ธรรมพระบูรพาจารย์(หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต)

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย คุรุวาโร, 14 ตุลาคม 2011.

  1. AVATAAR

    AVATAAR เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    276
    ค่าพลัง:
    +603
    ฝึกกรรมฐานกองกสิณจนชำนาญจะได้วิชชา ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 มกราคม 2012
  2. AVATAAR

    AVATAAR เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    276
    ค่าพลัง:
    +603



    ๑๐. จิตเดิมเป็นธรรมชาติใสสว่าง แต่มืดมัวไปเพราะอุปกิเลส

    ปภสฺสรมิทํ ภิกฺขเว จิตฺตํ ตญฺจ โข อาคนฺตุเกหิ อุปกิเลเสหิ อุปกฺกิลิฏฐํ

    ภิกษุทั้งหลาย จิตนี้เสื่อมปภัสสรแจ้งสว่างมาเดิม แต่อาศัยอุปกิเลสเครื่องเศร้าหมองเป็นอาคันตุกะสัญจรมาปกคลุมหุ้มห่อ จึงทำให้จิตมิส่องแสงสว่างได้

    ท่านเปรียบไว้ในบทกลอนหนึ่งว่า "ไม้ชะงกหกพันง่า(กิ่ง) กะปอมก่ากิ้งก่าฮ้อย กะปอมน้อยขึ้นมื้อพัน ครั้นตัวมาบ่ทัน ขึ้นนำคู่มื้อๆ"
    โดยอธิบายว่า คำว่าไม่ชะงก ๖,๐๐๐ ง่านั้นเมื่อตัดศูนย์ ๓ ศูนย์ออกเสียเหลือแค่ ๖
    คงได้ความว่า ทวารทั้ง ๖ เป็นที่มาแห่งกะปอมก่า คือของปลอมไม่ใช่ของจริง กิเลสทั้งหลายไม่ใช่ของจริง
    เป็นสิ่งสัญจรเข้ามาในทวารทั้ง ๖ นับร้อยนับพัน มิใช่แต่เท่านั้น กิเลสทั้งหลายที่ยังไม่เกิดขึ้นก็จะทวียิ่งๆ ขึ้นทุกๆ วัน
    ในเมื่อไม่แสวงหาทางแก้ ธรรมชาติของจิตเป็นของผ่องใสยิ่งกว่าอะไรทั้งหมด แต่อาศัยของปลอม
    กล่าวคืออุปกิเลสที่สัญจรเข้ามาปกคลุมจึงทำให้หมดรัศมี ดุจพระอาทิตย์เมื่อเมฆบดบังฉะนั้น
    อย่าพึงเข้าใจว่าพระอาทิตย์เข้าไปหาเมฆ เมฆไหลมาบดบังพระอาทิตย์ต่างหาก
    ฉะนั้น ผู้บำเพ็ญเพียรทั้งหลายเมื่อรู้โดยปริยายนี้แล้ว พึงกำจัดของปลอมด้วยการพิจารณาโดยแยบคาย
    ตามที่อธิบายแล้วในอุบายแห่งวิปัสสนาข้อ ๙ นั้นเถิด

    เมื่อทำให้ถึงขั้นฐีติจิตแล้ว ชื่อว่าย่อมทำลายของปลอมได้หมดสิ้นหรือว่าของปลอมย่อมเข้าไปถึงฐีติจิต
    เพราะสะพานเชื่อมต่อถูกทำลายขาดสะบั้นลงแล้ว แม้ยังต้องเกี่ยวข้องกับอารมณ์ของโลกอยู่ก็ย่อมเป็นดุจน้ำกลิ้งบนใบบัวฉะนั้น


    .
     
  3. lissent

    lissent เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 เมษายน 2008
    โพสต์:
    657
    ค่าพลัง:
    +1,169
    อ่านแล้วอยากร้องไห้ ไม่รู้เพราะอะไร เมื่อนำใจน้อมตามแล้วรู้สึกลึกๆๆอิ่มเอิบ พอมานึกถึงตัวเองแล้วอีกนานแค่ไหนเราจึงจะเอากิเลสทั้งหลายออกมาได้เยอะๆๆ ยากมากจริงๆๆ อนุโมทนา สาธุค่ะ ที่ได้เตือนสติค่ะ
     
  4. AVATAAR

    AVATAAR เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    276
    ค่าพลัง:
    +603
    กิเลสในตัวเรามันนอนเนื่องอยู่ในสันดานมาหลายชั่วกัปชั่วกัลป์ การจะล้างกิเลสออกได้ไม่ใช่เรื่องง่าย
    พระศาสดาได้บอกทางอันประเสริฐไว้แล้วอย่างแจ่มแจ้งในการดับกิเลสล้างกิเลส
    สถานที่พิจารณาหรือมหาวิทยาลัยใหญ่ที่สุด ไม่ได้อยู่ที่ไหนไกลเลย อยู่ที่กายกับใจเรานี้เอง มรรคผลนิพพานก็ได้บังเกิดที่นี่ ไม่ได้เกิดขึ้นที่ใด

    เราต้องทำความเพียรต่อไป จะน้อยจะมากก็ทำไปตามวาระโอกาส สำคัญอย่าเลิกหรือหยุดทำความเพียรแล้วกัน
     
  5. AVATAAR

    AVATAAR เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    276
    ค่าพลัง:
    +603



    ๑๑. การทรมานตนของผู้บำเพ็ญเพียร ต้องให้พอเหมาะกับอุปนิสัย

    นายสารถีผู้ฝึกม้ามีชื่อเสียงคนหนึ่ง มาเฝ้าพระพุทธเจ้าทูลถามถึงวิธีทรมานเวไนย
    พระองค์ทรงย้อนถามนายสารถีก่อนถึงการทรมานม้า

    เขาทูลว่าม้ามี ๔ ชนิด คือ
    ๑. ทรมานง่าย ๒. ทรมานอย่างกลาง ๓. ทรมานยากแท้ ๔. ทรมานไม่ได้เลย ต้องฆ่าเสีย

    พระองค์จึงตรัสว่าเราก็เหมือนกัน
    ๑. ผู้ทรมานง่าย คือผู้ปฏิบัติทำจิตรวมง่ายให้กินอาหารเพียงพอ เพื่อบำรุงร่างกาย
    ๒. ผู้ทรมานอย่างกลาง คือผู้ปฏิบัติทำจิตไม่ค่อยจะลง ก็ให้กินอาหารแต่น้อยอย่าให้มาก
    ๓. ทรมานยากแท้ คือผู้ปฏิบัติทำจิตลงยากแท้ ไม่ต้องให้กินอาหารเลย แต่ต้องเป็น อตฺตญฺญู รู้กำลังของตนว่าจะทนทานได้สักเพียงไร แค่ไหน
    ๔. ทรมานไม่ได้เลย ต้องฆ่าเสีย คือผู้ปฏิบัติทำจิตไม่ได้ เป็น ปทปรมะ พระองค์ทรงชักสะพานเสีย กล่าวคือไม่ทรงรับสั่งสอน อุปมาเหมือนฆ่าทิ้งเสียฉะนั้น


    .
     
  6. AVATAAR

    AVATAAR เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    276
    ค่าพลัง:
    +603



    ๑๒. มูลติกสูตร

    ติก แปลว่า ๓ มูล แปลว่าเค้ามูลรากเหง้า
    รวมความว่าสิ่งซึ่งเป็นรากเหง้าเค้ามูลอย่างละ ๓ คือ

    ราคะ โทสะ โมหะ ก็เรียก ๓ อกุศลมูล
    ตัณหา ก็มี ๓ คือกามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา
    โอฆะและอาสวะก็มีอย่างละ ๓ คือ กามะ ภาวะ อวิชชา

    ถ้าบุคคลมาเป็นไปกับด้วย ๓ เช่นนี้ ติปริวตฺตํ ก็ต้องเวียนไปเป็น๓ ๓ ก็ต้องเป็นโลก ๓ คือ กามโลก รูปโลก อรูปโลก อยู่อย่างนั้นแล
    เพราะ ๓ นั้นเป็นเค้ามูลโลก ๓

    เครื่องแก้ก็มี ๓ คือ ศีล สมาธิ ปัญญา เมื่อบุคคลดำเนินตนตามศีล สมาธิ ปัญญา อันเป็นเครื่องแก้ น ติปริวตฺตํ ก็ไม่ต้องเวียนไปเป็น๓
    ๓ ก็ไม่เป็นโลก ๓ ชื่อว่าพ้นจากโลก ๓ แล


    .
     
  7. lissent

    lissent เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 เมษายน 2008
    โพสต์:
    657
    ค่าพลัง:
    +1,169
    สาธุ จะพยายามปฎิบัติให้ได้ค่ะ ช่วงนี้พอตั้งใจนั่งสมาธิไม่รู้ความคิดมาจากไหนกระหน่ำเข้ามาอย่างไม่ขาดสาย ล้มๆๆๆลุกๆๆๆสู้กับความคิดตัวเองตลอดเวลาสงบยากจริงๆๆ
     
  8. AVATAAR

    AVATAAR เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    276
    ค่าพลัง:
    +603
    ความคิดก็เป็นองค์ธรรมองค์หนึ่ง อาจเป็นสัญญาเก่า หรือสังขารปรุ่งแต่งให้ฟุ้งๆไป
    หน้าที่ของเรามีสติกำหนดรู้อย่างเดียว ถ้าภาวนาแล้วจิตมันไม่สงบมันมีแต่ความคิดฟุ้งๆ ขึ้นมาเยอะแยะมากมาย
    ปล่อยให้มันคิดไปเลยอย่าไปบังคับจิตให้มันสงบแต่ว่าบริกรรมพุทโธไว้ไม่หยุด
    ทีนี้เมื่อเรามีสติกำหนดรู้อยู่สติสัมปัชญญะดีขึ้นมันจะกำหนดหมายรู้ความเปลี่ยนแปลงของสิ่งเหล่านั้นว่า ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา
    ตามดูตามรู้เพียงเท่านี้ พากเพียรภาวนาบ่อยๆภูมิจิตจะพัฒนาขึ้นเป็นลำดับๆไปจนเกิดปัญญา


    แท้จริงแล้วแก่นหรือเป้าหมายการปฏิบัติภาวนานั้นไม่ได้เอาสุข เอาสงบ ให้เกิดอภิญญาญาณต่างๆ หรือให้เห็นนิมิตนู้นนี้นั่น
    แต่ให้เกิดปัญญาขึ้นจากภาวนามยปัญญา
    เมื่อเกิดปัญญารู้แจ้งแทงตลอดในอริยสัจสี่โดยแจ่มแจ้งแล้ว จึงจะได้อาสวขยญาณ
    ณานองค์นี้เป็นญาณปัญญารู้แจ้งในอริยสัจ ดับกิเลสได้สิ้นเชิง
    เมื่อได้แล้วปรารถนาจะได้อภิญญาอื่นๆอีกก็ตามแต่วิสัยหรือระหว่างนั้นอาจจะได้อภิญญาทั้งหมดหรือบางอย่างมาด้วยก็ได้เป็นของแถม<O:p</O:p

    ซึ่งผมปรารถนาให้มองเป้าหมายไปที่ปัญญาญาณก่อนเป็นอันดับแรก
    เพราะอภิญญาองค์อื่นๆนั้นยังไม่ทำให้หลุดพ้นออกจากวัฏฏสงสารได้และอาจทำให้เนิ่นช้ายาวนานออกไปอีก
    เนื่องจากหลงอยู่ในองค์ฌาณหรือหลงติดอยู่ในฤทธิ์อภิญญา <O:p


    พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า....บุคคลบริสุทธิ์หลุดพ้นได้ด้วยปัญญา

    <O:p
     
  9. AVATAAR

    AVATAAR เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    276
    ค่าพลัง:
    +603



    ๑๓. วิสุทธิเทวาเท่านั้นเป็นสันตบุคคลแท้

    อกุปฺปํ สพฺพธมฺเมสุ เญยฺยธมฺมา ปเวสฺสนฺโต

    บุคคลผู้มีจิตไม่กำเริบในกิเลสทั้งปวง รู้ธรรมทั้งหลายทั้งที่เป็นพหิทธาธรรม ทั้งที่เป็น อัชฌัตติกาธรรม สนฺโต จึงเป็นผู้สงบระงับ
    สันตบุคคลเช่นนี้แลที่จะบริบูรณ์ด้วยหิริโอตตัปปะ มีธรรมบริสุทธิ์สะอาด มีใจมั่นคงเป็นสัตบุรุษผู้ทรงเทวธรรม
    ตามความในพระคาถาว่า หิริโอตฺตปฺปสมฺปนฺนา สุกฺกธมฺมสมาหิตา สนฺโต สปฺปุริสา โลเก เทวธมฺมาติ วุจฺจเร อุปัตติเทวา
    ผู้พรั่งพร้อมด้วยกามคุณ วุ่นวายอยู่ด้วยกิเลส เหตุไฉนจึงจะเป็นสันตบุคคลได้
    ความในพระคาถานี้ย่อมต้องหมายถึงวิสุทธิเทวา คือพระอรหันต์แน่นอน
    ท่านผู้เช่นนั้นเป็นสันตบุคคลแท้ สมควรจะเป็นผู้บริบูรณ์ด้วยหิริโอตตัปปะ และ สุกฺกธรรม คือ ความบริสุทธิ์แท้


    .
     
  10. lissent

    lissent เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 เมษายน 2008
    โพสต์:
    657
    ค่าพลัง:
    +1,169
    จริงค่ะ เมื่อเรานึกถึงความตายก็พอทำใจให้สงบไปได้ไม่นานก็จะกลับมาคิดอีกค่ะ พอมาดุใจตัวเองแล้วเหมื่อนมีจุดสีดำที่คอยให้เราไม่สบายใจก็เป็นปัญหากับเพื่อนร่วมงานที่เราจะต้องเจอะเจอทำงานด้วยกันทุกวันและเราก็จะเห็นอะไรที่เค้าทำตามใจตัวเองทำอะไรเกินความจำเป็นจนเป็นความน่าเกลียดไปก็พยายามตัดใจไม่รับรุ้ไม่เห็นอะไรบางวันก็ทำได้บางวันก็เอามาคิดๆๆๆๆๆอยู่อย่างนั้นจนไม่มีให้ใจว่างได้ เดี่ยวไปทำงานก็ให้ไม่อยากไปเพราะไม่อยากเจอเค้ามัน เบือไปเลย ก็ไม่เข้าใจว่าทำไมการกระทำของเค้าที่เราต้องรับรู้มีอิทธิพลต่อความรุ้สึกเรามากมายจนทำใจสงบได้ยากจังพยายามพูดจาให้น้อยที่สุดแล้ว อยู่คนเดียวคิดคนเดียวตอนนี้รู้สึกแย่ค่ะ ปัญญาไม่เกิดเลยค่ะ การทรมานตนสำหรับผู้บำเพ็ญเพียร ดิฉัน จัดอยู่ในข้อที่ 3 หรือข้อที่ 4 ค่ะ ขอบคุณ คุณอาวาตา นะคะที่ให้ข้อคิดค่ะ อนุโมทนา สาธุ ค่ะ
     
  11. MayBuddhaBlessYou

    MayBuddhaBlessYou เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2009
    โพสต์:
    2,419
    ค่าพลัง:
    +9,538
    อนุโมทนากับท่าน AVATAAR สำหรับธรรมะบูรพาจารย์ อ่านยังไม่หมดค่ะ ต้องพิมพ์เอาไว้อ่านค่ะ แล้วค่อยๆ เก็บรายละเอียด และทำความเข้าใจ ปัญญาน้อยค่ะ จึงค่อยๆ ฝึกฝนไปค่ะ อยากได้หนังสือเล่มนี้ค่ะ ไม่รู้จะไปหาได้ที่ไหน

    [​IMG]
     
  12. AVATAAR

    AVATAAR เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    276
    ค่าพลัง:
    +603
    ถ้าเราดูเป็นก็สนุกนะครับ แต่ที่นี้เราดูไม่เป็นเราก็เลยเป็นเครื่องมือของกิเลส สร้างความขัดข้องใจรำคาญใจให้เราได้
    ผมบอกให้ฟังเฉยๆนะครับว่าเมื่อสัญญาเกิดแล้ว สังขารความปรุงแต่งของคุณก็ปรุงกันสนุกเลยปรุงอย่างนู้นนี้นั้นเพราะคุณยังไม่รู้จักสังขาร

    เอาอย่างนี้ครับเพื่อนร่วมงานมันต้องเจอกันบ่อยๆ ทีนี้อารมณ์ใดเกิดขึ้นก็ให้ลองเรียกสติมาตามดูอารมณ์ที่เกิดขึ้น
    ดูเและรู้เฉยไม่ต้องไปทำอะไร และสังเกตว่าอารมณ์นั้นหายไปเมื่อใด แต่ถ้าไม่อยากดูด้วยวิธีนี้ก็ต้อง

    อย่าพยายามส่งจิตออกนอกนักครับ ให้มีสติอยู่กับกายใจตนเอง ใครจะทำอะไรก็ปล่อยเค้าไปไม่ต้องสนใจ ถ้าเราไม่เดือดร้อน ที่เราเดือดร้อนหงุดหงิดใจเพราะเราเอาใจเราไปฝากไว้กับเค้า ซึ่งจริงๆแล้วเค้าอาจไม่สนใจหรือเดือดร้อนอะไรเลยกับเราด้วยซ้ำ ลองไม่ส่งจิตออกนอกเที่ยวแส่ส่ายดูจริตกริยาคนอื่นบ้างก็ดีครับ แบบสุดท้ายเดินหนีเสียไม่ต้องสนใจสนใจกริยาคนอื่น

    การทรมานตนสำหรับผู้บำเพ็ญเพียร ของคุณไม่ถึงกับแบบข้อ4หรอกครับ ค่อยๆทำไปครับ

    พุทธธรรมนั้นไม่ใช่เรื่องซับซ้อน แต่เป็นเรื่องที่ประณีต
     
  13. AVATAAR

    AVATAAR เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    276
    ค่าพลัง:
    +603
    ลองใช้แบบก็อปปี้เอาไปเก็บไว้อ่านก็ได้ครับ ไม่เยอะหรอกครับมีทั้งหมด 17 ตอน
    ที่ผมไม่ลงทีเดียวเพราะเกรงว่าเมื่อพวกเรามาเห็นแล้วเยอะก็ไม่อยากอ่านกันครับ
    อ่านข้อสองข้อก็เบื่อกันแล้ว เลยทยอยให้อ่านกันครับ

    เมื่อลงครบทั้ง 17 ตอนแล้วผมคงต้องหลบไปก่อนนะครับ



     
  14. ดูงาน

    ดูงาน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    569
    ค่าพลัง:
    +2,671
    พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์

    อยูู่ในจิตในใจ แล้ว สงบสบาย
     
  15. lissent

    lissent เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 เมษายน 2008
    โพสต์:
    657
    ค่าพลัง:
    +1,169
    กำลังคิดว่าจะทำอย่างที่คุณอาวาตา สอนพอดีเลยค่ะสองสามวันที่ผ่านมาฟังเทศน์ของหลวงปู่เทส ซ้ำๆๆๆหลายครั้งเกี่ยวกับจิต และสติ ทำให้ได้คิดจิตใจสบายขึ้นค่ะ เกี่ยวกับเพื่อนร่วมงานนั้นหากเค้าโดนว่าเราก็พลอยหางว่าวไปด้วยฐานไม่ดูแลอีกอย่างเราเป็นคนนำเค้าเข้ามาทำงานด้วยก็เลยไม่ค่อยสบายใจด้วยต่อจากนี้ไปก็จะไม่สนใจอะไรเลยค่ะจะหาว่าใจร้ายก็ตามใจ แบบนี้เราใจดำเกินไปมั้ยค่ะ ยังไปห่วงเค้าอีกนะไม่อยากเห็นเค้าโดนว่าค่ะ ขอบคุณมากๆๆค่ะ จะพยายามทำตามที่ชี้แนะค่ะ สู้สู้ ค่ะ
     
  16. AVATAAR

    AVATAAR เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    276
    ค่าพลัง:
    +603



    อย่าไปกังวลมากครับ เพราะมีเหตุมันจึงเป็นไปครับ การจะเปลี่ยนทัศนคติ,พฤติกรรมหรืออุปนิสัยของคนๆหนึ่ง ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะเค้าเป็นของเค้าแบบนี้มานมนานหลายพันหลายหมื่นชาติแล้ว
    ผมเคยไปช่วยคนกำลังจะตาย ขนาดจะตายอยู่แล้วยังดื้ออยู่เลยครับ คนมันรั้นคนมันดื้อเป็นนิสัย
    แต่ผมก็ต้องช่วยไว้ก่อน แล้วผมก็ช่วยไม่ได้คือกู้ชีวิตเค้าไม่ได้ก็ต้องตายไป ไม่ได้คิดตำหนิตัวเองอะไร เพราะผมรู้ว่าผมทำเต็มที่แล้ว

    ขนาดคนใกล้ชิดหรือลูกหลานเราเองยังยากที่จะเปลี่ยนแปลง นับประสาอะไรกับคนอื่นๆเล่าครับ
    นอกเสียจากว่าคนๆนั้นจะเป็นคนที่เค้าเคารพเทิดทูนและศรัทธา นั่นอาจพอเปลี่ยนแปลงทัศนคติ,พฤติกรรมหรืออุปนิสัยของเค้าได้

    เราลองวางใจเป็นกลางด้วยการคิดเสียว่า สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ก็ได้ครับ

    ______________________________________________________________________________


    "อย่าไปรีบไปเร่ง อย่าไปเคร่งไปเครียด ให้ปฏิบัติไปเรื่อยๆ
    เวลาจะได้ มาเอง นั่นแหละ อย่าไปยึดมั่นในสิ่งใดๆ แม้การปฏิบัติ"

    หลวงปู่ท่อน ญาณธโร

    พอดีนึกถึงหลวงปู่ท่อนน่ะครับ ได้เข้าไปกราบนมัสการท่านเมื่อ 3 ปีก่อน
     
  17. AVATAAR

    AVATAAR เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    276
    ค่าพลัง:
    +603



    ๑๔. อกิริยาเป็นที่สุดในโลก - สุดสมมติบัญญัติ

    สจฺจานํ จตุโร ปทา ขีณาสวา ชุติมนฺโต เต โลเก ปรินิพฺพุตา

    สัจธรรมทั้ง ๔ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ยังเป็นกิริยา เพราะแต่ละสัจจะๆ ย่อมมีอาการต้องทำคือ
    ทุกข์-ต้องกำหนดรู้ สมุทัย-ต้องละ นิโรธ-ต้องทำให้แจ้ง มรรค-ต้องเจริญให้มาก
    ดังนี้ล้วนเป็นอาการที่จะต้องทำทั้งหมด ถ้าเป็นอาการที่จะต้องทำ ก็ต้องเป็นกิริยาเพราะเหตุนั้นจึงรวมความได้ว่าสัจจะทั้ง ๔ เป็นกิริยา
    จึงสมกับบาทคาถาข้างต้นนั้น ความว่าสัจจะทั้ง ๔ เป็นเท้าหรือเป็นเครื่องเหยียบก้าวขึ้นไป
    หรือก้าวขึ้นไป ๔ พักจึงจะเสร็จกิจ ต่อจากนั้นไปจึงเรียกว่า อกิริยา

    อุปมา ดังเขียนเลข ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗ ๘ ๙ ๐ แล้วลบ ๑ ถึง ๙ ทิ้งเสีย เหลือแต่ ๐ (ศูนย์) ไม่เขียนอีกต่อไป คงอ่านว่า ศูนย์ แต่ไม่มีค่าอะไรเลย
    จะนำไปบวกลบคูณหารกับเลขจำนวนใดๆ ไม่ได้ทั้งสิ้นแต่จะปฏิเสธว่าไม่มีหาได้ไม่ เพราะปรากฏอยู่ว่า ๐ (ศูนย์)
    นี่แหละ คือปัญญารอบรู้ เพราะลายกิริยา คือ ความสมมติ หรือว่าลบสมมติลงเสียจนหมดสิ้น ไม่เข้าไปยึดถือสมมติทั้งหลาย
    คำว่าลบ คือทำลายกิริยา กล่าวคือ ความสมมติ มีปัญหาสอดขึ้นมาว่า เมื่อทำลายสมมติหมดแล้วจะไปอยู่ที่ไหน?
    แก้ว่า ไปอยู่ในที่ไม่สมมติ คือ อกิริยา นั่นเอง เนื้อความตอนนี้เป็นการอธิบายตามอาการของความจริง
    ซึ่งประจักษ์แก่ผู้ปฏิบัติโดยเฉพาะ อันผู้ไม่ปฏิบัติหาอาจรู้ได้ไม่
    ต่อเมื่อไรฟังแล้วทำตามจนรู้เองเห็นเองนั่นแลจึงจะเข้าใจได้

    ความแห่ง ๒ บาทคาถาต่อไปว่า พระขีณาสวเจ้าทั้งหลายดับโลกสามรุ่งโรจน์อยู่
    คือทำการพิจารณาบำเพ็ญเพียรเป็น ภาวิโต พหุลีกโต คือทำให้มาก เจริญให้มาก
    จนจิตมีกำลังสามารถพิจารณาสมมติทั้งหลายทำลายสมมติทั้งหลายลงไปได้จนเป็นอกิริยาก็ย่อมดับโลกสามได้
    การดับโลกสามนั้น ท่านขีณาสวเจ้าทั้งหลายมิได้เหาะขึ้นไปในกามโลก รูปโลก อรูปโลกเลยทีเดียว คงอยู่กับที่นั่นเอง
    แม้พระบรมศาสดาของเราก็เช่นเดียวกัน พระองค์ประทับนั่งอยู่ ณ ควงไม้โพธิพฤกษ์แห่งเดียวกัน
    เมื่อจะดับโลกสาม ก็มิได้เหาะขึ้นไปในโลกสาม คงดับอยู่ที่จิต
    ทิ่จิตนั้นเองเป็นโลกสาม ฉะนั้น ท่านผู้ต้องการดับโลกสาม พึงดับที่จิตของตนๆ จึงทำลายกิริยา คือตัวสมมติหมดสิ้นจากจิต
    ยังเหลือแต่อกิริยา เป็นฐีติจิต ฐีติธรรมอันไม่รู้จักตาย ฉะนี้แล


    .
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 มกราคม 2012
  18. ธนกร รกนธ

    ธนกร รกนธ สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    1
    ค่าพลัง:
    +1
    รบกวนคุณ คุรุวาโร ดูให้มั่งครับ
     
  19. AVATAAR

    AVATAAR เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    276
    ค่าพลัง:
    +603



    ๑๕. สัตตาวาส ๙

    เทวาพิภพ มนุสสโลก อบายโลก จัดเป็นกามโลก ที่อยู่อาศัยของสัตว์เสพกามรวมเป็น ๑ รูปโลก
    ที่อยู่อาศัยของสัตว์ผู้สำเร็จรูปฌานมี ๔
    อรูปโลก ที่อยู่อาศัยของสัตว์ผู้สำเร็จอรูปฌานมี ๔ รวมทั้งสิ้น ๙ เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์

    ผู้มารู้เท่าสัตตาวาส ๙ กล่าวคือ พระขีณาสวเจ้าทั้งหลาย ย่อมจากที่อยู่ของสัตว์ ไม่ต้องอยู่ในที่ ๙ แห่งนี้
    และปรากฏในสามเณรปัญหาข้อสุดท้ายว่า ทส นาม กึ อะไรชื่อว่า ๑๐ แก้ว่า ทสหงฺ เคหิ สมนฺนาคโต พระขีณาสวเจ้าผู้ประกอบด้วยองค์ ๑๐ ย่อมพ้นจากสัตตาวาส ๙
    ความข้อนี้คงเปรียบได้กับการเขียนเลข ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗ ๘ ๙ ๐ นั่นเอง ๑ ถึง ๙ เป็นจำนวนที่นับได้ อ่านได้ บวกลบคูณหารกันได้
    ส่วน ๑๐ ก็คือ เลข ๑ กับ ๐ (ศูนย์) เราจะเอา ๐ (ศูนย์) ไปบวกลบคูณหารกับเลขจำนวนใดๆ ก็ไม่ทำให้เลขจำนวนนั้นมีค่าสูงขึ้น
    และ ๐ (ศูนย์) นี้เมื่ออยู่โดยลำพังก็ไม่มีค่าอะไร
    แต่จะว่าไม่มีก็ไม่ได้ เพราะเป็นสิ่งปรากฏอยู่ ความเปรียบนี้ฉันใด จิตใจก็ฉันนั้นเป็นธรรมชาติ มีลักษณะเหมือน ๐ (ศูนย์)
    เมื่อนำไปต่อเข้ากับเลขตัวใด ย่อมทำให้เลขตัวนั้นเพิ่มค่าขึ้นอีกมาก เช่น เลข ๑ เมื่อเอาศูนย์ต่อเข้า ก็กลายเป็น ๑๐ (สิบ)

    จิตใจเรานี้ก็เหมือนกัน เมื่อต่อเข้ากับสิ่งทั้งหลายก็เป็นของวิจิตรพิสดารมากมายขึ้นทันที
    แต่เมื่อได้รับการฝึกฝนอบรมจนฉลาดรอบรู้สรรพเญยฺยธรรมแล้วย่อมกลับคืนสู่สภาพ ๐ (ศูนย์) คือ ว่างโปร่งพ้นจากการนับการอ่านแล้ว
    มิได้อยู่ในที่ ๙ แห่งอันเป็นที่อยู่ของสัตว์ แต่อยู่ในที่หมดสมมติบัญญัติคือ สภาพ ๐ (ศูนย์) หรืออกิริยาดังกล่าวในข้อ ๑๔ นั่นเอง


    .
     
  20. ohara

    ohara สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    4
    ค่าพลัง:
    +0
    ขอความกรุณาช่วยดูและคำแนะนำในการปฎิบัติด้วยครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...