ความหมายของ "กสิณ" และการฝึกกสิณ โดย หลวงพี่เล็ก

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย Phanudet, 1 มีนาคม 2011.

  1. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,647
    [​IMG]



    ถาม : วันก่อนที่ถามเรื่องการทำกสิณ จดไม่ทันค่ะ กลับไปที่บ้านแล้วอ่านก็ไม่ค่อยรู้เรื่อง รบกวนด้วย ?

    ตอบ : กสิณ แปลว่า การเพียรเพ่งอยู่เฉพาะหน้า กสิณมีทั้งหมด ๑๐ กองด้วยกันแบ่งเป็นธาตุกสิณ ๔ คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ เป็นวรรณะกสิณ ๔ ก็คือ สีขาว สีแดง สีเหลือง สีเขียว แล้วก็มีอีก ๒ อย่างเป็น อากาศกสิณกับอาโลกกสิณ คือ กสิณของความว่างกับกสิณแสงสว่าง เราจับอันใดอันหนึ่งขึ้นมาก่อน โดยตั้งวัตถุนั้นอยู่ตรงหน้าเรียกว่า ดวงกสิณ

    อย่างเช่นถ้าหากว่าจะทำปฐวีกสิณ ก็ต้องกำหนดต้องทำดวงกสิณขึ้นมาก่อนเพื่อที่เราจะได้มองได้ เพ่งได้ กำหนดใจได้ การทำดวงกสิณในสมัยโบราณท่านใช้ผ้าสะดึง ก็คือว่าขึงผ้าให้ตึง เสร็จแล้วดวงกสิณของท่านก็จะเอาดินซึ่งสมัยก่อนเขาใช้ดินขุยปู ซึ่งเขาเรียกดินสีอรุณ คือค่อนข้างจะออกไปทางสีส้มอ่อน เอามาละเลงเป็นวงกว้างประมาณ ๒ คืบ ๔ นิ้วเบ้อเร่อเลย แต่ว่าของเราเองไม่จำเป็นต้องทำให้ลำบากขนาดนั้น ถ้าเราหากดินสีอรุณได้ เอามาปั้นเป็นก้อนกลมขนาดพอเหมาะพอใจของเราก็ได้ ตั้งดวงกสิณนั้นเอาไว้ในภาชนะหรือว่าสถานที่ๆ เรานั่งตัวตรงแล้วมองได้สบายๆ อยู่ในระยะไม่ใกล้ไม่ไกลจนเกินไป ตั้งใจลืมตามองภาพกสิณนั้นแล้วหลับตาลงนึกถึงภาพ ไม่ใช่ไปนั่งจ้องภาพกสิณนั้นตลอด มองแล้วก็หลับตาลง มันจะจำได้อยู่ครู่หนึ่งพร้อมกับคำภาวนา

    ถ้าหากว่าเป็นปฐวีกสิณ ก็ปฐวีกสิณัง ปฐวีกสิณัง ปฐวีกสิณัง ควบกับลมหายใจเข้าออก ว่าอย่างนี้ไปเรื่อย พอภาพมันเลือนหายไปก็ลืมตามองใหม่ กำหนดจำพร้อมกับคำภาวนา หายไปก็ลืมตามองใหม่ ทำอย่างนี้เป็นหมื่นเป็นแสนครั้ง ภาพนั้นก็เริ่มที่เราจะจำได้ยาวนานขึ้น ลืมตาก็นึกออก หลับตาก็นึกได้

    ถึงขั้นตอนนี้แล้วจะสำคัญมากอยู่ที่ว่าเราเองต้องประคับประคองเอาไว้ เผลอสติเมื่อไหร่ภาพนั้นจะหายไป ถ้าเราสามารถประคับประคองได้ตลอดเวลาไม่ว่าไปทำอะไรแบ่งความรู้สึกส่วนหนึ่งนึกไว้ตลอด ความรู้สึกส่วนนี้อาจจะเป็น ๒๐ หรือว่า ๓๐% ส่วนอีก ๗๐-๘๐% นั้นบังคับร่างกายเราให้ทำหน้าที่เป็นปกติของเราไป

    เมื่อนึกถึงอย่างนี้อยู่ตลอดเวลาภาพนั้นก็จะเปลี่ยนจากสีปกติก็จะค่อยๆ จางลงเรื่อยๆ จนกระทั่งกลายเป็นสีเหลืองอ่อน จนกระทั่งกลายเป็สีขาว กลายเป็นสีแก้วกลายเป็นแก้วใส จนกระทั่งกลายเป็นแก้วใสสว่างจ้า ถ้าหากว่าถึงจนเป็นแก้วใสสว่างเจิดจ้าแล้วเราลองอธิษฐานดูว่าให้ภาพนั้นขยายใหญ่ได้มั้ย ? ให้เล็กลงได้มั้ย ? ให้หายไปได้มั้ย ? ให้กลับคืนมาใหม่ได้มั้ย ? ถ้าสามารถทำตรงนี้ได้คล่องตัวก็แปลว่า เราเริ่มอธิษฐานใช้ผลของกสิณได้แล้ว ก็ซ้อมการใช้ผลของกสิณให้ชิน เป็นต้นถ้าใช้ผลของปฐวีกสิณก็ใช้ผลทำให้ของอ่อนให้แข็ง เช่น น้ำให้ตั้งใจอธิษฐานเช่นว่า เอาน้ำมาแก้วหนึ่งให้อธิษฐานว่า น้ำแก้วนี้ให้แข็งเหมือนกับดิน เสร็จแล้วก็ให้ตั้งใจเข้าฌาน ๔ พอคลายออกจากฌาน ๔ ออกมาอธิษฐานอีกครั้งหนึ่งว่า ให้น้ำแก้วนี้แข็งเหมือนกับดิน เข้าฌานแล้วพอคลายออกมาคราวนี้มันจะแข็งไปเลย

    เมื่อทดสอบอย่างนี้แล้วก็ให้ทดสอบกับของที่ใหญ่ขึ้นเพื่อความคล่องตัว พอทำจนกระทั่งคล่องตัวแล้วสามารถที่จะใช้ผลของกสิณเมื่อไหร่ก็ได้ อย่างเ่ช่นเราจะเดินขึ้นบนอากาศเหมือนยังกับมีบันไดก็ได้ อธิษฐานว่าให้อากาศทุกจุดที่เท้าของเราเหยียบนี้จงมีความแน่นหนาเหมือนกับพื้นดินแล้วเราก็ก้าวเดินไป หรือว่าเดินข้ามน้ำก็อธิษฐานว่าขอให้น้ำที่เท้าเราเหยียบมีความแข็งเหมือนดินแล้วก็ก้าวเดินไป พอมันชำนาญแล้วเราค่อยย้ายไปกองอื่น กองแรกจะเป็นสิ่งที่ทำได้ยากที่สุด โดยเฉพาะตอนรักษาอารมณ์ของมันเอาไว้ประคับประคองไม่ให้ภาพมันหาย อยากจะเปรียบว่าเหมือนกับเลี้ยงลูกแก้วไว้บนปลายเข็ม พลาดเมื่อไหร่ตกแตกเมื่อนั้นก็ต้องเริ่มต้นนับ ๑ กันใหม่

    คราวนี้พอได้กองแรกแล้วกองอื่นสบายมาก เพราะว่าอารมณ์ใจคล้ายๆ กันหมด ใช้กำลังเท่ากันหมด แล้วทุกอย่างก็ต้องกำหนดภาพกสิณขึ้นมาเหมือนกัน สมัยที่ซ้อมทำอยู่ถ้าเป็นกสิณสีจะเอาสีมาพ่นใส่กระดาษ อย่างสีเขียว สีเหลือง สีแดง สีขาว พอพ่นเสร็จก็เอาจานคว่ำ มีดโกนกรีดเข้ากลมป๋องเลย แล้วก็แปะข้างฝา แปะหลังคามุ้ง ข้างๆ มุ้ง พูดง่ายๆ ว่า หันไปข้างไหนก็ต้องเห็น จนกระทั่งพี่ๆ น้องๆ เขาว่าเป็นบ้าไปแล้ว ก็ทำดวงกสิณของเราไว้ จะฝึกอันไหนก็ทำอันนั้น มันยากอันแรกแล้วหลังจากนั้นก็ง่าย ถ้ากสิณ ๑๐ คล่องตัวนี่จะทำอะไรพิลึกพิลั่นพิสดารได้เยอะต่อเยอะด้วยกัน

    ถาม : ขอถามเรื่องการทำสมาธิของตัวเองค่ะ คือเวลาทำไปแล้วนี่กายของตัวเองอยากจะเข้าไปหา..........พอเปลี่ยนกายตัวเองนี่สภาพกายที่เปลี่ยนนี่มีการขยายขนาด ลักษณะกายขยายขนาดเปลี่ยนจากคนกลายเป็นองค์พระเป็น..........(ไม่ชัด)........แล้วก็มีการแยกออก..........(ไม่ชัด).......ได้ก็เลยสงสัยว่าเป็นอะไรคะ ?

    ตอบ : ถ้าหากว่าลักษณะนั้นก็แสดงว่าเราเคยฝึกกสิณมาเหมือนกัน ลักษณะเดียวกันอาทิสมานกาย คือกายในของเรา มันจะเต็มบุญเต็มบารมี เต็มกำลังใจหรือกำลังความดีที่เราทำได้ตอนช่วงนั้น ส่วนใหญ่ถ้าเราสามารถรู้เห็นอาทิสมานกายตัวเองได้ก็คือเราต้องเป็นผู้ทรงฌาน กายในจะเหมือนกับกายพรหม ถ้าเราทรงความดีมากขึ้นเท่าไหร่กายในก็จะสว่างมากขึ้นเท่านั้น

    ดังนั้นที่ว่าเวลากายในของเราเปลี่ยนเหมือนกับองค์พระแต่งองค์ทรงเครื่องอาจจะเหมือนกับพระแก้วทรงเครื่องก็ได้ ไม่ใช่เรื่องแปลกเลย แล้วตรงจุดนี้นี่แหละจะเป็นจุดที่วัดได้ง่ายที่สุดเลยว่าตอนนั้นความดีของเราั้นั้นก้าวหน้าขึ้นหรือว่าเลวลง ถ้าก้าวหน้าขึ้นกายในก็จะสว่างสดใสขึ้น เครื่องประดับก็จะแพรวพราวมากขึ้น แต่ถ้าหากว่าถอยหลังบางทีมันก็มืดก็มัวก็ดำหรือไม่ก็เปลี่ยนสภาพไปเลย

    ถาม : อย่างนี้เราก็สามารถดูได้ซิคะ ?

    ตอบ : สามารถดูได้ สภาพของมันจะเป็นไปตามบุญตามบารมีที่เราทำได้ในช่วงนั้นเนื่องจากว่า เรายังเป็นโลกียบุคคลอยู่ มันก็มีขึ้นมีลง

    ถาม : ก็เลยงงว่ามันเกิดอะไรขึ้น ?

    ตอบ : ไม่ได้เกิดอะไรขึ้นหรอกจ้า เป็นไปตามเฉพาะหน้าเหมือนกับเครื่องวัดอุณหภูมิ ขึ้นๆ ลงๆ ตามอากาศ




    สนทนากับพระเล็ก สุธมฺมปญฺโญ
    เดือนกันยายน ๒๕๔๔
    ณ บ้านอนุสาวรีย์ฯ

    ที่มา http://palungjit.org/threads/ความหมายของ-กสิณ-และการฝึกกสิณ.134262/
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 มีนาคม 2011

แชร์หน้านี้

Loading...