ธรรมยุติกับมหานิกาย เหมือน-ต่างกันอย่างไร ?

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย โป๊ยเซียนสาว, 29 มกราคม 2010.

  1. โป๊ยเซียนสาว

    โป๊ยเซียนสาว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,543
    ค่าพลัง:
    +2,279
    ความแตกต่างระหว่างธรรมยุตกับมหานิกาย
    นายธนวรรธน์ มานะทัต ( ทิดแทน

    ธรรมยุติกับมหานิกาย เหมือนต่างกันอย่างไร ?
    คำถามนี้ยาก เพราะมันมีหลายระดับครับ ถ้าตอบแบบธรรมดาก็

    1. สีจีวรต่างกัน มหานิกายจะห่มสีส้มทอง แต่ธรรมยุติจะห่มสีเข้ม ที่เรียกว่า สีแก่นขนุน แต่เดี๋ยวนี้ แยกออกมาอีกหลากหลาย มีทั้งแก่นทอง แก่นกรัก แก่นแดงพระป่า ฯลฯ แต่ความต่างอันนี้ก็ไม่จำเป็น อีกแล้วครับ เพราะอย่างสายหลวงพ่อชา พระอาจารย์สุรศักดิ์ เองก็เป็นมหานิกาย ที่ห่มจีวรสีธรรมยุติ อีกประการหนึ่งที่ทำให้สังเกตุยากในพิธีหลวง คือ สงฆ์สองนิกาย จะใช้จีวรสีพระราชนิยม (ที่เรียกบิดเบือนไปว่า สีพระราชทาน) เป็นสีกลางระหว่างสองนิกายครับ เพื่อความเป็นกลุ่มก้อนเดียวกันเมื่อประชุมพร้อมกัน และไม่ทำให้เกิดความแตกแยกด้วยครับ
    เกร็ด : เล่า ว่าสายพระป่าใช้สีจีวรออกแดง เพราะหลวงปู่มั่นท่านสงสัยว่าในสมัยพุทธกาล พระครองจีวรสีอะไรกัน และสีนี้ก็ปรากฏในสมาธิของท่าน จึงใช้ต่อๆกันมาเป็นอาจาริยวาสครับ
    ประสบการณ์ : ขณะ ที่บวชอยู่ทราบว่าพระป่าท่านจะไม่ค่อยซักจีวรกัน เพราะใช้ด้วยความระมัดระวัง และด้วยข้อจำกัดของการอยู่ป่า ท่านจึงมักครองซักระยะ แล้วใช้ต้มจีวร พร้อมแก่นขนุน หรือสีสังเคราะห์ครับ สีย้อมจีวรนี่คนนึกไม่ถึงกัน จึงไม่ค่อยได้ถวาย ขอแนะนำสีตรากิเลนครับ เพราะจะติดดี ใช้อัตราส่วน สีเหลืองทอง 2 กระป๋อง ต่อสีกรัก(สีอัลโกโซน) 1 กระป๋อง และบวกด้วยสีแดงนิดหน่อย ต่อจีวรหนึ่งผืนครับ ใครอยากถวายของหาได้ยาก งานนี้ได้เลย โมทนาด้วยครับ

    [​IMG]

    2. ครองจีวรต่างกัน มหานิกายมักจะห่มดอง โดยสังเกตุได้ว่าจะพันผ้ารัดอกทับสังฆาฏิ และมือสองข้างเป็นอิสระ โดยเฉพาะในงานพิธีการ นอกจากนั้น ก็ จะมีการห่มมังกร โดยหมุนผ้าลูกบวบทางขวาเวลาออกนอกวัด ส่วนเมือถึงเวลาทำสังฆกรรมจะคาดผ้าที่หน้าอก และมีผ้าสังฆาฏิพาดที่ไหล่ซ้าย แต่เหลือน้อยวัดแล้ว เช่นที่วัดสะเกศ เป็นต้น ส่วนธรรมยุติ จะห่มลูกบวบ โดยม้วนๆๆ ใส่ไว้ใต้รักแร้ข้างซ้าย เวลางานพิธีก็เพียงพันผ้ารัดอกทับไปเลย บางทีเรียกกันลำลองว่าห่มดองธรรมยุติ แต่เดี๋ยวนี้ความต่างน้อยลงเพราะ มีพระบัญชาของสมเด็จพระมหาสมณะเจ้ากรมพระวชิรญาณวโรรส ให้พระภิกษุทั่วสังฆมณฑลห่มผ้าตามแบบของธรรมยุติกนิกายทั้งหมด อีก ประการที่เหมือนกันคือ พระไทยจะห่มคลุมไหล่ทั้งสองข้างเมื่ออยู่นอกวัด และลดไหล่ซ้ายยามอยู่ในวัด ซึ่งแตกต่างจากของพม่าที่ทำตรงข้ามกัน


    [​IMG]

    การห่มผ้าของภิกษุที่มีผ้าประคดอกและสังฆาฏิพาดไหล่แบบมหานิกายแท้


    การครองผ้าจีวรเป็นปริมณฑล (ห่มครบไตรจีวร) ที่เรียกว่า "ห่มดอง" กระทำโดยมีการพับจีวรเป็นทบแล้วคลี่ทาบมาที่บ่าชั้นหนึ่งก่อน แล้วจึงนำผ้าสังฆาฎิซึ่งพับเป็นผืนยาวมาพาดไหล่ด้านซ้ายของผู้ห่มก่อนที่จะนำ "ผ้ารัดอก" มารัดบริเวณอกอีกชั้นหนึ่ง เป็นการห่มที่เป็นที่นิยมทั่วไปของพระสงฆ์มหานิกาย

    [​IMG]

    การห่มผ้าลดไหล่ของภิกษุแบบธรรมยุติ มีสังฆาฏิพาด "ห่มลดไหล่" "ห่มเฉียง" หรือ "ห่มเฉวียงบ่า" โดยนำผ้าจีวรผืนหนึ่งมาพันตัวโดยพันเข้าเข้าหาตัวหรือที่เรียกว่า "บิดขวา" เป็นการห่มแบบธรรมยุติ (ปัจจุบันพระสงฆ์ฝ่ายมหานิกายส่วนใหญ่นิยมห่มแบบธรรมยุติหรือแบบรามัญโดย "บิดซ้าย" หรือห่มผ้าลูกบวบหมุนซ้าย) <!--MsgEdited=4-->

    3. ปัจจัย อย่างที่ทราบกันว่า พระธรรมยุตินั้นจะไม่จับปัจจัย แต่สามารถรับใบโมทนาบัตรได้ ส่วนพระมหานิกายนั้น ไม่ถือในข้อนี้ ในหนังสือบูรพาจารย์เล่าว่า หลวงปู่มั่น เคยออกปากไล่พระอาคันตุกะ เพราะนำอสรพิษติดตัวมาด้วย ตอนแรกพระท่านก็งง แต่นึกออกภายหลังว่านำเงินติดใส่ย่ามมาด้วย ดร. สนอง วรอุไร ท่านสรุปว่าสองนิกายรับเงินได้ เพียงแต่มีวิธีคนและแบบเท่านั้นครับ แต่ก็ยังมีข้อยกเว้นนะครับ พระบางรูปท่านถือเรื่องเงินว่า เป็นเรื่องที่ท่านจะไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวเลย อย่าง ที่วัดมเหยงค์มีพระอาจารย์ที่ผมและทิดทั้งหลายนับถือมากท่านหนึ่ง ท่านไม่รับถวายปัจจัย ไม่ว่าในรูปแบบใดและข้าวของใดๆทั้งสิ้น นอกจากจำเป็นจริงๆ ท่านเป็นมหาเปรียญ ๗ ประโยค ผู้แตกฉานในพระไตรปิฎก แต่เร่งความเพียรในการภาวนา และอยู่อย่างเรียบง่ายยิ่งนัก เป็น พระสุปฎิปัณโณที่แท้จริง และสอนจริงทั้งทฤษฏี และ ปฏิบัติ แต่จะหาตัวยาก เพราะท่านมักออกธุดงค์ไปตามที่ต่างๆโดยเดินไป และไม่อาจติดต่อได้ ขอออกนามท่าน 'พระอาจารย์มหาสุชาติ สุชาโต' ด้วยความเคารพเหนือเกล้า (จิตตอนนี้นึกถึงพระมหากัสปะผู้เป็นเลิศในธุดงควัตร) แต่ การจับปัจจัย รับปัจจัยหรือไม่ ไม่อาจบ่งชี้ว่าท่านใดบริสุทธิ์หรือไม่นะครับ เพราะเป็นเพียงการแสดงออกของกายบัญญัติ มิใช่เจตนาปรมัตถ์ เช่นที่หลวงปู่แหวนเอาแบ๊งค์ห้าร้อยมามวนบุหรี่สูบ พระธรรมยุติสายป่าเองก็ปรับท่านอาบัติมิได้ โดยหลวงตามหาบัวท่านรับรองไว้


    [​IMG]


    4. ฉันในบาตร กริยานี้บางท่านก็ว่าเป็นข้อต่างของสองนิกาย เพราะธรรมยุติมักจะฉันในบาตร แต่พระมหานิกายรับบาตรแล้วแยกฉันในจาน ข้อนี้ก็ตอบยากเพราะมีวัดธรรมยุติที่ไม่ใช่สายป่าบางวัดก็ฉันในจาน และพระมหานิกายบางรูปที่ถือธุดงควัตรข้อนี้ก็ฉันแต่ในบาตร
    เกร็ด : ถ้าจะนำบาตรไปถวายพระป่า ควรเลือกปากกว้างซัก 9 นิ้ว และไม่มีขอบเพื่อกันเศษอาหารเข้าไปติดบูดเน่าได้นะครับ

    [​IMG]

    5. การรับบาตร และเก็บอาหาร พระสายป่าท่านจะเคร่งเรื่องนี้ครับ ว่ารับเฉพาะของที่ฉันได้ทันที ดังนั้นจะไม่รับของแห้งพวกข้าวสาร หรือของที่ฉันไม่ได้เช่น แปรงสีฟัน ใส่ในบาตร แม้เป็นเพียงการรับเชิงสัญลักษณ์ เช่นตักบาตรปีใหม่<O:p></O:p>
    ท่านจะเสี่ยงให้ถวายกับมือแทน หรือ ถวายเป็นสังฆทานกองรวมไป และ ก็จะไม่เก็บอาหารพ้นกาล เช่น อาหารทั่วไป ถึงเที่ยง น้ำปานะ หนึ่งวัน เภสัชห้า (น้ำผึ้ง น้ำอ้อย น้ำตาล เนยใส เนยข้น)เจ็ดวัน พ้นนี้ไปท่านไม่เก็บในกุฏิ แม้ไว้ให้ญาติโยม และไม่มีการนำมาประเคนใหม่ แต่ก็ไม่ใช่พระทั้งหมดที่ทำตามข้อวัตรนี้ และผู้ที่ถือตามนี้ก็มีทั้งสองนิกายด้วยเช่นกัน
    เกร็ด : พระอาจารย์เปลี่ยนท่านห่วงโยมว่าจะไม่เข้าใจเรื่องนี้ เลยเมตตาเขียนไว้เป็นคู่มือการถวายของพระครับพุทธศาสนิกชนควรอ่านทำความเข้าใจนะครับ หนังสือมีคุณค่ามากๆเล่มนึง

    [​IMG]

    6. พระธรรมยุติไม่ทำสังฆกรรมร่วมกับพระมหานิกายครับ เช่น การลงอุโบสถ อย่างที่หลวงปู่มั่นให้หลวงปู่ชาทำ คือ มาบอกบริสุทธิ์ กับท่านหลังจากพระธรรมยุติรูปอื่นๆ ชำระศีลผ่านขั้นตอนปาฏิโมกข์เรียบร้อยแล้วจึงเห็นได้ว่า ลูกศิษย์ที่เคยเป็นสายมหานิกาย ต้องทำการญัตติ หรือบวชเป็นพระ เริ่มนับพรรษาใหม่

    สรุป
    การ มองอย่างผิวเผินโดยการนำข้อวัตรของสองนิกายนี้มาเปรียบหาแต่ความแตกต่างกัน ทำได้ยากขึ้นทุกทีๆ เพราะมีการโน้มเข้ามาหากันมากขึ้น หรืออาจจะเกิดจาก perception ที่ตั้งไว้ผิดตั้งแต่ต้นอยู่แล้ว และ อีกอย่างการคิดในการหาข้อต่างอย่างเดียวอาจเสี่ยงให้เกิดการยึดมั่นในศรัทธา ต่อนิกายหนึ่งนิกายใด จนลืมไปว่าธรรมะของพระองค์ไม่มีแบ่งฝักแบ่งฝ่าย เพราะการแบ่งฝักแบ่งฝ่ายก็คือการมีตัวตนอยู่ในนั้น และสุดยอดของคำสอนคือการละตัวตนเพือมิให้มีกิเลสมาอาศัยเกาะได้ถึงตรงนี้ต้องกราบหลวงปู่มั่นงามๆที่เล็งเห็นในอันตรายนี้จึงห้ามมิให้ลูกศิษย์บางส่วนเช่น หลวงปู่ชาญัตติเข้าธรรมยุติครับ

    [​IMG]
    <O:p</O:p<O:p</O:p
    พระที่ดีน่านับถือ พระที่เป็นพระอริยะเจ้า พระที่นำสัตว์พ้นทุกข์มีอยู่ในทุกๆนิกาย ที่มีการรู้ทุกข์ ละสมุทัย แจ้งนิโรธ เจริญมรรค
    <O:p></O:p>
    http://www.watyaichaimongkol.net/index.php?mo=3&art=135587
    <O:p></O:p>
    �š�ä�����ٻ�Ҿ��� Google ����Ѻhttp://topicstock.pantip.com/religious/topicstock/2008/06/Y6724595/Y6724595-4.jpg
     
  2. เฮียปอ ตำมะลัง

    เฮียปอ ตำมะลัง ทุกสิ่งจบสิ้นลงด้วยความตาย วุ่นวายทำไม ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    24,969
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +91,130
    อ นุ โ ม ท น า ส า ธุ ..... ดีแล้วชอบแล้ว


    ขอบคุณมากครับ ... ธรรมทาน ดีดีครับ
     
  3. thaiboy74

    thaiboy74 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    175
    ค่าพลัง:
    +207
    เห็นหัวข้อกระทู้ตั้งแต่เริ่มเขียนใหม่ ๆ ตอนแรกไม่อยากไปแตะต้องเรื่องนิกายในประเทศไทย แต่อ่าน ๆ ดูแล้วข้อมูลที่สำคัญยังไม่ครบ เลยนำมาลงเพิ่มเติมให้

    ข้อมูลจาก Wiki หน้า ธรรมยุตินิกาย ธรรมยุตินิกาย - วิกิพีเดีย

    ธรรมยุต หรือ ธรรมยุติกนิกาย เป็นคณะหนึ่งของพระสงฆ์ในประเทศไทย เป็นฝ่าย วิปัสสนาธุระ ตั้งขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ โดยพระวชิรญาณเถระ ( เจ้าฟ้ามงกุฏ : พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ) และเมื่อถึงรัชกาลที่ 5 พ.ศ. 2445 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระบรมราชโองการ ให้ประกาศใช้พระราชบัญญัติลักษณะการปกครองคณะสงฆ์ขึ้น เป็นครั้งแรกในประเทศไทย พระราชบัญญัติฉบับนี้มีชื่อว่า “พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ รศ.121” มีสาระสำคัญคือได้ยกสถานะคณะธรรมยุติ ให้เป็นนิกายอย่างถูกต้องตามกฎหมาย
    นิกายธรรมยุต ตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อปฏิรูปและฟื้นฟูด้านวัตรปฏิบัติของสงฆ์ ให้มีความถูกต้องและเข้มงวดตามพุทธบัญญัติ ให้พระภิกษุสงฆ์มีวัตรปฏิบัติที่เคร่งครัดถูกต้องตามพระวินัยปฏิบัติในสิ่งที่ถูกต้องดีงาม ศึกษาพระปริยัติธรรมอย่างเข้าใจแจ่มแจ้ง เป็นการฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในส่วนที่บกพร่องของพระสงฆ์ไทยที่มีมาแต่โบราณ ให้สมบูรณ์ทั้งพระวินัยปิฎกและพระสุตตันตปิฎก ซึ่งเป็นความพยายามของพระวิชรญาณเถระเพื่อช่วยปฏิรูปการคณะสงฆ์และเผยแผ่พระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองอย่างบริบูรณ์ขึ้นในประเทศไทย
    การก่อตั้งคณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกาย เป็นสาเหตุทำให้พระสงฆ์เถรวาทอื่นซึ่งเป็นพระสงฆ์ส่วนใหญ่ที่ไม่ใช่คณะธรรมยุติ ถูกพระวชิรญาณเถระเรียกว่า "มหานิกาย" อีกด้วย ซึ่งคำว่ามหานิกายนี้ได้ถูกนำมาใช้เรียกพระสงฆ์สายเถรวาทลังกาวงศ์อื่นในประเทศไทยมาจนถึงปัจจุบัน

    ประวัติ

    การก่อตั้ง

    คณะธรรมยุตตั้งขึ้น โดยพระวชิรญาณเถระ ( เจ้าฟ้ามงกุฏ : พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ขณะดำรงพระยศเป็นเจ้าฟ้ามงกุฏ ) ได้พบเห็นข้อวัตรปฏิบัติของพระสงฆ์ที่ย่อหย่อนคลาดเคลื่อนไปจากกพระธรรมวินัยเป็นอันมาก ภายหลังจากที่ได้ทรงวิสาสะกับพระมอญ ชื่อ ซาย ฉายา พุทฺธวํโส ซึ่งได้อธิบายหลักปฏิบัติตามหลักพระวินัยได้ชัดเจนเป็นที่พอพระทัย จึงได้ทรงอุปสมบทใหม่ เมื่อ พ.ศ. 2372 ภายหลังที่ทรงแก้ไขข้อวัตรปฏิบัติต่าง ๆ ให้ถูกต้องตรงตามพระวินัยแล้ว ก็ได้มีพระภิกษุเลื่อมใสเข้ามาขอศึกษาอยู่ด้วย จำนวนผู้เลื่อมใสในความเคร่งครัดของเจ้าฟ้ามงกุฎเพิ่มจำนวนขึ้นจนนำไปสู่การรวมตัวกัน เรียกว่าคณะธรรมยุตขึ้นในปี พ.ศ. 2376 ภายหลังได้เสด็จมาประทับที่วัดบวรนิเวศวิหาร และตั้งเป็นศูนย์กลางของคณะธรรมยุต

    พัฒนาการของธรรมยุติกนิกาย



    แบ่งพัฒนาการของธรรมยุติกนิกายเป็น 2 ช่วงคือ
    • ระยะที่ 1 การก่อตั้ง (พ.ศ. 2367 - 2379) หลังจากวชิรญาณภิกษุตั้งนิกายใหม่ขึ้นมาแล้ว พระองค์เจ้าฤกษ์ซึ่งมาบวชที่วัดมหาธาตุเป็นพระธรรมยุตองค์แรกที่ห่มแหวกแบบรามัญเข้าไปรับบิณฑบาตรในพระราชวัง และถูกรัชกาลที่ 3 ตำหนิ วชิรญาณภิกษุจึงห่มแหวกบ้างและย้ายจากวัดมหาธาตุไปจำพรรษาที่วัดสมอราย ในขณะเดียวกันรัชกาลที่ 3 ทรงพยายามควบคุมคณะสงฆ์มากขึ้น โดยทรงแต่งตั้งกรมหมื่นไกรสรวิชิตให้กำกับกรมสังฆการี และสถาปนาให้กรมหมื่นปรมานุชิตชิโนรสเป็นเจ้าคณะกลางปกครองวัดในกรุงเทพฯทั้งหมด 61 วัด ให้มีระเบียบยิ่งขึ้น รวมทั้งการปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพนเมื่อ พ.ศ. 2377 ในที่สุดทรงให้วชิรญาณภิกษุมาประทับที่วัดบวรนิเวศวิหาร
    • ระยะที่ 2 การขยายตัวหลังจากวชิรญาณภิกษุมาประทับที่วัดบวรนิเวศวิหาร มีวัดสังกัดธรรมยุติกนิกายมากขึ้น เพราะรัชกาลที่ 3 ทรงให้การรับรองวชิรญาณภิกษุเท่ากับรับรองความชอบธรรมของธรรมยุติกนิกายไปด้วย
    วัดบวรนิเวศวิหารเมื่อวชิรญาณภิกษุเสด็จมาประทับได้เป็นศูนย์กลางของการเผยแพร่พระพุทธศาสนาด้วยเทคโนโลยี เมื่อวชิรญาณภิกษุทรงสร้างโรงพิมพ์ขึ้นในวัดเพื่อพิมพ์หนังสือเกี่ยวกับพุทธศาสนา และพัฒนาตัวพิมพ์อักษรไทยที่มิชชันนารีคิดขึ้นก่อนหน้านี้ให้สมบูรณ์ และยังประดิษฐ์อักษรอริยกะเพื่อใช้พิมพ์ภาษาบาลีแทนอักษรขอมด้วย

    สำหรับที่มาของธรรมยุติและมหานิกายได้อธิบายถึงที่มาที่ไปตาม chronology ไว้ในบทความข้างต้นเรียบร้อยแล้ว
    ขอท่านทั้งหลายจงทัศนา
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 มกราคม 2010
  4. โป๊ยเซียนสาว

    โป๊ยเซียนสาว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,543
    ค่าพลัง:
    +2,279
    ขอบคุณค่ะ ที่มาเพิ่มเติมเนื้อหาในกระทู้นี้ให้มีน้ำหนักขึ้น ^__^



    .
     

แชร์หน้านี้

Loading...