จิตนิ่งแล้ว ยกอะไรไปวิปัสสนา ??

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย Mr.Boy_jakkrit, 13 มกราคม 2011.

  1. albertalos

    albertalos เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2006
    โพสต์:
    2,462
    ค่าพลัง:
    +1,137
    ฟังแล้ว oop !! ดีนะคับ
    ไม่ทะยานอยาก
    ไม่ยึดติด
    เป็นสุขแน่ๆเลย
     
  2. ผู้มีสติ1

    ผู้มีสติ1 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    750
    ค่าพลัง:
    +3,637
    จิตนิ่งแล้วยกอะไรขึ้น? มาวิปัสสนา

    ผมคิดว่าแล้วแต่จริต แล้วแต่นิสัยของแต่ละคนไป มีความชอบ ความพอใจ

    ในการพิจรณาธรรม แตกต่างกันออกไป

    บางคนอดีตเคยเจริญ โครงกระดูก พอจิตสงบปรับ ของเก่าก็มาเตือน

    ก็พิจรณาต่อเลย มีความก้าวหน้าไปได้ดี
    บางท่านชอบพิจรณาความตาย บางท่านชอบพิจรณาอสุภะ
    บางท่านชอบพิจรณาอริยสัจจะสี่แบบนี้เป็นต้น
    บางครั้งเราใช้อารมณ์วิปัสสนา อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เราว่าเราทำได้ดี
    ก็ลองเอาไปแนะนำไห้เพื่อนลองดูบ้าง แต่พื่อนกลับทำแล้วไม่ก้าวหน้า ไม่มีผล
    แสดงว่า เขาอาจจะ มีฉันทะ หรือความพอใจในธรรม ในหัวข้อธรรมะอื่นๆ อรรถธรรมอื่นๆ ก็เป็นไปได้
    บางที ทุกวันเราเจริญอสุภะกรรมฐานได้ดี แต่พอจิตสงบ เรายกเอาธรรมข้อนี้ขึ้นมาพิจรณาใช้อารมณ์วิปัสสนา
    กลับมีอาการรู้สึกตื้อๆ วิปัสสนาไม่แตกฉาน ไม่ก้าวหน้า ก้ต้องลองเปลี่ยนดูบ้าง
    อนุโมทนาครับ..
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 15 มกราคม 2011
  3. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,760
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    สัมมาสมาธิ มีอริยมรรคอีกเจ็ดเป็นองค์ประกอบ เป็นสมาธิที่เป็นปัจจุบัน มักจะเจริญควบคู่ไปด้วยสติและปัญญา
    แต่ถ้าสมถะวิปัสสนา การเจริญสมาธิเพื่อพิจารณาธรรม จิตนิ่งแล้วค่อยพิจารณานั้นมันก็อาจจะเป็นจริตของผู้ที่ชอบเจริญสมาธิเป็นบาทค่ะ

    อายตนะภายในภายนอก สังโยชน์ เกิดดับ




    <TABLE class="sites-layout-name-one-column sites-layout-hbox" cellSpacing=0 xmlns="http://www.w3.org/1999/xhtml"><TBODY><TR><TD class="sites-layout-tile sites-tile-name-content-1">อายตนะภายในภายนอกสังโยชน์ เกิดดับ


    �����


    สมเด็จพระญาณสังวร

    สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

    วัดบวรนิเวศวิหาร

    คัดจากเทปธรรมอบรมจิต ข้อความขาดไปเล็กน้อย


    อณิศร โพธิทองคำ บรรณาธิการ


    ]

    บัดนี้ จักแสดงธรรมะเป็นเครื่องอบรมในการปฏิบัติอบรมจิต ในเบื้องต้นก็ขอให้ทุกๆ ท่านตั้งใจนอบน้อมนมัสการ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตั้งใจถึงพระองค์พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ ตั้งใจสำรวมกายวาจาใจให้เป็นศีล ทำสมาธิในการฟัง เพื่อให้ได้ปัญญาในธรรม
    พระบรมศาสดาได้ตรัสสอนให้ตั้งสติพิจารณาขันธ์ ๕ จากนั้นก็ตรัสสอนให้พิจารณาอายตนะภายใน ๖ ภายนอก ๖ ซึ่งประจวบกัน การพิจารณาอายตนะนี้เป็นวิธีตั้งสติอย่างดียิ่ง และเป็นการตั้งสติจับปัจจุบันธรรม ธรรมะที่เป็นปัจจุบัน อันมีอยู่เป็นไปอยู่ที่ตนเอง
    และอายตนะนี้ย่อมเป็นที่ตั้งต้นของขันธ์ ซึ่งเป็นปัจจุบันธรรม และเป็นที่อาศัยเกิดแห่งอกุศลธรรม และกุศลธรรมทั้งหลาย อีกด้วย เพราะฉะนั้น จึงเป็นเรื่องสำคัญที่.อาศัยอายตนะ ตลอดจนถึงกุศลธรรม หรืออกุศลธรรมทั้งหลาย ที่อาศัยอายตนะบังเกิดขึ้นด้วย
    อันอายตนะนั้นท่านแปลว่าที่ต่อ แบ่งเป็นอายตนะภายใน ๖ ภายนอก ๖ คู่กัน อายตนะภายในก็คือว่า จักขุหรือจักษุตา โสตะ หู ฆานะ จมูก ชิวหา ลิ้น กายะ ก็คือกาย และมโนหรือมนะ ก็คือใจ ส่วนภายนอกก็ได้แก่รูป ซึ่งเราก็ใช้เรียกว่ารูป สัทธะ คือเสียง คันธะ คือกลิ่น รสะ คือรส โผฏฐัพพะ คือสิ่งที่ถูกต้อง และธรรมะในที่นี้คือเรื่องราว ตากับรูปนั้นก็คู่กันต่อกัน หูกับเสียงนั้นก็คู่กันต่อกัน จมูกกับกลิ่น ลิ้นกับรส กายและโผฏฐัพพะสิ่งถูกต้อง และมโนหรือมนะ คือใจกับธรรมะคือเรื่องราว ก็คู่กันต่อกัน เพราะเหตุที่ทั้ง ๒ ที่เป็นคู่กันต่างต่อกัน จึงเรียกว่าอายตนะ

    สังโยชน์คือความผูก

    และในข้อที่ว่าด้วยอายตนะนี้ พระบรมศาสดาได้ตรัสสอนให้พิจารณา รวมความเข้าว่า ให้ตั้งสติกำหนดให้รู้จักตา ให้รู้จักรูป และให้รู้จักว่าตาและรูป อาศัยตาและรูปสังโยชน์คือความผูกแห่งใจย่อมเกิดขึ้น อาศัยหูกับเสียง อาศัยจมูกกับกลิ่น อาศัยลิ้นกับรส อาศัยกายและโผฏฐัพพะสิ่งถูกต้อง อาศัยมโนคือใจและธรรมะคือเรื่องราว สังโยชน์คือความผูกแห่งใจก็เกิดขึ้น สังโยชน์จะเกิดขึ้นด้วยประการใด ก็ให้รู้ประการนั้น สัญโญน์จะละเสียได้ด้วยประการใด ก็ให้รู้ประการนั้น สังโยชน์ที่ละแล้วจะไม่เกิดขึ้นได้ด้วยประการใด ก็ให้รู้ประการนั้น ตรัสสอนให้ตั้งสติกำหนดให้รู้ดั่งนี้
    ในทางปฏิบัตินั้น ก็ให้ตั้งสติอยู่ที่จิตนี้เอง อีกโวหารหนึ่งให้ตั้งสติรักษาอยู่ที่ทวารทั้ง ๖ ทวารก็แปลว่าประตู ทวารทั้ง ๖ ในที่นี้ก็หมายถึงจักขุทวารประตูตา อันเป็นที่เข้ามาของอารมณ์คือรูป โสตะ ทวารประตูหูอันเป็นที่เข้ามาของเสียง ของอารมณ์คือเสียง ฆานะ ทวารประตูจมูกอันเป็นที่เข้ามาของอารมณ์คือกลิ่น
    ชิวหาทวารประตูลิ้นอันเป็นที่เข้ามาของอารมณ์คือรส กายทวารประตูกายอันเป็นที่เข้ามาของอารมณ์คือโผฏฐัพพะสิ่งถูกต้อง มโนทวารประตูใจอันเป็นที่เข้ามาของอารมณ์คือธรรมะอันได้แก่เรื่องราว ให้มีสติเหมือนอย่างนายทวารบาญคือคนรักษาประตูบ้านประตูเมืองเป็นต้น และเมื่อกล่าวโดยตรงแล้วก็คือมีสติรักษาอยู่ที่จิตนี้เอง และเมื่อมีสติรักษาอยู่ที่จิตก็เป็นอันว่ามีสติรักษาอยู่ที่ทวารทั้ง ๖ นั้นด้วย ทวารทั้ง ๖ อันเป็นที่เข้ามาของอารมณ์ทั้ง ๖ นั้น ก็คือเข้ามาสู่จิต หรืออีกโวหารหนึ่งก็คือว่าจิตออกรับอารมณ์ทั้ง ๖ ทางทวารทั้ง ๖ นั้น
    เพราะฉะนั้น ในการปฏิบัติก็ให้หัดตั้งสติกำหนดอยู่ทุกขณะ ที่ตากับรูปประจวบกัน หูกับเสียงประจวบกัน เป็นต้น ตลอดจนถึงมโนคือใจกับธรรมะคือเรื่องราวประจวบกัน พูดง่ายๆ ก็คือว่ามีสติกำหนดอยู่ทุกขณะที่เห็นอะไร ได้ยินอะไร ได้ทราบอะไร ได้คิดได้รู้อะไร โดยกำหนดจำแนกให้รู้จักว่าที่เห็นนั้นก็คือตากับรูป ที่ได้ยินนั้นก็คือเสียงกับหู ที่ได้ทราบนั้นก็คือกลิ่นกับจมูก ลิ้นกับรส สิ่งถูกต้องกับกาย และเรื่องราวกับใจ กำหนดจำแนกให้รู้จักดั่งนี้
    และเมื่อเกิดสังโยชน์คือความผูกแห่งจิต อันหมายความว่าเกิดความยินดีขึ้นในรูปในเสียงนั้นก็ดี เกิดความยินร้ายไม่ชอบใจในรูปเสียงเป็นต้นนั้นก็ดี หรือว่าเกิดความหลงใหลในรูปเสียงเป็นต้นนั้นก็ดี ก็ให้รู้จักว่านี้คือสังโยชน์คือความผูก อันหมายความว่าจิตนี้ผูกพัน หรือว่ารูปเสียงเป็นต้นนั้นยังผูกพันอยู่ในจิต จึงปรากฏเป็นยินดีชอบใจ หรือยินร้ายไม่ชอบใจ หรือว่าหลงใหลสยบติดอยู่ ในรูปเสียงเป็นต้นเหล่านั้น ก็กำหนดดูให้รู้จักว่านี่เป็นตัวสังโยชน์คือความผูก เพราะจิตมีสังโยชน์คือความผูกพันอยู่นี้เอง จึงยินดีชอบใจ หรือยินร้ายไม่ชอบใจ หรือว่าหลงใหลสยบติดในรูปเสียงเป็นต้น ที่เห็นที่ได้ยินเป็นต้นทั้งหมดนั้น
    กำหนดดูให้รู้จักดั่งนี้ว่านี่คือตัวสังโยชน์คือความผูก จิตผูกแล้ว สิ่งนั้นๆ ผูกพันอยู่ในจิตแล้ว หรือว่าจิตผูกพันอยู่ในสิ่งนั้นแล้ว เพราะฉะนั้นก็ตั้งสติกำหนดให้รู้จักดั่งนี้

    ความไม่รู้เกิดดับ

    และก็กำหนดให้รู้จักต่อไปว่าที่ผูกพันนั้นเพราะอะไร ก็เพราะว่าไม่รู้ตามเป็นจริง ไม่รู้ตามเป็นจริงว่าอย่างไร ไม่รู้ตามเป็นจริงว่าสิ่งเหล่านั้นเกิดดับไปแล้วคือผ่านไปแล้ว ที่ว่าผ่านไปแล้วนั้นคือว่าประสบแล้วก็ผ่าน ประสบก็เป็นเกิดผ่านก็เป็นดับ เหมือนอย่างเมื่อตากับรูปประจวบกัน คือเห็นอะไร ขณะที่ประสบกันนั้นก็เป็นเกิด แล้วก็ผ่าน เพราะว่าการเห็นนั้นเกิดขึ้นและก็ดับผ่านไปทันที จึงได้ประจวบกันเข้าใหม่ ก็เป็นการเห็นใหม่ การเห็นใหม่นั้นก็เกิดดับ จึงมีการเห็นใหม่ต่อไปอีก เพราะว่าอันสิ่งที่เห็นนั้นอยู่ภายนอก รูปที่เห็นก็อยู่ภายนอก ที่เป็นรูปจริงๆ ตาที่เห็นที่เป็นตาเนื้อถึงจะอยู่ในตัวเอง แต่ก็ชื่อว่าภายนอกอีกเหมือนกัน เพราะว่าการเห็นนั้นเห็นที่ตาเนื้อ
    คราวนี้ส่วนที่เข้าไปตั้งในจิตนั้น รูปที่เห็นไม่ได้เข้าไปตั้งในจิต สิ่งที่เข้าไปตั้งในจิตนั้นก็คือว่าอารมณ์คือเรื่อง เรื่องของรูปนั้นเข้าไปตั้งอยู่ในจิต ซึ่งอารมณ์คือเรื่องนั้นไม่มีตัวไม่มีตนอะไร เป็นเรื่อง ส่วนที่เป็นรูปร่างที่เรียกว่าตัวตนนั้นตั้งอยู่ในภายนอก เห็นใคร คนที่เห็นนั้นเขาก็ยืนอยู่ข้างนอก ต้นไม้ที่เห็นนั้นก็อยู่ข้างนอก บ้านเรือนที่เห็นนั้นก็อยู่ข้างนอกทุกอย่าง ส่วนที่เข้าไปตั้งอยู่ในใจนั้นเป็นอารมณ์คือเรื่องเท่านั้น แล้วก็เป็นเรื่องของสิ่งที่เห็นไปแล้ว เพราะสิ่งที่เห็นทุกๆ คราวที่เห็นนั้น ก็ผ่านไป ผ่านไป ผ่านไป ดังที่ปรากฏแก่ทุกๆ คน ตากับรูปที่มาประจวบกันชั่วนาทีหนึ่ง ก็ไม่รู้ว่ากี่สิบกี่ร้อยรูป กี่สิบกี่ร้อยครั้ง แต่คราวนี้อารมณ์คือเรื่องของรูปที่เห็นนั้นตั้งอยู่ในจิตผูกพันอยู่ในจิต เป็นตัวสังโยชน์อยู่ในจิต จึงเหมือนอย่างว่า เป็นบุคคล เป็นต้นไม้ เป็นบ้านเป็นเรือน เป็นทุกๆ อย่างเข้าตั้งอยู่ในจิต เหมือนอย่างมีตัวมีตน

    สังโยชน์เกิดเพราะไม่รู้ตามเป็นจริง

    ความที่ปรากฏดั่งนี้ ก็ปรากฏเป็นเรื่องของขันธ์ เป็นตัวสัญญาคือความจำหมาย ซึ่งเป็นไปตามธรรมดาของขันธ์นั้นอย่างหนึ่ง และเป็นสังโยชน์คือความผูกพันอีกอย่างหนึ่ง คือมีความผูกพันอยู่ในอารมณ์ที่ปรากฏนั้น อันปรากฏเป็นความยินดี ความยินร้าย ความหลงใหลดังกล่าวนั้น นั้นเอง ดั่งนี้คือเรียกว่าเป็นสังโยชน์ คือความผูกพัน ชอบก็เพราะผูกพัน ถ้าไม่ผูกพันความชอบก็ไม่เกิดขึ้นตั้งอยู่ โกรธก็เพราะผูกพัน ถ้าไม่โกรธ ถ้าไม่ผูกพันความโกรธก็ไม่เกิดขึ้นตั้งอยู่ หลงใหลสยบติดก็เพราะผูกพัน ถ้าไม่ผูกพันก็ไม่หลงใหลสยบติด
    เพราะฉะนั้น เพราะเหตุที่ไม่รู้ตามความเป็นจริง ว่าอันที่จริงนั้นสิ่งที่เห็น สิ่งที่ได้ยิน สิ่งที่ได้ทราบ สิ่งที่ได้รู้ได้คิด ทุกอย่างเกิดดับไปแล้ว ไม่มีตัวตนอะไรตั้งอยู่ สิ่งที่ยังตั้งอยู่นั้นก็คือตัวสังโยชน์คือความผูกพัน ซึ่งเป็นตัวความปรุงความแต่งขึ้นมาจากสิ่งที่ไม่มี ให้มีขึ้น หรือปรุงแต่งเงาที่ไม่มีตัวตนให้เป็นตัวตนขึ้นมา แต่อันที่จริงนั้นทุกอย่างเกิดดับไปแล้วทุกขณะ เพราะไม่รู้ไม่เห็นตามเป็นจริงดั่งนี้ ตามที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนเอาไว้ เราพิจารณาดูว่าจริงไหมที่ท่านสอนไว้ ก็จะต้องรับว่าจริง เพราะไม่มีตัวตนอะไรตั้งอยู่จริงๆ เป็นความผูกพัน เป็นความปรุงแต่งของจิตทั้งนั้น สังโยชน์บังเกิดขึ้นก็เพราะไม่รู้ไม่เห็นตามเป็นจริงดั่งนี้ และเมื่อรู้เมื่อเห็นตามเป็นจริงสังโยชน์ก็จะละได้ และถ้าหากว่าทำให้รู้เห็นตามเป็นจริงอยู่ได้ตลอดไป สังโยชน์ก็จะไม่เกิดขึ้นอีก
    กำหนดทำความรู้เท่าทันไว้เพียงเท่านี้ก่อน และศึกษาปฏิบัติกำหนดให้สัจจะคือความจริงนี้ปรากฏชัดขึ้นทุกที เมื่อชัดขึ้นได้มากเท่าไรก็จะทำให้ละสังโยชน์ได้เท่านั้น และป้องกันสังโยชน์ได้เท่านั้น



    การปฏิบัติเพื่อละสังโยชน์




    การที่จะปฏิบัติให้รู้แจ้งเห็นจริงขึ้นได้ดั่งนี้ คือจะละสังโยชน์ได้ ก็จะต้องฝึกหัดตั้งสติ ขั้นต้นตั้งสติให้มีสติกำหนดอยู่ทุกขณะที่เห็น ที่ได้ยิน ที่ได้ทราบ ที่ได้คิดได้นึกอะไร แยกให้รู้จักว่านี่เป็นรูป นี่เป็นตา นี่เป็นเสียง นี่เป็นหู เป็นต้น และนี่เป็นสังโยชน์ ที่เป็นสังโยชน์ก็เพราะยังไม่รู้ตามเป็นจริงตามที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอน ว่าไปยึดไปผูกพันในสิ่งที่ไม่มี ไปปรุงแต่งให้มีขึ้นให้เป็นขึ้นมาในจิต
    ซึ่งความปรุงแต่งนั้นก็เป็นความปรุงแต่ง เหมือนอย่างว่าวาดภาพลงไปในแผ่นกระดาษ หรือในแผ่นผ้า ให้เป็นภาพคน เป็นภาพต้นไม้ เป็นภาพอะไรต่ออะไรตามต้องการ แล้วก็ ก็ไปยินดียินร้าย ไปหลงใหลอยู่ในภาพที่เขียนขึ้นนั้นว่าเป็นจริง เหมือนอย่างว่านี่เป็นต้นไม้จริง นี่เป็นคนจริง นี่เป็นสิ่งนั้นๆ จริง แต่อันที่จริงนั้นเป็นภาพทั้งนั้นไม่มีตัวจริงอยู่
    หรือเหมือนอย่างดูพยับแดดที่ปรากฏเป็นภาพต่างๆ ดูเมฆที่ลอยไปในอากาศนึกว่าเป็นภาพสัตว์เป็นภาพคน เป็นภาพอะไร บางทีก็เห็นเป็นภาพนั้น เป็นภาพนั้น ก็เป็นภาพขึ้นในจิตใจทั้งนั้น ซึ่งอันที่จริงไม่มีอะไรอยู่ ทุกๆ อย่างนั้นเกิดดับไปหมดแล้ว แต่ยังผูกพันอยู่
    หมั่นตั้งสติตรวจตราพิจารณาอยู่ดั่งนี้ สัจจะคือความจริงอย่างไรก็จะปรากฏขึ้นมา ก็จะป้องกันสังโยชน์ จะละสังโยชน์คือความผูกได้ เพราะฉะนั้นการปฏิบัติตามที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนไว้ดั่งนี้ จึงเป็นการปฏิบัติหัดตั้งสติ ให้รู้เท่าทันปัจจุบันธรรมในตนเอง อันเป็นทางปฏิบัติเพื่อความบริสุทธิ์ เพื่อดับทุกข์ร้อนทั้งหลาย
    ต่อไปนี้ก็ขอให้ตั้งใจฟังสวดและตั้งใจทำความสงบสืบต่อไป


     
  4. เตชพโล

    เตชพโล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    267
    ค่าพลัง:
    +1,431
    จะยกอะไรขึ้นวิปัสสนาก็ตามเถอะ
    อย่าให้ขาดจากสติ
    ถ้าขาดจากสติแล้วเหลวทั้งนั้น

    ยกนั่นยกนี่ว่าเป็นวิปัสสนา
    ถ้าขาดสติ ก็มีแต่ความฟุ้งซ่านเท่านั้นเอง
     
  5. ไม่ยึด

    ไม่ยึด เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    274
    ค่าพลัง:
    +263
    เมื่อจิตนิ่งก็ยกตัวเองขึ้นพิจารณา

    แต่ถ้าเป็นวิปัสนา ใน ชาน น่าจะอีกแบบนึง เพราะส่วนใหญ่มันจะเป็นเอง เรากำหนดขึ้นหรือยกเองไม่ได้ควบคุมไม่ได้

    อ่ะ รอผู้รู้ดีก่า ผมเป็นผู้เจ๋อ เดี๋ยวอ่านแล้วพลอยเข้าใจผิด
     
  6. Sriaraya5

    Sriaraya5 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    3,079
    ค่าพลัง:
    +12,852
    ฉะนั้นคุณเกิดเองก็ไม่ควรมองข้ามไป

    การทำฌานสี่ให้เกิดขึ้นก่อน

    และถอยมาอยู่ในระดับอุปจาร

    จึงบรรลุธรรมได้ง่ายเพราะอาศัยนิมิต

    ที่เข้าถึงพิจารณาให้เห็นพระไตรลักษณ์

    เมื่อแจ้งในไตรลักษณ์แล้วก็จะเห็นกฏ

    ของจักรวาล ดังที่สมัยหนึ่งพระอัญญาโกณฑัญญะ มีดวงตาเห็นธรรมอันปราศจากธุลีมลทิน

    “สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดมีความดับไปเป็น
    ธรรมดา”
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 มกราคม 2011
  7. สับสน!

    สับสน! เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 เมษายน 2010
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +3,984
    สมาธิในฌาน ส่วนใหญ่จะเป็นเอง..น่าสนใจยิ่งครับ หากเมตตาช่วยขยายความด้วยครับ อนุโมทนาครับ:':)':)'(
     
  8. วิริยะ13

    วิริยะ13 สติเป็นโล่ห์ ปัญญาเป็นอาวุธ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    2,899
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,516
    ค่าพลัง:
    +12,465
    จิตนิ่งหรือจิตสงบ หมายถึงจิตมีองค์เดียวคืออุเบกขา จิตไม่สามารถคิด พิจารณาอะไรได้ เรียกว่า อัปปนาสมาธิ หรือจตุตฌาน(ฌาน ๔) เมื่อจิตถอนออกมาที่ อุปจารสมาธิ มีวิตกวิจารณ์ จึงสมควรยกธรรมหมวดใดหมวดหนึ่งขึ้นมาคิดมาพิจารณา เมื่อพิจารณาจนเข้าใจหายสงสัยแล้วก็ละวางได้ ท่านก็เรียกว่า ภาวนามยปัญญาหรือวิปัสสนาปัญญา

    สาธุ
     
  9. เตชพโล

    เตชพโล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    267
    ค่าพลัง:
    +1,431
    มันไม่มีอะไรเกิดขึ้นเองเป็นเองหรอก
    มันต้องอาศัยความเพียรความตั้งใจความจงใจ

    อย่างนี้ก็ไม่ต้องทำอะไร
    อยู่ไปกินไปวัน ๆ แบกหามกองทุกข์ไปวัน ๆ
    ก็คงจะมีอะไรซักอย่างมาแบกหามกองทุกข์ให้แทน

    จะได้พ้นทุกข์โดยที่มันเป็นเอง

    พระพุทธเจ้าทรงสลบถึงสามหนกว่าจะได้ธรรมมาสั่งมาสอน
    แต่นี้บอกมันจะเป็นเอง
    มันขัดกันอย่างมากนะ กับปฏิปทาของพระพุทธองค์
     
  10. รู้รู้ไป

    รู้รู้ไป เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    951
    ค่าพลัง:
    +3,165
    พิจารณา ให้สุด ให้ถึงเป้าให้ถึงคำตอบที่ติดค้างในใจ ที่ยังทำให้ใจดิ้นรน เวียนว่ายอยู่ได้

    ขึ้นทางไหนก็ได้ แต่ต้องขึ้น จึงถึงยอด

    สำหรับผมครับ
    อนุโมทนาครับ
     
  11. ไม่ยึด

    ไม่ยึด เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    274
    ค่าพลัง:
    +263
    มันจะควบคุมไม่ได้อ่ะเราได้แค่รู้ ไปกำหนดหรือคิดอะไรในสมาธิไม่ได้เลย คล้ายๆถูกมัดถ่างตาให้ดูทีวีอ่ะครับ รบกวนผู้เป็นอธิบายทีครับผมยังอ่อนอ่ะ เดี๋ยวพูดผิดไปแน่ๆ

    เช่นจิตรู้อยู่แสดงไตรลักษณ์ของตัวเราให้ดู จิตก็แสดงเองเราไม่ได้นึกภาพขึ้นมาแสดง แต่มันเป็นของมันเอง เราทำได้แค่รู้อยู่เฉยอยู่เข้าไปกำหนดไม่ได้ ไรเงี๊ยะมั้ง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 มกราคม 2011
  12. Mr.Boy_jakkrit

    Mr.Boy_jakkrit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    2,063
    ค่าพลัง:
    +2,676
    ความเพรียรในการปฏิบัติ ความจงใจคือการได้เริ่มคิดจะทำเรียกว่าเจตนา ทำในสิ่งที่เป็นมีมาก่อนเรียกว่าเป็นกรรม เหมือนสายน้ำในมหาสมุทร ดูเหมือนจะเป็นอันเดียวกัน แต่ก็ยังมีสายน้ำเย็นในทะเล


    อนัตตาคือไม่ใช่ตัวตน ไม่มีตัวตน แต่มันมีและอาศัยอยู่ในสภาวะแห่งจิต
    สิ่งเหล่านี้เชื่อกันว่า ดังนั้นจึงไม่มีอะไรมาแบกรับแทนได้อีก อยู่ที่การปล่อยวางสิ่งเหล่านั้นทิ้งไป



    เข้าใจว่า...สิ่งที่เป็นเอง เป็นอยู่ก่อน สิ่งที่ไม่สามารถกระทำการใดใดขึ้นได้เอง สิ่งที่ไม่สามารถควบคุมบังคับได้ เป็นสิ่งที่ไม่ใช่ของเราทิ้งสิ้น
    บางสิ่งบางอย่างเกิดขึ้นเองในสภาวะ เรียกกว่า ธรรม
    สิ่งที่รู้ว่าสิ่งเหล่านั้นดำเนินกิจกรรมใดใดในธรรมนั้น เรียกกันว่า ตัวรู้
    สิ่งที่กระตุ้นตัวรู้ให้ได้รับรู้นั้น เรียกว่า สติ
    สิ่งที่เกิดตามมาเมื่อรู้แจ้ง เห็นจริง ประจักษ์แก่ใจจริงในขณะนั้น เรียกว่า ปัญญา

    ปัญญาจึงไม่ได้เกิดจากการสั่งการของสมอง ไม่ต้องใช้ความคิด เพียงรับรู้ว่าจริง หรือ ไม่จริง

    อนุโมทนาครับ :cool:
     
  13. Bi-Location

    Bi-Location Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 เมษายน 2010
    โพสต์:
    54
    ค่าพลัง:
    +49
    อนัตตา ความเห็นข้อนี้เป็นไฉน




    อนัตตาคือไม่ใช่ตัวตน ไม่มีตัวตน แต่มันมีและอาศัยอยู่ในสภาวะแห่งจิต
    สิ่งเหล่านี้เชื่อกันว่า ดังนั้นจึงไม่มีอะไรมาแบกรับแทนได้อีก อยู่ที่การปล่อยวางสิ่งเหล่านั้นทิ้งไป


    อนัตตาไม่ใช่ตัวตน นั้น ถูกต้องเป็นแน่แท้
    แต่ อนัตตานี้ ไม่มีตัวตน บุคคล เราเขา ดังภาษาที่มักพูด พึง พิจารณา ให้เข้าถึงซึ่งการปฏิบัติ
     
  14. Mr.Boy_jakkrit

    Mr.Boy_jakkrit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    2,063
    ค่าพลัง:
    +2,676
    อืมม...จะว่าอย่างนั้นก็ได้เนาะ
    มันแล้วแต่มุมมอง และการใช้ภาษา
    รวมไปถึงข้อจำกัดขอบเขตุของภาษา
    ในตัวตนนั้น ย่อมหมายถึง สิ่งที่เป็นรูปนามลักษณะอธิบายได้
    ในตัวตนนั้น มีความเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลามีสถานะไม่คงที่คือยังถือว่าไม่ใช่ตัวตน

    อนุโมทนาครับ:cool:
     
  15. เตชพโล

    เตชพโล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    267
    ค่าพลัง:
    +1,431
    สาธุ ที่ผมหาก็หาของจริงอย่างนี้นี่แหละ
    สั้น ๆ แต่เข้าที่หัวใจอย่างนี้นี่แหละ
     
  16. เตชพโล

    เตชพโล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    267
    ค่าพลัง:
    +1,431
    ธรรมอันเป็นเครื่องแก้กิเลส โพธิปักขิยธรรม 37 ประการ
    อาทิ สติปัฏฐาน 4 สัมมัปปทาน 4 อิทธิบาท 4
    อินทรีย์ 5 พละ 5 โพชฌงค์ 7 มรรค 8
    ธรรมเหล่านี้เท่านั้น จะเป็นเครื่องแก้กิเลส ทำลายรวงรังของกิเลส

    ธรรมเหล่านี้เกิดขึ้นได้เอง เป็นเองได้เหรอ
    ถ้าไม่จงใจตั้งใจทำให้มีให้เกิดขึ้นกับใจตนเอง
    เกิดขึ้นมาเองได้เหรอ

    แม้แต่พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ พระอรหันตสาวกทุกองค์
    ก็ตั้งใจจงใจสร้างทำให้มีทำให้เจริญ
    ด้วยความเพียรของพระองค์ ขององค์ท่าน ทั้งนั้นไม่ใช่เหรอ

    ไม่เคยปรากฎว่าพระพุทธเจ้าพระองค์ใด พระอรหันตสาวกองค์ใด
    สอนว่าธรรมเครื่องแก้กิเลสเหล่านี้จะเกิดขึ้นมาเอง
    โดยไม่ต้องเพียรพยายามอันใดเลย

    แต่ิสิ่งที่พระองค์แสดงให้เห็นคืออะไร
    ทรงมีความเพียรความตั้งใจความจงใจให้มีขึ้น
    ถึงขั้นสร้างสมพระบารมี และบารมี
    นับจาก 20 อสงไขย กับอีก แสนมหากัปป์ ลงมาไม่ใช่เหรอ
    นี่สร้างสมมานานขนาดนี้ ถ้าไม่มีความจงใจความตั้งใจ
    ด้วยความเพียรพยายามอดทนทุกสิ่งทุกอย่าง
    แล้วจะสำเร็จเป็นพระพุทธเจ้าได้เหรอ

    อ่านดูแล้วมันโมโหนะ
    อ้างตัวว่าเป็นศิษย์ตถาคต
    แต่เอาธรรมของตถาคตมาบิดเบือนอย่างนี้น่ะเหรอ

    มันจะเป็นเอง...มันจะเป็นเอง พูดอยู่นั่นโม้กันอยู่นั่น
    ฟังเค้ามาก็เอามาโม้มาแสดงกันอยู่นั่น
    ของจริงไม่เคยเจอกับตัว

    แม้แต่โสดาปัตติมรรค ก็ต้องทำให้มีขึ้น
    เมื่อมรรคสมบูรณ์พร้อมแล้วละสังโยชน์ได้แล้ว
    ผลคือ โสดาปัตติผล นี่ล่ะที่เกิดขึ้นเอง
    มรรคต้องเพียรต้องจงใจตั้งใจเจริญให้มีให้เกิดขึ้น
    แต่สิ่งที่จะเป็นเองก็คือผล

    หรือแม้แต่ได้โสดาปัตติผล
    แล้วก็ยังต้องเพียรเจริญสกิทาคามิมรรค
    หรือได้สกิทาคาิมิผล
    แล้วก็ยังต้องเพียรอนาคามิมรรค
    หรือได้อนาคามิผล
    แล้วก็ยังต้องเพียรอรหันตมรรค
    เมื่อได้อรหันตผล ก้าวเข้าสู่นิพพานนั่นแหละ
    ผลเป็นเองแล้ว ไม่ต้องทำแล้ว จบงานแล้ว

    เห็นมั้ยมันต้องพยายามต้องจงใจตั้งใจให้มีให้เจริญขึ้นมาทั้งนั้น
    มันเป็นเองที่ไหน มรรค ในธรรมแต่ละขั้น เป็นเองอย่างนั้นน่ะเหรอ

    ก็เหมือนคนกินข้าวนี่ล่ะ
    กินอิ่มมันก็รู้ใช่มั้ยล่ะ
    ไม่ต้องไปอยากอิ่ม กิน ๆ เข้าไปมันก็อิ่มเองล่ะ
    กินให้อร่อยเท่านั้นแหละพอแล้ว ไม่ต้องไปอยากอิ่มหรอก

    อันนี้บอกไม่ต้องทำเดี๋ยวเป็นเอง
    มันก็ไม่ต่างกับคนที่อยากอิ่ม แต่ไม่กินข้าวน่ะสิ

    เมื่อหิวก็บอกว่าหิว อย่ามาบอกว่าอยากอิ่ม
    เพราะบอกว่าอยากอิ่ม
    ก็เลยโดนกิเลสหลอกเอาว่าไม่ต้องทำอะไรหรอกมันจะเป็นเอง
    เดี๋ยวก็ิอิ่มเอง

    ถ้าบอกว่าหิว
    ธรรมจะบอกเองหรอกว่า
    ก็ไปกินซะสิ จะได้อิ่ม
     
  17. เตชพโล

    เตชพโล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    267
    ค่าพลัง:
    +1,431
    เออ แล้วจะอธิบายให้ฟังว่าเป็นเอง น่ะเป็นยังไง

    เปรียบปัญญาฆ่ากิเลสเป็นมีดพร้าใช่มั้ย
    กิเลสก็เปรียบเป็นกิ่งไม้
    จะฆ่ากิเลสให้ตาย ก็คือตัดกิ่งไม้ให้ขาด

    เราจะฆ่ากิเลสในใจเรา เราก็ใช้ปัญญาฆ่าใช่มั้ย
    มันก็เหมือนเราหยิบเอามีดพร้ามาแล้วออกแรงฟันกิ่งไม้นั่นแหละ
    เราจับเอาด้ามมีดพร้าแล้วออกแรงลงไปฟันที่กิ่งไม้ นี่เราทำเอง
    ด้วยความจงใจตั้งใจใช่มั้ย

    แต่ตอนที่คมมีดฟันกิ่งไม้จนขาด คือ ปัญญาฆ่ากิเลสนี่
    มีดพร้าตัดเองใช่มั้ย ก็เหมือนปัญญาฆ่ากิเลสเอง
    นี่มันเป็นเองเกิดเองตรงนี้
    เราไม่ได้ใช้สันมือเราตัดกิ่งไม้นี่
    เราเอามีดพร้าหรือปัญญา ฟันกิ่งไม้หรือฆ่ากิเลส

    นี่ถึงเรียกว่าไม่จงใจ
    เพราะสิ่งที่เราจงใจตั้งใจทำคือ ออกแรง เงื้อมีดพร้าแล้วฟันลงมา
    แต่เราไม่ได้ตัดกิ่งไม้ คมมีดตะหากล่ะที่ตัดกิ่งไม้

    นี่ล่ะที่เรียกว่าเป็นเอง
    ท่านเรียกว่าธรรมมีกำลัง
    สิ่งที่เกิดขึ้นเองเพราะธรรมมีกำลังทำงานไปเองอัตโนมัติ
    ในหัวใจนักปฏิบัติมีธรรมเป็นคู่เปรียบเทียบกับกิเลสแล้ว
    ธรรมหาช่องออกในหัวใจได้แล้ว
    นี่เป็นเองเป็นอย่างนี้

    แต่ที่เราเป็นอยู่เดี๋ยวนี้กิเลสในใจเราทำงานเป็นอัตโนมัติ
    เราไม่รู้ตัวเลยนะว่ากิเลสในใจเราทำงานเป็นอัตโนมัติ

    มันต้องปฏิบัติให้ถึงก่อนสิ
    ถึงจะมีคู่เปรียบเทียบระหว่างกิเลสกับธรรม

    นี่ธรรมแค่อนุบาล
    แต่อยากไปเข้าใจธรรมระดับมัธยม
    แล้วเอามาโม้มาคุยว่ารู้ว่าเห็นกันอย่างนั้นอย่างนี้

    นี่ธรรมะพระพุทธองค์นะ
    ปราณีตละเอียดลึกซึ้ง
    จะมาด้นเดาไม่ได้หรอก
    รู้ตามด้วยการด้นเดาไม่ได้
    ต้องรู้เองเห็นเอง
     
  18. มิตรตัวน้อย

    มิตรตัวน้อย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    144
    ค่าพลัง:
    +896
    อนัตตา ความเห็นข้อนี้เป็นไฉน

    ของมีอยู่ มีตัวมีตนแล้วไปยึดไปถือว่า เป็นตนเป็นของตน เรียกว่า อัตตา
    ของมีอยู่ มีตัวมีตนแต่ไม่ยึดไม่ถือว่า เป็นตนเป็นของตน เรียกว่า อนัตตา

    เจริญธรรม
     
  19. Mr.Boy_jakkrit

    Mr.Boy_jakkrit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    2,063
    ค่าพลัง:
    +2,676


    :cool: ...

    จิต ที่ฟุ้งซ่านเห็นอะไรก็จับเอามาเป็นของตนเองเอามาปั้นเป็นตัวเป็นตน จนมาเป็นอัตตา

    จิต ที่รู้ทันความฟุ้งซ่านเห็นอะไรก็สักแต่ว่า เห็น รับรู้ รู้แล้ว วาง ลง ไม่ยึดมาครองเป็นของตนแค่เห็นในสิ่งที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ เห็นในความเป็นอนิจจัง เห็นเป็น อนัตตา


    คำว่าแบกรับแทนจึงไม่มีในธรรมเพราะไม่เป็นจริง ..จะเป็นจริงก็ต่อเมื่อเกิดการละการปล่อยวาง จึงบังเกิดธรรมแก่จิตว่าสิ่งนั้นเป็นเพียงอนัตตา
    ทุกข์เกิดที่ใจ สุขก็เกิดที่ใจเช่นกัน ซึ่งมีสภาวะไม่คงที่เปลี่ยนแปลงและสลับเปลี่ยนกันอยู่ตลอดเวลา

    สรุปคือ.. มนุษย์เมื่อเกิดมุมมอง และทัศนคติ ที่ไม่ตรงกันมีความต่อต้านหรือเห็นตามเรียกกันว่า ฉันทะ มีความชอบใจและไม่ชอบอยู่ในจิต ฉนั้นน้ำหนักของความให้ความเชื่อถือจึงเกิดจากสิ่งเหล่านี้ ไม่มีสิ่งที่เกิดจากจิตที่เป็นกลาง
     
  20. Mr.Boy_jakkrit

    Mr.Boy_jakkrit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    2,063
    ค่าพลัง:
    +2,676
    ผมเข้าใจว่าคุณอ่านข้ามน่ะครับ
    เครื่องแก้กิเลสต้องทำ อาศัยความเพรียนและอื่นๆ สติ สมาธิ ปัญญา เป็นเครื่องแก้กิเลส
    ส่วนเรื่องที่ว่ามันเกิดขึ้นเองนั้น คือ ใช้เครื่องแก้ที่ว่านี่แหละเข้าไปวิจัยในกิเลสเน้นที่ทุกข์
    ทุกข์กับสุข นี่ก็เกิดขึ้นเองนะ เข้าใจว่าผู้พูด(คุณ เตชพโล)เข้าใจในมุมมองที่ว่า "เครื่องแก้กิเลส" นี่ต้องทำ ไม่เกิดขึ้นเองได้หรอก อันนี้ก็จริงแต่รายละเอียดมันเยอะกว่านี้พอจะเข้าใจในวิธีการครับ

    แต่ที่ว่ามันเกิดเองขึ้นนั้นผมหมายถึง "กิเลสไม่ต้องทำมันมีมาก่อน มีอยู่ก่อน มันเกิดขึ้นเอง" อย่างนี้ต่างหาก ก็เมื่อจิตเห็นจิตก็จะเข้าใจเองว่ามันไปมันมายังไง

    ฮ่าๆๆ ..เข้าใจเหมือนกันเพียงแต่มุมมองต่างกัน จึงทำให้เข้าใจผิดและเกิดเป็นทัศนคติต่อต้านในการสนทนาระหว่างผู้สนใจด้วยกัน หรือไม่จริง ?

    ว่ากันว่าในส่วนของ ธรรมะ นี่ก็ควรยึดถือไว้เพื่อระลึกเพื่อบ่มจิตให้ดีให้เห็นตรงในเบื้องต้น
    แต่เมื่อถึงปลายสุดก็ควรวาง(บ้าง) ทำเอง เห็นเอง เห็นจริง ประจักษ์จริง
    ด้วยเหตุนี้พระพุทธองค์จึงได้จำแนกประเภทของความถนัดตามอุปนิสัย(จริต)ที่เหมาะกับบุคคลนั้นๆเป็นกรรมฐาน 40 กอง (40ประเภท)

    " ธรรมะต้นให้มาเอา เอาไปแล้วก็ให้วาง "

    ความยึดมั่นถือมั่นในอะไรๆนี่ก็เช่นกัน มันมีมาก่อน
    การที่ต้องทำเครื่องแก้กิเลสอย่างว่านั้น คือการให้จิตเข้าไปเห็นความสัจจริงของต้นเหตุ แล้วจึงจะเกิดการเข็ดหลาบและวางสิ่งที่ยึดไว้ถือไว้โดยตัวมันเอง
    หาใช่เพื่อเพาะบ่มข่มบังคับจิตให้ต้องปล่อยวาง ปล่อยวาง...ฮึ่ม วางซะทีสิโว้ยยยย... อย่างนี้ไม่ใช่ และไม่เป็นจริง สิ่งที่ไม่เป็นจริงมิอาจเรียกว่า "ธรรมะ" ได้

    อุปมาอุปมัยไว้เช่นนี้นะครับ

    เจริญธรรมครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...