เพื่อการกุศล :::(เปิดจอง)ล็อกเกตพระแก้วมรกต"ภูริทัตตเถรานุสรณ์-สมเด็จองค์ปฐมอมฤตศุภมงคลญาณสังวร":::

ในห้อง 'ตลาด พระเครื่องเพื่อการกุศล' ตั้งกระทู้โดย dekdelta2, 13 พฤศจิกายน 2009.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. TSKing

    TSKing Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2010
    โพสต์:
    146
    ค่าพลัง:
    +39
    update ถึงวันที่ 11 มิถุนายน 54
    1. หลวงปู่ศรี มหาวีโร วัดป่ากุง อ.ศรีสมเด็จ จ.ร้อยเอ็ด
    2. หลวงพ่อกิตติศักดิ์ วัดป่าหนองหลุบ อ.เมือง จ.ขอนแก่น
    3. หลวงปู่หนูเพชร วัดป่าภูมิพิทักษ์ อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร
    4. หลวงปู่เคน วัดป่าบ้านหนองหว้า อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร
     
  2. กระเบื้อง

    กระเบื้อง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 เมษายน 2009
    โพสต์:
    1,203
    ค่าพลัง:
    +600
    มีพี่ท่านไหนพอจะแบ่งฉากเขียวให้บูชา 1 องค์ บ้างไหมครับ
     
  3. พรหมประกาศิต

    พรหมประกาศิต ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    1,684
    ค่าพลัง:
    +13,541
    เว็บพลังจิตเดี้ยงไปหลายวันก็เลยไม่ค่อยได้เข้ามาติดตามกระทู้ต่างๆ แต่ก็ยังรอดูอยู่ครับ แบบเดียวกับของที่คุณวุฒิพงษ์สร้างต้องรอกันข้ามปีเลยทีเดียว
    ผมว่าถึงตอนนี้ก็คงจะสุดยอดแล้วครับ จะได้นำมาเลี่ยมขึ้นคอสักที ปกติผมไม่ค่อยได้แขวนพระสักเท่าไหร่ เพราะไม่ทราบว่าแต่ละองค์มีพุทธคุณอย่างไร
    ถ้าจับพลังพระได้อย่างอาม่าหรือท่านอื่นๆที่มีความสามารถได้บ้างก็คงจะดี
    จะได้ทราบว่าล็อคเก็ตนี้สุดยอดเพียงใด
     
  4. พรหมประกาศิต

    พรหมประกาศิต ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    1,684
    ค่าพลัง:
    +13,541
    ร่วมประมูลภาพถ่ายหลวงปู่บุญ เพื่อช่วยหาค่าใช้จ่ายด้วยครับ 999 บาท
     
  5. ไชยพันธุ์

    ไชยพันธุ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    251
    ค่าพลัง:
    +782
    ถ้าจัดงานพุทธาภิเษก ผมจองชุดกรรมการ 1 ชุดครับ
     
  6. TSKing

    TSKing Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2010
    โพสต์:
    146
    ค่าพลัง:
    +39
    Update วันที่ 12 มิถุนายน 2554
    1. หลวงปู่เนย วัดป่าโนนแสนคำ อ.เจริญศิลป์ จ.สกลนคร
    2. หลวงปู่โสภา วัดบูรพาภิรมย์ อ.เจริญศิลป์ จ.สกลนคร
    3. หลวงปู่ศูนย์ วัดป่าอิสระธรรม อ.อากาศอำนวย จ.สกลนคร
    4. หลวงปู่คำพันธ์ จันทูปโม วัดศรีวิชัย อ.ศรีสงคราม จ.นครพนม
    5. หลวงปู่เณรคำ ปัญญาพโล วัดป่าบ้านคำไฮ อ.ศรีสงคราม จ.นครพนม
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 13 มิถุนายน 2011
  7. dome_f

    dome_f เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    686
    ค่าพลัง:
    +2,107
    (good)(good)(good)(good)(good)(good)
     
  8. Fedor

    Fedor เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มกราคม 2010
    โพสต์:
    197
    ค่าพลัง:
    +112

    เป็นกำลังใจให้ท่าน Farrenและทีมงานทุกๆท่านนะครับ
     
  9. TSKing

    TSKing Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2010
    โพสต์:
    146
    ค่าพลัง:
    +39
    Update 13 มิถุนายน 2554

    1. หลวงปู่อว้าน เขมโก วัดป่านาคนิมิตต์ อ.โคกศรีสุพรรณ จ.สกลนคร
    2. หลวงปู่อ้ม สุขกาโม วัดป่าภูผาผึ้ง อ.ดงหลวง จ.มุกดาหาร
    3. หลวงปู่จาม มหาปุญโญ วัดป่าวิเวกวัฒนาราม อ.คำชะอี จ.มุกดาหาร
    4. หลวงปู่สิงห์ทอง ปภากโร วัดป่าสุนมราราม อ.เลิงนกทา จ.ยโสธร
     
  10. watjang2

    watjang2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 เมษายน 2008
    โพสต์:
    1,146
    ค่าพลัง:
    +5,013
    นับวันรอคอย
    พระ ที่ผ่านการอธิฐานจิต มากเป็นประวัติการณ์
     
  11. ลูกพ่อลิงดำ

    ลูกพ่อลิงดำ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    3,427
    ค่าพลัง:
    +13,558
    ครัั้้งนึ้ผมประทับใจมากๆเพราะพ่อแม่ครูอาจารย์ศรี อฐิธานจิตพระให้ด้วย น้อยคนนักที่ท่านจะเมตตา ขนาดลูกพี่ลูกน้องท่านทำวัตถุมงคลรุ่นหนึ่งเกือบโดนไล่ออกจากวัดมาแล้ว ขนาดหลวงปู่บุญเพ็ง กัปปโป ยังไม่กล้าแจกพระต่อหน้าท่านเลย ที่อ้างๆว่าหลวงปู่ศรีเสกก็ไม่มีใครถ่ายภาพเป็นพยานรุ่นนึ้กล้าพูดได้เต็มปากเต็มคำ เพราะมีรูปถ่ายยืนยัน ว่า ท่านเมตตาๆจริง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 14 มิถุนายน 2011
  12. dekdelta2

    dekdelta2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    5,702
    ค่าพลัง:
    +6,948
    UPDATE ล็อกเกตพระแก้วมรกต ผ่านการพุทธาภิเษกแล้วดังนี้


    พิธีพุทธาภิเษก-เทวาภิเษก-มังคลาภิเษก
    1. พิธีพุทธาภิเษกพระเจ้าตากสินมหาราช วัดอินทาราม วันที่ 15 พ.ย. 2552
    2. พิธีพุทธาภิเษก พญาวานร วัดบางพลีน้อย วันที่ 29 พ.ย. 2552
    3. พิธีพุทธาภิเษก วัดบางแคน้อย จ.สมุทรสงคราม วันที่ 6 ธ.ค. 2552
    4. พิธีพุทธาภิเษก วัดบวรสถานมงคล(อดีตวัดพระแก้ววังหน้า) วันที่ 19 ธ.ค. 2552
    5. พิธีเจริญพระพุทธมนต์ทำบุญครบรอบมรณภาพหลวงปู่หลุย จันทสาโร วันที่ 19 ธ.ค. 2552
    6. พิธีมหาพุทธาเษก "โครงการสร้างพระในใจ เทิดไท้องค์ราชันย์" วัดโฆสมังคลาราม จ.นครพนม วันที่ 26-28 ธ.ค. 2552
    7. พิธีสวดสักขีและเจริญพระพุทธมนต์จากพระสุปฏิปันโนสายวัดป่ากรรมฐาน 92 รูป วัดธรรมมงคล วันที่ 10 มกราคม 2553 (ด้วยความกรุณาอย่างหาที่สุดไม่ได้ของท่านพระอาจารย์ไม อินทสิริ ถือนำเข้าพิธี)
    8. พิธีพุทธาภิเษกวัตถุมงคลจัดสร้างโดยโรงพยาบาลภูมิพล ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2553
    9. พิธีสมโภชน์และพุทธาภิเษกหลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืด ณ วัดแคราชานุวาส จังหวัดพระนครศรีอยุธยา วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2553
    10. พิธีพุทธาภิเษก ที่วัดมหาวัน จังหวัดลำพูน ในวิหารโยงสายสิญจน์จากหน้าพระสิกขี(แม่พระรอด) วันที่ 26 มีนาคม 2553
    11. พิธีพุทธาภิเษกล็อกเกตพระแก้วมรกตภูริทัตตเถรานุสรณ์ วัดป่าสันติสามัคคีธรรม จังหวัดสุรินทร์ วันที่ 4 เมษายน 2553 พระเถราจารย์ที่เข้าร่วมพิธี

    - หลวงปู่ใสย ปัญญพโล วัดเขาถ้ำตำบล ประธานจุดเทียนชัย
    - หลวงตาเอียน วัดป่าโคกม่อน อริยเจ้าผู้เร้นกาย พระอาจารย์ของพระอาจารย์วัน อุตตโม ดับเทียนชัย
    - หลวงพ่อคูณ สุเมโธ วัดป่าภูทอง จ.อุดรธานี
    - พระอาจารย์ไม อินทสิริ
    - พระอาจารย์อุทัย วัดภูย่าอู่
    - หลวงปู่บุญมา วัดถ้ำโพงพาง จ.ชุมพร
    - พระอาจารย์แดง วัดลุมพินี จ.พังงา
    - หลวงปู่สุมโน วัดถ้ำสองตา
    - พระอธิการใจ วัดพระยาญาติ
    - หลวงปู่บุญมี วัดถ้ำเต่า
    ฯลฯ
    12. พิธีหล่อพระอัครสาวกและพระอรหันตสาวก วัดเขาวง(ถ้ำนารายณ์) อ.พระพุทธบาท จ.สระบุรี วันที่ 1 พ.ค. 2553 (เข้าพิธีเฉพาะพระปิดตาที่อุดหลัง)
    13. พิธีเจริญพระพุทธมนต์ในงานประจำปีของชมรมรักษ์พระธาตุแห่งประเทศไทย กรุงเทพฯ วันที่ 15 พฤษภาคม 2553
    14. พิธีพุทธาภิเษกวัตถุมงคลของวัดตาลเอน(วัดสาขาของวัดอัมพวัน สิงห์บุรี) จ.พระนครศรีอยุธยา วันที่ 20 ตุลาคม 2553
    15. พิธีพุทธาภิเษกพระกริ่งชินบัญชรเพ็ชรกลับเหนือโลกและเหรียญหล่ออจิณไตย หลวงปู่ละมัย ฐิตมโน ณ คณะเวฬุวัน อ.พยุห์ จ.ศรีษะเกษ วันที่ 6 พ.ย. 2553
    16. พิธีพุทธาภิเษกพระปิดตาเมตตามหาลาภ วัดทุ่งเศรษฐี วันที่ 21 พ.ย. 2553(วันลอยกระทง)
    พระพรหมสุธี วัดสระเกศ ประธานจุดเทียนชัย
    เจริญจิตตภาวนาโดย
    พ่อท่านเลิบ วัดทองตุ่มน้อย จ.ชุมพร
    หลวงปู่ครูบาสิงโต วัดดอยแก้ว จ.เชียงใหม่
    หลวงพ่อนพวรรณ วัดเสนานิมิต จ.อยุธยา
    ครูบาคำเป็ง อาศรมสุขาวดี จ.กำแพงเพชร
    หลวงพ่อทอง วัดไร่กล้วย จ.ชลบุรี
    หลวงพ่อพูนทรัพย์ วัดอ่างศิลา จ.ชลบุรี
    หลวงปู่ปั้น วัดนาดี จ.สระบุรี
    หลวงพ่อเหลือ วัดขอนชะโงก จ.สระบุรี
    หลวงพ่อบุญ วัดทุ่งเหียง จ.ชลบุรี
    หลวงพ่อเจริญ วัดเกาะอุทการาม จ.นครราชสีมา
    พระครูคัมภีร์ปัญญาวิกรม วัดอรุณฯ กรุงเทพฯ
    พระครูญาณวิรัช วัดตะกล่ำ กรุงเทพฯ
    หลวงพ่อชวน วัดบ้านบึงเก่า จ.บุรีรัมย์
    พระมหาเนื่อง วัดราษฎร์บำรุง จ.ชลบุรี
    หลวงพ่อเณร ญาณวินโย วัดทุ่งเศรษฐี กรุงเทพฯ

    17. พิธีพุทธาภิเษกพระพุทธรูป ณ เทศบาลตำบลสำโรงเหนือ วันที่ 4 ธันวาคม 2553 (หลวงพ่อชาญ วัดบางบ่อ จุดเทียนชัย หลวงพ่อฟู วัดบางสมัคร ดับเทียนชัย)

    18. พิธีสวดบูชานพเคราะห์และพุทธาภิเษกท้าวเวสสุวรรณ ณ วัดจุฬามณี ต.บางช้าง อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม วันที่ 26 ธันวาคม 2553 พระเกจิอาจารย์ที่เข้าร่วมพิธี

    ๑. หลวงปู่คง วัดเขากลิ้ง จ.เพชรบุรี
    ๒. หลวงพ่อชุบ วัดวังกระแจะ จ.กาญจนบุรี
    ๓. หลวงปู่ยวง วัดโพธิ์ศรี จ.ราชบุรี
    ๔. หลวงพ่ออุดม วัดประทุมคณาวาส จ.สมุทรสงคราม
    ๕. หลวงพ่ออวยพร วัดดอนยายหอม จ.นครปฐม
    ๖. หลวงพ่อไพศาล วัดทรงธรรมวรวิหาร จ.สมุทรปราการ
    ๗. หลวงพ่อผล วัดหนองแขม จ.เพชรบุรี
    ๘. หลวงพ่อชำนาญ วัดบางกุฎีทอง จ.ปทุมธานี
    ๙. หลวงพ่อสิริ สิริวฒฺฑโน
    ๑๐. หลวงพ่อเมียน จ.บุรีรัมย์
    ๑๑. หลวงพ่ออิฏฐ์ วัดจุฬามณี


    19. พิธีพุทธาภิเษกเหรียญครบรอบอายุ 93 ปี หลวงปู่หงษ์ พรหมปัญโญ วันที่ 13 มกราคม 2554

    20. พิธีพุทธาภิเษกพระสามสมัย วัดประดู่บางจาก กรุงเทพฯ วันที่ 26 มีนาคม 2554

    21. พิธีมหาพุทธาภิเษก พระเจ้าใหญ่ิอินทร์แปลงรุ่นมหาบารมีโชคดีปลอดภัย ที่วัดมหาวนาราม(วัดป่าใหญ่) ต่อหน้าพระเจ้าใหญ่อินทร์แปลง
    นั่งปรกโดย
    1.หลวงปู่คำบุ วัดกุดชมภู
    2.หลวงปู่ลี ถาวโร วัดผาสุการาม
    3.หลวงปู่อ่่อง วัดสิงหาญ
    4.หลวงพ่อบุญชู (ญาท่านเกษม) วัดเกษมสำราญ
    5.หลวงปู่คล้าย วัดบ้านกระเดียน
    6. หลวงปู่บุญรอด วัดกุดคูณ
    7. หลวงปู่เก่ง วัดกิตติราชเจริญศรี

    22. พิธีพุทธาภิเษกและสมโภชน์พระเจ้าใหญ่องค์หลวง วัดหลวง จ.อุบลราชธานี วันที่ 23 เมษายน 2554 (ฤกษ์เสาร์ห้า)

    1. หลวงปู่อ่อง วัดสิงหาญ
    2. หลวงปู่หนู วัดบ้านหนองหว้า
    3. หลวงปู่อำคา วัดบ้านตำแย
    4.หลวงปู่เส็ง วัดปราสาทเยอร์ใต้
    5. หลวงปู่บุญรอด วัดกุดคูณ
    6.พระสมุห์วิศิษฐ์ศักดิ์ กลฺยาโณ วัดบูรพา(ธ)
    7.ญาท่านเกษม วัดเกษมสำราญ
    8. หลวงปู่คำบุ วัดกุดชมพู
    9. พระราชธรรมโกศล (สวัสดิ์) วัดพระเจ้าใหญ่องค์ตื้อ
    10.พระราชธีราจารย์ (ศรีพร) วัดมณีวนาราม
    ฯลฯ
    ในการนี้เกิดเหตุการณ์พิเศษคือ พระเถระสำคัญของพม่าได้เดินทางมารับการถวายปริญญาพุทธศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมาศักดิ์ จึงมีการนิมนต์ท่านอธิษฐานจิตเป็นกรณีพิเศษกล่าวคือ
    1. พระสังฆนายกของสหภาพพม่า
    2. พระอาจารย์ภัททันตะ วังสะ ปาละ ลังการะตรีปิฏกะธร ตรีปิฎกโกวิทะ ตรีปิฎกะธรรมภัณฑาคาริกะ พระไตรปิฏกธรผู้จดจำพระไตรปิฎกได้ 84000 พระธรรมขันธ์

    23. งานพุทธาภิเษกวัตถุมงคลหลวงปู่ทิม อิสริโก ณ พิพิธภัณฑ์บุญญาภิรัต จ.ชลบุรี วันที่ 29 พฤษภาคม 2554*
    รายนามพระเถราจารย์นั่งปรกอธิษฐานจิต
    1. หลวงปู่นาม วัดน้อยชมพู่
    2. หลวงตาเร่ง วัดดงแขวน
    3. หลวงพ่อแผน วัดหนองติม(ศิษย์เอกหลวงปู่สุข วัดโพธิ์ทรายทอง)








    พิธีปลุกเสก/อธิษฐานจิตเดี่ยว
    เรียงตามวาระดังนี้
    1. พระใบฎีกายวง สุภัทโท วัดหน้าต่างใน อ.บางไทร จ.พระนครศรีอยุธยา
    2. พระครูสมบูรณ์จริยธรรม(แม้น) วัดหน้าต่างนอก อ.บางไทร จ.พระนครศรีอยุธยา
    3. พระครูประโชติธรรมวิจิตร(เพิ่ม) วัดป้อมแก้ว อ.บางไทร จ.พระนครศรีอยุธยา (2 วาระ)
    4. พระครูสุวรรณศีลาธิคุณ(พูน) วัดบ้านแพน อ.บางไทร จ.พระนครศรีอยุธยา
    5. พระมงคลนนทวุฒิ(เก๋) วัดปากน้ำ อ.เมือง จ.นนทบุรี
    6. พระครูเกษมวรกิจ(วิชัย) วัดถ้ำผาจม อ.แม่สาย จ.เชียงราย (2 วาระ)
    7. หลวงปู่คำบ่อ ฐิตปัญโญ วัดใหม่บ้านตาล อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร (2 วาระ)
    8. พระราชวรคุณ(สมศักดิ์) วัดบูรพาราม อ.เมือง จ.สุรินทร์
    9. พระครูอุดมธรรมสุนทร(แปลง) วัดป่าอุดมสมพร อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร (2 วาระ)
    10. หลวงปู่เณรคำ(วิรพล) ขันติโก วัดป่าขันติธรรม อ.กัณทรารมย์ จ.ศรีษะเกษ
    11. พระอาจารย์สุมโน วัดถ้ำสองตา อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา (2 วาระ)
    12. หลวงปู่เนย สมจิตโต วัดโนนแสนคำ อ.เจริญศิลป์ จ.สกลนคร (2 วาระ)
    13. หลวงปู่ผ่าน ปัญญาทีโป วัดป่าปทีปปุญญาราม อ.อากาศอำนวย จ.สกลนคร
    14. พระอาจารย์เจริญ ฐานยุตโต วัดโนนสว่าง อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี
    15. หลวงปู่ครูบาดวงดี ยติโก วัดวุฒิราษฏร์(บ้านฟ่อน) อ.หางดง จ.เชียงใหม่ (2 วาระ)
    16. พระครูศีลพิลาศ(จันทร์แก้ว) วัดศรีสว่าง(วัวลาย) อ.หางดง จ.เชียงใหม่ (2 วาระ)
    17. พระครูวิสุทธิศีลสังวร(สาย) วัดร้องขุด อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่
    18. หลวงปู่ดี ธัมมธีโร วัดเทพากร เขตบางพลัด กรุงเทพฯ (2 วาระ)
    19. พระครูปราสาทพรหมคุณ(หงษ์) สุสานทุ่งมน อ.ปราสาท จ.สุรินทร์
    20. พระครูไพบูลย์สิกขการ(หวาน) วัดสะบ้าย้อย อ.สะบ้าย้อย จ.สงขลา
    21. พระราชสังวรญาณ(ไพบูลย์) วัดอนาลโย อ.เมือง จ.พะเยา (2 วาระ)
    22. หลวงปู่บุญมา คัมภีรธโร วัดป่าสีห์พนม อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร (4 วาระ)
    23. พระครูวิมลภาวนคุณ(คูณ) วัดป่าภูทอง อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี (5 วาระ)
    24. หลวงพ่อเปรื่อง เขมปัญโญ วัดบางจาก อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี
    25. หลวงปู่โปร่ง ปัญญธโร วัดตำหนักเหนือ อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี
    26. หลวงปู่บุญฤทธิ์ ปัณฑิโต สวนอาหารสวนทิพย์ อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี
    27. พระครูปราโมทย์(อ้อน) วัดบางตะไนย์ อ.เมือง จ.ปทุมธานี
    28. หลวงพ่อสินธุ์ ฐิตาโก วัดสะพานสูง อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี
    29. หลวงตาวาส สีลเตโช วัดสะพานสูง อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี
    30. หลวงปู่อุดม ญาณรโต วัดป่าสถิตธรรมวนาราม อ.พรเจริญ จ.หนองคาย
    31. หลวงพ่อพระมหาวิบูลย์ วัดโพธิคุณ อ.แม่สอด จ.ตาก
    32. พระอาจารย์ประกอบบุญ สิริญาโณ วัดมหาวัน อ.เมือง จ.ลำพูน
    33. พระครูสุวรรณศาสนคุณ(นาม) วัดน้อยชมภู่ อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี (3 วาระ)
    34. พระครูวิบูลโพธิธรรม(น่วม) วัดโพธิ์ศรีเจริญ อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี
    35. หลวงพ่อมนตรี ขันติธัมโม วัดป่าวิสุทธิธรรม อ.บ่อไร จ.ตราด
    36. พระครูวิสิษฐ์ชโลปการ(เกลี้ยง) วัดเนินสุทธาวาส อ.เมือง จ.ชลบุรี (2 วาระ)
    37. หลวงตาแตงอ่อน กัลยาณธัมโม วัดป่าโชคไพศาล อ.วานรนิวาส จ.สกลนคร (2 วาระ)
    38. หลวงปู่วิไล เขมิโย วัดถ้ำพญาช้างเผือก อ.คอนสาร จ.ชัยภูมิ (4 วาระ)
    39. พระอาจารย์สมหมาย อัตตมโน วัดสันติกาวาส อ.ไชยวาน จ.อุดรธานี
    40. หลวงปู่สรวง สิริปุญโญ วัดศรีฐานใน อ.ป่าติ้ว จ.ยโสธร (2 วาระ)
    41. พระญาณสิทธาจารย์(ทองพูล) วัดสามัคคีอุปถัมป์(ภูกระแต) จ.บึงกาฬ
    42. หลวงปู่สำลี สุทธจิตโต วัดถ้ำคูหาวารี อ.วังสะพุง จ.เลย (2 วาระ)
    43. พระอาจารย์อุทัย สิริธโร วัดถ้ำพระภูวัว อ.เซกา จ.หนองคาย
    44. หลวงพ่อปริ่ง สิริจันโท วัดโพธิ์คอย อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี
    45. พระครูประสิทธิ์ อัคคธัมโม วัดโฆสมังคลาราม อ.ปลาปาก จ.นครพนม
    46. หลวงปู่ครูบาตั๋น ปัญโญ ที่พักสงฆ์ม่อนปู่อิ่น อ.ดอยหล่อ จ.เชียงใหม่(2 วาระ)
    47. พระครูถาวรศีลพรต(อินถา) วัดอินทราพิบูลย์ อ.หางดง จ.เชียงใหม่
    48. พระครูโสภณสารคุณ(บุญมา) วัดศิริชัยนิมิตร อ.แม่วาง จ.เชียงใหม่
    49. ครูบาบุญเป็ง คัมภีโร วัดทุ่งปูน อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่
    50. หลวงปู่ครูบาสิงห์แก้ว อัตถกาโม วัดปางกอง อ.แม่ออน จ.เชียงใหม่
    51. ครูบากฤษดา สุเมโธ วัดสันพระเจ้าแดง อ.บ้านธิ จ.ลำพูน
    52. หลวงปู่ครูบาบุญมา อนิญชิโต วัดบุปผาราม อ.เมือง จ.เชียงใหม่
    53. พระอุดมญาณโมลี(จันทร์ศรี) วัดโพธิสมภรณ์ อ.เมือง จ.อุดรธานี (อายุ 100 ปี)
    54. พระอาจารย์สมบูรณ์ กันตสีโล วัดป่าสมบูรณ์ธรรม อ.ชาติตระการ จ.พิษณุโลก
    55. พระครูสันติวรญาณ(อ่ำ) ธุดงคสถานสันติวรญาณ อ.วังโป่ง จ.เพชรบูรณ์
    56. พระครูกิตติอุดมญาณ(ไม) วัดป่าหนองช้างคาว อ.กู่แก้ว จ.อุดรธานี (3 วาระ)
    57. พระครูวิทิตศาสนกิจ(ไพโรจน์) สำนักสงฆ์ดอยปุย อ.เมือง จ.เชียงใหม่
    58. หลวงปู่ประสาร สุมโน วัดป่าหนองไคร้ อ.ป่าติ้ว จ.ยโสธร (2 วาระ)
    59. หลวงปู่ลี ถาวโร วัดป่าหนองทับเรือ อ.เนินมะปราง จ.พิษณุโลก (3 วาระ)
    60. พระเทพเจติยาจารย์(วิริยังค์) วัดธรรมมงคล เขตพระโขนง กรุงเทพฯ
    61. หลวงปู่บุญพิน กตปุญโญ วัดผาเทพนิมิต อ.นิคมน้ำอูน จ.สกลนคร
    62. พระราชสิทธิมงคล(สวัสดิ์) วัดศาลาปูนวรวิหาร อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา
    63. พระสุนทรธรรมานุวัตร(เอียด) วัดไผ่ล้อม อ.บางบาล จ.พระนครศรีอยุธยา (ปลุกเสกขณะเกิดสุริยุปราคาเมื่อวันที่ 15 มกราคม 2553)
    64. หลวงพ่อวงศ์ สุภาจาโร วัดคำพระองค์ กิ่ง อ.เฝ้าไร่ หนองคาย (2 วาระ)
    65. พระมงคลศีลจาร(ทองอินทร์) วัดกลางคลองสี่ อ.ลำลูกกา จ.ปทุมธานี
    66. พระครูโสภณพัฒนาภิรม(บุญ) วัดทุ่งเหียง อ.พนัสนิคม จ.ชลบุรี
    67. พระครูวิจิตรธรรมารัตน์(ขวัญชัย) วัดนามะตูม อ.พนัสนิคม จ.ชลบุรี
    68. พระธรรมสิงหบุราจารย์(จรัญ) วัดอัมพวัน อ.พรหมบุรี จ.สิงห์บุรี
    69. พระครูมงคลนวการ(ฉาบ) วัดศรีสาคร อ.พรหมบุรี จ.สิงห์บุรี
    70. หลวงพ่อเอิบ ฐิตตธัมโม วัดซุ้มกระต่าย (หนองหม้อแกง) อ.สรรพยา จ.ชัยนาท
    71. พระครูวิจิตรชยานุรักษ์(พร้า) วัดโคกดอกไม้ อ.สรรคบุรี จ.ชัยนาท
    72. พระครูปัญญาวิมล(แป๋ว) วัดดาวเรือง อ.บางระจัน จ.สิงห์บุรี
    73. หลวงปู่บุญหนา ธัมมทินโน วัดป่าโสตถิผล อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร
    74. พ่อท่านเอื้อม กตปุญโญ วัดสุวรรณจัตตุพลปัลนาราม(บางเนียน) อ.เชียรใหญ่ จ.นครศรีธรรมราช (อายุ 106 ปี)
    75. หลวงพ่อจำลอง เขมนัญโญ วัดเจดีย์แดง อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา
    76. พระครูอนุศาสน์กิจจาทร(เขียว) วัดห้วยเงาะ อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี
    77. หลวงปู่เยี่ยม(สีโรจน์ ปิยธัมโม) วัดประดู่ทรงธรรม<!-- google_ad_section_end --> อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา (2 วาระ)
    78. พระครูประจักษ์ธรรมพิจารณ์(ข่าย) วัดหมูเปิ้ง อ.เมือง จ.ลำพูน
    79. พระครูบวรสุขบท(สุข) วัดป่าซางน้อย อ.ป่าซาง จ.ลำพูน
    80. พระครูอรรถกิจจาธร(อุ่น) วัดโรงวัว อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่
    81. หลวงปู่ครูบาบุญทา ยติกาโร วัดเจดีย์สามยอด อ.ป่าซาง จ.ลำพูน
    82. พระครูโพธิโสภณ(ศรีวัย) วัดหนองเงือก อ.ป่าซาง จ.ลำพูน
    83. พระครูมงคลสาธุวัตร(ผาด) วัดบ้านกรวด จ.บุรีรัมย์ (2 วาระ) (อายุ 100 ปี)
    84. พระครูวิมลศีลาภรณ์(พูลทรัพย์) วัดอ่างศิลา อ.เมือง จ.ชลบุรี
    85. พระครูบวรชัยกิจ(ใสย) วัดเขาตำบล อ.ชัยบาดาล จ.ลพบุรี
    86. พระอาจารย์เจริญ ญาณวุฑโฒ วัดถ้ำปากเปียง อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ (2 วาระ)
    87. พระอาจารย์อุทัย ธัมมวโร วัดภูย่าอู่ อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี (2 วาระ)
    88. พระครูโฆสิตโชติธรรม(บุญลือ) วัดคำหยาด อ.โพธิ์ทอง จ.อ่างทอง (2 วาระ)
    89. หลวงปู่ผาด อภินันโท วัดไร่ อ.วิเศษไชยชาญ้ จ.อ่างทอง
    90. พระครูพิศิษฏ์รัตโนภาส(เสียน) วัดมะนาวหวาน อ.วิเศษไชยชาญ จ.อ่างทอง (2 วาระ)
    91. หลวงปู่เปรี่ยม อติภัทโท วัดบ้านคลองทรายเหนือ อ.วัฒนานคร จ.สระแก้ว
    92. หลวงพ่อเณร ญาณวินโย วัดทุ่งเศรษฐี เขตประเวศ กรุงเทพฯ
    93. พระครูสีหธัมมจารี(สิงห์โต) วัดดอยแก้ว อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่
    94. ครูบาเลิศ จัตตภาโล วัดทุ่งม่านใต้ อ.เมือง จ.ลำปาง
    95. พระครูมงคลปุญญาคม(บุญมา) วัดบ้านสา อ.แจ้ห่ม จ.ลำปาง
    96. หลวงปู่ภัททันตธัมมานันทอัครบัณฑิต วัดท่ามะโอ อ.เมือง จ.ลำปาง
    97. พระอาจารย์พรสิทธิ์ ธัมมธโร วัดสว่างอารมณ์ อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่<!-- google_ad_section_end -->
    98. พระครูสุภัททาจารคุณ(สิน) วัดละหารใหญ่ อ.บ้านค่าย จ.ระยอง
    99. หลวงตาวรงคต วิริยธโร วัดถ้ำเมืองนะ จ.เชียงใหม่*
    100. พระครูพิบูลนวกิจ(คำบุ) วัดกุดชมภู อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี (2 วาระ)
    101. พระครูสภิตธรรมมงคล(อ่อง) วัดสิงหาร อ.ตระการพืชผล จ.อุบลราชธานี<!-- google_ad_section_end -->
    102. พระครูประภัศรญาณสุนทร(นิพนธ์) วัดกล้วย อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา
    103. พระครูสิริภัทรกิจ(ศรี) วัดหน้าพระลาน อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.สระบุรี
    104. พระครูธีรพัชโรภาส(ผอง) วัดพรหมยาม อ.วิเชียรบุรี จ.เพชรบูรณ์
    105. หลวงปู่ละมัย ฐิตมโน สวนป่าสมุนไพร อ.เมือง จ.เพชรบูรณ์ (ไม่ทราบพรรษาแน่ชัด)
    106. หลวงปู่ปัญญา ปัญญาธโร วัดหนองผักหนามราษฎร์บำรุง อ.หนองใหญ่ จ. ชลบุรี (อายุ 106 ปี)
    107. หลวงปู่เรือง อาภัสโร ปูชนียสถานธรรมเขาสามยอด อ.เมือง จ.ลพบุรี
    108. พระครูจันทศิริธร(สารันต์) วัดดงน้อย อ.เมือง จ.ลพบุรี<!-- google_ad_section_end -->
    109. พระมงคลวรากร(ชาญ) วัดบางบ่อ อ.บางบ่อ จ.สมุทรปราการ
    110. พระครูปัญญาวราภรณ์(สมภาร) วัดป่าวิเวกพัฒนาราม อ.พรเจริญ หนองคาย
    111. พระครูธรรมสรคุณ (เขียน) วัดกระทิง อ.เขาคิชฌกูฎ จ.จันทบุรี
    112. พระญาณวิศิษฎ์(ทอง) วัดอโศการาม อ.เมือง จ.สมุทรปราการ
    113. พระครูอุดมภาวนาจารย์(ทองสุก) วัดอนาลโยพิทยาราม อ.เมือง จ.พะเยา
    114. พระราชภาวนาพินิจน์(สนธิ์) วัดพุทธบูชา เขตบางมด กรุงเทพฯ
    115. หลวงพ่อทองคำ กาญจวัณโณ วัดถ้ำบูชา อ.เซกา จ.หนองคาย
    116. พระครูอุดมวีรวัฒน์ (คูณ) วัดอุดมวารี อ.พาน จ.เชียงราย
    117. พระครูปัญญาธรรมวัฒน์ (อินทร) วัดสันป่ายางหลวง อ.เมือง จ.ลำพูน
    118. พระครูสุนธรธรรมโฆษิต(สุรเสียง) วัดป่าเลิงจาน อ.เมือง จ.มหาสารคาม
    119. หลวงพ่อบุญส่ง อุปสโม วัดทรงเมตตาราม อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี
    120. พระอาจารย์เกษมสุข เขมสุโข วัดประดู่ธรรมาธิปัตย์ เขตบางซื่อ กรุงเทพฯ
    121. หลวงปู่เชิญ เกวียนอาศรมเทพนภา อ.บางระจัน จ.สิงห์บุรี<!-- google_ad_section_end -->
    122. พระครูภาวนาวิรัชคุณ(คง) วัดเขากลิ้ง อ.แก่งกระจาน จ.เพชรบุรี
    123. พระครูวิวิตสมจาร(ผล) วัดหนองแขม(ธรรมิการาม) อ.ท่ายาง จ.เพชรบุรี
    124. พระครูปทุมวรกิจ(ชำนาญ) วัดบางกุฎีทอง อ.บางกระดี่ จ.ปทุมธานี
    125. พระครูสิริโพธิรักษ์(ยวง) วัดโพธิ์ศรี อ.ปากท่อ จ.ราชบุรี
    <!-- google_ad_section_end -->126. หลวงปู่มหาเจิม ปัญญาพโล วัดสระมงคล อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม
    127. หลวงปู่พุทธา พุทธจิตโต วัดป่าหนองยาว อ.เดชอุดม จ.อุบลราชธานี
    128. หลวงตาเก่ง ธนวโร วัดกิตติราชเจริญศรี อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี
    129. หลวงพ่อบุญรัตน์ กันตจาโร วัดโขงขาว อ.หางดง จ.เชียงใหม่
    130. พระครูพิพิธปุญญาพิรัตน์(อินตา) วัดศาลา(น้ำแพร่) อ.หางดง จ.เชียงใหม่
    131. พระราชญาณวิสุทธิโสภณ(ท่อน) วัดศรีอภัยวัน อ.เมือง จ.เลย<!-- google_ad_section_end -->
    132. หลวงปู่สิริ อคฺคสิริ วัดละหาร อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี
    133. พระครูพิพิธชลธรรม (หลาย) วัดนาจอมเทียน อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี
    134. พระครูสันติธรรมาภิรม(อ่อน) วัดสันต้นหวีด อ.เมือง จ.พะเยา
    135. พระครูอดุลปุญญาภิรม(ผัด) วัดหัวฝาย อ.ทุ่งเสลี่ยม จ.สุโขทัย
    136. หลวงปู่ครูบาครอง ขัตติโย สำนักสงฆ์ท่าอุดม อ.เถิน จ.ลำปาง
    137. หลวงพ่อมหาสิงห์ วิสุทโธ วัดถ้ำป่าไผ่ อ.ลี้ จ.ลำพูน
    138. พระครูธรรมาธรเล็ก วัดท่าขนุน อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี
    139. พระครูสังฆรักษ์(หลุย) วัดราชโยธา เขตสะพานสูง กรุงเทพฯ
    140. พระวิมลศีลาจาร (อำนวย) วัดบรมนิวาส เขตราชเทวี กรุงเทพฯ
    141. สมเด็จพระมหาวีรวงศ์(มานิตย์) วัดสัมพันธวงศ์ เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพฯ
    142. พระราชพิพัฒนาทร (ถาวร) วัดปทุมวนาราม เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ
    143. หลวงพ่อสิริ สิริวัฒโน อ.บางบัวทอง จ.นนทบุรี
    144. หลวงปู่บู่ กิติญาโณ วัดสุมังคลาราม อ.เมือง จ.สกลนคร (ไม่ทราบพรรษาแน่ชัด)
    145. หลวงปู่สุธัมม์ ธัมมปาโล วัดเทพกัญญาราม อ.เมือง จ.สกลนคร
    146. พระครูโสภณสิริธรรม(สม) วัดโพธิ์ทอง อ.โพธิ์ทอง จ.อ่างทอง
    147. พระครูนิพัธธรรมรัต(เกลื่อน) วัดรางฉนวน อ.แสวงหา จ.อ่างทอง
    148. พระครูสิริบุญเขต(มี) วัดม่วงคัน อ.โพธิ์ทอง จ.อ่างทอง
    149. พระครูประสูติโสภณ(เกลื่อน) วัดประดู่หมู๋ อ.นาทวี จ.สงขลา (อายุ 104 ปี)
    150. พ่อท่านแก้ว วัดสะพานไม้แก่น อ.จะนะ จ.สงขลา (อายุ 100 ปี)
    151. พระครูโอภาสธรรมรัตน์(แสง) วัดศิลาลอย อ.สทิงพระ จ.สงขลา (ผู้รวบรวมว่านสร้างหลวงปู่ทวดวัดพะโค๊ะ ปี 2506)
    152. พระครูธรรมพลาธร(พรหม) วัดพลานุภาพ อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี
    153. พระอาจารย์ภัทร อริโย วัดนาทวี อ.นาทวี จ.สงขลา
    154. พระครูมนูญธรรมาภรณ์(อิ่นคำ) วัดมหาวัน อ.เมือง จ.เชียงใหม่
    155. ครูบาคำปัน ญาณเถระ วัดพระธาตุม่อนเปี๊ยะ อ.สะเมิง จ.เชียงใหม่
    156. หลวงปู่ชม ฐานคุตโต วัดป่าท่าสุด อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่
    157. หลวงปู่กวง โกสโร วัดป่านาบุญ อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่
    158. พระอาจารย์เปลี่ยน ปัญญาปทีโป วัดป่าอรัญญวิเวก อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่
    159. พระครูภาวนาภิรัต(สังข์) วัดป่าอาจารย์ตื้อ อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่
    160. พระอธิการเสน่ห์ จันทสโร วัดเชียงขาง อ.สารภี จ.เชียงใหม่
    161. พระราชพุทธิมงคล(ทองบัว) วัดโรงธรรมสามัคคี อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่
    162. ครูบาน้อย เตชปัญโญ วัดศรีดอนมูล อ.สารภี จ.เชียงใหม่
    163. พระครูอุดมวิริยกิจ(แสง) วัดป่าฤกษ์อุดม อ.ปทุมราชวงศา จ.อำนาจเจริญ
    164. พระครูเกษมธรรมานุวัตร(ญาท่านเกษม) วัดเกษมสำราญ อ.ตระการพืชผล จ.อุบลราชธานี
    165. หลวงปู่คล้าย อธิเตโช วัดราษฎร์นิยม(บ้านกระเดียน) อ.ตระการพืชผล จ.อุบลราชธานี
    166. หลวงปู่จูมณี กังขามุตโต วัดธรรมรังสี อ.โขงเจียม จ.อุบลราชธานี
    167. หลวงปู่บรรยงค์ ทัสสะนะธัมโม วัดสว่างวารี(วัดตุงลุง) อ.ศรีเมืองใหม่ จ.อุบลราชธานี
    168. พระครูพิบูลธรรมภาณ(โชติ) วัดภูเขาแก้ว อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี
    169. พระครูโกวิทพัฒโนดม(เกลี้ยง) วัดบ้านโนนแกด อ.เมือง จ.ศรีสะเกษ (อายุ 104 ปี)
    170. หลวงปู่พา อธิวโร วัดบัวระรมย์ อ.น้ำเกลี้ยง จ.ศรีสะเกษ (หลวงปู่หมุน วัดบ้านจานมาเข้าฝันให้ลูกศิษย์ตามหาถึง 3 ปีจึงจะเจอ)
    171. พระครูโสภณจันทรังสี(เพ็ง) วัดโพธิ์ศรีละทาย อ.กันทรารมย์ จ.ศรีสะเกษ
    172. หลวงปู่ญาท่านโทน ขันติโก วัดบ้านพับ อ.เขื่องใน จ.อุบลราชธานี
    173. หลวงปู่แสง ญาณวโร วัดป่าภูติศษา อ.ปทุมราชวงศา จ.อำนาจเจริญ
    174. หลวงปู่มหาคำแดง ฐานะทัตโต วัดคำภีราวาส อ.ตระการพืขผล จ.อุบลราชธานี
    175. สมเด็จพระพุฒาจารย์(เกี่ยว) วัดสระเกศวรมหาวิหาร เขตพระนคร กรุงเทพฯ
    176. หลวงพ่อบุญมี ปภัสโร วัดสระเกศวรมหาวิหาร เขตพระนคร กรุงเทพฯ (ศิษย์เอกหลวงปู่สังข์ วัดนากันตม)
    177. พระอาจารย์(ปิดตัว) อาจารย์สายวิชาการเล่นแร่แปรธาตุ เสกด้วยโองการพระเจ้าประชุมธาตุ เรียกปราณในอากาศมาสถิตในองค์พระ
    178. พระสมณธรรมสมาธิวัตร(เย็นเต็ก) วัดโพธิ์แมนคุณาราม เขตยานนาวา กรุงเทพฯ เจ้าคณะใหญ่จีนนิกาย
    179. หลวงปู่มหาปลอด ติสสเทโว วัดโพธิ์นิมิต เขตภาษีเจริญ กรุงเทพฯ
    180. หลวงปู่พิศดู ธัมมจารี วัดเทพธารทอง กิ่งอ.เขาคิชฌกูฏ จ.จันทบุรี
    181. หลวงปู่แสวง อมโร วัดป่าชัยวารินทร์ อ.บ้านไผ่ จ.ขอนแก่น (อดีตชีปะขาวติดตามหลวงปู่มั่น)
    182. หลวงปู่ถวิล สุจิณโณ สำนักสงฆ์สุจิณโณ อ.อุบลรัตน์ จ.ขอนแก่น
    183. หลวงปู่ลี กุสลธโร วัดภูผาแดง อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี
    184. หลวงปู่ฮ้อ วัดป่าสวนหม่อน อ.เมือง จ.ขอนแก่น (พระชาวจีนศิษย์หลวงปู่คำดี วัดถ้ำผาปู่)
    185. หลวงปู่มหาโส กัสสโป วัดป่าคำแคนเหนือ อ.มัญจาคีรี จ.ขอนแก่น
    186. พระครูโสภิตวิริยาภรณ์(อิฏฐ์) วัดจุฬามณี อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม
    187. หลวงพ่อจำเนียร สีลเสฏโฐ วัดถ้ำเสือวิปัสสนา อ.เมือง จ.กระบี่
    188. พระเทพวิทยาคม(คูณ) วัดบ้านไร่ อ.ด่านขุนทด จ.นครราชสีมา
    189. พระครูพิชิตธีรคุณ(ธีร์) วัดจันทราวาส อ.ลำปลายมาศ จ.บุรีรัมย์
    190. หลวงปู่เที่ยง ปภังกโร วัดพระพุทธบาทเขากระโดง อ.เมือง จ.บุรีรัมย์
    191. หลวงปู่พวง ธัมมสาโร วัดโคกตาสิงห์ อ.เมือง จ.บุรีรัมย์
    192. พระครูวิสุทธิสีลากร(เส็ง) วัดปราสาทเยอร์ใต้ อ.ไพรบึง จ.ศรีสะเกษ (ศิษย์เอกหลวงพ่อมุม วัดปราสาทเยอร์เหนือ)
    193. พระครูวิลาสกิจจาทร(สอน) วัดหลวง อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี (อธิษฐานต่อหน้าองค์พระแก้วไพฑูรย์)
    194. หลวงปู่สี สิริญาโณ วัดป่าศรีมงคล อ.สำโรง จ.อุบลราชธานี (ศิษย์ที่มีพรรษาสูงสุดของหลวงพ่อชา สุภัทโท)
    195. พระครูสารธรรมประคุณ(บุญรอด) วัดกุดคูณ อ.เมือง จ.อุบลราชธานี
    196. หลวงปู่อำคา อินทสาโร วัดบ้านตำแย อ.เมือง จ.อุบลราชธานี
    197. หลวงปู่ลี ถาวโร วัดผาสุการาม อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี
    198. หลวงปู่สุพัฒน์ เตชะพโล วัดป่าประชานิมิต อ.สำโรง จ.อุบลราชธานี (ศิษย์เอกหลวงปู่เจียม วัดหนองยาว)
    199. หลวงพ่อมหาประดิษฐ์ อุตตโม วัดทุ่งเกษม อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี(ศิษย์เอกหลวงปู่มั่น ทัตโต)
    200. พระครูสังฆรักษ์(กาจ) วัดป่าบ้านเก่าพระเจ้าใหญ่ อ.เขื่องใน จ.อุบลราชธานี
    201. หลวงปู่เร็ว ฉันทโก วัดหนองโน อ.ตาลสุม จ.อุบลราชธานี (ศิษย์เอกหลวงปู่ญาท่านสวน วัดนาอุดม)
    202. หลวงปู่บัว แก้วคง วัดทัพหลวง อ.วังน้ำเย็น จ.สระแก้ว
    203. หลวงปู่นอง ธัมมโชโต วัดวังสีทอง อ.วังสมบูรณ์ จ.สระแก้ว
    204. พระครูสุวัฒน์ชลธาร(เจริญ) วัดบางละมุง อ.บางละมุง จ.ชลบุรี
    205. พระครูสุทธิคุณรังษี(ทอง) วัดรังษีสุทธาวาส(วัดไร่กล้วย) อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี<!-- google_ad_section_end -->
    206. หลวงปู่เสริฐ เขมโก วัดโอภาสี อ.เมือง จ.ระยอง (ศิษย์องค์สุดท้ายของหลวงพ่อโต วัดซากโดน)
    207. หลวงปู่อ่อง ถาวโร ถ้ำเขาวงกต อ.แก่งหางแมว จ.จันทบุรี
    208. หลวงพ่อบุญส่ง ฐิตสาโร วัดสันติวนาราม(เขาน้ำตก) อ.แก่งหางแมว จ.จันทบุรี<!-- google_ad_section_end -->
    209. พระธรรมวงศ์มุนี(วิชัย) วัดไผ่ล้อม อ.เมือง จ.จันทบุรี (อายุ 101 ปี)
    210. หลวงปู่สนั่น จิณณธัมโม วัดธารเกษม อ.พระพุทธบาท จ.สระบุรี
    211. พระภาวนาปัญญาวิสุทธิ์(มหาเข้ม) วัดป่าคลองกุ้ง อ.เมือง จ.จันทบุรี
    212. พระครูสังฆกิจบูรพา(บัว) วัดศรีบูรพาราม(เกาะตะเคียน) อ.เมือง จ.ตราด
    213. หลวงปู่บุญหลาย อัคคจิตโต วัดป่าโนนทรายทอง อ.เมือง จ.อำนาจเจริญ
    214. พระเทพสุทธิโมลี(สมพงษ์) วัดภูด่านแต้ อ.นิคมคำสร้อย จ.มุกดาหาร
    215. หลวงพ่อบุญชวน ธัมมโฆสโก วัดป่าวังน้ำทิพย์ อ.เลิงนกทา จ.ยโสธร<!-- google_ad_section_end -->
    216. พระภิกษุณีสกาวรัตน์ วัดโคกบัวราย อ.บัวเชต จ.สุรินทร์
    217. หลวงปู่ฮก รตินธโร วัดราษฏร์เรืองสุข อ.บ้านบึง จ.ชลบุรี*
    218. พระครูศุภมงคล(หุน) วัดบางผึ้ง อ.บางปะกง จ.ฉะเชิงเทรา
    219. พระมงคลสุทธิคุณ(ฟู) วัดบางสมัคร อ.บางปะกง จ.ฉะเชิงเทรา
    220. ท่านพ่อเมือง พลวุฑโฒ วัดป่ามัชฉิมวาส อ.เมือง จ.กาฬสินธุ์
    221. พระราชศีลโสภิต(หนูอินทร์) วัดป่าพุทธมงคล อ.เมือง จ.กาฬสินธุ์
    222. พระเทพวิสุทธิมงคล(ศรี) วัดป่ากุง อ.ศรีสมเด็จ จ.ร้อยเอ็ด
    223. หลวงพ่อกิตติศักดิ์ กิตติสาโร วัดป่าหนองหลุบ อ.เมือง จ.ร้อยเอ็ด
    224. หลวงปู่หนูเพชร ปัญญาวุโธ วัดป่าภูมิพิทักษ์ อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร
    225. หลวงปู่เคน เขมาสโย วัดป่าบ้านหนองหว้า อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร<!-- google_ad_section_end -->
    226. หลวงปู่โสภา ชุตินธโร วัดบูรพาภิรมย์ อ.เจริญศิลป์ จ.สกลนคร
    227. หลวงปู่ศูนย์ จันทสุวัณโณ วัดป่าอิสระธรรม อ.อากาศอำนวย จ.สกลนคร
    228. พระจันโทปมาจารย์(คำพันธ์) วัดศรีวิชัย อ.ศรีสงคราม จ.นครพนม
    229. หลวงปู่เณรคำ(ทองใบ) ปัญญาพโล วัดป่าบ้านคำไฮ อ.ศรีสงคราม จ.นครพนม<!-- google_ad_section_end -->
    230. หลวงปู่อว้าน เขมโก วัดป่านาคนิมิตต์ อ.โคกศรีสุพรรณ จ.สกลนคร
    231. หลวงปู่อ้ม สุขกาโม วัดป่าภูผาผึ้ง อ.ดงหลวง จ.มุกดาหาร
    232. หลวงปู่จาม มหาปุญโญ วัดป่าวิเวกวัฒนาราม อ.คำชะอี จ.มุกดาหาร (อายุ 102 ปี)
    233. หลวงปู่สิงห์ทอง ปภากโร วัดป่าสุนมราราม อ.เลิงนกทา จ.ยโสธร


    รายนามอุบาสก-อุบาสิกาอธิษฐานจิตเชิญบารมีคุณพระรัตนตรัย

    1. อ.ธรรมนูญ บุญธรรม สำนักบัวแปดกลีบ อัญเชิญคุณบารมีพระแก้วมรกตและครูบาอาจารย์มาประสิทธิ์
    2. อ.ชินพร สุขสถิตย์ มูลนิธิหลวงปู่ทิม อิสริโก อัญเชิญเทพ พรหม เทวดา ครูบาอาจารย์อันมีหลวงปู่ทิม เป็นที่สุด
    3. อ.ศุภรัตน์ แสงจันทร์ อาศรมโพธิสัตว์ม่อนแก้ว อธิษฐานนำพระไปถวายสมเด็จองค์ปฐมครอบวิมานแก้ว
    4. ยายชีนวล วัดภูฆ้องคำ อายุ 100 ปี ศิษย์ที่ทันสำเร็จลุนองค์สุดท้าย

    * หลังชื่อ หมายถึง อธิษฐานจิตเฉพาะมวลสารและของมงคลที่ใช้อุดหลังล็อกเกต
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 มิถุนายน 2011
  13. dekdelta2

    dekdelta2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    5,702
    ค่าพลัง:
    +6,948
    องค์ที่ไปแล้วไม่เจอนะครับ คือ หลวงปู่เณรคำ สกลนคร (อายุ 131 ปี) และ หลวงปู่สนธิ์ วัดอรัญญานาโพธิ์ อายุ 100 ปี ศิษย์หลวงปู่สีทัตต์ องค์สุดท้าย (ศิษย์น้องหลวงปูสนธิ์ วัดท่าดอกแก้ว ผู้เขียนผงโสฬสมหาพรหม ต้นตำรับ) และ หลวงพ่อบุญอุ้ม วัดป่าโนนแพง สงสัยอาจต้องไปอีก
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 มิถุนายน 2011
  14. TSKing

    TSKing Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2010
    โพสต์:
    146
    ค่าพลัง:
    +39
    หลวงพ่อกิตติศักดิ์ กิตติสาโร วัดป่าหนองหลุบ อ.เมือง จ.ขอนแก่น

    ประวัติของท่านอ่านได้ที่นี่นะครับ รายละเอียดให้น้องตี๋มาลงเอง เอารูปที่มีอยู่มาลงให้เพราะน้องตี๋ลืมกล้องไว้
    http://www.gotoknow.org/blog/pra-rt/438483
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_1062.JPG
      IMG_1062.JPG
      ขนาดไฟล์:
      1.4 MB
      เปิดดู:
      1,364
  15. TSKing

    TSKing Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2010
    โพสต์:
    146
    ค่าพลัง:
    +39
    หลวงปู่หนูเพ็ชร ปัญญาวุโธ วัดป่าภูมิพิทักษ์ อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร

    หลวงปู่ท่านเป็นพระปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ เป็นลูกศิษย์ของหลวงปู่พรหม จิรปุญโญ วัดประสิทธิธรรม ต่อมาได้ไปปฏิบัติธรรมกับหลวงปู่อ่อนสี ฐานวโร วัดถ้ำประทุน จ.ชลบุรี หลวงปู่เป็นพระชอบเก็บตัวเงียบส่วนมากจะไม่ค่อยมีคนรู้จักแต่ลูก ศิษย์รู้จักจากการแนะนำของหลวงปู่อ่อนสี ท่านบอกว่าหลวงปู่หนูเพ็ชรเป็นพระอรหันต์

    คณะศิษญ์สายชลบุรี ที่ได้เคยมีการเดินทางไปกราบไหว้หลวงปู่หนูเพ็ชร อีกทั้งได้ทำบุญ ต่างก็นับถือศรัทธาหลวงปู่หนูเพ็ชรเป็นอย่างมาก หลังจากกลับมาแล้ว ต่างก็สมหวังกับสิ่งที่ขอ ทำมาค้าขายดี การงานก้าวหน้าทั่วกัน

    ส่วนเรื่องพระเครื่อง โดยปกติแล้ว หลวงปู่ท่านไม่ได้ทำพระเครื่องไดๆ จะมีเพียงวัตถุมงคลเพียงไม่กี่อย่าง เช่น สายสิญจน์ผูกข้อมือ, ลูกแก้ว เพียงเท่านั้น (ตามข้อมูลที่ได้ทราบมา หากมีอะไรผิดพลาดต้องขออภัย ณ ที่นี้ด้วยครับ)

    หลังจากคณะศิษย์สาย ชลบุรี ได้ขึ้นไปกราบไหว้หลวงปู่หนูเพ็ชร ก็ได้เริ่มมีการสร้างพระเครื่องขึ้นมาหลายรุ่นด้วยกัน รายละเอียดคร่าวๆจะมีดังนี้

    เหรียญรุ่น ๑ ฉลองอายุครบ ๘๐ ปี
    เหรียญรุ่น ๒ ฉลองเจดีย์
    และยังมีพระผงของขวัญสมนาคุณผู้ทำบุญผ้าป่า, พระนาคปรกใบมะขาม, ล็อคเก็ต, พระบูชา, รูปเหมือนปั้ม, รูปถ่ายเป็นต้น
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_1063.JPG
      IMG_1063.JPG
      ขนาดไฟล์:
      1.4 MB
      เปิดดู:
      724
  16. TSKing

    TSKing Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2010
    โพสต์:
    146
    ค่าพลัง:
    +39
    หลวงปู่ศรี มหาวีโร วัดป่ากุง อ.ศรีสมเด็จ จ.ร้อยเอ็ด

    ประวัติ พระราชสังวรอุดม หลวงปู่ศรี มหาวีโร วัดป่ากุง
    พระป่าสายกรรมฐานที่น่ากราบไหว้ พระราชสังวรอุดม (หลวงปู่ศรี มหาวีโร) วัดประชาคมวนาราม (ป่ากุง) อ.ศรีสมเด็จ จ.ร้อยเอ็ด
    พระราชสังวรอุดม (หลวงปู่ศรี มหาวีโร) วัดประชาคมวนาราม (ป่ากุง) อ.ศรีสมเด็จ จ.ร้อยเอ็ด เดิมชื่อ ศรี เกิดในสกุล ปักกะสีนัง เมื่อวันที่ ๓ พฤษภาคม ๒๔๖๐ ตรงกับวันศุกร์ เดือนหก ปีมะเมีย ที่บ้านขามป้อม อ.วาปีปทุม จ.มหาสารคาม โยมบิดาชื่อ อ่อนสี โยมมารดาชื่อ ทุม ช่วงปฐมวัย ท่านเข้าศึกษาที่โรงเรียนประชาบาล วัดบ้านขามป้อม จบชั้นประถมปีที่ ๖ จากนั้นได้ไปเรียนต่อที่โรงเรียนสารคามพิทยาคม จ.มหาสารคาม จนจบชั้นมัธยมปีที่ ๓ เมื่อ พ.ศ.๒๔๘๐ ต่อมาท่านได้เข้ารับราชการเป็นครูอยู่ระยะหนึ่ง จึงได้บรรพชาอุปสมบท เมื่อ พ.ศ.๒๔๘๘ ณ พัทธสีมาวัดราษฎร์รังสรรค์ บ้านป่ายาง จ.ร้อยเอ็ด โดยมี พระโพธิญาณมุนี (ดำ โพธิญาโณ) เจ้าคณะจังหวัดร้อยเอ็ด (ธรรมยุต) เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับฉายาทางพระพุทธศาสนา เป็นภาษามคธว่า "มหาวีโร"

    พรรษาแรก ท่านได้ศึกษาปฏิบัติธรรมอยู่กับ พระอาจารย์คูณ อุตตโม วัดประชาบำรุง จ.มหาสารคาม ปีต่อมา ท่านได้จาริกไปจำพรรษาที่วัดป่าแสนสำราญ จ.อุบลราชธานี และมีโอกาสศึกษาปฏิบัติธรรม เจริญวิปัสสนา กับ พระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม ซึ่งเป็นศิษย์สำคัญของ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโ


    เมื่อออกพรรษาแล้วหลวงปู่ศรี มหาวีโรท่านจาริกแสวงธรรม ไปตามป่าตามเขาต่างๆ ซึ่งเป็นสัปปายะสถาน ที่พ่อแม่ครูอาจารย์พระอาจารย์มั่น พระอาจารย์เสาร์ เคยธุดงค์จาริกมาก่อนหน้านี้ เป็นแหล่งเจริญธรรม ที่ผู้กล้าแห่งกองทัพธรรมได้มาประพฤติธรรม บำเพ็ญเพียร ด้วยเป็นสถานที่อยู่ไกลจากชุมชน ขาดแคลนขัดสนในปัจจัยสี่ แต่มีภูมิทัศน์ที่เหมาะแก่การพัฒนาภูมิธรรมสัมมาปฏิบัติเป็นอย่างยิ่ง
    ต่อมาท่านได้ไปจำพรรษาที่วัดบ้านนาแก จ.นครพนม ซึ่งสมัยนั้นยังเป็นดินแดนที่คุกรุ่นไปด้วยสถานการณ์แห่งความขัดแย้ง ด้านอุดมการณ์ทางการเมือง และสังคม แต่ท่านก็อยู่ด้วยความราบรื่น ปราศจากอันตราย
    จนกระทั่งออกพรรษา หลวงปู่ศรี มหาวีโรท่านได้จาริกไปยัง จ.สกลนคร จ.อุดรธานี ซึ่งเป็นการเดินตามทางรอยธรรมของพ่อแม่ครูอาจารย์ คือ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต พระบุพพาจารย์ใหญ่ ด้านวิปัสสนากรรมฐาน



    จนถึงช่วงที่พระอาจารย์มั่น ล่วงสู่ปัจฉิมวัย พำนักอยู่ที่สำนักป่าบ้านหนองผือ อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร ท่านได้ขออนุญาตพำนักจำพรรษา และศึกษาธรรมกับพระอาจารย์มั่น ด้วย นับเป็นโอกาสอันเป็นมหามงคลในชีวิตบรรพชิต ที่มีโอกาสศึกษาธรรม และอุปัฏฐากพระบุพพาจารย์ใหญ่ รวมทั้งมีโอกาสเจริญธรรม กับสหธรรมิกร่วมสำนัก ร่วมครูอาจารย์เดียวกัน
    หลวงปู่ศรีมีโอกาสได้ถวายการปฏิบัติจนถึงวาระสุดท้าย เมื่อพระอาจารย์มั่นถึงแก่มรณภาพ ก็ได้ถวายสักการะสรีระพระอาจารย์มั่นเป็นครั้งสุดท้าย ในงานฌาปนกิจที่วัดป่าสุทธาวาส จ.สกลนคร หลังจากนั้นพระราชสังวรอุดม ท่านได้จาริกไปจำพรรษาตามวัดต่างๆ หลายแห่ง จนกระทั่ง พ.ศ. ๒๔๙๖ ท่านได้มายัง วัดป่ากุง ซึ่งเป็นวัดเก่าแก่ สร้างมาประมาณ ๑๗๐ ปี ท่านได้เป็นผู้นำคณะศรัทธาญาติโยมในการพัฒนาวัดป่ากุง จากสภาพวัดเก่าอันโรยร้าง ให้เจริญเรืองรุ่งขึ้นตามลำดับ จนกระทั่งเป็น วัดประชาคมวนาราม ที่งามสง่า เป็นศาสนสถานอันไพศาล สำหรับชาวพุทธผู้ศรัทธาเลื่อมใสในพระศาสนา
    หลวงปู่ศรี ได้จำพรรษาที่ วัดประชาคมวนาราม (วัดป่ากุง) ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๐๗ เป็นต้นมา จนถึงทุกวันนี้ ด้วยความเอาใจใส่เป็นธุระในทุกกิจการงานของพระศาสนาอย่างตั้งใจ จริงจัง และมั่นคง สิ่งที่เป็นผลงานอันยิ่งใหญ่อลังการของหลวงปู่ศรี คือ การก่อสร้าง พระมหาเจดีย์ชัยมงคล ณ วัดผาน้ำทิพย์ อ.หนองพอก จ.ร้อยเอ็ด ซึ่งนับเป็นผลานิสงส์แห่งแรงศรัทธาของชาวพุทธ ต่อพระบวรพุทธศาสนา ต่อพระสุปฏิปันโน ต่อบารมีธรรมในหลวงปู่อย่างแท้จริง อีกทั้งยังเป็นการจรรโลงพระพุทธศาสนา สืบสานศิลปวัฒนธรรม งานพุทธศิลป์ ให้สถิตสถาพรสืบไป


    พระมหาเจดีย์ชัยมงคล มีรูปแบบอันวิจิตรงดงามยิ่ง เป็นศิลปะผสมความยิ่งใหญ่ของ พระปฐมเจดีย์ กับความโอฬารของ พระธาตุพนม กลมกลืนเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ประดิษฐานตระหง่านตระการตา ด้วยศิลปกรรม อันล้ำเลิศ ด้วยฝีมือลูกหลานไทย เป็นนฤมิตกรรมแห่งยุคสมัย ที่จะเป็นปูชนียสถานสำคัญของคนไทยทั่วประเทศ และของโลกวัฒนา สืบต่อไปภายภาคหน้า
    ทุกวัน...ในยามเช้า จะมีคณะศรัทธาชาวบ้านทั้งใกล้และไกล จากหลายถิ่น มารวมกันที่หน้าวัดประชาคมวนาราม เพื่อเตรียมถวายภัตตาหาร บิณฑบาตพระคุณเจ้า และจะเป็นโอกาสที่พุทธศาสนิกชนจะได้กราบไหว้ขอพร หลวงปู่ศรี มหาวีโร อย่างใกล้ชิด ซึ่งท่านได้เมตตาโดยเสมอหน้า ถ้วนทั่วทุกๆ คน
    การบิณฑบาต เป็นธุดงควัตรที่พระกรรมฐานประพฤติปฏิบัติอยู่เป็นประจำ สำหรับหลวงปู่ศรี ท่านจะตื่นแต่ดึก ออกเดินไปรอบๆ วัด จนถึงเวลาบิณฑบาต พระราชสังวรอุดม ท่านจึงเป็นผู้มีสุขภาพพลานามัยที่แข็งแรง แม้จะมีอายุถึง ๙๒ ปีแล้วก็ตาม
    หลวงปู่ศรี จึงนับเป็นพระวิปัสนาจารย์กรรมฐาน ที่มีความสามารถอย่างสูงในการแจกแจงแสดงธรรม พระราชสังวรอุดม เป็นพระเถราจารย์ผู้เปี่ยมด้วยพรหมวิหารธรรม เป็นเนื้อนาบุญอันยิ่งใหญ่ ของพระพุทธศาสนา เป็นพระป่า พระกรรมฐาน ที่มีศิษยานุศิษย์ให้ความเคารพศรัทธาอย่างมหาศาล เป็นสมณะผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบที่น่ากราบไหว้สักการะเป็นอย่างยิ่ง




    ปัจจุบันท่านเข้ารับการรักษาอยู่ที่โรงพยาบาลศรีนครินทร์ จ.ขอนแก่น ครับ


    รูปมี 2 กล้อง ยังมีรูปอยู่ีที่น้องตี๋ด้วย
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_1060.JPG
      IMG_1060.JPG
      ขนาดไฟล์:
      1.6 MB
      เปิดดู:
      453
    • IMG_1061.JPG
      IMG_1061.JPG
      ขนาดไฟล์:
      1.3 MB
      เปิดดู:
      384
  17. TSKing

    TSKing Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2010
    โพสต์:
    146
    ค่าพลัง:
    +39
    หลวงปู่อว้าน เขมโก วัดป่านาคนิมิตต์ อ.โคกศรีสุพรรณ จ.สกลนคร

    ประวัติและปฏิปทา
    หลวงปู่อว้าน เขมโก


    วัดป่านาคนิมิตต์ (วัดป่าบ้านนามน)
    ต.ตองโขบ อ.โคกศรีสุพรรณ จ.สกลนคร



    • นามเดิม •

    อว้าน ศรีบุญโฮม

    • บิดามารดา •

    นายออ และนางคำตา ศรีบุญโฮม

    • เกิด •

    วันจันทร์ที่ ๒๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ตรงกับวันแรม ๑๐ ค่ำ เดือน ๖ ปีกุน ณ บ้านนามน ต.ตองโขบ อ.โคกศรีสุพรรณ จ.สกลนคร

    • บรรพชา •

    พ.ศ. ๒๔๙๗ ได้บรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดป่าสุทธาวาส บ้านคำสะอาด ต.ธาตุเชิงชุม อ.เมือง จ.สกลนคร ต่อมาได้ติดตาม หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ ไปอยู่ที่วัดป่านิโคธาราม บ้านหนองบัวบาน ต.หมากหญ้า อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี พ.ศ. ๒๔๙๘ ได้เข้ารับการคัดเลือกเกณฑ์ทหาร ปลดประจำการเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๐

    • อุปสมบท •

    เมื่อพ้นจากทหารแล้ว จึงได้เข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ในปี พ.ศ. ๒๕๐๓ เมื่ออายุได้ ๒๕ ปีบริบูรณ์ โดยมี พระครูอุดมธรรมคุณ (หลวงปู่มหาทองสุก สุจิตฺโต) เป็นพระอุปัชฌาย์ อุปสมบทในน้ำ (อุทกุกเขปสีมา) เขตบ้านโคก เอาน้ำเป็นเขตสีมา มีศาลาอยู่กลางน้ำ สมัยก่อนไม่ได้ขอวิสุงคามสีมา มีหนองน้ำที่ไหนเขาก็ไปปลูกศาลาเอาไว้ ทำสะพานเดินเข้าไป เวลาอุปสมบทก็ประกอบพิธีกันที่ศาลากลางน้ำ

    หลังจากอุปสมบทแล้ว ได้มาพำนักจำพรรษา ณ วัดดอยธรรมเจดีย์ บ้านนาสีนวล ต.ตองโขบ อ.โคกศรีสุพรรณ จ.สกลนคร กับ หลวงปู่กงมา จิรปุญโญ ต่อมาได้มาศึกษาธรรมปฏิบัติกับ หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ ที่วัดป่านิโคธาราม บ้านหนองบัวบาน ต.หมากหญ้า อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี

    • ปัจจุบัน •

    นับตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๔๕ เป็นต้นมา ได้พำนักจำพรรษา ณ วัดป่านาคนิมิตต์ (วัดป่าบ้านนามน) บ้านนามน ต.ตองโขบ อ.โคกศรีสุพรรณ จ.สกลนคร ๔๗๒๘๐
    • อาจริยธรรม •

    “วัดป่านาคนิมิตต์” แห่งนี้ ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺตมหาเถระ มาสร้างครั้งแรก อาตมา (หลวงปู่อว้าน เขมโก) เองยังไม่ได้เกิดนะ เดิมวัดแห่งนี้มี ท่านพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีลมหาเถระ เดินธุดงค์มาก่อน ท่านพระอาจารย์เสาร์มาพักรุกขมูล ครั้นต่อมาท่านก็เดินธุดงค์ต่อไป แล้วท่านพระอาจารย์มั่นท่านก็เดินธุดงค์ตามรอยท่านพระอาจารย์เสาร์มา ท่านพระอาจารย์เสาร์พักที่ไหน ท่านพระอาจารย์มั่นก็พักที่นั่น ท่านพระอาจารย์มั่นมาเห็นพื้นที่สัปปายะ ท่านก็เลยปรารภกับโยมว่า “คิดจะสร้างเป็นวัด”

    โยมเขาก็เลยเอาเจ้าหน้าที่มารังวัดจับจอง แล้วยกถวายท่าน ท่านก็ได้สร้างพอได้อยู่อาศัย แล้วท่านก็เดินธุดงค์ไปทางเชียงใหม่หลายปี จากนั้นท่านก็ย้อนคืนกลับมาอีกเป็นครั้งที่ ๒ ประมาณสงครามญี่ปุ่น (สงครามโลกครั้งที่ ๒) อาตมาไม่ทันได้รับการอบรมจากท่านพระอาจารย์มั่น เพราะยังเป็นเด็ก เรื่องอะไรๆ ก็จำจากครูบาอาจารย์เล่า คือตอนบวช บวชอยู่กับ หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ หลวงปู่อ่อนท่านเล่าประวัติท่านพระอาจารย์มั่นให้อาตมาฟัง ที่วัดป่านิโคธาราม จึงเป็นธรรมะที่ได้ยินได้ฟังมาจากครูบาอาจารย์ นำมาเล่าขานสู่กันฟัง

    ตอนที่ท่านพระอาจารย์มั่นมาพักอยู่ที่วัดป่าบ้านนามนนั้น มีพระผู้ใหญ่เข้ามาพักอาศัยอยู่ร่วมกันหลายองค์ด้วยกัน เช่น หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ หลวงปู่หลุย จนฺทสาโร หลวงปู่ฝั้น อาจาโร และหลวงตามหาบัว ญาณสมฺปนฺโน ครูบาอาจารย์แทบทุกองค์มาอยู่กับท่านพระอาจารย์มั่น และมีที่พักกระจายกันอยู่ เช่น หลวงปู่กงมา จิรปุญโญ ก็อยู่บ้านโคก ท่านเจ้าคุณวิริยังค์ (หลวงพ่อวิริยังค์ สิรินฺธโร) อยู่บ้านห้วยแคน พระครูอุดมธรรมคุณ (หลวงปู่มหาทองสุก สุจิตฺโต) และ หลวงปู่หลุย จนฺทสาโร อยู่บ้านห้วยหีบ แต่ก็ไปๆ มาๆ ถ้าถึงวันพระใหญ่ก็มารวมกันทำอุโบสถ รับโอวาทจากท่านแล้วก็เดินกลับวัด เดี๋ยวพระเข้าเดี๋ยวพระออก ต้องนับทุกวัน ในตอนเป็นเด็ก พระท่านผ่านมาก็มองไกลๆ จะมาผ่านบ้าน ถ้ามีพระมาเพิ่ม อาตมาก็เตรียมห่ออาหารให้พอเพียงกับพระมาใหม่ อาตมาเคยมีโอกาสได้ใส่บาตรท่านพระอาจารย์มั่น
    • ความเป็นมาของวัดป่านาคนิมิตต์ •

    โยมชาวบ้านนามนเขาจะปลูกสร้างกุฏิหลังนี้แหละ (กุฏิท่านพระอาจารย์มั่น) เขาเตรียมไม้ไว้ว่าจะยกวันพรุ่งนี้ ในตอนกลางคืนพญานาคเขามาทำรอยเอาไว้ให้ ตอนเช้าโยมเขามาว่าจะยกกุฏิ ท่านพระอาจารย์มั่น ก็ชี้บอกโยมเขาว่า “นั่นแหละ พญานาคทำรอยไว้ให้แล้ว” โยมเขาไปดู เขาว่าเป็นรอยกลมๆ วงกลมจึงก่นหลุม (ขุดหลุม) ตามรอยนั่นแหละ แล้วท่านพระอาจารย์มั่นก็พูดบอกโยมเขาว่า “วัดนี้ให้ชื่อว่า วัดป่านาคนิมิตต์” แต่ชาวบ้านทั่วไป วัดอยู่บ้านไหนเขาก็เรียกวัดป่าบ้านนั้นแหละ เช่น วัดป่าบ้านนามน วัดป่าบ้านโคก วัดป่าบ้านห้วยแคน เป็นต้น เอาบ้านเป็นชื่อวัด อยู่บ้านไหนก็เอาบ้านนั่นแหละตั้งเป็นชื่อวัด

    สมัยก่อนเราขอกับทางการ จึงเอาชื่อ “วัดป่านาคนิมิตต์” ช่วงที่พญานาคมาทำรอยไว้ คือช่วงที่ท่านพระอาจารย์มั่นพักจำพรรษาอยู่วัดนี้ เขาทำรอยไว้ที่นั่น (กุฏิท่านพระอาจารย์มั่น) แล้วเขาก็เลื้อยมาที่นี่ (มาที่ศาลา) เมื่อก่อนที่นี่เป็นป่า เขาลอย (เลื้อย) มา โยมเขาเอาเท้าไปขวางดู (วัดดู) สุดรอยเท้าเขาพอดีนะผอด (รอยของมัน) นั้น วัดป่านาคนิมิตต์ (วัดป่าบ้านนามน) หลังจากที่พญานาคมาแสดงนิมิตต์ไว้ จากนั้นก็ไม่ปรากฏว่ามีอีก แต่อาตมาเองมาพักอยู่ที่วัดป่านาคนิมิตต์ (วัดป่าบ้านนามน) เดินจงกรมกลางวันจิตนึกถึงนาค พอนึกถึงนาคงูคอแดงไม่รู้ออกมาจากไหนน่ะ ปรากฏว่ามีทั้งข้างหน้า ถอยหลังก็มี ข้างซ้าย ข้างขวาก็มีไปหมด อาตมาจะไปไหนก็ไปไม่ได้ ต้องยืนอยู่กับที่ เขาเลื้อยผ่านไปผ่านมาอยู่นั่นแหละ สักครู่เดี๋ยวก็หาย ไม่รู้หายไปไหนหมด งูคอแดงตัวไม่ใหญ่ คอมันแดงๆ พอนึกถึงเขา เขาก็ปรากฏให้รู้ว่ามีจริง

    ท่านพระอาจารย์มั่นท่านไม่จำพรรษาซ้ำที่เก่านะ ท่านจำพรรษาซ้ำที่เก่าเฉพาะบ้านหนองผือแห่งเดียว อย่างท่านมาอยู่ที่นี่คือบ้านนามนท่านก็จำพรรษา บ้านโคกท่านก็จำพรรษา บ้านห้วยแคน บ้านห้วยหีบ ท่านก็ไปมาอยู่บ้าง ท่านมาครั้งที่สองก็วนเวียนประมาณ ๒-๓ ปี ออกจากนี่แล้วจึงไปอยู่บ้านหนองผือ

    แต่เดิมวัดป่าบ้านนามนเรียกได้ว่าเป็นศูนย์กลาง ก่อนย้ายไปบ้านหนองผือ พระที่บ้านห้วยหีบ บ้านห้วยแคน บ้านโคกนั้นก็ต้องมาร่วมลงอุโบสถที่นี่ (บ้านนามน) บ้านโคก (บ้าน หลวงปู่กงมา จิรปุญฺโญ) หลวงปู่คำพอง ติสฺโส จำพรรษาอยู่บ้านโคก กับ หลวงปู่อุ่น กลฺยาณธมฺโม วัดป่าบ้านนามนนั้นพอท่านพระอาจารย์มั่นจากไปแล้ว หลวงปู่กงมานั่นแหละเป็นผู้ดูแลแถวนี้เพราะบ้านโคกเป็นบ้านของหลวงปู่กงมา จึงอยู่ในความดูแลของท่าน

    ครั้นท่านพระอาจารย์มั่นเดินธุดงค์ออกจากวัดป่านาคนิมิตต์ (วัดป่าบ้านนามน) ไปแล้ว วัดนี้ก็รกร้าง เมื่อก่อนอาณาเขตมันก็กว้างไกล พอท่านพระอาจารย์มั่นไปอยู่บ้านหนองผือแล้ว ชาวบ้านรุกล้ำมาเอาเกือบหมดนะ ครั้งแรกเขาเหลือไว้เพียงแค่ ๕ ไร่ เมื่อก่อนส้วมก็อยู่ภายในวัด ที่นี้จะไปส้วมก็ต้องข้ามรั้วไร่เขาไปนะ หลวงปู่กงมาท่านพูดกับเขาไม่ได้ ท่านก็เลยทิ้ง แล้วท่านขึ้นไปอยู่วัดดอยธรรมเจดีย์

    ท่านบอกว่า “เขาอยากได้ให้เขาซะ เรามาเอาภูเขานี่ (วัดดอยธรรมเจดีย์) ไม่มีใครอยากได้” ต่อมา พระครูอุดมธรรมคุณ (หลวงปู่มหาทองสุก สุจิตฺโต) เจ้าอาวาสวัดป่าสุทธาวาส (ในขณะนั้น) จ.สกลนคร ได้ข่าวว่าวัดป่านาคนิมิตต์ (วัดป่าบ้านนามน) หมดไปแล้ว ท่านเลยออกมาดู ก็พบว่าเป็นจริง เวลาจะไปส้วมนั้นก็ต้องข้ามรั้วสวนเขาเข้าไป เมื่อเป็นเช่นนั้นจริง ท่านเลยพูดกับชาวบ้านว่า “พื้นที่วัดนี้ได้จากนี่ไปแค่นี้ก็เอาหรอกโยม เพราะเป็นวัดคู่กันกับวัดป่าสุทธาวาส เป็นวัดพระอาจารย์มั่น”
    • ท่านพระอาจารย์มั่นที่ได้พบตอนเด็ก •

    อาตมาออกโรงเรียนแล้ว ก็ได้ติดตามหลวงปู่กงมาไปกราบท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺตมหาเถระ ที่วัดป่าบ้านหนองผือ (วัดป่าภูริทัตตถิราวาส) ไปพักที่นั่น ๓ คืน พักกับหลวงปู่กงมา พอไปถึง ท่านพระอาจารย์มั่นบ่นเกี่ยวกับ พระอาจารย์ถวิล จิณฺณธมฺโม ซึ่งท่านเอาปูนซีเมนต์หุ้มต้นเสากันมดไม่ให้ขึ้น ท่านบ่นแล้วบ่นเล่าว่า “ไม่ดีๆ” เช้ามาหลวงปู่กงมาก็พาหมู่ทุบแล้วก็ทำใหม่ พระอาจารย์ถวิลก็มาช่วยทำอีกอย่างเก่า ท่านพระอาจารย์มั่นท่านเดินดูตามลูกกรงส่องมาดู ท่านว่า “ท่านถวิล มันเฮ็ดหยังคือไก่เขี่ยเนี่ย” ท่านพูดให้พระอาจารย์ถวิลองค์เดียว ตอนอาตมาเป็นเด็กก็ได้ยิน ได้ช่วยท่านก่อปูนด้วย แต่ไม่รู้จักความหมาย

    ต่อเมื่ออาตมาเข้ามาบวชคราวนี้ ก็ได้นำคำพูดคำนั้นมาศึกษาดู แปลว่ายังไง ก็พระอาจารย์ถวิลท่านเก่งทางปูน ท่านเป็นช่างปูน แต่ทำให้ท่านพระอาจารย์มั่นติแล้วติเล่า นำมาศึกษาดูก็ได้ความว่า “ท่าน เตือนสติ ท่านให้มีสติสำรวม ส่งจิตไปอื่นไม่ได้ แล้วถ้าส่งจิตไปเพื่อความสวยความงามนั้นไม่ได้ ท่านพระอาจารย์มั่นอนุญาตให้ทำได้ถ้าทำเพื่อให้แข็งแรงทนทานตั้งอยู่ได้นาน แต่ถ้าจะเพ่งเพื่อความสวยความงามไว้อวดคนอื่นอย่างนั้นไม่ได้” ท่านพระอาจารย์มั่นท่านคุมสติ เมื่อตอนอาตมาเข้าไปที่วัดป่าบ้านหนองผือ (วัดป่าภูริทัตตถิราวาส) อาตมาได้เข้าไปกับหลวงปู่กงมาตอนเป็นเด็ก ตอนนั้น หลวงปู่บ้านตาด (หลวงตามหาบัว ญาณสมฺปนฺโน) ก็อยู่ที่วัดด้วย ท่านใช้อาตมาให้ไปเก็บพลูเคี้ยวหมากมาถวายท่านพระอาจารย์มั่น

    อาตมาไปพักอยู่ที่นั่น ๓ คืน อย่างอื่นที่เห็นแปลกๆ มีแมวตัวหนึ่ง แมวเหลือง ตอนกลางคืน (มัน) ก็ไปฟังเทศน์ท่านทุกคืน พระก็นั่งตามระเบียงรอบนอกนั่นแหละ ท่านพระอาจารย์มั่นองค์เดียวนั่งข้างบน แมวตัวนั้นก็หมอบอยู่ตรงหน้าท่านพระอาจารย์มั่น จนกระทั่งเลิกนั่นแหละจึงไป ทั้ง ๓ คืนเห็นแมวตัวนั้นตลอด ตอนเช้าก็ไปหมอบอยู่ตรงที่ท่านพระอาจารย์มั่นฉันนั่นแหละ ไม่ได้ร้องอะไร จนกว่าท่านฉันเสร็จ ท่านถึงให้แมวตัวนั้นกิน แล้วกลางวันก็ไปอยู่กุฏิเณร อยู่กระต๊อบกับเณร กลางคืน ๓ คืนเห็นหมอบอยู่ทุกคืนแมวตัวนั้น

    ท่านพระอาจารย์มั่นที่อาตมาเคยได้พบนั้นมีความอบอุ่น ท่านค่อนข้างผอม แต่น่าเกรงขามจะว่าดุก็ไม่ดุหรอก “อะไรที่ผิดทางท่านตะโกน ถ้าผิดทางของท่านนะ” หลวงปู่อ่อนเคยเล่าว่า “หลวงปู่พรหม จิรปุญฺโญ ท่านออกบวช ท่านก็สละสมบัติออกบวช ท่านไม่มีลูก บวชแล้วท่านมาสร้างโบสถ์ (วัดประสิทธิธรรม อ.บ้านดุง จ.อุดรธานี) แล้วไปกราบท่านพระอาจารย์มั่น ที่วัดป่าบ้านหนองผือ (วัดป่าภูริทัตตถิราวาส) พอเข้าถึงประตูวัดป่าบ้านหนองผือ ท่านพระอาจารย์มั่นคอย (แล) เห็น “นั่นใคร ท่านพรหมหรือ ? ออกไปเดี๋ยวนี้ๆ”

    ท่านเห็น หลวงปู่พรหม จิรปุญฺโญ ตั้งแต่เข้าประตูวัด หลวงปู่พรหมก็มาถึงศาลา หมู่เพื่อนภิกษุก็หาน้ำหาท่ามาถวายท่าน ท่านก็บ่นอยู่กุฏิของท่านนั่นแหละ “ออกไปเดี๋ยวนี้ๆ” ไม่รู้ว่าผิดอะไร หลวงปู่พรหมถ้าไม่ออกไปก็กลัวท่านจะเหนื่อย กลัวจะเป็นบาป ท่านก็เลยออกไปพักบ้านหนองสะไน ตามที่หลวงปู่อ่อนเล่า ไม่รู้ว่าผิดอะไร นี่แหละที่ท่านพระอาจารย์มั่นท่านพูดอย่างนั้น ได้ยินได้ฟังก็วินิจฉัยดู “มิใช่ผิดทางท่านสอนรึ ?” ที่ท่านดุนั่นเรียกว่าผิดทางที่ท่านสอน “การสร้างนั่นมิใช่ทางพ้นทุกข์ ทางพ้นทุกข์ไม่สร้างอย่างนั้น”

    ตอนอาตมาไปคารวะ หลวงปู่หล้า เขมปตฺโต ที่วัดภูจ้อก้อ (วัดบรรพตคีรี) อ.คำชะอี จ.มุกดาหาร ท่านกำลังสร้างศาลาใหญ่ ท่านบอกอาตมาว่า “ถ้าอาจารย์มั่นยังอยู่ ทำอย่างนี้ไม่ได้นะ ท่านว่า ทำอย่างนี้โดนท่านดุเอา” แต่มาสมัยนี้โยมเขาว่า “ถ้าไม่ทำจะไปอยู่ไหนหลวงปู่ ไม้มันก็จะหมด หาหญ้าหาอะไรมันก็ไม่มี” จริงของเขา ท่านว่า หลวงปู่หล้าก็เลยทำ “ที่ หลวงปู่หล้าท่านทำ มันพร้อมหมดทุกอย่างแล้ว แต่สมัยก่อนไม่พร้อมมันเป็นทุกข์ การสร้างก็เป็นทุกข์ สร้างแล้วความปรารถนาอยากเป็นนั่นเป็นนี่นั่นก็เป็นทุกข์อีก ไม่พ้นทุกข์ ทางท่านพระอาจารย์มั่นสอน ท่านสอนพ้นทุกข์ ถ้าผิดทางของท่าน ท่านจะดุเอาอย่างนั้นแหละ ถ้าไม่ผิดทางท่าน ท่านก็จะไม่ดุ”
    • ท่านพระอาจารย์มั่นไปตามญาณ •

    ธรรมะท่านพระอาจารย์มั่นที่อาตมาได้รับทราบจากหลวงปู่อ่อนว่า “ท่านพระอาจารย์มั่นท่านไปทางไหน ท่านไปตามญาณ” อย่างเช่นที่ท่านไปพักที่ ถ้ำสาริกา เขาใหญ่ ท่านก็ปรารภ “จะไปปฏิบัติที่ไหนหนอจึงจะรู้ จึงจะหายสงสัยในธรรม” ท่านได้ปรารภ ท่านอยากรู้ อยากหายสงสัยในธรรม ในนิมิตก็บอกว่า “ถ้ำสาริกา เขาใหญ่” ท่านก็เดินทางไปแหละ ท่านไม่เคยไป พบโยมเลี้ยงควายท่านก็ถามถึงทางไปถ้ำสาริกา เขาใหญ่ “ไปทางไหนโยม” โยมคนนั้น “ไม่บอกให้ท่านไปหรอก เดี๋ยวท่านจะไปตาย เพราะที่นั่นพระตายหลายองค์แล้ว”

    ท่านก็เลยพูดกับโยมเขาใหญ่ “อาตมาก็รู้ ใครจะอยากไปตายล่ะโยม อาตมาอยากไปดูไปชมเฉยๆ ดอก” พอว่าอยากไปดูไปชมเฉยๆ เขาก็เลยพาท่านไป ไปก็เห็นบาตรบริขารพระที่ตายนะ ที่พัก ร้านพัก ทางจงกรมก็มีอยู่ พอไปถึง ท่านก็ให้โยมหาไม้ตาดปัดกวาดทางจงกรม ร้านพังมอดกินมันชำรุดก็ให้โยมหาไม้ใหม่มาซ่อม พอซ่อมดีแล้ว ท่านก็ขึ้นนั่งบนร้านนั่นแหละ พูดกับโยมเขา “เออวันนี้ค่ำแล้ว กลับบ้านเสียเถอะ อาตมายังเบิ่งบ่คัก อยากนั่งเบิ่งคักๆ” (อยากดูให้ดีๆ ชัดๆ) พอท่านให้กลับ โยมเขาก็กลัว เขาก็รีบกลับเลย

    เช้าท่านลงไปบิณฑบาตบ้านโยมคนนั้นแหละ เขาก็ใส่บาตรทุกวัน ท่านก็บิณฑบาตมาฉันอยู่องค์เดียวของท่าน ไปได้ ๒ วัน ๓ วัน ท่านเดินจงกรมอยู่ตอนกลางวัน ท่านก็ได้ส่งจิตออกไปนอก “ถ้ำชื่อว่า ถ้ำสาริกา ชื่อเขา เขาก็เรียกว่า เขาใหญ่ สัตว์ใหญ่จะมีบ้างไหมหนอ ?” ท่านนึกในใจ พอนึกเท่านั้นแหละ มีหมูป่าตัวใหญ่เดินตัดเขาขึ้นไป ท่านก็มองดูหมูป่าตัวใหญ่ตัวนั้น เดี๋ยวสักครู่มีหมาในฝูงหนึ่ง หัวหน้าฝูงมาถึงท่านก่อน ท่านพระอาจารย์มั่นนี้ศักดิ์สิทธิ์นะ พอหมาในมาถึงเขาก็ยืนดู (ทำจมูกฟึดฟัดๆ ใส่ท่าน) ฝูงเขามาถึง เขาก็มายืนดู ผ่านไปแล้วท่านจึงได้มีจิตสำนึก ถ้ำนี้ศักดิ์สิทธิ์นะ “ไม่สำรวมไม่ได้นะต้องสำรวม” ท่านเตือนจิตของท่าน

    ท่านพระอาจารย์มั่นท่านอยู่ที่ถ้ำสาริกา เขาใหญ่ ตั้งแต่ช่วงต้นฤดูฝน มียุงมากยุงได้กัดท่าน ท่านก็เอามือไล่ไปตามร่างกาย มือไปถูกยุงตาย พอถูกยุงตายก็สำคัญตัวเองว่าเป็นโทษ “เราจะไปแสดงอาบัติกับใคร อยู่องค์เดียว เพื่อนแสดงอาบัติก็ไม่มี” ก็นึกว่าตัวเองเป็นโทษ มันร้อนขึ้นมาหมดตามร่างกาย มีแต่ร้อน มีแต่ทุกข์ ธาตุก็พิการ ฉันข้าวเข้าไปยังไง ถ่ายออกมายังเป็นเม็ดข้าวอยู่ โยมเขาไม่ค่อยเห็นท่านลงไปบิณฑบาต เขาก็ท้วงมา “ท่านก็จะตายอีกแล้วนี่ ไม่ได้ๆ ต้องลงๆ” เขาก็จะตามท่านขึ้นมา จะเอาบาตรบริขารท่านลงไป ท่านไม่ยอมนะ “ยังไม่รู้ ยังไม่เห็น ยังไม่หายสงสัยในธรรม ไปไม่ได้ จะไปก็ต้องรู้ หายสงสัยในธรรมนั่นแหละจึงจะไปได้” ท่านก็ทนทุกข์อยู่นั่นแหละอยู่องค์เดียวของท่าน

    ไปได้ ๒-๓ วัน ปรากฏเสียงดังลงมาจากยอดเขาโน้น ตะโกนลงมาอย่างแรงว่า “ท่านมาปฏิบัติเอาทุกข์หรือ ? ท่านมาปฏิบัติเพื่อพ้นทุกข์มิใช่หรือ ?” เมื่อท่านได้ยินเสียงนั้นแล้วท่านก็มีจิตสำนึก เราเป็นโทษก็วิกัปเก็บเอาไว้ก่อนก็ได้ หากมีเพื่อนมาทีหลังแสดงอาบัติกับเพื่อนเอาก็ได้ หรือไม่มีใครมา เราไปข้างหน้าพบเพื่อนข้างหน้าแสดงอาบัติกับเพื่อนข้างหน้าก็ได้ พอได้ยินเสียงนั้นแล้ว ที่เป็นทุกข์มาก่อนค่อยเย็นลงๆ นึกถึงธรรมถึงวินัยก็นึกได้ นึกถึงอะไรก็นึกได้ อยากรู้อะไรก็รู้ได้ แล้วท่านก็อยากรู้ว่าพระที่ตายนั้น ทำไมจึงมาตายที่นี่ ท่านก็รู้ได้ พระที่ตายนั่นไม่สำรวมในศีล ไปเก็บเอาผลไม้ในป่าที่มันหล่นไม่มีใครประเคนให้ แล้วผลไม้ก็มีเมล็ดข้างใน ก็เคี้ยวกินทั้งเมล็ด ไม่ได้ทำกัปปิยะ ศีลจึงวิบัติ

    ในเขาลูกนั้นมีเปรตจำพวกหนึ่ง มีแต่รบราฆ่าฟันกัน ไม่ได้อยู่ไม่กินอะไรแหละ เขารบราฆ่าฟันกันมา พระก็ไปขวางทางเขา เขาก็เลยทุบตีเอา พระรูปนั้นก็เลยป่วยอาพาธตายไป แล้วท่านอยากรู้เหตุที่มันเป็นเปรตอยู่ที่เขาลูกนั้น เขาสร้างกรรมอย่างไรจึงไปเป็นเปรตที่นั่น ท่านก็รู้ได้อีก เปรตพวกนั้นเป็นคนประกอบอบายมุข ขึ้นชื่อว่าอบายมุขแล้วไม่เว้นแหละ มั่วสุมกันอยู่นั่นแหละ ถึงกับพระราชาออกกฎบังคับ วันพระวันศีลใครประกอบอบายมุขไม่ได้ ต้องมีโทษหนัก วันพระวันศีลให้เข้าวัด ให้ทาน รักษาศีล คนทั้งปวงก็เข้าวัดให้ทานรักษาศีลกัน เลิกอบายมุขเพราะกลัวโทษ แล้วเปรตพวกนั้น ถึงวันพระวันศีลจึงได้กินข้าวกินน้ำ มีปราสาทวิมานอยู่ ถ้าพ้นจากวันพระวันศีลแล้ว กลับเป็นเปรตรบราฆ่าฟันกันอยู่อย่างนั้นแหละไม่ได้อยู่ได้กินอะไรเปรตพวก นั้น ท่านอยากรู้อะไรท่านก็รู้ได้ที่ถ้ำสาริกา เขาใหญ่ นั่นแหละ

    ท่านพระอาจารย์มั่นท่านจะไปไหนไปตามญาณ อย่างหลวงปู่อ่อนท่านเล่าว่า หลวงปู่ขาว อนาลโย ตามธุดงค์ไปกับท่านพระอาจารย์มั่นที่เขาลูกหนึ่ง สูงก็สูง กันดารก็กันดาร น้ำบนยอดเขาโน้นไม่มีหลวงปู่ขาวนึกในใจ “เออ ที่กันดารอย่างนี้ทำไมท่านพามาอยู่นานนัก”

    หลวงปู่ขาวยังไม่ทราบถึงสาเหตุตอนไปถึงครั้งแรก ที่ท่านพระอาจารย์มั่นท่านเตือน “ไม่ให้ประมาท ตากผ้าคลุมบนพุ่มไม้ไม่ได้ ต้องสำรวม ท่านห้าม จะถ่มน้ำมูกน้ำลายอะไรก็ให้สำรวม” ไปได้ ๖ วัน ๗ วัน ท่านจึงได้บอกกับหมู่ว่า “ใครจะตากยังไง ก็ตากได้แล้ว พญานาคเขาอนุโมทนาแล้ว” เมื่อไปถึงครั้งแรกเขามักขู่ เขายังไม่เลื่อมใส พญานาคเขาทำปราสาทอยู่ที่เขาลูกนั้น อดีตชาติเป็นพี่ชายใหญ่ของท่าน ท่านไปโปรดพี่ชายใหญ่ของท่าน เมื่อเขาเลื่อมใสในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์แล้ว ท่านก็พาหมู่เดินต่อไป

    อย่างที่ท่านไปอยู่บ้านสามผง ต.สามผง อ.ศรีสงคราม จ.นครพนม พักอยู่ที่นี่ไม่ได้ ย้ายไปอยู่ที่โน้น ไปที่โน้นไม่ดี ก็ย้ายอีก ท่านก็พูดกับหมู่ “เออ เราเคยเป็นไก่ป่ามาตายที่นี่ เคยเป็นหมูป่ามาตายที่นี่ ถึงว่ามันต้องมาอยู่ที่นี่” นั่นท่านพระอาจารย์มั่นไปตามญาณ อย่างท่านพระอาจารย์เสาร์เดินธุดงค์มาพักก่อน ท่านพระอาจารย์มั่นเดินธุดงค์มาทีหลัง ท่านรู้นะ ท่านพระอาจารย์เสาร์ท่านแวะพักที่ไหน ท่านพระอาจารย์มั่นก็พักที่นั่น เพราะในอดีตชาติเคยเป็นพ่อค้าพาณิชย์ร่วมกัน

    ท่านพระอาจารย์เสาร์นี่เป็นหัวหน้าใหญ่ เป็นนายฮ้อย ท่านพระอาจารย์มั่นเป็นรอง ท่านเจ้าคุณพระธรรมเจดีย์ (จูม พนฺธุโล) ก็รองลงมาอีก แต่ท่านเจ้าคุณพระธรรมเจดีย์นี่ท่านปฏิบัติอย่างไรถึงไปพักอยู่นาน พักในอสนีพรหมนานเป็นกัปป์ (ตามที่หลวงปู่อ่อนเล่าให้ฟัง) จึงได้กลับมาเกิด กลับมาเกิดก็ได้พบกันอีก นี้ล้วนแต่เคยสร้างบารมีร่วมกันมาทั้งสามองค์ ทั้งท่านพระอาจารย์เสาร์ ท่านพระอาจารย์มั่น และท่านเจ้าคุณพระธรรมเจดีย์
    • ปัญหาธรรม-คติธรรม คำผญาของท่านพระอาจารย์มั่น •

    หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ เล่าให้อาตมาฟังว่า ท่านพระอาจารย์มั่นท่านจะพูดอะไร ท่านจะพูดเป็นปัญหาธรรมะ คำพูดของท่านพระอาจารย์มั่นจะพูดอย่างไรก็ต้องแปล แปลว่าอย่างไร หมายความว่าอย่างไร

    “หวายซาววาหยั่งลง บ่เห็นส้น
    ลึกบ่ตื้นคำเข่า หย่อนลงกะเถิง”


    หวายซาววาหยั่งลง บ่เห็นส้น ปลายที่ว่าลึกนะมันลึก (เพราะ) ลึกบ่ตื้นคำเข่า หย่อนลงกะเถิง หมายความว่า การแสวงหาธรรมนั้น ถ้าเราจะซาวหา (ค้นหา) ยิ่งหาก็ยิ่งไกล ยิ่งจะไม่เห็น แต่นี่หาเข้ามา ลึกบ่ตื้นคำข้าวหย่อนถึง หาตรงที่คำข้าวหย่อนลงไปถึงนี่แหละ ตรงท่ามกลางอกนั่นแหละ แสวงหาธรรมจะไปค้นหาตามแบบตามตำรายิ่งหาก็ยิ่งไกล

    นี่แหละตอนเป็นเด็ก อาตมาไปฟังเทศน์ท่านพระอาจารย์มั่นก็จำได้ไม่กี่คำนะ ไปก็มีหลวงตามาจากกรุงเทพฯ มาคืนแรก คืนสองหลวงตานั่นก็มาพัก ก็ขึ้นไปฟังเทศน์ท่านพระอาจารย์มั่น หลวงตานั่นมีเจตนาจะมาเที่ยวแสวงหามรรค ท่านตั้งใจจะมาจังหวัดสกลนคร อุดรธานี หนองคาย และนครพนม ถ้าไม่ได้มรรคจะกลับเข้ากรุงเทพฯ ท่านพระอาจารย์มั่นท่านบอกทางมรรคให้ หลวงตานั่นไม่เข้าใจ ท่านตบกระดานนะ เติ้มๆๆ เสียงดังคับวัดนั่นแหละ เสียงท่านพระอาจารย์มั่นนะ

    ท่านพูดเสียงดัง “มคฺโค มคฺค แปลว่า ทาง ถ้าเราเดินถูกทางจึงจะเห็นถ้าเดินผิดทางแล้วจะไม่เห็น ทางพระพุทธเจ้าก็บอกแล้ว สมฺมาทิฏฺฐิ ความเห็นของเรา เห็นยังไงล่ะ ? ชอบหรือไม่ชอบ สมฺมาสงฺกปฺโป ความดำริ เรามีความดำริยังไงล่ะ ชอบหรือไม่ชอบ ท่านให้ศึกษา ถ้ามันชอบก็เรียกว่าชอบทางมรรคนั่นแหละ” ท่านพระอาจารย์มั่นอธิบายบอกทางให้ก็ไม่เข้าใจ หลวงตานั่นไม่รู้ สำคัญว่ามรรคอยู่ที่โน้น ที่นี้ ไปคารวะท่าน ท่านพูดอีกก็จำได้ตอนคารวะนี้ “จะเที่ยวหามรรคหาผล หาจนกระดูกเข้าหม้อพู้น มันก็ไม่เห็นดอก มรรคผลไม่ได้อยู่ที่โน่นที่นี่”

    คำที่กล่าวเป็นภาษาอีสาน เป็นคำพังเพย คำผญา

    “ไม้ซกงก หกพันง่า
    กะปอมก่าแล่นขึ้น มื้อละฮ้อย
    กะปอมน้อยแล่นขึ้น มื้อละพัน
    ตัวใด๋มาบ่ทัน แล่นขึ้นนำคู่มื้อๆ”


    ไม้ซกงก ได้แก่ ตัวของเรานี่แหละ ร่างกายของเรานี่แหละ, หกพันง่า หมายถึง อายตนะทั้ง ๖ นั่นเอง, กะปอมก่า คือ กิเลสตัวใหญ่ (คือ รัก โลภ โกรธ หลง) อันแก่กล้านั่นแหละ, แล่นขึ้น มื้อละฮ้อย (มื้อละร้อย) มันวิ่งขึ้นใจคนเราวันละร้อย, กะปอมน้อยแล่นขึ้นมื้อละพัน คือ กิเลสที่มันเล็กน้อยก็วิ่งขึ้นสู่ใจ วันละพัน, ตัวใด๋มาบ่ทัน แล่นขึ้นนำคู่มื้อๆ กิเลสที่ไม่รู้ไม่ระวัง ก็จะเกิดขึ้นทุกวันๆ

    “หินก้อนล้านหนักหน่วงเสมอจิต
    เอาสโนมาติดคือสิซังซากันได้
    บัดเฮาเอาตาซ้ายแนเบิ่ง (เล็งดู)
    คือสิหนักไปทางสโน”


    นักปราชญ์เมืองอุบลราชธานีเขาเรียนสนธิ์เรียนมูลจนเขาผูกเป็นปัญหา หมอลำเขาเอาไปลำนะ ผูกเป็นปัญหาไปถามให้เขาตอบ ใครตอบได้ก็เก่ง ตอบไม่ได้ก็ไม่เก่ง เขาผูกเป็นปัญหา คือ เขาเรียนสนธิ์เรียนมูลจบ ผูกเป็นปัญหาธรรมได้ ผูกเป็นปัญหาถามคนอื่นให้เขาตอบ ถ้าเขาติด (ตอบไม่ได้) ก็ไม่เก่ง ถ้าคนไหนไม่ติดก็เก่งล่ะ

    ภาษาบาลี สีลฺ ก็แปลว่า ศีล, สิลา แปลว่า หิน, หินก้อนล้านหนักหน่วงเสมอจิต จิตอันเดียวที่ไปยึดมั่นถือมั่น เรียกว่าหนักหน่วงเสมอจิต, เอาสโนมาติดคือสิซังซากันได้ สโน - มโน แปลว่าใจ ใจนี่เดี๋ยวมันก็ส่ายหาความรัก เดี๋ยวมันก็ส่ายหาความชัง มันเอียงอยู่อย่างนั้น มันไม่ตรง, บัดเฮาเอาตาซ้ายแนเบิ่ง คือสิหนักไปทางสโน ใจมันเป็นอย่างนั้น ท่านจึงให้มีสติสำรวมดูจิตดูใจของเรา ขณะเราพูด จิตของเราใจของเรามันเอียงไปทางไหนแล้ว ถ้าเอียงไปทางความรัก เอียงไปทางความชัง ก็ผิดทาง ท่านให้สำรวม

    สโน สโนนี่เป็นของเบา ถ้าจะว่าตามภาษาทางนี้ เพราะสโน (ไม้โสน) มันเกิดในน้ำ ไม้สโนเขาเอามาทำจุกขวด มันไม่แตก มันอ่อน ไม้นั้นมันอ่อน ทำจุกขวดมันไม่แตก ขวดไม่แตกมันอ่อน มันนิ่ม ไม้นั้นเป็นของเบา

    สโน สโนแปลศัพท์ มโน ก็แปลว่าใจ ใจของเรานี่แหละสโนนั่น แต่ใจของคนเรามันไม่ตรงเดี๋ยวก็เอียงหาความรัก เดี๋ยวก็เอียงหาความชัง คำว่าส่ายนะมันเอียง

    “กล้วย ๔ หวี
    จัวน้อย (สามเณรน้อย) นั่งเฝ้า
    พระเจ้านั่งฉัน”


    กล้วย ๔ หวี ได้แก่ ธาตุ ๔ ดิน น้ำ ไฟ ลม

    จัวน้อยนั่งเฝ้า หมายถึง คนที่โง่เขลาเบาปัญญา ไม่รู้เท่าทัน ตามหลักของธาตุ ๔ คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ นั่งเฝ้าตัวเองอยู่ ไม่รู้ว่าในตัวของตนนั้นมีอะไรบ้าง กินแล้วก็นอน

    พระเจ้านั่งฉัน หมายถึง พระอริยเจ้าทั้งหลายที่รู้หลักความจริงอันประเสริฐ เมื่อภาวนาได้ที่แล้ว ก็เอาธาตุ ๔ (กล้วย ๔ หวี) มาพิจารณาตามหลักแห่งความเป็นจริง จนท่านเหล่านั้นสำเร็จคุณธรรมเบื้องสูง คือ พระอรหันต์ ท่านไม่นั่งเฝ้าอยู่เฉยๆ

    ท่านพระอาจารย์มั่นมักจะสอนลูกศิษย์เป็นปริศนาธรรม เป็นต้นว่า “พระสูตร - เป็นตัวกลอง พระวินัย - เป็นหนังรัด พระปรมัตถ์ - เป็นผืนหนัง จตุทณฺฑฺ - เป็นไม้ฆ้อนตีประกาศก้องกังวาน กลองจะดังก็ต้องอาศัยหนังรัดตึง ถ้าหนังรัดหย่อนตีได้ก็บ่ดัง” (คำว่า กลอง ภาษาไทยอีสาน ออกเสียงเป็น “กอง”)

    การส่งเสริมเผยแผ่พระพุทธศาสนาจะให้เจริญแพร่หลายขยายกว้างไกล ก็ต้องอาศัยการศึกษาให้เข้าใจกระจ่างแจ้งในพระสูตร พระภิกษุก็ต้องมีวัตรปฏิบัติเคร่งครัดตามพระวินัย พิจารณาทำความเข้าใจให้ปรุโปร่งในพระปรมัตถ์ ทำความเข้าใจศึกษาแต่เพียงส่วนหนึ่งส่วนใดไม่ได้ ถ้าทำเช่นนั้น ความเจริญของพระพุทธศาสนาในจิตใจคนจะหด เสื่อมถอยลงเหมือนตีกลองไม่ดังกังวาน เพราะสายรัดกลองหย่อนยาน

    คำว่า “กลอง” ท่านหมายถึง กองรูป กองเวทนา กองสัญญา กองสังขาร กองวิญญาณ “จตุ” แปลว่า สี่ กองรูป ขึ้นชื่อว่ารูปก็มีธาตุทั้ง ๔ ท่านยกเอามาตีความทั้งหมด ตีให้มันแตก เวทนาก็มีอยู่ในรูป สัญญา สังขาร วิญญาณ ก็มีอยู่ในรูป ถ้าตีไปที่อื่นก็ไม่ถูกตัวกลอง (กอง) ต้องยกเอากองรูป กองเวทนา กองสัญญา กองสังขาร กองวิญญาณ มาตี (ตีความ) ถ้าตีถูกตัวกลอง กลองจะดังก้องกังวานทั่วเมืองไทย ตีลงไปในกองรูป ให้ตีลงในธาตุทั้ง ๔ ตัวคนประกอบด้วยธาตุทั้ง ๔ เมื่อเข้าใจแล้วก็ไม่หลงยึดในตัวตนต่อไป “ผู้มีปัญญาจงพิจารณารู้เองเถิด”
    • เดินหาพุทโธ •

    การเดินธุดงค์ของท่านพระอาจารย์มั่น เดินทุกข์จริงๆ นะ พักในป่า ไปบิณฑบาตได้แต่ข้าวเปล่าๆ มาถึงที่พักแล้วก็ให้เณรหาฟืนมาก่อขึ้น ก่อไฟให้เป็นถ่าน แล้วก็เอาข้าเหนียวปั้นไม้เสียบไปขาง (ย่างไฟ) เอาเทียนไข (แต่ก่อนเป็นเทียนผึ้งแท้) ของเณรนี่แหละทา ท่านฉันข้าวจี่ทาเทียนไขน่ะ ข้าวจี่ทาเทียนไขท่านก็ฉัน ท่านเดินธุดงค์เดินทุกข์ เดินทุกข์จริงๆ ที่ท่านเดินธุดงค์ไปโปรดชาวเขา

    หลวงปู่อ่อนท่านเล่า “ชาวเขาเขาไม่เคยเห็น พระ ท่านไปอยู่กับเขา เขาก็เลื่อมใสในการปฏิบัติของท่าน หากท่านต้องการทางจงกรมเขาก็ทำให้ ต้องการร้านพักที่พักเขาก็ทำให้ พอทำแล้วท่านก็เดินจงกรม กลางวันชาวเขาเขามาพบเห็นเข้า เขาก็มายืนดู “ตุ๊เจ้าเดินหาอะไร เดินกลับไปกลับมา ก้มดูแต่ในดิน” เขาแปลกใจ เขาเข้าไปถามท่าน “ตุ๊เจ้าเดินหาอะไร”

    ท่านก็ตอบเขาว่า “เดินหาพุทโธ” พุทโธเขาไม่รู้ เป็นยังไงเขาไม่รู้ ถามท่าน พุทโธเป็นยังไง ท่านก็มีศรัทธาช่วยตอบเขาว่า “พุทโธ ใสเหมือนดวงแก้ว” ว่าดวงแก้ว เขารู้ เขามีศรัทธาอยากช่วยท่านหา ท่านก็ว่า “เออ ดีละ ถ้าสูช่วยหาด้วย” ท่านก็แนะนำบอกทางให้เขาหา “ให้สำรวม จะเดินไปไหนก็ดีให้สำรวม มิให้เหลียวซ้ายแลขวา มิให้ก้มนักเงยนัก ให้ทอดสายตาห่างจากตัวเราเพียงแค่ ๔ ศอก เดินไปทางไหนก็พุทโธๆๆ ไปตลอด”

    ชาวเขาก็นำไปปฏิบัตินะ เขาไปไร่ไปสวนก็สำรวม พุทโธๆ ไป พุทโธไปหลายมื้อหลายวันเข้า จิตเขาก็รวมเป็นสมาธิ ใจเขามันใส ของที่อยู่ใกล้อยู่ไกลเขารู้เห็นได้ เมื่อเขารู้เห็น เขาไปดูก็เป็นจริงตามที่เขาเห็น ในเมื่อเขารู้เห็นอย่างนั้น เขาก็แปลกใจ “ตุ๊เจ้าว่าพุทโธใสเหมือนดวงแก้ว มิใช่ใจของเรานี่เหรอเปรียบเหมือนดวงแก้ว” มาถามท่านพระอาจารย์มั่น ท่านก็รับรอง “เออ ใจนั่นแหละเปรียบเหมือนดวงแก้ว แก้งดวงนี้แก้วสารพัดนึก นึกยังไงก็ได้” โปรดชาวเขา ท่านก็โปรดง่ายๆ นะ เพราะชาวเขาคนซื่อ ว่ายังไงเขาก็เชื่อ นำไปปฏิบัติได้


    • นายช่างเหล็ก •

    ท่านพระอาจารย์มั่น ท่านรู้บรรดาลูกศิษย์ที่มาปฏิบัติร่วมกับท่าน ท่านอุปมาเปรียบตัวของท่านเหมือนนายช่างเหล็ก นายช่างเหล็กนะรู้เหล็กนี่ดีหรือไม่ดี จะตียังไง นายช่างตีเหล็กตียังไง ท่านพระอาจารย์มั่นสอนลูกศิษย์ก็สอนอย่างนั้นแหละ ตีเหล็กถ้าไม่เผาไฟให้มันแดง มันร้อน ก็ตีไม่ได้ ต้องเผาไฟให้มันร้อน มันแดงก่อนจึงเอามาตี เอาฆ้อน ๘ ปอนด์ตีแรงๆ แต่งให้เป็นรูปเป็นร่าง แล้วเอาค้อนน้อยมาเคาะมาแต่งอีกให้มันสวยมันงาม แล้วก็ยังไม่พอ ก็ต้องเอามาขัดมาฝนให้มันเรียบ แล้วจึงเอาไปชุบ ชุบแล้วก็เอามาฝน (ลับ) เอามาลอง (ทดลอง) ถ้ายังบ่าน (แตกร้าว, บิ่น) ยังเป้ (เบี้ยว) อยู่ก็ยังไม่ดี เอาไปชุบใหม่ ตีใหม่ เอาไปทดลองอีก ถ้ายังแตกยังเบี้ยวอีก เรียกว่าเหล็กนั้นไม่ดี ท่านทิ้ง

    บรรดาลูกศิษย์ก็เหมือนกัน ศิษย์ท่านพระอาจารย์มั่นต้องผ่านการเข่น การตี การทดลอง ถ้าไม่แตกไม่เบี้ยวเรียกว่าดี ความคิดของท่านนั้น ถ้ายังมีแตกอยู่ ชุปที่ไหนก็มีแต่แตกแต่เบี้ยว ท่านก็ทิ้ง ท่านไม่สอน ท่านเน้นควบคุมสติ ทุกอย่างให้มีสติ ทุกอริยาบถ สติควบคุมจิต จิตของเราเวลานี้มันคิดไปยังไง เอียงไปยังไง ให้รู้ ถ้าไม่รู้มันแก้ไม่ทัน ถ้ารู้เราก็แก้ทัน

    สำหรับท่านพระอาจารย์มั่น ท่านไม่ให้ดูหนังสือนะ ถ้าดูหนังสือท่านจะดุเอา ดูหนังสือตามแบบ ภาวนาตามแบบ ไม่เป็นไปตามแบบ ท่านให้ดูแต่จิตใจ ถ้ารู้เห็นจิตใจของเราแล้วเรายังสงสัย อยากไปดูตำรา ท่านจึงอนุญาตให้ดูได้ ถ้ายังไม่เห็นจิตเห็นใจของเรานี่ ท่านห้าม จะบวชท่านก็ยังไม่บวชให้ถ้ายังไม่เห็นจิตเห็นใจ ถ้าเห็นกายเห็นจิตของเราแล้ว ท่านจึงจะบวชให้ บางราย ๒-๓ ปีก็ผ้าขาวอยู่นั่นแหละ ท่านทรมาน

    หลวงปู่อ่อนเล่าว่า ลูกศิษย์ท่านพระอาจารย์มั่นมีศรัทธาอยากจะบวช แต่ท่านไม่รับ ทำยังไงท่านก็ไม่รับ เขาก็เลยมานอนทอดบังสุกุล เอาผ้าขาวพาดบนอกนอน ท่านเดินจงกรมอยู่ ท่านก็เห็น “เอ้า ! ใครมานอน ไม่เห็นไปสักที” ท่านเดินมาเห็นผ้า ท่านเลยชักบังสุกุลเอาผ้าในอกนั่น เมื่อท่านชักบังสุกุลเอาแล้ว ถือว่าท่านรับเอาตัวเองด้วย ก็เลยอยู่ไป อยู่ด้วยความเกรงกลัวนั่นแหละ ท่านพระอาจารย์มั่นท่านรู้ ถ้าจะรับเอาตามปกติธรรมดา คนนี้จะสำคัญตัวว่า “ตัวเองดี ตัวเองเก่ง” ท่านทรมาน ท่านรู้จักทรมาน ทิฏฐิ ความถือตัวไม่ให้มี เรียกว่า “อยู่ด้วยความเกรงกลัว” ถ้าท่านไม่รับเรียกว่า “ไม่ดี” เราไม่ดีท่านไม่รับ อยู่ด้วยความเกรงกลัวนี่แหละเป็นการทรมานของท่านพระอาจารย์มั่น อุบายทรมานของท่าน

    แต่ศิษย์บางองค์ของท่านพระอาจารย์มั่นเป็นคนป่าก็มีนะ ชาวบ้านเขาไปไล่จับเอาในป่าโน้น เอามาเลี้ยงเอาไว้ แล้วเห็นเจ้าเมืองไม่มีลูก เลยเอาไปถวายเป็นลูกบุญธรรมเจ้าเมือง เจ้าเมืองก็รับเอา เจ้าเมืองให้นอนอยู่ใต้ถุนบ้านท่าน ก็นอนอยู่ใต้ถุนนั่นแหละ ชื่อ ญาท่านก่ำ ชื่อคนป่านะ ท่านเป็นคนขยัน คนซื่อสัตย์ เจ้าเมืองก็รักเหมือนกับลูก ก็ให้ขึ้นนอนบนบ้าน ท่านไม่ยอมขึ้น ท่านถือว่าท่านเป็นข่อยเป็นข้า พอเติบใหญ่มา ท่านก็อยากได้บุญด้วย จะให้ไปบวชท่านก็ไปบวช บวชแล้วพระท่านสอนให้เดินจงกรม ท่านก็เดินจงกรม เดินจงกรมเหนื่อยแล้วก็ขึ้นไหว้พระสวดมนต์นั่งสมาธิ ท่านก็ทำอยู่นั่นแหละ

    พอท่านบวชได้อายุพรรษามากแล้ว ท่านอยากไปอยู่องค์เดียวของท่าน ก็ไม่มีใครไปเยี่ยมดูแลแหละ เป็นคนป่าไม่มีความรู้ พอมีคนคิดถึงท่านว่าท่านอยู่องค์เดียว ที่อยู่ของท่านจะรกหรือเปล่าไปดู ท่านก็พูดธรรมะเก่ง ตอนที่ท่านเป็นเด็กเป็นคนป่านะ คนเขาไล่โดนเถาวัลย์เกี่ยวขาล้ม เขาเลยจับเอา ท่านเดินธุดงค์ไปที่ไหนถ้ามีเถาวัลย์ ท่านจะนอนหันหัวมาหาเถาวัลย์นั่นแหละ ท่านเคารพเถาวัลย์ เพราะว่านั่นเป็นอาจารย์ใหญ่ของท่าน มีบุญคุณต่อท่าน ถ้าเถาวัลย์ไม่เกี่ยวขาท่าน ท่านจะไม่ได้มาเป็นคนอย่างนี้ ญาท่านก่ำ

    ท่านพระอาจารย์มั่น ท่านพระอาจารย์เสาร์ คนโบราณทางนี้เรียก ญาท่าน ญาท่านนี้เป็นผู้มีคุณธรรมสูง ญาท่านก่ำที่เป็นคนป่านี่คุณธรรมสูง ท่านคงจะไม่มาเกิดอีกแหละ ได้ยินหลวงปู่อ่อนท่านเล่า แต่อาตมาไม่ทันหรอก ยกขึ้นญาท่านเหมือนกับพระยานั่นแหละ คนทางนี้เรียกท่านพระอาจารย์เสาร์ ท่านพระอาจารย์มั่น ว่า ญาท่านเสาร์ ญาท่านมั่น ผู้มีคุณธรรมทางเมืองอุบลราชธานีเขาเรียก “ญาท่าน”
    • การสอนธรรมของท่านพระอาจารย์มั่น •

    ท่านพระอาจารย์มั่นท่านสอนลูกศิษย์ คนนี้เป็นคนอย่างไรท่านจะสอนอย่างนั้น ลูกศิษย์ที่มานี่ อย่างหลวงปู่อ่อนไปมอบตัวกับท่าน ท่านก็สอนคำบริกรรม “กายเภทฺ กายมรณฺ มหาทุกฺขฺ” ให้บริกรรมคำนี้ หลวงปู่อ่อนก็นำไปบริกรรม แล้ววันหลังท่านก็ถาม “เป็นอย่างไร สบายไหม ?”

    หลวงปู่อ่อนตอบว่า “ไม่สบาย ขอรับ” มันยาก มันขัด ว่า “ไม่สบาย”

    ท่านพระอาจารย์มั่นท่านก็รู้ว่า “ไม่ถูกกับจริตคำนี้” ท่านเลยเปลี่ยนคำบริกรรมให้ใหม่ ท่านให้บริกรรม “เยกุชฺโฌ ปฏิกุโล” หลวงปู่อ่อนท่านก็นำไปบริกรรมภาวนา แล้ววันหลังท่านก็ถาม “เป็นอย่างไรสบายไหมคำนี้” หลวงปู่อ่อนกราบเรียนท่านว่า “สบายเหมือนคำว่าพุทโธ ขอรับ” ท่านก็ให้บริกรรมคำนี้แหละ

    เมื่อตอนที่ หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ ไปอบรมธรรมปฏิบัติอยู่กับท่านพระอาจารย์มั่นนั้น หลวงปู่อ่อนท่านมีกำลังมาก ไปอยู่กับท่านพระอาจารย์มั่น กลางวันไม่ได้พักผ่อน ท่านพาทำงาน ทำงานก็ไม่ใช่งานหนักอะไรหรอก งานเบาๆ นี่แหละ เป็นผ้าเช็ดเท้าเย็บกันทั้งวัน กลางคืนก็ไปบีบนวดถวายท่าน ตี ๒ ท่านตื่นจึงออกไปได้ ถ้าท่านไม่ตื่นออกไปไม่ได้ การบีบนวดท่านพระอาจารย์มั่นนั้น ถ้าท่านนอนหลับถือว่าท่านหลับแล้ว จะไปเลยไม่ได้ วันหลังจะมาบีบนวดให้ไม่ได้ ท่านไม่ยอมนอนนั่นแหละ ท่านทรมาน ท่านรู้จักทรมาน ท่านทรมานเอา ตี ๒ แล้วจะไปนอนก็ยังไงอยู่ เช้าก็กลัวจะมารับบาตรท่านไม่ทัน ต้องไปเดินจงกรมก่อน ไม่ได้หลับได้นอน ถ้าคิดอยากนอนก็คงหงายตึงเลย ท่านพระอาจารย์มั่นท่านรู้จักในการทรมานหลวงปู่อ่อน ซึ่งเป็นอุบายอบรมธรรมของท่านพระอาจารย์มั่น ตามที่หลวงปู่อ่อนเล่าให้อาตมาฟัง
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_1068.JPG
      IMG_1068.JPG
      ขนาดไฟล์:
      888.1 KB
      เปิดดู:
      294
  18. TSKing

    TSKing Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2010
    โพสต์:
    146
    ค่าพลัง:
    +39
    หลวงปู่สิงห์ทอง ปภากโร วัดป่าสุนทราราม อ.เลิงนกทา จ.ยโสธร

    วัดป่าสุนทราราม (วัดบ้านกุดแห่)
    หมู่ 1 บ้านกุดแห่ ต.กุดแห่
    อ.เลิงนกทา จ.ยโสธร 35120


    พระครูสุนทรศลีขันธ์ (หลวงปู่สิงห์ทอง ปภากโร) เจ้าอาวาส

    วัดป่าสุนทราราม (วัดบ้านกุดแห่) เป็นวัดปฏิบัติสายหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต

    หลวงปู่สิงห์ทอง ปภากโร เป็นลูกศิษย์ของพระอาจารย์ดี ฉนฺโน
    และเป็นพระกรรมวาจาจารย์ของพระครูวิมลสีลาภรณ์ (หลวงปู่เนย สมจิตฺโต)


    • ประวัติความเป็นมาของวัดป่าสุนทราราม •

    ครั้งในสมัย พระอาจารย์ดี ฉนฺโน เป็นเจ้าอาวาสวัดศรีบุญเรืองท่าแขก บ้านกุดแห่ วัดเจริญรุ่งเรืองมากทั้งทางโลกและทางธรรม ท่านเป็นพระนักพัฒนา พระนักก่อสร้าง ได้นำพาคณะญาติโยมทำบุญตามประเพณีจริงๆ เดือน ๓ เอาบุญข้าวจี่ เดือน ๔ เอาบุญพระเวสสันดรชาดก เดือน ๕ ก็บุญสงกรานต์ เดือน ๖ บุญบั้งไฟหมื่นบั้งไฟแสน ฯลฯ

    แต่ก่อนใกล้จะถึงวันทำบุญป่าวประกาศประชุมกันทำตูบ ทำปะรำสำหรับต้อนรับพระ ปัจจุบันใช้เต็นท์แทน ญาติโยมที่มาทำบุญใส่ฉลากมาเป็น ๖๐ กว่าบ้าน แต่ละหมู่บ้านที่มาจะประกอบด้วยหนุ่มสาว ผู้เฒ่าผู้แก่ พระเณรจะเดินทางมา บางวัดมีม้า พระจะขี่ม้ามา ญาติโยมหนุ่มสาวเดินตามหลังสนุกสนานร่าเริง พอไปถึงวัด เจ้าภาพจัดกันไว้เป็นคุ้มเป็นกลุ่ม คุ้มไหนรับบ้านไหนก็จะพาไปพักที่ตูบที่ประจำที่เตรียมไว้ ใครรับบ้านไหนจะตกลงกันในวันประชุมก็เป็นที่รับบ้านนั้น พอถึงเวลาแห่พระเวสก็จะไปรวมกัน มีกลองตุ้ม กลองหาง กลองเลง กลองกริ่ง มีวงระนาด ฆ้องวง มีหัวงิ้วหัวโขน เข้าขบวนแห่ สมัยนั้นถือเป็นของแปลกประหลาดมาก กลางคืนก็มีมหรสพ แต่ก่อนไต้กระบองไม่มีไฟฟ้า เครื่องเสียงไม่มี คนมาเที่ยวงานชมงาน ๑๐๐ กว่าหมู่บ้าน แออัดเต็มบ้านเต็มวัด คำว่าทะเลาะกันตีกันไม่มีเหมือนทุกวันนี้ มีแต่สนุกสนานร่าเริง คนหนุ่มสาวก็พูดเกี้ยวกันเป็นคำเว่าผญา แต่โบราณอาหารการกิน เลี้ยงกันเลี้ยงแขกที่มาเอาบุญอุดมสมบูรณ์ การทะเลาะวิวาทไม่มีเลย พระอาจารย์ในตอนนั้นท่านจะเป็นช่าง ทำอะไรเป็นหมด และให้ดีสมชื่อท่านด้วย ที่เห็นของเก่าที่ท่านทำไว้ก็ตู้เก็บคัมภีร์เทศนา ซึ่งจารึกด้วยตัวธรรมตัวขอมทั้งนั้นเลย ท่านมีม้าเป็นพาหนะ ท่านจะไปเทศนาบ้านกุดเชียงหมี บ้านไกลท่านจะขี่ม้า ญาติโยมก็เดินตามไป แต่ก่อนไม่มีรถเลย
    ครั้นต่อมา ปี พ.ศ. ๒๔๖๖ พระอาจารย์ดี ฉนฺโน พร้อมน้องชายได้เดินทางออกจากวัดศรีบุญเรืองท่าแขก บ้านกุดแห่ ด้วยเกิดอยากไปเที่ยวหาเรียนวิชาอาคม หาของดีหาวิชาความรู้เพิ่มเติม จึงเดินทางท่องเที่ยวขึ้นไปทางเหนือไปทางจังหวัดสกลนคร นครพนม ด้วยคงเป็นบุญกุศลแต่ชาติปางก่อนหนุนส่ง จึงจำเพาะให้การเดินทางไปมืดค่ำลงที่บ้านสามผง ตำบลสามผง อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม ซึ่งในขณะนั้นที่วัดบ้านสามผง ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต พักปฏิบัติธรรมอบรมญาติโยมอยู่ที่นั้นพอดี เมื่อพระอาจารย์ดีเข้าไปนมัสการกราบไหว้ ท่านพระอาจารย์มั่นได้ทักท้วงทักทายได้ถูกต้องเหมือนตาเห็น เป็นอัศจรรย์มาก พระอาจารย์ดีเข้าใจทันทีว่าท่านพระอาจารย์มั่นเป็นผู้มีหูทิพย์ ตาทิพย์ สำเร็จแล้ว ท่านเป็นผู้วิเศษจริงๆ เมื่อมาพบของดีเข้าแล้วจึงขอฝากตัวเป็นลูกศิษย์ทันที ท่านพระอาจารย์มั่นก็แสดงธรรมให้ฟัง ชี้ทางประพฤติปฏิบัติที่ถูกต้องตามพระธรรมวินัย

    ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๐ ท่านได้บวชญัตติเป็นพระสงฆ์คณะธรรมยุตใหม่อีกครั้ง ที่วัดสร่างโศก อำเภอยโสธร ในครั้งนั้น ซึ่งปัจจุบันคือ วัดศรีธรรมาราม (พระอารามหลวง) วัดธรรมยุตวัดแรกในอำเภอยโสธร จังหวัดอุบลราชธานี เมื่อบวชแล้วก็ได้ออกเผยแผ่พระธรรมกรรมฐาน เป็นศิษย์เอกในสมัยบุกเบิกนั้นอย่างกว้างขวาง ท่านเดินทางกลับบ้านกุดแห่ หลังจากฝึกข้อวัตรปฏิบัติจากท่านพระอาจารย์มั่น ๑ ปี พระอาจารย์ดี ฉนฺโน ได้ไปพักอยู่ที่ดอนปู่ตา ปักกลดอยู่ดอนปู่ตา รื้อหอปู่ตาทิ้งปลูกกุฏิชั่วคราวขึ้น ปฏิบัติธรรมสั่งสอนประชาชนอยู่ ๑ เดือน ให้เลิกนับถือปู่ตา ให้เลิกนับถือผีฟ้า ให้นับถือพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ว่าเป็นที่พึ่งที่ระลึกสูงสุด

    ครั้นต่อมา พระอาจารย์ดี ฉนฺโน พิจารณาเห็นว่าสถานที่ของวัดไม่เหมาะสมและไม่สัปปายะ จึงได้ย้ายจากดอนปู่ตาไปจับจองเอาดอนคอกวัวของ พ่อเฒ่าฝ่ายหน้า บุราณรัตน์ ซึ่งเป็นผู้บริจาคที่ดินแปลงนี้ให้เพื่อสร้างวัด พระอาจารย์ดีจึงสั่งคณะญาติโยมรื้อศาลากุฏิจากวัดศรีบุญเรืองท่าแขก บ้านกุดแห่ เอาไปปลูกสร้างไว้ที่วัดใหม่ดอนคอกวัวทั้งหมด วัดศรีบุญเรืองท่าแขกจึงเป็นวัดร้างแต่นั้นมา ปัจจุบันเป็นที่ธรณีสงฆ์ของ วัดป่าสุนทราราม ดอนปู่ตาก็เป็นบ้านดอนสวรรค์ทุกวันนี้ พระอาจารย์ดีท่านจะไม่ค่อยอยู่ประจำ แต่ไปๆ มาๆ เพื่อจัดหาทุนทรัพย์มาก่อสร้างเสนาสนะ ที่ดินทั้งหมดที่พ่อเฒ่าฝ่ายหน้า บุราณรัตน์ ถวายมีทั้งหมด ๖๐ ไร่ ๓ งาน ๒๐ ตารางวา

    สำหรับความเป็นมาของชื่อวัดนั้น ในปี พ.ศ. ๒๔๗๑ พระอธิการอินทร์ สุนทโร ซึ่งเป็นบิดาของพระอาจารย์ดี ฉนฺโน อุปสมบทมาหลายพรรษาแล้ว จึงนำเรื่องเสนอพระเถระ ต่อมาพระอธิการอินทร์ สุนทโร ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสรูปแรก จึงได้ตั้งชื่อวัดให้คล้ายกับนามฉายาของเจ้าอาวาสรูปแรก รูปปฐมฤกษ์ ว่า “วัดสุนทราราม” สภาพเป็นป่า เป็นวัดป่าสายท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต สายปฏิบัติกรรมฐาน เลยเพิ่มป่าเข้าไปแล้วเรียกว่า “วัดป่าสุนทราราม” พระอธิการอินทร์ สุนทโร ได้พัฒนาก่อสร้างเสนาสนะ กุฏิ ศาลาการเปรียญ ฯลฯ วัดป่าสุนทรารามมีพระภิกษุสามเณรอยู่จำพรรษาไม่เคยขาดตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๗๑ จนกระทั่งถึงปัจจุบัน

    แต่ก่อน วัดป่าสุนทราราม เป็นวัดสังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ปัจจุบันเป็นวัดสังกัดคณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกาย มี พระครูสุนทรศลีขันธ์ (หลวงปู่สิงห์ทอง ปภากโร) เป็นเจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน

    ท่านเมตตาอธิษฐานให้นานมากครับให้น้องตี๋เล่าดีกว่า
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_1073.JPG
      IMG_1073.JPG
      ขนาดไฟล์:
      1.9 MB
      เปิดดู:
      614
  19. TSKing

    TSKing Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2010
    โพสต์:
    146
    ค่าพลัง:
    +39
    รูปอื่นๆอยู่ในกล้องน้องตี้นะครับ ทริปนี้ให้น้องตี๋ update นะครับ ผมขับรถอย่างเดียวพอล่ะ 555 ^^
     
  20. ลูกพ่อลิงดำ

    ลูกพ่อลิงดำ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    3,427
    ค่าพลัง:
    +13,558
    ได้ข่าวว่า น้องตี๋จะเอาให้พ่อแม่ครูอาจารย์อฐิธานจิตซัก 300 องค์ 55 ++ ที่ขาดคือ หลวงพ่อโส อาจาโร หลวงพ่อจันทร์เรียน คุณวโร พระอาจารย์เชอรี่ อภิเจโต หลวงปู่สาย วัดป่าพรหมวิหาร ^ ^
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...