สมถกรรมฐาน-วิปัสสนากรรมฐาน หลวง พ่อเทียน จิตฺตสุโภ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ไข่น้อย, 23 เมษายน 2010.

  1. ไข่น้อย

    ไข่น้อย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    170
    ค่าพลัง:
    +348
    ผมทุกข์น้อยลงกว่าเดิมนี่พอใช้ได้ป่ะฮะ
    เฮ้อ สุขขังนะ อิอิ
     
  2. ไข่น้อย

    ไข่น้อย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    170
    ค่าพลัง:
    +348
    ตรงที่มาจาก wiki โดนแก้แล้วครับ เมื่อก่อนจะไม่อธิบายว่าเป็นลำดับแบบนี้
    แต่จะบอกว่าเริ่มที่ขั้นแรกของแต่ละหมวดได้ตามความถนัด แล้วเดียวมันก็จะเห็นหมดทั้งสิบหกคู่อยู่ดี
     
  3. เตชพโล

    เตชพโล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    267
    ค่าพลัง:
    +1,431
    สมมตินะครับ
    ถ้าแฟนคุณเสียชีวิตตอนนี้
    คุณจะทุกข์น้อยลงกว่าเดิมอีกเหรอครับ

    คำว่าทุกข์น้อยลงกว่าเดิมนี่ใช้ไม่ได้หรอกครับ

    การปฏิบัติทางพระพุทธศาสนา
    ท่านมุ่งเพื่อถอดถอนกิเลส
    ความสุข ความทุกข์
    เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ครับ

    สุขเกิดก็ดับ ทุกข์เกิดก็ดับ
    จะทุกข์มาก ทุกข์น้อย สุขมาก สุขน้อย ดับทั้งนั้นครับ

    ไม่ได้เรียกว่าก้าวหน้าในการปฏิบัติศึกษาทางพุทธศาสนาเลยครับ...
     
  4. ไข่น้อย

    ไข่น้อย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    170
    ค่าพลัง:
    +348
    แล้วคุณเอาอะไรไปวัด ดอกไม้ธูปเทียนเหรอฮะ
    ก็ผมก็เห็นอยากที่คุณบอกนั่นแล ทุกข์ถึงได้น้อยลง
    แล้วถ้าผมบรรลุอริยะแล้วไม่ทุกข์เลย จะมาบอกอีกที
    โอเคไม๊


    ปล.ตอนนี้ต่อให้พ่อแม่หรือญาติโกฝ่ายไหนตายให้ผมดู ผมอาจจะเศร้าแป๊ปนึงแล้วยิ้มก็ได้แล้วมังฮะ
    หรืออยากให้ผมเห็นแสงระเบิดระเบ้อ ตาทิพย์ หูทิพย์ เหาะได้ อ่านใจคนเป็น เที่ยวสวรรค์ นรก ไปแดนนิพพาน ฯลฯ
    แล้วจึงถือว่าเป็นปฏิเวธฮะ คุณเตชชชชชช
    เฮ้อ เง็งนะ อิอิ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 พฤษภาคม 2010
  5. ไข่น้อย

    ไข่น้อย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    170
    ค่าพลัง:
    +348
    คุณรู้จัก ทุกขอริยสัจ กับ ทุกข์อุปาทาน หรือปล่าวคร้าบบคุณเตชชชชช

    อ้อ ลืมบอกไปถ้าคุณมาตายต่อหน้าผม ผมก็อาจจะยิ้มให้กับความตายคุณก็ได้นา
    ธรรมดารึเปล่า ใช้ได้ไม๊
     
  6. เตชพโล

    เตชพโล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    267
    ค่าพลัง:
    +1,431
    ทุกข์น้อยลงแบบของคุณไม่ต้องปฏิบัติธรรมก็ได้ครับ

    แค่ไปคุยกับจิตแพทย์ ไปเที่ยว
    และอย่าอยู่ตัวคนเดียว ให้มีเพื่อนร่วมทำกิจกรรมต่าง ๆ
    ก็ทุกข์น้อยลงได้ครับ
    วิธีของพวกคุณไม่ต่างจากวิธีเหล่านี้หรอกครับ

    ทุกข์น้อยลงของพระพุทธเจ้า
    ต้องเป็นไปด้วยศีล ด้วยสมาธิ ด้วยปัญญาครับ

    แบบของพวกคุณเป็นวิธีที่โลกเค้านิยมใช้กันอยู่แล้วครับมีดาษดื่น
    มันก็วิธีเดียวกับ positive thinking นั่นล่ะครับ
    มันวิธีการของโลกแค่นั้นเอง มันแค่ปัญญาทางโลกเท่านั้นครับ

    แต่วิธีการของพระพุทธเจ้า
    ด้วยศีล สมาธิ ปัญญา นี่เหนือโลกครับ...
     
  7. Tawee gibb

    Tawee gibb เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    1,175
    ค่าพลัง:
    +1,721
    ช้าไปแยะ ขอย้อนหน่อยนะ!

    ยอดเยี่ยมครับ รอบรู้จินๆ รู้ว่าอภิธัมมัตถะสังคหะเป็นคนละเล่มกะพระอภิธรรมปิฎก แสดงว่าคุณตรงฯ ศึกษาทางนี้ เป็นประโยชน์จินๆครับเนี่ย
    เห็นด้วยครับแต่ขอตามฟังดูอีกทีนะครับ

    สมถะที่ว่าครอบคลุมไปถึงสมาธิที่บังเกิดจากการเจริญวิปัสสนา ก็ยังไม่เข้าใจว่าจะยกข้อแตกต่างตรงไหน คือ สมถะ(ที่เกิดจากการเจริญปัญญาภาวนา)ที่ว่านั้น มีความหมายไกลมากกว่า "สมถะศิลาทับหญ้า"อย่างไร

    หรือคุณตรงคิดว่า หลวงพ่อท่านหมายเอาเฉพาะสมถะในสี่สิบแนวทางกระมัง ตรงๆก็คือพวกที่ยึดการบริกรรมรึเปล่า(ยุบหนอขพองหนอ พุทโธ สัมมาอะระหัง ฯลฯ)

    จากประสพการณ์ตรง การเจริญกัมมฐาน ก็เป็นดังที่หลวงพ่อท่านว่าไว้จินๆ (ทั้งไม่ได้คล้อยตามคำพูดของท่านนะครับ ประสพเอง) สังเกตเห็นว่าหลังจากเจริญภาวนามักมีอารมณ์โกรธเร็ว แต่ขณะเดียวกันที่เจริญปัญญาภาวนานั้น อารมณ์ที่พลุ่งพล่านเร็วนั้นก็ผ่อนลงเร็วไปด้วย แต่ไม่ใช่ผ่อนแบบค่อยๆหายโกรธนะครับ ผ่อนแบบเหนื่อยหน่ายหรือไม่เห็นความเป็นแก่นสารของความโกรธ (และก็ไม่ใช่เห็นไตรลักษณ์อะไรนะครับ) แต่ก็โกรธเร็วจริงๆ เพื่อนบางคนที่ปฎิบัติก็มีประสพการณ์คล้ายกันนี้ จึงเห็นว่าที่คุณตรงฯยกมาพูดก็เป็นประโยชน์ เพื่อความเท่าทันอารมณ์ตนเองด้วย

    ส่วนสมถะที่เกิดจากการเจริญปัญญาภาวนา อันนี้ไม่แน่ชัดว่าจะเป็นอันเดียวกับที่ปฎิบัติไหม ส่วนตัวก็คิดว่าเป็นวิปัสสนาประกอบสมถะ เลยไม่เสียเวลาติดตรงนี้ ด้วยว่าเห็นเป็นเรื่องของwording (การตีความต่างๆ วุ่นวายซับซ้อนมาก )จนกลายเป็นเรื่องเรียนรู้นิยามไม่จบสิ้น เข้าไม่ถึงการปฎิบัติเสียที และที่ทำอยู่ก็เกิดความก้าวหน้าในระดับหนึ่งปรากฏให้เห็น จึงยังมีความมั่นใจ โดยเฉพาะเมื่อเทียบเคียงจากมหาสติฯสูตรแล้ว ก็คิดว่าตรงดีแล้ว ครับ

    คุณตรงฯมีแนวทางการปฎิบัติวิปัสสนาชัดๆจากการศึกษาพระอภิธรรม ช่วยยกมาเผยแพร่ก็ดีครับ ผมยังไม่เคยรู้ในส่วนนี้ เห็นว่าส่วนใหญ่ที่ปฎิบัติๆกันอยู่ ทุกสำนักก็ว่าเป็นวิปัสสนา แต่เมื่อเทียบเคียงกับวิปัสสนาในมหาสติสูตร(พระพุทธเจ้าตรัสสอนเองแท้ๆ) ก็เห็นว่าไม่ตรงเสียทีเดียว ยักเยื้องไปหลายแนว บางแนวก็ไม่เข้ากันเลยทีเดียว

    ส่วนที่ว่า ปฎิบัติตามแนวทางในมหาสติฯสูตร จะใจร้อนเหมือนที่ปฎิบัติอยู่ไหม นี่ย่อมไม่เกิดแล้ว เพราะที่ทำมาก็ยึดความเข้าใจจากการศึกษาจากพระสูตรเป็นต้นเค้า แนวปฎิบัติของครูประกอบ เลยเป็นอันไม่รู้กันว่า จะต่างกันอย่างไร ที่แน่ๆคือ ก่อนนั้นปฎิบัติ เห็นความโกรธพุ่งเร็วกว่าธรรมดาครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 พฤษภาคม 2010
  8. ตรงประเด็น

    ตรงประเด็น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    309
    ค่าพลัง:
    +677
    คุณ TAWEE GIBB



    สมถะ ในลักษณะที่ว่า"ไกลไปกว่าความหมายของศิลาทับหญ้า" ก็คือ สมถะที่ไม่ใช่เพียงเข้าไปสงบเฉยๆครับ ....แต่เป็น สมถะที่สนับสนุนการเกิดปัญญา หรือ สมถะที่เป็นผลจากกระบวนการทางปัญญา(วิมังสาสมาธิ).

    ซึ่ง ที่สมบูรณ์แบบที่สุด ก็จะเป็นระดับ สัมมาสมาธิในองค์มรรค นั่นเอง.(ในระดับพระไตรปิฎก นับเรียก สัมมาสมาธิในองค์มรรคว่าเป็น สมถะ เช่นกัน...จุดนี้สำคัญ; คงไม่มีใครเข้าใจว่า สัมมาสมาธิในองค์มรรค เป็นศิลาทับหญ้า น่ะครับ)



    ลองพิจารณาพระสูตรนี้อีกที

    จาก ยุคนัทวรรค ยุคนัทกถา แสดง สมถะ อันเป็นผลจากการเจริญวิปัสสนาแล้วมีจิตปล่อยวาง (เจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น)





    ใน พระสูตรนี้ สมถะ(เอกัคคตา) เป็นผลจาก จิตปล่อยวางอันสืบเนื่องมาจากการเจริญวิปัสสนา . เพราะเห็น จึง วางและสงบระงับ. สมถะ ในลักษณะนี้ ย่อมเป็นคนล่ะอย่าง กับ จิตที่เข้าไปสงบเฉยๆแล้วไม่เกิดปัญญา(ศิลาทับหญ้า). ตรงกันข้าม สมถะในลักษณะนี้เป็นผลจากกระบวนการทางปัญญา เสียด้วยซ้ำ

    ครูบาอาจารย์พระป่าท่านจะเรียกว่า ปัญญาอบรมสมาธิ . หลวงปู่ชา หลวงพ่อพุธ และ ๆลๆ ท่านก็สอนเรื่องเหล่านี้ไว้ เช่นกันครับ ลองหาอ่านจากกระทู้เก่าๆของผมในลานธรรมจักรดูน่ะครับ


    .......................


    นอกจากนี้

    ยังมี พระสูตรที่ชัดเจนอีกจุดหนึ่ง ซึ่งแสดงถึงสมถะที่ไกลไปกว่าความหมายของศิลาทับหญ้า คือ สมถะในขณะจิตแห่งการบรรลุอริยมรรคผล

    จาก

    พระไตรปิฎก เล่มที่ 31



    ขยายความ คำว่า อานันตริกสมาธิ จาก พุทธธรรม



    อานันตริกสมาธิ คือ เอกัคคตา(สมถะ)แห่งจิต ที่หากบังเกิดขึ้นแล้ว ในขณะจิตต่อมาจะบรรลุอริยมรรคมรรคผลทันที โดยไม่มีอะไรคั่นหรือแทรกระหว่างได้.

    สมถะแบบนี้ ไม่ใช่ศิลาทับหญ้า(สงบเฉยๆไม่เกิดปัญญา)แล้ว.... แต่ เป็นสมถะในขณะจิตที่กำลังจะบรรลุมรรคผล คือ กำลังจะบังเกิดสัมมาญาณะที่ล่ะสังโยชน์ขาด แล้ว.


    สมถะในลักษณะนี้ ก็เป็นที่ชัดเจนอีกจุดหนึ่งว่า ไกลไปกว่าความหมายของศิลาทับหญ้า ครับ
     
  9. ตรงประเด็น

    ตรงประเด็น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    309
    ค่าพลัง:
    +677
    หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

    ท่านได้กล่าวถึง เอกัคคตา(สมถะ) ในขณะที่จะบรรลุมรรคผล ไว้เช่นกัน


    จบทางเดินสติปัฏฐาน

    จากหนังสือ แนวทางคำสอนในการปฏิบัติธรรมของหลวงปู่มั่น

    บันทึกและตรวจสอบธรรมโดยหลวงปู่หลอด ปโมทิโต วัดศรีสว่าง จ.หนองบัวลำภู





    เอกัคคตาที่หลวงปู่มั่น ท่านกล่าวนี้ ก็น่าจะตรงกับ สมถะที่ชื่ออานันตริกสมาธิ ใน คห.ก่อน เช่นกัน


    ลอง พิจารณาดูน่ะครับ ว่า


    เอกัคคตา(สมถะ)ในลักษณะนี้ จะจัดเป็นศิลาทับหญ้า ได้ไหม?

     
  10. ตรงประเด็น

    ตรงประเด็น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    309
    ค่าพลัง:
    +677
    คุณ TAWEE GIBB



    ถ้าเป็นลักษณะ ที่คุณและบางท่านประสบพบมา เป็นประสบการณ์ส่วนบุคคล ผมก็ขอน้อมรับฟัง



    แต่ ถ้า เป็นการใช้ "ลักษณะที่ปรากฏต่อ บุคคลหนึ่ง หรือ กลุ่มหนึ่ง " มาตัดสินว่า " ทุกๆคนที่ถ้า เจริญสมถะแล้วจะโกรธเร็ว ..... ผมไม่เห็นด้วยครับ.
    เพราะ เป็นลักษณะเหมารวม...

    พื้นฐานจริต ตลอดจน ความแยบคายในการปฏิบัติ ของแต่ล่ะคนย่อมแตกต่างกันไป... จึง ไม่ควรใช้ "ลักษณะที่ปรากฏต่อ บุคคลหนึ่ง หรือ กลุ่มหนึ่ง " มาตัดสินว่า "ทุกๆคนต้องเป็นเช่นนี้ทั้งหมด"

    และ ถ้าเป็นเช่นนั้นจริง พระพุทธเจ้า และ ครูบาอาจารย์พระสุปฏิปันโนทั้งหลาย(นอกเหนือจากบางองค์) ...ท่าน คงเตือนเอาไว้แล้ว ว่า "ระวังน่ะ เจริญสมถะ แล้วจะโกรธเร็ว"




    เอาง่ายๆ คุณคงได้ยินที่ชาวพุทธรุ่นใหม่กลุ่มหนึ่งที่นิยมกล่าวว่า เจริญสมถะแล้วเป็นเหตุให้ เฉยเมย เซื่องซึม จมแช่ ๆลๆ(กำลังบรรยายถึง ถีนะมิทธะนิวรณ์) .
    คุณ ลองพิจารณาดูความหมายของคำเหล่านี้ดีๆ... คำเหล่านี้ ตรงกันข้ามกับคำว่า โกรธง่าย เลย...


    ................


    ผมขออนุญาต

    นำข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ที่ยืนยันว่า การเจริญสมถะ(ในงานวิจัยนั้นใช้เมตตาภาวนา) สนับสนุน การรู้ตัวทั่วพร้อม(เจริญวิปัสสนา) รวมทั้งการมองโลกในแง่ดี(คนที่มองโลกในแง่ดี;ซึ่งก็คือ โกรธยาก จะมีคลื่นแกมม่าเวฟสูง) และ ๆลๆ ที่ไม่ใช่ลักษณะที่จะ"โกรธเร็ว" แต่อย่างใดเลย



    http://palungjit.org/threads/คลื่นสมอง-vs-สมถะ-วิปัสสนา.228308/page-3#post3053833
     
  11. ตรงประเด็น

    ตรงประเด็น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    309
    ค่าพลัง:
    +677
    ปัจจุบัน


    ผลการวิจัย คลื่นไฟฟ้าสมองในผู้ที่เจริญสมาธิภาวนา(เช่น เมตตาภาวนา;เป็นสมถะกรรมฐานเช่นกัน)

    ช่วยเฉลยปัญหาที่ว่า

    เจริญสมถะแล้วโกรธเร็ว???


    ....................



    มีผลการวิจัยที่ชัดเจน อีกชิ้นหนึ่ง ทำในอเมริกา โดยผู้เชี่ยวชาญด้านประสาทวิทยา

    นักวิจัยอเมริกาเคยศึกษาในพระภิกษุทิเบต เกี่ยวกับเรื่องนี้เคยลงใน


    ใครสนใจไปอ่านฉบับเต็มเอาเองเพราะยาวมาก....เขาใช้วิธี เมตตาภาวนา(สมถะ)....

    นักวิจัยท่านนี้ท่านวิเคราะห์ว่า การฝึกเมตตาภาวนา(สมถะ)อย่างต่อเนื่องจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีอย่างถาวรกับสมองด้วย.....

    เพราะเขาพบว่าในกลุ่มพระทิเบตที่ฝึกสมาธิมานานจะมีระดับเบสไลน์ของแกมม่าเวฟสูงกว่าปกติมากแม้นแต่ในขณะที่ไม่ได้อยู่ในอารมณ์สมาธิ.....



    (Davidson concludes from the research that meditation not only changes the workings of the brain in the short term, but also quite possibly produces permanent changes. That finding, he said, is based on the fact that the monks had considerably more gamma wave activity than the control group even before they started meditating. A researcher at the University of Massachusetts, Jon Kabat-Zinn, came to a similar conclusion several years ago. )

    ตรงนี้อธิบายได้ว่าทำไมผู้ที่มีเมตตาจิตจากการภาวนา....จะมองโลกในแง่ดี....หลับก็ฝันดี

    คลื่นแกมม่า เป็นคลื่นสมองที่มีความถี่อยู่ในช่วงสูงสุด ....สูงกว่า เบต้าเวฟขึ้นไป(ผมไม่ได้กล่าวถึง ใน คห ก่อนหน้านี้ ) ซึ่งไม่ใช่ลักษณะของสมองที่กำลังหลับ.....

    คลื่นแกมม่าเป็นคลื่นที่แสดงถึงทางบวกในการทำงานของสมอง
    คลื่นแกมม่าบ่งบอกการมองโลกในแง่ดี การมีเมตตา

    (ส่วน คลื่นอัลฟ่าบ่งบอกการผ่อนคลายแต่ตื่นตัว มีประโยชน์ในการเรียนรู้)

    สมองในขณะต่างๆจะมีคลื่นที่แตกต่างกัน เช่น คนตื่นจะเป็นแบบหนึ่ง คนนอนหลับตื้นจะเป็นแบบหนึ่ง คนนอนหลับลึกจะเป็นแบบหนึ่ง คนโคม่าจะเป็นแบบหนึ่ง ......

    ทีนี้ผลการวิจัยนี้มันออกมาน่าสนใจว่า คลื่นสมองของผู้เจริญเมตตาภาวนาต่อเนื่องจะมีคลื่นแกมม่าเวฟ(ความถี่สูงสุด)สูงกว่าคนปกติ ทั้งในขณะที่ไม่ได้เจริญสมาธิ ในขณะเจริญสมาธิ และภายหลังออกจากสมาธิแล้ว..... คลื่นแกมม่าเวฟนี้จะบ่งบอกถึงการทำงานเชิงบวกของสมอง เช่น ความสงบ ความอิ่มเอิบ การมองโลกในแง่ดี(โกรธยาก)....... เลยแปรได้ว่าคนที่ฝึกสมาธิเมตตาภาวนาต่อเนื่องจะมีการเปลี่ยนแปลงของสมองแบบถาวรในเชิงบวก

    นี่เป็นจุดอธิบายทางวิทยาศาสตร์ได้ว่าทำไมสมาธิเมตตาภาวนาจึงทำให้ผู้ฝึกเป็นประจำมีสุขภาพจิตที่ดี......

     
  12. ไข่น้อย

    ไข่น้อย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    170
    ค่าพลัง:
    +348
    เผอิญ ผมไม่ต้องพึ่งสิ่งภายนอกเพื่อหนีทุกข์ด้วยซี อิอิ
    คิด กับ รู้ คุณแยกเป็นรึยัง
    สมถะ กับ วิปัสสนา คุณรู้รึยังว่ามันต่างกันยังไง
    ถ้ายังไม่รู้ก็กลับไปอ่านหน้าแรกเน้อ

    ถ้าพ่อตายให้ถือศีลลืมทุกข์หรอ
    ถ้าแม่ตายให้นั่งสมาธิกดทุกข์หรอ
    ถ้าเมียตายให้สร้างปัญญาเพื่อให้ไปอยู่เหนือโลกหรือนอกโลกแล้วลืมทุกข์เหรอคร้าบบบ จ้าวววววนาย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 พฤษภาคม 2010
  13. ตรงประเด็น

    ตรงประเด็น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    309
    ค่าพลัง:
    +677
    ประเด็น เจริญสมถะ แล้ว โกรธเร็ว???



    ผมเห็นว่า สาเหตุที่ โกรธเร็ว นั้นคือ ขาดสติ .....คือ ตอนภาวนาก็มีสติอยู่หรอก แต่ พอเลิกภาวนาก็โยนสติทิ้งไปเลย ไม่ได้เพียรรักษาสติให้สืบเนื่อง.
    มันเลยระเบิดอารมณ์ง่าย.


    หรืออาจจะไปเจริญ มิจฉาสมาธิ เข้า โดยไม่รู้ตัว น่ะครับ






    ถ้า เป็นสมถะชนิดที่เป็นสัมมาสมาธิในองค์มรรคแล้ว จะไม่มีทางเป็นเหตุให้โกรธเร็วหรอกครับ

    เป็นไปไม่ได้เลย!!!



    ลักษณะของจิตที่เป็นสัมมาสมาธิ จะบรรยายไว้ว่า

    สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย

    และ ถ้าเป็นสัมมาสมาธิระดับสูงจะบรรยายด้วยว่า

    มีสติบริสุทธิ์



    จึงขออนุญาตไม่เห็นด้วยกับ บทสรุป ที่ว่า "เจริญสมถะ แล้ว โกรธเร็ว" ครับ.
     
  14. เตชพโล

    เตชพโล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    267
    ค่าพลัง:
    +1,431
    บุคคลผู้ประมาท
    ศีล สมาธิ ปัญญา

    ประมาทในธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

    เป็นบุคคลเช่นนี้เองหรือ...
     
  15. ไข่น้อย

    ไข่น้อย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    170
    ค่าพลัง:
    +348
    เฮ้ออออ ไร้สาระ
     
  16. เตชพโล

    เตชพโล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    267
    ค่าพลัง:
    +1,431
    ขอย้ำชัด ๆ อีกครั้งครับ
    นี่ล่ะครับกิริยาอาการ ของผู้ประมาท ศีล สมาธิ ปัญญา
    ประมาทในธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

    จะคิดแก้ไขประการใด
    ก็รีบคิดรีบทำซะนะครับ

    นัตถิ กัมมะ สมัง พลัง
    โลกนี้ไม่มีสิ่งใดเหนือกรรม ครับ...
     
  17. ตรงประเด็น

    ตรงประเด็น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    309
    ค่าพลัง:
    +677
    เสนอ พิจารณา


    สมถะ ที่เจริญแล้ว เป็นเหตุให้โกรธเร็ว.... ว่า เป็น สมถะ แบบไหน ใน ความหมายของ สมถะ ที่ปรากฏในพระไตรปิฎก


    จากพระไตรปิฎก สมถะ มีความหมาย ครอบคลุมทั้ง

    1.มิจฉาสมาธิ


    2.สัมมาสมาธิที่เป็นโลกียะ เช่น บรรยาย ในรูปาวจรกุศลจิต(รูปฌานที่เป็นโลกียะ) ในอรูปาวจรกุศลจิต(อรูปฌานที่เป็นโลกียะ)

    3.สัมมาสมาธิที่เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค


    ........................


    สมถะ ที่เจริญแล้วเป็นเหตุให้โกรธเร็ว ..... ผมเห็นว่าอาจจะเป็น

    1.ไปเจริญมิจฉาสมาธิเข้า

    หรือ

    2.เจริญเป็นสัมมาสมาธิที่ยังคงเป็นโลกียะอยู่.โดยที่ ในตอนตั้งใจภาวนานั้น ก็มีสติสืบเนื่องดี แต่ พอครั้นเวลาเลิกภาวนาแล้ว ก็ไม่มีสัมมัปทาน คือ ไม่เพียรรักษาสติให้สืบเนื่องต่อไป.มีอารมณ์ที่รุนแรงมากระทบ ก็ตอบสนองไปแบบฉับพลันทันใดเลย(ปราศจากทมะ) เป็นลักษณะ เลิกภาวนาแล้วก็ปล่อยสติทิ้งไปเลย.... มันจึงอาจจะเป็นลักษณะเหมือน เจริญสมถะแล้ว แต่ กลับเหมือนยังโกรธง่ายอยู่




    ส่วน สมถะในอริยมรรค(สัมมาสมาธิที่เป็นองค์มรรค เป็นโลกุตระ) นั้น... ไม่มีทางเลย ที่เจริญแล้ว จะเป็นเหตุให้โกรธเร็ว
     
  18. ตรงประเด็น

    ตรงประเด็น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    309
    ค่าพลัง:
    +677
    ประเด็น มันจึงอยู่ที่ การเข้าใจในขอบเขตของคำว่า สมถะ ไม่ตรงกัน


    ...............................


    # ถ้า จำกัดความหมายของ สมถะ เอาไว้ที่เพียง

    1.มิจฉาสมาธิ

    และ/หรือ

    2.การไปติดตันยินดีอยู่เพียงสุขในสมาธิที่เป็นโลกียะจนเป็นเหตุไม่ใช้ความสงบของจิตมาเอื้อต่อการเจริญปัญญา(ความหมายของ ศิลาทับหญ้า)

    โดยที่ ไม่ถือว่า สัมมาสมาธิในองค์มรรคที่เป็นโลกุตระ นับว่าเป็น สมถะ ด้วย

    ก็อาจจะเข้าใจได้ว่า การเจริญสมถะเป็นเหตุให้โกรธเร็ว


    ...............................


    # แต่ ถ้า ถือตามพระไตรปิฎก ว่า

    1.มี สมถะที่แม้นยังเป็นโลกียะอยู่แต่สามารถนำมาสนับสนุนการเจริญปัญญาได้จริง(เช่น ที่พระพุทธองค์ทรงแสดงใน ปาสาทิกสูตร) คือ ไม่จำกัดความหมายของสมถะ อยู่เพียง สมถะศิลาทับหญ้า

    และ/ หรือ

    2.สัมมาสมาธิในองค์มรรค ก็นับว่าเป็น สมถะ เช่นกัน(อ้างอิง จาก พระไตรปิฎกเล่มที่๓๔ หัวข้อ ๒๕๓ ใน คห.ก่อนนี้)


    การเจริญสมถะ ในความหมายเช่นนี้ ย่อมไม่มีทางจะเป็นเหตุให้โกรธเร็ว ได้เลย!!!
     
  19. ตรงประเด็น

    ตรงประเด็น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    309
    ค่าพลัง:
    +677
    เรียน ผู้ร่วมเสวนาทุกท่าน



    ช่วงวันที่ 3-7 พค.53 นี้ ผมต้องเดินทางไปเยี่ยมญาติในต่างจังหวัดหลายแห่ง.
    ใน บางจุดที่ผมเดินทางไปเป็นเขตชนบท และ อาจจะไม่สามารถเข้าอินเตอร์เน็ตได้.

    ท่านใดจะเสนอความเห็นใดๆเพิ่ม ก็ เชิญแสดงความเห็นไว้ก่อนน่ะครับ ถ้ามีเวลา-โอกาส ผมจะมาเสวนาด้วย. แต่ อาจจะตอบกระทู้ช้าไปบ้าง และ บางวันอาจจะไม่ได้ตอบกระทู้ น่ะครับ


    ยินดีที่ได้สนทนาครับ
     
  20. kengkenny

    kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    เท่าที่อ่านมาทั้งหมดทั้งพระสูตรและคำอธิบายต่างๆ ตลอดจนการปฏิบัติของตัวผมเองที่ผ่านมา ผมขอลงความเห็นว่า
    สมถะ นั้นไม่ใช่ปัญญา จึงไม่ใช่วิปัสสนา
    วิปัสสนา คือ การวิเคราะห์พิจารณาโดยอาศัยสติที่มีเป็นเครื่องระลึกรู้
    ดังนั้น การจะมีวิปัสสนาได้จำเป็นต้องมีสติเป็นสำคัญ และการจะมีสติได้นั้นก็จำเป็นต้องมีสมถะมาก่อนก็ได้ มีขณะนั้นก็ได้ อันนี้เป็นส่วนมาก ส่วนว่าด้วยไม่มีเลยนั้นเห็นว่า ไม่ใช่สถานการณ์ในปัจจุบัน
    และการที่บอกว่าสมถะนั้น ทำให้เห็นความโกรธ หรือเห็นกิเลสนั้นก็เป็นได้ แต่ไม่สามารถละได้เพราะ...ผมเข้าใจว่าจิตเลือกที่จะอยู่กับความเห็นในสิ่งต่างๆเท่านั้นและที่จิตเลือกเช่นนั้นก็เพราะยังยินดีอยู่ ในสิ่งต่างๆเหล่านั้น ยังไม่เห็นว่ามันเป็น ทุกข์ แต่อย่างใด ยังคิดว่าเกิดขึ้นมาแล้วก็ดับไปตามธรรมดา เพราะความเห็นนี้จึงยังคงมีอยู่และเป็นอยู่อย่างไม่อาจจะเลี่ยงได้เลยในสมถะ
    พอมาถึงวิปัสสนา หากเข้าถึงจริงความยินดีทั้งหลายในอันจะก่อทุกข์ควรจะดับลงหากพิจารณาลงเห็นความเป็นจริงทั้งไตรลักษณ์และอริยะสัจย์๔ มันเลยมีสองหนทางคือ ดำเนินทางมาตามมรรคมาก่อน ศีล สมาธิ ปัญญา แล้วจึงเห็นทุกข์ พร้อมทั้งดับลงในเหตุแห่งทุกข์ กับเห็นทุกข์มาก่อนเห็นไตรลักษณ์และอริยสัจย์๔ แล้วจึงเห็นมรรคและดำเนินมรรคซึ่งก็คือ ศีล สมาธิ ปัญญา ทั้งสองทางจะให้ผลสรุปเหมือนกันคือ ถอดถอนตนออกจากกองทุกข์ ซึ่งก็เป็นลักษณะที่ว่า สมถะนำไปสู่วิปัสสนา หรือ วิปัสสนานำไปสู่สมถะ อันนี้เป็นเพียงข้อคิดพิจารณาในส่วนของผมนะครับ ถือว่าแลกเปลี่ยนและเป็นการสนทนาธรรมแล้วกันครับ
    ปล.ทั้งหมดเป็นเรื่องการเข้าสู่โลกุตรธรรม ถ้าเป็นโลกียธรรมจะไม่มีการกล่าวถึงทุกข์หรือสุขหรือทางที่จะดับกิเลสทั้งหลายนั้น
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 พฤษภาคม 2010

แชร์หน้านี้

Loading...