อภินิหาร เรื่องเล่า ประสบการณ์ ประวัติ ปฏิปทา คำสอน - หลวงปู่ชอบ ฐานสโม

ในห้อง 'ประสบการณ์ เรื่องเล่า' ตั้งกระทู้โดย kennek, 4 เมษายน 2011.

  1. kennek

    kennek เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2006
    โพสต์:
    2,163
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +17,243
    ใครมีประสบการณ์เกี่ยวกับวัตถุมงคล หรือเรื่องราวอันอัศจรรย์ของ

    องค์ หลวงปู่ชอบ ฐานสโม วัดป่าสัมมานุสรณ์ จ.เลย

    ไม่ว่าจะเป็นประวัติ ปฏิปทา เรื่องราวหาฟังยากต่างๆ เกี่ยวกับหลวงปู่ชอบ รูปวัตถุมงคลรุ่นต่างๆ โพสได้

    เขียนแชร์เข้ามาได้เลยนะครับ

    จุดประสงค์ เพื่อเผยแพร่ ประวัติ ปฏิปทา คำสอน และธรรมะ ขององค์พ่อแม่ครูอาจารย์ ครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 เมษายน 2011
  2. kennek

    kennek เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2006
    โพสต์:
    2,163
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +17,243
    เรื่องราวในชีวิตของ หลวงปู่ชอบ ฐานสโม พระอริยเจ้าผู้ทรงอภิญญา


    [​IMG]



    หลวงปู่ชอบ ฐานสโม พระอริยเจ้าผู้ทรงอภิญญาญาน พระป่ากรรมฐานสายพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต
    ลูกศิษย์ชั้นผู้ใหญ่ของพระอาจารย์มั่น ผู้ทรงความรู้ยิ่งในพระพุทธศาสนามีคุณสมบัติพิเศษ ๖ อย่าง

    ๑. อิทธิวิธี แสดงฤทธิ์ได้
    ๒. ทิพโสต หูทิพย์
    ๓.เจโตปริยญาณ รู้จักกำหนดใจผู้อื่น
    ๔.บุพเพนิวาสานุสติญาณ ระลึกชาติได้
    ๕.ทิพจักขุ ตาทิพย์
    ๖. อาสวักขยญาณ รู้จักทำอาสวะให้สิ้นไป

    ท่านมีนิสัยชอบโดดเดี่ยวเที่ยวไปอยู่ในป่า ทำในสิ่งที่บุคคลอื่นทำได้ยาก ไม่ชอบเกี่ยวข้องกับหมู่ชนพระเณร เป็นผู้มีความองอาจเด็ดเดี่ยวอดทนเป็นเลิศ ไม่กลัวความทุกข์ยากลำบาก เสี่ยงเป็นเสี่ยงตาย กล้าได้กล้าเสียในการปราบกิเลส ถึงกับพระอาจารย์มั่นออกปากชมท่ามกลางสภาสงฆว่า “ให้ทุกองค์ภาวนาให้ได้เหมือนท่านชอบสิ ท่านองค์นี้ภาวนาไปไกลลิบเลย”

    ท่านสามารถแสดงธรรมและสนทนาธรรมเป็นภาษาต่างๆ ได้หมด เพียงกำหนดจิตดูว่าภาษานั้นเขาใช้พูดกันว่าอย่างไร ท่านสามารถแสดงธรรมโปรดเทวดา พญานาค ตลอดจนภพภูมิต่างๆ ได้
    การธุดงค์ของท่านนับว่าโลดโผนมาก ชอบเดินทางในเวลากลางคืนหรือจวนสว่างในคืนเดือนหงาย เที่ยวไปอย่างอนาคาริกมุนีผู้ไม่มีอาลัยในโลกทั้งปวง บางคราวมีเสือลายพาดกลอนตัวใหญ่ สองตัวกระโดดล้อมหน้าล้อมหลังเอาไว้ ท่านเร่งสติสมาธิ แแผ่เมตตา กำหนดจิตเข้าข้างใน สมาธิลึกเข้าไปถึงฐานของจิต ปล่อยวางสิ่งทั้งปวง เมื่อถอนจิตออกมาปรากฏว่าเสือสองตัวได้หายไปแล้ว
    ครั้นหนึ่งท่านได้เดินทางไปทางอำเภอแม่ริม อำเภอแม่แตง เข้าไปหมู่บ้านกระเหรี่ยงกลางหุบเขาเพื่อโปรดพี่ชายของท่านในอดีตชาติที่รัก กันมาก ท่านระลึกชาติได้ว่า เคยเกิดเป็นกระเหรี่ยงที่ประเทศพม่า มีพี่ชายคนหนึ่ง บัดนี้เขาได้มาเกิดเป็นชาวกระเหรี่ยง ชื่อว่า “เสาร์” อยู่ที่ตำบลป่ายาง บ้านผาแด่น อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ ด้วยจิตเมตตาท่านจึงเดินทางไปโปรดดึงเขาเข้าสู่ทางธรรม และต่อมานายเสาร์ก็ได้บวชเป็นพระติดตามท่านจนตลอดชีวิต

    ท่านเล่าว่าในบางคราวหลงอยู่ในกลางป่าเป็นเวลาหลายๆวัน ท่านเป็นที่เคารพรักของเหล่าเทพยดา เดินทางจากประเทศพม่าจะเข้าสู่ไทย หลงป่าเจียนตายเพราะความหิว เทวดาได้นำอาหารทิพย์มาใส่บาตร อาหารนั้นมีรสอร่อยส่งกลิ่นหอม หายเมื่อยหายหิวไปหลายวัน
    ท่านทำสมาธิทั้งกลางวันกลางคืน บางคราวพายุฝนตกหนักน้ำป่าไหลหลาก ท่านต้องนั่งกอดบาตรเอาไว้จนสว่าง ท่านพบวิมุตติบรรลุธรรมชั้นสูงสุด เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๗ พรรษาที่ ๒๐ อายุ ๔๓ ปี ที่ถ้ำบ้านหนองยวน ประเทศพม่า
    ท่านเป็นพระผู้ทรงอภิญญาสามารถล่วงรู้สิ่งที่ลึกลับที่มนุษย์ธรรมดาตามอง ไม่เห็น เช่น เทวบุตร เทวดา อินทร์ พรหม ยม ยักษ์ พญานาค ภูต ผี ปีศาจมากมาย แม้แต่ความรู้สึกนึกคิดภายในใจของคน ท่านก็สามารถล่วงรู้ได้

    ในระยะที่ท่านอยู่กับหลวงปู่มั่นนั้น ท่านได้รับความไว้วางใจและมอบหมาย ให้ช่วยดูแลพระเณรที่คิดอะไรนอกลู่นอกทาง ไม่ถูกต้องตามครรลองของผู้ทรงศีลธรรม ท่านก็จะตักเตือน เป็นที่ทราบกันดีในหมู่ลูกศิษย์หลวงปู่มั่นว่า ท่านมีความรู้ภายในว่องไวไม่แพ้หลวงปู่มั่น พระเณรทั้งหลายจึงเกรงกลัวท่านมาก และท่านก็ยังสามารถระลึกชาติรู้อดีตชาติของท่านเองว่าเคยเกิดเป็นอะไรมาบ้าง เช่น เคยเกิดเป็นพระภิกษุรักษาศีลอยู่กับพระอนุรุทธะ เคยเป็นสามเณรน้อยลูกศิษย์พระมหากัสสปะ เคยเกิดเป็นท้าวมหาพรหมในพรหมโลกและเป็นสัตว์หลายชนิดอีกด้วย หลวงปู่ชอบท่านบำเพ็ญภาวนาอยู่ตามป่าตามเขา ส่วนมากทางภาคเหนือหลายพื้นที่รวมถึงประเทศพม่าด้วย
    ท่านเกิดเมื่อวันพุธที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๔๔ ขึ้น ๕ ค่ำ เดือน ๓ ปีฉลู ณ บ้านโคกมน ตำบลผาน้อย อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย เป็นบุตรของนายมอ และ นางพิลา แก้วสุวรรณ แต่เดิมครอบครัวท่านอยู่อำเภอด่านซ้ายดินแดนอันศักดิ์สิทธ์แห่งพระธาตุศรี สองรักเนื่องจากตัวอำเภอด่านซ้ายอยู่กลางหุบเขาพื้นที่ราบมีไม่มากนัก ทำให้การทำมาหากินลำบากจึงได้พากันอพยพมาอยู่บ้านโคกมน

    บวชสามเณรเมื่ออายุ ๑๙ ปี ณ วัดบ้านนาแก ตำบลบบ้านากลาง อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู เป็นสามเณรอยู่ถึง ๔ ปีกว่า และได้อุปสมบทเมื่ออายุ ๒๓ ปี วันที่ ๒๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๖๗ ณ วัดศรีธรรมาราม อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร โดยมีพระครูวิจิตรวิโสธนาจารย์ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์แดง เป็นพระกรรมวาจาจารย์
    ท่านได้พบพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต ณ เสนาสนะป่าบ้านสามผง อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม หลวงปู่มั่นได้ให้โอวาทสั้นๆ ว่า “ท่านเคยภาวนามาอย่างไร ก็ให้ทำต่อไปเช่นนั้น อย่าได้หยุด ธรรม ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ที่พระพุทธเจ้าท่านทรงแสดงไว้นั้น มันอยู่ที่ใจเรานี่แหละ ถ้าอยากรู้อยากเห็นธรรมเหล่านั้น ก็ให้ค้นหาเอาที่ใจของท่านเอง”
    ปีพุทธศักราช ๒๔๘๙ ขณะท่องเที่ยวธุดงค์อยู่ทางภาคเหนือ สหธรรมมิกคือหลวงปู่ขาวอนาลโย ชวนท่านกลับมาอีสานท่านจึงได้มาจำพรรษาที่ป่าช้าหินโง้น ปัจจุบันคือ วัดป่าโคกมน
    ปีพุทธศักราช ๒๕๐๑ มีชาวบ้านถวายที่สร้างวัดกว่าร้อยไร่ ท่านจึงได้รับสร้างเป็นวัดขึ้นมา ปัจจุบันคือ วัดป่าสัมมานุสรณ์ ท่านได้อยู่จำพรรษาที่นี่เรื่อยมาจวบจนวาระสุดท้ายของท่าน
    ปีพุทธศักราช ๒๕๑๔ อายุ ๗๐ ปี ท่านป่วยเป็นอัมพาต
    ท่านละสังขารเข้าสู่อนุปาทิเสสนิพพาน ณ วัดป่าสัมมานุสรณ์ เมื่อวันที่ ๘ มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๘ สิริรวมอายุได้ ๙๓ ปี ๑๑ เดือน ๒๗ วัน ๗๐ พรรษา

    ref: http://th.wikipedia.org/wiki/หลวงปู่ชอบ_ฐานสโม
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • _8_440.jpg
      _8_440.jpg
      ขนาดไฟล์:
      109.5 KB
      เปิดดู:
      9,943
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 เมษายน 2011
  3. kennek

    kennek เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2006
    โพสต์:
    2,163
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +17,243
    หลวงปู่ชอบ พบ พญานาคราช ที่น้ำตก ไนแอการ่า ทวีปอเมริกา


    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]


    ในภายหลังท่านก็ได้รับนิมนต์ไปปีนัง มาเลเซีย สาธารณรัฐประชาชนจีน และสหรัฐอเมริกา สังเกตว่าการรับนิมนต์นั้น หลวงปู่มุ่งจะไปโปรดญาติโยมที่อยู่ในดินแดนเหล่านั้นด้วย ซึ่งหลายครั้งที่ท่านยอมรับว่า เคยมีชีวิตผูกพันเกี่ยวข้องกับท่านมาแต่ในภพชาติก่อน ๆ

    เฉพาะ ที่สหรัฐอเมริกานั้น หลวงปู่ได้เดินทางไปโปรดญาติโยม ถึง ๓ ครั้ง ครั้งแรกในเดือนเมษายน ถึง พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๓๓ ไปในงานวางศิลาฤกษ์ศาลาของวัดภูริทัตตวนาราม เมืองออนทาริโอ รัฐแคลิฟอร์เนีย ครั้งที่สอง เดือนตุลาคม ถึง พฤศจิกายน ในปีเดียวกันนั้น เพื่อเป็นประธานในงานทอดผ้าพระกฐินพระราชทาน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ณ วัดภูริทัตตวนาราม เช่นกัน ในวันที่ ๒๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๓ และครั้งที่สาม หลวงปู่รับนิมนต์เมตตาไปจำพรรษาให้ ณ วัดพุทธรัตนราม เมืองเคลเลอร์ รัฐเท็กซัส ในปีพรรษา พ.ศ. ๒๕๓๔

    โดยที่ ปัจจุบันนี้ ในสหรัฐอเมริกา อันเป็นประเทศที่มีดินแดนกว้างใหญ่ไพศาล มีคนไทย ลาว เขมร อพยพไปตั้งถิ่นฐานบ้านช่องอยู่มาก แยกย้ายกันไปประกอบอาชีพกระจายกันไปทั่วทั้งประเทศ แทบทุกคนเป็นพุทธศาสนิกชน จึงได้มีพระภิกษุสงฆ์จากไทยรับนิมนต์จากศรัทธาญาติโยมไปตั้งวัดให้นับเป็น สิบ ๆ วัด นับเป็นศูนย์กลางรวมจิตใจของชาวไทยและเพื่อนชาวพุทธชาติอื่น ๆ ด้วย เมื่อทุกคนทราบข่าวการเดินทางไปจากเมืองไทยของหลวงปู่แต่ละครั้ง ก็จะมีผู้คนมาคอยรอรับที่สนามบินอย่างเนืองแน่น

    ระหว่าง ที่พำนักอยู่ที่สหรัฐอเมริกา ญาติโยมไทย - ลาวที่เคารพเลื่อมใสศรัทธาในองค์หลวงปู่ ก็มักจะนิมนต์ท่านไปโปรดตามสถานที่ต่าง ๆ แล้วแต่โอกาสอันควร ท่านมีเมตตาเล่าให้บรรดาลูกศิษย์ที่ใกล้ชิดติดตามท่านไปว่า ที่วัดที่ท่านไปพัก เช่นวัดภูริทัตตวนาราม เมืองออนทาริโอ วัดเมตตาวนาราม เมืองแซนดิเอโก วัดญาณรังษี ใกล้กรุงวอชิงตัน ดี ซี รัฐเวอร์จิเนีย

    ตอนกลาง คืนมีพวกเทวดามานมัสการและขอฟังธรรมกับท่าน บางทีก็มามาก บางทีก็มาน้อย สำหรับที่วัดพุทธรัตนาราม ซึ่งเป็นที่ท่านอยู่จำพรรษานั้น เทวดามาทุกวันเลย ถ้าไม่มาตอนกลางคืน ก็มาตอนกลางวัน โดยมากจะพากันมาตอนกลางคืน

    การ ที่เทวดาจะมากราบหลวงปู่ตามวัดต่าง ๆ นี้ แม้เวลาทำวัตรสวดมนต์ เขาก็มาร่วมอนุโมทนาด้วย อยู่ในบริเวณศาลาก็มี อยู่นอกศาลาก็มี มากันมากมาย ส่วนมากจะเป็นเทวดาผู้หญิงมากกว่าเทวดาผู้ชาย

    คราว หนึ่งญาติโยมชาวลาวอพยพที่มาตั้งบ้านเรือนอยู่ที่เมือง บัฟฟาโล รัฐนิวยอร์ก ได้มีศรัทธานิมนต์หลวงปู่พร้อมคณะลูกศิษย์ผู้ติดตามไปโปรดพวกเขายังเมืองบัฟ ฟาโล เพราะที่นั้นยังไม่มีวัดพุทธศาสนาที่จะทำบุญด้วย

    ท่าน โปรดเขาอยู่ที่เมืองบัฟฟาโลนั้นระยะหนึ่ง ท่านเล่าว่า ที่นั้นเคยเป็นสมรภูมิรบได้มีพวกอินเดียนแดงที่สู้รบกันสมัยก่อนแล้วตายไปพา กันมาขอส่วนบุญมากมาย ต่อมาญาติโยมนิมนต์ท่านจาริกต่อไปยังน้ำตกไนแอการ่าที่อยู่ริมเขตแดนระหว่าง อเมริกาและแคนาดา

    ไปถึงที่น้ำตกไนแอการ่า สักพัก บนท้องฟ้าซึ่งปลอดโปร่งแจ่มใส มีแสงแดดเจิดจ้า ก็กลับมีเมฆดำเคลื่อนมาบังอย่างกะทันหัน แล้วมีฝนตกลงมาอย่างหนัก อย่างแทบไม่มีปี่มีขลุ่ย ทำให้คณะติดตามไปต้องรีบพากันหาที่หลบฝนกันอย่างจ้าละหวั่น เพราะเป็นที่แจ้ง ไม่มีที่กำบังเลย และก็ไม่มีวี่แววเรื่องฝนจะตกมาก่อน ฝนตกหนักสักพักจึงหยุด พอออกจากที่หลบฝนสักประเดี๋ยว ฝนก็ตกอีกเป็นรอบที่สอง ทำให้ต้องหลบเข้าหาที่มีหลังคามุงกันชุลมุน

    มี ศิษย์บางคนสงสัยเรื่องฝนครั้งนี้ เพราะปกติเวลาช่วงนี้ของปีเป็นฤดูร้อนที่มีอากาศแจ่มใสตลอด ปราศจากฝนมาหลายเดือนแล้ว และพยากรณ์อากาศซึ่งเคยแม่นยำตลอดมา ก็มิได้กล่าวเลยว่าวันนั้นจะมีฝน ทำไมจึงมีฝนขึ้นมาได้ ฝนตกลงมามากเสียด้วย และตกถึง ๒ ครั้ง ๒ ครา จึงได้กราบเรียนถามท่าน

    ท่านตอบว่า “พญานาคเขามากราบ”
    “พญานาคที่ไหนขอรับ”
    “ที่นี่....ไนแอการ่า”
    “พญานาคมา ? ฝนก็มา..????”
    “อือ พญานาคมา”

    ผู้ เขียนนึกถึงที่ท่านเคยเล่าไว้ครั้งหนึ่งนานมาแล้วว่า คราวหนึ่งท่านอยู่กับหลวงปู่แหวนที่วัดห้วยน้ำริน จังหวัดเชียงใหม่ ปีนั้นเชียงใหม่แห้งแล้งอย่างมาก พวกญาติโยมก็พากันมาอ้อนวอนท่าน ขอให้เมตตา ต้นผลหมากรากไม้จะเหี่ยวแห้งแล้งกันตายหมดแล้ว สวนลำไย นาข้าวจะล่มหมดแล้ว ตุ๊เจ้าไม่ช่วยคงจะแย่ไปตามกัน ท่านทั้งสองเห็นใจญาติโยมที่หน้าแห้งอกไหม้ไส้ขม พากันมาร้องทุกข์ด้วยน้ำตาปริ่มตา ก็ช่วยกันสวดมนต์ขอให้ฝนตก

    ท่านเล่าว่า ฝนตกหนักติดต่อกันสามวันสามคืน น้ำท่วมเชียงใหม่ทั้งเมือง
    ขอพญานาคเขา เขามาช่วยกันเต็มที่ ทั้งพ่อ ทั้งแม่ ลูกเล็กเด็กแดง ตัวเล็กตัวน้อย ชูคอพ่นน้ำกันเป็นฝอย เต็มไปหมด
    จริง...พญานาคมา ฝนก็มา

    ref: http://ecurriculum.mv.ac.th/dhamma/dharma-gateway/www.dharma-gateway.com/monk/monk_biography/lp-chob/lp-chob-hist-36.htm
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 เมษายน 2011
  4. kennek

    kennek เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2006
    โพสต์:
    2,163
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +17,243
    ท่านพ่อลี ธมฺมธโร กล่าวถึงหลวงปู่ชอบ ฐานสโม
    เล่าโดย หลวงปู่บุญฤทธิ์ ปณฑิโต


    [​IMG]
    พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต



    [​IMG]
    ท่านพ่อลี ธมมธโร



    [​IMG]
    หลวงปู่บุญฤทธิ์ ปณฑิโต


    หลังจากได้พบพระป่าที่วัดเจดีย์หลวงในครั้งนั้นแล้ว พระอาจารย์บุญฤทธิ์ ก็เดินทางกลับกรุงเทพฯ ท่านเล่าเรื่องต่อไป ดังนี้ : -

    อาตมาเดินทางกลับกรุงเทพฯ ได้มาพักอยู่ที่วัดบรมนิวาส

    ก็ที่วัดนี้ อาตมาได้มาพบกับท่านพ่อลี ธมฺมธโร ท่านมาพักถวายธรรมแด่ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ ติสฺสเถร (ติสฺโส อ้วน)

    วันหนึ่ง อาตมาหาโอกาสเข้าไปปรนนิบัติท่านพ่อลี ธมฺมธโร ก็ได้ถามขึ้นว่า

    “ท่านอาจารย์ครับ พระอาจารย์ชอบน่ะ คือใครครับผม?”

    “โอ ! นั่นแหละลูกศิษย์มีอภิญญาของท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต....ถามทำไมล่ะ เคยเห็นท่านหรือ ?”

    อาตมาตอบท่านไปว่า “ครับ เคยเห็นท่านที่วัดเจดีย์หลวง... ถ้างั้นกระผมกราบลาท่านอาจารย์ไปเชียงใหม่อีก ขอไปปฏิบัติกับท่านอาจารยชอบ”

    กราบลาแล้ว ก็เป็นอันเก็บบาตร กลด สิ่งต่างๆ อีกครั้ง ขึ้นไปเชียงใหม่ ที่รีบเร่งเพราะได้ยินคำว่า “อภิญญา”

    เรื่อง อภิญญา ฌานสมาบัติ พระนิพพาน นี่ต้องใจมาก ก็เราบวชเข้ามาก็พึงหวังความจริงข้อนี้

    ก่อนออกเดินทาง ท่านเจ้าอาวาสวัดบรมนิวาส ท่านก็ทักท้วงว่า

    “อ้าว ! จะไปไหนละ นี่ก็จวนจะเข้าพรรษาแล้ว ท่านจะไปไหน ไม่อยู่จำพรรษาด้วยกันหรือไงกัน ?”

    อาตมาก็เรียนท่านไปว่า “กระผมจะไปจำพรรษากับท่านอาจารย์ชอบ ครับ !”

    “เฮ้ย ! เดี๋ยวก็ถูกหามออกมาจากป่าหรอกนะ ไข้ป่าจะเล่นงานเอา อย่าไปเลย”

    อาตมาไม่ฟังเสียง เดินทางแน่วไปเลย ขึ้นรถไฟไปเชียงใหม่ จิตใจเวลานั้นไม่มีการย่อท้อ หามออกจากป่าก็ช่าง ตายก็ช่าง ขอให้ได้ศึกษาอยู่กับท่านให้ได้อภิญญาก็แล้วกัน มันต้องเรียนเอาให้ได้

    ท่านพระอาจารย์บุญฤทธิ์ ปณฺฑิโต ท่านอยู่ในกรุง ทำงานเป็นข้าราชการหลายปี ชีวิตที่เคยอยู่ในความสะดวกสบาย มีน้ำมีไฟสะดวกทุกอย่าง ไม่เคยเดือดร้อนในการอยู่การกิน

    เมื่อต้องไปอยู่ป่าก็จะทำให้เกิดความลำบาก แล้วขณะนี้ ความตั้งใจของพระภิกษุหนุ่ม มุ่งสู่ป่าดงพงไพร ไปอยู่กับพระอาจารย์ผู้ยิ่งยงในการธุดงค์ ใช้ชีวิตแบบป่าๆ อยู่กับ หลวงปู่ชอบ ฐานสโม

    หลายคนตั้งปัญหาถามว่า “มันจะไหวหรือท่าน ? แน่ใจหรือท่าน ?”

    พระอาจารย์บุญฤทธิ์ บอกกับตัวท่านเองในขณะนั้นว่า “ไม่ลองจะรู้หรือ ! จะหามออกจากป่าอย่างสิ้นท่า หรือว่าจะอยู่ป่าอย่างสะดวกสบายเย้ยกิเลสตัณหา ก็จะรู้กันคราวนี้แหละ”

    พระอาจารย์ เล่าความรู้สึกและเหตุการณ์ในตอนนั้นว่า

    “ใครๆ เขาห้ามปรามกัน เพราะเกรงว่าอาตมาจะตายเสียก่อน เพราะถ้าไปอยู่กับท่านหลวงปู่ชอบ ละก็ต้องบุกหนักทีเดียว ท่านชอบไปอยู่ป่ากับพวกกะเหรี่ยงพวกยาง

    อาหารการกินก็ไม่ค่อยจะมี กินใบหญ้าใบไม้ แล้วก็ปลาร้าลูกหนูแดงๆ น่ะ

    อาตมาอยากได้อภิญญา ไม่ฟังเสียง แล่นไปจังหวัดเชียงใหม่ ก็ไปพบกับ หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม พระผู้มีพลังจิตสูงองค์หนึ่ง

    เวลานั้นอาตมาไม่รู้ ก็ได้รับการทักท้วงจากท่านว่า “อย่าเพิ่งไปเลย รอหน้าแล้งก่อนเถอะ เวลานี้อากาศชื้น ลำบากมาก เธอจะทนไม่ได้”

    ไม่ฟังเสียง ไปอย่างเดียว เดินทางไปถึงวัดป่าห้วยน้ำริน แวะกราบนมัสการ หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ ท่านก็ห้ามอีกว่า “อยู่ที่นี่ก่อน อย่าเพิ่งไป !”

    แหม...อาตมาไม่ฟังเสียงท่านผู้เป็นครูบาอาจารย์เลย ตั้งใจไปให้ได้ไม่ย่อท้อ ลำบากก็ช่าง เป็นการทรมานตัวเอง ที่มีโอกาสพบท่านที่วัดเจดีย์หลวงอยู่แล้ว แต่ก็พลาดโอกาสเมื่อวันวิสาขบูชา มิหนำซ้ำยังนึกปรามาสท่านเสียอีก

    ฉะนั้น ต้องทำโทษตัวเอง ทรมานให้มันรู้สึกที่ไม่รู้จักอะไรเป็นอะไร

    นั่น คิดอย่างนั้น ก็ทำให้เกิดกำลังใจจะเดินทางไปกราบท่านให้จงได้

    ญาติโยมได้กราบเรียนถามถึงความยากลำบากในครั้งนั้นรวมทั้งก่อนพบองค์หลวงปู่ชอบนั้น ท่านมีความเคารพศรัทธามากน้อยแค่ไหน

    พระอาจารย์บุญฤทธิ์ ท่านเล่าดังนี้ : -

    “อ้าว! ก็จิตมันรู้ได้ทันทีว่า ที่ครูบาอาจารย์ท่านทักท้วงมาตั้งแต่กรุงเทพฯ จนมาถึงเชียงใหม่ ท่านผู้เป็นพ่อแม่ครูอาจารย์ก็ทักท้วงอีก ทำให้อาตมายิ่งแน่ใจในปฏิปทาของท่านหลวงปู่ชอบ ว่าจะต้องเป็นชีวิตที่ลำบากยากแค้นมาก และสถานที่ที่ท่านไปอยู่บำเพ็ญภาวนานั้นจะต้องเป็นสถานที่กันดาร ไปมาลำบาก ขึ้นเขาลงห้วย ยากตลอดทั้งไปและอยู่ทีเดียว

    อาตมาคิดปลงตก ตายเป็นตาย ขอไปตายกับท่านเพื่อเอาอภิญญาให้ได้ จะได้รู้ว่าคนมีอภิญญาน่ะมันเป็นลักษณะไหนกันแน่..."



    ref: http://www.dharma-gateway.com/monk/monk_biography/lp-boonyarit-hist.htm

     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 เมษายน 2011
  5. kennek

    kennek เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2006
    โพสต์:
    2,163
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +17,243
    สายน้ำผุดบนภูพาน


    [​IMG]


    [​IMG]

    หลวงปู่ขาว อนาลโย-หลวงปู่ชอบ ฐานสโม


    ดังได้กล่าวแล้วว่า หลวงปู่และหลวงปู่ขาว เป็นสหธรรมิกที่ถูกอัธยาศัยซึ่งกันและกัน ต่างนับถือกันในในความเด็ดเดี่ยวอาจหาญไม่หวาดหวั่นภยันตราย ต่างยกย่องกันในด้านการภาวนากล้าสละตาย ต่างเคารพกัน ในเชิงภูมิจิต ภูมิธรรมของกันและกัน ต่างเคยประกาศ...ใครสละตายได้ ไปกับเรา

    ปกติเมื่อออกพรรษาแล้ว ท่านทั้งสองก็จะออกวิเวกไปหาที่เงียบสงัดบำเพ็ญความเพียร บางครั้งท่านก็จะแยกย้ายกันไปหาป่าดงพงชัฏ เงื้อมหินผา หรือถ้ำในเขาลึก ด้วยรู้ดีว่า ต่างองค์ต่างมุ่งธรรมแดนพ้นทุกข์ด้วยกัน ทุกข์ยากลำบากแสนเข็ญเช่นไรก็มิได้หวั่นเกรง ด้วยยอมมอบกายถวายชีวิตสละตาย เพื่อธรรมด้วยกัน ความเพียรก็ดี ความอาจหาญเด็ดเดี่ยวก็ดี ท่านเชื่อว่าเป็นสหมิตรเสมอกัน ไม่มีความอ่อนแอท้อแท้ กลัวทุกข์ กลัวยาก กลัวภัย กลัวเจ็บกลัวตาย ให้เพื่อนอีกคนจะต้องห่วงกังวล เสียเวลาทำความเพียรของอีกฝ่ายไป

    ท่านชี้แจงว่า ในการเดินธุดงค์นี้ หากได้หมู่พวกที่ใจไม่ถึง “ยอ ๆ แย ๆ หรือ ย็อก ๆ แย็ก ๆ” ตามสำนวนของท่าน...หวาดนั่น กลัวนี่ ก็ลำบากเหมือนกัน โดยเฉพาะถ้ากำลังอยู่บนยอดเขาสูง หรือในป่าลึก เกิดมีใครใจไม่สู้ขึ้นมา กลัวตาย กลัวเจ็บ จะอุ้มหามแบกบ่ากลับมากันอย่างไร...ผู้หนึ่งจะอยู่ ผู้หนึ่งจะไป ผู้หนึ่งจะสู้ภาวนาด้วยจิตกล้า อีกผู้หนึ่งจะลี้หนีด้วยจิตกลัว ท่านจึงมักพอใจจะไปแต่ผู้เดียว ด้วยท่านเป็นผู้อยู่ง่าย มาง่าย ไปง่าย ไม่ต้องกังวลใคร ดังนั้นถ้าจะมีหมู่เพื่อน ท่านก็ต้องเลือกเฉพาะผู้มีจริตนิสัยคล้ายกัน มีธรรมเสมอกัน ดังที่ท่านมักจะไปกับหลวงปู่ขาวบ่อยครั้ง

    ครั้งที่ทำให้เกิดเรื่องเล่าขานกันต่อ ๆ มา จนฟังดูประหนึ่งเทพนิยาย ไม่น่าเชื่อว่าจะเกิดขึ้นจริง ๆ ในโลกมนุษย์ นี่ก็เป็นการเดินธุดงค์ของท่านครั้งหนึ่งที่ท่านไปกับหลวงปู่ขาวเหมือนกัน
    ท่านเล่าว่า ท่านมีอายุ ๒๗ ปีเท่านั้น
    ออกพรรษาแล้ว ท่านก็ชวนหลวงปู่ขาว ออกจากวัด วิเวกไปทางป่าลึกหลังเทือกเขาภูพาน

    ป่าลึกบนเทือกเขาภูพานก็เช่นเดียวกันกับป่าเขาแถบอื่นในเมืองไทย ที่ระยะกว่าเจ็ดสิบปีที่ผ่านมาแล้วนั้น ทั้งรกชัฏ และเปรียบเสมือนป่าดงดิบ ยังไม่มีความเจริญ ยังไม่มีถนนตัดผ่านไปใกล้ เป็นที่อยู่ของสัตว์ทวิบาทจตุบาท นานาชนิด ทั้งน่าหวาดกลัวภัย เช่น งู เสือ ช้าง หมี เม่น หมูป่า กระทิง...หรือทั้งน่ารัก น่าสงสาร อย่างเช่น...นกยูง นกเงือก เก้ง ไก่ฟ้า ลิง ค่าง บ่าง ชะนี เลียงผา จะมีให้ได้เห็น หรือได้ยินเสียงโกญจนาทร้องก้องป่าอยู่เสมอ ให้ความรู้สึกว่า “ป่า” หรือ “ถิ่นบริเวณ” นั้นเป็นบ้านเมืองของบรรดาพวกสิงสาราสัตว์เหล่านั้น... มนุษย์ต่างหากที่เป็น “ผู้บุกรุก” ล่วงล้ำก้ำเกินเข้าไปในดินแดนที่อยู่ของเขา...!
    ปกติในการเดินธุดงค์ ท่านจะต่างองค์กำหนดจิตภาวนาไปตลอดเวลา ถ้าเดินทางทั้งวัน ก็เท่ากับเดินจงกรมทั้งวัน ถ้าเดินทางตลอดคืน ก็เท่ากับเดินจงกรมตลอดคืน จิตที่ภาวนาจนเป็นสมาธิ ย่อมมีแต่ความสงบเยือกเย็น จิตวิเวก กายวิเวก จิตเบา กายเบา จิตสงบ กายสงบ จิตและกายต่างสงบอยู่ในตัวของตัวเอง
    แม้ท่านจะได้ชื่อว่า เดินธุดงค์ไปด้วยกัน แต่ระหว่างที่จิตเร่งทำความเพียรอย่างประชิดติดพัน ประหนึ่งกำลังรุกไล่ข้าศึกให้หมอบราบลงนั้น ท่านก็แทบจะมิได้รู้สึกถึง ใครอื่น ที่อยู่ใกล้ พระพุทธองค์เคยทรงพระพุทธพจน์ระหว่างประทับอยู่เชตวันว่า

    เอกาสนํ เอกเสยฺยํ
    เอโก จร อตนฺทิโต
    เอโก ทมยมตฺตานํ
    วนนฺเต รมิโต สิยา

    ภิกษุพึงเสพที่นั่งคนเดียว ที่นอนคนเดียว พึงเป็นผู้ไม่เกียจคร้าน ด้วยการเที่ยวไปแต่ผู้เดียวในทุกอิริยาบถ เป็นผู้เดียวที่ทรมานตน เป็นผู้ยินดียิ่งในราวป่า

    เอกาสนํ เอกเสยฺยํ ผู้บำเพ็ญภาวนา ไม่ละมูลกรรมฐาน แม้นั่งในหมู่ภิกษุตั้งพัน แต่หากทำใจวิเวกเหมือนนั่งอยู่แต่ผู้เดียว แม้อยู่ในที่นอนอันวิจิตร ท่ามกลางภิกษุตั้งพันรูป แต่หากจิตตั้งมั่นอยู่ในข้อกรรมฐาน ก็ชื่อว่าอยู่ในที่นอนคนเดียวเหมือนกัน
    เอโก จร อตนฺทิโต เป็นผู้เที่ยวไปแต่ผู้เดียว เป็นผู้ไม่เกียจคร้านในทุกอิริยาบถ
    เอโก ทมยมตฺตานํ เป็นผู้เดียวเท่านั้น สามารถทรมานตนประกอบกรรมฐานทั้งหลายได้ในที่พักทุกที่
    วนนฺเต รมิโต สิยาเมื่อทรมานตนอย่างนั้น ชื่อว่าเป็นผู้ยินดียิ่ง ในราวป่า อันสงัดจากเสียงทั้งหลาย

    จิตของท่านวิเวก กายของท่านวิเวก จิตของท่านเปลี่ยว กายของท่านเปลี่ยว มีความรู้สึกว่าอยู่แต่ผู้เดียวตลอด
    อย่างไรก็ดี แม้จิตของท่านทั้งสอง จะมีแต่ความสงบ เยือกเย็น เบิกบานในธรรมอย่างไร ธาตุขันธ์ก็ย่อมต้องการพักผ่อนบ้าง ท่านเล่าว่า การเดินธุดงค์ครั้งนั้น ผ่านเข้าไปในป่าลึกหลังเทือกเขาเป็นวัน ๆ แล้ว ยังไม่ได้พบหมู่บ้านคนเลย อาหารก็ไม่ได้ฉัน แต่นั่นยังพอทำเนา แต่สิ่งที่ธาตุขันธ์ของท่านทั้งสองต้องการอย่างยิ่งคือ น้ำ...!

    น้ำในกระติกของหลวงปู่ขาวและท่าน หมดไปตั้งแต่ตอนกลางคืน เดินทางมาคิดว่าจะพอพบบ่อน้ำลำธารให้ได้ดื่มกินก็ไม่มี หรือแม้แต่แอ่งน้ำในรอยเท้าเสือ รอยเท้าช้าง ที่พระธุดงค์เคยได้อาศัย ค่อย ๆ ตักกรอง ก็ไม่พบพานเลย
    ทั้งสององค์ทั้งเหนื่อย ทั้งหิว กระหาย อากาศก็เพิ่มความร้อนขึ้น จากเช้าเป็นสาย เป็นบ่าย ก็ยังไม่ได้พบน้ำ ร่างกายขาดอาหารได้เป็นวัน ๆ แต่ขาดน้ำในยามหน้าแล้ง ในป่าบนยอดเขานั้น เป็นภาวะที่ธาตุขันธ์ของท่านจะต้องอุทธรณ์ต่อเจ้าของมาก

    แต่ท่านก็ต่างมีความอดทน มิได้ปริปากบ่น สุดท้ายก็ชวนกันนั่งพักใต้ร่มไม้
    ดูเหมือนจะไม่ต้องอธิบาย ว่าเมื่อท่านต่างนั่งพัก ท่านจะต่างทำเช่นไร
    แน่ที่สุด...ท่านก็ต้องนั่งภาวนา อันเป็นปกติวิสัย ที่ท่านมักจะภาวนาทั้งอิริยาบถ ๔ ...นั่ง ยืน เดิน นอน ไม่ว่าจะอยู่ในอิริยาบถใดก็ตาม...
    ท่านนั่งพัก...ท่านก็เลยภาวนาไปด้วย

    ท่านเล่าว่า นั่งได้ไม่นาน ก็ได้ยินเวียงดังกรอบแกรบ ๆ ใกล้เข้ามา
    เสียงนั้น ดังใกล้เข้ามา...ดังมาก จนท่านต้องลืมตาดู

    เห็นน้ำไหลมาจากโคกข้างหน้า เป็นทางน้ำกว้างประมาณศอกหนึ่ง ไหลผ่านใบไม้ที่ร่วงทับถมกันอยู่ในราวป่า เป็นใบไม้สีเหลืองบ้าง แดงบ้าง น้ำตาลบ้าง ถมซับซ้อนกันด้วยเป็นเวลาฤดูใบไม้ร่วง เสียงที่ดังจนรบกวนสมาธิให้ท่านลืมตาขึ้นดูนั้น ก็เป็น เสียงน้ำที่ไหลผ่านใบไม้กรอบแห้งเหล่านั้นนั่นเอง...
    !!
    ท่านได้แหวกใบไม้ออก เห็นน้ำใสสะอาดไหลเอื่อยมา เหมือนเป็นลำธารเล็ก ๆ ได้กรองใส่กระติก ล้างหน้า ล้างตา ได้อาบ ได้ดื่ม ได้กินจนอิ่มเสร็จเรียบร้อย สายน้ำนั้นก็แห้งลงเฉย ๆ เป็นที่น่าอัศจรรย์ใจยิ่งนัก...
    !!!
    เกิดขึ้นได้อย่างไร...
    !

    น้ำผุดขึ้นจากกลางโคก ไหลมาเพียงให้ท่านได้ดื่มกิน อาบน้ำ ล้างหน้าล้างตา ให้คลายความเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้า กรองใส่กระติกน้ำเสร็จเรียบร้อย ก็แห้งลงในดินทรายทันที...!
    เกิดขึ้นได้อย่างไร...! อย่างน้อยบุคคลหนึ่งในที่นั้นก็คิดเช่นนี้ ดังนั้นหลวงปู่ขาวจึงได้ซักสหายของท่าน
    ท่านชอบละซี..! ท่านชอบอธิษฐานอย่างไร
    หลวงปู่ปฏิเสธ ผมไม่ได้อธิษฐานอะไร ผมเพียงแต่คิดเท่านี้ว่า เทวดาฟ้าดินจะไม่สงสารพระบ้างหรือ เทวดาจะปล่อยให้พระอดตายหรือ
    ท่านว่า ท่านก็คิดเพียงเท่านั้นเอง....!
    เรื่องนี้แพร่หลายขึ้นมาก็เนื่องด้วยหลวงปู่ขาวนำมาเล่าให้ลูกศิษย์ลูกหาฟังอยู่เสมอ ผู้เขียนเป็นคนหนึ่งที่ได้ฟังกระเส็นกระสายปลายเหตุด้วย ฟังครั้งแรกว่าท่านไปกันกับหมู่พวกกลุ่มใหญ่ แต่ภายหลังเมื่อจะบันทึกทำประวัติของท่านนี้ ได้โอกาสกราบเรียนถาม หลวงปู่ยืนยันว่า ท่านไปกับหลวงปู่ขาวเพียง ๒ องค์เท่านั้น และระยะนั้น ท่านอายุเพียง ๒๗ ปี



    ref: http://www.dharma-gateway.com/monk/monk_biography/lp-chob/lp-chob-hist-26.htm
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 เมษายน 2011
  6. kennek

    kennek เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2006
    โพสต์:
    2,163
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +17,243
    ในหลวงกับหลวงปู่ชอบ ฐานสโม

    [​IMG]


    หลวงปู่ชอบ ฐานสโม เป็นพระป่า อยุ่แต่ในป่าในเขาจนชิน จนดูเหมือนแทบจะไม่รู้จักโลกภายนอกที่ว่าเจริญของคนกรุง ท่านมักจะอยู่กับพวกยาง พวกกะเหรียง พวกชาวไร่ชาวเขาเป็นปกติ จึงไม่ค่อยคุ้นเคยต่อการพบคนใหญ่คนโตที่มีชื่อเสียงของจังหวัดหรือบ้านเมืองเลย ดังนั้น

    วันหนึ่งเมื่อหลวงปู่ชอบเดินทางไปเยี่ยมหลวงปู่ขาว อนาลโย ที่วัดถ้ำกลองเพล ขณะนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จะเสด็จพระราชดำเนินมากราบหลวงปู่ขาวเป็นวาระแรก ทางบ้านเมืองจึงส่งข่าวให้ทางวัดถ้ำกลองเพลเตรียมตัวรับเสด็จฯ
    เนื่องจากหลวงปู่ทั้ง 2 รูปล้วนคุ้นเคยกับวิถีชีวิตเรียบง่าย พอหลวงปู่ชอบทราบว่า ”ในหลวงกับสมเด็จพระบรม” ซึ่งเป็นถึงเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดินจะเสด็จฯ ก็ เตรียมหนีกลับป่าทันทีด้วยเหตุว่าควรจะพูดทูลเสด็จอย่างไรหลวงปู่ขาวซึ่ง เห็นสหธรรมมิกเช่นนั้นก็บ่นเหมือนกันว่าไม่ทราบจะพูดด้วยอย่างไร หลวงปู่ขาวจึงอ้อนวอนขอให้หลวงปู่ชอบอยู่ด้วยกันเป็นเพื่อน จนสุดท้ายหลวงปู่ชอบใจอ่อน ยอมอยู่ด้วยเพราะหลวงปู่ชอบเข้าใจว่าท่านจะไม่ต้องพูดอะไรเลย ส่วนหลวงปู่ขาวก็ต้องไม่พูดอะไรเท่าไรนัก

    งานทั้งหมดนั้นทางบ้านเมืองจะมาช่วยดูแลกำกับด้วย
    ถึงวันที่กำหนด หลวงปู่ทั้งสององค์ก็ครองจีวรอย่างเรียบร้อย คิดเอาตามประสาต่างจังหวัดว่า “ในหลวงเสด็จฯ น่าจะมีขบวนเสด็จ” แต่ท้ายที่สุดก็ไม่มีขวบนเสด็จฯ แห่ ยกเว้นมีบุคคลที่แต่งชุดทหารเพียง 2 คนเท่านั้น ที่เข้ามาสนทนาธรรมกับหลวงปู่ทั้ง 2 องค์จนเสร็จก็กลับไป ซึ่งหลวงปู่ทั้ง 2 องค์ก็ยังรอจนเย็น ท่านก็บ่นกันว่า“ไม่เห็นมา ให้รออยู่” องค์หนึ่งบ่น“นั้นซี ไม่เห็นมา มีแต่ทหารสองคนพ่อลูกมาคุยอยู่เป็นนานสองนาน”“คนพ่อเพิ่นงามกว่าลูกนะ” ท่านวิจารณ์กัน หลวงปู่ทั้งสององค์ หัวเราะกันจนองค์งอเมื่อพระเณรช่วยกันชี้แจงว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินแล้ว พร้อมด้วยสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ ที่หลวงปู่ว่าทหาร 2 คนพ่อลูกนั่น

    ref:
    ในหลวงกับหลวงปู่ชอบ ฐานสโม | ธรรมะเพื่อความสุขใจ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 เมษายน 2011
  7. อุดมสมพร

    อุดมสมพร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 มกราคม 2011
    โพสต์:
    1,658
    ค่าพลัง:
    +6,964
    อนุโมทนา สาธุ

    ขอขอบคุณ คุณkennek ที่นำประวัติ ปฏิปทา และคำสอน ของพ่อแม่ครูบาอาจารย์ หลวงปู่ชอบ ฐานสโม วัดป่าสัมมานุสรณ์ จ.เลย พระผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ..มาเผยแผ่..ให้ผมและท่านๆอื่นได้อ่าน และศึกษา..ขอบพระคุณเป็นอย่างสูงครับ<!-- google_ad_section_end -->
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 638.jpg
      638.jpg
      ขนาดไฟล์:
      132 KB
      เปิดดู:
      3,292
  8. kennek

    kennek เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2006
    โพสต์:
    2,163
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +17,243
    โมทนาครับ

    เหรียญรุ่นแรกสวยมากๆเลยครับ :cool:
     
  9. Specialized

    Specialized ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    22,155
    กระทู้เรื่องเด่น:
    23
    ค่าพลัง:
    +83,370
    อนุโมทนาด้วยครับน้องเคน บ้านพี่ยังไม่มีวัตถุมงคลของหลวงปู่ชอบสักอย่างเลย

    แต่ศรัทธาท่านครับ ไว้จะแวะมาอ่านบ่อยๆเน้อ
     
  10. kennek

    kennek เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2006
    โพสต์:
    2,163
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +17,243
    [​IMG]


    [​IMG]

    ref: หนังสืองานพระราชทานเพลิงศพ หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน (หนังสือชาติสุดท้าย)
    เล่าโดย องค์หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • y1028652741.jpg
      y1028652741.jpg
      ขนาดไฟล์:
      55.5 KB
      เปิดดู:
      7,333
    • y1028652742.jpg
      y1028652742.jpg
      ขนาดไฟล์:
      134.4 KB
      เปิดดู:
      6,865
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 เมษายน 2011
  11. kennek

    kennek เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2006
    โพสต์:
    2,163
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +17,243
    ญาณระลึกชาติ


    [​IMG]


    ในเรื่อง บุพเพนิวาสานุสติญาณ หรือ ญาณระลึกชาติ ได้นั้น ไม่ต้องสงสัยเลยว่าหลวงปู่จะมีหรือไม่ สมเด็จพระพุทธองค์ได้ญาณนี้เมื่อคืนวันตรัสรู้ในเวลาปฐมยาม เป็นญาณลำดับแรกที่ทรงบรรลุ ทรงทราบรู้ระลึกถึงชาติหนหลังได้ ทั้งของพระองค์เองและสัตว์โลกอื่นๆ ตั้งแต่หนึ่งชาติ จนถึงอเนกชาติ...หาประมาณมิได้ ญาณนี้ทำให้ทรงทราบถึงอดีตชาติที่ท่องเที่ยว เกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นทุกข์อยู่ร่ำไป และทรงทำให้รู้สึกสลด รันทด เกิดความสังเวชพระทัยจนน้ำพระเนตรไหล ทรงสลด สังเวช สงสารชาติของพระองค์ ชาติของสัตว์อื่น ที่ท่องเที่ยว เกิด แก่ เจ็บ ตาย ทนทุกข์ทรมานมา ไม่แต่จะเคยเสวยพระชาติเป็นเทวดา อินทร์ พรหม ยม ยักษ์ นาค มนุษย์ ซึ่งเป็นทั้งท้าวพระยามหากษัตริย์ พระเจ้าจักรพรรดิ แต่เป็นคนยากจน เข็ญใจ ก็มีมาก และนอกจากทรงเคยเสวยพระชาติเป็นสัตว์เดรัจฉาน แม้แต่การตกนรกหมกไหม้ก็เคยผ่านขุมนรกต่างๆ มาแล้วเช่นกัน ทำให้พระองค์ทรงเบื่อหน่ายในชาติกำเนิด การเวียนว่ายตายเกิดเป็นที่ยิ่ง การจุติ แปรผัน ตาย - เกิด เกิด - ตาย ของสัตว์โลกไม่มีที่สิ้นสุด

    ญาณนี้เองเป็นเบื้องต้น เป็นบันไดขั้นแรกในคืนวันเพ็ญเดือนหก เมื่อสองพันห้าร้อยสามสิบห้าพรรษากาลที่ผ่านมา ที่ทำให้พระองค์สาวทอดไปสู่การตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ !

    ญาณระลึกชาติได้เช่นนี้ เป็นญาณซึ่งปวงปราชญ์ท่านถือเป็นเครื่องเตือนใจให้สลด สังเวชในภพชาติ และเร่งพิจารณาให้รู้ถึง ทุกข์ รู้ เหตุให้เกิดทุกข์ รู้ ธรรมเป็นที่ดับทุกข์ และรู้ ข้อปฏิบัติให้ถึงธรรมเป็นที่ดับทุกข์

    เร่งพิจารณาทวนกระแส ตัดภพ ตัดกระแสของภพ

    ตัดกระแสของภวังค์ ให้ขาดสิ้นไป


    ท่านตรวจตรา ทวนกระแสดู ใน ปฏิจจสมุปบาท ปัจจยาการว่า...

    เมื่ออวิชชาดับ สังขารก็ดับ

    สังขารดับ วิญญาณก็ดับ

    วิญญาณดับ นามรูปก็ดับ


    นามรูปดับ อายตนะก็ดับ


    อายตนะดับ ผัสสะก็ดับ


    ผัสสะดับ เวทนาก็ดับ


    เวทนาดับ ตัณหาก็ดับ


    ตัณหาดับ อุปาทานก็ดับ


    อุปาทานดับ ภพก็ดับ


    ภพดับ ชาติก็ดับ


    ชาติดับ ความแก่ ความเจ็บ ความตาย ความโศก ความเศร้า ความร้องไห้ ร่ำไร รำพัน ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจ ความเสียใจ ความคับแค้นใจ ก็ดับไปตาม ๆ กัน


    และทวนหวนกลับกระแสอีกว่า

    เมื่อชาติดับ ความแก่ ความเจ็บ ความตาย ความโศก ความเศร้า ความร้องไห้ ร่ำไร รำพัน ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจ ความเสียใจ ความคับแค้นใจ ก็ดับ

    เพราะชาติดับ ภพก็ดับ


    ภพดับ อุปาทานก็ดับ


    อุปาทานดับ ตัณหาก็ดับ


    ตัณหาดับ เวทนาก็ดับ


    เวทนาดับ ผัสสะก็ดับ


    ผัสสะดับ อายตนะก็ดับ


    อายตนะดับ นามรูปก็ดับ


    นามรูปดับ วิญญาณก็ดับ


    วิญญาณดับ สังขารก็ดับ


    สังขารดับ อวิชชาก็ดับ

    อวิชชาดับ แล้วสิ่งทั้งหมดก็ดับไปตาม ๆ กัน

    ปราชญ์ท่านจะค้นดูในปัจจยการ ปฏิจฺจสมุปบาท อย่างละเอียดลออ ท่านจะพยายามทำให้อาสวกิเลสให้หมดสิ้นไป ดับไป ไม่ให้เหลือเชื้อ เพื่อท่านจะได้เป็นผู้สิ้นไปแล้วจากอาสวะทั้งหลาย เป็นผู้เสร็จกิจ จบพรหมจรรย์ ไม่มีกิจที่จะต้องทำอีกต่อไป

    การเป็นผู้เสร็จกิจ ท่านหมายถึง กิจ ใน การละ การวาง การถอดถอนกิเลส การประหารกิเลส การดับกิเลส... นั้นไม่มีอีกแล้ว เพราะท่านได้ละ ได้วาง ได้ถอดถอน ได้ประหาร และดับหมดสิ้นแล้ว จึงเป็นผู้เสร็จกิจ ไม่มีกิจที่ต้องทำอีก เมื่อยังมีชีวิตอยู่ ก็มีแต่กิริยาจิต ปฏิปทากิจ ที่จะต้องดำเนินตามปฏิปทาอริยมรรค อริยประเพณี เพื่อความเหมาะสมและดีงามเท่านั้น

    สำหรับญาณการระลึกรู้อดีตชาตินี้ ศิษย์ผู้ใกล้ชิด ผู้ใฝ่ในการปฏิบัติเพื่อพ้นทุกข์ได้เคยขอโอกาสกราบเรียนถาม หลวงปู่ก็ยอมเล่าให้ฟังบ้าง

    ท่านเล่าว่า ท่านไม่ได้ระลึกชาติได้มากมายอะไร ที่สมเด็จพระพุทธองค์ทรงระลึกได้อเนกชาติหาประมาณมิได้นั้น เพราะท่านทรงมหาสติ มหาปัญญา มหาบารมี

    สำหรับท่านนี้ เท่าที่ระลึกได้ ท่านไม่เคยเป็นกษัตริย์ มักจะเป็นแต่คนทุกข์ยากเสียมากกว่า

    เคยเกิดเป็นพ่อค้าขายผ้าชาติลาว ออกเดินทางมากับพ่อเชียงหมุน (อุปัฏฐากคนหนึ่งในชาตินี้) ข้ามแม่น้ำโขงมาฝั่งนี้ มาทานผ้าขาวหนึ่งวา และเงินเป็นมูลค่าประมาณเท่ากับ ๕๐ สตางค์ ในปัจจุบันนี้ บูชาถวายพระธาตุพนม พร้อมทั้งอธิษฐานขอให้ได้บวช ได้พ้นทุกข์ ท่านเล่าว่า ท่านเคยมาสร้างพระธาตุพนมด้วย สมัยพระมหากัสสปเถรเจ้า พระธาตุพนมนี้สร้างก่อนพระปฐมเจดีย์

    ท่านเคยเกิดเป็นคนยางอยู่ในป่า เคยเกิดเป็นทหารพม่า มารบกับไทย ยังไม่ทันฆ่าคนไทย ก็ตายเสียก่อน เคยเกิดอยู่เมืองปัน พม่า ชาตินี้ท่านก็ได้กลับไปดูบ้านเกิดในชาติก่อนที่เมืองปันด้วย

    เคยเป็นทหาร ไปหลบภัยที่ถ้ำกระ เชียงใหม่ และเคยตายเพราะอดข้าวที่นั่น

    ท่านเคยเป็นพระภิกษุ รักษาศีลอยู่กับพระอนุรุทธะ เคยเป็นสามเณรน้อยลูกศิษย์พระมหากัสสปะ

    เคยเกิดเป็นท้าวมหาพรหมในพรหมโลก

    สำหรับการเกิดเป็นสัตว์นั้น ท่านเล่าว่า ท่านก็ผ่านมาอย่างทุกข์ยากแสนเข็ญเช่นกัน เช่น เคยเกิดเป็นผีเสื้อ ถูกค้างคาวไล่จับเอาไปกิน ที่ถ้ำผาดิน

    เคยเกิดเป็นฟาน หรือ เก้ง ไปแอบกินมะกอก กินไม่ทันอิ่มสมอยาก ถูกมนุษย์ไล่ยิง เขายิงที่โคกมน ถูกที่ขา วิ่งหนีกระเซอะกระเซิงไปตายที่บ้านม่วง

    เมื่อครั้งเกิดเป็นหมี ไปกินแตงช้าง (แตงร้าน) ของชาวบ้าน ถูกเจ้าของเขาเอามีดไล่ฟัน ถูกหัวและหู เคราะห์ดีไม่ถึงตาย แต่ก็บาดเจ็บมาก ต้องทุกข์ทรมานจนกระทั่งหายไปเอง

    เคยเกิดเป็นไก่ มีความผูกพันรักชอบนางแม่ไก่สาว จึงอธิษฐานให้ได้พบกันอีก ทำให้กลับมาเกิดเป็นไก่ซ้ำถึง ๗ ชาติ

    เคยเกิดเป็นปลาขาว อยู่ในสระ ณ บริเวณซึ่งปัจจุบันคือ ที่สวนบ้าน พล.อ.อ. โพยม เย็นสุดใจ

    ท่านเล่าชีวิตของการเป็นสัตว์นั้นแสนลำเค็ญ อดอยากปากแห้ง มีความรู้สึกร้อน หนาว หิว กระหาย เหมือนมนุษย์ แต่ก็บอกไม่ได้ พูดไม่ได้ ต้องซอกซอนไปอยู่ตามป่า ตามเขา ตามประสาสัตว์ ฝนตกก็เปียก ก็หนาวสั่น แดดออกก็ร้อน ก็ไหม้เกรียม อาศัยถ้ำ อาศัยร่มไม้ไปตามเพลง บางทีมาอยู่ใกล้หมู่บ้านหิว กระหาย เห็นพืชผลที่ควรกินชีวิตได้ พอจะหยิบฉวยจับใส่ปากใส่ท้องได้บ้าง ก็กลับกลายเป็นของที่เขาหวงห้ามมีเจ้าของ ต้องถูกเขาขับไสไล่ทำร้าย

    มะกอกสักหน่วย กล้วยสักลูกส้มสูกลูกไม้ แตงสักผล... หยิบปลิดมาใส่ปาก กินยังไม่ทันอิ่มท้อง มนุษย์ก็ไล่ยิง ไล่ฟัน ของเพียงน้อยนิด แต่ต้องแลกด้วยชีวิตทั้งชีวิต ชีวิต...ซึ่งจะเป็นชีวิตของคน หรือชีวิตของสัตว์... ของสัตว์ใหญ่ หรือ ... ของสัตว์เล็ก ก็คือ ชีวิตดวงหนึ่งเหมือนกัน

    ชีวิตที่เวียนว่ายวนอยู่ในกองทุกข์ ตามอำนาจกรรมที่กระทำมานี้ แต่บางทีภพชาตินั้นก็ยืดยาวต่อไปด้วยอำนาจกิเลสตัณหา ยกตัวอย่างเช่น ตอนท่านเกิดเป็นไก่ ใจนึกปฎิพัทธ์รักใคร่นางแม่ไก่ ชื่นชอบภพชาติที่เป็นไก่ของตน ปรารถนาขอให้ได้พบนางแม่ไก่อีก ท่านก็ต้องวนเวียนกลับมาเกิดเป็นไก่อยู่เช่นนั้น ท่านเล่าว่า แม้ท่านพระอาจารย์มั่นเอง เมื่อท่านระลึกชาติได้เห็นภพชาติที่เวียนวนกลับไปเกิดเป็นสุนัขถึงหมื่นชาติ ท่านบังเกิดความสังเวชถึงกับขออธิษฐาน เลิกปรารถนาพุทธภูมิ เพราะการจะบำเพ็ญบารมีเป็นพระพุทธเจ้าพระองค์ใดพระองค์หนึ่งในอนาคตนั้น ท่านจะต้องบำเพ็ญต่อไปอีกเป็นแสนกัปแสนกัลป์ และหากเกิดกิเลสตัณหา ติดข้อง ผูกพันรักใคร่ปรารถนาพบรัก พบทุกข์อยู่นั่นแล้ว การเดินทางในภพชาติก็จะยืดเยื้อเยิ่นยาวต่อไปเป็นอนันตกาล เคราะห์ดีที่ท่านเกิดสลดสังเวชคิดได้ ขอตัดขาด ไม่ปรารถนาพุทธภูมิ ท่านพระอาจารย์มั่นจึงสามารถดำเนินความเพียรเร่งรัดตัดตรงเข้าสู่พระนิพพานเป็นผลสำเร็จได้

    พร้อมกับที่เล่าให้ศิษย์ฟังเรื่องการระลึกชาติ ท่านจะชี้ภัยของการท่องเที่ยว เกิด แก่ เจ็บ ตาย ไปในภพชาติต่าง ๆ ให้ฟังเสมอ

    ท่านเตือนย้ำว่า การกำหนดระลึกรู้ได้เหล่านี้ เป็นเพียง ผลพลอยได้ จากการบำเพ็ญเพียรภาวนาให้จิตสงบ หากเกิดขึ้นก็รับรู้ นำมาพิจารณาให้เห็นทุกข์ เห็นโทษ เห็นไตรลักษณ์ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เห็นอริยสัจ ๔ ถือเป็นเครื่องมือที่จะช่วยเจ้าของฟาดฟันกิเลสให้ย่อยยับอัปราไปโดยเร็ว

    ไม่ใช่ มัวนึกหลง นึกดีใจ เกิดมานะ ว่าเราเก่งกล้าสามารถกว่าคนอื่น

    นั่นเป็นทางหายนะ....!

    เพราะปุพเพนิวาสานุสติญาณ เป็นเพียงโลกียญาณ ไม่ใช่โลกุตรญาณ...! ถ้าเจ้าของไม่เร่งดำเนินเข้าสู่ทางไปสู่อาสวักขยญาณ หรือญาณซึ่งถอดถอนอาสวกิเลสให้สิ้นไปดับไป แม้ญาณระลึกรู้อดีตชาติ ซึ่งเป็นโลกียญาณก็ย่อมจะเสื่อมได้



    ref: http://www.dharma-gateway.com/monk/monk_biography/lp-chob/lp-chob-hist-25.htm
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • p25.gif
      p25.gif
      ขนาดไฟล์:
      204.6 KB
      เปิดดู:
      6,591
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 เมษายน 2011
  12. kennek

    kennek เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2006
    โพสต์:
    2,163
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +17,243
    แม่ไก่ผู้มาปรากฏตัวในนิมิตภาวนา


    [​IMG]


    วันหนึ่งระหว่างที่หลวงปู่กำลังวิเวกอยู่ที่เชียงใหม่ ตอนกลางคืน ท่านก็เข้าที่ภาวนาตามปกติ ปรากฏภาพนิมิต มีแม่ไก่ตัวหนึ่งมาหาท่าน กิริยาอาการนั้นนอบน้อมอ่อนโยนเป็นอย่างยิ่ง มาถึงก็ใช้ปีกจับต้องกายท่าน จูบท่าน ท่านรู้สึกประหลาดใจ ที่สัตว์ตัวเมียมาแสดงกิริยาอันไม่สมควรต่อพระเช่นนั้น จึงได้ดุว่าเอา แต่แม่ไก่ตัวนั้นก็อ้างว่า

    เคยเกิดเป็นภรรยาของท่านมาแต่ชาติก่อน และเคยเป็นภรรยาของท่านมาถึง ๗ ชาติแล้ว ความผูกพันยังมีอยู่ ไม่อาจลืมเลือนได้ แม้จะรู้อยู่ว่า ท่านเป็นพระภิกษุสงฆ์ ไม่บังควรที่จะแสดงความอาวรณ์ผูกพันเช่นนี้ ตนมีกรรม ต้องมาเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉานต่ำต้อยวาสนา ก็ได้แต่นึกสมเพชตัวเองอยู่มาก อย่างไรก็ดี เมื่อพระคุณเจ้าผู้เคยเป็นคู่ชีวิตมาอยู่ในถิ่นที่ใกล้ตัวเช่นนี้ อดใจไม่ได้ จึงมาขอกราบ ขอส่วนบุญบารมี


    ในนิมิตนั้น หลวงปู่ได้เอ็ดอึงเอาว่า เราเป็นมนุษย์ เจ้าเป็นสัตว์ จะมาเคยเป็นสามีภรรยากันได้อย่างไร เราไม่เชื่อเจ้า

    แม่ไก่ก็เถียงว่า ถ้าเช่นนั้นคอยดู..พรุ่งนี้เช้า ตอนท่านออกไปบิณฑบาต ข้าน้อยจะไปจิกจีวรท่านให้ดู

    ตกเช้าหลวงปู่ก็ครองผ้าออกไปบิณฑบาตตามปกติ ท่านเล่าว่า ท่านไม่ได้นึกอะไรมาก ด้วยคิดว่าเป็นนิมิตที่เหลวไหลไร้สาระ แต่เมื่อท่านเดินเข้าไปบิณฑบาตเข้าไปในหมู่บ้านยาง ที่ชื่อบ้านป่าพัวะ อำเภอจอมทอง ก็มีแม่ไก่ตัวเมียตัวหนึ่ง ตรงรี่เข้ามาจิกจีวรท่านข้างหลัง หมู่เพื่อนที่ไปด้วยกันก็ตกใจ ด้วยเป็นสัตว์ตัวเมีย ท่านจะต้องอาบัติ จึงช่วยกันไล่ แต่แม่ไก่ตัวนั้น แม้ถูกไล่ออกไป ก็ยังพยายามวิ่งเข้ามาอีก

    คืนนั้นหลวงปู่พิจารณาซ้ำ ก็รู้ชัดว่า ไก่ตัวนั้นเคยเกิดเป็นภรรยาของท่านมาแล้วถึง ๗ ชาติจริง ๆ เป็นที่น่าเวทนาสงสารเป็นอย่างยิ่ง...ที่นางทำกรรมไม่ดีไว้ ไม่มีศีลจึงต้องตกไปเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉานเช่นนั้น

    เรื่องนี้เป็นตัวอย่าง ที่หลวงปู่เคยยกเป็นขึ้นมาตักเตือน บรรดาพระผู้เป็นลูกศิษย์ใกล้ชิด ให้เห็นชัดถึงผลของกรรม

    สัพเพ สัตตา กัมมัสสกา

    กัมมะ โยนิ

    กัมมะ พันธุ

    กัมมะ ปฏิสรณา


    สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของของตน มีกรรมเป็นผู้ให้ผล มีกรรมเป็นแดนเกิด มีกรรมเป็นผู้ติดตาม มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย

    ยัง กัมมัง กริสสามิ

    กัลยาณัง วา ปาปะกัง วา

    ตัสสะ ทายาทา ภวิสสันติ


    เราทำกรรมอันใดไว้ เป็นบุญหรือเป็นบาป จักเป็นทายาท คือว่าจักต้องได้รับผลของกรรมนั้นสืบไป


    ท่านสอนให้ระมัดระวังเกรงบาป เกรงกรรมเป็นที่สุด โดยเฉพาะผู้ที่เคยเกิดร่วมชีวิตกัน หากมิได้พยายามรักษาจิต ประกอบแต่กรรมดี ไม่มีศีลเสมอกัน ไม่มีธรรมเสมอกัน ในวัฏสงสารอันยาวนาน สายธารชีวิตย่อมจะต้องแตกแยกจากกัน ยากจะหาโอกาสมาพบพานกันได้ หรือหากพบกันก็อยู่ในฐานะที่เหลื่อมล้ำกัน ตามผลแห่งกรรมที่ตนได้ประกอบมา

    ยาทิสํ วปเต พีชํ ตาทิสํ ลภเต ผลํ

    กลฺยาณการี กลฺยาฯ ปาปการี จ ปาปกํ


    บุคคลหว่านพืชเช่นไร ย่อมได้ผลเช่นนั้น

    ผู้ทำกรรมดี ย่อมได้ผลดี ผู้ทำกรรมชั่ว ย่อมได้ผลชั่ว




    ref: http://www.dharma-gateway.com/monk/monk_biography/lp-chob/lp-chob-hist-32.html
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 เมษายน 2011
  13. นะจักรวาล

    นะจักรวาล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    1,911
    ค่าพลัง:
    +8,327
    กราบแทบเท้าหลวงปู่ครับ

    หลายปีก่อนคยตั้งโรงทานในงานฉลองเจดีย์บรรจุอัฐิธาตุของหลวงปู่
    งานนั้นหลวงตามหาบัวเป็นประธาน

    ของดีของหลวงปู่ รูปเหมือน เหรียญครบรอบ 90 ปีครับ ราคายังหลักร้อยแต่ดีแน่นอน


    พระของหลวงปู่เวลาแขวนรู้สึกได้เลยว่า อบอุ่น ปลอดภัย เมตตา หน้าใส ใจเย็น....เงินก็ไหลมาๆๆ...
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 เมษายน 2011
  14. เทวาลัย

    เทวาลัย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    1,033
    ค่าพลัง:
    +4,901
    ขอบคุณเจ้าของกระทู้ครับ
    ที่นำเรื่องราวดีๆของหลวงปู่มาให้ได้อ่าน
    หลวงปู่ชอบ ท่านอยู่ในจิตในใจของผมเสมอ
    วัตถุมงคลของท่านทุกอย่าง มีประสบการณ์มากมาย
    โดยเฉพาะเหรียญรุ่นแรก และรุ่นพิเศษ...
    เรื่องราวเฉียดตาย ออกจากปากหลายๆคนที่ผมรู้จัก
    คนเมืองเลย บ้านไหนที่มีวัตถุมงคลของท่านในบ้าน
    ถือเป็นศิริมงคลอย่างยิ่ง สงบ ร่มเย็น.....
    ลูกหลานคนนี้ ขอกราบนมัสการหลวงปู่ครับ


    ________________________
     
  15. kennek

    kennek เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2006
    โพสต์:
    2,163
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +17,243
    มาณพน้อยผู้มานิมนต์ข้ามโขง

    [​IMG]


    ครั้งหนึ่ง สมัยท่านออกปฏิบัติใหม่ ๆ เดินรุกขมูลไปอยู่แถวท่าลี่ จังหวัดเลย ท่านรำพึง ตรึกในใจว่า เราได้มาจนถึงที่นี้ ใกล้ฝั่งดินแดนประเทศลาวเต็มทีแล้ว ถ้าหากจะข้ามแม่น้ำโขงไปเที่ยวฝั่งลาว ไม่ทราบว่าจะมีข้อขัดข้องหรืออุปสรรคใดหรือไม่

    ตามปกติพระกรรมฐานเมื่อท่านจะทำอะไร ท่านมักจะต้องเข้าที่พิจารณาความเป็นไปได้ก่อนเสมอ ครั้งนี้ท่านยังมิได้พิจารณาอะไร ด้วยความคิดที่จะข้ามไปฝั่งลาวยังไม่ทันแน่นแฟ้นเท่าไร เพียงแต่คิดผ่านไปเท่านั้น อย่างไรก็ดี คืนนั้นเอง ระหว่างภาวนา ก็เกิดนิมิตเห็นมาณพหนุ่มน้อยผู้หนึ่งมากราบท่านด้วยเบญจางคประดิษฐ์ กล่าวว่า

    ทราบว่าพระคุณเจ้าปรารถนาจะไปวิเวกที่ฝั่งลาว ปวงข้าน้อยรู้สึกปีติเป็นอย่างยิ่ง จึงใคร่ขอมานิมนต์พระคุณเจ้าไปโปรดบรรดาพวกเรา สัตว์ผู้มีวาสนาน้อยทางดินแดนฝั่งโน้นด้วยเถิด

    ในนิมิตนั้น ท่านรับนิมนต์เขาด้วยอาการดุษณีภาพ

    รุ่งเช้า ฉันจังหันเสร็จเรียบร้อยแล้ว หลวงปู่ก็แต่งบริขารทั้งปวงไปที่ฝั่งแม่น้ำเหียง ซึ่งอยู่ใกล้แม่น้ำโขง เห็นมีเรือลำหนึ่ง วาดเข้ามาจากกลางลำน้ำ มาจอดอยู่ที่ท่า คนเรือก็ตะโกนขึ้นมานิมนต์พระคุณเจ้าให้ขึ้นเรือ ท่านถามว่า เรือจะไปที่ใด ท่านจะไปฝั่งลาว เขาก็บอกว่า ยินดีจะไปส่งให้ท่าน ท่านจึงลงเรือนั้นไป คนเรือมีสีหน้ายิ้มละไม และมีกิริยานอบน้อมต่อท่านอย่างผิดสังเกต เมื่อเรือออกจากปากแม่น้ำเหียง ก็ข้ามแม่น้ำโขงมุ่งตรงไปฝั่งลาว แล้วก็จอดเทียบท่านิมนต์ให้ท่านขึ้นฝั่ง

    หลวงปู่ประคองบาตรและบริขารขึ้นฝั่งเรียบร้อยแล้ว ก็เหลียวมาเพื่อจะขอบใจและให้พรที่คนเรือนั้นได้กรุณานำพระข้ามเรือมา แต่ท่านก็ต้องประหลาดใจ ด้วยปรากฏว่า มองไปมิได้เห็นเรือลำนั้นเลย และความจริงแม้แต่เรือลำใด...ไม่ว่าเล็กใหญ่ประการใดก็ไม่มีปรากฏในสายตาของท่าน !

    ...ทั้งลำน้ำโขง มีจะเข้ขนาดมหึมาตัวหนึ่ง ลอยฟ่องอยู่กลางลำน้ำแต่เพียงตัวเดียว...!!

    หลวงปู่กำหนดจิตพิจารณา...จึงทราบว่า นั่นคือพญานาคเขามานิมนต์ท่านในนิมิต และแปลงกายเป็นเรือและคนเรือมารับ เมื่อส่งท่านแล้วเขาก็แปลงเพศเป็นจระเข้ให้ท่านได้เห็นเป็นอัศจรรย์ ท่านจึงแผ่เมตตาให้ จะเข้นั้นลอยตัวนิ่งอยู่ราวกับสงบกิริยาอาลัย จึงนึกบอกในจิตว่า

    เอาละ...เราขอบใจเธอมาก ที่ช่วยเป็นธุระให้เราข้ามน้ำมาครั้งนี้ เราขออนุโมทนาด้วย เราเดินทางต่อไปได้แล้ว ไม่ต้องห่วงใยอะไรเราหรอก

    บอกลาครั้งหลังนี้ จะเข้นั้นจึงได้ผงกหัวลาและจมลงไปในท้องน้ำ

    หลวงปู่ดูจะมีข้อเกี่ยวข้องกับพญานาคเป็นพิเศษ ท่านไปที่ใดก็มักจะมีพญานาคมาอารักขาให้ความสะดวกอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นปกติ



    ref: http://www.dharma-gateway.com/monk/monk_biography/lp-chob/lp-chob-hist-27.htm
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 47965385.jpg
      47965385.jpg
      ขนาดไฟล์:
      181.6 KB
      เปิดดู:
      6,535
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 เมษายน 2011
  16. kennek

    kennek เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2006
    โพสต์:
    2,163
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +17,243
    บุรุษผู้มาใส่บาตรที่วัดห้วยน้ำริน

    [​IMG]


    ครั้งหนึ่งท่านพักอยู่ที่ วัดห้วยน้ำริน อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ สังเกตเห็นว่า ในบรรดาทายกทายิกาที่มาฟังเทศน์หรือใส่บาตรถวายจังหันทุกวันนั้น มีชายคนหนึ่งที่ดูแปลกกว่าคนอื่น คือถึงจะนุ่งห่มแต่งกายอย่างชาวบ้านธรรมดา แต่ก็ดูภูมิฐานและสำรวมกว่าคนทั่วไป มีดอกไม้กับอาหารคาวหวานมาใส่บาตรทุกวัน สำหรับอาหารทุกชนิดที่เขานำมานั้น แม้จะมองดูเป็นอาหารพื้นเมืองทั่วไป มีปลา มีผัก น้ำพริก หรือแกง ตามปกติ แต่สังเกตว่า ระยะนี้อาหารที่ท่านฉันนั้นมีรสชาติพิเศษ อย่างไรก็ดีท่านก็ไม่แน่ใจว่า อาหารที่มีรสชาติพิเศษนั้นจะเป็นอาหารจากที่ชายผู้นั้นถวายหรือไม่ เพราะเมื่อพระรับถวายจังหันแล้ว ท่านก็จัดลงบาตรรวม ๆ กันไป จะเป็นอาหารจากสำรับใด ถ้วยใด ของโยมคนไหนก็ไม่ได้จดจำไว้

    ธรรมดาพระธุดงคกรรมฐาน ท่านจะมีโอภาปราศรัยกับญาติโยมเป็นปกติ ครั้งนี้ ท่านพูดคุยธรรมดา แล้วก็ถามถึงโยมคนที่ว่านี้ เออ...เป็นใคร อยู่บ้านไหน เป็นญาติของใคร ท่านมาคราวก่อน ๆ ไม่เคยเห็น

    ชาวบ้านแถบนั้นซึ่งคุ้นเคยกับท่าน เคยปรนนิบัติพระธุดงค์มานาน ต่างก็นึกขึ้นได้ว่า หลวงปู่หมายถึงผู้ใด แต่ก็ไม่อาจจะตอบท่านได้ว่าเป็นใคร มาแต่ไหน ได้แต่พูดกันว่า เออ...จริงซี นึกได้แล้ว เห็น ๆ เหมือนกัน นึกว่าเป็นญาติกับคนนั้น คนนั้นก็ว่า นึกว่าเป็นญาติกับคนโน้น คนโน้นก็คิดว่ามากับคนนี้

    รวมความว่า ไม่เคยเห็นกันมาก่อน เห็น ๆ อยู่ แต่เวลากลับ ไม่ทราบว่ากลับไปบ้านที่ไหน กับใคร และเมื่อไร

    วันสุดท้าย หลวงปู่ปะหน้าชายแปลกหน้านั้น นำดอกไม้และอาหารมาถวายจังหันเช่นเคย ท่านถาม เขาก็ตอบว่า บ้านโยมอยู่แถวนี้เอง ตอบยิ้ม ๆ แล้วก็ถอยไปนั่งรอระหว่างท่านฉันอย่างสงบเสงี่ยม ปกติระหว่างพระป่าฉันจังหันนี้ ชาวบ้านก็มักจะนำอาหารที่ถวายแล้วและเหลือจากที่พระนำลงบาตรแล้ว มาตักแบ่งแจกกันรับประทานเป็นกลุ่ม ๆ แต่ชายผู้นั้นมิได้ร่วมวงรับประทานกับกลุ่มใคร เขาคงนั่งอยู่คนเดียวอย่างสำรวมอาการ วันนั้นหลวงปู่ก็ทำไม่รู้ไม่ชี้ คอยสังเกตอาการของเขาอยู่เงียบ ๆ

    ท่านฉันเสร็จ ให้พร เมื่อเห็นเขาเก็บของ กราบลา ท่านรออยู่พอไม่ให้น่าเกลียด แล้วก็ลุกตามไป ดูว่าเขาจะกลับไปทางใด

    ปรากฏว่า พอลับจากศาลา เขาก็เดินหายลงไปในสระน้ำหน้าวัด..!!

    ชายคนนั้นคือ นาคมาณพ นั่นเอง.....!

    ท่านเล่าว่า พญานาคนั้นมีฤทธิ์มาก เป็นเทวดาจำพวกหนึ่ง เขาสามารถเนรมิตกายได้ต่าง ๆ กัน

    ท่านเคยถามเขาว่า ต้องการอะไร

    เขาก็เรียนท่านว่า

    วิสัยพญานาคนั้นมีความเคารพผู้ทรงศีลผู้ทรงคุณธรรม มนุษย์ผู้เป็นกัลยาณชน ปรารถนาในการบำเพ็ญทาน ศีล ภาวนา เช่นไร พญานาคก็ปรารถนาในการบำเพ็ญทาน ศีล ภาวนา เช่นนั้นเหมือนกัน ในกาลก่อน พระพุทธเจ้าสมัยเสวยพระชาติเป็นนาค มีนามว่า พระภูริทัตต์ ก็ยังสู้บำเพ็ญบารมี รักษาศีล บำเพ็ญทานภาวนาจนตัวตาย ในกาลปัจจุบัน กลิ่นศีลอันบริสุทธิ์ของพระคุณเจ้าหอมนัก หอมทั้งใกล้ หอมทั้งไกล หอมทวนลม หอมไปไกล พวกเขาก็ขอโอกาสมาทำบุญถวายทานแด่พระคุณเจ้า เพื่อเป็นการเพิ่มพูนบารมีของตนสืบไปบ้าง


    ท่านถามถึงการเนรมิตกาย เพราะเคยเห็นพญานาคในรูปจำแลงต่าง ๆ หลายครั้งหลายหนแล้ว

    เขากราบเรียนว่า การเนรมิตกายของพญานาคนั้นง่ายดายมาก จะให้เป็นอย่างไรก็ทำได้ทั้งนั้น

    เขาก็เลยเนรมิตกายถวายให้ท่านดู โดยเตือนว่า นี่เป็นภาพนิมิตทั้งนั้น...

    เขาหายตัวไปจากที่นั้น ครู่เดียวก็กลายเป็นมาณพหนุ่มน้อยเข้ามาหา ประเดี๋ยวก็เป็นชายชราเดินงก ๆ เงิ่น ๆ เข้ามาหา บัดเดี๋ยวก็หายไป แล้วกลับเป็นหญิงสาวสวย หายไปอีกครู่หนึ่ง ปรากฏว่า กลับมาเป็นเสือใหญ่น่าเกรงขาม กำลังเยื้องย่างเข้ามา จากร่างเสือกลายเป็นพรานขมังธนู ถืออาวุธเข้ามา

    พญานาคเรียนท่านว่า

    การเนรมิตกายนั้นไม่ยากเย็นอะไร เพียงคิดก็เปลี่ยนไปได้ตามต้องการ จะเป็นมนุษย์ เป็นสัตว์อย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ ถ้าเป็นมนุษย์ จะเป็นคนเดียวหรือหลายคน แต่ละคนต่างแสดงอากัปกิริยาต่างกันก็ได้ ถ้าเป็นสัตว์ อาจเป็นตัวเดียว หรือหลายตัว ทั้งอาจเป็นสัตว์ต่างชนิดกันก็ได้ เช่น เห็นเป็นภาพ ทั้งช้าง ทั้งเสือพร้อม ๆ กัน ซึ่งไม่ได้หมายความว่าเป็นนาค ๒ ตัว หากเป็นพญานาคตัวเดียว จำแลงกายเป็นสัตว์ ๒ อย่าง ๒ ร่างกัน

    เขาสามารถเนรมิตกายได้อย่างน่าพิศวง และรวดเร็วทันใจมาก

    ท่านเล่าถึงการแปลงกายของพญานาคว่า เราได้ปะมาแล้วทุกอย่าง...เป็นงูตัวน้อย ๆ ผ้าขาว ผู้หญิง เสือ มนุษย์ ...กษัตริย์...สารพัด

    ท่านเล่าว่า

    สำหรับรูปกายที่เป็นพญานาคจริง ๆ นั้น ท่านก็เคยเห็นอยู่ รูปร่างเหมือนกับที่เขาทำไว้ตามโบสถ์ตามวิหารนั้นเช่นเดียวกัน มีหงอน สามหงอนบ้าง ห้าหงอนบ้าง เจ็ดหงอนบ้าง ครั้งหนึ่งท่านเคยเห็นมาด้วยกันคู่สองผัวเมีย ทั้งพญานาคและนางนาคผู้เป็นภริยา แต่บางทีเขาก็เข้ามาหาท่านในร่างของมนุษย์ แต่งตัวด้วยเครื่องทรงอย่างกษัตริย์ มีข้าราชบริพารเฝ้าแหนแวดล้อมมาดังขบวนเสด็จของพระราชา

    เคยเรียนถามท่านว่า “พญานาคตัวจริงใหญ่ขนาดไหน”

    ท่านตอบว่า “ใหญ่มาก”

    ขณะนั้นเรากำลังอยู่กันหน้าโรงครัว จึงเรียนถามว่า “ใหญ่เท่าโรงครัวนี้ไหม”

    ท่านว่า “ใหญ่กว่าอีก”

    พวกเราอีกคนถามเสริมว่า “ใหญ่เท่าศาลานี้ไหม”

    ท่านบอกยิ้ม ๆ ว่า “ใหญ่มากกว่าก็ได้ เล็กกว่าก็ได้ แล้วแต่เขาจะแสดงให้เห็น”

    “ลำตัวเล่าเจ้าคะ ยาวแค่ไหน”

    “ยาวปานภูเขา”


    ref: http://www.dharma-gateway.com/monk/monk_biography/lp-chob/lp-chob-hist-28.html
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 1240326524.jpg
      1240326524.jpg
      ขนาดไฟล์:
      53.7 KB
      เปิดดู:
      6,423
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 เมษายน 2011
  17. kennek

    kennek เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2006
    โพสต์:
    2,163
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +17,243
    พญานาคในแม่น้ำโขง

    [​IMG]

    ครั้งหนึ่ง หลวงปู่ชอบไปวิเวกที่ฝั่งลาวกับหมู่หลายองค์ พร้อมทั้งได้มีโยมตามไปเที่ยวด้วย วันนั้น ญาติโยมทางฝั่งลาวได้ถวายจังหันคณะของท่านที่ริมฝั่งโขงนั้นเอง หลังฉันเสร็จ โยมช่วยกันเอาบาตรไปล้างที่ฝั่งแม่น้ำโขง โดยเทเศษข้าวและอาหารที่เหลือในบาตรลงในน้ำโขง เกิดอัศจรรย์ที่น้ำในแม่น้ำที่ไหลสะอาดนั้นกลับขุ่นหมด

    “ขุ่นหมดทั้งวังน้ำหันตาไก่”
    ท่านเล่า “วังน้ำหันตาไก่” แปลว่า น้ำหมุนวนอย่างแรง

    นอกจากจะน้ำทั้งขุ่นข้นและทั้งหมุนเป็นวังวนอย่างแรงแล้ว ยังมีเสียงสะเทือนเลื่อนลั่น พร้อมกับตลิ่งพังอย่างรุนแรง ดินเคลื่อนลงน้ำด้วยความรวดเร็ว จนโยมที่ไปล้างบาตรแทบจะกระโดดหนีขึ้นตลิ่งไปเกือบไม่ทัน

    ต่างคนต่างตัวสั่นงันงกด้วยความตกใจ ไม่ทราบว่าเหตุผลกลใด ธรรมชาติจึงเล่นบทพิสดารให้ดูเช่นนั้น จู่ ๆ น้ำในแม่น้ำโขงที่ใสสะอาด ไหลเอื่อยอย่างสงบ ก็กลับกลายเป็นขุ่นข้น...ตลิ่งพัง แผ่นดินถล่ม น้ำหมุนวนเป็นเกลียว

    หากหนีไม่ทัน ตกลงไปกลางน้ำวน จะเป็นอย่างไร...บรื๊อว์...ทุกคนแทบไม่อยากคิด

    ต่างใจสั่นขวัญแขวน รีบไปกราบหลวงปู่ขออาศัยบารมีท่านเป็นที่พึ่ง เพราะเสียงน้ำ เสียงตลิ่งพังยังไม่สงบดี

    หลวงปู่พิจารณาแล้วก็อธิบายว่า เป็นเพราะพญานาคเขาโกรธ ว่าเทน้ำพริกน้ำเกลือลงไปถูกเขา

    ท่านจึงตักเตือนหมู่คณะมิให้ประมาท สิ่งที่ไม่รู้ไม่เห็นนั้นยังมีอีกมาก โดยเฉพาะที่แม่น้ำโขงนี้ ท่านห้ามศิษย์ของท่านมิให้เทเศษอาหารหรือสาดน้ำล้างถ้วยชามลงไปอีกเลย ด้วยเกรงว่าจะเป็นการทำความขุ่นเคืองให้แก่สิ่งลึกลับที่อยู่ในน้ำ ท่านแนะให้ใช้วิธีตักน้ำขึ้นมาล้างจานชาม และเทน้ำลงบนตลิ่ง มิใช่สาดลงไปในน้ำ

    อย่างไรก็ดี แม้แรก ๆ จะมีผู้เชื่อฟังท่าน แต่ภายหลัง ได้มีพระรูปหนึ่ง ยังสงสัย ไม่ยอมเชื่อ ได้เทเศษอาหารลงไปในน้ำ และก็เกิดอาเพศ น้ำหมุนวน ตลิ่งพัง ขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง พระดื้อรูปนั้นกระโจนหนีแทบจะไม่ทัน จากนั้นมา ในบรรดาคณะศิษย์ผู้ติดตามหลวงปู่ก็บอกเล่าต่อ ๆ กันมา และเชื่อฟังกันเป็นอันดี

    พญานาคในแม่น้ำโขงนี้ เมื่อขึ้นมาคารวะท่าน ท่านบอกว่า

    ตัวใหญ่โตมาก ระหว่างที่หัวมากราบคารวะท่านที่ถ้ำ แต่ส่วนหางยังอยู่ที่ฝั่งน้ำ ห่างกันเป็นกิโลเมตร บุพกรรมของเขาเคยเกิดเป็นมนุษย์ รักษาศีล อุปัฏฐากพระเจ้าพระสงฆ์เป็นอันดี แต่กรรมบัง ถือสนิทว่าตนเป็นผู้อุปัฏฐากใกล้ชิดพระ ไม่สำรวมระวัง เอามีดของพระไปใช้เป็นส่วนตัว จึงมาเกิดเป็นพญานาคเช่นนี้ แม้จะเป็นผู้มีฤทธิ์แต่ก็ยังอาภัพอับวาสนา เป็นสัตว์เดรัจฉาน

    ท่านเลยเทศนาสั่งสอนพญานาคนั้นให้ยึดยั่นในศีลห้า และไตรสรณาคมน์

    เรื่องกรรมเล็กกรรมน้อยนี้ หลวงปู่จะเตือนศิษย์เสมอมิให้ประมาท โดยเฉพาะผู้ที่ปรนนิบัติพระเจ้าพระสงฆ์ จะเป็นฆราวาสก็ดี ภิกษุด้วยกันก็ดี พึงระมัดระวังให้จงดี โดยเฉพาะพระภิกษุ อย่าละเมิดธรรมวินัยได้ แม้การใช้สอยบริขารของสงฆ์เช่นกัน จะต้องเก็บงำรักษาเป็นอันดี ท่านยกว่า แม้แต่ในสมัยพุทธกาล พระพุทธเจ้ายังทรงตำหนิตักเตือนพระ อย่าเห็นเป็นบาปเล็ก กรรมน้อย

    ขึ้นชื่อว่าบาปกรรม นรชนไม่ควรดูหมิ่นว่าเล็กน้อย เปรียบเหมือนภาชนะที่เขาเปิดปากตั้งไว้กลางแจ้ง เมื่อฝนตก น้ำฝนหยาดเดียวไม่ทำให้ภาชนะเต็มก็จริงอยู่ แต่เมื่อฝนตกอยู่บ่อย ๆ ภาชนะนั้นย่อมเต็มได้แน่ ๆ ฉันใด ผู้ทำบาปอยู่ แม้ทีละน้อย ๆ ย่อมทำกองบาปให้ใหญ่โตขึ้นโดยลำดับได้ฉันนั้นเหมือนกัน



    ref: http://www.dharma-gateway.com/monk/monk_biography/lp-chob/lp-chob-hist-29.html
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • Q281784.jpg
      Q281784.jpg
      ขนาดไฟล์:
      59.2 KB
      เปิดดู:
      6,462
  18. kennek

    kennek เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2006
    โพสต์:
    2,163
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +17,243
    พญานาคผู้มิจฉาทิฏฐิ

    [​IMG]
    ภาพพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต และคณะศิษย์


    เรื่องพญานาคทั้งหลายที่นำมาเล่านี้ ดูจะเป็นผู้เลื่อมใสศรัทธาต่อพระเจ้าพระสงฆ์ทั้งนั้น แต่ความจริง มีพวกพญานาคที่ท่านพบ เป็นพวกมิจฉาทิฏฐิ ไม่เคารพเลื่อมใสในพระกรรมฐาน ก็มีเหมือนกัน

    เช่นครั้งหนึ่ง สมัยท่านติดตามพระอาจารย์มั่นไปวิเวกแถบฝั่งแม่น้ำโขงเช่นกัน

    ขณะนั้นท่านได้พาคณะไปพักอยู่ในเขตป่าร่มรื่นแห่งหนึ่ง บริเวณใกล้เคียงนั้นมีบึงน้ำกว้างใหญ่ น้ำเปี่ยมตลิ่งใสสะอาด ระหว่างที่หมู่เพื่อนเตรียมจะสรงน้ำ และตักน้ำมาสำหรับดื่มกินและใช้สอย แต่หลวงปู่ก็สังเกตว่า บริเวณโดยรอบบึงนั้นสงัดเงียบเกินไป ไม่มีนกกาเกาะอยู่บนต้นไม้ใกล้เคียง หรือรอยเท้าของสัตว์ชนิดใดก็ไม่มีโดยรอบบึงน้ำ อันดูเป็นการผิดวิสัย เพราะหนองน้ำ หรือบึงใหญ่ ย่อมเป็นที่พึ่งพิงอาศัยของส่ำสัตว์มีชีวิตจะใช้เพื่ออาบกินทั้งนั้น ท่านสงสัยว่าจะเป็นที่ไม่ชอบมาพากล

    จึงพิจารณาดู ก็รู้ว่า เป็นที่ซึ่งพญานาคผู้มีมิจฉาทิฏฐิมาพ่นพิษใส่ในน้ำนั้นไว้ หากพระเณรลงอาบน้ำหรือตักมาใช้สอยดื่มกิน ก็คงจะเกิดอันตรายเจ็บไข้ได้ป่วยกันให้เป็นที่ยากลำบาก

    ท่านจึงรีบห้ามหมู่เพื่อนไว้ บอกสั้น ๆ ว่าอย่าเพิ่งใช้น้ำเหล่านี้ แล้วท่านก็รีบไปกราบเรียนท่านพระอาจารย์มั่น ถึงข้อที่ท่านสงสัยและได้พิจารณาดู ท่านพระอาจารย์มั่นก็ยืนยันความรู้เห็นของหลวงปู่ว่าถูกต้องแล้ว และว่าท่านก็พิจารณาอยู่แล้ว รู้ว่าพญานาคพวกนี้ยังไม่มีความเคารพเลื่อมใสในศาสนา เห็นพวกเราเป็นศัตรู เข้าใจว่าที่พวกเรามา ณ ที่นี้นั้นจะลองดีแข่งกับพวกเขา และขับไล่ให้พวกเขาต้องระเหเร่ร่อนจากถิ่นที่อยู่ไป เขาจึงได้แกล้งพ่นพิษใส่ในน้ำไว้ ดูทีหรือพวกเราจะทำประการใด หากประมาทมาใช้อาบกินเข้าก็คงจะเจ็บไข้ ต้องหนีจากไป

    ท่านชมเชยความรู้เห็นของหลวงปู่มาก และสั่งยืนยันมิให้พระไปลงอาบน้ำ หรือตักน้ำอันมีพิษนั้น มาดื่มกินหรือใช้สอย ท่านว่าเราจะต้องไม่สนใจกับปฏิกิริยาอันไม่ถูกต้องของพญานาคเหล่านั้น ให้พวกเราเจริญเมตตาแผ่ให้เขา ในไม่ช้าเขาก็คงจะต้องละทิฏฐิมานะเป็นแน่แท้ เพราะเมตตาธรรมเป็นธรรมอันเยือกเย็น สามารถดับความร้อนรุ่มกระวนกระวายของจิตที่หลงผิดริษยาอาฆาตได้เป็นอย่างดี

    หมู่เพื่อนทราบความแล้ว ก็ยิ่งเพิ่มความเกรงใจในหลวงปู่มากขึ้น เพราะนอกเหนือรองลงมาจากท่านพระอาจารย์มั่นแล้ว ก็ดูเหมือนว่า หลวงปู่จะเป็นที่พึ่งอาศัยทางรู้เห็นสิ่งลึกลับกายทิพย์แก่หมู่คณะได้ดีที่สุด ต่างองค์ก็เชื่อฟังคำท่านพระอาจารย์มั่นและหลวงปู่ มิได้พยายามย่างกรายไปใกล้บึงน้ำนั้นแต่ประการใด การอาบ การตักน้ำมาใช้ดื่มกินใช้สอย ก็พยายามไปหาจากหนองน้ำแห่งอื่น แม้จะไม่ค่อยสะดวก ด้วยอยู่ห่างไกลกว่า และดูไม่ค่อยสะอาดร่มรื่นเท่า แต่ก็แน่ใจได้ในความปลอดภัยกว่า

    หลายวันต่อมาพระอาจารย์มั่นจึงอนุญาตให้พระลงอาบน้ำและใช้สอยน้ำในบึงดังกล่าวได้ คงจะไม่จำเป็นต้องกล่าวแต่อย่างใดว่า การนี้เป็นไปภายหลังจากที่ท่านได้ทรมานพญานาคเหล่านั้นเรียบร้อยแล้ว ให้ยอมตนเคารพท่าน และรับนับถือพระไตรสรณาคมน์

    ทราบกันในภายหลังว่า

    หลังจากเมื่อพญานาคยอมตนสิโรราบต่อท่านแล้ว ท่านพระอาจารย์มั่นก็ถามเรื่องการพ่นพิษใส่ในบึงน้ำ ท่านตักเตือนเรียบ ๆ ว่า หากมีพระเณรหรือผู้ใดมาใช้น้ำพิษนี้แล้ว เกิดภัยอันตรายขึ้นก็จะเป็นบาปกรรมอย่างหนักแก่พญานาคโดยแท้ โดยเฉพาะโทษการล่วงเกินพระผู้มีศีลบริสุทธิ์นั้น คงจะไม่ต่ำกว่าการลงสู่ขุมนรก หากยั่นบาป ยั่นกรรม ก็ควรจะเร่งไปถอนพิษให้น้ำเป็นน้ำบริสุทธิ์ เป็นประโยชน์แก่ผู้สัญจรไปมาดังเดิม

    พญานาคทั้งประหลาดใจและตกใจ...ประหลาดใจ ที่ว่าตนแอบทำ แต่ท่านพระอาจารย์มั่นและหลวงปู่ต่างล่วงรู้ได้ด้วยอำนาจความรู้ภายใน...ตกใจด้วยกลัวโทษทัณฑ์ในการล่วงเกินพระอริยเจ้า จึงได้กราบกรานขอสมาโทษ แล้วรีบไปถอนพิษโดยเร็ว

    ท่านเล่าว่า แต่นั้นมา พญานาคคณะนั้นก็หมดทิฏฐิมานะ มีความเคารพเลื่อมใสศรัทธาในพระศาสนา ถวายตัวเป็นศิษย์ท่านพระอาจารย์มั่น ปวารณาตัวรับใช้และถวายอารักขาท่านและหลวงปู่ ตลอดจนพระเณรทั้งปวงเป็นอย่างดี และเมื่อถึงโอกาสอันควรก็พากันมาฟังธรรมเสมอมิได้ขาด


    ref: http://www.dharma-gateway.com/monk/monk_biography/lp-chob/lp-chob-hist-30.html
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 10.jpg
      10.jpg
      ขนาดไฟล์:
      56.6 KB
      เปิดดู:
      6,445
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 เมษายน 2011
  19. kennek

    kennek เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2006
    โพสต์:
    2,163
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +17,243
    เรื่องพญานาคอีกครั้ง

    [​IMG]
    หลวงปู่ขาว อนาลโย


    [​IMG]
    หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ

    เรื่องนี้ความจริงควรจะบันทึกรวมไว้ในตอนที่ท่านวิเวกอยู่ในเขตอำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ แต่โดยที่เป็นเรื่องเกี่ยวกับพญานาค จึงได้นำมาแยกบันทึกเป็นเรื่องรวม ต่อเนื่องกันไป กับชุดเกี่ยวกับพญานาค เพื่อความสะดวกในการเข้าใจ

    ระยะนั้นเป็นเวลาหลังจากเสร็จสงครามโลกครั้งที่สองใหม่ ๆ ออกพรรษาแล้ว ท่านไปเที่ยววิเวกในเขตอำเภอแม่ริมกับ หลวงปู่ขาว อนาลโย บังเอิญได้พบกับ ท่านพระอาจารย์เหรียญ วรลาโภ ซึ่งเคยเที่ยววิเวกกับท่าน และได้เคยจำพรรษากับท่านมาแล้ว ณ สำนักสงฆ์แม่หนองหาร ในปี พ.ศ. ๒๔๘๕ ท่านจึงชวนกันไปวิเวกตามเขาและถ้ำซึ่งอยู่ใกล้กับหมู่บ้านพอบิณฑบาตถึงได้ โดยมีพระอีกองค์หนึ่งร่วมไปด้วยรวมเป็น ๔ องค์ด้วยกัน

    เขาลูกนั้นมีถ้ำอยู่ ๒ ถ้ำ แต่เป็นถ้ำที่อยู่สูงจากเชิงเขาขึ้นไปประมาณ ๑๕ วา ทางขึ้นชันมาก เวลาขึ้นไปต้องเอามือเหนี่ยวโหนต้นไม้และเถาวัลย์ขึ้นไป พระหนุ่ม ๒ องค์ คือ ท่านพระอาจารย์เหรียญและพระอีกรูปหนึ่งไปอยู่ในถ้ำ ส่วนหลวงปู่ขาว และท่านอยู่บนสันเขาชั้นล่าง ต่ำลงมาจากถ้ำหน่อยหนึ่ง

    ท่านเล่าว่า การภาวนาดีมาก อากาศดีและสงัด ไม่มีอะไรรบกวน ชาวบ้านที่อยู่ใกล้เขาลูกนั้น เมื่อทราบข่าวว่ามีพระธุดงคกรรมฐานมาพักบนเขาและถ้ำ ต่างก็พากันดีใจ ชักชวนกันมาทำแคร่ที่พักอาศัยให้ สำหรับน้ำใช้น้ำฉัน ก็ช่วยกันหาไม้ไผ่ขนาดลำใหญ่หน่อย มาผ่ากลาง เอาข้อออก ให้เป็นลำรางต่อกัน บนเขาลูกใหญ่นั้นมีน้ำพุผุดไหลมาออกตรงข้างเขา ชาวบ้านก็เอาลำรางไม้ไผ่นั้นไปรองรับน้ำให้ไหลมาไว้ที่หัวเขา และที่ถ้ำซึ่งพระอยู่ จัดเป็นระบบประปาธรรมชาติ ทำให้มีความสะดวก ไม่ต้องกังวลในการลงเขาขึ้นเขาไปลำเลียงน้ำใช้น้ำฉัน น้ำนั้นไหลมาแต่เขาซึ่งอุดมด้วยหินปูน จึงต้องนำมาต้มให้เดือดเสียก่อน ปล่อยให้เย็นจนตกตะกอนแล้วจึงกรองเอามาฉัน

    อยู่ต่อมาวันหนึ่ง ระบบประปาธรรมชาติเกิดขัดข้อง ไม่มีน้ำไหลมาตามรางน้ำ ไต่สวนได้ความว่า รางน้ำไม้ไผ่ที่ชาวบ้านต่อมาให้ใช้ยังที่พักนั้น ถูกฟันเสียหายหลายจุด ทั้งนี้เพราะไม่กี่วันก่อนหน้านั้น พระที่อยู่ในหมู่บ้านเขาพากันสึกเสียหมด พร้อมทั้งคนในหมู่บ้านเจ็บป่วยกันหลายคน กำนันในตำบลนั้นไปปรึกษากับหมอผี หมอผีบอกว่าเป็นเพราะมีพระกรรมฐานมาอยู่บนเขาและในถ้ำ ผีที่อยู่ในถ้ำกลัวบารมีพระกรรมฐานอยู่ในถ้ำไม่ได้ จึงมารบกวนชาวบ้านให้เจ็บป่วย ถ้าจะให้ชาวบ้านหายเจ็บป่วย ต้องไล่พระกรรมฐานไป กำนันตำบลนั้นจึงประกาศห้ามไม่ใช้ชาวบ้านที่หมู่บ้านของกำนันมาทำบุญตักบาตร รวมทั้งน้ำฉันน้ำใช้ก็ให้ตัดขาดหมด เป็นการบีบบังคับไล่ทางอ้อมให้พระกรรมฐานหนีไป

    อย่างไรก็ดี ไม่ได้มีผู้เชื่อถือกำนันนั้นทุกคนไป วันแรกคนในหมู่บ้านของตำบลนั้นไม่กล้าใส่บาตร แต่ท่านและคณะก็ไปบิณฑบาตจากหมู่บ้านอื่นที่อยู่ใกล้เคียง ส่วนน้ำใช้นั้น พวกญาติโยมที่เลื่อมใสก็พากันไปซ่อมแซมให้ใช้ได้ดังเดิม และคอยจัดเวรยามดูแลให้ ไม่นานพวกที่หลงผิดก็รู้สึกตัว เพราะความเจ็บป่วยนั้นเป็นธรรมดาของมนุษย์ และเมื่อท่านสอนให้ชาวบ้านยึดมั่นในพระไตรสรณาคมน์ การเจ็บป่วยของชาวบ้านก็หายขาด ทำให้พากันเลื่อมใสศรัทธาดังเดิม และดูเหมือนจะมากขึ้นกว่าเดิมอีก

    ท่านคงพำนักอยู่ที่สันเขาต่อไปอีกระยะหนึ่ง หลวงปู่ขาวแยกขึ้นไปวิเวกบนดอยแม้วกับท่านพระอาจารย์เหรียญ หลวงปู่ขาวอยู่บนดอยแม้วได้ ๑๐ กว่าวัน ก็กลับลงมาพักที่สันเขาดังเดิม ด้วยไม่ค่อยสบาย ไม่ถูกกับอากาศ

    ระหว่างที่ท่านอยู่ที่สันเขานั้น ได้มองเห็นเขาลูกหนึ่ง ซึ่งอยู่สูงกว่าดอยแม้วที่หลวงปู่ขาวและท่านพระอาจารย์เหรียญไปพำนักมา ท่านคิดว่า บนหลังเขาลูกนี้คงจะวิเวกดี ควรแก่การบำเพ็ญเพียรภาวนา เมื่อท่านพระอาจารย์เหรียญลงมาจากดอยแม้วแล้ว ท่านจึงชวนกลับขึ้นเขาไปใหม่ โดยอธิบายว่า จุดหมายปลายทางนั้นไม่ใช่ดอยแม้ว แต่เป็นเขาอีกลูกหนึ่งซึ่งอยู่สูงกว่า

    ท่านและท่านพระอาจารย์เหรียญเดินทางไปเพียง ๒ องค์ โดยไม่มีญาติโยมขึ้นไปด้วย มีแต่คนรับจ้างแบกบริขารเพียง ๒ คน ซึ่งตกลงกันว่าจะเป็นผู้จัดทำที่พักบนยอดเขาให้ด้วย การเดินทางนั้น ออกเดินทางไปตั้งแต่เช้าจนพลบค่ำ จึงถึงเขาสูงลูกที่มั่นหมายไว้นั้น พบชาวบ้านป่าปลูกกระท่อมน้อยพำนักอยู่ครอบครัวหนึ่ง

    เขารู้ว่าท่านจะขึ้นไปพักภาวนาบนหลังเขาลูกนั้นก็ร้องเสียงหลง ห้ามว่า อย่าไปเลยท่าน ผีที่เขาลูกนี้ดุมาก

    ท่านถามเขาว่า รู้ได้อย่างไรว่า ผีดุ

    เขาตอบว่า รู้ซีท่าน ไม่รู้ได้อย่างไร ก็เมื่อไม่กี่วันมานี้ มีพวกผู้ชายแม้วมาเที่ยวเขาลูกนี้กันสามคน กลับไปได้คนเดียว

    ทำไมกลับไปคนเดียว...

    อ้าว ก็ผีมันทำเอาตายไปเสียสองคนน่ะซี ท่านช่างถามได้ ก็ผมบอกแล้วว่าผีดุ...ผีดุ ท่านก็ไม่เชื่อ ! ...เขาบ่น แล้วรู้ไหมท่าน แม้แต่แม้วคนที่เหลือนั้น มันต้องวิ่งมาหาผม ขอให้ผมไปพูดกับผี ให้ผมไปเจรจากับผีให้ มันจึงรอดตัวกลับไปได้ ไม่เช่นนั้น มันก็คงกลายเป็นผีเฝ้าเขาลูกนี้ต่อไป อย่างเพื่อนของมันนั่นแหละ

    ท่านถามว่า พวกแม้ว ๓ คนไปทำอย่างไร จึงเกิดวิปริตขึ้น

    เขาอธิบายว่า แม้วเหล่านั้นเล่นสนุก คึกคะนองกันมาก ส่งเสียงล้อเลียนกันเอะอะ แล้วยังไม่พอใจ พากันไปงัดก้อนหินใหญ่ให้กลิ้งลงมา แข่งกันว่า หินของใครจะกลิ้งตกลงไปไกลกว่ากัน เมื่อก้อนหินตกลงไปในเหวลึกข้างล่าง เสียงดังสะท้อนก้องกลับไปกลับมาในหุบเขา ดังสะเทือนเลื่อนลั่น ก็ตบมือเฮฮา ร้องเอิกเกริกแสดงความสนุกสนานเอ็ดตะโรกันทั้งเขา

    ท่านพระอาจารย์เหรียญช่วยท่านชี้แจงว่า ...ก็เพราะเหตุนั้นน่ะซี จึงเกิดความวิบัติกัน เนื่องจากพวกภูตผีปีศาจที่อาศัยอยู่ตามที่นั้น เขาชอบความสงบ ใครไปทำความวุ่นวาย เขาย่อมไม่ชอบถือว่า ไม่ยำเกรงเขา ไปล่วงเกินเขา เขาจึงทำร้ายเอา พวกอาตมาเป็นพระ ตั้งใจมาอยู่อย่างสงบ เพื่อพักภาวนาหาความสงบทางจิตใจ ไม่ได้มาทำความวุ่นวายสิงคลีอะไร คงจะไม่เป็นไรหรอก

    เขามีสีหน้าไม่สบายใจ ท่านก็เลยพูดสัพยอกว่า “ก็โยมรู้จักผี พูดกับผีได้ เจรจากับผีได้ ยังได้ช่วยพูดให้แม้วคนนั้นมาแล้วไงล่ะ ก็ช่วยพูดให้หน่อยซี”

    เขาหัวเราะอาย ๆ “โธ่ ท่านอย่าล้อผมเลย ผมเตือนท่าน ห้ามท่านก็เพราะกลัวเรื่องจะซ้ำรอยเท่านั้น”

    ท่านเห็นเขากังวลมาก จึงได้ปลอบใจว่า ไม่เป็นไรหรอก พวกเราไปอยู่ด้วยความสงบเมตตา จะได้เป็นกุศลแก่พวกภูตผีที่อยู่บริเวณนี้ และเมื่อโยมพาไปด้วย กุศลผลบุญก็จะเกิดแก่โยมผู้พาไปเช่นกัน เป็นบุญกุศลทั้งผู้อยู่ทั้งผู้พา อย่าได้วิตกไปเลย

    เมื่อชาวบ้านผู้นั้นเห็นท่านไม่กลัว ก็เลยพานำทางขึ้นไป สังเกตได้ว่า เขาไม่ค่อยเต็มใจนัก มีทีท่าหวั่นหวาดอยู่ แต่ด้วยความเกรงใจก็จำใจต้องนำไป

    กว่าจะไปถึงบนยอดหลังเขาก็เกือบตะวันพลบ ไม่มีเวลาจะทำเสนาสนะแต่อย่างใด ใช้ใบไม้ปูรองนอนบนพื้นดินไปชั่วคราว เช้ารุ่งขึ้น ท่านพระอาจารย์เหรียญนำทางไปบิณฑบาตยังบ้านแม้วอีกดอยหนึ่ง ซึ่งท่านเคยมาพำนักกับหลวงปู่ขาวคราวก่อนนั้น

    ท่านพระอาจารย์เหรียญเล่าถวายท่านว่า

    เมื่อแรกมาถึงดอยแม้วกับหลวงปู่ขาวนั้น ครั้งแรกต้องไปแนะนำให้เขารู้จักว่าเป็นนักบวช เป็นพระในพระพุทธศาสนา เขาบอกท่านซื่อ ๆ ว่า พวกเขาไม่รู้จักพระ เขาไม่เคยเห็นพระมาก่อนสักองค์เลย การใส่บาตรเขาก็ไม่รู้จัก ญาติโยมที่ไปกับท่านในครั้งนั้นต้องแนะนำให้ วันแรกเขาใส่บาตรแต่ข้าว วันต่อมาก็เอาเนื้อหมูที่ลวกน้ำเกลือกันเน่า ที่เก็บไว้มาใส่บาตรให้ หลวงปู่ขาวและท่านพระอาจารย์เหรียญต้องชี้ให้โยมที่ติดตามไปรับแทนไว้ให้ ไม่ให้ใส่ในบาตร เมื่อบิณฑบาตแล้วโยมผู้ติดตามต้องขอยืมหม้อกระทะขนาดเล็กของเขาไปสู่ที่พัก โยมจัดการทำให้สุก แล้วจึงถวายให้ฉันได้ วันต่อ ๆ ไป ชาวบ้านที่ติดตามไปจากข้างล่างชี้แจงเขา พวกชาวดอยแม้วจึงรู้จักทำอาหารสุกใส่บาตรให้ได้

    หลวงปู่ไปบิณฑบาตกับท่านพระอาจารย์เหรียญคราวนี้ไม่มีปัญหาแต่อย่างใด เพราะเขาเคยใส่บาตรหลวงปู่ขาวและท่านพระอาจารย์เหรียญแล้ว และเวลาก็เพิ่งผ่านไปไม่นานด้วย เขาจำท่านพระอาจารย์เหรียญได้ดี ถามถึงหลวงปู่ขาว เมื่อรู้ว่าหลังจากที่ท่านจากเขามา หลวงปู่ขาวไม่ค่อยสบาย เขาก็แสดงความเสียใจ บ่นว่า

    ครั้งนี้ ตุ๊เจ้าน่าจะกลับมาพักยังที่พัก ซึ่งเพิ่งสร้างเตรียมไว้ให้ในคราวก่อน มาอยู่กันไม่นานเท่าไรก็จากไปเสียแล้ว

    ท่านเล่าว่า ศรัทธาของชาวแม้วดีมาก แม้เขาจะเพิ่งรู้จักพระในพระพุทธศาสนาเมื่อไม่กี่วันมานี้เอง แต่เขาก็ปวารณารับใช้ทุกอย่าง ท่านชี้แจงว่า เพื่อต้องการความสงัด จึงได้ขึ้นไปบำเพ็ญเพียรภาวนาบนยอดเขาลูกโน้น แต่ก็ยังขอฝากปากฝากท้องกับโยมในดอยนี้

    ระยะทางจากยอดดอยที่พำนักบำเพ็ญภาวนากับดอยแม้วที่บิณฑบาตนั้น ระยะทางไกลมาก ประมาณ ๔ กิโลเมตร แถมเป็นทางขึ้นเขาลงเขา บิณฑบาตเสร็จ กว่าจะกลับถึงที่พักก็สายมาก โยม ๒ คนที่หาบของไปส่ง ก็ช่วยทำกระท่อมให้องค์ละหลัง เขาตั้งใจทำกันมาก ไม่ใช่ว่ารับจ้างมาแล้ว ก็สักแต่ว่า ทำ...ทำให้เสร็จไป เขาประดิษฐ์ประดอยทำให้เป็นอย่างดี จนสามวันจึงเสร็จ แล้วก็ลากลับบ้านไป เหลือแต่พระ ๒ องค์ ทำประโยคความเพียรบนยอดเขาเพียง ๒ องค์

    คืนหนึ่ง ท่านภาวนาเสร็จแล้วก็จำวัดอยู่ในที่ของท่าน พอเคลิ้มไปเท่านั้น ก็ปรากฏว่ามีอุบาสกนุ่งขาวคนหนึ่งมากราบ บอกท่านว่า คืนนี้จะมีเสือใหญ่มา ขอท่านอย่าได้ประมาท

    พอทราบอย่างนั้น ท่านก็รีบลุกขึ้นนั่งสมาธิคอยฟังอยู่ว่า มันจะมาอย่างไรกัน นั่งอยู่ตั้งนานไม่เห็นเสือมาสักที ก็จำวัดต่อไป ตื่นขึ้นตีสี่ นั่งทำสมาธิต่อ รอฟังอยู่ก็ไม่เห็นวี่แววของเสือตามคำเตือนในนิมิต

    ตอนเช้าท่านพระอาจารย์เหรียญมาปฏิบัติท่าน แล้วก็เรียนขอโอกาสถามท่านว่า เมื่อคืนนี้ ท่านอาจารย์ได้เห็นอะไรบ้าง ครั้นท่านเล่าให้ฟัง ท่านพระอาจารย์เหรียญก็เรียนบ้างว่า ตัวท่านเอง เมื่อคืนนั้นนั่งสมาธิก็เกิดความรู้ขึ้นในจิตเหมือนกันว่า ระวัง อย่าประมาท คืนนี้เสือใหญ่จะมา ท่านก็คิดว่าได้ถวายชีวิตบูชาพระรัตนตรัยแล้วจึงมาอยู่ในที่เช่นนี้ หากกรรมเวรมีก็ขอรับกรรมไป ถ้าหากกรรมเวรไม่มีก็ขอให้ปลอดภัย ท่านนั่งสมาธิรออยู่เช่นเดียวกับหลวงปู่เหมือนกัน สงบจิตรอฟังอยู่ว่า เสือมันจะมาทำอย่างไร แต่ก็ไม่เห็นมีอะไรผิดแปลกเกิดขึ้น

    จะว่านิมิตหลอกเล่น ก็ทำไมมาเกิดตรงกัน

    เพื่อพิสูจน์ความจริง ท่านจึงพากันไปสำรวจดูรอบบริเวณที่พักซึ่งเป็นป่าหญ้าแฝกล้อมรอบอยู่ ทันใดก็เห็นรอยเสือคุ้ยดินเป็นขุม ๆ เป็นระยะ ๆ ไปในป่าหญ้าแฝกนั้น รอยเท้าก็ดี รอยคุ้ยดินก็ดี เป็นขุมใหญ่มาก แสดงถึงขนาดของเจ้าของรอยทั้งหมดเป็นอย่างดี

    ท่านว่า เสือคงจะมานั่งเฝ้าท่านทั้งสองอยู่อย่างเงียบ ๆ ตลอดคืน โดยไม่กระโตกกระตากหรือทำอะไรเลย

    ครั้นท่านครองผ้าไปบิณฑบาต พอเดินตามทางก็เห็นรอยเสือใหญ่ปรากฏนำหน้าไปเรื่อย ๆ ลงเขาไปถึงลำธาร ปรากฏว่า น้ำในลำธารตรงที่รอยมาหยุดนั้นยังขุ่น ๆ อยู่ แสดงว่ามันล่วงหน้ามาโดยเพิ่งข้ามน้ำไปไม่นานนัก

    ท่านพระอาจารย์เหรียญบ่นว่า มันข้ามน้ำไปไม่นาน อาจจะพบกันระหว่างทางนี้ก็ได้

    อย่างไรก็ดี เมื่อท่านเดินไปกันถึงป่าเหล่าแก่แห่งหนึ่ง เห็นรอยเสือแวะเข้าไปในป่านั้น จึงออกปากลากันว่า เจ้าจงไปเป็นสุขเถิด อย่ากลับไปหาเราอีกเน้อ

    ท่านว่า แต่วันนั้นมา ก็ไม่มีวี่แววของเสืออีกเลย

    ท่านเล่าว่า หลังเขาดอยสูงแห่งนั้นเป็นที่ภาวนาได้ดีมาก มีพวกกายทิพย์มากราบคารวะท่านมาก บ้างก็ขอมาฟังธรรม

    วันหนึ่ง ภาวนาไป จิตสงบลง เกิดแสงสว่างพุ่งไปสู่ทางจงกรม ขณะนั้นปรากฏเห็นพญานาคตัวหนึ่งโผล่ขึ้นมาที่หัวทางจงกรมนั้น

    ท่านถามพญานาคว่า มาจากไหน

    เขากราบเรียนท่านว่า ข้าพเจ้าอยู่ที่เขาลูกนี้เอง แต่อยู่ที่เชิงเขา แล้วก็เรียนชีแจงต่อไปว่า ในเขาลูกนี้ มีลำธารลอดมาจากใต้ภูเขา ลำธารนี้ไหลผ่านเชิงเขาแล้วไหลออกไปสู่ทุ่งนาของชาวบ้านที่อยู่เบื้องล่างโน้น พระคุณเจ้าเดินทางมาก็คงได้ผ่านข้ามลำธารนี้มาหลายครั้งแล้วไม่ใช่หรือ

    ท่านรับคำ แล้วพญานาคก็บอกต่อไปว่า ลำธารนั้นแหละเป็นทางเดินของข้าพเจ้า

    ท่านถามถึงชื่อของพญานาค

    เขาก็เรียนท่านว่า “ข้าพเจ้าชื่อ เทพนาคา”

    ท่านเล่าว่า พญานาคตัวนี้ เมื่อโผล่หัวขึ้นที่ทางจงกรมแล้วก็เอาหางพาดเขาอีกลูกหนึ่งให้ท่านดู รู้สึกว่าตัวใหญ่ยาวมาก ท่านบอกว่า พญานาคตัวนี้มาแสดงตัวให้ท่านดูในลักษณะของพญานาคเต็มตัว คือมีหงอนสีแดง และมีแผงเหมือนกับของม้าเช่นนั้น ลำตัวใหญ่ยาว เกล็ดเป็นสีดำมันเลื่อม

    พญานาคกราบเรียนท่านว่า เขามีความสงบเย็นใจมากที่ได้มีพระกรรมฐานผู้ประเสริฐอย่างพวกท่านมาภาวนา แผ่ความสุข สงบ เมตตา ให้แก่ปวงสัตว์โลก เสียงที่ท่านสวดมนต์และเจริญเมตตานั้นทำให้เย็นอกเย็นใจ มีแต่ความสุขสงบ วันนี้อดรนทนไม่ได้ จึงขอขึ้นมากราบชมบารมี เพราะพระบรมศาสดารับสั่งไว้ว่า สมณานญฺจ ทสฺสนํ เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ การได้เห็นพระสมณะผู้ประเสริฐ เป็นมงคลอันสูงสุด

    พญานาคขึ้นมาปรากฏตัว กราบแสดงคารวะและชื่นชมท่านระยะหนึ่งแล้วก็ลาจากไป ท่านว่า การลาของพญานาคครั้งนี้ มิใช่หายตัวไป หรือเหาะลอยไป แต่เป็นการจมลงไปในทางจงกรมนั้นเอง

    เมื่อท่านปรารภนิมิตนี้ให้ท่านพระอาจารย์เหรียญฟัง และถามว่า มีนิมิตพญานาคไปเยี่ยมท่านด้วยหรือไม่ เพราะเป็นปกติที่ไปอยู่ในสถานที่สงัด แปลก ๆ เช่นนี้ ท่านผู้อยู่ในวงปฏิบัติด้วยกัน ก็มักจะคุยสอบทานนิมิตภาวนากันอยู่เป็นปกติ

    คราวนี้ท่านพระอาจารย์เหรียญ ปฏิเสธว่า ท่านมิได้มีนิมิตตรงกับหลวงปู่ เช่น ในกรณีของเสือ อีก ๒ วันต่อมา ท่านพระอาจารย์เหรียญจึงเล่าถวายท่านว่า

    คืนนั้น ท่านนั่งสมาธิรู้สึกปลอดโปร่งดีพอสมควร พออกจาสมาธิแล้วก็นอนตะแคงขวาในท่าสีหไสยาเป็นการเปลี่ยนอิริยาบถ ท่านว่า ท่านมีสติตั้งมั่นและกระแสจิตก็ผ่องใสดี แต่กลับปรากฏเหมือนมีเงามืด ไหลเข้าสู่กระแสจิตที่ผ่องใสนั้นให้มืดเข้าทีละน้อย เหมือนก้อนเมฆไหลเข้าสู่ดวงจันทร์ ฉะนั้น พอท่านบริกรรมถึงนามรูปที่เป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา กระแสจิตที่มืดนั้น ก็ค่อยคลายสว่างขึ้นทีละน้อย เหมือนเมฆเคลื่อนออกจากดวงจันทร์

    “หรือจะเป็นพญานาคที่หลวงปู่นิมิตเห็น มาเยี่ยม” ท่านเรียนหลวงปู่ แต่ท่านไม่มีนิสัย วาสนา บารมีแบบหลวงปู่ จึงพบเห็นได้เพียงแค่นี้



    ref: http://www.dharma-gateway.com/monk/monk_biography/lp-chob/lp-chob-hist-26.htm
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 เมษายน 2011
  20. ลูกมังกร

    ลูกมังกร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กันยายน 2010
    โพสต์:
    1,461
    ค่าพลัง:
    +1,424
    อนุโมทนา บุญด้วยครับ ที่นำ เรื่อง พ่อแม่ ครูบาอาจารย์ มาเล่าสู่กันฟังครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...