หลวงปู่พิบูลย์ถูกถ่วงน้ำไม่ตาย

ในห้อง 'ประสบการณ์ เรื่องเล่า' ตั้งกระทู้โดย มากับพระครับ, 26 ตุลาคม 2009.

  1. มากับพระครับ

    มากับพระครับ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,153
    ค่าพลัง:
    +1,836
    ข้าพเจ้าขอถวายบังคมสมเด็จพระนเรศวรมหาราชเนื่องในวันกองทัพไทย...

    [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 มกราคม 2010
  2. มากับพระครับ

    มากับพระครับ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,153
    ค่าพลัง:
    +1,836
    วันนี้เมื่อปีพศ.๒๕๕๑หลวงปู่เจือ ปิยสีโล ได้ประกอบพิธีบวงสรวงวัตถุมงคลรุ่นรักชาติ ณ.วัดใหญ่ชัยมงคล ดินแดนศักดิ์สิทธิ์แห่งสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เพื่อเทิดพระเกีรติของพระองค์และปลุกจิตสำนึกของชาวไทยให้เกิดกระแสรักชาติที่ทุกท่านดูเหมือนจะละเลยกันไปหมดแล้ว
     
  3. ซักวันจะคิดออก

    ซักวันจะคิดออก เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    5,556
    ค่าพลัง:
    +6,329
    วัดใดครับ วานบอกน้องด้วย

    เผื่อว่าน้องจะว่างไปกราบท่านบ้าง

    น้องคงไม่เข้าไปรบกวนท่านมากนัก แค่ได้กราบในระยะสายตาท่านก็เพียงพอครับผม
     
  4. โก๋เอี่ยม

    โก๋เอี่ยม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    1,784
    ค่าพลัง:
    +730
    อ่อ วันนี้วันกองทัพเหรอ เราจะไปบุกไหนดีพี่ อิ อิ
     
  5. มากับพระครับ

    มากับพระครับ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,153
    ค่าพลัง:
    +1,836

    ก่อนที่จะนำภาพประกอบพร้อมเรื่องราวของวัตถุมงคลรุ่นรักชาติมาบอกเล่าขอนำเรื่องราวของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชที่เกี่ยวข้องกับวัดใหญ่ชัยมงคลและสมเด็จพระพนรัตน์วัดป่าแก้วมากล่าวถึงเสียก่อน
     
  6. กำยาน

    กำยาน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    214
    ค่าพลัง:
    +619
    เห็นสายตาท่านละหนาวเลย แบบนี้ใช่ไหมครับพี่เอกที่เรียก คมในฝัก :cool:
     
  7. มากับพระครับ

    มากับพระครับ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,153
    ค่าพลัง:
    +1,836

    <TABLE height=65 cellSpacing=0 cellPadding=5 width=774 bgColor=white background=http://www.igetweb.com/www/watyai/private_folder/theme/4_0_theme_top.png><TBODY><TR><TD align=middle>ประวัติวัดใหญ่ชัยมงคล
    พระมหานัธนิติ สุมโน* </TD></TR></TBODY></TABLE><!--end top--><!--body--><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=5 width=774 bgColor=white background=http://www.igetweb.com/www/watyai/private_folder/theme/4_0_theme_body.png valign="top"><TBODY><TR><TD width=150>เลือกอ่านตามหัวข้อ
    [ ก่อเกิดคณะป่าแก้ว ]
    [ วัดเจ้าพระยาไทยคณะป่าแก้ว ]
    [ พระเจดีย์ชัยมงคล ]
    [ ผู้สร้างวัดป่าแก้ว ]
    [ ผู้สร้างวัดใหญ่ชัยมงคล ]
    [ ย้อนมองกลับหลัง ]
    [ วัดใหญ่ชัยมงคลในปัจจุบัน ]
    </TD><TD vAlign=top align=left width=624>
    กำเนิดวนวาสี

    อนิจจังของพุทธศาสนาในลังกาทวีป
    </TD></TR><TR><TD vAlign=top colSpan=2>ใน พ.ศ. ๒๗๕ พระเจ้าอโศกมหาราชได้ราชาภิเษกเป็นพระเจ้าราชาธิราชปกครองมคธราษฎร์ทรงเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่งและทรงทำนุบำรุงพระภิกษุสงฆ์ในพระพุทธศาสนายิ่งกว่านักบวชในศาสนาอื่นๆ ทำให้นักบวชนอกพระพุทธศาสนาที่เรียกว่า “เดียรถีย์”ปลอมตนเข้าบวชเป็นพระภิกษุด้วยหวังลาภสักการะเป็นอันมาก จนเกิดแตกสามัคคีเพราะรังเกียจกันในหมู่สงฆ์ จึงมีการไต่สวนและกำจัดพวกเดียรถีร์ออกเสียจากภิกษุภาวะ พระสงฆ์ที่ทรงธรรมวินัยโดยถ่องแท้ได้พร้อมกันทำตติยสังคายนา ที่เมืองปาตลีบุตร มี พระโมคคลีบุตรติสเถระ เป็นประธาน ในพระราชูปถัมภ์ของ พระเจ้าอโศกมหาราช

    หลังจากทำตติยสังคายนาแล้วได้จัดส่งพระเถรานุเถระไปสั่งสอนพระพุทธศาสนาในนานาประเทศ ๙ สายด้วยกัน คือ

    ๑. พระมัชฌันติก ไปประเทศกัสมิระ และคันธาระ(แคว้นแคชเมียร์ และอาฟฆานิสถาน)
    ๒. พระมหาเทว ไปมหิสมณฑล (ไมสอ)
    ๓. พระรักขิต ไปวนวาสีประเทศ (เหนือบอมเบข้างใต้)
    ๔. พระธรรมรักขิต ไปอปรันตกประเทศ (ชายทะเลเหนือบอมเบ)
    ๕. พระมหาธรรมรักขิต ไปมหารัฐประเทศ (ห่างบอมเบไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ)
    ๖. พระมหารักขิต ไปโยนกโลกประเทศ (อยู่ในเปอร์เชีย)
    ๗. พระมัชฌิม ไปหิมวันตประเทศ (ในหมู่เขาหิมาลัย)
    ๘. พระโสณะ และ พระอุตตระ ไปสุวรรณภูมิประเทศ (ไทย)
    ๙. พระมหินทเถระ ไปลังกาทวีป

    ในลังกาทวีปการพระพุทธศาสนาได้เจริญรุ่งเรืองเป็นอย่างยิ่งทั้งนี้โดยความอุปการะช่วยเหลือของ พระเจ้าอโศกมหาราช
    อย่างไรก็ดี เมื่อเวลาล่วงไปลังกาทวีปได้ถูกพวกทมิฬ ซึ่งเป็นชนชาติหนึ่งอยู่ตอนใต้ปลายแหลมชมพูทวีปมาแต่เดิมรุกราน และมีอำนาจเหนือลังกาทวีปหลายครั้งประการหนึ่ง การแย่งราชสมบัติรบราฆ่าฟันกันเองประการหนึ่ง ทำให้การพระพุทธศาสนาในลังกาทวีปปั่นป่วน และแตกแยกเป็นหลายลัทธิ และบางทีก็เสื่อมลงถึงที่สุด จนไม่มีพระเถระสำหรับบวชกุลบุตร และสืบพระศาสนา ต้องส่งทูตไปขอพระเถระจากต่างประเทศ เข้าไปบวชกุลบุตรเป็นหลายครั้ง รวมทั้งประเทศไทยด้วย

    ในระหว่าง พ.ศ. ๑๘๙๐-๑๙๒๙พระพุทธศาสนาเสื่อมลงอย่างมาก เพราะเกิดพวกอลัชชี ถึงกับต้องชุมนุมสงฆ์ชำระและกำจัดภิกษุอลัชชีหลายคราว

    เหตุที่เกิดอลัชชีมี ๒ ประการ คือ
    ๑. ลังกาทวีปถือพระพุทธศาสนาก็จริง แต่ได้รับขนบธรรมเนียมอย่างอื่นมาจากชมพูทวีปด้วย โดยเฉพาะการถือชั้นวรรณะตามคติของพราหมณ์ เมื่อพระเจ้าแผ่นดินสิงหฬมีอำนาจมากก็กีดกันคนชั้นต่ำเข้าบวชเป็นพระภิกษุสงฆ์ ครั้นอำนาจของพระเจ้าแผ่นดินสิงหฬเสื่อมทราม คนชั้นต่ำก็เข้าบวชมาก ผู้ดีบวชน้อยลง
    ๒. ระหว่าง พ.ศ. ๔๓๙-พ.ศ. ๔๕๕ พระเจ้าวัฏคามินีอภัย เสียราชธานีแก่พวกทมิฬ เที่ยวหลบหนีอยู่ในมลัยประเทศ ไม่มีพระราชทรัพย์ทำนุบำรุงพระสงฆ์ จึงทรงอุทิศที่ดินพระราชทานแทนเรียกว่า “ที่กัลปนา” (นับเป็นครั้งแรก) ให้ราษฎรซึ่งอาศัยได้ผลประโยชน์จากที่ดินนั้น ทำการอุปการะตอบแทนแก่พระสงฆ์ จึงเป็นราชประเพณีสืบต่อมา
    </TD></TR></TBODY></TABLE><!--end body--><!--bottom--><TABLE height=448 cellSpacing=0 cellPadding=5 width=774 bgColor=white background=http://www.igetweb.com/www/watyai/private_folder/theme/4_0_theme_bottom.png><TBODY><TR><TD vAlign=top width=387>เมื่อคน ชั้นเลวเข้าบวชมากขึ้น พระภิกษุพวกนี้ก็ขวนขวายหาลาภสักการจากที่ดินเลี้ยงตน ถึงกับเอาลูกหลานบวชไว้สำหรับครองอารามอย่างรับมรดก การบำเพ็ญกิจแห่งสมณะตามพระธรรมวินัยก็หย่อนยาน

    ด้วยเหตุ ๒ ประการดังกล่าว จึงเกิดพระสงฆ์พวกหนึ่งเรียกว่า “วนวาสี” ซึ่งถือความสันโดษ ไม่ข้องแวะต่อการแสวงหาลาภสักการมาบำรุงรักษาอาราม

    ปรากฏในตอนหลังๆ ว่า ชาวลังกาทวีปนับถือพระสงฆ์ฝ่ายวนวาสีมาก แต่พระภิกษุฝ่ายคามวาสีที่ดีก็คงมีจึงนิยมเป็นสงฆ์ ๒ ฝ่ายวนวาสี ก็คือ อรัญวาสี นั่นเอง และเป็นแบบอย่างมาถึงประเทศไทยเราด้วย
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  8. มากับพระครับ

    มากับพระครับ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,153
    ค่าพลัง:
    +1,836
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=5 width=774 bgColor=white background=http://www.igetweb.com/www/watyai/private_folder/theme/4_0_theme_body.png valign="top"><TBODY><TR><TD width=150>เลือกอ่านตามหัวข้อ
    [ กำเนิดวนวาสี ]
    [ วัดเจ้าพระยาไทยคณะป่าแก้ว ]
    [ พระเจดีย์ชัยมงคล ]
    [ ผู้สร้างวัดป่าแก้ว ]
    [ ผู้สร้างวัดใหญ่ชัยมงคล ]
    [ ย้อนมองกลับหลัง ]
    [ วัดใหญ่ชัยมงคลในปัจจุบัน ]
    </TD><TD vAlign=top align=left width=624>
    ก่อเกิดคณะป่าแก้ว
    จากลังกาทวีป สู่สยามประเทศ
    </TD></TR><TR><TD vAlign=top colSpan=2> เมื่อได้มีการกำจัดพวกอลัชชีแล้ว คงจะได้มีการวางระเบียบแบบแผนสังฆมณฑลเรียบร้อยขึ้น จนกิตติศัพท์เลื่องลือมาถึงประเทศไทย มอญ เขมร และลานนาไทย จึงมีพระภิกษุพากันออกไปบวชแปลงเป็นพระสงฆ์ใน สิงหฬนิกาย กันมาก

    หนังสือตำนานโยนก ว่า[1]

    <TABLE height=223 cellSpacing=1 cellPadding=1 width=700 align=center summary=โยนก border=0><TBODY><TR><TD>"เมื่อราวปีขาล จุลศักราช ๗๘๔ พ.ศ ๑๙๖๕ ตรงในสมัยเมื่อสมเด็จพระอินทราชาธิราชที่ ๑ ครองราชย์สมบัติ ณ กรุงศรีอยุธยา

    มีพระภิกษุทางประเทศนี้หมู่หนึ่ง หัวหน้าเป็นพระมหาเถรชาวเชียงใหม่ ๗ รูป ชื่อพระธรรมคัมภีร์ ๑ พระเมธังกร ๑ พระญาณมังคละ ๑ พระสีลวงศ์ ๑ พระสาริบุตร ๑ พระรัตนากร ๑ พระพุทธสาคร ๑ เป็นพระมหาเถรชาวกรุงศรีอยุธยา ๒ รูป ชื่อพระพรหมมุนี ๑ พระโสมเถร ๑ เป็นพระมหาเถรชาวกรุงกัมพูชา ชื่อพระญาณสิทธิ์รูป ๑ พระภิกษุบริษัทเป็นอันมากพากันออกไปเมืองลังกา ไปอุปสมบทแปลงเป็นสิงหฬนิกาย ณ อุทกเขปสีมาที่แม่น้ำกัลยาณี ในสำนักพระวันรัตมหาเถร เมื่อ ณ วันเสาร์ ขึ้น ๑๒ ค่ำ เดือน ๘ อุตราสาฒ ปีมะโรง จุลศักราช ๗๘๖ พ.ศ. ๑๙๖๗ แล้วศึกษาธรรมวินัยอยู่ในลังกาทวีปอยู่หลายปี

    เมื่อกลับมาได้นิมนต์พระมหาเถรชาวลังกามาด้วย ๒ รูป ชื่อพระมหาวิกรมพาหุ รูป ๑ พระอุดมปัญญา รูป ๑ มาขึ้นที่กรุงศรีอยุธยาก่อน แล้วแยกย้ายกันไปเที่ยวตั้งนิกายลังกาขึ้นอีกนิกายหนึ่ง เรียกว่า วันรัตนวงศ์ แปลเป็นภาษาไทยเรียกว่า คณะป่าแก้ว (ชาวเชียงใหม่เรียกว่า ป่าแดง)"
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    แต่ก็ยังมีความเห็นที่แตกต่างกันเช่น ในพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา ว่า[2]

    <TABLE cellSpacing=1 cellPadding=1 width=700 align=center summary=ราชพงศาวดาร border=0><TBODY><TR><TD>"ได้ความตามหนังสือในตำนานที่ปรากฏอยู่ในเมืองเชียงใหม่ดังนี้ เชื่อได้ว่าพระสงฆ์นิกายป่าแก้วมีขึ้นครั้งนั้นเป็นปฐม

    แต่ความที่ปรากฏทางเมืองนครศรีธรรมราชและเมืองพัทลุง วัดนิกายป่าแก้วนี้มีในหัวเมืองแถบนั้นมาก เห็นพระสงฆ์นิกายเมืองป่าแก้วจะมาแพร่หลายทางหัวเมืองเหล่านั้นก่อน แล้วจึงขึ้นมาถึงกรุงศรีอยุธยา จึงได้เรียกพระสงฆ์คณะป่าแก้วที่ขึ้นสมเด็จพระวันรัตนว่า คณะใต้ พระสงฆ์นิกายนี้คงจะปฏิบัติเคร่งครัดทางแสดงธรรมวินัย กว่าพระสงฆ์ลังกาวงศ์ซึ่งอยู่มาแต่ก่อน จึงทำให้เจริญความเลื่อมใสกันขึ้น เมื่อในแผ่นดินสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ"
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ทรงผนวชใน คณะป่าแก้ว เห็นจะเลื่องลือพระเกียรติยศมาก เป็นเหตุให้พระเจ้าแผ่นดินประเทศอื่น ขวนขวายการบำเพ็ญอุปถัมภกพระศาสนาเป็นพิเศษบ้าง เช่น พระรามาธิบดี (ปิฎกธร) กรุงหงสาวดี ส่งพระภิกษุสงฆ์ออกไปอุปสมบทแปลงที่ลังกา เมื่อ พ.ศ. ๒๐๑๘ เมื่อพระสงฆ์เหล่านั้นกลับเข้ามาแล้ว บังคับให้พระสงฆ์ในรามัญประเทศแปลงเป็นนิกายเดียวกันจนหมด
    </TD></TR></TBODY></TABLE><!--end body--><!--bottom--><TABLE height=448 cellSpacing=0 cellPadding=5 width=774 bgColor=white background=http://www.igetweb.com/www/watyai/private_folder/theme/4_0_theme_bottom.png><TBODY><TR><TD vAlign=top width=387>พระเจ้าติโลกราช เมืองเชียงใหม่ก็ตั้งพิธีทำสังคายนาพระไตรปิฎก ซึ่งนับว่าเป็นครั้งที่ ๘ เมื่อ พ.ศ. ๒๐๒๐ เป็นต้น ซึ่งดูจะเนื่องมาจากการที่สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ทรงผนวชขึ้นก่อนทั้งสิ้น

    ยิ่งกว่านั้นยังปรากฏว่า ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๐๐๗ เป็นต้นมา ได้นำพระราชโอรส พระราชนัดดา ตลอดจนเจ้านายลูกผู้ลากมากดีบวชกันมากจนกลายเป็นธรรมเนียมสืบมา ถือกันว่าเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษา ประเพณีบวชนี้ ได้แพร่หลายนิยมตามกันมาถึงในหมู่คนสามัญด้วย


    หมายเหตุ :
    [1] บทความเรื่องนี้ใช้อักขรวิธีตามต้นฉบับ

    [2] สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ, พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  9. มากับพระครับ

    มากับพระครับ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,153
    ค่าพลัง:
    +1,836
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=5 width=774 bgColor=white background=http://www.igetweb.com/www/watyai/private_folder/theme/4_0_theme_body.png valign="top"><TBODY><TR><TD width=150>เลือกอ่านตามหัวข้อ
    [ กำเนิดวนวาสี ]
    [ ก่อเกิดคณะป่าแก้ว ]
    [ พระเจดีย์ชัยมงคล ]
    [ ผู้สร้างวัดป่าแก้ว ]
    [ ผู้สร้างวัดใหญ่ชัยมงคล ]
    [ ย้อนมองกลับหลัง ]
    [ วัดใหญ่ชัยมงคลในปัจจุบัน ]
    </TD><TD vAlign=top align=left width=624>
    วัดเจ้าพระยาไทยคณะป่าแก้ว
    วัดใหญ่ชัยมงคลครั้งบรรพกาล
    </TD></TR><TR><TD vAlign=top colSpan=2>อนึ่งพระสงฆ์ไทยที่ไปบวชแปลงที่สำนักพระวันรัตนวงศ์ในลังกา ที่เรียกเป็นภาษาไทยว่า “คณะป่าแก้ว” นั้น เมื่อเข้ามาถึงกรุงศรีอยุธยาก็ได้เข้าพักอยู่ในวัดเจ้าพระยาไทยซึ่งเป็นอรัญวาสีอยู่ก่อนแล้ว</TD></TR></TBODY></TABLE><!--end body--><!--bottom--><TABLE height=448 cellSpacing=0 cellPadding=5 width=774 bgColor=white background=http://www.igetweb.com/www/watyai/private_folder/theme/4_0_theme_bottom.png><TBODY><TR><TD vAlign=top width=387>เมื่อคณะ ป่าแก้วเข้ามาก็ทำให้เพิ่มความคึกคักในการปฏิบัติธรรมกันฝ่ายนี้กันมากขึ้น วัดเจ้าพระยาไทยจึงเป็นวัดชั้นนำทางด้านอรัญวาสี พระเถระที่เป็นหัวหน้าควบคุมจึงได้นามว่า “สมเด็จพระวันรัตน” (พระพนรัตน์) ตามพระนามพระวันรัตนมหาเถระซึ่งเป็นอาจารย์ในลังกาทวีป

    การที่คณะ ป่าแก้วเข้ามีเมืองไทยนั้น ได้จัดเป็นคณะหนึ่งต่างหาก ผู้คนจะเลือกศึกษาได้ตามสมัครใจไม่บังคับเหมือนในเมืองมอญ ฉะนั้น ในชั้นแรกจึงเรียกชื่อวัดว่า “วัดเจ้าพระยาไทยคณะป่าแก้ว” ภายหลังจึงได้เหลือ วัดป่าแก้ว แต่อย่างเดียว

    อย่างไรก็ดี เนื่องจาก วัดเจ้าพระยาไทย หรือ วัดป่าแก้ว เป็นพระอารามหลวงมีพระเจ้าแผ่นดินเจ้านายเข้าทรงผนวช และเป็นที่ประกอบการพระราชพิธีบางอย่าง รวมทั้งใหญ่โตกว้างขวาง ชาวบ้านจึงได้เรียกกันว่า “วัดใหญ่” มาแต่แรกสร้าง


    </TD><TD width=387> </TD></TR></TBODY></TABLE><!--end bottom--><!--shadow-->
     
  10. มากับพระครับ

    มากับพระครับ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,153
    ค่าพลัง:
    +1,836
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=5 width=774 bgColor=white background=http://www.igetweb.com/www/watyai/private_folder/theme/4_0_theme_body.png valign="top"><TBODY><TR><TD width=150>เลือกอ่านตามหัวข้อ
    [ กำเนิดวนวาสี ]
    [ ก่อเกิดคณะป่าแก้ว ]
    [ วัดเจ้าพระยาไทยคณะป่าแก้ว ]
    [ ผู้สร้างวัดป่าแก้ว ]
    [ ผู้สร้างวัดใหญ่ชัยมงคล ]
    [ ย้อนมองกลับหลัง
    [ วัดใหญ่ชัยมงคลในปัจจุบัน ]
    </TD><TD vAlign=top align=left width=624>
    พระเจดีย์ชัยมงคล
    โทษตายกลายเป็นสร้างบุญ
    </TD></TR><TR><TD vAlign=top colSpan=2>เมื่อสมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงกระทำยุทธหัตถีได้ชัยชนะพระมหาอุปราชาแห่งพม่าแล้ว ได้ทรงมีพระราชศรัทธาบูรณะปฏิสังขรณ์วัดใหญ่ขึ้นเป็นงานใหญ่ พร้อมทั้งได้ทรงสร้างพระเจดีย์ชัยมงคลเป็นเครื่องเฉลิมพระเกียรติอีกด้วย

    ชัยชนะในสงครามยุทธหัตถีในครั้งนั้น เป็นชัยชนะครั้งสำคัญที่สุด นับตั้งแต่ สมเด็จพระนเรศวรได้ทรงประกาศอิสรภาพของชาติไทยที่เมืองแครง เมื่อปีวอก พุทธศักราช ๒๑๒๗ หลังจากที่ประเทศไทยต้องตกอยู่ใต้อำนาจของชาติอื่นมาเป็นเวลาถึง ๑๕ ปี

    จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างอนุสรณ์แห่งชัยชนะครั้งนี้ขึ้นสองแห่งเป็นพระสถูปเจดีย์ตรงที่ทรงยุทธหัตถีกับ พระมหาอุปราชา แห่งหนึ่ง และทรงสร้างพระมหาสถูปคือ พระเจดีย์ชัยมงคลขึ้นที่ วัดป่าแก้ว เป็นเหตุสำคัญ

    นอกจากนั้นก็ยังมีเหตุอื่น อีกด้วย สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้ทรงพระนิพนธ์ไว้ในหนังสือพระราชประวัติสมเด็จพระนเรศวร ว่า

    <TABLE cellSpacing=1 cellPadding=1 width=700 align=center summary=ทุษฐคามินี border=0><TBODY><TR><TD>“ยังมีของ โบราณอยู่บางสิ่งซึ่งชวนให้เห็นว่า เมื่อสมเด็จพระวันรัตทูลขอโทษข้าราชการแล้ว ได้ทูลแนะนำ สมเด็จพระนเรศวร ให้เฉลิมพระเกียรติที่มีชัยครั้งนั้นด้วยทรงบำเพ็ญกุศลกรรม และคงยกเรื่องประวัติพระเจ้าทุษฐคามมินีมหาราชอันมีในคัมภีร์มหาวงศ์ พงศาวดารลังกาทวีปมาทูลถวายเป็นตัวอย่าง ในเรื่องนั้นว่า

    <TABLE cellSpacing=1 cellPadding=1 width=500 align=center summary="" border=0><TBODY><TR><TD>"เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๘ พวกทมิฬมิจฉาทิฎฐิยกกองทัพข้ามมาจากชมพูทวีป มาตีได้เกาะลังกาแล้วครอบครองบ้านเมืองอยู่หลายปี ทุษฐคามนีกุมาร ราชโอรสของ พระเจ้ากากะวรรณดิศ ซึ่งเป็นกษัตริย์สิงหฬพระพุทธศาสนาหนีไปอยู่บนเขา พยายามรวบรวมรี้พลยกไปตีเอาบ้านเมืองคืน ได้รบเอา พระยาเอฬาระทมิฬ ซึ่งครองเมืองลังกา ถึงชนช้างกันตัวต่อตัวที่ชานเมืองอนุราธธานี

    ทุษฐคามินีกุมาร มีชัยชนะฆ่า พระยาเอฬาระทมิฬ ตายกับคอช้าง ได้เมืองลังกาคืนจากพวกมิจฉาทิฏฐิ มีพระเกียรติเป็นมหาราชสืบมาในพงศาวดาร เมื่อ พระเจ้าทุษฐคามนี ทำยุทธหัตถมีชัยครั้งนั้น โปรดเกล้าฯ ให้สร้างเจดีย์ขึ้น ไว้เป็นอนุสรณ์ตรงที่ชนช้างกับ พระยาเอฬาระทมิฬ องค์หนึ่ง แล้วให้สร้างพระมหาสถูปอันมีนามว่า “มริจิวัตรเจดีย์” ขึ้นที่เมืองอนุราธบุรีอีกองค์หนึ่ง เฉลิมพระเกียรติปรากฏสืบมากว่าพันปี"
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    สมเด็จพระ นเรศวร ทรงพระราชดำริเห็นชอบด้วย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระสถูปเป็นอนุสรณ์ไว้ในทุ่งหนองสาหร่าย ตรงที่ทรงทำยุทธหัตถีกับพระมหาอุปราชาองค์หนึ่ง แล้วทรงสร้างพระมหาสถูปขึ้นไว้ที่วัดป่าแก้ว ขนานนามว่า “ชัยมงคลเจดีย์” อีกองค์หนึ่ง (คือพระเจดีย์พระองค์ใหญ่ที่อยู่ทางฝ่ายตะวันออกทางรถไฟ แลเห็นเมื่อก่อนเข้าเขตพระนครศรีอยุธยา)”

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    นอกจากนั้น ยังมีอีกเหตุหนึ่งซึ่งคงจะเป็นเครื่องชักจูงพระราชหฤทัย ให้ทรงสร้างพระมหาสถูปนี้อยู่ไม่น้อย เมื่อพุทธศักราช ๒๑๑๒ พระเจ้าหงสาวดีบุเรงนอง ตีได้กรุงศรีอยุธยาในรัชกาล สมเด็จพระมหินทราธิราช ครั้งนั้นไทยได้รับความเสียหายแสนสาหัส ข้อความในพระราชพงศาวดารแสดงให้เห็นความอัปยศนี้อยู่เป็นอย่างดียิ่ง

    <TABLE cellSpacing=1 cellPadding=1 width=700 align=center summary="" border=0><TBODY><TR><TD>ในชัยชนะ ครั้งนั้น พระเจ้าหงสาวดีบุเรงนอง ได้ให้สร้างพระเจดีย์ใหญ่แบบมอญขึ้น ไว้เป็นอนุสรณ์ที่วัดซึ่ง สมเด็จพระราเมศวรสร้างไว้นอกพระนครทางด้านเหนือ และให้เรียกพระเจดีย์นั้นว่า “ภูเขาทอง” เป็นเหตุให้ชาวบ้านเรียกวัดนั้นว่า “วัดภูเขาทอง”

    ต่อมาพระเจดีย์ภูเขาทองนั้น นอกจากจะเป็นอนุสรณ์แห่งชัยชนะของพระเจ้าหงสาวดีบุเรงนองแล้ว ยังเป็นเครื่องเตือนใจคนไทยทั้งปวง ให้ระลึกถึงความอัปยศอดสูในครั้งนั้นอีกด้วย
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    สมเด็จพระนเรศวรมหาราช จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระมหาสถูปชัยมงคลที่วัดพระยาไทย มีขนาดสูงกว่าพระเจดีย์ภูเขาทอง ทั้งนี้เพื่อจะได้เป็นเครื่องล้างความอัปยศอดสูของชาติไทย และเป็นเครื่องให้เกิดกำลังใจแก่คนไทยทั้งชาติอีกด้วย นับว่าเป็นพระบรมราโชบายอันลึกซึ้ง และมีประโยชน์ต่อชาติไทยจนตราบทุกวันนี้

    พระเจดีย์ชัยมงคล จึงนับเป็นปูชนียวัตถุอันสำคัญยิ่งอย่างหนึ่งของชาติไทย เพราะเป็นนิมิตรหมายของเอกราชของชาติ เป็นเครื่องเตือนใจให้ระลึกถึงความกล้าหาญเสียสละ ที่สมเด็จพระมหาวีรราชเจ้าและวีรบุรุษของชาวไทยได้มีมาในอดีต อันเป็นผลตกทอดมาถึงคนไทยทุกคนในปัจจุบันนี้ในวิถีแห่งชีวิตทุกทาง นอกจากนั้นยังเป็นเครื่องหมายแห่งชาวไทยทั้งมวล ที่ได้ร่วมมือกันกอบกู้เอกราชของชาติและธำรงไว้ซึ่งเอกราชนั้นตลอดมา เป็นสิ่งเตือนใจให้คนรุ่นหลังได้ทำกิจการงานทั้งปวงตามหน้าที่ของแต่ละบุคคล โดยสุจริตและความพากเพียร เพื่อให้ชาติไทยนั้นได้อยู่ได้โดยเสรีและเป็นปกติสุข
    </TD></TR></TBODY></TABLE><!--end body--><!--bottom--><TABLE height=448 cellSpacing=0 cellPadding=5 width=774 bgColor=white background=http://www.igetweb.com/www/watyai/private_folder/theme/4_0_theme_bottom.png><TBODY><TR><TD vAlign=top width=387>พระเจดีย์ ชัยมงคลนี้ยังเป็นสัญลักษณ์ แห่งการอภัยทานของ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช อันเนื่องมาจากธรรมอันประเสริฐแห่งพระพุทธศาสนา ซึ่งได้มีอิทธิพลเหนือชีวิตและความเป็นอยู่ของคนไทยมาแต่โบราณกาล จนเป็นวิสัยในจิตใจทั้งปวงถึงทุกวันนี้

    พระเจดีย์ ชัยมงคล ซึ่ง สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงสร้างขึ้นที่วัดใหญ่ชัยมงคลเพื่อเป็นอนุสรณ์แห่งการที่ได้ทรงทำยุทธหัตถี ได้ชัยชนะแก่สมเด็จพระมหาอุปราชาแห่งพม่า เมื่อ พ.ศ. ๒๑๓๕ นั้น ประมาณว่ามีความสูงจากพื้นดินราว ๑ เส้น ๑๐ วาและชาวบ้านได้นำเอาชื่อวัดกับนามพระเจดีย์มาประกอบกันเรียกขานกันต่อมาว่า “วัดใหญ่ชัยมงคล” จนกระทั่งทุกวันนี้ </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  11. มากับพระครับ

    มากับพระครับ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,153
    ค่าพลัง:
    +1,836
    <!--end top--><!--body--><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=5 width=774 bgColor=white background=http://www.igetweb.com/www/watyai/private_folder/theme/4_0_theme_body.png valign="top"><TBODY><TR><TD width=150>เลือกอ่านตามหัวข้อ
    [ กำเนิดวนวาสี ]
    [ ก่อเกิดคณะป่าแก้ว ]
    [ วัดเจ้าพระยาไทยคณะป่าแก้ว ]
    [ พระเจดีย์ชัยมงคล ]
    [ ผู้สร้างวัดใหญ่ชัยมงคล ]
    [ ย้อนมองกลับหลัง ]
    [ วัดใหญ่ชัยมงคลในปัจจุบัน ]
    </TD><TD vAlign=top align=left width=624>
    ผู้สร้างวัดป่าแก้ว
    ความจริงที่ยังไม่เปิดเผย
    </TD></TR><TR><TD vAlign=top colSpan=2>เกี่ยวกับเรื่อง “วัดป่าแก้ว” นี้ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้ทรงพระนิพนธ์คำอธิบายไว้ในพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา ได้ประทานข้อวินิจฉัยที่น่าสนใจไว้ ขอคัดมาเล่าสู่กันอ่านดังต่อไปนี้

    <TABLE cellSpacing=1 cellPadding=1 width=700 align=center summary="" border=0><TBODY><TR><TD>เมื่อ สมเด็จพระนเรศวร ทรงทำยุทธหัตถีมีชัยชนะ เสด็จกลับถึงพระนครแล้ว ทรงพระพิโรธแม่ทัพนายกอง มีรับสั่งให้ปรึกษาโทษที่โดยเสด็จไปไม่ทัน ละแต่พระคชาธารสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ให้เข้าไปอยู่ในท่ามกลาง ศึก จะมีโทษฉันใดลูกขุนปรึกษาโทษประหารชีวิต แต่ สมเด็จพระวันรัตน ถวายพระพรขอโทษไว้ได้

    “ในพระราชพงศาวดาร ว่า สมเด็จพระวันรัตนวัดป่าแก้วถวายพระพรขอพระราชทานอภัยโทษข้าราชการไว้ ควรจะอธิบายเรื่องวัดป่าแก้วไว้ตรงนี้สักหน่อย

    ในคำอธิบายของข้าพเจ้าในตอนแผ่นดินสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ กล่าวถึงเรื่องนิกายพระสงฆ์ที่เข้ามาสู่ประเทศนี้ มีเนื้อความปรากฏถึงเรื่องนิกายพระสงฆ์ซึ่งเรียกว่า คณะป่าแก้ว เพราะเหตุที่แปลงมาในสำนัก พระวันรัตนมหาเถร ในเมืองลังกา

    จึงเอานามวันรัตนนั้นมาแปลเป็นภาษาไทย เรียกชื่อนิกายสงฆ์ว่าคณะป่าแก้ว พระราชาคณะที่เป็นสังฆนายกของนิกายป่าแก้ว หรือที่เรียกว่า คณะใต้ จึงมีพระราชทินนามในสมณศักดิ์ว่า สมเด็จพระวันรัตน

    แต่ที่อยู่วัดป่าแก้วนั้น ทำให้เข้าใจผิดอยู่ แม้ในหนังสือพระราชพงศาวดารว่าสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ ทรงสร้างวัดป่าแก้ว ที่จริงวัดนั้นเป็นวัดแก้วฟ้า วัดที่ชื่อป่าแก้วไม่มีในกรุงศรีอยุธยา

    ปรากฏว่าได้ค้นหาวัดป่าแก้วกันมาแต่ในรัชกาลที่ ๔ จนเมื่อ พระยาโบราณราชธานินทร์ เป็นสมุหเทศาภิบาลมณฑลกรุงเก่าก็ได้ค้นหาวัดป่าแก้วอีก เคยพาข้าพเจ้าไปบุกรุกช่วยหาหลายหนก็ไม่พบ

    เรื่องวัดป่าแก้วในกรุงเก่าเป็นที่ฉงนสนเท่ห์อยู่มาก ความคิดเพิ่งมาปรากฏแก่ข้าพเจ้าเมื่อไปเห็นหนังสือเก่าๆ ที่เมืองนครศรีธรรมราชและเมืองพัทลุง

    ในหนังสือเหล่านั้น ใช้คำคณะป่าแก้ว ติดเขาท้ายชื่อวัดทุกแห่ง ดังว่า วัดเขียนคณะป่าแก้ว วัดจะทิงคณะป่าแก้ว ดังนี้เป็นต้น ต้องกันกับชื่อวัดที่เคยเห็นในหนังสือพงศาวดารเหนือ ที่เรียกวัดทางเมืองสุโขทัยวัด ๑ ว่า วัดไตรภูมิ (คณะ) ป่าแก้ว

    ข้าพเจ้านึกว่า วัดป่าแก้วในกรุงเก่าบางทีจะมีชื่ออื่นและเรียกคำป่าแก้วเข้าข้างท้าย อย่างเมืองสุโขทัยและเมืองนครศรีธรรมราช วัดในกรุงเก่าที่เป็นพระอารามหลวงใหญ่โตมีอยู่วัด ๑ ซึ่งเดี๋ยวนี้เรียกกันว่าวัดใหญ่ ครั้งกรุงเก่าเรียกกันว่าเจ้าพญาไทย วัดนี้ไม่มีชื่อในทำเนียบสมณศักดิ์ครั้งกรุงเก่า ในทำเนียบนั้นว่า สมเด็จพระวันรัตนอยู่วัดป่าแก้ว

    เมื่อวัดป่าแก้วหาไม่พบ ข้าพเจ้าจึงคิดว่าจะเป็นวัดเจ้าพาไทยหรือวัดใหญ่นี้เอง เพราะคำว่า “ไทย” เป็นศัพท์เก่า แปลว่า “พระ” ใช้ในหนังสือไตรภุมิพระร่วงและหนังสือสวดมาลัยมีอยู่เป็นพยาน ถ้าเจ้าไทยแปลว่า “พระ” เจ้าพญาไทยก็แปลว่า “สังฆราชา” วัดเจ้าพญาไทยแปลว่า “เป็นที่อยู่ของสังฆราช”

    ทำเนียบสมณศักดิ์ครั้งกรุงเก่าว่าพระสังฆราชมี ๒ องค์ คือ สมเด็จพระอริยวงศ์อยู่วัดมหาธาตุ ยังปรากฏอยู่ สมเด็จพระวันรัตนเป็นสังฆราชอีกองค์ ๑ ว่าอยู่วัดป่าแก้ว

    เมื่อวัดสังฆราชยังมีชื่ออีกวัด ๑ คือ วัดเจ้าพญาไทย ก็เห็นว่าคือวัดเจ้าพญาไทยนี้เอง เป็นวัดที่สมเด็จพระวันรัตนอยู่ จะเรียกว่าวัดสังฆราชคณะป่าแก้ว เมื่อเรียกสั้นลง จึงคงแต่คำว่า “วัดป่าแก้ว” เป็นชื่อหนึ่งของวัดเจ้าพระยาไทย

    ความคิดเห็นของข้าพเจ้านี้ เมื่อมาอ่านตรวจหนังสือพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขานี้โดยถ้วนถี่ ได้ความว่า กรมหลวงธิราชวงศาสนิท ท่านทรงคิดเห็น และลงยุติเสียแล้วแต่ในรัชกาลที่ ๔

    ด้วยความตอนรบพม่า เมื่อแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าสุริยาตรมรินทร์ มีแห่ง ๑ ในพระราชพงศาวดารฉบับพิมพ์ ๒ เล่มว่า

    พระยากำแพงเพ็ชร (คือ พระเจ้ากรุงธนบุรี) กับพระยาเพชรบุรี ยกกองทัพออกไปตั้งที่วัดใหญ่ ดังนี้จึงควรยุติได้ว่าที่ในพระราชพงศาวดารว่า สมเด็จพระวันรัตนอยู่วัดป่าแก้วนั้น คืออยู่วัดเจ้าพญาไทย ที่เรียกทุกวันนี้ว่า “วัดใหญ่” มีพระเจดีย์สูง อยู่ริมทางรถไฟข้างตะวันออก เมื่อก่อนจะเข้ากรุงเก่านั่นเอง”
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    </TD></TR></TBODY></TABLE><!--end body--><!--bottom--><TABLE height=448 cellSpacing=0 cellPadding=5 width=774 bgColor=white background=http://www.igetweb.com/www/watyai/private_folder/theme/4_0_theme_bottom.png><TBODY><TR><TD vAlign=top width=387>พระนิพนธ์คำอธิบายฉบับพระราชพงศาวดารฉบับ พระราชหัตถเลขา ที่ยกมากล่าวข้างต้นนี้ ค้านข้อความในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาที่นับว่าสำคัญอยู่ตอนหนึ่ง คือที่พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาว่าสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ (พระเจ้าอู่ทอง) ทรงสร้างวัดป่าแก้วนั้น ที่แท้จริง วัดนั้นเป็น “วัดแก้วฟ้า” หาใช่ป่าแก้วไม่ พระวินิจฉัยของสมเด็จฯ น่าจะเป็นไปได้มาก เพราะสงฆ์คณะป่าแก้วนี้เพิ่งมามีในสมัย สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ฉะนั้น สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ จึงไม่ได้สร้างวัดป่าแก้วแน่นอน แต่จะเป็นใครสร้าง และสร้างมาตั้งแต่เมื่อไรนั้น เป็นเรื่องที่จะต้องค้นคว้ากันต่อไป</TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  12. มากับพระครับ

    มากับพระครับ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,153
    ค่าพลัง:
    +1,836
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=5 width=774 bgColor=white background=http://www.igetweb.com/www/watyai/private_folder/theme/4_0_theme_body.png valign="top"><TBODY><TR><TD width=150>เลือกอ่านตามหัวข้อ
    [ กำเนิดวนวาสี ]
    [ ก่อเกิดคณะป่าแก้ว ]
    [ วัดเจ้าพระยาไทยคณะป่าแก้ว ]
    [ พระเจดีย์ชัยมงคล ]
    [ ผู้สร้างวัดป่าแก้ว ]
    [ ย้อนมองกลับหลัง ]
    [ วัดใหญ่ชัยมงคลในปัจจุบัน ]
    </TD><TD vAlign=top align=left width=624>
    ผู้สร้างวัดใหญ่ชัยมงคล
    ความจริงที่กระจ่างแล้ว
    </TD></TR><TR><TD vAlign=top colSpan=2> หลังจากที่วัดป่าแก้วได้ร้างลงเป็นเวลาร่วม ๒๐๐ ปี พระภิกษุฉลวย สุธมฺโม ได้นำพระภิกษุ สามเณร และแม่ชีจำนวนหนึ่งมาปฏิบัติธรรม ณ ที่แห่งนี้ จนกระทั่งท่านต้องการจาริกไปปฏิบัติธรรมยังที่อื่น จึงได้อาราธนา พระครูภาวนาพิริยคุณ ( เปลื้อง วิสฏฺโฐ ) เจ้าอาวาสวัดยม อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ให้มาสานต่อการบูรณปฏิสังขรณ์ และดูแลพระชี

    เมื่อ พระครูภาวนาพิริยคุณ ( ต่อมาได้เลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูภาวนารังสี ) เข้าบูรณะวัดใหญ่ชัยมงคล จนได้รับการยกฐานะจากวัดร้างเป็นวัดที่มีพระภิกษุจำพรรษาเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๐ นั้น พระเจดีย์มีสภาพทรุดโทรมมาก เป็นเพราะการถูกทำลายเมื่อคราวเสียกรุง พ.ศ. ๒๓๑๐ ประการหนึ่ง เป็นเพราะคนไทยกันเอง ขุดคุ้ยทำลายเพื่อหาของมีค่าเป็นประโยชน์ส่วนตัวประการหนึ่ง
    </TD></TR></TBODY></TABLE><!--end body--><!--bottom--><TABLE height=448 cellSpacing=0 cellPadding=5 width=774 bgColor=white background=http://www.igetweb.com/www/watyai/private_folder/theme/4_0_theme_bottom.png><TBODY><TR><TD vAlign=top width=387> และอีกประการหนึ่งพระเจดีย์มีอายุถึง ๔๐๐ ปี จึงชำรุดทรุดโทรมจนเหลือกำลังของวัดที่จะเข้าแก้ไขให้คงอยู่ต่อไป เนื่องจากพระเจดีย์นั้นมีลักษณะคล้ายจะล้มครืนลงไม่วันใดก็วันหนึ่ง เมื่อฝนตกพายุพัดจะมีเสียงลั่นเป็นที่น่าวิตกยิ่ง

    พระครูภาวนารังสี จึงได้ทำหนังสือแจ้งไปยัง ผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เพื่อดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งก่อนที่จะสายเกินไป

    ปรากฏว่าอีกไม่นานต่อมากรมศิลปากรได้รับงบประมาณบูรณะปฏิสังขรณ์ซ่อมแซมพระ เจดีย์ชัยมงคล และบริเวณวัดใหญ่ชัยมงคล เฉพาะในเขตพุทธาวาส ๒๐ ล้านบาทเศษ กรมศิลปากรได้สั่งช่างเข้าดำเนินการตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๒๒ จนงานได้แล้วเสร็จเมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๕
    </TD><TD width=387> </TD></TR></TBODY></TABLE><!--end bottom--><!--shadow-->
     
  13. มากับพระครับ

    มากับพระครับ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,153
    ค่าพลัง:
    +1,836
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=5 width=774 bgColor=white background=http://www.igetweb.com/www/watyai/private_folder/theme/4_0_theme_body.png valign="top"><TBODY><TR><TD width=150>เลือกอ่านตามหัวข้อ
    [ กำเนิดวนวาสี ]
    [ ก่อเกิดคณะป่าแก้ว ]
    [ วัดเจ้าพระยาไทยคณะป่าแก้ว ]
    [ พระเจดีย์ชัยมงคล ]
    [ ผู้สร้างวัดป่าแก้ว ]
    [ ผู้สร้างวัดใหญ่ชัยมงคล ]
    [ วัดใหญ่ชัยมงคลในปัจจุบัน ]
    </TD><TD vAlign=top align=left width=624>
    ย้อนมองกลับหลัง
    ภาพความยิ่งใหญ่ครั้งอดีต
    </TD></TR><TR><TD vAlign=top colSpan=2> สิ่งก่อสร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยา ที่วัดใหญ่ชัยมงคล ได้ร่วมกับหลาย ๆ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทำการบูรณปฏิสังขรณ์ นอกจากพระเจดีย์ชัยมงคลแล้ว ยังมีอีกหลาย ๆ สิ่งที่น่าสนใจศึกษา

    ทางด้านทิศตะวันออกของพระเจดีย์ชัยมงคลทรงสร้างพระอุโบสถหลังใหญ่ยังมีซากให้เห็นอยู่จนทุกวันนี้ ได้แก่ ด้านเหนือพระอุโบสถปัจจุบัน มีผนังพระอุโบสถเดิม ก่อด้วยอิฐถือปูนหนาประมาณ ๔๐ ซม. เหลือซากให้เห็นอยู่ค่อนข้างสมบูรณ์แต่ก็ซวนเซเต็มที อาศัยความหนาจึงทรงตัวอยู่ได้ ผนังด้านทิศใต้เหลือซากผนังด้านหน้าและด้านหลังพระอุโบสถเพียงเล็กน้อยนอกนั้นกลายเป็นอิฐหักกากปูนทับถมกันอยู่ ซึ่งทางวัดได้ขนย้ายไปถมที่ลุ่มหมดแล้ว ตัวพระอุโบสถที่เห็นในปัจจุบันเป็นพระอุโบสถที่กรมศิลปากรออกแบบ แล้วทางวัดสร้างซ้อนไว้ในซากพระอุโบสถหลังเดิม

    ทางด้านทิศตะวันตกของพระเจดีย์ชัยมงคล มีวิหารหลวง ที่เรียกว่า “ศาลาดิน” ซึ่งยังเหลือซากตอนฐานล่วงไว้ให้เห็น เข้าใจว่า คงเป็นสถานที่สำหรับพระเจ้าแผ่นดินบำเพ็ญพระราชกุศล

    ติดกับศาลาดินด้านใต้ยังมี “เกย” สำหรับเจ้านายใช้เป็นที่เสด็จขึ้นลงยานพาหนะ

    วิหารหลวงอีกหลังหนึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของพระอุโบสถ ติดกับกำแพงวัดซึ่งเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธไสยาสน์นั้น เข้าใจว่า เดิมน่าจะสร้างขึ้นเป็นทำนอง พระที่นั่งทรงธรรม มากกว่าจะเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูป เพราะภายในไม่ปรากฏว่ามีฐานชุกชีสำหรับตั้งพระพุทธรูป

    นอกจากนี้ยังมี “มุขเด็จ” แบบมุขเด็จของพระมหาปราสาท ยื่นออกไปทางทิศใต้สำหรับเสด็จออก ให้ประชาชนเข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทอีกด้วย

    </TD></TR></TBODY></TABLE><!--end body--><!--bottom--><TABLE height=448 cellSpacing=0 cellPadding=5 width=774 bgColor=white background=http://www.igetweb.com/www/watyai/private_folder/theme/4_0_theme_bottom.png><TBODY><TR><TD vAlign=top width=387>“วัดเจ้าพระยาไท-ชัยมงคล หรือวัดป่าแก้ว มากลายเป็นวัดร้าง เมื่อพุทธศักราช ๒๓๐๙ พม่าข้าศึกยกพลมาประชิดพระนครศรีอยุธยา สมเด็จพระที่นั่งสุริยาตรมรินทร์โปรดเกล้าฯ ให้ยกทัพเรือออกจากพระนครไปตั้งอยู่ที่วัดป่าแก้ว ทัพเรือไทยเสียทีข้าศึกจับพระยาเพชรบุรีได้ฆ่าเสียแล้วก็แตกกลับมา
    พม่ายึดเอาวัดเจ้าพญาไทเป็นฐานปฏิบัติการ วัดใหญ่เจ้าพญาไทชัยมงคล หรือวัดป่าแก้วก็ถึงกาลวิปโยค...ฉิบหายลงด้วยน้ำมือข้าศึกผู้มีรากฐาน อุปนิสัยใจคอมาจากโจรป่าด้วยประการฉะนี้”
    ปัจจุบันวัดใหญ่ชัยมงคล หรือวัดเจ้าพญาไทชัยมงคล หรือวัดป่าแก้วเหลือแต่ซาก....
    สิ่งเหล่านี้เองที่เหลืออยู่ให้เราศึกษา แต่ว่าอิฐทุกก้อน ปูนทุกชิ้นแม้จะแหลกราญอยู่กับพื้นดินก็ยังมีความรู้สึกท้าทายผู้ไปพบเห็น ที่แหล่งนี้ และเป็นที่ประกาศชัยชนะอันบันลือเกียรติของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชให้ปรากฏไป ตราบกัลป์ปาวสาน"
    (ฉันทิชย์ กระแสสินธุ์)

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  14. มากับพระครับ

    มากับพระครับ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,153
    ค่าพลัง:
    +1,836
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=5 width=774 bgColor=white background=http://www.igetweb.com/www/watyai/private_folder/theme/4_0_theme_body.png valign="top"><TBODY><TR><TD width=150>เลือกอ่านตามหัวข้อ
    [ กำเนิดวนวาสี ]
    [ ก่อเกิดคณะป่าแก้ว ]
    [ วัดเจ้าพระยาไทยคณะป่าแก้ว ]
    [ พระเจดีย์ชัยมงคล ]
    [ ผู้สร้างวัดป่าแก้ว ]
    [ ย้อนมองกลับหลัง ]
    [ ผู้สร้างวัดใหญ่ชัยมงคล ]
    </TD><TD vAlign=top align=left width=624>
    วัดใหญ่ชัยมงคลในปัจจุบัน
    สำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
    </TD></TR><TR><TD vAlign=top colSpan=2> หากเปรียบวัดใหญ่ชัยมงคลเป็นคนสักคนหนึ่งแล้ว ช่วงแรก ที่หลวงปู่ฉลวย สุธมฺโม และ หลวงปู่พระครูภาวนารังสี ได้บุกบั่น ฝ่าฟัน ต่อสู้ จนวัดได้เป็นวัด คงจะเปรียบได้กับ เด็กทารกแรกเกิด ที่ต้องประคับประคอง ดูแลกันอย่างดี

    จนปัจจุบัน ( พ.ศ. ๒๕๕๑ ) วัดใหญ่ชัยมงคล ที่ได้พระครูพิสุทธิ์บุญสาร ( แก่น ปุญฺญสมฺปนฺโน ) เป็นเจ้าอาวาส พระมหาสำรอง ชยธมฺโม และ พระมหาบรรณ์ ปญฺญาธโร เป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาส แม่ชีสมจิต ควรเลี้ยง เป็นหัวหน้าสำนักแม่ชี คงจะเปรียบได้กับคนหนุ่มที่มีกำลังวังชาดี มีความเข้มแข็งในทุก ๆ ด้าน เช่น

    ด้านการพัฒนาวัตถุ วัดใหญ่ชัยมงคล ได้รับการยกย่องให้เป็น วัดพัฒนาตัวอย่าง ในปี พ.ศ. ๒๕๓๙ และต่อมายังได้รับการยกย่องอีกว่าเป็น วัดพัฒนาตัวอย่างที่มีผลงานดีเด่น พ.ศ. ๒๕๔๗

    ด้านการพัฒนาบุคคลากร วัดใหญ่ชัยมงคล ได้พัฒนาบุคคลากรพระภิกษุจนเป็นที่ยอมรับ เห็นได้ชัดจาก การที่พระภิกษุจากวัดใหญ่ชัยมงคล ได้รับการคัดเลือกให้ไปดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสวัดต่าง ๆ ในเขต อำเภอพระนครศรีอยุธยา พร้อมกันถึง ๓ รูป ในปี พ.ศ. ๒๕๕๑

    ด้านการพัฒนาการศึกษาปริยัติธรรม วัดใหญ่ชัยมงคล มีการเรียนการสอนหลักสูตรพระปริยัติธรรมมากมาย ไม่ว่าจะเป็นหลักสูตรนักธรรม หลักสูตรธรรมศึกษา เป็นต้น

    ด้านการพัฒนาจิตใจ วัดใหญ่ชัยมงคล รักษามาตรฐานการปฏิบัติธรรมตามแนวทางของหลวงปู่พระครูภาวนารังสี อดีตเจ้าอาวาส ที่เน้นในเรื่องของกิจวัตร และพระกรรมฐาน พร้อมทั้งเปิดกว้างให้ผู้ที่ใฝ่ในการปฏิบัติได้มาฝึกหัดขัดเกลาในขั้นเบื้องต้น จนที่สุด วัดใหญ่ชัยมงคลได้รับการคัดเลือกจากมหาเถรสมาคม ให้เป็นสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา แห่งที่ ๓

    </TD></TR></TBODY></TABLE><!--end body--><!--bottom--><TABLE height=448 cellSpacing=0 cellPadding=5 width=774 bgColor=white background=http://www.igetweb.com/www/watyai/private_folder/theme/4_0_theme_bottom.png><TBODY><TR><TD vAlign=top width=387>ในวันข้างหน้า ไม่มีใครอาจทราบได้ว่าวัดใหญ่ชัยมงคลจะเป็นอย่างไร แต่แน่นอนว่าทุกสิ่งอย่างที่เกิดขึ้นด้วยปัจจัยหลาย ๆ อย่างประกอบกันเข้าเกิดขึ้นแล้ว ย่อมมีวันรุ่งเรือง วันเสื่อม และวันสูญ วัดเจ้าพระยาไทย ในอดีตเคยรุ่งเรืองเป็นอันมาก แต่ก็ต้องเสื่อมสิ้นไปในที่สุด วัดใหญ่ชัยมงคล ก็คงไม่พ้นจากความจริงในข้อนี้ แต่ก่อนจะถึงวันนั้นอยากให้ทุกท่านมาร่วมกัน รับรู้ความยิ่งใหญ่ ของสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ ที่ตลบอบอวลอยู่ทุกอณูของวัดใหญ่ชัยมงคล


    หมายเหตุ :
    บทความร้อยละเก้าสิบเก้า คัดมาจาก หนังสือสมเด็จพระนเรศวรมหาราช วัดใหญ่ชัยมงคล, เพิ่มศักดิ์ วรรยางกูร เรียบเรียง, อัมรินทร์พรินติ้ง แอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน), พิมพ์ครั้งที่ ๑, ๒๕๔๘, หน้า ๑๓๐-๑๓๗ อีกหนึ่งส่วนที่เหลือ อาตมภาพทำการปรับปรุงเล็กน้อยเพื่อให้เหมาะสมกับเว็บไซต์ และเขียนเพิ่มเติมในส่วน "วัดใหญ่ชัยมงคลในปัจจุบัน" ขออนุโมทนากับโยมอาจารย์เพิ่มศักดิ์ ที่ได้เขียนหนังสือเล่มนี้ขึ้น และได้ถวายให้ทางวัดได้ใช้ประโยชน์ มา ณ โอกาสนี้ ขออนุโมทนา - พระมหานัธนิติ สุมโน

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  15. มากับพระครับ

    มากับพระครับ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,153
    ค่าพลัง:
    +1,836
    จบความตอนต้นและพักไว้ก่อน จะค่อยทยอยเล่าไปเรื่อยๆทุกวันจนหมด แล้วจะรู้ว่าวัตถุมงคลรุ่นรักชาติทำไมจึงเป็นวัตถุมงคลที่ดีที่สุดรุ่นนึงสูงค่ายิ่งในยุคปัจจุบัน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 มกราคม 2010
  16. มากับพระครับ

    มากับพระครับ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,153
    ค่าพลัง:
    +1,836
    คมในฝัก..แต่ชักไม่ออก..อิ..อิ.

    ( ผมนะครับ ไม่ใช่หลวงปู่ ของหลวงปู่ฯคมนอกคมในครับ )
     
  17. พิมาน

    พิมาน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กันยายน 2009
    โพสต์:
    828
    ค่าพลัง:
    +3,953
    ผมเอามาฝากเห็นเข้ากับสถานะการณ์ดี เอามาจากอีกกระทู้หนึงครับ
    เรานิ่ง แต่ไม่ดูดาย
    เราตาย แต่ไม่อยู่เฉย
    เราไม่เอา แต่ไม่ละเลย
    เราเปิดเผย แต่ไม่มีใครเห็น
     
  18. มากับพระครับ

    มากับพระครับ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,153
    ค่าพลัง:
    +1,836
    นี่ก็คมเหมือนกัน...
     
  19. มากับพระครับ

    มากับพระครับ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,153
    ค่าพลัง:
    +1,836
    <TABLE height=65 cellSpacing=0 cellPadding=5 width=774 bgColor=white background=http://www.igetweb.com/www/watyai/private_folder/theme/4_0_theme_top.png><TBODY><TR><TD align=middle>สมเด็จพระนเรศวรมหาราช
    พระบาทสมเด็จพระสรรเพชญที่ ๒
    </TD></TR></TBODY></TABLE><!--end top--><!--body--><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=5 width=774 bgColor=white background=http://www.igetweb.com/www/watyai/private_folder/theme/4_0_theme_body.png valign="top"><TBODY><TR><TD colSpan=2> สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงมี พระนามเดิมว่าพระองค์ดำ พระราชโอรสในสมเด็จพระมหาธรรมราชาและพระวิสุทธิกษัตริย์(พระราชธิดาของ สมเด็จพระศรีสุริโยทัยและสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ) พระองค์เสด็จพระบรมราชสมภพเมื่อ พ.ศ.๒๐๙๘ ที่เมืองพิษณุโลกทรงมีพระเชษฐภคิณีคือพระสุพรรณกัลยาทรงมีพระอนุชาคือสมเด็จ พระเอกาทศรถ(องค์ขาว) และทรงเป็นพระราชนัดดาของสมเด็จพระศรีสุริโยทัย พระนามของพระองค์ปรากฏในลายลักษณ์อักษรหลายฉบับ เช่น พระนเรศ วรราชาธิราช พระนเรสส องค์ดำ จึงยังไม่สามารถสรุปได้ว่าพระนาม นเรศวรได้มาจากที่ใด สันนิษฐานเบื้องต้นว่า เพี้ยนมาจาก สมเด็จพระนเรศ วรราชาธิราช เป็น สมเด็จพระนเรศวร ราชาธิราช เสด็จขึ้นครองราชเม่อวันที่ ๒๙ กรกฎาคม พ.ศ.๒๑๓๓ รวมสิริดำรงราชสมบัติ ๑๕ ปี เสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ ๒๕ เมษายน พ.ศ. ๒๑๔๘ รวมพระชนมพรรษา ๕๐ พรรษา</TD><TD vAlign=top width=150>เลือกอ่านตามหัวข้อ
    [ ราชการสงคราม ]
    [ พระราชประวัติเมือทรงพระเยาว์ ]
    [ ดำรงพระยศเป็นพระมหาอุปราช ]
    [ การประกาศอิสรภาพ ]
    [ ยุทธหัตถี ]
    [ สวรรคต ]
    [ พระราชกรณียกิจ ]

    </TD></TR><TR><TD align=middle width=300>[​IMG]

    </TD><TD vAlign=top colSpan=2> ราชการสงครามในสมเด็จพระนเรศวรมหาราช

    เป็นเหตุการณ์ที่ยิ่งใหญ่และสำคัญยิ่งของชาติไทย พระองค์ได้กู้อิสรภาพของไทยจากการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งแรก และได้ทรงแผ่อำนาจของราชอาณาจักรไทย อย่างกว้างใหญ่ไพศาล นับตั้งแต่ประเทศพม่าตอนใต้ทั้งหมด นั่นคือ จากฝั่งมหาสมุทรอินเดียทางด้านตะวันตก ไปจนถึงฝั่งมหาสมุทรปาซิฟิคทางด้านตะวันออก ทางด้านทิศใต้ตลอดไปถึงแหลมมลายู ทางด้านทิศเหนือก็ถึงฝั่งแม่น้ำโขงโดยตลอด และยังรวมไปถึงรัฐไทยใหญ่บางรัฐ
    พระองค์ได้ทำสงครามเข้าไปในประเทศที่เป็นข้าศึกของไทย ในทุกทิศทาง จนประเทศไทยอยู่เป็นปกติสุขปราศจากศึกสงคราม เป็นระยะเวลายาวนาน พระราชกรณียกิจน้อยใหญ่ทั้งสิ้นทั้งปวงของพระองค์ เป็นไปเพื่อประโยชน์ของบ้านเมืองและคนไทยทั้งมวล ตลอดพระชนม์ชีพของพระองค์ จะอยู่ในสนามรบและชนบทโดยตลอด มิได้ว่างเว้น แม้แต่เมื่อเสด็จสวรรคต ก็เสด็จสวรรคตในระหว่างเดินทัพไปปราบศัตรูของชาติไทย นับว่าพระองค์ได้ทรงสละพระองค์ เพื่อชาติบ้านเมืองโดยสิ้นเชิง สมควรที่ชาวไทยรุ่นหลังต่อมา ได้สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ และจดจำวีรกรรมของพระองค์ เทอดทูลไว้เหนือเกล้า ฯ ไปตราบชั่วกาลนาน
    [ กลับไปต้นบทความ ]
    </TD></TR><TR><TD colSpan=3>พระราชประวัติเมื่อทรงพระเยาว์กับชีวิตและการศึกษาในหงสาวดี

    ตลอดระยะเวลาในวัยเยาว์ของพระนเรศวรทรงใช้ชีวิตอยู่ในพระราชวังจันทน์ เมืองพิษณุโลก จนกระทั่งเมื่อพระเจ้าบุเรงนองยกทัพมาตีเมืองพิษณุโลก สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชเจ้าเมืองพิษณุโลกยอมอ่อนน้อมต่อแห่งหงสาวดี และทำให้พิษณุโลกต้องแปรสภาพเป็นเมืองประเทศราชหงสาวดีไม่ขึ้นต่อกรุง ศรีอยุธยา พระเจ้าบุเรงนองได้ทรงขอพระนเรศวรไปเป็นองค์ประกันที่หงสาวดี ทำให้พระองค์ต้องจากบ้านเกิดเมืองนอนตั้งแต่มีพระชนม์มายุเพียง ๙ พรรษา
    นอกจากพระองค์แล้วยังมีองค์ประกันจากเมืองอื่น ๆ ที่เป็นเมืองขึ้นของหงสาวดีเป็นจำนวนมาก พระเจ้าบุเรงนองนั้นทรงให้เหล่าองค์ประกันได้รับการเลี้ยงดูและการศึกษา อย่างดี พระนเรศวรทรงใช้เวลา ๘ ปีเต็มในหงสาวดีศึกษายุทธศาสตร์ของพม่า พระองค์ทรงศึกษาวิชาศิลปศาสตร์ และวิชาพิชัยสงคราม ทรงนิยมในวิชาการรบทัพจับศึก พระองค์ทรงมีโอกาสศึกษา ทั้งภายในราชสำนักไทย และราชสำนักพม่า มอญ และได้ทราบยุทธวิธีของชาวต่างชาติต่าง ๆ ที่มารวมกันอยู่ในกรุงหงสาวดีเป็นอย่างดี เช่น ชาวโปรตุเกส สเปน หรือชาวพม่าเอง ทรงนำหลักวิชามาประยุกต์ใช้ให้เหมาะกับเหตุการณ์ และสภาพแวดล้อมในการทำศึกได้เป็นเลิศ ดังเห็นได้จากการสงครามทุกครั้งของพระองค์ ยุทธวิธีที่ทรงใช้ ได้แก่ การใช้คนจำนวนน้อยเอาชนะคนจำนวนมาก และยุทธวิธีการรบแบบกองโจร พระองค์ทรงนำมาใช้ก่อนจอมทัพที่เลื่องชื่อในยุโรป นอกจากนั้น หลักการสงครามที่เป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางในปัจจุบัน เช่น การดำรงความมุ่งหมาย หลักการรุก การออมกำลัง และการรวมกำลัง การดำเนินกลยุทธ ความเด็ดขาดในการบังคับบัญชา การระวังป้องกัน การจู่โจม ฯลฯ พระองค์ก็ทรงนำมาใช้อย่างเชี่ยวชาญ และประสบผลสำเร็จอย่างงดงามมาโดยตลอด เนื่องจากการที่พระองค์มีชีวิตอยู่ในฐานะองค์ประกันทำให้ทรงมีความกดดันสูง จากมังกะยอชวา (พระราชโอรสในพระเจ้านันทบุเรง) จึงทรงมีแรงผลักดันที่จะกอบกู้อิสรภาพให้กับบ้านเมืองของพระองค์ เช่น จากการชนไก่ของพระองค์กับมังกะยอชวา เป็นต้น รวมทั้งการเหยียดหยามว่าเป็นเชลย จากพวกพม่าด้วย
    [ กลับไปต้นบทความ ]

    ดำรงพระยศเป็นพระมหาอุปราช

    หลังจากที่พระเจ้าบุเรงนองตีกรุงศรีอยุธยาแตกเมื่อ พ.ศ. ๒๑๑๒ มะเส็งศก วันอาทิตย์ เดือน ๙ แรม ๑๑ ค่ำ และได้สถาปนาสมเด็จพระมหาธรรมราชาครองกรุงศรีอยุธยาในฐานะประเทศราชของหง สาวดีต่อไป หลังจากนั้น พระนเรศได้หนีกลับมาไทยโดยที่บุเรงนองยินยอมด้วยอันเนื่องมาจากพระสุพรรณ กัลยาได้ขอไว้ โดยที่บุเรงนองยินยอม หลังจากที่พระองค์ดำกลับมากรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระมหาธรรมราชาได้ทรงพระราชทานนามให้ว่า พระนเรศวร และโปรดเกล้าฯให้เป็นพระมหาอุปราชไปปกครองเมืองพิษณุโลก ทรงปกครองเมืองอย่างดีและทรงเริ่มเตรียมการที่จะกอบกู้เอกราชของกรุง ศรีอยุธยา
    [ กลับไปต้นบทความ ]


    การประกาศอิสระภาพ

    เมื่อปี พ.ศ. 2126 พระเจ้าอังวะเป็นกบฎ เนื่องจากไม่พอใจทางกรุงหงสาวดีอยู่หลายประการ จึงแข็งเมือง พร้อมกับเกลี้ยกล่อมเจ้าไทยใหญ่อีกหลายเมืองให้แข็งเมืองด้วย พระเจ้าหงสาวดีนันทบุเรงจึงยกทัพหลวงไปปราบ ในการณ์นี้ได้สั่งให้เจ้าเมืองแปร เจ้าเมืองตองอู และเจ้าเมืองเชียงใหม่ รวมทั้งทางกรุงศรีอยุธยาด้วย ให้ยกทัพไปช่วย ทางไทย สมเด็จพระมหาธรรมราชาโปรดให้สมเด็จพระนเรศวรยกทัพไปแทน สมเด็จพระนเรศวรยกทัพออกจากเมืองพิษณุโลก เมื่อวันแรม 6 ค่ำ เดือน 3 ปีมะแม พ.ศ. 2126 พระองค์ยกทัพไทยไปช้า ๆ เพื่อให้การปราบปรามเจ้าอังวะเสร็จสิ้นไปก่อน ทำให้พระเจ้าหงสาวดีนันทบุเรงแคลงใจว่า ทางไทยคงจะถูกพระเจ้าอังวะชักชวนให้เข้าด้วย จึงสั่งให้พระมหาอุปราชา คุมทัพรักษากรุงหงสาวดีไว้ ถ้าทัพไทยยกมาถึงก็ให้ต้อนรับ และหาทางกำจัดเสีย และพระองค์ได้สั่งให้พระยามอญสองคน คือ พระยาเกียรติและพระยาราม ซึ่งมีสมัครพรรคพวกอยู่ที่เมืองแครงมาก และทำนองจะเป็นผู้คุ้นเคยกับสมเด็จพระนเรศวรมาแต่ก่อน ลงมาคอยต้อนรับทัพไทยที่เมืองแครง อันเป็นชายแดนติดต่อกับไทย พระมหาอุปราชาได้ตรัสสั่งเป็นความลับว่า เมื่อสมเด็จพระนเรศวรยกกองทัพขึ้นไป ถ้าพระมหาอุปราชายกเข้าตีด้านหน้าเมื่อใด ให้พระยาเกียรติและพระยาราม คุมกำลังเข้าตีกระหนาบทางด้านหลัง ช่วยกันกำจัดสมเด็จพระนเรศวรเสียให้จงได้ พระยาเกียรติกับพระยาราม เมื่อไปถึงเมืองแครงแล้ว ได้ขยายความลับนี้แก่พระมหาเถรคันฉ่อง ผู้เป็นอาจารย์ของตน ทุกคนไม่มีใครเห็นดีด้วยกับแผนการของพระเจ้ากรุงหงสาวดี เพราะมหาเถรคันฉ่องกับสมเด็จพระนเรศวร เคยรู้จักชอบพอกันมาก่อน
    กองทัพไทยยกมาถึงเมืองแครง เมื่อวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 6 ปีวอก พ.ศ. 2127 โดยใช้เวลาเดินทัพเกือบสองเดือน กองทัพไทยตั้งทัพอยู่นอกเมือง เจ้าเมืองแครงพร้อมทั้งพระยาเกียรติกับพระยารามได้มาเฝ้า ฯ สมเด็จพระนเรศวร จากนั้นสมเด็จพระนเรศวรได้เสด็จไปเยี่ยมพระมหาเถรคันฉ่อง ซึ่งคุ้นเคยกันดีมาก่อน พระมหาเถรคันฉ่องมีใจสงสาร จึงกราบทูลถึงเรื่องการคิดร้ายของทางกรุงหงสาวดี แล้วให้พระยาเกียรติกับพระยาราม กราบทูลให้ทราบตามความเป็นจริง เมื่อพระองค์ได้ทราบความโดยตลอดแล้ว ก็ทรงมีพระดำริเห็นว่า การเป็นอริราชศัตรูกับกรุงหงสาวดีนั้น ถึงกาลเวลาที่จะต้องเปิดเผยต่อไปแล้ว จึงได้มีรับสั่งให้เรียกประชุมแม่ทัพนายกอง กรมการเมือง เจ้าเมืองแครงรวมทั้งพระยาเกียรติพระยาราม และทหารมอญมาประชุมพร้อมกัน แล้วนิมนต์พระมหาเถรคันฉ่อง และพระสงฆ์มาเป็นสักขีพยาน ทรงแจ้งเรื่องให้คนทั้งปวงที่มาชุมนุม ณ ที่นั้นทราบว่า พระเจ้าหงสาวดีคิดประทุษร้ายต่อพระองค์ จากนั้นพระองค์ได้ทรงหลั่งน้ำลงสู่แผ่นดินด้วยสุวรรณภิงคาร (พระน้ำเต้าทองคำ) ประกาศแก่เทพยดาฟ้าดินว่า


    "ด้วยพระเจ้าหงสาวดี มิได้อยู่ในครองสุจริตมิตรภาพขัตติยราชประเพณี
    เสียสามัคคีรสธรรม ประพฤติพาลทุจริต คิดจะทำอันตรายแก่เรา
    ตั้งแต่นี้ไป กรุงศรีอยุธยาขาดไมตรีกับกรุงหงสาวดี
    มิได้เป็นมิตรร่วมสุวรรณปฐพีเดียวกันดุจดังแต่ก่อนสืบไป"
    </TD></TR><TR><TD vAlign=center align=middle colSpan=3> [​IMG]</TD></TR><TR><TD colSpan=3>



    จากนั้นพระองค์ได้ตรัสถามชาวเมืองแครงว่าจะเข้าข้างฝ่ายใด พวกมอญทั้งปวงต่างเข้ากับฝ่ายไทย สมเด็จพระนเรศวรจึงให้จับเจ้าเมืองกรมการพม่า แล้วเอาเมืองแครงเป็นที่ตั้งประชุมทัพ เมื่อจัดกองทัพเสร็จ ก็ทรงยกทัพจากเมืองแครง ไปยังเมืองหงสาวดี เมื่อวันแรม 3 ค่ำ เดือน 6
    ฝ่ายพระมหาอุปราชาที่อยู่รักษาเมืองหงสาวดี เมื่อทราบว่าพระยาเกียรติ พระยารามกลับไปเข้ากับสมเด็จพระนเรศวร จึงได้แต่รักษาพระนครมั่นอยู่ สมเด็จพระนเรศวรเสด็จยกทัพข้ามแม่น้ำสะโตงไปใกล้ถึงเมืองหงสาวดี ได้ทราบความว่า พระเจ้ากรุงหงสาวดีมัชัยชนะได้เมืองอังวะแล้ว กำลังจะยกทัพกลับคืนพระนคร พระองค์เห็นว่าสถานการณ์ครั้งนี้ไม่สมคะเน เห็นว่าจะตีเอาเมืองหงสาวดีในครั้งนี้ยังไม่ได้ จึงให้กองทัพแยกย้ายกันเที่ยวบอกพวกครัวไทย ที่พม่ากวาดต้อนไปแต่ก่อน ให้อพยพกลับบ้านเมือง ได้ผู้คนมาประมาณหมื่นเศษ ให้ยกล่วงหน้าไปก่อน พระองค์ทรงคุมกองทัพยกตามมาข้างหลัง
    ฝ่ายพระมหาอุปราชาทราบข่าวว่า สมเด็จพระนเรศวรกวาดต้อนคนไทยกลับ จึงได้ให้สุรกรรมาเป็นกองหน้า พระมหาอุปราชาเป็นกองหลวง ยกติดตามกองทัพไทยมา กองหน้าของพม่าตามมาทันที่ริมฝั่งแม่น้ำสะโตง ในขณะที่ฝ่ายไทยได้ข้ามแม่น้ำไปแล้ว และคอยป้องกันมิให้ข้าศึกข้ามตามมาได้ ได้มีการต่อสู้กันที่ริมฝั่งแม่น้ำ สมเด็จพระนเรศวรทรงใช้พระแสงปืนนกสับยาวเก้าคืบ ยิงถูกสุรกรรมา แม่ทัพหน้าพม่าตายบนคอช้าง กองทัพของพม่าเห็นแม่ทัพตาย ก็พากันเลิกทัพกลับไป เมื่อพระมหาอุปราชาแม่ทัพหลวงทรงทราบ จึงให้เลิกทัพกลับไปกรุงหงสาวดี
    พระแสงปืนที่ใช้ยิงสุรกรรมาตายบนคอช้างนี้ได้นามปรากฎต่อมาว่า "พระแสงปืนต้นข้ามแม่น้ำสะโตง" นับเป็นพระแสงอัษฎาวุธ อันเป็นเครื่องราชูปโภค ยังปรากฎอยู่จนถึงทุกวันนี้
    เมื่อสมเด็จพระนเรศวรเสด็จกลับถึงเมืองแครง ทรงดำริว่าพระมหาเถรคันฉ่องกับพระยาเกียรติพระยารามได้มีอุปการะมาก สมควรได้รับการตอบแทนให้สมแก่ความชอบ จึงทรงชักชวนให้มาอยู่ในกรุงศรีอยุธยา พระมหาเถรคันฉ่องกับพระยามอญ ที้งสองก็มีความยินดี พาพรรคพวกสเด็จเข้ามาด้วยเป็นอันมาก ในการยกกำลังกลับครั้งนี้ สมเด็จพระนเรศวรทรงเกรงว่า ข้าศึกอาจยกทัพตามมาอีก ถ้าเสด็จกลับทางด่านแม่ละเมา มีกองทัพของนันทสูราชสังครำตั้งอยู่ที่เมืองกำแพงเพชร จะเป็นอุปสรรคต่อการเดินทาง พระองค์จึงรีบสั่งให้พระยาเกียรติ พระยาราม นำทัพเดินผ่านหัวเมืองมอญลงมาทางใต้ มาเข้าทางด่านเจดีย์สามองค์
    เมื่อกลับมาถึงกรุงศรีอยุธยาแล้ว สมเด็จพระมหาธรรมราชาก็พระราชทานบำเหน็จรางวัลแก่พวกมอญที่สวามิภักดิ์ ทรงตั้งพระมาหาเถรคันฉ่องเป็นพระสังฆราชา ที่สมเด็จอริยวงศ์ และให้พระยาเกียรติ พระยารามมีตำแหน่งยศ ได้พระราชทานพานทอง ควบคุมมอญที่เข้ามาด้วย ให้ตั้งบ้านเรือนที่ริมวัดขมิ้น และวัดขุนแสนใกล้วังจันทร์ของสมเด็จพระนเรศวร แล้วทรงมอบการทั้งปวงที่จะตระเตรียมต่อสู้ข้าศึก ให้สมเด็จพระนเรศวรทรงบังคับบัญชาสิทธิขาดแต่นั้นมา
    [ กลับไปต้นบทความ ]
    </TD></TR><TR><TD align=middle> [​IMG]</TD><TD vAlign=bottom colSpan=2>
    ยุทธหัตถี

    นับตั้งแต่สมเด็จพระนเรศวรประกาศอิสรภาพเป็นต้นมา หงสาวดีได้เพียรส่งกองทัพเข้ามาหลายครั้ง แต่ก็ถูกกองทัพกรุงศรีอยุธยาตีแตกพ่ายไปทุกครั้ง เมื่อสมเด็จพระมหาธรรมราชา เสด็จสวรรคต เมื่อปี พ.ศ. ๒๑๓๓ พระองค์ได้เสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๒๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๑๓๓ เมื่อพระชนมายุได้ ๓๕ พรรษา ทรงพระนามว่า สมเด็จพระนเรศวร หรือสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ ๒ และโปรดเกล้า ฯ ให้พระเอกาทศรถ พระอนุชา ขึ้นเป็นพระมหาอุปราช แต่มีศักดิ์เสมอพระมหากษัตริย์อีกพระองค์หนึ่ง
    </TD></TR><TR><TD colSpan=3>ตลอดรัชสมัยของพระองค์ทรงกอบกู้กรุงศรีอยุธยาจากหงสาวดี และได้ทำสงครามกับอริราชศัตรูทั้งพม่าและเขมร จนราชอาณาจักรไทยเป็นปึกแผ่นมั่นคง ขยายพระราชอาณาเขตออกไปอย่างกว้างใหญ่ไพศาลกว่าครั้งใดในอดีตที่ผ่านมา งานสงครามในรัชสมัยของพระองค์ ทั้งในดินแดนไทยและดินแดนข้าศึก ได้ชัยชนะทุกครั้ง ทรงมีพระปรีชาสามารถในการนำทัพ ทรงริเริ่มนำยุทธวิธีแบบใหม่มาใช้ในการทำสงคราม และเปลี่ยนแนวความคิดจากการตั้งรับมาเป็นการรุก และริเริ่มการใช้วิธีรบนอกแบบารสงครามกับพม่าครั้งสำคัญที่ทำให้พม่าไม่กล้า ยกทัพมารุกรานไทยอีกเลย เป็นเวลาเกือบสองร้อยปีคือ สงครามยุทธหัตถี เมื่อปี พ.ศ. ๒๑๓๕ นั่นคือเมื่อหงสาวดีนำโดยพระมหาอุปราชามังสามเกียดยกทัพมาตีกรุงศรีอยุธยา อีกครั้ง สมเด็จพระนเรศวรก็นำทัพออกไปจนปะทะกันที่หนองสาหร่าย จังหวัดสุพรรณบุรี บ้างก็ว่าจังหวัดกาญจนบุรี สมเด็จพระนเรศวรได้ทรงกระทำยุทธหัตถีกับพระมหาอุปราชาจนกระทั่งสามารถเอาพระ แสงง้าวฟันพระมหาอุปราชาขาดสะพายแล่ง สิ้นพระชนม์อยู่กับคอช้างนั่นเอง
    [ กลับไปต้นบทความ ]


    สวรรคต

    พ.ศ. ๒๑๓๗ พระเจ้าหงสาวดีนันทบุเรงก็ให้พระเจ้าแปรมาตีกรุงศรีอยุธยาแต่ก็แตกทัพกลับไป พ.ศ. ๒๑๔๒ เสด็จฯออกไปตีกรุงหงสาวดี พระเจ้าหงสาวดีหนีไปเมืองตองอู กองทัพอยุธยาตามไปถึงเมืองตองอูแต่ขาดเสบียง พ.ศ. ๒๑๔๗ ยกกองทัพหลวง ๑๐๐,๐๐๐ นายออกจากกรุงศรีอยุธยาไปตีกรุงอังวะ ผ่านทางเมืองเชียงใหม่ โดยแรมทัพอยู่ที่เมืองเชียงใหม่เป็นเวลา ๑ เดือน ระดมทหารในดินแดนล้านนาสมทบอีก ๑๐๐,๐๐๐ นาย และทรงมอบหมายให้สมเด็จพระเอกาทศรถเป็นทัพหน้าออกเดินทางไปรับไพร่พลทหาร ล้านนาที่เมืองฝาง (อำเภอฝาง เชียงใหม่) หลังจากนั้นกองทัพหลวงจึงกรีฑาทัพออกจากเมืองเชียงใหม่ไปยัง เมืองนายและกรุงอังวะ ครั้นกองทัพหลวงเดินทัพอยู่ระหว่างเมืองเชียงใหม่กับแม่น้ำสาละวิน ครั้นถึง เมืองหลวง หรือเมืองห้างหลวง หรือเมืองห่างหลวง หรือเมืองหางหลวง อันเป็นเมืองขึ้นของเมืองเชียงใหม่และเป็นเมืองอยู่ชายพระราชอาณาเขตในสมัย นั้น เมื่อปลายเดือน ๕ ปีมะเส็ง พ.ศ. ๒๑๔๘ ได้เสด็จฯ ประทับแรมอยู่ ณ ตำบลทุ่งดอนแก้ว (ขณะที่กองทัพสมเด็จพระเอกาทศรถอยู่ที่เมืองฝางหรืออำเภอฝาง เชียงใหม่) เกิดประชวรเป็นหัวระลอกขึ้น (บ้างว่าถูกตัวสัตว์พวกแมลงมีพิษต่อย) ที่พระพักตร์แล้วเลยเป็นบาดพิษจนเสด็จสวรรคต ณ เมืองห้างหลวง หรือ เมืองหางวันจันทร์ เดือน ๖ ขึ้น ๘ ค่ำ พ.ศ. ๒๑๔๘ เรื่องวันสวรรคตนี้มีรายละเอียดกล่าวต่างกัน พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขากล่าวว่า เสด็จสวรรคตวันจันทร์ ขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๖ เพลาชายแล้ว ๒ บาท ปีมะเส็ง ซึ่งผู้เชี่ยวชาญทางประวัติศาสตร์คำนวณแล้วตรงกับวันจันทร์ที่ ๒๕ เมษายน ๒๑๔๘ ในหนังสือ A History of Siam ของ W.A.R. Wood กล่าวว่าสวรรคตวันที่ ๑๖ พฤษภาคม ค.ศ. ๑๖๐๕ (พ.ศ. ๒๑๔๘) พระชันษาได้ ๕๐ ปี เสวยราชสมบัติได้ ๑๕ ปี
    [ กลับไปต้นบทความ ]

    พระราชกรณียกิจ

    * พ.ศ. 2113 เสด็จออกร่วมรบกับทหารโดยขับไล่กองทัพเขมรได้สำเร็จ
    * พ.ศ. 2114 ได้รับสถาปนาให้ปกครองเมืองพิษณุโลก เมื่อพระชนมายุ ๑๖ พรรษา
    * พ.ศ. 2117 เสด็จไปรบที่เวียงจันทน์ เผอิญทรงประชวรเป็นไข้ทรพิษจึงเสด็จกลับ
    * พ.ศ. 2121 ทรงทำสงครามขับไล่พระยาจีนจันตุออกไปจากกรุงศรีอยุธยา
    * พ.ศ. 2127 ทรงประกาศอิสรภาพที่เมืองแครง และกวาดต้อนคนไทยกลับพระนคร
    * พ.ศ. 2127-พ.ศ. 2130 พม่ายกกองทัพมาตีไทยถึง ๔ ครั้ง แต่ถูกไทยตีแตกพ่ายกลับไป
    * พ.ศ. 2133 ทรงเสด็จครองราชย์ ณ กรุงศรีอยุธยาเมื่อพระชนมายุ ๓๕ พรรษา
    * พ.ศ. 2135 ทรงทำสงครามยุทธหัตถี จนมังกะยอชะวา สิ้นพระชนม์
    * พ.ศ. 2136 ทรงยกกองทัพไปตีเขมรและจับพระยาละแวกทำพิธีปฐมกรรม
    * พ.ศ. 2138 และ พ.ศ. 2141 ทรงกรีฑาทัพไปตีกรุงหงสาวดี ครั้งที่ ๑ และครั้งที่ ๒
    * พ.ศ. 2148 ทรงกรีฑาทัพไปตีกรุงอังวะ โดยยกทัพหลวง ๑๐๐,๐๐๐ นาย ออกจากอยุธยา ไปทางเมืองเชียงใหม่ และแรมทัพในเชียงใหม่ ๑ เดือน เพื่อรอการระดมทหารล้านนาเข้าสมทบอีก ๑๐๐,๐๐๐ คนเมื่อยกทัพหลวงออกจากเมืองเชียงใหม่ มุ่งหน้าไปยัง เมืองนาย ครั้นกรีฑาทัพช่วงระหว่างเมืองเชียงใหม่กับแม่น้ำสาละวิน และไปถึงเมืองหลวง หรือเมืองห้างหลวง หรือเมืองห่างหลวง หรือเมืองหางหลวง ก็ทรงพระประชวรโดยเร็วพลัน เป็นหัวระลอกขึ้นที่พระพักตร์ และเสด็จสวรรคต ณ เมืองหลวง ตำบลทุ่งดอนแก้ว ตรงกับวันจันทร์ขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๖ ปีมะเส็ง ซึ่งตรงกับวันจันทร์ที่ ๒๕ เมษายน ๒๑๔๘ พระชนมายุ ๕๐ พรรษา ครองราชย์สมบัติได้ ๑๕ ปี

    [ กลับไปต้นบทความ ]
    </TD></TR></TBODY></TABLE><!--end body--><!--bottom--><TABLE height=448 cellSpacing=0 cellPadding=5 width=774 bgColor=white background=http://www.igetweb.com/www/watyai/private_folder/theme/4_0_theme_bottom.png><TBODY><TR><TD vAlign=top width=387>
    หมายเหตุ: ข้อมูล
    จาก วิกิพีเดีย วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

    <!--อธิบายภาพ--><TABLE border=0><TBODY><TR><TD width=110>
    [​IMG]
    </TD><TD vAlign=top>
    รายละเอียดรูป

    1. พระอิริยาบถยืนประกาศอิสรภาพ - วัดใหญ่ชัยมงคล พระนครศรีอยุธยา
    2. พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงหลังน้ำทักษิโณทกประกาศอิสรภาพ ผลงานของคุณไข่มุก ชูโต ประดิษฐาน ณ วัดใหญ่ชัยมงคล พระนครศรีอยุธยา
    3. ยุทธหัตถี - ภาพวาดภายในอุโบสถวัดใหญ่ชัยมงคล พระนครศรีอยุธยา
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  20. มากับพระครับ

    มากับพระครับ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,153
    ค่าพลัง:
    +1,836
    ตำนานพระกริ่งไทยและนวโลหะ

    คมชัดลึก :พระกริ่ง เป็นพระเครื่องที่คนในวงการพระเครื่องเชื่อมากันตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน โดยเฉพาะ "เซียนพระกริ่ง" ยังเชื่อกันอย่างแน่วแน่ว่า สามารถช่วยรักษาโรคภัยไข้เจ็บต่างๆได้ทุกโรค โดยเฉพาะโรคที่การแพทย์แผนปัจจุบันหาสาเหตุไม่พบ
    และรักษาด้วยยาไม่ได้ ยามใดที่เกิดอาการเจ็บไข้ได้ป่วยจงอธิษฐานขออำนาจพุทธคุณในพระกริ่ง แล้วนำพระแช่น้ำ จากนั้นก็เอามาดื่ม บ้างก็นำมาอาบ เพื่อความเป็นสิริมงคล โรคภัย ไข้เจ็บป่วยอยู่นั้น ก็จะหายโดยอัศจรรย์
    เรื่องการใช้พระกริ่งทำน้ำมนต์รักษาโรคนั้นผมเคยมีประสบการณ์ตรงด้วยตัวเองเมื่อประมาณปี ๒๕๓๐ ลูกชายคนโต (นายอรรจน์ จิระเจริญยิ่ง ปัจจุบันอายุ ๒๖ ปี) ท้องร่วงอย่างรุนแรง ต้องหามส่งโรงพยาบาล หมอเริ่มให้กินยาชุดแรกตอน ๐๒.๐๐ น. และชุดที่ ๓ ประมาณ ๐๔.๐๐ น. อาการก็ไม่ดีขึ้น นอนดิ้นทุรนทุราย จึงคิดถึงคำร่ำลือเรื่องพระกริ่งช่วยรักษาโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ได้ทุกโรค จากนั้นนำพระกริ่งวัดช้างปี ๒๔๘๔ ที่พกติดตัวเป็นประจำ เอาน้ำใส่แก้ว จากนั้นก็ยกมืออธิษฐานก่อนที่จะแช่พระกริ่งในแก้ว แล้วให้ลูกดื่มกิน เพียงแค่ลูกกลืนน้ำอึกที่ ๓ ลูกก็หลับสนิท ตื่นมาอีกครั้งตอนเที่ยงวันของวันรุ่งขึ้น สามารถกินข้าวได้ และออกจากโรงพยาบาลได้ราวกับไม่มีอะไรเกิดขึ้นเลย
    ประวัติการสร้าง"พระกริ่ง" มีมาแต่โบราณ เริ่มขึ้นที่ประเทศทิเบต และจีน จึงเรียกติดปากว่า พระกริ่งทิเบต และพระกริ่งหนองแส พระกริ่งเป็นพระพุทธเจ้าปางมาช่วยโปรดสัตว์โลก หรือเรียกกันว่า "พระไภสัชคุรุ" เป็น พระพุทธเจ้าปางหนึ่งของลัทธิมหายาน ซึ่งหมายความว่า ทรงเป็นครูในด้านเภสัช คือ การรักษาพยาบาล ต่อมาได้แพร่หลายมาก นิยมสร้างในเขมร เรียกว่า พระกริ่งอุบาเก็ง หรือ พระกริ่งพนมบาเก็ง และพระกริ่งพระปทุมสุริยวงศ์
    สำหรับพระที่มีชื่อเสียงทรงคุณวิเศษหลายประการมีผู้นิยมนับถือกันมากยิ่งในปัจจุบันนี้ยิ่งหายาก ต้องยกให้พระกริ่งวัดสุทัศนฯ เพราะ สมเด็จพระสังฆราช(แพ) ทรงสร้างไว้จำนวนไม่มาก
    สาเหตุที่ทรงสร้างพระกริ่งนั้นเนื่องจากเมื่อครั้งที่ สมเด็จพระวันรัต(แดง) พระอุปัชฌาย์อาพาธเป็นอหิวาตกโรค สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ซึ่งเป็นพระอุปัชฌาย์ของพระองค์ทรงเคยรักษาผู้ป่วยเป็นอหิวาตกโรคให้หายได้ ด้วยการอาราธนาพระกริ่งลงในน้ำ ทำเป็นน้ำพระพุทธมนต์ แล้วโปรดให้น้ำนั้นแก่ผู้ป่วยดื่ม ปรากฏว่าหายอย่างน่าอัศจรรย์ เมื่อตรัสอย่างนั้นแล้วก็อาราธนาพระกริ่งลงในน้ำ ทำน้ำพระพุทธมนต์ประทานแก่ สมเด็จพระวันรัต(แดง) เมื่อท่านฉันน้ำพระพุทธมนต์นั้นแล้วก็บรรเทาหายอาพาธเป็นปกติ
    สมเด็จพระสังฆราช(แพ ติสฺสเทว) วัดสุทัศนเทพวรารามได้ทอดพระเนตรเห็นคุณวิเศษน่าอัศจรรย์ของพระกริ่งในขณะนั้นแล้ว จึงเกิดความสนพระทัย และทรงเริ่มศึกษาค้นคว้าตำราที่จะสร้างพระกริ่งเรื่อยมา จนมีความรู้ความเชี่ยวชาญในการสร้าง จนเจนจบ เมื่อจะมีการสร้างพระกริ่งขึ้นครั้งใด พระองค์จะถูกขอร้องให้เป็นผู้ชี้แจงการสร้าง และการหล่อ ในฐานะประธานการหล่อพระกริ่งเสมอมา
    ตำนานความเป็นมาของพระกริ่งและพระชัยวัฒน์ของสมเด็จพระสังฆราช (แพ) ซึ่งนายนิรันดร์ แดงวิจิตร หรือ อดีตพระครูวินัยกรณโสภณ เป็นผู้เขียน มีข้อความที่น่าสนใจมากดังนี้
    ตำนานความเป็นมาของพระกริ่งและพระชัยวัฒน์ "คำว่ากริ่ง" นี้ หมายความว่ากระไร สมเด็จฯ (สมเด็จพระสังฆราช แพ ติสฺสเทว) เคยรับสั่งเสมอว่า คำว่า "กริ่ง" นี้ มาจากคำถามที่ว่า "กึ กุสโล" (กิง กุสะโล) คือ เมื่อพระโยคาวจรบำเพ็ญสมณธรรมมีจิตผ่านกุศลธรรมทั้งปวงเป็นลำดับไปแล้ว
    ถึงขั้นสุดท้ายจิตเสวยอุเบกขาเวทนา ปุญญาภิสังขาร (สภาพที่ปรุงแต่งกรรมฝ่ายดี ได้แก่ กุศลเจตนา) เปลี่ยนเป็น อเนญชา (สภาพที่ปรุงแต่งภพอันมั่นคง ไม่หวั่นไหว ได้แก่ ภาวะจิตที่มั่นคงแน่วแน่ด้วยสมาธิแห่งจตุตถฌาน คือ ฌานที่ ๔) เป็นเหตุให้พระโยคาวจรเอะใจขึ้นว่า "กึ กุสโล" นี้เป็นกุศลอะไร เพราะเป็นธรรมที่เกิดขึ้น แปลกประหลาด ไม่เหมือนกับกุศลอื่นที่ผ่านมา ดังนั้น คำว่า "กึ กุสโล" จึงเป็นชื่อของ อเนญชา คือ "นิพพุติ" แปลว่า "ดับสนิท" คือหมายถึงพระนิพพานนั่นเอง"
    มูลเหตุที่สมเด็จพระสังฆราช(แพ) ทรงสร้างพระกริ่งและพระชัยวัฒน์นั้น มีดังจะกล่าวต่อไปนี้ คือ ทรงเล่าว่าเมื่อพระองค์ดำรงสมณศักดิ์เป็นพระศรีสมโพธิ ครั้งนั้น สมเด็จพระวันรัต (แดง) อาพาธเป็นอหิวาตกโรค สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ครั้งยังทรงเป็นกรมหมื่นเสด็จมาเยี่ยม เมื่อรับสั่งถามถึงอาการของโรคเป็นที่เข้าพระทัยแล้ว รับสั่งว่า เคยเห็นกรมพระยาปวเรศฯเสด็จพระอุปัชฌาย์ของพระองค์อาราธนาพระกริ่งแช่น้ำอธิษฐาน ขอน้ำพระพุทธมนต์แล้วให้คนไข้เป็นอหิวาตกโรคกินหายเป็นปกติ
    พระองค์จึงรับสั่งให้มหาดเล็กที่ตามเสด็จไปนำพระกริ่งที่วัดบวรนิเวศแต่สมเด็จฯ ทูลว่า พระกริ่งที่กุฏิมี สมเด็จพระมหาสมณเจ้า จึงรับสั่งให้นำมา แล้วอาราธนาพระกริ่งแช่น้ำอธิษฐานขอน้ำพระพุทธมนต์แล้วนำไปถวายสมเด็จพระวันรัต (แดง) เมื่อท่านฉันน้ำพระพุทธมนต์แล้ว โรคอหิวาต์ก็บรรเทาหายเป็นปกติ ส่วนจะเป็นพระกริ่งสมัยไหนพระองค์ท่านรับสั่งว่าจำไม่ได้
    สำหรับคำกล่าวว่าตำราสร้างพระกริ่งในยุคกรุงรัตนโกสินทร์นี้ เดิมเป็นตำราของสมเด็จพระพนรัต วัดป่าแก้ว สำนักอรัญญิกาวาสสมถธุระวิปัสสนาธุระแห่งกรุงศรีอยุธยา และมาอยู่ที่สมเด็จกรมพระยาปรมานุชิตชิโนรส ศรีสุคตขัตติยวงศ์ วัดพระเชตุพนฯ จากนั้นสมเด็จพระพุฒาจารย์ (มา) วัดจักรวรรดิราชาวาส ก่อนที่จะมาตกอยู่ที่สมเด็จพระสังฆราช (แพ) เมื่อครั้งยังทรงสมณศักดิ์เป็นพระเทพโมลี
    นอกจากนี้การแสวงหาแร่ธาตุที่มีคุณต่างๆ นั้น ต้องใช้ความพยายามไม่น้อย ตามตำราการ สร้างพระกริ่งเนื้อนวโลหะสายวัดสุทัศนฯ ประกอบไปด้วย ๑.ชินน้ำหนัก ๑ บาท (๑ บาท = ๑๕.๒ กรัม) ๒.จ้าวน้ำเงิน น้ำหนัก ๒ บาท(แร่ชนิดหนึ่ง สีเขียวปนน้ำเงิน) ๓.เหล็กละลายตัว น้ำหนัก ๓ บาท ๔.บริสุทธิ์ทองแดงบริสุทธิ์น้ำหนัก๔ บาท ๕.ปรอท น้ำหนัก๕ บาท ๖.สังกะสี น้ำหนัก ๖ บาท๗.ทองแดง น้ำหนัก ๗ บาท ๘.เงิน น้ำหนัก ๘ บาท และ ๙.ทองคำ น้ำหนัก ๙ บาท มาหล่อหลอมให้กินกันดีแล้วนำมาตีเป็นแผ่นแล้วจารยันต์ ๑๐๘ กับ นะ ปถมัง ๑๔ นะ ครั้งได้ฤกษ์ยามดีก็จะพิธีลงยันต์ในพระอุโบสถต่อไป จากนั้นก็กลับนำมาหล่อตามฤกษ์อีกครั้ง
    ด้วยมวลสารพิธีกรรม และฤกษ์ ทำให้พระกริ่งที่สร้างในยุคก่อนมีความเข้มขลังสามารถแช่น้ำทำน้ำมนต์มาดื่มกันรักษาโรคได้ แต่การสร้างยุคหลัง ส่วนใหญ่จะเป็นการรวบรัด แม้ว่าจะเป็นเนื้อนวโลหะครบตามสูตร แต่การจารยันต์และฤกษ์การเทนั้นไม่เป็นตามตำรา พระกริ่งยุคหลังจึงนำมาแช่น้ำทำน้ำมนต์มาดื่มกันรักษาโรคไม่ได้ดีเท่าในอดีต
    ล้งท่าพระจันทร์
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 มกราคม 2010

แชร์หน้านี้

Loading...