ประเทศไทยจะเกิดอุบัติภัยอย่างที่ทำนายกันจริงๆหรือไม่

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย koymoo, 25 มกราคม 2005.

  1. Twana

    Twana เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กันยายน 2007
    โพสต์:
    294
    ค่าพลัง:
    +725
    นครราชสีมา ฝนกระหน่ำทั้งวัน เมื่อวานและเช้านี้ ตอนนี้หยุดแล้ว แต่มองโดยรอบจากชั้น 8 เมฆฝนเรียงรายรอบเมือง ไกลออกไปบางทิศยีงกระหน่ำไม่หยุด
     
  2. patratyon

    patratyon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    10,434
    ค่าพลัง:
    +6,293
    สาธุๆๆ _/\_ :cool:

     
  3. วรเดช

    วรเดช เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    1,753
    ค่าพลัง:
    +6,146
    [​IMG]
    เลิกได้แล้ว เด็กอินโดติดบุหรี่งอมแงม มีข้อแม้ คุณแม่ต้องซื้อของเล่นให้
    Mthainews: สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า หลังจากที่เด็กชายอาร์ดิ ริซัล ชาวอินโดนีเซียมีพฤติกรรมสูบบุหรี่ และติดบุหรี่อย่างหนักตั้งแต่วัยเพียงสองขวบ วันหนึ่งต้องสูบบุหรี่ถึง 40 มวน จนกระทั่งร่างกายมีรูปร่างอ้วน ซึ่งทางครอบครัวพยายามหาทางให้ลูกชายเลิกบุหรี่ แต่ก็เป็นเรื่องที่ยากลำบาก เพราะหากเด็กชายอาร์ดิไม่ได้สูบ จะเกิดอารมณ์โมโหรุนแรง กรีดร้อง และเอาหัวโขกกำแพง
    นับว่าเป็นข่าวดี ที่ปัจจุบัน เด็กชายอาร์ดิ ริซัล อายุ 4 ขวบ สามารถเลิกบุหรี่ได้แล้ว แต่มีข้อแม้ว่า คุณแม่จะต้องซื้อของเล่นให้กับเขา มิเช่นนั้นจะกลับมาสูบอีก ซึ่งรูปร่างหน้าตาของเด็กชายรายนี้ปัจจุบันก็อ้วนท้วม ผิวพรรณดูเกินอายุ และดูแก่กว่าเพื่อนๆในวัยวัยเดียวกัน
    [​IMG]
    ส่วนสาเหตุที่เด็กชายรายนี้ติดบุหรี่งอมแงมก็เนื่องจากผู้เป็นพ่อ ให้ลูกชายลองสูบบุหรี่ดู แต่เขาไม่คิดว่าจะสูบจนติดได้ขนาดนี้ เป็นบทเรียนว่า ไม่ว่าจะเป็นยาเสพติดชนิดใด เพศไหน วัยไหน ก็ทำให้ติดยาเสพติดได้เช่นเดียวกัน
    Ardi Rizal

    <OBJECT codeBase="http://download.macromedia.com/pub/shockwave/cabs/flash/swflash.cab#version=6,0,40,0" classid=clsid:d27cdb6e-ae6d-11cf-96b8-444553540000 width=407 height=342>
























    <embedwidth="407.6" height="342" type="application/x-shockwave-flash" src="http://video.mthai.com/Flash_player/player.swf?idMovie=6M1274886827M0" allowFullScreen="true" allowfullscreen="true" /></OBJECT>
    </P>Mthainews

    <TABLE border=0 width=670 bgColor=#ffffff><TBODY><TR bgColor=#ffcae3><TD>ประกาศเตือนภัยฉ.11ฝนตกหนักถึงหนักมาก11-12กย. </TD></TR><TR><TD></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=center><TABLE border=0 cellSpacing=2 cellPadding=2 width=668><TBODY><TR><TD class=A2 vAlign=top><TABLE border=0 cellSpacing=2 cellPadding=2 bgColor=#f5f5f5 align=center><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD align=center></TD></TR></TBODY></TABLE>
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=center><TABLE border=0 cellSpacing=2 cellPadding=2 width=668><TBODY><TR><TD class=A2 vAlign=top>เมื่อเวลา5.30 น. กรมอุตุนิยมวิทยาออกประกาศเตือนภัยฉบับที่ 11 ลงวันที่ 11 กันยายน 2554ว่า

    ในช่วงวันที่ 11-12 กันยายน 2554 ร่องมรสุมกำลังแรงพาดผ่านภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังค่อนข้างแรงพัด ปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ทั่วทุกภาคของประเทศมีฝนตกชุกหนาแน่นและมีฝนตกหนักถึงหนักมากหลายพื้น ที่โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณจังหวัดตาก กำแพงเพชร พิจิตร เพชรบูรณ์ ลพบุรี สระบุรี ชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ มุกดาหาร ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ อุบลราชธานี กาญจนบุรี ราชบุรี นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ระยอง จันทบุรี ตราด ชุมพร สุราษฎร์ธานี ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล

    ขอให้ประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยตามที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านระวังอันตรายจากฝนที่ตกหนักอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากได้ ส่วนพื้นที่ราบลุ่มริมน้ำบริเวณภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคตะวันออกให้เตรียมป้องกันระวังอันตรายจากปริมาณน้ำท่วมที่เพิ่มสูงขึ้นในระยะนี้ไว้ด้วย

    <DD>
    สำหรับคลื่นลมในทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนมีกำลังค่อนข้างแรง โดยมีคลื่นสูง 2-3 เมตร ขอให้ชาวเรือระมัดระวังอันตรายในการเดินเรือ และเรือเล็กควรงดออกจากฝั่งในระยะ 1-2 วันนี้


    </DD></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=center><TABLE border=0 cellSpacing=2 cellPadding=2 width=668><TBODY><TR><TD class=A2 vAlign=top><TABLE border=0 cellSpacing=2 cellPadding=2 bgColor=#f5f5f5 align=center><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD align=center></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE border=0 width=670 bgColor=#ffffff><TBODY><TR bgColor=#ffcae3><TD>ฝนกระหน่ำเมืองพัทยา น้ำท่วมบ้านประชาชน </TD></TR><TR><TD></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=center><TABLE border=0 cellSpacing=2 cellPadding=2 width=668><TBODY><TR><TD class=A2 vAlign=top><TABLE border=0 cellSpacing=2 cellPadding=2 bgColor=#f5f5f5 align=center><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD align=center></TD></TR></TBODY></TABLE>
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=center><TABLE border=0 cellSpacing=2 cellPadding=2 width=668><TBODY><TR><TD class=A2 vAlign=top>ฝนกระหน่ำทั้งคืนอย่างต่อเนื่อง ทำบ้านเรือนชาวบ้านเขตเมืองพัทยาได้รับผลกระทบ ชุมชนวัดธรรมสามัคคี-เขาตาโล-เนินพลับหวานระส่ำ! น้ำท่วมเสียหายกระจายวงกว้าง

    <DD>
    ตลอดคืนที่ผ่านมา ผู้สื่อข่าวรายงานว่ามีลมพัดแรงและมีฝนตกอย่างหนักต่อเนื่องตลอดทั้งคืน ทำให้เกิดน้ำท่วมขังในพื้นที่ลุ่มต่ำและพื้นที่แอ่งกระทะจนบ้านเรือนประชาชนในเขตเมืองพัทยา ได้รับความเสียหายเป็นจำนวนมาก
    <DD>
    จากการลงพื้นที่ตรวจสอบบริเวณชุมชนวัดธรรมสามัคคี ชุมชนเขาตาโล ย่านพัทยาใต้ และชุมชนเนินพลับหวานย่านพัทยากลาง

    ซึ่งถือเป็นย่านชุมชนที่มีประชาชนอาศัยกันอย่างหนาตาและเป็นพื้นที่ติดทางรถไฟ พบว่าปริมาณน้ำได้เอ่อท่วมเข้าบ้านเรือนประชาชนสร้างความเสียหายและได้รับความเดือดร้อนกระจายเป็นวงกว้าง
    <DD>
    อย่างไรก็ตามในการเบื้องต้นทางเมืองพัทยาได้ประสานกำลังเจ้าหน้าที่หน่วยกู้ภัยสว่างบริบูรณ์และเจ้าหน้าที่บรรเทาสาธารณภัยเมืองพัทยาระดมกำลังช่วยเหลือชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจากเหตุน้ำท่วมขังในบริเวณชุมชนดังกล่าวอย่างเร่งด่วนแล้ว เบื้องต้นยังไม่พบรายงานผู้บาดเจ็บและผู้สูญหาย

    </DD></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=center><TABLE border=0 cellSpacing=2 cellPadding=2 width=668><TBODY><TR><TD class=A2 vAlign=top><TABLE border=0 cellSpacing=2 cellPadding=2 bgColor=#f5f5f5 align=center><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD align=center></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE border=0 width=670 bgColor=#ffffff><TBODY><TR bgColor=#ffcae3><TD>ลำปางวิกฤติ!น้ำห้วยขุนทะไหลท่วมระลอก4 </TD></TR><TR><TD></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=center><TABLE border=0 cellSpacing=2 cellPadding=2 width=668><TBODY><TR><TD class=A2 vAlign=top><TABLE border=0 cellSpacing=2 cellPadding=2 bgColor=#f5f5f5 align=center><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD align=center></TD></TR></TBODY></TABLE>
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=center><TABLE border=0 cellSpacing=2 cellPadding=2 width=668><TBODY><TR><TD class=A2 vAlign=top>เกิดน้ำป่าจากห้วยขุนทะ ไหลหลากท่วมหมู่บ้าน จ.ลำปางแล้ว กว่า 20 หลังคาเรือน จมบาดาล

    ถนนสายผาลาด - แม่เมาะ กิโลเมตรที่ 2 น้ำท่วมถนนสูงกว่า 50 ซม. จราจรอัมพาตจนท. เร่งเข้าช่วยเหลือเป็นการด่วน!! ขณะชาวบ้านต้องจัดเวรยามเฝ้าดูระดับน้ำ หวั่นเกิดเหตุซ้ำอีก


    เกิดเหตุน้ำป่าไหลหลากระลอกที่ 4 ในรอบปีนี้ ซึ่งน้ำป่าดังกล่าวนั้น ไหลหลากมาจากลำห้วยขุนทะ จากเทือกเขาในเขตดอยพระบาท อ.เมือง จ.ลำปาง

    น้ำป่ายังได้ไหลหลากเข้าทะลักท่วมบ้านเรือนของชาวบ้านหมู่ที่ 4 บ้านผาลาด ต.พระบาท อ.เมือง จ.ลำปาง แล้ว จำนวนกว่า 20 หลังคาเรือน ส่วนชาวบ้านต่างรีบเก็บข้าวไว้บนที่สูง ขณะที่น้ำป่าจากห้วยขุนทะ ได้ไหลเข้าท่วมถนนสายผาลาด - แม่เมาะ กิโลเมตรที่ 2 มีน้ำท่วมถนนสูงกว่า 50 เซนติเมตร รถที่สัญจรผ่านไป-มา ขับกันด้วยความยากลำบาก ล่าสุด เจ้าหน้าที่ป้องกันบรรเทาสาธารณภัยลำปาง เข้ามาอำนวยความสะดวกการจราจร และเข้าช่วยเหลือชาวบ้านเป็นการด่วนแล้ว

    ส่วนในหลายพื้นที่ในเขต อ.เมือง จ.ลำปาง ตั้งแต่ช่วงเช้าที่ผ่านมา ยังคงมีฝนตกลงมาอย่างต่อเนื่องนานหลายชั่วโมง และยังไม่มีทีท่าว่าจะหยุดตก

    ขณะที่ความคืบหน้าหลัง เกิดน้ำป่าไหลหลากเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎรของชาวบ้าน ที่หมู่บ้านผาลาด หมู่ 4 ต.พระบาท อ.เมือง จ.ลำปางนั้น ล่าสุด น้ำป่าจากดอยยอดขุนทะ ในพื้นที่ ต.พระบาท ระดับน้ำได้เริ่มชะลอตัวลดลง ส่วนน้ำที่ได้ท่วมขัง ก็ได้แห้งและกลับเข้าสู่สภาวะปกติแล้ว ขณะที่ชาวบ้านในหมู่บ้าน กำลังต่างเร่งเก็บกวาดทำควาสะอาด และเก็บเศษกวาดดินโคลนวัชพืชต่างๆ ที่ไหลเข้ามาติดค้างภายในบ้าน ส่วนชาวบ้านในพื้นที่ ก็ต่างพากันจัดเวรยามเฝ้าดูระดับน้ำในพื้นที่ หากเกิดมีน้ำป่า หรือ ฝนตกหนักลงมาอีก ชาวบ้านจะได้เตรียมตัวรับมือกับน้ำป่าที่อาจจะไหลหลาก หรือ อาจจะเกิดขึ้นมาอีกระลอกหนึ่งได้ทัน


    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD><CENTER>ขอขอบคุณเนื้อหาข่าว และรูปภาพ คุณภาพดี โดย: INN NEWS
    [​IMG]</CENTER></TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE border=0 width=670 bgColor=#ffffff><TBODY><TR bgColor=#ffcae3><TD>พายุฝนถล่ม”สัตหีบ”จมน้ำ </TD></TR><TR><TD></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=center><TABLE border=0 cellSpacing=2 cellPadding=2 width=668><TBODY><TR><TD class=A2 vAlign=top><TABLE border=0 cellSpacing=2 cellPadding=2 bgColor=#f5f5f5 align=center><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD align=center></TD></TR></TBODY></TABLE>
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=center><TABLE border=0 cellSpacing=2 cellPadding=2 width=668><TBODY><TR><TD class=A2 vAlign=top>พายุฝนกระหน่ำตั้งแต่ช่วงกลางดึก “สัตหีบ” เกิดน้ำท่วมสูงหลายพื้นที่ เฉพาะถนนสุขุมวิทท่วมสูงเกือบ 2 เมตร


    เมื่อวันที่ 11 ก.ย. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ขณะนี้ในพื้นที่อำเภอสัตหีบ จ.ชลบุรี เกิดพายุฝนกระหน่ำลงมาอย่างหนักตั้งแต่ช่วงกลางดึกที่ผ่านมา ทำให้เกิดน้ำท่วมในหลายพื้นที่ ซึ่งสร้างความเดือดร้อนให้กับพี่น้องประชาชนอย่างมาก และพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักเป็นช่วงบนถนนสุขุมวิท หมายเลข 3 กม.ที่ 171 – 173 บริเวณตลาดนัดเจ็ดร้อยไร่ หมู่ 3 ต.สัตหีบ ซึ่งถนนทั้ง 2 เลนถูกกระแสน้ำที่ผุดขึ้นมาจากท่อระบายน้ำ เพราะระบายลงสู่ทะเลไม่ทัน เข้าท่วมบนพื้นผิวถนน และบ้านเรือนประชาชนโดยรอบ สูงเกือบ 2 เมตร ทำให้การจราจรเป็นอัมพาต และมีรถจอดเสียหลายคัน

    ล่าสุดช่วงเช้าวันนี้ สถานการณ์เริ่มคลี่คลายไปในทางที่ดี แต่ยังมีสายฝนตกลงมาอย่างต่อเนื่อง

    ซึ่งในช่องทางขาเข้าเมืองพัทยา กระแสน้ำได้ลดลงจนเข้าสู่ภาวะปกติ แต่ในช่องทางขาเข้าอำเภอสัตหีบ กระแสน้ำลดลง แต่ยังเป็นอุปสรรคต่อการสัญจร รถต้องแล่นอย่างช้าๆ ส่งผลให้การจราจรยังติดขัดเป็นช่วง ๆ เบื้องต้น ทางเทศบาลเมืองสัตหีบ กำลังดำเร่งเนินการนำรถน้ำมาสูบน้ำออกจากบริเวณดังกล่าว คาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมง จึงจะเข้าสู่ภาวะปกติ



    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD><CENTER>ขอขอบคุณเนื้อหาข่าว คุณภาพดี โดย: หนังสือพิมพ์เดลินิวส์
    [​IMG]</CENTER></TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE border=0 width=670 bgColor=#ffffff><TBODY><TR bgColor=#ffcae3><TD>เร่งกู้ซาก"น้ำปาด" พบศพเพิ่ม </TD></TR><TR><TD></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=center><TABLE border=0 cellSpacing=2 cellPadding=2 width=668><TBODY><TR><TD class=A2 vAlign=top>เวลา 15.10 น. วันที่ 10 ก.ย. ที่กองบิน 6 ดอนเมือง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี

    ให้สัมภาษณ์ก่อนเดินทางไปประเทศบรูไน ถึงสถานการณ์น้ำป่าไหลหลากและดินถล่มที่ ต.น้ำไผ่ อ.น้ำปาด จ.อุตรดิตถ์ ว่า ได้สั่งการให้นายฐานิสร์ เทียนทอง รมช.มหาดไทย ลงพื้นที่พร้อมกับนายวิบูลย์ สงวนพงศ์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และให้น.ส.กฤษณา สีหลักษณ์ รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี โดยให้อำนาจเต็มในการสั่งการแทนนายกฯ ทั้งนี้พบว่าประชาชนยังสูญหาย 4 ราย โดยมีผู้เสียชีวิต 3 ราย ซึ่งผู้ว่าฯอุตรดิตถ์ เร่งอพยพประชาชนที่เดือดร้อนออกจากพื้นที่เพื่อไปอยู่ในที่ปลอดภัยแล้ว กระทรวงสาธารณสุขได้เข้าไปดูแลเพิ่มเติม และหลังจากที่ตนเสร็จภารกิจที่ประเทศบูรไน จะลงพื้นที่เข้าไปเยี่ยมผู้เดือดร้อนด้วยตัวเอง

    ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันที่ 11 ก.ย. เวลา 12.00 น. น.ส.ยิ่งลักษณ์ จะเดินทางด้วยเครื่องบินจากท่าอากาศยานขสทบ. ไปยังสนามบินพิษณุโลก และต่อเฮลิคอปเตอร์ลงพื้นที่อ.น้ำปาด เพื่อตรวจเยี่ยมสถานการณ์โคลนถล่ม และเดินทางกลับถึงกทม.เวลา 18.00 น.

    นายฉัตรป้อง ฉัตรภูติ รองอธิบดีกรมป้อง กันและบรรเทาสาธารณภัย

    เป็นประธานการประชุมศูนย์สนับสนุนการอำนวยการและการบริหารสถานการณ์ อุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม (ศอส.) กล่าวถึงสถานการณ์น้ำท่วม ว่า ปัจจุบันยังคงมีพื้นที่ประสบอุทกภัย 14 จังหวัดผู้เสียชีวิตทั้งสิ้น 72 ราย สภาพอากาศ ช่วง 10-12 ก.ย. ร่องมรสุมพาดผ่านภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย มีกำลังแรงขึ้น ทำให้ประเทศไทยตอนบนฝนตกชุกหนาแน่น และมีฝนตก หนักถึงหนักมากในหลายพื้นที่ ขอให้ประชา ชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยตามที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านระวังอันตรายจากฝนที่ ตกหนักอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำ ป่าไหลหลากได้

    นายฉัตรป้อง กล่าวว่า สำหรับกรณีโคลนถล่มที่อ.น้ำปาด จ.อุตรดิตถ์ นายฐานิสร์ เทียนทอง รมช.มหาดไทย และนายวิบูลย์ สงวนพงศ์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

    ลงไปตรวจเยี่ยมให้ความช่วยเหลือผู้แล้ว โดยสั่งการให้จัดรถผลิตน้ำดื่ม รถสื่อสารเข้าพื้นที่โดยด่วน จัดชุดเผชิญสถาน การณ์วิกฤตเข้าค้นหาผู้สูญหาย แจกจ่ายอาหาร เครื่องอุปโภคบริโภค จัดเงินช่วยเหลือผู้ประสบภัยบ้านเรือนเสียหายและผู้เสียชีวิต และจัดเครื่องจักรกลและยานพาหนะ เพื่อเก็บกวาดวัสดุสิ่งกีดขวาง นอกจากนี้นายกรัฐ มนตรีได้มอบหมายให้ น.ส.กฤษณา สีหลักษณ์ รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ลงพื้นที่ด่วนร่วมแก้ไขปัญหาร่วมกับ รมช. มหาดไทย

    นายฉัตรป้องกล่าวว่า จังหวัดอุตรดิตถ์ได้จัดตั้งศูนย์ประสานการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัย จำนวน 3 จุด ได้แก่ ร.ร.บ้านห้วยเดื่อ ร.ร.บ้านต้นขนุน และวัดห้วยคอม ต.น้ำไผ่ อ.น้ำปาด และได้ประสานหน่วยงานราชการที่มีเครื่องมือจักรกล เพื่อเข้าไปเปิดเส้นทางในพื้นที่วิกฤต เพื่อลำเลียงถุงยังชีพ เข้าไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยในพื้นที่ที่ถูกตัดขาด

    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=center><TABLE border=0 cellSpacing=2 cellPadding=2 width=668><TBODY><TR><TD class=A2 vAlign=top><TABLE border=0 cellSpacing=2 cellPadding=2 bgColor=#f5f5f5 align=center><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD align=center></TD></TR></TBODY></TABLE>
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=center><TABLE border=0 cellSpacing=2 cellPadding=2 width=668><TBODY><TR><TD class=A2 vAlign=top>นายฉัตรป้อง กล่าวว่า สำหรับการจ่ายเงินชดเชยให้กับประชาชนผู้ประสบภัยนั้น ขอให้จังหวัดเร่งรัดอำเภอ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

    สำรวจข้อมูลการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยใน 34 จังหวัด ครัวเรือนละ 5,000 บาท นายวิทยา บุรณศิริ รมว.สาธารณสุข กล่าวว่า ได้จัดส่งหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ชุดใหญ่ 3 ทีม และจิตแพทย์ นักจิตวิทยาอีก 10 คน ลงปักหลักบริการตลอด 24 ชั่วโมง ที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล 2 แห่ง คือที่ ต.ห้วยเดื่อ และ ต.น้ำไผ่ และที่หมู่ 3 บ้านต้นขนุน แต่ละทีมมีแพทย์ พยาบาล ยาเวชภัณฑ์ ชุดทำแผล วัคซีนป้องกันบาด ทะยัก เนื่องจากประชาชนมีบาดแผลจากเศษไม้ขีดข่วน ขณะนี้พบผู้มีบาดแผลประมาณ 100 ราย และได้แจกรองเท้าบู๊ตยางอีก 600 คู่ใส่ป้องกันไม่ให้บาดแผลสัมผัสดินโคลน

    สำหรับสถานการณ์ที่จ.อุตรดิตถ์ น.ส. กฤษณา และคณะ เดินทางไปยังบ้านโรง เรียนบ้านห้วยเดื่อ หมู่ 2 ต.น้ำไผ่ อ.น้ำปาด จ.อุตรดิตถ์

    ซึ่งเป็นศูนย์ประสานงานให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัย จุดที่ 1 รับฟังการบรรยายความสรุปเกี่ยวกับอุทกภัยดินโคลนถล่มบ้านห้วยเดื่อ หมู่ 2 บ้านต้นขนุน หมู่ 3 และ บ้านห้วยคอม หมู่ 4 มีผู้เสียชีวิตจากเหตุน้ำป่าดินโคลนถล่ม 2 คน ประกอบด้วย นายประสิทธิ์ อินดีสี อายุ 48 ปี และนางพริก อินดีสี อายุ 46 ปี สำหรับด.ช.ยิ่งศักดิ์ อินดีสี อายุ 5 ขวบ ซึ่งเป็นบุตรชายยังค้นหาไม่พบ มียอดผู้สูญหายในพื้นที่หมู่ 2 และ หมู่ 3 ทั้งสิ้น 7 คน บ้านเรือนราษฎรได้รับความเสียหายทั้งหลัง 31 หลัง เสียหายบางส่วน 30 หลัง โรงเรียน เสียหาย 1 แห่ง ถนน 4 แห่ง สะพาน 6 แห่ง จากนั้นได้ตรวจเยี่ยมความเสียหาย และมอบเงินช่วยเหลือค่าบ้านเรือนเสียหายรวม 390,000 บาท ค่าจัดการศพผู้เสียชีวิต 105,000 บาท
    ด้านพ.อ.อภิสิทธิ์ นุชบุษบา ผู้บังคับหน่วยพัฒนาเคลื่อนที่ 34 นำกำลังเจ้าหน้าที่ 50 นาย พร้อมเครื่องมือจักรกลเร่งทำถนนดินชั่วคราวต่อพ่วงกับสะพานคอนกรีตบ้านห้วยเดื่อที่ชำรุด เพื่อให้รถทุกชนิดสามารถสัญจรไปมาได้ และซ่อมแซมสะพานคอน กรีตเสริมเหล็ก

    ทางกฟภ.อุตรดิตถ์ ได้ระดมกำลังเจ้าหน้าที่กว่า 100 นาย ติดตั้งไฟฟ้าภายในหมู่ บ้านที่ถูกดินโคลนถล่มพัดพังเสียหาย

    ให้สามารถกลับคืนเหมือนเดิมและสามารถใช้ไฟฟ้าได้อย่างปกติ แต่ระหว่างซ่อมแซม นายพิษณุ ศรีลาภา อายุ 26 ปี ช่างไฟฟ้า สาขาน้ำปาด บาดเจ็บหมดสติจากถูกไฟฟ้าชอร์ต ต้องนำตัวส่งโรงพยาบาลน้ำปาดทันที นายภานุรุจ บุณยรัตพันธุ์ ผู้ประสานงานมูลนิธิเพื่อนพึ่ง(ภาฯ)ยามยาก สภากาชาดไทย และผู้ว่าฯอุตรดิตถ์ นำอาหารสด 2,000 ชุด ขึ้นเฮลิคอปเตอร์ แจกจ่ายให้กับราษฎร

    ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ล่าสุดเวลา 18.00 น. เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติคลองตรอน ได้พบ ศพนายขาน คำไว อายุ 64 ปี ราษฎรหมู่ 3 บ้านต้นขนุน

    ถูกกระแสน้ำพัดมาติดอยู่ที่ด้านเหนืออ่างน้ำห้วยแมง ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติคลองตรอน ต.น้ำไคร้ อ.น้ำปาด ห่างจากจุดเกิดเหตุในพื้นที่ดินโคลนถล่มประ มาณ 30 กิโลเมตร ทางเจ้าหน้าที่กู้ภัยจึงได้นำศพไปเก็บเอาไว้ที่โรงพยาบาลน้ำปาด เพื่อทำการพิสูจน์เอกลักษณ์บุคคลต่อไป

    ด้านนายโยธินศร์ กล่าวว่า ล่าสุดตัวเลขผู้สูญหายอยู่ที่ 4 คน ซึ่งได้สั่งการให้จังหวัดทหารบกนำกำลังจากกรมทหารม้าที่ 2 และ ม.พัน 7 รวมทั้งทหารจากค่ายพิชัยดาบหัก

    จำนวนกว่า 100 นาย ร่วมกับเจ้าหน้าที่ อส. และกู้ภัยอีก 100 นาย เร่งค้นหาผู้สูญหายทั้งในบริเวณซากปรักหักพังและบริเวณปลายน้ำที่ไหลลงไปสู่เบื้องล่าง ทั้งนี้เราให้ความสำคัญกับการค้นหาผู้ที่สูญหายไม่ว่าจะเป็นหรือตายก็ต้องได้พบ รองลงมาก็เป็นเรื่องการปรับปรุงซ่อมแซมถนนและไฟฟ้าให้สามารถใช้การได้ตามปกติ อาหารและน้ำดื่มก็เป็นสิ่งสำคัญตอนนี้มีหลายหน่วยงานยื่นมือเข้ามาให้การช่วยเหลือแล้ว อาทิ มูลนิธิเพื่อนพึ่ง(ภาฯ)ยามยาก จัดทำอาหารสดและข้าวกล่องส่งให้ในพื้นที่หมู่ 4 และม.5 เขื่อนสิริกิติ์ ตั้งเต็นท์ปรุงอาหารกล่องให้กับหมู่ 2 และหมู่ 3 ตอนนี้กำลังมองหาที่ดินสาธารณะเพื่อจัดสรรให้กับชาวบ้านที่รับผลกระทบด้านที่อยู่อาศัยในหลายหมู่บ้าน

    สำหรับกรณีที่เรือขนทรายกั้นน้ำท่วมของมณฑลทหารบกที่ 31 ค่ายจิรประวัติ นครสวรรค์ ล่มจนจ.ส.อ.วสันต์ ธันนิธิ อายุ 58 ปี ได้จมหายไป ล่าสุดเจ้าหน้าที่ได้ระดมกำลังงมค้นหาร่าง และพบร่างจ.ส.อ.วสันต์ ห่างจากจุดที่เรือจมไป 300 เมตร

    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD><CENTER>ขอขอบคุณเนื้อหาข่าว คุณภาพดี โดย: หนังสือพิมพ์ข่าวสด
    [​IMG]</CENTER></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  4. เกษม

    เกษม ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    24,696
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +77,192
    คำโบราณท่านว่าไว้ "แม้แต่เศรษฐียังขาดไฟ"

    [​IMG]

    สหรัฐฯ เผชิญทั้งน้ำท่วมและไฟดับครั้งใหญ่

    อิทธิพลของพายุโซนร้อน"ลี"ยังทำให้เกิดฝนตกหนักและน้ำท่วมต่อเนื่องในหลายรัฐ ทางตะวันออกของสหรัฐฯ ล่าสุดได้สั่งให้ประชาชนกว่า 1 แสนคน อพยพหนีน้ำท่วม ขณะที่พื้นที่ตะวันตกของสหรัฐฯ มีรายงานเกิดไฟดับเป็นบริเวณกว้าง ทำให้ประชาชนกว่า 1 ล้านครัวเรือน ต้องอยู่โดยไม่มีไฟฟ้าใช้

    สถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ตะวันออกของสหรัฐฯ ในขณะนี้ เจ้าหน้าที่สหรัฐฯ ได้สั่งอพยพประชาชนราว 1.3 แสนคนในหลายพื้นที่ของรัฐเพนซิเวเนีย,นิวยอร์ค และ แมร์รีแลนด์ ไปอยู่ในที่ปลอดภัย หลังเกิดฝนที่ตกลงมาอย่างหนักต่อเนื่อง อันเนื่องมาจากอิทธิพลของพายุโซนร้อน"ลี"ส่งผลให้บ้านเรือนประชาชน ถนนหนทาง รวมไปถึงรถยนต์จำนวนมากต้องจมอยู่ใต้น้ำ โดยขณะนี้ทางการได้ประกาศให้เมืองแฮริสเบิร์ก ของรัฐเพนซิลเวเนีย อยู่ในภาวะฉุกเฉินแล้ว พร้อมเตือนประชาชนให้ระวังน้ำท่วมตั้งแต่รัฐเวอร์จิเนียไปจนถึงรัฐแมสซาชูเซ็ทท์ และได้มีการปิดถนนหลวงรวมไปถึงเส้นทางรถไฟ ที่ถูกน้ำท่วมเป็นการชั่วคราวเพื่อความปลอดภัย

    ส่วนพื้นที่ตะวันตกของสหรัฐฯ เผชิญกับความเดือดร้อนหนัก หลังเกิดไฟฟ้าดับเป็นบริเวณกว้าง ประชาชนราว 1.4 ล้านครัวเรือนที่อาศัยทางตอนใต้ของรัฐแคลิฟอร์เนีย,หลายพื้นที่ของรัฐอริโซนาและทางตอนเหนือของเม็กซิโก ต้องอยู่โดยไม่มีไฟฟ้าใช้ และทำให้ต้องหยุดการทำงานของโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ 2 แห่ง ในพื้นที่ดังกล่าวชั่วคราว ขณะที่เจ้าหน้าที่โรงผลิตไฟฟ้าใช้เวลาทั้งคืนเพื่อกู้ระบบไฟฟ้า คาดกันว่าจะมีกระแสไฟฟ้าใช้ได้ในวันนี้ ส่วนสาเหตุไฟฟ้าดับยังอยู่ในระหว่างการตรวจสอบ

    ข่าวทีวีช่อง 3 วันศุกร์ ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2554

    ที่มา http://www.krobkruakao.com
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 1315547516.jpg
      1315547516.jpg
      ขนาดไฟล์:
      32 KB
      เปิดดู:
      2,549
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 กันยายน 2011
  5. Twana

    Twana เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กันยายน 2007
    โพสต์:
    294
    ค่าพลัง:
    +725
    เครียดจริงๆ ยิ่งอ่านยิ่งเครียด คิดว่าจะแก่ตาย ก็คงใกล้หมดโอกาสแล้ว :mad:
     
  6. เกษม

    เกษม ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    24,696
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +77,192
    เตรียมกายและใจให้พร้อมรับมือกับภัยพิบัติ เหมือนดั่งพระมหาชนก...

    [​IMG]


    ทศชาติชาดก เรื่อง พระมหาชนก ผู้ยิ่งด้วยวิริยบารมี ตอนที่ 8

    จากตอนที่แล้วพระโพธิสัตว์ เมื่อทรงทราบว่า เรือจะต้องอับปางแน่นอน จึงได้รีบเสวยน้ำตาลกรวดคลุกกับเนยจนอิ่ม จากนั้นก็นำผ้าเนื้อเกลี้ยงสองผืนที่ชุบน้ำมันจนชุ่ม ทรงนุ่งให้กระชับ ประทับยืนเกาะเสากระโดง แล้วก็ทรงปีนขึ้นไปประทับยืนบนยอดเสากระโดงนั้น

    ในเวลาเรือจมลง ก็ทรงกำหนดทิศที่ตั้งของเมืองมิถิลา แล้วก็กระโดดจากยอดเสากระโดงไปทางทิศนั้น ข้ามพ้นฝูงปลาร้ายไปตกอยู่ในที่ไกลจากเรือ

    พระมหาชนกนั้น ทรงเพียรแหวกว่ายอยู่ในมหาสมุทร จนถึงวันที่ ๗ ได้ทรงสังเกตเห็นพระจันทร์เต็มดวง ก็ทรงรู้ว่าวันนี้เป็นวันอุโบสถ จึงใช้น้ำทะเลบ้วนพระโอษฐ์ และทรงสมาทานอุโบสถศีล

    ในวันนั้น นางมณีเมขลาได้มาตรวจตรามหาสมุทร ก็เห็นพระมหาชนกโพธิสัตว์ กำลังทรงแหวกว่ายอยู่กลางมหาสมุทรจึงคิดว่า “ถ้าพระมหาชนกสิ้นพระชนม์ในมหาสมุทร เราจะมีความผิดอย่างมหันต์” จึงรีบเหาะมาสถิตอยู่ในอากาศ เหนือท้องมหาสมุทรตรงที่พระโพธิสัตว์กำลังว่ายน้ำอยู่

    นางเกิดความอัศจรรย์ใจ ว่าแม้ฝั่งก็มองไม่เห็น แล้วพระองค์จะว่ายไปทำไม จึงถามว่า “ใครหนอ แม้จะแลไม่เห็นฝั่งก็ยังพยายามว่ายอยู่ท่ามกลางมหาสมุทร ท่านเห็นประโยชน์อะไรจึงพยายามว่ายอยู่อย่างนี้”

    พระโพธิสัตว์ จึงตรัสตอบว่า “เราเห็นปฏิปทาของโลกและอานิสงส์แห่งความเพียร จึงพยายามเรื่อยไป หากไม่พากเพียรแล้วจะพบความสำเร็จได้อย่างไร”

    นางมณีเมขลาได้ฟังความตั้งใจอันแน่วแน่ของพระโพธิสัตว์แล้ว ก็อัศจรรย์ เกิดกำลังใจใคร่จะฟังธรรมจากพระโพธิสัตว์ให้ยิ่งๆ ขึ้นไป จึงถามต่ออีกว่า “มหาสมุทรลึกจนประมาณไม่ได้ แม้ฝั่งก็ไม่ปรากฏ ความพยายามอย่างลูกผู้ชายของท่านทำไปก็เปล่าประโยชน์ ไม่ทันถึงฝั่งท่านก็จะต้องตายอย่างแน่นอน ท่านจะเพียรพยายามไปทำไมกัน”

    พระมหาชนกตรัสว่า “ท่านพูดอะไรอย่างนั้น เราทำความพยายาม แม้จะตายก็พ้นคำครหา บุคคลเมื่อกระทำความเพียร แม้จะตายก็ได้ชื่อว่า ไม่เป็นหนี้ในระหว่างหมู่ญาติ กับทั้งบิดามารดาและเทวดา อนึ่ง บุคคลเมื่อทำกิจอย่างลูกผู้ชาย ย่อมไม่เดือดร้อนใจในภายหลัง ดูก่อนเทพธิดา บุคคลเมื่อทำความเพียร แม้จะตายก็ไม่เป็นหนี้ ย่อมไม่ถูกติเตียนในระหว่างหมู่ญาติ แม้เทวดาและพรหมก็สรรเสริญ”

    เทพธิดากล่าวแย้งว่า “ท่านมหาบุรุษ การงานอันใด แม้ทุ่มเทจนสุดกำลังแล้ว ก็ยังไม่บรรลุผลสำเร็จ การงานนั้นก็นับว่าไร้ผล เป็นความสูญเสียเปล่า ไม่เกิดประโยชน์ การทำความพยายามในฐานะอันไม่สมควรจนตัวเองต้องตาย ความพยายามนั้นจะมีประโยชน์อะไร”

    พระมหาชนกได้สดับแล้ว เมื่อจะทรงยืนยันว่าความเพียรเป็นสิ่งที่ควรทำ แม้ชีวิตจะวอดวายไปก็ตาม จึงตรัสต่อไปว่า “ดูก่อนนางเทพธิดา ผู้ใดรู้แจ้งว่าการงานที่ทำจะไม่ลุล่วงไปได้ ถ้าผู้นั้นละความเพียรนั้นเสีย ก็ชื่อว่าไม่รักษาชีวิตของตน พึงรู้เถิดว่า นั่นเป็นผลแห่งความเกียจคร้านโดยแท้

    ดูก่อนเทพธิดา คนบางพวกในโลกนี้ มองเห็นผลแห่งความประสงค์ของตน จึงประกอบการงานทั้งหลาย ไม่ว่าการงานเหล่านั้นจะสำเร็จหรือไม่ก็ตาม

    ดูก่อนเทพธิดา ท่านก็เห็นประจักษ์แก่ตนแล้วมิใช่หรือ คนอื่นๆ จมลงในมหาสมุทรหมดแล้ว มีแต่เราคนเดียวยังว่ายอยู่ ก็เพราะความเพียรพยายามนี้เอง จึงทำให้เราได้เห็นท่านซึ่งมาสถิตอยู่ใกล้ๆ เรานั้นจักพยายามอย่างสุดความสามารถ จะทำความเพียรที่บุรุษควรทำ เพื่อไปถึงฝั่งแห่งมหาสมุทรนี้ให้จงได้”

    เทพธิดาได้สดับพระวาจาที่เต็มไปด้วยความมุ่งมั่นของพระโพธิสัตว์ ก็รู้สึกอัศจรรย์ในหัวใจที่ปราศจากความย่อท้อของพระมหาชนก นึกเลื่อมใสในคำภาษิตของพระองค์

    จึงกล่าวสรรเสริญ พร้อมทั้งเชื้อเชิญให้ขึ้นจากมหาสมุทรว่า “ท่านใดถึงพร้อมด้วยความพยายามโดยธรรม ด้วยกิจคือความเพียรของบุรุษ ไม่ยอมจมลงในห้วงมหรรณพซึ่งกว้างใหญ่ประมาณมิได้เห็นปานนี้ ท่านนั้นจงไปยังสถานที่ที่ท่านชอบใจเถิด”

    เราจะเห็นได้ว่า ผู้มีความเพียรอย่างแท้จริงนั้น แม้ทอดสายตาออกไป จะไม่เห็นขอบฝั่งแห่งทะเล แต่จิตใจของท่านก็ไม่ท้อแท้ เมื่อรู้ว่าทะเลย่อมมีฝั่ง จึงคิดแต่จะว่ายไปให้ถึงฝั่งให้ได้ เมื่อเรี่ยวแรงยังไม่สิ้นสุด ท่านก็จะไม่หยุดยั้งในการทำความเพียร เพราะผู้ที่มีความเพียรแม้จะไม่สำเร็จก็ย่อมได้รับการสรรเสริญ

    ท่านทั้งหลาย คงได้ทราบถึงหัวใจที่กว้างใหญ่เกินฟ้าครอบของพระโพธิสัตว์กันแล้ว ว่าจะไม่ยอมหยุดทำความเพียรจนกว่าจะถึงเป้าหมาย แม้ตายก็ไม่เสียดายชีวิต ซึ่งเมื่อนางมณีเมขลาได้ฟังถ้อยคำที่มุ่งมั่นของท่านแล้ว ก็ได้กล่าวสรรเสริญ

    เทพธิดาได้ถามพระโพธิสัตว์ว่า ท่านประสงค์จะไปในที่ใด เมื่อพระโพธิสัตว์ตรัสว่า มิถิลานคร นางจึงได้อุ้มพระมหาชนกโพธิสัตว์ขึ้นจากน้ำ โดยใช้แขนทั้งสองประคองให้นอนแนบทรวง พาเหาะไปในอากาศเหมือนมารดาอุ้มบุตรอันเป็นที่รัก ฉะนั้น

    ขณะนั้น พระโพธิสัตว์มีผิวกายซูบซีดเศร้าหมองเปื่อยยุ่ย เพราะทรงแช่อยู่ในน้ำทะเลตลอด ๗ วัน ครั้นได้รับสัมผัสอันเป็นทิพย์ที่อบอุ่นนุ่มนวลของนางเทพธิดา ร่างกายก็กลับคืนสู่สภาพปกติได้บรรทมหลับไปอย่างมีความสุข

    นางมณีเมขลาได้นำพระมหาชนกไปถึงมิถิลานคร ให้บรรทมบนแผ่นมงคลศิลาในสวนมะม่วงโดยคลุมผ้าไว้ และมอบให้ภุมเทวดาในสวนอารักขาต่อไป แล้วจึงกลับไปสู่ที่อยู่ของตน

    ที่มา http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=desertcity&month=09-2007&date=11&group=1&gblog=30
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • r13_5.jpg
      r13_5.jpg
      ขนาดไฟล์:
      49.1 KB
      เปิดดู:
      2,655
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 กันยายน 2011
  7. Twana

    Twana เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กันยายน 2007
    โพสต์:
    294
    ค่าพลัง:
    +725
    ซึ้งมาก ขอบคุณค่ะ :'(
     
  8. วรเดช

    วรเดช เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    1,753
    ค่าพลัง:
    +6,146
    <TABLE border=0 width=670 bgColor=#ffffff><TBODY><TR bgColor=#ffcae3><TD>อีสาน กลาง ตะวันออก กทม.และปริมณฑลยังมีฝนหนักถึงร้อยละ90ของพื้นที่ </TD></TR><TR><TD></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=center><TABLE border=0 cellSpacing=2 cellPadding=2 width=668><TBODY><TR><TD class=A2 vAlign=top><TABLE border=0 cellSpacing=2 cellPadding=2 bgColor=#f5f5f5 align=center><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD align=center></TD></TR></TBODY></TABLE>
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=center><TABLE border=0 cellSpacing=2 cellPadding=2 width=668><TBODY><TR><TD class=A2 vAlign=top>พยากรณ์อากาศสำหรับประเทศไทยตั้งแต่เวลา 06:00 วันนี้ ถึง 06:00 วันพรุ่งนี้.


    ภาคเหนือ มีฝนฟ้าคะนองเกือบทั่วไป ร้อยละ 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง
    บริเวณจังหวัดตาก กำแพงเพชร พิษณุโลก พิจิตร และเพชรบูรณ์
    อุณหภูมิต่ำสุด 23-24 องศา อุณหภูมิสูงสุด 31-33 องศา
    ลมแปรปรวน ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

    ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีฝนฟ้าคะนองทั่วไป ร้อยละ 90 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง
    บริเวณจังหวัดชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ มุกดาหาร ยโสธร อำนาจเจริญ และอุบลราชธานี
    อุณหภูมิต่ำสุด 23-24 องศา อุณหภูมิสูงสุด 28-30 องศา
    ลมแปรปรวน ความเร็ว 15-30 กม./ชม.

    ภาคกลาง มีฝนฟ้าคะนองทั่วไป ร้อยละ 90 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง
    บริเวณจังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ลพบุรี สระบุรี พระนครศรีอยุธยา กาญจนบุรี และราชบุรี
    อุณหภูมิต่ำสุด 22-24 องศา อุณหภูมิสูงสุด 29-31 องศา
    ลมแปรปรวน ความเร็ว 15-30 กม./ชม.

    ภาคตะวันออก มีฝนฟ้าคะนองทั่วไป ร้อยละ 90 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง
    บริเวณจังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ระยอง จันทบุรี และตราด
    อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศา อุณหภูมิสูงสุด 28-30 องศา
    ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม.
    ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง มีคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

    ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก) มีฝนฟ้าคะนองเกือบทั่วไป ร้อยละ 80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักหลายพื้นที่
    อุณหภูมิต่ำสุด 23-24 องศา อุณหภูมิสูงสุด 30-31 องศา
    ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม.
    ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร

    ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก) มีฝนฟ้าคะนองทั่วไป ร้อยละ 90 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักหลายพื้นที่
    อุณหภูมิต่ำสุด 22-24 องศา อุณหภูมิสูงสุด 27-30 องศา
    ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-40 กม./ชม.
    ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร

    กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีฝนฟ้าคะนองทั่วไป ร้อยละ 90 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง
    อุณหภูมิต่ำสุด 24-25 องศา อุณหภูมิสูงสุด 29-30 องศา
    ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.


    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD><CENTER>ขอขอบคุณเนื้อหาข่าว คุณภาพดี โดย: หนังสือพิมพ์มติชน
    [​IMG]</CENTER></TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE border=0 width=670 bgColor=#ffffff><TBODY><TR bgColor=#ffcae3><TD>16จว.ยังทุกข์ระทมน้ำท่วม </TD></TR><TR><TD></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=center><TABLE border=0 cellSpacing=2 cellPadding=2 width=668><TBODY><TR><TD class=A2 vAlign=top><TABLE border=0 cellSpacing=2 cellPadding=2 bgColor=#f5f5f5 align=center><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD align=center></TD></TR></TBODY></TABLE>
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=center><TABLE border=0 cellSpacing=2 cellPadding=2 width=668><TBODY><TR><TD class=A2 vAlign=top>“ศอส.” เตือน 32 จังหวัด ฝนตกหนัก และ 5 จังหวัดภาคใต้ เสี่ยงดินถล่มและน้ำป่าไหลหลาก ขณะที่อีก 16 จว.ยังระทมฤทธิ์น้ำท่วม


    วันนี้ (11ก .ย.) นายภานุ แย้มศรี ผอ.ศูนย์อำนวยการบรรเทาสาธารณภัย กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ในฐานะประธานการประชุมศูนย์สนับสนุนการอำนวยการและการบริหารสถานการณ์อุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม (ศอส.) เปิดเผยว่า ปัจจุบันยังคงมีสถานการณ์อุทกภัยใน 16 จังหวัด รวม 69 อำเภอ 516 ตำบล 2,820 หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน 202,760 ครัวเรือน 465,792 คน ได้แก่ สุโขทัย พิจิตร พิษณุโลก นครสวรรค์ พระนครศรีอยุธยา อ่างทอง ชัยนาท อุบลราชธานี สิงห์บุรี นครปฐม สุพรรณบุรี นนทบุรี ฉะเชิงเทรา อุทัยธานี จันทบุรี และสระบุรี มีผู้เสียชีวิต 80 ราย พื้นที่การเกษตร 3.6 ล้านไร่ พื้นที่เพาะเลี้ยงสัตว์ แบ่งเป็น บ่อปลา 67,618 ไร่ กุ้ง หอย ปู 2,284 ไร่ ปศุสัตว์ 2,794,246 ตัว

    นายภานุ กล่าวต่อไปว่า ในระยะ 1 – 2 วันนี้ทั่วทุกภาคของประเทศมีฝนตกชุกหนาแน่นและตกหนักถึงหนักมาก

    โดยเฉพาะบริเวณ จ.ตาก กำแพงเพชร พิจิตร เพชรบูรณ์ ลพบุรี สระบุรี ชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ มุกดาหาร ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ อุบลราชธานี กาญจนบุรี ราชบุรี นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ระยอง จันทบุรี ตราด ชุมพร สุราษฎร์ธานี ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรังและ จ.สตูล จึงขอเตือนให้ประชาชนที่อาศัยในพื้นที่เสี่ยงภัยตามที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านของทั้ง 32 จังหวัด ระมัดระวังอันตรายจากภาวะฝนตกหนักที่อาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และ ดินโคลนถล่ม

    ส่วนประชาชนที่อาศัยในพื้นที่ราบลุ่มริมน้ำบริเวณภาคกลาง กรุงเทพมหานครและปริมณฑล รวมถึงภาคตะวันออก

    ให้เตรียมการป้องกันปริมาณน้ำท่วมที่เพิ่มสูงขึ้นในระยะนี้ โดยเฉพาะพื้นที่ริมสองฝั่งแม่น้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่าง ตั้งแต่ท้ายเขื่อนเจ้าพระยาลงมา ให้เฝ้าระวังภาวะน้ำล้นตลิ่งอย่างใกล้ชิด ติดตามสถานการณ์น้ำเป็นระยะ ทำการเสริมกระสอบทรายเป็นแนวป้องกัน พร้อมขนย้ายทรัพย์สินและสิ่งของมีค่าขึ้นที่สูง

    นอกจากนี้ ศอส. ขอแจ้งเตือนประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัย 5 จังหวัดภาคใต้ฝั่งตะวันตก

    ได้แก่ อำเภอสุขสำราญ อำเภอกะเปอร์ อำเภอเมืองระนอง จ.ระนอง อำเภอพะโต๊ะ อำเภอสวี อำเภอเมืองชุมพร จ.ชุมพร อำเภอคุระบุรี อำเภอตะกั่วป่า อำเภอกะปง อำเภอท้ายเหมือง จ.พังงา อำเภอเขาพนนม อำเภอหน้าเขา อำเภอเมืองกระบี่ จ.กระบี่ และอำเภอห้วยยอด อำเภอปะเหลียน จ.ดตรัง เฝ้าระวังดินถล่มและน้ำป่าไหลหลากในระยะ 1 – 2 วันนี้ หากสังเกตพบสัญญาณผิดปกติทางธรรมชาติ ให้รีบอพยพออกจากพื้นที่ในทันที



    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD><CENTER>ขอขอบคุณเนื้อหาข่าว คุณภาพดี โดย: หนังสือพิมพ์เดลินิวส์
    [​IMG]</CENTER></TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE border=0 width=670 bgColor=#ffffff><TBODY><TR bgColor=#ffcae3><TD>อ่างทองคันดินพัง น้ำทะลัก ชาวบ้านหนีอลหม่าน </TD></TR><TR><TD></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=center><TABLE border=0 cellSpacing=2 cellPadding=2 width=668><TBODY><TR><TD class=A2 vAlign=top><TABLE border=0 cellSpacing=2 cellPadding=2 bgColor=#f5f5f5 align=center><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD align=center></TD></TR></TBODY></TABLE>
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=center><TABLE border=0 cellSpacing=2 cellPadding=2 width=668><TBODY><TR><TD class=A2 vAlign=top>วันที่ 11 ก.ย. คันกั้นน้ำริมแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณหมู่ที่ 5 ต.บ้านแห อ.เมืองอ่างทอง จ.อ่างทอง

    ถูกน้ำกัดเซาะจนพัง น้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยาไหลทะลักเข้าท่วมบ้านเรือนประชาชน ซึ่งคันดินริมแม่น้ำเจ้าพระยาถูกน้ำกัดเซาะยาวกว่า 3 เมตร น้ำจำนวนมากไหลทะลักเข้าสู่บ้านเรือนประชาชนอย่างรวดเร็ว จนชาวบ้านไม่ทันตั้งตัว ต่างรีบเก็บของกันอย่างอลหม่าน กระแสน้ำได้พัดข้าวของประชาชนที่เก็บไม่ทัน ลอยไปตามน้ำจำนวนมาก กระแสน้ำได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เพียงไม่ถึงครึ่งชั่วโมง กระแสน้ำได้เข้าท่วมบ้านเรือนประชาชนกว่า 100 หลังคาเรือน จำนวน 2 หมู่บ้าน ได้แก่หมู่ที่ 5 และ 6 ระดับน้ำสูงกว่า 1 เมตร ประชาชนจึงต้องลอยคอเก็บของอย่างต่อเนื่อง แม้กระทั่งสุนัขต่างก็ถูกกระแสน้ำพัด เจ้าของต้องรีบช่วยเหลือ บางตัวก็ต้องว่ายหนีตาย

    ด้าน ดต. ปรีชา ศรีโสภา ผบ.หมู่งาน.ป.สภ.เมืองอ่างทอง กล่าวว่า

    ทาง อบต.บ้านแหได้ประกาศเตือนเกี่ยวกับระดับน้ำที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ให้รีบเก็บของ ขณะที่ตนกำลังเก็บของอยู่นั้น จู่ ๆ น้ำก็ได้ทะลักเข้าโหมกระหน่ำบ้านอย่างไม่ทันตั้งตัว ข้าวของจำนวนมากต้องสูญหายไปกับน้ำ ส่วนที่เก็บได้ก็ต้องรีบนำไปไว้บนที่สูง น้ำมาไวมาก กระแสน้ำเชี่ยวกราก


    หลังจากกระแสน้ำได้ไหลเข้าสู่บ้านเรือนประชาชนเพียงไม่ถึงครึ่งชั่วโมงน้ำก็ได้สูงขึ้นกว่า 1 เมตร

    ชาวบ้านต้องย้ายมาอยู่บนถนน ทำให้การจราจรติดขัดอย่างกะทันหัน เจ้าหน้าที่ตำรวจจึงต้องเข้ามาอำนวยความสะดวก
    วันนี้ทางเขื่อนเจ้าพระยาได้ปล่อยน้ำลงท้ายเขื่อนถึง 2903 ลบ.ม/วินาที ระดับน้ำที่หน้าศาลากลางจังหวัดอ่างทองสูง 8.96เมตร สูงกว่าระดับตลิ่งถึง 1.46 เมตร นอกจากนั้นฝนได้กระหน่ำตกอย่างต่อเนื่องมา 2 วันติดแล้วทำให้ประชาชนได้รับความลำบากมากขึ้น

    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD><CENTER>ขอขอบคุณเนื้อหาข่าว คุณภาพดี โดย: หนังสือพิมพ์ข่าวสด
    [​IMG]</CENTER></TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE border=0 width=670 bgColor=#ffffff><TBODY><TR bgColor=#ffcae3><TD>ย่านเศรษฐกิจเมืองลพบุรีจมน้ำ-หวั่นคืนนี้น้ำป่าทะลักเพิ่ม </TD></TR><TR><TD></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=center><TABLE border=0 cellSpacing=2 cellPadding=2 width=668><TBODY><TR><TD class=A2 vAlign=top><TABLE border=0 cellSpacing=2 cellPadding=2 bgColor=#f5f5f5 align=center><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD align=center></TD></TR></TBODY></TABLE>
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=center><TABLE border=0 cellSpacing=2 cellPadding=2 width=668><TBODY><TR><TD class=A2 vAlign=top>ผู้สื่อข่าวรายงานสภาพพื้นที่ลุ่มในเขตอำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี ถูกกระแสน้ำป่าทะลักเข้าท่วมอย่างรวดเร็วตั้งแต่เช้า

    ท่ามกลางฝนตกตลอดเวลา ทำให้บ้านเรือนประสบปัญหาถึง 3 ตำบล คือ ต.นิคมสร้างตนเอง ต.ท่าศาลา และ ต.กกโก ชาวบ้านหลายร้อยครัวเรือนเร่งขนของหนีน้ำ รวมทั้งร้านค้าย่านเศรษฐกิจนำกระสอบทรายมาทำเป็นแนวกั้น บางจุดต้านแรงน้ำไม่อยู่ น้ำทะลักเข้าท่วมตัวอาคาร ขณะที่การสัญจรหลายเส้นทางมีน้ำท่วมสูงเช่นกัน รถเล็กไม่สามารถผ่านได้

    โดยเฉพาะสายพหลโยธิน ลพบุรี – สระบุรี – กรุงเทพฯ และสายลพบุรี – โคกตูม – พัฒนานิคม กระแสน้ำไหลผ่านเป็นระยะทางยาวนับ 10 กิโลเมตร

    เจ้าหน้าที่ตำรวจและอาสาสมัครมูลนิธิมาช่วยกันอำนวยความสะดวกแก่ผู้สัญจร และคาดคืนนี้น้ำป่าอาจไหลหลากมากขึ้น เนื่องจากฝนตกสะสมทั้งวัน ทางจังหวัดประกาศเตือนประชาชนให้เก็บสัมภาระและสิ่งของจำเป็นขึ้นบนที่สูงแล้ว เพื่อความปลอดภัย หากมีเหตุฉับพลัน. -สำนักข่าวไทย

    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD><CENTER>ขอขอบคุณเนื้อหาข่าว คุณภาพดี โดย:"ข่าวเข้ม ฉับไว เป็นกลาง"
    [​IMG]</CENTER></TD></TR></TBODY></TABLE>
    [​IMG]
    เว็บไซต์ ฟิฟทีนมูฟ รายงานว่า ตัวแทนพรรคสมรังสีประกาศติดตามการเจรจาแบ่งสัดส่วนผลประโยชน์น้ำมันระหว่างไทย-เขมร อย่างใกล้ชิด ระบุเจรจาทวิภาคีเรื่องเขตแดนทางบกอาจไม่ได้ข้อยุติ ส่วนทางทะเลอาจทำเขมรเสียรายได้ บอกจากการศึกษาของออสเตรเลีย MOU44 สมัยทักษิณทำเขมรได้น้ำมันน้อย ไม่ยุติธรรม
    วิทยุเอเชียเสรี (๑๑ กันยายน ๒๕๕๔) รายงานท่าทีของพรรคฝ่ายค้านของกัมพูชา หลังมีข่าวทักษิณ ชินวัตร จะเดินทางเยือนกัมพูชา ระหว่างวันที่ ๑๖-๑๙ กันยายน เพื่อเจรจาปัญหาเขตแดนทางบกและทะเล โดย นายซน ชัย ตัวแทนชาวพรรคสมรังสี ประกาศจะติดตามการเจรจาแบ่งสัดส่วนผลประโยชน์ปิโตรเลียม ระหว่างรัฐบาลกัมพูชาและไทย เนื่องจากมองว่าบันทึกความเข้าใจฯ ๒๕๔๔ อาจทำให้กัมพูชาสูญเสียเงินรายได้ของชาติเป็นจำนวนมาก
    นายซน ชัย กล่าวว่า ตนไม่มีความหวังว่าการเจรจาทวิภาคีในเรื่องเขตแดนระหว่างกัมพูชาและไทย จะช่วยยุติปัญหาเขตแดนทางบกได้เลย และกัมพูชาจะสูญเสียผลประโยชน์ในพื้นที่อ้างสิทธิ์ทับซ้อนในทะเล ที่มีทรัพยากรน้ำมันและก๊าชจำนวนมาก “การแบ่งสัดส่วนนี้ ถ้าตามผู้เชี่ยวชาญจากประเทศออสเตรเลีย ที่รัฐบาลเขมรเคยว่าจ้างให้ทำการศึกษาพื้นที่อ้างสิทธิ์ทับซ้อน เราสังเกตเห็นว่า สิ่งที่เคยทำข้อตกลงกันไว้ในสมัยของนายทักษิณนั้น จะทำให้กัมพูชาสูญเสียผลประโยชน์มากอย่างแน่นอน เนื่องจากส่วนที่กัมพูชาได้รับเป็นพื้นที่ที่ไม่มีน้ำมัน มีน้ำมันน้อยนิด ในขณะที่ได้เปอร์เซ็นต์มาก การแบ่งสัดส่วนนี้ไม่ยุติธรรมสำหรับกัมพูชาเลย”
    สื่อกัมพูชาดังกล่าวรายงานด้วยว่า ก่อนหน้านี้ นายโกย กวง โฆษกกระทรวงการต่างประเทศและความร่วมมือระหว่างประเทศของกัมพูชา เคยกล่าวว่า การเจรจาพื้นที่อ้างสิทธิ์ทับซ้อนในอ่าวไทย ระหว่างกัมพูชาและไทย ทำขึ้นด้วยความต้องการที่จะแบ่งปันผลประโยชน์ทั้งหมดให้เป็นไปอย่างเสมอภาค
    ตามรายงานก่อนหน้าของฟิฟทีนมูฟ เมื่อวันที่ ๙ กันยายน นายซก อาน ในฐานะประธานองค์การปิโตรเลียมแห่งชาติกัมพูชา ให้สัมภาษณ์ที่สนามบินกรุงพนมเปญ เร่งให้สองฝ่ายเจรจาเพื่อนำทรัพยากรน้ำมันและก๊าซในอ่าวไทยมาใช้ประโยชน์ โดยระบุว่า กัมพูชาจะไม่ปล่อยทองคำสีดำไว้ใต้ท้องทะเล จะต้องถูกนำมามีส่วนในการพัฒนาประเทศ ทั้งไทยและกัมพูชาต่างมีความต้องการน้ำมัน นอกจากนี้ยังเปิดเผยด้วยว่า กัมพูชาอยู่ระหว่างศึกษาและร่างกฎหมายการจัดการปิโตรเลียม แต่ยังไม่มีกำหนดแล้วเสร็จ
    พื้นที่อ้างสิทธิ์ทับซ้อนทางทะเลระหว่างไทยกับกัมพูชา เกิดจากการลากเส้นฐานและเขตไหล่ทวีปโดยปราศจากหลักเกณฑ์ของกัมพูชา เมื่อ พ.ศ.๒๕๑๕ โดยด้านหนึ่งของเส้นอาณาเขตทางทะเลดังกล่าว ลากคร่อมจุดสูงสุดของเกาะกูดของไทย นายพลลอน นอล ประธานาธิบดีของกัมพูชา ในขณะนั้น ให้เหตุผลว่า เป็นไปตามการเสนอของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง และบริษัทเอกชนที่เสนอขอรับสัมปทานปิโตรเลียมในเขตไหล่ทวีปกัมพูชา
    ขอบคุณข้อมูลจาก เว็บไซต์ ฟิฟทีนมูฟ
    Mthai news


    [​IMG]
    Mthai News : สำนักข่าวต่างประเทศรายงานเมื่อวันที่ 11 ก.ย.ว่า เกิดโศกนาฎกรรมเรือโดยสาร “M.V.Spice Islands” บรรทุกผู้คนออกจากท่าเรือดาร์ เอส ซาลาม มุ่งหน้าไปยังเกาะซานซิบาร์ ซึ่งเป็นเมืองท่องเที่ยว เมื่อเวลาประมาณ 21.00 น. (01.00 น.วันนี้ตามเวลาประเทศไทย) ของวันศุกร์ที่ 9 กันยายน และเกิดล่มในบริเวณทะเลลึกในอีก 4 ช.ม. ต่อมา (01.00 น.) เนื่องจากบรรทุกผู้โดยสารเกินอัตราและกระแสน้ำเชี่ยวกราด โดยเรือสามารถรับผู้โดยสารสูงสุดได้ 600 คน แต่ผู้รอดชีวิตรายหนึ่งบอกว่า เรือบรรทุกผู้โดยสารเกินกว่าที่รับได้หลายร้อยคน
    โดยตลอดวันของเมื่อวานนี้ (10 ก.ย.) ตำรวจเร่งนำร่างผู้เสียชีวิตขึ้นมาบนฝั่ง ส่วนผู้เห็นเหตุการณ์บอกว่าเห็นศพผู้เสียชีวิตแล้วเกือบ 200 ราย ส่วนใหญ่เป็นผู้หญิงและเด็ก
    ทางด้าน นายอาลี โมฮัมเหม็ด เชน ประธานาธิบดีของซานซิบาร์ เกาะที่เป็นเขตปกครองตนเองของแทนซาเนีย บอกว่า ได้ช่วยเหลือผู้รอดชีวิตไว้ได้มากกว่า 570 คน และประกาศไว้อาลัยให้ผู้เสียชีวิต 3 วัน ขณะนี้ ยังไม่ชัดเจนว่า มีผู้เสียชีวิตกี่ราย และมีผู้โดยสารกี่คน ที่โดยสารเรือลำนี้ขณะเกิดเหตุ
    รายงานระบุว่า ในจำนวนผู้โดยสารมีหลายครอบครัวที่เดินทางกลับมาจากการพักผ่อนวันหยุดหลังสิ้นสุดเดือนถือศีลอด เจ้าหน้าที่กล่าวว่ายากที่จะทราบจำนวนผู้โดยสารบนเรืออย่างชัดเจน เนื่องจากไม่มีการเก็บรายชื่อผู้โดยสาร ยิ่งไปกว่านั้นนอกจากจะเรือลำนี้จะบรรทุกผู้โดยสารเกินอัตราแล้ว ยังบรรทุกสินค้าที่มีน้ำหนักมาก เช่น ข้าวและสินค้าอื่น ๆ
    ด้านครอบครัวเหยื่อผู้ประสบเคราะห์แสดงความโกรธแค้นที่เรือได้รับอนุญาตให้แล่นออกจากท่าเรือทั้งที่บรรทุกผู้โดยสารเกินอันตรา และเรียกร้องให้รัฐบาลลาออก โดยชาวบ้านบอกว่า เกาะซานซิบาร์ควรจะมีเจ้าหน้าที่ดำน้ำกู้ภัยและกู้ภัยเพียงพอที่จะป้องกันโศกนาฎกรรมนี้
    อย่างไรก็ตาม ประเทศแทนซาเนีย ตั้งอยู่ในทวีปแอฟริกาตะวันออก และพึ่งพารายได้จากการท่องเที่ยวเป็นรายได้หลักของประเทศ โดยเกาะเพมบ้า ซึ่งเป็นจุดหมายปลายทางของเรือโดยสารลำนี้เป็น 1 ใน จุดดำน้ำที่สวยงามที่สุดแห่งหนึ่งของโลก



    <OBJECT codeBase="http://download.macromedia.com/pub/shockwave/cabs/flash/swflash.cab#version=6,0,40,0" classid=clsid:d27cdb6e-ae6d-11cf-96b8-444553540000 width=560 height=345>
























    <embedwidth="560" height="345" type="application/x-shockwave-flash" src="http://www.youtube.com/v/o4bWX1563c8?version=3&hl=th_TH" allowFullScreen="true" allowscriptaccess="always" allowfullscreen="true" /></OBJECT></P>
    [​IMG] [​IMG]
    แท็ก : เรือโดยสารล่ม, แทนซาเนีย
     
  9. วรเดช

    วรเดช เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    1,753
    ค่าพลัง:
    +6,146
    [​IMG]
    Mthai News : สำนักข่าวต่างประเทศเผยภาพแมวเรืองแสง ซึ่งนักวิทยาศาสตร์และนักวิจัยในสหรัฐอเมริกา ได้ทำการวิจัยเพื่อนำมารักษาโรคเอดส์ โดยการนำแมวบ้านมาตัดต่อพันธุกรรมด้วยยีน 2 ชนิด คือยีนที่ผลิตโปรตีนซึ่งต่อต้านโรคเอดส์ เรียกว่า feline immunodeficiency virus (FIV) และการใช้ยีนแมงกระพรุนเรืองแสง ซึ่งจะทำให้แมวเกิดการเรืองแสงสีเขียว เมื่อถูกส่องด้วยแสงอัลตราไวโอเลต
    ทั้งนี้ การส่องด้วยแสงอัลตราไวโอเลตนั้นเพื่อตรวจสอบความสามารถว่าแมวนั้นสามารถผลิตโปรตีนรักษาเอดส์ได้เช่นเดียวกับลิงแสมหรือไม่ โดยยีนที่ได้จากโปรตีนและแมงกระพรุนเรืองแสงจะทำงานสัมพันธ์กัน โดยยีนเรืองแสงจากแมงกระพรุนใช้สำหรับติดตามการทำงานของยีนอีกชนิดหนึ่ง
    โดยขั้นตอนเริ่มจาก นักวิจัยใช้ไวรัสที่ไม่มีอันตรายถ่ายโอนยีนเข้าไปในไข่ของแมวที่นำออกมาระหว่างการทำหมัน จากนั้นนำไข่ไปปฏิสนธิในหลอดทดลอง (IVF) และนำฝังในแม่อุ้มบุญ โดยทำการทดลองมากถึง 22 ครั้งจึงได้ลูกแมว 5 ตัว แต่รอดชีวิตเพียง 3 ตัว โดยมี 2 ตัวสุขภาพดี แต่อีก 1 ตัว มีปัญหาสุขภาพแต่นักวิจัยไม่เชื่อว่าเกิดจากการดัดแปลงยีน
    อย่างไรก็ตาม ในการศึกษาได้ทดลองฉายแสงอัลตราไวโอเลตบนตัวลูกแมวพบว่า สามารถเรืองแสงได้ ซึ่งช่วยยืนยันได้ด้วยว่า มีการผลิตโปรตีนอยู่ในเนื้อเยื่อ เมื่อนำเซลล์ลูกแมวเหล่านี้ออกมาทดสอบพบว่า สามารถต้านการติดเชื้อ FIV ได้ดีกว่าเซลล์จากแมวปกติ ในขณะที่มีลูกแมว 2 ตัวสามารถสืบพันธุ์มีลูกได้ โดยที่ลูกแมวรุ่นหลังทั้งหมดยังคงมียีนใหม่อยู่

    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]
    Photo :: PA

    [​IMG]

    Mthai News : ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายพรเทพ เตชะไพบูลย์ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เปิดเผยถึงความคืบหน้าโครงการรวม 3สวนสาธารณะคือ สวนจตุจักร สวนวชิรเบญจทัศน์ (สวนรถไฟ) และสวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ
    โดยมีพื้นที่กว่า 700 ไร่ ภายใต้ชื่อ อุทยานสวนจตุจักร และจะทำให้เป็นสวนระดับมหานครแห่งแรกของกรุงเทพฯ ตามแนวความคิดสวนสาธารณะแบบพลวัตสมัยใหม่ เพื่อใช้ประโยชน์ร่วมกัน
    ทั้งนี้ กทม.ได้งบประมาณในการดำเนินการแล้วกว่า 500 ล้านบาท โดยกทม.จะดำเนินการก่อสร้างถนนกำแพงเพชร 3 เพื่อเชื่อมระหว่างสวนจตุจักรและสวนรถไฟ ตรงบริเวณถนนกำแพงเพชร โดยจะสร้างเป็นอุโมงค์ขนาด 2 ช่องจราจร 2 ทิศทางเขตทางกว้าง 10 เมตร พร้อมระบบระบายน้ำ
    ระบบไฟฟ้าแสงสว่าง ป้ายและเครื่องหมายจราจร และระบบสาธารณูปโภคต่างๆ ระยะทางประมาณ 500 เมตร และปรับปรุงถนนขนาด 4 ช่องทางจราจร 2 ทิศทาง ระยะทางรวมประมาณ 1,200 เมตร พร้อมที่จอดรถจำนวนประมาณ 2,000 คัน ระยะเวลาก่อสร้างประมาณ 540 วัน โดยคาดว่าจะสามารถเริ่มดำเนินการได้ในเร็วๆ นี้
    อย่างไรก็ตาม สำหรับการเพิ่มพื้นที่สีเขียวของ กทม. ปัจจุบันสามารถเพิ่มได้แล้วกว่า 2,500 ไร่ และมีแผนที่จะเปิดในระยะเวลาอันใกล้นี้อีกกว่า 1,000 ไร่ ซึ่งคาดว่าจะสามารถทำได้เกินกว่าเป้าที่วางไว้คือ 5,000 ไร่ ในสมัย ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าฯ กทม. นี้แน่นอน
    Mthai News


    [​IMG]
    ขอบคุณภาพจาก ภาพจากครอบครัวข่าว 3
    อัพเดต!!
    10.30 น. เจ้าหน้าที่พบผู้เสียชีวิตแล้ว 3 ราย ติดอยู่ภายใน 6 คน
    ………………………………………………………
    เมื่อเวลา 07.32 น.ที่ผ่านมา อาคารพาณิชย์แห่งหนึ่งที่เป็นอาคารหอพัก 2 ชั้น 10 ห้อง หลัง รพ.เกษมราษฎร์ จ.สระบุรี ได้ทรุดตัวพังลงหลายคูหา เนื่องจากดินบริเวณดังกล่าวได้อ่อนตัวและเกิดสไลด์ลงมาหลังจากช่วงคืนวานนี้ได้มีฝนตกลงอย่างหนักต่อเนื่อง
    เบื้องต้นเจ้าหน้าที่พบผู้เสียชีวิตแล้ว 2 ราย และบาดเจ็บ 1คนจากเหตุดังกล่าว ขณะที่ผู้ว่าราชการ จ.สระบุรี เผยว่ายังมีผู้ติดอยู่ในอาคารดังกล่าวอีกประมาณ 4-5ราย จึงได้สั่งเร่งระดมเจ้าหน้าที่ค้นหาหวังพบผู้รอดชีวิตอีก
    Mthai News



     
  10. วรเดช

    วรเดช เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    1,753
    ค่าพลัง:
    +6,146
    [​IMG]
    วานนี้ (11 ก.ย.) เมื่อเวลา 22.30 น. ได้เกิดเหตุระทึกขึ้นบริเวณปั้มน้ำมัน ปตท. สี่แยกเกษมพล ต.พลูตาหลวง อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี หลังมีชายฉกรรจ์คนหนึ่งได้ใช้อาวุธปืนไล่ยิงเด็กปั๊ม ก่อนจะขับรถหนีไป
    ซึ่งจากการสอบสวนพนักงานปั๊มน้ำมันที่อยู่ในอาการตื่นตกใจ และเนื้อตัวมอมแมมไปด้วยฝุ่น ได้ความว่า ก่อนเกิดเหตุมีชาย ประมาณ 3-4คนขับรถยนต์นิสสันมาร์ชเข้ามาเติมน้ำมันในปั๊ม
    และคนขับได้สั่งตนว่าเติมเต็มถัง จากนั้นตนเองจึงได้ทวนคำสั่งว่า “เติมน้ำมันแก๊สโซฮอลล์ 91 เต็มถังใช่ไหมครับ” ทำให้คนนั่งข้างคนขับลดกระจกลงแล้วตะโกนออกมาว่า “มึงจะให้กูเติมน้ำมันดีเซลหรือไง”
    หลังจากที่เติมน้ำมันเสร็จตนก็ได้เดินไปเอาอุปกรณ์เพื่อมาเช็ดกระจกรถให้ แต่ผู้ชายคนเดิมก็ได้ตะโกนบอกว่ามึงไม่ต้องเช็ด แล้วเปิดประตูกระแทกใส่ พร้อมทั้งออกมาจากรถ และควักปืนไล่ยิงใส่ตน ทำให้ต้องวิ่งหนีเอาชีวิตรอด ก่อนที่เพื่อนที่มาด้วยกันจะช่วยห้ามปรามและยื้อแย่งปืนไปได้สำเร็จ
    เบื้องต้นทางเจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.พลูตาหลวง ได้ทำการตรวจสอบจากกล้องวงจรปิดแล้วพบว่า ชายคนก่อเหตุมีลักษณะท่าทางคล้ายตำรวจ เนื่องจากมีอาวุธปืน ไม่ทราบขนาดพร้อมวิทยุสื่อสารติดตัวอยู่ด้วย
    และถ้าพบว่าเป็นตำรวจจริงก็จะต้องถูกดำเนินการตามกฎหมายต่อไป ส่วนสาเหตุนั้นคาดว่าชายคนดังกล่าวคงเมามากและอยากแสดงอำนาจ ไม่ได้มีปัญหากับพนักงานเติมน้ำมันแต่ประการใด เพราะจากภาพเด็กปั๊มคนดังกล่าวก็ทำงานได้เรียบร้อยดี
    ข้อมูลจาก/pattayadailynews
    Mthai News


    [​IMG]
    MThai News : เว็บไซต์นิตยสารไทม์ ได้จัดอันดับ สัตว์ประหลาดที่น่ากลัวที่สุดในโลก 10อันดับ
    โดยอันดับที่ 1 เป็น จระเข้ยักษ์ ที่พบในหมู่บ้านบูนาวัน ในประเทศฟิลิปปินส์ ด้วยความยาว 21 ฟุต และน้ำหนักกว่า 2370 ปอนด์ (ประมาณ 1 ตัน) ซึ่งมีคนสังเวยชีวิตให้เจ้าจระเข้ยักษ์ตัวนี้หลายคน จนกระทั่งเมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ชาวบ้านได้ช่วยกันใช้เครนนำร่างของมันขึ้นมาไว้บนรถบรรทุก

    [​IMG]
    อันดับที่ 2 ปลาหมึกยักษ์ ไม่ค่อยถูกพบขณะยังมีชีวิต แต่ปลาหมึกยักษ์ตัวนี้ นักวิทยาศาสตร์ชาวญี่ปุ่นคาดการณ์ว่า มันจะเติบโตและมีความยาวได้ถึง 45 ฟุต และหนักเกือบ 1 ตัน ซึ่งถูกถ่ายภาพไว้ได้ในปี 2004 ที่ใต้ทะเลลึก 3,000 ฟุต
    [​IMG]
    อันดับที่ 3 ได้แก่ Goliath Birdeater Tarantula แมงมุมยักษ์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีความยาวประมาณ 1 ฟุต หนักประมาณ 6 ออนซ์ (170 กรัม) มีถิ่นกำเนิดอยู่ที่อเมริกาใต้ โดย สมญานาม Goliath Birdeater Tarantula มาจาก แมงมุมชนิดนี้ชอบกินนกฮัมมิ่งเบิร์ด
    [​IMG]
    อันดับ 4 คือ Portuguese Man-of-War เป็นแมงกระพรุนที่มีลักษณ์คล้ายปลาหมึกที่มีพิษร้ายแรงมาก พบในทะเลเปิดของมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ ทะเลเมดิเตอเรเนียน, มหาสมุทรแปซิฟิก และมหาสมุทรอินเดีย
    [​IMG]
    อันดับ 5 ได้แก่ แมงป่องจักรพรรดิ ถูกพบอยู่ทางตะวันตกของแอฟริกา เป็นแมงป่องที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก เมื่อโตเต็มที่จะมีความยาวถึง 8 นิ้ว แม้ว่าหล็กในจะทำให้มันดูดุร้าย แต่ความจริงแล้วในเป็นสัตว์ที่เชื่องและสามารถนำมาเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยงได้
    [​IMG]
    อันดับ 6 คือ ค้างคาวดูดเลือด มีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกาใต้ ชอบดูดเลือดสัตว์ชนิดอื่นเป็นอาหาร
    [​IMG]
    อันดับ 7 ได้แก่ ปลาพญานาค (ปลายักษ์) เป็นปลาน้ำจืดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก เมื่อโตเต็มที่จะมีขนาดถึง 56 ฟุต อาศัยอยู่ในน้ำลึกกว่า 3,000 ฟุต เคยพบตัวใหญ่ที่สุด มีความยาวถึง 200 ฟุต แต่เมื่อมันใกล้จะตายมักลอยขึ้นสู่ผิวน้ำ จนบางครั้งถูกเข้าใจผิดว่าเป็นงู
    [​IMG]
    อันดับ 8 คือ แมงกระพรุนกล่อง อาศัยอยู่ในน้ำตามแนวชายฝั่งของออสเตรเลียตอนเหนือและทั่วอินโดแปซิฟิก มีสีฟ้าอ่อน โปร่งใสเป็นแมงกระพรุนที่มีพิษร้ายแรงมาก เมื่อถูกต่อยพิษของมันจะตรงเข้าสู่หัวใจและระบบประสาท
    [​IMG]
    อันดับที่ 9 ได้แก่ งูหลาม เป็นงูที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก โตเต็มที่ได้ถึง 25 ฟุต และหนักถึง 200 ปอนด์ แต่ไม่มีพิษร้ายแรง ล่าเหยื่อโดยการบีบรัดเหยื่อ มีถิ่นกำเนิดอยู่ทางเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
    [​IMG]
    และอันดับที่ 10 ได้แก่ The Loch Ness Monster สัตว์ประหลาดล็อกเนสส์ มีลำคอยาว ลำตัวสีดำ อาศัยอยู่ในน้ำลึก ทางตอนเหนือของสก็อตแลนด์ เชื่อว่าเนสซีมีรูปร่างคล้ายสัตว์เลื้อยคลานที่อาศัยในทะเลยุคเดียวกับไดโนเสาร์

    Mthainews
     
  11. Soul Collector

    Soul Collector เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มกราคม 2011
    โพสต์:
    503
    ค่าพลัง:
    +610
    ดูรูปที่เก้าแล้วสยองดีครับ ที่บ้านผมมีแต่งูเหลือมกับงูสิงครับ งูเหลือมมันชอบมาลักกินแมวเป็นประจำ ยิ่งระยะนี้ด้านหลังบ้านน้ำท่วมคลองแล้วจากเหตุการณ์ฝนที่กระหน่ำตกมาอย่างไม่ลืมหูลืมตาเมื่อคืนครับ งูเหลือมันชอบน้ำมั้งครับ ดีนะที่ไม่มีเจ้าหลามด้วย อ้องูเห่าที่บ้านก็มีแต่อยู่หลังสวนครับคอยเฝ้าสวนให้มั้ง อิอิ^_^
     
  12. CopperOxide

    CopperOxide เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    321
    ค่าพลัง:
    +289
    เหตุการณ์น้ำป่าดินโคลนถล่มสามหมู่บ้านในจังหวัดอุตรดิตถ์

    บ้านห้วยเดื่อ /บ้านต้นขนุน/ บ้านห้วยคอม ตำบลน้ำไผ่ อำเภอน้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์

    สาเหตุคาดว่า ฝนตกหนักเป็นเวลานาน ทำให้ดินบนภูเขาไม่สามารถรับน้ำหนักได้ จึงพัดพาเอา น้ำป่า หินและดินโคลน เศษไม้ขนาดใหญ่ ...
    สัญญาณก่อนเกิดเหตุ
    ...เท่าที่ติดตามข่าว ก่อนหน้านี้ชาวบ้าน สังเกตุเห็น งูกัดกัน / ตัวแลน(ตะกวด)ออกมาเพ่นพ่านในหมู่บ้านเป็นจำนวนมากผิดปกติ / กลิ่นคาวโคลนเหม็นคุ้งและไม่นานก่อนเกิดเหตุได้ยินเสียงดังมาก

    ข้อมูลอื่นๆที่น่าสนใจ

    ทั้งสามหมู่บ้านตั้งอยู่ที่ตำบลน้ำไผ่ อำเภอน้ำปาด กลางรอยเลื่อนอุตรดิตถ์ ดังภาพที่ผมแคปมาจากกูเกิลเอิร์ท เทียบกับ ตำแหน่งรอยเลื่อนที่พาดผ่านอำเภอน้ำปาด (ความบังเอิญบนความเสี่ยงอีกหนึ่งอย่าง)
    จริงๆอาจไม่เกี่ยวกันเพียงแต่เทียบให้ดูตำแหน่ง



     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • Map2554.JPG
      Map2554.JPG
      ขนาดไฟล์:
      76.1 KB
      เปิดดู:
      90
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 กันยายน 2011
  13. ชนินทร

    ชนินทร พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,725
    ค่าพลัง:
    +6,384
    "๓ ต. ต่อชีวิต เพิ่มทางรอดจากภัยพิบัติ - สัมมนาเตือนภัยพิบัติ ๕ ภูมิภาคค่ะ

    ขออนุญาตทุกท่านประชาสัมพันธ์งาน "๓ ต. ต่อชีวิต เพิ่มทางรอดจากภัยพิบัติ - สัมมนาเตือนภัยพิบัติ ๕ ภูมิภาคค่ะ

    และขอเรียนเชิญทุกท่านไปร่วมงานด้วยกันนะคะ...


     
  14. ชนินทร

    ชนินทร พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,725
    ค่าพลัง:
    +6,384
    “๓ ต. ต่อชีวิต เพิ่มทางรอดจากภัยพิบัติ”

    ยุคปัจจุบันถือได้ว่าเป็นยุคของความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาการ... มีเครื่องอำนวยความสะดวกทุกอย่างเท่าที่มนุษย์เราต้องการจะให้มี... ตั้งแต่ตื่นยันหลับ เกิดยันตาย... จนมนุษย์ส่วนใหญ่หลงลืมกับ “คุณค่า” ความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติที่ต้องใช้ระยะเวลานับหลายล้านล้านล้านปีในการที่จะก่อกำเนิดขึ้นมา... กว่าจะเป็น “โลก” ที่เราอยู่กันได้ตราบจนทุกวันนี้...

    มนุษย์ทำลายทรัพยากรธรรมชาติทั้งบนบก ใต้ดิน ในน้ำ ในอากาศ หรือแม้แต่ในอวกาศนอกโลกของเรา... จะโดยรู้ตัวหรือไม่ก็ตาม...

    ในสมัยก่อน ๆ มนุษย์ใช้ทรัพยากรเพื่อการดำรงชีพในแต่ละมื้อ แล้วค่อย ๆ พัฒนามาเพื่อการเก็บสะสมใช้อุปโภคบริโภคในครัวเรือน... อีกทั้งจำนวนประชากรของโลกในขณะนั้นก็ยังมีจำนวนไม่มากนัก... ความเสียหายที่ส่งผลกระทบต่อผืนโลกจึงยังอยู่ในวงแคบและมีผลที่ไม่รุนแรงนัก... แต่เมื่อทุกอย่างในโลกใบนี้กลายเป็น “ธุรกิจ” ทุกอย่างกลายเป็นการค้า การแลกเปลี่ยนซึ่งผลประโยชน์อันมหาศาล... คำว่า “ยับยั้งชั่งใจ” หรือ “พอประมาณ” จึงถูกเพิกเฉยเสีย... ที่ผ่านมา... กลายเป็นว่ามนุษย์ต้อง “ซื้อ” ทุกอย่าง ไม่ว่าของเหล่านั้นจะจำเป็นต่อการดำรงชีวิตหรือไม่...

    ในยุคปัจจุบันนี้มนุษย์ “ใช้ประโยชน์จากทุกสิ่งที่อยู่รอบตัว” จนวัฏจักรของธรรมชาติเสียสมดุลไป... ตลอดเวลาที่ผ่านมาจึงเป็นช่วงเวลาที่ทั้งมนุษย์ และธรรมชาติ ต่างฝ่ายต่างก็พยายามปรับสมดุลให้กับตัวเอง เพื่อให้ตัวเองอยู่รอด
    เวลาที่มนุษย์พยายามที่จะอยู่รอด และก่อความเสียหายให้เกิดขึ้นกับธรรมชาติ และชีวิตอื่น... มีมนุษย์เพียงน้อยนิดที่ตระหนักถึงความสูญเสียในวงกว้างที่จะเกิดขึ้นในอนาคต... แต่เมื่อธรรมชาติพยายามที่จะปรับตัวเองบ้าง... มันจึงกลายเป็นหายนะภัยสำหรับโลก

    ถึงแม้ว่า... “ไม่มีอะไรเที่ยงแท้ ทุกอย่างเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา” แต่ก็คงปฏิเสธไม่ได้ว่า การกระทำที่เป็นการสร้างความเจริญของสิ่งมีชีวิตที่เรียกกันว่า “มนุษย์” หรือสัตว์ประเสริฐนี้แหละ กลายเป็นตัวการสำคัญ เป็นชนวนเร่งปฏิกิริยาการเปลี่ยนแปลงทั้งหลายนั้นให้เร็วขึ้นจนแม้กระทั่งผู้สร้างเองก็ตั้งตัวไม่ทัน... และมารู้เอาก็เมื่อเกือบจะสายเกินไปเสียแล้วว่าแท้จริงแล้ว “ผู้สร้าง” และ “ผู้ทำลาย” ก็คือคน ๆ เดียวกันนั่นเอง...

    ใช่ มันแค่ “เกือบสาย” มันยังไม่สายเกินไปที่ทุกคนจะร่วมมือกัน ช่วยตัวเอง ช่วยโลกใบนี้ปรับสมดุลทุกอย่างให้กลับคืนสู่สิ่งที่ควรจะเป็น... ถึงแม้จะทำได้ไม่ทั้งหมด... แต่ก็ยังดีกว่าที่จะไม่ทำอะไรเสียเลย ถ้าทำได้ช่วยกันชะลอบรรดาภัยต่าง ๆ ให้เกิดน้อยลง หรือถ้าไม่สามารถที่จะช่วยกันยับยั้งภัยไม่ให้เกิดขึ้นได้แล้ว... อย่างน้อยถ้ารู้วิธีที่จะเอาตัวรอดจากสิ่งไม่พึงประสงค์ได้บ้างก็ยังดีกว่าที่จะไม่รู้อะไรเลย

    เนื่องด้วยในปัจจุบันนี้เทคโนโลยีที่ใช้ในการถ่ายทอดข้อมูลข่าวสารมีการใช้กันอย่างแพร่หลาย ทำให้สาธารณชนได้รับทราบถึงข้อมูลภัยธรรมชาติในรูปแบบต่าง ๆ จากทั่วทุกมุมโลก อีกทั้งภัยธรรมชาติหลากหลายประการที่เกิดขึ้นในประเทศไทยของเราก็มีแนวโน้มที่จะมีลักษณะที่รุนแรงขึ้น และเกิดบ่อยขึ้นกว่าในอดีตที่ผ่าน ๆ มา จึงสร้างความวิตกกังวลให้เกิดขึ้นกับประชาชนในวงกว้าง
    เหตุการณ์การเกิดสึนามิ ภัยน้ำท่วมภาคใต้ แผ่นดินไหวที่เกิดบ่อยครั้งขึ้น และรุนแรงมากขึ้น ฯลฯ ที่เพิ่งจะผ่านไปเป็นตัวอย่างที่เห็นได้เด่นชัดที่สุด... สิ่งที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องน่าเศร้าเพราะจำนวนชีวิตผู้คนมากมายที่ต้องล้มหายตายจากกันไป หรือผู้เป็นที่รักต้องพลัดพรากจากกันไป เหล่าอาคารสถานที่อีกทั้งทรัพย์สินทั้งหลายที่ต้องพังพินาศลง ภาพอันน่าสะเทือนใจเหล่านั้นกระทบความรู้สึกของคนไทยทั้งชาติ... คงไม่มีใครอยากที่จะเป็นหนึ่งในผู้สูญเสียนั้น

    ด้วยสาเหตุดังกล่าวจึงมีดำริที่จะให้มีการจัดงานสัมมนาในหัวข้อเรื่อง “๓ ต. ต่อชีวิต เพิ่มทางรอดจากภัยพิบัติ” เพื่อให้ข้อมูลข่าวสารที่เชื่อถือได้กระจายไปสู่สังคมในวงกว้าง นอกจากนั้นจะมีการจัดงานสัมมนาขึ้นใน ๕ ภูมิภาค เพราะภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นในแต่ละภูมิภาคอาจมีลักษณะทั้งที่คล้ายคลึงและแตกต่างกันไป

    การจัดงานสัมมนาเกี่ยวกับภัยพิบัติในครั้งนี้ไม่ได้มุ่งเน้นที่จะให้ทุกคนที่ได้ร่วมรับรู้ข้อมูลข่าวสารทั้งหลาย มีความรู้ และเตรียมพร้อมกับการรับสถานการณ์เฉพาะ “มหันตภัยร้าย” ที่อาจจะเกิดขึ้นเมื่อไหร่ก็ได้ในอนาคตเท่านั้น แต่ผู้ร่วมสัมมนาและผู้ที่ได้รับรู้เกี่ยวกับข้อมูลในครั้งนี้ สมควรมีการเตรียมความพร้อมที่จะรับมือกับ “ภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นอยู่แล้วเป็นประจำในแต่ละภูมิภาค” ภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่าเป็นวัฏจักรที่ไม่เคยหยุดสิ้น

    “๓ ต. ต่อชีวิต เพิ่มทางรอดจากภัยพิบัติ” (เตรียมพร้อม – ตั้งมั่น – ต่อเนื่อง) จึงได้เกิดขึ้นมาเพื่อบอกกล่าวให้ทุกคนที่ได้ร่วมงานสัมมนาและได้รับทราบข้อมูลในครั้งนี้ได้ทราบว่า...

    ๑. ทั้งภัยที่เกิดขึ้นประจำแต่ละภูมิภาค และภัยร้ายที่แต่ละภูมิภาคอาจต้องประสบนั้นมีอะไรบ้าง เพราะ แต่ละภูมิภาคจะมีภัยในรูปลักษณะที่แตกต่างกันไปไม่ว่าจะเป็น น้ำท่วม เขื่อนแตก ไฟป่า สึนามิ ดินโคลนถล่ม แผ่นดินไหว ภัยแล้ง น้ำป่า สตรอมเซิรจ (Storm Surge) ฯลฯ

    ๒. ถ้าเป็นภัยที่เกิดขึ้นอยู่แล้วในแต่ละภูมิภาค
    ๒.๑ มีภัยประเภทใดบ้างที่เกิดขึ้นในแต่ละภูมิภาคนั้น ๆ
    ๒.๒ ภัยแต่ละอย่างเกิดขึ้นในช่วงระยะเวลาใดของปีบ้าง
    ๒.๓ ฤดูกาลต่าง ๆ ในแต่ละภูมิภาคนั้นมีการแปรปรวน เปลี่ยนแปลงจากที่เคยเป็นในอดีตไปอย่างไรแล้วบ้าง
    ๒.๔ ประชาชนในแต่ละท้องถิ่นนั้น ๆ ควรมีการเตรียมความพร้อมก่อนที่ภัยจะเกิดขึ้นอย่างไร
    ๒.๕ เมื่อเกิดภัยขึ้นแต่ละคนควรปฏิบัติตัวอย่างไร
    ๒.๖ ควรมีการจัดการทางด้านต่าง ๆ หลังจากที่ภัยเหล่านั้นผ่านไปแล้วอย่างไรบ้าง
    ๒.๗ นอกจากสาเหตุทางธรรมชาติที่ไม่มีมนุษย์คนไหนจะหยุดยั้งได้แล้วยังมีสาเหตุเหตุใดอีกบ้างที่ผ่าน ๆ มา ทั้ง ๆ ที่ทั้งหน่วยงานราชการและเอกชนหลากหลายหน่วยงานพยายามที่จะช่วยกันหาทางป้องกัน ยับยั้งและแก้ไขแล้ว แต่ปัญหาต่าง ๆ เหล่านั้นก็ยังเกิดขึ้นอยู่เสมอ ๆ เป็นประจำทุกปี และมีแนวโน้มที่จะรุนแรงมากขึ้นรื่อย ๆ อย่างต่อเนื่องด้วย
    ๒.๘ มีหน่วยงานใดบ้างทั้งของภาครัฐบาลและเอกชนที่จะสามารถคอยให้คำปรึกษาแนะนำ หรือให้ความช่วยเหลือประชาชนในภูมิภาคนั้น ๆ ได้บ้าง (รวบรวมรายชื่อ เบอร์โทรศัพท์ สถานที่หรือวิธีการที่จะติดต่อกับแต่ละหน่วยงานนั้น ๆ

    ๓. ถ้าต้องประสบกับภัยพิบัติที่คนส่วนใหญ่กำลังหวาดกลัวกันอยู่ในขณะนี้
    ๓.๑ มหันตภัยประเภทใดบ้างที่มีแนวโน้มหรือสามารถเกิดขึ้นได้กับภูมิภาคนั้น ๆ
    ๓.๒ มีสัญญาณบอกเหตุทางธรรมชาติอะไรบ้างที่อาจจะเกิดขึ้น และประชาชนควรจะหัดสังเกต เพื่อเป็นเสมือนการเตือนให้ได้รับทราบถึงการจะมาถึงของภัยนั้น ๆ
    ๓.๓ จุด หรือสถานที่ใดบ้างที่มีความเสี่ยงสูงว่าอาจจะได้รับผลกระทบร้ายแรงจากการเกิดภัยนั้น ๆ เพราะเหตุใด
    ๓.๔ มีสถานที่ใดบ้างในแต่ละภูมิภาคที่เป็น “จุดปลอดภัย” ในแต่ละสถานการณ์ที่มีภัยในรูปแบบที่แตกต่างกันไป
    (ประเด็นทั้งข้อ ๓.๑ และ ๓.๒ เป็นประเด็นที่ควรพูดถึงเป็นอย่างมาก เพราะเป็นสิ่งจำเป็นที่ควรจะบอกให้ประชาชนได้รับทราบไว้ เพื่อความอยู่รอดปลอดภัยของคนจำนวนมหาศาล... เช่น ถ้าสึนามิมา ภูเขาลูกใดควรเป็นจุดที่ทุกคนควรรีบขึ้นไปให้สูงที่สุด หรือ ถ้ามีน้ำป่าไหลหลาก น้ำท่วมฉับพลัน ตรงบริเวณใดบ้างที่สูงพอที่ผู้คนควรจะพากันอพยพหนีภัยขึ้นไปอยู่ได้ เป็นต้น... แต่ก็อาจเป็นดาบสองคมเพราะเป็นข้อมูลที่อาจส่งผลกระทบต่อความรู้สึกของคนส่วนใหญ่.... และอาจเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ค้าอสังหาริมทรัพย์บางรายนำข้อมูลไปใช้ในเชิงธุรกิจ... อันอาจจะสร้างความวุ่นวายให้เกิดขึ้นในสังคมได้... ดังนั้นคงต้องหาวิธีที่จะเตือนประชาชนถึงจุดเสี่ยงภัยโดยมีผลกระทบกับสังคมให้น้อยที่สุด)

    ๔. “เจ้าประคุณสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ วัดสามพระยา ได้เป็นผู้ริเริ่มให้มีการจัดตั้ง อ.ป.ต. (หรือหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบล) ขึ้นมาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๑๘ เนื่องจากเห็นว่า วัดเป็นศูนย์กลางของชุมชนในการประกอบกิจกรรมของสังคมร่วมกัน และเป็นสถานที่ดำเนินการให้การศึกษาอบรม แนะนำ สั่งสอน ตลอดจนสงเคราะห์ประชาชนเพื่อประโยชน์และความรู้ของชุมชนและสังคมนั้น... ผู้ร่วมงานประกอบด้วยฝ่ายบรรพชิต อันได้แก่ เจ้าอาวาสและพระภิกษุในวัดในตำบลนั้น ๆ ฝ่ายคฤหัสถ์ ได้แก่ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน แพทย์ประจำตำบล และทายกทายิกาในตำบลนั้น ๆ ... สำหรับความรู้และคุณประโยชน์ที่ประชาชนในชุมชนนั้นจะได้รับจากหน่วย อ.ป.ต. มีดังนี้...

    - ศีลธรรมและวัฒนธรรม - สุขภาพอนามัย
    - สัมมาชีพ - สันติสุข
    - ศึกษาสงเคราะห์ - สาธารณสงเคราะห์
    - กตัญญูกตเวทิตาธรรม - สามัคคีธรรม

    เมื่อปีที่ผ่านมา (พ.ศ. ๒๕๕๓) มีหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบล ทั่วประเทศใน ๗๕ จังหวัด จำนวนกว่า ๕,๐๐๐ หน่วย ซึ่งสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ เป็นผู้จัดสรรเงินอุดหนุนในการดำเนินงาน” (ขอขอบคุณข้อมูลโดย คุณปราณสุวีร์ อาวอร่ามรัศมิ์ สนง.พศช. เว็บไซต์ ˹���ͺ����ЪҪ� (ͻ�) )

    จากข้อมูลดังกล่าว... ถ้าสามารถดึงวัดกลับมาเป็นศูนย์กลางของสังคมได้เช่นในอดีต... และมีการให้ความรู้ที่หลากหลายสาขากับชุมชนในท้องถิ่น ณ วัดที่เป็นศูนย์กลางเหล่านั้น... อาทิเช่น นำเรื่องการจัดการสหกรณ์มาใช้ โดยการนำสินค้าไปหมุนเวียน ซื้อ – ขาย กันในสหกรณ์ของวัดที่จัดตั้งขึ้นมา... มีหน่วยงานสาธารณสุขคอยให้ความรู้เกี่ยวกับการปฐมพยาบาลเบื้องต้น... มีผู้สูงวัยที่มีความรู้ทรงภูมิปัญญา มีความรู้ความสามารถเฉพาะทางในท้องถิ่นนั้น ๆ มาคอยผลัดเปลี่ยนหมุนเวียน แนะนำ สั่งสอนถึงแนววิชาความรู้ต่าง ๆ... เช่น การใช้ยาสมุนไพรชนิดต่าง ๆ... การแปรรูป ถนอมอาหาร ฯลฯ

    ซึ่งวิชาความรู้เหล่านั้นสามารถที่จะนำมาปรับใช้เป็นวิชาชีพเสริมรายได้ของชุมชนในยามภาวะปกติ (ซึ่งถือเป็นการปลูปฝังให้คนในแต่ละท้องถิ่นเกิดความภาคภูมิใจในวัฒนธรรม ภูมิความรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่นของตนเอง ซึ่งสิ่งเหล่านั้นจะหล่อหลอมให้ทุกคนรักถิ่นที่อยู่ของตนเอง และจะพยายามปกป้อง คุ้มครองไม่ให้ใครมาทำลายท้องถิ่นของตนได้)...

    หรือ กลายมาเป็นสิ่งจำเป็นในการเอาตัวรอดจากสภาวะที่ความสะดวกสบายทั้งหลายถูกตัดขาดออกไปอย่างสิ้นเชิง... อาทิเช่น ไม่มีไฟฟ้าใช้ น้ำประปาไม่ไหล เป็นต้น...

    เมื่อยามมีภัย... ให้ทุกคนในแต่ละชุมชนมุ่งหน้าไปยังวัดที่อยู่ในตำบลของตัวเอง... หรือวัดในจุดที่มีความปลอดภัยที่ได้มีการตกลงกันไว้ตั้งแต่แรก และมีการเตรียมความพร้อมสำหรับการรับสถานการณ์ต่าง ๆ ... อย่างน้อยทุกคนก็มีอาหารยังชีพ มีหน่วยปฐมพยาบาลเบื้องต้น สามารถช่วยเหลือเกื้อกูลกันได้ และมีพระภิกษุสงฆ์เป็นขวัญกำลังใจในการที่จะฝ่าฟันอุปสรรคต่าง ๆ ไปด้วยกัน...

    ๕. ประชาชนทั้งหลายควรมีความพร้อมในการรับมืออย่างไรบ้างในฐานะปัจเจกบุคคล
    - ควรมีการสำรองอาหารแห้ง น้ำดื่ม ชุดยาสามัญประจำบ้าน และของใช้จำเป็นอย่างไรบ้าง สำหรับกี่วัน ต่อคน
    - ก่อนที่ภัยจะมาประชาชนควรมีการจัดเตรียมกระเป๋า หรือเป้ยังชีพกันอย่างไรบ้าง... ของใช้จำเป็นที่ควรมีติดกระเป๋า มีอะไรบ้าง
    - ควรมีการนำทรัพย์สินมีค่าที่พอจะเคลื่อนย้ายได้ง่ายๆ เก็บบรรจุในกระเป๋า หรือเก็บในลักษณะใด เมื่อเกิดเหตุภัยเกิดขึ้นจะได้คว้าได้อย่างทันท่วงที

    ๖. เมื่อภัยมาชุมชนในพื้นที่ควรมีการประสานงานช่วยเหลือซึ่งกันและกันในการเตรียมความพร้อมอย่างไรบ้าง

    ๗. สาธารณสุข หรือหน่วยปฐมพยาบาลเบื้องต้นในแต่ละท้องที่มีศักยภาพมากน้อยเพียงใดกับการรักษาพยาบาลคนในชุมชนที่เจ็บป่วยพร้อมกันเป็นจำนวนมาก ๆ ในเบื้องต้น

    ๘. มีความเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหนที่จะมีการฝึกความพร้อมในเรื่องการปฐมพยาบาลเบื้องต้นให้แก่ชุมชนในแต่ละท้องถิ่น

    ๙. นอกจากการแพทย์แผนปัจจุบันที่จะมีการช่วยเหลือกันแล้ว... การแพทย์ทางเลือก อาทิเช่นการใช้ยาสมุนไพรที่มีอยู่ประจำแต่ละภูมิภาค... ซึ่งได้รับการขึ้นบัญชีเป็นยาหลักแห่งชาติ ประเภทสมุนไพร... มีอะไรบ้าง ประชาชนควรเร่งปลูกพืชสมุนไพรตัวได้ไว้บ้างในสวนครัวรอบรั้วบ้านของตัวเอง... เพื่อที่จะได้นำมาใช้ได้อย่างทันท่วงที หรือแม้ใช้ยามเจ็บป่วยทั่ว ๆ ไป

    ๑๐. สื่อสิ่งพิมพ์ สถานีวิทยุ สถานีโทรทัศน์ชุมชน อีกทั้งหน่วยอาสาสมัครกู้ภัยต่าง ๆ ประจำแต่ละภูมิภาค ไม่ว่าจะในระดับ หมู่บ้าน ตำบล อำเภอ หรือจังหวัด ควรมีการประสานงานกัน ทุกหน่วย อย่างสม่ำเสมอ และควรมีบทบาทในการร่วมช่วยกันให้ความรู้ในเรื่องภัย และอื่น ๆ แก่ประชาชน ควรจัดให้มีการซ้อมรับมือกับภัยพิบัติในรูปแบบต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง
     
  15. ชนินทร

    ชนินทร พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,725
    ค่าพลัง:
    +6,384
    “๓ ต. ต่อชีวิต เพิ่มทางรอดจากภัยพิบัติ”

    ยุคปัจจุบันถือได้ว่าเป็นยุคของความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาการ... มีเครื่องอำนวยความสะดวกทุกอย่างเท่าที่มนุษย์เราต้องการจะให้มี... ตั้งแต่ตื่นยันหลับ เกิดยันตาย... จนมนุษย์ส่วนใหญ่หลงลืมกับ “คุณค่า” ความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติที่ต้องใช้ระยะเวลานับหลายล้านล้านล้านปีในการที่จะก่อกำเนิดขึ้นมา... กว่าจะเป็น “โลก” ที่เราอยู่กันได้ตราบจนทุกวันนี้...

    มนุษย์ทำลายทรัพยากรธรรมชาติทั้งบนบก ใต้ดิน ในน้ำ ในอากาศ หรือแม้แต่ในอวกาศนอกโลกของเรา... จะโดยรู้ตัวหรือไม่ก็ตาม...

    ในสมัยก่อน ๆ มนุษย์ใช้ทรัพยากรเพื่อการดำรงชีพในแต่ละมื้อ แล้วค่อย ๆ พัฒนามาเพื่อการเก็บสะสมใช้อุปโภคบริโภคในครัวเรือน... อีกทั้งจำนวนประชากรของโลกในขณะนั้นก็ยังมีจำนวนไม่มากนัก... ความเสียหายที่ส่งผลกระทบต่อผืนโลกจึงยังอยู่ในวงแคบและมีผลที่ไม่รุนแรงนัก... แต่เมื่อทุกอย่างในโลกใบนี้กลายเป็น “ธุรกิจ” ทุกอย่างกลายเป็นการค้า การแลกเปลี่ยนซึ่งผลประโยชน์อันมหาศาล... คำว่า “ยับยั้งชั่งใจ” หรือ “พอประมาณ” จึงถูกเพิกเฉยเสีย... ที่ผ่านมา... กลายเป็นว่ามนุษย์ต้อง “ซื้อ” ทุกอย่าง ไม่ว่าของเหล่านั้นจะจำเป็นต่อการดำรงชีวิตหรือไม่...

    ในยุคปัจจุบันนี้มนุษย์ “ใช้ประโยชน์จากทุกสิ่งที่อยู่รอบตัว” จนวัฏจักรของธรรมชาติเสียสมดุลไป... ตลอดเวลาที่ผ่านมาจึงเป็นช่วงเวลาที่ทั้งมนุษย์ และธรรมชาติ ต่างฝ่ายต่างก็พยายามปรับสมดุลให้กับตัวเอง เพื่อให้ตัวเองอยู่รอด
    เวลาที่มนุษย์พยายามที่จะอยู่รอด และก่อความเสียหายให้เกิดขึ้นกับธรรมชาติ และชีวิตอื่น... มีมนุษย์เพียงน้อยนิดที่ตระหนักถึงความสูญเสียในวงกว้างที่จะเกิดขึ้นในอนาคต... แต่เมื่อธรรมชาติพยายามที่จะปรับตัวเองบ้าง... มันจึงกลายเป็นหายนะภัยสำหรับโลก

    ถึงแม้ว่า... “ไม่มีอะไรเที่ยงแท้ ทุกอย่างเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา” แต่ก็คงปฏิเสธไม่ได้ว่า การกระทำที่เป็นการสร้างความเจริญของสิ่งมีชีวิตที่เรียกกันว่า “มนุษย์” หรือสัตว์ประเสริฐนี้แหละ กลายเป็นตัวการสำคัญ เป็นชนวนเร่งปฏิกิริยาการเปลี่ยนแปลงทั้งหลายนั้นให้เร็วขึ้นจนแม้กระทั่งผู้สร้างเองก็ตั้งตัวไม่ทัน... และมารู้เอาก็เมื่อเกือบจะสายเกินไปเสียแล้วว่าแท้จริงแล้ว “ผู้สร้าง” และ “ผู้ทำลาย” ก็คือคน ๆ เดียวกันนั่นเอง...

    ใช่ มันแค่ “เกือบสาย” มันยังไม่สายเกินไปที่ทุกคนจะร่วมมือกัน ช่วยตัวเอง ช่วยโลกใบนี้ปรับสมดุลทุกอย่างให้กลับคืนสู่สิ่งที่ควรจะเป็น... ถึงแม้จะทำได้ไม่ทั้งหมด... แต่ก็ยังดีกว่าที่จะไม่ทำอะไรเสียเลย ถ้าทำได้ช่วยกันชะลอบรรดาภัยต่าง ๆ ให้เกิดน้อยลง หรือถ้าไม่สามารถที่จะช่วยกันยับยั้งภัยไม่ให้เกิดขึ้นได้แล้ว... อย่างน้อยถ้ารู้วิธีที่จะเอาตัวรอดจากสิ่งไม่พึงประสงค์ได้บ้างก็ยังดีกว่าที่จะไม่รู้อะไรเลย

    เนื่องด้วยในปัจจุบันนี้เทคโนโลยีที่ใช้ในการถ่ายทอดข้อมูลข่าวสารมีการใช้กันอย่างแพร่หลาย ทำให้สาธารณชนได้รับทราบถึงข้อมูลภัยธรรมชาติในรูปแบบต่าง ๆ จากทั่วทุกมุมโลก อีกทั้งภัยธรรมชาติหลากหลายประการที่เกิดขึ้นในประเทศไทยของเราก็มีแนวโน้มที่จะมีลักษณะที่รุนแรงขึ้น และเกิดบ่อยขึ้นกว่าในอดีตที่ผ่าน ๆ มา จึงสร้างความวิตกกังวลให้เกิดขึ้นกับประชาชนในวงกว้าง
    เหตุการณ์การเกิดสึนามิ ภัยน้ำท่วมภาคใต้ แผ่นดินไหวที่เกิดบ่อยครั้งขึ้น และรุนแรงมากขึ้น ฯลฯ ที่เพิ่งจะผ่านไปเป็นตัวอย่างที่เห็นได้เด่นชัดที่สุด... สิ่งที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องน่าเศร้าเพราะจำนวนชีวิตผู้คนมากมายที่ต้องล้มหายตายจากกันไป หรือผู้เป็นที่รักต้องพลัดพรากจากกันไป เหล่าอาคารสถานที่อีกทั้งทรัพย์สินทั้งหลายที่ต้องพังพินาศลง ภาพอันน่าสะเทือนใจเหล่านั้นกระทบความรู้สึกของคนไทยทั้งชาติ... คงไม่มีใครอยากที่จะเป็นหนึ่งในผู้สูญเสียนั้น

    ด้วยสาเหตุดังกล่าวจึงมีดำริที่จะให้มีการจัดงานสัมมนาในหัวข้อเรื่อง “๓ ต. ต่อชีวิต เพิ่มทางรอดจากภัยพิบัติ” เพื่อให้ข้อมูลข่าวสารที่เชื่อถือได้กระจายไปสู่สังคมในวงกว้าง นอกจากนั้นจะมีการจัดงานสัมมนาขึ้นใน ๕ ภูมิภาค เพราะภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นในแต่ละภูมิภาคอาจมีลักษณะทั้งที่คล้ายคลึงและแตกต่างกันไป

    การจัดงานสัมมนาเกี่ยวกับภัยพิบัติในครั้งนี้ไม่ได้มุ่งเน้นที่จะให้ทุกคนที่ได้ร่วมรับรู้ข้อมูลข่าวสารทั้งหลาย มีความรู้ และเตรียมพร้อมกับการรับสถานการณ์เฉพาะ “มหันตภัยร้าย” ที่อาจจะเกิดขึ้นเมื่อไหร่ก็ได้ในอนาคตเท่านั้น แต่ผู้ร่วมสัมมนาและผู้ที่ได้รับรู้เกี่ยวกับข้อมูลในครั้งนี้ สมควรมีการเตรียมความพร้อมที่จะรับมือกับ “ภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นอยู่แล้วเป็นประจำในแต่ละภูมิภาค” ภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่าเป็นวัฏจักรที่ไม่เคยหยุดสิ้น

    “๓ ต. ต่อชีวิต เพิ่มทางรอดจากภัยพิบัติ” (เตรียมพร้อม – ตั้งมั่น – ต่อเนื่อง) จึงได้เกิดขึ้นมาเพื่อบอกกล่าวให้ทุกคนที่ได้ร่วมงานสัมมนาและได้รับทราบข้อมูลในครั้งนี้ได้ทราบว่า...

    ๑. ทั้งภัยที่เกิดขึ้นประจำแต่ละภูมิภาค และภัยร้ายที่แต่ละภูมิภาคอาจต้องประสบนั้นมีอะไรบ้าง เพราะ แต่ละภูมิภาคจะมีภัยในรูปลักษณะที่แตกต่างกันไปไม่ว่าจะเป็น น้ำท่วม เขื่อนแตก ไฟป่า สึนามิ ดินโคลนถล่ม แผ่นดินไหว ภัยแล้ง น้ำป่า สตรอมเซิรจ (Storm Surge) ฯลฯ

    ๒. ถ้าเป็นภัยที่เกิดขึ้นอยู่แล้วในแต่ละภูมิภาค
    ๒.๑ มีภัยประเภทใดบ้างที่เกิดขึ้นในแต่ละภูมิภาคนั้น ๆ
    ๒.๒ ภัยแต่ละอย่างเกิดขึ้นในช่วงระยะเวลาใดของปีบ้าง
    ๒.๓ ฤดูกาลต่าง ๆ ในแต่ละภูมิภาคนั้นมีการแปรปรวน เปลี่ยนแปลงจากที่เคยเป็นในอดีตไปอย่างไรแล้วบ้าง
    ๒.๔ ประชาชนในแต่ละท้องถิ่นนั้น ๆ ควรมีการเตรียมความพร้อมก่อนที่ภัยจะเกิดขึ้นอย่างไร
    ๒.๕ เมื่อเกิดภัยขึ้นแต่ละคนควรปฏิบัติตัวอย่างไร
    ๒.๖ ควรมีการจัดการทางด้านต่าง ๆ หลังจากที่ภัยเหล่านั้นผ่านไปแล้วอย่างไรบ้าง
    ๒.๗ นอกจากสาเหตุทางธรรมชาติที่ไม่มีมนุษย์คนไหนจะหยุดยั้งได้แล้วยังมีสาเหตุเหตุใดอีกบ้างที่ผ่าน ๆ มา ทั้ง ๆ ที่ทั้งหน่วยงานราชการและเอกชนหลากหลายหน่วยงานพยายามที่จะช่วยกันหาทางป้องกัน ยับยั้งและแก้ไขแล้ว แต่ปัญหาต่าง ๆ เหล่านั้นก็ยังเกิดขึ้นอยู่เสมอ ๆ เป็นประจำทุกปี และมีแนวโน้มที่จะรุนแรงมากขึ้นรื่อย ๆ อย่างต่อเนื่องด้วย
    ๒.๘ มีหน่วยงานใดบ้างทั้งของภาครัฐบาลและเอกชนที่จะสามารถคอยให้คำปรึกษาแนะนำ หรือให้ความช่วยเหลือประชาชนในภูมิภาคนั้น ๆ ได้บ้าง (รวบรวมรายชื่อ เบอร์โทรศัพท์ สถานที่หรือวิธีการที่จะติดต่อกับแต่ละหน่วยงานนั้น ๆ

    ๓. ถ้าต้องประสบกับภัยพิบัติที่คนส่วนใหญ่กำลังหวาดกลัวกันอยู่ในขณะนี้
    ๓.๑ มหันตภัยประเภทใดบ้างที่มีแนวโน้มหรือสามารถเกิดขึ้นได้กับภูมิภาคนั้น ๆ
    ๓.๒ มีสัญญาณบอกเหตุทางธรรมชาติอะไรบ้างที่อาจจะเกิดขึ้น และประชาชนควรจะหัดสังเกต เพื่อเป็นเสมือนการเตือนให้ได้รับทราบถึงการจะมาถึงของภัยนั้น ๆ
    ๓.๓ จุด หรือสถานที่ใดบ้างที่มีความเสี่ยงสูงว่าอาจจะได้รับผลกระทบร้ายแรงจากการเกิดภัยนั้น ๆ เพราะเหตุใด
    ๓.๔ มีสถานที่ใดบ้างในแต่ละภูมิภาคที่เป็น “จุดปลอดภัย” ในแต่ละสถานการณ์ที่มีภัยในรูปแบบที่แตกต่างกันไป
    (ประเด็นทั้งข้อ ๓.๑ และ ๓.๒ เป็นประเด็นที่ควรพูดถึงเป็นอย่างมาก เพราะเป็นสิ่งจำเป็นที่ควรจะบอกให้ประชาชนได้รับทราบไว้ เพื่อความอยู่รอดปลอดภัยของคนจำนวนมหาศาล... เช่น ถ้าสึนามิมา ภูเขาลูกใดควรเป็นจุดที่ทุกคนควรรีบขึ้นไปให้สูงที่สุด หรือ ถ้ามีน้ำป่าไหลหลาก น้ำท่วมฉับพลัน ตรงบริเวณใดบ้างที่สูงพอที่ผู้คนควรจะพากันอพยพหนีภัยขึ้นไปอยู่ได้ เป็นต้น... แต่ก็อาจเป็นดาบสองคมเพราะเป็นข้อมูลที่อาจส่งผลกระทบต่อความรู้สึกของคนส่วนใหญ่.... และอาจเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ค้าอสังหาริมทรัพย์บางรายนำข้อมูลไปใช้ในเชิงธุรกิจ... อันอาจจะสร้างความวุ่นวายให้เกิดขึ้นในสังคมได้... ดังนั้นคงต้องหาวิธีที่จะเตือนประชาชนถึงจุดเสี่ยงภัยโดยมีผลกระทบกับสังคมให้น้อยที่สุด)

    ๔. “เจ้าประคุณสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ วัดสามพระยา ได้เป็นผู้ริเริ่มให้มีการจัดตั้ง อ.ป.ต. (หรือหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบล) ขึ้นมาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๑๘ เนื่องจากเห็นว่า วัดเป็นศูนย์กลางของชุมชนในการประกอบกิจกรรมของสังคมร่วมกัน และเป็นสถานที่ดำเนินการให้การศึกษาอบรม แนะนำ สั่งสอน ตลอดจนสงเคราะห์ประชาชนเพื่อประโยชน์และความรู้ของชุมชนและสังคมนั้น... ผู้ร่วมงานประกอบด้วยฝ่ายบรรพชิต อันได้แก่ เจ้าอาวาสและพระภิกษุในวัดในตำบลนั้น ๆ ฝ่ายคฤหัสถ์ ได้แก่ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน แพทย์ประจำตำบล และทายกทายิกาในตำบลนั้น ๆ ... สำหรับความรู้และคุณประโยชน์ที่ประชาชนในชุมชนนั้นจะได้รับจากหน่วย อ.ป.ต. มีดังนี้...

    - ศีลธรรมและวัฒนธรรม - สุขภาพอนามัย
    - สัมมาชีพ - สันติสุข
    - ศึกษาสงเคราะห์ - สาธารณสงเคราะห์
    - กตัญญูกตเวทิตาธรรม - สามัคคีธรรม

    เมื่อปีที่ผ่านมา (พ.ศ. ๒๕๕๓) มีหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบล ทั่วประเทศใน ๗๕ จังหวัด จำนวนกว่า ๕,๐๐๐ หน่วย ซึ่งสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ เป็นผู้จัดสรรเงินอุดหนุนในการดำเนินงาน” (ขอขอบคุณข้อมูลโดย คุณปราณสุวีร์ อาวอร่ามรัศมิ์ สนง.พศช. เว็บไซต์ ˹���ͺ����ЪҪ� (ͻ�) )

    จากข้อมูลดังกล่าว... ถ้าสามารถดึงวัดกลับมาเป็นศูนย์กลางของสังคมได้เช่นในอดีต... และมีการให้ความรู้ที่หลากหลายสาขากับชุมชนในท้องถิ่น ณ วัดที่เป็นศูนย์กลางเหล่านั้น... อาทิเช่น นำเรื่องการจัดการสหกรณ์มาใช้ โดยการนำสินค้าไปหมุนเวียน ซื้อ – ขาย กันในสหกรณ์ของวัดที่จัดตั้งขึ้นมา... มีหน่วยงานสาธารณสุขคอยให้ความรู้เกี่ยวกับการปฐมพยาบาลเบื้องต้น... มีผู้สูงวัยที่มีความรู้ทรงภูมิปัญญา มีความรู้ความสามารถเฉพาะทางในท้องถิ่นนั้น ๆ มาคอยผลัดเปลี่ยนหมุนเวียน แนะนำ สั่งสอนถึงแนววิชาความรู้ต่าง ๆ... เช่น การใช้ยาสมุนไพรชนิดต่าง ๆ... การแปรรูป ถนอมอาหาร ฯลฯ

    ซึ่งวิชาความรู้เหล่านั้นสามารถที่จะนำมาปรับใช้เป็นวิชาชีพเสริมรายได้ของชุมชนในยามภาวะปกติ (ซึ่งถือเป็นการปลูปฝังให้คนในแต่ละท้องถิ่นเกิดความภาคภูมิใจในวัฒนธรรม ภูมิความรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่นของตนเอง ซึ่งสิ่งเหล่านั้นจะหล่อหลอมให้ทุกคนรักถิ่นที่อยู่ของตนเอง และจะพยายามปกป้อง คุ้มครองไม่ให้ใครมาทำลายท้องถิ่นของตนได้)...

    หรือ กลายมาเป็นสิ่งจำเป็นในการเอาตัวรอดจากสภาวะที่ความสะดวกสบายทั้งหลายถูกตัดขาดออกไปอย่างสิ้นเชิง... อาทิเช่น ไม่มีไฟฟ้าใช้ น้ำประปาไม่ไหล เป็นต้น...

    เมื่อยามมีภัย... ให้ทุกคนในแต่ละชุมชนมุ่งหน้าไปยังวัดที่อยู่ในตำบลของตัวเอง... หรือวัดในจุดที่มีความปลอดภัยที่ได้มีการตกลงกันไว้ตั้งแต่แรก และมีการเตรียมความพร้อมสำหรับการรับสถานการณ์ต่าง ๆ ... อย่างน้อยทุกคนก็มีอาหารยังชีพ มีหน่วยปฐมพยาบาลเบื้องต้น สามารถช่วยเหลือเกื้อกูลกันได้ และมีพระภิกษุสงฆ์เป็นขวัญกำลังใจในการที่จะฝ่าฟันอุปสรรคต่าง ๆ ไปด้วยกัน...

    ๕. ประชาชนทั้งหลายควรมีความพร้อมในการรับมืออย่างไรบ้างในฐานะปัจเจกบุคคล
    - ควรมีการสำรองอาหารแห้ง น้ำดื่ม ชุดยาสามัญประจำบ้าน และของใช้จำเป็นอย่างไรบ้าง สำหรับกี่วัน ต่อคน
    - ก่อนที่ภัยจะมาประชาชนควรมีการจัดเตรียมกระเป๋า หรือเป้ยังชีพกันอย่างไรบ้าง... ของใช้จำเป็นที่ควรมีติดกระเป๋า มีอะไรบ้าง
    - ควรมีการนำทรัพย์สินมีค่าที่พอจะเคลื่อนย้ายได้ง่ายๆ เก็บบรรจุในกระเป๋า หรือเก็บในลักษณะใด เมื่อเกิดเหตุภัยเกิดขึ้นจะได้คว้าได้อย่างทันท่วงที

    ๖. เมื่อภัยมาชุมชนในพื้นที่ควรมีการประสานงานช่วยเหลือซึ่งกันและกันในการเตรียมความพร้อมอย่างไรบ้าง

    ๗. สาธารณสุข หรือหน่วยปฐมพยาบาลเบื้องต้นในแต่ละท้องที่มีศักยภาพมากน้อยเพียงใดกับการรักษาพยาบาลคนในชุมชนที่เจ็บป่วยพร้อมกันเป็นจำนวนมาก ๆ ในเบื้องต้น

    ๘. มีความเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหนที่จะมีการฝึกความพร้อมในเรื่องการปฐมพยาบาลเบื้องต้นให้แก่ชุมชนในแต่ละท้องถิ่น

    ๙. นอกจากการแพทย์แผนปัจจุบันที่จะมีการช่วยเหลือกันแล้ว... การแพทย์ทางเลือก อาทิเช่นการใช้ยาสมุนไพรที่มีอยู่ประจำแต่ละภูมิภาค... ซึ่งได้รับการขึ้นบัญชีเป็นยาหลักแห่งชาติ ประเภทสมุนไพร... มีอะไรบ้าง ประชาชนควรเร่งปลูกพืชสมุนไพรตัวได้ไว้บ้างในสวนครัวรอบรั้วบ้านของตัวเอง... เพื่อที่จะได้นำมาใช้ได้อย่างทันท่วงที หรือแม้ใช้ยามเจ็บป่วยทั่ว ๆ ไป

    ๑๐. สื่อสิ่งพิมพ์ สถานีวิทยุ สถานีโทรทัศน์ชุมชน อีกทั้งหน่วยอาสาสมัครกู้ภัยต่าง ๆ ประจำแต่ละภูมิภาค ไม่ว่าจะในระดับ หมู่บ้าน ตำบล อำเภอ หรือจังหวัด ควรมีการประสานงานกัน ทุกหน่วย อย่างสม่ำเสมอ และควรมีบทบาทในการร่วมช่วยกันให้ความรู้ในเรื่องภัย และอื่น ๆ แก่ประชาชน ควรจัดให้มีการซ้อมรับมือกับภัยพิบัติในรูปแบบต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง
     
  16. ชนินทร

    ชนินทร พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,725
    ค่าพลัง:
    +6,384
    วัตถุประสงค์ของการจัดงานสัมมนา “๓ ต. ต่อชีวิต เพิ่มทางรอดจากภัยพิบัติ”

    การสัมมนาในครั้งนี้หวังผลที่จะเป็นอีกหนึ่งแนวทางที่จะให้มีการร่วมมือประสานงานช่วยเหลือซึ่งกันและกันอย่างจริงจังระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐบาล และเอกชน ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับความเป็นอยู่ ความปลอดภัย ทั้งต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนในวงกว้าง (ซึ่งโดยปกติหน่วยงานและองค์กรเหล่านั้นก็มีการประสานงานร่วมกันอยู่แล้วในระดับหนึ่ง)

    ประสงค์จะให้การสัมมนาในภูมิภาคทั้ง ๕ นี้ เป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยให้เกิดเป็นแรงผลักดันให้เกิดความปลอดภัย เกิดทางรอดมากที่สุด และมีความสูญเสียน้อยที่สุด โดยการที่ทุกภาคส่วนมาร่วมกันวางแผนอย่างเป็นระบบระเบียบ เป็นรูปธรรมว่าถ้าเกิดภัยขึ้นมาแล้วจริง ๆ ควรมีแผนการรับมืออย่างไร แต่ละคนแต่ละองค์กรและหน่วยงานสมควรดำเนินการอย่างไร มีบทบาทอย่างไรบ้าง และทุกชีวิตทั้งหมดนั้นจะสามารถที่จะส่งต่อ ประสานความช่วยเหลือซึ่งกันและกันให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดเท่าที่จะทำได้ ณ ขณะนั้นได้อย่างไรบ้าง

    อีกทั้งปรารถนาที่จะให้ทั้งผู้ที่เข้าร่วมในงานสัมมนา และผู้ที่ได้รับทราบข้อมูลทั้งหลาย หรือชุมชนในแต่ละท้องถิ่น สามารถนำข้อมูลสิ่งที่ได้รับรู้รับทราบกลับไปใช้งานได้จริงในชีวิตประจำวัน ให้คนจำนวนมากที่สุดเท่าที่จะมากได้สามารถมีชีวิตรอดปลอดภัยให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ทั้งในสถานการณ์ที่มีภัยประจำภูมิภาค หรือภัยฉุกเฉินเกิดขึ้น หรือถึงแม้จะไม่เกิดภัยใด ๆ เลย ความรู้ทั้งหลายทั้งมวลในการสัมมนาในครั้งนี้ ก็ยังสามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อชุมชนทุกชุมชนได้

    เชื่อเหลือเกินว่าการจัดงานสัมมนา ๕ ภูมิภาคในครั้งนี้... จะสามารถเป็นอีกหนึ่งแรงผลักดัน หรือช่วยเป็นแรงบันดาลใจเล็ก ๆ ให้กับชุมชนในแต่ละท้องถิ่นให้เกิดความตระหนักรู้ และเกิดความภาคภูมิใจในภูมิปัญญาท้องถิ่นของบรรพบุรุษของตนได้ เพื่อที่จะได้ช่วยกันสืบสาน เกิดความหวงแหนที่จะรักษาไว้ซึ่งความดีงามในชุมชนของตนเอง

    ข้อมูลความรู้เหล่านั้นได้แก่...

    ต. ที่ ๑ : เตรียมพร้อม

    - ทราบว่าถ้าจะรับข้อมูลข่าวสารการเตือนภัยจากทั้งหน่วยงานของรัฐบาลและเอกชน... จะสามารถติดต่อกับหน่วยงานใดได้บ้าง ที่ไหน อย่างไร
    - เนื่องจากว่าในแต่ละภูมิภาคนั้นจะมีภัยเกิดขึ้นในรูปลักษณะที่แตกต่างกันไปไม่ว่าจะเป็น น้ำท่วม เขื่อนแตก ไฟป่า สึนามิ ดินโคลนถล่ม แผ่นดินไหว ภัยแล้ง น้ำป่า สตรอมเซิรจ (Storm Surge) ฯลฯ ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่ควรจะต้องทราบว่าในภูมิภาคที่ตนอยู่อาศัยนั้นสามารถมีภัยธรรมชาติประเภทใดบ้างที่อาจจะเกิดขึ้นได้ และจะสามารถป้องกันความเสียหายอันอาจจะเกิดกับชีวิต และทรัพย์สินได้อย่างไร ถ้าป้องกันจนสุดวิสัยที่จะทำได้แล้ว ควรเตรียมความพร้อมในการรับสถานการณ์อย่างไร
    - สามารถสังเกตสภาวการณ์ ความแปรปรวน หรือสัญญาณบอกเหตุตามธรรมชาติ(ในเบื้องต้น) ของแต่ละภูมิภาคได้อย่างไร
    - ทราบถึงวิธีการเตรียมความพร้อมสำหรับการรับมือเบื้องต้นกับภัยธรรมชาติที่จะเกิดขึ้น ทั้งภัยที่มีอยู่เป็นประจำในแต่ละภูมิภาค และภัยร้ายที่มีแนวโน้มว่าอาจจะเกิดขึ้นเมื่อไหร่ก็ได้
    - ทราบถึงสถานที่ที่เสี่ยงภัยและสถานที่ที่ปลอดภัย... จะได้สามารถกำหนดวิธีการอพยพหนีภัย... และเส้นทางหนีภัยได้อย่างทันท่วงที
    - ถ้ามีการกำหนดสถานที่ปลอดภัยสำหรับในแต่ละภูมิภาคแล้ว... ชุมชนนั้น ๆ จะได้สามารถร่วมกันจัดการบริหารเตรียมความพร้อมทางด้านต่าง ๆ เพื่อความอยู่รอดปลอดภัยได้อย่างดีที่สุดสำหรับชุมชนของตนเอง
    - เมื่อมีการประสานงานกับทุกเครือข่ายในชุมชนที่เกี่ยวข้องกับการจัดการกับภัยพิบัติแล้ว... ในแต่ละชุมชนจะได้สามารถมีการซักซ้อมเตรียมความพร้อมกับการรับมือ หรือหนีภัยเหล่านั้นด้วยกันอย่างสม่ำเสมอ เพื่อประสิทธิภาพสูงสุดของการอยู่รอดปลอดภัยร่วมกัน

    ต. ที่ ๒ : ตั้งมั่น

    - เมื่อมีการเตรียมความพร้อมสำหรับการรับมือกับภัยต่าง ๆ แล้ว... ทุกคนจะมีสติ และรู้ว่าต้องทำอย่างไรบ้างเมื่ออยู่ในสถานการณ์เหล่านั้น... จะสามารถทราบถึงวิธีการเตรียมพร้อม – รับมือ อย่างเป็นระบบ เป็นขั้นเป็นตอน
    - เมื่อเกิดภัยขึ้นมา... เพราะผลจากที่มีการฝึกซ้อมรับมือกับภัยในสภาวการณ์ต่าง ๆ แต่ละคนจะทราบถึงหน้าที่ของตนเองว่าจะต้องทำอะไรบ้าง จะต้องช่วยตัวเองและผู้อื่นอย่างไรบ้าง เช่น ผู้ที่ฝึกซ้อมมาทางด้านการปฐมพยาบาลก็จะไปคอยช่วยดูแลผู้ประสบภัย ผู้ที่ฝึกซ้อมมาทางด้านการอำนวยความสะดวก ก็จะสามารถช่วยดูแลความเรียบร้อยให้กับผู้เดือดร้อนคนอื่น ๆ ได้ เป็นต้น
    - ในยามที่ความช่วยเหลือจากภายนอกยังไม่สามารถเข้าไปถึงท้องที่ที่ประสบภัยได้ ชุมชนนั้น ๆ ก็ยังสามารถที่จะช่วยเหลือตัวเองกันได้ในระดับหนึ่ง ในสถานที่ปลอดภัยนั้น... จะมีอาหาร น้ำดื่ม ของใช้จำเป็น ยารักษาโรค พอเพียงกับความต้องการของชุมชนจนกว่าความช่วยเหลือจากภายนอกจะไปถึง ความช่วยเหลือเบื้องต้นของคนในชุมชนนั้นเองจะทำให้มีผู้รอดชีวิต มากขึ้น มีความสูญเสียน้อยลง

    ต. ที่ ๓ : ต่อเนื่อง

    - การเตรียมความพร้อมกับสถานการณ์ภัยธรรมชาติต่าง ๆ ควรมีการประสานงานกันอย่างจริงจังทั้งจากคนภายในชุมชน และกับภายนอกไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานจากภาครัฐบาล และเอกชน... อย่างต่อเนื่อง ถึงแม้จะไม่เกิดเหตุภัยธรรมชาติใด ๆ เลย การประสานงาน และความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ก็สามารถทำให้ชุมชนนั้น ๆ มีความปลอดภัย มั่นคงในระดับที่สูงขึ้นมากกว่าการอยู่อย่างไม่มีการเตรียมความพร้อมใด ๆ เลย... เพราะการเตรียมความพร้อม คือความไม่ประมาท
    - ถ้ามีการเตรียมความพร้อมอย่างต่อเนื่อง ชุมชนนั้นก็จะได้ชื่อว่าเป็นชุมชนที่เข้มแข็ง และภูมิความรู้ต่าง ๆ ที่มีการอบรมฝึกฝนอยู่เป็นประจำก็จะไม่สูญหายไปไหนและพร้อมที่จะนำกลับมาใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพตลอดเวลา และถ้าชุมชนใดมีการจัดการที่มีระบบระเบียบ คนส่วนใหญ่ของชุมชนให้ความร่วมมือช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ก็สามารถพัฒนาเป็นชุมชนตัวอย่าง... เป็นแม่แบบให้ชุมชนอื่น ๆ มาเรียนรู้งานได้สืบไปอีกด้วย
    - อีกวิธีการหนึ่งที่เป็นวิธีการเตรียมความพร้อมอย่างยั่งยืน คือ การนำโครงการ “เศรษฐกิจพอเพียง” “โครงการตามแนวพระราชดำริต่าง ๆ” มาใช้ในแต่ละชุมชน หมู่บ้าน ตำบล อำเภอ จนถึงจังหวัด... เพราะโครงการในพระราชดำริล้วนเป็นโครงการที่ปรับความสมดุลระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติสิ่งแวดล้อมเข้าหากัน เป็นการรักษาสมดุลของธรรมชาติควบคู่ไปกับการใช้ชีวิตอย่างพอเพียงของชุมชน ไม่มีใครทำร้ายใคร
     
  17. ชนินทร

    ชนินทร พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,725
    ค่าพลัง:
    +6,384
    วัตถุประสงค์ของการจัดงานสัมมนา “๓ ต. ต่อชีวิต เพิ่มทางรอดจากภัยพิบัติ”

    การสัมมนาในครั้งนี้หวังผลที่จะเป็นอีกหนึ่งแนวทางที่จะให้มีการร่วมมือประสานงานช่วยเหลือซึ่งกันและกันอย่างจริงจังระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐบาล และเอกชน ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับความเป็นอยู่ ความปลอดภัย ทั้งต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนในวงกว้าง (ซึ่งโดยปกติหน่วยงานและองค์กรเหล่านั้นก็มีการประสานงานร่วมกันอยู่แล้วในระดับหนึ่ง)

    ประสงค์จะให้การสัมมนาในภูมิภาคทั้ง ๕ นี้ เป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยให้เกิดเป็นแรงผลักดันให้เกิดความปลอดภัย เกิดทางรอดมากที่สุด และมีความสูญเสียน้อยที่สุด โดยการที่ทุกภาคส่วนมาร่วมกันวางแผนอย่างเป็นระบบระเบียบ เป็นรูปธรรมว่าถ้าเกิดภัยขึ้นมาแล้วจริง ๆ ควรมีแผนการรับมืออย่างไร แต่ละคนแต่ละองค์กรและหน่วยงานสมควรดำเนินการอย่างไร มีบทบาทอย่างไรบ้าง และทุกชีวิตทั้งหมดนั้นจะสามารถที่จะส่งต่อ ประสานความช่วยเหลือซึ่งกันและกันให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดเท่าที่จะทำได้ ณ ขณะนั้นได้อย่างไรบ้าง

    อีกทั้งปรารถนาที่จะให้ทั้งผู้ที่เข้าร่วมในงานสัมมนา และผู้ที่ได้รับทราบข้อมูลทั้งหลาย หรือชุมชนในแต่ละท้องถิ่น สามารถนำข้อมูลสิ่งที่ได้รับรู้รับทราบกลับไปใช้งานได้จริงในชีวิตประจำวัน ให้คนจำนวนมากที่สุดเท่าที่จะมากได้สามารถมีชีวิตรอดปลอดภัยให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ทั้งในสถานการณ์ที่มีภัยประจำภูมิภาค หรือภัยฉุกเฉินเกิดขึ้น หรือถึงแม้จะไม่เกิดภัยใด ๆ เลย ความรู้ทั้งหลายทั้งมวลในการสัมมนาในครั้งนี้ ก็ยังสามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อชุมชนทุกชุมชนได้

    เชื่อเหลือเกินว่าการจัดงานสัมมนา ๕ ภูมิภาคในครั้งนี้... จะสามารถเป็นอีกหนึ่งแรงผลักดัน หรือช่วยเป็นแรงบันดาลใจเล็ก ๆ ให้กับชุมชนในแต่ละท้องถิ่นให้เกิดความตระหนักรู้ และเกิดความภาคภูมิใจในภูมิปัญญาท้องถิ่นของบรรพบุรุษของตนได้ เพื่อที่จะได้ช่วยกันสืบสาน เกิดความหวงแหนที่จะรักษาไว้ซึ่งความดีงามในชุมชนของตนเอง

    ข้อมูลความรู้เหล่านั้นได้แก่...

    ต. ที่ ๑ : เตรียมพร้อม

    - ทราบว่าถ้าจะรับข้อมูลข่าวสารการเตือนภัยจากทั้งหน่วยงานของรัฐบาลและเอกชน... จะสามารถติดต่อกับหน่วยงานใดได้บ้าง ที่ไหน อย่างไร
    - เนื่องจากว่าในแต่ละภูมิภาคนั้นจะมีภัยเกิดขึ้นในรูปลักษณะที่แตกต่างกันไปไม่ว่าจะเป็น น้ำท่วม เขื่อนแตก ไฟป่า สึนามิ ดินโคลนถล่ม แผ่นดินไหว ภัยแล้ง น้ำป่า สตรอมเซิรจ (Storm Surge) ฯลฯ ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่ควรจะต้องทราบว่าในภูมิภาคที่ตนอยู่อาศัยนั้นสามารถมีภัยธรรมชาติประเภทใดบ้างที่อาจจะเกิดขึ้นได้ และจะสามารถป้องกันความเสียหายอันอาจจะเกิดกับชีวิต และทรัพย์สินได้อย่างไร ถ้าป้องกันจนสุดวิสัยที่จะทำได้แล้ว ควรเตรียมความพร้อมในการรับสถานการณ์อย่างไร
    - สามารถสังเกตสภาวการณ์ ความแปรปรวน หรือสัญญาณบอกเหตุตามธรรมชาติ(ในเบื้องต้น) ของแต่ละภูมิภาคได้อย่างไร
    - ทราบถึงวิธีการเตรียมความพร้อมสำหรับการรับมือเบื้องต้นกับภัยธรรมชาติที่จะเกิดขึ้น ทั้งภัยที่มีอยู่เป็นประจำในแต่ละภูมิภาค และภัยร้ายที่มีแนวโน้มว่าอาจจะเกิดขึ้นเมื่อไหร่ก็ได้
    - ทราบถึงสถานที่ที่เสี่ยงภัยและสถานที่ที่ปลอดภัย... จะได้สามารถกำหนดวิธีการอพยพหนีภัย... และเส้นทางหนีภัยได้อย่างทันท่วงที
    - ถ้ามีการกำหนดสถานที่ปลอดภัยสำหรับในแต่ละภูมิภาคแล้ว... ชุมชนนั้น ๆ จะได้สามารถร่วมกันจัดการบริหารเตรียมความพร้อมทางด้านต่าง ๆ เพื่อความอยู่รอดปลอดภัยได้อย่างดีที่สุดสำหรับชุมชนของตนเอง
    - เมื่อมีการประสานงานกับทุกเครือข่ายในชุมชนที่เกี่ยวข้องกับการจัดการกับภัยพิบัติแล้ว... ในแต่ละชุมชนจะได้สามารถมีการซักซ้อมเตรียมความพร้อมกับการรับมือ หรือหนีภัยเหล่านั้นด้วยกันอย่างสม่ำเสมอ เพื่อประสิทธิภาพสูงสุดของการอยู่รอดปลอดภัยร่วมกัน

    ต. ที่ ๒ : ตั้งมั่น

    - เมื่อมีการเตรียมความพร้อมสำหรับการรับมือกับภัยต่าง ๆ แล้ว... ทุกคนจะมีสติ และรู้ว่าต้องทำอย่างไรบ้างเมื่ออยู่ในสถานการณ์เหล่านั้น... จะสามารถทราบถึงวิธีการเตรียมพร้อม – รับมือ อย่างเป็นระบบ เป็นขั้นเป็นตอน
    - เมื่อเกิดภัยขึ้นมา... เพราะผลจากที่มีการฝึกซ้อมรับมือกับภัยในสภาวการณ์ต่าง ๆ แต่ละคนจะทราบถึงหน้าที่ของตนเองว่าจะต้องทำอะไรบ้าง จะต้องช่วยตัวเองและผู้อื่นอย่างไรบ้าง เช่น ผู้ที่ฝึกซ้อมมาทางด้านการปฐมพยาบาลก็จะไปคอยช่วยดูแลผู้ประสบภัย ผู้ที่ฝึกซ้อมมาทางด้านการอำนวยความสะดวก ก็จะสามารถช่วยดูแลความเรียบร้อยให้กับผู้เดือดร้อนคนอื่น ๆ ได้ เป็นต้น
    - ในยามที่ความช่วยเหลือจากภายนอกยังไม่สามารถเข้าไปถึงท้องที่ที่ประสบภัยได้ ชุมชนนั้น ๆ ก็ยังสามารถที่จะช่วยเหลือตัวเองกันได้ในระดับหนึ่ง ในสถานที่ปลอดภัยนั้น... จะมีอาหาร น้ำดื่ม ของใช้จำเป็น ยารักษาโรค พอเพียงกับความต้องการของชุมชนจนกว่าความช่วยเหลือจากภายนอกจะไปถึง ความช่วยเหลือเบื้องต้นของคนในชุมชนนั้นเองจะทำให้มีผู้รอดชีวิต มากขึ้น มีความสูญเสียน้อยลง

    ต. ที่ ๓ : ต่อเนื่อง

    - การเตรียมความพร้อมกับสถานการณ์ภัยธรรมชาติต่าง ๆ ควรมีการประสานงานกันอย่างจริงจังทั้งจากคนภายในชุมชน และกับภายนอกไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานจากภาครัฐบาล และเอกชน... อย่างต่อเนื่อง ถึงแม้จะไม่เกิดเหตุภัยธรรมชาติใด ๆ เลย การประสานงาน และความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ก็สามารถทำให้ชุมชนนั้น ๆ มีความปลอดภัย มั่นคงในระดับที่สูงขึ้นมากกว่าการอยู่อย่างไม่มีการเตรียมความพร้อมใด ๆ เลย... เพราะการเตรียมความพร้อม คือความไม่ประมาท
    - ถ้ามีการเตรียมความพร้อมอย่างต่อเนื่อง ชุมชนนั้นก็จะได้ชื่อว่าเป็นชุมชนที่เข้มแข็ง และภูมิความรู้ต่าง ๆ ที่มีการอบรมฝึกฝนอยู่เป็นประจำก็จะไม่สูญหายไปไหนและพร้อมที่จะนำกลับมาใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพตลอดเวลา และถ้าชุมชนใดมีการจัดการที่มีระบบระเบียบ คนส่วนใหญ่ของชุมชนให้ความร่วมมือช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ก็สามารถพัฒนาเป็นชุมชนตัวอย่าง... เป็นแม่แบบให้ชุมชนอื่น ๆ มาเรียนรู้งานได้สืบไปอีกด้วย
    - อีกวิธีการหนึ่งที่เป็นวิธีการเตรียมความพร้อมอย่างยั่งยืน คือ การนำโครงการ “เศรษฐกิจพอเพียง” “โครงการตามแนวพระราชดำริต่าง ๆ” มาใช้ในแต่ละชุมชน หมู่บ้าน ตำบล อำเภอ จนถึงจังหวัด... เพราะโครงการในพระราชดำริล้วนเป็นโครงการที่ปรับความสมดุลระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติสิ่งแวดล้อมเข้าหากัน เป็นการรักษาสมดุลของธรรมชาติควบคู่ไปกับการใช้ชีวิตอย่างพอเพียงของชุมชน ไม่มีใครทำร้ายใคร
     
  18. ชนินทร

    ชนินทร พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,725
    ค่าพลัง:
    +6,384
    รายละเอียดของการจัดงานสัมมนา “๓ ต. ต่อชีวิต เพิ่มทางรอดจากภัยพิบัติ”

    - ลักษณะการจัด : จัดเป็นงานสัมมนา ๕ ภูมิภาค อันได้แก่

    - ภาคเหนือ - ภาคกลางและภาคตะวันตก
    - ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ - ภาคตะวันออก
    - ภาคใต้

    - ค่าเข้าร่วมงานสัมมนา : ไม่คิดค่าใช้จ่าย

    - จำนวนผู้เข้าร่วมงานสัมมนาในแต่ละภูมิภาค : อย่างน้อยภูมิภาคละ ๑,๐๐๐ คน

    - ระยะเวลาที่จัดงานสัมมนาในแต่ละภูมิภาค : ๒ วัน (เสาร์ – อาทิตย์)

    - วันที่จะมีการจัดงานสัมมนา
    : จะแยกเป็นภูมิภาคดังนี้

    - ภาคกลางและภาคตะวันตก (วันเสาร์ที่ ๑๗ และ วันอาทิตย์ที่ ๑๘ กันยายน ๒๕๕๔)
    - ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (วันเสาร์ที่ ๒๙ และ วันอาทิตย์ที่ ๓๐ ตุลาคม ๒๕๕๔)
    - ภาคใต้ (วันเสาร์ที่ ๑๙ และ วันอาทิตย์ที่ ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๔)
    - ภาคเหนือ (วันเสาร์ที่ ๐๓ และ วันอาทิตย์ที่ ๐๔ ธันวาคม ๒๕๕๔)
    - ภาคตะวันออก (วันเสาร์ที่ ๑๗ และ วันอาทิตย์ที่ ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๔)

    - สถานที่พักตอนกลางคืนสำหรับผู้เข้าร่วมงานสัมมนา

    : จะมีการประกาศให้ผู้ที่จะเข้าร่วมงานสัมมนาให้นำเต็นท์ หรือถุงนอนมาด้วย เพราะสามารถพักในวัดได้ โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ (แต่ถ้าสถานที่ที่จะใช้จัดงานสัมมนาไม่ใช่วัด... จะมีการติดต่อประสานงาน ขอความอนุเคราะห์จากสถานที่นั้น ๆ หรือ อาจมีการติดต่อประสานงานไปยังวัดที่อยู่ใกล้เคียง ขอให้ใช้เป็นสถานที่พักผ่อนยามค่ำคืนแก่ผู้ร่วมงานสัมมนา)

    - สถานที่สำหรับการจัดงานสัมมนา

    : วัด ซึ่งมีขนาดเนื้อที่ใหญ่พอที่จะรองรับผู้คนและจำนวนรถได้จำนวนมาก และมีเครื่องอำนวยความสะดวกพื้นฐาน เช่น ห้องน้ำ อุปกรณ์เครื่องเสียงต่าง ๆ เป็นต้น อีกทั้งสะดวกสำหรับรถรับจ้างหรือรถประจำทางสาธารณะ ที่จะผ่านเป็นปกติอยู่แล้ว เพื่อสะดวกต่อการเดินทางของผู้เข้าร่วมงานสัมมนา

    : หอประชุม หรือสถานที่ใดก็ตามที่มีเนื้อที่กว้างขวางพอที่จะรองรับจำนวนผู้คนที่จะเข้าร่วมงานสัมมนา มีเครื่องอำนวยความสะดวกพื้นฐานที่จำเป็น... และที่สำคัญไม่คิดค่าบริการใดๆ เป็นการอนุเคราะห์ให้ความช่วยเหลือทางด้านสาธารณะประโยชน์


    สำหรับสถานที่ที่หาได้แล้วในตอนนี้จะแยกเป็นภูมิภาคได้ดังนี้ :

    - ภาคกลางและภาคตะวันตก
    วัดหนองหญ้าปล้อง ต. .จรเข้เผือก อ.ด่านมะขามเตี้ย จ.กาญจนบุรี ๗๑๒๖๐
    - ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
    วัดพุทธโมกข์ ท่าแร่ อ.โพนนาแก้ว จ.สกลนคร ๔๗๒๓๐
    - ภาคใต้
    วัดคลองวาฬ (พระอารามหลวง) ต.คลองวาฬ อ.เมือง จ.ประจวบคีรีขันธ์ ๗๗๐๐๐
    - ภาคเหนือ
    วัดพระธาตุห้าดวง ต.ลี้ อ.ลี้ จ.ลำพูน ๕๑๑๑๐
    - ภาคตะวันออก
    วัดราษฎร์ศรัทธา (ท้ายดอน) ต.เหมือง อ.เมือง จ.ชลบุรี ๒๐๑๓๐

    - สถานที่จอดรถ : ตามที่ทางวัดกำหนด แต่จะมีการกันที่ให้กับวิทยากร เจ้าภาพ และแขกพิเศษไว้จำนวนหนึ่ง (แต่สำหรับผู้ติดตามวิทยากร และแขกพิเศษต้องจอดร่วมกับผู้เข้าร่วมงานสัมมนา)
    จะมีการประกาศแจ้งให้ผู้เข้าร่วมงานสัมมนามาร่วมงานโดยการใช้รถรับจ้างสาธารณะด้วย

    - อาหาร : อาหารว่าง ๒ มื้อ – อาหารกลางวัน ๑ มื้อ ต่อ ๑ วัน โดยถ้าทางสถานที่ที่จะใช้จัดงานยอมรับ ก็สามารถที่จะประกาศหาผู้ร่วมอนุเคราะห์มาจัดตั้งโรงทานได้ในส่วนหนึ่ง และในอีกส่วนหนึ่งสามารถหาผู้สนับสนุน เป็นเจ้าภาพร่วมในการจัดงานสัมมนานี้ได้เช่นกัน

    - สามารถเข้าร่วมงานได้โดย

    ๑. โทรสอบถามข้อมูลรายละเอียดได้ที่ : ๐๘๙-๕๑๑-๙๙๐๕(ธร), ๐๘๙-๗๗๓-๕๗๙๓(ธร), ๐๘๔-๘๙๑-๕๓๙๕(นัฒ), ๐๘๗-๕๖๓-๐๘๐๖(ตุ้ย), ๐๘๙-๒๘๖-๐๓๓๓(มิ้ง), ๐๘๑-๗๒๑-๕๗๘๓(ตุ๊ก), ๐๘๗-๐๒๖-๑๑๔๖(นิก)

    ๒. ติดต่อที่ : ตู้ปณ. ๖ ปณ.หลักสี่ กทม. ๑๐๒๑๐

    ๓. ส่งโทรสารมาที่ : ๐๒-๙๐๓-๐๐๘๐ กดต่อ ๖๕๙๗ ; ๐๒-๗๙๐-๑๐๙๒

    ๔. ติดต่อผ่านทาง : seminar5regions@hotmail.com, seminar5regions@gmail.com

    ๕. หรือดูข้อมูลในเฟซบุ๊ค ชื่อ Seminar Fiveregions ที่ Seminar Fiveregions | Facebook


    - หมายเหตุ :

    อนึ่ง การจัดงานในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลัก คือ ต้องการให้มีผู้ได้รับทราบข้อมูลความรู้และวิธีการเตรียมความพร้อมเพื่อการรับมือกับภัยพิบัติให้ได้มากที่สุด เพื่อให้มีผู้ประสบกับความเดือดร้อน และสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สินให้น้อยที่สุด ในขณะเดียวกันก็เป็นการย้ำเตือนให้ชุมชนในแต่ละภูมิภาคเกิดความภาคภูมิใจในภูมิปัญญาท้องถิ่นของตน เพื่อที่จะได้ช่วยกันปกป้อง รักษาชุมชนของตนเองให้เข้มแข็งสืบไป

    นอกจากนั้นทางคณะผู้จัดงานเห็นว่าการจัดงานสัมมนา ๕ ภูมิภาคในครั้งนี้เป็นนิมิตหมายที่พิเศษที่บ่งบอกถึงความสมัครสมานสามัคคีของคนในประเทศชาติของเรา อีกทั้งมิใช่จะเป็นเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นได้ง่ายนักที่พวกเราจะสามารถสร้างมหากุศลผลบุญทั้งในเรื่องทางโลกและทางธรรมไปพร้อม ๆ กันได้เช่นนี้
    จึงได้ดำริให้มีการน้อมถวายพระบรมสารีริกธาตุ พระพุทธรูปพร้อมเครื่องประดับองค์พระ ชุดหนังสือพระไตรปิฎก และชุดมหาสังฆทาน ไว้ที่วัดในแต่ละภูมิภาคที่เป็นสถานที่จัดงานสัมมนา เพื่อให้ทุกท่านในงานได้ร่วมถวายพร้อมกัน เพื่อให้เกิดมหาผลานิสงส์ในการที่จะร่วมกันอธิษฐานจิต เพื่อความอยู่รอดปลอดภัยของประเทศชาติ

    ๑. เพื่อเป็นพุทธบูชา ธรรมบูชา สังฆบูชา
    ๒. เพื่อน้อมถวายเป็นพระราชกุศลแด่องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และพระบรมวงศานุวงศ์ทุก ๆ พระองค์
    ๓. เพื่อประโยชน์สุขแก่ปวงชนชาวไทยทุกหมู่เหล่า

    สิ่งของหรือเอกสารที่จะแจกให้กับผู้เข้าร่วมงานสัมมนา มีอาทิเช่น (อาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสมต่อไป)
    ๑. ตารางยาหลักแห่งชาติ ทั้งที่เป็นยาสมุนไพร และยาสามัญประจำบ้าน
    ๒. คู่มือการปฐมพยาบาลตัวเองเบื้องต้น
    ๓. สรุปคู่มือการเอาตัวรอดจากภัยในรูปแบบต่าง ๆ
    ๔. สำเนาแผนที่ดาวเทียมบอกตำแหน่งที่เสี่ยงต่อภัย และจุดที่ปลอดภัยของแต่ละภูมิภาค
    ๕. ฯลฯ
     
  19. ชนินทร

    ชนินทร พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,725
    ค่าพลัง:
    +6,384
    รายละเอียดของการจัดงานสัมมนา “๓ ต. ต่อชีวิต เพิ่มทางรอดจากภัยพิบัติ”

    - ลักษณะการจัด : จัดเป็นงานสัมมนา ๕ ภูมิภาค อันได้แก่

    - ภาคเหนือ - ภาคกลางและภาคตะวันตก
    - ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ - ภาคตะวันออก
    - ภาคใต้

    - ค่าเข้าร่วมงานสัมมนา : ไม่คิดค่าใช้จ่าย

    - จำนวนผู้เข้าร่วมงานสัมมนาในแต่ละภูมิภาค : อย่างน้อยภูมิภาคละ ๑,๐๐๐ คน

    - ระยะเวลาที่จัดงานสัมมนาในแต่ละภูมิภาค : ๒ วัน (เสาร์ – อาทิตย์)

    - วันที่จะมีการจัดงานสัมมนา
    : จะแยกเป็นภูมิภาคดังนี้

    - ภาคกลางและภาคตะวันตก (วันเสาร์ที่ ๑๗ และ วันอาทิตย์ที่ ๑๘ กันยายน ๒๕๕๔)
    - ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (วันเสาร์ที่ ๒๙ และ วันอาทิตย์ที่ ๓๐ ตุลาคม ๒๕๕๔)
    - ภาคใต้ (วันเสาร์ที่ ๑๙ และ วันอาทิตย์ที่ ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๔)
    - ภาคเหนือ (วันเสาร์ที่ ๐๓ และ วันอาทิตย์ที่ ๐๔ ธันวาคม ๒๕๕๔)
    - ภาคตะวันออก (วันเสาร์ที่ ๑๗ และ วันอาทิตย์ที่ ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๔)

    - สถานที่พักตอนกลางคืนสำหรับผู้เข้าร่วมงานสัมมนา

    : จะมีการประกาศให้ผู้ที่จะเข้าร่วมงานสัมมนาให้นำเต็นท์ หรือถุงนอนมาด้วย เพราะสามารถพักในวัดได้ โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ (แต่ถ้าสถานที่ที่จะใช้จัดงานสัมมนาไม่ใช่วัด... จะมีการติดต่อประสานงาน ขอความอนุเคราะห์จากสถานที่นั้น ๆ หรือ อาจมีการติดต่อประสานงานไปยังวัดที่อยู่ใกล้เคียง ขอให้ใช้เป็นสถานที่พักผ่อนยามค่ำคืนแก่ผู้ร่วมงานสัมมนา)

    - สถานที่สำหรับการจัดงานสัมมนา

    : วัด ซึ่งมีขนาดเนื้อที่ใหญ่พอที่จะรองรับผู้คนและจำนวนรถได้จำนวนมาก และมีเครื่องอำนวยความสะดวกพื้นฐาน เช่น ห้องน้ำ อุปกรณ์เครื่องเสียงต่าง ๆ เป็นต้น อีกทั้งสะดวกสำหรับรถรับจ้างหรือรถประจำทางสาธารณะ ที่จะผ่านเป็นปกติอยู่แล้ว เพื่อสะดวกต่อการเดินทางของผู้เข้าร่วมงานสัมมนา

    : หอประชุม หรือสถานที่ใดก็ตามที่มีเนื้อที่กว้างขวางพอที่จะรองรับจำนวนผู้คนที่จะเข้าร่วมงานสัมมนา มีเครื่องอำนวยความสะดวกพื้นฐานที่จำเป็น... และที่สำคัญไม่คิดค่าบริการใดๆ เป็นการอนุเคราะห์ให้ความช่วยเหลือทางด้านสาธารณะประโยชน์


    สำหรับสถานที่ที่หาได้แล้วในตอนนี้จะแยกเป็นภูมิภาคได้ดังนี้ :

    - ภาคกลางและภาคตะวันตก
    วัดหนองหญ้าปล้อง ต. .จรเข้เผือก อ.ด่านมะขามเตี้ย จ.กาญจนบุรี ๗๑๒๖๐
    - ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
    วัดพุทธโมกข์ ท่าแร่ อ.โพนนาแก้ว จ.สกลนคร ๔๗๒๓๐
    - ภาคใต้
    วัดคลองวาฬ (พระอารามหลวง) ต.คลองวาฬ อ.เมือง จ.ประจวบคีรีขันธ์ ๗๗๐๐๐
    - ภาคเหนือ
    วัดพระธาตุห้าดวง ต.ลี้ อ.ลี้ จ.ลำพูน ๕๑๑๑๐
    - ภาคตะวันออก
    วัดราษฎร์ศรัทธา (ท้ายดอน) ต.เหมือง อ.เมือง จ.ชลบุรี ๒๐๑๓๐

    - สถานที่จอดรถ : ตามที่ทางวัดกำหนด แต่จะมีการกันที่ให้กับวิทยากร เจ้าภาพ และแขกพิเศษไว้จำนวนหนึ่ง (แต่สำหรับผู้ติดตามวิทยากร และแขกพิเศษต้องจอดร่วมกับผู้เข้าร่วมงานสัมมนา)
    จะมีการประกาศแจ้งให้ผู้เข้าร่วมงานสัมมนามาร่วมงานโดยการใช้รถรับจ้างสาธารณะด้วย

    - อาหาร : อาหารว่าง ๒ มื้อ – อาหารกลางวัน ๑ มื้อ ต่อ ๑ วัน โดยถ้าทางสถานที่ที่จะใช้จัดงานยอมรับ ก็สามารถที่จะประกาศหาผู้ร่วมอนุเคราะห์มาจัดตั้งโรงทานได้ในส่วนหนึ่ง และในอีกส่วนหนึ่งสามารถหาผู้สนับสนุน เป็นเจ้าภาพร่วมในการจัดงานสัมมนานี้ได้เช่นกัน

    - สามารถเข้าร่วมงานได้โดย

    ๑. โทรสอบถามข้อมูลรายละเอียดได้ที่ : ๐๘๙-๕๑๑-๙๙๐๕(ธร), ๐๘๙-๗๗๓-๕๗๙๓(ธร), ๐๘๔-๘๙๑-๕๓๙๕(นัฒ), ๐๘๗-๕๖๓-๐๘๐๖(ตุ้ย), ๐๘๙-๒๘๖-๐๓๓๓(มิ้ง), ๐๘๑-๗๒๑-๕๗๘๓(ตุ๊ก), ๐๘๗-๐๒๖-๑๑๔๖(นิก)

    ๒. ติดต่อที่ : ตู้ปณ. ๖ ปณ.หลักสี่ กทม. ๑๐๒๑๐

    ๓. ส่งโทรสารมาที่ : ๐๒-๙๐๓-๐๐๘๐ กดต่อ ๖๕๙๗ ; ๐๒-๗๙๐-๑๐๙๒

    ๔. ติดต่อผ่านทาง : seminar5regions@hotmail.com, seminar5regions@gmail.com

    ๕. หรือดูข้อมูลในเฟซบุ๊ค ชื่อ Seminar Fiveregions ที่ Seminar Fiveregions | Facebook


    - หมายเหตุ :

    อนึ่ง การจัดงานในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลัก คือ ต้องการให้มีผู้ได้รับทราบข้อมูลความรู้และวิธีการเตรียมความพร้อมเพื่อการรับมือกับภัยพิบัติให้ได้มากที่สุด เพื่อให้มีผู้ประสบกับความเดือดร้อน และสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สินให้น้อยที่สุด ในขณะเดียวกันก็เป็นการย้ำเตือนให้ชุมชนในแต่ละภูมิภาคเกิดความภาคภูมิใจในภูมิปัญญาท้องถิ่นของตน เพื่อที่จะได้ช่วยกันปกป้อง รักษาชุมชนของตนเองให้เข้มแข็งสืบไป

    นอกจากนั้นทางคณะผู้จัดงานเห็นว่าการจัดงานสัมมนา ๕ ภูมิภาคในครั้งนี้เป็นนิมิตหมายที่พิเศษที่บ่งบอกถึงความสมัครสมานสามัคคีของคนในประเทศชาติของเรา อีกทั้งมิใช่จะเป็นเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นได้ง่ายนักที่พวกเราจะสามารถสร้างมหากุศลผลบุญทั้งในเรื่องทางโลกและทางธรรมไปพร้อม ๆ กันได้เช่นนี้
    จึงได้ดำริให้มีการน้อมถวายพระบรมสารีริกธาตุ พระพุทธรูปพร้อมเครื่องประดับองค์พระ ชุดหนังสือพระไตรปิฎก และชุดมหาสังฆทาน ไว้ที่วัดในแต่ละภูมิภาคที่เป็นสถานที่จัดงานสัมมนา เพื่อให้ทุกท่านในงานได้ร่วมถวายพร้อมกัน เพื่อให้เกิดมหาผลานิสงส์ในการที่จะร่วมกันอธิษฐานจิต เพื่อความอยู่รอดปลอดภัยของประเทศชาติ

    ๑. เพื่อเป็นพุทธบูชา ธรรมบูชา สังฆบูชา
    ๒. เพื่อน้อมถวายเป็นพระราชกุศลแด่องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และพระบรมวงศานุวงศ์ทุก ๆ พระองค์
    ๓. เพื่อประโยชน์สุขแก่ปวงชนชาวไทยทุกหมู่เหล่า

    สิ่งของหรือเอกสารที่จะแจกให้กับผู้เข้าร่วมงานสัมมนา มีอาทิเช่น (อาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสมต่อไป)
    ๑. ตารางยาหลักแห่งชาติ ทั้งที่เป็นยาสมุนไพร และยาสามัญประจำบ้าน
    ๒. คู่มือการปฐมพยาบาลตัวเองเบื้องต้น
    ๓. สรุปคู่มือการเอาตัวรอดจากภัยในรูปแบบต่าง ๆ
    ๔. สำเนาแผนที่ดาวเทียมบอกตำแหน่งที่เสี่ยงต่อภัย และจุดที่ปลอดภัยของแต่ละภูมิภาค
    ๕. ฯลฯ
     
  20. ชนินทร

    ชนินทร พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,725
    ค่าพลัง:
    +6,384
    กำหนดการงานสัมมนา “๓ ต. ต่อชีวิต เพิ่มทางรอดจากภัยพิบัติ”
    ภูมิภาคที่ ๑ : ภาคกลางและภาคตะวันตก

    (ระหว่างวันที่ ๑๗ – ๑๘ กันยายน ๒๕๕๔)

    ณ วัดหนองหญ้าปล้อง ต.จรเข้เผือก อ.ด่านมะขามเตี้ย จ.กาญจนบุรี

    ------------------------------------

    วันเสาร์ที่ ๑๗ กันยายน ๒๕๕๔

    ๐๗.๐๐ น. ถวายอาหารเช้าพระร่วมกัน

    ๐๘.๐๐ – ๐๙.๐๐ น. ลงทะเบียน

    ๐๙.๐๐ – ๐๙.๓๐ น. - ท่านผู้ว่าราชการจังหวัด ณฐพลษ์ วิเชียรเพริศ ประธานกล่าวเปิดงาน

    - มอบของที่ระลึกแด่ประธาน และวิทยากรทุกท่านที่พูดในวันนี้

    ๐๙.๓๐ – ๑๐.๑๕ น. - ช่วง “รู้.... จักภัย”

    - “ภัยธรรมชาติที่ไม่อาจมองผ่าน”
    โดย พลเรือเอกเกาะหลัก เจริญรุกข์ ผู้เชี่ยวชาญพิเศษ
    (ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ)

    - “๑๘ กลุ่มภัยที่มีอยู่ในประเทศไทย”
    โดย อธิบดีวิบูลย์ สงวนพงศ์ (กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย)

    - “ภาพรวมของลักษณะอากาศที่ส่งผลให้เกิดภัยธรรมชาติ”
    โดย อธิบดีต่อศักดิ์ วานิชขจร (กรมอุตุนิยมวิทยา)

    - “การใช้เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการป้องกันและจัดการภัยพิบัติ”

    โดย คุณสุรัสวดี ภูมิพานิช นักภูมิสารสนเทศ
    (สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยี่อวกาศและภูมิสารสนเทศ)

    - “รู้.... จักภัย”
    โดย สมาคมอาสาสมัครบรรเทาสาธารณภัยฯ
     

แชร์หน้านี้

Loading...