ขอเชิญร่วมทำบุญสงเคราะห์พระภิกษุสงฆ์อาพาธ

ในห้อง 'ตลาด พระเครื่องเพื่อการกุศล' ตั้งกระทู้โดย พันวฤทธิ์, 29 พฤศจิกายน 2007.

  1. ชิน9

    ชิน9 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    46
    ค่าพลัง:
    +247
    สวัสดีครับทุกท่าน ผมได้โอนเงินบริจาคจำนวน 2,000.-บาท

    08/09/2010 07:59 น.โอนผ่าน tmb mbanking


    ด้วยบุญอุทิศนี้ให้อาม่าคื้อเจ็ง แซ่ซิ้ม ที่พักรักษาอยู่โรงพยาบาล ขอให้หายป่วยเป็นปกติสุข

    โดยเร็วพลันด้วยเถิด
    <!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end -->
    ขอเชิญเพื่อนๆพี่ๆน้องๆมาร่วมอนุโมทนาบุญด้วยกันนะครับ<!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end -->
     
  2. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,790
    ค่าพลัง:
    +16,105
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 กันยายน 2010
  3. redboony

    redboony เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    34
    ค่าพลัง:
    +173
    เมื่อวานได้ร่วม ทำบุญประจำเดือนกันยายน £40 ค่ะ
     
  4. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,790
    ค่าพลัง:
    +16,105
    เมื่ออาทิตย์ก่อนเจอพระพิมพ์สมเด็จในห้องพี่ที่ทำงาน เพราะให้พี่เค้าไว้นานเป็นปีแล้ว พระพิมพ์สมเด็จที่ให้เมื่อพี่ได้รับจากเราก็วางไว้ที่เดิมโดยไม่แตะต้อง คราวนี้พอเดินเข้าไปไหว้พระในห้องพี่อีกครั้งเลยไม่วายหยิบขึ้นมาดู ดูไปดูมาฮึ..เฮ่ย..แล้วก็ตูให้พี่เค้ามาไ้ด้ยังไงนี่ ทำไมถึงอุทานอย่างนี้ ก็เพราะพอหยิบท่าน ก็ขึ้นมือมาทันที พอกลับมานั่งส่องดูเนื้ออย่างพิจารณา ขัดถูสิ่งสกปรกออกทั้งหมด ตายห่ะ...เลยขอกลับนำมาแล้วแอบใส่ตลับทองแขวนขึ้นคอ เสร็จแล้วก็เอาองค์อื่นไปให้พี่เค้าแทน เกือบไปแล้ว จำได้ว่าพระพิมพ์นี้เช่ามาในราคามิตรภาพ หนึ่งร้อยบาทถ้วน และเช่ามาสององค์ อีกองค์นึง ยังหาไม่เจอ ตอนเช่ามายังไม่ได้ทำความสะอาดท่านก็ตีเป็นพระพิมพ์สมเด็จสกุลบางน้ำชน เพราะเนื้อมีคราบสกปรกและฝุ่นเกาะเยอะนึกว่าคราบกรุที่เกิดจากบรรจุในเจดีย์ล้ม แต่หลังจากขัดแล้วเนื้อท่านออกมาสวยมากและพิมพ์ชัดเจนไม่ตื้นโดยหากนำมาขัดกับตุ๊กตาไหมพรมขนฟู ตามที่แม่ค้าพระท่าพระจันทน์แนะนำ ความมัน ความแกร่ง และความเก่าจะขึ้นสวยมาก ดูแล้วมีค่าขึ้นอีกโขถ้าจะให้เรียกตามภาษา อ.ประถมฯ ก็คือนี่ล่ะพระสมเด็จเพดานโบสถ์วัดพระแก้วที่แห้งด้วยการผึ่งลมและยังไม่เคยผ่านการใช้ตามตำรา เลยนำรูปมาให้ดูกัน แต่การถ่ายภาพ ด้วยความห่วยของฝีมือตนเอง ภาพเลยไม่ชัดมาก ยังไงก็ลงเป็นอุทาหรณ์กัน ว่าก่อนจะให้พระพิมพ์แก่ผู้ใด ควรดูกันให้ดีก่อน ว่าให้พระอะไรไปกับใคร ศรัทธา ขนาดไหน ให้แล้ววางทิ้งเฉย หรือเค้าจะไปทำอะไร ไม่งั้นพระดีๆ ให้ไปแล้วท่านไปจำศีลเฉยๆ ไม่ได้ใช้ ก็ผิดวัตถุประสงค์ของคนให้ และเสียดายของเปล่าๆ ครับ ....อ้อ. เกือบลืมบอกไป พอนำท่านกลับมาแล้วนึกสงสัยว่าท่านผู้อธิษฐานจิตยังอยู่ดีหรือไม่ เลยขออนุญาตนำส่งให้ท่านที่มีตาในขั้นสูงได้พิจารณา ผลก็คือสำหรับองค์นี้ มีรังสีจิตของบารมีอยู่ 3 ชั้น ก็ยังนับว่าโชคดีที่ท่านยังอยู่กันครบครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • DSCF3764_01.jpg
      DSCF3764_01.jpg
      ขนาดไฟล์:
      585.4 KB
      เปิดดู:
      351
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 กันยายน 2010
  5. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,790
    ค่าพลัง:
    +16,105
    เมื่อสัปดาห์ก่อนเช่นกัน ไปเดินเล่นที่ท่าพระจันทน์ ไปสะดุดตาพระอยู่กลุ่มหนึ่ง อยู่ในกล่องที่มีฝุ่นจับหนา แทบไม่เห็นเนื้อพระด้วยซ้ำไป อาศัยคุยกันถูกคอ เลยขอฟรีมา 1 องค์ และเอามาล้างดู ล้างด้วยน้ำธรรมดานี่ล่ะ ขัดด้วยแปรงสีฟันอีกที คราวนี้ท่านหล่อขึ้นเชียว เอาแล้วไง...พระพิมพ์สมเด็จสกุลปัญจสิรินี่หว่า เลยนำติดกระเป๋าให้ฌาณลาภีบุคคลของทุนนิธิฯ ตรวจดูอีกครั้ง ผลก็คือ ทันการอธิษฐานจิตของหลวงปู่ฝั่งตรงข้ามท่าพระจันทร์ และทันท่านหลวงปู่ใหญ่อีกองค์ ซึ่งจัดว่าเป็นยุคแรกของพระพิมพ์สกุลนี้ แค่นี้ก็เหลือเฟือแล้ว ขอนำภาพมาลงให้ดูกันครับ จุดสังเกตุอีกนิดนึง หลังจากล้างพระแล้ว ผงทองที่โรยพระพิมพ์จะเยอะและสุกปลั่งสวยมาก เนื้อจะแกร่งตามสูตร แต่องค์พระจะบางกว่าพระพิมพ์สมเด็จอื่นๆ ที่วางขายโดยทั่วไป ร้านนี้หาไม่ยาก ออกแรงเดินกันนิดนึง เจอแน่ๆ และด้้วยผลงานการถ่ายที่ห่วยของผม เลยไม่เห็นผงทองสุดสวยงามประปรายจริงๆ ครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • DSCF3758_01.jpg
      DSCF3758_01.jpg
      ขนาดไฟล์:
      195.5 KB
      เปิดดู:
      486
  6. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,790
    ค่าพลัง:
    +16,105
    วันนี้มีนัดประชุมระหว่างเดือนกัน จึงถือโอกาสนำพระสมเด็จสกุลปัญจสิริชุดนี้ติดมือไปด้วย 30 กว่า องค์ โดยในการประชุมในแต่ละครั้งก็จะอดไม่ได้ที่จะนำไปให้ตรวจกัน เพราะพระพิมพ์สกุลไหนที่ผมไปพบมาและตรวจแล้วว่าเป็นของดี บางทีก็จะเอามาให้ทำบุญกัน วันนี้จึงนำมาเพียงสองสามสกุลเท่านั้น แต่เป็นพระพิมพ์สมเด็จทั้งหมด ตรวจทานกันทีละองค์ อย่างพระพิมพ์สกุลข้างต้น เป็นพระพิมพ์ที่ทันหลวงปู่สองหลวงปู่เสก แต่หลวงปู่ที่สองกลายเป็นเต็มคณะพระโลกอุดรทั้ง 5 พระองค์ ซึ่งนับว่าหายาก เพราะมีทั้งบู๊และบุ๋นในตัว ท่านผู้ตรวจเลยอธิษฐานหยิบแจก อธิษฐานชื่อของผู้รับแล้วกำหนดขอบารมีว่าปู่องค์ไหน อยากอยู่กับใคร ก็ให้ปรากฏขึ้นมาเลย ความอัศจรรย์ของการแจกพระพิมพ์ก็เป็นอย่างนี้ พระพิมพ์สกุลเดียวกัน เสกกันคนละเวลา ทำกันคนละที นวางฤกษ์ต่างกัน ผลเอกคุณที่ให้จึงต่างกัน บางคนได้พระพิมพ์ที่มีเอกคุณทางเมตตา หรือทางปรับธาตุขันธ์ให้มีความสมบูรณ์และแข็งแรงทางร่างกายเช่นผม หรือบางคนก็ได้องค์ที่มีเอกคุณทางโชคลาภ แต่อย่างไรก็ตาม เนื่องจากพระพิมพ์สกุลปัญจสิริที่ได้มานี้เป็นรุ่นแรกๆ ที่หลวงปู่ทั้งสองเสก จึงมีไม่มาก แต่ด้วยความที่ผมอยากให้คนไปร่วมกิจกรรมประจำเดือนนี้ที่ รพ.สงฆ์ คือในวันอาทิตย์ที่ 26/9/53 ได้มีของดีไว้บูชากัน ผมจึงจะนำติดมือไปหารายได้เข้าทุนนิธิฯ สักสิบองค์ วันนี้แจกผู้เข้าร่วมประชุมไปแปดองค์ เหลือเก็บไว้ให้ลูกหลานสักสิบกว่าองค์เท่านั้น เอาไว้วันทำกิจกรรมค่อยไปตั้งราคาบริจาคเข้าทุนนิธิฯ เพื่อส่งเงินเข้ารักษาสงฆ์อาพาธทั้งหมดได้ทั้งพระดีและบุญดี ส่วนท่านที่อยู่ไกล สำหรับผู้ที่เคยทำบุญผ่านทุนนิธิฯ มา รออีกนิด เดี๋ยวจัดการให้ พีเอ็มมาจองไว้ก่อนได้ ถ้าได้พระมาเพิ่ม ก็จะให้คนไกลได้ทำบุญบ้าง และก็จะเป็นกติกาเดียวกันกับผู้ที่เข้่าร่วมกิจกรรมที่ รพ.สงฆ์ ทุกอย่างมีต้นทุน จะแจกฟรี คงหมดปัญญาครับ

    และขอแจ้งให้ทราบอีกครั้งว่ากระทู้นี้ไม่ได้มีความตั้งใจในการให้บูชาพระพิมพ์นอกวงการมาตรฐานนิยม โดยเข้ากระเป๋าตนเองผ่านเวบแต่อย่างใด เพราะใครอยากตั้งใจทำบุญแล้วได้พระก็แจ้งมาทางพีเอ็ม ไม่ตั้งใจก็ไม่ต้องแจ้งครับ

    ส่วนการตรวจด้วยตาในของฌาณลาภีบุคคลแต่ละท่านตามข้างต้นนั้น เป็นเรื่องปัจจัตตัง และเป็นบุญวาสนาเก่าบวกกับการประพฤติและปฏิบัติิิิิิยึดมั่นในศีลธรรม และจิตที่เป็นเมตตาในชาตินี้เท่านั้น ที่มารวมตัวกัน จนเกิดเป็นอภิญญาญาณประจำตน และสามารถกำหนดรู้สิ่งต่างๆ ในองค์พระได้ โดยไม่มีหน่วยวัดเป็นเมตร เป็นวาใดๆ ทั้งสิ้นครับ

    ขอขอบคุณอีกครั้งสำหรับผู้ที่ได้บริจาคปัจจัยเพื่อรักษาสงฆ์อาพาธโดยผ่านทุนนิธิฯ นี้ เป็นประจำ

    พันวฤทธิ์
    12/9/53
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 กันยายน 2010
  7. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,790
    ค่าพลัง:
    +16,105
    นี่ก็พระนอกวงการมาตรฐานอีกสกุลหนึ่ง ที่เคยนำมาลงไว้แล้วในกระทู้นี้ครับ

    พระสมเด็จปูนสอ เป็นชื่อเรียกพระในสกุลนี้ทั่วๆไป แต่ถ้ามีเส้นสายฟาผ่าพาดอยุ่ในองค์พระ ก็จะเรียกชื่อเฉพาะว่า "สมเด็จอัศนี"
    ดังตัวอย่าง แต่ต้องขออภัยไม่มีกล้องถ่ายรูปเลยใช้สแกนเอาภาพจากองค์จริงอาจไม่ค่อยชัดเจนเท่าที่ควร รายละเอียดมีอยู่ในหนังสือ ปู่เล่าให้ฟัง

    [​IMG]

    ต้อง ขอนำภาพพระพิมพ์สมเด็จอัศนี หรือสมเด็จสายฟ้าฟาด ที่กดพิมพ์ยามฟ้าผ่าเช่นในองค์ที่มีรอยสายฟ้าด้านบนแถวแรกขวาสุด และเคยนำมาลงในกระทู้นี้มาลงอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งนับเป็นสุดยอดแห่งการกดพิมพ์และการเสกและหายากมากๆ กฤติยาคมประกอบด้วยบู๊และบุ๋น ขนาดฟ้าผ่ายังไม่กลัว เรื่องปืนไม่ต้องพูดถึง หากอยู่ตามวังเจ้านายก็จะเรียกว่าพระพิมพ์สมเด็จเจ้าฟ้า หากอยู่ตามกรุที่วัดเช่นวัดกลางคลองข่อย ก็จะเรียกว่าพระพิมพ์สมเด็จอัศนีวัดกลางคลองข่อย เป็นต้น จริงๆ ประวัติการเสกและการสร้างมียาวเหยียด คงต้องให้นายสติช่วยสงเคราะห์อธิบายให้อีกครั้งนึง ไว้รอโอกาสเหมาะนิดนึง หรือว่างๆ จะลงให้เป็นความรู้กัน

    พระพิมพ์สมเด็จสกุลนี้ เป็นพระที่ดีมาก และมีหลายพิมพ์ เช่นทรงพิมพ์ใหญ่ ทรงพิมพ์เจดีย์ ฯ แต่เท่าที่รู้พระพิมพ์ที่มีความพิเศษกว่าพิมพ์อื่นคือทรงพิมพ์อะระหัง ความพิเศษของพิมพ์นี้คือสามารถขอทรัพย์หรือเรียกทรัพย์ได้ตามปกาศิตเฉพาะของการเสกในครั้งนั้น สำหรับเนื้อหาจะเป็นลักษณะคล้ายเนื้อกระเบื้องพอร์ซเลนเป็นมันวาว ไม่ด้าน แต่ไม่ถึงกับขาวจั๊ว ส่วนใหญ่เป็นสีน้ำตาลเหมือนกาแฟใส่นม ยังหาดูได้ตามแผงท่าพระจันทร์เช่นเดียวกัน แต่ราคามากกว่าหลักสิบครับ
     
  8. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,790
    ค่าพลัง:
    +16,105
    บทความที่น่าคิดน่าพิจารณา สำหรับสังคมพระเครื่อง พระบูชา ในแง่มุมทางวิชาการของนิสิตปริญญาอีกคนนึง ที่มีมุมมองพระพิมพ์สมเด็จ ของท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี ต่างจากนักพระเครื่องนิยมโดยทั่วไป ผมจึงขอนอบน้อมในบทความนี้และมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้มีโอกาสคัดลอกบทความของท่านมานำเสนอในกระทู้นี้ครับ


    พระสมเด็จวัดระฆัง : มุมมองทางวิชาการ
    บทความโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ณัฐนนต์ สิปปภากุล (ประธานนิสิตปริญญาเอก สาขาศิลปวัฒนธรรมวิจัย มศว.)

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]


    การศึกษาพระพิมพ์เนื้อผงสมเด็จวัดระฆังของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) นั้น จำเป็นจะต้องศึกษาให้ครบทุกด้านทั้งเรื่อง วัฒนธรรม (Culture) ประวัติศาสตร์ (History) มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (Humanities and Social Sciences) พุทธศิลป์ (Amulet Art) วิทยาศาสตร์ (Science) และพลังพุทธานุภาพ (Power of mind) เพื่อให้เข้าใจและมีความรู้ที่ถูกต้อง เปิดใจให้กว้าง อย่าเชื่อจากคำบอกเล่า อย่าเชื่อเซียน อย่าเชื่อหนังสือเล่มหนึ่งเล่มใด หรือแม้กระทั่งบทความของผู้เขียนที่ท่านกำลังอ่านอยู่นี่ก็ตาม เพราะหากมีองค์ความรู้ที่สืบค้นได้ใหม่ มันจะมาทดแทนความรู้เก่าในภายหลัง นี่คือความจริงทางด้านวิชาการที่สากลยอมรับ บทความนี้จึงเป็นการเติมเต็มช่องว่างที่ขาดหายไป แม้จะยังมิใช่ข้อสรุป แต่ก็พอจะเป็นแนวทางสำหรับผู้ศึกษามือใหม่ได้เข้าใจมากขึ้น

    ด้านวัฒนธรรม
    การศึกษาด้านวัฒนธรรมได้แก่ ความเชื่อ ความศรัทธาในพระพุทธศาสนา และประเพณีนิยมของผู้สร้าง จุลทัศน์ พยาฆรานนท์ (2550) ผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์ศิลป์และโบราณคดีของไทย ได้บรรยายในชั่วโมงเรียนระดับปริญญาเอกของผู้เขียน เกี่ยวกับสารัตถะในการสร้างศาสนศิลป์ว่า 1) สร้างเพื่อประเพณีนิยม ค่านิยม 2) สร้างเพื่อเป็นสิ่งชักจูงให้คนศรัทธาต่อพระพุทธศาสนา 3) เพื่อเป็นสื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจต่อพระพุทธธรรม 4) เพื่อเป็นสื่อในการจรรโลงจิตใจทางอุดมคติ ความจริง ความดี ความงาม เป็นอุดมคติคำสอนของพระพุทธเจ้า ต้องสว่าง สงบ สะอาด 5) เป็นสื่อในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างพระสงฆ์และศาสนิกชน ดังจะเห็นได้จากประเพณีการสร้างพระพิมพ์ในยุคต่างๆ เช่น ในสมัยทวารวดี ราวพุทธศตวรรษที่ 11-16 นิยมสร้างพระพิมพ์ดินเผาเพื่อถวายเป็นพุทธบูชา ต่อมาในสมัยศรีวิชัย ราวพุทธศตวรรษที่ 13-18 มีการสร้างพระพิมพ์ดินดิบ สันนิษฐานว่า คงสร้างขึ้นตามประเพณีนิยมในลัทธิมหายาน เมื่อมีการเผาศพพระเถระที่มรณภาพหรือบุคคลที่ตายแล้ว เอาอัฐิธาตุคลุกเคล้ากับดินแล้วพิมพ์ออกมาเป็นพระพุทธรูปหรือพระโพธิสัตว์ ไว้เป็นพระพิมพ์ดินดิบ และไม่นิยมนำมาเผาซ้ำอีกเพราะถือว่าได้เผาแล้ว ล่วงมาถึงสมัยอยุธยาก็ยังคงสร้างพระพิมพ์เพื่อพุทธศาสนาหรือเพื่อการทำบุญ สิ่งที่ยืนยันให้เห็นว่าเป็นเรื่องของการทำบุญได้ดีก็คือ มีกล่าวในศิลาจารึกในสมัยอยุธยาว่า สร้างพระเท่าจำนวนวันเกิดแล้วฝังในเจดีย์เป็นต้น (ศรีศักร วัลลิโภดม.2537:79) นอกจากนั้น ยังมีพระพิมพ์ที่บรรจุกรุต่างๆ อีกมากมาย เช่น พระตระกูลลำพูน สุโขทัย กำแพงเพชร พิษณุโลก ลพบุรี สุพรรณบุรี อยุธยา มหาสารคาม ฯลฯ ล้วนมีคตินิยมในการสร้างพระเพื่อเป็นการสืบทอดพระพุทธศาสนาทั้งสิ้น

    ส่วนการสร้างพระพิมพ์ในยุครัตนโกสินทร์ โดยเฉพาะการสร้างพระพิมพ์เนื้อผงของสมเด็จพระพุฒาจารย์(โต พรหมรังสี)นั้น มีวัตถุประสงค์ในการสร้างก็เพื่อสืบทอดพระพุทธศาสนาเป็นหลัก มิใช่สร้างเพื่อการค้าหรือเรี่ยไรเงินแต่อย่างใด ดังจะเห็นได้จากการสร้างพระพิมพ์เพื่อบรรจุกรุในสถานที่ต่างๆ เช่น กรุวัดระฆัง กรุวัดชีปะขาว กรุวัดตะไกร กรุวัดบางขุนพรหม กรุวัดเกศไชโย กรุวัดพระธาตุพนม ฯลฯ แต่ละแห่งน่าจะถูกสร้างให้ได้จำนวน 84,000องค์ตามพระธรรมขันธ์ “มูลเหตุที่เจ้าประคุณสมเด็จฯ สร้างพระพิมพ์ขึ้นนั้น สืบเนื่องมาแต่ท่านได้ปรารภถึงพระมหาเถระในปางก่อนว่า มักสร้างพระพิมพ์บรรจุไว้ในปูชนียวัตถุสถาน มีพระเจดีย์เป็นต้น เพื่อเป็นการสืบต่อพระพุทธศาสนา โดยถือว่าเมื่อต่อไปข้างหน้าช้านานถึงพระเจดีย์วิหารจะสูญไป ใครไปขุดพบพระพิมพ์ก็จะได้เห็นพระพุทธรูป รู้ว่าพระพุทธเจ้าเคยมีเคยได้โปรดสัตว์ในโลกนี้ ชวนให้ระลึกถึงพระพุทธคุณต่อไป ท่านปรารถนาจะประพฤติตามคตินั้น จึงได้สร้างพระพิมพ์ขึ้นจำนวนมาก”(พระครูปลัดสมคิด สิริวฑฒโน. 2550:66)

    นอกจากสมเด็จโตจะได้สร้างพระพิมพ์เพื่อบรรจุกรุต่างๆดังกล่าวแล้ว ท่านยังสร้างพระพิมพ์ขึ้นเนื่องในโอกาสต่างๆ รวมทั้งพระสมเด็จวังหน้าหรือสมเด็จเบญจรงค์ ปี พ.ศ.2412 ที่นำมาบรรจุกรุในวัดพระแก้วในภายหลัง อีกเป็นจำนวนมาก (มิใช่มีแค่สองพันกว่าองค์ตามที่กลุ่มเซียนสร้างวาทกรรมไว้) เพื่อไว้แจกจ่ายกับผู้มีบุญ ซึ่งต่อมาในภายหลัง รัชกาลที่5ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระสมเด็จชนิดปรกเมล็ดโพธิ์ ที่เรียกกันว่า “สมเด็จเขียว” ให้กับประชาชนในช่วงเกิดโรคอหิวาต์ระบาดหรือในช่วงสงคราม ก็เพื่อให้ผู้ที่ได้ครอบครองได้พ้นจากเภทภัยต่างๆ หรือในช่วงสงบก็ให้ระลึกถึงคุณของพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นต้น แต่กลุ่มบุคคลในภายหลัง ได้นำเอาพระพิมพ์ของท่านมาแปรสภาพเป็นสินค้า รวมทั้งมีการปลอมแปลง สร้างวาทกรรมบิดเบือนความจริง บอกพระแท้เป็นพระปลอม สร้างพระปลอมเป็นพระแท้และปิดกั้นผู้อื่น เพื่อสร้างความร่ำรวยให้กับกลุ่มตน จึงกลายเป็นประเพณีนิยมในการสร้างพระต่างๆตามมามากมายในปัจจุบัน มิหนำซ้ำการที่ตัวเองรู้ว่า พระองค์นั้นแท้ แต่กลับไปบอกว่าเป็นพระปลอม ก็เท่ากับเป็นการไปดูถูกเหยียดหยามหรือลดค่าความเป็นพระอันบริสุทธิ์ของ สมเด็จโตลงไปต่ำสุด หรือพวกเขาไม่เชื่อเรื่องของเวรกรรม จึงกระทำได้เช่นนั้น โปรดมีความเมตตาและความจริงใจต่อผู้อื่นเถิด เพราะสมเด็จโตกำลังดูการกระทำของท่านอยู่ แม้องค์สมเด็จโตจะเมตตาไม่กระทำอะไรต่อท่าน แต่แผ่นดินจะเป็นผู้เอาคืนท่านเอง

    เป็นที่น่าสังเกตว่า ในช่วงปัจจุบันนี้ เริ่มมีพระสมเด็จพิมพ์ต่างๆ หลายเนื้อ หลายสภาพ ปรากฏขึ้นมามาก โดยเฉพาะกับผู้ที่มีบุญหรือผู้ที่ปฏิบัติ นั่นเป็นเพราะว่า ถึงช่วงเวลาที่องค์สมเด็จโตท่านได้กำหนดไว้ ผู้มีบุญและผู้ศรัทธาด้วยความบริสุทธิ์ใจ ก็จะได้เห็นและได้ครอบครองพระสมเด็จด้วยวิธีแปลกๆอย่างไม่คาดฝัน โดยเฉพาะผู้ที่สวดคาถาชินบัญชรมานาน ผู้เขียนเคยสนทนากับผู้มีฌานทั้งหลาย ทั้งพระอริยะสงฆ์ ผู้บรรลุธรรมชั้นสูง ผู้มีองค์ใน ล้วนกล่าวตรงกันว่า นับจากปี พ.ศ.2500เป็นต้นมา ถือเป็นช่วงกึ่งกลางของพุทธศาสนาที่บรรดาเทพทั้งหลายจะลงมาดูแลพระพุทธศาสนา ต่อจากพระสงฆ์ ดังที่มีกล่าวไว้ตามพุทธทำนาย และในช่วงนับจากปี พ.ศ.2554-2556 จะเป็นช่วงที่เกิดวิกฤติหนักสุดของมวลมนุษยชาติ ทั้งการรบราฆ่าฟันกันระหว่างผู้ที่มีจิตหยาบ ชั่ว สงครามกลางเมือง สงครามระหว่างประเทศ วิกฤติเศรษฐกิจ วิกฤติการเมือง ภาวะโลกร้อน ภัยธรรมชาติ น้ำท่วมโลก และโรคแปลกๆ ซึ่งล้วนเกิดจากน้ำมือของมนุษย์ใจหยาบทั้งสิ้น จะมีผู้คนล้มตายจำนวนมาก จะเกิดการโกลาหล เงินจะไม่มีค่า ซึ่งในคำทำนายของสำเร็จลุนและสมเด็จโต กล่าวกันว่า นับแต่ปี พ.ศ. 2551-2560 จะเป็นการคัดเซ็นมนุษย์ผู้ที่มีจิตอยู่ในศีลในธรรม ผู้มีบุญจะถูกคัดเลือกให้รอดพ้นจากหายนะต่างๆ พระสงฆ์ไม่สามารถพึ่งได้ ผู้ใดที่มีพระสมเด็จหรือของศักดิ์สิทธิ์เช่น พระกรุที่กำลังผุดขึ้นมาจากใต้พื้นดินในสถานที่ต่างๆจำนวนมาก รวมทั้ง ผู้มีบุญจะเห็นลูกแก้วพญานาค เพชรนาคา ขึ้นมาจากดิน จากถ้ำ บางครั้งร่วงหล่นลงมาจากฟ้า ซึ่งกล่าวกันว่า นับจากช่วงเวลา 250ปีต่อแต่นี้ไป เป็นช่วงของเหล่านาคราชจะเป็นผู้ดูแลพระพุทธศาสนา (ผู้มีบุญและศรัทธาเท่านั้น จึงจะเห็นปรากฏการณ์นี้) ผู้มีใจหยาบจะไม่เชื่อและในที่สุดก็จะถูกภัยธรรมชาติและพวกเดียวกันทำลาย ซึ่งกันและกันจนหมดไป ที่กล่าวมานี้ มันเป็นเรื่องอจินไตย ที่สามารถรับรู้ได้เฉพาะตน หากท่านเป็นผู้ปฏิบัติและอยู่ในศีลในธรรม ท่านก็ไม่ต้องวิตกกังวล อะไรจะเกิดก็ให้มันเกิด อนึ่ง ณ ปัจจุบันนี้ เป็นที่สังเกตว่า ชาวต่างชาติ โดยเฉพาะคนจีน ไต้หวัน ฮ่องกง สิงคโปร์ มาเลเซีย กำลังเสาะแสวงหาพระสมเด็จและวัตถุมงคลจำนวนมาก เพราะประชาชนบางส่วนในแต่ละประเทศดังกล่าว เป็นผู้ปฏิบัติถือศีล กินเจ และนั่งสมาธิ เขาจึงสามารถล่วงรู้ได้ว่า จะมีสิ่งใดเกิดขึ้นบนโลกใบนี้ แล้วท่านจะเลือกอยู่ในกลุ่มคนประเภทใด (โปรดบันทึกบทเขียนตอนนี้ไว้ในความทรงจำของท่าน เพื่อจะเป็นข้อพิสูจน์ในภายหลัง)

    ด้านประวัติศาสตร์
    การศึกษาด้านประวัติศาสตร์ได้แก่ การศึกษาประวัติของผู้สร้าง เพื่อให้สอดคล้องกับช่วงเวลาในการสร้างพระให้ตรงกับเหตุการณ์ความเป็นจริงใน แง่ประวัติศาสตร์ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลานั้นๆ ยกตัวอย่างเช่น มีบางคนพยายามนำเอาพระสมเด็จที่ด้านหลังมีเหรียญรัชกาลที่ 5ติดอยู่ด้านหลังว่า เป็นพระที่สมเด็จโตสร้างและปลุกเสกเอง ทั้งที่ความเป็นจริงนั้น เหรียญรัชกาลที่ 5ที่ติดอยู่ด้านหลังนั้น มีพระชันษามากแล้ว (มีหนวดและพระพักตร์แก่) จึงเป็นการขัดแย้งกับความเป็นจริง เพราะสมเด็จโตมรณภาพในขณะที่รัชกาลที่ 5ยังทรงพระเยาว์ (19 ชันษา) หรือมีพระสมเด็จบางพิมพ์ที่มีตัวอักษรประกอบทั้งด้านหน้าและด้านหลังนั้น ให้พิจารณาที่คำและตัวอักษรว่า ในสมัยสมเด็จโตนั้น เขาใช้ภาษา ตัวอักษร และคำสะกดอย่างไร ซึ่งการใช้ภาษาและการสะกดตัวอักษรในสมัยนั้น ไม่เหมือนกันกับสมัยนี้ เช่น สมัยก่อนเขียนคำว่า “เปนที่รฤก” ปัจจุบันเขียนว่า “เป็นที่ระลึก” เป็นต้น

    อีกตัวอย่างหนึ่ง มีบุคคลบางกลุ่มพยายามกล่าวหาว่า อ.อรรคเดช กฤษณะดิลก และ ผู้เขียน กำลังหลอกลวงผู้คน โดยการนำเอาพระสมเด็จที่สร้างขึ้นเมื่อ 80ปีที่แล้ว มาบรรยาย ตีพิมพ์ ให้เช่า และออกใบรับรองให้กับสมาชิกทั่วประเทศ ขอให้ผู้อ่านโปรดใช้พิจารณาว่า เมื่อ 80 ปีที่แล้ว วงการพระสมเด็จยังไม่ได้โด่งดัง ยังไม่มีแผงพระ ยังไม่มีสื่อโฆษณาใดๆ และยังไม่มีกลุ่มปั่นราคาให้แพงเฉกเช่นปัจจุบัน แล้วมีเหตุผลอันใดที่จะทำให้คนในยุคสมัยนั้น สร้างพระปลอมขึ้นมาเป็นจำนวนมากนับแสนๆองค์ ครั้นจะบอกว่า เป็นพระที่สร้างขึ้นมาเมื่อไม่กี่ปีก็ไม่ได้ เพราะพระมีความเก่า มีมวลสารครบ และมีที่มาอันบริสุทธิ์จากชาวบ้านและผู้มีบุญ รวมทั้งมีพลังที่สามารถตรวจสอบจากผู้มีฌานได้ มีการตรวจสอบทางด้านวิทยาศาสตร์และทำการวิจัยมาดีแล้ว และมีธรรมชาติของพระแท้ที่หนีไม่ออก แถมยังมีความสวยงามและสมบูรณ์มากอีกด้วย แม้ผู้ที่โจมตีจะมีชื่อเสียงระดับประเทศ แต่พวกเขาก็เกิดไม่ทัน80ปีที่แล้ว ไม่มีหลักฐานอะไรมายืนยัน ได้แต่กล่าวไปเรื่อย หรือพวกเขากลัวจะเสียผลประโยชน์ หรือกลัวเสียฟอร์มกันแน่ ฉะนั้น การศึกษาช่วงเวลาหรือประวัติศาสตร์ จึงเป็นความจริงที่ไม่สามารถบิดเบือนได้

    จากการศึกษาประวัติของสมเด็จพระพุฒาจารย์(โต พรหมรังสี) พอสรุปได้ดังนี้ สมเด็จพระพุฒาจารย์ นามเดิม โต นามฉายาว่า พรหมรังสี เกิดในรัชกาลที่ 1 ณ บ้านตำบลไก่จ้น (ท่าหลวง) อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เมื่อวันพฤหัสบดี เดือน 5 ขึ้น 12 ค่ำ ปีวอก จ.ศ. 1150 ตรงกับวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2331 เวลาพระบิณฑบาต มารดาชื่อ ละมุด (บางคนบอกว่าชื่อ เกศ) เดิมเป็นชาวตำบลท่าอิฐ อำเภอบ้านโพธิ์ (อำเภอเมือง) จังหวัดอุตรดิตถ์ บิดาไม่ปรากฏชื่อ (บางตำราบอกว่าบิดาคือ ร.1 บางตำราบอกว่า ร.2) ขณะที่ท่านเป็นทารกนั้น ครอบครัวได้ย้ายภูมิลำเนาไปอยู่ที่ตำบลไชโย จังหวัดอ่างทอง พอท่านยืนนั่งได้ ครอบครัวจึงได้ย้ายมาอยู่ที่ตำบลบางขุนพรหม จังหวัดพระนคร กล่าวกันว่า ขณะที่ท่านวัยเยาว์นั้น ท่านได้ศึกษาอักขรสมัยในสำนักเจ้าคุณอรัญญิก (ด้วง) วัดอินทรวิหาร ครั้นอายุ 12 ปี (พ.ศ. 2342) ได้บรรพชาเป็นสามเณร โดยเจ้าคุณบวรวิริยะเถระ (อยู่) วัดสังเวชวิศยาราม บางลำพู เป็นพระอุปัชฌาย์ และได้ย้ายมาอยู่วัดระฆังเพื่อศึกษาพระปริยัติธรรมตั้งแต่บัดนั้น ขณะที่ท่านยังเป็นสามเณรอยู่นั้น ปรากฏว่า พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เมื่อครั้งยังดำรงพระยศเป็นสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร ทรงโปรดปรานมาก จึงทรงรับไว้ในพระราชูปถัมภ์ ครั้นอายุครบอุปสมบท พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงพระกรุณาโปรดฯ ให้บวชเป็นนาคหลวงที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม (บางท่านบอกว่า บวชที่วัดระฆังโฆสิตาราม) เมื่อปีเถาะ พ.ศ. 2350 โดยมีสมเด็จพระสังฆราชสุก วัดมหาธาตุเป็นพระอุปัชฌาย์

    การศึกษาเบื้องต้นของสมเด็จโตนั้น นอกจากศึกษาคันถธุระ (พระปริยัติธรรม) ที่มีความเชี่ยวชาญดีแล้ว ท่านยังได้ศึกษาวิปัสสนาธุระอย่างจริงจังอีกด้วย จะเห็นได้ว่าในช่วงรัชกาลที่ 2 การศึกษาวิปัสสนาธุระมีความเจริญรุ่งเรืองมาก “ด้วยปรากฏในจดหมายเหตุว่าเมื่อปีมะเส็ง พ.ศ.2364 พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย โปรดฯให้อาราธนาพระสงฆ์ผู้ทรงคุณในทางวิปัสสนาธุระ ทั้งในกรุงและหัวเมืองปักษ์ใต้ ฝ่ายเหนือ มารับพระราชทานบริขารอันควรแก่สมณะฝ่ายอรัญวาสี แล้วแต่งตั้งเป็นพระอาจารย์บอกพระกรรมฐานแก่พระสงฆ์สามเณรและคฤหัสถ์ รวม 73 รูป” (พระครูปลัดสมคิด สิริวฑฒโน.2550:65) จึงสันนิษฐานว่า สมเด็จโตคงได้ศึกษาจากหลายสำนัก เช่น สำนักเจ้าคุณอรัญญิก (แก้ว) วัดอินทรวิหาร และสำนักเจ้าคุณบวรวิริยะเถระ(อยู่) วัดสังเวชวิศยาราม รวมทั้งได้เรียนจากพระอาจารย์แสง วัดมณีชลขันธ์ ลพบุรีด้วย พระอาจารย์แสงรูปนี้กล่าวกันว่า เป็นผู้ทรงคุณในทางวิทยาคม สามารถย่นเวลาและหนทางได้ นอกจากนั้น ท่านยังได้ศึกษาวิปัสสนากรรมฐานชั้นสูงและการสร้างพระเนื้อผงกับสมเด็จพระ สังฆราช (สุกไก่เถื่อน) และสันนิษฐานว่า สมเด็จโตได้ร่วมปลุกเสกพระเนื้อผงนั้นด้วย

    อย่างไรก็ตาม สมเด็จโตมีอัธยาศัยไม่ปรารถนายศศักดิ์ แม้จะแตกฉานในพระไตรปิฎก และเก่งด้านพระปริยัติธรรม แต่ก็ไม่เข้าสอบเป็นพระเปรียญ แม้แต่รัชกาลที่ 3 จะทรงตั้งเป็นพระราชาคณะ ท่านก็ทูลขอเสีย และมักหลบออกไปธุดงค์ตามหัวเมืองต่างๆ รวมทั้งไปไกลถึงลาวและเขมรก็มี แต่ต่อมาในช่วงรัชกาลที่ 4 ท่านจึงยอมรับเอาสมณศักดิ์ดังที่ปรากฏคือ ปี พ.ศ.2395 เป็นพระธรรมกิติ ต่อมาอีกสองปีคือ พ.ศ.2397 เป็นพระราชาคณะผู้ใหญ่ที่พระเทพกวี ครั้นถึงปีชวด พ.ศ.2407 ได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระพุฒาจารย์ จนกระทั่งท่านได้มรณภาพในคืนวันเสาร์ แรม 2 ค่ำ เดือนแปด ปีวอก จ.ศ.1234 ตรงกับวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ.2415 เวลา 2 ยาม คำนวณอายุได้ 85 ปี (ประวัติอย่างละเอียด โปรดศึกษาในหนังสือที่ระลึกงานถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ พุทธศักราช 2550 และเล่มอื่นๆ)

    จากการศึกษาประวัติของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ของอาจารย์สุชาติ มั่นคงพิทักษ์กุล (2552) รวมทั้งหลักฐานอื่นๆ ที่ผู้เขียนค้นพบ สามารถเชื่อมโยงกับเหตุการณ์ต่างๆ ตามหนังสือและบทบันทึกของผู้ที่เกี่ยวข้อง สามารถแบ่งช่วงเวลาของการสร้างพระพิมพ์สมเด็จ ออกเป็น 5 ช่วง พอสรุปได้ดังนี้

    ช่วงที่ 1 พ.ศ.2361 – 2385 ในช่วงของรัชกาลที่ 2 และ 3 สมเด็จโตอายุประมาณ 30-54 ปี ถือเป็นช่วงที่ท่านเริ่มมีชื่อเสียงในด้านการเทศน์ ในช่วงปี พ.ศ.2363-2365 สมเด็จโตได้มีโอกาสร่ำเรียนวิปัสสนากรรมฐานชั้นสูง รวมทั้งการออกแบบและมวลสารในการสร้างพระพิมพ์กับสมเด็จพระสังฆราช (สุกไก่เถื่อน)

    ช่วงที่ 2 พ.ศ.2385 – 2393 ในช่วงของรัชกาลที่ 3 สมเด็จโตอายุ 54-62 ปี หลังจากได้กลับไปจัดงานศพให้โยมมารดา ตอนอายุ 54ปี จากนั้นท่านใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการธุดงค์ ทั้งทางเหนือ ลาว และเขมร ต่อมาได้สร้างพระนอนที่วัดขุนอินทร์ประมูล อ.ป่าโมกข์ จังหวัดอ่างทอง ในช่วงปี พ.ศ.2386 ได้มีการสร้างพระสมเด็จพิมพ์เกศไชโย เนื่องจากพบหลักฐานคือ มีพระสมเด็จพิมพ์เกศไชโยถูกบรรจุอยู่ในฐานรูปหล่อองค์เหมือนสมเด็จโต รวมทั้งได้สร้างพระพุทธรูปยืน ปางอุ้มบาตร วัดกลางคลองข่อย ตำบลคลองข่อย อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี ประมาณปี พ.ศ.2390 และในช่วงเวลาใกล้กัน ได้สร้างพระเจดีย์นอนที่หลังโบสถ์วัดละครทำ ตำบลบ้านช่างหล่อ จังหวัดธนบุรี ปัจจุบันหักพังหมดแล้ว

    ช่วงที่ 3 พ.ศ.2394 - 2407 ในช่วงต้นรัชกาลที่ 4 สมเด็จโตอายุ 63-76 ปี เป็นช่วงเวลาที่ท่านได้รับตำแหน่งราชาคณะตั้งแต่ที่ พระธรรมกิติ (พ.ศ.2395) พระเทพกระวี (พ.ศ.2397) และสมเด็จพระพุฒาจารย์ (พ.ศ.2407) ในช่วงเวลานี้ น่าจะมีการสร้างพระสมเด็จ เนื่องในโอกาสฉลองเลื่อนสมณศักดิ์ตามลำดับดังกล่าวด้วย ในปี พ.ศ.2399 มีการสร้างพระพิมพ์อรหัง เนื่องจากพบหลักฐานอยู่ภายใต้ฐานรูปหล่อองค์สมเด็จโต นอกจากนั้น ยังมีเหตุการณ์ทางด้านการเมือง เช่น การขึ้นครองราชย์ของรัชกาลที่ 4 และสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ ในปี พ.ศ.2394 และเหตุการณ์พระราชสมภพของรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ.2396 ต่อมาท่านได้สร้างพระนั่งโต ที่วัดเกศไชโย จังหวัดอ่างทอง ในปี พ.ศ.2406-2407 รวมทั้งได้สร้างพระสมเด็จ จำนวน 84,000 องค์ มีพิมพ์ 5ชั้น 6ชั้น 7ชั้น ฯลฯ เพื่อบรรจุไว้ในกรุวัดดังกล่าวด้วย ช่วงนี้หลวงวิจารณ์เจียรนัย เริ่มเข้ามามีบทบาทในการออกแบบพิมพ์พระสมเด็จ

    ช่วงที่ 4 พ.ศ.2408 - 2411 ในช่วงปลายรัชกาลที่ 4 สมเด็จโตอายุ 77-80 ปี ในปี พ.ศ. 2408 ได้มีการสร้างพระสมเด็จเพื่อบรรจุกรุวัดพระธาตุพนม และเหตุการณ์พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสวรรคต ในปี พ.ศ.2408 ต่อมาปี พ.ศ.2409 สมเด็จโตได้สร้างพระสมเด็จถวายรัชกาลที่ 5 เนื่องในโอกาสพระองค์ทรงผนวช ณ วัดบวรนิเวศวิหาร ต่อมาใน ปี พ.ศ.2410 ท่านเริ่มสร้างพระยืนโต ที่วัดอินทรวิหาร จึงน่าจะมีการสร้างพระสมเด็จบรรจุในกรุวัดอินทรวิหารด้วย ขณะเดียวกันท่านยังได้สร้างพระพุทธรูปปางมารวิชัย มีพระนามว่า “พระพุทธมหามุนีศรีมหาราช” ที่วัดกุฎีทอง (วัดพิตเพียน) ตำบลพิตเพียน อำเภอมหาราช จังหวัดพระนครศรีอยุธยา อีกด้วย และในปี พ.ศ.2411 มีการสร้างพระสมเด็จวังหน้าเพื่อบรรจุกรุวัดพระแก้ว และเพื่อถวายรัชกาลที่ 5 เช่นกัน

    ช่วงที่ 5 พ.ศ.2412 – 2415 ในช่วงต้นรัชกาลที่ 5 ซึ่งถือเป็นช่วงสุดท้ายของสมเด็จโตต่อเนื่องจนกระทั่งมรณภาพ ในปี พ.ศ.2412 มีการสร้างพระสมเด็จเบญจรงค์ หรือ เบญจสิริ เพื่อเตรียมถวายรัชกาลที่ 5 ที่ได้ส่วนผสมหลักมาจากประเทศจีนโดยกรมเจ้าท่า ซึ่งพระชุดนี้เรียกว่า พระสมเด็จวังหน้า ต่อมาจึงได้นำไปบรรจุไว้ในกรุวัดพระแก้วในภายหลัง ในช่วงปี พ.ศ.2413 เสมียนตราด้วง ได้มีการขอแม่พิมพ์จากสมเด็จโต เพื่อสร้างพระสมเด็จจำนวน 84,000องค์ เพื่อบรรจุลงในกรุเจดีย์ใหญ่วัดบางขุนพรหม (วัดใหม่อมตรส) แต่ได้สร้างและทำพิธีที่วัดอินทรวิหาร ในปีเดียวกันนี้ เจ้าประคุณสมเด็จโต ยังสร้างพระนอนวัดสะตือ จังหวัดอยุธยา จึงน่าจะมีการสร้างพระสมเด็จบรรจุในกรุนี้ด้วย ต่อมาในปี พ.ศ.2415 สมเด็จโตได้มรณภาพ ท่านเจ้าพระคุณธรรมถาวร ได้นำพระสมเด็จออกมาแจกในงานศพจำนวนมากกว่าสามหมื่นองค์ และเป็นพระสมเด็จที่ได้รับการลงรักปิดทองส่วนใหญ่ และอีกบางส่วนจำนวนมากมีผู้นำไปไว้ที่หอสวดมนต์ และบนเพดานพระวิหารของวัดระฆังด้วย


    สถานที่ค้นพบสมเด็จวัดระฆัง
    จากการสัมภาษณ์ชาวบ้านชุมชนวัดระฆังและผู้สูงอายุได้เล่าว่า พระสมเด็จวัดระฆังได้มาจากเจดีย์องค๋ใหญ่ ในครั้งเมื่อสงครามโลกครั้งที่สองไทยรบญี่ปุ่นได้เกิดขบวนการเสรีไทยขึ้น รัฐบาลได้สั่งให้นำพระสมเด็จที่สร้างบรรจุกรุวัดระฆังขึ้นมาแจกทหารและ สมาชิกขบวนการเสรีไทย โดยท่านเยื้อน หรือเสือเยื้อนในสมัยนั้น ที่คุมชุมเสือทั้งหมดในขณะนั้น เป็นที่เกรงใจกับเสือใบ เสือมเหศวร เสือดำ


    ศูนย์พระเครื่องพระบูชาออนไลน์Amuletsale4u.com





     
  9. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,790
    ค่าพลัง:
    +16,105
    จิตที่เร็วยิ่งนัก

    เรื่องความเร็วของจิต นั้น หลายคนก็คงตระหนักว่ามันเร็วมาก ในชั่วระยะเวลาไม่กี่นาทีมันก็สามารถแล่นไป คิดไปได้หลายสิบเรื่อง บ้างก็แล่นออกไปปรุงเป็นพระเอก นางเอก ตัวดี ตัวโกง หรือแล่นออกไปปรุงเป็นผู้ถูกกระทำ ให้รู้สึกน้อยอกน้อยใจในการกระทำหรือคำพูดของคนอื่น คิดซ้ำ ๆ คล้ายเอาข้าวบูดมากินใหม่อยู่เรื่อย แต่ความเร็วของจิตที่รับรู้ได้อย่างนี้ก็ยังนับว่าหยาบอยู่ ประกอบกับมักเป็นการตามรู้ไล่หลังความคิดทุกทีไป ยากที่จะพัฒนาจากการตามรู้เป็นการรู้เท่าทันชนิดรู้ไล่กันมาติด ๆ เพื่อกันความคิดปรุงแต่ง

    สำหรับครูบาอาจารย์ที่ท่านฝึกจิตมาดี แล้ว ดังเช่นหลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ และหลวงปู่เกษม เขมโก เป็นต้น ท่านทราบอาการความเร็วของจิตได้ละเอียดกว่าเรา ๆ หลายหมื่นหลายแสนเท่า ชนิดไม่อาจเปรียบเทียบกันได้

    ครั้งหนึ่ง หลวงปู่ดู่เคยอุปมาความเร็วของจิตให้ลูกศิษย์ฟังว่า "แค่ระยะเวลาที่เราเชคู้แขน-เหยียดแขน หลวงพ่อเกษมท่านไปกลับ (สุสานไตรลักษณ์ - วัดสะแก) ได้ ๗ ครั้ง" หรือ "แค่ระยะเวลาไม่กี่นาที จิตก็สามารถแล่นไปได้เป็นโกฏครั้ง"
    มิน่าเล่าท่านถึงได้เน้นการปฏิบัติ กรรมฐาน เพื่อการฝึกจิตให้ทันความเร็วของจิตหรือความคิด หากไม่มีกรรมฐาน ไม่ต้องพูดกันเลยเรื่องการดูการรู้การทันจิตหรือความคิด เหมือนจะจับลิงในป่า วิ่งตามเท่าไหร่ก็วิ่งไม่ทันลิง ป่าเขาก็กว้างใหญ่เหลือประมาณ แต่พอตะล่อมมันให้มาอยู่ในวงจำกัด จึงพอมีทางที่จับมันได้

    การจับตัวจิตหรือความคิดนี้ก็เหมือน กัน ต้องตะล่อมมันให้มาอยู่ในวงกรรมฐาน ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงสอนไว้เป็นเรื่องใหญ่ และแจกแจงตามจริตนิสัยของผู้ปฏิบัติ (ผู้ต้องการจับลิง) ไว้ถึง ๔๐ หมวด กรรมฐานซึ่งนอกจากจะเป็นการตะล่อมจิตหรือความคิดให้มาอยู่ในวงจำกัดแล้ว พร้อมกันนั้นก็ทำให้มันเชื่องขึ้น ๆ ไม่ว่องไวหนีเตลิดเปิดเปิงไปดังแต่ก่อน และยังเป็นการพัฒนาสติให้ว่องไวกระทั่งทันความคิด เรียกว่าคิดปั๊บ สติรู้เท่าทัน ความคิดนั้นดับไป ความคิดใหม่ผุดเกิดขึ้นอีก สติก็ระลึกรู้ทัน ความคิดใหม่ก็ดับไปให้เห็นอีก เป็นอย่างนี้เรื่อยไป

    หากขาดกรรมฐาน กว่าจะรู้ตัว เราก็มักคิดปรุงเป็นเรื่องเป็นราวไปยกใหญ่แล้ว กระทั่งเกิดเป็นความยินดียินร้ายหรือความเศร้าหมองขึ้นในจิตไปแล้ว คุณภาพของจิตเสียไปแล้ว เหมือนมารู้ตัวอีกทีก็ตอนจิตเราถูกเผาเป็นตอตะโกไปแล้ว เร็วขึ้นกว่านั้นก็ระยะที่ถูกเผาจนมีควันกรุ่นออกมา ก็ตามมารู้แล้วดับมันไว้ในขณะที่ยังไม่ทันเป็นเพลิงลุกไหม้ ดีที่สุด ไวที่สุดก็ต้องอาศัยกรรมฐานช่วยให้เห็นทันตั้งแต่ยื่นไม้ขีดมาจุด แล้วให้ขาดแค่นั้น ไม่ให้จุดติดไฟได้

    จิตนี้นอกจากเร็วยิ่งนักแล้ว ยังเป็นสิ่งที่พระพุทธองค์ตรัสว่าห้ามยาก ดัดยากไว้อีกดังนี้
    จิตดิ้นรน กลับกลอก ป้องกันยาก ห้ามยาก คนมีปัญญาสามารถทำให้ตรงได้ เหมือนช่างศรดัดลูกศร และ
    จิตควบคุมยาก เปลี่ยนแปลงเร็ว ใฝ่ในอารมณ์ตามที่ใคร่ ฝึกจิตเช่นนั้นได้เป็นการดี เพราะจิตที่ฝึกดีแล้ว นำสุขมาให้

    Luangpudu.com / Luangpordu.com

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 กันยายน 2010
  10. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,790
    ค่าพลัง:
    +16,105
    แกมันทำไม่จริง

    ศิษย์ ผู้มีความตั้งใจปฏิบัติภาวนาผู้หนึ่ง หลังจากได้รับความก้าวหน้าและความชำนาญในการปฏิบัติสมาธิภาวนามาตามลำดับ ก็มาเจออุปสรรค คือ ความง่วง ความง่วงนี้ได้กลายมาเป็นอุปสรรคในระหว่างการปฏิบัติสมาธิภาวนาของเขาอยู่ นานกว่าเดือน ก็ยังไม่หาย
    วัน หนึ่ง เขาเดินทางไปกราบหลวงปู่ เขาไม่กล้าสบสายตาหลวงปู่ เพราะรู้ตัวว่าที่ผ่านมาปฏิบัติภาวนาไม่ค่อยได้เรื่องได้ราวสักเท่าไร หลวงปู่เรียกให้เขารินน้ำชาดื่ม พอเขารินเสร็จเขาก็เงยหน้าขึ้น สายตาเขาจึงสบกับสายตาหลวงปู่ที่จ้องอยู่ก่อน หลวงปู่จ้องตาเขา แล้วกล่าวว่า “แกมันทำไม่จริง”
    ประโยคสั้น ๆ เพียงเท่านี้ ได้เป็นดั่งมีดกรีดหัวใจของศิษย์ผู้นี้ เขาชาไปทั้งตัว แล้วก็ไม่มีคำพูดคำกล่าวอะไรจากหลวงปู่อีก เขากลับมาปฏิบัติต่อที่บ้าน คืนนั้น พอความง่วงเริ่มเข้ามา ใบหน้าหลวงปู่ที่จ้องตาเขา และคำพูดที่ว่า "แกมันทำไม่จริง” ก็ผุดขึ้นในใจ กลายมาเป็นสิ่งที่ช่วยขับไล่ความง่วงออกไปจนหมดสิ้น จึงนับได้ว่าเขาได้มีชัยชนะต่อนิวรณ์ตัวง่วงเหงาหาวนอนด้วยอุบายธรรมของหลวง ปู่อย่างแท้จริง
    พอเขาได้มีโอกาสไปกราบนมัสการหลวงปู่อีก หลวงปู่ได้ชี้แนะเขาเพิ่มเติมโดยท่านชี้ไปที่ร่องกระดานเบื้องหน้าพร้อมกับตั้งคำถามเขาว่า “หากแกต้องการข้ามร่องกระดานนี้ แกจะทำยังไง” เขาตอบหลวงปู่ว่า “ผมก็คงต้องถอยหลังมาสักก้าวสองก้าวแล้วกระโดดข้ามไป” หลวงปู่เฉลยว่า “แกต้องใช้ปีติ”
    เมื่อ เขานำมาพิจารณาจึงเริ่มเข้าใจชัดขึ้นว่า ร่องกระดานก็เปรียบเหมือนอาการที่จิตตกภวังค์ เป็นอาการที่ขาดสติ โดยเฉพาะจากความง่วงเหงาหาวนอน ดังนั้น จึงต้องปั่นปีติให้เกิดขึ้น จะได้เป็นกำลังให้จิตตื่นตัวขึ้น มีภาวะแห่งความรู้ตื่น เบิกบานมากขึ้น สติที่ต่อเนื่องและมีกำลังก็จะทำให้ก้าวข้ามร่องกระดานนี้ไปได้ทีนี้
    หาก ถามว่าจะสร้างปีติให้เกิดขึ้นได้อย่างไร อันนี้ก็อาจไม่มีแบบแผนสำเร็จรูป ต้องพิจารณาหยิบเครื่องมือที่เหมาะสมแก่ตัวเรา และเหมาะสมกับสถานการณ์ขณะนั้น เพราะอุบายหนึ่ง ๆ อาจใช้ได้ผลในโอกาสหนึ่ง แล้วใจเราก็อาจสร้างเชื้อดื้อยาขึ้นได้ จนอุบายเดิมใช้ไม่ได้ผลอีกแต่อุบายหนึ่งที่หลวงปู่ให้ไว้ก็คือ การระลึกถึงคำสอนคำเตือนของหลวงปู่ และการระลึกถึงพระประวัติและพระคุณของพระพุทธเจ้า เป็นต้น

    Luangpudu.com / Luangpordu.com
     
  11. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,790
    ค่าพลัง:
    +16,105
    ไม่รู้ว่าเปลี่ยนภพ


    คราวหนึ่ง ที่หน้ากุฎิหลวงปู่ หลวง ปู่ได้ให้ลูกศิษย์ผู้หนึ่งขอบุญหลวงปู่ทวด แผ่เมตตาให้สัมภเวสีที่อยู่บริเวณใต้ถุนกุฏิ รวมทั้งในรอบ ๆ บริเวณนั้น ลูกศิษย์ผู้นั้นเรียนท่านว่าเห็นเป็นจุดเล็ก ๆ จำนวนมากที่สว่างแล้วก็วูบหายไป
    หลวง ปู่ก็ว่าให้ตั้งใจดูสักจุดหนึ่ง แล้วขอบารมีหลวงปู่ทวดอธิษฐานไปดูต่อซิว่าเขาไปเกิดที่ไหน เขากำหนดจิตตามที่หลวงปู่แนะนำและกราบเรียนท่านว่าได้เห็นเทวดา ๒ ตน ต่างจับเสื้อผ้าอาภรณ์ของกันและกันด้วยอาการสงสัย หลวงปู่พูดอธิบายพลางอมยิ้มว่า “เทวดาเขางง” เพราะวิญญาณเหล่านี้เขารับบุญและเปลี่ยนภพภูมิกะทันหันชนิดไม่ทันรู้ตัว
    นี้ ก็เป็นเพียงเรื่องราวที่เป็นเกร็ดเล็ก ๆ ในช่วงที่หลวงปู่ยังมีชีวิต ที่หลวงปู่ต้องการให้ศิษย์เชื่อมั่นเรื่องภพภูมิและสังสารวัฏ รวมทั้งเชื่อมั่นเรื่องกรรมดีกรรมชั่ว และที่สำคัญ ให้เชื่อมั่นเรื่องผลแห่งการเจริญเมตตาบนพื้นฐานของจิตที่เป็นสมาธิ


    Luangpudu.com / Luangpordu.com
     
  12. pinkpink

    pinkpink เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    1,246
    ค่าพลัง:
    +11,631
    ร่วมบุญสงฆ์อาพาธ
    โอนเงินเข้ากรุงศรี 3481232459
    15/09/10 11.44 สถานที่ 6661

    จำนวน 300 บาท

    ขอให้ท่านทั้งหลายมีส่วนในบุญนี้กับข้าพเจ้าด้วย
     
  13. เกสรช์

    เกสรช์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    827
    ค่าพลัง:
    +1,401
    เกสรช์และครอบครัว ร่วมบุญสงเคราะห์พระภิกษุสงฆ์อาพาธ 300 บ.
    คุณ ฉัฏวีริณยมนา และครอบครัว "--------------------" 500 บ.

    โอนไปวันนี้ เวลา13:18

    โมทนาทุกท่านคะ สาธุๆ
     
  14. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,790
    ค่าพลัง:
    +16,105
    ขอนำใบอนุโมทนาบัตรที่ได้รับมาในขณะนี้มาลงให้ได้อนุโมทนาบุญกันก่อนครับ โดยในส่วนของ รพ.สมเด็จพระยุพราชด่านซ้าย จ.เลย ได้นำส่งสรุปบัญชีฯ มาให้แทนใบอนุโมทนาซึ่งการรักษาจะเห็นได้ว่ามีทั้งพระภิกษุต่างชาติและชาวไทยมารักษาตัวด้วยกัน จึงนับได้ว่าเนื้อนาบุญนั้นเขตบุญการรักษาไม่ได้เลือกเชื้อชาติ หรือสัญชาติแต่อย่างใด เช่นเดียวกันกับ รพ.แม่สอด จ.ตาก ที่มักมีพระภิกษุพม่าข้ามมารักษาตัวอยู่ทุกเดือนครับ




    [​IMG]

     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  15. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,790
    ค่าพลัง:
    +16,105

    วันนี้ต้องขออนุญาตนำรายชื่อข้างต้นมาขออนุโมทนาและสาธุบุญและขอขอบคุณรวมกันทั้งหมดครับ ด้วยภารกิจในหน้าที่การงานของผมจึงทำให้เข้ามาในกระทู้ได้เพียงวันละนิดละหน่อยแบบแวบเข้ามาเท่านั้น ถึงยังงั้นจิตใจก็ยังไม่ได้เสื่อมถอยในงานบุญซึ่งในโพสท์ถัดไปก็จะเล่าให้ได้ทราบกัน จะเห็นได้ว่ารายชื่อข้างต้่น บางท่านก็เป็นรายชื่อใหม่ ส่วนท่านเก่าไม่ต้องกล่าวถึงศรัทธามั่นอยู่แล้ว ขอให้มั่นคงตลอดไป อย่าลืมครับ ตั้งจิตบริจาคคราใด สลิปที่โอนเงินขึ้นนั่นล่ะ ยกขึ้นมาประนมมือจบที่หน้าผาก ขอให้บุญและกุศลที่ข้าพเจ้าได้ตั้งใจถวายแด่พระสงฆ์ที่อาพาธโดยผ่านทุนนิธิฯ จงมีแด่ข้าพเจ้า บุพการี......จนถึงเทพเทวาที่ปกปักรักษาดวงชะตาชีวิตของข้าพเจ้า ให้ได้มีส่วนในบุญกุศลของข้าพเจ้านี้ด้วยเทอญ....สิ่งที่เหลือต่อไปข้างหน้า เดี๋ยวทางทุนนิธิฯ จะได้เรียนให้ผู้ัที่สำเร็จฌาณอภิญญาขั้นสูงให้ท่านได้เมตตาทำหน้าที่ส่งบุญของท่านไปตามแรงอธิษฐานของท่านต่อไป ขออนุโมทนากับทุกๆ ท่านอีกครั้งหนึ่งครับ


    [​IMG]

    พุทธานุสสติภาวนาลายมือหลวงพ่อเกษม เขมโก
    สุสานไตรลักษณ์ จ.ลำปาง


    เมื่อบริจาคปัจจัยให้เป็นทานในการรักษาสงฆ์อาพาธแล้ว ควรแบ่งเวลาสักหน่อยก่อนนอน ในการนั่งรวมจิตรวมใจในสมาธิภาวนา อันเป็นการสร้างบุญกุศลให้ข้ามภาพข้ามชาติติดตัวเราไปอย่างยั่งยืนและถาวรตลอดกาล
    หลวงพ่อเกษมท่านให้ทำ 3 วันติดกัน พระอริยสงฆ์ระดับนี้แนะนำ น่าจะมีอะไรเกิดขึ้นกับราที่มากไปกว่าที่ท่านได้เขียนไว้แน่
     
  16. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,790
    ค่าพลัง:
    +16,105
    มีเรื่องแจ้งให้ทราบนิดนึงครับ ในปีนี้ ทุนนิธิฯ สงเคราะห์สงฆ์อาพาธ อ.ประถม อาจสาคร ได้รับเป็นเจ้าภาพกฐินต่อท่านหลวงปู่เครา สำนักสงฆ์ถ้ำระฆัีงทอง หุบเขาพระตรัยลักษณ์ ต.นาสนุ่น อ.ศรีเทพ จ.เพชรบูรณ์ ไว้ โดยทุนนิธิฯ รับเป็นกฐินเอก ส่วนปัจจัยในการจัดการเรื่องนี้คือ
    1.เครื่องกฐิน
    2.ค่าดำเนินการในการจัดพิมพ์ซอง

    คณะกรรมการทุนนิธิฯ มีความเห็นตรงกันที่จะใช้เงิินในบัญชีของทุนนิธิฯ ประมาณ 14,000.- ในการดำเนินการ ส่วนเรื่องเงินบริจาคนั้น ให้กรรมการดำเนินงานในแต่ละสายงาน ได้จัดหารายชื่อกรรมการมาช่วยกันและในขณะนี้การดำเนินการในส่วนของคณะกรรมการนั้น ได้รายชื่อมามากพอสมควรแล้ว สำหรับกำหนดการทอดกฐินนั้น เป็นวันอาทิตย์ที่ 31 ตุลาคม 2553 ที่จะถึงนี้
    และกฐินนี้นับเป็นกฐินครั้งแรกของทุนนิธิฯ ท่านที่เข้ามาในกระทู้นี้เป็นประจำ หากมีความต้องการโอนเงินช่วยงานกฐินในครั้งนี้ โดยผ่านทุนนิธิฯ ผมจะได้แจ้งให้ทราบถึงวิธีการบริจาคต่อไป

    พันวฤทธิ์
    18/9/53

    [​IMG]

    ภาพของหลวงปู่เครา เมื่อครั้งบำเพ็ญเพียรเป็นแบบโยคี โดยในปัจจุบัน หลวงปู่เคราเป็นพระสงฆ์ที่บำเพ็ญเพียรอยู่ในถ้ำสูงในหุบเขาพระตรัียลักษณ์ (ไตรลักษณ์) และมีระดับฌาณอภิญญาที่น่าตื่นตาตื่นใจอย่างคาดไม่ถึง


     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 กันยายน 2010
  17. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,790
    ค่าพลัง:
    +16,105
    และสำหรับกิจกรรมงานบุญของทุนนิธิฯ ที่ รพ.สงฆ์ นั้น กำหนดจัดงานในวันอาทิตย์หน้าวันที่ 26/9 โดยในวันจัดกิจกรรมดังกล่าว ทุนนิธิฯ จะได้จัดให้มีการให้ผู้ที่เข้าร่วมกิจกรรมได้อธิษฐานผ้าไตรกฐินที่จะถวายต่อหลวงปู่เครา และจะมีกิจกรรมพิเศษคือการอธิษฐานขอความสำเร็จต่อสบงของหลวงปู่ศรี วัดป่ากุง จ.ร้อยเอ็ด ที่ทาง รพ.ศรีนครินทร์ได้ประทานขออนุญาตท่าน ให้มนต์ให้เป็นกรณีพิเศษ และจัดส่งมายังทุนนิธิฯ เนื่องในโอกาสที่ทุนนิธิฯ ได้ช่วยเหลือค่ารักษาพยาบาลให้ท่านในขณะที่ท่านได้พักรักษาตัวที่ รพ.ศรีนครินทร์ จ.ขอนแก่น โดยสบงเต็มผืนนี้ จะเวียนให้ทุกท่านที่ไปร่วมงานได้อธิษฐานกัน ส่วนเรื่องการ "ขอได้" นั้น ท่านหลวงปู่ศรี ท่านมีจริตด้านนี้อยู่แล้ว รวมถึงบารมีเก่าของท่านในอดีตชาติได้มารวมตัวกันในชาตินี้ ท่านจึงได้รับการกล่าวจากท่านหลวงตาฯ ว่า "ท่านเป็นพระอรหันต์ ผู้มากด้วยบารมี" โดยมีผู้ที่บริจาคปัจจัยสร้างเจดีย์ให้ท่านถึงสามพันล้านบาท ทั้งๆ ที่ จ.ร้อยเอ็ดไม่ใช่จังหวัดที่ใหญ่โตอะไร และวัดป่ากุง ก็ไม่ใช่วัดที่อยู่ในถิ่นที่เจริญ ดังนั้น สบงที่ท่านผ่านการใช้งานจากท่านและได้มนต์มาเป็นพิเศษเพื่อมอบให้ทุนนิธิฯ อานุภาพย่อมไม่ธรรมดาเช่นกัน และสามารถสัมผัสได้โดยทันทีโดยเฉพาะท่านที่มีฌาณอภิญญาในขั้นสูง พวกเรากรรมการฯ ทุนนิธิฯ หลายคนทราบในเรื่องนี้ดี ผมจึงจะได้นำไปให้ทุกคนที่เข้าร่วมกิจกรรมได้ร่วมอธิษฐานกัน ก่อนที่จะนำมาประทับยันต์ตามฤกษ์ที่ควรค่าแก่บารมีท่าน และจะได้นำแจกจ่ายให้ทุกท่านที่ได้มีส่วนร่วมในการบริจาคปัจจัยเข้าทุนนิธิฯ ไม่ว่าจะเป็นคนไกลหรือใกล้ ให้ได้มีชายสบงของท่านไว้ได้บูชากันเพื่อความเป็นสิริมงคลในภายหน้าต่อไป


    [​IMG]

    [​IMG]

    เกร็ดเล็กๆ ในวันขอบารมีหลวงปู่ศรีฯ จากสบงของท่าน

    -ขอให้ผมหมดหนี้หมดสินได้มั๊ยครับ
    - ได้ แต่อย่าไปสร้างหนี้ใหม่เพิ่ม
    -ขอให้บรรลุธรรมขั้นสูงได้มั๊ย
    - ได้ แต่อย่าขี้เกียจภาวนาล่ะ
    -ขอให้รวยได้มั๊ยค่ะ
    - ได้ แต่อย่าใช้ตังค์เยอะ ให้เก็บมากกว่าใช้
    -แล้วที่เราขอท่านทั้งหมดนี้ท่านรู้รึเปล่าพี่
    - รู้ พระระดับนี้ไม่ต้องห่วง แค่คนขอเขาขอมาให้เรา ท่านก็รู้แล้วว่าพวกเราจะไปทำอะไรกัน ไม่ต้องห่วงท่านทำมาให้หมดตามทีนึกนั่นละ

    สรุปก็คือ ขอท่านได้
    บารมีท่านจะนำสิ่งที่ดีมาให้ตามที่ทุกคนปรารถนา สำคัญแต่ตัวเราเองต้องทำตัวเราเองให้ดีด้วย บารมีที่ท่านบำเพ็ญจึงจะส่งผลได้เต็มที่



     
  18. นายสติ

    นายสติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    918
    ค่าพลัง:
    +4,293
    9 วิธีทำดีได้บุญแบบไม่เสียเงิน

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD style="PADDING-RIGHT: 10px; PADDING-LEFT: 5px; PADDING-BOTTOM: 5px; PADDING-TOP: 5px">[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <!-- end pic -->
    ๑.ตื่นเช้าขึ้นมาก็คิดแต่สิ่งดีๆ ทันทีที่ตื่นนอน

    หากเราคิดถึงแต่สิ่งที่ดีที่งาม ก็จะทำให้จิตใจเราสดชื่นกระตือรือร้นพร้อมที่จะรับมือกับชีวิตประจำวันด้วยความรื่นเริง ไม่หงุดหงิด โมโห แค่นี้ นอกจากเราจะมีความสุขแล้ว
    คนรอบข้างเราก็มีความสุขไปด้วยถือว่าเป็นการทำบุญอย่างหนึ่ง

    ๒.ยิ้มแย้มแจ่มใส ในแต่ละวัน

    หากเราจะรู้จักยิ้มแย้มแจ่มใสไม่ว่าจะยิ้มกับคนรู้จักหรือไม่รู้จักก็ตามหน้าตาของเราก็จะดูเป็นมิตร ทำให้คนอยากเข้าใกล้ถ้าเราเป็นพ่อแม่ ยิ้มกับลูกก่อนไปทำงาน ลูกก็ดีใจ ลูกยิ้ม
    กับพ่อแม่ๆก็สบายใจว่าต่างคนต่างไม่มีเรื่องเดือนร้อนใจแน่ หรือหากมีก็กล้าจะมาปรึกษาหารือ หรือหากเป็นเจ้านายยิ้มกับลูกน้องๆก็รู้ว่าวันนี้นายอารมณ์ดี ทำให้ทำงานด้วย
    ความมั่นใจไม่ต้องระแวงว่าจะถูกเรียกไปต่อว่าและถ้าเรียกก็ดูน่าจะมีเมตตากว่าเวลาที่นายทำหน้ายักษ์

    ๓.ทักทาย โอปราศรัย คนบางคน นอกจากจะไม่ยิ้มกับใครแล้ว

    ยังชอบทำหน้าบึ้งตึงไม่คิดจะพูดจาทักทายใครด้วยซึ่งถ้าเกิดทำงานด้านบริการคนมาติดต่อคงรู้สึกเกร็งและกังวลตลอดว่าจะถูกเอ็ดตะโรเมื่อไรก็ไม่รู้ดังนั้น นอกจากยิ้มแย้มแจ่มใส
    แล้วเราก็ควรจะเอื้อนเอ่ยวาจาทักทายผู้มารับบริการก่อนการทักทายปราศรัยกับผู้อื่นไม่ว่าจะเป็นผู้มาขอรับบริการเพื่อนฝูงคนรู้จัก ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาหรือแม้แต่คนที่มาทำงานให้
    เรา เช่น แม่บ้าน ยาม ฯลฯ จะทำให้เขารู้สึกเป็นมิตร และอบอุ่นใจ ทำให้บรรยากาศในที่นั้นๆดีขึ้น

    ๔.แบ่งปันน้ำใจไมตรี สามารถทำได้ทุกที่และทุกเวลา เช่น

    ช่วยพ่อแม่จัดโต๊ะอาหาร ล้างถ้วยชาม ลุกให้เด็กผู้หญิงท้อง หรือคนแก่นั่ง ช่วยถือของหนักให้คนในรถเมล์หยุดรถให้คนข้ามถนนหรือรถอื่นไปก่อนช่วยแบ่งเบาภาระงานให้เพื่อน
    ในที่ทำงาน เป็นต้นการให้ความช่วยเหลือเช่นนี้เป็นการทำบุญด้วยการลดความเห็นแก่ตัวของเราลงและทำให้เราได้รับมิตรไมตรีสนองตอบกลับมาด้วย

    ๕. ปลุกปลอบให้กำลังใจช่วยแก้ไขปัญหา

    หลายๆครั้งที่เพื่อนฝูงญาติมิตรอาจประสบปัญหาชีวิตและเกิดความทุกข์ใจแสนสาหัสสิ่งที่ดีที่สุดคือความเป็นมิตรและถ้อยคำที่ปลุกปลอบให้กำลังใจคำพูดดีๆที่มาจากใจจะทำให้
    ผู้ที่ตกอยู่ในห้วงทุกข์รู้สึกดีขึ้นและมีพลังที่ต่อสู้ชีวิตต่อไปได้

    ๖.ให้คำชมด้วยความนิยมยินดี

    การกล่าวคำชื่นชมต่อผู้อื่นไม่ว่าจะเป็นเรื่องใดๆย่อมจะทำให้ผู้รับคำชมรู้สึกปลาบปลื้มยินดีและมีความสุขได้ โดยเฉพาะในเรื่องที่เขาทำสำเร็จแต่ทั้งนี้ต้องอยู่บนพื้นฐานของความ
    เป็นจริงและจริงใจด้วยดูอย่างตัวเราเองแค่วันไหน แต่งตัวสวย แล้วมีคนชม เราก็หน้าบานไปทั้งวันแล้ว เช่นเดียวกันคนทุกคนล้วนอยากได้การยอมรับและคำชมทั้งนั้นเพราะคำชม
    จะเป็นการเสริมเพิ่มกำลังใจให้อยากทำดียิ่งๆขึ้นไป

    ๗.แนะนำให้คำสอนที่ดี มีคุณค่า

    ไม่ว่าจะเราจะอยู่ในสถานภาพใด เช่น เป็นลูก เป็นพ่อแม่ลูกน้อง เจ้านาย เพื่อนร่วมงาน เพื่อนร่วมอาชีพ ฯลฯหากเราจะมีเมตตาแนะนำในสิ่งที่ดีมีประโยชน์และคุณค่าต่อผู้อื่นหรือ
    สอนในสิ่งที่เราชำนาญให้แก่ผู้อื่นก็จะเป็นการช่วยเกื้อกูลสังคมให้ดียิ่งขึ้น และผลก็จะย้อนมาสู่ตัวเราผู้ทำด้วย เช่น สอนงานให้ลูกน้อง ต่อไปเมื่อเขาทำงานเป็นเราก็ไม่ต้องเหนื่อย
    มากและเขาก็จะรู้สึกขอบคุณเรา แนะวิธีออกกำลังกายให้พ่อแม่ท่านก็แข็งแรง ไม่เจ็บไข้ได้ป่วยง่าย เราก็สบายใจหรือแม้แต่การแนะนำให้ความรู้ที่เรามีหรือทราบมาแก่คนไม่รู้จักอ
    ย่างแนะนำหมอ ยาดีๆหรือธรรมะที่ดีแก่คนอื่นทำให้เขาหายป่วยหรือรู้สึกดีขึ้นเขาก็จะอธิษฐานหรือให้พรเรา ทำให้เราพบแต่สิ่งดีๆในชีวิต

    ๘.การให้อภัยในความผิดพลาดของผู้อื่น

    โดยทั่วไปคนเรามักจะให้อภัยตัวเองง่ายและมีข้อแก้ตัวให้ตนต่างๆนานา แต่ถ้าผู้อื่นผิดพลาดแล้วเรามักเห็นเป็นเรื่องใหญ่และตำหนิติเตียนไม่รู้จักแล้วจบดังนั้น เราจะต้องหัดมีเมตตา
    รู้จักให้อภัยต่อผู้อื่นให้ง่ายเหมือนให้อภัยแก่ตัวเราเองเพราะการให้อภัย จะทำให้เราไม่ผูกใจเจ็บ ไม่อาฆาตมาดร้ายไม่ก่อศัตรู แต่ทำให้จิตใจเราสงบเย็นเป็นฝึกจิตพื้นฐานอย่างหนึ่งที่
    จะนำไปสู่กุศลขั้นสูงอื่นๆต่อไป

    ๙.ฝึกจิตให้สงบและสบายด้วยการทำสมาธิหรือสวดมนต์

    การทำสมาธิ ฟังดูเหมือนยาก แต่จริงๆเราทำได้ตลอดเวลาไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนหรือทำอะไรอยู่ เช่นกินข้าว อาบน้ำ ทำการบ้าน ทำงานบ้าน อ่านหนังสืออยู่ที่ทำงานหัวใจหลักคือให้เอาใจ ไปจดจ่อในสิ่งที่ทำเพียงอย่างเดียวจะทำให้เราทำทุกอย่างได้ดีขึ้น เพราะไม่พะวักพะวนคิดหรือทำหลายอย่างในเวลาเดียวกันอันทำให้ขาดสติและทุกๆคืนก่อนนอน ก็ควรสวดมนต์ไหว้พระที่เรานับถือโดยอาจเลือกบทสวดสั้นๆที่เราชอบเสร็จแล้วก็อย่าลืมแผ่เมตตาให้กับตัวเราเองและผู้อื่นตามสมควร

    ขอบคุณที่มา : เว็บวาไรตี้ที่นี่ดอทคอม
     
  19. นายสติ

    นายสติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    918
    ค่าพลัง:
    +4,293
    "คำพ่อสอน"
    <!-- pic --><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD style="PADDING-RIGHT: 10px; PADDING-LEFT: 5px; PADDING-BOTTOM: 5px; PADDING-TOP: 5px">[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <!-- end pic -->
    คำพ่อสอน

    1. ความเพียร

    การสร้างสรรค์ตนเอง การสร้างบ้านเมืองก็ตาม มิใช่ว่าสร้างในวันเดียว ต้องใช้เวลา ต้องใช้ความเพียร ต้องใช้ความอดทน เสียสละ แต่สำคัญที่สุดคือความอดทนคือไม่ย่อท้อ ไม่ย่อท้อในสิ่งที่ดีงาม สิ่งที่ดีงามนั้นทำมันน่าเบื่อ บางทีเหมือนว่าไม่ได้ผล ไม่ดัง คือดูมันควรทำดีนี่ แต่ขอรับรองว่าการทำให้ดีควรต้องมีความอดทน เวลาข้างหน้าจะเห็นผลแน่นอนในความอดทนของตนเอง

    พระบรมราโชวาท พระราชทานแก่นักเรียน นักศึกษา ครู และอาจารย์ในโอกาสเข้าเฝ้าฯวันที่27 ตุลาคม 2516

    2. ความพอดี

    ในการสร้างตัวสร้างฐานะนั้นจะต้องถือหลักค่อย เป็นค่อยไป ด้วยความรอบคอบ ระมัดระวังและความพอเหมาะพอดี ไม่ทำเกินฐานะและกำลัง หรือทำด้วยความเร่งรีบ เมื่อมีพื้นฐานแน่นหนารองรับพร้อมแล้ว จึงค่อยสร้างค่อยเสริมความเจริญก้าวหน้าในระดับสูงขึ้น ตามต่อกันไปเป็นลำดับผลที่เกิดขึ้นจึงจะแน่นอน มีหลักเกณฑ์ เป็นประโยชน์แท้และยั่งยืน

    พระบรมราโชวาท ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยขอนแก่น วันที่ 18 ธันวาคม 2540

    3. ความรู้ตน

    เด็กๆ ทำอะไรต้องหัดให้รู้ตัว การรู้ตัวอยู่เสมอจะทำให้เป็นคนมีระเบียบและคนที่มีระเบียบดีแล้ว จะสามารถเล่าเรียนและทำการงานต่างๆ ได้โดยถูกต้องรวดเร็ว จะเป็นคนที่จะสร้างความสำเร็จและความเจริญ ให้แก่ตนเองและส่วนรวมในอนาคตได้อย่างแน่นอน

    พระบรมราโชวาท พระราชทานลงพิมพ์ในหนังสือ วันเด็ก ประจำปี 2521

    4. คนเราจะต้องรับและจะต้องให้

    คนเราจะเอาแต่ได้ไม่ได้ คนเราจะต้องรับและจะต้องให้ หมายความว่าต่อไป และเดี๋ยวนี้ด้วยเมื่อรับสิ่งของใดมา ก็จะต้องพยายามให้ ในการให้นั้น ให้ได้โดยพยายามที่จะสร้างความสามัคคีให้หมู่คณะและในชาติ ทำให้หมู่คณะและชาติประชาชนทั้งหลายมีความไว้ใจซึ่งกันและกันได้ ช่วยที่ไหนได้ก็ช่วย ด้วยจิตใจที่เผื่อแผ่โดยแท้

    พระบรมราโชวาท พระราชทานแก่นักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น วันที่ 20 เมษายน 2521

    5. อ่อนโยน แต่ไม่อ่อนแอ

    ในวงสังคมนั้นเล่า ท่านจะต้องรักษามารยาทอันดีงามสำหรับสุภาพชน รู้จักสัมมาคารวะ ไม่แข็งกระด้าง มีความอ่อนโยนแต่ไม่อ่อนแอ พร้อมจะเสียสละประโยชน์ส่วนตัวเพื่อส่วนรวม

    พระบรมราโชวาท ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วันที่ 25 มิถุนายน 2496

    6. พูดจริง ทำจริง

    ผู้หนักแน่นในสัจจะพูดอย่างไร ทำอย่างนั้น จึงได้รับความสำเร็จ พร้อมทั้งความศรัทธาเชื่อถือและความยกย่องสรรเสริญ จากคนทุกฝ่าย การพูดแล้วทำ คือ พูดจริง ทำจริง จึงเป็นปัจ จัยสำคัญในการส่งเสริมเกียรติคุณของบุคคลให้เด่นชัด และสร้างเสริมความดี ความเจริญ ให้เกิดขึ้นทั้งแก่บุคคลและส่วนรวม

    พระบรมราโชวาท ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วันที่ 10 กรกฎาคม 2540

    7. หนังสือเป็นออมสิน

    หนังสือเป็นการสะสมความรู้และทุกสิ่งทุกอย่าง ที่มนุษย์ได้สร้างมา ทำมา คิดมา แต่โบราณกาลจนทุกวันนี้ หนังสือจึงเป็นสิ่งสำคัญ เป็นคล้ายๆ ธนาคารความรู้และเป็นออมสิน เป็นสิ่งที่จะทำให้ มนุษย์ก้าวหน้าได้โดยแท้
    พระบรมราโชวาท พระราชทานแก่คณะสมาชิกห้องสมุดทั่วประเทศ ในโอกาสที่เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท วันที่ 25 พฤศจิกายน 2514

    8. ความซื่อสัตย์

    ความซื่อสัตย์สุจริตเป็นพื้นฐานของความดี ทุกอย่าง เด็กๆ จึงต้องฝึกฝนอบรมให้เกิดมีขึ้นในตนเอง เพื่อจักได้เติบโตขึ้นเป็นคนดีมีประโยชน์ และมีชีวิตที่สะอาด ที่เจริญมั่นคง

    พระบรมราโชวาท พระราชทานเพื่อเชิญลงพิมพ์ในหนังสือวันเด็ก ปี พุทธศักราช 2531

    9. การเอาชนะใจตน

    ในการดำเนินชีวิตของเรา เราต้องข่มใจไม่กระทำสิ่งใดๆ ที่เรารู้สึกด้วยใจจริงว่าชั่วว่าเสื่อม เราต้องฝืนต้องต้านความคิดและความประพฤติทุกอย่างที่รู้สึกว่าขัดกับธรรมะ เราต้องกล้าและบากบั่นที่จะกระทำสิ่งที่เราทราบว่าเป็นความดี เป็นความถูกต้อง และเป็นธรรม ถ้าเราร่วมกันทำเช่นนี้ ให้ได้จริงๆ ให้ผลของความดีบังเกิดมากขึ้นๆ ก็จะช่วยค้ำจุนส่วนรวมไว้มิให้เสื่อมลงไป และจะช่วยให้ฟื้นคืนดีขึ้นได้เป็นลำดับ

    พระราชดำรัส พระราชทานเพื่อเชิญไปอ่าน ในพิธีเปิดการประชุมยุวพุทธิกสมาคมทั่วประเทศ ครั้งที่ 12 ที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา วันที่ 12 ธันวาคม 2513

    ที่มา fwdmail
    อ้างอิง : TeeNee.com : ทันทุกเรื่องhit อัพเดททุกเรื่องhot
     
  20. นายสติ

    นายสติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    918
    ค่าพลัง:
    +4,293
    ไหว้พระขอพร 9 พระอารามหลวง
    <!-- pic --><!-- end pic -->
    ไหว้พระขอพร 9 พระอารามหลวง (ททท.)

    "การเริ่มต้นที่ดี คือส่วนหนึ่งของความสำเร็จ" จากคติดังกล่าว การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) จึงได้จัดทำกิจกรรม "ไหว้พระขอพร 9 พระอารามหลวง" ขึ้น เพื่อให้ประชาชนและนักท่องเที่ยวที่สนใจได้เดินทางท่องเที่ยวสักการะสถานที่อันเป็นมงคล เพื่อการเริ่มต้นอย่างมีความสุขสงบทางใจ ตามคติความเชื่อของไทย อีกทั้งยังเป็นการเรียนรู้ถึงคุณค่าของโบราณสถานที่สำคัญของเกาะ รัตนโกสินทร์และบริเวณโดยรอบอีกด้วย

    สำหรับ 9 พระอารามหลวง ได้แก่...


    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD style="PADDING-RIGHT: 10px; PADDING-LEFT: 5px; PADDING-BOTTOM: 5px; PADDING-TOP: 5px">[​IMG]


    </TD></TR></TBODY></TABLE><!-- end pic -->1. วัดกัลยาณมิตรวรมหาวิหาร

    คติ : เดินทางปลอดภัยดี มีมิตรไมตรีที่ดี
    เครื่องสักการะ : ธูป 3 ดอก เทียนแดงคู่ ดอกไม้พวงมาลัย

    ประวัติ/ความเป็นมา

    วัดกัลยาณมิตรวรมหาวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นโท เจ้าพระยานิกรบดินทร์ (โต กัลยาณมิตร) ได้อุทิศที่ดิน ซึ่งบริเวณดังกล่าวเดิมเรียกว่า "หมู่บ้านกุฎีจีน" วัดนี้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.2368 ในสมัยรัชกาลที่ 3 และได้ถวายเป็นพระอารามหลวง ได้รับพระราชทานนามว่า "วัดกัลยาณมิตร" พร้อมกับทรงสร้างพระวิหารหลวงเพื่อเป็นที่ประดิษฐาน "พระพุทธไตรรัตนนายก" (หลวงพ่อโต) ซึ่งเป็นชื่อที่ได้รับพระราชทานจากรัชกาลที่ 4 หรือเรียกตามแบบจีนว่า (ชำปอฮุดกง หรือ ชำปอกง)

    วัดกัลยาณมิตรวรมหาวิหาร เป็นวัดเดียวในประเทศไทยที่มีองค์พระประธานเป็นพระพุทธรูปปางปาลิไลยก์ โดยประดิษฐานอยู่ในพระอุโบสถ ภายในมีภาพจิตรกรรมฝาผนังเรื่องพุทธประวัติ นอกจากนี้ ยังมีหอพระธรรมมณเฑียรเถลิงพระเกียรติ เป็นที่เก็บพระไตรปิฎกและพระคัมภีร์ต่าง ๆ ซึ่งรัชกาลที่ 4 โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2408

    การเดินทาง

    วัดกัลยาณมิตรวรมหาวิหาร ตั้งอยู่แขวงวัดกัลยาณ์ เขตธนบุรี มีโดยรถประจำทาง สาย 40, 57, 149 รถปรับอากาศ สาย ปอ. 177 หรือจะไปทางเรือก็ต้องข้ามเรือข้ามฟากที่ท่าเรือปากคลองตลาดมาท่าเรือวัดกัลยาฯ


    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD style="PADDING-RIGHT: 10px; PADDING-LEFT: 5px; PADDING-BOTTOM: 5px; PADDING-TOP: 5px">[​IMG]


    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <!-- end pic -->2. วัดชนะสงครามราชวรมหาวิหาร

    คติ : มีชัยชนะต่ออุปสรรคทั้งปวง
    เครื่องสักการะสำหรับพระประธานในโบสถ์ : ธูป 3 ดอก เทียน 1 เล่ม ดอกบัว 1 ดอก
    เครื่องสักการะสำหรับรูปเคารพสมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท : ธูป 5 ดอก เทียน 1 เล่ม ดอกบัว 1 ดอก​

    ประวัติ/ความเป็นมา​

    วัดชนะสงครามราชวรมหาวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นโท สร้างสมัยก่อนกรุงรัตรโกสินทร์ สมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาททรงสถาปนาวัดขึ้นมาใหม่ และรัชกาลที่ 1 โปรดเกล้าฯ ให้เป็นวัดพระสงฆ์ฝ่ายราชสามัญ เพื่อเป็นการให้เกียรติแก่ทหารรามัญในกองทัพของสมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาสุ รสิงหนาท ต่อมาเมื่อมีชัยชนะต่อกองทหารข้าศึกถึง 3 ครั้ง จึงพระราชทานนามใหม่ว่า "วัดชนะสงคราม"​

    วัดชนะสงครามราชวรมหาวิหาร มีพระพุทธรูปปูนปั้นลงรักปิดทอง ปางมารวิชัย เป็นพระประธาน มีพระนามว่า "พระพุทธนรสีห์ตรีโลกเชฏฐ์ มเหทธิศักดิ์ปูชนียะชยันตะโคดมบรมศาสดา อนาวรญาณ" ประดิษฐาน ณ พระอุโบสถ ​

    การเดินทาง​

    วัดชนะสงครามราชวรมหาวิหาร ตั้งอยู่บนถนนจักรพงษ์ แขวงบางลำพู เขตพระนคร สามารถเดินทางโดยรถประจำทาง สาย 33, 64, 65 หรือรถปรับอากาศ สาย ปอ. 3, 32, 33, 64, 65 ​


    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD style="PADDING-RIGHT: 10px; PADDING-LEFT: 5px; PADDING-BOTTOM: 5px; PADDING-TOP: 5px">[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <!-- end pic -->
    3. วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร

    คติ : ร่มเย็นเป็นสุข
    เครื่องสักการะ : ธูป 9 ดอก เทียนคู่ ทองคำเปลว 11 แผ่น​

    ประวัติ/ความเป็นมา​

    วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร หรือที่รู้จักกันในนาม "วัดโพธิ์" เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก เดิมชื่อ "วัดโพธาราม" พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงบูรณะและโปรดเกล้าฯ ให้สร้างประเจดีย์เพื่อบรรจุพระพุทธรูปพระศรีสรรเพชญ์ ซึ่งอัญเชิญมาจากกรุงศรีอยุธยา ต่อมาใน พ.ศ. 2377 รัชกาลที่ 3 ทรงโปรดเกล้าฯ ให้บูรณะพระเจดีย์ แล้วพระราชทานนามว่า "พระมหาเจดีย์ศรีสรรเพชญดาญาณ" และทรงสร้าง "พระมหาเจดีย์ดิลกธรรมกนิธาน" เพื่ออุทิศถวายพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยรัชกาลที่ 2 และทรงมีพระราชประสงค์ให้วัดโพธิ์เป็น "มหาวิทยาลัยสำหรับประชาชน" จึงโปรดเกล้าฯ ให้รวบรวมสรรพวิชาความรู้มาจารึกบนแผ่นศิลาติดไว้บริเวณพระอุโบสถ เพื่อให้ประชาชนมาศึกษาหาความรู้​

    ที่วัดโพธิ์มี "พระพุทธเทวปฏิมากร" ประดิษฐานอยู่ภายในพระอุโบสถ ใต้ฐานชุกชี บรรจุพระบรมอัฐิของรัชกาลที่ 1 มีพระวิหารเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปไสยาสน์ที่สวยงามที่สุด และองค์ใหญ่เป็นอันดับ 4 ในประเทศไทย เป็นพระพุทธรูปก่ออิฐถือปูนพื้นพระบาทประดับมุก เป็นภาพมงคล 108 ประการ นอกจากนั้น วัดโพธิ์ยังมีเจดีย์ทั้งสิ้น 99 องค์ ถือว่าเป็นวัดที่มีเจดีย์มากที่สุดในประเทศไทย และมีพระมหาเจดีย์ 4 รัชกาล คือ รัชการที่ 1- 4 แห่งกรุงรัตรโกสินทร์​

    ในปัจจุบันวัดโพธิ์เปิดอบรมเผยแพร่วิชาการแพทย์แผนโบราณ โดยผู้ผ่านการอบรมจะได้รับใบประกอบโรคศิลป์จากกระทรวงสาธารณสุข​

    การเดินทาง​

    วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร ตั้งอยู่ด้านหลังพระบรมมหาราชวัง ถนนสนามไชย แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร สามารถโดยรถประจำทาง สาย 12, 44, 82, 91 รถปรับอากาศ สาย ปอ. 12, 32, 44, 91, 51 ​


    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD style="PADDING-RIGHT: 10px; PADDING-LEFT: 5px; PADDING-BOTTOM: 5px; PADDING-TOP: 5px">[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <!-- end pic -->
    4. วัดพระศรีรัตนศาสดาราม

    คติ : เพื่อจิตใจสะอาด ดุจรัตนตรัย
    เครื่องสักการะ : ธูป 3 ดอก เทียน 1 เล่ม ดอกไม้

    ประวัติ/ความเป็นมา

    วัดพระศรีรัตนศาสดาราม หรือวัดพระแก้ว เป็นพระอารามที่อยู่ในบริเวณพระบรมมหาราชวัง รัชกาลที่ 1 โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นใน พ.ศ. 2326 เพื่อความสะดวกเวลาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงบำเพ็ญพระราชกุศลตามราชประเพณี และเพื่อเป็นที่บรรจุพระอัฐิอายุของพระเจ้าแผ่นดินเจ้านายในราชสกุล ภายในวัดพระแก้วมีสิ่งที่น่าสนใจมากมาย อาทิ พระอุโบสถอันเป็นที่ประดิษฐาน "พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร" (พระแก้วมรกต) ที่พระระเบียงมีจิตรกรรมฝาผนังเรื่องรามเกียรติ์ที่วิจิตรสวยงามและยาวที่สุดในโลก มีปราสาทพระเทพบิดร ซึ่งเป็นปราสาทยอดปรางค์ เป็นที่ประดิษฐานพระบรมรูปรัชกาลที่ 1- 8

    มีพระศรีรัตนเจดีย์ประดับกระเบื้องสีทองทั้งองค์เป็นที่ประดิษฐานพระบรม สารีริกธาตุมีหอพระราชพงศานุสรณ์เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปประจำรัชกาลของ พระมหากษัตริย์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ มีหอระฆังที่มีระฆังซึ่งตีมีเสียงดังกังวานดี มีพระบรมราชานุสาวรีย์ประจำรัชกาลของพระมหากษัตริย์กรุงรัตนโกสินทร์และยัง มีรูปยักษ์ 6 คู่ เป็นรูปยักษ์ตัวสำคัญจากเรื่องรามเกียรติ์ เป็นปูนปั้นทาสี ประดับกระเบื้องเคลือบสีต่าง ๆ สูงประมาณ 6 เมตร ตั้งประจำที่ช่องประตูพระระเบียง

    การเดินทาง

    วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ตั้งอยู่บริเวณสนามหลวง ถนนหน้าพระลาน แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร สามารถโดยรถประจำทาง สาย 1, 3, 25, 32, 33, 59, 60, 70, 82, 91, 201, 203 รถปรับอากาศ สาย ปอ. 2, 3, 6, 25, 32, 59, 60, 70, 82, 91, 201, 203, 512



    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD style="PADDING-RIGHT: 10px; PADDING-LEFT: 5px; PADDING-BOTTOM: 5px; PADDING-TOP: 5px">[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <!-- end pic -->
    5. วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร

    คติ : ชื่อเสียงโด่งดัง คนนิยมชมชอบ
    เครื่องสักการะ : ธูป 3 ดอก เทียนคู่ ทองคำเปลว

    ประวัติ/ความเป็นมา

    วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร หรือเป็นที่รู้จักกันในนาม วัดระฆัง เป็นพระอารามหลวงชั้นโท เดิมชื่อว่า “วัดบางว้าใหญ่” เป็นวัดโบราณมีมาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา พระอุโบสถเป็นสถาปัตยกรรมในสมัยรัชกาลที่ 1 มีลายหน้าบันเป็นรูปนารายณ์ทรงครุฑ ภายในมีภาพจิตรกรรมฝาผนังพระอุโบสถนี้ เป็นที่ประดิษฐานของพระประธานซึ่งรัชกาลที่ 5 ทรงเรียกว่า "พระประธานยิ้มรับฟ้า" นอกจากนี้ ยังมีหอไตรเป็นรูปเรือนสามหลังแฝด ภายในมีภาพจิตรกรรมที่สำคัญหลายแห่งทั้งบานประตู และฝาผนังรวมทั้งตู้พระไตรปิฏกสมัยกรุงศรีอยุธยา

    วัดระฆังเคยเป็นที่ประทับของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) สมเด็จพระราชาคณะในสมัยรัชกาลที่ 4 ซึ่งเป็นพระเถระผู้ทรงเกียรติคุณ วิทยาคุณโด่งดังมากแต่อดีตจวบจนปัจจุบัน การไปสักการะสมเด็จพุฒาจารย์ เพื่อขอพรโดยการสวดคาถาชินบัญชรเมื่อสวดจบแล้ว ปักธูปที่กระถางและปิดทองที่รูปปั้น แล้วอย่าลืมพรมน้ำมนต์เพื่อความเป็นสิริมงคล

    การเดินทาง

    วัดระฆังโฆสิตารามมรมหาวิหาร ตั้งอยู่บนถนนอรุณอัมรินทร์ แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย สามารถโดยรถประจำทาง สาย 19, 57 ส่วนทางเรือ โดยเรือด่วนเจ้าพระยาแล้วลงที่ท่ารถไฟ หรือท่าวังหลัง หรือข้ามฝากที่ท่าช้างแล้วขึ้นที่ท่าเรือวัดระฆัง



    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD style="PADDING-RIGHT: 10px; PADDING-LEFT: 5px; PADDING-BOTTOM: 5px; PADDING-TOP: 5px">[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <!-- end pic -->
    6. วัดสุทัศเทพวรารามวรมหาวิหาร

    คติ : วิสัยทัศน์กว้างไกล มีเสน่ห์แก่คนทั่วไป
    เครื่องสักการะ : ธูป 3 ดอก เทียน 1 เล่ม

    ประวัติ/ความเป็นมา

    วัดสุทัศเทพวรารามวรมหาวิหาร เป็นพระอามามหลวงชั้นเอก และเป็นวัดประจำรัชกาลที่ 8 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เดิมชื่อ "วัดมหาสุทธาวาส" วันนี้เริ่มสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2350 เสร็จสมบูรณ์ พ.ศ. 2390 ในสมัยรัชกาลที่ 3 และได้รับพระราชทานนามใหม่ว่า "วัดสุทัศเทพวราราม"

    ที่พระวิหารมี "พระศรีศากยมุนี" เป็นพระประธานซึ่งอัญเชิญมาจากสุโขทัยเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยหล่อด้วย สำริดถอดแบบมาจากพระวิหารพระมงคลบพิตร กรุงศรีอยุธยา บานประตูใหญ่ของพระวิหารสลักไม้สวยงามรอบพระวิหารมีถะ หรือเจดีย์ศิลาแบบจีนตั้งอยู่บนฐานทักษิณ เป็นถะ 6 ชั้น จำนวน 28 องค์ มีพระอุโบสถเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธตรีโลกเชฏฐ์ เป็นพระประธานปางมารวิชัย ใหญ่กว่าพระที่หล่อในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ องค์อื่น ๆ มีภาพจิตรกรรมฝาผนังอันเป็นฝีมือช่างชั้นครูในสมัยรัชกาลที่ 3 ที่งดงามมาก พระอุโบสถนี้นับว่ายาวที่สุดในประเทศไทย นอกจากนี้ ยังมีศาลาการเปรียญที่มีพระพุทธเสรฏฐมุนี เป็นพระประธานที่หล่อด้วยกลักฝิ่นเมื่อ พ.ศ. 2382 ในสมัยรัชกาลที่ 3 เช่นกัน

    การเดินทาง

    วัดสุทัศเทพวรารามราชวรมหาวิหาร ตั้งอยู่บริเวณเสาชิงช้า ตรงข้ามศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร แขวงเสาชิงช้า เขตพระนคร สามารถโดยรถประจำทาง สาย 10, 12, 42 รถปรับอากาส สาย ปอ. 10, 12, 42



    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD style="PADDING-RIGHT: 10px; PADDING-LEFT: 5px; PADDING-BOTTOM: 5px; PADDING-TOP: 5px">[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <!-- end pic -->
    7. วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร

    คติ : ชีวิตรุ่งโรจน์ทุกคืนวัน
    เครื่องสักการะ : ธูป 3 ดอก เทียนคู่

    ประวัติ/ความเป็นมา

    วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก สร้างสมัยกรุงศรีอยุธยา เดิมชื่อวัดมะกอก เมื่อ พ.ศ. 2310 สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช (พระเจ้ากรุงธนบุรี) เสด็จทางชลมารคจากกรุงศรีอยุธยามารุ่งเช้าที่หน้าวัดมะกอก จึงโปรดเกล้าฯให้ปฏิสังขรณ์ แล้วเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น "วัดแจ้ง" ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 2 ได้ทรงปฏิสังขรณ์และพระราชทานนามใหม่ว่า "วัดอรุณราชวราราม"

    ในสมัยกรุงธนบุรีวัดอรุณราชวรารามเคยเป็นที่ประดิษฐานของพระแก้วมรกต ก่อนที่จะอัญเชิญไปประดิษฐานที่วัดพระแก้ว นอกจากนั้นยังมียักษ์ปูนปั้นขนาดใหญ่ 2 ตน ตั้งอยู่หน้าประตูซุ้มยอดพระมงกุฏ ซึ่งเป็นที่รู้จักกันทั่วไปในนาม "ยักษ์วัดแจ้ง"

    ภายในวัดอรุณราชวรารามนี้มีสิ่งที่น่าสนใจมากมาย อาทิ มีพระปรางค์ที่ใหญ่ที่สุดในโลกสูง 33 วาเศษ ประดับด้วยชิ้นกระเบื้องเคลือบสีต่าง ๆ ยอดพระปรางค์เป็นนภศูล ในสมัยรัชกาลที่ 3 มีปรางค์ทิศทั้ง 4 ประดิษฐานพระพุทธรูปปางประสูติ เทศน์พระธัมมจักร ตรัสรู้ นิพพาน การเดินเวียนทักษิณาวัดรอบพระปรางค์ 3 รอบ โดยเดินเวียนขวา (ตามเข็มนาฬิกา) เพื่อความเป็นสิริมงคล มีพระอุโบสถเป็นที่ประดิษฐาน "พระพุทธธรรมมิศรราชโลกธาตุดิลก" ซึ่งรัชกาลที่ 2 ทรงปั้นหุ่นและพระพักตร์ด้วยฝีพระหัตถ์พระองค์เอง และยังมีพระวิหารที่มีพระบรมสารีริกธาติที่เกศพระพุทธชมภูนุชฯ มีพระอรุณหรือพระแจ้ง ที่รัชกาลที่ 4 ทรงอัญเชิญมาจากเวียงจันทน์

    การเดินทาง

    วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร ตั้งอยู่ข้างกองทัพเรือ ถนนอรุณอัมรินทร์ เขตบางกอกใหญ่ สามารถโดยรถประจำทาง สาย 19, 57 หรือนั่งเรือโดยสารข้ามฟากจากท่าเตียน มาขึ้นที่วัดอรุณ



    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD style="PADDING-RIGHT: 10px; PADDING-LEFT: 5px; PADDING-BOTTOM: 5px; PADDING-TOP: 5px">[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <!-- end pic -->
    8. วัดบวรนิเวศวิหาร

    คติ : พบแต่สิ่งดีงามในชีวิต
    เครื่องสักการะ : ธูป 9 ดอก เทียน 1 เล่ม ดอกบัว 3 ดอก

    ประวัติ/ความเป็นมา

    วัดบวรนิเวศวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชชวรวิหาร สมเด็จพระบวรราชเจ้ากรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพกรมพระราชวังบวรสถานมงคล ในรัชกาลที่ 3 ทรงสร้างขึ้นใหม่ระหว่าง พ.ศ. 2367 - 2375 เดิมมีชื่อเรียกว่า วัดใหม่ ได้รับพระราชทานชื่อใหม่ เมื่อรัชกาลที่ 3 ทรงอาราธนาสมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้ามงกุฎเสด็จมาประทับเมื่อปี พ .ศ. 2375 นอกจากนี้ ยังเป็นวัดที่รัชกาลที่ 6 รัชกาลที่ 7 และรัชกาลปัจจุบันทรงผนวช เป็นวัดของคณะ สงฆ์ฝ่ายคามวาสีของธรรมยุติกนิกาย

    สิ่งสำคัญภายในวัดบวรนิเวศวิหาร ได้แก่ พระอุโบสถ เป็นอาคารแบบตรีมุข หน้าบันประดับกระเบื้องเคลือบ ตรงกลางมีตรามหามงกุฎ พระประธานในพระอุโบสถและพระพุทธชินสีห์ วิหารพระศาสดา พระเจดีย์ใหญ่ และพระตำหนักปั้นหยา สถานที่ประทับของพระมหากษัตริย์และเจ้าฟ้าที่ทรงผนวช

    การเดินทาง

    วัดบวรนิเวศวิหาร ตั้งอยู่ริมถนนบวรนิเวศและถนนพระสุเมรุ แขวงนิเวศ เขตพระนคร สามารถโดยรถประจำทาง สาย 10, 12, 56, 68



    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD style="PADDING-RIGHT: 10px; PADDING-LEFT: 5px; PADDING-BOTTOM: 5px; PADDING-TOP: 5px">[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <!-- end pic -->
    9. วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร

    คติ : เสริมสร้างความคิดอันเป็นสิริมงคล
    เครื่องสักการะ : ธูป 9 ดอก เทียน 1 เล่ม ดอกบัว 3 ดอก

    ประวัติ/ความเป็นมา

    วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นโท เป็นวัดสำคัญคู่มากับการสร้างกรุงเทพมหานคร เป็นวัดโบราณสร้างมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา เดิมชื่อวัดสระแรัชกาลที่ 1 ทรงปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่โปรดให้ขุดคลองรอบพระอารามและพรราชทานนามว่า วัดสระเกศ จนถึงสมัยรัชกาลที่ 3 โปรดให้บูรณปฏิสังขรณ์ทั่วทั้งพระอารามและสร้างสิ่งต่าง ๆ เพิ่มเติม เช่น พระบรมบรรพต หรือ ภูเขาทอง

    สิ่งสำคัญภายในวัดสระเกศราชวรมหาวิหาร ได้แก่ พระบรมบรรพต หรือ ภูเขาทอง ซึ่งสร้างเป็นพระปรางค์ในสมัยรัชกาลที่ 3 แต่เกิดทรุดทังลง รัชกาลที่ 4 โปรดให้ซ่อมแซม โดยแปลงเป็นภูเขาและก่อพระเจดีย์ไว้บนยอด ภายในบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ สร้างแล้วเสร็จในสมับรัชกาลที่ 5 นอกจากนี้ ภายในพระอุโบสถที่ภายในมีภาพเขียนจิตรกรรมฝีมือช่าง สมัยรัชกาลที่ 3 และหอไตร ศิลปะสมัยอยุธยาบานหน้าต่างเป็นลายรดน้ำ

    การเดินทาง

    วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร ตั้งอยู่บริเวณปากคลองมหานาค แขวงบ้านบาตร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย





    ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก ททท.

    ที่มา : http://travel.kapook.com/view8373.html
     

แชร์หน้านี้

Loading...