พระโพธิสัตว์พญาช้างนาฬาคิรี(ธนปาล)พระพุทธเจ้าในอนาคต

ในห้อง 'พุทธภูมิ - พระโพธิสัตว์' ตั้งกระทู้โดย อุตฺตโม, 5 ธันวาคม 2010.

  1. อุตฺตโม

    อุตฺตโม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    1,688
    ค่าพลัง:
    +1,931
    เพลงกลองกับความไม่รู้จักประมาณของผู้ตี


    -ผมขอนำเสนอชาดกตามคำเรียกร้องของ"คุณสวนพลู" น้องชายผู้แสนดีให้ผู้อ่านที่ได้

    ติดตามอ่านชาดกส่วนหนึ่งได้อ่านเพื่อเพิ่มปัญญาและข้อธรรมอีกแง่คิดหนึ่งก่อนนะครับ

    ก่อนที่จะนำเสนอ"สัมนานิยายธรรมโกกิลาภิกษุณี บทที่ 3 (ต่อ2)"ต่อไปครับ

    -ครั้งหนึ่งในสมัยพุทธกาล พระพุทธองค์ทรงประทับอยู่ ณ เชตวันมหาวิหาร

    -มีพระภิกษุรูปหนึ่งเป็นคนว่ายากและดื้อรั้น พระพุทธองค์จึงตรัสเรียกพระภิกษุรูปนั้นมาซัก

    ถาม แล้วทรงตำหนิพร้อมกับเล่าเรื่องราวในอดีตของเขาให้ฟังเป็นเรื่อง "เภริวาทชาดก"

    มาตรัสดังนี้ คือ

    -ในอดีตสมัยพระเจ้ากรุงพาราณสี ทรงโปรดให้มีงานนักขัตฤกษ์เป็นประจำทุก ๆ ปี ครั้ง

    หนึ่งสองพ่อลูกนักตีกลอง ได้ชวนกันไปแสดงการตีกลองในงานนี้

    -ด้วยฝีมือการตีกลองของสองพ่อลูกครึกครื้นเป็นที่ถูกอกถูกใจของผู้ชมมาก นอกจากนี้

    เขาทั้งสองยังแสดงท่าร่ายรำประกอบการตีกลองได้แปลกตา ประทับใจ ไม่ว่าจังหวะกลอง

    จะเป็นเช่นไรก็ตาม

    -ดังนั้นทุกครั้งที่สิ้นเสียงกลองผู้ชมจะปรบมือกันกราวพร้อมกับให้เงินจำนวนมากมายแก่

    สองพ่อลูก

    -ทั้งสองแสดงการตีกลองไปตลอดคืน จนกระทั่งงานเลิกก็สะพายกลองและถุงย่ามใบใหญ่

    ที่ใส่เงินกลับบ้าน

    -ลูกชายวัยรุ่นยังไม่หายครึ้มอกครึ้มใจ จึงรัวกลองตีไปตามทางด้วยความคะนอง

    -หนทางกลับบ้านของทั้งสองพ่อลูกเป็นทางเปลี่ยว ต้องเดินลัดป่าผ่านเข้าไปในดงโจร

    พ่อจึงเตือนลูกว่า "เมื่อเจ้าอยากตีกลองก็ตีไปพ่อไม่ห้าม แต่ให้เลือกตีแต่จังหวะเพลงที่

    ใช้ในขบวนพิธี และตีเป็นระยะ ๆ อย่าตีกระหน่ำพร่ำเพรื่อ พวกโจรจะได้หลงเข้าใจว่า

    กำลังมีเจ้านายหรือคนใหญ่คนโตเดินทางผ่านมาจะได้รีบหนีไปเสียไกล ๆ"

    -ลูกชายได้ยินพ่อพูดห้ามปรามแล้ว แต่ไม่เชื่อฟังกลับดื้อรั้นอวดดีโต้ตอบพ่อไปว่า

    "พ่ออย่ากลัวไปหน่อยเลย ฉันจะกระหน่ำกลองให้พวกมันเตลิดหนีไปทั้งหมดทีเดียว"

    -ว่าแล้วก็กระหน่ำตีกลองต่อไป แต่เนื่องจากยังเกรงใจพ่ออยู่บ้าง ในคราวแรกจึงตีจังหวะ

    ที่พ่อบอก

    -ฝ่ายพวกโจรในย่านนั้นได้ยินเสียงกลองในจังหวะที่ใช้สำหรับตีประโคมตอนเจ้านายเดิน

    ทางก็ตกใจ กลัวเจ้าหน้าที่ตามมาในขบวนจะมองเห็นพวกตน จึงซ่อนตัวอยู่ห่าง ๆ ไม่

    กล้าโผล่หน้าออกมา

    -แต่ครั้นเวลาผ่านไปสักครู่ ลูกชายรู้สึกเบื่อหน่ายจังหวะกลองที่ตีอยู่ จึงพลิกแผลงตี

    จังหวะอื่น ๆ ที่สนุกสนานระทึกใจ เสียงกลองดังลั่นไปทั่วป่า

    -พวกโจรซุ่มฟังอยู่ ได้ยินเช่นนั้นก็นึกเฉลียวใจ คิดว่าคงไม่ใช่กลองในขบวนของเจ้านาย

    เสียแล้ว พลางกล่าวว่า "สงสัยไอ้มือกลองมันคะนองมือแกล้งพวกเราแน่ ๆ " พูดแล้วจึงได้

    สะกดรอยตามดู

    -ครั้นเห็นสองพ่อลูกเดินอยู่ตามลำพัง โดยลูกชายตีกลองอยู่ โจรก็โกรธ พลางกล่าวสบถ

    ขึ้นว่า "ฮึ่ม...เจ็บใจนักหลอกให้ข้ากลัวอยู่ตั้งนาน..เอ้าพวกเราไปจับตัวมันซ้อมให้หนัก"

    -โจรและลูกสมุนพากันกรูเข้ามาจับรุมทุบตีสองพ่อลูกจนบาดเจ็บ แล้วก็ฉวยเอาถุงย่ามใส่

    เงินไปจนหมด

    -เมื่อพวกโจรกลับไปหมดแล้ว ผู้เป็นพ่อก็ค่อย ๆพยุงร่างกายที่บอบช้ำ คลานไปหาลูก

    ชายซึ่งมีสภาพเดียวกัน แล้วกล่าวสั่งสอนว่า "กลองนั้นตีดีดีก็มีประโยชน์ แต่ไม่ควรตี

    กระหน่ำไม่หยุดหย่อนเช่นนี้ เพราะถ้าตีพร่ำเพรื่อคึกคะนองเกินไป ก็จะก่อให้เกิดเรื่องเลว

    ร้าย เงินทองวอดวาย เกือบถึงตายอย่างวันนี้"

    -ว่าแล้วก็พากันเดินซมซานกลับบ้านอย่างลำบาก

    -ลูกชาย กำเนิดเป็น พระภิกษุผู้ว่ายาก

    -บิดา เสวยพระชาติเป็น พระพุทธเจ้า

    -ข้อคิดที่ได้ อย่าทำอะไรให้เกินประมาณเพราะจะสร้างความลำบากให้ภายหลังครับ.
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 มีนาคม 2011
  2. อุตฺตโม

    อุตฺตโม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    1,688
    ค่าพลัง:
    +1,931
    สัมมนานิยายธรรมโกกิลาภิกษุณี บทที่ 3 (ต่อ 2)


    -ในเนื้อเรื่องตอนที่ 9 ต่อจากตอนที่ 8 มีเรื่องย่อว่า ขณะที่นางกำลังเพลินอยู่กับธรรมชาติ

    ที่ริมสระ นางได้ยินเสียงคนเดินอยู่เบื้องหลังและได้หันไปมองก็พบกับพระอานนท์กับโฆสิต

    เศรษฐี นางถอยหลังจนล้มลงต่อหน้าพระอานนท์และโฆสิตเศรษฐี แต่ทั้งสองไม่อาจถูก

    ต้องนางได้จึงไม่อาจช่วยเหลือนางได้ พระอานนท์จึงได้ถามนางด้วยความห่วงใยทำให้

    นางสดชื่นขึ้น และได้พูดคุยกับพระอานนท์อยู่เล็กน้อย เมื่อพระอานนท์เดินกลับ นางได้

    เดินตามไปอย่างลืมตัวแล้วจึงได้สติเดินกลับที่พักของนาง

    -ในตอนที่ 9 ท่านอาจารย์ได้แสดงลักษณะอาการของหญิงให้ได้เรียนรู้ โดยได้ปรากฏ

    เหตุการณ์หลังจากนางล้มลง และช่วยตนเองได้แล้ว พระอานนท์ได้พูดกับนางว่า

    "น้องหญิง....อาตมาขออภัยด้วยที่ทำให้เธอตกใจและลำบาก เธอเจ็บบ้างไหม"

    -ซึ่งถ้อยคำนี้เป็นการแสดงออกถึงความห่วงใยที่พระอานนท์มีต่อนาง ท่านอธิบายว่า

    พฤติการณ์เช่นนี้เป็นเหมือนน้ำทิพย์ชโลมใจให้นางชื่นบาน

    -และต่อด้วยลักษณะอารมณ์ของหญิงว่า "อะไรเล่าจะเป็นความชื่นใจของสตรีมากเท่ารู้สึก

    ว่าชายที่ตนพะวงรักมีความห่วงใยในตน......สตรีเป็นเพศที่จำความดีของผู้อื่นได้เก่งพอ ๆ

    กับการให้อภัย และลืมความผิดพลาดของชายอันตนรัก.......เหมือนเด็กน้อยแม้ถูกเฆี่ยน

    มาจนปวดร้าวไปทั้งตัว..แต่พอมารดาผู้เพิ่งวางไม้เรียวแล้วหันมาปลอบด้วยคำอันอ่อน

    หวานสักครู่ และแถมด้วยขนมชิ้นน้อย ๆ บ้างเท่านั้น .....เด็กน้อยจะลืมเรื่องไม้เรียว

    กลับหันมาชื่นชมยินดีกับคำปลอบโยนและขนมชิ้นน้อย.....เขาจะซุกตัวเข้าสู่อ้อมอกของ

    มารดาและกอดรัดเหมือนอาลัยอย่างที่สุด......การให้อภัยแก่คนที่ตนรักนั้น.."ไม่มีที่สิ้น

    สุด"..ในหัวใจของสตรี และบางทีก็เป็นเพราะธรรมชาติอันนี้ด้วยที่ทำให้เธอชอกช้ำแล้ว

    ชอกช้ำอีก......แต่มนุษย์ทั้งบุรุษและสตรี เป็นสัตว์โลกที่ไม่ค่อยจะรู้จักเข็ดหลาบ จึงต้อง

    ชอกช้ำด้วยกันอยู่เนือง ๆ

    -อธิบายได้ว่า ผู้หญิงกับคนที่ตนเองรักนั้น....จิตใจหรืออารมณ์ของหญิงนั้นดูความรู้สึก

    และพฤติการณ์แล้ว"จะทะนุถนอมคนที่ตนเองรักไว้ในดวงใจเสมอ..แม้คนรักนั้นจะทำให้ตน

    เองเจ็บช้ำแล้วช้ำอีก" ดังนั้นการที่ผู้ที่ตนรักเคยทำให้ตนเองร้องไห้...แต่เมื่อชายคนรัก

    เพียงแต่พูดปลอบใจแสดงอาการห่วงใจ...ผู้หญิงจะรู้สึกตื้นตันใจและมีกำลังใจพร้อมที่จะ

    ให้อภัยในความผิดพลาดของคนรักที่ทำแก่ตนไว้...หันกลับมาดีด้วยโดยจะลืมเรื่องต่าง ๆ

    ในอดีตที่ขมขื่นได้แทบทันที

    -การที่ให้อภัยคนรักเสมอ...คนรักของตนก็มักจะทำร้ายจิตใจอยู่บ่อย ๆ แต่เมื่อคนรักดี

    ด้วยเมื่อใด ตนเองก็พร้อมที่จะดีตอบเสมอ...แต่บางครั้งก็เสแสร้งที่จะไม่ดีด้วย...เพื่อต้อง

    การให้คนรักง้องอนให้เห็นคุณค่าของตน

    -ท่านจึงเปรียบผู้หญิงอีกทัศนะหนึ่งว่า....ผู้หญิงเหมือนเด็กน้อยไร้เดียงสา...ถูกแม่เฆี่ยนตี

    (คำว่าแม่ก็หมายถึงคนรักในความหมายนี้)...แต่เมื่อแม่วางไม้เรียวแล้วปลอบประโลมใจ

    พูดจาด้วยความอ่อนหวาน...พร้อมกับให้ขนม...เด็กน้อยก็จะลืมเรื่องที่แม่ทำร้ายหรือตี

    ตน...หันมาโอบกอดผู้เป็นมารดาอย่างรักใคร่และอาลัยอาวรณ์เป็นที่สุด...ซึ่งภาพนี้ไม่ต่าง

    อะไรกับหญิงสาวที่น้ำตาอาบแก้มเพราะชายคนรัก...แต่เมื่อชายคนรักโอบกอดปลอบ

    ประโลมใจแสดงความห่วงใยและคำขอโทษ....หญิงสาวก็จะโอบกอดคนรักด้วยความ

    อาลัยอาวรณ์ทั้งน้ำตาที่ปนมากับความน้อยใจในคนรักครับ...(จบบทที่ 3..ครับ)
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 มีนาคม 2011
  3. อุตฺตโม

    อุตฺตโม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    1,688
    ค่าพลัง:
    +1,931
    สัมมนานิยายธรรมโกกิลาภิกษุณี บทที่ 4


    -ในบทนี้จะกล่าวพิจารณาอธิบายถ้อยคำและข้อธรรม เฉพาะตอนที่ 10 และ ตอนที่ 11

    เท่านั้น เนื่องจากตอนที่ 12 เป็นตอนที่มีถ้อยคำที่พระอานนท์แสดงธรรมแก่นางโกกิลา

    ภิกษุณีค่อนข้างยาวมาก ผมจึงขออนุญาตตัดมาเพียงสองตอนก่อน

    -ในเนื้อเรื่องของนิยายทั้งสองตอนโดยย่อคือ.......นางโกกิลาภิกษุณีได้กลับไปที่พักของ

    ภิกษุณีด้วยหัวใจเศร้าหมอง ด้วยความอยากพบและอยากสนทนากับพระอานนท์มีมากสุด

    ประมาณ...นางจึงได้คิดอุบายทำตัวเป็นผู้เจ็บหนักแล้วร้องครางให้สุนันทาเพื่อนภิกษุณี

    ข้างห้องได้ยิน...เมื่อนางสุนันทาภิกษุณีมาดูอาการของนาง...นางได้ขอร้องให้สุนันทาไป

    บอกพระอานนท์ให้มาเยี่ยมนางซึ่งกำลังเจ็บหนัก.....พระอานนท์รู้สึกสงสารนาง..จึงได้

    เดินทางมาเยี่ยมพร้อมพระภิกษุอีกรูปหนึ่ง.....แต่เมื่อเห็นอาการของนางแล้ว...ท่านจึงเข้า

    ใจได้ทันทีว่าท่านถูกหลอก....พระอานนท์จึงคิดที่จะแสดงธรรมสอนนางเพื่อเป็นประโยชน์

    เกื้อกูลตลอดไป

    -ถ้อยคำที่ท่านอาจารย์วศินได้นำมาแสดงปรากฏถ้อยคำในตอนที่ 10 ..ที่น่าคิดโดยให้

    มองความจริงของพฤติกรรมของมนุษย์ว่า "บุคคลเมื่อมีความปรารถนา"อย่างรุนแรง"

    ย่อมคิดหาอุบายเพื่อให้บรรลุสิ่งที่ปรารถนานั้น เมื่อไม่ได้โดยอุบายที่ชอบ ก็พยายามทำ

    โดยเล่ห์กลมารยา แล้วแต่ว่าความปรารถนานั้นจะสำเร็จได้โดยประการใด.......โดย

    เฉพาะความปรารถนาในเรื่องรักด้วยแล้ว...ย่อมหันเหบิดเบือนจิตใจของผู้ตกอยู่ภายใต้

    อำนาจของมันให้กระทำได้ทุกอย่าง.......พระพุทธองค์จึงตรัสว่า "เมื่อใดความรักและ

    ความหลงครอบงำจิต เมื่อนั้นบุคคลก็มืดมน เสมือนคนตาบอด"

    -ถ้อยคำดังกล่าวชี้ให้เห็น"เฉพาะความปรารถนาอย่างรุนแรง" มิได้กล่าวถึงความปรารถนา

    อย่างธรรมดา.....โดยปุถุชนทั่วไปท่านแสดงให้เห็นว่า...หากมีความปรารถนาอย่างรุนแรง

    แล้ว...มันจะมีสิ่งเร้าใจที่ตั้งมั่นจะทำให้มันสำเร็จให้ได้"แน่นอน" และ "รวดเร็ว" สิ่งเร้า

    สองอย่างนี้...ทำให้บุคคลที่มีความปรารถนาคิดหาอุบายที่จะทำให้เกิดขึ้นอย่างแน่นอน

    และรวดเร็วตามใจปรารถนา.....โดยท่านแสดงให้เห็นว่า...แม้จะเป็นอุบาย..ก็ยังให้เกียรติ

    ว่าเป็น"อุบายที่ชอบ" ...กับ..."อุบายที่ไม่ชอบ" โดยข้อหลังนี้ท่านใช้คำว่า"กระทำโดย

    เล่ห์กลมารยา"

    -"อุบายที่ไม่ชอบ" อันหมายถึงอุบายที่ใช้เล่ห์เพทุบายหรือกลมารยานั้น ข้อนี้พวกเราอาจ

    จะรู้จักได้ดี......แต่คำว่า"อุบายโดยชอบ"นั้นเป็นเช่นไร...พวกเราอาจไม่เคยได้ยิน...แต่

    ผมขอนำตัวอย่าง...แสดงให้เห็นเรื่อง"พระสารีบุตร"ใช้อุบายแก่"เพชฌฆาต"ที่มีหน้าที่ฆ่า

    คนตามคำสั่งของพระราชาดังนี้

    -พระสารีบุตร...เห็นกรรมของเพชฌฆาตคนหนึ่งที่ฆ่าคนมานับไม่ถ้วน....ซึ่งการฆ่าของ

    เพชฌฆาตเป็นบาปแน่นอน..ซึ่งมีนรกเป็นที่ไป......ท่าน"ปรารถนา"ที่จะให้เขาไปทางสุคติ

    คือ..สวรรค์มากกว่าตกนรกเพราะกรรมของเพชฌฆาต...ด้วยความเมตตา...ท่านจึงคิด

    ใช้"อุบาย"เพื่อให้เพชฌฆาตไม่ต้องตกนรก..........ในวันที่เพชรฆาตถูกปลดเนื่องจาก

    ชราภาพมากไม่สามารถใช้แรงฟันคอนักโทษให้ขาดจากตัวในดาบเดียวได้..ทำให้นักโทษ

    ทรมานไม่ตายในทันทีต้องฟันซ้ำอีกจึงตาย

    -เพชฌฆาตถูกปลดก็ได้รับเงินรางวัล..นำไปซื้อข้าวปลาอาหารอย่างดีเพื่อรับประทาน...

    พระสารีบุตรรู้ว่าวันนี้เพชรฆาตจะต้องถูกวัวขวิดตายอย่างแน่นอนและจะต้องตกนรก....

    ท่านจึงเดินผ่านไปทางบ้านเพชรฆาตในยามเช้าขณะบิณฑบาต

    -เพชรฆาตเห็นพระสารีบุตรเกิดเลื่อมใส...ปรารภกับตนเองว่า"เราทำบาปฆ่าคนตายมามาก

    มายและยังไม่เคยถวายทานแด่พระภิกษุมาก่อนเลย....เราควรจะนำอาหารมื้อนี้ของเรา

    ถวายแด่พระภิกษุรูปนี้ดีกว่า"........คิดเช่นนั้นเพชรฆาตจึงนำอาหารของตนมาถวายแด่

    พระสารีบุตรทั้งหมด...แต่เมื่อนึกถึงบาปของตนจึงมีใจเศร้าหมองจึงกล่าวแก่พระสารีบุตร

    ว่า"ข้าพเจ้าเป็นคนบาปหนาฆ่าคนตายมานับไม่ถ้วน...วันนี้ขอถวายอาหารแด่พระคุณเจ้า"

    -พระสารีบุตรหยั่งรู้ถึงจิตใจของเพชฌฆาตจึงใช้อุบายเพื่อทำให้เพชฌฆาตคลายความเศร้า

    หมองเปลี่ยนเป็นจิตใจแช่มชื่นเบิกบาน.....จึงกล่าวแก่เพชฌฆาตว่า "ท่านตั้งใจฆ่าเขา...

    หรือใครใช้ท่านฆ่า"

    -เพชฌฆาตได้ยินเช่นนั้น..คิดว่าเมื่อตนเองไม่ได้ตั้งใจฆ่า..บาปนี้น่าจะตกแก่พระราชาผู้สั่ง

    ฆ่า...จึงเกิดปิติชื่นบานว่าตนเองไม่ได้ทำบาปและรู้สึกยินดีในการถวายทานแก่พระสารีบุตร

    อย่างยิ่ง....เมื่อพระสารีบุตรไปแล้วก็เดินออกจากบ้านด้วยใจที่เบิกบานอิ่มเอิบในบุญ..แต่ก็

    ไปถูกวัวขวิดจนถึงแก่ความตายในขณะที่จิตเป็นกุศล...จึงได้ไปบังเกิดในสวรรค์.....เรื่อง

    ราวนี้พอจะแสดงให้เห็นว่า..."นี่คืออุบายโดยชอบ"ครับ

    -"ความปรารถนาอย่างรุนแรง ย่อมทำให้บุคคลคิดหาอุบายทั้งที่ชอบและไม่ชอบ"

    -"แต่ความปรารถนาทางด้านความรักอย่างรุนแรง ท่านว่าย่อมบิดเบือนจิตใจของผู้ตกอยู่

    ภายใต้อำนาจให้กระทำได้ทุกอย่าง"......ข้อนี้หมายถึงการกระทำทุกอย่างไม่ได้มีขอบ

    เขต"เพียงอุบายหรือไม่อุบาย"....เพราะว่าการใช้อุบายหรือไม่ใช้อุบายนั้นเป็นเรื่องที่บุคคล

    มีสติในการที่จะกระทำ......

    -แต่ความหมายของการกระทำทุกอย่างก็คือ...ไม่ว่าท่านจะอยู่ในอารมณ์ใดก็ตามหากมี

    ความปรารถนาอย่างรุนแรงแล้ว...ขาดสติก็ยังกระทำ...เช่น เกิดโทสะ...เกิดความใคร่...

    เกิดความโลภ...ฯลฯ

    -พระพุทธองค์จึงตรัสว่า"เมื่อใดความรักและความหลงครอบงำจิต เมื่อนั้นบุคคลก็มืดมน..

    เสมือนคนตาบอด" ถ้อยคำว่า "ความรักและความหลงครอบงำจิต" หมายถึงต้องเกิดขึ้น

    พร้อมกันในเวลาเดียวกัน....เมื่อนั้นคนจะตกอยู่ในความมืดมน....หาปัญญาไม่ได้เหมือน

    คนตาบอดครับ.
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 มีนาคม 2011
  4. อุตฺตโม

    อุตฺตโม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    1,688
    ค่าพลัง:
    +1,931
    สัมมนานิยายธรรมโกกิลาภิกษุณี บทที่ 4 (ต่อ 1)


    -นอกจากที่กล่าวมาแล้วในตอนที่ 10 นางโกกิลาภิกษุณีขณะที่แกล้งเจ็บป่วยและ

    พยายามใช้อุบายหลอกให้นางสุนันทาภิกษุณี ให้ไปตามพระอานนท์ โดยอ้างว่าอยากฟัง

    โอวาทจากพระอานนท์

    -นางโกกิลาภิกษุณีได้อ้างคำตรัสของพระพุทธเจ้าโดยทำทีว่าตนเป็นผู้ตั้งมั่นในการปฏิบัติ

    ธรรมแล้วรำลึกคำสอนของพระพุทธองค์เอ่ยแก่นางสุนันทาภิกษุณี เพื่อให้เชื่อในอุบายของ

    นางว่า "นางอาจตายได้แต่นางไม่ประมาทจึงอยากฟังธรรมให้เป็นกุศล" จนนางสุนันทา

    ภิกษุณีหลงเชื่อ

    -ถ้อยคำที่นางกล่าวโดยยกขึ้นว่า "พระพุทธองค์ตรัสไว้มิใช่หรือว่า...ความแตกดับแห่ง

    ชีวิต...ความเจ็บป่วย...กาลเป็นที่ตาย...สถานที่ทิ้งร่างกาย....และคติในสัมปรายภพเป็น

    สิ่งที่ไม่มีเครื่องหมาย...ใคร ๆรู้ไม่ได้"

    -อธิบายได้ว่าพระพุทธดำรัสดังกล่าว..เป็นการแสดงธรรมที่ตักเตือนพุทธบริษัทให้ตั้งอยู่ใน

    ความไม่ประมาท....โดยยกตัวอย่างของความไม่แน่นอนที่เกิดขึ้นจริงในชีวิตมาแสดงให้

    เห็นว่า....ความแตกดับแห่งชีวิต...ความเจ็บป่วย...กาลเป็นที่ตาย...สถานที่ทิ้งร่างกาย..

    และคติในสัมปรายภพเป็นสิ่งที่ไม่มีเครื่องหมายใคร ๆรู้ไม่ได้.....คำว่า"เครื่องหมาย"หมาย

    ถึงสิ่งบอกเหตุ..หรือสัญญาณ..หรือนิมิต..บอกเหตุ

    -สิ่งที่ท่านยกขึ้นมาไม่มีใครรู้ได้....ดังนั้นทุกคนควรรีบขวนขวายในการทำความดี...ทำกิจ

    ของตนให้สำเร็จลุล่วงโดยไว...อย่ารีรอผลัดวันประกันพรุ่ง....เพราะหากเราเจ็บป่วยหรือ

    ล้มตายไป...งานที่เป็นอยู่..กิจที่ควรทำก็จะคั่งค้างไม่สำเร็จประโยชน์...

    -ถ้อยคำต่อมาท่านอาจารย์วศินได้แสดงธรรมให้เห็นว่า "ดิรัจฉานเป็นสัตว์โลกที่มีความรู้

    น้อยและความสามารถน้อย มันมีความรู้ความสามารถแต่เพียงหากินและหลบหลีกภัย

    เฉพาะหน้า.....แต่ดูเหมือนมันจะมีความสุขยิ่งกว่ามนุษย์ซึ่งถือตนว่าฉลาดและมีความ

    สามารถเหนือสัตว์โลกทั้งมวล......

    -ข้อนี้เป็นการแสดงความจริงให้เห็นชัดเจนในพฤติกรรมที่เราสามารถเทียบเคียงเห็นได้

    ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน..จะเห็นว่าชีวิตของสัตว์เป็นชีวิตที่เรียบง่ายอย่างที่ยกตัวอย่างมา..

    มันจึงน่าจะมีสุขในชีวิตของมัน...ยิ่งกว่ามนุษย์ที่ใช้ชีวิตในลักษณะที่ซับซ้อนไปมา...ทั้ง

    ยังมีการชิงดีชิงเด่นกันอยู่ในที

    -ต่อไปท่านอธิบายเพิ่มเติมใน"ความสุข" โดยกล่าวว่า "เป็นความจริงที่ว่าสุขนั้นขึ้นอยู่กับ

    ความพอใจ....มนุษย์ไม่ว่าจะอยู่ในเพศไหนและภาวะอย่างใด...ถ้าสามารถพอใจในภาวะ

    นั้นได้...เขาก็มีความสุข..............ซึ่งข้อนี้เป็นการแสดงความจริงที่ชี้นำให้เห็นความ

    จริงและความหมายได้ในตัวว่า "ความสุขอยู่ที่ความพอใจ"

    -"คนยากจนหาเช้ากินค่ำ อาจจะมีความสุขกว่ามหาเศรษฐีหรือมหาราชาผู้เร่าร้อนอยู่

    เสมอเพราะความปรารถนาและทะยานอยากไม่รู้จักสิ้นสุด" ถ้อยคำนี้เป็นการเปรียบเทียบ

    ขยาย"เรื่องความพอใจให้เด่นชัดขึ้นครับ"

    -สัมนานิยายธรรมโกกิลาภิกษุณีใกล้จะจบแล้วครับ...ซึ่งหลังจากจบ....ผมจะนำประวัติ

    ของครูบาขาวปี วัดพระพุทธบาทผาหนาม มานำเสนอ....ซึ่งก็จากถ้อยคำของหลวงปู่สิม

    พุทธจาโร ที่ได้เคยเอ่ยวจีถ้อยคำไว้ว่า...."ครูบาขาวปีท่านเคยเป็นช้างนาฬาคิรี" เพื่อให้

    ท่านทั้งหลายได้พิจารณาศึกษากันครับ.
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 มีนาคม 2011
  5. อุตฺตโม

    อุตฺตโม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    1,688
    ค่าพลัง:
    +1,931
    สัมมนานิยายธรรมโกกิลาภิกษุณี บทที่ 4 (ต่อ 2)


    -มนุษย์เราจะมีสติปัญญาฉลาดปานใดก็ตาม ถ้าไร้เสียแล้วซึ่งปัญญาในการหาความสุข

    ให้แก่ตนโดยทางที่ชอบ เขาผู้นั้นควรจะทะนงตนว่าฉลาดกว่าสัตว์ละหรือ.....

    -มนุษย์ส่วนใหญ่มักจะปล่อยให้ความอยากความดิ้นรนออกหน้าแล้ววิ่งตาม เหมือนวิ่ง

    ตามเงาของตนในเวลาบ่าย ยิ่งวิ่งตามก็เหมือนเงาจะห่างตัวออกไปทุกที.....

    -ทุกคนต้องการและมุ่งมั่นในความสุข แต่ความสุขก็เป็นเหมือนเงาน่นเอง ความสุขมิใช่

    เป็นสิ่งที่เราต้องแสวงหาและมุ่งมอง........

    -หน้าที่โดยตรงที่มนุษย์ควรทำนั้นคือ....การมองทุกข์ให้เห็น...พร้อมทั้งตรวจสอบ

    พิจารณาสาเหตุแห่งทุกข์นั้นแล้วทำลายสาเหตุแห่งทุกข์เสีย....โดยนัยนี้ความสุขก็จะเกิด

    ขึ้นเอง(อริยสัจจ์ 4)

    -เหมือนผู้ปรารถนาความสุขความเจริญแก่ประเทศชาติ...ถ้าปราบเสี้ยนหนามและเรื่องร้าย

    ในประเทศมิได้ ก็อย่าหวังเลยว่าประเทศชาติจะเจริญและผาสุก

    -หรือเหมือนผู้ปรารถนาสุขแก่ร่างกาย ถ้ายังกำจัดโรคในร่างกายมิได้ ความสุขกายจะมี

    ได้อย่างไร....แต่ถ้าร่างกายปราศจากโรค..อนามัยดี..ความสุขกายก็มีขึ้นมาเอง

    -ด้วยประการฉะนี้ ปรัชาญาเถรวาทจึงให้หลักเราไว้ว่า "มองทุกข์ให้เห็นจึงเป็นสุข" อธิบาย

    ว่า....เมื่อเห็นทุกข์...กำหนดรู้ทุกข์...และค้นหาสมุฏฐานของทุกข์...แล้วทำลายสาเหตุ

    แห่งทุกข์นั้นเสีย.....

    -เหมือนหมอทำลายเชื้ออันเป็นสาเหตุแห่งโรค ยิ่งทุกข์น้อยลงเท่าใด..ความสุขก็ยิ่งเพิ่ม

    ขึ้นเท่านั้น...ความทุกข์ที่ลดลงนั่นคือ...ความสุข

    -เหมือนทัศนะทางวิทยาศาสตร์ที่ถือว่า "ความเย็นไม่มี" "มีแต่ความร้อน" ความเย็น...

    คือ....ความร้อนที่ลดลง...เมื่อลดลงถึงที่สุดก็กลายเป็น...ความเย็นที่สุด

    -ทำนองเดียวกัน...เมื่อความทุกข์ลดลงถึงที่สุดก็กลายเป็นความสุขที่สุด...ขึ้นแห่งความ

    สุขนั้น...มีขึ้นตามขั้นแห่งความทุกข์ที่ลดลง...คำสอนทางศาสนาเมื่อว่าโดยนัยหนึ่ง...จึง

    เป็นเรื่องของ..."ศิลปะแห่งการลดทุกข์"..นั่นเอง

    -ถ้อยคำที่กล่าวมาทั้งปวงในนิยายได้อธิบายไว้โดยชัดแจ้ง...และมีการเปรียบเทียบให้เห็น

    ความจริงครบถ้วน...จึงน่าที่ผู้อ่านจะเข้าใจได้โดยไม่ยาก.ผมจึงไม่ขออธิบายเพิ่มเติมครับ

    -ถ้อยคำต่อมา"ผู้หญิงมีความอ่อนแอทั้งด้านร่างกายและจิตใจ พระศาสดาจึงกีดกันหนัก

    หนาในเบื้องแรกที่จะให้สตรีบวชในศาสนา....ทั้งนี้เป็นเพราะพระมหากรุณาของพระองค์..

    ที่ไม่ต้องการให้สตรีต้องลำบาก....มีเรื่องเดียวเท่านั้นที่สตรีทนได้ดีกว่าบุรุษ นั่นคือ.."การ

    ทนต่อความเจ็บปวด"

    -อธิบายได้ว่า...การที่ผู้หญิงจะมาบวชในพระพุทธศาสนาเป็นเรื่องลำบาก....การ

    นอนกลางดินกินกลางทราย...หรือการอดอาหารยามวิกาล...เป็นเรื่องลำบากสำหรับ

    ผู้หญิง...โดยเฉพาะการมีรอบเดือน...เป็นเรื่องยุ่งยากลำบากมาก...ผู้หญิงไม่อาจปฏิบัติ

    ธรรมได้อย่างสม่ำเสมอ......ข้อนี้..ท่านจึงได้กำหนดศีลหรือข้อห้ามมากมายสำหรับสตรีที่

    จะบวชในศาสนา....ซึ่งข้อนี้จะเห็นว่า..สตรีใดไม่มีมรรคผลเป็นแก่นสาร..ก็จะเกิดความ

    ท้อแท้...ไม่อาจผ่านข้อห้ามแห่งศีลได้ครับ.(จบบทที่ 4..ครับ)

    ..............................................................................................

    น้อมส่ง..หลวงตาด้วยใจรักและเคารพอย่างสูงสุดครับ.

    "อุตฺตโม"
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 630.jpg
      630.jpg
      ขนาดไฟล์:
      42.2 KB
      เปิดดู:
      66
    • _1_908(3).jpg
      _1_908(3).jpg
      ขนาดไฟล์:
      48.3 KB
      เปิดดู:
      62
    • DSC06836.gif
      DSC06836.gif
      ขนาดไฟล์:
      100.3 KB
      เปิดดู:
      66
    • 20071272218371(1).jpg
      20071272218371(1).jpg
      ขนาดไฟล์:
      21.6 KB
      เปิดดู:
      76
    • 20060710171340(7).jpg
      20060710171340(7).jpg
      ขนาดไฟล์:
      18.2 KB
      เปิดดู:
      72
    • 6140.jpg
      6140.jpg
      ขนาดไฟล์:
      65 KB
      เปิดดู:
      70
    • b20021114212505.jpg
      b20021114212505.jpg
      ขนาดไฟล์:
      83.1 KB
      เปิดดู:
      94
    • DSC07394.gif
      DSC07394.gif
      ขนาดไฟล์:
      80.9 KB
      เปิดดู:
      75
    • DSC07375(1).gif
      DSC07375(1).gif
      ขนาดไฟล์:
      88.3 KB
      เปิดดู:
      73
    • DSC08357.gif
      DSC08357.gif
      ขนาดไฟล์:
      74.1 KB
      เปิดดู:
      64
    • luangta-mahabua-51.jpg
      luangta-mahabua-51.jpg
      ขนาดไฟล์:
      18.6 KB
      เปิดดู:
      310
    • p333.gif
      p333.gif
      ขนาดไฟล์:
      31.2 KB
      เปิดดู:
      63
    • 3ffe29.jpg
      3ffe29.jpg
      ขนาดไฟล์:
      9.5 KB
      เปิดดู:
      298
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 มีนาคม 2011
  6. อุตฺตโม

    อุตฺตโม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    1,688
    ค่าพลัง:
    +1,931
    ตำนานการบวชพระภิกษุและสามเณรสมัยพระโคดมพุทธเจ้า


    -ก่อนถึงบทความสัมนานิยายธรรมโกกิลาภิกษุณี บทที่ 5 ผมขอนำเสนอตำนานการบวช

    พระภิกษุและสามเณรสมัยพระโคดมพุทธเจ้า เพื่อประดับความรู้ของท่านผู้อ่านดังนี้ครับ

    -ในคัมภีร์มหาขันธกะ พระวินัยปิฎก กล่าวไว้ว่า

    -เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสรู้แล้ว ในตอนแรก ๆ มีกุลบุตรมาขอบวช พระองค์ทรง

    รับด้วยพระองค์เอง ด้วย "วิธีเอหิภิกขุอุปสัมปทา" คือ ตรัสอนุญาตด้วยพระวาจาว่า

    "เอหิ ภิกฺขุ สฺวากฺขาโต ธมฺโม จรพฺรหฺม จริยํ, สมฺมาทุกฺขสฺส อนฺตกิริยาย" แปลว่า

    "มาเป็นภิกษุเถิด ธรรมเรากล่าวดีแล้ว ท่านจงประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อทำที่สุดแห่ง

    ทุกข์โดยชอบเถิด" แล้ว ผู้ขอบวชถือเพศตามอย่างพระองค์ก็เป็นเสร็จ

    -ถ้าผู้ขอบวชหลายคนขอพร้อมกัน ก็ตรัสเป็นพหูพจน์ว่า

    "เอถ ภิกฺขโว สฺวากฺขาโต ธมฺโม จรถ พฺรหฺมจริยํ สมฺมา ทุกฺขสฺส อนฺตกิริยาย"

    -ถ้าผู้ขอบวชสำเร็จพระอรหันต์ก่อนแล้ว และมาขอบวช พระองค์ตัดคำว่า

    "สมฺมา ทุกฺขสฺส อนฺตกิริยาย" ออก....เพราะพระอรหันต์เป็นผู้ที่ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้แล้ว

    -...ครั้นมีพระสาวกขึ้นหลายองค์ แยกย้ายกันไปประกาศพระศาสนา เมื่อมีผู้ศรัทธาจะ

    บวช ...พระสาวกผู้เป็นอาจารย์ก็ต้องพามาถวายตัวขอบวชในพุทธสำนัก...บางทีมาจาก

    ถิ่นไกลกันดาร ต้องลำบากมากทั้งอาจารย์และศิษย์ ทรงเห็นว่า....การพระศาสนาจะ

    แพร่ออกไปและเจริญตั้งมั่นอยู่ตลอดกาลนานนั้น .....จำต้องอาศัยพระสาวกและมอบ

    หมายหน้าที่การงานให้พระสาวกสามารถบริหารการพระศาสนาแทนพระองค์ได้.....อนึ่ง

    การเผยแผ่พระศาสนาที่จะให้แพร่หลายออกไปได้นั้น ...จะมุ่งแต่เพียงแสดงชี้แจงให้คน

    ทั้งหลายได้ความรู้ความเข้าใจเท่านั้นยังหาเพียงพอไม่.....ต้องหาทางให้ความสะดวกที่

    เขาทั้งหลายจะประพฤติปฏิบัติตามไปด้วย....ไม่เช่นนั้นกุลบุตรทั้งหลายแม้มีศรัทธา..ก็จะ

    พึงนึกอิดหนาระอาใจ....เพียงแต่จะรู้ตามก็ยากอยู่แล้ว...ยังยากในอันจะประพฤติปฏิบัติ

    ตามอีกเล่า................ด้วยเหตุนี้จึงทรงอนุญาตให้พระสาวกรับกุลบุตรให้บวชได้

    ด้วย"วิธีสรณคมนูปสัมปทา" คือ ให้ผู้ขอบวชปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสายะ...เข้าไป

    กราบเท้าภิกษุประคองอัญชลีเปล่งวาจาถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะด้วยบาลีว่า

    "พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ ................

    ทุติยมฺปิพุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ ทุติยมฺปิธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ ทุติยัมฺปีสงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ

    ตติยมฺปิพุท์ธํ สรณํ คจฺฉามิ ตติยมฺปิธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ ตติยมฺปิสงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ"

    เท่านี้เป็นสำเร็จการบวชเป็นภิกษุ

    -......ครั้นพระศานาแพร่หลาย มีผู้บวชเป็นภิกษุมากขึ้น...ทรงเห็นว่าการรับกุลบุตรให้บวช

    เป็นการสำคัญ....เพราะความเจริญความเสื่อมของหมู่คณะ..ย่อมเนื่องด้วยสมาชิกใหม่...

    หมู่คณะใดมีสมาชิกดีมากกว่าเลว....หมู่คณะนั้นก็หวังความเจริญได้........หมู่คณะใดมี

    สมาชิกเลวมากกว่าดี....หมู่คณะนั้นเป็นหมดหวังในความเจริญ

    -การที่จะรับคนเข้าเป็นสมาชิก จึงควรได้รับการพิจารณาเลือกเฟ้นตามสมควร...การรับ

    กุลบุตรให้บวชด้วยวิธีที่กล่าวแล้วนั้น...ยังเป็นการของเอกชนอยู่ คือ ภิกษุรูปหนึ่งรูปเดียวก็

    รับได้..อาจผิดพลาดได้ง่าย

    -เพื่อให้เป็นหลักฐานมั่นคงในกาลต่อไป..จึงทรงยกการรับคนเข้าบวชเป็นภิกษุให้เป็นการ

    สงฆ์...ด้วยวิธีที่เรียกว่า "ญัตติจตุตถกรรมอุปสัมปทา"

    -ส่วน"สรณคมนูปสัมปทา" นั้น ...ภายหลังโปรดให้นำมาใช้เป็น"วิธีการบวชสามเณร"

    -ทั้งสองวิธีคงเป็นแบบเรียบร้อยดี...ได้ปฏิบัติกันมาจนตราบเท่าทุกวันนี้...มิได้เปลี่ยนแปลง

    และเรียกการบวชภิกษุว่า "อุปสมบท" เรียกการบวชสามเณรว่า "บรรพชา"

    -"บทสรณคมน์" ซึ่งเป็นพุทธบัญญัติในการอุปสมบทวิธีนี้แล เป็นที่มาแห่งบทสรณคมน์ที่

    ใช้ในพิธีการทั่วไป รวมทั้งสวดเป็นมนต์ด้วย ...อยู่ในลำดับเป็นที่ 2 คือ ตั้งนโมฯ เป็น

    ปฐมแล้วก็ถึงบทสวด"สรณคมน์" ครับ.
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 002.gif
      002.gif
      ขนาดไฟล์:
      73.9 KB
      เปิดดู:
      313
    • 96apr.jpg
      96apr.jpg
      ขนาดไฟล์:
      12.2 KB
      เปิดดู:
      69
    • TopicPic-061029150606047.jpg
      TopicPic-061029150606047.jpg
      ขนาดไฟล์:
      23.8 KB
      เปิดดู:
      63
    • P-2451.gif
      P-2451.gif
      ขนาดไฟล์:
      114.8 KB
      เปิดดู:
      76
    • 44533311(1).jpg
      44533311(1).jpg
      ขนาดไฟล์:
      17.4 KB
      เปิดดู:
      74
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 มีนาคม 2011
  7. อุตฺตโม

    อุตฺตโม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    1,688
    ค่าพลัง:
    +1,931
    ตำนานกรณียเมตตสูตรสมัยพระโคดมพุทธเจ้า


    -ขอนำเสนอตำนานกรณียเมตตสูตร เพื่อประดับความรู้ให้แก่ผู้อ่านอีกสัก 1 ตำนานครับ

    ก่อนที่จะเข้าเรื่อง"สัมนานิยายธรรมโกกิลาภิกษุณี บทที่ 5 ครับ

    -พระปริตรนี้ ตามตำนานเบื้องต้นกล่าวเนื้อความว่า

    -พระภิกษุประมาณ 500 รูปในพระนครสาวัตถี ได้เรียนกรรมฐานในสำนักสมเด็จพระ

    ศาสดา แล้วหาที่สงัดเงียบสำหรับเจริญวิปัสสนาไปได้สิ้นทางประมาณ 100 โยชน์ ถึง

    หมู่บ้านแห่งหนึ่ง

    -ชาวบ้านเหล่านั้นได้เห็นพระภิกษุก็มีความยินดี นิมนต์ให้นั่งบนอาสนะที่สมควรแล้ว

    อังคาสด้วยข้าวยาคูเป็นต้น แล้วถามว่า "พระผู้เป็นเจ้าทั้งหลายจะไป ณ ที่แห่งใด"

    -เมื่อได้รับคำตอบว่า "จะไปหาที่สบายสำหรับเจริญสมณธรรมตลอดไตรมาส"

    -ชนเหล่านั้นจึงกล่าว่า "จากที่นี้ไปไม่สู้จะไกลนัก มีป่าชัฏเป็นที่สงัดเงียบ ขอนิมนต์พระผู้

    เป็นเจ้าทั้งหลายจงเจริญสมณธรรมตลอดไตรมาสเถิด ข้าพเจ้าทั้งหลายจะขอถึงพระ

    รัตนตรัยเป็นสรณะและรักษาศีลในสำนักของพระผู้เป็นเจ้าทั้งหลาย"

    -พระภิกษุทั้งหลายรับนิมนต์แล้ว ก็เข้าไปอาศัยอยู่ในป่านั้นและเจริญสมณธรรมอยู่ในที่นั้น

    -....พฤกษเทวดาที่สิงอยู่ที่ต้นไม้ในป่านั้น คิดว่า "พระผู้เป็นเจ้าทั้งหลายมาอาศัยอยู่ที่โคน

    ต้นไม้แห่งเรา ตัวเรา และบุตรภรรยาของเราจะอยู่บนต้นไม้นี้..ไม่เป็นการเคารพหาสมควร

    ไม่ "

    -จึงพากันลงจากต้นไม้นั่งอยู่เหนือพื้นดิน

    -...นัยหนึ่งว่า..เพราะอำนาจที่ภิกษุเจริญสมณธรรม...พฤกษเทวดาเหล่านั้นจึงไม่อาจอยู่

    บนต้นไม้ได้...ด้วยสำคัญว่าพระผู้เป็นเจ้าพักอยู่ในที่นั้นคืนหนึ่งแล้วก็จักไปต่อไป...

    -...ในวันรุ่งขึ้น พระภิกษุเที่ยวบิณฑบาตภายในหมู่บ้าน แล้วก็กลับมาสู่ป่าชัฏตามเดิม

    เทวดาเหล่านั้นพากันคิดว่า "ใคร ๆ คงจะนิมนต์ท่านฉันในวันพรุ่งนี้..วันนี้ท่านจึงกลับมาพัก

    ในที่นี้อีก...และวันหน้าต่อไปท่านก็จะไปในที่อื่น"

    -แต่ปรากฏว่า...พระภิกษุก็ยังกลับมาพักในที่นี้อีก...หมู่เทวดาพากันคิดว่า...พระภิกษุจะไป

    ในวันหน้าดังนี้สืบ ๆ ไป

    -....จนเวลาล่วงไปได้ประมาณครึ่งเดือน...เทวดาจึงมาคิดกันว่า "ชะรอยพระผู้เป็นเจ้าจะ

    อยู่ในที่นี้ตลอดไตรมาสเป็นแน่...ถ้าพระผู้เป็นเจ้าจะยอู่ในที่นี้ตลอดไตรมาสแล้ว....พวก

    เราก็จะต้องอยู่บนพื้นดินตลอดไตรมาสด้วย ...เป็นการลำบากนัก...ควรที่เราจะทำ

    วิการอะไรขึ้นให้ท่านไปเสียจากที่นี้จะเป็นการดี"

    -เมื่อปรารภอย่างนี้แล้วก็แสดงวิการต่าง ๆ มีซากศพศีรษะขาดและรูปยักษ์ เป็นต้น และ

    กระทำเสียงแห่งอมนุษย์อันน่าสยดสยองทั้งในเวลากลางคืนและกลางวัน...พร้อมกับ

    บันดาลให้โรคไอและจามให้เกิดขึ้นแก่พระภิกษุทั้งหลาย

    -....พระภิกษุทั้งหลายก็อยู่ไม่เป็นผาสุกเหมือนดังแต่ก่อน...มีความหวาดกลัว..เกิดโรค

    ผอมซีดเซียวลง

    -แล้วจึงพากันออกจากที่นั้นไปสู่สำนักของสมเด็จพระศาสดา...ทูลให้ทรงทราบถึงเรื่องที่

    ได้ประสบต่ออารมณ์อันน่ากลัวต่าง ๆ...และความไม่ผาสุกที่ได้บังเกิดขึ้นแต่โรคนั้นด้วย

    -.......พระผู้มีพระภาคเจ้ามีพระพุทธประสงค์จะให้พระภิกษุเหล่านั้นกลับไป........เจริญ

    สมณธรรมในที่เดิมอีก...จึงทรงประทาน"เมตตสูตร"เป็นอาวุธเครื่องป้องกัน แล้วมีพระ

    พุทธดำรัสว่า "ภิกษุทั้งหลายเธอพึงสาธยายพระสูตรนี้ตั้งแต่ราวไพรภายนอกวิหารเข้าไปสู่

    ภายในวิหาร"

    -ภิกษุเหล่านั้นก็ถวายบังคมพระศาสดาแล้วกลับไป.....เมื่อถึงราวไพรภายนอกที่อยู่ก็

    สาธยายพระสูตรตามพระพุทธฎีกาแล้ว....จึงเดินเข้าไปสู่สำนักเดิม

    -...คราวนี้หมู่เทวดาเหล่านั้นกลับมีความเมตตา ทำการต้อนรับพระภิกษุเหล่านั้น มีการ

    รับบาตรจีวร..และเข้านวดตัว...ปัดกวาดสถานที่..ตลอดจนถึงการอารักขาในราวไพรด้วย

    -...ภิกษุเหล่านั้น..เมื่อได้อยู่เป็นผาสุกแล้ว ก็ตั้งจิตบำเพ็ญพระกรรมฐานตลอดทั้งกลาง

    วันและกลางคืน........จิตของท่านก็หยั่งลงสู่วิปัสสนา...เห็นความสิ้นความเสื่อมในตนว่า

    "อัตภาพนี้..ก็เป็นเช่นภาชนะดิน...คือว่าต้องแตกทำลาย..ไม่ถาวร"

    -.....พระพุทธเจ้าประทับอยู่ในพระคันกุฎีทราบความปรารภของพระภิกษุทั้งหลายนั้น

    แล้ว...จึงเปล่งพระรัศมีในที่ห่างประมาณ 100 โยชน์ ให้เห็นเหมือนว่าเสด็จประทับอยู่ที่

    เฉพาะหน้าพระภิกษุเหล่านั้น และตรัสพระคาถาว่า "ภิกษุทราบกายนี้ว่าเปรียบกับหม้อ...ปิด

    จิตนี้ให้เหมือนกับนครพึงรบกับมารด้วยอาวุธคือปัญญา และพึงรักษาความชนะไว้ พึงเป็น

    ผู้หาความพัวพันมิได้"

    -..เมื่อจบพระธรรมเทศนาแล้ว..ภิกษุ 500 รูปก็ได้บรรลุพระอรหันต์พร้อมด้วยปฏิสัมปภิทา

    -พระสูตรนี้ประกอบด้วยคุณานุภาพเป็นอันมาก เป็นประหนึ่งหัวใจของพระพุทธศาสนา...ก็

    ขอให้ท่านผู้อ่านค้นหามาท่องสาธยายด้วยครับ.
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  8. อุตฺตโม

    อุตฺตโม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    1,688
    ค่าพลัง:
    +1,931
    สัมมนานิยายธรรมโกกิลาภิกษุณี บทที่ 5


    -ในบทที่ 5 นี้จะกล่าวถึง ตอนที่ 12 , ตอนที่ 13 และ ตอนที่ 14 ซึ่งในตอนนี้เนื้อหาก็คง

    เป็นเรื่องการแสดงธรรมของพระอานนท์ต่อนางโกกิลาภิกษุณี และการสนทนาระหว่าง

    บุคคลทั้งสองเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งเป็นบทแสดงธรรมล้วน ๆ ที่เปรียบเทียบให้เห็นความเป็น

    จริงทั้งข้อธรรมและความเป็นไปของโลกได้ดียิ่งโดยแทบมิต้องขยายความเลยครับ

    -ในเนื้อเรื่องของตอนที่ 12 , ตอนที่ 13 และตอนที่ 14 มีอยู่ว่า......เมื่อพระอานนท์และ

    พระภิกษุที่ติดตามเดินทางไปหานางโกกิลาภิกษุณีที่ที่พัก...และพระอานนท์ได้พบเห็นนาง

    จึงรู้สึกว่าถูกหลอก....ด้วยความเมตตาที่ท่านมีต่อนางจึงคิดจะแสดงธรรมเพื่อประโยชน์

    เกื้อกูลนางไปตลอดกาลนาน.. และท่านก็ได้แสดงธรรมพร้อมเล่าเรื่องชีวิตของท่าน...และ

    แสดงธรรมชี้โทษของความรัก...และชีวิตของสตรี...อีกทั้งผู้คนทั้งหลาย...ฯลฯ...จนนาง

    รู้สึกเสียใจและอับอายที่ความรักของนางไม่ได้รับสนองตอบเลยแม้แต่น้อยและยังอับอายที่

    พระอานนท์ไม่เชื่อเรื่องอุบายของนาง...นางจึงไม่สามารถพูดคำใดได้นอกจากสะอื้นร่ำไห้

    อยู่ไปมา....

    -.......พระอานนท์กล่าวว่า "น้องหญิง...ชีวิตเริ่มต้นด้วยเรื่องที่น่าละอาย....ทรงตัวอยู่

    ด้วยเรื่องที่ยุ่งยากสับสน...และจบลงด้วยเรื่องเศร้า......อนึ่ง ชีวิตนี้เริ่มต้นและจบลงด้วย

    เสียงคร่ำครวญ.....เมื่อลืมตาขึ้นดูโลกเป็นครั้งแรก..เราก็ร้องไห้...และเมื่อหลับตาลา

    โลก...เราก็ร้องไห้อีก..หรืออย่างน้อยก็เป็นสาเหตุให้คนอื่นหลั่งน้ำตา.....เด็กร้องไห้พร้อม

    ด้วยกำมือแน่น...เป็นสัญลักษณ์ว่า..เขาเกิดมาเพื่อจะหน่วงเหนี่ยวยึดถือ....แต่เมื่อหลับตา

    ลาโลกนั้น..ทุกคนแบมือออก.....เหมือนจะเตือนให้ผู้อยู่เบื้องหลังสำนึกและเป็นพยาน

    ว่า...เขามิได้เอาอะไรไปเลย"

    -ถ้อยคำดังกล่าว...เป็นการแสดงธรรมและอธิบายเปรียบเทียบให้เห็นวิถีชีวิตของคนเราได้

    ไปในตัวจึงเห็นว่าไม่ควรแสดงสิ่งใดที่เป็นการอธิบาย..เนื้อหาที่ดีอยู่แล้วอีก

    -.....พระอานนท์กล่าวว่า....."......อาตมาเคยผ่านความรักมาและประจักษ์ว่า..ความรัก

    เป็นความร้าย...ความรักเป็นสิ่งทารุณและเป็นเครื่องทำลายความสุขของปวงชน..อาตมา

    กลัวต่อความรักนั้น.......ทุกคนต้องการความสมหวังในชีวิตรัก..แต่ความรักไม่เคยให้สม

    หวังแก่ใครถึงครึ่งหนึ่งแห่งความต้องการ....ยิ่งความรักที่ฉาบทาด้วยความเสน่หาด้วย

    แล้ว..จะเป็นพิษแก่จิตใจ..ทำให้ทุรนทุรายดิ้นรนไม่รู้จักจบสิ้น....ความสุขที่เกิดจากความ

    รักนั้นเหมือนความสบายของคนป่วยที่ได้กินของแสลง...เธออย่าพอใจในเรื่องความรัก

    เลย......เมื่อหัวใจถูกลูกไล้ด้วยความรัก..หัวใจนั้นจะสร้างความหวังขึ้นอย่างเจิดจ้า...แต่

    ทุกครั้งที่เราหวัง...ความผิดหวังก็จะรอเราอยู่.....น้องหญิง..อย่าหวังอะไรให้มากนัก...จง

    มองดูชีวิตอย่างผู้ช่ำชอง...อย่าวิตกกังวลอะไรล่วงหน้า...ชีวิตนี้เหมือนเกลียวคลื่นซึ่งก่อ

    ตัวขึ้นแล้วม้วนเข้าหาฝั่งและแตกกระจายเป็นฟองฝอย...จงยืนมองดูชีวิตเหมือนคนผู้ยืนอยู่

    บนฝั่งมองดูเกลียวคลื่นในมหาสมุทรฉะนั้น"

    -อธิบายถ้อยคำที่ว่า "ความรักไม่เคยให้ความสมหวังแก่ใครถึงครึ่งหนึ่งแห่งความต้องการ"

    ได้ว่า.....ชีวิตรักของคนส่วนใหญ่...จะตั้งความปรารถนา..และวาดมโนภาพแห่งความรัก

    ทางใจขึ้นอย่างเลิศหรู...งดงามตระการตา....แต่ไม่มีบุคคลใดไปได้อย่างที่ใจนึกฝัน...

    เพราะความต้องการทางด้านความรักของคนเราไม่มีที่สิ้นสุด...แต่ก็ไม่มีใครได้ถึงครึ่งหนึ่ง

    เลย

    -....ถ้อยคำที่ว่า.."ความรักที่ฉาบทาด้วยความเสน่หาด้วยแล้ว...จะเป็นพิษแก่จิตใจ..ทำ

    ให้ทุรนทุรายไม่รู้จักจบสิ้น" อธิบายได้ว่า...เป็นความรักที่มีความหลงและความใคร่เข้ามา

    ปนเปในความรักนั้น..ทำให้มีความร้อนรนทะยานอยากที่จะไปปลดปล่อยความใคร่นั้น...

    และความรักประเภทนี้จะมีคำว่า "หึงหวง"ตามมาด้วยทุกครั้ง........แตกต่างจากความรัก

    อีกประเภทหนึ่ง...คือ

    - "ความรักที่ประกอบไปด้วยความเมตตา" ซึ่งความรักประเภทนี้ในนิยายไม่ได้เอ่ยถึง...แต่

    ผมต้องการให้เห็นความต่าง.........ในความ"ร้อนรน" กับความ"เยือกเย็น" ...เพราะ

    ความรักที่ประกอบไปด้วยความเมตตา...โดยตัดความเสน่หาออก...มันคือความรักที่ค้ำจุน

    ความรัก...

    -"และผมไม่เคยพบเห็นว่าคู่รักที่มีความรักที่ประกอบไปด้วยความเมตตาหย่าร้างหรือเลิกรา

    กันมาก่อนเลย...นอกจากเขาจะตายจากกัน"

    -ความรักประเภทนี้คู่รักต่างเมตตาต่อกัน..และอยู่กันจนถึงแก่เฒ่า..............แต่ความรัก

    ที่ประกอบไปด้วยความเสน่หา...สิ้นสุดลงด้วยการเลิกร้างกัน...เปรียบเทียบคล้ายกับ...

    ดารานักแสดงหลายคู่ที่เลิกร้างกันครับ.
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 มีนาคม 2011
  9. อุตฺตโม

    อุตฺตโม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    1,688
    ค่าพลัง:
    +1,931
    สัมมนานิยายธรรมโกกิลาภิกษุณี บทที่ 5 (ต่อ 1)


    -พระอานนท์ได้แสดงธรรมโดยกล่าวถึงความรักกับสตรีให้แก่นางโกกิลาภิกษุณีฟังว่า

    "โกกิลาเอย ...เมื่อความรักเกิดขึ้น ความละอายและความเกรงกลัวในสิ่งที่ควรกลัวก็

    พลันสิ้นไป เหมือนก้อนเมฆมหึมาเคลื่อนตัวเข้าบดบังดวงจันทร์ให้อับแสง.....ธรรมดา

    สตรีนั้นควรจะยอมตายเพราะความละอาย...แต่แทนที่จะเป็นเช่นนั้น....ความละอายมักจะ

    ตายไปก่อนเสมอ....เมื่อความใคร่เกิดขึ้น...ความละอายก็หลบหน้า..เพราะเหตุนี้พระบรม

    ศาสดาจึงตรัสว่า...ความใคร่ทำให้คนมืดบอด"

    -ถ้อยคำว่า..."ความรักเกิดขึ้นความละอายและความเกรงกลัวในสิ่งที่ควรกลัวก็สิ้นไป"

    -อธิบายได้ว่า..ความรักในความหมายนี้คือ"ความรักระหว่างชายกับหญิง" ...ตามปกติ

    ชายก็ตาม...หรือหญิงก็ตาม...ปกติจะมีความละอายที่จะกระทำบางสิ่งบางอย่างให้ผิดจาก

    จารีตประเพณี..หรือผิดศีลธรรมอันดี.. และมีความเกรงกลัวในสิ่งที่ควรกลัว...เช่น..

    ละอายเกรงกลัวต่อบาป..ต่อกฏหมาย...กฏของสังคม..ฯลฯ

    -แต่เมื่อ"ความรักระหว่างชายและหญิงเกิดขึ้น"..ก็อาจที่จะหมดความละอายและเกรงกลัว

    เช่น เป็นชู้กับภริยาผู้อื่น หรือ พาภริยาผู้อื่นหนี...พาลูกสาวของเขาหนีจากมารดาและบิดา

    เพราะความรัก..อันเป็นเรื่องที่น่าละอายและผิดต่อกฏหมาย..ผิดศิลธรรม..จารีตประเพณี

    -.......ในส่วนของสตรีนั้น..จากถ้อยคำดังกล่าวได้มีถ้อยคำที่มุ่งเน้นถึงสตรีอยู่

    ว่า....."สตรีนั้นควรยอมตามเพราะความละอาย...แต่เมื่อความใคร่เกิดขึ้น...ความละอาย

    ก็หนีหายไปจากตัว"

    -อธิบายได้ว่า....เพศหญิงนั้นเป็นเพศที่มักจะทำสิ่งใดเป็นไปตามอารมณ์..มิได้ตั้งอยู่ด้วย

    เหตุผลหรือหลักเกณฑ์ทางสังคมอย่างมั่นคง.....เมื่ออารมณ์ใคร่เกิด....หญิงก็จะทำตาม

    อารมณใคร่อยากนั้นโดยไม่คำนึงถึงความถูกหรือผิด..หรือกฏเกณฑ์ใด ๆ

    -ถ้อยคำทึ่ว่า "พระบรมศาสดาจึงตรัสว่า...ความใคร่ทำให้คนมืดบอด" ถ้อยคำนี้ไม่ได้

    จำกัดเฉพาะเพศหญิง...แต่หมายถึงคำกลางที่ใช้กับคนทั่วไปทั้งชายหญิง...เพราะความ

    ใคร่เมื่อเกิดขึ้นกับคนแล้ว...ความมืดบอดย่อมเกิดแก่คนนั้น....ความมืดบอดในที่นี้หมาย

    ถึงความมืดบอดทางปัญญา..ที่ไม่อาจหาสิ่งอื่นมาขบคิดให้เกิดผลได้...นอกจากคิดอยู่แต่

    เรื่องใคร่อยากเท่านั้น

    -ถ้อยคำต่อไปพระอานนท์กล่าวว่า "อนึ่งโลกมนุษย์ของเรานี้เต็มไปด้วยชีวิตอันประหลาด

    พิสดารต่างชนิดและต่างรส.....ชีวิตของแต่ละคนได้ผ่านมาและก็ผ่านไป...ด้วยความระกำ

    ลำบากทุกข์ทรมาน.....ถ้าชีวิตมีความสุขก็เป็นความหวาดเสียวที่จะต้องจากชีวิตอันรื่นรมย์

    นั้นไป" ถ้อยคำนี้แสดงความจริงทางโลกที่เข้าใจได้โดยง่ายผมขอไม่อธิบาย

    -......พระอานนท์ได้กล่าวต่อไปว่า"....โกกิลาเอย...มนุษย์ทั้งหลายผู้ยังมีอวิชชาเป็นฝ้า

    บังจักษุนั้น....เสมือนทารกน้อยผู้หลงเข้าไปในป่าใหญ่อันรกทึบ...ซึ่งเต็มไปด้วยอันตราย

    อันน่าหวาดเสียวและว้าเหว่เงียบเหงา.......มนุษย์ส่วนใหญ่แม้จะร่าเริงแจ่มใสอยู่ในหมู่

    ญาติและเพื่อนฝูง .....แต่ใครเล่าจะทราบว่า...ในส่วนลึกแห่งหัวใจเขาจะว้าเหว่และเงียบ

    เหงาสักปานใด.....แทบทุกคนว้าเหว่..ไม่แน่ใจว่าจะยึดเอาอะไรเป็นหลักของชีวิตแน่

    นอน....บัดนี้เธอมีธรรมเป็นเกาะที่พึ่งแล้ว....จงยึดธรรมเป็นที่พึ่งต่อไปเถิด....อย่าหวัง

    อย่างอื่นเป็นที่พึ่งเลย...โดยเฉพาะความรักความเสน่หาไม่เคยเป็นที่พึ่งจริงจังให้แก่ใคร

    ได้...มันเป็นเสมือนต่อที่ผุ..จะล้มลงทันทีเมื่อถูกคลื่นซัดสาด

    -ถ้อยคำข้อนี้...เป็นข้อที่ไม่ควรอธิบายเลย.....ด้วยเป็นสิ่งที่ผู้เขียนประสงค์ที่จะให้ผู้อ่าน

    หรือผู้ฟังคิดพิจารณาหาความจริงตามถ้อยคำนั้นครับ.
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 มีนาคม 2011
  10. อุตฺตโม

    อุตฺตโม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    1,688
    ค่าพลัง:
    +1,931
    สัมมนานิยายธรรมโกกิลาภิกษุณี บทที่ 5 (ต่อ 2)


    -ในนิยายตอนที่ 13 ได้แสดงถ้อยคำที่เป็นธรรมให้เห็นทัศนทางพุทธศาสนาอยู่ ดังนี้

    -พระอานนท์ได้แสดงธรรมให้แก่นางโกกิลาภิกษุณีว่า

    "ธรรมเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในชีวิตมนุษย์....ไม่ว่าเขาจะอยู่ในเพศใด...ภาวะใด...การ

    กระทำที่นึกขึ้นมาภายหลังแล้วต้องเสียใจนั้น...พระศาสดาทรงสอนให้เว้นเสีย...เพราะ

    ฉะนั้น...แม้จะประสบปัญหาหัวใจ..หรือได้รับความทุกข์ยากลำบากสักปานใด..ก็ต้องไม่ทิ้ง

    ธรรม"

    -...ถ้อยคำดังกล่าวมีข้อให้อธิบายอยู่ว่า..."ไม่ว่าเขาจะอยู่ในเพศใด" หมายถึง ไม่ว่าเพศ

    ชายหรือหญิง...."ภาวะใด" หมายถึง ไม่ว่าจะเป็น..เด็ก...หนุ่มสาว...หรือแก่เฒ่า..และ

    หรือ..ไม่ว่าสถานการณ์ใด ๆ.......

    -...ถ้อยคำที่ว่า "การกระทำที่นึกขึ้นภายหลังแล้วต้องเสียใจนั้น..พระศาสดาทรงสอนให้

    เว้นเสีย".......การกระทำที่นึกขึ้นภายหลังแล้วต้องเสียใจนั้น..หมายถึง..การกระทำที่เป็น

    กรรมชั่ว...แต่ผู้เขียนต้องการเล่นสำนวนคำประพันธ์เพื่อให้ภาษาสละสลวยขึ้น..จึงใช้คำ

    ดังกล่าวแทนการกระทำที่เป็นกรรมชั่ว....ซึ่งข้อนี้อยู่ในหัวใจของพระพุทธศาสนาอยู่แล้ว

    คือ "ละเว้นความชั่ว..ทำความดี..ทำจิตให้บริสุทธิ์"

    -ถ้อยคำที่กล่าวถึงดังกล่าวนั้น..เป็นการอธิบายคำสอนของพระพุทธองค์ในหลักของหัวใจ

    พุทธศาสนาในคำแรกคือ "ละเว้นความชั่ว"

    -.....ถ้อยคำที่เป็นประโยคต่อมามีว่า "...เพราะฉะนั้นแม้จะประสบปัญหาหัวใจ หรือได้รับ

    ความทุกข์ยากลำบากสักปานใด..ก็ต้องไม่ทิ้งธรรม".....หมายถึงคำเตือนให้พวกเราได้

    ประพฤติปฏิบัติตั้งใจอย่างจริงจัง.....

    -คำว่า"ได้ทุกข์ยากลำบากสักปานใด"..คือไม่ว่าจะหนักหนาเพียงใดก็ต้องไม่ยอมทำชั่ว...

    เช่น..กรณีที่ได้ทุกข์ยากลำบากกล่าวคือ หญิงแม่ลูกอ่อน..ไม่มีเงินซื้อนมให้ลูกกิน..ลูกก็

    ร้องไห้หิวโหย...หญิงผู้นั้นจึงติดสินใจไปลักทรัพย์ในห้างสรรพสินค้า..แล้วถูกจับได้...ถือ

    ว่า..ได้รับทุกข์ยากลำบาก...แต่เขาเลือกที่จะทิ้งธรรมโดยยอมผิดศิลข้อสอง."เว้นจากการ

    ลักทรัพย์" ซึ่งถือว่า"เป็นการกระทำชั่ว"...ในความเป็นจริง...หากเขาใช้ปัญญาขบคิด..ใน

    ทางที่ชอบคิดพิจารณาว่า "แท้จริงโลกใบนี้..ก็มีคนที่มีความเมตตากรุณาอยู่...แล้วเลือกที่

    จะค้นหาคนผู้นั้นด้วยปัญญาเพื่อขอความช่วยเหลือ...เขาอาจไม่ต้องทำบาปก็ได้"

    -พระอานนท์ได้แสดงถ้อยคำต่อมาว่า "มนุษย์ที่ยังมีอาสวะอยู่ในใจนั้น ย่อมจะมีวันพลั้ง

    เผลอประพฤติผิดธรรมไปบ้าง..เพราะสติไม่สมบูรณ์..แต่เมื่อได้สติในภายหลังแล้ว..ก็ควร

    ตั้งใจประพฤติธรรมสั่งสมความดีกันใหม่...ยิ่งพวกเรานักบวชด้วยแล้ว..จำเป็นต้องมี

    อุดมคติ..การตายด้วยอุดมคตินั้นมีค่ากว่าการเป็นอยู่โดยไร้อุดมคติ"

    -อธิบายได้ว่า...เป็นถ้อยคำที่ให้กำลังใจ..แก่คนทีประพฤติผิดธรรม..เนื่องด้วยทุกคนทีมี

    กิเลสย่อมต้องมีการขาดสติพลั้งเผลอประพฤติผิดด้วยอำนาจกิเลสไปบ้าง...แต่เมื่อได้สติ

    หลังจากกระทำผิดแล้ว...ควรตั้งใจประพฤติธรรมสั่งสมความดีกันใหม่...ด้วยเหตุที่ว่า..

    ความผิดพลาดเป็นเรื่องราวที่เป็นอดีตไปแล้วไม่ควรนำมาสะสมไว้ในจิต...ควรที่จะลืมและ

    ตั้งสติกระทำความดีในปัจจุบัน...ปัจจุบันเท่านั้นที่เราควรพิจารณาไม่ใช่นำอดีตมาทำลาย

    หนทางปัจจุบัน

    -"อุดมคติ" คือ สิ่งที่ระลึกในการดำเนินชีวิตหรือดำเนินเรื่องราวอันสูงสุด....ที่ท่านยกเรื่อง

    อุดมคติของนักบวชก็คือ..พึงตั้งมั่นระลึกถึงการประพฤติธรรม....โดยยอมตายเพื่อปฏิบัติ

    ธรรม..หรือตายในการปฏิบัติธรรม..ดีกว่า..อยู่อย่างไร้อุดมคติหรือไร้เสียซึ่งการปฏิบัติ

    ธรรม

    -พระอานนท์กล่าว่า.."ธรรมดาว่าไม้จันทน์นั้น..แม้จะแห้งก็ไม่ทิ้งกลิ่น....อัศวินก้าวลงสู่

    สงครามก็ไม่ทิ้งลีลา...อ้อยแม้เข้าสู่หีบยนต์แล้วก็ไม่ทิ้งรสหวาน..บัณฑิตแม้ประสบทุกข์ก็

    ไม่ทิ้งธรรม....พระศาสดาทรงย้ำว่า...พึงสละทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อรักษาธรรม"

    -เป็นข้อเปรียบเทียบธรรมชาติของแต่ละสิ่งที่ยกตัวอย่างมา"ธรรมชาติของมนุษย์ต้องคู่

    กับการประพฤติธรรม".....ธรรมชาติของอัศวินเมื่อก้าวสู่สงครามก็ไม่ทิ้ลีลา..อธิบายว่า..

    อัศวินนักรบเมื่อก้าวเข้าสู่การรบในสงคราม....แม้จะถูกลูกธนูยิงใส่จนได้รับบาดเจ็บสาหัส

    เจียนตาย..แต่ก็ไม่จะไม่ยอมร้องขอชีวิตหรือยอมแพ้ต่อศัตรู...แต่อัศวินจะทำการสู่รบจน

    ตัวตายมากกว่า...นี่คือลีลาในสงครามของอัศวิน.

    -ก็คงเปรียบให้เห็นกับมนุษย์แม้ประสบทุกข์ยากเพียงใดก็"อย่าทิ้งธรรม"เป็นคำสอนย้ำของ

    พระพุทธองค์ที่ผู้เขียนได้แสดงย้ำให้พวกเราเห็นครับ.
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 มีนาคม 2011
  11. สวนพลู

    สวนพลู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    6,596
    ค่าพลัง:
    +18,651
    โพสไม่ค่อยผ่านเลยครับพี่ชาย นั่งโพสตั้งนานแล้ว F5 ตลอดเลย
     
  12. อุตฺตโม

    อุตฺตโม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    1,688
    ค่าพลัง:
    +1,931
    เหมือนกันเลย"น้องชาย" ,"พี่ชาย" โพสได้......จะเข้าไปที่กระทู้ของ"น้องชาย"ก็F5ครับ.
     
  13. สวนพลู

    สวนพลู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    6,596
    ค่าพลัง:
    +18,651
    ผมเซ็ง F5 มากมายครับพี่ชาย จะโพสที ต้องรอตีหนึ่ง ง่วงก็ง่วง

    รบกวนเวปมาสเตอร์ มีแนวทางแก้ไขอย่างไรบ้างครับ หรือว่า server ไม่พอ ชมาชิกเยอะขึ้น ก็เลยไม่พอ อืม,,,,

    เป็นมาหลายเดือนอยู่น่ะครับ ทอดผ้าป่าซักทีดีไหมเอ่ย จะได้ร่วมกันครับ
     
  14. เตหิณรัตน์

    เตหิณรัตน์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    54
    ค่าพลัง:
    +476
    แก้ให้เข้าใจถูกต้องกันนะครับ

    -พระพุทธโคดมของพวกเรา มีกำลังญาณแผ่กว้างไกลทรงหยั่งรู้เรื่องราวในอดีตชาติของพระองค์และสัตว์โลกมาก อีกทั้งเรื่องของอนาคต แต่ก็มีขอบเขตกำลังญาณเป็นจำกัด เรื่องที่แจ่มชัดพระองค์ก็สามารถแจงได้โดยละเอียด แต่ถ้าเลือนลางก็ไม่สามารถบอกได้

    จาก ข้อความด้านบนตัวหนังสือสีแดงนะครับ
    พระพุทธเจ้าทรงเป็น"สัพพัญญู"ครับ คือเป็นผู้รู้ทุกสิ่งทุกอย่างครับ ไม่มีเรื่องใดๆ ที่ไม่ทรงรู้หรือไม่ทรงทราบครับ และไม่มีเรื่องใดๆ ที่ทรงรู้ทรงทราบแค่ครึ่งๆกลางๆ หรือเลือนลางนะครับ
    ท่านทรงรู้แจ้งแทงตลอดใน 3 โลกแล้วครับ ยกตัวอย่างนะครับ สมมุติว่า เอานักวิทยาศาตร์ที่ทรงภูมิในฟิสิกต์ในแขนงต่างๆมารวมตัวกันทั่งโลก ยังไม่พอนะแถมให้อีก! และให้มนุษย์ต่างดาวที่ทรงภูมิปัญญายิ่งกว่านักฟิกสิกต์ในโลกของเรา มารวมตัวกันทั่วทั่งจักรวาลนะ
    สรุปนะ ไม่ว่านักฟิสิกต์ทั้งหลาย หรือมนุษย์ต่างดาวที่ทรงภูมิปัญญายิ่ง และเอาปัญญามารวมกัน ก็ไม่อาจได้แค่เสี้ยวในล้านส่วนที่พระพุทธองค์ทรงทราบนะครับ

    ใบไม้ในกำมือ
    สีสปาสูตร
    เปรียบสิ่งที่ตรัสรู้มีมากเหมือนใบไม้บนต้น
    เล่มที่ ๑๙
    [๑๗๑๒] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ สีสปาวัน ใกล้เมืองโกสัมพี ครั้งนั้นพระผู้มีพระภาคทรงถือใบประดู่ลาย ๒-๓ ใบด้วยฝ่าพระหัตถ์ แล้วตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมา แล้วตรัสถามว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ใบประดู่ลาย ๒-๓ ใบที่เราถือด้วยฝ่ามือกับใบที่บนต้น ไหนจะมากกว่ากัน?
    ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ใบประดู่ลาย ๒-๓ ใบ ที่พระผู้มีพระภาคทรงถือด้วยฝ่าพระหัตถ์มีประมาณน้อย ที่บนต้นมากกว่า พระเจ้าข้า.
    พ. อย่างนั้นเหมือนกัน ภิกษุทั้งหลาย สิ่งที่เรารู้แล้วมิได้บอกเธอทั้งหลายมีมาก ก็เพราะเหตุไรเราจึงไม่บอก เพราะสิ่งนั้นไม่ประกอบด้วยประโยชน์ มิใช่พรหมจรรย์เบื้องต้น ย่อมไม่เป็นไปเพื่อความหน่าย ความคลายกำหนัด ความดับ ความสงบ ความรู้ยิ่ง ความตรัสรู้ นิพพาน เพราะเหตุนั้น เราจึงไม่บอก.
    [๑๗๑๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งอะไรเราได้บอกแล้ว
    เราได้บอกแล้วว่า นี้ทุกข์ ... นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา
    ก็เพราะเหตุไรเราจึงบอก เพราะสิ่งนั้นประกอบด้วยประโยชน์ เป็นพรหมจรรย์เบื้องต้น ย่อมเป็นไปเพื่อความหน่าย ... นิพพาน เพราะฉะนั้น เราจึงบอก
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงกระทำความเพียรเพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า
    นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.
    จบสูตรที่ ๑

    * สีสปาวัน ใกล้เมืองโกสัมพี เป็นป่าไม้ประดู่ลายป่าใหญ่เลยนะครับ และใบไม้ 2-3 ใบในกำมือของพระพุทธองค์นั้น ก็เทียบได้กับ 84,000 พระธรรมขันธ์ ส่วนใบประดู่ที่ไม่ได้อยู่ในกำมือ คือทั่งป่านั้นนะครับเปรียบเสมือนกับความรู้ทางโลกวิทยาการทั้งหมดมวลในจักวาลครับ

    เพราะพระพุทธเจ้าท่านทรงตรัสรู้ ญาณ 3 อย่างนี้ครับ

    ยามต้น : ทรงบรรลุ “ปุพเพนิวาสานุติญาณ” คือทรงระลึกชาติในอดีตทั้งของตนเองและผู้อื่น
    ยามสอง : ทรงบรรลุ “จุตูปปาตญาณ” คือการรู้แจ้งการเกิดและดับของสรรพสัตว์ทั้งหลาย
    ยามสาม : ทรงบรรลุ “อาสวักขยญาณ” คือ รู้วิธีกำจัดกิเลสด้วย อริยสัจ ๔ คือทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค

    * และ ญาณ 3 อย่างนี้ไม่มีในสัตว์โลกอื่นนะครับ แม้แต่ในพระปัจเจกพุทธเจ้า หรือ อรหันต์สาวกก็ไม่มี ญาณ 3 อย่างนี้ครับ ญาณ 3 อย่างนี้มีแต่บุคคลผู้ที่ได้สำเร็จเป็นพระพุทธเจ้าเท่านั้นครับ นี้เเหละครับ จึงทำให้พระพุทธเจ้าเป็น "สัพพัญญู" ครับ
     
  15. อุตฺตโม

    อุตฺตโม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    1,688
    ค่าพลัง:
    +1,931

    -ก่อนอื่นต้องขอขอบคุณเตหิณรัตน์เป็นอย่างสูง...สิ่งที่ท่านเห็นว่า"ตัวอักษรสี

    แดง" ไม่น่าจะถูกต้อง...ข้อนี้ผมคิดตั้งแต่ก่อนเขียนแล้วครับ...ว่าถ้าผู้อ่านเข้า

    ใจเกี่ยวกับญาณ 3 ที่ว่านั้นจำกัดในวงเพียง...1.ทรงระลึกชาติในอดีตของตน

    เองและผู้อื่น ...2.การรู้แจ้งการเกิดดับของสรรพสัตว์ทั้งหลาย...3.กำจัด

    กิเลสหรืออาสวักขยญาณ........หรืออภิญญาอีก 3 อย่าง...ต้องเข้าใจว่าผม

    เขียนไม่ถูกต้อง

    -แต่ผมเป็นคนตั้งมั่นอยู่ในหลักเหตุและผลอยู่แล้ว......การเขียนของผมก็

    ต้องมีเหตุผลว่า"ทำไมผมจึงเขียนเช่นนั้น"

    -ก่อนอื่นท่านต้องเข้าใจให้ได้ก่อนว่า"พระโคดมของเรามีกำลังญาณจำกัด"

    ท่านรู้ไม่หมดทุกเรื่องครับ...แต่ถ้าเป็นเรื่องเฉพาะที่ท่านยกมาทั้ง 3 อย่างใช่

    ครับ...และตัวอย่างที่เป็นธรรมที่อยู่บนโลกก็ใช่ครับ

    -แต่เหตุผลที่ผมเขียนมาในประโยคถ้อยคำสีแดงเป็นความรู้เรื่องของ "พระ

    พุทธเจ้าในอดีต" ซึ่งทรงตรัสยอมรับว่า "พระพุทธเจ้าในอดีตที่ทรงอุบัติขึ้น

    ก่อนเรามีจำนวนมากมายมหาศาลมากกว่าเมล็ดทรายในท้องพระมหาสมุทรทั้ง

    สี่จนเราไม่อาจคำนวณได้ว่ามีจำนวนเท่าใด" จึงเป็นที่มาของ"ถ้อยคำสีแดง"


    ที่ว่า"แต่ก็มีขอบเขตกำลังญาณเป็นจำกัด เรื่องที่แจ่มชัดพระองค์ก็สามารถแจก

    แจงได้"โดยละเอียด" แต่ถ้าเลือนลางก็ไม่สามารถบอกได้"

    -ซึ่งจะเห็นว่า"เป็นประโยคหรือถ้อยคำที่รับกับคำตรัสในเรื่องพระพุทธเจ้าใน

    อดีตครับ"
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 มีนาคม 2011
  16. อุตฺตโม

    อุตฺตโม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    1,688
    ค่าพลัง:
    +1,931
    สัมมนานิยายธรรมโกกิลาภิกษุณี บทที่ 5 (ต่อ 3)


    -พระอานนท์กล่าวแสดงธรรมแก่นางโกกิลาภิกษุณีว่า

    "โกกิลาเอย เธอได้สละเพศฆราวาสมาแล้ว ซึ่งเป็นการเสียสละที่ยิ่งใหญ่ยากที่ใคร ๆ จะ

    สละได้ ขอให้เธอเสียสละต่อไปเถิด และสละให้ลึกกว่านั้น คือไม่สละแต่เพียงเพศอย่าง

    เดียว แต่จงสละความรู้สึกอันจะเป็นข้าศึกต่อเพศเสียด้วย"

    -อธิบายคำว่า "จงสละความรู้สึกอันจะเป็นข้าศึกต่อเพศเสียด้วย" ...เพศในที่นี้หมายถึง

    นักบวช......ดังนั้นความรู้สึกที่เป็นข้าศึกหรือศัตรูต่อเพศนักบวช..ก็คือ..ความรักความใคร่

    กำหนัดหรือราคะ...คือสิ่งที่นักบวชควรสละครับ

    -เธอเคยฟังสุภาษิตอันกินใจมาแล้วมิใช่หรือ ในคนร้อยคนหาคนกล้าได้หนึ่งคน ในคน

    พันคนหาคนเป็นบัณฑิตได้หนึ่งคน ในคนแสนคนหาคนพูดจริงได้เพียงหนึ่งคน ส่วนคน

    ที่เสียสละได้ทุกสิ่งทุกอย่างนั้นไม่รู้จะมีหรือไม่ คือไม่ทราบจะคำนวณเอาจากคนจำนวน

    เท่าใดจึงจะเฟ้นได้หนึ่งคน"

    -ถ้อยคำดังกล่าวเป็นสุภาษิตที่ใช้เปรียบเทียบคำนวณเอาคนสำคัญแต่ละการกระทำมาจาก

    คนแต่ละกลุ่มตามการกระทำนั้น ๆ

    -"แต่ถ้อยคำสุดท้าย"ที่ว่า...ส่วนคนที่เสียสละได้ทุกสิ่งทุกอย่างนั้นไม่รู้ว่าจะมีหรือไม่..คือ

    ไม่ทราบจะคำนวณเอาจากคนจำนวนเท่าใดจึงจะเฟ้นได้หนึ่งคน" ....ซึ่งผมก็ขอเสริมต่อ

    ถ้อยคำนี้ให้สมบูรณ์ชัดเจนขึ้นว่า...ไม่รู้จะใช้เวลายาวนานเพียงใด...ที่จะหาคนเช่นนี้ได้...

    ซึ่งประโยคท้ายชี้ชัดมุ่งหมายในการประกอบการอธิบายถึงพระพุทธองค์ครับ

    -ซึ่งจะเห็นถ้อยคำหรือประโยคต่อมาว่า "สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเป็นนักเสียสละ

    ตัวอย่างของโลก เคยมีกษัตริย์องค์ใดบ้างทำได้เหมือนพระพุทธองค์ ยอมเสียสละความ

    สุขความเพลินใจทุกอย่างที่ชาวโลกปองหมายมาอยู่กลางดินกลางทราย ก็เพื่อทำ

    ประโยชน์อันยิ่งใหญ่แก่มนุษย์ชาติ......การเสียสละของพวกเราเมื่อนำไปเทียบกับการเสีย

    สละของพระบรมศาสดาแล้ว.ของเราช่างเล็กน้อยเสียนี่กระไร"

    -เป็นประโยคหรือถ้อยคำที่ชี้ให้เห็นถึง"พระเมตตาของพระองค์ท่านที่ยอมเสียสละทุกอย่าง

    เพื่อหาหนทางพ้นทุกข์ให้กับพวกเราชาวโลกครับ".
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • sue-93-budha-3.jpg
      sue-93-budha-3.jpg
      ขนาดไฟล์:
      17.2 KB
      เปิดดู:
      72
    • 5.jpg
      5.jpg
      ขนาดไฟล์:
      95.8 KB
      เปิดดู:
      96
    • 1.jpg
      1.jpg
      ขนาดไฟล์:
      85.3 KB
      เปิดดู:
      77
    • TopicPic-061029150606047.jpg
      TopicPic-061029150606047.jpg
      ขนาดไฟล์:
      23.8 KB
      เปิดดู:
      69
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 มีนาคม 2011
  17. อุตฺตโม

    อุตฺตโม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    1,688
    ค่าพลัง:
    +1,931
    สัมมนานิยายธรรมโกกิลาภิกษุณี บทที่ 5 (ต่อ 4)


    -ถ้อยคำที่เด่นที่พระอานนท์กล่าวแก่นางโกกิลาภิกษุณีที่น่าศึกษาอีกตอนหนึ่งซึ่งเป็นการ

    แสดงธรรมและอธิบายข้อธรรมไปในตัวด้วยซึ่งอยู่ในตอนที่ 14 ซึ่งผมพิจารณาแล้วผม

    แทบจะไม่ต้องอธิบายเพิ่มเติมครับ....มีดังนี้

    "น้องหญิง...พระศาสดาตรัสว่า..บุคคลอาจอาศัย..ตัณหาละตัณหาได้....อาจ

    อาศัย.......มานะละมานะได้....อาจอาศัย...อาหารละอาหารได้....แต่เมถุนธรรมนั้น..

    พระผู้มีพระภาคทรงสอนให้ชักสะพานเสีย...คือ..อย่าทอดสะพานเข้าไป...เพราะอาศัยละ

    ไม่ได้."

    -.........."ข้อว่า....อาศัยอาหารละอาหารนั้น...คือ..ละความพอใจในรสของอาหาร...

    จริงอยู่สัตว์โลกทั้งมวลดำรงชีพอยู่ได้..เพราะอาหาร.....ข้อนี้พระศาสดาก็ตรัสไว้....แต่

    มนุษย์และสัตว์เป็นอันมากติดข้องอยู่ในรสแห่งอาหาร...จนต้องกระเสือกกระสน...กระวน

    กระวายและต้องทำชั่วเพราะรสแห่งอาหารนั้น................ที่ว่าอาศัยอาหารละอาหาร

    นั้น.....คือ..อาศัยอาหารละความพอใจในรสแห่งอาหารนั้น......บริโภคเพียงเพื่อยังชีพให้

    ชีวิตนี้เป็นไปได้เท่านั้น........เหมือนคนเดินทางข้ามทะเลทราย...เสบียงอาหารหมด..

    และบังเอิญลูกน้อยตายลงเพราะหิวโหย...เขาจำใจต้องกินเนื้อบุตร...เพียงเพื่อให้ข้าม

    ทะเลทรายได้เท่านั้น...หาติดในรสแห่งเนื้อบุตรไม่.

    -..............."ข้อว่า...อาศัยตัณหาละตัณหานั้น...คือ...เมื่อทราบว่า...ภิกษุ ภิกษุณี

    อุบาสก อุบาสิกา ...ชื่อโน้นได้สำเร็จเป็นโสดาบัน สกิทาคา อนาคามี หรืออรหันต์...ก็มี

    ความทะยานอยากที่จะเป็นบ้าง....เมื่อพยายามจนได้เป็นแล้ว...ความทะยานอยากอัน

    นั้น..ก็หายไป...อย่างนี้เรียกว่า..อาศัยตัณหาละตัณหา"

    -.............."ข้อว่า..อาศัยมานะละมานะนั้น..คือ..เมื่อได้ยินได้ฟังภิกษุหรือภิกษุณี หรือ

    อุบาสก อุบาสิกา ...ชื่อโน้นได้สำเร็จเป็น..โสดาบัน เป็นต้น...ก็มีมานะขึ้นว่า...เขา

    สามารถทำได้...ทำไมเราซึ่งเป็นมนุษย์..และมีอวัยวะทุกส่วนเหมือนเขาจะทำไม่ได้

    บ้าง....จึงพยายามทำความเพียรเผากิเลส...จนได้บรรลุโสดาปัตติผลบ้าง...อรหัตผล

    บ้าง.....อย่างนี้เรียกว่า...อาศัยมานะละมานะ.......เพราะเมื่อบรรลุแล้ว...มานะนั้นย่อม

    ไม่มีอีก"

    -.........."ดูก่อนน้องหญิง....ส่วนเมถุนธรรมนั้น...ใคร ๆจะอาศัยละมิได้เลย.....นอก

    จากจะพิจารณาเห็นโทษของมันแล้ว...เลิกละเสีย...ห้ามใจมิให้เลื่อนไหลไปยินดีในกาม

    สุขเช่นนั้น.....น้องหญิง..พระศาสสดาตรัสว่า...กามคุณนั้น..เป็นของไม่เที่ยงไม่ยั่งยืน มี

    สุขน้อย แต่มีทุกข์มาก มีโทษมาก มีความคับแค้นเป็นมูล มีทุกข์เป็นผล"

    -ถ้อยคำในนิยายที่บรรยายประกอบไว้ที่ว่า.....อันความเสียใจและละอายนั้น...ถ้ามันแยก

    กันเกิดคนละครั้ง..ก็ดูเหมือนจะไม่รุนแรงเท่าใดนัก....แต่เมื่อใดทั้งความเสียใจและละอาย

    เกิดขึ้นพร้อม ๆ กัน และในกรณีเดียวกันด้วยแล้ว...ย่อมเป็นความทรมานสำหรับสตรีอย่าง

    ยวดยิ่ง.....นางเสียใจเหลือเกินที่ความรักของนางมิได้รับสนองเลยแม้แต่น้อย ...คำพูด

    ของพระอานนท์ล้วนแต่เป็นคำเสียดแทงใจ...สำหรับนางผู้ยังหวังความรักจากท่านอยู่....

    ยิ่งกว่านั้นพระอานนท์มิได้เชื่อในอาการลวงของนางเลย...นางจึงรู้สึกเหมือนถูกตบหน้า

    อย่างแรง...ละอายสุดที่จะประมาณได้...นางจึงไม่สามารถพูดคำใดได้เลย...นอกจาก

    ถอนสะอื้นอยู่ไปมา.

    -..........เป็นการบรรยายให้เห็นภาพของอารมณ์ที่เกิดขึ้นทั้งสองอย่างพร้อมกัน...เรื่องนี้

    แสดงว่าท่านอาจารย์วศินเป็นคนช่างคิดช่างสังเกต...แยกแยะอารมณ์และบรรยายความ

    แตกต่างของอารมณ์และการเกิดขึ้นของอารมณ์ในคราวเดียวกันได้ชัดเจนมากครับ.....

    (จบบทที่ 5..ครับ)
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 3.jpg
      3.jpg
      ขนาดไฟล์:
      105.5 KB
      เปิดดู:
      109
    • BuddhaImage1(2).jpg
      BuddhaImage1(2).jpg
      ขนาดไฟล์:
      100.2 KB
      เปิดดู:
      81
    • 19032010458.jpg
      19032010458.jpg
      ขนาดไฟล์:
      561.1 KB
      เปิดดู:
      87
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 มีนาคม 2011
  18. อุตฺตโม

    อุตฺตโม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    1,688
    ค่าพลัง:
    +1,931
    ตำนานมงคลสูตร กาลสมัยพระโคดมพุทธเจ้า

    -ผมขอแทรกเรื่องตำนานมงคลสูตรเพื่อให้ได้ศึกษากัน ก่อนที่จะเข้าเรื่องการอธิบายถ้อย

    คำที่แสดงธรรมในสัมนานิยายธรรมโกกิลาภิกษุณี บทที่ 6 ต่อไป ดังนี้ครับ

    -ในมงคลสูตรนี้ มีเนื้อความโดยย่อเริ่มต้นว่า

    -หมู่มนุษย์ ในชมพูทวีปมาประชุมกันที่ทวารเมืองโรงรับแขกและศาลาที่ชุมนุม เป็นต้น ได้

    จ้างคนที่มีความรู้มาเล่านิทานให้ฟัง....นิทานบางเรื่องเล่านานถึง 4 เดือนจึงจบ

    -วันหนึ่งชนในที่ประชุมนั้นได้ไตถามกันขึ้นถึง "ข้อมงคล" ว่า "สิ่งใดได้ชื่อว่าเป็นมงคล"

    -มีผู้ออกความเห็นว่า....รูปที่เห็นด้วยจักษุเป็นมงคลบ้าง.......เสียงที่ได้ยินด้วยโสตเป็น

    มงคลบ้าง.........สิ่งที่ได้สูบ ดม สัมผัส ถูกต้อง เป็นมงคลบ้าง

    -ความเห็นของที่ประชุมแยกเป็น 3 อย่าง ไม่ตกลงกัน ....ใครเห็นอย่างไรต่างก็ประพฤติ

    ไปตามความเห็นของตน.....และถือเอาเป็นข้อทุ่มเถียงคนอื่นจนโกลาหล

    -การสันนิษฐานถึงเหตุอันเป็นมงคลหาสิ้นสุดลงไม่....และต่างก็คิดค้นหาข้อมงคลนั้นอยู่

    -.....ครั้งนั้นฝ่ายพวกเทพารักษ์ได้ฟังมนุษย์คิดข้อมงคล....ก็ชวนกันคิดข้อมงคลบ้าง

    -ต่อมาเทพยดาและท้าวมหาพรหมอันเป็นมิตรของเทพารักษ์ได้ทราบเรื่องเข้า.....ก็คิดข้อ

    มงคลปัญหาต่อ ๆ กันไป

    -.......คิดหาข้อมงคลกันจนสิ้นเวลาถึง 12 ปี ก็ไม่มีผู้ใดจะชี้ขาดลงไปได้ว่า "สิ่งใดเป็น

    มงคลแน่"

    -......กาลนั้น..ท้าวสุทธาวาสมหาพรหมทั้งหลาย รู้ความประสงค์ด้วยข้อ

    ปัญหา"ข้อมงคล"ของมนุษย์ทั้งหลายแล้ว.......จึงได้ประกาศแก่หมู่มนุษย์ในชมพูทวีป

    ว่า....."จำเดิมแต่นี้ต่อไปอีก 12 ปี สมเด็จพระบรมครูจะได้โปรดประทานพระธรรมเทศนา

    ซึ่งข้อมงคลปัญหาทั้งหลายให้เราท่านทั้งปวงฟัง"

    -.....ครั้นกาลล่วงไปได้ 12 ปี ...พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้ในโลกแล้ว...หมู่เทวดาก็ได้ถามข้อ

    มงคลปัญหาแด่พระอินทร์...พระอินทร์จึงตรัสถามว่า "ข้อปัญหานี้เกิดขึ้น ณ ที่ใด"

    -...เทพยดาทูลว่า " เกิดขึ้นในโลกมนุษย์"

    -...พระอินทร์จึงมีบัญชาให้เทวดาองค์หนึ่ง...ลงไปบนโลกมนุษย์ทูลถามข้อมงคลปัญหา

    แด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า.....แล้วพระอินทร์และหมู่เทพยดาก็ตามลงมาฟังด้วยในกาลครั้ง

    นั้น

    -....หมู่อมรพรหมินทร์ใน 10,000 จักรวาลก็มาประชุมกันฟังวิสัชนา..ข้อมงคลปัญหาใน

    ครั้งนั้นด้วย

    -.......พระพุทธเจ้าได้ตรัสแก้"ข้อมงคลและทรงแสดงถึงอานิสงส์"

    โดยทรงแสดงมงคลข้อแรก...ด้วยมงคลคาถามีคำว่า "อเสวนา จ พาลานํ " เป็นต้น ....มี

    คำว่า " ตนฺเตสํ มงฺคลมุตฺตมํ " เป็นปริโยสาน....ซึ่งมงคลข้อแรกหมายถึง....การไม่คบคน

    พาล..เป็นมงคลอย่างยิ่ง...และแสดงข้อมงคลเป็นลำดับไป รวมเป็น 38 ประการ จึงเรียก

    รวมกันว่า "มงคล 38 ประการ หรือ มงคลสูตร" ....ซึ่งมีให้ศึกษากันในหนังสือหลาย

    เล่ม.....ในส่วนของวัดพระธรรมกาย...หลวงพ่อทัตตชีโว...เคยนำมาเทศน์สอนทั้ง 38

    ประการครับ.
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 2.jpg
      2.jpg
      ขนาดไฟล์:
      81.9 KB
      เปิดดู:
      100
    • 1328.jpg
      1328.jpg
      ขนาดไฟล์:
      28.4 KB
      เปิดดู:
      98
    • amitabha(2)(1).jpg
      amitabha(2)(1).jpg
      ขนาดไฟล์:
      70.9 KB
      เปิดดู:
      67
    • p01.jpg
      p01.jpg
      ขนาดไฟล์:
      47.8 KB
      เปิดดู:
      64
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 มีนาคม 2011
  19. สวนพลู

    สวนพลู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    6,596
    ค่าพลัง:
    +18,651
    มาตามอ่านครับพี่ชาย

    อย่าลืมส่งที่อยู่ให้ผมน่ะครับ
     
  20. อุตฺตโม

    อุตฺตโม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    1,688
    ค่าพลัง:
    +1,931
    สัมมนานิยายธรรมโกกิลาภิกษุณี บทที่ 6 (บทสุดท้าย)


    -ในบทนี้จะกล่าวรวมสองตอนรวมกัน คือ ตอนที่ 15 และ ตอนที่ 16 เนื้อเรื่องดำเนินไป

    ถึงตอนที่.....นางโกกิลาภิกษุณีรู้สึกเสียใจที่ความรักของนางไม่ได้รับตอบสนองและรู้สึก

    ละอายใจที่พระอานนท์ไม่ได้เชื่อในอาการลวงของนางเลย...นางจึงไม่สามารถจะเอ่ยคำ

    ใดออกมาได้นอกจากจะถอนสะอื้นอยู่ไปมา...พระอานนท์จึงบอกให้นางหยุดร้องไห้และ

    เอ่ยปลอบใจนาง...นางภิกษุณีจึงได้เอ่ยแก่พระอานนท์ทั้งน้ำตา..เล่าระบายความรู้สึกของ

    นาง..และเอ่ยถึงชาติตระกูลต่ำต้อยของนางที่ไม่เจียมตน..พร้อมทั้งเอ่ยขออภัยที่นางได้

    ล่วงเกินพระอานนท์...พระอานนท์จึงตรัสอธิบายให้นางฟัง..ถึงการที่ท่านไม่ได้คำนึงถึง

    ชาติตระกูล...แต่ที่ไม่ได้รักนางเพราะเห็นโทษของความรัก..และคำนึงถึงหน้าที่ของตนที่

    ต้องปฏิบัติในฐานะพระอุปัฏฐากพระพุทธเจ้า...และหน้าที่ในการกำจัดกิเลส......พระ

    อานนท์ให้โอวาทแก่นาง..และให้พระที่ติดตามท่านกลับไปก่อน...และพระอานนท์ได้นั่งที่

    ม้ายาวมีพนักที่ริมสระ...พร้อมนึกทบทวนเหตุการณ์..จนบางครั้งรู้สึกสงสารภิกษุณีโกกิลา

    อย่างจับใจ......พระอานนท์เดินทางกลับไปเฝ้าพระพุทธองค์และกราบทูลเรื่องราวให้ทรง

    ทราบ......พระพุทธองค์จึงตรัสแก่พระอานนท์ว่าจะต้องได้ตรัสรู้เป็นพระอรหันต์อย่างแน่

    นอน....พระอานนท์จึงได้มีใจแช่มชื่น.........เย็นวันนั้นพระพุทธองค์ได้แสดงธรรมให้แก่

    พุทธบริษัท ทรงแสดงถึงทางสายกลางอริยมรรคมีองค์ 8 พระธรรมเทศนาของพระ

    พุทธองค์เหมือนกับเจาะจงแสดงแก่โกกิลาภิกษุณี...นางส่งกระแสจิตไปตามพระธรรม

    เทศนา..และได้สำเร็จมรรคผลชั้นสูงสุด....เป็นพระอรหันต์.

    -ถ้อยคำของนางโกกิลาภิกษุณี...มีถ้อยคำที่แสดงแยกแยะเกี่ยวกับกรรมหรือการกระทำทั้ง

    สามไว้ โดยพิจารณาการกระทำของนางที่มีต่อพระอานนท์แยกแยะเพียงการกระทำ

    ทางมโนกรรมเท่านั้น....โดยนางกล่าวว่า

    ................."ข้าแต่ท่านผู้สืบอริยวงศ์ กายกรรม วจีกรรม ที่ข้าพเจ้าล่วงเกินท่านและ

    จะพึงขอโทษนั้นไม่มี ส่วนมโนกรรมนั้นมีอยู่ ข้าพเจ้ารักท่าน.และรักอย่างสุดหัวใจ

    ถ้าการที่ข้าพเจ้ารักท่านนั้นเป็นความผิด ขอท่านผู้ประเสริฐโปรดให้อภัยในความผิดพลาด

    อันนั้นด้วย"

    -...........อธิบายได้ว่า.....การตรึกนึกคิด..ต่อบุคคล..เป็นกรรมอย่างหนึ่ง....เป็นการ

    กระทำที่เกิดขึ้นภายในใจโดยมิได้แสดงออกมา...จะดีหรือร้ายก็อยู่ภายในใจที่ไม่มีใครล่วง

    รู้ได้..นอกเสียจากตัวของผู้นั้นเอง.......

    -ในกรณีที่นางผู้เป็นนักบวช....คิดต่อพระอานนท์ผู้เป็นอริยเจ้าขั้นพระโสดาบัน......แยก

    ได้เป็น 2 กรณี ซึ่งในนิยายไม่ได้แสดงไว้แต่คงให้พวกเราใช้ปัญญาขบคิดวินิจฉัยกันเอา

    เอง

    -......กรณีที่ 1 การที่นางโกกิลาภิกษุณี..รักพระอานนท์อย่างบริสุทธิ์ใจ...หรือรักอย่าง

    ศรัทธา..โดยไม่มีราคะความใคร่ปรารถนาครองคู่..นั้น...ไม่น่าจะเป็นกรรมที่เป็นความผิด..

    เพราะไม่มีอกุศลจิตเกิดขึ้น

    -......กรณีที่ 2 การที่นางโกกิลาภิกษุณี..รักพระอานนท์อย่างเสน่หาอาลัย ..โดยมีราคะ

    ใคร่กำหนัดประกอบนั้น...น่าจะเป็นความผิด..เพราะเป็นอกุศลจิตเกิดขึ้น

    -.......นางจึงกล่าวรวมโดยมีเงื่อนไขว่า "ถ้าการที่ข้าพเจ้ารักท่านนั้นเป็นความผิด...ขอ

    ท่านผู้ประเสริฐโปรดให้อภัยในความผิดพลาดอันนั้นด้วย"

    -แต่อย่างไรก็ตามในนิยายมิได้เอ่ยถึงเรื่องที่"พระอานนท์ให้อภัยต่อนางหรือไม่" แต่เห็น

    ได้จากพฤติการณ์ที่ท่านเอ่ยเสมือนตำหนิในความรักของนางดังนี้ครับ.....

    ............."ภคินีเอย อันธรรมดาว่าความรักนั้น มันเป็นธรรมชาติที่เร่าร้อนอยู่แล้ว...ถ้า

    ยิ่งมันเกิดขึ้น"ในฐานะที่ผิดที่ไม่เหมาะสม"เข้าอีก มันก็จะยิ่งเพิ่มความร้อนแรงมากขึ้น....

    การที่น้องหญิงจะรักอาตมา...หรืออาตมาจะรักเธออย่าง"เสน่หาอาลัย"..นั่นแลเรียกว่า...

    ความรักอันเกิดขึ้นในฐานะที่ผิดหรือไม่เหมาะสม......ขอให้เธอตัดความรักความอาลัยเสีย

    เถิด...แล้วเธอจะพบความสุข...ความปลอดโปร่งอีกแบบหนึ่งซึ่งสูงกว่า..ปราณีตกว่า"

    -จากถ้อยคำของพระอานนท์..แสดงให้เห็นว่า...."ความรักอย่างเสน่หาอาลัย"หรือ....

    กรณีที่ 2 นั้นคือ..."ความผิด"......แต่จากพฤติการณ์ของพระอานนท์ท่านมิได้ถือโทษ...

    นางโกกิลาภิกษุณีครับ.
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 มีนาคม 2011

แชร์หน้านี้

Loading...