เมื่อนักปฏิบัติ ... ปฏิบัติไปเป็นเปต

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ยอดคะน้า, 23 สิงหาคม 2011.

  1. ยอดคะน้า

    ยอดคะน้า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 มกราคม 2010
    โพสต์:
    947
    ค่าพลัง:
    +710
    พระไตรปิฎกมหาวิตถาร ๕๐๐๐ นัย



    กัณฑ์ที่ ๑
    <O:p



    คัมภีร์ขุททกนิกาย เปตวัตถุ
    ว่าด้วยอารัมภกถา แห่งเปตวัตถุ
    <O:p




    นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺสฯ<O:p



    มหาการุณิกํ นาถํ เญยฺยสาครปารคุ (คํ)
    (หมายเหตุผู้พิมพ์พิมพ์คำแบบนี้ไม่เป็น)<O:p



    วนฺเท นิปุณคมฺภีรํ วิจิตฺตนยเทสนนฺติ.
    <O:p


    ณ บัดนี้ อาตมภาพจักได้แสดงพระไตรปิฎกเทศนา
    มหาวิตถารนัย ในพระคัมภีร์ขุททกนิกาย เปตวัตถุ
    กัณฑ์ที่ ๑ ว่าด้วยอารัมภกถา แห่งเปตวัตถุ สืบต่อไป
    เพื่อให้เป็นประโยชน์แก่พระพุทธศาสนา
    และพุทธศาสนิกชนทั้งหลาย ตลอดกาลนาน


    <O:pอรรถกถา


    <O:p</O:p
    ดำเนินความตามอรรถกถาแห่งเปตวัตถุ ในคัมภีร์ปรมัตถทีปนีนั้นว่า
    พระอรรถกถาจารย์ ได้กล่าวคาถานมัสการพระรัตนตรัยไว้ว่า
    ข้าพเจ้าขอกราบไหว้พระพุทธเจ้า
    ผู้ประกอบด้วยพระมหากรุณา
    ผู้เป็นที่พึ่งของโลก
    ผู้ถึงซึ่งฝั่งแห่งมหาสมุทร คือไทยธรรม
    ผู้ทรงแสดงธรรมมีนัยอันวิจิตรละเอียดลึกซึ้ง
    ผู้สมบูรณ์ด้วยวิชชาจรณะ
    ผู้ออกจากโลกได้ฯ

    <O:p</O:p
    ข้าพเจ้าขอกราบไหว้พระธรรมอันประเสริฐสูงสุด
    ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงบูชา
    ทั้งพระอริยสงฆ์ ผู้ทรงคุรธรรม มีศีลเป็นต้น ผู้ตั้งอยู่ในมรรคผล
    ซึ่งเป็นนาบุญอย่างเยี่ยมของโลกฯ
    บุญกุศลอันใดที่ข้าพเจ้าได้ทำให้เกิดแล้ว ด้วยการกราบไหว้พระรัตนตรัย
    ขอให้ข้าพเจ้าปราศจากภัยอันตรายทั้งปวง
    ด้วยเดชานุภาพแห่งบุญกุศลอันนั้นฯ
    กรรมใดๆ อันนำมาซึ่งความเป็นเปรตที่บุคคลนั้นๆ กระทำไว้
    พระพุทธเจ้าทั้งหลายย่อมทรงแสดงฯ
    พระอรหันต์ทั้งหลายผู้แสวงหาคุณธรรมอันใหญ่
    ได้รวบรวมกรรมอันทำให้เกิดความสลดใจ
    พร้อมทั้งผลแห่งกรรม กับ ทั้งเรื่องไว้ใน ขุททกนิกาย ว่า
    เปตวัตถุอันใดมีอยู่ ข้าพเจ้าผู้จะแสดงนิทานในที่นั้นๆ
    ตามนัยแห่งอรรถกถา ซึ่งแก้ไขมาจากขุทกนิกายนั้นให้พิสดารออกไป
    ให้บริสุทธ์บริบูรณ์ดี ไม่ให้ผิดเพี้ยนจากความรู้ของพระเถรเจ้าทั้งหลาย
    ผู้อยู่ในมหาวิหารตามสติกำลังของข้าพเจ้า
    ขอท่านทั้งหลายจงฟังซึ่งการพรรณนาเปตวัตถุ
    คือ เรื่องเปรตที่ข้าพเจ้าจักแสดงต่อไปนี้ให้จงดีฯ
    ครั้นพระอรรถกถาจารย์กล่าวคำนมัสการพระรัตนตัยดังนี้แล้ว
    จึงกล่าวต่อไปว่า
    คำว่า เปตวัตถุนั้น
    ได้แก่ กรรมอันเป็นเหตุทำให้เกิดเป็นเปรตแห่งบุคคลนั้นๆ
    มีบุตรเศรษฐีเป็นต้นฯ
    พระปริยัติธรรม อันเป็นไปด้วยอำนาจแห่งการประกาศเปตวัตถุนั้น
    ขึ้นต้นว่าพระอรหันต์ทั้งหลายอุปมาดังเปรตดังนี้
    ท่านก็รวมไว้ในเปตวัตถุนี้ฯ

    ก็เปตวัตถุที่จะแสดงต่อไปนี้
    ใครแสดงไว้ แสดงไว้ที่ไหน แสดงไว้แต่เมื่อไร เหตุไรจึงแสดงไว้ฯ

    มีคำแก้ไขว่า

    เปตวัตถุนี้มีขึ้นได้ด้วยเหตุ ๒ ประการ คือ
    ด้วยความเกิดขึ้นแห่งเรื่อง ๑
    ด้วยการถามการแก้ ๑ฯ

    ในเหตุ ๒ ประการนั้น
    เหตุที่มีขึ้นด้วยความเกิดขึ้นแห่งเรื่อง เป็นคำที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้
    นอกนี้เป็นคำที่พระเถรเจ้าทั้งหลาย
    มีพระนารทเถรเจ้าเป็นต้นได้ถามเปรตเหล่านั้น แล้วได้กล่าวไว้ฯ
    แต่เพราะเหตุที่เมื่อคำถามคำตอบนั้นๆ อันพระเถรเจ้าทั้งหลาย
    มีพระนารทเถรเจ้าเป็นต้น ได้กราบทูลองค์พระทศพล
    แล้วพระพุทธองค์ก็ทรงถือเป็นต้นเหตุ แล้วทรงแสดงให้ประชุมชนฟัง
    จึงจัดว่า เปตวัตถุทั้งสิ้น เป็นเรื่องที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้แล้วทั้งนั้นฯ

    ก็เมื่อพระพุทธองค์ ทรงประกาศพระธรรมจักร อันประเสริฐแล้ว
    ประทับอยู่ในที่นั้นๆ มีกรุงราชคฤห์เป็นต้น ก็ได้ทรงแสดงเรื่องเปรตนั้นๆ
    เพื่อให้บุคคลทั้งหลายเล็งเห็นผลกรรมตามสมควรแก่เรื่องนั้นๆ
    และตามสมควรแก่คำทูลถาม อันนี้เป็นคำแก้ไขโดยทั่วไป

    สำหรับบททั้งหลายมีบทว่า เปตวัตถุนี้ ใครกล่าวไว้ ฯ
    ก็เปตวัตถุนั้นนับเข้าในพระสุตตันตปิฎก ซึ่งมีในปิฎกทั้ง ๓
    คือ
    พระวินัยปิฎก พระสัตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก
    และนับเข้าในขุททกนิกาย ซึ่งมีอยู่ในนิกายทั้ง ๕

    คือ
    ทีฆนิกาย มัชฌิมนิกาย สังยุตตนิกาย อังคุตตรนิกาย ขุททกนิกาย

    สำหรับในองค์ ๙
    คือ
    สุตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ
    ชาดก อัพภูตธรรม เวทัลละ ก็นับเข้าในคาถา

    เมื่อว่าโดยพระธรรม ๘ หมื่น ๔ พันพระธรรมขันธ์
    ซึ่งพระอานนทเถรเจ้าได้ปฏิญาณไว้ว่า
    ข้าพเจ้าได้เรียนจากพระพุทธเจ้า ๘ หมื่น ๒ พันพระธรรมขันธ์
    ได้เรียนจากพระภิกษุ ๒ พันพระธรรมขันธ์
    อันรวมเป็น ๘ หมื่น ๔ พันพระธรรมขันธ์

    เปตวัตถนี้ก็จัดเข้าในพระธรรมขันธ์เล็กน้อยฯ
    เมื่อว่า โดยภาณวาร ก็มี ๔ ภาณวาร
    เมื่อว่าโดยวรรค ก็มี ๔ วรรค คือ
    อุรควรรค ๑
    อุพพริวรรค ๑
    จูฬวรรค ๑
    มหาวรรค ๑

    ในวรรคแรกมี ๑๒ เรื่อง

    ในวรรคที่ ๒ มี ๑๓ เรื่อง

    ในวรรคที่ ๓ มี ๑๐ เรื่อง

    ในวรรคที่ ๔ มี ๑๖ เรื่องฯ

    เมื่อว่าโดยเรื่อง ก็มี ๕๑ เรื่อง
    มีเรื่องเขตตูปมาเปรตเป็นต้น
    แต่ได้เก็บเรื่องเปรตจากคัมภีร์อื่นๆ มาเติมเข้าอีก จึงเป็น ๙๐ เปรตฯ

    ก็เขตตูปมาเปรตนั้น มีคาถาว่า เขตฺตูปมา อรหนฺโต เป็นต้นฯ
    เรื่องนั้นสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงที่พระเวฬุวันวิหาร กรุงราชคฤห์

    ด้วยทรงปรารภเปรต ซึ่งเป็นบุตรเศรษฐีคนหนึ่ง ให้เป็นต้นเหตุฯ
    กล่าวคือ มีเศรษฐีคนหนึ่งอยู่ในกรุงราชคฤห์ เป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก
    มีเครื่องใช้สอยมาก มีเครื่องประกอบให้เกิดความปลื้มใจมาก
    มีทรัพย์ที่ฝังไว้หลายโกฎิ มีชื่อว่า มหาธนเศรษฐี เพราะเป็นผู้มีทรัพย์มาก ฯ

    เศรษฐีนั้น มีบุตรอยู่คนเดียวเป็นที่รักใคร่พอใจเขามากฯ
    เมื่อบุตรนั้นเติบโตแล้ว มารดาบิดาก็คิดกันว่า
    เมื่อบุตรของเราเก็บทรัพย์ไว้วันละพันๆ
    ถึงจะใช้ตั้ง ๑๐๐ ปีก็จะไม่รู้จักหมด

    ประโยชน์อันใดที่จะให้บุตรของเราศึกษาเล่าเรียน
    จงให้บุตรของเราได้ใช้ทรัพย์ตามสบาย ไม่ต้องให้ลำบากจึงจะเป็นการดี
    คิดดังนี้แล้ว ก็ไม่ได้ให้บุตรศึกษาเล่าเรียนฯ

    เมื่อบุตรโตเป็นหนุ่มขึ้น เศรษฐีกับภรรยาซึ่งเป็นมารดาบิดานั้น
    ก็ได้ขอกุมารี ซึ่งสมบูรณ์ด้วยตระกูลและรูปร่างกิริยามรรยาท
    มาให้แก่บุตรของตน กุมารรีนั้นเป็นผู้เบือนหน้าจากธรรมฯ

    บุตรเศรษฐีนั้น เมื่อได้ร่วมกินอยู่กับกุมารีนั้นก็เบือนหน้าจากธรรมเหมือนกัน
    ไม่เอื้อเฟื้อต่อสมณพราหมณ์และผู้ควรเคารพทั้งหลาย
    มีแต่ห้อมล้อมด้วยหมู่นักเลง มัวเมาอยู่ในกามคุณ ๕
    ต่อมาภายหลังมารดาบิดาก็ล่วงลับไป
    บุตรเศรษฐีนั้นเมื่อใช้ทรัพย์ตามชอบใจแก่คนทั้งหลาย
    มีคนฟ้อนรำขับร้องเป็นต้น ทรัพย์ก็หมดเปลืองไป
    ไม่ช้าก็สิ้นทรัพย์ที่มีอยู่

    แล้วไปกู้หนี้ยืมสินเขามาเลี้ยงชีวิต เมื่อหากู้หนี้ไม่ได้แล้ว
    เวลาถูกพวกเจ้าหนี้ทวงก็ยกเรือนชานบ้านช่องเป็นต้นให้แก่พวกเจ้าหนี้
    แล้วก็ถือกระเบื้องเที่ยวขอท่านอาศัยนอนตามศาลาอนาถาฯ

    คราวนั้นมีโจรพวกหนึ่งได้พบเห็นบุตรเศรษฐีนั้น
    จึงว่า
    ประโยชน์อะไรด้วยการเลี้ยงชีพอันลำบากเช่นนี้ เจ้าก็ยังหนุ่มยังแข็งแรงดี
    เหตุไรจึงทำตัวเหมือนคนมีมือมีเท้าพิการ จงมาร่วมการงานกับพวกเรา
    พากันถือเอาของผู้อื่นด้วยการลักขโมยมาเลี้ยงชีพให้สบายเถิดฯ

    บุตรเศรษฐีนั้นก็ตอบว่า ข้าพเจ้าไม่รู้จักวิธีลักขโมยฯ
    พวกโจรจึง่ว่า พวกเราจะสอนให้ แต่เจ้าต้องทำตามคำของพวกเราฯ

    บุตรเศรษฐีนั้นก็รับว่า ดีละ
    แล้วก็ไปกับพวกโจรนั้นฯ

    ลำดับนั้น พวกโจรนั้นก็ได้มอบไม้ค้อนใหญ่ให้แก่บุตรเศรษฐีนั้น
    แล้วบอกว่า
    เมื่อพวกเราเจาะฝาเรือนเข้าไป เจ้าจงยืนอยู่ข้างนอก ถ้ามีใครมา
    เจ้าจงตีด้วยไม้ค้อนนี้ให้ตายฯ
    บุตรเศรษฐีนั้นเป็นคนโง่เขลา ไม่รู้จักสิ่งที่เป็นประโยชน์และไม่เป็นประโยชน์
    ก็ได้ยืนดูการมาของพวกอื่นอยู่ข้างนอกฯ
    ส่วนพวกโจรก็เข้าไปในเรือนเก็บเอาสิ่งของได้แล้ว
    พอคนในเรือนรู้ก็วิ่งออกหนีไปฯ
    เมื่อคนทั้งหลายตื่นขึ้นก็รีบวิ่งออกมาจากทางโน้นทางนี้
    ได้มาเห็นบุตรเศรษฐีนั้นยืนอยุ่ข้างนอกก็พร้อมกันทุบตี
    แล้วนำไปถวายพระราชาว่าเป็นโจรที่ชั่วร้าย
    พระราชาก็ตรัสสั่งอำมาตย์ผู้รักษาเมือง ให้นำไปตัดศีรษะเสียฯ
    อำมาตย์ผู้รักษาเมืองรับพระราชโองการแล้วก็ให้มัดมือไพล่หลัง
    ให้สวมคอด้วยพวงดอกไม้แดง ให้ทาศีรษะด้วยขี้อูฐ
    แล้วนำตระเวนตีกลองป่าวร้องไปตามถนนหลวงและตรอกใหญ่ตรอกน้อย
    ทั้งเฆี่ยนตีไปด้วยหวาย นำออกไปที่ตะแลงแกงเพื่อจะฆ่า
    ในเวลานั้น ก็มีเสียงโกลาหลขื้นว่า โจรที่ปล้นเมืองถูกจับแล้วฯ
    คราวนั้น
    มีหญิงนครโสเภณีคนหนึ่งชื่อว่า นาง สุลสา ยืนอยู่ที่ปราสาท
    ได้แลเห็นบุตรเศรษฐีที่เขาเฆี่ยนตีไปอย่างนั้น
    ก็เกิดความกรุณาด้วยได้คุ้นเคยกันมาแต่เมื่อก่อน
    ว่าบุรุษคนนี้เป็นคนมั่งมีอยู่ในเมืองนี้ มาบัดนี้ก็มาถึงความพินาศเช่นนี้

    จึงส่งขนม ๔ ก้อนกับน้ำดื่มไปให้ ทั้งให้บอกผู้คุมว่า
    ขอได้โปรดรอให้บุรุษนี้ได้กินขนมและดื่มน้ำเสียก่อนเถิดฯ

    ในลำดับนั้นพระมหาโมคคัลลน์ก็เล็งเห็นด้วยทิพพจักษุ
    แล้วก็เกิดความกรุณาว่า
    บุรุษนี้ยังไม่ได้ทำบุญสิ่งใดไว้ ได้แต่ทำบาป
    เวลาตายแล้วก็จักต้องไปตกนรก
    เมื่อเราไปในที่นั้น เขาได้ถวายขนมและน้ำดื่มแก่เรา
    แล้วก็จะได้เกิดเป็นรุกขเทวดา
    เราจะเป็นที่พึ่งของเขา
    คิดดังนี้แล้ว

    เมื่อคนนำขนมและน้ำไปให้บุตรเศรษฐีนั้น
    พระมหาโมคคัลลน์ก็ไปปรากฏอยู่ข้างหน้าฯ
    บุตรเศรษบีนั้นได้เห็นพระมหาโมคคัลลน์
    แล้วก็เกิดความเลื่อมใส คิดว่า
    เราจะต้องการอะไรกับขนมและน้ำนี้
    เราจักทำขนมและน้ำดื่มนี้ให้เป็นเสบียงของเรา ผู้จะไปสู่โลกหน้า
    คิดดังนี้แล้วจึงได้ให้คนถวายขนมและน้ำแก่พระมหาโมคคัลลน์
    พระมหาโมคคัลลาน์ก็นั่งฉันขนมและน้ำอยู่ในที่นั้น

    เพื่อให้บุตรเศรษฐีนั้นเกิดความเลื่อมใสยิ่งขึ้น
    ครั้นฉันแล้วก็ได้ลุกไปจากที่นั้นฯ

    บุตรเศรษฐีนั้นก็ถูกเขานำไปสู่ตะแลงแกง เวลาเขาตัดศีรษะแล้ว
    ก็ได้เกิดเป็นรุกขเทวดาอยู่ที่ต้นไทรใหญ่ต้นหนึ่ง ซึ่งมีในซอกเขาแห่งหนึ่งฯ
    บุตรเศรษฐีนั้นสมควรจะได้เกิดในเทวโลกขั้นสูง
    ด้วยบุญที่ได้กระทำไว้ต่อพระมหาโมคคัลลานเถรเจ้าซึ่งเป็นนาบุญอันเยี่ยม
    แต่
    เวลาบุตรเศรษฐีนั้นจะตายใจก็เศร้าหมองด้วยความนึกรักนางสุลสา
    ว่า
    ของที่เราถวายนี้
    เราได้เพราะนางสุลสาจึงได้เกิดเป็นรุกขเทวดาที่ต่ำช้าเช่นนั้นฯ
    ถ้าบุตรเศรษฐีนั้นจักขวนขวายดำรงวงศ์ตระกูลในเวลาปฐมวัย
    ก็จักได้เป็นเศรษฐีปานกลาง
    ถ้าประกอบการงานในปัจฉิมวัย ก็จักได้เป็นเศรษฐีน้อย
    ถ้าได้บวชในปฐมวัยก็จักได้เป็นพระอรหันต์
    ถ้าได้บวชในมัชฌิมวัยก็จักได้เป็นพระสกทาคามี
    หรือพระอนาคามี
    ถ้าได้บวชในปัจฉิมวัย ก็จักได้เป็นพระโสดา
    แต่เพราะเขาคบกับคนเลวทราม จึงกลายเป็นนักเลงหญิง นักเลงสุรา
    ยินดีในทุจริต ไม่เคารพนับถือผู้เฒ่าผู้แก่ ได้ทำทรัพย์สมบัติให้สิ้นไป
    แล้วถึงซึ่งความพินาศฯ

    ต่อมาภายหลังรุกขเทวดานั้นได้เห็นนางสุลสาไปที่สวนอุทยาน
    ก็เกิดความรักใคร่พอใจ จึงบันดาลให้มืดไปทั้งสวนอุทยาน
    แล้วนำนางสุลสาไปยังที่อยู่ของตนได้อยู่ร่วมกับนางสุลสาตลอด ๗ วัน
    จึงได้บอกชื่อของตนแก่นางสุลสาฯ

    ฝ่ายมารดาของนางสุลสาก็ได้พากันเที่ยวหานางสุลสาข้างโน้นข้างนี้ฯ
    คนทั้งปวงจึงบอกว่า
    พระมหาโมคคัลลาน์เป็นผู้มีฤทธิ์มาก อานุภาพมาก
    ท่านจะรู้จักที่ไปแห่งนางสุลสา ขอจงไปถามท่านเถิด
    มารดาก็ไปถามพระมหาโมคคัลลาน์ ที่พระเวฬุวันวิหารฯ
    พระมหาโมคคัลลาน์ ตอบว่า ในวันที่ ๗ นับจากวันนี้ไป

    เมื่อพระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมอยู่ในพระเชตวันมหาวิหาร
    อุบาสิกาจักได้เห็นนางสุลสา ยืนอยู่นอกที่ประชุมชนฯ
    ครั้งนั้นนางสุลสาก็บอกรุกขเทวดานั้นว่า
    นับแต่ข้าพเจ้ามาอยู่ในวิมานของท่านก็ได้ ๗ วันเข้าวันนี้แล้ว
    เมื่อมารดาของข้าพเจ้าไม่เห็นข้าพเจ้า ก็จักเศร้าโศกเสียใจ
    ขอท่านจงนำข้าพเจ้ากลับไปเถิด

    รุกขเทวดนั้นจึงได้นำนางสุลสาไปในเวลาที่พระพุทธองค์ทรงแสดงธรรม
    อยู่ในพระเวฬุวัน

    ให้นางสุลสายืนอยู่นอกที่ประชุมชน ส่วนตนก็ยืนอยู่ในที่นั้น แต่ไม่มีผู้ใดเห็นฯ

    ลำดับนั้น มหาชนจึงถามนางสุลสาขึ้นว่า เจ้าไปไหนมา
    มารดาของเจ้ากำลังเศร้าโศกทุกข์ร้อนเหมือนกับจะเป็นบ้าฯ
    นางสุลสาก็เล่าเรื่องให้ฟังฯ
    แต่คนทั้งปวงไม่เชื่อ
    เมื่อคนทั้งปวงกล่าวว่าบุรุษคนนั้นได้ทำแต่บาปกรรมอกุศล
    เขาจักได้เกิดเทวดาอย่างไรฯ
    นางสุลสาก็เล่าให้ฟังว่า เขาได้เกิดเป็นเทวดาด้วยบญที่ได้ถวายขนมและน้ำดื่มแก่
    พระมหาโมคคัลลาน์ฯ
    มหาชนได้ฟังดังนี้แล้วก็เกิดความอัศจรรย์ใจ
    ได้ประกาศปีติโสมนัสอย่างยิ่ง ว่า
    พระอรหันต์ทั้งหลายเป็นนาบุญอันเยี่ยมของโลกแท้
    เพียงแต่บุรุษนั้นได้สักการบูชาด้วยของเพียงเล็กน้อยก็ยังได้เกิดเป็นเทวดาฯ

    ภิกษุทั้งหลายจึงได้กราบทูลเรื่องนี้แด่พระพุทธองค์ฯ
    ลำดับนั้น
    พระพุทธองค์จึงได้ทรงแสดงธรรมให้สมกับเรื่องนี้ว่า

    เขตฺตูปมา อรหนฺโต เป็นต้น

    ซึ่งมีเนื้อความพิสดารดังจะแสดงต่อไปในกัณฑ์หน้า
    ส่วนในกัณฑ์นี้จะได้ขยาย คำว่า
    พระอรหันต์ทั้งหลายเป็นนาบุญอย่างเยี่ยมของโลก
    เพราะสักการะเพียงเล็กน้อยที่เขาถวายแก่พระอรหันต์ทั้งหลาย
    ก็นำความเกิดเป็นเทวดามาให้แก่คนทั้งหลายดังนี้ออกไป
    เพื่อให้เป็นที่เข้าใจกว้างขวางแก่ผู้ฟังทั้งหลาย
    เพราะฉะนั้น ขอให้ผู้ฟังทั้งหลายจงตั้งใจฟัง ดังจักแสดงต่อไป
    กล่าวคือ

    <O:pคำว่า พระอรหันต์ทั้งหลายเป็นนาบุญอันเยี่ยมของโลกนั้น
    ด้วยเหตุว่า พระอรหันต์ทั้งหลายเป็ผู้ทรงคุณธรรมอันล้ำเลิศ
    ประเสริฐด้วย ศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ
    หาผู้ใดเสมอมิได้
    พระอรหันต์ทั้งหลายนั้นยังทรงคุณวิเศษอีกต่างๆ กัน
    คือ พระอรหันต์ทั้งหลายนั้นยังแยกออกไปอีกเป็น ๔ ประเภท
    คือ
    เป็นสุกฺขวิปสฺสโก ซึ่งแปลว่า ผู้เห็นแจ้งอย่างแห้งแล้ง ๑
    เป็นเตวิชโช ผู้ได้ไตรวิชชา ๑
    เป็นฉฬภิญฺโญ ผู้ได้อภิญญาหก ๑
    เป็นปฏิสัมภิทปฺปตฺโต ผู้ถึงปฏิสัมภิทา ๑ ฯ


    สุกฺขวิปสฺสโก พระอรหันต์ผู้เห็นแจ้งอย่างแห้งแล้งนั้น
    ได้แก่ท่านผู้เจริญวิปัสสนาล้วน ได้สำเร็จพระอรหัต
    สิ้นกิเลสไปอย่างเดียวเท่านั้น ไม่มีคุณวิเศษอื่นอีกฯ

    เตวิชฺโช พระอรหันต์ผู้ได้ไตรวิชชานั้น ได้แก่
    พระอรหันต์ผู้ได้วิชชาหก ๓
    คือ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ รู้ระลึกชาติได้ ๑
    จุตูปปาตญาณ รู้จักกำหนดจุติและเกิด ๑
    อาสวักขยญาณ รู้จักทำอาสวะให้สิ้น ๑ฯ

    ปุพเพนิวาสนุสสติญาณ การระลึกชาติได้นั้น ได้แก่
    การระลึกชาติหนหลังได้ ตั้งแต่ชาติหนึ่งไปจนตลอดหลายกัลป์
    ว่าในชาติโน้นเราได้มีชื่อ โคตร ผิวพรรณวรรณะ อาหาร สุขทุกอย่างนั้น
    มีอายุเท่านั้น จุติจากชาติโน้นแล้ว ได้มาเกิดในชาตินี้
    ได้มีชื่อ โคตร ผิวพรรณ วรรณะ อาหาร สุขทุกข์อย่างนั้นๆ
    มีกำหนดอายุเท่านั้น จุติจากชาติโน้นแล้วได้มาเกิดในชาตินี้ฯ


    จุตูปปาตญาณ ความรู้จักกำหนดจุติและเกิดนั้น คือ
    มีจักษุทิพย์บริสุทธิ์ผ่องใสยิ่งกว่าจักษุมนุษย์ธรรมดา
    ได้เห็นสัตว์ทั้งที่กำลังจุติก็มี กำลังเกิดก็มี เลวก็มี ดีก็มี มีผิวพรรณวรรณะดีก็มี
    มีผิวพรรณวรรณะไม่ดีก็มี ได้ดีก็มี ตกยากก็มี
    รู้ชัดว่า สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของๆ
    คน บุคคลเหล่าใดทำกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต
    เป็นผู้ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นมิจฉาทิฏฐิ ถือมั่นการกระทำของมิจฉาทิฏฐิ
    เวลาบุคคลเหล่านั้นตายแล้ว ต้องไปเกิดในอบายทุคติวินิบาตนรก


    ส่วนบุคคลเหล่าใดทำกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต
    ไม่ติเตียนพระอริยเจ้าเป็นสัมมาทิฏฐิ ถือมั่นสัมมาทิฏฐิ คือถือว่า
    บาปบุญมีอยู่ ผลแห่งบาปบุญมีอยู่ นรก สวรรค์ นิพพานมีอยู่
    เวลาบุคคลเหล่านั้นตายแล้วก็ได้ไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์
    ถือว่าผลแห่งการให้ทานมีอยู่
    ผลแห่งการบูชามีอยู่
    ผลแห่งการคำนับมีอยู่
    ผลแห่งการทำดี ทำชั่วมีอยู่

    โลกนี้มีสำหรับผู้จะมาจากโลกอื่น คือ ผู้มาจากโลกอื่นมาเกิดในโลกนี้มีอยู่
    โลกอื่นมีสำหรับผู้จะมาจากโลกอื่น คือ ผู้มาจากโลกอื่นมาเกิดในโลกนี้มีอยู่

    โลกอื่นที่ผู้อยู่ในโลกนี้จะต้องไปเกิดมีอยู่
    ผลแห่งการทำผิดทำถูกต่อมารดาบิดามีอยู่

    สมณพราหมณ์ทั้งหลายผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ
    รู้แจ้งโลกนี้โลกอื่นแล้วแสดงให้ผู้อื่นฟังมีอยู่
    ผู้ถืออย่างนี้
    ย่อมทำดีด้วยกาย วาจา ใจ
    ทำบุญด้วยกาย วาจา ใจ
    เวลาตายแล้วได้กลับมาเกิดในมนุษย์นี้อีกก็มี
    ได้ไปเกิดในโลกอื่น คือ
    โลกนาค
    โลกครุฑ
    โลกอสูร
    โลกกุมภัณฑ์
    โลกยักษ์
    โลกเทวดา
    โลกพรหมก็มี

    การรู้เห็นได้อย่างชัดเจนด้วยทิพพจักษุ ดังที่ว่ามานี้เรียกว่า จุตูปปาตญาณ
    เป็นวิชชาที่ ๒ ของพระอรหันต์ผู้ได้วิชชา ๓


    ส่วนวิชชาที่ ๓ นั้น ได้แก่อาสสวักขยญาณ คือ
    ความรู้อันทำให้สิ้นอาสวะไป ได้แก่ ความรู้จักอาสวะ
    รู้จักเหตุให้เกิดอาสวะ รู้จักความดับอาสวะ รู้จักทางไปถึงความดับอาสวะ
    อีกนัยหนึ่งว่า
    ได้แก่ความรู้จักทุกข์ คือ รู้ว่าความเกิด แก่เจ็บตาย ความเศร้าใจ
    ความบ่นเพ้อ ความไม่สบายกาย ความไม่สบายใจ ความคับอกคับใจ
    ความประจวบด้วยของไม่เป็นที่รัก ความพลัดพรากจากของอันเป็นที่รัก
    ความปรารถนาไม่สมหวัง เหล่านี้แต่ละอย่างๆ เป็นทุกข์ทั้งนั้น
    ทุกข์นอกนี้ก็ยังมีอีกเป็นอันมาก
    การรู้อย่างนี้เรียกว่า รู้จักทุกข์


    การรู้ว่าตัณหา คือ ความทะเยอทะยาน ความอยากได้อยากดี
    อยากมั่งอยากมี อยากเป็นนั่นเป็นนี่เป็นต้น
    ล้วนแต่เป็นเหตุให้เกิดทุกข์ต่างๆ ทั้งนั้น
    การรู้อย่างนี้เรียกว่ารู้จักเหตุให้เกิดทุกข์


    การรู้ว่าความดับตัณหา ความคลายตัณหา ความสละตัณหา
    ความเลิกตัณหา ความไม่เกาะเกี่ยวกับตัณหาโดยสิ้นเชิง
    เป็นความดับทุกข์ การรู้อย่างนี้เรียกว่า
    รู้จักความดับทุกข์


    การรู้ว่าหนทางประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ
    ซึ่งเป็นทางบริสุทธิ์ มีสัมมาทิฏฐิเป็นต้น
    เป็นหนทางทำให้สิ้นทุกข์
    การรู้อย่างนี้เรียกว่า รู้จักทางไปถึงความดับทุกข์ฯ


    ความรู้จักทุกข์
    ความรู้จักเหตุให้เกิดทุข์
    ความรู้จักความดับทุกข์
    ความรู้จักทางไปถึงความดับทุกข์
    ดังที่ว่ามานี้ รวมเรียกว่า

    อาสวักขยญาณ คือ
    ความรู้ที่ทำให้อาสวะกิเลสสิ้นไป
    จัดเป็นความรู้ที่ ๓ ของพระอรหันต์ผู้ได้ไตรวิชชา คือผู้ได้วิชชา ๓


    ฉฬภิญฺโญ พระอรหันต์ผู้ได้อภิญญา ๖ นั้น คือ
    พระอรหันต์ผู้ความรู้ยิ่ง ๖ ประการ คือ
    ผู้ได้ อิทธิวิธิ อันได้แก่
    การแสดงฤทธิ์ได้ต่างๆ ๑
    ผู้ได้ทิพพโสต คือหูทิพย์ ๑
    เจโตปริยญาณ คือรู้จักกำหนดใจผู้อื่น ๑
    ปุพเพนิวาสานุสสติ ระลึกชาติหนหลังได้ ๑
    ทิพพจักขุ ตาทิพย์ ๑
    อาสวักขยญาณ รู้จักทำให้สิ้นอาสวะ ๑ฯ

    วิชชา ๓ เบื้องปลายได้อธิบายมาแล้วในแผนกไตรวิชชา
    ส่วนวิชชา ๓ เบื้องต้นยังไม่ได้อธิบาย
    เพราะฉะนั้น
    จึงจะได้อธิบายต่อไป กล่าวคือ
    อิทธิวิธี การแสดงฤทธิ์ได้ต่างๆ นั้น คือ
    คนเดียวทำให้เป็นหลายคนก็ได้
    หลายคนทำให้เป็นคนเดียวก็ได้
    ผ่านไปในฝา กำแพง ภูเขาเหมือนกับไปในที่แจ้งก็ได้
    ผุดขึ้นผุดลงในพื้นดินเหมือนกับในน้ำก็ได้
    เดินไปบนน้ำเหมือนเดินไปบนดินก็ได้
    นั่งไปในอากาศเหมือนนกบินก็ได้ ลูบคลำดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ด้วยมือก็ได้
    ไปตลอดพรหมโลกด้วยกายก็ได้ฯ


    ทิพพโสตคือ หูทิพย์นั้นได้แก่
    หูอันบริสุทธิ์ยิ่งกว่าหูมนุษย์ธรรมดา ฟังเสียงได้ ๒ อย่าง คือ
    ฟังเสียงในที่ไกลก็ได้ ในที่ใกล้ก็ได้
    ฟังเสียงมนุษย์ก็ได้ ฟังเสียงเทวดาก็ได้
    เมื่ออยากฟังเสียงชนิดใดอยู่ไกลหรือใกล้ก็ได้ยินทั้งนั้น
    เมื่อได้ยินแล้วก็รู้ว่าเป็นเสียงของสิ่งใด



    เจโตปริยญาณ การรู้จักกำหนดใจผู้อื่นั้น ได้แก่
    การรู้จักผู้อื่นว่า ใจของใครเป็นอย่างไร
    มีราคะ โทสะหรือไม่มี หรือเป็นอย่างไรก็รู้ได้ทั้งสิ้น



    ปฏิสมฺทิทปฺปตฺโต พระอรหันต์ผู้ถึงปฏิสัมภิทานั้น ได้แก่
    พระอรหันต์ผู้มีความแตกฉานในอรรถ คือ
    ในความหมายแห่งถ้อยคำนั้นๆ ๑
    ผู้แตกฉานในธรรม คือในหัวข้อธรรมนั้นๆ ๑
    ผู้แตกฉานในมูลรากแห่งภาษาและในภาษาต่างๆ ๑
    ผู้แตกฉานในความไหวพริบ คือ ความโต้ตอบถูกต้องตามเหตุการณ์ ๑


    พระอรหันต์ทั้ง ๔ ประเภท คือ
    ประเภทสุกฺขวิปสฺสโก ผู้สำเร็จอรหัตด้วยการสิ้นกิเลสอย่างเดียว ๑
    เตวิชฺโช ผู้ได้ไตรวิชชา ๑
    ฉฬภิญโญ ผู้ได้อภิญญาหก ๑
    ปฏิสัมภิทปฺปตฺโต ผู้ได้ปฏิสัมภิทา ๔ ตามที่แสดงมาแล้วนี้ ๑

    พระอรหันต์ทั้ง ๔ จำพวกนี้แหละเป็นนาบุญอันเยี่ยมของโลก
    เป็นผู้ทำให้สักการบูชาอันน้อยของโลกให้มีผลมาก
    ดังพระมหาโมคคัลลาน์ได้ทำให้ผลแห่งการถวายขนม
    และน้ำดื่มของบุตรเศรษฐีนั้น ให้มีผลมาก
    จนกระทั่งบุตรเศรษฐีผู้จะต้องตายไปตกนรกได้เกิดเป็นรุกขเทวดา
    ดังที่แสดงมา.

    <O:p</O:p

    เอวํ ก็มี ด้วยประการฉะนี้ฯ.



    จากท่าน anand<!-- google_ad_section_end --><SCRIPT type=text/javascript> vbmenu_register("postmenu_4601402", true); </SCRIPT> ผู้เอื้อเฟื้อพิมพ์​
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 สิงหาคม 2011
  2. ยอดคะน้า

    ยอดคะน้า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 มกราคม 2010
    โพสต์:
    947
    ค่าพลัง:
    +710
    กัณฑ์ที่ ๒<!-- google_ad_section_end -->




    <HR style="BACKGROUND-COLOR: #ffffff; COLOR: #ffffff" SIZE=1><!-- google_ad_section_start -->กัณฑ์ที่ ๒

    คัมภีร์ขุททกนิกาย เปตวัตถุ
    <O:p</O:p
    ว่าด้วยเขตตูปมาเปรต
    <O:p</O:p
    เขตฺตูปมา อรหนฺโต ทายกา กสกูปมา
    <O:pพีชูปมํ เทยฺยธมฺมํ เอโต นิพฺพตฺเต ผลนฺติ.<O:p</O:p


    ณ บัดนี้ อาตมภาพจักแสดงพระไตรปิฎกเทศนา
    มหาวิตถารนัย ในพระคัมภีร์ขุททกนิกาย เปตวัตถุ กัณฑ์ที่ ๒
    ว่าด้วยเขตตูปมาเปรตสืบต่อไป
    เพื่อให้เป็นประโยชน์แก่พระพุทธศาสนา
    และพุทธศาสนิกชนทั้งหลายตลอดกาลนาน หาประมาณมิได้

    <O:pบาลี
    <O:p</O:p
    ดำเนินความตามวาระพระบาลี อันมีในคัมภีร์วิมานวัตถุ
    ในพระสุตตันตปิฎก คัมภีร์ขุททกนิกายนั้นว่า
    พระอรหันต์ทั้งหลายอุปมาด้วยนาทายก
    ทั้งหลายอุปมาด้วยชาวนา
    ของที่ควรถวายอุปมาด้วยพืช
    ผลย่อมเกิดจากของที่ถวายนั้น
    พืชนั้นเป็นนาบุญแห่งเปรตและทายก
    เพราะ
    เปรตทั้งหลายย่อมได้บริโภคพืชนั้น ทายกทายิกาย่อมเจริญด้วยบุญ
    บุคคลทำบุญในโลกนี้แล้วและได้บูชาเปรต ย่อมได้ไปเกิดในสวรรค์ ดังนี้
    สิ้นเนื้อความในพระบาลีเพียงเท่านี้

    <O:pอรรถกถา

    <O:pในอรรถกถาว่า คำว่า อุปมาด้วยนานั้น
    มีคำอธิบายว่า ที่ใดรับพืชที่เขาปลูกหว่านลงไว้ คือ
    ทำพืชที่เขาปลูกหว่านไว้ให้มีผลมาก ที่นั้นชื่อว่า นาฯ

    นานั้นได้แก่ที่งอกขึ้นแห่งพืชข้าวสาลีเป็นต้นฯ
    พระอรหันต์ทั้งหลายย่อมเปรียบเหมือนกับนาฯ
    ที่เรียกว่าพระอรหันต์นั้นเพราะเป็นผู้กำจัดข้าศึกคือกิเลส
    และเป็นผู้หักกงกำแห่งสังขารจักร เป็นผู้สมควรรับสักการบูชา

    เป็นผู้ไม่มีความลับอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ
    ไม่ได้ทำบาปไว้อย่างไรฯ
    ธรรมดา นาซึ่งไม่มีสิ่งที่จะทำให้เสีย
    เป็นต้นว่า หญ้า ก็ย่อมมีผลมากแก่ชาวนาฉันใด
    พระอรหันต์ทั้งหลายผู้ไม่มีกิเลสก็ย่อมทำให้มีผลมากแก่ทายก
    ผู้สักการบูชา ฉันนั้น
    เพราะฉะนั้น

    พระพุทธองค์จึงได้ทรงแสดงไว้ว่า พระอรหันต์ทั้งหลายอุปมาด้วยนาฯ
    ก็การทรงแสดงนี้เป็นการทรงแสดงถึงบุคคลชั้นสูง
    คือ
    ชั้นพระอริยเจ้า ชั้นต่ำก็เรียกว่าเป็นนาเหมือนกันฯ
    พวกทายกที่ถวายปัจจัย ๔ มีจีวรเป็นต้น ชื่อว่า ผู้บริจาคฯ
    เพราะว่า พวกทายกย่อมบริจาค คือ ตัดเสียซึงความโลภเป็นต้น
    อันมีในจิตใจของตนได้ด้วยการบริจาคนั้นฯ
    ต่อนั้นไป ทายกเหล่านั้นก็ได้ชื่อว่า ผู้ทำจิตของตนให้บริสุทธิ์
    ได้ชื่อว่าเป็นผู้รักษาพืชไว้ฯ

    คำว่า เปรียบด้วยชาวนานั้น คือ
    ชาวนาไถนาข้าวสาลีเป็นต้น
    แล้วไม่ประมาทด้วยการไขน้ำเข้า ไขน้ำออกเป็นต้น
    ตามสมควรแก่เวลา ก็ได้ข้าวกล้าดี ฉันใด
    ทายกไม่ประมาทในการทำบุญ คือ ในการบริจาคสิ่งของถวายแก่พระอรหันต์
    ก็ได้ผลแห่งทานมากขึ้น ฉันนั้น
    เพราะฉะนั้น
    จึงว่า ทายกทั้งหลายเปรียบเหมือนชาวนาฯ


    คำว่า ของที่ถวายเปรียบเหมือนกับพืชนั้น คือ
    ของที่ถวายนั้น ได้แก่ของ ๑๐ อย่าง
    มีข้าวน้ำเป็นต้น

    คำว่า ผล ย่อมเกิดจากสิ่งนั้น คือ
    ผลแห่งทานย่อมเกิด ย่อมเจริญอยู่นานจากการบริจาคแห่งทายก
    และการรับสิ่งที่บริจาคแห่งปฏิคาหกฯ
    เพราะของที่ควรถวายมีข้าวน้ำเป็นต้น
    เปรียบเหมือนกับพืช จึงว่า ของที่ควรถวายเปรียบเหมือนกับพืชฯ
    เพราะฉะนั้น
    จึงควรเห็นว่า เจตนาบริจาค
    ซึ่งเป็นวิสัยแห่งวัตถุที่ควรถวายเป็นพืช ด้วยการอ้างถึงของที่ควรถวายฯ
    เพราะว่า
    เจตนาบริจาคนั้นย่อมให้สำเร็จผลมีปฏิสนธิเป็นต้น
    และมีอารมณ์อันเป็นที่อาศัยแห่งของที่ควรถวายนั้น
    ไม่ใช่ของที่ควรถวาย คือ เจตนาบริจาคอย่างหนึ่ง
    ของที่ควรถวายอย่างหนึ่ง ไม่ใช่อย่างเดียวกัน

    คำว่า พืชและการทำนของชาวนา ย่อมชื่อว่าเป็นประโยชน์แก่เปรต
    และทายกนั้น คือ พืชและนาตามที่กล่าวไว้แล้วนั้น
    ย่อมให้สำเร็จประโยชน์แก่เปรตทั้งหลาย
    ในเมื่อทายกทั้งหลายได้ให้ทานด้วยตั้งใจส่งผลให้พวกเปรต
    ถ้าทายกไม่ตั้งใจส่งผลให้พวกเปรต
    พืชนั้น คือ บุญกุศลนั้น
    ก็ย่อมมีแก่ทายกฝ่ายเดียวฯ
    ตอนนี้ เมื่อพระพุทธองค์มีพระพุทธปรสงค์จะทรงแสดงให้เห็นว่า
    บุญนั้นย่อมสำเร็จแก่พวกเปรต
    จึงได้ตรัสว่า
    พวกเปรตย่อมได้บริโภคของที่ให้ทานนั้น
    ส่วนผู้ให้ทานก็เจริญด้วยบุญ ดังนี้ฯ

    ในคำเหล่านั้น คำว่า พวกเปรตได้บริโภคของที่ให้ทานนั้น คือ

    เมื่อทายกให้ทานโดยตั้งใจให้ส่วนบุญแก่พวกเปรต

    เมื่อพวกเปรตได้อนุโมทนา พวกเปรตก็ได้รับส่วนบุญฯ


    คำว่า ผู้ให้ทานย่อมเจริญด้วยบุญนั้น คือ
    ผู้ให้ทานก็เจริญด้วยผลบุญ
    มีโภคสมบัติเป็นต้นในเทพยดามนุษย์ ด้วยบุญที่ตนได้ให้ทานฯ
    ถึงผลแห่งบุญก็เรียกว่าบุญ เช่น ในคำทั้งหลายเป็นต้นว่า
    บุญนี้ย่อมเจริญเพราะการถือมั่น ซึ่ง กุศลธรรมทั้งหลาย ดังนี้ฯ


    คำว่า พระทำกุศลไว้ในชาตินี้แล้ว คือ
    กระทำกุศลอ้นสำเร็จด้วยการให้ทาน
    ด้วยให้ส่วนบุญแก่พวกเปรตไว้ในชาตินี้แล้วก็เป็นอันชื่อว่า
    ได้บูชาพวกเปรต คือ
    นับถือพวกเปรต ทำให้พวกเปรตพ้นทุกข์ฯ

    ทานที่บุคคลให้เพราะพวกเปรต ชื่อว่าเป็นการบูชาพวกเปรต
    เพราะฉะนั้น
    พระองค์จึงตรัสว่า พวกเปรตได้กล่าวว่า เขาได้บูชาพวกเราแล้ว
    การบูชาพวกเปรตย่อมมีผลมาก ดังนี้ฯ

    การให้ทานนั้นย่อมมีอานิสงส์นานาประการ
    เป็นต้นว่า
    ผู้ให้ทานย่อมเป็นที่รักใคร่พอใจของสัปบุรุษทั้งหลาย ๑
    ผู้ให้ทานย่อมเป็นผู้มีคติดี ๑
    ผู้ให้ทานย่อมเป็นผู้ที่ควรคุ้นเคย ๑
    ผู้ให้ทานย่อมเป็นผู้ควรยกย่อง ๑
    ผู้ให้ทานย่อมเป็นผู้ควรเคารพ ๑
    เป็นผู้ควรสรรเสริญ ๑
    เป็นผู้ที่ควรสรรเสริญของผู้รู้ทั้งหลาย ๑ฯ


    คำว่า ครั้นทำกรรมที่ดีแล้วก็ได้ไปสวรรค์นั้น คือ
    ครั้นทำกุศลกรรมไว้แล้ว ก็ได้ไปเกิดในเทวโลก
    อันเป็นที่เกิดแห่งผู้ได้ทำบุญไว้ ซึ่งได้ชื่อว่าสวรรค์
    เพราะดีเลิศด้วยฐาน ๑๐ ประการ มีอายุทิพย์เป็นต้นฯ

    เกจิอาจารย์ทั้งหลาย กล่าวว่า
    พระอรหันต์ทั้งหลายก็เรียกว่าเปรตในที่นี้ ดังนี้ฯ


    คำว่าสักว่าเป็นความเข้าใจของเกจิอาจารย์เหล่านั้น
    เพราะไม่มีที่มา ซึ่งกล่าวว่าพระอรหันต์เป็นเปรต
    และเพราะพระอรหันต์เป็นผู้ไม่สมควรแก่กำเนิดเปรต
    เหมือนกับทายกไม่สมควรแก่ความเป็นพืชฉะนั้นฯ
    ในเวลาจบเทศนา
    การตรัสรู้ธรรมก็ได้มีแก่เทพยดามนุษย์ถึง ๘ หมื่น ๔ พัน
    มีรุกขเทวดาและนางสุลสาเป็นต้นฯ
    เป็นอันจบการพรรณนาเรื่องเปรตในข้อว่า
    พระอรหันต์เปรียบด้วยนาซึ่งมีในอรรถกถาแห่งเปตวัตถุ
    อันมีชื่อว่า ปรมัตถทีปนีเพียงเท่านี้




    <O:pในอรรถกถาว่า ข้อที่ว่าพระอรหันต์ทั้งหลายเปรียบด้วยนานั้น คือ
    พระอรหันต์ทั้งหลายเปรียบด้วยนาที่ดี
    เพราะ
    ธรรมดานาที่ดี ย่อมทำให้ได้ข้าวกล้ามาก ฉันใด
    นาคือพระอรหันต์ก็ทำให้ได้บุญมาก ฉันนั้น
    ธรรมดานาที่ดี ถึงบุคคลจะทำน้อยก็ย่อมได้ข้าวมาก ฉันใด
    พระอรหันต์ก็ฉันนั้น คือ
    ถึงบุคคลจะถวายข้าวน้ำเป็นต้น แก่ท่านแม้เพียงเล็กน้อย ก็ได้ผลมาก
    ดังบุตรเศรษฐีซึ่งได้แสดงมาแล้วในกัณฑ์ก่อนเป็นอุทาหรณ์



    <O:pข้อว่า ทายกเปรียบเหมือนชาวนานั้น คือ
    ธรรมดาชาวนาย่อมมีหน้าที่ทำนา ทายกก็มีหน้าที่ให้ทาน
    ชาวนาต้องเอาใจใส่ในการทำนาจึงจะได้ข้าวกล้าดี
    ทายกก็ต้องเอาใจใส่ในการให้ทานจึงจะได้ผลมาก
    ถ้าชาวนาเกียจคร้านในการทำนา ก็ไม่ได้ข้าวกล้ามาก
    ถ้าทายกเกียจคร้านในการให้ทานก็ไม่ได้บุญมาก
    ชาวนาต้องตั้งใจทำนาจึงจะได้ข้าวกล้ามาก
    ทายกก็ต้องตั้งใจให้ทานจึงจะได้บุญมาก

    ทำอย่างไรจึงเรียกว่า ตั้งใจให้ทาน

    ทำอย่างนี้ คือ
    ของที่จะให้ทานก็ต้องเป็นของที่ได้มาด้วยสุจริต
    มีได้มาด้วยการทำนาค้าขายเป็นต้น
    เวลาจะให้ทาน ก็ต้องนึกให้มีใจเลื่อมใสยินดี
    ขณะที่ให้ทานก็ต้องให้ดีใจ
    เวลาให้ทานแล้วก็ต้องให้มีใจผ่องใส
    ไม่ให้นึกเสียดายถึงของที่ให้ทานแล้ว
    เมื่อทำได้อย่างนี้เรียกว่าให้ทานดี



    <O:pข้อว่า ไทยธรรม คือ ของที่จะให้ทาน เปรียบเหมือนพืชนั้น
    อธิบายว่า ธรรมดาพืช ซึ่งเขาเรียกว่า ข้าวปลูกหรือพันธุ์ข้าว
    ถึงจะน้อยก็ย่อมให้ผลมาก
    เพียงแต่ข้าวเมล็ดเดียวก็แตกออกเป็นหลายร้อยเม็ด คือ
    เมื่อข้าวเมล็ดเดียวเกิดเป็นต้นข้าว แล้วออกเป็นรวงข้าว
    ข้าวเมล็ดเดียวนั้นก็จะกลายเป็นหลายร้อยเมล็ด ข้อนี้ฉันใด
    ถึงของที่ให้ทานมีเพียงเล็กน้อย ก็ย่อมได้ผลมาก ฉันนั้น
    จงนึกดูเรื่องบุตรเศรษฐี ที่ได้แสดงมาแล้วในกัณฑ์ก่อนนั้นเป็นตัวอย่างเถิด
    บุตรเศรษฐีนั้นได้ให้ทานขนมต้มเพียง ๔ ก้อนเท่านั้น
    แก่พระมหาโมคคัลลาน์
    ก็ยังได้ทิพยสมบัติมากมาย
    เพราะฉะนั้น
    ไทยธรรม จึงว่าเปรียบเหมือนพืช
    คำที่โบราณว่า ให้ทานเฟื้องได้ร้อยเฟื้องนั้นย่อมเป็นความจริง
    เพราะเมื่อเปรียบกับข้าวเมล็ด ๑
    ซึ่งแตกเป็นหลายร้อยเมล็ดดังที่ว่ามาแล้วนี้
    กับเมื่อนึกถึงตัวอย่างต่างๆ ดังบุตรเศรษฐีได้ถวายขนมต้มเพียง ๔ ก้อนเท่านั้น
    ก็ยังได้ทิพยสมบัติมากมาก
    ก็จะเห็นได้ว่า
    คำนี้เป็นคำจริง จึงไม่ควรที่ใครๆ
    จะกริ่งใจในเรื่องผลทาน ว่า ให้ทานเพียงเล็กน้อยจะได้ผลมากอย่างไร

    <O:p

    ข้อว่า ผลย่อมเกิดจากพืชนั้น คือ
    พืชต่างๆ มีพืชข้าวเป็นต้น ย่อมทำให้เกิดผลเป็นอันมาก ฉันใด
    ทานที่บุคคลให้ ถึงจะเพียงเล็กน้อย ก็ย่อมให้ผลมากฉันนั้น

    <O:pข้อว่า พืชที่บุคคลปลูกหว่านลงในนา
    ย่อมมีประโยชน์แก่เปรตและทายกนั้น คือ
    ทานที่บุคคลให้ด้วยตั้งใจยกส่วนบุญให้พวกเปรต
    เมื่อพวกเปรตได้อนุโมทนา ก็ต้องได้พ้นจากความเป็นเปรต
    ได้เสวยทิพยสมบัติ ส่วนทายกที่ให้ทานก็ยังได้ผลอีกด้วย ดังนี้


    <O:pก็ข้อว่า ทานที่ทายกทำกุศลให้แก่เปรต ชื่อว่าได้บูชาเปรตนั้น
    ในอรรถกถาว่า เพราะเปรตได้อนุโมทนาแล้วก็พ้นจากความเป็นเปรต

    ดังนี้นั้น ก็สมจริงตามที่มาโดยแท้
    เพราะว่าเปรตที่ได้อนุโมทนา คือแสดงความยินดีต่อทานของทายก
    ที่ได้ให้เพื่อตนนั้นแล้วพ้นจากความเป็นเปรต มีอยู่เป็นอันมาก

    มีเปรตที่เป็นพวกญาติของพระเจ้าพิมพิสารเป็นอุทาหรณ์ กล่าวคือ
    เมื่อครั้งพระพุทธองค์ตรัสรู้ใหม่ๆ นั้น พอถึงปลายปีตรัสรู้
    ก็ได้เสด็จไปสู่กรุงราชคฤห์พร้อมด้วยพระอรหันต์พันองค์
    ประทับที่พระราชอุทยานของพระเจ้าพิมพิสาร
    พระเจ้าพิมพิสารกับพราหมณ์ คฤหบดีเป็นอันมากเสด็จออกไปเผ้า
    ได้ฟังพระธรรมเทศนาขององค์พระพุทธเจ้าแล้วก็ได้สำเร็จมรรคผล
    เช้าขึ้นจอมมหิดลพิมพิสารก็ได้ถวายอาหารแก่พระภิกษุสงฆ์
    มีพระพุทธองค์เป็นประธาน
    แต่ไม่ได้ทรงแผ่ส่วนบุญให้ผู้ใด
    พวกเปรตที่เคยเป็นญาติในปางก่อน มีกำหนด ๘ หมื่น ๔ พันตน
    ซึ่งคอยมารับส่วนบุญนั้น
    เมื่อไม่ดั้บส่วนบุญก็พากันหมดหวังที่จะพ้นจากเปรต
    พอถึงเวลากลางคืน ก็ไปส่งเสียงร้องอันน่ากลัวอย่างยิ่งในพระราชวัง
    เช้าขึ้นพระเจ้าพิมพิสารจึงกราบทูลถามพระพุทธองค์ว่า
    ข้าพระองค์ได้ยินเสียงร้องอันน่ากลัวอย่างนั้นๆ
    จักมีเหตุผลประการใด

    พระพุทธองค์จึงตรัสว่า อย่ากลัวเลยมหาราช
    ผลร้ายอันใดจักไม่มีแก่พระองค์เลย
    แล้วก็ทรงเล่าเรื่องทั้งปวงของเปรตนั้นให้พระเจ้าพิมพิสารฟัง
    เมื่อพระเจ้าพิมพิสารได้ฟังแล้ว จึงทูลถามว่า
    เมื่อข้าพระองค์ถวายทานในบัดนี้แล้วแบ่งส่วนบุญให้พวกเปรต
    พวกเปรตจักได้ส่วนบุญหรือไม่พระเจ้าข้า
    ตรัสตอบว่า ได้ มหาบพิตร

    พระเจ้าพิมพิสารจึงได้ถวายทานแก่พระภิกษุสงฆ์ในวันรุ่งขึ้น
    พอได้หลั่งน้ำลงว่า
    อิทํ เม ญาตินํ โหตุ(อ่านว่า อิทัง เม ยาตินัง โหตุ)
    ขอทานนี้จงมีแก่ญาติของข้าพระองค์ ดังนี้

    สระโบกขรณีอันดาษด้วยดอกปทุม ก็เกิดแก่เปรตพวกนั้นในทันใด
    เปรตพวกนั้นก็ได้ลงอาบดื่มในสระโบกขรณีนั้น
    แล้วก็หมดความลำบากกระวนกระวาย
    มีผิวพรรณเหมือนกับทองคำขึ้นทันที

    เวลาพระเจ้าพิมพิสารได้ถวายอาหาร คือ
    ข้าวต้ม ขนม ข้าวสวยและกับข้าวต่างๆ แล้วแผ่ส่วนบุญให้พวกเปรต
    ในทันใดนั้น ข้าวต้ม ขนมและข้าวสวยพร้อมด้วยกับข้าวอันเป็นทิพย์
    ก็ได้เกิดแก่เปรตพวกนั้น เวลาเปรตพวกนั้นได้บริโภคแล้ว
    ก็มีร่างกายเอิบอิ่มพ่วงพีเป็นสุขสบายดี

    แต่ ยังไม่มีเครื่องนุ่งห่ม ไม่มีที่นั่งที่นอน
    เวลาพระเจ้าพิมพิสารถวายสบงจีวรและที่นั่งที่นอนแก่พระภิกษุสงฆ์
    แล้วแผ่ส่วนบุญให้ เครื่องนุ่งเครื่องห่มยานพาหนะอันป็นทิพย์
    ปราสาททิพย์ ที่นั่งที่นอนทิพย์ เป็นต้น
    ก็เกิดขึ้นแก่เปรตเหล่านั้น เปรตเหล่านั้นก็ได้กลายเป็นเทพยดา
    มีทิพยวิมานอยู่ในอากาศ

    พระพุทธองค์มีพระพุทธประสงค์จะให้พระเจ้าพิมพิสารเกิดความเลื่อมใสยิ่งขึ้น
    จึงทรงบันดาลให้ท้าวเธอได้เห็นสมบัติของเปรตเหล่านั้น
    เมื่อท้าวเธอได้เห็นแล้วก็ทรงยินดีอย่างยิ่ง
    ได้ถวายทานเหมือนในวันนั้นอีกตลอดถึง ๗ วัน
    เพราะฉะนั้นจึงว่า เปรตที่ทายกทายิกาทำบุญแผ่ผลไปให้นั้น
    เรียกว่า ได้รับการบูชาอย่างยิ่ง คือ
    การทำบุญแล้วแผ่ส่วนบุญให้พวกเปรต ชื่อว่าบูชาพวกเปรต

    พระพุทธองค์ทรงแสดงไว้ว่า

    เปตา นญฺจ ปูชา จ กตา อุฬารา

    ซึ่งแปลว่า

    การทำบุญเพื่อให้ผลแก่พวกเปรตนั้นชื่อว่าเป็นการบูชาพวกเปรตอย่างยิ่ง ดังนี้
    พวกเปรตที่ได้รับการบูชาแล้วย่อมพ้นจากกำเนิดเปรตในทันใด เหมือนกับพวกเปรตที่เป็นญาติของพระเจ้าพิมพิสาร ดังแสดงมา

    <O:pอีกอย่างหนึ่ง การทำบุญให้แก่ผู้ตาย ได้ชื่อว่า เป็นการบูชาผู้ตาย
    เป็นการประกาศความดีของผู้ตายให้ปรากฏแก่คนทั้งหลาย
    เป็นการแสดงญาติธรรมมิตตธรรมของตนกับผู้ตายให้ปรากฏแก่คนทั้งหลาย

    เพื่อให้คนทั้งหลายรู้ว่า
    ผู้ตายกับตนเป็นอะไรกัน มีอุปการคุณแก่กันอย่างไร
    เมื่อบุตรธิดาทำบุญอุทิศให้แก่มารดาบิดาที่ตายไป
    จะตายช้าหรือตายเร็วก็ตาม ก็เรียกว่าได้บูชาบิดามารดา
    ด้วยการบูชาอย่างยิ่ง
    เรียกว่า
    ได้ประกาศความดีของบิดามารดา
    ว่าเป็นผู้สมควรบูชาให้คนทั้งหลายทราบ
    เรียกว่า
    ได้ประกาศความกตัญญกตเวทีของตนให้ปรากฏแก่คนทั้งหลาย
    ถ้ามารดาบิดาทำบุญให้บุตรธิดาที่ตายไป
    ก็เป็นอันว่ามารดาบิดาได้ประกาศเมตตากรุณาแก่บุตรให้ปรากฏแก่คนทั้งหลายว่า
    ถึงบุตรธิดาตายไปแล้วก็ยังมีเมตตากรุณาทำบุญให้
    ถ้าภรรยาทำบุญให้สามี
    ก็เป็นอันประกาศให้คนทั้งหลายรู้ว่าตนเป็นผู้มีความภักดีต่อสามี
    หวังอยากให้สามีมีความสุขในภายภาคหน้า
    ไม่ว่าสามีจะไปเกิดในที่ใด ก็อยากให้มีความสุขเสมอไป

    ถ้าสามีทำบุญให้ภรรยา
    ก็เป็นอันประกาสให้คนทั้งหลายรู้ว่า
    ตนยังมีเมตตาแก่ภรรยา ยังอนุเคราะห์ภรรยาอยู่จนกระทั่งเวลาตาย
    ตายไปแล้วก็อยากให้ไปเกิดในที่ดีมีสุข


    ถ้าญาติต่อญาติ มิตรต่อมิตร สหายต่อสหาย ทำบุญให้แก่กัน
    ก็เรียกว่าเป็นการแสดงญาติธรรม มิตรธรรม
    ในระหว่างกันและกันให้ปรากฏแก่คนทั้งหลาย


    การทำบุญให้ผู้ตายนั้น ไม่ใช่จะได้ผลแต่ผู้ตายเท่านั้น
    ถึงผู้ยังเป็นอยู่ก็พลอยได้ผลตามกัน

    พระพุทธองค์ได้ทรงแสดงว่า

    ทายกา จ อนิปฺผลา
    ซึ่งแปลว่า

    อีกอย่างหนึ่ง ทายกก็ไม่ไร้ผล ดังนี้

    คำนี้เป็นเครื่องชี้ให้เห็นว่า
    ทายกทายิกาผู้ที่ทำบุญให้ผู้ตายนั้นก็ยังได้ผลบุญอยู่
    ไม่ใช่ว่าทำบุญให้ผู้ตายแล้วตนผู้ทำจะไม่ได้ผลบุญเลย
    ถ้าผู้นั้นได้ทำบุญไว้ในพระพุทธศาสนา คือ
    ได้ถวายทานแก่พระภิกษุสงฆ์ ซึ่งเป็นองค์สาวกของพระพุทธเจ้า
    บุญนั้นก็ยิ่งใหญ่ไพศาล
    เพราะฉะนั้น
    ท่านจึง่ว่าพระอรหันต์ทั้งหลายเปรียบด้วยนา
    ทายกทั้งหลายเปรียบเหมือนชาวนา
    ของที่ให้ทานเปรียบเหมือนพืช
    ผลแห่งทานเปรียบเหมือนผลแห่งพืช

    เปรตทั้งหลายย่อมได้รับผลทานนั้น
    ผู้ให้ทานย่อมเจริญด้วยบุญ
    ผู้ทำบุญไว้แล้ว ผู้ได้บูชาเปรตแล้ว
    ย่อมได้ไปสู่สวรรค์ ดังนี้
    สิ้นเนื้อความในเทศนากัณฑ์นี้เพียงเท่านี้.


    <O:pเอวํ ก็มี ด้วยประการฉะนี้ฯ<O:p</O:p




    จากท่าน anand<!-- google_ad_section_end --><SCRIPT type=text/javascript> vbmenu_register("postmenu_4601402", true); </SCRIPT> ผู้เอื้อเฟื้อพิมพ์
    <!-- google_ad_section_end -->
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 สิงหาคม 2011
  3. ยอดคะน้า

    ยอดคะน้า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 มกราคม 2010
    โพสต์:
    947
    ค่าพลัง:
    +710
    กัณฑ์ที่ ๓


    คัมภีร์ขุททกนิกาย เปตวัตถุ<O:p


    ว่าด้วยเปรตปากสุกรและเปรตปากเน่า<O:p


    <O:p


    กาเย เต สพพโสวณฺโณติ อิทํ สตฺถริ ราชคหํ อุปนิสฺสาย เวฬุวเน กลนฺทกนิวาเปติ.


    <O:p


    ณ บัดนี้ อาตมภาพจักแสดงพระไตรปิฎกเทศนา
    มหาวิตถารนัยในคัมภีร์ขุททกนิกาย เปตวัตถุ
    กัณฑ์ที่ ๓ ว่าด้วยเรื่องเปรตปากสุกรและเปรตปากเน่า
    สืบต่อไป เพื่อให้เป็นประโยชน์แก่พระพุทธศานา
    และพุทธศาสนิกชนทั้งหลายตลอดกาลนาน


    <O:pบาลี


    <O:p</O:p
    ดำเนินความตามอรรถกถา ที่ได้ยกขึ้นไว้เป็นเบื้องต้นแห่งเทศนานั้น ว่า
    เมื่อสมเด็จพระบรมศาสดาประทับอยู่ที่พระเวฬุวัน
    อันเคยเป็นสถานที่ให้เหยื่อแก่กระแตแต่เมื่อก่อน อาศัยกรุงราชคฤห์
    ได้ทรงปรารภสุกรมุขเปรต คือ
    เปรตปากสุกรให้เป็นต้นเหตุ จึงตรัสเทศนาพระคาถา ว่า

    กาโย เต สพฺพโสวณฺโณ นี้ไว้ ฯ ดังได้สดับมาว่า

    ในครั้งศาสนาพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ล่วงมาแล้วโน้น

    มีภิกษุองค์หนึ่งเป็นผู้สำรวมกาย แต่ไม่สำรวมวาจา ได้ด่าว่าภิกษุทั้งหลายฯ
    เวลาภิกษุนั้นมรณภาพแล้วก็ไปเกิดในนรก ไหม้อยู่ในนรกตลอดพุทธันดรหนึ่ง

    เวลาพ้นจากนรกนั้นมาแล้ว ก็ได้มาเกิดเป็นเปรตอดอยากอยู่ที่เชิงเขาคิชฌกูฏ
    ใกล้กรุงราชคฤห์ด้วยเศษบาปอันนั้นฯ

    กายของเปรตนั้น มีสีเหมือนทองคำ
    ปากของเปรตนั้นเหมือนกับปากสุกรฯ

    คราวนั้น
    พระนารทเถรเจ้าอยู่ที่ภูเขาคิชฌกูฎเช้าขึ้น ได้ถือเอาบาตรจีวรลงมาจากภูเขาคิชฌกูฎ
    เพื่อจะไปบิณฑบาตที่กรุงราชคฤห์ ได้เห็นเปรตนั้นในระหว่างทาง
    เมื่อจะถามถึงกรรมที่เปรตนั้นได้กระทำไว้ จึงได้ถามว่า
    ร่างกายของเธอทั้งสิ้น มีผิวพรรณดังทองคำ
    ทำให้ส่องสว่างตลอดทิศทั้งปวง แต่ปากของเธอเหมือนกับปากสุกร
    เธอได้ทำบาปกรรมอะไรไว้ในปางก่อนฯ

    เมื่อเปรตนั้นจะตอบคำถามของพระเถรเจ้า จึงตอบว่า
    ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้สำรวมกาย
    แต่ไม่ได้สำรวมวาจา
    เพราะฉะนั้นแหละ
    กายของข้าพเจ้าจึงมีสีเหมือนทองคำ
    ปากของข้าพเจ้าจึงเหมือนกับปากสุกร
    ข้าแต่พระนารทะ ร่างกายของข้าพเจ้าเหมือนกับร่างกายมนุษย์
    มีผิวพรรณดังทองคำ แต่ปากของข้าพเจ้าเหมือนกับปากสุกร
    ที่เป็นอย่างนี้ก็เพราะข้าพเจ้าได้สำรวมกาย ไม่ได้สำรวมวาจา


    ครั้นเปรตนั้นตอบอย่างนี้แล้ว
    เมื่อจะให้โอวาทแก่พระเถรเจ้า จึงกล่าวว่า
    ข้าแต่ท่านนารทะ เพราะเหตุนี้แหละ ข้าพเจ้าจึงขอบอกท่าน
    ร่างกายของข้าพเจ้านี้
    ท่านได้เห็นด้วยตนเองแล้ว
    ท่านอย่าได้กระทำบาปด้วยปาก
    อย่าให้ปากของท่านเป็นเหมือนนกับปากสุกรเหมือนกับข้าพเจ้า
    ถ้าท่านเป็นคนปากกล้า
    กระทำบาปด้วยปาก ท่านก็จะต้องมีปากดังสุกร
    เพราะฉะนั้น
    ท่านอย่าได้กระทำบาป ด้วยปากเลย ดังนี้



    <O:pลำดับนั้น

    พระนารทเถรเจ้าก็เลยไปเที่ยวบิณฑบาตในกรุงราชคฤห์ต่อไป
    เวลากลับจากบิณฑบาตหลังอาหารแล้ว
    ก็ไปกราบทูลเรื่องนี้แด่พระองค์ซึ่งทรงแสดงธรรมอยู่ในท่ามกลางบริษัท ๔ฯ

    พระพุทธองค์จึงตรัสว่า นารทะ เปรตนั้นเราได้เห็นก่อนแล้ว
    ตรัสดังนี้แล้ว เมื่อพระองค์จะทรงแสดงโทษแห่งวจีทุจริต
    และแสดงคุณแห่งวจีสุจริต

    จึงได้ทรงแสดงธรรมตามสมควรแก่ต้นเหตุ
    การทรงแสดงธรรมนั้นก็ให้สำเร็จคุณวิเศษแก่ประชุมชนในคราวนั้น
    จบเรื่องเปรตปากสุกรเพียงเท่านี้




    <O:pในเรื่องเปรตปากสุกรนี้
    ขอท่านผู้ฟังทั้งหลาย

    จงเข้าใจเถิดว่า กาย วาจา ใจ ของเรานี้แหละ
    ย่อมทำคุณและโทษให้แก่เรา
    เมื่อเราใช้ กาย วาจา ใจ ให้ทำ พูด คิด ในสิ่งที่ดี
    ก็ให้คุณแก่เรา

    เมื่อเราจะใช้ให้ทำ พูด คิด สิ่งที่ไม่ดี ก็ให้โทษแก่เรา

    เปรตปากสุกรนั้นในเรื่องบ่งชัดแล้วว่า

    เมื่อก่อนได้เป็นภิกษุด่าว่าพระภิกษุทั้งหลายด้วยกัน

    เพราะฉะนั้น จงเข้าใจว่า

    พระด่าพระก็บาปเหมือนกัน ยิ่งคฤหัสถ์ด่าพระด้วยแล้ว

    ก็ยิ่งบาปมาก เพราะว่า

    คฤหัสถ์เป็นผู้มีศีลธรรมต่ำกว่าพระมาก

    เพราะถึงพระด้วยกันมีศีลธรรมดีเหมือนกัน ก็ยังได้บาปดังเปรตปากสุกรนี้เป็นอุทาหรณ์




    ต่อนี้ไป เป็นเรื่องปูติมุขเปรต คือ เปรตปากเน่าว่า
    เมื่อครั้งพระศาสดาประทับอยู่ที่พระเวฬุวันมหาวิหาร ใกล้กรุงราชคฤห์

    ได้ทรงปรารภเปรตปากเน่าตนหนึ่งให้เป็นต้นเหตุ

    แล้วจึงตรัสเทศนาว่า
    ทิพฺพํ สุภํ ธาเรสิ วณฺณธาตํ เป็นต้น
    ซึ่งจะมีคำแปลในภายหลัง

    ส่วนในตอนนี้จะได้ว่าเรื่องเปรตตนนี้ต่อไป กล่าวคือ
    ในครั้งศาสนาพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ล่วงไปแล้วโน้น
    มีกุลบุตร ๒ คน ได้ออกบวชในพระพุทธศาสนาเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยศีลและอาจารมรรยาท
    เป็นผู้มีความประพฤติเคร่งครัด อาศัยอยู่ในวัดแห่งหนึ่งซึ่งมีอยู่ในบ้านนอกตำบลหนึ่งฯ
    ต่อมาภายหลังก็มีภิกษุที่มีอัธยาศัยลามก ที่ยินดีในการส่อเสียดองค์หนึ่งไปที่วัดนั้นฯ

    พระเถรเจ้าทั้ง ๒ ก็ได้ต้อนรับภิกษุองค์นั้นเป็นอย่างดี
    ได้จัดที่อยู่ที่อาศัยให้ เช้าขึ้นก็ได้พาเข้าไปบิณฑบาตฯ
    ชาวบ้านก็ได้พากันน้อมนำข้าวต้มข้าวสวยเป็นต้น มาใส่บาตรด้วยความเคารพเป็นอย่างดีฯ
    เวลาพระภิกษุอาคันตุกะนั้นกลับไปถึงวัดก็คิดว่า บ้านนี้ดีมาก
    ชาวบ้านมีศรัทธาดี ได้ถวายอาหารที่ดีๆ
    ทั้งวัดนี้ก็มีร่มเงาและน้ำบริบูรณ์
    เราอาจจะอยู่สบายในวัดนี้
    ก็แต่ว่าเมื่อภิกษุทั้ง ๒ นี้ ยังอยู่ในวัดนี้เราก็จะไม่สบายใจ
    เราจะเป็นเหมือนศิษบ์ของภิกษุทั้ง ๒ นี้
    อย่าอย่างนั้นเลยเราจะยุให้ภิกษุทั้ง ๒ นี้แตกกัน
    ไม่ให้อยู่ในวัดนี้ได้
    คิดดังนี้แล้ว

    อยู่มาวันหนึ่ง เมื่อภิกษุองค์แก่ให้โอวาท แล้วเข้าไปสู่ที่อยู่ของตน
    ภิกษุองค์ส่อเสียดก็เข้าไปหา
    เมื่อพระเถรเจ้าบอกว่า มาทำไม ก็ตอบว่ากระผมมีเรื่องจะพูดอยู่อย่างหนึ่ง
    เมื่อพระเถรเจ้าบอกว่า จงพูดไป
    ก็กล่าวว่า ท่านขอรับ พระเถรเจ้าที่เป็นเพื่อนของท่าน
    ย่อมทำเหมือนเป็นมิตรเฉพาะต่อหน้าเท่านั้น
    เวลาลับหลังก็ติเตียนท่านเหมือนกับเป็นศัตรูฯ

    พระเถรเจ้าองค์นั้นจึงถามว่า เขาว่าอย่างไร
    ตอบว่าพระเถระองค์นั้นว่า ท่านเป็นคนโอ้อวด เป็นคนมีมารยา
    เป็นคนลวงโลก เป็นคนหาเลี้ยงฃีพในทางผิดฯ

    พระเถรเจ้าจึงว่า อย่าว่าอย่างนี้ เพราะภิกษุนั้นจักไม่ว่าเราอย่างนี้
    เรารู้จักเขาดีเริ่มแต่เป็นคฤหัสถ์มา เขาเป็นผู้มีอัธยาศัยดี มีศีลน่ารักใคร่ฯ

    ภิกษุองค์นั้นจึงว่า ถ้าท่านคิดอย่างนี้ก็เป็นการดี ความคิดอย่างนี้ย่อมสมควรแก่ท่าน
    ทั้งกระผมจะไม่ผิดใจกันกับภิกษุนั้น
    แต่เพราะเหตุไรกระผมจึงจะบอกว่า ภิกษุนั้นได้กล่าวอย่างนี้
    เรื่องนี้ท่านจะรู้ได้เองในไม่ช้าฯ

    ฝ่ายพระเถรเจ้าก็เกิดความสงสัยว่าจะเป็นเหมือนอย่างพระองค์นี้พูดกระมัง
    เมื่อเกิดความสงสัยก็คลายความคุ้นเคยลงไปเล็กน้อย
    แล้วภิกษุองค์นั้นก็หาเรื่องไปยุแหย่พระเถรเจ้าองค์ที่ ๒ อีก
    ต่อมาพระเถรเจ้าทั้ง ๒ นั้นก็ไม่พูดกัน
    เช้าขึ้นก็ครองบาตรจีวรเข้าไปเที่ยวบิณฑบาต แล้วกลับมาที่อยู่ของตน
    ไม่แสดงความเคารพนับถือกันเหมือนที่เคยกระทำมา
    อยู่มาไม่ช้าพระเถรเจ้าทั้ง ๒ นั้น ก็แยกกันไปองค์ละทาง
    ทิ้งวัดนั้นไปเสียฯ

    เวลาภิกษุองค์ยุแหย่นั้นเข้าไปบิณฑบาต
    ชาวบ้านจึงถามว่า พระเถรเจ้าทั้ง ๒ นั้นไปไหน
    ตอบว่า พระเถรเจ้าทั้ง ๒ นั้นทะเลาะกันคืนยังรุ่ง
    ถึงฉันจะห้ามปรามก็ไม่เชื่อฟัง
    เช้าขึ้นก็พากันหนีจากวัดไป ฯ

    ชาวบ้านได้ฟังดังนั้นก็ตอบว่า ถึงพระเถรเจ้าทั้ง๒ จะหนีไปแล้วก็ตาม
    แต่ขอท่านจงอยู่ในวัดนี้เพื่อจะอนุเคราะห์พวกข้าพเจ้าต่อไป
    ภิกษุนั้นก็รับว่า ได้ แล้วก็อยู่ในวัดนั้น

    ต่อมาไม่ช้าก็คิดได้ว่า
    เราได้ยุแหย่ภิกษุผู้มีศีลธรรมอันดีให้แตกกันด้วยความอยากได้อาวาส
    เราได้ทำบาปกรรมไว้มาก เมื่อคิดอย่างนี้แล้ว
    ก็มีความเสียใจอย่างยิ่ง ถึงกับเป็นไข้แล้วตายไป
    ตกอเวจีนรก

    พระเถรเจ้าทั้ง ๒ องค์นั้นได้ไปพบกันในอาวาส แห่งหนึ่ง
    ได้เล่าถึงถ้อยคำที่ภิกษุองค์นั้นพูด
    แล้วก็กลับพร้อมเพรียงกันอีก
    ได้พากันกลับไปอยู่ที่วัดนั้นอีก
    ชาวบ้านก็พากันดีใจอย่างยิ่ง
    ต่อมาพระเถรเจ้าทั้ง ๒ นั้นก็ได้สำเร็จพระอรหัต

    ภิกษุผู้ส่อเสียดนั้นไหม้อยู่ในนรกตลอด ๑ พุทธันดร
    แล้วจึงมาเกิดเป็นเปรตปากเน่าอยู่ใกล้กรุงราชคฤห์
    ในครั้งพระพุทธเจ้าของเราทั้งหลายเกิดขึ้น เปรตนั้นมีสีร่างกายดังสีทองคำ
    แต่มีหมู่หนอนออกมาจากปาก มากัดกินปากข้างโน้นข้างนี้
    ทั้งมีกลิ่นปากเน่าเหม็นไปในที่ไกลฯ
    คราวนั้น พระนารทเถรเจ้าซึ่งลงมาจากภูเขาคิชฌกูฏได้เห็นเปรตนั้นแล้ว

    จึงถามว่า
    ทิพฺพํ สุภํ ธาเรสิ วณฺณธาตํ เป็นต้น
    ซึ่งมีคำแปลว่า
    เจ้ามีร่างกายดังทองคำยืนอยู่ในอากาศ
    แต่มีหมู่หนอนออกจากปากของเจ้า
    ทั้งกลิ่นปากของเจ้าก็เหม็นฟุ้ง เจ้าได้กระทำบาปสิ่งใดไว้

    เปรตนั้นจึงตอบว่า
    เมื่อก่อนข้าพเจ้าได้เป็นพระภิกษุลามก มีวาจาไม่ดี ได้ยุแหย่พระภิกษุผู้มีศีลให้แตกกัน
    แต่ข้าพเจ้าได้รักษาศีลดี

    เพราะฉะนั้น

    ร่างกายของข้าพเจ้าจึงมีสีเหมือนทองคำ
    ปากของข้าพเจ้าจึงมีกลิ่นเหม็น
    ท่านได้เห็นร่างกายของข้าพเจ้าด้วยตนเองแล้ว

    ขอจงสั่งสอนคนทั้งหลาย อย่าให้กล่าวส่อเสียดยุยงผู้ใด
    ทั้งท่านเองก็สมควรสำรวมวาจา

    เมื่อพระเถรเจ้าได้ฟังดังนี้แล้ว
    จึงไปกราบทูลพระพุทธองค์ให้ทรงทราบ
    พระพุทธองค์จึงได้ทรงยกเรื่องเปรตนั้นขึ้นเป็นต้นเหตุ
    แล้วตรัสเทศนาแก่ประชุมชน ซึ่งอยู่สถานที่นั้น
    ให้มั่นอยู่ในวจีสุจริต
    อย่าให้พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ
    พูดคำที่ไม่มีประโยชน์ เพราะจะให้โทษเหมือนดังเปรตนั้นเป็นอุทาหรณ์




    <O:pก็แลตามเรื่องเปรตทั้ง ๒ ซึ่งได้แสดงมาแล้วนี้
    ล้วนแต่เป็นเรื่องชี้ให้เห็นโทษแห่งวจีทุจริต คือ
    การพูดไม่ดีทั้งนั้น
    การพูดไม่ดีนั้น แยกออกเป็น ๔ ประการ
    เรียกตามบาลีโวหารว่า วจีทุจริต ๔ คือ
    มุสาวาท การพูดเท็จ ๑
    ผรุสวาท การพูดหยาบคาย ๑
    ปุสุณวาจา การพูดส่อเสียด ยุยง ๑
    สัมผัปปลาป การพูดสิ่งที่ไม่มีประโยชน์ ๑
    รววมเป็น ๔ อย่าง ด้วยกัน ดังนี้ฯ


    การพูดเท็จนั้นได้แก่พูดสิ่งที่ไม่เป็นจริง
    การพูดหยาบคายนั้น ได้แก่ การพูดด้วยเจตนาร้าย คือ
    ด้วยเจตนาเพื่อจะด่าว่าสาปแช่งให้อีกข้างหนึ่งเกิดความโทมนัสขัดแค้น
    หรือเกิดความละอาย เกิดความไม่สบายใจอย่างใดอย่างหนึ่ง


    การพูดส่อเสียดยุยงนั้น ได้แก่
    การพูดเพื่อให้คนทั้ง ๒ ฝ่ายแตกกัน

    การพูดสิ่งที่ไม่มีประโยชน์นั้น ได้แก่
    การพูดเรื่องที่ไม่มีประโยชน์ เช่นพูดเรื่องตามสีดา
    และเรื่องรบของภารตะเป็นต้น
    ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่มีสาระประโยชน์อันใด
    ไม่ใช่การพูดเหลวไหลอย่างที่พวกเราเข้าใจกัน คือ
    ที่พวกเราเข้าใจกันว่า สัมผัปปลาป ได้แก่ การพูดเหลวไหล คือ
    ได้แก่ การพูดแล้วไม่ทำตามนั้นเป็นอันไม่ถูก
    เพราะการพูดและไม่ทำตามนั้นเป็นการพูดเหลวไหลจริง
    แต่ว่า ไม่เป็นสัมผัปปลาปๆ นั้นหมายพูดเรื่องที่ไม่มีประโยชน์ ไม่ได้หมายพูดแล้วไม่กระทำตาม

    การพูดแล้วไม่ทำตามนั้น ในหลักธรรมบาลีเรียกชื่ออีกอย่างหนึ่ง
    ไม่ได้เรียกว่าสัมผัปปลาป
    การที่พูดแล้วไม่ทำตามนั้น ไม่เรียกว่ามุสาวาทด้วย
    เพราะฉะนั้น ขอจงจำไว้เถิดว่า สัมผัปปลาปนั้น ได้แก่
    การพูดเรื่องที่ไม่มีประโยชน์ คือเล่าเรื่องที่ไม่มีประโยชน์ เช่นเรื่องตามสีดา
    เรื่องรบของภารตะเป็นต้น จนกระทั่งถึงเรื่องลิเก ละคร โขนเป็นที่สุด
    ผู้ที่ไปดูลิเกละครมาแล้วกลับมาเล่าให้พวกช่าวบ้านฟังว่า
    พระเอกอย่างนั้น นางเอกอย่างนี้ คนนั้นตลกดี คนนั้นร้องเพลงเพราะ
    คนนั้นน่ารัก คนนี้น่าชัง คนนั้นน่ากระทืบเป็นต้น
    ล้วนแต่จัดเข้าในสัมผัปปลาป อันเป็นบาปใหญ่ทั้งนั้น
    เพราะฉะนั้น
    จึงควรที่ผู้เฒ่าผู้แก่ ตลอดถึงเด็กหนุ่มสาวทั้งหลาย
    จะระวังวาจาของตนเมื่อกลับมาจากดูมหรสพแล้วให้จงได้
    ถ้าใครระวังไม่ได้ผู้นั้นก็ได้ชื่อว่า สร้างกลีโทษไว้ด้วยปากของตน
    ผลที่ตนจะได้รับก็คือบาปกรรม คล้ายกับเปรตทั้ง ๒ ที่แสดงมา

    หากจะมีคำถามว่า เพราะเหตุไร
    การเล่าเรื่องลิเก ละคร โขน จึงจัดเป็นบาปอันใหญ่โตถึงเพียงนี้
    มีคำแก้ไขว่า เพราะเรื่องลิเก ละคร โขนนั้น เป็นเรื่องที่ทำให้เกิดกิเลสแก่ผู้ฟังทั้งหลาย
    เช่น
    เรื่องกล่าวถึงพระเอกนางเอกว่าสวยอย่างนั้นอย่างนี้
    ก็ทำให้เกิดราคะกิเลส คือ ความรักใคร่พอใจแก่ผู้ฟังทั้งหลาย
    การพูดถึงตัวโกง ตัวกบฏ ก็ทำให้เกิดโทสะกิเลสแก่ผู้มีเจตนาร้าย
    การพูดถึงตอนเศร้าโศก ก็ทำให้เกิดวิโยคทุกข์แก่ผู้ฟังทั้งหลาย
    รวมความว่า
    การพูดถึงการละเล่นต่างๆ ล้วนแต่ทำให้เกิดกิเลสทั้งนั้น
    ก็ถ้าอย่างนั้น อุบาสกอุบาสิกาผู้เฒ่าผู้แก่กลับมาจากวัดวาอารามนั้น
    มาเล่าเรื่องพระพุทธเจ้าคราวเสวยพระชาติเป็นนั้นๆ
    มีเสวยพระชาติเป็นพระสุวรรณสามถูกพระยากบิลยักษ์ยิงให้ถึงซึ่งความตาย
    ให้ลูกหลานทั้งหลายฟัง
    ทำให้ลูกหลานทั้งหลายเกิดความเศร้าสลดใจนั้นไม่เป็นบาปหรือ
    การที่ผู้เฒ่าผู้แก่ หรือนักปราชญ์ราชบัณฑิต
    กล่าวสรรเสริญพระรูปลักษณะของพระพุทธเจ้า หรือ
    ของพระอรหันตสาวกองค์นั้น องค์นี้ว่า สวยงามล้ำเลิศ
    ทำให้เกิดความรักใคร่พอใจแก่ผู้ฟังทั้งหลายนั้นไม่เป็นบาปหรือ
    การที่เล่าเรื่องพระโพธิสัตว์เจ้าพลัดพรากจากลูกรักเมียขวัญ เช่น
    พระเวสสสันดรเป็นอุทาหรณ์
    ทำให้คนทั้งหลายรู้สึกเศร้าสลดใจนั้นไม่เป็นบาปหรือ
    แก้ว่า
    ไม่เป็นบาป

    ก็การพูดนั้น ทำให้เกิดความรักใคร่พอใจเหมือนกัน
    ทำให้เกิดโทมนัสขัดเคืองเหมือนกัน
    ทำให้เกิดความเศร้าสลดใจเหมือนกัน
    เหตุไรจึงว่าไม่เป็นบาป
    เพราะเหตุว่า
    อย่างหนึ่งทำให้เกิดกิเลส อีกอย่างหนึ่งทำไม่ให้เกิดกิเลส
    ข้อนี้ขอยกการร้องไห้ขึ้นมาเป็นตัวอย่าง

    เพื่ออ้างให้ท่านทั้งหลายเห็น คือ

    การร้องไห้นั้นมีอยู่ ๒ อย่าง
    ร้องไห้ด้วยความเสียใจก็มี
    ร้องไห้ด้วยความดีใจก็มี

    ร้องไห้ด้วยความเสียใจนั้นเช่นไร เช่น
    ร้องไห้ด้วยความโทมนัสขัดแค้นในการถูกด่าว่าเฆี่ยนตี
    หรือ
    ร้องไห้ด้วยความเสียใจในการพลัดพรากจากคนรัก ของรักเป็นต้น

    กับ

    การร้องไห้ในเมื่อฟังธรรมถูกใจแล้วเกิดความดีใจ
    ซึ่งเรียกว่าเกิดปีติจนน้ำตาไหลเป็นต้น

    ก็การร้องไห้ทั้ง ๒ อย่างนี้ไม่มีน้ำตาออกมาเหมือนกันไม่ใช่หรือ
    ทำไมจึงว่าอย่างหนึ่งดี อีกอย่างหนึ่งไม่ดี
    แก้ว่า ที่ว่าไม่ดีนั้น ด้วยอย่างนั้นเป็นอย่างให้เกิดกิเลส มีโทมนัสเป็นต้น

    ที่ว่าดีนั้นเพราะอย่างนั้นให้เกิดบุญกุศล มีโสมนัสอันประกอบกับปรีชาญาณเป็นต้น
    ก็น้ำตาของคนทั้ง ๒ นั้นไม่เหมือนกันหรือ
    น้ำตาของคนที่ร้องไห้ด้วยโทมนัสนั้น ในคัมภีร์มิลินทปัญหาว่าเป็นน้ำตาร้อน
    ส่วนน้ำตาของผู้ที่ร้องไห้ด้วยโสมนัสนั้นเป็นน้ำตาเย็น ดังนี้

    เพราะฉะนั้น
    การเล่าเรื่องของผู้กลับมาจากดูมโหรสพ
    กับการเล่าเรื่องของผู้กลับจากการฟังเทศน์

    ย่อมเป็นเหตุให้เกิดความบาปบุญต่างกัน
    ดังที่พรรณนามา

    ในที่สุดนี้ขอให้พุทธศาสนิกชนทั้งหลายจงจำไว้ว่า
    ปากของเรานี้แหละเป็นสำคัญมากกว่า
    ตา หู จมูก ลิ้น กาย
    จงระวังไว้ให้ดี
    อย่าให้เป็นดังเปรตทั้ง ๒ ซึ่งแสดงมา
    สิ้นเนื้อความในเทศนากัณฑ์นี้เพียงเท่านี้.


    <O:pเอวํ ก็มี ด้วยประการฉะนี้ฯ


    จากท่าน anand<!-- google_ad_section_end --><SCRIPT type=text/javascript> vbmenu_register("postmenu_4601402", true); </SCRIPT> ผู้เอื้อเฟื้อพิมพ์​
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 สิงหาคม 2011
  4. ไมยราพ

    ไมยราพ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2009
    โพสต์:
    495
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +201
    ๑๑. สุนิกขิตตวิมาน
    ว่าด้วยผลบุญที่ทำให้ไปเกิดในสุนิกขิตตวิมาน


    พระมหาโมคคัลลานเถระถามเทพบุตรตนหนึ่งว่า
    [๘๕] วิมานแก้วมณีของท่านนี้ สูง ๑๒ โยชน์โดยรอบ มีปราสาท ๗๐๐ มีเสา
    ล้วนแล้วไปด้วยแก้วไพฑูรย์ ปูลาดด้วยเครื่องลาดอันงามยิ่ง ท่านอยู่
    ดื่ม และบริโภคสุธาโภชน์ในวิมานนี้ อนึ่ง เทพบุตรผู้นี้มีเสียงอัน
    ไพเราะพากันมาบรรเลงพิณทิพย์ เบญจกามคุณซึ่งมีรสเป็นทิพย์ก็มีอยู่
    พร้อมในวิมานนี้ ทั้งเหล่าเทพนารีปกคลุมด้วยเครื่องประดับทองคำ
    พากันมาฟ้อนรำอยู่ ท่านมีวรรณะเช่นนี้เพราะบุญอะไร อิฏฐผลย่อม
    สำเร็จแก่ท่านในวิมานนี้ และโภคสมบัติอันเป็นที่รักแห่งใจทุกสิ่งทุก
    อย่าง ย่อมเกิดขึ้นแก่ท่านเพราะบุญอะไร ดูกรเทพเจ้าผู้มีอานุภาพมาก
    อาตมาขอถามท่าน ท่านเป็นมนุษย์ได้ทำบุญอะไร ท่านมีอานุภาพอันรุ่งเรือง
    และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้ เพราะบุญอะไร?
    เทพบุตรนั้น อันพระมหาโมคคัลลานเถระถามแล้ว มีความปลาบปลื้มใจ
    จึงพยากรณ์ปัญหาแห่งผลกรรมที่ถูกถามนั้นว่า ข้าพเจ้าได้จัดดอกไม้ อัน
    มหาชนจัดไว้แล้วไม่เรียบร้อย แล้วได้ประดิษฐานไว้ที่พระสถูปของพระ
    สุคตเจ้า จึงเป็นผู้มีฤทธิ์มากและมีอานุภาพมาก พรั่งพร้อมด้วยกามคุณ
    อันเป็นทิพย์ ข้าพเจ้ามีวรรณะเช่นนี้เพราะบุญนั้น อิฏฐผลสมบัติอันเป็น
    ที่รักแห่งใจทุกสิ่งทุกอย่าง ย่อมเกิดแก่ข้าพเจ้าเพราะบุญนั้น ข้าพเจ้ามี
    อานุภาพอันรุ่งเรือง และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้ เพราะ
    บุญนั้นๆ.
     
  5. เล่าปัง

    เล่าปัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    4,787
    ค่าพลัง:
    +7,918
  6. ชุนชิว

    ชุนชิว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    722
    ค่าพลัง:
    +780
    อ่านแล้วไม่สะดุ้งบ้างหรือเล่าปัง เล่าปังผู้ไม่หวั่นไหว
     
  7. ฝันนิมิต

    ฝันนิมิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    467
    ค่าพลัง:
    +547
    ...ตัวหนังสือมันเล็กมากเลยคะท่านพี่ยอดคะน้าผัดเผ็ด.....
     
  8. ยอดคะน้า

    ยอดคะน้า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 มกราคม 2010
    โพสต์:
    947
    ค่าพลัง:
    +710
    เช่นนั้น มณีน้อย ช่วยก๊อปขยายเพิ่มขนาดตัวหนังสือ สำหรับผู้มีอายุหน่อยจ้า
     
  9. ยอดคะน้า

    ยอดคะน้า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 มกราคม 2010
    โพสต์:
    947
    ค่าพลัง:
    +710
    กัณฑ์ที่ ๔


    คัมภีร์ขุททกนิกาย เปตวัตถุ



    ว่าด้วยเปรตสุกร




    วาจานุรกฺขีติ อิมํ ธมฺมเทสนํ สตฺถา เวฬุวเน วิหรนฺโต สูกรเปตํ อารพฺภ กเถสีติ.



    ณ บัดนี้ อาตมภาพจักแสดงพระไตรปิฎกเทศนา มหาวิตถารนัยในคัมภีร์ขุททกนิกาย เปตวัตถุ กัณฑ์ที่ ๔ ว่าด้วยเรื่องเปรตสุกร ตามธัมมปทัฏฐกถา สืบต่อไป เพื่อให้เป็นประโยชน์แก่พระพุทธศาสนาและพุทธศาสนิกชนทั้งหลายตลอดกาลนาน


    ดำเนินความตามคัมภีร์ธัมมปทัฏฐกถา ซึ่งได้ยกขึ้นไว้เป็นเบื้องต้นแห่งเทศนานั้นว่า เมื่อสมเด็จพระบรมศาสดาประทับอยู่ที่พระเวฬุวัน ทรงปรารภสุกรเปรต คือ เปรตสุกรให้เป็นต้นเหตุ แล้วจึงตรัสพระธรรมเทศนาซึ่งขึ้นต้นว่า วาจานุรกฺขี นี้ให้เป็นผล มีเรื่องพิสดารต่อไปว่า อยู่มาวันหนึ่งพระมหาโมคคัลลานเถรเจ้า ซึ่งลงจากภูเขาคิชฌกูฏกับพระลักขณะเถรเจ้าได้ยิ้มขึ้นในที่แห่งหนึ่ง เวลาพระลักขณเถรเจ้าถามว่า เพราะเหตุไรจึงยิ้ม ก็ตอบว่าไม่ใช่เวลาที่จะแก้ปัญหานี้ ท่านควรถามข้าพเจ้าในที่ใกล้พระศาสดา ตอบดังนี้แล้ว ก็ไปเที่ยวบิณฑบาตในกรุงราชคฤห์กับพระลักขณเถรเจ้า เวลากลับจากบิณฑบาตแล้วก็ไปสู่พระเวฬุวัน ถวายบังคมองค์พระศาสดาแล้วก็นั่งลงในที่สมควรแก่ตน ลำดับนั้น พระลักขณะเถรเจ้าจึงถามเรื่องนั้นขึ้นต่อพระมหาโมคคัลน์ๆ จึงตอบว่า ข้าพเจ้าได้เห็นเปรตตนหนึ่งในที่ข้าพเจ้ายิ้มนั้น เปรตตนนั้นมีตัวยาวประมาณ ๓ คาวุต คือ ๓๐ เส้น มีตัวเหมือนมนุษย์ แต่มีศีรษะเหมือนสุกร มีหางเกิดที่ปาก มีหมู่หนอนไหลออกจากปาก ข้าพเจ้าได้เห็นแล้วจึงยิ้มให้ปรากฏด้วยคิดว่า สัตว์เช่นนี้ไม่เคยเห็น สมเด็จพระบรมศาสดาได้ทรงสดับดังนี้แล้วจึงตรัสขึ้นว่า ภิกษุทั้งหลาย สาวกทั้งหลายของเราย่อมเป็นผู้มีจักษุ ตรัสดังนี้แล้วจึงตรัสต่อไปว่า สัตว์ตัวนั้นเราตถาคตก็ได้เห็น แต่ในเวลาที่เราตถาคตอยู่ที่บริเวณไม้ศรีมหาโพธิ์โน้น ก็แต่ว่าเราตถาคตไม่ได้พูดขึ้นเพราะเอ็นดูผู้อื่น ด้วยคิดว่า ผู้ใดไม่เชื่อเราก็จะได้รับโทษทุกข์ภัยตลอดกาลนาน มาคราวนี้เราได้โมคคัลลาน์เป็นพยานเราจึงพูดขึ้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โมคคัลลาน์กล่าวจริง ภิกษุทั้งหลายได้ฟังดังนี้จึงทูลถามว่า บุพพกรรมของเปรตนั้นเป็นอย่างไร พระเจ้าข้า จึงตรัสตอบว่า ถ้าอย่างนั้นเธอทั้งหลายจงตั้งใจฟังให้ดี ครั้นตรัสดังนี้แล้ว จึงได้ทรงแสดงบุพพกรรมของเปรตนั้น ให้ภิกษุทั้งหลายฟังต่อไปว่า ในครั้งพระกัสสปพุทธเจ้าโน้น มีพระเถระ ๒ องค์อยู่ด้วยกันด้วยความพร้อมเพรียงในอาวาสใกล้บ้านน้อยตำบลหนึ่ง ในภิกษุ ๒ องค์นั้น องค์หนึ่งมีพรรษา ๖๐ องค์หนึ่งมีพรรษา ๕๙ องค์ที่มีพรรษา ๕๙ นั้น ได้ถือเอาบาตรจีวรขององค์ที่มีพรรษา ๖๐ ในเวลาไปเที่ยวบิณฑบาต ได้ทำข้อวัตรปฏิบัติทั้งปวงเหมือนกับสามเณร เมื่อพระเถรเจ้าทั้ง ๒ องค์ก็ขอให้พระธรรมกถึงองค์นั้นแสดงธรรม พระธรรมกถึกองค์นั้นก็แสดงธรรม พระเถรเจ้าทั้ง ๒ องค์ก็ดีใจว่า เราได้พระธรรมกถึงไว้แล้ว เช้าขึ้นก็พาไปเที่ยวบิณฑบาต เวลาฉันอาหารแล้วก็ให้แสดงธรรมให้ชาวบ้านฟัง ชาวบ้านได้ฟังธรรมแล้วก็นิมนต์เพื่อวันรุ่งขึ้น พระเถรเจ้าทั้ง ๒ นั้นได้พาพระธรรมกถึงนั้นไปเที่ยวบิณฑบาตบ้านละ ๒ วัน พระธรรมกถึกจึงคิดว่า พระเถระทั้ง ๒ องค์นี้ยังอ่อนนัก เราควรจะให้พระเถระ ๒ องค์นี้หนีไปเสียแล้วอยู่ในวิหารนี้ พอคิดดังนี้แล้ว ถึงเวลาเย็นก็ไปหาพระเถรเจ้าองค์ใหญ่บอกว่า ท่านขอรับ ข้าพเจ้ามีเรื่องจะพูดอยู่เรื่องหนึ่ง เมื่อพระเถรเจ้าองค์นั้นบอกว่า พูดไปเถิด ก็ทำเป็นคิดอยู่ครู่หนึ่งแล้วตอบว่า ธรรมดาการพูดย่อมเป็นของมีโทษมาก แล้วก็ไม่พูด จึงลุกลาไปเสีย เมื่อออกจาพระเถรเจ้าองค์ใหญ่ ก็ไปหาพระเถรเจ้าองค์รอง ได้กิริยาเหมือนกันกับเวลาที่ไปหาพระเถรเจ้าองค์ใหญ่ ทำอยู่อย่างนั้นถึง ๓ วัน เมื่อเห็นว่าพระเถรเจ้าทั้ง ๒ นั้นเกิดความฉงนเต็มที่ จึงไปหาพระเถระองค์ใหญ่บอกว่า ท่านขอรับ เรื่องที่ข้าพเจ้าจะพูดมีอยู่ ก็แต่ว่า ข้าพเจ้าไม่อาจพูดให้ท่านฟังได้ พระเถรเจ้าก็รบเร้าให้พูดให้ฟัง จึงพูดว่า พระเถรเจ้าองค์รองเป็นศัตรูของท่านหรือ พระเถรเจ้าองค์ใหญ่ก็ถามว่า เหตุไรจึงว่าอย่างนี้ เราทั้งสองเป็นเหมือนลูกท้องเดียวกัน สิ่งที่ผู้หนึ่งได้ก็เท่ากับอีกผู้หนึ่งได้ เราไม่เห็นโทษของเขาจนตลอดกาลถึงเพียงนี้ พระธรรมกถึกจึงว่า อย่างนั้นหรือขอรับ ตอบว่า อย่างนั้นแหละเธอ พระธรรมกถึกจึงว่า ท่านขอรับ พระเถระองค์เล็กได้บอกกับผมว่า ท่านเป็นกุลบุตรของผู้มีตระกูล เมื่อท่านคบกับพระเถระองค์ใหญ่จงระวังให้ดี พระเถระองค์เล็กได้บอกกับผมอย่างนี้ เริ่มแต่วันที่กระผมมาถึง พระเถรองค์ใหญ่พอได้ฟัง ก็โกรธ ได้แตกจากองค์เล็กเหมือนกับภาชนะดินที่ถูกตีด้วยไม้ ฝ่ายพระรรมกถึกก็ลุกไปบอกพระเถระองค์เล็กเหมือนอย่างนั้น พระเถระองค์เล็กก็แตกจากองค์ใหญ่เหมือนกัน ถึงพระเถรเจ้าทั้ง ๒ ไม่เคยไปบิณฑบาตแยกกันเลย แต่รุ่งเช้าขึ้นก็ต้องไปบิณฑบาตแยกกัน พระเถรองค์เล็กกลับมาก่อน ไปยืนอยู่ที่หอฉัน ฝ่ายพระเถระองค์ใหญ่ได้กลับมาทีหลัง พระเถรองค์เล็กจึงคิดว่า เราควรจะรับบาตรจีวรของพระเถระองค์นี้หรือไม่ พอคิดังนี้ก็คิดอีกว่าจักไม่รับ แต่ก็ใจอ่อนด้วยคิดว่า เราไม่เคยเห็นท่านทำไม่ดีเลย เราไม่ควรจะให้ข้อวัตรของเราเสียไป จึงเดินเข้าไปใกล้บอกว่ ขอจงส่งบาตรจีวรมาให้กระผม พระเถระองค์ใหญ่จึงว่า ไปคนหัวดื้อ เธอไม่สมควรรับบาตรจีวรของเรา ว่าดังนี้พระเถรองค์เล็กก็ตอบว่า ขอรับ ถึงกระผมก็คิดแล้วว่าจักไม่รับบาตรจีวรของท่าน พระเถระองค์ใหญ๋จึงว่า เธอคิดหรือว่าเราจะเกี่ยวข้องอยู่ในวิหารนี้ พระเถระองค์เล็กตอบว่า ก็ท่านเล่าเข้าใจว่ากระผมจะเกี่ยวข้องอยู่ในวิหารนี้หรือ วิหารนี้จงเป็นของท่าน ว่าแล้วก็ถือบาตรจีวรไป ฝ่ายพระเถระองค์ใหญ่ก็เหมือนกัน พระเถรเจ้าทั้ง ๒ องค์นั้นไม่ได้ไปร่วมทางกัน องค์หนึ่งไปทางตะวันตก องค์หนึ่งไปทางตะวันออก ฝ่ายพระธรมกถึกจึงว่า ท่านอย่าทำอย่างนี้เลย แต่เมื่อถูกห้ามว่าหยุดอย่าพูด ก็กลับวัด รุ่งเช้าขึ้นก็ไปบิณฑบาต เมื่อชาวบ้านถามว่า พระเถรเจ้าทั้ง ๒ ไปไหน ก็ตอบว่า อย่าถามเลย พระของท่านทั้งหลายได้ทะเลาะกัน แล้วหนีไปแต่วานนี้ ถึงข้าพเจ้าห้ามก็ไม่ฟัง เมื่อชาวบ้านได้ฟังดังนี้ต่างก็คิดกันคนละอย่าง พวกโง่เจลาก็นิ่งอยู่ ส่วนพวกมีความคิดก็คิดว่า พวกเราไม่เคยเห็นความพลั้งพลาดอันใดอันหนึ่ง ของพระเถรเจ้าทั้ง ๒ องค์นั้นเลย ภัยที่เกิดขึ้นแก่พระเถรเจ้าทั้ง ๒ องค์นั้น จักเกิดขึ้นเพราะพระธรรมกถึกองค์นี้แน่ คิดดังนี้แล้วก็พากันเสียใจ ฝ่ายพระเถรเจ้าทั้ง ๒ นั้นไปทางไหนก็มีความสุขใจ พระเถรเจ้าองค์ใหญ่จึงคิดว่า โอ! พระเถรเจ้าองค์เล็กได้ทำกรรมหนักเสียแล้ว ควรหรือที่จะบอกพระอาคันตุกะที่เพิ่งเห็นกันครู่เดียวว่า อย่าคบกับพระเถรเจ้าองค์ใหญ่ ฝ่ายพระเถรเจ้าองค์เล็กก็คิดว่า พระเถรเจ้าองค์ใหญ่ได้ทำกรรมหนักเสียแล้ว ได้บอกพระอาคันตะกะที่เพิ่งเห็นเพียงครู่เดียวว่า อย่าคบกับภิกษุนี้เลย เป็นอันว่า พระเถรเจ้าทั้ง ๒ องค์นั้นไม่มีความสุขใจอยู่ด้วยการคิดอย่างนี้ เมื่อใจไม่มีสุขก็ไม่ได้ท่องบนสาธยายเจริญสมณธรรม พอต่มาได้ ๑๐๐ ปี พระเถรเจ้าทั้ง ๒ นั้นก็ได้ไปที่วิหารแห่งหนึ่ง ซึ่งมีในทิศตะวันตก ในวิหารนั้นมีกุฎิอยู่เพียงหลังเดียว เมื่อพระเถรเจ้าองค์ใหญ่เข้าไปนั่งอยู่บนเดตียงแล้ว พระเถรเจ้าองค์เล็กก็เข้าไป พอพระเถรเจ้าองค์ใหญ่ได้เห็นก็จำได้แต่ไม่อาจกลั้นน้ำตาไว้ได้ พระเถรเจ้าองค์เล็กก็จำพระเถรเจ้าองค์ใหญ่ได้ แล้วมีตานองด้วยน้ำตาคิดว่า เราจะพูดหรือไม่พูด ก็คิดได้ว่า พระอาคันตุกะนั้นเราไม่สมควรเชื่อถือ จึงไหว้พระเถระองค์ใหญ่แล้วพูดว่า ท่านขอรับ กระผมได้ถือบาตรจึวรของท่านไปตามท่านตลอดกาลนาน ท่านเคยได้เห็นสิ่งที่ไม่สมควรอย่างใดอย่างหนึ่งทางกายเป็นต้นของกระผมบ้างหรือ พระเถระองค์ใหญ่ตอบว่าไม่เคยเห็นเลย พระเถระองค์เล็กจึงว่า ถ้าอย่างนั้นเหตุไรท่านจึงบอกพระธรรมกถึกว่า อย่าคบกับภิกษุองค์นี้ พระเถระองค์ใหญ่จึงว่า เราไม่ได้บอกอย่างนี้ก็เธอเล่าเหตุไรจึงว่าอย่างนั้น กระผมก็ไม่ได้ว่าอย่างนั้นเหมือนกัน ในขณะนั้นพระเถรเจ้าทั้ง ๒ นั้นจึงรู้ว่า พระธรรมกถึกอยากให้เราแตกกันจึงได้พูดอย่างนี้ แล้วก็ขอโทษต่อกัน พระเถรเจ้าทั้ง ๒ นั้น ไม่ได้ ความสบายใจอยู่ตลอด ๑๐๐ ปีเพิ่งได้ความสบายใจในวันนี้ แล้วพากันกลับไปไล่พระธรรมกถึงนั้นไปเสีย พระธรรมกถึกนั้นก็ได้ออกจากวัดนั้นไปเจริญสมณธรมอยู่ตลอด ๒ หมื่นปี แต่ถึงอย่างนั้นก็ดี สมณธรรมที่กระทำอยู่ตลอด ๒ หมื่นปีนั้นก็ไม่อาจช่วยได้ เวลาตายแล้วก็ได้ไปตกอเวจีนรกอยู่ตลอดพุทธันดร แล้วมาเกิดเป็นเปรตสุกรอยู่ที่ภูเขาคิชกูฎ ดังที่แสดงมา ครั้นพระพุทธองค์ทรงแสดงบุพพกรรม แห่งเปรตสุกรอย่างนี้แล้ว จึงทรงแสดงธรรมต่อไปว่า วาจานุรกฺขี มนสา สุสํวุโต เป็นต้น ซึ่งมีเนื้อความว่า บุคคลควรรักษาวาจา คือไม่ควรพูดวจีทุกจริต ๓ ประการ ควรรักษาใจให้ดี คือไม่ควรให้เกิดอภิชฌา พยาบาท มิจฉาทิฏฐิ ไม่ควรทำอกุศลกรรมด้วยกาย คือ ไม่ทำปาณาติบาต อทินนาทาน กาเมสุมิจฉาจาร ควรรักษากรรมบถที่เป็นกุศลที่พระพุทธองค์ทรงแสดงไว้แล้วให้ได้ ควรเดินตามทางพระอริยเจ้าอันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ จึงจะเป็นการดี เมื่อจบเทศนานี้ลงก็มีผู้ได้บรรลุมรรคผลเป็นอันมาก


    ก็แล พระพุทธพจน์ว่า วาจนุรกฺขี มนสา สุสํวุโต เป็นต้น ซึ่งมีคำแปลว่า บุคคลควรรักษากายวาจา ควรสำรวมใจให้ดี ไม่ควรทำอกุศลด้วยกาย ควรทำให้กรรมบถทั้ง ๓ นี้บริสุทธิ์ดี ควรเดินตามทางที่ฤาษีมีพระพุทธเจ้าเป็นต้นได้แสดงมาแล้วนั้นไว้ มีคำอธิบายว่า กายวาจาใจนี้แหละเป็นของทำทุกข์สุขให้แก่สัตว์โลก ไม่ใช่สิ่งอื่นเลย กายของเรานี้แหละทำทุกข์สุขให้แก่เรา วาจาของเรานี้แหละทำทุกข์สุขให้แก่เรา ใจของเรานี้แหละทำทุกข์สุขให้แก่เรา ไม่ใช่ผู้อื่นหรือสิ่งอื่นทำให้แก่เราเลย เพราะฉะนั้นพระพุทธองค์จึงได้ทรงสอนให้ระวังกายวาจาใจฯ การระวังกายวาจาใจนั้นคืออย่างไร คือระวังกายไม่ให้ทำสิ่งที่เป็นบาป อกุศล ทุจิต คือปาณาติบาต การทำร้ายชีวิตผู้อื่น อทินนาทาน การลักขโมยฉ้อโกงปล้นสะดมผู้อื่น กาเมสุมิจฉาจาร การประพฤติผิดในทางความรักของผู้อื่น คือการเป็นชู้กับภรรยาผู้อื่น การนอกใจสามี แต่ว่าภรรยาผู้อื่นนั้น หมายความกว้าง หมายถึงหญิง ๒๐ จำพวก คือหญิงที่มารดาผู้เดียวปกครอง ๑ หญิงที่บิดาผู้เดียวปกครอง ๑ หญิงที่ปกครองทั้งมารดาบิดา ๑ หญิงที่พี่ชายน้อชายปกปครอง ๑ หญิงที่พี่หญิงน้องหญิงปกครอง ๑ หญิงที่ญาติปกครอง ๑ หญิงที่โคตรวงศ์ปกครอง ๑ หญิงที่ธรรมปกครอง ๑ คือหญิงที่ประพฤติพรหมจรรย์ ๑ หญิงที่ธรรมะปกครอง คือหญิงที่ผู้ประพฤติธรรมด้วยกันในศาสนาเดียวกัน หรือผู้มีกุศลธรรมเสมอกันปกครอง ๑ หญิงที่มีอารักขาคือที่มีสามี ๑ หญิงที่พระราชาทรงหวงแหน ๑ หญิงที่อยู่เป็นภรรยาด้วยเห็นแก่เครื่องนุ่งห่ม ๑ หญิงที่ถูกจับมือจุ่มลงในถาดน้ำแล้วได้รับพรว่า เจ้าทั้ง ๒ จงอย่าแตกกันเหมือนกับน้ำ อันได้แก่หญิงที่เข้าพิธีแต่งงานแล้วแต่ยังไม่ได้ส่งตัว ๑ หญิงที่บุรุษสวมพวงมาลัยให้ด้วยหมายใจจะไปสู่ขอมาเป็นภรรยา ๑ หญิงที่เป็นทั้งทาสีทั้งภรรยา ๑ หญิงที่เป็นกรรมกรและภรรยา ๑ หญิงที่อยู่รวมกับบุรุษเพียงครู่เดียวซึ่งยังไม่แยกจากบุรุษนั้น ๑ รวมเป็นหญิง ๒๐ จำพวกด้วยกยันดังนี้ หญิง ๒๐ จำพวกนี้ตามหลักพระบาลีเรียกว่าเป็นภรรยาทั้งนั้น แต่ว่าเป็นภรรยาแท้ก็มี ไม่แท้ก็มี ที่เป็นภรรยาแท้นั้น คือเป็นภรรยาที่สมบูรณ์ถูกต้องตามกฎหมาย ได้แก่ หญิงที่มีอารักขา ๑ หญิงที่บุรุษไถ่มาด้วยทรัพย์ ๑ หญิงที่อยู่เป็นภรรยาด้วยความเต็มใจ ๑ หญิงที่เป็นภรรยาด้วยเห็นแก่ทรัพย์สมบัติ ๑ หญิงที่อยู่เป็นภรรยาด้วยความเต็มใจ ๑ หญิงที่เป็นภรรยาด้วยเห็นแก่ทรัพย์สมบัติ ๑ หญิงที่อยู่เป็นภรรยาด้วยเห็นแก่เครื่องนุ่งห่ม ๑ หญิงที่เข้าพิธีแต่งงานแล้วแต่ยังไม่ได้ส่งตัว ๑ หญิงที่บุรุษสวมพวงมาลัยให้ ๑ หญิงที่เป็นทั้งทาสีทั้งภรรยา ๑ หญิงที่เป็นทั้งกรรมกรทั้งภรรยา ๑ หญิงที่เสนานำมาด้วยธงเพื่อจะให้เป็นภรรยา ๑ หญิงที่อยู่ร่วมกับบุรุษเพียงครู่เดียวแต่ยังไม่แยกจากบุรุษนั้น ๑ รวมเป็น ๑๒ จำพวกด้วยกัน ทั้ง ๑๒ จำพวกนี้จัดเป็นภรรยาแท้ แต่ยังไม่แท้เท่าจำพวกมีอารักขาคือจำพวกที่มีสามีแล้ว ส่วนหญิงอีก ๘ จำพวกข้างต้น คือหญิงที่มารดาปกครอง หญิงที่บิดาปกครอง หญิงที่มารดา บิดาปกครอง หญิงที่พี่ชายน้องชายปกครอง หญิงที่พี่หญิงน้องหญิงปกครอง หญิงที่มีโคตรวงศ์ปกครอง หญิงที่ธรรมะปกครองเหล่านี้ยังเป็นภรรยาไม้แกท้ คือยังไม่เป็นภรรยาสมบูรณ์ ในภาษาของเราเรียกว่า ยังโสดอยู่ หญิงโสด ๗ จำพวกนี้ก็เป็นวัตถุแห่งกาเมสุมิจฉาจารเหมือนกันกับหญิง ๑๒ จำพวกเบื้องปลาย เพราะฉะนั้น การล่วงละเมิดสิทธิในหญิง ๒๐ จำพวกนี้ ไม่ว่าจะเป็นจำพวกใดจำพวกหนึ่ง ก็เป็นกาเมสุมิจฉาจารทั้งนั้น แต่หญิง ๘ จำพวกเบื้องต้นมีหญิงที่มารดาปกครองเป็นต้นร่วมรักกับชาย ไม่เป็นกาเมสุมิจฉาจาร ส่วนหญิง ๑๒ จำพวกเบื้องปลายมีหญิงที่มีอารักขาเป็นต้น เมื่อร่วมรักกับชายอื่น เป็นกาเมสุมิจฉาจารทั้งนั้น จะต้องได้บาปทั้งนั้นก็ถ้าอย่างนั้น ผู้ชายจะหาภรยาได้อย่างไร เพราะห้ามกระทั่งลูกเขาเสียแล้ว แก้ว่าได้ คือเมื่องจงใจหญิงใด ก็ให้ไปสู่ขอหญิงนั้น แล้วแต่งงานตามประเพณีกัน ไม่ให้ลอบรักกันเท่านั้น ถ้าอย่างนั้นเวลาเขาไปแอบพูดกัน จะเป็นกาเมสุมิจฉาจารหรือไม่ แก้ว่า เป็นบ้างเล็กน้อย คือเป็นในฐานที่พูดโดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้ปกครอง ไม่ใช่เป็นในฐานอื่น เมื่อพูดเป็นตกลงกันแล้วจึงสู่ขอต่อภายหลัง โทษที่ลักพูดกันนั้นก็เป็นอโหสิกรรมไปไม่ให้โทษอีกต่อไป บาป ๓ อย่างคือ ปาณาติบาต อทินนาทาน กาเมสุมิจฉาจาร ดังที่ว่ามานี้เป็นบาปที่ต้องกระทำด้วยกาย ส่วนบาปที่ต้องทำด้วยวาจานั้นมีอยู่ ๔ อย่าง คือการพูดเท็จ พูดหยาบคาย พูดส่อเสียด พูดสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ บาปที่ต้องทำด้วยใจนั้นมีอยู่ ๓ อย่าง คือ อภิชฌา การนึกอยากได้ของผู้อื่นว่า ขอให้ของนั้นเป็นของเรา ๑ พยาบาท การนึกปองร้ายผู้อื่น ๑ มิจฉาทิฏฐิ การเห็นผิดเป็นชอบ ๑ พระพุทธองค์ทรงสอนว่า เอเต ตโย กมฺมเถ วิโสธเย บุคคลควรกระทำกรรมบถ ๓ นี้ให้บริสุทธิ์ คือควรเว้นจากบาปทางกาย วาจา ใจ ดังนี้จึงจะเป็นการดี สิ้นเนื้อความในเทศนากัณฑ์นี้เพียงเท่านี้.


    เอวํ ก็มี ด้วยประการฉะนี้ฯ


    จากท่าน anand ผู้เอื้อเฟื้อพิมพ์
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 สิงหาคม 2011
  10. Numsai

    Numsai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    5,778
    ค่าพลัง:
    +87,677
    หัวข้อตกตัวหนังสือ "ร" ไปตัวหนึ่งหรือเปล่าคะ ตกลงอ่าน "เปต" หรือ "เปรต" คะ

    ขออนุโมทนาบุญค่ะ

    Numsai
     
  11. ยอดคะน้า

    ยอดคะน้า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 มกราคม 2010
    โพสต์:
    947
    ค่าพลัง:
    +710
    อนุโมทนาครับที่เข้ามาอ่าน

    ..................

    ผมเสนออย่างนี้ครับ

    เปต หากดูจากคำว่า " เปตานัง " รากฐานศัพย์ ที่นำมาจาก บาลี
    น่าจะ นำมาเพียงคำว่า เปต

    ทีนี้ พื้นฐาน ภาษาไทย มาจาก บาลีเช่นกัน ในคำผสมที่ออกมาเป็นภาษาไทย จึงมี รอเรือเข้ามาด้วย จึงสะกดว่า เปรต
     
  12. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,760
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    เกี่ยวกับปาก ทั้งนั้นเลย

    ถ้ากล่าวเท็จเพราะเจตนาปด
    จะยังดี...กว่าที่กล่าวเท็จแล้วคิดว่าจริงรึเปล่านะ
    เพราะอาจหมดทางเยียวยา กลัวไปนรกแบบไม่รู้เรื่องด้วย
    ก็แค่สงสัย... หนอ
     
  13. ชุนชิว

    ชุนชิว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    722
    ค่าพลัง:
    +780
    คัมภีร์ขุททกนิกาย เปตวัตถุ ก็บอกเอาไว้แล้วนี่ครับ พระธรรมถึกตกนรก ส่วนพระเถระสององค์นั้น เพียงเสียใจแล้วก็ปรับความเข้าใจกันได้ในที่สุด เพราะความจริงต้องปรากฏในไม่ช้าอย่างแน่นอน

    การโกหกนั้นเจตนามากก็ผิดมาก ถ้าไม่เจตนาก็ไม่ผิดหรือผิดก็น้อยหน่อย ขึ้นอยู่กับว่าใครเสียประโยชน์ ใครได้ประโยชน์มากน้อยแค่ไหน ใครเดือดร้อนมากน้อยแค่ไหนด้วย เช่น ถ้ามีคนมายืมตังค์ แล้วเรารู้แน่ว่าให้ยืมไปก็คงไม่ได้คืนแน่ๆ เราบอกว่าไม่มี เรารักษาประโยชน์ของเราเองก็ไม่ผิดหรือผิดน้อยนิดเดียว หรือถ้าเรารู้เรื่องอะไรแต่ถ้าพูดออกไปอาจจะเป็นอันตรายต่อตัวเราเอง ใครถามเราก็บอกว่าไม่รู้ ก็ไม่ผิดหรือผิดก็น้อย อาการปดเกี่ยวกับการพูดไม่ตรงกับใจ หรือความเผ็ดร้อนในใจด้วยนะครับ
     
  14. ฝันนิมิต

    ฝันนิมิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    467
    ค่าพลัง:
    +547
    หงะ ผู้ที่มีอายุ เดี่ยวมาจัดการให้ ต้องเรียกว่า ผู้ที่ สายตาสั่น ตะหาก ง้อ
     
  15. Jubb

    Jubb เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    1,267
    ค่าพลัง:
    +2,134
    ช่วงนี้ขี้จุ๊บ่อยด้วย[​IMG]
     
  16. ยอดคะน้า

    ยอดคะน้า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 มกราคม 2010
    โพสต์:
    947
    ค่าพลัง:
    +710
    กัณฑ์ที่ ๕



    คัมภีร์ขุททกนิกาย เปตวัตถุ
    <O:p



    ว่าด้วยเรื่องเปรตงูเหลือม
    <O:p


    อถ ปาปานิ กมฺมานีติ อิมฺ ธมฺมเทสานํ สตฺถา เวฬุวเน วิหรนฺโต อชครเปตํ อารภพฺ กเถสีติ.


    <O:p</O:p
    ณ บัดนี้ อาตมภาพจักได้แสดงพระไตรปิฎกเทศนา มหาวิตถารนัยคัมภีร์ขุททกนิกาย เปตวัตถุ กัณฑ์ที่ ๕ ว่าด้วยเรื่องเปรตงูเหลือม สืบต่อไปเพื่อให้เป็นประโยชน์แก่พระพุทธศาสนา และพุทธศาสนิกชนทั้งหลายตลอดกาลนาน


    <O:pอรรถกถา


    <O:pดำเนินความตามอรรถกถาแห่งพระธรรมบทว่า เมื่อสมเด็จพระบรมศาสดาประทับอยู่ที่พระเวฬุวันได้ทรงปรารภเปรตรงูเหลือมให้เป็นต้นเหตุ จึงได้ตรัสเทศนาพระธรรมเทศนานี้ว่า อถ ปาปานิ กมฺมานิ เป็นต้นแก่ประชุมชนทั้งหลายตามสมควรแก่เวลา


    <O:pมีเรื่องพิสดารมาว่า คราวหนึ่งเมื่อพระมหาโมคคัลลานเถรเจ้าลงจากภูกเขาคิชฌกูฏพร้อมกับพระลักขณเถรเจ้า ก็ได้เห็นเปรตงูเหลือตัวหนึ่งซึ่งมีตัวยาวได้ ๒๕ โยชน์ ด้วยทิพพจักษูฯ มีเปลวไฟพลุ่งขึ้นจากศีรษะของเปรตงูเหลืมนั้นลามไปตลอดหาง พลุ่งขึ้นจากหางลามไปตลอดศีรษะพลุ่งขึ้นจากข้างทั้ง ๒ ไปรวมลงในกลางตัวฯ ครั้นพระเถรเจ้าได้เห็นเปรตงูเหลือมนั้นแล้ว ก็ได้ยิ้มขึ้น เวลาพระลักขณเถรเจ้าถามถึงเหตุที่ยิ้ม ก็ตอบว่า เวลานี้ไม่ใช่เวลาแก้ปัญหานี้ ขอให้ท่านถามข้าพเจ้าในที่ใกล้พระศาสดาว่าดังนี้แล้ว ก็พากันไปเที่ยวบิณฑบาตในกรุงราชคฤห์ พอกลับจากบิณฑบาตแล้วไปเฝ้าองค์พระศาสดา พระลักขณเถรเจ้าจึงถามขึ้น แล้วจึงตอบว่า ข้าพเจ้าได้เห็นเปรตตนหนึ่งในที่นั้น เปรตตนนั้นเป็นเปรตงูเหลือม มีตัวยาว ๒๕ โยชน์ มีเปลวไฟพลุ่งขึ้นจากศีรษะถึงหาง พลุ่งจากหางจรดศีรษะ พลุ่งจากข้างทั้ง ๒ ไปรวมในตัวกลาง ครั้นข้าพเจ้าเห็นแล้วจึงยิ้มขึ้นด้วยคิดว่า ร่างกายเช่นนี้เราไม่เคยเห็น ฯ เมื่อพระมหาโมคคัลลาน์ว่าดังนี้แล้ว พระพุทธองค์จึงตรัสว่า สาวกทั้งหลายของราย่อมเป็นผู้มีจักษุ แล้วตรัสยืนยันตามถ้อยคำของพระเถรเจ้าว่า เปรตตนนั้นเราก็ได้เห็นแล้ว แต่ในเวลาเราอยู่ที่บริเวณไม้ศรีมหาโพธิ แต่เราไม่ได้พูดเพราะเห็นว่าพวกใดไม่เชื่อถ้อยคำของเรา พวกนั้นก็จักได้รับโทษทุกขภัยในบัดนี้ เราได้โมคคัลาน์เป็นพยานแล้วจึงได้พูด เวลาภิกษุทั้งหลายทูลถามถึงบุพพกรรมของเปรตนั้น จึงได้ทรงแสดงให้ฟังว่า ในครั้งพระกัสสปพุทธเจ้าโน้น มีเศรษฐีคนหนึ่งชื่อว่าสุมังคลเศรษฐี ได้ปูพื้นดินด้วยอิฐทองคำแล้วให้สร้างวิหารด้วยทรัรพย์อีกเป็นจำนวนมาก ในที่กว้างยาวได้ ๒๐ อสุภ แล้วให้ฉลองวิหารด้วยทรัพย์อีกเป็นจำนวนมากฯ เช้าวันหนึ่งเมื่อสุมังคลเศรษฐีนั้นจะไปเฝ้าพระศาสดา ได้เห็นโจรคนหนึ่งนอนคลุมศีรษะอยู่ในศาลาหลังหนึ่ง มีเท้าเปื้อนโคลนจึงว่า บุรุษที่เท้าเปื้อนโคลนเลนจักเป็นบุรุษที่เที่ยวกลางคืนแล้วมานอนในกลางวันฯ โจรนั้นเปิดผ้าคลุมหน้าออกก็ได้เห็นเศรษฐี จึงผูกอาฆาตว่าเราจักแก้แค้นให้ได้ แล้วจึงเผานาเศรษฐีถึง ๗ ครั้ง ตัดเท้าฝูงโคในคอก ๗ ครั้ง เผาเรือน ๗ ครั้งฯ ถึงอย่างนั้นก็ดี โจรนั้นก็ยังไม่อาจทำความโกรธให้ดับได้จึงไปตีสนิทกับคนใช้เศรษฐีถามว่า สิ่งใดเป็นที่รักของเศรษฐี ได้รับคำตอบว่า สิ่งอื่นจะเป็นที่รักของเศรษฐียิ่งไปกว่าพระคันธกุฎีไม่มี โจรนั้นจึงคิดว่า เอาละ เราจะเผาพระคันธกุฎีให้หมดคามโกรธของเราให้ได้ เมื่อพระกัสสปพุทธเจ้ากับเหล่าพระภิกษุสงฆ์เสด็จเข้าไปบิณฑบาต เขาก็ไปทุบต่อยหม้อน้ำเสียสิ้น แล้วเผาพระคันธกุฎีฯ เศรษฐีได้ทราบว่าไฟไหม้พระคันธกุฎีก็รีบมา พอมาเห็นพระคันธกุฎีถูกไฟไหม้ก็ไม่เสียใจแม้เพียงเล็กน้อย มีแต่ดีใจตบมือฯ พวกที่ยืนอยู่ใกล้จึงถามว่า ท่านเศรษฐีสละทรัพย์ออกสร้างพระคันธกุฎีมากมาย เมื่อพระคันธกุฎีถูกไฟไฟม้เหตุไรจึงตบมือดีใจฯ เศรษฐีตอบว่า เพราะเราได้ฝังทรัพย์ไว้ในพระพุทธศาสนาอันไม่ทั่วไปแก่อัคคีภัยเป็นต้นไว้เป็นอันมากแล้ว ยังจักได้สละทรัพย์ออกสร้างพระคันธกุฎีอีก เรานึกดีใจอย่างนี้เราจึงได้ตบมือฯ เศรษฐีนั้นก็ได้สละทรัพย์เท่าเดิมออกสร้างพระคันธกุฎีอีก แล้วได้ถวายทานแก่องค์พระศาสดา พร้อมทั้งภิกษุ ๒ หมื่นองค์ฯ โจรได้เห็นดังนั้นจึงคิดว่า ถ้าเราจักไม่ฆ่าเศรษฐีนี้ เราก็จักไม่อาจที่จะงดความโกรธได้ เราจะฆ่าเศรษฐีนี้ให้ได้ คิดดังนี้แล้วจึงผูกกริชไว้ในผ้านุ่ง เที่ยวไปมาอยู่ในวิหารตลอด ๗ วันแต่ไม่มีโอกาส ฝ่ายมหาเศรษฐีถวายทานแก่พระภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธองค์เป็นประธานอยู่ตลอด ๗ วันแล้ว จึงกราบทูลขึ้นว่า มีบุรุษคนหนึ่งได้เผานาข้าพระองค์ถึง ๗ ครั้ง ได้ตัดเท้าโคในคอกถึง ๗ ครั้ง ได้เผาเรือนข้าพระองค์ถึง ๗ ครั้ง ครั้งนี้ผู้ที่เผาพระคันธกุฎีก็เห็นจะเป็นบุรุษนั้น ข้าพระองค์ขอยกส่วนบุญในคราวนี้ให้แก่บุรุษนั้นก่อนผู้อื่น พระเจ้าข้า พอโจรนั้นได้ฟังดังนี้ก็คิดว่า เราได้ทำกรรมอันหนักเสียแล้ว เราทำความผิดถึงเพียงนี้ เศรษฐีนี้ยังไม่มีความโกรธแก่เราเลย ยังแบ่งส่วนบุญให้แก่เราก่อนผู้อื่น เราได้ประทุษร้ายเศรษฐีนี้แล้ว เมื่อเราไม่ให้เศรษฐีนี้ยกโทษให้ฟ้าจะต้องผ่าศีรษะเราเป็นแน่ คิดดังนี้แล้ว จึงหมอบลงในที่ใกล้เท้าเศรษฐีกล่าวว่า ข้าแต่นาย ขอนายจงอดโทษให้แก่ช้าพเจ้าด้วยเถิด เมื่อเศรษฐีถามว่า จะให้เราอดโทษเรื่องอะไร ก็เล่าเรื่องให้ฟังดังแสดงมาแล้วนั้นฯ ลำดับนั้น เศรษฐีจึงถามได้ทราบเรื่องทั้งปวงตลอดแล้ว จึงว่าเราไม่เคยเห็นเธอเลย เพราะเหตุใดเธอจึงโกรธเราถึงกับทำแก่เราอย่างนี้ฯ โจรนั้นก็ให้เศรษฐีระลึกถึงถ้อยคำ ซึ่งเศรษฐีผู้ออกจากเมืองได้พูดไว้ในวันหนึ่งแล้วบอกว่า ข้าพเจ้าโกรธท่านด้วยเหตุอันนั้นฯ เศรษฐีก็ระลึกได้ถึงถ้อยคำที่ตนได้พูด จึงขอโทษโจรนั้นว่า เราได้พูดอย่างนั้นจริง เธอจงอดโทษให้เราด้วย แล้วบอกว่าลุกขึ้นเถิด เราอดโทษให้เธอแล้ว เธอจงไปฯ โจรจึงว่า ถ้าท่านอดโทษให้แก่ข้าพเจ้าแล้ว ขอท่านจงทำข้าพเจ้าพร้อมทั้งบุตรภรรยาให้เป็นทาสอยู่ในเรือนของท่านฯ เศรษฐีตอบว่า เพียงแต่เรากล่าวเท่านั้น เธอยังทำความเสียหายให้เราถึงเพียงนี้ เมื่อเธอไปอยู่ที่บ้านของเรา เราไม่อาจจะพูดอะไรกับเธอได้ เราไม่ต้องการที่จะให้เธออยู่ในบ้านของเรา แต่เราอดโทษให้เธอ เธอจงไปเถิด โจรนั้นได้ไปตกอเวจีนรกอยู่ตลอดกาลนาน แล้วมาเกิดเป็นเปรตงูเหลือมอยู่ที่ภูเขาคิชฌกูฏด้วยเศษบาปกรรมเหล่านั้น



    <O:pครั้นพระพุทธองค์ทรงแสดงบุพพกรรมของเปรตงูเหลือมนั้น จบลงอย่างนี้แล้วจึงตรัสว่า ธรรมดาคนพาลเมื่อทำบาปกรรมย่อมไม่รู้สึก ต่อเมื่อถูกบาปกรรมเผาจึงรู้สึกตัวว่า ตัวได้ทำบาปกรรมที่ไม่ดีไว้ บาปกรรมที่ไม่ดีของตัวย่อมเป็นเหมือนกับเปลวไฟ ครั้นตรัสดังนี้แล้ว จึงได้ตรัสต่อไปว่า อถ ปาปานิ กมฺมานิ เป็นต้น ซึ่งมีเนื้อความว่า คนพาลที่กระทำบาปกรรมย่อมไม่รู้สึกตัว คนพาลย่อมเดือดร้อนด้วยกรรมของตนเหมือนกับถูกไฟไหม้ ดังนี้ฯ ในคำเหลานี้มีคำอธิบายว่า ไม่ใช่แต่คนพาลจะทำบาปด้วยอำนาจความโกรธอย่างเดียวเท่านั้น ถึงเมื่อคนพาลทำบาป ก็ย่อมไม่รู้สึกตัวว่า เราทำบาป คือไม่รู้สึกว่า บาปที่เราทำนี้จะมีผลเช่นไร คนพาลคือคนไม่มีปัญญา ต้องเดือดร้อนด้วยกรรมของตน คือ ต้องตกนรกอยู่ตลอดกาลนาน ดังนี้ เมื่อจบเทศนานี้ลง บุคคลเป็นอันมากก็ได้สำเร็จมรรคผลตามวาสนาบารมีของตน เป็นอันว่า จบเรื่องเปรตงูเหลือมเพียงเท่านี้.


    <O:pขอท่านผู้ฟังทั้งหลายจงเข้าใจเถิดว่า การที่เปรตงูเหลือมจะมีเปลวไฟไหม้อยู่เป็นนิจดังที่แสดงมาแล้วนั้น ก็เพราะเมื่อชาติก่อนโน้นเปรตงูเหลือมนั้นได้เผาไร่นาบ้านเรือนของเศรษฐี ทั้งได้เผาพระคันธกุฎีที่เศรษฐีได้สร้างไว้ดังที่แสดงมา เพราะฉะนั้น ขอท่านทั้งหลายจงจำไว้ว่าขึ้นชื่อว่าบาปกรรมแล้วเป็นของไม่ควรทำทั้งนั้นเพราะเมื่อผู้ใดทำบาปกรรมไว้แล้ว ผู้นั้นย่อมได้รับความทุกข์ตลอดกาลนาน เวลาตายไปแล้วต้องไปตกนรก เวลาพ้นจากนรกต้องมาเกิดเป็นเปรต พ้นจากเปรตต้องมาเกิดเป็นสัตว์ดิรัจฉาน พ้นจากสัตว์เดรัจฉานต้องมาเกิดเป็นคนพิการ เป็นคนยากไร้เข็ญใจอีกหลายร้อยชาติ ทั้งจงจำไว้ว่า ความโลภ ความโกรธ ความหลงนี้แหละเป็นต้นเหตุให้ทำบาปกรรม เพราะฉะนั้น เมื่อมีความโลภ หรือความโกรธ ความหลงอย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้นในใจแล้ว จงอย่าทำสิ่งใด ต้องรอให้หายความโลภ ความโกรธ ความหลง นั้นเสียก่อนจึงกระทำ เพราะถ้าทำในเวลาโลภ โกรธ หลงย่อมผิดมากกว่าถูกด้วยเหตุว่า ในขณะที่คนเราโลภ โกรธ หลงนั้น ย่อมคิดเห็นผิดเป็นถูกทั้งนั้น คิดเห็นชั่วเป็นดี ในเวลาเกิดความโลภ หรือความโกรธ ความหลงขึ้นแล้วจงพยายามละความโลภ ความโกรธ ความหลง นั้นเสียด้วยอุบายอย่างใดอย่างหนึ่ง มีการพยายามลืมเรื่องที่ให้โลภ ให้โกรธ ให้หลงนั้นเสียเป็นต้น เมื่อหายโลภ โกรธ หลง แล้วจึงทำ พูดคิด สิ่งใดสิ่งหนึ่งต่อไป องค์พระจอมไตรศาสดาได้โปรดประทานเทศนาไว้ในมลสุตตบาลี วรรคที่ ๔ แห่งติกนิบาตร ในคัมภีร์อิติวุตตกะว่า อนตฺถชนโน โลโภ โลโภ จิตฺตปฺปโกปโน เป็นต้น แปลตามพระพุทธนิพนธภาษิตว่า โลภะ ทำให้เกิดสิ่งไม่มีประโยชน์แก่ตนและคนอื่น โลภะทำให้จิตกำเริบ โลภะเกิดขึ้นในใจเป็นภัยภายใน แต่คนไม่รู้สึกว่าเป็นพัยภายใน ผู้เกิดโลภะแล้วย่อมไม่รู้จักประโยชน์ตนประโยชน์ผู้อื่น ไม่แลเห็นสิ่งที่เป็นธรรม โลภะครอบงำเวลาใด ความมืดย่อมมีในเวลานั้นฯ โทสะเป็นของทำให้เกิดสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ตนและคนอื่น โทสะทำให้จิตกำรเบ โทสะเป็นภัยภายใน แต่คนไม่รู้สึก ผู้เกิดโทสะแล้วย่อมไม่รู้จักประโยชน์ตนประโยชน์ผู้อื่น ผู้เกิดโทสะแล้วย่อมไม่เห็นธรรม โทสะครอบงำในเวลาใด ย่อมเกิดความมืดในเวลานั้นฯ โมหะทำให้จิตให้กำเริบ โมหะเป็นภัยภายในแต่คนไม่รู้สึก ผู้เกิดโมหะแล้วย่อมไม่รู้จักประโยชน์ตนและประโยชน์ผู้อื่น ผู้เกิดโมหะแล้วย่อมไม่เห็นธรรม โมหะครอบงำในเวลาใด ความมืดก็เกิดขึ้นในเวลานั้นดังนี้


    <O:pในอรรถกถาว่า คำว่า ให้เกิดสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ตนและประโยชน์คนอื่นนั้น คือให้เกิดความเสียหายแก่ตนและคนอื่น คำว่า ทำจิตให้กำเริบนั้น คือทำจิตให้เสียไป ให้เปลี่ยนแปลงไปไม่ให้เป็นปกติ คำว่า เป็นภัยภายในนั้น คือเป็นภัยในจิตของตน คำว่า คนไม่รู้สึกนั้นคือ คนที่เป็นพาลย่อมไม่รู้สึกว่า โลภะ โทสะ โมหะ เป็นภัยภายใน คือเป็นต้นเหตุให้เกิดความเสียหาย เป็นของทำให้จิตใจกำเริบ คำว่า ไม่เห็นธรรมนั้น คือเพียงแต่กุศลกรรมบถ ๑๐ ประการ มีการงดเว้นจากปาณาติบาตเป็นต้น ก็คิดไม่เห็น ไม่ต้องพูดถึงธรรมอันสูงยิ่งกว่านั้น คำว่า เกิดความมืดนั้น ได้แก่เกิดความืดในใจ เพราะฉะนั้น บุคคลจึงควรละโลภะ โทสะ โมหะ ให้ได้เป็นคราวๆ ไป ผู้ใดละไม่ได้ ผู้นั้นย่อมได้รับทุกข์เหมือนกับบุตรช่างกัลบก และทุฏฐกุมารเป็นต้น ดังจักยกมาแสดงต่อไป


    <O:pเวสาลิยํ เอโก นหาปิโต สทฺโธ กล่าวคือ ในอรรถกถาแห่งสิคาลชาดกวรรคที่ ๑ แห่งทุกนิบาตว่า ที่เมืองเวสาลีมีช่างกัลบก คือช่างตัดผมผู้หนึ่งเป็นผู้มีศรัทธา มีความเลื่อมใสนับถือพระรัตนตรัย มีศีล ๕ ประจำตัว ได้ทำหน้าที่ตัดผมโกนหนวดให้แก่พระราชาและข้าราชสำนักเป็นต้น อยู่มาวันหนึ่ง ช่างกัลบกนั้นได้พาบุตรของตนเข้าไปในพระราชวัง บุตรนั้นได้ไปเห็นเจ้าหญิงลิจฉวีองค์หนึ่ง ซึ่งเปรียบเหมือนกับนางเทพธิดาประดับประดาพระกายเป็นอันดีในพระราชวังนั้น ก็มีจิตรักใคร่ด้วยกิเลส เวลากลับไปถึงนิเวศน์ของตนแล้ว ก็ไปนอนอดอาหารอยู่ด้วยคิดว่า เมื่อตายเราได้เจ้าหญิงนั้นเราก็จะมีชีวิตอยู่ต่อไป เมื่อเราไม่ได้ เราก็จะต้องในที่นี้ ลำดับนั้น บิดาก็ไปว่ากล่าวสั่งสอนว่า ลูกเอ๋ย เจ้าอย่าได้รักใคร่พอใจให้เกินฐานะไปเลย เพราะเราเป็นคนตระกูลต่ำช้า เจ้าเพียงแต่เป็นบุตรของช่างตัดผมเท่านั้น เจ้าหญิงลิจฉวีทั้งหลาย ล้วนแต่เป็นผู้มีตระกูลสูง เจ้าหญิงนั้นไม่สมควรแก่เจ้าเลย บิดาจักหากุมาริกาอื่น ซึ่งมีชาติตระกูลเสมอกันกับเรามาให้กับเจ้า แต่บุตรนั้นไม่เชื่อฟังคำของบิดาไม่อาจละความรักนั้นได้แม้เพียงชั่วครู่ชั่วคราว ปล่อยให้ความรักนั้นเผาใจให้เหือดแห้งตายไป ดังนี้


    <O:pเรื่องทุฏฐกุมารนั้น มีในอรรถกถาแห่งธรรมธชชาดก วรรคที่ ๗ ทุกนิบาตว่า ในอดีตกาลล่วงมาแล้ว มีพระราชาพระองค์หนึ่งทรงพระนามว่า พระเจ้ากิตวาส พระองค์มีพระราชโอรสอยู่พระองค์หนึ่งทรงพระนามว่าทุฏฐกุมาร ในเวลาที่พระราชโอรสประสูตินั้น พวกทายพระลักษณะได้กราบทูลว่า พระราชโอรสองค์นี้จักสิ้นพระชนม์เพราะไม่ได้เสวยน้ำ พระเจ้ากิตวาสทรงกลัวพระราชโอรสจะสิ้นพระชนม์ เพราะไม่ได้เสวยน้ำตามคำทำนาย จึงโปรดให้สร้างสระโบกขรณีทั้งหลายลงที่ประตูพระนครทั้ง ๓ และภายในพระนครตลอดไปในที่ทั้งปวง โปรดให้ตั้งตุ่มน้ำไว้ในประรำต่างๆ มีถนน ๔ แพร่งเป็นต้น เมื่อพระราชโอรสทรงพระเจริญวัยแล้ว ก็โปรดตั้งให้เป็นอุปราช อยู่มาวันหนึ่ง เมื่ออุปราชนั้นออกไปเที่ยวสวนแต่เช้า ก็ได้พบพระปัจเจกพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งในระหว่างมรรคา ฝ่ายมหาชนได้เห็นพระปัจเจกพุทธเจ้าแล้ว ก็กราบไหว้สรรเสริญ บ้างก็ยกมือไหว้ด้วยความเลื่อมใส อุปราชนั้นก็นึกน้อยใจว่า พวกนี้มากับผู้เช่นเรายังมากราบไหว้สรรเสริญสมณะศีรษะโล้นนี้ได้ จึงลงจากช้างไปแย่งเอาบาตรของพระปัจเจกพุทธจ้ามาฟาดลงกับพื้นดิน ขยี้ด้วยเท้าให้แตกกระจายไปพร้อมทั้งข้าวในบาตร พระปัจเจกพุทธเจ้าได้ทอดพระเนตรดูหน้าของอุปราชนั้นด้วยดำริว่า ผู้นี้พินาศเสียแล้ว ทุฏฐกุมารจึงว่า เราเป็นทุฏฐกุมาร เป็นโอรสของพระเจ้ากิตวาส ท่านโกรธแก่เรา มองหน้าเราแล้วก็จะทำอะไรแก่เราได้ พระปัจเจกพุทธเจ้าขาดอาหารแล้ว ก็เหาะกลับไปสู่เงื้อมภูเขานันทมูลกะในป่าหิมพานต์ ในทันใดนั้นเอง บาปกรรมของอุปราชนั้น ก็ให้ผลมีความร้อนรนเกิดขึ้นทั่วตัว แล้วล้มลงกับพื้นดิน น้ำทั้งสิ้นไม่ว่าอยู่ในแห่งหนตำบลใด จนกระทั่งน้ำในเหมืองก็แห้งไปสิ้น เมื่ออุปราชนั้นไม่ได้ดื่มน้ำก็ตายไปตกอเวจีนรก เป็นอันว่าคนพาลที่ลุ่มหลงด้วยโมหะ ขัดแค้นด้วย โทสะ โกรธต่อผู้ที่ไม่ควรโกรธ ย่อมได้รับโทษทุกขภัยใหญ่หลวง เหมือนกับทุฏฐกุมารนี้ ดังนี้ เพราะฉะนั้นจึงควรที่คนทั้งหลายอย่าให้โลภะ โทสะ โมหะ ครอบงำจิตใจ อย่าให้เป็นดังบุตรของช่างตัดผม และทุฏฐกุมาร กับเปรตงูเหลือม ซึ่งได้แสดงมาแล้วในเบื้องต้นนั้นเป็นอันขาด เพื่อจะได้ไม่แคล้วคลาดจากประโยชน์สุขในมนุษย์และสวรรค์ สิ้นเนื้อความที่ควรพรรณนาในเทศนากัณฑ์นี้เพียงเท่านี้.




    <O:pเอวํ ก็มี ด้วยประการฉะนี้ฯ



    จากท่าน anand ผู้เอื้อเฟื้อพิมพ์<!-- google_ad_section_end -->
     
  17. <Q>

    <Q> Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 เมษายน 2011
    โพสต์:
    1,907
    ค่าพลัง:
    +80
    ขอบคุณนะครับ ^^

    จิตเกิดโลภะได้ตลอดเวลา

    ส่งเสริมโลภะมากๆจนเป็นอาจินกรรม มีภพเปรตเป็นแดนเกิด

    :cool:
     
  18. ยอดคะน้า

    ยอดคะน้า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 มกราคม 2010
    โพสต์:
    947
    ค่าพลัง:
    +710
    ถูกจ้ะ เอาไว้เป็น อุทาหรณ์จ้ะ
    ต้องรู้จักใช้กิเลส ให้เป็นประโยชน์เน๊าะ^^
     
  19. <Q>

    <Q> Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 เมษายน 2011
    โพสต์:
    1,907
    ค่าพลัง:
    +80
    เห็นแต่ทุกข์
     
  20. Amoxcycol

    Amoxcycol Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    296
    ค่าพลัง:
    +65
    พี่เต้าเจี้ยว พี่ขวัญ ไม่มีอายตนะ เลยหรา ตอนเนี้ย:':)'(
     

แชร์หน้านี้

Loading...