ
    บุพพกรรมในภพชาติก่อน พระพุทธองค์ทรงเข้าหาสมณพราหมณ์ สอบถามธรรม ตั้งใจฟัง ทำความเข้าใจ ไตร่ตรอง เพื่อความเจริญทางปัญญา

    ๑๓. พระฉวีวรรณ (ผิว) เหลืองงามดังทองคำ – สุวัณณะวัณโณ

    ผลในชาตินี้ พระพุทธองค์ทรงได้เครื่องลาด ผ้านุ่งห่มอย่างดี เนื้อละเอียด
    บุพพกรรมในภพชาติก่อน พระพุทธองค์ทรงอธิษฐานความไม่โกรธ และให้ทานเป็นผ้าเนื้อละเอียด จำนวนมาก

    ๑๔. พระคุยหะเร้นอยู่ในฝัก – โกโสหิตะวัตถะคุโยหะ – องค์กำเนิดเพศชายหดเร้นเข้าข้างใน

    ผลในชาตินี้ พระพุทธองค์ทรงมีพระโอรสมาก หมายถึง พุทธบุตร สาวกผู้ดำเนินตามพุทธพจน์ จำนวนหลายพัน
    บุพพกรรมในภพชาติก่อน พระพุทธองค์ทรงเป็นผู้นำญาติมิตรที่สูญหาย พลัดพรากไปนานมาพบกัน แล้วทรงมีความชื่นชม

    ๑๕. พระวรกายสง่างาม สมบูรณ์ สมส่วน ดังปริมณฑลแห่งต้นนิโครธ (ต้นไทร) - นิโครธปริมัณฑโล ความสูงของพระวรกายเท่ากับวาของพระองค์
    ๑๖. พระกรยาวจนใช้พระหัตถ์ลูบพระชานู (เข่า) โดยไม่ต้องน้อมพระวรกาย – ปาณิตะเลหิ ชันนุกานิ ปริมะสะติ

    ผลในชาตินี้ พระพุทธองค์ทรงเป็นผู้มั่งคั่งมาก มีทรัพย์สมบัติมาก ก็คือ ศรัทธา ศีล หิริโอตตัปปะ สุตะ จาคะ ปัญญา
    บุพพกรรมในภพชาติก่อน พระพุทธองค์ทรงเป็นผู้ฉลาดในการพิจารณาบุคคลที่ควรสงเคราะห์ ควรยกย่อง ควรเลื่อมใส และการกระทำการสงเคราะห์ การยกย่อง การเลื่อมใส

    ๑๗. พระวรกายส่วนหน้าล่ำพีบริบูรณ์ สง่างามดุจราชสีห์ – สีหะปุพพะทะธะกาโย
    ๑๘. พระปฤษฎางค์ (หลัง) เต็ม – ปิตตันตะรังโส – ตั้งแต่บั้นพระองค์ (เอว) ขึ้นไปถึงต้นพระศอ (คอ) พื้นพระมังสะ (เนื้อ) ปิดพระปฤษฎางค์เป็นอันดี มิได้เห็นข้อพระอัฐิท่ามกลางพระขนอง (ข้อกระดูกสันหลัง) ปรากฏออกมาภายนอก
    ๑๙. พระศอกลมเสมอกัน – สะมะวัฎฎักขันโธ

    ผลในชาตินี้ พระพุทธองค์ทรงไม่เสื่อมจากอริยทรัพย์ ๕ ประการ ได้แก่ ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา และสมบัติทั้งปวง
    บุพพกรรมในภพชาติก่อน พระพุทธองค์ทรงหวังประโยชน์เกื้อกูล ความสุขเกษมจากโยคะ (กิเลส) แก่มหาชนด้วยคิดว่า ทำอย่างไรชนทั้งหลายพึงเจริญด้วย (คุณธรรม) ศรัทธา ศีล สุตะ พุทธิ จาคะ ธรรมะ ปัญญา พึงเจริญด้วย (เศรษฐกิจและสังคม) ทรัพย์ ข้าว นา สวน สัตว์เลี้ยง บุตรภรรยา ทาสกรรมกร ญาติ มิตร พวกพ้อง

    ๒๐. มีเส้นประสาทสำหรับนำรสอาหารดีเลิศ - ระสัคคะสัคคี - มีเส้นประสาทปลายข้างบนประชุมอยู่ที่พระศอสำหรับนำรสอาหารแผ่ซ่านสม่ำเสมอไปทั่วพระวรกาย

    ผลในชาตินี้ พระพุทธองค์ทรงมีโรคาพาธน้อย มีความลำบากน้อย สมบูรณ์ด้วยเตโชธาตุทำให้ย่อยอาหารได้ดี เหมาะแก่การบำเพ็ญเพียร ปฏิบัติธรรม
    บุพพกรรมในภพชาติก่อน พระพุทธองค์ทรงเป็นผู้ไม่เบียดเบียนสัตว์ทั้งหลาย ไม่ว่าด้วยมือ ก้อนหิน ไม้ หรืออาวุธ ฆ่าเองหรือบังคับให้ผู้อื่นฆ่า หรือทำให้สัตว์ทั้งหลายหวาดกลัว

    ๒๑. พระเนตรดำสนิท – อะภินีละเนตโต - มีการเห็นแจ่มใส
    ๒๒. ดวงพระเนตรสดใสดังตาโค - โคปะขุโม

    ผลในชาตินี้ พระพุทธองค์ทรงเป็นผู้ที่ชนทั้งหลายเห็นแล้วรัก เป็นที่รักใคร่ของภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา เทวดา มนุษย์ อสูร นาค คนธรรพ์ และยังชนเป็นอันมากให้สร่างโศก
    บุพพกรรมในภพชาติก่อน พระพุทธองค์ทอดพระเนตรดูมหาชนด้วยสายพระเนตรเบิกบาน น่ารัก ไม่ถลึงตาดู ไม่ค้อนตาดู

    ๒๓. พระเศียรกลมงาม พระพักตร์มีอุณหิสคือลักษณะเหมือนมีกรอบหน้า - อุณหีสะสีโส

    ผลในชาตินี้ พระพุทธองค์ทรงเป็นที่คล้อยตามแห่งมหาชน
    บุพพกรรมในภพชาติก่อน พระพุทธองค์ทรงเป็นหัวหน้าชนเป็นอันมาก ทรงเป็นผู้นำมหาชนทั้งหลายในการทำกุศลธรรม ด้วยกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ในการบำเพ็ญทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถศีล ปฏิบัติดีต่อบิดามารดา สมณพราหมณ์ เคารพผู้ใหญ่ในตระกูล และทำกุศลที่ยิ่งอื่น ๆ

    ๒๔. โลมา (ขน) มีขุมละเส้น – เอเกกะโลโม
    ๒๕. มีพระอุณาโลมระหว่างพระโขนง (คิ้ว) สีขาวอ่อนเหมือนปุยฝ้าย – อุณณาโลมา ภมุกันตะเรชาตา

    ผลในชาตินี้ พระพุทธองค์ทรงเป็นที่ประพฤติตามของมหาชน
    บุพพกรรมในภพชาติก่อน พระพุทธองค์ทรงละการพูดเท็จ เว้นขาดจากการพูดเท็จ พูดแต่ความจริง ดำรงคำสัตย์ มีถ้อยคำเป็นหลักฐาน ควรเชื่อถือ ไม่พูดลวงโลก

    ๒๖. พระทนต์มี ๔๐ ซี่ – จัตตาฬีสะทันโต - เบื้องบน ๒๐ ซี่ เบื้องล่าง ๒๐ ซี่เสมอกัน
    ๒๗. พระทนต์มิได้ห่าง สนิทกันดี – อะวิระฬะทันโต

    ผลในชาตินี้ พุทธบริษัทไม่แตกแยกกัน
    บุพพกรรมในภพชาติก่อน พระพุทธองค์ทรงละคำส่อเสียด เว้นขาดจากคำส่อเสียด ไม่พูดให้คนแตกร้าวกัน พูดสมานคนที่แตกร้าวให้สามัคคีกัน ยินดีในความพร้อมเพียงของหมู่ชน

    ๒๘. พระชิวหาอ่อน กว้าง ยาวกว่าชนทั้งปวง – ปหูตะชิโวห
    ๒๙. พระสุรเสียงไพเราะดุจเสียงท้าวมหาพรหม กระแสเสียงดุจเสียงนกการเวก – พรหมัสสะโร กะระวิกะภาณี

    ผลในชาตินี้ พระพุทธองค์ทรงมีพระวาจาอันมหาชนเชื่อถือ
    บุพพกรรมในภพชาติก่อน พระพุทธองค์ทรงละคำหยาบ เว้นขาดจากคำหยาบ กล่าวแต่คำไม่มีโทษ ไพเราะหู ชวนให้รักจับใจ

    ๓๐. พระหนุ (คาง) ดุจคางราชสีห์ – สีหะหะนุ

    ผลในชาตินี้ พระพุทธองค์ทรงไม่มีข้าศึกภายใน คือ ราคะ โทสะ โมหะ ไม่มีข้าศึกภายนอก ไม่ว่าสมณพราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือ ใครๆ ในโลกกำจัดได้
    บุพพกรรมในภพชาติก่อน พระพุทธองค์ทรงละคำเพ้อเจ้อ เว้นขาดจากคำเพ้อเจ้อ พูดแต่คำจริง ถูกกาละ อิงอรรถ อิงธรรม อิงวินัย มีหลักฐาน มีประโยชน์ในกาลอันควร
    ๓๑. พระทนต์เรียงเรียบเสมอกัน – สะมะทันโต
    ๓๒. พระทาฐะ (เขี้ยว) ทั้ง ๔ ซี่ขาวบริสุทธิ์ รุ่งเรืองด้วยรัศมี – สุสุกกะทาโฐ

    ผลในชาตินี้ พระพุทธองค์ทรงมีบริวารสะอาด คือกำจัดกิเลสซึ่งเป็นมลทินได้แล้ว
    บุพพกรรมในภพชาติก่อน พระพุทธองค์ทรงเลี้ยงชีพด้วยสัมมาอาชีพ ละมิจฉาชีพ ๑๒ อย่างได้แก่ การโกงด้วยตาชั่ง การโกงด้วยของปลอม การโกงด้วยเครื่องตวงวัด การโกงด้วยการรับสินบน การหลอกลวง การตลบตะแลง การตัด การฆ่า การจองจำ การตีชิง การปล้น การกรรโชก
     
  9. AVATAAR

    AVATAAR เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    276
    ค่าพลัง:
    +603



    เราลองพิจารณาเรื่องการหล่อพระพุทธรูปหรือพระพุทธเจ้ากันครับ
    การหล่อหรือการปั้นพระพุทธรูปนั้น พระพุทธรูปองค์ที่เลื่อมใสศรัทธาทั่วประเทศ
    นายช่างที่จะหล่อหรือปั้นพระพุทธรูปนอกจากจะมีฝีมือทางด้านศิลปะชั้นเลิศแล้ว ยังต้องมีความลุ่มลึกหรือแตกฉานในทางพุทธศาสนาประกอบอยู่ด้วย
    เช่นในตำนานทีมนายช่างที่หล่อพระพุทธชินราช นั้นท่านว่าเป็นเหล่าเทพทั้งสิ้น เรื่องมหาปุริสลักษณะ 32 ประการ พวกท่านคงทราบดี
    ปัจจุบันศิลปินแห่งชาติปี2554สาขาศิลปกรรม อ.เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ ที่ท่านวาด,ปั้นและหล่อพระพุทธรูปด้วยสไตล์ของท่าน
    เราคิดว่าท่านทราบและเข้าใจในมหาปุริสลักษณะ 32 ประการหรือไม่ครับ

    ทีนี้เราลองสังเกต พระพุทธชินราช,พระพุทธโสธร,พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร,พระพุทธสิหิงค์ ฯ ซึ่งมีมหาปุริสลักษณะ 32 ประการครบเหมือนกัน

    แต่องค์รวมแล้วนั้นแตกต่างกัน เราจึงแยกออกและเรียกพระนามได้ว่าเป็นพระพุทธรูป(พระพุทธเจ้า)พระองค์ใด

    ถ้าเราจะเอามหาปุริสลักษณะ 32 ประการอย่างเดียว มาเป็นแนวทางในการปั้นการหล่อพระพุทธรูป
    ทำต้นแบบไว้อันเดียวแล้วหล่อเอาแต่แบบนี้ พระพุทธรูปก็จะไม่มีความแตกต่างกันเลย(นอกจากเนื้อโลหะหรือวัตถุที่ใช้)

    แต่ว่ายังมีอีกหลายประการที่ประณีตมาประกอบกันตามแต่บารมี พระพุทธเจ้าแต่ละพระองค์จึงมีรูปร่างหน้าตาแตกต่างกัน แต่ก็อาจคล้ายกันได้ครับ


    .
     
  10. Wisdom

    Wisdom ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    1,669
    กระทู้เรื่องเด่น:
    11
    ค่าพลัง:
    +26,542
    โมทนาครับ พระพุทธเจ้าทุกองค์ หน้าตาคล้ายกันแตกต่างตามบุญบารมี
    ที่ท่านสร้างมา เพราะว่าท่านบุญเยอะ เป็นชาวพุทธย่อมต้องพิจารณา
    ตามหลักเหตุและผล ใช้โยนิโสมนสิการ สมเป็นชาวพุทธ

    ขอโมทนาสาธุครับ
     
  11. deelek

    deelek เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    6,696
    ค่าพลัง:
    +16,255
    ขอนอบน้อมต่อ
    สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกพระองค์
    ซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณ
    ที่ทรงบำเพ็ญบารมี
    จนครบเพื่อโปรดสัตว์โลก <!-- google_ad_section_end -->
    กราบอนุโมทนา
    สาธุ สาธุ สาธุ
    ในบุญกุศลทุกอย่าง
    ของพระพุทธเจ้าทุกพระองค์
    นิพพานัง ปรมัง สุขขัง
    นิพพานัง ปัจจโย โหตุ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 มกราคม 2012
  12. AVATAAR

    AVATAAR เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    276
    ค่าพลัง:
    +603



    ประเด็นสุดท้ายครับ


    เรื่องของหน่วยนับเวลาในพุทธศาสนา กัป,อสงไขย, อันตรกัป, และ มหากัป

    พอเอาไว้ดูเปรียบเทียบกัน รู้ไว้ใช่ว่า ใส่บ่าแบกหาม (Nice to know) ครับ


    1 อสงไขยปี เท่ากับ 1 x 10 ยกกำลัง 140 ปี ( 1 ตามด้วยศูนย์อีก 140 ตัว )

    1 รอบอสงไขย เท่ากับ 1 อันตรกัป
    ใช้วิธีนับอายุลดลงจาก 1x10^140 ปี ลดลง 1 ปี ในทุก 100 ปีต่ำลงมาจนเหลืออายุขัย 10 ปี แล้ว เพิ่มขึ้นไปใหม่จนเท่าเดิมคือ 1x10^140 ปี
    (^ = ยกกำลัง)

    64 อันตรกัป เป็น 1 อสงไขยกัป


    4 อสงไขยกัป เท่ากับ 1 มหากัป


    1 มหากัป มี 256 อันตรกัป (256 รอบอสงไขย )

    1 กัป เท่ากับ 3.3 x 10^24 ปี
    1 กัป ไม่เท่ากับ 1 อันตรกัป




    <HR>
    เรื่องของ กัป จากพระไตรปิฏก ประมาณคำว่า 1 กัป ได้ดังนี้
    สมมุติมีกล่องใบหนึ่ง กว้าง 1 โยชน์ ยาว 1 โยชน์ และ สูง 1 โยชน์ ในเวลา 100 ปี ให้เอาเมล็ดผักกาด 1 เมล็ด ใส่ลงไปในกล่องนั้น ทำอย่างนี้จนเมล็ดผักกาดนั้นเต็มเสมอเรียบปากกล่อง นั้นละจึงเท่ากับ 1 กัป
    วิเคราะห์คำนวณ 1 โยชน์ = 16 กิโลเมตร
    ดังนั้นกล่องใบนี้มีปริมาตร = 16X16X16 = 4096 ลูกบาศก์กิโลเมตร
    ประมาณว่า เมล็ดผักกาด มีขนาด 0.5 มิลลิเมตร
    1 กิโลเมตรเทียบเป็นมิลลิเมตรได้ดังนี้ 10X100X1000 = 1,000,000 มิลลิเมตร
    จะได้ 1 กิโลเมตรใช้เมล็ดผักกาดเรียงกัน = (1,000,000)/0.5 = 2,000,00เมล็ด
    ดังนั้น 16 กิโลเมตรใช้เมล็ดผักกาดเรียงกัน = 16 X 2,000,000 = 32,000,000 เมล็ด
    ถ้าเป็นปริมาตร คือ กว้างxยาวxสูง ต้องใช้เมล็ดผักกาดทั้งหมด คือ
    32,000,000 X 32,000,000 X 32,000,000 = 32,768,000,000,000,000,000,000เมล็ด
    ใน 100 ปี ใส่เมล็ดผักเพียง 1 เมล็ด ดังนั้นต้องใช้เวลาทั้งหมดคือ
    32,768,000,000,000,000,000,000 X 100 = 3,276,800,000,000,000,000,000,000 ปี

    จึงได้เวลา 1 กัป ประมาณ สามล้านสองแสนเจ็ดหมื่นหกพันแปดร้อยล้านล้านล้าน ปีประมาณ 3.3 X 10^24 ปี





    <HR>

    หลังจากที่เห็นดังนี้แล้ว หน่วยนับเวลาที่ใหญ่ที่สุด...นานที่สุด คือ มหากัป ครับ

    ที่พูดว่า พระพุทธเจ้าบำเพ็ญบารมีมามากตั้ง ๔ อสงไขยกับเศษแสนมหากัป นั่น เศษไม่ใช่มหากัปครับ แต่เป็น อสงไขยต่างหากที่เป็นเศษ เพราะอสงไขยเป็นหน่วยที่เล็กกว่ามหากัป

    และอีกอย่างหนึ่งพระพุทธเจ้าบำเพ็ญบารมีมายิ่งใหญ่เป็นแสนมหากัปเหมือนกัน แต่แตกต่างกันเพียง อสงไขยเท่านั้น

    พระพุทธเจ้าแบบปัญญาธิกะ บำเพ็ญบารมี ๔ อสงไขยกับอีกแสนมหากัป

    พระพุทธเจ้าแบบศรัทธาธิกะ บำเพ็ญบารมี ๘ อสงไขยกับอีกแสนมหากัป

    พระพุทธเจ้าแบบวิริยะธิกะ บำเพ็ญบารมี ๑๖ อสงไขยกับอีกแสนมหากัป

    ซึ่งจะทำให้ใน ๑ มหากัปมีพระพุทธเจ้าได้มากที่สุด ๕ พระองค์ ไม่ขัดแย้งกับพระไตรปิฎก

    แต่ถ้าใช้หน่วยมหากัปเป็นเศษ ใน ๑ มหากัป จะมีพระพุทธเจ้าได้พระองค์เดียว ซึ่งขัดแย้งกับ ๑ มหากัปมีพระพุทธเจ้าได้มากที่สุด ๕ พระองค์

    และอีกอย่างจำนวนอสงไขยต้องเป็นอสงไขยปี เพราะถ้าเป็นอสงไขยกัป ๔ อสงไขยกัปเท่ากับ ๑ มหากัป
    เช่น พระพุทธเจ้าที่บำเพ็ญบารมีแบบ ปัญญาธิกะ จะต้องเรียกว่า บำเพ็ญบารมี หนึ่งแสนหนึ่งมหากัป ซึ่งไม่น่าจะถูก


    เมื่อเราดูมาถึงตรงนี้แล้ว จึงควรพูดว่า พระพุทธเจ้าบำเพ็ญบารมีมามากตั้ง ๔ อสงไขยกับอีกแสนมหากัป จึงจะใกล้เคียงและถูกต้องมากกว่าครับ


    .
     
  13. Wisdom

    Wisdom ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    1,669
    กระทู้เรื่องเด่น:
    11
    ค่าพลัง:
    +26,542
    โมทนาที่แชร์บทวิเคราะห์ครับอ่านดูแล้ว รู้ไว้ใช่ว่า ใส่บ่าแบกหาม จริงครับ

    สาธุ
     
  14. Piagk3

    Piagk3 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    606
    ค่าพลัง:
    +1,222
    อาจเป็นรถเที่ยวสุดท้าย ถ้าชาตินี้ยังไม่หลุดพ้น จะได้มีโอกาส กลับมาเกิดเป็นมนุษย์อีกหรือไม่ก็มิอาจรู้ได้ ถ้ากลับมาเกิดจะเกิดพบศาสนาในพระศรีอริยะฯหรือไม่ ก็มิรู้ได้ อาจพบ แต่อาจเกิดเป็นเดรัจฉาน ตามเวรกรรมที่เคยสร้างไว้ ฉะนั้นเร่งปฏิบัติในชาตินี้เถอะ ผู้มีบุญทั้งหลาย
     
  15. ohm_chiangmai

    ohm_chiangmai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    193
    ค่าพลัง:
    +2,920
    พินิจ พิเคราะห์ เป็นการแสดงความเห็นกันด้วยธรรม และโดยธรรม ...อนุโมทนาสาธุการ
     

แชร์หน้านี้

Loading...