การรู้จักจิตผิดๆ ทำให้การศึกษาพระพุทธศาสนาผิดตลอดแนว

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ธรรมภูต, 18 มีนาคม 2010.

  1. เล่าปัง

    เล่าปัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    4,787
    ค่าพลัง:
    +7,918
    ทีนี้ก็มาสงสัยกันว่า พิจารณา หรือ วิปัสสนา มันทำให้เกิดสมาธิได้ไหม ก็ลอง
    ฟังคำสอนของหลวงพ่อสงบดูก่อน ดังนี้

    จะเห็นว่า การดูจิตนี่ เป็นสมาธิ และไม่ใช่แค่สมาธิธรรมดา มีการเน้นว่า ย้ำว่า
    ดูจิตนี่เป็นสมาธิเท่านั้น ​

    ก็เพราะ ดูจิตมันเป็นการทำสมถะ เหมือนกัน แต่คนที่ไม่เข้าใจ ดูจิตไม่เป็นก็จะ
    คิดว่า ไม่ใช่การทำสมาธิ ไม่มีสมาธิเจือเลย ดีๆไม่ดี ไม่ยกคำว่ "ตะครุบเงา"
    เข้ามาใช้อีก ​

    แต่สำหรับคนที่ดูจิตเป็นแล้ว มันก็คือ การทำสมาธิ เพราะ การพิจารณาจิตที่ฝุ้ง
    ออกไป ดูอาการของจิตที่ฝุ้ง(เผลอแล้วรู้นั่นแหละ) พิจารณาที่อาการฝุ้งออก ไม่
    ใช้ดูเรื่องที่ฝุ้ง ใครดูจิตแต่ยังเห็นแต่เรื่องที่ฝุ้งแล้วเร้าร้อนกระวนกระวายวี๊ดว้าย
    กระตู้หู้กลัวกิเลสเหยียบหัวจิตหัวใจอยู่ ก็แปลว่า ยังดูจิตที่อาการฝุ้งออกไปไม่เป็น
    แต่ทะลึ่งไปดูเรื่องที่ฝุ้ง(ตะครุบเงา สะดุ้ง วิ๊ดว้ายผิดที่ผิดทาง) แต่ถ้าดูเป็น ดูที่
    จังหวะจิตมันจะฝุ้งออก มันจะเห็นทวนมาที่จิต สงบเข้ามาที่จิต เข้ามารู้ที่จิต เข้า
    มาเสพสุขด้วยนามกาย(นี่ไงทางลัดที่ถามหากัน) เห็นเข้ามาตรงนี้ ก็เรียกว่าเห็น
    เข้ามาที่ตัณหาเจตสิก ซึ่งจะมีอาการเสียแทงใจ เสียดแทงกาย เสียดแทงฐานของ
    จิต หรือที่เรียกว่า "โดนศรไง" ​

    แล้วเห็นไหม ว่า คนที่ดูจิตเป็น เมื่อเห็นการโดนเสียดแทงอก โดนเสียดแทงใจ ใน
    ขณะที่ใจเสพสุขด้วยนามกายอยู่ แต่ทะลึ่งมีแขกที่จรมา​

    แล้วไอ้คำว่า แขกที่จรมาคืออะไร ก็คือ คำว่า ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา นี่ไงคน
    ที่ดูจิตเป็นเขาก็พูดเหมือนกันหมด เขาให้ยกขึ้นเห็นว่า กิเลสมันเป็นแขก ไม่ใช่เรา
    มันจรมา ไม่ได้เกี่ยวอะไรกับเรา แล้วยังไม่พอนะ ต้องดูจนกว่า มันจะดับไป ไม่ใช่
    ดูมันดับตรงนี้แล้วเรียกว่า เห็นเงาของจิต นะ เห็นตรงนี้เขาไม่เรียกว่า ตะครุบเงา
    ของจิตแล้ว แต่เขาเรียกว่า โย๊กกกกกก ยกไง ต้องยก ยกขึ้นอีก ไม่ใช่ดูแค่นี้
    ดูแค่นี้ยังพื้นๆ ยังเป็นสมถะ ยังไม่ได้เจริญสติเลยแม้แต่นิดเดียว แต่พอยกขึ้นได้
    นะ อย่าว่าแต่ ขันธ์5 จะกระจายตัวออกให้เห็นเลย จิต กับ ขันธ์ ก็แยกออกจากกัน
    เพราะมันเป็น สติที่เป็นโลกุตรปัญญา ไม่ใช่ สติก๊อกๆแก๊ก ทีทำได้แต่ สมถะ สมาธิ
    แต่ สติตัวนี้ ที่ยกขึ้นได้นี้จะเป็น สติทีทำลายกิเลสได้ ทำให้เกิดโลกุตรปัญญาได้​

    ดังนั้น คนที่ภาวนาเป็น เขารู้ว่า เวลาพูดว่าไม่ใช่เรา นั่นนี่ไม่ใช่เรา เขาไม่ได้
    พูดพร่ำเพรื้อ ไม่ได้พูดอย่างคนภาวนาไม่เป็น ไม่ได้พูดอย่างคนที่ติดสงสัย
    ไม่รู้ทางเขาแล้วก็ไปต่อว่าเขาพูดเพื่อสะกดจิตตัวเอง ใครมันจะบ้าปฏิบัติธรรม
    ด้วยการท่องอาขยาน คนที่ปรักปรำว่า "ใครพูดว่านู้น นั่นนี่ ไม่ใช่เรา" ว่าเขา
    สะกดจิตตัวเอง ก็ต้องพิจารณาให้ดี ว่าเขาพูดแบบอขยาน หรือ พูดจากข้อเท็จ
    จริงที่เขายกวิปัสสนาญาณได้แล้ว หากเขาพูดในขณะที่เขายกวิปัสสนาได้ แต่
    ตัวเองไปตำหนิเขา อดโทษเขาไม่ได้ว่าพูดไม่รู้เรื่อง นั่น คนที่ไม่รู้เรื่องคือคน
    ที่ตั้งคำถาม เพราะทำไม่เป็นนั่นเอง

    รายละเอียดประกอบ

    คนที่พูดว่า กิเลสไม่ใช่เรา เป็นแขกที่จรมา นั่นแปลว่า เขาพิจารณาในจิตที่
    มีพื้นสมาธิไม่มีที่ตั้งของจิต อัปปณิหิตสมาธิ ซึ่งคนที่เดินสมาธิชนิดนี้ มุม
    มองไตรลักษณจะเห็น อนัตตาเป็นปรกติ ดังนั้น เขาเหล่านั้นจึงปรารภว่า
    "ไม่ใช่ตน" ซึ่งเมื่อเห็นว่าไม่มีตน ก็จะเห็น "ไม่มีเจตนา" ด้วย และเพราะ
    ไม่เห็นมีตน และไม่มีเจตนาด้วย กิเลสที่เกิดขึ้นจึงปรากฏในรูปของสิ่งที่
    จรเข้ามา ไม่ใช่ตน ไม่ใช่ของๆตน ซึ่งเมื่อเห็นไปเรื่อยๆ ภูมิของสมาธิก็
    จะก้าวขึ้นไปได้อีก ยังมีอีก ยังยกได้อีก ไม่ใช่หมดแค่นี้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 เมษายน 2010
  2. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    ความเข้าใจตามที่อ่านมานะ กสิณ10 อาณาปาณสติ ทำแล้วเกิดฌาณได้
    ส่วน กรรมฐาน40กอง ไม่รู้มีอะไรบ้าง เลยไม่แน่ใจนะ
    ส่วน อนุสติกรรมฐาน กองต่างๆ ก็ไม่แน่ใจเหมือนกัน

    และเคยได้ฟังมาว่า ฌาณ ถือว่าเป็น ลาภ เท่านั้น ได้หรือไม่ได้ ก็สามารถบรรลุ
    รู้แจ้งอริยสัจ4 ได้ เพราะ อาศัยอุปาจารสมาธิพิจารณารูปนามลงเป็น
    ไตรลักษณ์ ย่อมโน้มน้อมจิตไป(พิจารณา)เพื่ออาสวักขยญาณ (http://www.nkgen.com/427.htm)
    ได้ปฐมฌาณขณะบรรลุธรรมเป็นพระอริยะแต่ถ้าได้ฌาณตั้งแต่เป็นปุถุชน
    ก็จะเป็นพระอรหันต์แบบวิชชา3 หรืออภิญญา6 ซึ่งไม่เหมือนพระสุขวิปัสโก
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 เมษายน 2010
  3. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,182
    คุณ เล่าปัง ผมบอกตามตรงนะ

    คุณ กำลังจะเอา ความรู้ของคุณ ที่จับผสมกันระหว่าง ธรรมแท้ และ ธรรมเทียม

    แล้ว พยายาม จะทำให้ ธรรมเทียมนั้น เป็นธรรมแท้


    การทวนไปดูตัณหา เรื่องนี้ดูไม่ยากหรอก แต่สิ่งที่ยาก คือ จิตใจที่ปลอดโปร่ง และ สามารถ เข้าใจ และ ยอมรับธรรม เพื่อที่จะ ลด ละ วาง
    ไม่ใช่ การมองดู เฉยๆ แล้วบอกว่า ถึงธรรม
     
  4. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,182
    คุณ ขวัญ มรรคมี องค์ 8 คือ สัมมาสมาธิ อันมี ปฐมฌาณ เป็นต้น
    มีความสำคัญ มาก

    ของดีมีอยู่ ทำไม จะต้องบอกว่า ไม่สำคัญ การเติมเต็ม ย่อมเป็นสิ่งที่ดี

    อย่าเอาทิฎฐิ ส่วนตัวทำให้ สิ่งที่ดี พร่องลงไป

     
  5. เล่าปัง

    เล่าปัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    4,787
    ค่าพลัง:
    +7,918
    อย่ารีบร้อนสิครับ

    อ่านดีๆสิว่า ผมกำลังพูดว่า มันเป็นขั้นการฝึกสมาธิ ด้วยการดูจิตอยู่เลย

    การดูจิต ยังทำสมาธิให้เกิดได้อีก ไม่ใช่แค่นั้น เท่าที่คุณเห็นว่าผมบรรยาย
    แล้วคิดเหมาเอาเองว่า ผมอธิบายการเกิดปัญญา ถึงธรรม

    ยังครับ ยัง ผมยังอธิบายการทำสมาธิอยู่
     
  6. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,182
    ในสมัยหนึ่ง พุทธแบ่ง เป็นสองสาย คือ เว่ยหลาง และ ชินเชา

    เว่ยหลาง เน้น วิธีการฉับพลัน

    ชินเชา เน้น ความต่อเนื่อง

    ท่านเว่ยหลาง สอนชี้ไปที่ การวางด้วยปัญญา คือ แทนที่จะต้องแสวงหา แต่ให้หยุด
    เว่ยหลางแต่ง โคลงว่า ไม่มีกระจก ไม่มีฝุ่น จะต้องไปปัดอะไร

    ชินเชา แต่งโศลกว่า กระจกมีฝุ่นจับ เราต้องคอยเช็ดกระจกให้ใส ตลอดเวลา

    แล้ว พระสังฆนายก ก็มอบตำแหน่ง พระสังฆปรินายกองค์ที่ 6 แห่ง สาย พระมหากัสสปะ ให้กับ เว่ยหลาง

    เอาไว้ว่างๆ จะมาวิเคราะห์ให้ฟัง ถึงทางสองสายนี้ ว่าของใครคือ อะไร
     
  7. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,182
    ไม่รีบร้อนหรอกครับ รอฟังอยู่ ว่า ทางแห่งสมาธิของคุณจะเป็นอย่างไร
    ขอตัวก่อนแล้วกัน ผมมีธุระ
     
  8. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    เราพูดตามตำรา ว่ามีไปหลายทาง
    ชำนาญด้านไหนก็ทำไปด้านนั้น ชำนาญด้านปัญญาวิมุตติ ก็มีทางไป
    ชำนาญด้านอื่นก็ทำไป ถ้าผิด ก็บอกมาสิ ว่าทางนี้มันไปไม่ได้ ต้องเพ่ง
    จนได้ฌาณก่อนเท่านั้นเป็นทางเดียว เท่านั้น หรืออย่างไร คนเขาจะได้
    เข้าใจเรื่องถนนหนทาง และจะได้เข้าใจถูกๆเหมือนๆ กัน
     
  9. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,182
    แต่บอกตามตรงว่า ในยุคแห่งเว่ยหลางและชินเชา

    พระพุทธศาสนา ไม่เจริญ ไม่เฉียบคม และไม่ชัดเจน เท่า ยุคสมัยตอนนี้ ปี 2553
     
  10. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,182
    ไม่มีแบ่งสายในการ ปฏิบัติ

    คนที่ เข้าถึงจะทราบเองว่า การเข้าถึงอริยสัจธรรม จะต้องผ่าน อะไรๆ เหมือนกัน

    อะไรคือ สิ่งที่จำเป็นหรือไม่จำเป็น

    เดี๋ยวเอาไว้ว่างๆ ค่อยมาพูด ให้ฟัง
     
  11. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    พุทธเถรวาท ก็มีแนวทางของพระสุขวิปัสโก ที่เป็นปัญญาวิมุตติ
    จะตัดสิทธิ์ไม่พูดถึงให้คนอื่นเขารู้บ้างหรือไง
     
  12. หลบภัย

    หลบภัย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    2,207
    ค่าพลัง:
    +3,123
    สาธุ กับ link พี่ขวัญไปอ่านมาแล้ว เกิดปิติกับตรงนี้
     
  13. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    เราพูดถึงทางเดิน หนทางปฏิบัติธรรม ว่ามันมีหลายทาง
    ไม่ได้แบ่งสาย
     
  14. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,182
    ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลสปราศจากอุปกิเลสอ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้
    ย่อมโน้มน้อมจิตไป(พิจารณา)เพื่ออาสวักขยญาณ ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า
    นี้ทุกข์นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา
     
  15. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,182
    ไม่ซีเรียสหรอก เดี๋ยวค่อยมาถกกัน
    ขอตัว
     
  16. เตชพโล

    เตชพโล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    267
    ค่าพลัง:
    +1,431
    เมื่อปฏิบัติไปได้ซักระยะ
    ถ้ามีสติกำกับเฉยจะไม่ค่อยได้ความฉลาดเฉลียว

    สติต้องจับปัญญา

    นี่ถอดจากหัวใจมาพูด เป็นเองแล้วนะ
    มีสติเฉยไม่เกิดปัญญา

    ปัญญาต้องคอยสอดแทรก
    สติต้องจับปัญญา

    คิดว่าต้องมีคนงงแน่
    แต่ถ้าปฏิบัติถึงเองแล้ว ลงได้รู้เองเถอะ
    อ๋อทันที
     
  17. ไข่น้อย

    ไข่น้อย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    170
    ค่าพลัง:
    +348
    อ๋อออออออ

    งงจังเลยฮะ ท่านว่าที่อาจารย์
    ชี้ชัดๆได้มั้ยขราบ
     
  18. เตชพโล

    เตชพโล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    267
    ค่าพลัง:
    +1,431
    ธรรมในขั้นนี้ยังไม่เหมาะกับคุณ

    ผมว่าคุณควรนั่งสมาธิ เดินจงกรม ให้มากกว่านี้
    แล้วคุณปฏิบัติได้ผล เป็นไงบ้าง เล่าให้ผมฟังหน่อยสิ
     
  19. ไข่น้อย

    ไข่น้อย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    170
    ค่าพลัง:
    +348
    เมื่อก่อนนั่งตะบี้ตะบันเลยฮะ

    นั่งแบบไม่รู้จะนั่งไปทำไม

    พอดีฟังหลวงพ่อพุธครับ
    ท่านบอกว่าเกิดอะไรขึ้นในสมาธิก็รู้
    ก็เลยนั่งไปเรื่อยๆฮะ

    จากประสบการณ์แค่เพ่งจึ๊กนึงก็สงบแล้วฮะ
    ทำได้ตั้งแต่เด็กแล้ว
    แต่มันก็ไม่แน่นอนฮะ บางทีก็นานหน่อย

    ตอนนี้ไม่ค่อยได้นั่งแล้วฮะ ขี้เกียจ

    พอวิเคราะห์ได้ปะฮะ
     
  20. ธรรมะสวนัง

    ธรรมะสวนัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,305
    ค่าพลัง:
    +1,256
    หลบภัยที่รักของโอก้าซัง
    ต้องอ่านบทก่อนหน้าด้วยนะคะ


    ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลสปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้

    จะอย่างนี้ได้ ต้องสัมมาสมาธิฌานที่ ๔ นะคะ

    (smile)
     

แชร์หน้านี้

Loading...