ขอเชิญร่วมทำบุญสงเคราะห์พระภิกษุสงฆ์อาพาธ

ในห้อง 'ตลาด พระเครื่องเพื่อการกุศล' ตั้งกระทู้โดย พันวฤทธิ์, 29 พฤศจิกายน 2007.

  1. jirautes

    jirautes เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    195
    ค่าพลัง:
    +575
    วันนี้ 04/07/53 (เวลา09.36 น. )ครอบครัวผมได้โอนเงินจำนวน 500 บาทเข้าบัญชีทุนนิธิฯ เพื่อร่วมทำบุญประจำเดือน กรกฎาคม ครับ<!-- google_ad_section_end --> :cool:
     
  2. nathaphat

    nathaphat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    182
    ค่าพลัง:
    +750
    วันนี้ผมและครอบครัว ได้โอนเงินร่วมทำบุญ 200 บาทครับ

    ขออนุโมทนาบุญกับทุกๆท่านนะครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 040753.jpg
      040753.jpg
      ขนาดไฟล์:
      32.6 KB
      เปิดดู:
      74
  3. psombat

    psombat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,334
    ค่าพลัง:
    +5,438
    สวัสดีครับ

    เมื่อซักครู่(11:45) ผมได้กระจายโอนเงินที่เพื่อนร่วมทำบุญ 5 แห่งดังนี้
    [​IMG]
    1. กองทุนหาพระถวายวัด 875-
    2. ทุนนิธิสงเคราะห์สงฆ์อาพาธ อ.ประถม อาจสาคร 875-
    3. ร่วมสร้างพระเจดีย์ศรีชัยผาผึ้ง 875-
    4. ร่วมหล่อพระสมเด็จองค์ปฐม สนส.บ่อเงินบ่อทอง 875-
    5. ร่วมไถ่ชีวิตโค 500-

    โมทนาสาธุร่วมกันอีกครั้งนะครับ<!-- google_ad_section_end -->
     
  4. pc2828

    pc2828 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    64
    ค่าพลัง:
    +455
    ผมนายปรีชา ศิริชาญขอร่วมทำบุญกองทุนสงเคราะห์พระภิกษุสงฆ์อาพาธ
    เป็นจำนวนเงิน 300 บาทโดยได้โอนผ่านทาง ATM เข้าบัญชีเลขที่
    348 1 23245 9 เมื่อเวลา 9.20 น. วันที่ 7/7/53 และขอโมทนาบุญ
    กับทุกท่านด้วยครับ
     
  5. Numsai

    Numsai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    5,778
    ค่าพลัง:
    +87,677
    ขออนุโมทนาบุญในธรรมทานนี้ด้วยค่ะ สาธุ...

    ตั้งใจว่าจะร่วมบุญบำรุงพระภิกษุอาพาธตามกำลังทุกเดือน สำหรับเดือนนี้หากโอนแล้วจะเรียนให้ทราบอีกครั้งนะคะ

    ขออนุโมทนาบุญอีกครั้งค่ะ

    Numsai
     
  6. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    วันนี้(8 กรกฎาคม 2553) ผมได้ไปโอนเงินของคุณdragonlord ในการร่วมทำบุญการสร้างพระพุทธเจ้า 5 พระองค์ ที่สนส.บ่อเงินบ่อทอง(ขอเชิญร่วมสร้าง พระพุทธรูป พระพุทธเจ้า 5 พระองค์ ที่ สนส.บ่อเงินบ่อทอง) จำนวน 3,500 บาท และโอนเงินร่วมทำบุญกับกองทุนหาพระถวายวัด ของผู้ไม่ประสงค์ออกนาม จำนวน 2,000 บาท

    และได้ไปโอนเงินของคุณธวัช เพื่อร่วมทำบุญกับทุนนิธิสงเคราะห์สงฆ์อาพาธ อ.ประถม อาจสาคร จำนวน 250 บาท

    มาโมทนาบุญกับคุณdragonlord ,คุณผู้ไม่ประสงค์ออกนาม และคุณธวัช กันครับ

    สำหรับคุณธวัช (อยู่จังหวัดน่าน) ได้เริ่มต้นการร่วมทำบุญกับผมมาประมาณ 3 ปีที่ผ่านมา เคยไปร่วมงานบุญที่ สนส.บ่อเงินบ่อทองกันหลายครั้ง ได้พบกันในงานพบปะของคณะพระวังหน้าหลายๆครั้ง และได้พบและร่วมทำบุญกันในงานของชมรมรักษ์พระวังหน้าหลายๆๆๆๆครั้ง เมื่อประมาณปลายเดือนที่แล้ว คุณธวัชได้โอนเงินให้ผม จำนวน 1,000 บาท บอกกับผมว่า ขอร่วมทำบุญกับผม แล้วแต่ผมจะนำไปทำบุญอะไรก็สุดแล้วแต่ผม ส่วนบุญกุศลที่ได้ คุณธวัชบอกกับผมว่า คุณธวัชและผม ขอให้ได้บุญกุศลกันคนละครึ่ง ผมขอโมทนาบุญกับคุณธวัชในทุกๆงานบุญด้วยครับ

    .<!-- google_ad_section_end -->

    http://palungjit.org/threads/พระวัง...โลกอุดรเสก-ถ้าต้องการที่จะได้.22445/page-1951
     
  7. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,791
    ค่าพลัง:
    +16,106
    [​IMG]



    งามทั้งกาย วาจา ใจ หมายความว่าอย่างไร<?XML:NAMESPACE PREFIX = O /><O:p></O:p>

    <O:p></O:p>
    ผู้ที่จะงามกาย วาจา ได้นั้นต้องมีคุณธรรม ประจำกาย วาจา ๒ ประการ คือขันติ โสรัจจะ <O:p></O:p>
    ๑) ขันติ แปลว่า ความอดทน<O:p></O:p>
    ๒) โสรัจจะ แปลว่า ความสงบเสงี่ยม<O:p></O:p>
    ๑) ขันติ แปลว่า ความอดทน หมายถึง อดทนต่อความทุกข์กาย ทุกข์ใจ
    <O:p></O:p>
    - ความทุกข์กาย หมายถึง ความไม่สบายกาย เช่น <O:p></O:p>
    ทุกข์ประจำ (ทุกข์ที่เกิดขึ้นอยู่เป็นประจำ) เช่นทุกข์เพราะหิว ทุกข์เพราะอิ่ม ทุกข์เพราะขับถ่าย ทุกข์เพราะหนาว ทุกข์เพราะร้อน ทุกข์เพราะนั่ง นอน ยืน เดิน เป็นต้น <O:p></O:p>
    ทุกข์จร (ทุกข์ที่เกิดขึ้นในบางครั้ง) เช่น ทุกข์เพราะเจ็บป่วยจากโรคต่าง ๆ ทุกข์เพราะถูกทำร้ายร่างกาย หรือเกิดอุบัติเหตุ สูญเสียอวัยวะบางอย่างเช่น แขนขาด ขาขาด ตาบอด พิการเป็นต้น <O:p></O:p>
    ผู้ที่มี ขันติ โสรัจจะ มีความอดทน ความสงบเสงี่ยม เป็นคุณธรรมประจำกาย วาจา แล้ว เมื่อมีความทุกข์ทางกายเกิดขึ้น ก็ไม่แสดงกิริยา วาจา ที่ไม่สุภาพ เรียบร้อย เช่นไม่โวยวาย ไม่ร้อนรนกระวนกระวาย กระสับกระส่าย กับความทุกข์เหล่านั้น นี้คือผู้ที่มี ขันติ โสรัจจะ ควบคุม กาย วาจา ให้มีความสุภาพอ่อนโยน เรียกว่า งามทั้งกายงามทั้งวาจา
    <O:p></O:p>
    - ความทุกข์ใจ หมายถึง ความไม่สบายใจ เกิดจากมีสิ่งต่าง ๆ มากระทบตา หู <O:p></O:p>
    จมูก ลิ้น กาย ใจ เช่น ตาเห็นรูป หูได้ยินเสียง จมูกได้ดมกลิ่น ลิ้นได้ลิ้มรส กาย สัมผัสรู้สึกหนาวร้อน สัมผัสอ่อน แข็ง เกิดความพอใจก็เป็นทุกข์ เพราะอยากได้ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส เหล่านั้นมาเป็นของตน หรือเกิดความไม่พอใจก็เป็นทุกข์ เพราะไม่อยากได้ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส เหล่านั้น ผู้ที่มีความอดทน มีความสงบเสงี่ยม มีสติปัญญาดีก็จะระงับ ยับยั้งชั่งใจไม่แสดงอาการ ร้อนรน กระวนกระวายใจ ทางกาย วาจา ให้ผู้อื่นเห็นเพราะความอยากได้สิ่งต่าง ๆ เหล่านั้น หรือความทุกข์ที่เกิดขึ้นจากความไม่พอใจ ไม่อยากได้ ก็จะไม่แสดงอาการร้อนรนกระวนกระวาย กระสับกระส่าย ทางกาย วาจา ให้ผู้อื่นเห็น ถึงแม้จะมีความทุกข์ใจอยู่ก็ตาม เพราะมี ขันติ โสรัจจะ และสติปัญญา เป็นคุณธรรม ประจำใจ จึงดู งามทั้งกาย วาจา ใจ <O:p></O:p>
    ผู้ที่จะงามทางใจได้นั้น ต้องมีคุณธรรมประจำใจ คือ มีพรหมวิหาร ๔ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา
    <O:p></O:p>
    - เมตตา คือ ความรัก ผู้ที่มีจิตใจงาม ต้องมีความรักอย่างกว้างขวาง ปรารถนา <O:p></O:p>
    ให้ทุกชีวิตทุกวิญญาณ มีความสุขถ้วนหน้ากัน ส่วนผู้ที่รักเฉพาะ พ่อแม่ สามีภรรยา บุตร ญาติพี่น้อง พวกพ้องบริวารของตนเอง ซึ่งเป็นความรักที่เป็นธรรมชาติของปุถุชน ไม่ถือว่ามีคุณธรรมอันสูงส่ง ในพรหมวิหาร ๔ นี้แต่อย่างใด
    <O:p></O:p>
    - กรุณา คือ ความสงสาร ผู้ที่มีจิตใจงามนั้น ต้องมีความสงสารอย่างกว้างขวาง <O:p></O:p>
    ปรารถนา ให้ทุกชีวิตทุกวิญญาณ ที่ได้รับความทุกข์ ให้พ้นจากความทุกข์ ส่วนผู้ที่มีความสงสารเฉพาะ พ่อแม่ สามีภรรยา บุตร ญาติพี่น้อง พวกพ้องบริวารของตนเองซึ่งเป็นความสงสาร ที่เป็นธรรมชาติของปุถุชน ไม่ถือว่ามีคุณธรรมอันสูงส่ง ในพรหมวิหาร ๔ นี้แต่อย่างใด
    <O:p></O:p>
    - มุทิตา คือ ความพลอยยินดี ผู้ที่มีจิตใจงามนั้น ต้องมีความพลอยยินดีอย่าง<O:p></O:p>
    กว้างขวาง มีความพลอยยินดีกับทุกชีวิตทุกวิญญาณ ที่ได้ดีมีสุข ส่วนผู้ที่มีความพลอยยินดี ให้เฉพาะ พ่อแม่ สามีภรรยา บุตร ญาติพี่น้อง พวกพ้องบริวารของตนเอง ซึ่งเป็นความพลอยยินดี ที่เป็นธรรมชาติของปุถุชน ไม่ถือว่ามีคุณธรรมอันสูงส่ง ในพรหมวิหาร ๔ นี้แต่อย่างใด
    <O:p></O:p>
    - อุเบกขา คือ ความเป็นกลาง มีใจเป็นธรรมไม่ลำเอียง ผู้ที่มีจิตใจงามนั้น ต้องมี<O:p></O:p>
    ความเป็นธรรม อย่างกว้างขวาง ให้กับทุกชีวิตทุกวิญญาณ อย่างเสมอกัน ไม่เลือกที่รักมักที่ชัง ส่วนผู้ที่มีความเป็นธรรมให้เฉพาะ พ่อแม่ สามีภรรยา บุตร ญาติพี่น้อง พวกพ้องบริวารของตนเอง ซึ่งมีความเป็นธรรม ที่เป็นธรรมชาติของปุถุชน ไม่ถือว่ามีคุณธรรมอันสูงส่ง ในพรหมวิหาร ๔ นี้แต่อย่างใด <O:p></O:p>
    ส่วนผู้ที่จะงามทั้งกาย วาจา ใจ นั้น ต้องมีคุณธรรม ขันติ โสรัจจะ ประจำกาย <O:p></O:p>
    วาจา และมีพรหมวิหาร ๔ ประจำใจ แล้วยังต้องมี สติ ปัญญาที่ดี
    <O:p></O:p>
    - สติ คือความระลึกได้
    <O:p></O:p>
    - ปัญญา คือความรอบรู้ รู้เหตุ รู้ผล รู้ผิด ถูก ชั่ว ดี รู้บาป บุญ คุณ โทษ <O:p></O:p>
    จะคิด จะพูด จะทำสิ่งใด ๆ ก็เลือกทำแต่สิ่งที่ดีมีประโยชน์ ทั้งต่อตนเองและผู้อื่น รวมทั้งสังคม ประเทศชาติบ้านเมือง<O:p></O:p>
    ส่วนผู้ที่ขาดคุณธรรม ดังที่กล่าวมาแล้วนี้ จะมีจิตใจโหดร้ายทารุณ มีกิริยา วาจา ที่หยาบคาย ไม่สุภาพเรียบร้อย ไม่งามทั้งกาย วาจา ใจ เพราะขาด สติ ปัญญา ไร้เหตุ ไร้ผล ไม่รู้ผิด ถูก ชั่ว ดี ไม่รู้ บาป บุญ คุณ โทษ จิตอยู่ใต้อำนาจของกิเลส มีความโลภ ความโกรธ ความหลง เป็นพื้นฐานของจิต จึงคิด พูด ทำแต่สิ่งที่ไม่ดี ไม่มีประโยชน์ต่อตนเองและผู้อื่น นี้เรียกว่า ผู้ที่ไม่งามทั้งกาย วาจา ใจ <O:p></O:p>
    คุณธรรมอันทำให้งามทั้งกาย วาจา ใจ นี้ มีประโยชน์มาก ถ้าผู้ใดยังไม่มีก็ขอให้สร้างคุณธรรม เหล่านี้ให้เกิดขึ้น กับตนเอง แต่ถ้าผู้ใดที่มีคุณธรรมเหล่านี้แล้ว ก็ขอให้สร้างเสริม ให้มีมากยิ่ง ๆ ขึ้นไป ท่านจะได้ชื่อว่า เป็น ผู้ที่งามทั้งกาย วาจา ใจ

    http://www.porjarearntum.com
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 กรกฎาคม 2010
  8. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,791
    ค่าพลัง:
    +16,106

    ก่อนอื่นต้องขอขอบพระคุณทุกๆ ท่าน ที่ได้ทำบุญทำกุศลโดยการโอนปัจจัยผ่านบัญชีของทุนนิธิฯ เข้ามาซึ่งมีทั้งท่านเก่าและท่านใหม่ เห็นแล้วชื่นใจดีแท้ เมื่อวานก่อนได้เห็นรายงานบัญชีค่ารักษาพยาบาลของ รพ.สมเด็จพระยุพราชด่านซ้าย จ.เลย ซึ่งใช้เงินจากทุนนิธิฯ ล้วนๆ แล้ว จิตคิดประหวัดไปว่า เออหนอ... เนื้อนาบุญแห่งพุทธศาสนาก็คือพระสงฆ์ ยามที่ท่านอาพาธ ได้ใช้เงินจากทุนนิธิฯ แห่งนี้ ในการเป็นค่ารักษาพยาบาลท่าน ก็สมใจในเจตนารมย์แห่งการตั้งทุนนิธิฯ นี้ จริงๆ และหากเป็นอย่างที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านตรัสไว้ ตามที่เราได้อ่านเจอ พวกเราทุกๆ คนที่บริจาคปัจจัยเข้ามา ก็มีส่วนร่วมในบุญนี้ทุกๆ คน เช่นกัน และเปรียบได้ดังอุปัฏฐากพระองค์เลยทีเดียว ท้ายที่สุด ก็ขออนุโมทนาในบุญกุศลนี้ให้พวกเราทั้งหลายได้ถึงที่หมายปลายทางโดยเร็วและขอให้มีแต่ความสุขกายสบายใจ พร้อมกับมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงด้วยเทอญ...สาธุ นิพพานะ ปัจจะโย โหตุ




    [​IMG]


     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  9. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,791
    ค่าพลัง:
    +16,106
    สำหรับรายชื่อท่านใด หากตกหล่นในการอนุโมทนา ต้องขออภัย และขอรับผิดแต่เพียงผู้เดียวครับ

    [​IMG]

     
  10. ไชยชุมพล

    ไชยชุมพล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    246
    ค่าพลัง:
    +1,873
    วันนี้คุณแม่โอนเงินร่วมทำบุญกับทุนนิธิประจำเดือนนี้แล้วจำนวน ๕๐๐ บาทครับ เวลาโอนประมาณเก้าโมงครึ่ง
     
  11. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,791
    ค่าพลัง:
    +16,106
    สำหรับในวันทำกิจกรรมที่ผ่านมา ผมได้นำพระพิมพ์สมเด็จ ที่มีพระบรมสารีริกธาตุ ออกมาให้บูชา 5 องค์เพื่อหาทุนสร้างหลังคาโรงครัวที่สำนักสงฆ์กลางหุบเขาที่ อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ ก็เรียบร้อยหมดเกลี้ยง ได้ปัจจัยในการบริจาคพร้อมกับปัจจัยสมทบร่วมกับทีมพระวังหน้าของคุณสิทธิพงษ์ที่มาร่วมทำบุญด้วย ทั้งหมดเป็นเงิน 3,900.- บาท ได้จัดการโอนไปให้ท่านเรียบร้อยแล้ว ส่วนหลวงปู่ทวดเนื้อว่าน 5 องค์ ก็หมดเช่นกัน คงเหลือแต่พระคง อยู่ที่ผม 5 องค์ เท่านั้น เอาไว้คราวหน้าค่อยว่ากันใหม่ และด้วยความที่อยากจะรู้ว่าท่านเป็นยังไง ก็ให้ฌาณลาภีบุคคลในทุนนิธิฯ ตรวจทางในซ้ำกันอีกรอบ ก่อนนำมาให้บริจาค ผลก็คือ พระหลวงปู่ทวด ตรวจยังไงๆ ก็แคล้วคลาดขึ้นมานำก่อนเลย เรื่องเมตตา อย่าไปหวัง พบยากจริงๆ ส่วนพระคง เหนียวครับ พลังทางเหนียวจริงๆ นี่คือเกร็ดความรู้สำหรับพระสองสกุลนี้ ส่วนพระพิมพ์สมเด็จกรุบางน้ำชนหรือพระพิมพ์สมเด็จปีระกา ที่ผู้บริจาคนำมามอบให้เพียง 1 องค์ ผมขอเก็บไว้ใช้เองโดยบริจาคไปหนึ่งพันบาท เพราะสัมผัสดูก็รู้ว่าใช่เลย ข้อมูลท่านเป็นอย่างไร หาอ่านได้ในกระทู้นี้ พระหลักร้อย แต่สุดยอดจริงๆ ใครอยากได้ งานกิจกรรมในเดือนนี้ วันที่ 25 กรกฎาคม จะลองจีบๆ ศิษย์รุ่นใหญ่ของท่าน อ.ประถมฯ ให้ติดมือมาให้ ยังไงก็แจ้งมาทางพีเอ็มก็แล้วกัน ช่วยสงฆ์อาพาธทั้งหมดครับ เพราะตายไปพระพิมพ์ต่างๆ ที่เก็บไว้ ก็เอาไปไม่ได้อยู่แล้ว ข้อนี้ลูกศิษย์ อ.ประถมฯ ทุกท่านทราบดี คงมีแต่กุศลและผลบุญเท่านั้นครับที่ตามติดตัวเราไป ได้ทั้งบุญได้ทั้งพระดีครับ



    [​IMG]
     
  12. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949

    สวัสดีครับทุกๆท่าน โมทนาบุญร่วมกันครับ
    วันนี้ผมได้โอนเงินร่วมทำบุญสร้างพระพุทธรูป 5 พระองค์ สนส.บ่อเงินบ่อทอง หลวงพ่อแผน 300 บาท
    ร่วมทำบุญทุนนิธิสงฆ์อาพาธ ปู่ประถม 200 บาท

    โมทนาสาธุทุกประการครับ<!-- google_ad_section_end -->

    โพสโดยคุณ <!-- google_ad_section_start(weight=ignore) -->พรสว่าง_2008<!-- google_ad_section_end -->

    ที่มา พระวังหน้า ที่หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรเสก ถ้าต้องการที่จะได้.....<!-- google_ad_section_end -->


    .


    .
     
  13. aries2947

    aries2947 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    2,031
    ค่าพลัง:
    +11,622
    ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ พันวฤทธิ์ [​IMG]
    ก่อน อื่นต้องขอขอบพระคุณทุกๆ ท่าน ที่ได้ทำบุญทำกุศลโดยการโอนปัจจัยผ่านบัญชีของทุนนิธิฯ เข้ามาซึ่งมีทั้งท่านเก่าและท่านใหม่ เห็นแล้วชื่นใจดีแท้ เมื่อวานก่อนได้เห็นรายงานบัญชีค่ารักษาพยาบาลของ รพ.สมเด็จพระยุพราชด่านซ้าย จ.เลย ซึ่งใช้เงินจากทุนนิธิฯ ล้วนๆ แล้ว จิตคิดประหวัดไปว่า เออหนอ... เนื้อนาบุญแห่งพุทธศาสนาก็คือพระสงฆ์ ยามที่ท่านอาพาธ ได้ใช้เงินจากทุนนิธิฯ แห่งนี้ ในการเป็นค่ารักษาพยาบาลท่าน ก็สมใจในเจตนารมย์แห่งการตั้งทุนนิธิฯ นี้ จริงๆ และหากเป็นอย่างที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านตรัสไว้ ตามที่เราได้อ่านเจอ พวกเราทุกๆ คนที่บริจาคปัจจัยเข้ามา ก็มีส่วนร่วมในบุญนี้ทุกๆ คน เช่นกัน และเปรียบได้ดังอุปัฏฐากพระองค์เลยทีเดียว ท้ายที่สุด ก็ขออนุโมทนาในบุญกุศลนี้ให้พวกเราทั้งหลายได้ถึงที่หมายปลายทางโดยเร็วและ ขอให้มีแต่ความสุขกายสบายใจ พร้อมกับมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงด้วยเทอญ...สาธุ นิพพานะ ปัจจะโย โหตุ

    มหาโมทนาบุญกับทุกๆท่านด้วยครับ

     
  14. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,791
    ค่าพลัง:
    +16,106
    ห ล ว ง ปู่ เ ม ต ต า ส อ น เ กี่ ย ว กั บ พ ร ะ เ ค รื่ อ ง บู ช า

    <TABLE border=0 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=center>

    </TD><TD style="FONT-SIZE: smaller" height=20 vAlign=bottom noWrap align=right></TD></TR></TBODY></TABLE>

    <HR class=hrcolor SIZE=1 width="100%">[​IMG]

    ห ล ว ง ปู่ เ ม ต ต า ส อ น เ กี่ ย ว กั บ พ ร ะ เ ค รื่ อ ง บู ช า

    ผู้ที่มีพระเครื่องบูชา มักคิดไม่ตกว่าควรวางไว้ที่ใดจึงควรแก่การสักการะ
    คำถามเหล่านี้มีเป็นประจำ ผู้เขียนจึงรวบรวมไว้โดยสังเขป ดังนี้

    ผู้ถาม "พระหลวงปู่ตั้งไว้ที่เดียวกับพระพุทธเจ้าได้ไหม"

    หลวงปู่ "ข้าทำพระ สุดท้ายก็อธิษฐานเป็นพระพุทธเจ้า รูปข้าหรือรูปพระสงฆ์ทั่วไปยังไม่ใช่ของจริง
    เป็นของหลอก มีแต่พระพุทธเจ้าจึงมีจริง"

    ผู้ถาม "อย่างนั้น ตั้งไว้อาสนะเดียวกันได้สิครับ"

    หลวงปู่ "ได้ ถ้าแกไม่กลัวโลกเขาติเตียน ผู้รู้จะตำหนิเอาได้"

    ผู้ถาม "ถ้าผมไม่มีโต๊ะหมู่บูชา มีเพียงโต๊ะตัวเดียวจะทำอย่างไร"

    หลวงปู่ "เอาผ้าขาว กระดาษขาว วางรองไว้ที่ฐานพระพุทธรูป ก็ถือว่าคนละอาสนะแล้ว"

    ผู้ถาม "ถ้ามีคนเอารักยม กุมาร หรือรูปนางกวักเหล่านี้มา หลวงปู่เสกไหมครับ"

    หลวงปู่ "เสกได้ ทำเป็นพระเสียก็หมดเรื่อง รักยมก็บวชให้เป็นเณร เณรเป็นอรหันต์มีเยอะแยะ นางกวักก็เป็นภิกษุณี"

    ผู้ถาม "พระแก้วมรกตมีพระธาตุจริงไหม"

    หลวงปู่ "พระแก้วเป็นตัวแทนของพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน พระนาคเสนเป็นพระอรหันต์ที่สร้างขึ้นมา
    ท่านอธิษฐานให้พระสารีริกธาตุสถิตอยู่ ๗ แห่ง"

    ผู้ถาม "ตัวแทนพระพุทธเจ้าทุกองค์ต้องสร้างด้วยมรกตสีเขียวใช่ไหมครับ"

    หลวงปู่ "ไม่เหมือนกัน ถ้าถึงยุคพระศรีอริยเมตไตรย พระทำด้วยทับทิม (แก้วมณี) เพราะเป็นของคู่บารมีท่าน"

    ผู้ถาม "การที่พระภิกษุสร้างรอยเท้าให้บูชานั้น มีวัตถุประสงค์อย่างไร"

    หลวงปู่ "การทำเช่นนั้น มิใช่การทำรอยเท้าของท่านเอง หากแต่อธิษฐานเป็นรอยเท้าพระพุทธเจ้า"

    http://www.watsakae.com/smf/index.php?topic=572.0
     
  15. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,791
    ค่าพลัง:
    +16,106

    <TABLE border=0 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=center>


    </TD><TD style="FONT-SIZE: smaller" height=20 vAlign=bottom noWrap align=right></TD></TR></TBODY></TABLE>


    <HR class=hrcolor SIZE=1 width="100%">
    [​IMG]



    การเสกพระ (เเบบพระอริยะ)
    เล่าโดย หลวงพ่อพระราชพรหมยาน(วีระ ถาวโร)
    วัดท่าซุง จ.อุทัยธานี​


    เรื่องมีอยู่ว่า ตอนท้ายชีวิตของหลวงพ่อปาน
    หลวงพ่อปานทำรูปของท่าน แล้วมีรูปยันต์เกราะเพชรหลายพันผืน
    สำหรับแจกบรรดาพุทธบริษัทที่มีความต้องการ

    หลวงพ่อปานไม่ได้สั่งพิมพ์เอง
    เป็นนายประยงค์ ตั้งตรงจิตร เจ้าของห้างขายยาตราใบโพธิ์
    คนนี้เรียน "คาถาพระปัจเจกพุทธเจ้า" กับหลวงพ่อปาน
    ทำจนมีผล ทำคาถาพระปัจเจกพุทธเจ้าจนเป็น "ฌาน"

    คาถาพระปัจเจกพุทธเจ้านี่ ลูกหลานทั้งหลาย ถ้าใครจำได้นะ
    ถ้าใครจำคาถาได้ ทำให้เป็นสมาธิ ทำให้เป็น "ฌาน" มีผล ๒ อย่าง

    คือว่า ถ้าเป็นฌานแล้ว...ลาภสักการจะเกิดไม่ขาดสาย
    ขึ้นชื่อว่าความขัดข้องใดๆ ไม่ค่อยจะมี
    หากว่ามีขึ้นมา ก็มีการชดใช้ หมายความว่า หาทัน นี่เป็นประการ ๑

    ประการที่ ๒ คาถาพระปัจเจกพุทธเจ้านี่เป็น "พุทธานุสสติกรรมฐาน"
    มีผลยันให้ถึงพรหม หมายความว่า บันดาลให้เกิดเป็น "พรหม" ได้
    แต่ถ้าหากใช้ฌานอันนั้นไป "เจริญวิปัสสนาญาณ" ก็ไป...พระนิพพานได้

    ฉะนั้น คาถาพระปัจเจกพุทธเจ้าของหลวงพ่อปาน จึงไม่ใช่เป็นคาถาที่ปรัมปรา หรือ ไร้ผล
    มีผลในชาติปัจจุบัน แล้วก็มีผลในชาติสัมปรายภพ
    หากว่าบรรดาลูกหลานทั้งหลาย ทำคาถาพระปัจเจกพุทธเจ้าของหลวงพ่อปาน จนเป็น "ฌาน" ได้
    ทุกคนก็จะไม่มีความยากจน เวลาตายก็มีความสุข
    อยากจะไปนิพพานก็ไปได้ มีผลเสมอกัน เป็นคาถาของชาวบ้านโดยตรง

    คราวนี้มาว่ากันถึงเรื่อง "ผ้ายันต์"
    ในเมื่อนายประยงค์ ตั้งตรงจิตร เจ้าของห้างขายตราใบโพธิ์ มาถวายหลวงพ่อปานจำนวนหลายพันผืน
    เมื่อเขาพิมพ์มาแล้ว หลวงพ่อปานก็สั่ง "หลวงพ่อเล็ก" ให้เอาผ้ายันต์ไปเสก
    หลวงพ่อเล็กนำมาเสก ๓ เดือน ถือว่าครบไตรมาสพรรษาหนึ่งพอดี

    "หลวงพ่อเล็ก" นี่เราทราบกันอยู่ว่า ท่านได้สมาบัติ ๘
    แต่ว่ายิ่งไปกว่านั้นสำหรับวิปัสสนาญาณนี่ จะได้อะไรฉันไม่ทราบ
    ฉันไม่หลอกสิ่งที่จะรู้กันได้ ถ้าเราได้ถึงไหน เราก็รู้กันว่าคนอื่นเขาได้ถึงเพียงนั้น ที่รู้เลยไปเราไม่รู้
    ตอนนั้นฉันก็ยังทรงสมาบัติ ๘ เหมือนกัน แต่ว่าไม่ได้ฝึก "อภิญญา" ครบถ้วน
    เลยกลายเป็นพระไม่ใช่อภิญญา นี่ฟังให้ดีนะ

    สมาบัติ ๘ ก็อาศัย "กสิณ" กองใดกองหนึ่งเป็นพื้นฐาน
    ไม่จำเป็นต้องใช้กสิณทั้งหมด ๑๐ อย่าง
    ใช้กสิณกองใดกองหนึ่งเป็นพื้นฐาน ยกเอารูปขึ้นมาตั้ง แล้วก็เพิกกสิณนั้นเสีย
    แล้วใช้อรูปฌานขึ้นมาแทน ถ้าทำได้ทั้ง ๔ อย่างก็เรียกว่า
    ทรงอรูปฌาน ๔ อย่าง ได้เป็นฌาน ๘ ไป นี่ฟังกันไว้เท่านี้นะ

    หลวงพ่อเล็กได้ฌาน ๘ สมาบัติ ๘ เลยกว่านั้นฉันไม่รู้
    เมื่อได้รับผ้ายันต์มาแล้วก็มานั่งเสก
    เสกด้วยอำนาจของสมาธิ เข้า "ฌานสมาบัติ" ๓ เดือน เวลากลางคืน
    เสกกี่ชั่วโมงไม่ทราบ แต่ว่าไม่ใช่ว่าตลอดวันตลอดคืน อย่านึกว่าตลอดวันตลอดคืน ๓ เดือน
    ไม่ลูก ไม่กินข้าวไม่กินปลา นี่มันก็เกินคนไป ว่ากันตามแบบปกติ

    ฟังเรื่องของพระนะ พอครบ ๓ เดือน
    วันออกพรรษาหลวงพ่อเล็กเรียกฉันเข้าไป บอกให้แบกผ้ายันต์
    ฉันคนเดียวมันแบกไม่ไหว ก็เอาไอ้เพื่อนอีก ๓ คนมาช่วยกันแบกผ้ายันต์มาถวาย "หลวงพ่อปาน"
    ยังไม่ทันจะถึงเลย ห่างอีกประมาณสัก ๑๐ วาได้กระมัง
    หลวงพ่อปานเห็นเข้า ท่านโบกมือโบกไม้บอกว่า "ไม่เอาๆ ยังไม่เสร็จ ยังไม่เสร็จ ยังใช้ไม่ได้"
    นี่ท่านร้องไป ก็เป็นอันว่า ไม่เอาเข้าไปให้ท่าน เอากลับ

    ตอนนี้หลวงพ่อเล็กกลับมาก็นึกในใจว่า...
    นี่เราทำขนาดนี้ยังใช้ไม่ได้ ใครที่ไหนจะยิ่งไปกว่าเรานะ
    เราเข้าถึงสมาบัติ ๘ นี่ท่านบ่นนะ เราเข้าถึงสมาบัติ ๘
    แล้วก็คลายสมาธิลงมาพิจารณา "วิปัสสนาญาณ"
    จนกระทั่งอารมณ์จิตเป็นแก้วทั้งหมด เป็น "แก้วประกายพฤกษ์" ทั้งหมด
    แล้วเราจึงเข้าสมาธิใหม่ จัดเป็น "โลกุตตรญาณ" แล้วเราก็ "อธิษฐานจิต"
    นี่ยังใช้ไม่ได้ ก็ใครจะเสกยิ่งไปกว่านี้ ท่านบ่นให้ฟัง

    ท่านก็บอกว่า เอา ในเมื่อท่านใหญ่บอกว่าใช้ไม่ได้ ฉันก็จะทำให้ใหม่
    ตอนนี้ท่านไปทำใหม่ ๗ วัน ท่านทำยังไงบ้างฉันไม่ทราบ
    เวลาท่านทำไม่ได้เข้าไปยุ่งกับจิตใจของท่าน
    พอครบ ๗ วัน ท่านมาเรียกพวกฉันไปให้ไปแบกมาให้หลวงพ่อปาน

    ตอนนี้เองพอแบกมา หลวงพ่อปานเห็นแต่ไกล ก็กวักมือกวักไม้ บอก...
    "เออๆ เอามาๆๆ อย่างนี้ซิมันถึงจะใช้ได้ ไอ้คนเก่งคนเดียวน่ะมันใช้ไม่ได้
    มันต้องให้คนอื่นเขาเก่งกว่า เก่งคนเดียวใช้ไม่ได้ ทำอย่างนี้ใช้ได้"

    เมื่อเข้าไปถึง หลวงพ่อเล็กก็กราบหลวงพ่อปาน
    ฉันก็กราบ เพื่อนฉันก็กราบ

    ฉัน(หลวงพ่อฤาษีลิงดำ) ถาม "หลวงพ่อเล็ก" ว่า
    หลวงพ่อขอรับ ตอนก่อนหลวงพ่อเสกยังไง หลวงพ่อปานจึงว่า...ใช้ไม่ได้

    หลวงพ่อเล็กบอกว่า
    ตอนก่อนฉันเข้าสมาบัติ ๘ แล้วใช้วิปัสสนาญาณเต็มที่
    คลายจิตออกมาถึงอุปจารสมาธิ อธิษฐานแล้วก็เข้าสมาบัติ ๘ ใหม่
    เท่านี้ ๓ เดือน ไม่ได้ขาดเลยทุกคืน คืนละ ๓ ชั่วโมง
    ท่านใหญ่บอกว่า...ใช้ไม่ได้

    หลวงพ่อปานท่านก็ออกมาบอก
    ยังงี้ใช้ไม่ได้ดอกคุณเล็ก คุณเล็กอย่างนี้ใช้ไม่ได้นะ
    คือว่าถ้าเราทำอะไร ถ้าเก่งคนเดียวมันใช้ไม่ได้ ไอ้เราเองน่ะมันไม่ดีพอ ต้องให้คนอื่นเขาดีบ้าง

    จึงได้ถามหลวงพ่อเล็กใหม่ว่า
    หลวงพ่อขอรับ ตอน ๗ วันนี่ หลวงพ่อทำยังไงขอรับ

    ท่านบอกว่า
    ในเมื่อฉันใช้สมาบัติ ๘ ท่านใหญ่บอกว่าใช้ไม่ได้ ฉันก็กลับ คราวนี้ฉันไม่เอาละ

    ฉันก็ตั้งท่าบวงสรวงชุมนุมเทวดา
    อาราธนาบารมีพระทั้งหมด
    ตั้งแต่ พระพุทธเจ้าทุกๆพระองค์
    พระปัจเจกพุทธเจ้าทุกๆพระองค์
    พระอริยสาวกทั้งหมด
    พรหมทั้งหมด
    เทวดาทั้งหมด
    ครูบาอาจารย์ทั้งหมด
    ฉันยกยอดเลย ยกยอด ในเมื่ออาราธนา เห็นท่านมากันครบถ้วน

    แล้วท่านมาทำกัน คืนหนึ่งประเดี๋ยวเดียว สัก ๑๐ นาที ท่านก็กลับ
    แล้วท่านก็บอกให้เลิก ฉันก็นอน
    ฉันทำมาแบบนี้ถึง ๖ วัน ถึงวันที่ ๗ ทุกท่านมา แต่ไม่มีใครทำ
    ท่านบอกว่า "ไม่มีอะไรจะบรรจุแล้ว คุณจะให้ฉันทำอะไร"
    ฉันก็เลยเลิก ถึงได้ให้พวกเธอแบกมาให้ท่านใหญ่ นี่ท่านเรียก หลวงพ่อปานว่าท่านใหญ่

    หลวงพ่อปานฟังแล้วก็หัวเราะก๊าก บอกจริงที่คุณเล็กพูดน่ะ จริงนะอาจารย์เล็ก
    ท่านเรียกอาจารย์เล็กบ้าง คุณบ้าง ที่อาจารย์เล็กพูดนั่นน่ะจริง
    พวกเธอจงจำไว้นะ การที่เราจะ "เสกพระ เสกผ้ายันต์" อะไรต่ออะไรนี่น่ะ
    ถ้าเสกด้วยอำนาจกำลังของเราละ...ไม่ช้ามันก็เสื่อม เราน่ะมันดีแค่ไหน
    การเสกว่าคาถาต่างๆ นี่ก็เป็นการ "อาราธนาบารมี" ของพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
    หรือเทวดา หรือพรหม...มาช่วย แต่ว่าคาถาบางอย่างก็จะว่าแต่เฉพาะบางจุด

    การเสกพระเสกเจ้า หรือเสกผ้ายันต์ เสกอะไรต่ออะไรพวกนี้
    ถ้าเราเอาตัวของเราออกเสีย เราไม่เข้าไปยุ่ง
    แต่อาราธนาบารมีพระพุทธเจ้าทุกๆพระองค์
    พระปัจเจกพุทธเจ้าทุกๆพระองค์
    พระอริยสาวกทั้งหมด
    พรหม หรือ เทวดาทั้งหมด...ท่านมาช่วย
    ท่านทำประเดี๋ยวเดียว ๒-๓ นาที มันก็เสร็จ ดีกว่าเราทำ ๑,๐๐๐ ปี
    แล้วเราจะเอาอะไรบ้าง ก็อาราธนาบอกท่าน บอกว่า ขอให้ใช้ได้อย่างนั้นอย่างนี้

    แต่อย่าลืมนะ ถ้าใช้ในทางทุจริต หรือ กฎของกรรมบังคับ ไม่มีอะไรจะคุ้มครองใครได้
    ถ้าหากว่าใครเลวอยู่แล้ว ก็คอยพยุงๆให้เลวน้อยลงไปนิดหนึ่งได้
    ถ้าใครดีขึ้นมาหน่อย ก็พยุงให้ดีมากได้
    นี่เป็นกฎของอำนาจพุทธบารมี ธรรมบารมี สังฆบารมี และพรหม และเทวดาทั้งหลาย

    ท่านพูดแล้วท่านก็ชอบใจ บอกว่าคุณเล็กทำถูก
    ตอนก่อนฉันรู้ ไปตั้งท่าเข้าสมาบัติอยู่คืนละ ๒-๓ ชั่วโมง ฉันนั่งอยู่ที่กุฏินี่ฉันก็รู้
    แต่ที่ฉันไม่บอกไว้ก่อน เพราะจะให้คุณเล็กนี่นะรู้เอง

    การทำตัวเป็นคนเก่งเองน่ะ มันใช้ไม่ได้
    มันต้องให้พระท่านเก่งซี
    พระพุทธท่านเก่ง พระธรรมท่านเก่ง พระสงฆ์ท่านเก่ง พรหมท่านเก่ง เทวดาท่านเก่ง

    ของที่เราทำ เราจะไปตามคุ้มครองชาวบ้านชาวเมืองได้ยังไงทุกคน
    ถ้าหากพระก็ดี พรหมก็ดี เทวดาก็ดี ท่านช่วยคุ้มครอง
    ท่านก็มองเห็นได้ถนัด สงเคราะห์เขาได้โดยสะดวก

    http://www.watsakae.com/smf/index.php?topic=643.0
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 กรกฎาคม 2010
  16. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,791
    ค่าพลัง:
    +16,106
    <TABLE border=0 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=center>
    </TD><TD style="FONT-SIZE: smaller" height=20 vAlign=bottom noWrap align=right></TD></TR></TBODY></TABLE>
    <HR class=hrcolor SIZE=1 width="100%">
    [​IMG]

    หลวงพ่อชา สุภัทโท
    สงบจิตด้วยสมาธิที่แท้จริง


    ปฏิบัติทำไมมันถึงยากถึงลำบาก เพราะว่ามันอยาก พอไปนั่งสมาธิปุ๊บก็ตั้งใจว่าอยากจะให้มันสงบ
    ถ้าไม่มีความอยากให้สงบก็ไม่นั่งไม่ทำอะไร พอเราไปนั่งก็อยากให้มันสงบ
    เมื่ออยากให้มันสงบ ตัววุ่นวายก็เกิดขึ้นมาอีก ก็เห็นสิ่งที่ไม่ต้องการเกิดขึ้นมาอีก
    มันก็ไม่สบายใจอีกแล้ว นี่มันเป็นอย่างนี้

    ฉะนั้น พระพุทธเจ้าท่านสอนว่า อย่าพูดให้เป็นตัณหา อย่ายืนให้เป็นตัณหา
    อย่านั่งให้เป็นตัณหา อย่านอนให้เป็นตัณหา อย่าเดินให้เป็นตัณหา ทุกประการนั้นอย่าให้เป็นตัณหา
    ตัณหาแปลว่าความอยาก ถ้าไม่อยากจะทำอะไรเราก็ไม่ได้ทำ
    อันนั้นปัญญาของเราไม่ถึง ทีนี้มันก็เลยอู้เสีย ปฏิบัติไปไม่รู้จะทำอย่างไร พอไปนั่งสมาธิปุ๊บ ก็ตั้งความอยากไว้แล้ว

    อย่างพวกเราที่มาปฏิบัติอยู่ในป่านี้ ทุกคนต้องอยากมาใช่ไหม นี่จึงได้มา
    อยากมาปฏิบัติที่นี้ มาปฏิบัตินี่ก็อยากให้มันสงบ
    อยากให้มันสงบก็เรียกว่าปฏิบัติเพราะความอยาก มาก็มาด้วยความอยาก
    ปฏิบัติก็ปฏิบัติด้วยความอยาก เมื่อมาปฏิบัติแล้วมันจึงขวางกัน
    ถ้าไม่อยากก็ไม่ได้ทำ จึงเป็นอยู่อย่างนี้ จะทำอย่างไรกับมันล่ะ

    ๏ อย่าให้ตัณหาเข้าครอบงำในการปฏิบัติ

    การกระทำความเพียรก็เป็นอย่างนั้น พระพุทธเจ้าว่า อย่าทำให้เป็นตัณหา อย่าพูดให้เป็นตัณหา
    อย่าฉันให้เป็นตัณหา ยืนอยู่ เดินอยู่ นั่งอยู่ นอนอยู่ ทุกประการท่านไม่ให้เป็นตัณหา
    คือทำด้วยการปล่อยวาง เหมือนกับซื้อมะพร้าว ซื้อกล้วยมาจากตลาดนั่นแหละ
    เราไม่ได้เอาเปลือกมันมาทานหรอก แต่เวลานั้นยังไม่ถึงเวลาจะทิ้งมัน
    เราก็ถือมันไว้ก่อน การประพฤติปฏิบัตินี้ก็เหมือนกันฉันนั้น

    สมมุติวิมุติมันก็ต้องปนอยู่อย่างนั้น เหมือนกับมะพร้าว มันจะปนอยู่ทั้งเปลือกทั้งกะลาทั้งเนื้อมัน
    เมื่อเราเอามาก็เอามาทั้งหมดนั่นแหละ เขาจะหาว่าเราทานเปลือกมะพร้าวอย่างไรก็ช่างเขาปะไร
    เรารู้จักของเราอยู่เช่นนี้เป็นต้น อันความรู้ในใจของตัวเองอย่างนี้ เป็นปัญญาที่เราจะต้องตัดสินเอาเอง
    นี้เรียกว่าตัวปัญญา ดังนั้น การปฏิบัติเพื่อจะเห็นสิ่งทั้งหลายเหล่านี้ ไม่เอาเร็วและไม่เอาช้า
    ช้าก็ไม่ได้ เร็วก็ไม่ได้ จะทำอย่างไรดี ไม่มีช้า ไม่มีเร็ว เร็วก็ไม่ได้ มันไม่ใช่ทาง
    ช้าก็ไม่ได้ มันไม่ใช่ทาง มันก็ไปในแบบเดียวกัน

    ๏ ตั้งใจทำสมาธิมากเกินไป ก็กลายเป็นความอยาก

    แต่ว่าพวกเราทุกๆ คนมันร้อนเหมือนกันนะ มันร้อน พอทำปุ๊บก็อยากให้มันไปไวๆ
    ไม่อยากจะอยู่ช้า อยากจะไปหน้า การกำหนดตั้งใจหาสมาธินี้ บางคนตั้งใจเกินไป
    บางคนถึงกับอธิษฐานเลย จุดธุปปักลงไป กราบลงไป
    "ถ้าธูปดอกนี้ไม่หมด ข้าพเจ้าจะไม่ลุกจากที่นั่งเป็นอันขาด มันจะล้ม มันจะตาย มันจะเป็นอย่างไรก็ช่างมัน จะตายอยู่ที่นี้แหละ"

    พออธิษฐานตั้งใจปุ๊บก็นั่ง มันก็เข้ามารุมเลย พญามาร นั่งแพล็บเดียวเท่านั้นแหละ
    ก็นึกว่าธูปมันคงจะหมดแล้วเลยลืมตาขึ้นมาดูสักหน่อย โอ้โฮ ยังเหลือเยอะ
    กัดฟันเข้าไปอีก มันร้อนมันรน มันวุ่นมันวาย ไม่รู้ว่าอะไรอีก เต็มทีแล้ว
    นึกว่ามันจะหมด ลืมตาดูอีก โอ้โฮ ยังไม่ถึงครึ่งเลย สองทอดสามทอดก็ไม่หมด เลยเลิกเสีย เลิกไม่ทำ
    นั่งคิดอาภัพอับจน แหม ตัวเองมันโง่เหลือเกิน มันอาภัพ มันอย่างโน้นอย่างนี้
    นั่งเป็นทุกข์ว่าตัวเองเป็นคนไม่จริง คนอัปรีย์ คนจัญไร คนอะไรต่อมิอะไรวุ่นวาย
    ก็เลยเกิดเป็นนิวรณ์ นี่ก็เรียกว่าความพยาบาทเกิด ไม่พยาบาทคนอื่น ก็พยาบาทตัวเอง อันนี้ก็เพราะอะไร เพราะความอยาก

    ๏ ทำสมาธิด้วยการปล่อยวาง อย่าทำด้วยความอยาก

    ความเป็นจริงนั้นนะ ไม่ต้องไปทำถึงขนาดนั้นหรอก ความตั้งใจนะคือตั้งใจในการปล่อยวาง
    ไม่ต้องตั้งใจในการผูกมัดอย่างนั้น อันนี้เราไปอ่านตำราเห็นประวัติพระพุทธเจ้าว่า
    ท่านนั่งลงที่ใต้ต้นโพธิ์นั้น ท่านอธิษฐานจิตลงไปว่า
    "ไม่ตรัสรู้ตรงนี้จะไม่ลุกหนีเสียแล้ว แม้ว่าเลือดมันจะไหลออกมาอะไรก็ตามทีเถอะ"

    ได้ยินคำนี้เพราะไปอ่านดู แหม เราก็จะเอาอย่างนั้นเหมือนกัน
    จะเอาอย่างพระพุทธเจ้าเหมือนกันนี่ ไม่รู้เรื่องว่ารถของเรามันเป็นรถเล็กๆ
    รถของท่านมันเป็นรถใหญ่ ท่านบรรทุกทีเดียวก็หมด
    เราเอารถเล็กไปบรรทุกทีเดียวมันจะหมดเมื่อไหร่ มันคนละอย่างกัน
    เพราะอะไรมันถึงเป็นอย่างนั้น มันเกินไป บางทีมันก็ต่ำเกินไป บางทีมันก็สูงเกินไป ที่พอดีๆ มันหายาก

    ๏ สมาธิและนิวรณ์ ๕

    สมาธิ คือความตั้งมั่นของจิต ได้แก่ ภาวะที่จิตแน่วแน่ต่อสิ่งที่กำหนด
    มีอารมณ์เป็นหนึ่ง ไม่ฟุ้งซ่านหรือส่ายไป ศาสนาพุทธเน้นในสัมมาสมาธิ
    คือสมาธิที่ใช้ในทางแห่งการหลุดพ้น โดยใช้ปัญญาพิจารณาในสิ่งทั้งหลายตามที่เป็นจริง
    ไม่ใช่การหวังผลสนองตัณหาความอยาก เช่น อวดฤทธิ์ อวดความสามารถ เป็นต้น

    ๏ สมาธิแบ่งออกเป็น ๓ ระดับคือ

    ๑. ขณิกสมาธิ คือ สมาธิชั่วครู่ ชั่วขณะหนึ่ง เป็นสมาธิขั้นต้นที่บุคคลทั่วไปใช้ในการปฏิบัติหน้าที่ในการงานประจำวัน
    ๒. อุปจารสมาธิ คือ สมาธิที่ตั้งได้นานหน่อย ใกล้ที่จะได้ฌาน เกิดนิมิตต่างๆ เช่น เห็นแสงสว่างอยู่ระยะหนึ่ง
    ๓. อัปปนาสมาธิ คือ สมาธิแน่วแน่ถึงฌาน เป็นการทำสมาธิขั้นสูงสุด

    สมาธิใช้สำหรับปราบกิเลสอย่างกลาง ที่จำเพาะเกิดขึ้นในใจคือ นิวรณ์ ๕ เมื่อกายวาจาสงบเรียบร้อยแล้ว
    แต่บางทีจิตยังไม่สงบ คือยังมีความกำหนัด ความโกรธ ดีใจ หดหู่ ฟุ้งซ่าน ตื่นเต้น กลัว รำคาญ หรือสงสัย ลังเลอยู่
    อาจล่วงถึงกายวาจาได้ เช่น สีหน้าผิดปกติ เมื่อกระทบอารมณ์รุนแรงเข้าก็ถึงออกปาก ด่าว่า ทุบตี ฆ่าฟัน เป็นต้น

    ศีลมีหน้าที่ตั้งจิต งดเว้นไม่ทำบาปด้วย กาย วาจา สมาธิมีหน้าที่รักษาจิต ให้สงบจากนิวรณ์ทั้งห้า
    มิให้เศร้าหมอง เพราะความกำหนัด ขัดเคือง ใจหดหู่ ฟุ้งซ่าน ตื่นเต้น กลัว รำคาญ และสงสัย ลังเล ในอารมณ์ ต่างๆ เหล่านั้น

    ๏ นิวรณ์ ๕

    คือ ธรรมอันกั้นจิตไม่ให้บรรลุความดี เป็นข้าศึกแก่สมาธิ มี ๕ อย่างคือ
    ๑. กามฉันท์ คือ ความพอใจรักใคร่ในอารมณ์ที่ชอบใจ มีรูป หรือความพอใจในกาม
    ๒. พยาบาท คือ การปองร้ายผู้อื่น
    ๓. ถีนมิทธะ คือ ความง่วงเหงาหาวนอน จิตหดหู่และเคลิบเคลิ้ม
    ๔. อุทธัจจกุกกุจจะ คือ ความฟุ้งซ่าน รำคาญใจ
    ๕. วิจิกิจฉา คือ ความลังเลสงสัย

    นิวรณ์นั้นเป็นข้าศึกแก่สมาธิ เวลามีนิวรณ์ สมาธิก็ไม่มี เวลามีสมาธิ นิวรณ์ก็ไม่มี
    เหมือนมืดกับสว่าง เวลามืดสว่างไม่มี เวลาสว่างมืดก็หายไป จะนำมารวมกันไม่ได้

    นิวรณ์เกิดจากสัญญา (ความจำได้หมายรู้) และจากสังขาร (ความปรุงแต่งทางจิตบางอย่างเข้ามายั่วยวนให้เกิดนิวรณ์)
    นิวรณ์เกิดขึ้นที่จิตเพียงแห่งเดียว แต่มีผลต่อแห่งอื่นๆ สาเหตุที่เกิดนิวรณ์
    เช่น คนมีตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ก็ต้องมองเห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส เป็นต้น เมื่อตาเห็นรูป ก็จะเลือกดูแต่รูปที่ดี
    จะต้องคิดนึกถึงรูปปานกลาง และรูปเลวด้วย คือ ต้องนึกถึงไตรลักษณ์เป็นหลักพิจารณาอยู่เสมอ จะได้ไม่หลง

    ถ้าจะให้จิตอยู่ในอารมณ์พระนิพพานอยู่เสมอ เมื่อเห็นอะไรก็ต้องพิจารณาให้เข้าสู่ไตรลักษณ์อยู่ตลอดเวลา
    แม้เกี่ยวกับการได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส ฯลฯ ก็ต้องพิจารณาให้เห็นพระไตรลักษณ์เช่นเดียวกัน
    การเพ่งสมาธิวิปัสสนา ให้เพ่งพระพุทธรูป (พุทธานุสสติ), กายาคตาสติ อสุภะดีที่สุด
    เมื่อเพ่งจนเกิดสมาธิแล้วก็พิจารณาไปสู่พระไตรลักษณ์
    หรืออีกวิธีคือ ความยินดีพอใจในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธรรมารมณ์ ทั้งปวงอันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ
    ที่ชาวโลกพร้อมทั้งเทวโลกสมมติกันว่าเป็นสุข
    แต่พระอริยะเจ้าเห็นสิ่งเหล่านี้ว่าเป็นทุกข์ การยินดีในสุภนิมิต เช่นนี้เรียกว่า กามฉันท์

    ผู้มีกามฉันท์นี้ควรเจริญกายาคตาสติ พิจารณาเห็นร่างกายให้เห็นเป็นปฏิกูล
    พยาบาทเกิดขึ้นเพราะความคับแค้นใจ ผู้มีพยาบาทชอบโกรธเกลียดผู้อื่นอยู่เสมอๆ
    ควรเจริญ เมตตา กรุณา มุทิตา คิดให้เกิดความรัก เมตตาสงสารผู้อื่น

    ผู้มีความเกียจคร้านท้อแท้อยู่ในใจ ไม่กระตือรือร้นในการทำงาน เรียกว่าถูกถีนมิทธะครอบงำ
    ควรเจริญอนุสสติกัมมัฎฐาน พิจารณาความดีของตนและผู้อื่น เพื่อจะได้มีความอุตสาหะทำงาน แก้ความท้อแท้ใจเสียได้

    ความฟุ้งซ่าน รำคาญ เกิดจากการที่จิตไม่สงบ ควรเพ่งกสิณให้ใจผูกอยู่ในอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่ง
    หรือเจริญกัมมัฏฐานให้ใจสังเวช เช่น มรณสติ
    ความลังเลไม่ตกลงได้ เนื่องจากไม่ได้พิจารณาให้ละเอียดถี่ถ้วน
    ควรเจริญธาตุกัมมัฏฐาน เพื่อจะได้รู้สภาวะธรรมตามความเป็นจริง

    [​IMG] http://onknow.blogspot.com/2009/04/blog-post_9766.html
     
  17. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,791
    ค่าพลัง:
    +16,106

    [​IMG]


    คาดว่าคงมีคนจำนวนไม่น้อยที่ปรารถนาจะรู้
    รวมทั้งปรารถนาที่อยากครอบครอง พระเครื่องที่ได้ชื่อว่า เป็นสุดยอดพระเครื่องของหลวงปู่ดู่
    แต่ทว่า หลวงปู่ก็ไม่เคยบอกยืนยันว่า พระรุ่นใดของท่านที่ท่านรับรองว่า...สุดยอด
    เพียงแต่กล่าวในเชิง...ให้รักษาไว้ให้ดี ๆ
    เป็นต้นว่า

    ๑. เหรียญเสมารูปเหมือนหลวงปู่
    ที่สร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๔ ด้านหลังมีข้อความว่า รุ่นปฏิบัติธรรม เป็นเหรียญทองแดงชุบทองแดง
    จึงแลดูสุกแวววาว ท่านว่าตั้งแต่สร้างพระมา เหรียญรุ่นนี้แข็งที่สุด (เป็นคำพูดที่นิยมใช้ที่วัดสะแก
    หมายความว่า... แรงดี ขึ้นดี มีพลังมาก) จะไม่แรงยังไงได้ ก็ในเมื่อผู้สร้าง แทบจะใช้แต่เนื้อชนวนล้วน ๆ
    ที่สำคัญคือ เจตนาในการสร้างก็บริสุทธิ์ ไม่มีการจำหน่าย กะว่าจะแจกฟรีสำหรับผู้ปฏิบัติภาวนา
    ท่านจึงตั้งใจเต็มที่ แถมเหรียญส่วนใหญ่อยู่ในกุฏิท่านตั้งราว ๘ ปี

    ๒. เหรียญพระพรหม ทองเหลือง-ทองแดง (ที่สร้างด้วยกรรมวิธีโลหะฉีด) รวมทั้ง แหวนทุกรุ่น
    หลวงปู่จะพูดถามลูกศิษย์บางคนที่ไม่สัดทัดสะสมวัตถุมงคล ให้ไปหาเก็บเอาไว้ เพราะเป็นของสำคัญ

    ๓. พระพรหมผง
    อันนี้อาจเป็นเพราะพ้องกับชื่อท่าน คนส่วนใหญ่ก็รู้สึกว่า น่าจะเป็นสัญลักษณ์ หรือ รูปแบบที่เป็นเอกลักษณ์
    หลวงปู่ท่านก็ย่อมประกันคุณภาพอย่างเต็มที่

    ๔. เหรียญครูบาอาจารย์ หรือ พระเถระผู้มีพระคุณต่อหลวงปู่
    เช่น หลวงพ่อกลั่น หลวงพ่อใหญ่ (พระโบราณคณิศร) หลวงปู่จะตั้งใจอธิษฐานจิตเพื่อบูชาคุณครูบาอาจารย์
    ท่านเคยกล่าวท้าว่า ถ้าไม่ดีจริง...ก็เอามาคืนท่านได้

    ๕. เหรียญยันต์ดวง
    ซึ่งด้านหน้ามีรูปครึ่งองค์หลวงปู่ ซึ่งนับว่าใกล้เคียงท่านมาก แล้วก็ด้านหลังซึ่งบรรจุดวงวันเกิดของหลวงปู่ ที่ลูกศิษย์เชื่อว่า หากดวงเราไม่ดี หากได้บูชาดวงหลวงปู่ ก็จะช่วยให้หนักกลายเป็นเบาได้

    ๖. ตะกรุดต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เรียกว่า ตะกรุดจักรพรรดิ
    ซึ่งพระลูกศิษย์ท่านบางรูปกล่าวว่า ต้องเป็นเนื้อทองคำเท่านั้น และ ต้องร้อยเรียงอักขระครบถ้วนตามตำราเท่านั้น
    มิใช่อะไร ๆ ก็จะเป็นจักรพรรดิเสียหมด

    ๗. เหรียญหลวงพ่อทวดรุ่นเปิดโลก
    เหรียญรุ่นนี้ท่านก็มิได้ว่าดีที่สุด เป็นแต่ว่าท่านกล่าวว่า ท่านเสกให้แบบเปิดสามโลก
    เหรียญมาดังมากก็เพราะ มีเรื่องราวเกี่ยวเนื่องกับหลวงปู่เกษม ผ่านทางพระภิกษุ (เพื่อนของคุณรณธรรม) ว่า เหรียญรุ่นนี้กันนิวเคลียร์ได้ ประกอบกับมีหลายท่านกล่าวว่า เหรียญนี้เป็นเหรียญหลวงปู่ทวด
    ที่สวยงามที่สุดรุ่นหนึ่งทีเดียว

    นอกจากนี้ ยังมีพระเครื่องรุ่นอื่น ๆ อีกจำนวนมาก ที่เชื่อว่าท่านคงกล่าวกับต่างคณะต่างวาระ จนสามารถสรุปได้ว่า
    "ไม่สามารถสรุปว่า พระเครื่องรุ่นใดที่เป็นสุดยอด"

    เพราะหลวงปู่ท่านตั้งใจอธิษฐานจิตให้ทั้งนั้น จะมีความแตกต่างก็แค่รายละเอียดปลีกย่อย
    อันเกิดจากอารมณ์จิต และ เจตนาของท่านในขณะอธิษฐานจิต
    เพราะสิ่งที่ท่านเคยกล่าวรับรองไว้ก็คือ
    พระทุกรุ่นของท่าน ท่านอธิษฐานไว้ครอบจักรวาล แล้วแต่ผู้ใช้จะอธิษฐานเอา

    มีเรื่องขำ ๆ เกี่ยวกับความลังเลใจของลูกศิษย์ที่คงมีพระเครื่องของท่านมากไป
    จนไม่รู้จะอัญเชิญองค์ใดมาห้อยติดตัวดี
    ในเมื่อมองไปทางองค์นั้นก็ว่าสุดยอด องค์นี้ก็เมตตาดี องค์โน้นก็แคล้วคลาดสูง
    สุดท้ายก็เลยใช้วิธีเอาทุกองค์มาใส่รวมในถุงย่อม ๆ แล้วห้อยคอทั้งถุง เป็นอันจบเรื่อง
    เพียงแต่เวลาก้มกราบพระ หรือ เดินไปไหน ก็จะมีเสียงขลุกขลัก ๆ ไปตลอด ก็น่ารักไปอีกแบบ

    ในเมื่อพระของท่าน แทบจะไม่แตกต่างด้านพุทธคุณ
    ดังนั้น ความแตกต่างที่ปรากฏจึงเป็นแต่เรื่องของค่านิยมเท่านั้น
    ซึ่งอาจมาจากความชอบส่วนตัวของคนจำนวนหนึ่ง หรือ ไม่ก็เป็นผลมาจากกระบวนการเก็งกำไร

    แต่ที่สรุปได้แน่ ๆ ว่า ทำไมหลวงปู่จึงไม่ยอมกล่าวรับรองว่า พระของท่านรุ่นใดที่เป็นเลิศที่สุด
    ก็เพราะจะไปขัดกับสิ่งที่ท่านกล่าวรับรองไว้เสมอ ๆ ว่า
    พระที่เลิศสุด ประเสริฐสุดก็คือ "พระเก่าพระแท้ในตัวเอง" นั่นเอง



    ***จากบทความของ คุณสิทธิ์
    ที่มา http://luangpordu.com/
     
  18. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,791
    ค่าพลัง:
    +16,106
    หน้าที่ – น่าทำ จริยธรรมมาตรฐาน เพื่อความเกษมศานต์แห่งชีวิต

    เรื่อง : ว.วชิรเมธี ผู้อำนวยการสถาบันวิมุตตยาลัย

    ในสิงคาลกสูตรพระพุทธองค์ได้ทรงแสดงหลักธรรมที่เกี่ยวกับการทำหน้าที่ของคนในสังคม โดยทรงเปรียบว่า รอบตัวเรานั้นมีทิศอยู่ 6 ทิศ (หากใช้สำนวนฝรั่งคงต้องบอกว่ามีหมวกอยู่ 6 ใบ) และเรามีหน้าที่ปฏิบัติต่อทิศทั้ง 6 นี้ให้ถูกต้อง พระสูตรนี้จึงเป็นที่มาของหลักการทำหน้าที่ต่อกันและกันของคนในสังคมที่ชื่อว่า “ทิศ 6”
    ในบทความต่อไปนี้ ผู้เขียนได้แปล เรียบเรียง และขยายความทิศทั้ง 6 เพิ่มขึ้นอีก โดยการเรียบเรียงเนื้อหาอื่นที่คิดว่าจำเป็นสำหรับสังคมสมัยใหม่เพิ่มเติม ทั้งนี้ ก็เพื่อให้ครอบคลุมการทำหน้าที่ที่หลากหลายของผู้คนในสังคมปัจจุบันอย่างทั่วถึง การแปลและเรียบเรียงทิศ 6 ครั้งนี้ มีข้อแตกต่างจากสำนวนแปลและเรียบเรียงอื่นๆ ก็คือ ผู้เขียนได้พยายามเรียงร้อยถ้อยความให้มีความไพเราะโดยใช้วรรณศิลป์เข้ามาช่วย และบางทิศ ก็แปลเป็นบทกวีเต็มทั้งบทก็มี
    หวังเป็นอย่างยิ่งว่า ทิศ 6 ฉบับเรียบเรียงใหม่ จะกลายเป็น “หน้าที่” ที่ “น่าทำ” สำหรับมนุษยชาติทั้งมวลสืบไป
    1.หน้าที่ของมารดาบิดาต่อบุตรธิดา
    1.1 สอนให้หนีห่างจากความชั่ว
    1.2 ฝึกให้ตั้งตัวอยู่ในความดี
    1.3 วางรากฐานแห่งชีวีด้วยการศึกษา
    1.4 ช่วยพิจารณาเมื่อจะเลือกคู่ชีวิต
    1.5 มอบทรัพย์ให้เป็นกรรมสิทธิ์เมื่อถึงเวลาอันสมควร
    2.หน้าที่ของบุตรธิดาต่อมารดาบิดา
    2.1 ท่านเลี้ยงเรามาแล้ว ต้องเลี้ยงท่านตอบ
    2.2 สนองงานในระบอบของท่าน
    2.3 สืบสานวงศ์สกุล
    2.4 รักษาต้นทุนแห่งความเป็นทายาท
    2.5 ไม่ประมาทคอยทำบุญเมื่อท่านล่วงลับ
    3.หน้าที่ของครูบาอาจารย์ต่อศิษย์
    3.1 สอนให้เป็นกัลยาณชนคนดี
    3.2 สอนให้มีความเข้าใจแจ่มแจ้ง
    3.3 แถลงวิชาการให้ลึกซึ้งหมดจด
    3.4 ยกย่องให้เป็นที่ปรากฏต่อสาธารณ์
    3.5 ฝึกฝนให้เชี่ยวชาญจนเลี้ยงตัวได้ไม่อับจน
    4.หน้าที่ของศิษย์ต่อครูบาอาจารย์
    4.1 ยกย่องไว้ในฐานะปูชนีย์
    4.2 เข้าไปหาด้วยไมตรีเพื่อศึกษา
    4.3 เงี่ยโสตลงสดับรับวิชา
    4.4 ปรนนิบัติด้วยจรรยากตัญญู
    4.5 ไม่ลบหลู่การเล่าเรียนเพียรจริงจัง
    5.หน้าที่ของสามีต่อภรรยา
    5.1 ยกย่องให้เกียรติสมกับที่เป็นภรรยา
    5.2 ไม่หาเรื่องดูหมิ่น
    5.3 ไม่ถวิลนอกใจ
    5.4 มอบความเป็นใหญ่ในงานบ้าน
    5.5 หาเครื่องประดับให้เมื่อถึงกาลอันสมควร
    6.หน้าที่ของภรรยาต่อสามี
    6.1 ดูแลงานบ้านให้เรียบร้อย
    6.2 คอยสงเคราะห์ญาติทั้งสองฝ่ายเป็นอย่างดี
    6.3 ไม่มีคิดนอกใจ
    6.4 รักษาทรัพย์สมบัติให้มั่นคง
    6.5 หยัดยงทำงานด้วยความเพียรไม่ปล่อยให้อาเกียรณ์คั่งค้าง
    7.หน้าที่ของมิตรต่อเพื่อน
    7.1 เผื่อแผ่แบ่งปัน
    7.2 เจรจากันด้วยไมตรี
    7.3 ปรารถนาดีคอยเกื้อกูล
    7.4 สนับสนุนไม่ทอดทิ้ง (มีสุขร่วมเสพ มีทุกข์ร่วมต้าน)
    7.5 จริงใจเสวนา
    8.หน้าที่ของเพื่อนต่อมิตร
    8.1 เมื่อเพื่อนประมาท คอยช่วยตักเตือน
    8.2 เมื่อเพื่อนแชเชือน คอยช่วยรักษา (ทรัพย์)
    8.3 ในยามมีภัยให้ได้พึ่งพา
    8.4 ทุกข์เข็ญหนักหนาไม่ยอมทอดทิ้ง
    8.5 นับถืออย่างยิ่งแม้ญาติวงศ์ (ของมิตร)
    9.หน้าที่ของนายต่อลูกน้อง
    9.1 ใช้คนให้ถูกกับวัย งาน และความถนัด
    9.2 รู้จักจัดเงินเดือนให้ตามความเหมาะสม
    9.3 มีสวัสดิการสมกับความเป็นอยู่
    9.4 เชิดชูด้วยรางวัล แบ่งปันด้วยน้ำใจ
    9.5 จัดสรรวันหยุดให้ตามสมควร
    10.หน้าที่ของลูกน้องต่อนาย
    10.1 เริ่มทำงานก่อนนาย
    10.2 เลิกงานภายหลัง
    10.3 คาดหวังแต่สิ่งที่นายให้ (ไม่คอร์รัปชัน)
    10.4 ภารกิจไม่อากูลคั่งค้าง
    10.5 สร้างชื่อเสียงโด่งดังให้นายและองค์กร


    http://www.posttoday.com
     
  19. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,791
    ค่าพลัง:
    +16,106
    วิถี แห่ง การปฏิบัติ วิถี แห่ง พระอาจารย์ "มั่น" วิถี แห่ง การสู้ขั้นแตกหัก[​IMG]





    <DD>หนังสือ "บูรพาจารย์" ชีวประวัติ ธรรมปฏิปทาและโอวาทธรรม ท่าน พระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถร ซึ่งดำเนินงานและจัดพิมพ์โดย มูลนิธิพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต เมื่อปี 2544 กล่าวถึงเส้นทางของ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต เมื่อพำนักอยู่เชียงใหม่เป็นลำดับดังนี้




    <DD>พำนักอยู่วัดเจดีย์หลวง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ประมาณปี 2472-2473 ได้รับแต่งตั้งเป็นพระครูวินัยธร ฐานานุกรมในท่าน เจ้าคุณพระอุบาลีคุณูปมาจารย์




    <CENTER>[​IMG]</CENTER>
    พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต
    ปี 2475 เป็นเจ้าอาวาสวัดเจดีย์หลวงเพียง 1 พรรษา พอออกพรรษาก็เดินธุดงค์ปฏิบัติกัมมัฏฐานตามป่าเขาภาคเหนือ

    พักอยู่วัดโรงธรรมสามัคคี อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ ประมาณ 20 กว่าวัน

    จากนั้นก็เดินทางไปยังวัดดอนมูล อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเดิมเป็นสำนักป่าช้า

    จากนั้นก็เดินทางไปยังเสนาสนะป่าแม่ริม อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งในปัจจุบันคือวัดป่าดาราภิรมย์

    จากนั้นก็เดินทางไปยังอำเภอแม่แตง อำเภอเชียงดาว อำเภอพร้าว

    ประสบการณ์ของการธุดงค์ ปฏิบัติกัมมัฏฐาน ตามวัด ตามเสนาสนะ ตามถ้ำ หมู่บ้านชาวเขาในเชียงใหม่นี้เองที่ควรต้องศึกษาอย่างละเอียด

    ที่ว่าสมควรต้องศึกษาอย่างละเอียด เพราะในหนังสือที่ พระมหาบัว ญาณสัมปันโน เขียนเอาไว้ตอนหนึ่งว่า

    ท่านเริ่มออกเที่ยวครั้งแรกที่จังหวัดเชียงใหม่

    ทราบว่าท่านไปเที่ยวองค์เดียว จึงเป็นโอกาสอันเหมาะอย่างยิ่งที่ช่วยให้ท่านมีตนอย่างสมใจที่หิวกระหายมานาน นับแต่สมัยที่อยู่เกลื่อนกล่นกับหมู่คณะมาหลายปี เพิ่งได้มีเวลาเป็นของตนในคราวนั้น

    ทราบว่าท่านวิเวกไปทางอำเภอแม่ริม เชียงดาว เป็นต้น เข้าไปพักในป่าในเขาตามนิสัยทั้งหน้าแล้งหน้าฝน

    การบำเพ็ญเพียรคราวนี้ท่านเล่าว่า เป็นความเพียรขั้นแตกหัก

    ท่านพร่ำสอนตนว่า คราวนี้จะดีหรือไม่ดี จะเป็นหรือจะตาย ต้องเห็นกันแน่นอน เรื่องอื่นๆ ไม่มียุ่งเกี่ยวแล้ว เพราะความสงสารหมู่คณะและการอบรมสั่งสอนก็ได้ทำเต็มความสามารถมาแล้ว ไม่มีทางสงสัย ผลเป็นประการใดก็เห็นประจักษ์มาบ้างแล้ว

    บัดนี้ถึงเวลาแล้วที่จะสงสารตัวเอง อบรมสั่งสอนตัวเอง ยกตัวเองให้พ้นจากสิ่งมือมิดบิดบังที่มีอยู่ภายในให้พ้นไป

    บัดนี้เป็นโอกาสที่เหมาะสมอย่างยิ่งที่ได้หลีกออกมาบำเพ็ญอยู่คนเดียวในสถานที่เปล่าเปลี่ยวไม่เกี่ยวข้องกับสิ่งใด

    นี่คือสถานที่อยู่ที่บำเพ็ญ ที่เป็นและที่ตาย นี่คือสถานที่ของผู้มีความเพียร

    พระมหาบัว ญาณสัมปันโน เขียนถึงห้วงเวลาของ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต เหมือนกับเป็นเงาสะท้อนแห่งการปรารถกับตนเอง

    ดังนี้

    เวลานี้เรากำลังเข้าอยู่ในสนามรบ เพื่อชิงชัยระหว่างกิเลสกับมรรคคือข้อปฏิบัติ เพื่อช่วงชิงจิตให้พ้นจากความเป็นสมบัติ 2 เจ้าของมาครองเป็นเอกสิทธิ์แต่ผู้เดียว

    ถ้าความเพียรย่อหย่อน ความฉลาดไม่พอ จิตจำต้องหลุดมือตกไปอยู่ในอำนาจของฝ่ายต่ำคือกิเลส และพาให้เป็นวัฏจักรหมุนเพื่อความทุกข์ร้อนไปตลอดอนันตกาล ถ้าเราสามารถด้วยความเพียรและความฉลาดแหลมคม จิตจำต้องตกมาอยู่ในเงื้อมมือและเป็นสมบัติอันล้นค่าของเราแต่ผู้เดียว

    คราวนี้เป็นเวลาที่เรารบรันฟันแทงกับกิเลสอย่างสะบั้นหั่นแหลก ไม่รีรอย่อหย่อนอ่อนกำลังโดยเอาชีวิตเข้าประกัน

    ถ้าไม่ชนะก็ยอมตายกับความเพียรโดยถ่ายเดียว ไม่ยอมถอยหลังพังทลายให้กิเลสหัวเราะเยาะเย้ย ซึ่งเป็นสิ่งที่น่าอับอายไปนาน ถ้าชนะเราก็ครองอิสระอย่างสมบูรณ์ไปตลอดกาล

    ทางเดินของเรามีทางเดียวเท่านี้ คือต้องสู้จนถึงตายกับความเพียรเพื่อชัยชนะอย่างเดียวเท่านั้น

    ไม่มีทางอื่นเป็นทางออกตัว

    นี่ย่อมเป็นมุมของ พระมหาบัว ญาณสัมปันโน

    อันต่างจาก พระญาณวิริยังค์ และต่างจาก พระทองคำ จารุวัณโณ

    เป็นรายละเอียดซึ่ง พระมหาบัว ญาณสัมปันโน ยืนยันว่ารับฟังจากปากของ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ด้วยตนเอง

    จึงเป็นเรื่องต้องศึกษาอย่างละเอียดเป็นพิเศษ



    <CENTER>[​IMG]</CENTER>
    พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต




    <DD>อย่างนี้เองที่พระอาจารย์ทองคำ จารุวัณโณ ตั้งข้อสังเกตต่อกระบวนการถ่ายทอดอย่างมากด้วยลีลาของ พระมหาบัว ญาณสัมปันโน


    นั่นก็คือ

    "ท่านอาจารย์มหาบัว ญาณสัมปันโน นั้น ท่านเป็นเจ้าปัญญา ท่านพระอาจารย์ไม่ได้พูดโดยตรง จะพูดโดยอ้อมสลับมากับพระธรรมเทศนา

    "ด้วยสติปัญญาของท่านสูงส่ง ท่านก็เลยนำมาเขียน"

    เป็นการเขียนอย่างประสานสอดรับกับนิสัยโดยพื้นฐานของ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ที่ไม่เพียงแต่ พระมหาบัว ญาณสัมปันโน เท่านั้นที่รับรู้และรู้สึก

    หาก พระอาจารย์เสาร์ กันตสีโล เองก็ยอมรับ

    ยอมรับในความโลดโผนทาง "จิต" ที่มีลักษณะบุกน้ำ ลุยไฟ ขึ้นไปในอากาศ ลงไปในท้องมหาสาครของ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต

    ตรงนี้จึงจำเป็นต้องพยายามแยกแยะ

    ด้าน 1 แยกแยะให้เข้าไปในความเป็นจริงที่ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ได้ประสบด้วยตัวท่านเอง จากการลงมือปฏิบัติ

    ขณะเดียวกัน ด้าน 1 แยกแยะให้เข้าไปในความรู้สึกของ พระมหาบัว ญาณสัมปันโน ซึ่งเป็นผู้เขียน จากการรับฟังคำบอกเล่าและจากพระธรรมเทศนาของ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต และจากปัญญาการสังเคราะห์ของท่านเอง

    โปรดติดตาม

    ท่าน พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ท่านมีนิสัยผาดโผนมาตั้งเดิมนับแต่เริ่มออกปฏิบัติใหม่ๆ

    แม้ขณะจิตจะเข้าถึงจุดอันเป็นวาระสุดท้ายก็ยังแสดงลวดลายให้องค์ท่านเองระลึกอยู่ไม่ลืมถึงกับได้นำมาเล่าให้บรรดาลูกศิษย์ฟังพอเป็นขวัญใจ

    คือ พอจิตพลิกคว่ำวัฏจักรออกจากใจโดยสิ้นเชิงแล้ว ยังแสดงขณะเป็นลักษณะฉวัดเฉวียนรอบตัววิวัฏจิตถึง 3 รอบ

    รอบที่ 1 สิ้นสุดลง แสดงบทบาลีขึ้นมาว่า "โลโป"

    บอกความหมายขึ้นมาพร้อมว่า ขณะใหญ่ของจิตที่ทำหน้าที่สิ้นสุดลงนั้น คือ การลบสมมุติทั้งสิ้นออกจากใจ

    รอบที่ 2 สิ้นสุดลง แสดงคำบาลีขึ้นมาว่า "วิมุตติ"

    บอกความหมายว่า ขณะใหญ่ของจิตที่ทำหน้าที่สิ้นสุดลงนั้น คือ ความหลุดพ้นอย่างตายตัว

    รอบที่ 3 สิ้นสุดลง แสดงคำบาลีขึ้นมาว่า "อนาลโย"

    บอกความหมายขึ้นมาว่า ขณะใหญ่ของจิตที่ทำหน้าที่สิ้นสุดลงนั้น คือ การตัดอาลัย อาวรณ์โดยสิ้นเชิง เป็นเอกจิต เอกธรรม จิตแท้ ธรรมแท้ มีอันเดียวไม่มี 2 เหมือนสมมุติทั้งหลาย

    นี่คือวิมุติธรรมล้วนๆ ไม่มีสมมุติเข้าแอบแฝง

    จึงมิได้เพียงอันเดียว รู้ได้เพียงครั้งเดียว ไม่มี 2 มี 3 มาสืบต่อ สนับสนุนกัน

    พระพุทธเจ้าและพระสาวกล้วนแต่รู้เพียงครั้งเดียว ก็เป็นเอาจิต เอกธรรม อันสมบูรณ์ไม่แสวงเพื่ออะไรอีก

    สมมุติภายในคือขันธ์ก็คือขันธ์ล้วนๆ ไม่เป็นพิษเป็นภัยและทรงตัวอยู่ตามปกติเดิม ไม่มีการเพิ่มขึ้นและลดลงตามความตรัสรู้

    คือขันธ์ที่เคยนึกคิดเป็นต้นก็ทำหน้าที่ของตนไปตามคำสั่งของจิตผู้บงการ

    จิตที่เป็นวิมุตติก็หลุดพ้นจากความคละเคล้าพัวพันในขันธ์ ต่างอันต่างอยู่ ต่างอันต่างจริงต่างไม่หาเรื่องหลอกลวง ต้มตุ๋นกัน ดังที่เคยเป็นมา

    ต่างฝ่ายต่างสงบอยู่ตามธรรมชาติของตน

    ต่างฝ่ายต่างทำธุระหน้าที่ประจำตนจนกว่าจะถึงกาลแยกย้ายจากส่วนผสม เมื่อกาลนั้นมาถึงจิตที่บริสุทธ์ก็แสดง ยถาทีโป จ นิพัพโต

    เหมือนประทีปดวงไฟที่หมดเชื้อแล้วดับไปฉะนั้น

    ไปตามความจริง

    เรื่องของสมมุติที่เกี่ยวข้องกันก็มีเพียงเท่านั้น นอกนั้นไม่มีสมมุติจะติดต่อกันให้เกิดเรื่องราวต่อไป

    นี่คือธรรมแสดงในจิตท่านขณะแสดงลวยลายเป็นขณะ 3 รอบจบลง อันเป็นวาระสุดท้ายแห่งสมมุติกับวิมุตติทำหน้าที่ต่อกัน และแยกทางกันเดินตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

    ทั้งหมดนี้เป็นบทสรุปและการตั้งข้อสังเกตของ พระมหาบัว ญาณสัมปันโน

    แต่ที่สำคัญเป็นอย่างมากก็คือ มิได้ป็นบทสรุปอย่างเอกเทศ ตรงกันข้าม เป็นบทสรุปจากสภาพความเป็นจริงทางการปฏิบัติ

    ที่สำคัญก็คือ เป็นการปฏิบัติของ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต
    </DD>
    [​IMG]



    <HR align=center width=250 SIZE=2>


    http://www.palungdham.com/t810.html
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 กรกฎาคม 2010
  20. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,791
    ค่าพลัง:
    +16,106
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0><TBODY><TR><TD class=t_msgfont id=postmessage_96>
    [​IMG]


    ก้อนธรรม
    หลวงปู่ขาว อนาลโย
    วัดถ้ำกองเพล
    ต.โนนทัน อ.เมือง จ.หนองบัวลำภู


    พระพุทธเจ้าท่านสอนให้เราถือศีลก่อน ศีลทำให้กาย วาจาสงบ แล้วจึงทำสมถภาวนาให้จิตใจสงบ ครั้นภาวนาจนจิตสงบสงัดดีแล้ว ก็ใช้ปัญญาคิดค้นคว้าสกนธ์กายนี้ เรียกว่าทำกัมมัฏฐาน พระพุทธเจ้าว่า ธรรมะไม่อยู่ที่อื่น อยู่ที่สกนธ์กายของทุกคน คนหมดทุกคนก็แม่นธรรมหมดทั้งก้อน แม่นก้อนธรรมหมดทุกคน พระพุทธเจ้าว่าธรรมไม่อยู่ที่อื่น ไม่ต้องไปหาที่อื่น มันอยู่ในสกนธ์กายของตนนี้ ดูจิตใจของตนนี้ให้มันเห็นความจริงของมัน

    พระพุทธเจ้าว่า ปัญจุปาทานักขันธา ทุกขา สกนธ์กายของเรานี้มันเป็นทุกข์ ปัญจุปาทานักขันธา อนิจจา สกนธ์กายอันนี้ไม่เที่ยง ปัญจุปาทานักขันธา อนัตตา ก้อนอันนี้ไม่ใช่คน ไม่ใช่สัตว์ ธรรมทั้งหลายไม่ใช่คน ไม่ใช่สัตว์ จึงว่าธรรมทั้งหลายก็แม่นก้อนธรรมนี้ ไม่ใช่คน ไม่ใช่สัตว์ มันอยากจะเป็นไปอย่างใด ก็เป็นไปตามธรรมชาติของมัน กิริยาของมัน มันไม่ฟังคำเรา ไม่ฟังพวกเรา ยากแก่มันก็แก่ไป อยากเจ็บมันก็เจ็บไป อยากตายมันก็ตายไป สพเพธัมมา อนัตตา ธรรมเหล่านี้ไม่ใช่ของใคร ให้พิจารณาดูให้เห็นเป็นก้อนธรรม มันไม่อยู่ในบังคับบัญชาของใครทั้งนั้น มันเป็นทุกข์ มันเป็นอนิจจัง มันเป็นอนัตตา ตกอยู่ในไตรลักษณ์ คนเราได้ก้อนธรรมอันนี้แหละ ได้เป็นรูปเป็นกาย เป็นผู้หญิง เป็นผู้ชาย ก็สมมุติทั้งนั้น สมมุติว่าผู้หญิง ว่าผู้ชาย ว่าเด็ก ว่าเฒ่า มันสมมุติซื่อๆ ดอก ที่จริงมันแม่นก้อนธรรมทั้งหมด

    เราเกิดมาได้อัตตภาพอันดี สมบูรณ์บริบูรณ์ พวกเราได้สมบัติมาดีแล้ว ควรใช้มันเสีย ใช้ไปในทางดี ท่งดีคือการทำบุญให้ทาน รักษาศีลภาวนา ใช้มันเสียเมื่อมันยังสมบูรณ์บริบูรณ์อยู่ อย่าไปนอนใจเมื่อวันคืนล่วงไปๆ พระพุทธเจ้าว่า วันคืนล่วงไปๆ มิใช่จะล่วงไปแต่วันคืนเดือนปี ชีวิตความเป็นอยู่ของเราก็ล่วงไปๆ ทุกขณะลมหายใจเข้าออก ไม่ควรนอนใจ ได้มาดีแล้ว อัตตภาพอันนี้ ไม่เป็นผู้หนวกบอดใบ้บ้าเสียจริต สมบัติอันนี้คือมนุษย์สมบัติ มนุษย์ เราเป็นมนุษย์หรือเป็นอะไร คนเรอะ พระพุทธเจ้าว่า สิ่งอันประเสริฐก็ได้แก่คน บาปและบุญก็เรียก เราต้องเป็นผู้มีหิริโอตตัปปะ หิริ ความอายต่อความชั่ว โอตัปปะ ความสะดุ้งต่อผลของมัน ความชั่วมันจะให้ผลเราในคราวหลัง เมื่อเราเป็นมนุษย์ เราไม่ควรนอนใจ อย่าให้กาลกินเรา ให้เรากินกาล ให้เร่งทำคุณงามความดี

    เวลาล่วงไป ชีวิตของเราก็ล่วงไป ล่วงไปหาความตาย มนุษย์เป็นสัตว์อันสูงสุด อันนี้เป็นเพราะเราได้สมบัติปันดีมา ปุพเพจะกตะปุญญตา บุญกุศลคุณงามความดีเราได้สร้างมาหลายภพหลายชาติแล้ว เราอย่าไปเข้าใจว่า เราเกิดมาชาติเดียวนี้ ตั้งแต่เราเทียวตายเทียวเกิดมานี่ นับกัปป์นับกัลป์อนันตชาติไม่ได้ แล้วจะว่าเหมือนกันได้อย่างไรล่ะ เมื่อเรามาเกิดก็มีแต่วิญญาณเท่านั้น พอมาปฏิสนธิ ก็เอาเลือดเอาเนื้อพ่อแม่มาแบ่งให้ ได้อัตตภาพออกมา แม้กระนั้นก็ไม่มีสัตว์มาเกิด ต้องอาศัยจุติวิญญาณ เราต้องสร้างเอาคุณงามความดี

    พวกฆราวาสก็คือตั้งใจรับศีลห้า ศีลแปดในวันเจ็ดค่ำ แปดค่ำ สิบสี่ค่ำ สิบห้าค่ำ เดือนหนึ่งมีสี่ครั้ง อย่าให้ขาด ทำสมาธิภาวนา ให้มีสติ ระวังกายของตนให้เป็นสุจริต วาจาเป็นสุจริต ใจเป็นสุจริต เท่านี้แหละ เอาย่อ ๆ มีสติอันเดียว ละบาปทั้งหลาย ความชั่วทั้งหลาย ละด้วยกาย วาจา ด้วยใจ ทำบุญกุศลให้ถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาท กระทำจิตของตนให้บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว อันนี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า ให้มีสติรักษากาย วาจา ใจ ศีลห้าถ้าใครละเมิดก็เป็นบาป ครั้นละเว้นโทษห้าอย่างนี้ นั่นแหละเป็นศีล ศีลคือใจ บาปก็คือใจ ศีลอยู่ในใจ บาปก็อยู่ที่ใจเหมือนกันนั่นแหละ เรื่องทำบุญทำกุศล ให้ทาน รักษาศีล ภาวนาอยู่แต่ใจทั้งนั้น อะไรโม๊ดอยู่กับใจ สงสัยก็พิจารณาดวงใจ ทำบาปห้าอย่างนี้แล้ว ศีลไม่มี เป็นคนไม่มีศีล คนมันขอบทำแต่บาป ศีลไม่ชอบทำ อยากทำแต่บาป ท่านเปรียบไว้ว่า คนไปสวรรค์เท่ากับเขาวัว คนไปนรกเท่าขนวัว วัวมีสองเขา แต่ขนมันนับไม่ถ้วน



    >>>>>>>>> จบ >>>>>>>>>


    .........................................................

    คัดลอกมาจาก ::
    หนังสืออนาลโยวาท
    พระธรรมเทศนาของพระอาจารย์ขาว อนาลโย และประวัติความอาพาธ
    คณะศิษยานุศิษย์จัดพิมพ์ถวายโดยเสด็จพระราชกุศล
    ในการพระราชทานเพลิงศพ วันที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๗


    ที่มา http://www.agalico.com/board</TD></TR></TBODY></TABLE>
     

แชร์หน้านี้

Loading...