แคร่ริมคลอง...วันวิสาข์พาไป "พิพิธภัณฑ์สักทอง"

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย ณ., 19 สิงหาคม 2008.

  1. nuttadet

    nuttadet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    1,892
    ค่าพลัง:
    +6,455
    หาซื้อ แถวไหนดีครับพี่ แนะนำน้องๆ หน่อยจ้า :cool:
     
  2. ณ.

    ณ. เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 มกราคม 2006
    โพสต์:
    3,387
    ค่าพลัง:
    +9,080
    น่านดิพี่...แล้วจะไปหาที่ไหน ทุกวันนี้ก็มีกลิ่นทั้งนั้น
    ขนาดสมุนไพรก็มียังกลิ่นหอมๆ โจทย์นี้ไม่ง่ายเลย...
     
  3. ปาฏิหาริย์

    ปาฏิหาริย์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,282
    ค่าพลัง:
    +3,516
    สาเหตุที่ท้วงมา ไม่ได้ต้องการให้ยุ่งยากหรอกนะครับ
    เพราะถ้านำไปใช้แล้วผิดศีล แล้วปลงอาบัติ
    ก็ไม่น่าจะดีเท่าไหร่
    ถ้าจำไม่ผิดสมัยก่อนสบู่ พระท่านใช้น้ำขี้เถ้ากันครับ สมัยนี้คงไม่สะดวก

    นัทกับณ ลองไปหาพวกสู่แชมพูสำหรับเด็ก ที่ไม่ใส่สีไม่ใส่น้ำหอมดูสิครับมีหลายยี่ห้อเลย
    หรือพวกสมุนไพรก็เพื่อรักษาโรคจากหนังศีษะ ไม่ใช่ใส่เพื่อบำรุงผม ของอภัยภูเบศร์ สันติอโศก น่าจะพอได้
    อีกอย่างมีแชมพูสำหรับพระสงฆ์โดยเฉพาะ สูตรบำรุงหนังศรีษะ ไม่ใส่น้ำหอม ใช้แล้วไม่ผิดศีลด้วย ที่ ฟู๊ดแลนด์ สหกรณ์กรุงเทพ( ปิ่นเกล้า บางลำภู ลาดหญ้า เอกมัย) ตั้งฮั่วเส็ง ร้านไตรทิพย์ ร้านอึ้งไท้เส็ง เสาชิงช้า
    ชื่อยี่ห้อ อารยะ ครับ
     
  4. note_bank

    note_bank เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    380
    ค่าพลัง:
    +968
    หมวกถักใช้กี่ใบคะ

    ตอนนี้ทำได้ 3 ใบแล้ว แต่เอ จะทำทันไหมน้อ
     
  5. malee123

    malee123 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มกราคม 2008
    โพสต์:
    484
    ค่าพลัง:
    +2,843
    เรื่องเล่าเมื่อเช้านี้

    ณ เอย.... แป่ววววว....

    เมื่อ 2-3 วันที่ผ่านมา ได้นั่งคุยเล่นกับเพื่อนที่เป็นหวัด

    ท่านเล่นจามและไอใส่เราเฉยเลย พี่ก็นั่งตาโต...ตะลึงไง(ตัวกู ของกู ขึ้นทันที

    555555 หมดกันเลยเรา บททดสอบนี้ไม่ผ่านอ่ะ) ได้ผลจ้า

    เช้านี้ตื่นนอนแล้วรู้สึกเจ็บคอ เมื่อกี้ต้องโดดไปหาหมอที่ทำงาน

    ต้องโด้บยากันไว้ก่อน เดี๋ยว...จะอดไปทำบุญใหญ่

    ไม่ได้ ไม่ได้ อุตส่าห์ตั้งกำลังใจไว้นานเป็นเดือนแล้วเชียว
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 15 มิถุนายน 2010
  6. ณ.

    ณ. เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 มกราคม 2006
    โพสต์:
    3,387
    ค่าพลัง:
    +9,080
    ว.2 ว.8 ข้อความ ใครที่จะ ว.4 ได้บ้างหนอ...
     
  7. ณ.

    ณ. เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 มกราคม 2006
    โพสต์:
    3,387
    ค่าพลัง:
    +9,080
    ดีที่ว่าก่อนจะรับงานนี้ ถักได้ราว 10 ใบแย้ว
    แล้วก็ปั่นเพิ่มได้อีก 10 กว่าใบได้
    และมีน้องที่ทำงานช่วยมาได้สัก 3 ใบ
    ตอนนี้มีประมาณ 25 ใบ ถ้านับไม่ผิดนะ
    แฮ่ๆ ยังปั่นๆ ต่อ....ปั่นๆๆๆ ^^''
    ถ้าได้มาเพิ่มอีกจะดีมากๆ ค่า :)
    เพราะ 30 แรกใบนี่จะถวายในชุดสังฆทาน
    แต่จะมีอีกส่วนน่าจะถึง 10 ใบที่อาจจะนำถวายพระ
    ที่พวกเราจะแวะไปกราบกันค่ะ...สรุปคือ
    ถ้าเป็นไปได้ อยากได้สัก 40 ใบ... :)
    ยังต้องการอยู่ค่ะ....
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 มิถุนายน 2010
  8. ชานนคนไทย

    ชานนคนไทย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    1,008
    ค่าพลัง:
    +3,128
    <CENTER>[​IMG]</CENTER><CENTER>[​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG]</CENTER>
    <CENTER><TABLE border=0 cellSpacing=1 cellPadding=1 width="95%"><TBODY><TR><TD>[SIZE=+2]สังฆทานคืออะไร[/SIZE]
    <DD>[SIZE=+1]สังฆทาน [/SIZE]คือ การถวายสิ่งของแก่หมู่พระภิกษุสงฆ์ เป็นการถวายกลาง ๆ ไม่จำเพาะเจาะจงภิกษุรูปหนึ่งรูปใด เมื่อถวายให้แล้วก็ถือว่าพระภิกษุสงฆ์ทุกรูปมีสิทธิ์ใช้สอยสิ่งของเหล่านั้นตามสะดวก อาจจะมีเพียงตัวแทนสงฆ์เพียงรูปเดียวมารับประเคน ก็ถือว่าเป็นสังฆทานเหมือนกัน
    <DD>มีทานอีกรูปแบบหนึ่งที่คล้าย ๆ สังฆทาน เป็นทานที่มีอาณาเขตกว้างขวางกว่าคือ ทานที่ให้แก่หมู่พวกที่ไม่เฉพาะกลุ่มบุคคลใดบุคคลหนึ่งเรียก สาธารณทาน เป็นทานที่ไม่จำกัดเฉพาะในรั้ววัด เป็นการให้ที่ไม่มีขอบเขต สังฆทานเป็นส่วนหนึ่งของสาธารณทานเช่นนั้น
    <DD>ส่วนการถวายทานที่ให้เฉพาะพระภิกษุสงฆ์รูปนั้นรูปนี้เรียก ปาฏิปุคคลิกทาน มีอานิสงส์น้อยกว่าทานสองประเภทข้างต้น เพราะเป็นการจำกัดเฉพาะบุคคลว่าต้องเป็นคนนั้นคนนี้ การให้ทานแก่ส่วนรวมย่อมได้อานิสงส์มากกว่า
    <DD>คราวที่พระนางปชาบดีโคตมี พระแม่น้าของพระพุทธเจ้าปั่นฝ้ายทอเป็นจีวร แล้วนำไปย้อมตั้งใจถวายแด่พระพุทธเจ้า แต่พระพุทธเจ้าไม่ทรงรับ ตรัสว่าให้ถวายแก่สงฆ์คือหมู่พระแทน พระนางเสียใจ แต่เมื่อทราบว่าถวายแก่สงฆ์มีผลมาก นางจึงคลายความเศร้าโศก <CENTER>[​IMG]</CENTER>
    <DD>พระสงฆ์บางรูป แม่ชีบางท่าน ฆราวาสบางคน ทำงานให้กับชุมชนไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย ความคิดในทางสะสมเพื่อตัวเองไม่มี บางท่านก็เลี้ยงเด็กกำพร้า บางท่านทั้งเลี้ยงทั้งสอน เมื่อเราบริจาคทรัพย์ให้ท่าน ท่านก็ใช้ทรัพย์นั้นให้เป็นประโยชน์ไปกับกิจการช่วยเหลือสังคมที่ทำอยู่ ท่านเป็นเพียงคนกลางที่คอยแบ่งปันจากคนมั่งมีเพื่อแจกจ่ายแก่ผู้ขาดแคลน การทำบุญกับผู้ทำประโยชน์แก่ชุมชนนับเป็นสังฆทานที่ได้บุญไม่ใช่น้อย เพราะบุญได้แผ่ขยายกว้างออกไป ช่วยให้คุณภาพชีวิตของผู้ทุกข์ยากเหล่านั้นดีขึ้น และเป็นการช่วยสังคมไปด้วยในตัว
    <DD>เดี๋ยวนี้เวลาพูดถึง "สังฆทาน" พวกเราจะนึกถึงถังสีเหลือง ๆ ภายในบรรจุข้าวของเครื่องใช้มากมาย จนล้นออกมาปากถัง แล้วมีพลาสติกใสหุ้มทับอีกที
    <DD>แท้จริงแล้วของที่จะถวายหมู่พระสงฆ์โดยไม่เจาะจงที่เรียกว่าสังฆทานนั้น คืออะไรก็ได้ที่เหมาะกับชีวิตสมณะ ไม่จำเป็นต้องเป็นถังเหลือง ๆ ที่วางขายตามหน้าร้านสังฆภัณฑ์เสมอไป [​IMG]
    <DD>แต่สำหรับ "สังฆทานถังเหลือง" ที่ชาวพุทธนิยมซื้อไปถวายพระสงฆ์นั้น ท่านทราบหรือไม่ว่ามีบางสิ่งบางอย่างไม่ชอบมาพากลอยู่ในนั้น เรามาดูซิว่าในถังสังฆทานสีเหลือง ๆ หนึ่งใบ มีอะไรอยู่ข้างในนั้นบ้าง
    <DD>"ถังเหลือง ๆ" ที่มีวางขายตามร้านสังฆภัณฑ์นั้น บางร้านจะยัดหนังสือพิมพ์หรือกระดาษแข็งเข้าไว้เต็มก้นถัง ส่วนที่เป็นสังฆทาน หรือข้าวของเครื่องใช้จริง ๆ จะถูกบรรจุไว้แถวขอบปากถังเพื่อให้ดูว่ามีของใช้มากมายจนล้นปากถัง แล้วเอาพลาสติกใสหุ้มอีกทีเพื่อไม่ให้ของล้นจนหก แท้จริงแล้วมีของใช้ไม่กี่อย่างเท่านั้นเอง
    <DD>ข้าวของเครื่องใช้ที่บรรจุมักเป็นของคุณภาพต่ำ เช่น หางผงซักฟอก ธูปเทียนคุณภาพต่ำ แปรงสีฟันที่ขนแปรงแข็งโป๊ก ผ้าอาบน้ำฝนที่บางเบาจนน่าวิตกว่าพระนุ่งสรงน้ำเมื่อใดคงได้โป๊แต่ไม่เปลือยเมื่อนั้น หรือบางทีอาจเป็นผ้าอาบน้ำฝนสีเหลืองที่ใส่มาพอเป็นพิธีคือ ขนาดกว้างยาวไม่เกิน 1 เมตร ที่นำมาใช้ประโยชน์ไม่ได้ น้ำปลาราคาถูกที่ดูออกว่าเป็นน้ำใส่สีละลายเกลือ ข้าวสารที่ใส่มาแค่ถุงเล็ก ๆ หยิบมือเดียวพอเป็นพิธีเหมือนกับผ้าอาบน้ำฝนที่ถูกใส่มา และบางครั้งก็เป็นเศษข้าวสารหัก ถ้าสังเกตดูดี ๆ บางถังจะมีเกลือป่นใส่มาให้เป็นสิบถุง ใส่เพื่อเกลือป่นจะได้กินพื้นที่เยอะ ๆ จะได้ไม่ต้องใส่ของใช้อื่นเพิ่มเติม เพราะเกลือป่นมีราคาถูก
    <DD>นอกจากนี้ข้าวของที่ไม่จำเป็นอื่น ๆ ก็มีใบชารสเข้มข้นที่ความเป็นจริงแล้วพระและสามเณรไม่ค่อยชงฉันกันเลย และมักจะถูกทิ้งไปอย่างไม่ได้ประโยชน์ น้ำบรรจุขวดที่มีกลิ่นผงซักฟอกอันเนื่องมาจากการบรรจุอยู่ในถังที่อับพร้อมด้วยผงซักฟอก 1 กล่อง เมื่ออากาศร้อนทำให้กลิ่นของผงซักฟอกเข้าไปในขวดน้ำ กลายเป็นน้ำที่มีกลิ่นผงซักฟอกไม่เหมาะแก่การบริโภคในเวลาต่อมา กล่องสบู่ก็เป็น "บริขารล้นวัด" อีกชิ้นหนึ่ง มีกล่องหนึ่งก็ใช้ได้เกือบตลอดชีวิตของการเป็นพระ ไม่จำเป็นต้องถวายบ่อยก็ได้ ได้มาก็ล้นวัดไม่รู้จะเอาไปไว้ไหนดี
    <DD>ความไม่ชอบมาพากลของ [SIZE=+2]"สังฆทานถังเหลือง"[/SIZE] เกิดจากความที่เราไม่รู้ว่าจะซื้ออะไรไปถวายพระดี เลยต้องอาศัยเครื่องสังฆทานที่มีจำหน่ายตามร้านบรรจุให้สำเร็จรูป เพื่อจะได้ไม่ต้องเล่นเกมเดาใจพระ อีกทั้งการบรรจุถังก็ทำมาให้เรียบร้อยสวยงาม ซื้อปุ๊บก็ถือไปถวายปั๊บ เข้ากับยุคสมัยบริโภคนิยมพอดี ไม่ต้องเสียเวลาไปซื้อหามาประกอบให้ลำบาก
    <DD>แต่ความที่คนซื้อไม่ได้ใช้ คนใช้ไม่ได้ซื้อ ก็เลยเป็นช่องว่างที่เปิดโอกาสทองให้กับร้านค้าเอารัดเอาเปรียบผู้บริโภคโดยอัตโนมัติ คนซื้อไม่มีทางรู้หรอกว่า "สังฆทานถังเหลือง" ที่ซื้อไปถวายพระ ข้างในมีของที่จำเป็นสำหรับพระจริง ๆ สักกี่อย่าง มีของที่มีคุณภาพมากแค่ไหน หรือมีจำนวนสิ่งของที่คุ้มกับราคาที่ร้านค้าตั้งไว้หรือไม่ [​IMG]
    <DD>ส่วนพระสงฆ์นั้นเล่า เมื่อรับประเคนสังฆทานเสร็จ โยมลากลับ เปิดถังออกดูเจอแต่สิ่งของที่ใช้ได้เพียงไม่กี่ชิ้น ซ้ำของบางอย่างก็ไม่มีคุณภาพดีพอ บ่อยครั้งที่พระท่านต้องจ่ายปัจจัยไปซื้อหามาใช้เอง หรือบางครั้งก็มีแต่ม้วนกระดาษชำระใส่มาเต็มใต้ถัง หรือมีแต่เกลือถุงเล็ก ๆ หลายสิบถุง หรืออย่างที่หนังสือพิมพ์เคยลงข่าวว่ามีหนังสือโป๊ใส่มาในถังสังฆทานด้วย จะบอกให้โยมรับรู้แต่โยมก็กลับบ้านไปเสียแล้ว
    [SIZE=+2]ถวายสังฆทานอย่างไรให้ได้บุญ[/SIZE]
    <DD>ถึงเวลาต้องมาทบทวนการทำสังฆทานกันเสียที สังฆทานที่ดีไม่จำเป็นต้องมีของถวายมากมายขอเพียงเป็นของจำเป็น และมีคุณภาพเท่านี้ก็พอ และการเลือกซื้อของมาประกอบเป็นสังฆทานเองจะได้ของดีมีคุณภาพกว่าการไปซื้อ "ถังเหลือง ๆ" ตามร้านสังฆภัณฑ์
    <DD>[SIZE=+1]จัดสังฆทานให้ได้ประโยชน์[/SIZE] ข้าวของเครื่องใช้ที่ซื้อหามาจัดเป็นสังฆทานได้ [​IMG]
    <DD>- สบู่ จัดเป็นเครื่องประทินผิว แต่พระก็ใช้ได้เพื่อทำความสะอาด และระงับกลิ่นกาย <DD>- ยาสีฟัน ชนิดผงหรือแบบหลอดก็ได้ ยาสีฟันสมุนไพรก็น่าสนใจ <DD>- แปรงสีฟัน เลือกชนิดขนแปรงอ่อน ๆ จะได้สบายเหงือก <DD>- ยาสระผม เอาไว้ใช้เวลาโกนศีรษะจะได้โกนได้ง่ายขึ้น <DD>- ใบมีดโกน เป็นของจำเป็นมาก เพื่อใช้โกนศีรษะ <DD>- ผงซักฟอก ใช้ซักจีวรเพื่อความสะอาด <DD>- เครื่องดื่มสมุนไพรพร้อมชง ขิงผง ชารางจืด มะตูม เดี๋ยวนี้ผลิตออกมาหลายประเภท หรือจะใส่เครื่องดื่มรสช็อกโกแลตก็ได้ อย่าลืมดูวันหมดอายุก่อนซื้อด้วย <DD>- ผ้าอาบน้ำฝน เลือกที่เนื้อหนา ๆ หรืออาจเลือกซื้อเป็นสบง (ผ้านุ่ง) หรือจะเป็นอังสะก็ได้ เพราะพระท่านมักจะมีผ้าอาบน้ำฝนอยู่มากแล้ว จะขาดแคลนก็คือสบง อังสะ ถ้าถวายให้สามเณรก็จัดเหมือนพระเช่นกัน <DD>- ถวายสังฆทานแม่ชี ก็เปลี่ยนจากผ้าเหลืองเป็นชุดแม่ชี ซึ่งหาซื้อได้จากวัดบวรนิเวศหรือที่สถาบันแม่ชีไทย หากหาซื้อไม่ได้ก็เปลี่ยนเป็นผ้าขาวเนื้อดีตามร้านขนาด 2-4 เมตรแทน จากนั้นแม่ชีท่านจะนำไปตัดเย็บเป็นเสื้อ ผ้าถุง ผ้าครอง ตามสมควร <DD>- หนังสือธรรมะ หนังสือเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม หนังสือเกี่ยวกับสุขภาพ หรือหนังสือความรู้ต่าง ๆ ที่คิดว่าพระสงฆ์ควรรับรู้เพื่อนำไปบอกกลาวแก่ญาติโยมได้ <DD>- ยาสมุนไพรต่าง ๆ รวมทั้งยาแผนปัจจุบัน <DD>- เครื่องเขียน สมุด ปากกา ดินสอ รวมทั้งซองจดหมาย แสตมป์ <DD>- ไฟฉาย ถ่านไฟฉาย เป็นสิ่งจำเป็นมากสำหรับวัดชนบทและวัดป่า <DD>- จาน ชาม ช้อน ส้อม อาจสอบถามดูว่าวัดนั้น ๆ ต้องการจำนวนมากหรือไม่ จะได้จัดเป็นชุดใหญ่ถวายเป็นของสงฆ์ เพื่อให้ชาวบ้านหยิบยืมได้ด้วยในงานบุญประเพณีต่าง ๆ รวมทั้งเครื่องมืองานช่าง เช่น ค้อน ตะปู ไขควง หรืองานเกษตร เช่น จอบ เสียม พลั่ว และอุปกรณ์งานทำความสะอาด เช่น ไม้กวาดอ่อน ไม้กวาดแข็ง ถังขยะ ที่ตักผง ฯลฯ เหล่านี้ก็สามารถจัดถวายเป็นสังฆทานได้เหมือนกัน <DD>- ของอื่น ๆ ที่มักนิยมใส่ก็มี ข้าวสาร หัวหอม กระเทียม น้ำมันพืช น้ำตาล เกลือ ที่จัดว่าเป็นของแห้งเก็บไว้ได้นาน ของเหล่านี้ถ้าพระท่านใช้ไม่ทัน ท่านก็มักจะเก็บรวบรวมนำไปบริจาคต่างจังหวัดอีกที นับเป็นวงจรบุญไม่มีที่สิ้นสุด
    <DD>จัดเรียงข้าวของที่ซื้อมาลงในภาชนะซักผ้าที่ซื้อมาต่างหาก อาจจะเป็นถังหรือกะละมังก็ได้ แล้วนำไปถวายได้ทันที
    <DD>[SIZE=+1]ของที่ควรลดละเลิกในสังฆทาน[/SIZE] ข้าวของบางอย่างที่ควรหลีกเลี่ยงไม่นำมาประกอบเป็นสังฆทาน
    <DD>- บุหรี่ ยาเสพติด เครื่องดื่มชูกำลังทุกประเภท <DD>- ผลิตภัณฑ์อาหารที่บรรจุด้วยโฟม เพื่อหลีกเลี่ยงมลภาวะทางสิ่งแวดล้อม <DD>- อาหารกระป๋อง ผลไม้กระป๋อง เพราะเป็นอาหารที่มีสารกันบูด สารเคมี ไม่ส่งผลดีต่อสุขภาพ ใส่เป็นผลไม้สดจะดีกว่า ถ้าในวัดมีครัวอาจซื้อผักสดเข้าครัวก็ได้ <DD>- ใบชา พระไม่ค่อยได้ชงฉัน ควรเปลี่ยนเป็นเครื่องดื่มสมุนไพรให้ประโยชน์กับสุขภาพมากกว่า <DD>- กล่องสบู่ ปกติพระท่านมีอยู่แล้ว จึงไม่จำเป็นต้องซื้อถวายอีก <DD>- บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป อาหารบิณฑบาตในตอนเช้าเป็นอาหารสดและมีคุณค่ากว่า ไม่ควรส่งเสริมให้ท่านฉันอาหารที่มีคุณค่าน้อย <DD>- น้ำอัดลม น้ำที่ผ่านการปรุงแต่งใส่สี </DD></TD></TR></TBODY></TABLE></CENTER><CENTER>[​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG]สวัสดีครับ</CENTER>
     
  9. ณ.

    ณ. เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 มกราคม 2006
    โพสต์:
    3,387
    ค่าพลัง:
    +9,080
    เอิ๊กกกก ตัวกูของกู กูเลยรับมาเต็มๆ
    มะเป็นไรอะพี่ รับมาได้ ก็ปล่อยได้ เอ้ย...สลายได้
    ขอให้หายเร็วๆ นะ ใกล้บุญใหญ่เข้ามาทุกที
    บททดสอบมีเยอะแยะไปหมด...ขอให้ผ่านกันทุกคนนะคะ:cool:
     
  10. nuttadet

    nuttadet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    1,892
    ค่าพลัง:
    +6,455
    สาธุ ครับ ขอบคุณครับที่ขยายความให้น้องๆ ได้รับทราบ

    ถ้าไง วันพฤหัส ไปแถวเสาชิงช้า จะไปลองหาดูนะครับ
     
  11. ชานนคนไทย

    ชานนคนไทย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    1,008
    ค่าพลัง:
    +3,128
    สมัยผมบวชอยู่จริงๆแล้ว...ทางคณะกำลังคิดว่าจะถวายของใช้ส่วนตัวให้พระ...คือสังฆทานห่วงกลัวท่าน...จะอาบัติจริงๆแล้วสบู่มีเยอะมากที่ไม่ใส่น้ำหอมหรึอกลิ่นเช่นสบู่ขิงมีขายตามร้านค้าหรึอในห้างราคาประมาณก้อนละ=20บาท...ส่วนแช่มพูสระหัว...จริงๆพระท่านใช้สบู่ก็ได้...เพราะท่านใช้เพื่อนชำระร่างกาย...ไม่ใช้เพื่อเกิดความรื่นเริง...อะไรก็ได้ครับ...พระเป็นผู้อยู่ง่ายทานง่าย...คำว่าปลงอาบัติเพียงเพื่อให้ถูกต้องตามพระธรรมวินัย...ที่พระพุทธเจ้าบัญญัติไว้...ทุกอย่างอยู่เจตนาของผู้ถวายครับ...สวัสดีครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 มิถุนายน 2010
  12. ชานนคนไทย

    ชานนคนไทย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    1,008
    ค่าพลัง:
    +3,128
    <TABLE id=post900994 class=tborder border=0 cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" align=center><TBODY><TR vAlign=top><TD style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid" id=td_post_900994 class=alt1><CENTER>อานิสงส์ถวายสบู่หอมพระ<!-- google_ad_section_end -->

    </CENTER>
    <HR style="BACKGROUND-COLOR: #ffffff; COLOR: #ffffff" SIZE=1><!-- google_ad_section_start -->อานิสงส์ถวายสบู่หอมพระ
    ผู้ถาม ถ้าเราซื้อน้ำหอมสบู่หอมถวายพระ กลัวว่าจะทำให้พระเกิดกิเลสและเป็นบาปแก่เรา อยากจะเรียนถามหลวงพ่อว่า ถ้าเราเปลี่ยนเป็นสบู่กรดจะได้ไหมคะ...
    หลวงพ่อ แหม...สบู่กรดอานิสงส์มันน้อย ถ้าเป็นน้ำกรดจะดีมาก เปลี่ยนผิวพรรณได้รวดเร็ว
    ผู้ถาม หนักเข้าไปอีก
    หลวงพ่อ ความจริงไม่มีอะไรเป็นโทษนี่ เอาสบู่หอมตามที่เราต้องการเราชอบอะไร ถ้าหากของมันเป็นพิษเป็นภัย ผิดวินัย ท่านก็ไม่ใช้เอง อานิสงส์มันสมบูรณ์แบบ สบู่หอมมันหอมไปถึงไหน...
    ผู้ถาม มันหอมประเดี๋ยวประด๋าว
    หลวงพ่อ เห็นเขียนว่าหอม เวลาฟอกทีไรไม่เห็นมันหอมสักที ไม่เป็นไรทำอย่างนี้ดีกว่า นี่ล่อสบู่กรด ถ้าใช้สบู่กรดควรใช้น้ำกรด ไอ้เรื่องหอมๆ นี่สมัยที่ฉันอยู่วัดอนงคาราม ฉันจะไปทอดกฐินก็มีพวกนักศึกษาถามว่า ถวายแป้งได้ไหม...ถวายน้ำหอมได้ไหม...ฉันบอกมาเถอะถวายได้หมด แกก็เอาจริงๆ หลัวเบ้อเร่อ
    สมเด็จพุฒาจารย์วัดอนงค์ ถามว่า "เอ็งจะทำยังไงวะนี่ ถวายเป็นกฐินได้เรอะ..."
    ก็บอกว่า "หลวงพ่อถวายไม่ได้ ผมถวายได้"
    พอไปถึงต่างจังหวัดก็ถวายเป็นบริวารกฐินใช่ไหม...สิ่งทั้งหลายเหล่านี้มันไม่เหมาะสมกับพระแต่เมื่อถวายเป็นบริวารกฐิน อานิสงส์มันก็เท่ากับกฐินแล้วขออนุญาตเจ้าอาวาสขออนุญาตพระ เป็นของที่พระไม่สมควร ขอแจกญาติโยมได้ไหม...ท่านบอกว่าได้ ก็เลยให้เจ้าอาวาสแจก ความดีเป็นของเจ้าอาวาสอีกได้ผล ๒ อย่าง นอกจากจะได้อานิสงส์กฐินแล้ว ยังเป็นสังคหวัตถุอีกได้กำไร
    ฉะนั้น วันพรุ่งนี้ใครจะถวายน้ำหอมบอกฉันนะ แต่บอกราคาไว้ด้วยนะ ฉันจะลดราคานิดหน่อย
    ผู้ถาม (หัวเราะ) แหม...เมตตาจริงๆ นะ
    หลวงพ่อ อ้าว...ได้อานิสงส์ เขาตายไปชาติหน้าจะได้หอมใช่ไหม...อุจจาระถ่ายออกมาหอมฟุ้ง เอาเป็นหัวน้ำหอม...สวัสดีครับ

    (หลวงพ่อตอบปัญหาธรรม ฉบับพิเศษ เล่ม ๔ หน้า ๓๕-๓๖)
    <!-- google_ad_section_end -->

    </TD></TR><TR><TD style="BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px solid; BORDER-LEFT: #ffffff 1px solid; BORDER-TOP: #ffffff 0px solid; BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid" class=alt2></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  13. ชานนคนไทย

    ชานนคนไทย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    1,008
    ค่าพลัง:
    +3,128
    ..."อาบัติ"...เราสามารถเอาอาบัติพระมาปรับใช้อนุโลมใช้กับสามเณรได้หรือป่าว
    เข้าใจว่าได้ตามสมควร แต่ไม่ใช่ทั้งหมด เช่น เสขิยวัตร ตามเณรก็ต้องปฏิบัติ

    ตามด้วยเช่นกัน หรือการกระทำใดไม่เหมาะสม บรรพชิตไม่ควรทำ สามเณร

    ก็ไม่ควรทำ มีการขับรถยนต์ เป็นต้น แต่เนื่องจากสามเณร เป็นอนุปสัมบัน

    บางอย่าง พระทำไม่ได้ แต่สามเณรทำได้ เช่น การหุงต้มอาหาร การทำกัปปิยะ

    อาหาร การเก็บอาหารไว้ค้างคืน เป็นต้น สามเณรทำได้ สิ่งเหล่านี้เพื่อช่วยทำให้

    พระภิกษุได้ดำรงชีวิตอยู่ได้ในบางกาลครับ
    น้ำปานะคือน้ำผลไม้ที่ทรงอนุญาตไว้ มี ๘ ชนิด และอื่นๆ ตามสมควร เมื่อคั้นเอา

    เฉพาะน้ำกรองไม่ให้มีกาก พระภิกษุรับประเคนแล้วฉันได้ตลอดวันและคืนหนึ่ง ส่วน

    น้ำนมสด น้ำนมถั่วเหลือง ไมโล เป็นอาหาร(โภชนะ) ไม่ใช่น้ำปานะ

    พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 152

    พระพุทธานุญาตน้ำอัฏฐบาน

    ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็น

    เค้ามูลนั้นในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อน

    ภิกษุทั้งหลายเราอนุญาตน้ำปานะ ๘ ชนิด คือ น้ำปานะทำด้วยผลมะม่วง ๑

    น้ำปานะทำด้วยผลหว้า ๑ น้ำปานะทำด้วยผลกล้วยมีเมล็ด ๑ น้ำปานะทำ

    ด้วยผลกล้วยไม่มีเมล็ด ๑ น้ำปานะทำด้วยผลมะซาง ๑ น้ำปานะทำด้วยผล

    จันทน์หรือองุ่น ๑ น้ำปานะทำด้วยเง่าบัว ๑ น้ำปานะทำด้วยผลมะปรางหรือ

    ลิ้นจี่ ๑.

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตน้ำผลไม้ทุกชนิด เว้นน้ำต้มเมล็ด

    ข้าวเปลือก.

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตน้ำใบไม้ทุกชนิด เว้นน้ำผักดอง.

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตน้ำดอกไม้ทุกชนิด เว้นน้ำดอก

    มะซาง.

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตน้ำอ้อยสด.

    คำอธิบายจากอรรถกถา

    สาลุกปานะ นั้น ได้แก่ น้ำปานะที่เขาคั้นเง่าอุบลแดงและอุบลเขียวเป็นต้น

    ทำ.

    ผารุสกปานะ นั้น ได้แก่ น้ำปานะที่ทำด้วยผลมะปราง อย่างอัมพปานะ.

    อัฏฐบานเหล่านี้ เย็นก็ดี สุกด้วยแสงอาทิตย์ก็ดี ย่อมควร. สุกด้วยไฟไม่ควร.


    ด้วยพระบาลีว่า ฐเปตฺวา ธญฺญผลรสํ นี้ ธัญญชาติ ๗ ชนิด

    เป็นอันห้ามแล้วว่า ไม่ควรในปัจฉาภัต. มหาผล ๙ อย่าง คือ ผลตาล ผล

    มะพร้าว ผลขนุน ผลสาเก น้ำเต้า ฟักเขียว แตงไท แตงโม ฟักทอง

    เป็นอันทรงห้าม และอปรัณณชาติทุกชนิด มีคติอย่างธัญญชาติเหมือนกัน.

    มหาผลและอปรัณณชาตินั้น ไม่ได้ทรงห้ามไว้ก็จริง ถึงกระนั้น ย่อมเข้ากับ

    สิ่งที่เป็นอกัปปิยะ; เพราะเหตุนั้น จึงไม่ควรในปัจฉาภัต.

    น้ำปานะ ๘ อย่าง ทรงอนุญาตไว้ น้ำปานะแห่งผลไม้เล็กมี หวาย

    มะชาม มะงั่ว มะขวิด สะคร้อ และเล็บเหยี่ยว เป็นต้น มีคติอย่างอฏัฐบาน

    แท้ น้ำปานะแห่งผลไม้เหล่านั้น ไม่ได้ทรงอนุญาตไว้ก็จริง. ถึงกระนั้น ย่อม

    เข้ากับสิ่งที่เป็นกัปปิยะ; เพราะฉะนั้น จึงควร.

    ในกุรุนทีแก้ว่า จริงอยู่ เว้นรสแห่งเมล็ดข้าวกับทั้งสิ่งที่อนุโลมเสีย

    แล้ว ขึ้นชื่อว่าน้ำผลไม้อื่น ที่ไม่ควร ย่อมไม่มี น้ำผลไม้ทุกชนิดเป็นยาม

    กาลิกแท้.

    เท่าที่ทราบกระบวนการผลิตน้ำอัดลมดังกล่าว คือ การนำผลโค้กมาต้ม ดังนั้น

    น้ำปานะที่ผ่านการต้มด้วยไฟ ไม่ควรดื่มในเวลาวิกาล แต่เช้าถึงเที่ยงดื่มได้

    ดังข้อความในอรรถกถาพระวินัย
    พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 152

    พระพุทธานุญาตน้ำอัฏฐบาน

    ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็น

    เค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดู

    ก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตน้ำปานะ ๘ ชนิด คือ น้ำปานะทำด้วยผล

    มะม่วง ๑ น้ำปานะทำด้วยผลหว้า ๑ น้ำปานะทำด้วยผลกล้วยมีเมล็ด ๑ น้ำ

    ปานะทำด้วยผลกล้วยไม่มีเมล็ด ๑ น้ำปานะทำด้วยผลมะซาง ๑ น้ำปานะทำ

    ด้วยผลจันทน์หรือองุ่น ๑ น้ำปานะทำด้วยเง่าบัว ๑ น้ำปานะทำด้วยผล

    มะปรางหรือลิ้นจี่ ๑.

    ก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตน้ำผลไม้ทุกชนิด เว้นน้ำต้มเมล็ดข้าวเปลือก.

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตน้ำใบไม้ทุกชนิด เว้นน้ำผักดอง.

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตน้ำดอกไม้ทุกชนิด เว้นน้ำดอกมะซาง.

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตน้ำอ้อยสด.

    คำอธิบายจากอรรถกถา

    สาลุกปานะ นั้น ได้แก่ น้ำปานะที่เขาคั้นเง่าอุบลแดงและอุบลเขียวเป็นต้นทำ.

    ผารุสกปานะ นั้น ได้แก่ น้ำปานะที่ทำด้วยผลมะปราง อย่างอัมพปานะ.

    อัฏฐบานเหล่านี้ เย็นก็ดี สุกด้วยแสงอาทิตย์ก็ดี ย่อมควร. สุกด้วยไฟไม่ควร.
    การรักษาอุโบสถศีลของบุคคลในสมัยครั้งพุทธกาล ท่านเว้นจากกิจการงานที่เคยทำ

    นอกบ้าน อยู่ฟังธรรมที่วัด หรืออยู่กับบ้าน ดังนั้นถ้ามีกิจหน้าที่การงานที่ต้องทำ มี

    ธุรกิจ การค้าขาย เป็นต้น ควรกระทำตามหน้าที่ การรักษาอุโบสถในวันดังกล่าวอาจ

    ไม่สะดวกและไม่สอดคล้องกับอุโบสถศีลที่เราสมาทาน เป็นศีลอุโบสถที่เศร้าหมอง

    อยู่กับอกุศลและความกังวล ก็ไม่ควรรักษาอุโบสถ เพียงเป็นคฤหัสถ์ที่รักษาศีลห้า

    เป็นคนดี ศึกษาพระธรรมคำสอนให้เข้าใจก็ยังยาก ฉะนั้นเราไม่ควรติดในจำนวนข้อ

    ของศีล ว่าจะต้องมีจำนวนมากข้อ เพื่อได้บุญมากแต่ควรรู้จักตนเองตามความเป็นจริง

    ว่าอัธยาศัยของตนจริง ๆ คืออย่างไร สรุปคือ ถ้าวันไหนรักษาอุโบสถ ควรเว้นจาก

    การใช้สเปรย์หรือโรลออนและการงานที่ทำให้กังวล


    เรื่อง คำว่า อยู่จำอุโบสถ

    พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 529

    อรรถกถาอุโปสถสูตร

    อุโปสถสูตรที่ ๕ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

    บทว่า ตทหุ ได้แก่ ในวันนั้น คือในกลางวันนั้น. ในคำว่า

    อุโปสเถ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้. วัน ชื่อว่าอุโบสถ เพราะเป็นที่เข้าจำของ

    คนทั้งหลาย. บทว่า อุปวสนฺติ ความว่า เป็นผู้เข้าจำอยู่ด้วยศีล หรือ

    ด้วยการอดอาหาร. จริงอยู่ ศัพท์ว่า อุโบสถ นี้ มาในศีล ในประโยค

    มีอาทิว่า เราเข้าจำอุโบสถอันประกอบด้วยองค์ ๘.
    คนที่รักษาอุโบสถศีล 8 แม้แต่จะอาบน้ำ ก็ใช้สบู่ไม่ได้ ให้อาบน้ำเปล่า ๆ เพราะว่า

    สบู่สมัยนี้ ส่วนมากจะผสมน้ำหอม จะฟังข่าว หรือดูหนังสือพิมพ์ไม่ได้ นอกจากการ

    หนังสือธรรม การรักษาอุโบสถศีล 8 เป็นเรื่องยาก ต้องเป็นอัธยาศัยที่สะสมมา
    เรื่อง จุดประสงค์ของการรักษาอุโบสถที่ถูกต้อง

    คือขัดเกลาและเพื่อดับกิเลส

    พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 168

    ข้อความบางตอนจาก ทุติยราชสูตร

    ว่าด้วยการกล่าวคาถาผิดฐาน และถูกฐาน

    [๔๗๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว ท้าวสักกะจอมเทวดา

    เมื่อจะปลุกใจเหล่าเทวดาดาวดึงส์ จึงภาษิตคาถานี้ในเวลานั้นว่า

    แม้ผู้ใดพึงเป็นเช่นดังข้าพเจ้า ผู้นั้น

    ก็พึงถืออุโบสถประกอบด้วยองค์ ๘ ในดิถี

    ที่ ๑๔ ที่ ๑๕ และที่ ๘ แห่งปักษ์ และถือ

    อุโบสถปาฏิหาริยปักษ์เถิด

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลคาถานั้นนั่น ท้าวสักกะจอมเทวดาขับไม่

    เข้าที ไม่เป็นการขับดีแล้ว กล่าวไม่เหมาะ ไม่เป็นสุภาษิต นั่นเพราะเหตุอะไร

    เพราะท้าวสักกะจอมเทวดายังไม่ปราศจากราคะ...โทสะ...โมหะ ส่วนภิกษุ

    ผู้เป็นพระอรหันต์สิ้นอาสวะแล้ว สำเร็จแล้ว ทำกิจที่ควรทำแล้ว ปลงภาระ

    แล้ว เสร็จประโยชน์ตนแล้ว สิ้นเครื่องร้อยรัดไว้ในภพแล้ว หลุดพ้นด้วย

    ความรู้ชอบแล้ว จึงควรกล่าวคาถานั่นว่า

    แม้ผู้ใดพึงเป็นเช่นดังข้าพเจ้า ผู้นั้น

    ก็พึงถืออุโบสถประกอบด้วยองค์ ๘ ในดิถี

    ที่ ๑๔ ที่ ๑๕ และที่ ๘ แห่งปักษ์ และถือ

    อุโบสถปาฏิหาริยปักษ์เถิด.


    พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้าที่ 150

    ข้อความบางตอนจาก สักกสูตร

    ว่าด้วยพระผู้มีพระภาคเจ้า

    ทรงเตือนอุบาสกชาวสักกะให้รักษาอุโบสถเป็นนิตย์

    [๔๖] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ นิโครธาราม

    ใกล้กรุงกบิลพัสดุ์ สักกชนบท ครั้งนั้นแล อุบาสกชาวสักกชนบทเป็นอัน

    มาก ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับในวันอุโบสถ ถวาย

    อภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พระผู้มีพระ-

    ภาคเจ้าได้ตรัสถามอุบาสกชาวสักกชนบทว่า ดูก่อนอุบาสกชาวสักกชนบท

    ทั้งหลาย ท่านทั้งหลายย่อมรักษาอุโบสถอันประกอบด้วยองค์ ๘ แลหรือ

    อุบาสกชาวสักกชนบทเหล่านั้นกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บาง

    คราวข้าพระองค์ทั้งหลายย่อมรักษาอุโบสถอันประกอบด้วยองค์ ๘ บาง

    คราวไม่ได้รักษา พระพุทธเจ้าข้า.

    พ. ดูก่อนอุบาสกชาวสักกะทั้งหลาย ไม่เป็นลาภของท่านทั้งหลาย

    เสียแล้ว ท่านทั้งหลายไม่ได้ดีเสียแล้ว ที่ท่านทั้งหลายเมื่อชีวิตมีภัยเพราะ

    ความโศก มีภัยเพราะความตายอยู่อย่างนี้ บางคราวก็รักษาอุโบสถอัน

    ประกอบด้วยองค์ ๘ บางคราวก็ไม่ได้รักษา

    พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 485

    กลิ่นของพวกฤาษีผู้ประพฤติพรตมา

    นาน ย่อมจะฟุ้งจากกายไปตามลม ดูก่อน

    ท้าวสหัสนัยน์ พระองค์จงถอยไปเสียจาก

    ที่นี้ ดูก่อนท้าวเทวราช กลิ่นของพวก

    ฤาษีไม่สะอาด.

    [๘๙๘] ท้าวสักกะตรัสตอบว่า

    กลิ่นของพวกฤาษีผู้ประพฤติพรต

    มานาน ย่อมจะฟุ้งจากกายไปตามลม

    ท่านเจ้าข้า พวกข้าพเจ้าต่างก็มุ่งหวังกลิ่น

    นี้เหมือนกับบุคคลนุ่งหวังระเบียบดอกไม้

    อันวิจิตร งดงาม บนศีรษะ ฉะนั้น

    ก็พวกเทวดาหามีความสำคัญในกลิ่นของ

    ผู้มีศีลนี้ว่าเป็นกลิ่นปฏิกูลไม่.

    พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้าที่ 345

    ข้อความบางตอนจาก คัททูลสูตร

    สัตว์เศร้าหมองเพราะจิตเศร้าหมอง

    บทว่า จิตฺตสงฺกิเลสา ความว่า ก็สัตว์ทั้งหลายแม้อาบน้ำดีแล้ว

    ก็ชื่อว่าเศร้าหมองเพราะจิตเศร้าหมองนั่นแล แต่ว่าแม้ร่างกายจะ

    สกปรกก็ชื่อว่าผ่องแผ้วได้เพราะจิตผ่องแผ้ว.

    ด้วยเหตุนั้น โบราณาจารย์ทั้งหลายจึงกล่าวว่า :-

    พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงแสวงหาพระคุณ

    อันยิ่งใหญ่มิได้ตรัสไว้ว่า เมื่อรูปเศร้าหมอง สัตว์

    ทั้งหลายจึงชื่อว่า เศร้าหมอง เมื่อรูปบริสุทธิ์ สัตว์

    ทั้งหลายจึงชื่อว่า บริสุทธิ์.

    (แต่) พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงแสวงหา

    พระคุณอันยิ่งใหญ่ได้ตรัสไว้ว่า เมื่อจิตเศร้าหมอง

    สัตว์ทั้งหลายจึงชื่อว่าเศร้าหมอง เมื่อจิตบริสุทธิ์

    สัตว์ทั้งหลายจึงชื่อว่าบริสุทธิ์ด้วย...สวัสดีครับ
     
  14. malee123

    malee123 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มกราคม 2008
    โพสต์:
    484
    ค่าพลัง:
    +2,843

    "ท่านใช้เพื่อนชำระร่างกาย...ไม่ใช้เพื่อเกิดความรื่นเริง...อะไรก็ได้ครับ..."

    เอื้อกกก... คำพูดชวนหวาดเสียวอ่ะ คิก คิก คิก

    พิมพ์ผิดใช่ปล่าววว

    555555
     
  15. ปาฏิหาริย์

    ปาฏิหาริย์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,282
    ค่าพลัง:
    +3,516
    ตอนไปภูทอก ได้อ่านประวัติของหลวงปู่ทองรัตน์มา
    ขอคัดลอกบางส่วนมานะครับ
    ...
    หลวงพ่อชา เล่าว่า พระอาจารย์ทองรัตน์ เป็นผู้อยู่อย่างผ่อนแผ่จนกระทั่ง วาระสุดท้าย เมื่อท่านมรณภาพนั้น ท่านมีสมบัติในย่ามคือ มีดโกนเพียงเล่มเดียวเท่านั้น

    หลวงปู่กินรี จนฺทิโย ศิษย์ต้นรูปแบบ ผู้ใกล้ชิดที่สุดได้เล่าถึงหลวงปู่ทองรัตน์ กนฺตสีโล ว่า เป็นพระอาจารย์ผู้เฒ่า ที่มีปฏิปทาสูงยิ่ง ท่านมีความรู้ ความสามารถเก่งกาจเฉพาะตัว เป็นนายทัพธรรมที่หลวงปู่มั่นท่านไว้วางใจที่สุด นิสัยของพระอาจารย์ทองรัตน์นี้ท่านมีความห้าวหาญและน่าเกรงกลัวยิ่งนัก ซึ่งในบางครั้งกิริยาท่าทางออกจะดุดันวาจาก้าวร้าว แต่ภายในจิตใจจริงๆ ของท่านนั้นไม่มีอะไร หลวงปู่กินรี กล่าวต่อไปว่า มีอยู่คราวหนึ่งในท่ามกลางพระภิกษุสงฆ์สานุศิษย์ของหลวงปู่มั่น ซึ่งก็มีพระอาจารย์ทองรัตน์รวมอยู่ในที่นั้นด้วย หลวงปู่มั่นมองดูพระอาจารย์ทองรัตน์แล้วเรียกขึ้นว่า “ทองรัตน์” “โดย” พระอาจารย์ทองรัตน์ประนมมือแล้วขานรับอย่างนอบน้อม
    (คำว่า “โดย” เป็นภาษาอีสาน ซึ่งแปลว่า “ขอรับกระผม” เป็นคำสุภาพอ่อนน้อมที่สุดสำหรับคฤหัสถ์และพระผู้น้อยนิยมใช้พูดกับพระภิกษุ หรือพระเถระผู้ใหญ่ ซึ่งมักจะใช้กิริยาประนมมือไหว้ระหว่างอกควบคู่ไปด้วย)

    หลวงปู่มั่นท่านจึงพูดต่อไปว่า เดี๋ยวนี้พระเราไม่เหมือนกับเมื่อก่อนนะ เครื่องใช้ไม้สอยสบู่ ผงซักฟอกอะไรๆ มันหอมฟุ้งไปหมดแล้วนะ “โดย” พระอาจารย์ทองรัตน์กล่าวตอบอีก ต่อมาขณะที่พระอาจารย์ทองรัตน์นั่งอยู่ที่แห่งหนึ่ง มีกลุ่มพระภิกษุ 2-3 รูป เดินผ่านท่านไป พระอาจารย์ทองรัตน์จึงร้องขึ้นว่า”โอ๊ย…หอมผู้บ่าว” (ผู้บ่าว แปลว่า ชายหนุ่ม บ่าวเป็นคำไทยแท้ ภาษาอีสาน นิยมเรียกว่า “ผู้บ่าว”) ในที่นี้เป็นวิธีการอย่างหนึ่งของพระทองรัตน์ที่ใช้สำหรับสั่งสอนสานุศิษย์ ของท่าน
    ...
     
  16. nuttadet

    nuttadet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    1,892
    ค่าพลัง:
    +6,455
    แหม พี่ลี ยังฮาได้อีกนะ 55555555
     
  17. ณ.

    ณ. เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 มกราคม 2006
    โพสต์:
    3,387
    ค่าพลัง:
    +9,080
    สาธุๆๆ หลวงปู่ทองรัตน์นี่แหละ... ลูกหลานขอกราบหลวงปู่แทบเท้าเลย _/\_
    อยากมีโอกาสไปกราบอัฐิท่านสักครั้งจัง
     
  18. ชานนคนไทย

    ชานนคนไทย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    1,008
    ค่าพลัง:
    +3,128
    หากต้องการทราบรายละเอียดเกี่ยวกับการปฏิบัติต่อพระก็ขอให้ศึกษาจากนวโกวาท และบุพพสิกขาวรรณาครับ...สวัสดีครับ ​
     
  19. ชานนคนไทย

    ชานนคนไทย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    1,008
    ค่าพลัง:
    +3,128
    บุญกิริยาวัตถุ 10<!-- google_ad_section_end -->
    <HR style="BACKGROUND-COLOR: #ffffff; COLOR: #ffffff" SIZE=1><!-- google_ad_section_start -->บุญกิริยาวัตถุ 10

    1.ทานมัย บุญที่สำเร็จด้วยการบริจากทาน
    2.สีลมัย บุญที่สำเร็จด้วยการรักษาศีล
    3.ภาวนามัย บุญที่สำเร็จด้วยการเจริญภาวนา
    4.อปจายนมัย บุญที่สำเร็จด้วยการแสดงตนเป็นคนอ่อนน้อม
    5.ไวยยาวัจจมัย บุญที่สำเร็จด้วยการขวานขวายช่วยในกิจการที่ชอบ
    6.ปัตติทานมัย บุญที่สำเร็จด้วยการให้ส่วนบุญ
    7.ปัตตานุโมทนามัย บุญที่สำเร็จด้วยการอนุโมทนาส่วนบุญ
    8.ธัมมสวนมัย บุญที่สำเร็จด้วยการฟังพระสัทธรรม
    9.ธัมมเทสนามัย บุญที่สำเร็จด้วยการแสดงพระธรรมเทศนา
    10.ทิฏฐุชุกรรม การกระทำความรู้ความเห็นแห่งตนให้ตรง (เชื่อว่า บาป-บุญมี ,นรก-สวรรค์มี ,ชาตินี้-ชาติหน้ามี , เชื่อหลักไตรลักษณ์ อนิจจัง-ทุกข์ขัง-อนัตตา)

    ...สวัสดีครับ
     
  20. ชานนคนไทย

    ชานนคนไทย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    1,008
    ค่าพลัง:
    +3,128

    ทานานิสังสกถา
    ว่าด้วยอานิสงส์ในการถวายทานวัตถุต่างๆ

    รวบรวมจากคลังธรรม เล่ม ๓ โดยพระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช) และคณะ​

    ๑. อานิสงส์การถวายกล่องเข็ม
    ๑.๑ ได้ความสุขใจ
    ๑.๒ ได้ความสุขกาย
    ๑.๓ ได้ความสุขอันเกิดแต่อิริยาบถ

    ๒. อานิสงส์การถวายผ้าอังสะ
    ๒.๑ ได้ความหนักแน่นในพระสัทธรรม
    ๒.๒ ระลึกชาติได้
    ๒.๓ มีผิวพรรณงดงามในที่ทั้งปวง

    ๓. อานิสงส์การถวายภาชนะใช้สอย
    ๓.๑ ได้ภาชนะทองคำ ภาชนะแก้วมณี ภาชนะแก้วผลึก และภาชนะทับทิม
    ๓.๒ ได้ภรรยา คนใช้ชายหญิงเป็นต้น ที่มีความยำเกรง
    ๓.๓ ได้เครื่องบริโภค และสามารถพิจารณาใช้ศิลปะได้ทุกเวลา
     

แชร์หน้านี้

Loading...