สมาธิ คือความสงบแห่งจิต

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ด้อยค่า, 30 มีนาคม 2011.

  1. ด้อยค่า

    ด้อยค่า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    81
    ค่าพลัง:
    +143
    การฝึกหัดสมถะ (ที่เรียกว่า ฌาน สมาธิ)นี้ ความประสงค์ที่แท้จริงในทางพุทธศาสนา
    ก็คือ ต้องการความสงบแห่งจิต

    เพื่อรวบรวมกำลังใจให้มีพลังอันเข้มแข็งอยู่ในจุดเดียว (ที่เรียกว่า เอกัคคตารมณ์) อันเป็นมูลฐานให้เกิดความรู้ความฉลาด สามารถรู้แจ้งเห็นจริงในสภาวธรรมทั้งหลายด้วย ญาณทัสนะ และขจัดสรรพกิเลสบาปธรรมทั้งปวงให้สิ้นไป

    มิใช่เพียงเพื่อ จะนำไปใช้ด้วยเหตุอื่นภายนอก มีการนำไปใช้ในทางวิทยาศาสตร์แขนงต่างๆ เท่านั้น
    แต่เป็นการชำระใจให้ผ่องใสโดยเฉพาะ มีนิวรณ์ ๕ เป็นต้น

    แต่เมื่อฝึกหัดให้ชำนาญแล้ว จะนำไปใช้ในทางใดก็ได้ตามประสงค์
    ถ้าหากการใช้นั้นไม่ทำให้เกิดโทษแก่ตนและคนอื่น :d


    หลวงปู่เทสก์ฯ
     
  2. บวชจิต

    บวชจิต สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    16
    ค่าพลัง:
    +1
    สาธุครับ
    ถ้าเจอความว่างนี่ ถือว่า จิตสงบยังครับ แต่ว่าก็ยังมีความคิดความจำ ความรู้สึกอยู่นะครับ แต่ก็รู้ทัน แล้วก็มาอยู่ที่ว่างเหมือนเดิม อย่างนี้ถือว่าจิตสงบหรือเปล่าครับผม
     
  3. ด้อยค่า

    ด้อยค่า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    81
    ค่าพลัง:
    +143
    ถามสักเล็กน้อยว่า สงบกับว่าง ในความเข้าใจของคุณ คือยังไงครับ?
    :cool:
     
  4. ทศมาร

    ทศมาร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2010
    โพสต์:
    166
    ค่าพลัง:
    +237
    จริงแล้วหลวงปู่เทสก์จะแบ่งคำว่า ฌาน กับ สมาธิ ว่ามีความหมายคนละอย่างอีกนะครับ เพราะฉะนั้น คำในวงเล็บไม่แน่ใจว่าเพิ่มมาหรือเปล่า ถ้าเพิ่มมาความหมายจะเปลี่ยนว่ามันคืออย่างเดียวกัน รบกวนสอบทานเพื่อการเผยแพร่อันถูกต้องเป็นบุญกุศลอันใหญ่ของเจ้าของกระทู้เอง
     
  5. ด้อยค่า

    ด้อยค่า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    81
    ค่าพลัง:
    +143
    จากต้นฉบับครับ ไม่กล้าเอาออกหรือเพิ่มเติม หากคุณทศมารเห็นว่าหลวงปู่ฯ แยกสองคำนี้
    น่าจะมีข้อมูลเพื่อให้เราทั้งหลายได้เข้าใจถูกต้อง จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง สาธุครับ :)
     
  6. ทศมาร

    ทศมาร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2010
    โพสต์:
    166
    ค่าพลัง:
    +237
    เมื่อเช้าผมพึ่งเข้าไปอ่านตามต้นฉบับมาเหมือนกัน แล้วก็เก็บไว้ก่อนจะหาข้อมูลที่ชัดเจนมาในไม่ช้าเหมือนกันครับ เพราะโดยส่วนตัวแล้วคิดว่าการแยกสองอย่างนี้เป็นหลักที่สำคัญที่สุดของพุทธศาสนาจริงๆ
     
  7. Dek-wat

    Dek-wat Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    48
    ค่าพลัง:
    +31
    ฌาน และ สมาธิ เป็นอันเดียวกันและต่างกัน

    ฌาน ได้แก่การเพ่งในอารมณ์นั้น ๆ ให้เป็นไป ตามปรารถนาของตน เมื่อสังขารปรุงแต่งอยู่นั้น จิตก็จะรวมลง
    ในอารมณ์ที่ปรุงแต่งนั้น แล้วก็เป็นไป ตามปรารถนาของตน ดังอธิบายมาแล้ว เรียกว่า ฌาน

    สมาธิ ได้แก่การพิจารณาให้เห็นเหตุผลของมันตามความเป็นจริงจนจิตหยุดนิ่งอยู่ไม่คิด ไม่นึกต่อไป ยังเหลือแต่ ผู้รู้ เรียกว่า สมาธิ

    ฌาน และ สมาธิ นี้จิตรวมเหมือนกัน ถ้าจิตไม่รวมก็ไม่เรียกว่า สมาธิ และ ฌาน มีแปลก ต่างกันที่ ฌาน นั้น เมื่อจิตรวมเข้าแล้วจะลืมสติ เพ่งพิจารณาแต่
    อารมณ์อันเดียว หรือมีสติอยู่ แต่ไป เพลินหลงอยู่กับภาพนิมิตและความสุขอันนั้นเสีย ไม่พิจารณาพระไตรลักษณญาณต่อไป หรือที่เรียกว่าความเห็นไป
    หน้าเดียว นี่เรียกว่า ฌาน ส่วน สมาธิ นั้น เมื่อจิตรวมหรือไม่รวมก็มีสติรักษาจิตอยู่ ตลอดเวลา รู้ตัวอยู่ว่าเราอยู่ในสภาพเช่นไร พิจารณาอะไร หยาบหรือ
    ละเอียดแค่ไหน เรียกว่า สมาธิ
    
    บางทีเมื่อจิตถอนออกมาจากฌานแล้ว มาพิจารณาองค์ฌานนั้น หรือพิจารณาอารมณ์อันใด ก็ตาม จนจิตแน่วแน่อยู่เฉพาะอารมณ์อันนั้น หรือเพ่งอารมณ์
    ของฌานอยู่ แต่กลับไปพิจารณา พระไตรลักษณญาณ เสีย จิตไม่รวมลงเป็น ภวังค์ เรียกว่า ฌานกลับมาเป็นสมาธิ

    เมื่อพิจารณาอารมณ์ของสมาธิอยู่ หรือออกจากสมาธิแล้วก็ตาม จิตไปยินดีน้อมเข้าไปสู่ ความสงบสุข เลยไม่พิจารณาอารมณ์ของสมาธินั้น จิตรวมเข้าไป
    เป็น ภวังค์ เรียกว่า สมาธิกลับมา เป็นฌาน

    ฌานและสมาธินี้กลับเปลี่ยนกันไปกันมาอยู่อย่างนี้ เป็นธรรมดาของผู้ปฏิบัติ ไม่เป็นการเสีย หายอะไร ขอแต่ให้รู้เรื่องของมันว่า
    อันนี้เป็น ฌาน อันนี้เป็น สมาธิ อย่าไปติดในอารมณ์นั้น ๆ ก็แล้วกัน ทำให้ชำนิชำนาญคล่องแคล่ว แล้วจะอยู่ในอารมณ์อันใดก็ได้

    พระบรมศาสดาเมื่อยังทรงพระชนม์อยู่ หรือพระสาวกทั้งหลายเมื่อยังมีชีวิตอยู่ ก็ต้องเพ่งพิจารณา ฌาน นี้เป็น วิหารธรรม เครื่องอยู่ของท่าน
    ธรรมดาจิตจำเป็นจะต้องมีความคิดความนึกอยู่เสมอ ท่านเห็นโทษในอารมณ์นั้น ๆ ว่าเป็นไปเพื่อ วัฏฏะ
    เพราะฉะนั้นท่านจึงน้อมเอาจิตมาพิจารณาให้เป็น ฌาน เสีย เพื่อเป็นเครื่องอยู่ใน ทิฏฐธรรม ของท่าน

    ฌาน และ สมาธิ นี้ต้องอาศัยซึ่งกันและกัน พระองค์จึงตรัสว่า ผู้ไม่มีฌานก็ไม่มีสมาธิ ผู้ไม่มี สมาธิก็ไม่มีฌาน ดังนี้ เอวํ ฯ.

    โดย พระนิโรธรังสี คัมภีรปัญญาจารย์ (เทสก์ เทสรังสี)
    แสดง ณ วัดหินหมากเป้ง อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย
    วันที่ ๒๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๒๒
    คัดจากหนังสือ มณฑปอนุสรณ์แห่งวัดหินหมากเป้ง

    http://www.dharma-gateway.com/monk/p...lp-thes_18.htm

    :cool:
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 31 มีนาคม 2011
  8. บวชจิต

    บวชจิต สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    16
    ค่าพลัง:
    +1
    ความหมายของคือ นั่งสมาธิจน จิตว่าง แต่ว่าในความว่างนั้น ยังมีความคิด ความรู้สึก และ ความจำเข้ามา แล้วเราตามรู้ อย่างนี้ ถือว่า จิตสงบได้หรือยังครับ
    สาธุ ครับผม
     
  9. ให้ทาง

    ให้ทาง สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤศจิกายน 2010
    โพสต์:
    31
    ค่าพลัง:
    +14
    "ฌาน และ สมาธิ นี้ต้องอาศัยซึ่งกันและกัน พระองค์จึงตรัสว่า ผู้ไม่มีฌานก็ไม่มีสมาธิ ผู้ไม่มี สมาธิก็ไม่มีฌาน ดังนี้ เอวํ ฯ."
    สาธุขอโมทนาเป็นอย่างยิ่ง (y)
     
  10. ด้อยค่า

    ด้อยค่า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    81
    ค่าพลัง:
    +143
    การทำสมาธิ ส่วนใหญ่เราใช้คำว่า จิตสงบ ไม่ใช้ จิตว่าง

    จิตสงบ คือสงบระงับจากนิวรณ์ห้า ไม่นึก ไม่คิด จิตเป็นเอคตา คือมีอารมณ์เดียว
    จิตว่างในพระพุทธศาสนา ท่านหมายถึง ว่างจาก กิเลสอาสวะทั้งมวล เช่น
    คำว่า "นิพพานัง ปรมัง สุญญัง" นิพพานว่างอย่างยิ่ง เป็นต้น

    คำถามคุณบวชจิต ตอบได้สองทาง
    ถ้าความเข้าใจของคุณ คือ

    จิตว่าง กับ จิตสงบ เหมือนกัน คำตอบ คือใช่
    ถ้าต่างกันกับ คำตอบคือ ไม่ใช่

    คำถามนี้คุณตอบตัวเองได้

    สาธุ...(good)
     
  11. บวชจิต

    บวชจิต สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    16
    ค่าพลัง:
    +1
    ขอบคุณในคำตอบครับผม
    อนุโมทนา ด้วยนะครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 เมษายน 2011
  12. Ongsathit

    Ongsathit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    625
    ค่าพลัง:
    +572
    -ไม่แน่ใจว่าสิ่งที่ อ่าน นี้ออกจากธรรมะ หลวงปู่เทสก์จริงมั้ย
    -คำที่เขียนเส้นใต้หากไม่ใช้ ปัญญา พิจารณา จะไม่เกิดความรู้แจ้งหรือความรู้ยิ่งได้ และ จะไม่สามารถขจัดกิเลสได้เลย หากไม่ใช้ปัญญา ควบคู่สมาธิ
     
  13. ด้อยค่า

    ด้อยค่า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    81
    ค่าพลัง:
    +143
    อยากให้คุณ ongsathit1 อ่านตรงที่คุณขีดเส้นใต้ไว้สักหลายๆ รอบ พร้อมกับใช้ปัญญาพินิจพิจารณาไปพร้อมกัน
    แล้วตอบคำถามง่ายๆ สักข้อสองข้อ นะครับ
    - ญาณทัสนะ แปลว่าอะไร?
    - รู้แจ้งเห็นจริงด้วย ญาณทัสนะ รู้เห็นอย่างไร?

    ขอโมทนาล่วงหน้าขอรับ ... สาธุ :)
     
  14. ให้ทาง

    ให้ทาง สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤศจิกายน 2010
    โพสต์:
    31
    ค่าพลัง:
    +14
    แหะ..แหะ อยากรู้คำตอบครับผม ใครจะให้ธรรมทานได้บ้างหนอ :cool:
     

แชร์หน้านี้

Loading...