" เข้าภวัง--ตกภวัง สำหรับนักปฎิบัติเริ่มต้น"

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ฝันนิมิต, 17 พฤษภาคม 2011.

  1. ฝันนิมิต

    ฝันนิมิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    467
    ค่าพลัง:
    +547
    ..............สวัสดีค่ะ...................
    พอดีมณีน้อย สงสัยเรื่องนี้มานาน และได้คำตอบจากพี่เลี้ยงธรรม
    ที่คอยดูแลให้ แต่แล้วเราก็รู้เพียงคนเดียวเท่านั้น
    เลยตัดสินใจเพื่อจะมาตั้งกระทู้
    ให้พี่ๆ และนักปฎิบัติใหม่ได้อ่าน
    และขอความเมตตาพี่ๆที่ เคยผ่านภวัง นี้ได้
    ชี้แจงเพื่อให้ หลายๆท่านได้ นำมาพิจารณา
    และนำมาลอง ปฎิบัติ และแก้ไขดูคะ

    [​IMG]

    ตกภวังในความเข้าใจของ "มณีน้อย"
    นักปฎิบัติใหม่แกะกล่องเหมือนกัน
    ตกภวัง มันลักษณะ เหมือนวูบ ตกวู๊บ เหมือนสะดุ้งสุดตัว
    ในประสบการณ์ช่วงก่อนๆ ตกภวังบ่อยมากๆ
    นั่งสมาธิเพียง ไม่ถึง 10 นาที มันก็วู๊บ และ กระชาก
    สุดแรง หลายครั้งและบ่อย จนตนเอง หัวใจเต้นแรง
    และออกจากสมาธิมาหมดแรง ไม่สดชื่น
    ก็ลองไปค้นหา ก็ มี 2 กรณี
    1. เกิดจากร่างกายเหนื่อยอ่อนเพลีย
    2.เกิดจาก กำลังสมาธิเรายังไม่ถึงพอ
    ( เป็นบ่อยกับนักปฎิบัติเริ่มต้น ทุกคน)
    หลังจากมีผลข้างเคียง มณีน้อย จึงเปลียน การทำสมาธิ ไม่ซ้ำ
    หาก เป็น ก็ถอนออก แล้วมานอนสมาธิแทน มา ทำสมาธิ แบบกิจวัตร
    ประจำวัน
    และ กิจวัตร ที่สวดมนต์ ภาวนา เช้า-เย็น
    อาศัย สวดมนต์ยาวๆ
    ตามที่พี่เลี้ยงสอนทุกประการ
    เพื่อสร้างกำลังสมาธิ
    หลังจากนั้น ก็มานั่งสมาธิ ดู คราวนี้
    เราจับทางได้ตามนี้ว่า

    [​IMG]

    เมื่อเริ่มนั่ง มันจะวู๊บเหมือนจะขาดสติ
    แต่ด้วยเรามีกำลังสติพอ จึงผ่านมาได้ เมื่อเข้าผ่านช่วงระหว่างนั้นมา
    มันจะเริ่ม รู้สึกว่าเราอยู่อีกชั้นมันรู้สึกเบา และ รอบข้างเงียบหมด
    และเข้าอีกชั้นอย่างรวดเร็ว สว่าง เหมือนอยู่ในห้องที่สว่างมากๆ หากกำลังสมาธิมากพอก็จะเพลินอยู่ในนั้นนาน
    แต่ มณีน้อยเอง
    ยังไม่ถึงไหน
    พอเข้าระดับ 3 มันก็ถอนออกมา
    และ เข้า 1 2 3 แบบนี้
    จนออกจากสมาธิ เอง
    .....

    [​IMG][​IMG]

    ตามที่พี่เลี้ยงเคยบอกว่า
    " การที่จะเข้าภวังและผ่านได้
    ต้องอาศัย ทำบ่อยๆย้ำๆ
    แต่อย่าฝืน"
    ------
    [​IMG][​IMG]
    เหตุมีท่านหนึ่งเคยพูดว่า
    " พยามเข้าภวังให้ได้
    เมื่อตก ก็เข้าอีก
    เข้าเรื่อยๆ"

    มณีน้อยเลย เถียงในใจว่า

    เอ เอ เอ มันจะไม่กระชากจน
    พะหวาเลยรึคะ เพราะ การตกภวัง มันกระชาก เพราะการสะดุง
    หากตกภวัง ให้เปลี่ยน อริยาบท
    เพื่อหลีก ทำอย่างอื่นให้เกิดกำลังสมาธิเพื่อเข้าผ่าน
    หลีกหนี การเสี่ยง
    เพื่อ เข้า ผ่านไป

    [​IMG]

    ..หากมณีน้อย กล่าวอันใดที่ผิด
    ขออโหสิกรรมด้วยนะคะ
    เพราะความไม่รู้
    และ ยังเป็นคนโง่เขลาอยู่
    แต่หากมีประโยชน์
    ขอยกกุศลให้พี่เลี้ยงธรรม
    ของมณีน้อยคะ....
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 17 พฤษภาคม 2011
  2. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,647
    พี่เลี้ยง มณีน้อย แนะนำได้ดีแล้วนะ....

    คือปกตินี่อาการตกภวัง คือ กำลังของสมาธิที่ไม่ค่อยมีกำลัง....ต้องอาศัยการทำให้มาก...ทำให้บ่อยๆ....แล้วจะดีเอง....

    อาการวูบนี้จริงๆมีหลาบแบบนะ....

    ๑.อาการวูบทางกาย คือพวกที่วูบบ่อยๆแม้ไม่ปฏิบัติ แต่มารู้ชัดเห็นชัดตอนปฏิบัติ เวียนหัวทั้งวันทั้งคืน อันนี้ไปหาหมอได้เลย ไม่ใช่สภาวะทางสมาธิ....

    ๒.อาการวูบเหมือนตกจากที่สูง...ลงไปแล้วตระหนกตกใจ...(อันนี้เดี๋ยวเอาแบบตามหลวงพ่อฤาษีท่านแนะนำมาให้)...

    ๓.วูบแบบเครื่องบินตกหลุมอากาศ ติดๆดับๆ...อันนี้ก็เกิดจากกำลังไม่พอเช่นกัน....ฝึกบ่อยๆจะดีขึ้น

    ๔.วูบแบบตกจากที่สูงใจไม่ตระหนก ลงไปสงบ สว่าง อันนี้ก็เกิดจากกำลังไม่ชินในสมาธิ..สมาธิลงฌานไม่สมูท....วิธีการคือ...เมื่อฝึกบ่อยๆมันจะสมูทเอง...อาศัยความชิน...

    ๕.วูบหลับ

    วูบ สภาวะธรรมนี้มีหลายแบบนะครับ...
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 พฤษภาคม 2011
  3. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,647
    <TABLE border=1 width="46%" align=center><TBODY><TR><TD height=27>
    พลัดตกจากฌาน


    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    เรื่องอาการพลัดตกจากฌานนี้มีผู้ประสบกันมามาก แม้ผู้เขียนเองอาการอย่างนี้ก็พบมา
    ตั้งแต่อายุ ๗ ปี ตอนนั้นถ้ามีอารมณ์ชอบใจอะไรจิตจะเป็นสุข สักครู่ก็มีอาการเสียววาบคล้าย
    พลัดตกจากที่สูง ตอนนั้นเป็นเด็กไม่ได้ถามใครเพราะไม่รู้เรื่องของฌาน เป็นอยู่อย่างนี้มานาน
    เกือบหนึ่งปี เมื่อท่านแม่พาไปหา หลวงพ่อปาน หลวงพ่อท่านเห็นหน้า ท่านก็ถามท่านแม่ว่า
    เจ้าหนูคนนี้ชอบทำสมาธิหรือ ท่านถามทั้งๆ ที่เพิ่งเห็นหน้า ท่านแม่ยังไม่ได้บอกท่านเลย
    หลวงพ่อปานท่านก็พูดของท่านต่อไปว่า เอ..เจ้าหนูนี่มันม ทิพจักขุญาณ ใช้ได้แล้วนี่หว่า
    ท่านหันมาถามผู้เขียนว่า เจ้าหนูเคยเห็นผีไหม" ก็กราบเรียนท่านว่า "ผีเคยมาคุยด้วย
    ขอรับ แต่ทว่าเขาไม่ได้มาเป็นผี เขามาเป็นคนธรรมดาต่อเมื่อเขาจะลากลับเขา
    จึงบอกว่า เขาตายไปแล้วกี่ปี แล้วก็สั่งให้ช่วยบอกลูกบอกหลานเขาด้วย"
    หลวงพ่อปานท่านก็พูดต่อไปว่า "อาการที่เสียวใจคล้ายหวิวเหมือนคนตกจากที่สูง
    นั้นเป็นอาการที่จิตพลัดตกจากฌาน คือ เมื่อจิตเข้าถึงฌานมีอารมณ์สบายแล้ว
    ประเดี๋ยวหนึ่งอาศัยที่ความเข็มแข็งยังน้อย ไม่สามารถทรงตัวได้ ก็พลัดตก
    ลงมา"
    ท่านบอกว่า "ก่อนภาวนาให้หายใจยาวๆ แรงๆ สักสองสามครั้งหรือหลายครั้งก็ดี
    หายใจแรงยาวๆ ก่อน แล้วจึงภาวนา ระบายลมหยาบทิ้งไป เหลือแต่ลมละเอียด
    ต่อไปอาการหวิวหรือเสียวจะไม่มีอีก" ถ้าทำครั้งเดียวไม่หายก็ทำเรื่อยๆ ไป เมื่อทำ
    ตามท่านก็หายจากอาการเสียว ใครมีอาการอย่างนี้ลองทำดูแล้วกัน หายหรือไม่หายก็สุดแล้ว
    แต่เปอร์เซ็นต์ของคน คนเปอร์เซ็นต์มากบอกครั้งเดียวก็เข้าใจและทำได้แต่ท่านที่มีเปอร์เซ็นต์
    พิเศษไม่ทราบผลเหมือนกัน (ตามใจเถอะ)
    เป็นอันว่าเรื่องสมาธิหมดเรื่องกันเสียที เรื่องปฏิภาคนิมิตก็ของดไม่อธิบายไม่รู้จะอธิบาย
    ไปทำไม เพราะพูดถึงฌานแล้วก็หมดเรื่องกัน อัปปนาสมาธิเป็นสมาธิขั้นฌานก็คืออารมณ์ฌาน
    นั่นเอง ปฏิภาคนิมิตเป็นนิมิตของฌานมีรูปสวยเหมือนดาวประกายพรึกรู้เท่านี้ก็แล้วกัน

    **************************************************<O:p</O:p

    เข้าศึกษาได้ตั่งแต่เริ่มต้น...ทั้งหมด....ได้ที่นี่....หนังสือเล่มนี้เนื้อหาเพียงพอสำหรับผู้ที่จะปฏิบัติด้วยตนเอง....รวบรวมวิธี...และอาการทางสมาธิ...ทั้งหมด....ควรศึกษาให้เข้าใจสัก 1 รอบ(ไม่ยาวนัก)แล้วปฏิบัติได้เลย....คำถามทางสมาธิส่วนใหญ่ที่ถามในบอร์ดมักอยู่ที่นี่.......

    วิธีฝึกกรรมฐานด้วยตนเองแบบง่ายๆ....โดยหลวงพ่อพระราชพรหมยาน ( ฤาษีลิงดำ )...

    http://www.palungjit.org/smati/books/index.php?cat=7 <O:p</O:p

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 พฤษภาคม 2011
  4. ฝันนิมิต

    ฝันนิมิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    467
    ค่าพลัง:
    +547
    ...มีความเพียร ก็ดำเนินไปสำเร็จทาง
    เอถูกมั้ยคะ
    พี่เลี้ยงมณีน้อย ย้ำเสมอๆว่า
    " ทำไปเรื่อยๆ ทำแบบเดิม ซ้ำๆ
    อย่าสงสัยจนกว่าจะชำนาญ"
    แต่..........มณีน้อยอดที่จะ
    มาโพสมะได้ แหะๆ


    [​IMG]
     
  5. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,647
    พี่เลี้ยงบอกถูกแล้วจ๊ะ....อย่าไปสงสัยนะ......ถูกแล้ว......

    สงสัยมากยากนานนะจ๊ะ.....
     
  6. ฝันนิมิต

    ฝันนิมิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    467
    ค่าพลัง:
    +547
    ...สาธุคะ...
    มาต่อนะคะ ตามที่ได้อ่านมาคะ






    หลวงปู่เทส เทสก์รังสี (ส่องทางสมถวิปัสสนา)
    [​IMG]
    "ผู้ที่หลงติดในภาพนิมิต มีหัวรุนแรงกว่าความเห็นวิปลาส.....ฯลฯ"
    หลวงปู่เทส เทสก์รังสี (จาก โมกขุบายวิธี)

    [​IMG]

    ความเห็นวิปลาส ที่หลวงปู่เทส ได้กล่าวไว้นั้น หมายถึง ทิฏฐิวิปลาส ที่หมายความว่า ความเห็นความเข้าใจที่ผิดพลาดจากความเป็นจริง ดังนี้
    [​IMG]
    และดังที่หลวงปู่เทส เทสรังสี ได้กล่าวแสดงดังข้างต้น นิมิตนั้นเมื่อจะเกิดก็เกิดเอง เป็นของแต่งเอาไม่ได้

    นั่นเอง ทั้งยังแล้วแต่วาสนา(กรุณาดูความหมายเพื่อความเข้าใจที่ถูกต้อง)การสั่งสม

    ดังนั้นเมื่อนักปฏิบัติอยากเห็นอยากรู้อยากได้คือตัณหา

    จึงพยายามน้อมนึกหรือบังคับให้เกิดนิมิต เพื่อให้เห็นโน่น เห็นนี่ เห็นอดีต เห็นอนาคต รู้นั่น รู้นี่ ฯ.

    เพื่อประโยชน์ไปในทางโลกๆหรือด้วยความเข้าใจผิด จึงเป็นการตกลงสู่ความผิดพลาดทันที

    เพราะย่อมมักแฝงไว้ด้วยสัญญา,ตัณหา ต่างๆ ดังเช่น กิเลสตัณหาความอยากต่างๆนาๆที่นอนเนื่องอยู่ของผู้นั้นๆ

    ดังนั้นนิมิตหรือภาพหรือความรู้ที่เกิดขึ้นจากการพยายามดังนี้ จึงมักไม่ถูกต้อง เพราะไม่บริสุทธิ์

    ถูกบังคับขึ้นคือแอบแฝงด้วยกำลังของกิเลสตัณหาอันแอบแฝงซ่อนเร้นอยู่นั่น เอง

    มักแฝงซ่อนเร้นด้วยความอยากให้เกิดขึ้นหรือเป็นไปตามปรารถนาของตนเอง

    แลแม้กระทั่งของบุคคลอื่นที่มาเกี่ยวข้อง อีกด้วย

    หรือกล่าวได้ว่า

    นิมิตที่เกิดขึ้นมานั้น ตัวตนหรือตัวกูของกูเป็นผู้ที่เห็นเอง จึงน้อมเชื่อ,น้อมไปเข้าใจ อย่างรุนแรงด้วยยังประกอบด้วยอวิชชาอยู่

    ดังนั้นนิมิตที่ยึดติด ยึดเพลิน ด้วยความตื่นตา เร้าใจ ที่อาจเคยเกิดในตอนแรกๆบ้างเป็นครั้งคราวโดยไม่รู้ตัว
    อันอาจเคยเห็นและเป็นไปอย่างถูกต้องเนื่องจากภาวะไร้นิวรณ์อันมีความบริสุทธิ์พอสมควร และไร้การแอบแฝงปรุงแต่งโดยเจตนาจึงมีความเป็นกลางพอสมควร

    จึงเสื่อมหายไปในที่สุดเป็นธรรมดา
    นิมิต ในระยะแรกมักเกิดในขณะปฏิบัติพระกรรมฐาน หรือฌานสมาธิ

    อันมักเกิดขึ้นในช่วงของภวังค์ จึงควรทำความรู้จักภวังค์หรือภวังคจิต
    ที่ทั้งสามารถสร้างความรู้สึกอันบรรเจิดเป็นสุขและเคลิบเคลิ้มให้แก่นักปฏิบัติ
    และทั้งยังก่อให้เกิดการฟุ้งซ่านปรุงแต่งไปต่างๆนาๆในผู้ที่ไม่รู้ไม่เข้าใจ

    จะได้ไม่พากันไปติดกับอยู่ในบ่วงมารของภวังค์และนิมิตอย่างอธิโมกข์

    คือด้วยความงมงายขาดเหตุผลกัน
    [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 17 พฤษภาคม 2011
  7. ฝันนิมิต

    ฝันนิมิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    467
    ค่าพลัง:
    +547
    ภวังค์
    ภวังค์หรือภวังคจิต
    กล่าวคือ เป็นภาวะที่เรียก
    พื้นจิต
    ที่หมายถึง ขณะที่จิตหรือภาวะ
    ที่จิตหยุดคือไม่มีการรับรู้ในอารมณ์ต่างๆที่เกิดจากการรับรู้ของทวารทั้ง๖
    กล่าวคือเป็นภาวะที่จิตหยุดการเสวยอารมณ์(เวทนา)จากภายนอก อันเนื่องมาจากทวารทั้ง ๖
    (แต่ถึงอย่างไรก็ตาม จิตก็อาจยังพอมีสติส่วนหนึ่งที่แค่เพียงพอรับรู้แค่จิตภายในตน
    ดังเช่น รับรู้ใน
    สัญญาความจำที่อาจผุดขึ้นมาได้เองโดยขาดเจตนาโดยตรง
    หรืออาจแทรกจรเข้ามาด้วยความตั้งใจมั่นไว้หรือศรัทธา
    นี่เองจึงอาจทำให้เห็นนิมิตต่างๆได้เมื่ออยู่ในภวังคจิต)
    ส่วนภาวะจิต ที่จิตมีการรับรู้อารมณ์ภายนอกอันเกิดแต่ทวารทั้ง ๖
    หรือในการดำเนินชีวิตโดยทั่วไปนั่นเอง เรียกกันว่า
    "
    วิถีจิต "
    อันเป็นสภาวธรรมหรือธรรมชาติของปุถุชนในชีวิต,
    สภาวะทั้ง ๒ นี้ จึงเกิดขึ้นในลักษณะที่เกิดดับสลับกันนั่นเอง
    กล่าวคือเมื่อไม่อยู่ใน
    วิถีจิตเมื่อใด ก็เกิดภวังคจิตขึ้นแทน
    เมื่อ
    วิถีจิตเกิดขึ้นจากการเสวยอารมณ์จากทวารทั้ง๖ ภวังคจิตก็ดับไป

    ภวังคจิต
    ที่เกิดในฌาน,สมาธิ แบ่งออกเป็น ๓ ลักษณะ

    [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 17 พฤษภาคม 2011
  8. ฝันนิมิต

    ฝันนิมิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    467
    ค่าพลัง:
    +547
    แบบแรก ภวังคบาต
    บาตที่แปลว่า
    ตก
    จึงหมายถึงการ
    ตกลงไปหรือการเข้าสู่ภวังค์นั่นเอง
    ,
    ภวังคบาตเมื่อเกิดขึ้นในขณะปฏิบัติสมถะนั้น
    อาจเป็นไปในลักษณะที่รู้สึก เคลิบเคลิ้มแล้ววูบๆวาบๆ เป็นๆหายๆ
    กล่าวคือรู้สึกเคลิบเคลิ้มแล้วรู้สึกวูบหรือเสียววูบดุจดั่งตก ทิ้งดิ่ง คล้ายตกเหวหรือตกจากที่สูง
    จึงเรียกกันว่า
    ตกภวังค์ตรงๆเลยก็มี
    มักเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ดั่งสายฟ้า เป็นแบบเคลิบเคลิ้มไม่รู้สติ ไม่รู้ตัว ควบคุมไม่ได้
    กล่าวคือถ้า
    บริกรรมหรือกำหนดจิตแน่วแน่อยู่ในสิ่งหนึ่งสิ่งใด(อารมณ์)ก็ตามที
    เช่นลมหายใจ หรือหรือพุทโธ หรืออยู่กับการพิจารณา
    ธรรมใดๆ สิ่งหรืออารมณ์นั้นก็จะวูบหายไป
    และอาจประกอบด้วยความรู้สึกเสียววูบวาบ ราวกับว่าตกจากที่สูง วูบหวิวขึ้นก็ได้
    และอาจจะประกอบด้วยภาพนิมิตสั้นๆอันเกิดแต่จิตภายในตน ขึ้น
    มักเกิดขึ้นช่วงระยะสั้นๆ แล้วก็อาจมีสติกลับไปอยู่กับ
    อารมณ์เดิมหรือคำบริกรรมเดิม
    อาจเกิดหลายๆครั้ง หรืออาจจะเคลิบเคลิ้มลงภวังค์ไปจนแน่นิ่งหรือจนหลับไหลไปเลยด้วยความสบาย
    อันเกิดจากอำนาจของภวังค์เอง ดังนั้นเมื่อเกิดภวังค์ดังนี้ขึ้นก็ให้เข้า ใจว่า
    เป็นเรื่องปกติเรื่องธรรมดา อย่าไปตกใจหรือดีใจ อย่าไปฟุ้งซ่านจึงปรุงแต่งไปต่างๆนาๆ
    เป็นเรื่องของธรรมชาติธรรมดาในการปฏิบัติ
    อย่าไปปรุงแต่งฟุ้งซ่านหรือเชื่อเขาว่า
    เป็นบุญ เป็นกุศล เป็นปาฏิหาริย์ เป็นฤทธิ์ เป็นเดช
    และยังมักไปเข้าใจผิด หรือสอนกันผิดๆอีกด้วยว่า
    จิตหรือวิญญาณกำลังจะออกไปจากร่างดัง
    เจตภูต
    หรือดัง
    ปฏิสนธิจิตตต์หรือปฏิสนธิวิญญาณก็ยังมี ฯ.
    ขอให้ทำความเข้าใจให้ถูกต้องว่า เป็นเพียงอาการแสดงว่า
    จิตเริ่มเป็นสมาธิในระดับหนึ่งเท่านั้น
    แล้วเกิด
    ภวังค์หรือภวังคจิตขึ้น
    เป็นสภาวะที่เกิดขึ้นได้เป็นธรรมดาในขั้นตอนของการปฏิบัติทั้งฌาน
    และสมาธิที่มีจุดประสงค์ไปในการเป็นเครื่องหนุนการเจริญ
    วิปัสสนา,
    อาการที่เกิดขึ้นนั้น เกิดแต่
    จิตหยุดการรับรู้การเสวยอารมณ์ภายนอกจากทวารทั้ง ๖
    คือ ตา หู จมูก ลิ้น กายและใจในขณะจิตนั้นๆ
    รับรู้อยู่ก็แต่เพียงจากจิตภายใน(สัญญา)บ้างเท่านั้น
    เรียกภวังค์ที่
    เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วดังอสุนีบาตหรือสายฟ้าฟาดนี้ว่า
    ภวังคบาต กล่าวคือเกิดอาการลงภวังค์คือตกวูบลงไปอย่างรวดเร็วดังสายฟ้าฟาด
    แล้วอาจมีสติ
    วาบหรือแว๊บกลับมาอย่างรวดเร็วก็ได้เช่นกัน จึงได้เกิดอาการวูบวาบ
    ดั่งกายทิ้งดิ่งลงจากที่สูง หรือดิ่งลงเหว จึงรู้สึกดังที่กล่าว
    ที่ภวังคบาตนี้นี่เอง จึงมีการไปเข้าใจกันว่าเป็นลักษณะของเจตภูต
    หรือกายทิพย์หรือวิญญาณ กำลังชักคะเย่อกันเพื่อจะออกจากร่างหรือกายหยาบเสียก็มี
    จึงได้รู้สึกวูบวาบดังนั้น
    จนตกใจกลัวก็มี จึงเป็นที่วิตกกังวลจนไม่กล้าปฏิบัติก็มี
    และเป็นที่วิพากวิจารณ์เล่าขานอีกทั้งปรุงแต่ง
    จนเป็นตำนานสืบต่อมา
    ต่างๆกันไป
    ตามความเชื่อความเข้าใจ
    อันเป็น
    มิจฉาทิฏฐินั้นๆ
    ของนักปฏิบัติ


    [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 17 พฤษภาคม 2011
  9. ฝันนิมิต

    ฝันนิมิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    467
    ค่าพลัง:
    +547
    [​IMG]

    แบบที่ ๒
    ภวังคจลนะ

    จลนะ มาจากคำว่า
    จลน์ที่แปลว่า เคลื่อนที่,เคลื่อนไหว
    ภวังคจลนะจึงเป็นภาวะที่จิตเคลื่อนลงสู่
    ภวังค์ไปอย่างบริบูรณ์ ไม่มีสติกลับคืนมา
    จึงไม่รู้สึกวูบแล้ววาบหรือแว๊บกลับมาดัง
    ภวังคบาตข้างต้น
    ดังนั้นจิตจึงหยุดการรับรู้
    อารมณ์จากทวารทั้ง ๖ ตามสภาวธรรมหรือธรรมชาติของภวังค์เอง
    ด้วยเหตุนี้ดังนั้นในระยะแรกๆหรือบางครั้งอาจมีอาการของความรู้สึกราวกับว่ามือ,เท้าหรือองคาพยัพบางส่วนได้เลือนหรือหายไปก็มี,
    ที่
    ภวังคจลนะนี้นี่เอง ที่แม้หยุดการรับรู้จากทวารทั้ง ๖
    ดังกล่าวแล้วก็ตาม
    แต่จิตก็ยังมีการเคลื่อนไหว(จลน์) กล่าวคือ
    จิตยังมีการไหลเลื่อนท่องเที่ยวเตลิดเปิดเปิง
    หรือเพลิดเพลินไปในอารมณ์ภายในหรือจิตภายในของตนหรือก็คือส่วนหนึ่งของสัญญาตนคือซ่านอยู่ในภาวะของภวังค์เอง
    และไม่มีอาการ
    สติ วาบแว๊บกลับมาดังภวังคบาตข้างต้น
    จริงๆแล้ว
    จึงขาดสติต่ออารมณ์ภายนอก กล่าวคือ มีสติก็แค่เพียงรู้อยู่แต่จิตภายในหรือภวังค์ของตนเท่านั้น จึงขาดสัมปชัญญะ
    จึงไร้ที่ยึด, ไร้ที่หมายใน
    อารมณ์ภายนอกโดยตรง
    ก็เพราะขาดการเสวย
    อารมณ์หรือความรู้สึกรับรู้จากภายนอกอันเกิดแต่ทวารทั้ง ๖
    เหลืออยู่แต่การรับรู้
    อารมณ์ที่เกิดแต่จิตภายในของตนแต่ฝ่ายเดียว
    จึงค่อนข้างบริสุทธิ์เพราะขาดการเข้าไปฟุ้งซ่านหรือปรุงแต่งเพิ่มเติมอีก
    แต่เมื่อ
    ขาดสติอันย่อมเนื่องกับปัญญาดังนั้นจิตจึงย่อมไร้การควบคุม
    จึงเคลื่อนไหวหรือไหลเลื่อนล่องลอยไปตามกำลัง
    หรือสัญญาของจิตตนเอง
    ในสภาวะของภวังค์เองก็มีอาการสุข สบาย เคลิบเคลิ้ม
    เพราะการขาดจากการรบกวนแทรกซ้อนของ
    อารมณ์จากภายนอกจึงรวมถึงกิเลส(นิวรณูปกิเลส)อันก่อความขุ่นมัวต่างๆจากภายนอกทั้งปวง
    คือเหล่ากิเลสใน
    นิวรณ์ทั้ง ๕ จึงระงับไปในระยะนั้นทั้งหมด
    ดังนั้น
    สติอันเป็นอาการหนึ่งของจิต(เจตสิก)ที่เป็นสังขารขันธ์อย่างหนึ่ง
    จึงค่อนข้างบริสุทธิ์ในภาวะนี้ แต่ก็ทำให้เปราะบางและอ่อนไหวเป็นที่สุดเช่นกัน เนื่องจากขาดสติในสิ่งอื่นๆ
    คือขาด
    สัมปชัญญะที่เป็นเกราะป้องกันภัย
    จึงอาจไปไวต่อการรับรู้จากภายนอกที่อาจเกิดการแทรกซ้อนหรือแวบหลุดเข้าไปได้บ้าง
    หรืออาจเกิดขึ้นแต่ความคิดที่เ
    กิดแต่จิตภายใน(จิตตน)ที่ผุดขึ้นมาเองจากสัญญาบ้าง
    ในภาวะเช่นนี้นี่เอง ที่เกิดนิมิตและโอภาสได้ต่างๆนาๆขึ้นได้อย่างชัดเจนที่สุด
    เพราะจิตทำกิจ
    ยู่แต่ในสิ่งๆเดียวเท่านั้น ไม่ได้แบ่งแยกไปหน้าที่ในอายตนะหรือทวารใดๆอีกเลย
    ก็เนื่องจากขาดหยุดการรับรู้ทางอายตนะหรือทวารทั้ง ๖ ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว,
    จึงมักเห็นเป็นไปต่างๆอย่างชัดเจนตาม
    สิ่งที่อาจหลุดแทรกซ้อนเข้าไปด้วยใจตั้งมั่นภายในหรือกำลังศรัทธา
    หรือจาก
    จิตภายในที่ผุดขึ้นมานั่นเอง
    ภาวะของภวังค์ที่เป็นแบบนี้เรียกว่า
    ภวังคจลนะ
    คือ ภวังค์ที่มีการเคลื่อนไหวไหลเลื่อนท่องเที่ยวหรือซ่านไปใน
    อารมณ์ที่เกิดแต่ภายในของตนเป็นสำคัญ
    ในสภาวะนี้นี่เอง ถ้าการปฏิบัติไม่ถูกต้องดีงาม ไปในทางมีปัญญาหรือวิปัสสนา
    คือ ไม่มีการตั้งสติพิจารณาธรรม
    หรือบริกรรมก่อสติโดยการวิตกวิจารหรือสมาธิไว้เป็นแนวทางอันถูกต้องดีงามแต่เบื้องต้นเสียก่อนแล้ว
    หรือมีผู้สอนชี้แนวที่นักปฏิบัติ
    อธิโมกข์คอยจูงจิตหรือป้อนความคิดไปผิดทางด้วยความไม่รู้ตามความเป็นจริง(อวิชชา)ให้เห็นหรือคิดหรือเพ่งในสิ่งใด จิตก็จะถูกชักจูงเลื่อนไหลให้เกิดเห็นนิมิตนั้นๆขึ้น
    หรือเกิด
    ความเข้าใจ(นามนิมิต)ต่างๆไปตามนั้น, จึงเกิดการเห็น ,ความเข้าใจไปตามนั้น
    ในสภาวะ
    ภวังคจลนะนี้นี่เอง แล้วไปยึดติด, ยึดถือ,
    ยึดเชื่อด้วยอำนาจของ
    อธิโมกข์อันเป็นวิปัสสนูปกิเลสจึงเป็นการน้อมเชื่อโดยขาดการพิจารณาขาดเหตุผล
    และเป็นไปอย่างรุนแรงด้วย
    อำนาจของวิปัสสนูปกิเลสที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติฌานและสมาธิเป็นเครื่องอุดหนุน
    จึงเกิดการเข้าใจธรรมกันอย่างผิดๆ ดังไปยึดไปเชื่อในสิ่งที่ไปเที่ยว ไปเห็นในสิ่งต่างๆ
    เช่น ภาพที่เป็น
    กสิณนั้นๆ
    หรือตามเสียงที่แว่วมาของผู้ที่นักปฏิบัติมีศรัทธาตั้งใจฟังอยู่
    จึงเห็นใน นรก สวรรค์ วิมาน เทวดา พระพุทธเจ้า แสง สี เสียงต่างๆ อันล้วนแล้วแต่ย่อมวิจิตร ชวนตื่นตา เร้าใจ
    เพราะย่อมไม่เคยพบเคยเห็นเยี่ยงนี้มาก่อนเลยในชีวิต
    และยังกอปไปด้วยความแสนสุข สงบ สบาย ด้วยความ
    อธิโมกข์ยิ่งเพราะความที่ตัวกูเป็นผู้เห็น,
    ตัวกูเป็นผู้กระทำเองด้วยตัวกูเอง จึงพากันยึดติด ยึดถือ ยึดเชื่อ
    แล้วยังปรุงแต่งกันไปอีกต่างๆนาๆด้วย
    อวิชชา
    ผู้เขียนกล่าวถึงสิ่งเหล่านี้เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจอย่างถูกต้องเพื่อประโยชน์ในการดำเนินไปในการ
    วิปัสสนา
    เพื่อจะไม่ไปยึดไปอยากให้เกิด
    วิปัสสนูปกิเลสจนไม่สามารถดำเนินไปในธรรมได้ และขอร้องอย่าให้ผู้ใดนำความรู้ความเข้าใจในการบรรยายเหล่านี้ไปใช้ในทางที่ผิด
    เพื่อประโยชน์ทางโลก อันจักเป็น
    กรรมอันเกิดแต่เจตนาจึงต้องได้รับวิบากการสนองตอบอย่างแสนสาหัสในภาคหน้า
    และ
    รับรองว่าไม่สามารถหลีกหนีหรือคดโกงได้ ผู้รู้ผู้เข้าใจด้วยปัญญาได้แล้วก็พึงแก้ไขเสีย
    อย่าปล่อยให้เป็น
    วิบากกรรมของตนและผู้อื่นสืบต่อไปอีกเลย
    ณ ที่ ภวังคจลนะ นี้นี่เอง ถ้าผู้ปฏิบัติมีความเชื่อ,
    ความเข้าใจอันอาจมาจากการอ่าน,การฟัง,การปฏิบัติ,การสอน อย่างผิดๆหรือด้วยอวิชชาความไม่รู้
    ตลอดจนความตะลึงพึงเพลิดและความอัศจรรย์ใจในสิ่งอันวิจิตรที่ไม่เคยประสบพบมาก่อน
    ก็มักพาให้เตลิดเปิดเปิงออกไปปรุงแต่งทางฤทธิ์ ทางเดช ทางปาฏิหาริย์เสียโดยไม่รู้ตัว ตลอดจนเกิดความเข้าใจผิดคิดไปว่าได้มรรคผลใดแล้ว อันล้วนเป็นเส้นทางนำพาไปสู่ความ
    วิปลาสและวิปัสสนูปกิเลส
    อันจักนำพาให้เป็นทุกข์มากกว่าเดิมเสียอีกในภายหน้าเป็นที่สุด
    ผู้เขียนเองแต่แรกปฏิบัติ เมื่อปฏิบัติพระกรรมฐานด้วยมุ่งหวังดับทุกข์
    แต่ไปปฏิบัติอยู่แต่ใน
    สมถสมาธิเสียแต่ฝ่ายเดียวด้วยเข้าใจผิดด้วยอวิชชา
    กล่าวคือไม่เคยนำไปใช้ประโยชน์ในการพิจารณาหรือ
    วิปัสสนาในทางให้เกิดปัญญาอย่างจริงจังเลย
    แต่เข้าใจผิดไปว่าได้กระทำวิปัสสนาดีแล้วในการท่องบ่น จึงมัวแต่เสพเสวยแต่ความสุข ความสงบ ความสบาย ความวิจิตรแต่ฝ่ายเดียวจากฌาน,สมาธิ ด้วยเข้าใจว่าเป็นอานิสงส์ผลของบุญแท้ๆแล้ว,
    ดังนั้นเมื่อเกิด โอภาส แสงเจิดจ้าสว่างสวยงามชวนพิศวง หรือรูปนิมิตต่างๆ หรือสิ่งชวนพิศวงต่างๆ ไปเห็น ไปเข้าใจในสิ่งใดขึ้นมาก็เข้าใจผิด,
    เห็นผิดไปว่า ตนอยู่ในฌาน ๔ อันพระอริยเจ้าทรงสรรเสริญเสียแล้วด้วย
    อวิชชาทั้งๆที่ตนนั้นกำลังเตลิดเปิดเปิงท่องเที่ยว
    และเสพรสอย่างหลงระเริงแลมัวเมาไปใน
    นิมิตภายในภวังคจลนะนี้นี่เอง
    นิมิตที่เกิดในภวังคจลนะนี้ ก็อาจเกิดขึ้นแก่คนใกล้ตาย
    หรือสลบลึกหรืออาการโคม่าที่ฟื้นขึ้นมาก็มีบ้าง ที่เมื่อฟื้นคืนสติก็จะมาบอกเล่าเรื่องราวต่างๆนาๆอันน่าพิศวงด้วย
    อธิโมกข์
    ที่เกิดแต่
    ภวังคจลนะด้วยอวิชชา เกิดแต่ในขณะนั้นกายอยู่ในภาวะวิกฤติจากการเจ็บป่วยหรืออุบัติเหตุใดๆก็ตามทีอย่างรุนแรง
    หรือการกระทบกระเทือนทางสมองอย่างรุนแรง กายจึงปิดการรับรู้จากทวารทั้ง ๖ โดยสิ้นเชิง
    กล่าวคือเข้าสู่
    ภวังคจลนะโดยธรรมหรือความบังเอิญโดยธรรมชาติเอง ที่บางสภาวะร่างกายสามารถป้องกันตนเองจากการรับรู้ที่เกินวิสัยหรือเกินขีดจำกัด ฯ. เมื่อวิถีจิตถูกปิดกั้นโดยกลไกของธรรมชาติของชีวิตจากความเจ็บป่วยไข้หรืออุบัติเหตุ จิตเกิดการเข้าเลื่อนไหลเข้าสู่ภวังค์ และเป็นภวังค์แบบภวังคจลนะนี้นี่เองได้โดยธรรมชาติ
    ที่อาจเคยฝึกสั่งสมมา
    หรือแม้ไม่เคยฝึกหัดหรือปฏิบัติมาก่อนแต่อย่างใดก็เป็นได้ แล้วเตลิดเปิดเปิงท่องเที่ยวไปใน
    จิตภายในหรือก็คือตามสัญญาความจำความรู้ความเชื่อของตน
    จึงเกิดการเห็น
    นิมิตต่างๆนาๆขึ้นได้อย่างชัดเจน เช่นเห็นแสงสีอันเจิดจ้าวิจิตร(โอภาส)
    ทั้งเห็นหรือทั้งได้ยินเทวดา นางฟ้า พญายม ยมทูต วิมาน นรก สวรรค์ พระอรหันต์ พระพุทธรูป พระพุทธเจ้า ญาติโกโหติกาทั้งหลายที่ตายไปแล้วบ้าง สุขทุกข์ เรื่องราวต่างๆ
    ในอดีต กรรมดี กรรมชั่ว ตาม
    สัญญาของเขาที่สั่งสมไว้มานานแสนนานไม่รู้ว่สักกี่ภพกี่ชาติมาแล้วนั้น ฯลฯ.
    ถ้าเป็น
    ปุถุชนในศาสนาอื่นๆก็จะเห็นเป็นไปหรือโน้มน้อมไปตามสัญญาของทางฝ่ายเขา
    เช่น เห็นแสงเจิดจ้าส่องลงมาจากท้องฟ้าคือสรวงสวรรค์บ้าง
    แสงหรือสิ่งที่เห็นเหล่านี้ก็คือ
    โอภาสดังในการปฏิบัติสมถสมาธินั่นเอง เห็นพระเจ้า เห็นเทวดาต่างๆนาๆตามแบบที่นับถือหรือตามความเชื่อหรือสัญญาของฝ่ายเขานั่นเอง หรืออาจเห็นญาติพี่น้องคนรู้จักที่ล่วงลับไปแล้ว ความดี ความชั่ว สุข ทุกข์ เรื่องราวต่างๆแต่อดีตบ้าง ฯ.
    อันมีรากฐานตาม
    สัญญา ความเชื่อ ความนับถือ ความศรัทธา ความอธิโมกข์ของฝ่ายเขานั่นเอง,
    ดังนั้นการเห็นเป็นไปที่แตกต่างผิดแผกกันนั้น จึงไม่ใช่เพราะการมีพระเจ้า หรือศาสนา หรือเชื้อชาติ หรือภาษา หรือนรกสวรรค์ที่ต่างกันไป

    แต่เป็นไปเพราะ
    สัญญาที่สั่งสมแตกต่างกันไปตามทิฏฐิความเชื่อความเข้าใจ
    ผู้ที่เห็นในสิ่งเหล่านั้นถ้าฟื้นคืนสติขึ้นมาได้
    ถ้ามีปัญญาบ้าง ก็จะเกิดกลัวความชั่ว ก็จะเป็นผู้ใฝ่ดี อยู่ในศีล ในธรรมของฝ่ายตน
    เป็นกำลังอันดีงามของสังคมนั้นๆ อันย่อมเป็นจุดมุ่งหมายอันดีงามของทุกศาสนา
    และย่อมยังประโยชน์ส่วนตนและโลกขึ้นเป็นที่สุด
    แต่ก็ยังไม่สามารถดับหรือหลุดไปจาก "ภพ ชาติ" อันเป็นทุกข์ได้อย่างเด็ดขาดโดยสิ้นเชิงโดยบริบูรณ์
    ที่ต้องอาศัยปัญญาญาณในธรรม
    ส่วนในผู้มีปัญญาอย่างแท้จริง ย่อมแสวงหาทางดับภพ ชาติ ไม่ให้เวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏหรือในกองทุกข์อีกต่อไป.
    ส่วนผู้ที่ไปหลงผิดด้วยอวิชชา
    ย่อมเกิดความเข้าใจผิด บ้างจึงพยายามฝึกปรือหรือน้อมจำสภาพที่เกิดขึ้น
    เพื่อนำมาใช้งานหรือประโยชน์ทางโลกอย่างผิดๆด้วยว่าเป็นฤทธิ์ บ้างก็
    หลงงมงายไปเลย
    กล่าวคือ บูชา นับถือ ยึดมั่น ถือมั่น เผยแพร่ไปอย่างผิดๆตามความเชื่อใน
    นิมิตที่เกิดขึ้นนั้นๆ
    กล่าวคือ เกิด
    อธิโมกข์ คือศรัทธาหรือความน้อมใจเชื่ออย่างรุนแรงแต่อย่างผิดๆหรืออย่างหลงผิด
    อันเป็นกิเลสชนิด
    วิปัสสนูปกิเลสนั่นเอง ที่ใครจะพูดจะเตือนอย่างไรก็ย่อมไม่ฟังไม่เข้าใจไม่ยอมรับด้วยกำลังของวิปัสสนูปกิเลสอันแรงกล้า
    ที่ภวังคจลนะนี้นี่เอง ที่มักชักจูงพาให้เข้าใจกันไปว่า
    เป็น
    เจตภูตบ้าง หรือกายทิพย์บ้าง หรือวิญญาณของตนบ้าง
    ได้ถอดออกจากร่างไปท่องเที่ยวในที่ต่างๆ ตามปรภพ สวรรค์ นรก จึงได้เห็นนู่น เห็นนี่ ต่างๆนาๆ
    จนถึงขั้นเป็นตำนานที่มีการบันทึกกล่าวขาน ถ่ายทอดสืบต่อๆกันมาอย่างช้านานและอย่างมากมาย จนเป็นที่ปรารถนา
    ตลอดจนเป็นที่
    วิจิกิจฉาจนถกเถียงกันมาอย่างช้านานโดยทั่วไป
    และที่ภวังคจลนะนี้นี่เองที่เกิดขึ้นในการสะกดจิตได้เช่นกัน
    จึงเกิดสัญญาหรือเห็นในสิ่งต่างๆที่เคยเกิดเป็นในอดีตได้ชัดเจนขึ้น
    เนื่องจากจิตอยู่ในภวังค์ไม่ซัดส่ายไปในสิ่งอื่นๆ แต่ไปแน่วแน่ในสัญญาจำได้ของตนตามการจูงจิตของผู้สะกดจิต
    แต่ก็ยังระลึกเห็นได้อย่างผิดๆได้อีกด้วยเช่นกัน ถ้าผู้สะกดจิตชี้ช่องแนะนำจูงจิตไปผิดๆ
    วิธีแก้ไขเมื่อลงไปสู่ภวังค์และท่องเที่ยวเลื่อนไหลไปในจิตภายในก็คือ
    เมื่อจิตท่องเที่ยวเลื่อนไหลไปจนอิ่มตัว
    กล่าวคือรู้สึกตัวขึ้นมาบ้างแล้ว ก็ให้กลับมาอยู่ที่
    จิตหรือก็คือสติหรือก็คือผู้รู้นั่นเอง
    ตามแต่จะสื่อเรียกกัน จึงไม่ควรปล่อยให้ท่องเที่ยวเลื่อนไหลต่อไป

    ดยเจตนาหรือแม้ไม่เจตนาก็ตามที

    จะด้วยเพราะสนุก,สุข,สบาย
    หรือโดยเข้าใจผิดใดๆก็ตามที.
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 17 พฤษภาคม 2011
  10. ฝันนิมิต

    ฝันนิมิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    467
    ค่าพลัง:
    +547
    [​IMG]

    แบบที่ ๓
    ภวังคุปัจเฉท
    เป็นลักษณะที่จิตลงภวังค์แล้วขาดความรู้สึกรับรู้อารมณ์ภายนอกดังภวังคจลนะข้างต้น
    และขาดการรับรู้จากอารมณ์ภายในด้วย เพราะไม่ท่องเที่ยวไปในภายใน
    ด้วยเป็น
    วสี ที่เรียกว่าอธิฏฐานวสี
    คือมีความชำนาญคล่องแคล่วในการที่จะตั้งจิตหรือรักษาจิตไว้มิให้ฌานจิตต์นั้นตกภวังค
    กล่าวคือ
    มีสติ ที่เกิดขึ้นจากการสั่งสม,
    ความชำนาญจากการปฏิบัตินั่นเอง
    จึง
    มีสติไม่ปล่อยให้จิตเพลิดเพลินเตลิดเปิดเปิงหรือซ่านไปในอารมณ์ของภวังค์
    หรือสัญญาภายในของตน

    ดังเช่นที่เกิดใน
    ภวังคจลนะ
    ข้างต้น แต่ถึงอย่างไรก็ดีสตินี้
    ก็เพียงแค่รู้อยู่ในองค์ฌานต่างๆ
    เช่น
    เอกัคคตารมณ์ ยินดีอยู่ในความสงบ(อุเบกขา)
    แต่ขาด
    สัมปชัญญะ เป็นลักษณะของฌานต่างๆนั่นเอง
    จึงเป็นที่พักผ่อนของจิตจึงสร้างกำลังของจิตอันดียิ่ง
    แต่ย่อมไม่สามารถเจริญวิปัสสนาได้ ด้วยสติไม่บริบูรณ์นั่นเอง
    ต้องถอนออกมาจากความสงบความสบายเหล่านั้นเสียก่อนจึงเจริญวิปัสสนาได้
    ซึ่งย่อมให้กำลังมาก เรียกภวังค์แบบนี้ว่า
    ภวังคุปัจเฉท
    ภวังคุปัจเฉทนี้นี่เอง ที่เป็นที่ปรารถนาของนักปฏิบัติ
    และเกิดแก่พระอริยะทุกท่านในการปฏิบัติฝ่ายสมถสมาธิฝ่ายรูปฌาน
    เป็นวิหารธรรมเครื่องอยู่และเป็นกำลังจิตอันดีเลิศ
    แต่ถ้านักปฏิบัติไปหลงติดเพลิน(นันทิ)ในความสงบ สุข สบาย
    อันเกิดขึ้นจากภวังค์ต่างๆ

    แม้แต่ใน
    ภวังคุปัจเฉทอันแม้พระอริยเจ้าก็สรรเสริญนี้ก็ตามที
    ก็ย่อมกลับกลายเป็นให้โทษเสียทันที
    กลับกลายเป็นรูปราคะในสังโยชน์อันละเอียดและรุนแรงเสียยิ่งเสียกว่ากามราคะเสียอีก
    ดังนั้นทุกครั้งที่ถอนออกมาฌานสมาธิ
    ที่แม้ถึงซึ่ง
    ภวังคุปัจเฉทนี้แล้วก็ต้องนำกำลังอันยิ่งนั้นมาใช้ในการเจริญวิปัสสนาด้วยทุกครั้ง
    อย่าปล่อยให้ความสุขสบายครอบงำเสียจนไม่ปฏิบัติวิปัสสนา
    เพราะจะเป็นเหตุปัจจัยให้เกิดการติดเพลินหรือเพลิดเพลินในความสุขสงบในที่สุด
    และอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
    กล่าวคืออย่าให้เกิดขึ้น
    และเป็นไปดังที่ท่านหลวงตามหาบัว ได้กล่าวสอนไว้ใน เรื่อง
    หลักเกณฑ์การปฏิบัติ สมาธิ - ปัญญา ความว่า
    "หลักใหญ่ให้จิตสงบได้นั้นแหละเป็นของดี เพียงจิตสงบเท่านั้นก็ตัดความกังวลวุ่นวาย
    ซึ่งเคยประจำจิตเสียดแทงจิตออกได้โดยลำดับลำดา
    จนถึงกับเป็นขั้นสบาย
    เพราะฉนั้นผู้ภาวนาเมื่อจิตเป็นสมาธิแล้ว
    จึงมักขี้เกียจในการพิจารณาธรรมทั้งหลายด้วยปัญญา
    นอนจมอยู่กับสมาธินั้นเสียไม่ออกพินิจพิจารณา

    สุดท้ายก็เข้าใจว่าความรู้ที่แน่วแน่แห่งความเป็นสมาธิของตนนั้น
    จะเป็นมรรคผลนิพพานไปเลย ในข้อนี้ผมเคยเป็นมาแล้ว
    จึงได้นำมาอธิบายให้ท่านทั้งหลายได้ทราบ
    ว่าสมาธิต้องเป็นสมาธิ ปัญญาต้องเป็นปัญญา
    เป็นคนละสัดเป็นคนละส่วน เป็นคนละอันจริงๆ
    ไม่ใช่อันเดียวกัน
    หากเป็นอยู่ในจิตอันเดียวกันนั่นแล
    เป็นแต่เพียงไม่เหมือนกัน"
    (จาก หลักเกณฑ์การปฏิบัติ สมาธิ - ปัญญา โดย ท่านหลวงตามหาบัว)
    อาการของนิมิตและภวังค์ดังที่กล่าวมาเหล่านี้
    เกิดมากน้อยในนักปฏิบัติแตกต่างกันไป
    แล้วแต่
    ฌานวิสัยอันเป็นอจินไตย อาจมากบ้างน้อยบ้างต่างกันไป
    ที่กล่าวดังนี้มิใช่เป็นการกล่าวเลี่ยงแต่ประการใด แต่มันเป็นจริงเช่นนั้นเอง
    ดังที่ได้กล่าวไว้แล้วในเรื่อง
    ณานสมาธิ
    เพราะขึ้นอยู่แต่
    จริต สติ ปัญญา การสั่งสม ตลอดจนแนวการปฏิบัติ ฯ.
    แต่ถ้านักปฏิบัติเป็น
    วิปัสสนูปกิเลส
    หรือมีจริตกระทำบ่อยๆด้วยติดใจหรือติดเพลินหรือด้วย
    อธิโมกข์
    หรือหัดน้อมจิตฝึกหัดให้เห็นภาพขึ้นในใจอยู่บ่อยๆ
    กล่าวคือสั่งสมทำ
    อุคคหนิมิตและปฏิภาคนิมิตก็ย่อมเกิดการสั่งสม,ความชำนาญขึ้น
    ในที่สุดก็จะเกิดการน้อมนึกเห็นนิมิตต่างๆแม้ใน
    วิถีจิตตามปกติธรรมดาขึ้นได้
    และก็มักเกิดขึ้นโดยไม่รู้ตัวในผู้ที่ปล่อยเลื่อนไหลไปแต่ในฌานสมาธิเป็นระยะเวลานานๆโดยขาดการวิปัสสนา
    แต่ก็จะเป็นไปในที่สุดเหมือนนิมิตในการปฏิบัติดังที่หลวงปู่ดูลย์ ได้กล่าวถึงไว้ว่า
    "
    ที่เห็นนั้น เขาเห็นจริง แต่สิ่งที่ถูกเห็น ไม่จริง"
    เหตุที่เป็นเช่นนี้เพราะ
    นิมิตส่วนใหญ่เกิดแต่สัญญาหรือใจของนักปฏิบัติ
    แล้วยังร่วมด้วยการไป
    ปรุงแต่งอีกต่างๆนาๆ
    ทั้งยังร่วมอีกด้วย
    อวิชชา จึงพากันไปยึดติดยึดเชื่อด้วยอธิโมกข์จนเสียการ
    ภาพนิมิตที่เห็นที่เกิดอันมิได้มีบาทฐานเกิดมาแต่
    ญาณความเข้าใจอันเกิดจากการเห็นเหตุอย่างแจ่มแจ้งจึงรู้ผล และอุเบกขาความเป็นกลางอย่างแท้จริง สิ่งที่เห็นจึงผิดไป
    หรือผิดบ้างถูกบ้างอันเป็นวิสัยปกติธรรมดา
    แต่ถ้าบังเอิญถูก ก็จักไปสำคัญมั่นหมายว่าเป็นจริงเป็นจัง จึงเกิดการยึดติดจนเป็นอธิโมกข์อันงมงายยิ่งๆขึ้นไปถ้าผิด ก็ลืมเลือนไปเสีย หรือแก้ตัวแทนตนเป็นพัลวันว่าด้วยเหตุผลต่างๆนาๆ
    จึงต่างล้วนแฝงและเป็นไปตามความคิดปรุงของผู้ที่เห็นโดยไม่รู้ตัวด้วย
    อวิชชานั่นเอง
    อันประกอบไปด้วยความรู้สึกรับรู้ในสิ่งที่ตาเห็น หูได้ฟัง ความคิดที่คิด การสั่งสม
    และความเชื่อความยึดของผู้เห็นนั่นเองเป็นองค์ประกอบสำคัญ หรือจะกล่าวง่ายๆก็คือ
    เป็นการแปลงสัญญา หรือความรู้สึก ความเข้าใจ
    ความคิดต่างๆที่ได้รับเป็นข้อมูลจากอายตนะต่างๆในขณะนั้นเป็น
    ภาพขึ้นมา
    อันมักเกิดแต่การฝึกฝนและการสั่งสมจากการปฏิบัตินั่นเอง
    กล่าวคือ
    เป็นการแปลงความคิดความเห็นให้เป็นภาพขึ้นโดยไม่รู้ตัวนั่นเอง
    ถ้าท่านเข้าใจในเรื่องคอมพิวเตอร์บ้าง
    ก็เปรียบเสมือนหนึ่งการแปลงข้อมูลในคอมพิวเตอร์จากโปรแกรม
    Word ที่ใช้ในการพิมพ์
    (เปรียบเป็นความคิด) แปลงเป็นไฟว์หรือข้อมูลแบบรูปภาพในโปรแกรม
    Acrobat
    (เปรียบดังนิมิตหรือภาพหรือความคิดที่น้อมขึ้น)ในชั่วพริบตานั่นเอง
    อันเกิดแต่การฝึกหัดและมีฐานข้อมูลและโปรแกรมอยู่แล้วนั่นเอง
    ผู้ที่หลงติดในนิมิตนั้น
    นอกจากจะมีความเชื่อความยึดที่หลงผิดไปตามรูป เสียง ความคิด ของนิมิตแล้ว
    จึงทำให้หลงผิดเห็นผิดไม่สามารถดำเนินไปในธรรมได้(
    วิปัสสนูปกิเลส)
    เพราะนิมิตก็คือวิปัสสนูปกิเลสในข้อโอภาส
    และยังทำให้เกิดญาณในวิปัสนูปกิเลสคือ
    มิจฉาญาณอีกดัวย ฯ.
    ภายหลังยังทำให้เกิดอาการอึดอัดหรือเจ็บป่วยต่างๆเนื่องจาก
    "
    จิตส่งใน" ดังที่ได้กล่าวไว้แล้วในเรื่อง"จิตส่งใน เป็นภัยต่อนักปฏิบัติ"
    เหตุก็เพราะขณะจิตที่น้อมนึกภาพขึ้นนั้น เป็นสภาวะของมิจฉาสมาธิที่ต้องก่อขึ้น
    ต้องกระทำขึ้นโดยไม่รู้ตัวนั่นเอง จึงยังผลให้เกิดการเสพและ
    ติดเพลินองค์ฌานขึ้นได้โดยไม่รู้ตัวนั่นเอง
    อันคือ
    นันทิหรือตัณหา นิมิตที่เห็นหรือเข้าใจจึงเป็นเหยื่อล่อให้ดำเนินไปตามวงจรของการเกิดขึ้นแห่งทุกข์ ปฏิจจสมุปบาท ในที่สุดอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
    เพราะได้ดำเนินไปถึงองค์ธรรม
    นันทิ
    คือตัณหา ความติดเพลิน,
    ความติดใจอยาก,
    ความติดชอบในนิมิตเหล่านั้นเสียแล้ว
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 17 พฤษภาคม 2011
  11. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,647
    เรื่องภวังค์นี่เป็นของหลวงปู่เทศน์ด้วยหรือเปล่าครับ....

    ถ้าใช่ด้วยกราบนมัสการธรรมหลวงปู่นะ.....

    สุดท้ายอย่างไร ขอที่มาหน่อยนะครับ....เดี๋ยวผมจะก๊อปเก็บไว้.....
     
  12. ฝันนิมิต

    ฝันนิมิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    467
    ค่าพลัง:
    +547
    [​IMG]

    ...อนุโมทนาสาธุนะคะ...
    นำมาอ่านแล้วพิจารณาคะ ทุกสิ่งทุกอย่าง ล้วนเป็นสิ่ง
    ที่เราต้องค้นคว้า ทำเองเท่านั้น
    หาก
    ณีน้อยผิดพลาดประการใด
    ขอ อโหสิกรรมด้วยนะคะ

     
  13. ฝันนิมิต

    ฝันนิมิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    467
    ค่าพลัง:
    +547
    ...ใช่คะ... ลิ้งข้างล่างเลยคะ

    http://nkgen.com/727.htm


    [​IMG]

    ..มณีน้อยว่า อ่านแล้วเข้าใจง่าย เลยเอานำมาให้อ่านกันคะ....
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 17 พฤษภาคม 2011
  14. ฝันนิมิต

    ฝันนิมิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    467
    ค่าพลัง:
    +547
    ...เดี๋ยว มาคุยเรื่องภวังค์

    ที่เกิดในขณะหลับนะคะ....



    [​IMG]
     
  15. dangcarry

    dangcarry เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กันยายน 2005
    โพสต์:
    1,396
    ค่าพลัง:
    +4,307
    อนุโมทนาสาธุ กับคุณมณีน้อย ด้วย เห็นเอาธรรมดีัดี มาให้อ่านเรื่อยๆเยอะอยู่ สาธุน่ะค่ะ
     
  16. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241
    [​IMG]
     
  17. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,647
    โมทนาสาธุบุญนะครับ...กับธรรมดีๆที่นำมาให้อ่านกัน....
     
  18. ฝันนิมิต

    ฝันนิมิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    467
    ค่าพลัง:
    +547
    ....มาต่อนะคะ...
    มณีน้อยมาโพส เพื่อเล่าประสบการณ์
    และขอความเมตตา มิได้มาอวดอ้างแต่ประการใด
    (ออกตัวเพราะกลัวข้อหา อิอิ)

    [​IMG]

    ..ภวังค์ระหว่างหลับ..
    ..ฝัน..
    อันนั้นแน่นอน ผลมาจากหลายอย่างที่ไม่รู้ว่าเกี่ยวกับภวังค์รึไม่
    แต่เราจะยังไม่มอง เรามามอง ระบบ ของมันก่อน เพื่อ เข้าไป ลึก
    กว่านั้นกัน
    มณีน้อยเป็นคนที่ฝันบ่อย จนรำคาญ ว่า ฝันอะไรมันทุกวันเลย
    เลยมา พิจารณา หาเหตุ และผล หาองค์ประกอบ
    ขุดราก หาตอ เลย เข้าใจมาแบบนี้ ค่ะ
    เมื่อ มาอ่านเรื่องภวังค์ - ตกภวังค์
    เลย เอามาเรียงดูว่า ภวังค์ที่ตก - ที่เข้าในการนั่งสมาธินั้น
    เป็นรูปแบบ อย่างที่ ใครๆ รับรู้กันตรงๆ แต่เมื่อสมาธิหลับ
    เราจะเจอภวังค์ มั้ย อ่า นั้นสิๆ
    เมื่อเรียง ภวังค์ อย่างข้างต้น ข้างบน 1 2 3

    1.ตกวู๊บ จะขาดสติ
    2.อยู่ในระดับ รับรู้ภายในตัดขาดภายนอก
    3.หายเงียบ ทั้งนอกและใน

    มณีน้อยเลยเรียงเวลาเรานอนสมาธิได้ตามนี้ ค่ะ( ถ้าไม่เกี่ยวกับร่างกายเหนื่อยอ่อนสุดๆ)

    [​IMG]

    เมื่อ หลับตาลง อยู่ในลักษณะผ่อนคลายตัว มันจะดิ่งวู๊บ
    และการนอนสมาธิ จะไหลไปเร็วมาก 1 2 3 จน สุดท้าย จม อยู่ที่ 3 หายเงียบ ทั้งนอกและใน ( ชาวบ้านเรียกหลับสนิท)
    แต่กระนั้น เมื่อมันขึ้น 1 2 3 แล้ว ยามมันลง มันก็จะลง 3 2 1 เช่น กัน
    มณีน้อยสังเกตดู ว่า ระหว่าง ที่ ถอย ลง มาระดับ 2 รับรู้ภายในแต่ตัดขาดภายนอก
    ก็เหมือนกับว่า เรารู้จิตเรามันวิ่งพร่านไปทั่ว เมื่อขาดการควบคุม มันก็จะไหลไปทุกทาง
    ทำให้เกิด "ฝัน" ที่จุกอยู่ในใต้สำนึก บางครั้ง หาก จิตที่ถูกฝึกมา มันก็ จะ สมจริง
    และจดและจำได้อย่างชัดเจน แต่หลวงปู่ดุลท่านกล่าวไว้ว่า
    " สิ่งที่เห็น เห็นจริง แต่มันไม่ใช่ของจริง"
    หลังจาก อยู่ใน ระดับ 2
    รับรู้ภายในแต่ตัดขาดภายนอก จนจวนเวลา หมด (ใกล้ตื่น หรือ ถอนตัวออกจากภวังค์)
    มัน ก็ มาระดับที่ 1 อีกครั้ง ถอนออกมา และตื่นในที่สุด
    สรุปว่า
    ไอ้ที่ฝันๆ นี้ จิตในล้วนๆเลย รึนี้ หลงว่า มีคนมาคุยด้วย
    ที่แท้ จิตมันวิ่ง ซ้อนหาของที่หาย ข้างในสังขาร นั้นเอง
    เอ มณีน้อย เข้าใจถูกรึเปล่าคะ
    รึผิด ช้วย แก้ไข อธิบาย ให้ มณีน้อย และ เพื่อนๆ ที่สงสัย และไม่สงสัย แต่
    มาอ่านเพื่อเก็บข้อมูลไปเล่า ให้คนที่ไม่ได้เข้ามาอ่านฟังคะ
    หากมณีน้อย ทำอะไรที่เกินกว่าเหตุ
    เหตุเพราะยังโง้ เขลาอยู่
    ขออโหสิกรรม ด้วยคะ...

    [​IMG]


     
  19. อศูนย์น้อย

    อศูนย์น้อย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    458
    ค่าพลัง:
    +495
    ที่พี่สาพูที่พี่สาเล่ามาก็ดีมากและถูกต้องนะครับแต่ที่ผมอยากออกความเห็นคือ
    ทางเดินของใครของมัน จริต ของใครของมัน แล้วที่ว่า ทำซ้ำๆ ทำบ่อยๆ ตรงนี้แท้แน่นอน
    อย่าว่า อศูนย์น้อย สุดโต่งนะ เพราะน้องพี่สาคนนี้มีเวลาว่างมากมาย อิอิ ทำมันทุกวัน
    ทำที นานๆ มันไม่รู้มันไม่ได้ ก็ไห้มันรู้ไปสิ ไช่ไหม่ เจ่ อิอิ
    ขอบอกสถิติไหม่ 10 ชั่วโมงกว่าๆเศษยี่สิบนาที ไม่กระดิกแม้แต่กลินน้ำลาย .... ^^
     
  20. GhostHead

    GhostHead เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    1,010
    ค่าพลัง:
    +1,878
    มีประสบการณ์ดีๆ ก็นำมาเล่าให้ฟังบ้างนะครับ ถือว่าเป็นความรู้นะครับ
    ผมจะได้นำไปศึกษา และนำปฏิบัติต่อไปครับ

    เจริญในธรรมครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...